บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม13%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 339961 / ดาวน์โหลด: 4960
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

๒.การมีส่วนประกอบภายนอก หมายถึง การมีอยู่ของสิ่งหนึ่งที่มีส่วนประกอบภายนอก คือ การมีส่วนประกอบของสิ่งหนึ่งที่เป็นชิ้นส่วนอยู่ภายนอก  เช่น ส่วนประกอบของร่างกายแยกออกเป็น สสารและรูปร่าง ,การเกิดขึ้นของสิ่งที่เป็นสสารและวัตถุ เป็นตัวอย่างของการมีส่วนประกอบภายนอก

๓. การมีส่วนประกอบในด้านปริมาณ หมายถึง การมีส่วนประกอบของสิ่งหนึ่งในสภาพที่มีปริมาณ, ขนาด ความกว้าง, ความยาวและส่วนสูง ดังนั้น การมีส่วนประกอบชนิดนี้ ไม่ได้มีอยู่ในสภาวะจริงของสิ่งหนึ่ง แต่ทว่าส่วนประกอบของสิ่งนั้นกำลังจะกลายเป็นสภาวะจริง หลังจากที่ได้รวมเอาส่วนประกอบทั้งหมดเข้าด้วยกัน จึงกลายสภาพเป็นสภาวะจริง  และนักปรัชญาอิสลามบางคนได้กล่าวว่า การมีส่วนประกอบในด้านปริมาณ เป็นอีกชนิดหนึ่งของการมีส่วนประกอบภายนอก เพราะว่า สิ่งนั้นมีส่วนประกอบที่เกิดขึ้นภายนอก และมิได้เกิดขึ้นจากการใช้สติปัญญาเสียด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้น ความแตกต่างของทั้งสองชนิดนี้ ก็คือ การมีส่วนประกอบภายนอกและในด้านปริมาณ คือการมีส่วนประกอบที่มีสภาวะจริงและกำลังจะกลายเป็นสภาวะจริง ถ้าหากสิ่งนั้นมีส่วนประกอบภายนอก ถือว่าเป็นสภาวะจริง แต่ถ้าหากสิ่งนั้นมีส่วนประกอบในด้านปริมาณ ถือว่ากำลังจะกลายเป็นสภาวะจริง

๘๑

   เหตุผลของความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า

   หลังจากได้อธิบายชนิดต่างๆของการมีส่วนประกอบไปแล้ว ณ ที่นี้ จะขอกล่าวถึง เหตุผลต่างๆที่บอกถึงการไม่มีทุกชนิดของการมีส่วนประกอบในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า แต่ก่อนที่จะอธิบายในเหตุผลเหล่านั้น จะกล่าวได้ว่า เหตุผลที่บรรดานักเทววิทยาอิสลามใช้พิสูจน์ในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าคือ การปฏิเสธการมีส่วนประกอบทุกชนิดในอาตมันของพระองค์ และนอกเหนือจาก เหตุผลของนักเทววิทยา, นักปรัชญาและนักรหัสยวิทยาอิสลามแล้ว ยังมีเหตุผลอื่นๆอีกที่ใช้พิสูจน์ในเตาฮีด เช่นเดียวกัน

   เหตุผลของการไม่มีส่วนประกอบในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า

    การพิสูจน์ในความบริสุทธิ์ที่สมบูรณ์แบบของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งกล่าวได้ว่า อาตมันของพระองค์ ไม่มีส่วนประกอบทุก  ชนิดของการมีส่วนประกอบ และมิได้มีเหตุผลเดียวที่ใช้ในการพิสูจน์ถึงความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระองค์ แต่ในความเป็นจริง ก็คือ ยังมีเหตุผลมากมายที่พิสูจน์ถึงอาตมันของพระผู้เป็นเจ้าว่า ไม่มีส่วนประกอบใดในอาตมันของพระองค์

๘๒

๑.การปฏิเสธการมีส่วนประกอบภายนอก

    คำอธิบาย

    เมื่อใดก็ตามที่สิ่งหนึ่งมีส่วนประกอบ สิ่งนั้นก็จะต้องมีชิ้นส่วน และสิ่งนั้นจะมีอยู่ได้ก็ขึ้นอยู่กับการมีชิ้นส่วนของมัน และการที่สิ่งนั้นไม่มีชิ้นส่วน หมายถึง การไม่มีอยู่ของสิ่งนั้น ซึ่งสติปัญญาได้บอกว่า ส่วนประกอบทุกส่วนของสิ่งหนึ่ง  คือ การมีอยู่ของสิ่งนั้น  การเกิดขึ้นของส่วนประกอบก่อนที่สิ่งนั้นจะเกิดขึ้น หมายความว่า สิ่งนั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องมีส่วนประกอบที่เกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้น  การมีอยู่ของสิ่งที่มีส่วนประกอบ หมายความว่า การมีอยู่ของสิ่งนั้นขึ้นอยู่กับการเกิดขึ้นของส่วนประกอบ เพราะฉะนั้น การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า ในสภาพที่เป็นไปไม่ได้ว่าจะต้องมีส่วนประกอบ เพราะว่าการมีส่วนประกอบนั้นมีความขัดแย้งกับความจำเป็นต้องมีอยู่ของพระองค์

 ด้วยเหตุนี้เอง ถ้าสมมุติว่า พระผู้เป็นเจ้ามีส่วนประกอบ หมายความว่า พระองค์มิได้เป็นสิ่งจำเป็นต้องมีอยู่ แต่พระองค์นั้น เป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพาสิ่งอื่น จึงจะมีอยู่ได้ แต่ในความเป็นจริง พระองค์ คือสิ่งจำเป็นต้องมีอยู่ เพราะฉะนั้น จึงเป็นที่กระจ่างชัดว่า พระผู้เป็นเจ้านั้นไม่มีส่วนประกอบใด นอกจากอาตมันของพระองค์เท่านั้น

๘๓

๒.การปฏิเสธการมีส่วนประกอบในด้านสติปัญญา

เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่มีความเข้าใจง่ายในการพิสูจน์ถึงการปฏิเสธการมีส่วนประกอบในพระผู้เป็นเจ้า

  คำอธิบาย

   เมื่อสิ่งหนึ่งประกอบด้วย สกุล(ญินซ์) และลักษณะความแตกต่าง(ฟัศล์) เช่น มนุษย์ประกอบด้วย ความเป็นสัตว์กับการพูดได้ ดังนั้น สัตว์จึงเป็นสกุล และการพูดได้ ก็เป็นลักษณะความแตกต่าง และมนุษย์คือ สัตว์ที่พูดได้ และสิ่งที่ประกอบจากการมี(วุญูด)และสสาร(มาฮียัต) เช่น การมีอยู่ของมนุษย์จากการมีและการเป็นสสาร ทั้งหมดนั้น เป็นคุณสมบัติของสสาร

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ  สติปัญญาของมนุษย์นั้นมีความคุ้นเคยกับการมีอยู่ของสสาร และด้วยกับความแตกต่างกันในคุณสมบัติทั้งหลายของสสาร ทำให้ได้รับความหมายของคำว่า สกุล (ญินซ์) และลักษณะความแตกต่าง (ฟัศล์) ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อได้นำเอาทั้งสองคำประกอบเข้าด้วยกัน

ดังนั้น การที่สิ่งหนึ่งประกอบด้วย สกุล และลักษณะความแตกต่าง  สิ่งที่ประกอบด้วยการมีอยู่กับสสาร ทั้งหมดนั้น คือ การมีส่วนประกอบของสสาร และได้กล่าวไปแล้วว่า อาตมันของพระผู้เป็นเจ้านั้น ทรงมีอยู่อย่างบริสุทธิ์และมิได้เป็นสสาร ดังนั้น การมีอยู่ของพระองค์จึงไม่มีส่วนประกอบดังที่กล่าวมา

๘๔

๓.การปฏิเสธการมีส่วนประกอบในด้านปริมาณ ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่มีความเข้าใจง่ายในการพิสูจน์ถึงอาตมันของพระเจ้าว่า ไม่มีส่วนประกอบในด้านปริมาณ

    คำอธิบาย

   ถ้าหากสมมุติว่า พระผู้เป็นเจ้ามีส่วนประกอบในด้านปริมาณแล้วละก็ ส่วนประกอบนั้นก็จะเป็นมุมกินุลวุญูด( สิ่งที่ต้องพึ่งพา) หรือจะเป็นวาญิบุลวุญูด (สิ่งทีจำเป็นต้องมีอยู่) และถ้าส่วนประกอบนั้น เป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพา ส่วนประกอบทั้งหมดไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ต้องมีความแตกต่างกันอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น อาตมันของพระเจ้า จึงเป็นทั้งสิ่งที่จำเป็นต้องมีอยู่ สิ่งที่ต้องพึ่งพาในเวลาเดียวกัน ซึ่งก็เป็นไปไม่ได้ที่ สิ่งหนึ่งจะเป็นทั้งสองสิ่งพร้อมกัน และถ้าสมมุติว่า พระเจ้ามีส่วนประกอบที่เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมี(วาญิบุลวุญูด) ก็เป็นไปไม่ได้เช่นเดียวกัน เพราะว่า การมีส่วนประกอบในด้านปริมาณ หมายถึง การมีอยู่ของสิ่งหนึ่งในสภาวะที่ยังกลายไม่เป็นจริง ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้สำหรับการมีอยู่ของสิ่งที่จำเป็นต้องมี และมิได้มีเป็นสภาวะเป็นจริง และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ การมีส่วนประกอบในด้านปริมาณ เป็นคุณลักษณะหนึ่งของร่างกาย ซึ่งร่างกายเป็นสสาร และมีรูปร่าง ในขณะเดียวกัน อาตมันของพระผู้เป็นเจ้ามิได้เป็นสสารและมีรูปร่าง เพราะฉะนั้น จากเหตุผลดังกล่าว ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า อาตมันของพระผู้เป็นเจ้า มิได้มีส่วนประกอบในด้านปริมาณ

๘๕

  การพิสูจน์ความเป็นหนึ่งเดียวของพระผู้เป็นเจ้าและการปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์

   หลังจากที่ได้พิสูจน์ความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้าไปแล้ว บัดนี้  จะมาพิสูจน์ในเหตุผลของความเป็นหนึ่งเดียวของพระองค์

ความเป็นหนึ่งเดียวในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า (เตาฮีดซาตีย์วาฮิดีย์) หมายถึง อาตมันของพระองค์ มีหนึ่งเดียวและไม่มีพระเจ้าอื่นใดอยู่เคียงข้างพระองค์

การพิสูจน์ความเป็นหนึ่งเดียวในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า มีเหตุผลอยู่มากมาย แต่จะขอนำมากล่าวสัก ๓ เหตุผล ซึ่งมีดังนี้

    เหตุผลที่หนึ่ง  : ความสมบูรณ์แบบที่สุดและความไม่มีขอบเขตจำกัดของพระเจ้า

    ข้ออ้างแรกของเหตุผลนี้ คือ อาตมันของพระเจ้านั้น ไม่มีที่สิ้นสุด และขอบเขตจำกัด แต่มีสภาพที่สมบูรณ์แบบ เพราะว่าจากความจำเป็นที่ต้องมีอยู่ของพระองค์ได้กำหนดไว้ว่า อาตมันของพระองค์จะปราศจากความสมบูรณ์ไปไม่ได้ และถ้าหากว่าพระองค์มิได้มีความสมบูรณ์ในอาตมันก็เท่ากับว่าพระองค์ มีความต้องการ และเมื่อเป็นเช่นนี้อาตมันของพระองค์ก็มีความบกพร่องและไม่มีความสมบูรณ์ ดังนั้น การมีความต้องการก็คือ ความไม่สมบูรณ์ และความบกพร่อง ซึ่งสิ่งนี้มีความขัดแย้งกับความจำเป็นที่ต้องมีของพระองค์

๘๖

  ถ้าสมมุติว่า มีพระเจ้าอยู่สององค์ ในระหว่างพระเจ้าสององค์ก็ต้องมีความแตกต่างกัน และหากว่าไม่มีความแตกต่างกันในพระเจ้าสององค์ การสมมุติฐานที่บอกว่า มีพระเจ้าสององค์ก็จะไม่เกิดขึ้น และในสภาพเช่นนี้การสมมุติฐานที่จะเกิดขึ้นมีด้วยกัน ๒ สมมุติฐาน ดังนี้

สมมุติฐานแรก คือ พระเจ้าองค์หนึ่งมีความแตกต่างที่อีกองค์ไม่มี เช่น พระเจ้าองค์หนึ่งมีความสมบูรณ์ และอีกองค์หนึ่งไม่มีความสมบูรณ์ ในสภาพเช่นนี้ เป็นรู้กันดีว่า พระเจ้าที่แท้จริง คือพระเจ้าองค์แรก มิใช่พระเจ้าองค์ที่สอง เพราะว่า พระเจ้าองค์ที่สองนั้น มีความบกพร่องและไม่มีความสมบูรณ์ จึงไม่สามารถจะเป็นพระเจ้าได้ ดังนั้น ในสมมุติฐานนี้ ได้พิสูจน์ในความเป็นหนึ่งเดียวของพระเจ้า และการปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์

สมมุติฐานที่สอง คือ การมีอยู่ของพระเจ้าทั้งสองพระองค์ที่มีความสมบูรณ์เหมือน แต่มีความแตกต่างที่พระเจ้าอีกพระองค์ไม่มี นั่นก็คือ พระเจ้าองค์หนึ่งมีความสมบูรณ์ที่ไม่เหมือนกับอีกองค์หนึ่ง ดังนั้นในสภาพเช่นนี้ พระเจ้าทั้งสององค์มิได้เป็นพระเจ้าที่แท้จริง เพราะว่า มีความขัดแย้งกับสมมุติฐานข้างต้น เหตุผลก็คือ การมีอยู่ของพระเจ้าทั้งสององค์เกิดจากการมีและการไม่มี ซึ่งได้กล่าวไปแล้วว่า พระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากการมีส่วนประกอบทุกชนิด

    ด้วยเหตุนี้  การสมมุติว่าพระเจ้ามีหลายองค์ จึงหวนกลับไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวของพระเจ้า และในสมมุติฐานที่สอง ก็ได้นำพาไปสู่การมีส่วนประกอบในพระเจ้า ข้อสรุปจากสมมุติฐานนี้ก็คือ การคิดและจิตนาการว่า มีพระเจ้าหลายองค์ เป็นการจินตนาการไม่เข้ากับการใช้เหตุผลทางปัญญา และในบางทีอาจจะกล่าวได้ว่า มีการสมมุติฐานอื่นเกิดขึ้นอีก เป็นสมมุติฐานที่สาม นั่นก็คือ สมมุติว่า พระเจ้าทั้งสององค์มีความสมบูรณ์เหมือนกัน เหตุผลก็คือดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า

๘๗

 สมมุติฐานนี้ ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะว่าการมีอยู่หลายอย่างต้องมีความแตกต่างกัน และการสมมุติว่า พระเจ้ามีสององค์ที่มีความสมบูรณ์เหมือนกัน ก็มีความขัดแย้งกับสมมุติฐานแรกที่ได้กล่าวไปแล้ว ด้วยเหตุนี้เอง การมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์จึงเป็นไปไม่ได้ เพราะว่า มีความขัดแย้งกับความจำเป็นที่ต้องมีอยู่และความสมบูรณ์แบบของพระเจ้า

    เหตุผลที่สอง  : การปฏิเสธการมีส่วนประกอบทุกชนิด

    ถ้าสมมุติว่า มีพระเจ้าสององค์ที่เป็นวาญิบุลวุญูด (สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่) เหมือนกัน และได้อธิบายไปแล้วว่า สมมุติฐานว่ามีพระเจ้าหลายองค์ บ่งบอกถึงการมีความแตกต่างระหว่างพระเจ้าทั้งหลาย ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราพูดว่า มีหนังสือสองเล่ม ดังนั้น ความหมือนกันคือ ความเป็นหนังสือ แต่ว่ามีความแตกต่างกันในขนาดของเล่ม, สี,สถานที่จัดพิมพ์ ฯลฯ เพราะฉะนั้น การสมมุติว่า มีพระเจ้าหลายองค์ จึงหมายความว่า พระเจ้าสององค์มีความเหมือนกันในความจำเป็นต้องมีอยู่ และมีความแตกต่างในความเป็นพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้เอง การสมมุติฐานข้างต้น บ่งบอกว่า หนึ่งในพระเจ้าทั้งสองมีความเหมือนและความแตกต่างอยู่ด้วยกัน และนี่คือสาเหตุที่ทำให้อาตมันของพระเจ้า มีส่วนประกอบ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า อาตมันของพระเจ้าไม่มีส่วนประกอบใดทั้งสิ้น ดังนั้น การสมมุติว่า มีพระเจ้าหลายองค์ จึงเป็นสาเหตุทำให้อาตมันของพระเจ้ามีส่วนประกอบ และการมีส่วนประกอบในพระองค์ เป็นการกระทำที่เป็นไปไม่ได้ และการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์ก็เป็นไปไม่ได้ ด้วยเช่นเดียวกัน

๘๘

    เหตุผลที่สาม   : การปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์

    การปฏิเสธการมีของพระเจ้าหลายองค์ เป็นหนึ่งในเหตุผลของเตาฮีด และมีคำอธิบายมากมายในเหตุผลนี้ และจะกล่าวได้ว่า ในขณะที่สมมุติว่า มีพระเจ้าอยู่สององค์ การสมมุติฐาน จึงมีด้วยกัน ๓ สภาพ ดังนี้

๑.พระเจ้าองค์หนึ่งมีความสามารถเหนืออีกพระองค์หนึ่ง หมายความ พระเจ้าองค์หนึ่งสามารถที่จะต่อสู้กับอีกพระองค์หนึ่งได้ ในสภาพเช่นนี้ พระเจ้าที่แท้จริงคือ พระเจ้าองค์แรกที่มีความสามารถเหนืออีกฝ่ายหนึ่ง

๒.พระเจ้าทั้งสองพระองค์มีความสามารถเหมือนกัน

๓.พระเจ้าทั้งสองพระองค์ไม่มีความสามารถใดๆเลย

ดังนั้น การสมมุติฐานทั้งสองสภาพก็มีความขัดแย้งกับการสมมุติฐานแรก คือ การมีอยู่ของพระเจ้าทั้งสองพระองค์ เพราะว่าในสภาพที่สอง แสดงให้เห็นถึงความปราชัยของบรรดาพระเจ้าทั้งหลาย และในสภาพที่สามก็แสดงให้เห็นถึง ความไร้สามารถของพระเจ้าทั้งหลาย ซึ่งทั้งสองสภาพนั้น มีความขัดแย้งกับวาญิบุลวุญูด (สิ่งจำเป็นต้องมีอยู่) ของพระเจ้า

 ด้วยเหตุนี้ การสมมุติฐานว่ามีพระเจ้าหลายองค์ จึงมีความเป็นไปไม่ได้

๘๙

    ความเป็นหนึ่งเดียวในความจริงและในจำนวนเลข

 (วะฮ์ดัตฮะกีกีย์และวะฮ์ดัตอะดาดีย์)

  ในตอนท้ายของบทนี้ มีประเด็นสำคัญที่จะต้องขอกล่าวย้ำ คือ ส่วนมากของมนุษย์ ได้คิดว่าความหมายของความเป็นหนึ่งเดียวของพระเจ้า (วะฮ์ดัต) เป็นความหมายเดียวกับความเป็นหนึ่งเดียวในจำนวนเลข (วะฮ์ดัตอะดาดีย์)  เช่น ความหมายของความเป็นหนึ่งในพระเจ้าว่า มีความหมายเดียวกันกับความหมายของ คำว่า พระอาทิตย์ดวงหนึ่ง หรือโลกใบหนึ่ง ถ้าหากว่าได้ไตร่ตรองอย่างละเอียด และนำเอาคำสอนของอัล กุรอานและวจนะ มาเป็นบรรทัดฐาน จะได้รับในความหมายที่ลึกซึ้งของความเป็นหนึ่งเดียวในพระเจ้า ซึ่งบางครั้ง เรียกว่า ความเป็นหนึ่งเดียวในความจริง

(วะฮ์ดัตฮะกีกีย์) ความหมายของความเป็นหนึ่งเดียวในจำนวนเลข

(วะฮ์ดัตอะดาดีย์) คือ ในกรณีของสิ่งหนึ่งที่ถูกใช้ในความหมายโดยรวมที่สามารถบอกถึงจำนวนของมันได้ เช่น ถ้าบอกว่า สิ่งนั้นมีอันเดียว และจะสมมุติว่าสิ่งนั้นมีสองหรือสามอันก็ได้ เพราะว่าจากจำนวนนับมีตัวเลขหลายตัวด้วยกัน และในส่วนของความหมายของความเป็นหนึ่งเดียวที่เกิดขึ้นในความจริง (วะฮ์ดัตฮะกีกีย์) มีหมายความว่า สิ่งนั้นถูกใช้ในความหมายที่มีอันเดียวโดยไม่สามารถที่จะสมมุติว่า มีสองหรือสามได้ ดังนั้น จากการพิจารณาในความหมายของความเป็นหนึ่ง (วะฮ์ดัต) ทำให้เข้าใจได้ว่า ความหมายของความเป็นหนึ่งในอาตมันของพระเจ้า มิใช่ความเป็นหนึ่งในจำนวนเลข แต่คือความเป็นหนึ่งในความจริง ก็คือ ความเป็นหนึ่งเดียวที่เกิดขึ้นจริง และไม่มีสองหรือมีสาม  ดังนั้น ความหมายของความเป็นหนึ่งเดียวในอาตมันของพระเจ้า คือ ความเป็นหนึ่งเดียวที่ไม่มีขอบเขตจำกัด และไม่มีสิ่งอื่นเคียงข้างพระองค์

๙๐

  ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน(เตาฮีด ซาตีย์) ในอัล กุรอาน

  ในบทที่ผ่านมาได้อธิบายแล้วว่า ประเภทแรกของความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎี(เตาฮีด นะซอรีย์) คือ ความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า(เตาฮีด ซาตีย์) ซึ่งอธิบายได้  ๒ ความหมาย ด้วยกัน ดังนี้

๑.ความเชื่อในความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระเจ้า เรียกว่า เตาฮีด อะฮะดีย์

๒.ความเชื่อในความเป็นหนึ่งเดียวในอาตมัน และการปฏิเสธการตั้งภาคีใดๆ ได้เรียกว่า เตาฮีด วาฮีดีย์ เพราะว่า ความเชื่อในการตั้งภาคีเกิดขึ้นมากมายเคียงข้างพระเจ้า เช่น การมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์

อัล กุรอานได้เน้นย้ำในความหมายที่สองไว้อย่างมาก และแม้ในโองการทั้งหลายจะกล่าวถึง เตาฮีดอะฮะดีย์ และความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระเจ้าก็ตาม และยังได้กล่าวถึง การมีความเชื่อของมนุษย์ในพระเจ้าหลายองค์ และการตั้งภาคีต่อพระเจ้า

อัล กุรอานกล่าวว่า

 “ไม่มีสิ่งใดเหมือนพระองค์ พระองค์เป็นผู้ทรงได้ยินอีกทั้งทรงมองเห็น” ( บทอัชชูรอ โองการที่ ๑๑ )

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า ตามหลักไวทยากรณ์ภาษาอาหรับกล่าวว่า โองการนี้ได้ปฏิเสธทุกชนิดของความเหมือนกันในพระผู้เป็นเจ้า แต่ทว่าการอธิบายในความหมายที่ละเอียดอ่อนของประโยคก่อนโองการนี้ มีความแตกต่างกันระหว่างนักอรรถาธิบายอัลกุรอาน คือ ความแตกต่างในอักษร กาฟ ในประโยคที่กล่าวว่า “เหมือนพระองค์” เป็นอักษรที่ใช้แสดงถึง การเหมือนกันของสิ่งหนึ่งและมีความหมายว่า เหมือนกัน ดังนั้น การกล่าวสองคำพร้อมกัน บ่งบอกถึงการเน้นย้ำ

๙๑

และนักวิชาการบางคนได้กล่าวว่า อักษรกาฟ ในที่นี้เป็นอักษรที่ใช้การเน้นย้ำ และบางคนได้กล่าวว่า คำว่า มิสลิฮี มีความหมายว่า อาตมันของพระเจ้า ดังนั้น ความหมายของโองการนี้ คือ อาตมันของพระองค์นั้น ไม่มีที่สิ้นสุด และไม่สามารถที่จะเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นได้เ พราะว่าสิ่งทั้งหลายนั้น มีที่สิ้นสุด และมีขอบเขต

และในโองการอื่นๆยังได้กล่าวในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้าไว้อีกว่า

 “จงกล่าวเถิดว่า พระองค์ คืออัลลอฮ์ผู้ทรงเอกะ อัลลอฮ์ทรงเป็นที่พึ่งพา พระองค์ไม่ทรงประสูติ(ผู้ใด)และไม่ทรงถูกประสูติ(จากสิ่งใด) และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์ในเอกภพ”

 (บทอัตเตาฮีด โองการที่ ๑-๔)

จากโองการแรก แสดงให้เห็นว่า พระเจ้าได้สั่งให้ศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ประกาศให้ชัดเจนว่า พระเจ้ามีองค์เดียวคือ อัลลอฮ์ และบรรดานักอรรถาธิบายอัล กุรอานได้กล่าวว่า คุณลักษณะ “อะฮัด” และ”วาฮิด”  มีความแตกต่างกัน คำว่า “อะฮัด” บ่งบอกถึง ความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระเจ้า และคำว่า”วาฮิด” บ่งบอกถึง ความเป็นเอกะของพระองค์

 กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ  โองการสุดท้ายของบทอัตเตาฮีด ได้กล่าวว่า การไม่เสมอเหมือนผู้ใดของพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้น จากโองการนี้ แสดงให้เห็นถึง การปฏิเสธการตั้งภาคีทั้งหลาย และเป็นการพิสูจน์ว่า มีพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น

อัล กุรอานกล่าวว่า

“มหาบริสุทธิ์แห่งพระองค์ คือ อัลลอฮ์ผู้ทรงเอกะและผู้ทรงพิชิตเหนือทุกสิ่ง”

(บทอัซซุมัร โองการที่ ๔)

๙๒

ทัศนะของนักอรรถาธิบายอัล กุรอานบางคนได้กล่าวว่า การที่สองคุณลักษณะของพระเจ้า(คือ ความเป็นเอกานุภาพ และผู้ทรงพิชิตเหนือทุกสิ่ง) อยู่คู่กัน แสดงให้เห็นว่า ถ้ามีสิ่งที่มีขอบเขตจำกัดแล้วละก็ สิ่งนั้นจะต้องอยู่ภายใต้อำนาจของสิ่งที่ไม่มีขอบเขตและมีความนิรันดร์ นั่นก็คือ อยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของพระผู้เป็นเจ้า เพราะว่า พระองค์ คือสิ่งที่มีอยู่ที่ไม่มีขอบเขต และมีอำนาจเหนือทุกสรรพสิ่ง ดังนั้น คุณลักษณะทั้งสอง กล่าวคือ ความเป็นเอกานุภาพและผู้พิชิต บ่งบอกถึงประเภทของวะฮ์ดัตอัยนีย์ (เอกภาพในความจริง) และมิได้บ่งบอกในประเภทของวะฮ์ดัตอะดาดีย์ (ความเป็นหนึ่งเดียวในจำนวนเลข)

เพราะการคาดว่า พระเจ้ามีหลายองค์นั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และด้วยกับสิ่งที่เป็นเอกภาพในจำนวนเลข คือ สิ่งที่มีขอบเขต ดังนั้น จากโองการดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า พระเจ้าไม่มีสิ่งที่อยู่เคียงข้างพระองค์ และเป็นไปไม่ได้ที่จะคิดว่าพระเจ้ามีหลายองค์

   ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน(เตาฮีด ซาตีย์) ในวจนะ

   วจนะของบรรดาอิมามผู้นำ ผู้บริสุทธิ์ (ขอความสันติพึงมีแด่พวกท่าน) ที่ได้กล่าวถึง ความเอกานุภาพในอาตมัน เช่น ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ)  กล่าวว่า

“พวกเจ้า จงรู้จักพระเจ้าในสภาพที่พระองค์ไม่ทรงเหมือนกับสิ่งใดและไม่มีสิ่งใดเหมือนพระองค์ พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าเพียงองค์เดียว พระองค์ทรงเป็นพระผู้ทรงสร้าง ผู้ทรงเดชานุภาพ พระองค์เป็นพระองค์แรก และเป็นองค์สุดท้าย ผู้ที่อยู่ทั้งภายนอกและภายใน ไม่สิ่งใดเหมือนพระองค์

๙๓

 นี่คือการรู้จักถึงพระเจ้าที่แท้จริง”

(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๑๔)

ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้อธิบายในวจนะนี้ว่าความไม่เหมือนกับสิ่งใดของพระผู้เป็นเจ้า หลังจากนั้นยังได้อธิบายในการมีอยู่ของคุณลักษณะทั้งหลายของพระองค์ ต่อมาก็ได้อธิบายถึงความเป็นเอกานุภาพ และในตอนท้ายได้กล่าวว่า พระเจ้านั้นไม่เหมือนกับสิ่งใดที่มีอยู่ในโลก

และวจนะหนึ่งจากท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ท่านอิมามได้ตอบคำถามของชายคนหนึ่งในสงครามญะมัล ที่ถามท่านเกี่ยวกับความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า โดยที่ท่านตอบว่า ความเป็นเอกานุภาพ มีด้วยกัน ๔ ความหมาย ซึ่งสองความหมายนั้นเหมาะสมที่สุดสำหรับพระองค์ มีใจความว่า

 “ส่วนอีกสองความหมายที่ไม่อนุญาตให้ใช้กับพระองค์ได้นั้น คือ คำกล่าวของผู้ที่กล่าวว่า พระเจ้ามีพระองค์เดียวแต่เขาหมายถึง ในจำนวนเลข ความหมายนี้ไม่เป็นที่อนุญาต เพราะว่า พระองค์ไม่มีจำนวนสองและไม่มีจำนวนเลข.................และคำกล่าวที่พวกเขากล่าวว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งจากประชาชาติ ดังนั้น ความหมายนี้ก็ไม่เป็นที่อนุญาตด้วยเช่นเดียวกัน เพราะว่าได้ทำให้พระองค์เหมือนกับสิ่งอื่น และแน่นอนที่สุด พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งต่างๆเหล่านั้น

ส่วนความหมายที่เหลือของเตาฮีด คือ คำกล่าวของผู้ที่กล่าวว่า พระเจ้า ทรงเป็นหนึ่งเดียวไม่มีสิ่งใดเหมือนพระองค์ และคำกล่าวว่า พระเจ้าทรงเป็นหนึ่งในด้านความหมาย หมายความว่า พระเจ้าไม่มีการแบ่งชนิดต่างๆของการมีอยู่ในพระองค์ จากการเหตุผลทางสติปัญญาหรือการสร้างมโนภาพก็ตาม นี้แหละคือ พระเจ้า พระผู้อภิบาลของเรา ผู้ทรงสูงส่ง”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๓ วจนะที่ ๓)

๙๔

จากคำกล่าวของท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) แสดงให้เห็นว่า สองความหมายของวะฮ์ดัตที่ไม่เป็นที่อนุญาตให้ใช้กับพระผู้เป็นเจ้า คือ ความหมายของวะฮ์ดัตอะดาดีย์ (ความเป็นหนึ่งเดียวในจำนวนเลข) เพราะ ความหมายนี้ หมายถึง ความเป็นหนึ่งที่จะต้องมีจำนวนสองและสามและจำนวนเลขอื่นตามมา และถ้าหากว่า ไม่มีจำนวนเลขอื่น ก็มีความเป็นไปได้ว่า จะต้องมีสอง อย่างแน่นอน และอีกความหมายหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพ ที่ไม่เป็นที่อนุญาต ก็คือ ในความหมายของสิ่งหนึ่ง เมื่อได้เปรียบเทียบกับสิ่งอื่น เช่น นาย ก เขาเป็นทั้งมนุษย์และสัตว์ เมื่อได้เปรียบเทียบกับสิ่งอื่นที่มีความคล้ายคลึงกัน ดังนั้น ความหมายนี้ไม่สามารถที่จะใช้กับพระผู้เป็นเจ้าได้ เพราะว่า พระองค์ไม่เหมือนกับสิ่งใด และไม่มีสิ่งใดเสมือนพระองค์ และท่านอิมามอะลี ยังได้กล่าวอีกว่า และยังมีอีกสองความหมายที่อนุญาตให้ใช้กับพระเจ้าได้ นั่นคือ ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน และความบริสุทธิ์จากการมีส่วนประกอบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนประกอบในสติปัญญา ,ภายนอก,ภายในและอื่นๆ

ท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ยังได้ปฏิเสธ วะฮ์ดัตอะดาดีย์ (ความเป็นหนึ่งเดียวในจำนวนเลข) โดยได้กล่าวว่า

 “พระเจ้าทรงเป็นเอกะ มิใช่ด้วยกับจำนวนเลข และพระองค์ทรงเป็นนิรันดร์และไม่มีที่สิ้นสุด”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะ สุนทรโรวาทที่ ๑๘๕)

รายงานจากท่านอิมามซอดิก (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ว่า สาวกคนหนึ่งได้ถามท่านอิมามเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “อัลลอฮุอักบัร”ว่ามีความหมายว่าอย่างไร?

๙๕

 ชายคนหนึ่งได้พูดขึ้นว่า อัลลอฮุอักบัร  หมายถึง พระองค์ทรงยิ่งใหญ่เหนือทุกสรรพสิ่ง ดังนั้น ท่านอิมามได้ตอบว่า ความหมายของอัลลอฮุอักบัร คือ อัลลอฮ์ พระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่เหนือการพรรณาทั้งหลาย

    ศัพท์วิชาการท้ายบท

เตาฮีดซาตีย์  หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า

เตาฮีดนะซอรีย์ หมายถึง เตาฮีดในทฤษฎีศรัทธา

ตัรกีบอักลีย์  หมายถึง การมีส่วนประกอบในด้านสติปัญญา

ตัรกีบคอรีญี่  หมายถึง การมีส่วนประกอบภายนอก

ตัรกีบมิกดาดีย์   หมายถึง การมีส่วนประกอบในด้านปริมาณ

วะฮ์ดัตอะดาดีย์ (หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวในจำนวนตัวเลข

วะฮ์ดัตฮะกีกีย์  หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวในความจริง

    สรุปสาระสำคัญ

๑.ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีศรัทธา สามารถที่จะแบ่งออกเป็น สาม ประเภท ก็คือ

ความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระเจ้า, ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ และความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำของพระองค์

๒.ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระเจ้า คือ ความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระองค์ หมายความว่า การไม่มีส่วนประกอบ และการไม่มีการตั้งภาคีใดๆในอาตมันของพระเจ้า ความหมายแรก เรียกว่า

 เตาฮีด อะฮะดีย์ ความหมายที่สอง เรียกว่า เตาฮีด วาฮิดีย์

๙๖

๓.รากฐานของ ความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระเจ้าที่มีกล่าวไว้ในอัล กุรอาน และวจนะของท่านศาสดาและบรรดาอิมามผู้นำ ผู้บริสุทธิ์ได้อธิบายไปแล้วนั้น มีความหมายที่ลึกซึ้งและละเอียดอ่อน ซึ่งยากที่จะเข้าใจได้ เและนักวิชาการอิสลามก็มีความเข้าใจเพียงบางส่วนเท่านั้นป

๔.การมีส่วนประกอบมีด้วยกัน สาม ชนิด

(๑).การมีส่วนประกอบในด้านสติปัญญา เช่น การมีส่วนประกอบของสิ่งหนึ่งจากการมีและการไม่มี ,การมีส่วนประกอบจากการมีและสสาร และการมีส่วนประกอบจากสกุลและลักษณะความแตกต่าง

(๒).การมีส่วนประกอบภายนอก เช่น การมีส่วนประกอบของร่างกายจากวัตถุและรูปร่าง

(๓).การมีส่วนประกอบในด้านปริมาณ เช่น การมีส่วนประกอบของร่างกายจากชิ้นส่วนที่ยังไม่เป็นสภาวะจริง

๕.อาตมันของพระเจ้าไม่มีส่วนประกอบทั้งสามชนิด ไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนประกอบ ทางสติปัญญา ,ภายนอก และในด้านปริมาณ และมีเหตุผลต่างๆมาพิสูจน์ได้ว่า พระผู้เป็นเจ้า ไม่มีส่วนประกอบดังกล่าว

๖.ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า และการไม่มีการตั้งภาคีใดๆ สามารถที่จะพิสูจน์ได้ด้วยกับเหตุผลทางสติปัญญา

๗.ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า มิได้หมายความว่า ความเป็นหนึ่งเดียวหรือเอกภาพในจำนวนเลข แต่ทว่าหมายความว่า ความเป็นหนึ่งเดียวที่เกิดขึ้นในความเป็นจริง ดังนั้น การจินตนาการว่ามีพระเจ้าหลายองค์ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้และสติปัญญาก็ไม่ยอมรับ

๙๗

๘.อัล กุรอานได้เน้นย้ำในความเป็นเอกานุภาพหรือความเป็นหนึ่งเดียวของพระเจ้า โดยได้กล่าวว่า พระเจ้าไม่เสมอเหมือนกับสิ่งใด และในบทอัตเตาฮีดก็ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า พระเจ้า คืออัลลอฮ์ ผู้ทรงเป็นเอกะและไม่มีสิ่งอื่นใดเสมอเหมือนพระองค์

๙.โองการอัล กุรอานได้กล่าวถึงคุณลักษณะกอฮารียัต

(ผู้ทรงพิชิตเหนือทุกสิ่ง) หลังจาก คุณลักษณะความเป็นเอกานุภาพ แสดงให้เห็นว่า ความหมายของความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า คือ ความเป็นหนึ่งเดียวที่เกิดขึ้นในความเป็นจริง

๑๐.ท่านอิมามอะลีได้ตอบคำถามเกี่ยวกับความเป็นเอกานุภาพของ

พระผู้เป็นเจ้าว่า ความเป็นเอกานุภาพของพระองค์ มิได้หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวในจำนวนเลข และความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า หมายถึง การปฏิเสธการเสมอเหมือน และการปฏิเสธทุกชนิดของการมีส่วนประกอบในพระองค์

๑๑.วจนะของท่านอิมามซอดิก ได้รายงานว่า ความหมายของคำว่า

อัลลอฮุอักบัร คือ อัลลอฮ์ ผู้ทรงบริสุทธิ์เหนือการพรรณาทั้งปวง

๙๘

   บทที่ ๓

   ความเป็นเอกานุภาพของพระเจ้าในคุณลักษณะ

 (เตาฮีด ซิฟาตีย์)

   บทนำเบื้องต้น

    ได้กล่าวไปในบทที่แล้วว่า ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า สามารถที่จะแบ่งได้ ๒ ประเภท ก็คือ ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา และความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ

ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา ก็สามารถแบ่งออกได้ หลายประเภทด้วยกัน ซึ่งมีดังนี้

๑.ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน (เตาฮีด ซาตีย์)

๒.ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ (เตาฮีด ศิฟาตีย์)

๓ความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ(เตาฮีด อัฟอาลีย์)

ได้อธิบายในความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพในอาตมันผ่านไปแล้ว และจะมาอธิบายกันในความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ เป็นอันดับต่อไป

ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า อาตมันของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยกับเหตุผลทางสติปัญญาความจำเป็นที่ต้องมีอยู่ (วาญิบุลวุญูด) จะต้องมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุดในอาตมันของพระองค์ และขณะที่อาตมันของพระองค์ มีคุณลักษณะที่มีความสมบูรณ์ พระองค์จะปราศจากคุณลักษณะเหล่านั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

๙๙

 เพราะถ้าหากว่าพระองค์ทรงปราศจากคุณลักษณะเหล่านั้น ก็แสดงว่าคุณลักษณะของพระองค์มีข้อบกพร่อง และมีขอบเขตจำกัด เช่น คุณลักษณะ ความรอบรู้ ความสามารถ พลังอำนาจ การมีชีวิต และ อื่นๆ ทั้งหมดของคุณลักษณะดังกล่าวมีอยู่ในอาตมันของพระองค์ และเป็นคุณลักษณะที่มีความสมบูรณ์ที่สุด อีกทั้งยังเป็นคุณลักษณะที่ไม่มีขอบเขตจำกัด

หลังจากนั้น ได้มีคำถามเกิดขึ้นอีกว่า อะไรคือ ความสัมพันธ์ที่มีอยู่ระหว่าง คุณลักษณะที่มีความสมบูรณ์ที่สุด กับอาตมันของพระเจ้า ? แล้วคุณลักษณะเหล่านั้น เป็นหนึ่งเดียวกับอาตมันของพระองค์หรือไม่? แล้วคุณลักษณะเหล่านั้น ได้เกิดขึ้น หลังจากการมีมาของอาตมันของพระองค์หรือไม่

สำหรับคำตอบของคำถามเหล่านี้  ถ้าหากต้องการความชัดเจนในคำตอบ ให้สังเกตุในการมีอยู่ของคุณลักษณะในมนุษย์ จะเห็นว่า บางคุณลักษณะมิได้มีอยู่ภายนอกตัวของเขา แต่ทว่า คุณลักษณะนั้นมีอยู่ภายในตัวของเขา เช่น ความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นคุณลักษณะหนึ่งที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ และคุณลักษณะนี้ก็เป็นหนึ่งเดียวในตัวเขาด้วย และคุณลักษณะนี้มิได้เกิดขึ้นหลังจากตัวเขา และยังมีคุณลักษณะอื่นๆ อีก ที่เกิดขึ้นหลังจากมนุษย์ เช่น คุณลักษณะ ความดีใจ ความโกรธ ซึ่งในตัวมนุษย์มิได้มีคุณลักษณะเหล่านี้ และ ในความเป็นจริง ความดีใจ และความโกรธ มิได้มีอยู่ในตัวมนุษย์ และจะมาอธิบายกันในประเด็นคุณลักษณะของพระเจ้า และคุณลักษณะที่มีอยู่ในพระองค์นั้นเป็นเช่นไร? 

และก่อนที่จะตอบคำถามนี้ จะมาอธิบายในบทนำเบื้องต้นก่อน เพื่อที่จะได้มีความเข้าใจในคำตอบมากยิ่งขึ้น

๑๐๐

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156

157

158

159

160

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175

176

177

178

179

180

181

182

183

184

185

186

187

188

189

190

191

192

193

194

195

196

197

198

199

200

201

202

203

204

205

206

207

208

209

210

211

212

213

214

215

216

217

218

219

220

221

222

223

224

225

226

227

228

229

230

231

232

233

234

235

236

237

238

239

240

241

242

243

244

245

246

247

248

249

250

251

252

253

254

255

256

257

258

259

260

261

262

263

264

265

266

267

268

269

270

271

272

273

274

275

276

277

278

279

280

281

282

283

284

285

286

287

288

289

290

291

292

293

294

295

296

297

298

299

300

301

302

303

304

305

306

307

308

309

310

311

312

313

314

315

316

317

318

319

320

321

322

323

324

325

326

327

328

329

330

331

332

333

334

335

336

337

338

339

340

สำหรับการพิสูจน์ความหมายนี้ ของฮิกมะฮ์นั้น นอกเหนือจากการยืนยันของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ การเป็นระบบระเบียบของโลกแห่งธรรมชาติและความสวยสดงดงามของสรรพสิ่งทั้งหลายแล้ว ยังมีเหตุผลทางสติปัญญา และจะขอนำมากล่าวเพียง สอง เหตุผล ด้วยกัน ดังนี้

เหตุผลที่หนึ่ง  การไม่สมบูรณ์หรือมีความบกพร่องของการกระทำหนึ่ง เกิดจากความไม่รู้ของผู้กระทำ หรือเกิดจากการที่เขาไม่มีความสามารถที่กระทำการงานนั้นได้ หรืออาจจะกล่าวได้ว่า การกระทำนั้น เป็นการกระทำที่ไม่มีประโยชน์ และผู้กระทำเป็นผู้ที่ชอบกระทำในสิ่งที่ไร้ประโยชน์ ดังนั้นจากทั้งหมดที่กล่าวไปแล้วนั้น ถือว่า ไม่มีอยู่ในพระเจ้าเลย เพราะพระองค์ เป็นผู้ทรงรอบรู้และมีความสามารถที่ไม่มีที่สิ้นสุด กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ดั่งที่จะอธิบายในภายหลังว่า พระเจ้าไม่ทรงกระทำการงานที่ไม่มีประโยชน์และไร้สาระ ด้วยเหตุนี้ กล่าวได้ว่า ทุกสาเหตุที่กล่าวไปแล้ว ไม่มีอยู่ในพระเจ้า เพราะฉะนั้น การกระทำของพระองค์นั้น มีเป้าหมายที่สมบูรณ์ที่สุด

เหตุผลที่สอง ระหว่างการกระทำและผู้ที่กระทำนั้น มีความสัมพันธ์ที่ต้องมีอยู่คู่กัน เพราะการกระทำบ่งบอกในการมีอยู่ของผู้กระทำ ดังนั้น ผู้กระทำที่มีความสมบูรณ์ที่สุด (พระเจ้า) การกระทำของเขาต้องสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน

ความหมายของฮิกมะฮ์ที่ได้กล่าวไปแล้ว ในบางโองการทั้งหลายของอัลกุรอานและวจนะของอิสลามได้กล่าวไว้เช่นกัน

ในโองการแรกของบท ฮูด กล่าวว่า

“อะลีฟ ลาม รอ คัมภีร์ที่โองการทั้งหลายของมันถูกทำให้รัดกุมมีระเบียบ แล้วถูกจำแนกเรื่องต่างๆ อย่างชัดแจ้ง จากพระผู้ทรงปรีชาญาณ ผู้ทรงรอบรู้เชี่ยวชาญ” (บทฮูด โองการที่ ๑)

๓๔๑

ท่านอะมีรุลมุมินีนอะลี ได้อธิบายความหมายของ ฮิกมะฮ์ ไว้ว่า

“สิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง พระองค์ทรงกำหนดไว้แล้ว”

 (นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๘๙)

และกล่าวอีกว่า  “พระเจ้า ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งด้วยกับความรู้และวิทยปัญญาของพระองค์ ที่ไม่ปฏิบัติตามผู้ใด และมิได้เรียนรู้จากผู้ใดหรือลอกเลียนแบบจากผู้อื่น”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๑๙๑ )

จากความหมายของฮิกมะฮ์ ในความหมายนี้บ่งบอกถึง โลกนี้มีระบบและระเบียบที่มั่นคง เพราะเป็นผลการสร้างของพระเจ้า ผู้ทรงมีวิทยปัญญายิ่ง  ดังนั้น ความหมายของฮิกมะฮ์ ก็คือ การกระทำของพระเจ้า เป็นการกระทำที่มีความสมบูรณ์แบบที่สุด

๔.ความหมายที่สี่ของฮิกมะฮ์ หมายถึง  การไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ดี ดังนั้นตามความหมายนี้ ผู้มีฮิกมะฮ์ คือ ผู้ที่ไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ดี

จากความหมายนี้ ทำให้มีความเข้าใจได้ว่า ความยุติธรรม หมายถึง การหลีกห่างจากการกดขี่ ซึ่งเป็นหนึ่งในความหมายของฮิกมะฮ์ จะกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ ความหมายที่สี่ ได้รวมความยุติธรรมเข้าอยู่ด้วย ดังนั้น ความหมายของพระเจ้า ผู้มีฮิกมะฮ์ คือ พระองค์ไม่ทรงปฏิบัติทุกการกระทำที่ไม่ดี เช่น การโกหก การไม่รักษาสัญญา และอื่นๆ และเช่นเดียวกัน พระองค์ไม่กระทำการกดขี่ข่มเหง

ทัศนะของสำนักคิดทั้งหลายของอิสลาม มีการอธิบายที่แตกต่างกันในการให้ความว่า พระเจ้า เป็นผู้ที่มีวิทยปัญญา

๓๔๒

เหตุผลก็คือ การเป็นผู้มีวิทยปัญญาตามความหมายสุดท้ายนั้น ตั้งอยู่บนรากฐานของการมีความดีและความชั่วทางสติปัญญา และจะกล่าวต่อไปถึง การปฏิเสธความเชื่อนี้ในสำนักคิดอัชอะรีย์ แต่สำนักคิดมุตะซิละห์และอิมามียะฮ์ มีความเชื่อในการมีความดีและความชั่วทางสติปัญญา และถูกรู้จักในนาม อัดลียะฮ์

ด้วยเหตุนี้ สติปัญญาจึงบอกว่า การกระทำที่ไม่ตรงกับปัญญา เป็นการกระทำที่ไม่ดี และพระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากการกระทำนั้น แม้ว่า พระองค์จะมีความสามารถก็ตาม แต่ทว่า การดำรงอยู่ที่สมบูรณ์แบบของพระองค์ บ่งบอกถึงการไม่มีการกระทำเช่นนี้

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ อาตมันอันไม่มีที่สิ้นสุดของพระองค์ ซึ่งเป็นที่มา และแหล่งกำเนิดของการกระทำที่ดีงาม การอธิบายที่กระจ่างชัด ในประเด็นนี้ จะกล่าวกันใน ความยุติธรรมของพระเจ้า ในภายหลัง

๓๔๓

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ความสัตย์จริง เป็นคุณลักษณะหนึ่งของพระเจ้า ในขณะที่มีความสงสัยว่า พระเจ้า มีความสัตย์จริงใช่หรือไม่ การประทานวิวรณ์และคัมภีร์ทั้งหลายของพระองค์ก็ถูกสงสัยด้วยเช่นกัน

๒.การเป็นคุณลักษณะในอาตมันและในการกระทำของความสัตย์จริงของพระเจ้าอยู่บนความเชื่อที่ว่า กะลาม (คำตรัสกล่าว)ของพระองค์ เป็นคุณลักษณะที่อยู่ในอาตมันหรือ เป็นคุณลักษณะในการกระทำ และทัศนะที่ถูกต้อง ก็คือ คำตรัสกล่าวของพระเจ้า เป็นคุณลักษณะในการกระทำ เหมือนกับ ความสัตย์จริงของพระองค์

๓.การพิสูจน์ ความเป็นสัตย์จริงของพระเจ้า โดยใช้เหตุผลจากโองการทั้งหลายของอัลกุรอาน  เป็นการให้เหตุผลที่เป็นวัฏจักร และไม่เป็นที่ยอมรับ

๔.การพิสูจน์ ความเป็นสัตย์จริงของคำตรัสกล่าวของพระเจ้า ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักความดีและความชั่วทางสติปัญญา ดังนั้นกล่าวได้ว่า การโกหก เป็นการกระทำที่ไม่ดี และพระเจ้าไม่ทรงกระทำการงานที่ไม่ดี ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นไปไม่ได้ที่ คำตรัสกล่าวของพระองค์นั้น ไม่เป็นความจริงและเป็นคำพูดที่โกหก

๕.อัล กุรอานได้เน้นย้ำใน ความสัตย์จริงของพระเจ้า และกล่าวว่า พระเจ้า เป็นผู้ที่ตรัสจริง

๖.ฮิกมะฮ์ (ความวิทยปัญญา) ของพระเจ้า มีหลายความหมาย

(๑). ความรอบรู้ของพระองค์ในสารัตถะของสรรพสิ่ง

(๒). การมีเป้าหมายและจุดประสงค์ในการกระทำของพระองค์

(๓). การมีความมั่นคงและสมบูรณ์ในการกระทำของพระองค์

(๔).การหลีกห่างจากการกระทำที่ไม่ดี

๗.เหตุผลที่สมบูรณ์ของการกระทำของพระเจ้า คือ ไม่มีการกระทำใดที่ทำให้การกระทำของพระองค์นั้นไม่สมบูรณ์ เช่น การไม่รู้ และ การไม่มีความสามารถของผู้กระทำหรือ การไม่มีประโยชน์ของการกระทำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ไม่สามารถจะมีอยู่ในพระเจ้าได้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง อาตมันอันสมบูรณ์แบบของพระองค์ และการกระทำของพระองค์ก็ต้องสมบูรณ์แบบด้วยเช่นกัน

๘. ความหมายของการเป็นผู้มีวิทยปัญญา ก็คือ พระเจ้าไม่กระทำการงานที่ไม่ดี ซึ่งรวมถึง การมีความยุติธรรมด้วย ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักความดีและความชั่วทางสติปัญญา และความเชื่อนิ้มิได้มีในสำนักคิดอัชอะรีย์

๓๔๔

   บทที่ ๑๐

   คุณลักษณะที่ไม่มีในพระเจ้า

   บทนำเบื้องต้น

    หลังจากที่ได้อธิบายคุณลักษณะบางส่วนที่มีอยู่ในอาตมัน และในการกระทำของพระเจ้าไปแล้ว บัดนี้ จะมาอธิบายในคุณลักษณะที่ไม่มีของพระเจ้า ซึ่งได้กล่าวไปแล้วว่า คุณลักษณะในด้านลบทั้งหมด หมายถึง การปฏิเสธการมีขอบเขตที่จำกัดและการมีข้อบกพร่องในพระเจ้า และการปฏิเสธในคุณลักษณะเหล่านั้น คือ การยอมรับว่า พระเจ้าทรงมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์แบบ ส่วนคุณลักษณะที่ไม่มีของพระองค์นั้น มีจำนวนมากมาย แต่จะขอนำมากล่าวเพียงบางส่วน เช่น

๑.การไม่มีส่วนประกอบ

๒.การไม่มีคุณลักษณะที่เกิดขึ้นอยู่นอกอาตมัน

๓.การไม่มีรูปร่างและหน้าตา

๔.การไม่ยึดติดกับสถานที่และกาลเวลา

๕.การไม่สิงสถิตย์ในสิ่งใด

๖.การไม่มีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์

๗.การไม่มีอยู่ของปรากฏการณ์ทั้งหลายในพระองค์

๘.การไม่มีความเจ็บปวดและความรู้สึกสัมผัสใดๆ

๙.การปฏิเสธการมองเห็นพระเจ้าด้วยตาเปล่า

๓๔๕

   เหตุผลในการพิสูจน์คุณลักษณะที่ไม่มีของพระเจ้า

    ก่อนที่จะอธิบายในการมีอยู่ของคุณลักษณะที่ไม่มีของพระเจ้า และได้กล่าวแล้วว่า คุณลักษณะเหล่านี้ ย้อนกลับไปยังจุดเดียว ก็คือ การปฏิเสธการมีขอบเขตและการบกพร่องในพระเจ้า และยังมีเหตุผลทั่วไปที่ใช้พิสูจน์คุณลักษณะเหล่านี้ในพระเจ้า ซึ่งมีดังนี้

พระเจ้า เป็นสิ่งมีอยู่ที่มีคุณลักษณะที่สมบูรณ์แบบที่สุด ดังนั้น พระองค์จึงไม่มีความบกพร่อง และไม่มีขอบเขตจำกัดด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ความหมายของทุกคำ ที่บ่งบอกว่า มีข้อบกพร่องนั้น แน่นอนที่สุด ไม่มีในพระองค์ และความหมายของคุณลักษณะที่ไม่มีในพระองค์ ก็คือ การมีขอบเขตจำกัด ซึ่งการมีความสมบูรณ์ของพระองค์ บ่งบอกว่า พระองค์ไม่มีคุณลักษณะเหล่านั้น  

เพราะฉะนั้น คุณลักษณะที่ไม่มีของพระองค์ จึงหมายถึง คุณลักษณะที่มีในด้านลบ และจะกล่าวชนิดต่างๆของคุณลักษณะที่ไม่มีของพระเจ้า ได้ดังนี้

๑.การไม่มีส่วนประกอบ และ ๒.การไม่มีคุณลักษณะที่เกิดขึ้นอยู่นอกอาตมัน

รายละเอียดของประเด็นนี้ ได้อธิบายในหัวข้อเรื่อง เตาฮีด ซาตีย์ และเตาฮีด ซิฟาตีย์ผ่านไปแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องกล่าวซ้ำอีก

๓.การไม่มีรูปร่างของพระเจ้า

มุสลิมส่วนมากมีความเชื่อว่า พระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากการมีรูปร่าง และในขณะเดียวกันมีกลุ่มหนึ่งที่เชื่อว่า พระเจ้าทรงมีรูปร่างและสรีระ กลุ่มนี้ถูกเรียกว่า มุญัซซิมะฮ์

๓๔๖

เหตุผลที่ดีที่สุดในการปฏิเสธการมีรูปร่างของพระเจ้า คือ จากความหมายของการมีรูปร่าง  ซึ่งประกอบด้วย สามมิติ นั่นก็คือ ความกว้าง,ความยาว และส่วนสูง ด้วยเหตุนี้ ในทุกสิ่งที่มีรูปร่างนั้นต้องมีปริมาณอยู่ด้วย ดั่งที่ได้อธิบายไปแล้วว่า พระเจ้าไม่มีส่วนประกอบใดๆทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น พระองค์จึงไม่มีรูปร่าง  และไม่เป็นที่อนุญาตให้มนุษย์คิดว่า พระเจ้านั้นมีรูปร่าง แต่ให้ตระหนักเสมอว่า พระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากสิ่งที่เป็นวัตถุ และไม่มีคุณสมบัติของสิ่งที่เป็นวัตถุ

๔.การไม่มีสถานที่อยู่อาศัยและสถานที่พักพิง

ความหมายของคุณลักษณะนี้ คือ พระเจ้าไม่มีสถานที่อยู่อาศัย  และในขณะเดียวกัน พวกมุญัซซิมะฮ์กลับมีความเชื่อว่า พระองค์ทรงมีสถานที่พำนัก และเช่นเดียวกันในสำนักคิดกะรอมียะฮ์ก็มีความเชื่อว่า พระองค์ทรงสถิตย์อยู่ ณ เบื้องบน

เหตุผลที่พิสูจน์ว่า พระเจ้าไม่มีสถานที่อยู่อาศัย ก็คือ การมีสถานที่อยู่อาศัย เป็นคุณลักษณะของสิ่งที่มีรูปร่าง ในขณะที่พระเจ้านั้น ไม่มีรูปร่าง เพราะสิ่งที่มีรูปร่างนั้นมีความต้องการ และพระองค์ไม่ทรงมีความต้องการและพระองค์เป็นวาญิบุลวูญูด(สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่)

๕.การไม่สิงสถิตย์ในสิ่งใด

พระเจ้าทรงไม่สิงสถิตย์ในสิ่งอื่นใด เป็นความเชื่อของทุกสำนักคิดทั้งหลายในอิสลาม ที่มีความเห็นตรงกันว่า พระองค์ไม่ทรงสถิตย์ในสิ่งใด นอกเหนือจาก คำกล่าวของบางสำนักคิดซูฟีย์ที่มีความเชื่อว่า พระองค์ทรงสถิตย์ในสิ่งอื่นได้

๓๔๗

เหตุผลหนึ่งของนักเทววิทยาอิสลามที่ใช้พิสูจน์ว่า พระเจ้าไม่ทรงสถิตย์ในสิ่งใด นั่นก็คือ จากความหมายของการสิงสถิตย์ หมายถึง สิ่งที่จะสิงสถิตย์นั้น ต้องมีความต้องการในสถานที่ในการสิงสถิตย์ ดั่งที่ได้กล่าวไปแล้วว่า พระเจ้าไม่ทรงมีความต้องการสิ่งใด ดังนั้น พระองค์ไม่ต้องการสถานที่ในการสิงสถิตย์

๖.การไม่อยู่ร่วมกับสิ่งใด

พระเจ้าไม่ทรงอยู่ร่วมกับสิ่งใด เป็นความเชื่อของสำนักคิดทั้งหลายในอิสลามที่มีความเห็นตรงกัน นั่นก็คือ

เหตุผลหนึ่งในการยืนยันความเชื่อนี้ ก็คือ ถ้าหากความหมายของ การอยู่ร่วมกัน หมายถึง การมีส่วนประกอบของสิ่งสองสิ่ง  หรือการเปลี่ยนแปรสภาพของสิ่งเหล่านั้น ดังนั้น ด้วยความหมายนี้ จึงเป็นสาเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลง และโดยแท้จริง อาตมันของพระเจ้านั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดทั้งสิ้น และการเปลี่ยนแปลง เป็นสาเหตุให้เกิดความบกพร่อง

และถ้าหากความหมายของ การอยู่ร่วมกัน หมายถึง การเปลี่ยนของสิ่งสองสิ่ง เป็นสิ่งเดียว ซึ่งจากความหมายนี้ก็ไม่สามารถใช้ในพระเจ้าได้

๗.การไม่มีอยู่ในปรากฏการณ์ทั้งหลาย

พระเจ้า ไม่มีอยู่สในปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ทั้งหลาย และคุณลักษณะของพระองค์ก็มิได้เป็นฮาดิษ (สิ่งที่เป็นเหตุการณ์)ด้วย

๓๔๘

เหตุผลหนึ่งของบรรดานักเทววิทยาอิสลามในการปฏิเสธการมีอยู่ของคุณลักษณะนี้ ก็คือ

การมีอยู่ของคุณลักษณะที่เป็นเหตุการณ์ในสิ่งหนึ่ง จะต้องมีความสามารถในการยอมรับคุณลักษณะนั้นได้ และการมีความสามารถยอมรับ เป็นคุณลักษณะของสิ่งที่เป็นวัตถุ ด้วยเหตุนี้ การมีคุณลักษณะเช่นนี้ในพระเจ้า จึงจำเป็นพระองค์ต้องเป็นวัตถุ ในขณะที่ความเป็นจริงพระองค์มิใช่วัตถุ

ผลที่ได้รับจากการไม่มีคุณลักษณะนี้ คือ คุณลักษณะทั้งหลายของพระเจ้า เป็นคุณลักษณะที่มีมาแต่เดิม

๘.การไม่มีรู้สึกและความเจ็บปวด

พระเจ้าไม่มีความรู้สึก และไม่มีความเจ็บปวด

ส่วนมากของการมีความรู้สึกและความเจ็บปวด มี สอง ชนิด ด้วยกัน

ชนิดแรก ความรู้สึกและเจ็บปวดที่มีอยู่ในธรรมชาติ เป็นสิ่งที่จะเฉพาะกับสิ่งที่เป็นวัตถุเท่านั้น ในขณะที่พระเจ้ามิใช่วัตถุ ดังนั้น พระองค์ก็ไม่มีความรู้สึกและเจ็บปวดชนิดนี้

อีกชนิดหนึ่ง คือ ความรู้สึกและเจ็บปวดทางสติปัญญา หมายถึง ผู้มีสติปัญญารู้สึกถึงสิ่งที่สมควรได้รับและไม่สมควรจะได้รับ และเช่นกัน ชนิดนี้ก็ไม่มีในพระเจ้า เพราะทุกสิ่งที่มีอยู่คือ สิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง และทุกสรรพสิ่งเป็นผลในการสร้างของพระองค์ และไม่มีสิ่งใดที่อยู่ในโลกที่พระองค์ไม่ทรงรับรู้

ส่วนในประเด็นที่กล่าวถึง ความรู้สึกทางสติปัญญานั้น มีทัศนะที่แตกต่างกัน

๓๔๙

กลุ่มหนึ่งของนักเทววิทยาอิสลาม ได้ยอมรับในการมีความรู้สึกชนิดนี้ในพระเจ้า โดยพวกเขาได้ปฏิบัติตามบรรดานักปรัชญาอิสลาม และกล่าวว่า อาตมันของพระเจ้า มีความสมบูรณ์ที่สวยงามที่สุด ดังนั้น พระองค์ทรงมีความรู้สึกและรับรู้ด้วยกับอาตมันในสิ่งที่เหมาะสมที่สุด เพราะความสมบูรณ์ที่สุดคือ การมีความรู้สึกถึงสิ่งหนึ่งด้วยตัวของมันเอง การกระทำนี้ เป็นความรู้สึกของพระเจ้า

อีกกลุ่มหนึ่งได้กล่าวว่า แม้ว่าพระเจ้าทรงมีความรู้ในอาตมันที่สมบูรณ์ของพระองค์ แต่การมีอยู่ของความรู้สึกและเจ็บปวดนั้น มิได้มีในพระองค์ เพราะว่า อัล กุรอานและวจนะมิได้กล่าวถึงคุณลักษณะนี้

ท่านอัลลามะฮ์ ฮิลลีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือชะเราะฮ์ ตัจรีดุล เอียะติกอด ว่า

“ส่วนความหมายของ ความรู้สึก หมายถึง การรู้สึกที่เหมาะสมกับตัวเอง และพระเจ้าทรงมีความรู้สึกว่าตนเองมีอยู่   ทัศนะนี้ เป็นทัศนะของบรรดานักปรัชญาและเทววิทยาอิสลาม และยังเป็นทัศนะของ อิบนุ โนบัคต์ และนักเทววิทยาคนอื่นๆด้วย แม้ว่า การกล่าวว่า พระเจ้ามีความรู้สึก จะต้องได้รับอนุญาตจากพระองค์ก็ตาม”

(กัชฟุลมุรอด หน้าที่ ๓๒๐ )

ด้วยเหตุนี้ พระเจ้า ทรงไม่มีความรู้สึกที่มีอยู่ในธรรมชาติ

๙.การปฏิเสธการมองเห็นพระเจ้า

มนุษย์ไม่สามารถที่จะมองเห็นพระองค์ได้ และคุณลักษณะประเภทนี้ เป็นปัญหาที่เกิดการถกเถียงในบรรดาคุณลักษณะที่ไม่มีในพระองค์ และประเด็นนี้ ยังเป็นประเด็นที่มีความเห็นที่แตกต่างกันมากทีเดียว

๓๕๐

บรรดานักเทววิทยาอิสลามของสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์ และอิมามียะฮ์  มีความเชื่อว่า มนุษย์ไม่สามารถที่จะมองเห็นพระเจ้าได้ ทั้งโลกนี้ และโลกหน้า

ในทางตรงกันข้าม พวกมุญัซซิมะฮ์ กลับกล่าวว่า เนื่องจากว่าพระเจ้นั้นมีรูปร่างและหน้าตา ดังนั้นมนุษย์มีความสามารถจะมองเห็นพระองค์ได้ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

ทัศนะของอะฮ์ลุลฮะดีษและสำนักคิดอัชอะรีย์ ก็คือ พวกเขายึดถือ แนวทางสายกลางในประเด็นนี้

และพวกเขาได้มีความเชื่อว่า มนุษย์สามารถมองเห็นพระเจ้าได้ในโลกหน้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

พวกอัชอะรีย์ได้กล่าวว่า

“พวกเรามีความเชื่อว่า บรรดาผู้ศรัทธานั้น สามารถมองเห็นพระเจ้าได้ในโลกหน้า ซึ่งเหมือนดั่งดวงจันทร์ทอแสงในค่ำคืนที่ ๑๕ ของเดือน”

(อัลอิบานะ อัน อัดดิยานะ อัชอะรีย์ หน้าที่ ๒๑)

เราได้กล่าวไปแล้วว่า ประเด็นการมองเห็นพระเจ้า เป็นประเด็นที่เกิดทัศนะที่แตกต่างกัน และในสำนักคิดทั้งหลายของอิสลามต่างก็ใช้เหตุผลของตนเองในการพิสูจน์ ซึ่งประเด็นนี้ เป็นประเด็นที่ต้องใช้เวลาในการอธิบายมาก แต่จะขออธิบายในเหตุผลที่มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นพระเจ้าได้ ด้วยกับเหตุผลจากอัล กุรอาน

๓๕๑

และถ้าหากว่าการมองเห็น คือ การมองเห็นด้วยกับประสาทสัมผัสทั้งห้า เป็นประเด็นที่เป็นปัญหาถกเถียงกัน แต่ถ้าการมองเห็น หมายถึง การมองเห็นด้วยกับตาแห่งปัญญา ประเด็นนี้ไม่เป็นที่ถกเถียงกัน และสำนักคิดทั้งหลายในอิสลามก็ยอมรับ คือ การมองเห็นพระเจ้าในโลกนี้และในโลกหน้า โดยวิธีการมองเห็นทางใจโดยผ่านการฝึกฝนอย่างเคร่งครัดต่อคำสั่งสอนของศาสนา และจะเห็นได้ว่า ทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์รุ่นหลังก็ได้ยอมรับในการมองเห็นพระเจ้าด้วยกับตาแห่งปัญญามิใช่กับตาเนื้อ

   เหตุผลของการมองไม่เห็นพระเจ้าด้วยกับสายตา

   มีเหตุผลทางสติปัญญามากมายที่ใช้พิสูจน์การมองไม่เห็นพระเจ้าด้วยกับสายตา  ซึ่งจะขอนำมากล่าวสัก สอง เหตุผล ดังนี้

๑.การมองเห็นสิ่งที่สัมผัสได้โดยการใช้สายตาในการมอง และสิ่งที่มองเห็นนั้น จะต้องมีสถานที่ และในขณะที่พระเจ้าไม่ทรงมีมีสถานที่ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่สามารถที่จะมองเห็นพระองค์ได้

๒.ถ้าหากสมมุติว่า มนุษย์มองเห็นพระเจ้าได้ แน่นอนที่สุด เขาจะต้องเห็นตัวตนหรืออาตมันของพระองค์ในสถานที่หรือเห็นเพียงบางส่วนของอาตมัน ดังนั้น การมองเห็นเพียงบางส่วน แสดงว่า พระเจ้านั้น มีส่วนประกอบก็ถือว่า ไม่ถูกต้อง และถ้ามองเห็นตัวตนของพระองค์ ก็ไม่ถูกต้องและไม่เข้ากับสติปัญญา เพราะอาตมันของพระองค์นั้นไม่มีที่สิ้นสุด

ในตอนท้าย ขอกล่าวซ้ำอีกครั้งว่า คุณลักษณะที่ไม่มีในพระเจ้า มิได้มีจำกัดเพียงเท่านี้ แต่ยังมีจำนวนอีกมาก และคุณลักษณะที่แสดงถึง การมีขอบเขตในพระองค์ เช่น การมีกาลเวลา การมีความต้องการ การมีผลสะท้อนจากอาตมัน  การมีสิ่งที่เหมือนพระเจ้า และอื่นๆ

๓๕๒

   คุณลักษณะที่ไม่มีในพระเจ้า ในทัศนะอัล กุรอาน

    อัล กุรอานกล่าวว่า ความมหาบริสุทธิ์แห่งพระเจ้า หมายถึง พระเจ้าทรงปราศจากคุณลักษณะที่ไม่สมบูรณ์ และบางโองการกล่าวว่า พระเจ้าทรงบริสุทธิ์ยิ่ง หมายถึง ความสะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากมลทินทั้งปวง เช่น ในบทอัลฮัชร์กล่าวว่า

พระองค์คือ อัลลอฮ์ ซึ่งไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากพระองค์ ผู้ทรงอำนาจสูงสุด ผู้ทรงบริสุทธิ์

(บทอัลฮัชร์ โองการที่ ๒๓)

   พระเจ้าคือ ผู้ที่ไม่ต้องการสถานที่อยู่อาศัย

    โองการอัล กุรอาน บางโองการกล่าวถึง การไม่มีสถานที่พักพิงของพระเจ้า ดั่งตัวอย่างเช่น หลังจากการเหตุการณ์การเปลี่ยนทิศกิบละฮ์ของบรรดามุสลิมจากบัยตุล-มุก็อดดัซ เป็นกะอ์บะ และได้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์จากชาวยะฮูดีย์ จนกระทั่งโองการนี้ได้ถูกประทานลงมาให้ศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล)

อัล กุรอานกล่าวว่า

ทั้งตะวันออก และตะวันตกเป็นของอัลลอฮ์ สูเจ้าจะพบอัลลอฮ์ ในทุกทิศทาง ที่สูเจ้าผินหน้าของสูเจ้าไป แท้จริงอัลลอฮ์ คือผู้ทรงไพบูลย์ ผู้ทรงรอบรู้” (บทอัลบะกอเราะ โองการที่ ๑๑๕ )

๓๕๓

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า พระเจ้าทรงอยู่เหนือการมีสถานที่ และความหมายของ ทิศตะวันออกและตะวันตก มิได้หมายถึง ทิศทางในภูมิศาสตร์ แต่หมายถึง ในทุกทิศทาง และความหมายของคำว่า ทิศทางใดที่เจ้าผินหน้าจะพบพระเจ้า หมายถึง พระเจ้าทรงมีอยู่ทุกสถานที่ ดังนั้น โองการนี้ได้อธิบายถึง เรื่องของกิบละฮ์ ที่บรรดมุสลิม จะต้องหน้าไปยังทิศนั้น ในยามที่ทำการนมัสการพระผู้เป็นเจ้า และมิได้กล่าวถึง การมีอยู่ของพระเจ้าในสถานที่หรือทิศทางที่ถูกจำกัด  เพราะพระองค์ทรงอยู่ทุกสถานที่และทุกทิศทาง และพระองค์ทรงรอบรู้ในทุกสิ่ง แน่นอนที่สุด พระเจ้านั้น ไม่มีส่วนประกอบและไม่มีชิ้นส่วน ดังนั้น การที่พระองค์มีอยู่ทุกสถานที่และทุกทิศทาง มิได้หมายถึง พระองค์ทรงอยู่จนเต็มในทุกสถานที่ แต่หมายถึง พระองค์ทรงมีอยู่เหนือสถานที่ หรือไม่มีสถานที่ต้องอาศัยหรือพำนัก 

และการมีสองรูปร่างหรือมีวัตถุในสถานที่อันเดียว ก็ไม่สามารถที่จะกล่าวว่า พระเจ้าเป็นรูปร่างที่ควบคุมและดูแลโลกแห่งวัตถุและโลกแห่งรูปร่าง

และยังมีอีกโองการหนึ่งที่กล่าวถึง พระเจ้าอยู่กับมนุษย์ และเป็นการยืนยันว่า พระองค์ ไม่มีสถานที่

อัล กุรอานกล่าวว่า

และพระองค์ทรงอยู่กับพวกเจ้าไม่ว่าพวกเจ้าจะอยู่ ณ แห่งหนใด และอัลลอฮ์ทรงเห็นสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ” (บทอัลหะดีด โองการที่ ๔ )

การที่พระเจ้าอยู่กับมนุษย์ และมีสถานที่ในการพำนักนั้น ไม่เหมาะสม เพราะถ้าการมีอยู่ของสิ่งหนึ่งในสถานที่ถูกจำกัด และไม่สามารถที่จะมีอยู่กับสิ่งอื่นได้  ดังนั้น การทรงดำรงอยู่ของพระเจ้า ในทุกสถานที่นั้น บ่งบอกถึง การมีพลังอำนาจของพระองค์ เพราะว่า พระองค์ทรงไม่มีที่สิ้นสุด และทุกสรรพสิ่งก็เกิดขึ้นมาจากพระองค์

๓๕๔

   การมองไม่เห็นพระเจ้า

   โองการอัล กุรอานที่บ่งบอกว่า มนุษย์ไม่สามารถเห็นพระเจ้าได้ คือ โองการนี้ที่ได้กล่าวว่า

สายตาทั้งหลายย่อมไปไม่ถึงพระองค์ แต่พระองค์ทรงเห็นถึงสายตาเหล่านั้น และพระองค์คือผู้ทรงปรานี ผู้ทรงรอบรู้อย่างถี่ถ้วน” (บทอัลอันอาม โองการที่ ๑๐๓ )

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า ไม่มีสายตาใดที่จะมองเห็นพระเจ้า แต่พระองค์ทรงเห็นในสายตาทั้งหลายเหล่านั้น  ดังนั้นการมองไม่เห็นพระเจ้า คือ การมองเห็นด้วยสายตาของมนุษย์ และความหมายของ คำว่า สายตาทั้งหลาย หมายถึง ไม่มีสายตาใดเลยที่สามารถจะมองเห็นพระเจ้าได้

อีกโองการหนึ่งที่ปฏิเสธการมองเห็นพระเจ้าด้วยสายตาของมนุษย์

อัล กุรอานกล่าวว่า

“และเมื่อมูซาได้มาตามกำหนดเวลาของเรา และพระเจ้าของเขาได้ตรัสแก่เขา เขาได้กล่าวขึ้นว่า โอ้พระเจ้าของข้าพระองค์ โปรดให้ข้าพระองค์เห็นด้วยเถิด โดยที่ข้าพระองค์จะได้มองดูพระองค์ พระองค์ตรัสว่า เจ้าจะเห็นข้าไม่ได้เป็นอันขาด” (บทอัลอะอ์รอฟ โองการที่ ๑๔๓ )

จากการอธิบายของโองการทั้งหลายที่เกี่ยวกับศาสดามูซา จะเห็นได้ว่า การร้องขอของศาสดามูซา คือ การร้องขอของกลุ่มชนผู้โง่เขลาชาวบะนีอิสรออีล และพระเจ้าได้ตอบกับเขาว่า เจ้าจะไม่เห็นข้า เป็นอันขาด

๓๕๕

ถ้าหากว่ามองผิวเผินในโองการเหล่านี้ จะเห็นว่า เป็นโองการมุฮ์กะมาต (โองการที่ชัดเจน) ที่ตรงกันข้ามกับโองการที่คลุมเครือได้กล่าวยอมรับถึง การมองเห็นพระเจ้า เช่น การยกเหตุผลของ สำนักคิดอัชอะรีย์ ที่ยึดเอาโองการต่อไปนี้มา พิสูจน์ว่า มนุษย์สามารถมองเห็นพระเจ้าได้

อัล กุรอานกล่าวว่า

ในวันนั้นหลาย ๆ ใบหน้าจะเบิกบาน จ้องมองไปยังพระเจ้าของมัน

(บทอัลกิยามะฮ์ โองการที่ ๒๒ -๒๓ )

สำหรับคำตอบที่ให้กับพวกอัชอะรีย์ ก็คือ ความหมายของ รากศัพท์ นะซอรอ เมื่อมีคำเชื่อม อิลา เข้ามา มิได้หมายความว่า การมองเห็น แต่หมายถึง การรอคอย จากการยืนยันจากโองการที่ ๒๕ ของบทนี้ ดังนั้น ความหมายของโองการข้างต้น ก็คือ กลุ่มชนกลุ่มหนึ่งได้รอคอยความโปรดปรานและความเมตตาจากพระเจ้า และอีกกลุ่มหนึ่งรอคอยการถูกลงโทษจากพระองค์ ด้วยเหตุนี้ จากโองการทั้งหลายของอัล กุรอานได้กล่าวอย่างชัดเจนถึง การที่มนุษย์ไม่มีความสามารถที่จะมองเห็นพระเจ้าได้ และเหตุผลของสำนักคิดอัชอะรีย์ ก็ถือว่า ไม่ถูกต้อง

๓๕๖

   คุณลักษณะที่ไม่มีในพระเจ้า ในมุมมองของวจนะ

    วจนะทั้งหลายมากมายได้กล่าวถึง คุณลักษณะที่พระเจ้าไม่มี ซึ่งจะขอนำมากล่าวสักเล็กน้อย ณ ที่นี้

ท่านอิมาม ซอดิก (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

“แท้จริงอัลลอฮ์ไม่ทรงมีเวลาและสถานที่และการเคลื่อนที่และการย้ายที่และการหยุดนิ่ง แต่ทว่า พระองค์ทรงเป็นผู้ที่สร้างเวลาและสถานที่และการเคลื่อนที่และการย้ายที่และการหยุดนิ่ง พระองค์ทรงสูงส่งกว่าสิ่งที่ผู้ฉ้อฉลกล่าวหาเสียอีก”

(บิฮารุลอันวาร เล่ม ๓ หน้า ๓๐๙ ฮะดีษที่ ๑)

จากวจนะนี้ แสดงให้เห็นว่า ท่านอิมามต้องการที่จะกล่าวถึง การมีอยู่พระเจ้าว่า พระองค์ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา และสถานที่ และไม่มีการเคลื่อนย้าย อีกทั้งไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

“การอรรถาธิบาย คำว่า ศอมัด (แปลว่า พระเจ้าไม่ต้องที่พึ่ง) หมายถึง พระองค์ไม่มีนาม ,ไม่มีร่างกาย ,ไม่มีสิ่งใดเหมือน, ไม่มีใบหน้า, ไม่มีขอบเขต, ไม่มีสถานที่ ,ไม่มีที่อยู่, ไม่ได้อยู่ที่นี่และที่นั้น, ไม่ได้เต็มและไม่ได้ว่าง, ไม่ได้นั่งและไม่ได้ยืน, ไม่ได้หยุดนิ่งและไม่ได้เคลื่อนไหว, ไม่ได้อยู่ในความมืดและไม่ได้อยู่ในความสว่าง, ไม่ได้อยู่จิตวิญญาณและไม่ได้อยู่ในวัตถุ ไม่ได้เป็นสี, ไม่ได้อยู่ในหัวใจของผู้ใดและ ไม่ได้มีกลิ่นที่จะดมได้ ดังนั้นทั้งหมดเป็นคุณลักษณะที่พระเจ้าไม่มี”

(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๒๓๐ วจนะที่ ๒๑)

๓๕๗

และบางคุณลักษณะที่ไม่มีในพระเจ้า เช่น พระองค์ไม่มีรูปร่าง และไม่สามารถมองเห็นพระองค์ได้ ก็มีกล่าวในวจนะต่างๆมากมายเรื่องนี้ เช่น

วจนะจากท่านอิมามซอดิก (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้รายงานว่า

สาวกคนหนึ่งได้นำคำพูดของ ฮิชาม อิบนิ ฮะกัม ที่กล่าวว่า พระเจ้าทรงมีรูปร่าง ไปรายงานให้ท่านอิมามฟังและอิมามตอบกับเขาว่า

“ความหายนะ จงประสบแด่ฮิชาม หารู้ไม่ว่า รูปร่างและหน้าตา เป็นสิ่งที่มีขอบเขต ดังนั้นหากว่ามีขอบเขต ก็ต้องยอมรับการมีน้อยและมีมากได้ และเมื่อยอมรับว่า มีน้อยและมีมาก สิ่งนั้น ก็เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา”

สาวกคนนั้น ก็กล่าวขึ้นว่า แล้วฉันจะกล่าวว่าอย่างไรละ

อิมามตอบว่า

“พระองค์ไม่มีรูปร่างและหน้าตา แต่พระองค์ทรงสร้างรูปร่างและหน้าตา พระองค์ไม่มีชิ้นส่วน ไม่มีมากและไม่มีน้อย

หากมาตรแม้นว่า เขา(ฮิชาม )กล่าวอย่างนั้น ก็จะไม่มีความแตกต่างระหว่างผู้สร้างกับสิ่งที่ถูกสร้าง ในขณะที่พระองค์เป็นผู้สร้างและทำให้มีความแตกต่างระหว่างรูปร่างและหน้าตา เพราะพระองค์ไม่เหมือนกับสิ่งใดและไม่มีสิ่งใดเหมือนพระองค์”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๖ วจนะที่ ๗)

ในวจนะนี้ แสดงให้เห็นว่า มีความหมายที่ลึกซื้ง ซึสรุปได้ว่า การให้เหตุผลของท่านอิมาม ในการพิสูจน์ว่า พระเจ้าไม่มีรูปร่าง ก็คือ เมื่อมีรูปร่างก็ต้องมีขอบเขต เมื่อมีขอบเขตก็ต้องมีมากหรือน้อย เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็ต้องเป็นสิ่งที่ถูกสร้าง ดังนั้นถ้าสมมุติว่า พระเจ้ามีรูปร่าง พระองค์ก็ต้องเป็นสิ่งที่ถูกสร้าง ในขณะที่พระองค์เป็นผู้ทรงสร้าง มิใช่สิ่งที่ถูกสร้าง

๓๕๘

และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ ถ้ายอมรับว่า คำพูดของฮิชามเป็นจริง ดังนั้น พระเจ้าเป็นผู้สร้างสิ่งที่มีรูปร่าง และถ้าพระองค์ทรงมีรูปร่างแล้ว ก็ไม่มีความแตกต่างระหว่างผู้สร้างกับสิ่งที่ถูกสร้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ มีความขัดแย้งกับความเป็นจริง เพราะความเป็นจริง ก็คือ ผู้สร้างต้องมีความแตกต่างกับสิ่งที่ถูกสร้าง

และยังมีวจนะทั้งหลายที่ได้กล่าวถึง การไม่มีสถานที่และเวลา เช่น

วจนะของอิมามกอซิม (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

“แท้จริงอัลลอฮ์ ผู้ทรงเกียรติ และทรงยิ่งใหญ่  พระองค์ทรงมีมาแต่เดิม โดยที่มีกาลเวลา และพระองค์ทรงมีอยู่ในขณะนี้ เหมือนกับพระองค์ทรงอยู่ ในสภาพที่ไม่มีสถานที่ใดที่ไม่มีพระองค์ และไม่มีสถานที่ใดที่พระองค์ไม่ทรงอยู่ และพระองค์ไม่ทรงสถิตย์ ณ สถานที่ใด ในแผ่นดิน”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๒๘ วจนะที่ ๑๒)

จากประโยคหนึ่งของวจนะนี้ คือ ไม่มีสถานที่ใดที่ไม่มีพระองค์ แสดงให้เห็นว่า พระเจ้าไม่มีอยู่ในสถานที่ใด

มีวจนะหนึ่งที่ได้กล่าวถึง การปฏิเสธการมองเห็นพระเจ้าด้วยสายตา

วจนะของท่านอิมามอะลี ผู้นำแห่งศรัทธาชน (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ท่านได้ตอบคำถามของสาวกที่มีนามว่า ซิอฺลับ ยะมานียฺ ที่ได้ถามว่า

“เวลาที่ท่านทำการเคารพภักดีต่อพระผู้อภิบาลของท่าน ท่านเคยเห็นพระองค์หรือไม่?”

ท่านอิมามตอบว่า

“ฉันจะไม่เคารพภักดีพระผู้อภิบาลที่ฉันไม่เคยเห็นพระองค์”

ซิอฺลับ ก็ถามอีกว่า “แล้วท่านเห็นพระองค์ได้อย่างไร?ช่วยอธิบายให้ข้าพเจ้าฟังด้วย”

๓๕๙

ท่านอิมามตอบว่า

“ไม่มีใครเห็นพระองค์ จากตาเนื้อ แต่หัวใจที่บรรจุแน่นไปด้วยความศรัทธาต่างหากที่เพิ่งพินิจยังพระองค์” [๓]

วจนะจากท่านอิมามอัสการีย์ ก็เช่นกัน ที่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า

ได้มีชายคนหนึ่งถามท่านว่า มนุษย์ทำการเคารพภักดีต่อพระเจ้าได้อย่างไร ในสภาพที่มองไม่เห็นพระองค์?

อิมามได้ตอบว่า

“นายของฉัน คือ ผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพให้แก่ฉันและให้แก่บรรพบุรุษของฉัน และพระองค์ทรงประเสริฐกว่าที่จะมองเห็น”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะ บทเทศนาที่ ๑๗๙)

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ความสมบูรณ์แบบของพระเจ้า บ่งบอกถึง คำทั้งหลายที่มีความหมายถึงการมีขอบเขตหรือมีข้อบกพร่อง ถูกปฏิเสธในพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ จะกล่าวได้ว่า พระเจ้าทรงมีอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์แบบที่สุด และไม่มีคุณลักษณะที่ไม่มีในพระองค์

๒.คุณลักษณะหนึ่งที่ไม่มีในพระเจ้า คือ การไม่ได้เป็นรูปร่างหรือมีร่างกาย หมายความว่า อาตมันของพระองค์มิได้เป็นวัตถุ และไม่มีสิ่งที่วัตถุมี

เหตุผลก็คือ ทุกสิ่งที่เป็นวัตถุมีรูปร่างและส่วนประกอบ ขณะทีอาตมันของพระเจ้า มิได้เป็นวัตถุ และไม่มีส่วนประกอบ

๓๖๐

361

362

363

364

365

366

367

368

369

370

371

372

373

374

375

376

377

378

379

380

381

382

383

384

385

386

387

388

389

390

391

392

393

394

395

396

397

398

399

400

401

402

403

404

405

406

407

408

409

410

411

412

413

414

415

416

417

418

419

420

421

422

423

424

425

426

427

428

429

430

431

432

433

434

435

436

437

438

439

440

441

442

443

444

445

446

447

448

449

450