บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม13%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 339954 / ดาวน์โหลด: 4960
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

ความหมายของวิธีการแรกคือ มนุษย์ใช้เหตุผลตามหลักการและกฏต่างๆ ของตรรก และปรัชญาในการพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้า และการมีอยู่ของคุณลักษณะและการกระทำของพระองค์ ส่วนในวิธีการที่สองคือ การรู้จักพระเจ้าโดยผ่านการปฏิบัติ ซึ่งเกิดจากการขัดเกลาจิตวิญญาณของมนุษย์และการยกระดับจิตใจให้สูงส่ง  จนสามารถมองเห็นพระองค์และคุณลักษณะอันสวยงามทั้งหลายของพระองค์ได้ด้วยตาแห่งปัญญา

การจัดแบ่งการรู้จักพระเจ้าอีกระบบหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางหลักของการรู้จักอันประกอบด้วย แนวทางของสติปัญญา วิทยาศาสตร์ และแนวทางของจิต

๑. สติปัญญา เป็นวิธีการที่มนุษย์ใช้เหตุผลตามหลักการและกฎต่างๆ ของตรรก และปรัชญาในการพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้า และคุณลักษณะของพระองค์

๒.วิทยาศาสตร์และการทดลอง ในบางครั้ง มนุษย์มิได้ใช้เหตุผลของปรัชญาหรือกฏต่างๆ ของตรรกศาสตร์ แต่เขาได้รับเหตุผลต่างๆในการพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้าด้วยกับการสังเกตุในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งในโลกและในตัวของมนุษย์ ทำให้เขารู้ว่าในโลกนี้มีพระเจ้าอยู่จริง วิธีการนี้จึงถูกเรียกว่า “เหตุผลทางประสบการณ์นิยม”

เหตุผลทฤษฎีที่ว่าด้วยกฏและระเบียบของโลก ก็เป็นหนึ่งในเหตุผลดังกล่าวซึ่งเกิดจากการสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของโลก การใช้กฏของตรรกศาสตร์ และปรัชญามาอ้างเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น

๒๑

๓.จิตหรือญาณวิสัย หมายถึง บางครั้ง การรู้จักพระเจ้าไม่ต้องการเหตุผลที่สลับซับซ้อนของปรัชญาหรือวิทยาศาสตร์ ประสบการณ์นิยม แต่การรู้จักพระเจ้าอาจเกิดจากภายในส่วนลึกของมนุษย์หรือด้วยกับญาณวิสัย โดยผ่านการฝึกฝนและปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในคำสอนของศาสนา จนสามารถมองเห็นพระเจ้าได้ด้วยตาแห่งปัญญา ซึ่งวิธีการนี้จะเกิดเฉพาะเจาะจงกับกลุ่มชนบางกลุ่มเท่านั้น และในอิสลามก็ให้การยอมรับพวกเขาและเรียกพวกเขาว่า นักรหัสยวิทยา (อาริฟ)

   วิธีการทั่วไป และวิธีการโดยเฉพาะ

   วิธีการรู้จักพระเจ้ามีอีก ๒  วิธีการ ดังนี้

 ๑.วิธีการทั่วไป

 ๒.วิธีการอันเฉพาะเจาะจง

   ความหมายของวิธีการทั่วไป หมายถึง วิธีการที่มนุษย์ทุกคนสามารถใช้ได้ โดยไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่ว่าจะเป็นวิชาการใดหรือวัฒนธรรมใดก็ตาม

   ส่วนวิธีการโดยเฉพาะเจาะจงนั่นหมายถึง วิธีการที่ต้องใช้เหตุผลทางวิชาการที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งมนุษย์ทั่วไปไม่สามารถเข้าใจได้ เป็นวิธีการที่มีความยากลำบากต่อการสร้างความเข้าใจ ทั้งเหตุผลที่ซับซ้อนทางปรัชญาและตรรกศาสตร์ หรือแม้แต่เหตุผลที่ง่ายต่อการเข้าใจ เช่น ทฤษฎีที่ว่าด้วยกฏและระเบียบของโลก

ในที่นี้ จะขออธิบายถึงการรู้จักพระเจ้าโดยวิธีการฟิฏรัต (สัญชาตญาณดั้งเดิม) หลังจากนั้น จะกล่าวถึงทฤษฎีที่ว่าด้วยกฎและระเบียบของโลก

๒๒

 ส่วนในตอนท้ายจะกล่าวถึงเหตุผลทางสติปัญญา

   ศัพท์วิชาการท้ายบทที่ ๑

การสกัดกั้นอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้   : Removing harm

การสำนึกในบุญคุณต่อผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพ (ผู้มีบุญคุณ)

: Thanks giving                                            

การแสวงหาและการรู้จักพระเจ้า      :  Theist

วิธีการทางสติปัญญา         : Reason

วิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือประสบการณ์นิยม    : Experience

วิธีการทางจิตหรือญาณวิสัย     : Intuition

๒๓

   สรุปสาระสำคัญ

๑.เรื่องของการรู้จักพระเจ้า นอกจากจะมีความสำคัญต่อมนุษย์ในด้านทฤษฎีทางความคิดแล้ว ยังมีผลต่อการปฏิบัติทางด้านการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ดังนั้น ความเชื่อในพระเจ้าและคุณลักษณะของพระองค์ ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้จะมีผลโดยตรงต่อการปฏิบัติของมนุษย์

๒.การรู้จักพระเจ้า  ไม่ใช่ว่ามีความสำคัญกับมนุษย์เท่านั้น หากยังเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์อีกด้วย เพราะว่าพวกเขามีความต้องการที่จะรู้จักพระเจ้าให้ได้มากเท่าที่จะทำได้ โดยเหตุผลทางสติปัญญาคือ ให้มนุษย์หลีกออกห่างจากภยันตรายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และการรู้สำนึกในบุญคุณต่อผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพให้เขา

๓.การรู้จักพระเจ้า มีด้วยกัน ๓ ระดับขั้น

(๑).การรู้จักอาตมันของพระเจ้า หมายถึง การรู้จักระดับนี้ทั้งมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายไร้ความสามารถในการที่จะรู้จักในแก่นแท้แห่งอาตมันของพระองค์

(๒).การรู้จักว่า พระเจ้ามีอยู่จริงหรือไม่

(๓).การรู้จักในคุณลักษณะ และการกระทำของพระเจ้า

การรู้จักในระดับที่สอง และสามนั้น มีความเป็นไปได้สำหรับมนุษย์ที่จะรู้จักพระเจ้าจากระดับขั้นเหล่านี้

การรู้จักระดับขั้นที่สอง เป็นมูลเหตุสำคัญทำให้มนุษย์แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม

(๑). มนุษย์กลุ่มที่ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า

(๒).มนุษย์กลุ่มที่มีความสงสัยในการมีอยู่ของพระเจ้า

(๓).มนุษย์กลุ่มที่มีความเชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้า

๒๔

การให้ทัศนะที่แตกต่างกันทางคุณลักษณะ และการกระทำของพระเจ้า เป็นสาเหตุทำให้เกิดสำนักคิดต่างๆ ในเทววิทยาอิสลาม และเป็นยังสาเหตุทำให้มีความแตกต่างในระหว่างศาสนาทั้งหลายด้วย

๔.แม้ว่า วิธีการรู้จักพระเจ้ามีมากมายก็ตาม  มนุษย์ทุกคนต่างมีวิธีการรู้จักพระเจ้าเป็นของตนเอง ซึ่งสามารถแบ่งวิธีการเหล่านั้นได้เป็น ๓ ประเภท ได้แก่

(๑).วิธีการทางสติปัญญา

(๒).วิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือเหตุผลประสบการณ์นิยม

(๓).วิธีการทางจิตหรือญาณวิสัย

๕.นอกเหนือจากวิธีการทั้งสามแล้ว ยังมีวิธีการรู้จักพระเจ้า อีก สอง วิธีการ ดังนี้

(๑).วิธีการทั่วไป เป็นวิธีการของมนุษย์ทุกคนในการรู้จักถึงพระเจ้า

(๒).วิธีการโดยเฉพาะเจาะจง ซึ่งเป็นวิธีการของมนุษย์บางกลุ่มโดยอาศัยการอ้างอิงเหตุผลทางวิชาการต่างๆในการรู้จักพระเจ้า

๒๕

   บทที่ ๒

   วิธีการฟิฏรัต(สัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์)

   บทนำเบื้องต้น

   ได้กล่าวแล้วว่าวิธีการการรู้จักพระเจ้านั้นมีหลายวิธี  ตลอดจนวิธีการทางญาณวิสัย นอกจากนั้นแล้วยังมีวิธีการฟิฏรัต (สัญชาตญาณดั้งเดิม) ซึ่งหมายถึง การรู้จักพระเจ้าผ่านทางจิตใต้สำนึกของมนุษย์ หรือที่เรียกกันว่า สัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์นั่นเอง วิธีการนี้เป็นขั้นตอนทั่วไปสำหรับการรู้จักพระเจ้า นอกเหนือจากวิธีการฟิฎรัตแล้ว ยังมีวิธีการในระดับสูงสุดอีกวิธีหนึ่งนั่นคือ วิธีการจาริกทางจิตวิญญาณของนักรหัสยวิทยา (อาริฟ) หมายถึง การรู้จักพระเจ้าโดยผ่านการอิบาดะฮ (การฝึกฝนและปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในคำสอนของศาสนา) และการขัดเกลาจิตวิญญาณ จนสามารถมองเห็นคุณลักษณะอันสวยงามทั้งหลาย (ซิฟะตุลญะมาลียะฮฺ) และคุณลักษณะอันสูงส่งของพระองค์ (ซิฟะตุลญะลาลียะฮฺ) ได้ด้วยตาแห่งปัญญา มิใช่ตาเนื้อ 

อันดับแรกจะอธิบายความหมายของคำว่า ฟิฏรัต ในด้านภาษา ก่อน หลังจากนั้นจะอธิบายเหตุผลของวิธีการฟิฏรัต ต่อไป

๒๖

   ฟิฏรัต ความหมายด้านภาษา และเชิงวิชาการ

    คำว่า “ฟิฏรัต” ในภาษาอาหรับมาจากรากศัพท์คำว่า ฟิฏร์ แปลว่า การแยกออกของสิ่งหนึ่งตามด้านยาว

นักอักษรศาสตร์ได้ให้ความหมายคำว่า ฟิฏรัต ว่า การแยกออกหรือการแตกออกของๆ สิ่งหนึ่ง ดังนั้น การสร้างของพระเจ้าก็เปรียบเสมือนกับการแยก หรือการแตกออกจากการที่ไม่เคยมีมาก่อน ด้วยเหตุนี้ คำว่า ฟิฏรัต จึงหมายถึง การสร้างหรือการบันดาล กล่าวคือ การเกิดขึ้นของการกระทำหนึ่งที่ถูกเรียกว่า ฟิฏรัต อันเป็นรูปแบบหนึ่งของการสร้างสรรค์โดยเฉพาะ

อัล กุรอาน กล่าวว่า

 “ดังนั้น เจ้าจงผินหน้าของเจ้าสู่ศาสนาที่เที่ยงแท้ ฟิตรัตของอัลลอฮ์ คือการสร้างมนุษย์ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในการสร้างของพระองค์” (บทอัรรูม โองการที่ ๓๐)

อิสลามเชื่อว่า พระเจ้าทรงแนะนำพระองค์ให้มนุษย์รู้จักก่อนที่จะสร้างมนุษย์ขึ้นมา ซึ่งจะอธิบายรายละเอียดความเชื่อนี้ต่อไป

ส่วนความเชื่อที่ว่า การมีอยู่ของพระเจ้าเป็น ฟิฎรัต (สัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์) นั้นเป็นจริงหรือไม่ ?

๒๗

   การอธิบายความหมายของการมีอยู่ของพระเจ้าเป็น ฟิฏรัต

   กล่าวได้ว่า หลังจากที่ได้อธิบายความหมายของคำว่า ฟิฏรัตไปแล้ว สิ่งจำเป็นที่จะต้องอธิบายต่อไปคือ ความหมายของประโยค การมีอยู่ของพระเจ้าเป็น ฟิฏรัต (สัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์) โดยเริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า พระเจ้ามีอยู่จริง เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์นั้น หมายความว่าอย่างไร?

สำหรับคำตอบ  บรรดานักวิชาการได้ให้ทัศนะไว้ต่างๆมากมาย ซึ่งจะขออธิบายเฉพาะในทัศนะที่สำคัญเท่านั้น ซึ่งมีดังนี้

๑.ทัศนะที่กล่าวว่า  “ประโยคพระเจ้ามีอยู่จริง เป็นประโยคตรรกเบื้องต้น และประโยคการมีอยู่ของพระเจ้า เป็นฟิฏรัต(สัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ ก็เป็นประโยคตรรกะเบื้องต้นเช่นกัน”

 เป็นที่ทราบกันดีว่า นักตรรกศาสตร์อิสลามได้อธิบายไว้ว่า ประโยคตรรกหรือประพจน์ ถูกแบ่งออกได้หลายประเภทด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือ ประโยคตรรกเบื้องต้นหมายถึง ประโยคที่ประกอบด้วยประธานและผลลัพท์ รวมทั้งตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสอง เช่น ประโยค มนุษย์เป็นสัตว์ที่พูดได้ (มนุษย์ คือ ประธานของประโยค สัตว์พูดได้ คือ ผลลัพท์ และคำว่า เป็น คือ ตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประธานและผลลัพท์) ดังนั้น ตามทัศนะนี้ ประโยค การมีอยู่ของพระเจ้าเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิม จึงเป็นประโยคตรรกเบื้องต้น

๒.ทัศนะที่กล่าวว่า “ประโยคที่กล่าวว่า พระเจ้ามีอยู่จริง เป็นประโยคตรรกฟิฏรีย์ (ประโยคตรรกประเภทหนึ่ง)”

๒๘

นักตรรกศาสตร์อิสลามกล่าวว่า ประโยคตรรกฟิฏรีย์ หมายถึง ประโยคตรรกะประเภทหนึ่งที่ต้องการเหตุผลเพื่อยืนยันถึงการเกิดขึ้นของประโยคนั้น แต่เนื่องจากความชัดเจนของประโยคจึงไม่ต้องหาเหตุผลมายืนยัน และในเวลาที่กล่าวประโยคนั้นออกมา เหตุผลของมันได้เกิดขึ้นโดยฉับพลัน เหมือนกับประโยคในคณิตศาสตร์ที่กล่าวว่า เลขสองเป็นครึ่งหนึ่งของเลขสี่ ซึ่งถือว่าเป็นประโยคตรรกฟิฏรีย์ด้วยเช่นกัน

ดังนั้น ตามทัศนะนี้ ความหมายของความเชื่อที่ว่า การมีอยู่ของพระเจ้า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ ก็คือ เมื่อได้กล่าวประโยคนี้ออกไป เหตุผลของมันได้เกิดขึ้นทันทีทันใดในสติปัญญาของมนุษย์ และไม่ต้องหาเหตุผลใดมายืนยันเลย ดังนั้นกฏตรรกนี้ยังสามารถใช้กับข้อพิสูจน์ในเหตุผลของการมีความต้องการของสิ่งที่ต้องพึ่งพา (มุมกินุลวุญูด) ยังสิ่งที่จำเป็นต้องมีอยู่ (วาญิบุลวุญูด) ได้อีกด้วย

๓.ทัศนะที่กล่าวว่า พระเจ้าได้ทรงแนะนำตนเองให้มนุษย์รู้จักพระองค์ก่อนที่จะสร้างมนุษย์ขึ้นมาบนโลกนี้

คำอธิบาย

 

ทัศนะนี้ บ่งบอกถึง ความเชื่อที่กล่าวว่า พระเจ้ามีอยู่จริงเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์นั้น มีมาก่อนการถือกำเนิดของเขาในโลกแห่งธรรมชาติ ในอีกโลกหนึ่ง ณ ที่แห่งนั้น พระเจ้าทรงแสดงตนเองให้มนุษย์รู้จัก ด้วยกับคุณลักษณะทั้งหลายที่สวยงามของพระองค์ (ซิฟัตญะมาลียะฮ์) แล้วมนุษย์ทั้งหลายต่างก็ยอมรับในความเป็นพระผู้เป็นเจ้าของพระองค์

๒๙

 แต่ทว่าหลังจากที่มนุษย์มาสู่โลกแห่งวัตถุ กลับหลงลืมต่อการรู้จักอันนั้น แต่ในความเป็นจริง แก่นแท้แห่งการรู้จักพระเจ้านั้น ยังอยู่ในสัญชาตญาณดั้งเดิมของเขา ตลอดเวลาและตลอดไป

นักวิชาการที่ยอมรับในทัศนะนี้ ได้กล่าวอ้างหลักฐานจาก อัล กุรอาน และวจนะต่างๆมากมาย

โองการที่สำคัญของอัล กุรอาน คือ โองการที่เรียกว่า พันธสัญญา   ซึ่งมีดังนี้

“และจงรำลึกเถิดว่า ในขณะที่พระผู้อภิบาลของเจ้าได้ดลบันดาลให้เผ่าพันธ์ของอาดัม ออกมาจากไขสันหลังของพวกเขาและให้พวกเขายืนยันแก่ตัวของเขาเอง (โดยตอบคำถามที่ว่า) ข้ามิใช่พระเจ้าของพวกเจ้าดอกหรือ? พวกเขากล่าวว่าใช่แล้ว พวกเราขอยืนยัน เพื่อป้องกัน พวกเจ้ากล่าวในวันกิยามะฮ์ (วันแห่งการตัดสิน) ว่า แท้จริงพวกเราไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย”(บทอัลอะอ์รอฟ โองการที่ ๑๗๒)

๔.ทัศนะที่กล่าวว่า “มนุษย์รู้จักพระเจ้าได้ด้วยกับการรับรู้โดยตรง (อิลม์ ฮุฎูรีย์)”

คำอธิบาย

ทัศนะนี้ มีความเห็นว่า การรู้จักพระเจ้าเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ ที่เกิดจากการรับรู้โดยตรง ก็เพราะว่าพระเจ้า คือ ผู้สร้างเขานั่นเอง

การอธิบายในทัศนะนี้มีดังนี้

การรับรู้ของมนุษย์สามารถที่จะแบ่งได้เป็น สองประเภทคือ

๑.การรับรู้โดยตรง หมายถึง การรับรู้โดยปราศจากสื่อของคำและความหมาย

๒.การรับรู้โดยผ่านสื่อ หมายถึง การรับรู้ที่เกิดขึ้นจากการให้ความหมายและการสร้างมโนภาพ

กล่าวได้ว่า การรับรู้โดยตรง มิได้เกิดขึ้นจากการสร้างมโนภาพและการให้ความหมาย แต่เป็นการเกิดขึ้นของสิ่งที่ถูกรับรู้(มะอ์ลูม) ในตัวของผู้รู้ (อาลิม) เช่น ความรู้สึกหิว หรือความเจ็บปวด ส่วนความแตกต่างระหว่างการรับรู้ทั้งสองประเภทก็คือ การรับรู้โดยผ่านสื่อ คาดว่าจะเกิดความผิดพลาดได้ แต่การรับรู้โดยตรง ไม่มีความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในการรับรู้นี้ได้

 ทัศนะที่บ่งบอกถึงความเชื่อที่ว่า พระเจ้ามีอยู่จริงเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์นั้น เกิดขึ้นจากการรับรู้โดยตรง มิใช่เกิดจากการรับรู้โดยผ่านสื่อ หรือการสร้างมโนภาพ และการให้เหตุผล ดังนั้น การรู้จักพระเจ้า ก็คือ การรู้จักในตัวตนของมนุษย์นั่นเอง

คำอธิบายทั้งหลายในความเชื่อที่ว่า พระเจ้ามีอยู่จริง เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์นั้น มีความแตกต่างกัน แต่มีความเชื่อที่เหมือนกันว่า พระเจ้ามีอยู่จริง เกิดจากสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ และโดยที่ไม่ต้องหาเหตุผลใดมายืนยันในประโยคนี้

ด้วยเหตุนี้ อัล กุรอานได้กล่าวว่า การมีอยู่ของพระเจ้า เป็นสิ่งที่มิอาจปฏิเสธได้ แต่การที่จะรู้จักพระองค์นั้น ต้องรู้จักจากคุณลักษณะและการกระทำของพระองค์เท่านั้น

ในตอนท้ายสามารถสรุปได้ว่า

๑.การมีความเชื่อว่า พระเจ้ามีอยู่จริง เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ จากคำอธิบายทั้งหลายนั้น มิได้หมายความว่า  มนุษย์ทุกคนมีความเชื่อว่า พระเจ้ามีอยู่จริง และไม่มีผู้ใดที่ปฏิเสธหรือสงสัยในการมีอยู่ของพระองค์

๓๐

และเป็นที่ทราบกันดีว่า ในกลุ่มชนบางกลุ่ม ปฏิเสธในสิ่งที่ชัดเจนที่สุด หรือมีความสงสัยในสิ่งนั้น เช่น การสงสัยการมีอยู่ของพระเจ้า ดังนั้น การยอมรับคำอธิบายในทัศนะที่หนึ่งและที่สองมิได้ขัดแย้งกับการมีอยู่ของกลุ่มชนที่สงสัยในการมีอยู่ของพระเจ้า (พวกชักกากีน) และกลุ่มชนที่ปฏิเสธการมีอยู่ของพระองค์ (พวกมุลฮิดีน) และจากคำอธิบายในทัศนะที่สามและที่สี่ แม้ว่า มนุษย์ได้รู้จักพระเจ้าด้วยกับการรับรู้โดยตรงจากสัญชาตญาณดั้งเดิมของเขา แต่เนื่องด้วยการที่เขานั้นหลงใหลในสีสันที่สวยงามของโลกแห่งวัตถุ ทำให้เขาหลงลืมการรู้จักอันนั้น ดั่งเช่น ผู้ป่วยที่บาดเจ็บสาหัส ในขณะที่เขาได้รับข่าวดี เขากลับดีใจมากจนลืมนึกถึงความเจ็บปวดของเขาไปชั่วระยะหนึ่ง และเช่นกัน เมื่อมนุษย์ได้ประสบกับอุปสรรคปัญหาที่ไม่สามารถแก้ได้ เมื่อนั้นเขาจะร้องขอความช่วยเหลือจากพระเจ้า พระผู้ทรงเดชานุภาพเหนือสรรพสิ่งทั้งหลาย เพราะฉะนั้น การมีอยู่ของพวกที่สงสัยและปฏิเสธก็มิได้ขัดแย้งกับความเชื่อว่า พระเจ้ามีอยู่จริงนั้น เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์

๒.ได้อธิบายไปแล้วว่า ความเชื่อที่ว่า พระเจ้ามีอยู่จริง เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ และเนื่องจากการหลงใหลของมนุษย์ในโลกแห่งวัตถุ ทำให้เขาไม่รู้จักพระองค์ และเป็นม่านปิดกั้นเขาต่อการรู้จักถึงพระองค์ สาเหตุที่ทำให้มนุษย์ตื่นขึ้นและเปิดม่านสู่การรู้จักพระองค์ได้นั้น มีหลายเหตุผลด้วยกัน เหตุผลหนึ่ง คือ การใช้เหตุผลทางวิชาการมายืนยันต่อการรู้จักพระเจ้า  ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลใดก็ตาม และหนึ่งในเหตุผลทั้งหลายที่ทำให้มนุษย์ตื่นขึ้น คือ การใช้เหตุผลทางสติปัญญา ดังนั้น การมีความเชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่จริง เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ จากการยืนยันของเหตุผลทางสติปัญญา มิได้หมายความว่า เหตุผลนั้นไม่มีประโยชน์และไม่ถูกต้อง แต่การให้เหตุผลนี้ เพื่อที่จะทำให้มีความเข้าใจในการรู้จักพระเจ้าได้มากยิ่งขึ้น

๓๑

   การรู้จักพระเจ้า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ในทัศนะของอัล กุรอาน

     อัล กุรอานได้ให้ความสำคัญในเรื่องการรู้จักพระเจ้า เป็นอย่างมาก โดยมีโองการทั้งหลายที่ได้กล่าวถึง การมีอยู่ของพระเจ้า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ และในวจนะที่มีอยู่มากมายก็ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ด้วยเช่นเดียวกัน บางโองการได้กล่าวว่า ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่ตรงกันกับความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ ดั่งในโองการนี้

           

 “ดังนั้น เจ้าจงหันหน้ามาสู่ศาสนาอันเที่ยงตรงเถิด เป็นสัญชาตญาณของอัลลอฮ์ ซึ่งพระองค์ทรงบันดาลมนุษย์มาบนนั้น” (บทอัรรูม โองการที่ ๓๐)

 

คำอธิบาย

จากโองการนี้ แม้ว่าได้กล่าวถึง ศาสนาของพระเจ้า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ แต่ยังสามารถกล่าวได้อีกว่า ความเชื่อว่า พระเจ้ามีอยู่ ก็เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของเขาด้วยเช่นกัน เพราะว่า ความเชื่อในศาสนานั้น เกิดขึ้นจากคำสอนของบรรดาศาสดา รวมถึงความเชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้าด้วย และหากว่า การมีความเชื่อในศาสนา หมายถึง การยอมรับและการเคารพภักดีต่อพระเจ้า ดังนั้น  การเคารพภักดีต่อพระองค์ จึงเกิดขึ้นจากการมีความเชื่อว่าพระองค์มีอยู่จริงอย่างแน่นอน

และอีกโองการหนึ่งที่กล่าวถึง การรู้จักพระเจ้า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ คือ โองการที่เรียกกันว่า “พันธสัญญา”

อัลกุรอานกล่าวว่า

“และจงรำลึกเถิดว่า ในขณะที่พระผู้อภิบาลของเจ้าได้ดลบันดาลให้เผ่าพันธ์ของอาดัม ออกมาจากไขสันหลังของพวกเขาและให้พวกเขายืนยันแก่ตัวของเขาเอง (โดยตอบคำถามที่ว่า) ข้ามิใช่พระเจ้าของพวกเจ้าดอกหรือ? พวกเขากล่าวว่าใช่แล้ว พวกเราขอยืนยัน เพื่อป้องกัน พวกเจ้ากล่าวในวันกิยามะฮ์(วันแห่งการตัดสิน)ว่า แท้จริงพวกเราไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย”

(บทอัลอะอฺรอฟ โองการที่๑๗๒)

คำอธิบาย

โองการนี้ มีความหมายที่ลึกซึ้งและละเอียดอ่อนมากในการเข้าใจและการตีความ ด้วยเหตุนี้ บรรดานักอรรถาธิบายอัล กุรอานได้ให้ทัศนะที่แตกต่างกัน แม้ว่าบางคนกล่าวว่า โองการนี้เป็นโองการที่คลุมเครือ(มุตะชาบิฮ์)  แต่สิ่งหนึ่งที่ได้รับจากโองการนี้ ก็คือ พระเจ้าได้ทรงแนะนำตนเองให้มนุษย์รู้จักถึงความเป็นพระผู้เป็นเจ้าของพระองค์ก่อนการสร้างมนุษย์ขึ้นมา อีกทั้งยังให้มนุษย์มีความเชื่อต่อพระองค์ ตั้งแต่วันที่เขามาจุติยังโลกจนถึงวันแห่งการตัดสิน เพื่อที่จะทำให้เหล่าผู้ปฏิเสธได้สำนึกในวันแห่งการตัดสินว่า มีพระเจ้าอยู่จริง อย่างไรก็ตาม การยอมรับความเชื่อที่กล่าวว่า การมีอยู่ของพระเจ้า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ บรรดานักอรรถาธิบายอัล กุรอานได้ยกโองการนี้ เป็นหลักฐานเพื่อยืนยันว่า พระเจ้าได้ทรงแนะนำตนเองให้มนุษย์รู้จักในความเป็นพระผู้เป็นเจ้าของพระองค์ก่อนการสร้างมนุษย์ และบางคนได้อธิบายว่า มนุษย์รู้จักถึงพระเจ้าด้วยตัวของเขาเองจากการรับรู้โดยตรงที่ปราศจากความผิดพลาดใดๆทั้งสิ้น

และเช่นเดียวกัน ยังมีโองการจากอัล กุรอานอีกมากมายที่ยืนยันถึงประเด็นดังกล่าว เช่น โองการที่ได้กล่าวถึง การรำลึกถึงพระเจ้า ในขณะที่มนุษย์ประสบกับปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ โดยพวกเขาได้ร้องขอความช่วยเหลือจากพระองค์

อัล กุรอานกล่าวว่า

 “ดังนั้นครั้นเมื่อพวกเขา(มนุษย์ทั้งหลาย)ได้โดยสารเรือ พวกเขาได้ร้องขอความช่วยเหลือจากพระเจ้า(อัลลอฮ์) อย่างบริสุทธิ์ใจต่อศาสนาของพวกเขา แล้วเมื่อพวกเขาได้รับความปลอดภัยจากภยันอันตราย พวกเขาก็ตั้งภาคีต่อพระองค์”

 (บทอัลอังกะบูต โองการที่๖๕ ,บทลุกมาน โองการที่ ๓๓ บทอัลนะห์ล์ โองการที่ ๕๒)

โองการเหล่านี้บ่งบอกถึงการยอมรับว่า การรู้จักพระเจ้านั้น เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์

๓๒

   การรู้จักพระเจ้า  เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ในทัศนะของวจนะ

   มีวจนะต่างๆมากมายที่ได้กล่าวถึงการรู้จักพระเจ้าว่า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ แต่ในการอธิบายความหมายของสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์นั้น เห็นได้ว่ามีความแตกต่างกัน โดยบางวจนะได้กล่าวว่า รากฐานของศาสนาอิสลาม เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ และอีกวจนะหนึ่งกล่าวว่า รากฐานของหลักศรัทธาของอิสลาม เช่น เตาฮีด

(ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า), นะบูวะฮ์(สภาวะการเป็นศาสดา), อิมามะฮ์(สภาวะการเป็นผู้นำสืบทอดจากศาสดามุฮัมมัด) ทั้งหมดนั้น เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ และในท้ายที่สุด การรู้จักพระเจ้า ก็ถือว่า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ด้วยเช่นกัน 

เช่น การรายงานของสาวกคนหนึ่งของท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน)

 เขาได้ถามท่านอิมามเกี่ยวกับการอรรถาธิบายในโองการอัล กุรอาน บทที่ ๒๒ โองการที่ ๓๑ ถึง

คำว่า ฮุนะฟาอฺ ในโองการนี้ นั้นมีความหมายว่าอย่างไร?

ท่านอิมามตอบว่า

 “ฮุนะฟาอฺ หมายถึง สัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ ที่พระเจ้าได้ทรงประทานให้แก่เขา และไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆในการสร้างสรรค์ของพระองค์”

๓๓

 

หลังจากนั้น อิมามได้กล่าวอีกว่า “พระเจ้าได้ทรงสร้างมนุษย์ให้รู้จักพระองค์ด้วยสัญชาตญาณดั้งเดิมของเขาเอง”

   ศัพท์วิชาการท้ายบทที่ ๒

๑.คำว่า ฟิฏรัต หมายถึง สัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ หรือธรรมชาติด้านในของเขา   : The human nature, innate

๒.ประโยคตรรกะฟิฏรีย์ หมายถึง ประโยคตรรกะประเภทหนึ่งที่ต้องการเหตุผลยืนยันการเกิดขึ้นของประโยคนั้น แต่เนื่องจากความชัดเจนของประโยคจึงไม่ต้องหาเหตุผลมายืนยัน เมื่อเวลาที่กล่าวประโยคนั้นออกมา เหตุผลของมันได้ปรากฏโดยฉับพลัน เหมือนกับประโยคในคณิตศาสตร์ที่กล่าวว่า เลขสองคือ ครึ่งหนึ่งของเลขสี่

๓.การรู้จักพระเจ้า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ หรือเป็นธรรมชาติด้านในของเขา      : God knowing nature

๔.ประโยคตรรกเบื้องต้น   :  Self evident proposition

๕.การรับรู้โดยตรง          :  Immediate knowledge

๖.การรับรู้โดยผ่านสื่อ     :  Empirical knowledge

๓๔

   สรุปสาระสำคัญ

๑.คำว่า ฟิฏรัต หมายถึง สัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ที่เป็นรูปแบบหนึ่งในการสร้างสรรค์ของพระเจ้า    

๒.คำอธิบายในการรู้จักพระเจ้าว่า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ มีด้วยกันหลายทัศนะ ดังนี้

(๑).การรู้จักพระเจ้า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ เป็นประโยคตรรกเบื้องต้น เหมือนกับประโยคที่กล่าวว่า พระเจ้ามีอยู่จริงก็เป็นประโยคตรรกเบื้องต้นด้วยเช่นกัน

(๒).ประโยคการรู้จักพระเจ้า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ เป็นประโยคตรรกฟิฏรีย์ หมายถึง ประโยคตรรกประเภทหนึ่งที่ต้องการเหตุผลในการยืนยันประโยคนั้น แต่เหตุผลของมันเกิดขึ้นทันทีที่ได้กล่าวประโยคนั้นออกไป

(๓).คำอธิบายในทัศนะที่สาม คือ พระเจ้าได้แนะนำตนเองให้กับมนุษย์รู้จักพระองค์ก่อนการสร้างเขาขึ้นมา แต่หลังจากที่มนุษย์มาสู่โลกนี้แล้วได้หลงลืมต่อการรู้จักอันนั้น ซึ่งในความเป็นจริง รากเดิมของการรู้จักพระเจ้านั้นยังมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน 

(๔).มนุษย์รู้จักพระเจ้า ด้วยกับการรับรู้โดยตรง ที่ไม่ใช่การรับรู้โดยผ่านสื่อ และไม่ได้เกิดขึ้นจากการสร้างมโนภาพหรือจากการเข้าใจในความหมาย และไม่ใช่การใช้เหตุผลทางสติปัญญา แต่คือการรู้จักพระเจ้าด้วยกับสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ที่เกิดจากจิตใต้สำนึกของเขาเอง

๓๕

๓.การรู้จักพระเจ้า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ มิได้หมายความว่า มนุษย์ทุกคนต้องมีความเชื่อในพระเจ้าเหมือนกันหมด และไม่มีผู้ใดที่ปฏิเสธ หรือสงสัยในการมีอยู่ของพระองค์เลย

๔.การรู้จักพระเจ้า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ เนื่องจากมนุษย์ได้หลงใหลในโลกแห่งวัตถุ จึงทำให้เขาลืมต่อการรู้จักถึงพระองค์ และสาเหตุที่ทำให้เขาตื่นจากการหลับไหลด้วยกับเหตุผลต่างๆไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม จะด้วยกับการยืนยันทางสติปํญญาหรือทางจิตวิทยาก็ตาม

๕.การรู้จักพระเจ้า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ มิได้หมายถึง การปฏิเสธการใช้เหตุผลทางสติปัญญาที่นำมาพิสูจน์และยืนยัน แต่การใช้เหตุผลประเภทนี้ สามารถทำให้มีความเข้าใจต่อการรู้จักพระเจ้าได้มากยิ่งขึ้น

๖.อัล กุรอานได้กล่าวไว้ในโองการทั้งหลายเกี่ยวกับการรู้จักพระเจ้าว่า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ และได้อธิบายอีกว่า การรู้จักพระองค์ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ มนุษย์นั้นได้ประสบกับอุปสรรคหรือปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ และในวจนะทั้งหลายก็ได้กล่าวในประเด็นนี้ด้วยเช่นกัน

๓๖

   บทที่ ๓

   ทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก

   ได้กล่าวไปแล้วว่า วิธีการฟิฏรัต เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการรู้จักพระเจ้า ซึ่งเกิดจากจิตใต้สำนึกของมนุษย์ และยังมีอีกวิธีการหนึ่งที่พิสูจน์ในการมีอยู่จริงของพระเจ้าได้ นั่นคือ วิธีการวิทยาศาสตร์หรือเหตุผลทางประสบการณ์นิยม หมายความว่า เมื่อมนุษย์ได้ทำการศึกษาพิจารณาและค้นคว้าเกี่ยวกับโลกแห่งธรรมชาติ โดยการสังเกตจากสิ่งที่ต่างๆที่อยู่รอบด้านตัวเขา ทำให้รับรู้ถึงการมีอยู่จริงของพระเจ้า และอัล กุรอานก็ได้ให้ความสำคัญ โดยได้เน้นย้ำให้มนุษย์ใช้สติปัญญาในการครุ่นคิดต่อการสร้างสรรค์ของพระเจ้า และบรรดานักปรัชญาและนักเทววิทยาอิสลามก็ ได้ยึดถือเอาวิธีการนี้ เป็นวิธีการทั่วไปต่อการรู้จักพระองค์

ประเด็นที่สำคัญและควรรู้เบื้องต้น มีหลายประเด็นด้วยกัน ดังนี้

๑.จากการศึกษาและตรวจสอบในทัศนะต่างๆของบรรดานักปรัชญาและนักเทววิทยาอิสลาม สังเกตุได้ว่า มีการให้ทัศนะ และความคิดในการอธิบายความหมายของวิธีการนี้ที่แตกต่างกันออกไป และเรียกวิธีการนี้ว่า ทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก หรือข้อพิสูจน์ในการสร้างของพระเจ้า

นักวิชาการบางคนได้กล่าวว่า วิธีการนี้ คือ การใช้เหตุผลทางสติปัญญาที่เกิดจากหลักการของวิทยาศาสตร์ และบางทัศนะกล่าวว่า วิธีการนี้ เป็นวิธีการที่เกิดจากจิตใต้สำนึกของมนุษย์ เพื่อที่จะใช้ในการกระตุ้นสัญชาตญาณดั้งเดิมของเขาให้ตื่นขึ้น

๓๗

จะกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า บรรดานักปรัชญาและเทววิทยาอิสลาม ได้ใช้วิธีการนี้ในการพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้า และการมีอยู่คุณลักษณะบางประการของพระองค์ เช่น การมีความรู้ การมีวิทยปัญญา ฯลฯ

๒.ทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก คือ การใช้เหตุผลทางสติปัญญา ที่มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

(๑). ประโยคที่ใช้ในการพิสูจน์มีความสัมพันธ์กับเหตุผลทางสติปัญญา และมีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับมโนธรรมของมนุษย์

(๒). ทฤษฎีนี้มีความเข้าใจง่าย เพราะว่า ปราศจากหลักการของปรัชญาและกฏต่างๆของตรรกศาสตร์

(๓). เหตุผลนี้มีความใกล้ชิดกับคำสอนของโองการทั้งหลายในอัล กุรอาน และทำให้เกิดความผูกพันธ์ของผู้ที่เคร่งครัดในศาสนากับทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก อีกทั้งได้สร้างความสมานฉันท์ระหว่างสติปัญญากับการวิวรณ์ด้วย

(๔). นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นคว้าในความลี้ลับของโลก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่บ่งบอกถึง ความมีระบบและระเบียบของโลก ดังนั้น การค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์ จึงเป็นบทสรุปอย่างชัดเจนในการให้เหตุผลเช่นนี้

(๕).เหตุผลนี้ ยังส่งผลต่อหลักศรัทธาของมนุษย์อีกด้วย

๓.เหตุผลนี้ มีความเป็นพิเศษและเฉพาะเจาะจง แม้ว่าในอดีต บรรดานักเทววิทยาอิสลามของสำนักคิดทั้งหลาย มิได้ให้ความสำคัญมากนักเท่าไรในทฤษฎีนี้ มีเพียง ท่านฟัครุดดีน อัรรอซี ซึ่งเป็น นักเทววิทยาอิสลามท่านหนึ่งของสำนักคิดอัชอะรีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลมะตอลิบุลอฺาลียะฮ์ เกี่ยวกับการอธิบายในเหตุผลนี้ว่า มีคำอธิบายมากมาย และเขาเชื่อว่า เหตุผลนี้จะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อนำมารวมกับเหตุผลอื่นๆ จึงสามารถใช้ในการพิสูจน์ถึง การรู้จักพระเจ้าได้

๓๘

 และท่านมุฮักกิก ลาฮีญี ก็เช่นเดียวกัน ท่านเป็นนักเทววิทยาอิสลามที่สำคัญคนหนึ่งของสำนักคิดชีอะฮ์อิมามียะฮ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ โกฮัร มุรอด เกี่ยวกับเหตุผลนี้ว่า หลังจากที่ได้พิสูจน์ในเหตุผลนี้ ก็สามารถสรุปได้ว่า โลกแห่งธรรมชาตินั้น เป็นโลกที่ต้องมีความเป็นระบบและระเบียบ อีกทั้งเป็นโลกที่มีความสวยงามที่สุด ซึ่งบ่งบอกถึงความมีวิทยปัญญาของพระเจ้า แต่มิได้บ่งบอกถึงการมีอยู่ของพระองค์

   อะไร คือ ความเป็นระบบและระเบียบ?

   ก่อนที่จะอธิบายและวิเคราะห์ในทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก จะมาพิจารณาในความหมายของ ความเป็นระบบและระเบียบ ในด้านภาษาและเชิงวิชาการ ซึ่งจะเห็นได้ว่า การเกิดขึ้นของความเป็นระบบและระเบียบนั้น มีองค์ประกอบอยู่ด้วยกัน สาม  องค์ประกอบ ดังนี้

๑.การเกิดขึ้นของสรรพสิ่งทั้งหลาย

๒. ผู้ที่จัดให้เป็นระบบและระเบียบ

๓.ความสัมพันธ์ของสิ่งทั้งสอง หมายถึง ระหว่างสรรพสิ่งกับผู้ที่จัดให้เป็นระบบและระเบียบ

จะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อใดก็ตามที่กล่าวถึง ความเป็นระบบและระเบียบ จะต้องมีการเกิดขึ้นของสรรพสิ่งทั้งหลายที่มีความเป็นระบบและระเบียบจากผู้ที่จัดให้เป็นระบบและระเบียบ และการสังเกตุจากความหมายข้างต้น สามารถบอกได้ว่า ความเป็นระบบและระเบียบถูกแบ่งออก เป็นหลายประเภทด้วยกัน และประเภทที่เฉพาะเจาะจง ก็มีองค์ประกอบ อยู่ ๓ องค์ประกอบ เช่นกัน ดังนี้

๓๙

๑.การเกิดขึ้นของสิ่งทั้งหลายที่เป็นวัตถุ

๒.การเกิดขึ้นของสิ่งต่างๆโดยธรรมชาติ (ปราศจากเหตุผลใดๆ)

๓.สิ่งต่างๆมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน อีกทั้งมีจุดมุ่งหมายอันเดียวกัน

ด้วยเหตุนี้ เมื่อใดก็ตามที่กล่าวถึง การมีอยู่ของระบบและระเบียบของสิ่งหนึ่ง หมายความว่า สิ่งนั้นจะต้อง มีองค์ประกอบ ดังที่กล่าวไปข้างต้น

   เหตุผลที่ง่ายต่อการเข้าใจ

   เหตุผลที่ใช้ในการพิสูจน์ทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก ประกอบด้วย ๒ ข้ออ้าง และ ๑ ข้อสรุป ดังนี้

ข้ออ้างหลัก คือ  โลกแห่งธรรมชาติ เป็นสิ่งที่มีความเป็นระบบและระเบียบ

ข้ออ้างรอง คือ ทุกสิ่งที่มีความเป็นระบบและระเบียบ จะต้องมีผู้ที่จัดให้เป็นระบบและระเบียบ

ข้อสรุป คือ โลกแห่งวัตถุนั้น จะต้องมีผู้ที่จัดให้เป็นระบบและระเบียบ นั่นคือ จะต้องมีพระเจ้าอยู่ และป็นผู้จัดให้สิ่งต่างๆนั้น เป็นระบบและระเบียบ ดังนั้น การอธิบายข้ออ้างทั้งสองนี้ บรรดานักวิชาการด้านเทววิทยาอิสลาม มีทัศนะที่แตกต่างกัน และจะขออธิบายเพียงบางส่วน

๔๐

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156

157

158

159

160

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175

176

177

178

179

180

181

182

183

184

185

186

187

188

189

190

191

192

193

194

195

196

197

198

199

200

201

202

203

204

205

206

207

208

209

210

211

212

213

214

215

216

217

218

219

220

221

222

223

224

225

226

227

228

229

230

231

232

233

234

235

236

237

238

239

240

241

242

243

244

245

246

247

248

249

250

251

252

253

254

255

256

257

258

259

260

261

262

263

264

265

266

267

268

269

270

271

272

273

274

275

276

277

278

279

280

   การพิสูจน์ พลังอำนาจของพระเจ้า

   หลังจากที่เข้าใจในความหมายของ การมีพลังอำนาจ จะกล่าวได้ว่า พระเจ้ามีพลังอำนาจ ด้วยกับการพิสูจน์จากเหตุผลต่างๆ ซึ่งจะขอนำมากล่าวเพียงเหตุผลเดียว มีดังนี้

จากความหมายของ การมีพลังอำนาจ ถ้าสมมุติว่า พระเจ้า ไม่มีพลังอำนาจ ในกรณีนี้ ความประสงค์ของพระองค์ในการเกิดขึ้นของการกระทำนั้น  ก็จะไม่ได้เกิดขึ้น ในขณะที่การกระทำได้เกิดขึ้น หรือพระองค์มีความประสงค์และการกระทำนั้น จะไม่เกิดขึ้น  แต่การกระทำนั้นกลับเกิดขึ้นมา มีคำถามว่า แล้วอะไร คือ สาเหตุของการกระทำที่ไม่เกิดขึ้นว่า มาจากความประสงค์ของพระเจ้า?

สำหรับคำตอบ มีการคาดคะเนอยู่ ๒ สภาพ

สภาพแรก ก็คือ อาตมันของพระเจ้า เป็นสาเหตุที่ทำให้การงานนั้น ไม่เกิดขึ้น ดังนั้น สภาพนี้ถือว่า ไม่ถูกต้องและเป็นโมฆะ เพราะว่า เป็นไปไม่ได้ที่พระองค์มีความต้องการที่จะกระทำการงานหนึ่งการงานใด แล้วการงานนั้นไม่ได้เกิดขึ้น ซึ่งในสภาพนี้มีความขัดแย้งกับความเป็นวิทยปัญญาของพระองค์

สภาพที่สอง คือ มีสิ่งหนึ่งที่เป็นสาเหตุที่ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากพระเจ้า  และเช่นกัน ในสภาพนี้ก็ถือว่า ไม่ถูกต้องและเป็นโมฆะ เพราะว่า เราได้พิสูจน์ไปแล้วว่า พระเจ้า เป็นวาญิบุลวุญูด ( สิ่งที่จำเป็นต้องมีอยู่) และสรรพสิ่ง เป็นมุมกินุลวุญูด (สิ่งที่จะมีก็ได้ไม่มีก็ได้) และเป็นสิ่งสร้างของพระองค์ การมีอยู่ของสิ่งเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับผู้สร้าง ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นไปไม่ได้ที่ สิ่งที่เป็นมุมกินุลวุญูด ซึ่งไม่มีความเป็นอิสระเสรีในตัวเอง

๒๘๑

 จะเป็นสาเหตุให้กับความประสงค์ของพระเจ้า เพราะฉะนั้น พระเจ้ามีพลังอำนาจ ด้วยกับสาเหตุที่ว่า ความประสงค์ของพระองค์ มิได้ขึ้นอยู่กับสิ่งใด นอกจากอาตมันของพระองค์เท่านั้น

   อานุภาพของพระเจ้า

   ประเด็นที่สำคัญประเด็นหนึ่งเกี่ยวกับอานุภาพของพระเจ้า คือ พระองค์ มีพลังอำนาจอันที่ไม่มีที่สิ้นสุดหรือว่ามีพลังอำนาจในรูปแบบที่มีขอบเขตจำกัด

สำหรับคำตอบ มีหลายทัศนะด้วยกัน ทัศนะหนึ่งของนักเทววิทยาอิสลามบางสำนักคิด มีความเห็นว่า พระเจ้ามีอำนาจที่ไม่มีที่สิ้นสุดหรือพลังอำนาจของพระองค์นั้น ครอบคลุมทุกสรรพสิ่ง โดยที่พวกเขาได้นำหลักฐานอ้างอิงจากอัล กุรอานและวจนะมายืนยัน และในทางตรงกันข้าม มีหลายทัศนะที่มีความเห็นตรงกันว่า  พระเจ้ามีพลังอำนาจในรูปแบบที่มีขอบเขตจำกัด ด้วยเหตุนี้ ทัศนะแรก ถือว่า ถูกต้อง เพราะว่าได้พิสูจน์ไปแล้วว่า พระเจ้ามีคุณลักษณะทั้งหลายที่สมบูรณ์และไม่มีที่สิ้นสุด และการมีพลังอำนาจ เป็นคุณลักษณะหนึ่งของพระองค์ด้วยเช่นกัน ดังนั้น เหตุผลทางสติปัญญาที่ใช้ในการพิสูจน์การมีพลังอำนาจของพระเจ้า นอกเหนือจาก การยอมรับว่า พระองค์มีคุณลักษณะนี้แล้ว ยังกล่าวได้ว่า พระองค์ทรงมีคุณลักษณะการมีพลังอำนาจที่สมบูรณ์และไม่มีที่สิ้นสุด มีข้อสงสัยที่เกิดขึ้นในประเด็นนี้  ซึ่งก็เคยเกิดขึ้นมาก่อน มีดังต่อไปนี้

๒๘๒

   สิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้น (มุฮาล) อยู่ภายใต้การมีพลังอำนาจของพระเจ้าใช่หรือไม่?

   มีคำถามหนึ่งที่เกิดขึ้นและถูกบันทึกในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องของพลังอำนาจของพระเจ้า ก็คือ มีบางสิ่งที่มีความสัมพันธ์กับพลังอำนาจของพระองค์ และบางสิ่งที่ไม่มีความสัมพันธ์กับพระเจ้า ดังนั้น ข้อสงสัยนี้ ได้มีคำอธิบายอยู่มากมาย ซึ่งพื้นฐานของข้อสงสัยนี้นั้นมาจากที่มาหรือแหล่งเดียว และคำอธิบายที่ถูกรู้จักกันโดยทั่วไป มีดังนี้

๑.พระเจ้ามีความสามารถสร้างสิ่งที่เหมือนพระองค์อยู่เคียงข้างพระองค์ได้หรือไม่?

หากยอมรับว่า พระองค์มีความสามารถ หมายความว่า ยอมรับในการมีอยู่ของภาคีที่เหมือนพระองค์  ในขณะที่บรรดานักปรัชญาเชื่อว่า พระเจ้า ไม่มีการภาคีใดอยู่เคียงข้างพระองค์ และหากยอมรับว่า พระเจ้าไม่มีความสามารถ ก็หมายความว่า การมีพลังอำนาจของพระองค์นั้น มีขอบเขตจำกัด ซึ่งยอมรับว่า พระองค์ไม่มีความสามารถที่จะทำให้การงานหนึ่งเกิดขึ้นได้

๒.พระเจ้า มีความสามารถที่จะทำให้โลกใบนี้อยู่ในฟองไข่ไก่ ฟองหนึ่งได้ใช่หรือไม่ และในสภาพที่ไม่มีความเปลี่ยนแปลงใดในไข่ฟองนั้น?

สำหรับคำตอบ ก็คือ เป็นไปไม่ได้ ก็เท่ากับว่าได้ยอมรับว่า พลังอำนาจของพระเจ้านั้นมีขอบเขตจำกัด และไม่สมบูรณ์และยังมีการกระทำที่พระองค์ไม่มีความสามารถที่กระทำได้

๒๘๓

๓.ความยุ่งยากของข้อสงสัยนี้ จากคำตอบของข้อสงสัยนี้ ไม่ว่าจะจริงหรือไม่จริงก็ตาม เป็นสาเหตุของการปฏิเสธการมีพลังอำนาจของพระเจ้า เช่น เมื่อถามว่า พระเจ้ามีสามารถหรือไม่ที่จะสร้างก้อนหินสักก้อนที่พระองค์ไม่มีความสามารถยกมันขึ้นมาได้ หรือถามว่า พระเจ้ามีความสามารถหรือไม่ที่จะสร้างสิ่งหนึ่งแล้วพระองค์ไม่สามารถที่จะทำลายมันได้? ดังนั้น ไม่ว่าจะตอบว่า พระองค์มีความสามารถหรือไม่มีความสามารถก็คือ การยอมรับการมีขอบเขตการมีพลังอำนาจของพระองค์

และจากข้อสงสัยที่กล่าวข้างต้น ทำให้เข้าใจได้ว่า ข้อสงสัยดังกล่าวเกิดมาจากพื้นฐานอันเดียวกัน

และก่อนที่จะตอบคำถามนี้ มาอธิบายกันใน สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ (มุฮาล) ว่ามีด้วยกัน กี่ประเภท

สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ (มุฮาล) สามารถแบ่งออกด้วยกัน  ๓ ประเภทดังนี้

๑.สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วยตัวของมัน (มุฮาล ซาตีย์) หมายถึง สิ่งหนึ่งไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้เอง ตัวอย่างเช่น สิ่งหนึ่งที่ไม่มีทั้งสีขาวและสีดำ หรือสิ่งที่มีทั้งสีขาวและสีดำ

๒.สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ในความเป็นจริง (มุฮาล วุกูอีย์) หมายถึง สิ่งหนึ่งไม่มีความสามารถที่จะเกิดขึ้น แต่โดยตัวของมันเองสามารถจะเกิดขึ้นได้ และการเกิดขึ้นของสิ่งนั้น เป็นสาเหตุให้เกิด มุฮาล ซาตีย์ เช่น การมีอยู่ของผลโดยที่ไม่มีเหตุ เพราะว่า การเกิดขึ้นของผล เป็นสาเหตุให้เกิดความต้องการไปยังเหตุและไม่ต้องการผล 

ประเภทแรกและประเภทที่สองของมุฮาล เรียกว่า สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ทางสติปัญญา (มุฮาล อักลีย์)

๓.สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยทั่วไป (มุฮาล อาดีย์) หมายถึง สิ่งหนึ่งไม่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยกฏเกณฑ์ทางธรรมชาติ แต่การเกิดขึ้นของสิ่งนั้น ไม่เป็นสาเหตุมุฮาล ซาตีย์ หรือด้วยตัวของมันเอง

จากการอธิบายข้างต้น จะตอบคำถามเหล่านี้ได้ว่า พลังอำนาจของพระเจ้า ไม่มีในสิ่งที่เป็นสิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นด้วยตัวของมัน และสิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในความเป็นจริง และตัวอย่างของข้อสงสัยทั้งหมด เป็น ตัวอย่างของ สิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ทางสติปัญญา ทั้งสิ้น เช่น การมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกับพระเจ้า และการนำโลกไปไว้ในฟองไข่ไก่ ฟองหนึ่ง และการสร้างก้อนหินที่พระองค์ยกขึ้นไม่ได้  กล่าวได้ว่า ในตัวอย่างแรก  เป็นการสมมุติว่า มีพระเจ้าอยู่สององค์ที่เหมือนกัน  และเป็นสาเหตุให้เกิดความแตกต่างกันในพระเจ้าทั้งสอง  เพราะว่าในขณะที่กล่าวว่า พระเจ้ามีสององค์ที่องค์เป็นพระเจ้าและอีกองค์ไม่ได้เป็นพระเจ้า และตัวอย่างที่สอง การนำโลกนี้ไปไว้ในไข่ไก่ ก็ด้วยสาเหตุนี้เช่นกัน กล่าวคือ โลกที่มีขนาดใหญ่และไม่มีขนาดใหญ่นั้นเป็นไปไม่ได้หรือไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้ และในตัวอย่างที่สามก็เหมือนกัน ดังนั้น สิ่งที่ควรสังเกตุก็คือ พลังอำนาจของพระเจ้า ไม่มีในสิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นด้วยตัวของมันและสิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในความเป็นจริง มิได้หมายความว่า พลังอำนาจของพระองค์นั้นมีขอบเขตจำกัด เพราะว่า สิ่งเหล่านั้นไม่อาจจะเกิดขึ้นมาได้

บรรดานักปรัชญาอิสลามได้กล่าวว่า ผู้กระทำมีความสามารถ แต่สิ่งถูกกระทำนั้น ไม่สามารถยอมรับการกระทำได้ และเพื่อที่มีความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในตัวของเรา  เช่น นักปั้นดินเผาคนหนึ่งที่มีความสามารถปั้นเหยือกดินที่สวยงามที่สุดจากดินโคลนได้ ในเวลาเดียวกัน ถ้าไม่มีดินแล้วก็มีเพียงน้ำ เขาก็ไม่สามารถที่จะปั้นเหยือกดินได้ ไม่ว่าจะเป็นเหยือกใบเล็กหรือใบใหญ่ ดังนั้น เป็นกระจ่างชัดว่า ไม่ใช่ว่านักปั้นดินเผาคนนั้น ไม่มีความสามารถหรือไม่มีประสบการณ์หรือมีความสงสัยในความเป็นนักปั้นดินเผาของเขา แต่สิ่งที่เขามี คือ น้ำ ซึ่งไม่สามารถจะทำให้เป็นเหยือกดินได้(ตัวอย่างนี้ มีความคล้ายคลึงกับการมีพลังอำนาจของพระเจ้า และ มีความแตกต่างกับการมีพลังอำนาจของพระเจ้ากับการมีพลังอำนาจของมนุษย์ แต่เพื่อที่จะเข้าใจในการมีพลังอำนาจของพระเจ้าได้มากยิ่งขึ้น จึงยกมาเป็นตัวอย่าง)

ตัวอย่างของประเด็นนี้ ก็เช่นกัน สิ่งที่ถูกกระทำมีข้อบกพร่อง ไม่ใช่ผู้กระทำ ดังนั้น จะกล่าวได้ว่า ความหมายของสิ่งนั้นไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ ดังอัล กุรอานที่กล่าวว่า

“แท้จริงอัลลอฮ์ทรงมีพลังอำนาจเหนือทุกสรรพสิ่ง”

ด้วยเหตุนี้ กล่าวสรุปได้ว่า ตัวอย่างทั้งหมดที่ได้กล่าวไปนั้น เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยการใช้สติปัญญา และพลังอำนาจของพระเจ้าไม่มีในสิ่งเหล่านี้ และการไม่มีพลังอำนาจของพระเจ้า มิได้หมายความว่า การมีพลังอำนาจของพระองค์นั้น มีขอบเขตจำกัด และจะอธิบายในรายละเอียดของมัน ในประเด็น ความมหัศจรรย์ของพระเจ้า ดังนั้น พลังอำนาจของพระเจ้า จึงมีในมุฮาล อาดีย์(สิ่งที่โดยทั่วไปไม่อาจจจะเกิดขึ้นได้)

๒๘๔

   การมีพลังอำนาจของพระเจ้าในการกระทำที่ไม่ดี

    ประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวกับการมีพลังอำนาจที่ไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า คือ คำถามที่กล่าวว่า พระองค์ มีความสามารถกระทำการงานที่ไม่ดีได้หรือไม่?

สำหรับคำตอบ มีอยู่ สองทัศนะ ด้วยกัน

ทัศนะแรกมีความเห็นว่า พระเจ้าไม่มีความสามารถที่จะกระทำการงานที่ไม่ดี

ทัศนะที่สองมีความเห็นว่า พระเจ้า ด้วยกับความเป็นวิทยปัญญาของพระองค์และพระองค์ทรงมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ พระองค์ไม่กระทำการงานที่ไม่ดี แต่มิได้หมายความว่า พระองค์ไม่มีความสามารถที่จะกระทำการงานนั้น และด้วยกับการพิจารณาอย่างรอบคอบ ทำให้เข้าใจว่า ทัศนะที่ถูกต้อง คือ ทัศนะที่สอง 

แต่จะกล่าวถึงเหตุผลของทัศนะแรกและมาวิเคราะห์กัน เหตุผลของทัศนะแรกที่มีความเห็นว่า พระเจ้าไม่มีความสามารถในการกระทำความไม่ดี  คือ ถ้าสมมุติว่า พระเจ้ามีความสามารถกระทำการงานที่ไม่ดี หมายความว่า พระองค์เป็นผู้โง่เขลาหรือพระองค์มีความต้องการ แต่ความเป็นจริง พระองค์ทรงรอบรู้ทุกสรรพสิ่ง และพระองค์ทรงไม่มีความต้องการใดทั้งสิ้น ดังนั้น พระเจ้ามิทรงเป็นผู้โง่เขลาหรือมีความต้องการ ด้วยเหตุนี้ พระเจ้า ไม่มีความสามารถที่จะกระทำการงานที่ไม่ดี

๒๘๕

การอธิบายสิ่งที่กล่าวมาแล้วนั้น คือ การสมมุติว่า พระเจ้ามีความสามารถที่จะกระทำการงานที่ไม่ดี หมายความว่า พระเจ้าสามารถที่จะกระทำการงานนี้ได้ ในสภาพนี้ หากว่าพระเจ้า ไม่มีความรู้ในการกระทำที่ไม่ดีนั้น  ดังนั้น พระองค์ทรงเป็นผู้โง่เขลา และถ้าพระองค์ทรงรู้ในการกระทำที่ไม่ดี พระองค์ก็ทรงมีความต้องการ เพราะว่า ความเป็นวิทยปัญญาของพระองค์กล่าวว่า พระองค์ ไม่กระทำการงานที่ไม่ดี  

คำตอบของเหตุผลนี้ กล่าวได้ว่า สิ่งสำคัญทั้งสอง คือ ความโง่เขลาและความต้องการ เป็นองค์ประกอบของการเกิดขึ้นของการกระทำที่ไม่ดี ในขณะที่พระเจ้ามีความสามารถกระทำการงานที่ไม่ดี พระองค์ไม่มีคุณลักษณะทั้งสอง เพราะจากความหมายของ ความสามารถ หมายความว่า การมีความสามารถในการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มิได้หมายความว่า การกระทำนั้น จะต้องเกิดขึ้นด้วย ด้วยเหตุนี้ พระเจ้ามีความสามารถในการกระทำสิ่งที่ไม่ดี แต่ด้วยกับความเป็นวิทยปัญญาของพระองค์ การกระทำนั้นจะไม่เกิดขึ้นจากพระองค์ ดังนั้น พระองค์มิได้ทรงเป็นผู้โง่เขลาหรือมีความต้องการ กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า พระเจ้า เป็นผู้มีวิทยปัญญา การกระทำที่ไม่ดี จึงไม่เกิดขึ้นจากพระองค์ และการไม่กระทำสิ่งไม่ดี มิได้หมายความว่า พระองค์ไร้ความสามารถ

๒๘๖

   พลังอำนาจของพระเจ้าในมุมมองของอัล กุรอานและวจนะ

    อัล กุรอานกล่าวถึง พระเจ้าว่า พระองค์ทรงมีพลังอำนาจเหนือทุกสรรพสิ่ง (กอดีร ,กอดิรและมุกตะดิร) ดั่งพระดำรัสที่กล่าวว่า

 “แท้จริงอัลลอฮ์ทรงมีพลังอำนาจเหนือทุกสรรพสิ่ง”และโองการต่างๆมากมายกล่าวถึง การมีพลังอำนาจของพระเจ้า

ตัวอย่างเช่น ในบทอัฏฏอลาก โองการที่ ๑๒ กล่าวว่า

“อัลลอฮ์ผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งเจ็ด และทรงสร้างแผ่นดินก็เยี่ยงนั้น พระบัญชาจะลงมาท่ามกลางมันทั้งหลาย (ชั้นฟ้าและแผ่นดิน) เพื่อพวกเจ้าจะได้รู้ว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงอานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง และแท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงห้อมล้อมทุกสิ่งอย่างไว้ด้วยความรอบรู้ (ของพระองค์)”

จากโองการนี้แสดงให้เห็นว่า การสร้างโลกและการบริหารการงานต่างของโลก บ่งบอกถึง สัญลักษณ์หนึ่งของ การมีพลังอำนาจของพระเจ้า

และในอีกโองการได้กล่าวว่า การสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน แสดงให้ในการมีพลังอำนาจของพระเจ้า 

บทอะฮ์กอฟ โองการที่ ๓๓ กล่าวว่า

“และพวกเขาไม่เห็นดอกหรือว่า แท้จริงอัลลอฮ์ ซึ่งทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินนี้ และมิทรงอ่อนเพลียต่อการสร้างสิ่งเหล่านั้น ย่อมทรงเป็นผู้อานุภาพที่จะให้คนตายมีชีวิตขึ้นมาอีก แน่นอนแท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงอานุภาพเหนือทุกๆสิ่ง”

และในวจนะทั้งหลายก็ได้กล่าวเช่นเดียวกันในการมีพลังอำนาจอันไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า

๒๘๗

วจนะหนึ่งจากท่านอิมาม ซอดิก(ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

 “พระเจ้าทรงมีความรอบรู้ในสิ่งที่พระองค์สร้างและทรงอานุภาพและทรงปกครองและดูแลในทุกสรรพสิ่ง และทุกสรรพสิ่งนั้น ณ พระองค์มีความเท่าเทียมกัน ไม่ว่า การมีพลังอำนาจของพระองค์และความรอบรู้และการปกครอง”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๙ วจนะที่ ๑๕ )

   คำตอบจากวจนะในข้อสงสัยที่เกี่ยวกับการมีพลังอำนาจของพระเจ้า

    นอกเหนือจาก เหตุผลทั้งหลายที่เป็นคำตอบในข้อสงสัยต่างๆที่เกี่ยวกับการมีพลังอำนาจของพระเจ้าแล้ว ยังมีคำตอบจากวจนะของ บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (ขอความสันติพึงมีแด่ท่านทั้งหลาย)

ดั่งในวจนะหนึ่งที่ได้รายงานจาก  ท่านอิมามอะลี ว่า มีชายคนหนึ่งได้ถามท่านว่า พระผู้เป็นเจ้าของท่านนั้น มีความสามารถที่จะทำให้โลกใบนี้ อยู่ในไข่ไก่สักฟองหนึ่ง โดยทิ่มิได้ทำให้โลกนั้นดูเล็กลง หรือไข่ฟองนั้นใหญ่ขึ้นได้ ใช่หรือไม่?

ท่านอิมาม ได้ตอบกับชายผู้นั้นว่า

“แท้จริงอัลลอฮ์ ผู้ทรงสูงส่งและมีเกียรติยิ่ง ไม่มีความสัมพันธ์ใดไปยัง การไม่มีพลังอำนาจและในสิ่งที่เจ้าถามแน่นอนมันจะไม่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง” (อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๙ วจนะที่ ๙ )

ดังนั้น จากวจนะนี้ สรุปได้ว่า มิใช่ว่า พระเจ้าไม่ทรงมีความสามารถ แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ในความเป็นจริงได้ เพราะว่า สิ่งนั้น เป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดขึ้นจริง

๒๘๘

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

 

พลังอำนาจของพระเจ้ากุดรัต อิลาฮีย์    capability of Devine

สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ในความเป็นจริง มุฮาล วุกูอีย์

สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วยตัวของมันมุฮาลซาตีย์

สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยทั่วไปมุฮาลอาดีย์

สรุปสาระสำคัญ

  ๑.ความหมายของ พลังอำนาจ คือ ผู้กระทำมีความสามารถกระทำการงานหนึ่งการงานใดได้ และไม่กระทำการงานนั้นก็ได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การกระทำของผู้กระทำที่ได้เกิดขึ้นจาก ความประสงค์ของผู้นั้น

๒.การมีพลังอำนาจในการกระทำ ไม่จำเป็นว่าการกระทำนั้นจะต้องเกิดขึ้น เพราะว่า เป็นไปได้ว่า ผู้มีพลังอำนาจสามารถกระทำ หรือไม่กระทำในการกระทำหนึ่ง ในขณะที่ผู้กระทำ ก่อนที่จะทำให้การงานนั้น ให้เกิดขึ้นมา เขาก็มีความสามารถและพลังอำนาจ

๓.การมีพลังอำนาจของพระเจ้า หมายถึง การกระทำของพระองค์นั้นขึ้นอยู่กับความประสงค์ของพระองค์ ถ้าพระองค์ทรงประสงค์ การกระทำนั้นก็จะเกิดขึ้น และถ้าพระองค์ไม่ทรงประสงค์การกระทำนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้น การเกิดขึ้นของการกระทำของพระองค์มิได้เกิดขึ้นมาจากเป้าหมายอื่น ที่มิใช่อาตมันของพระองค์

๒๘๙

๔.เหตุผลการพิสูจน์การมีพลังอำนาจที่ไม่มีขอบเขตของพระเจ้า ก็คือ พระเจ้าทรงกระทำในการกระทำของพระองค์ ด้วยความประสงค์ของพระองค์ และไม่มีการกระทำใดที่พระองค์ไม่สามารถจะกระทำให้เกิดขึ้นได้ เพราะว่า ทุกสรรพสิ่งเป็นสิ่งสร้างของพระองค์ และการมีอยู่ของสิ่งเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของพระองค์

๕.พระเจ้า มีพลังอำนาจที่ไม่มีขอบเขตและไม่มีที่สิ้นสุด และพลังอำนาจของพระองค์ ไม่มีในสิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นด้วยตัวของมันหรือ ในความเป็นจริงได้ (มุฮาล ซาตีย์และมุฮาล วุกูอีย์) เพราะว่า การกระทำนี้ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่พลังอำนาจของพระเจ้า มีอยู่ใน สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นโดยทั่วไป (มุฮาล อาดีย์) เช่น ปาฏิหาริย์ของบรรดาศาสดาทั้งหลาย

๖. พระเจ้า มีความสามารถที่จะกระทำในการงานที่ไม่ดีได้ แต่ด้วยกับความเป็นวิทยปัญญาของพระองค์ได้กล่าวว่า พระองค์จะไม่กระทำในการงานที่ไม่ดี

๗. อัล กุรอานกล่าวถึงพระเจ้าว่า พระองค์ทรงมีอานุภาพ ดั่งโองการที่กล่าวว่า“แท้จริงอัลลอฮ์ทรงมีอานุภาพเหนือทุกสรรพสิ่ง” บ่งบอกถึง ความไม่มีที่สิ้นสุดในพลังอำนาจของพระเจ้า

๘.และอัล กุรอานยังกล่าวอีกว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน และมีอำนาจการบริหารในการงานทั้งหลาย แสดงให้เห็นว่า พระเจ้ามีพลังอำนาจที่ไม่มีขอบเขตและไม่มีที่สิ้นสุด

๙.บางส่วนของวจนะทั้งหลายกล่าวถึง คำตอบของข้อสงสัยต่างๆที่เกี่ยวกับ การมีพลังอำนาจของพระเจ้า และอธิบายว่า การที่พลังอำนาจของพระองค์ไม่มีในบางสิ่ง มิได้หมายความว่า การมีพลังอำนาจของพระองค์นั้น มีขอบเขตจำกัด

๒๙๐

   บทที่ ๖

   การมีชีวิตของพระเจ้า

    การมีชีวิต  เป็นคุณลักษณะหนึ่งของพระเจ้า และเป็นคุณลักษณะหนึ่ง ที่บรรดานักเทววิทยาอิสลามมีความเห็นตรงกัน แต่มีความแตกต่างในการอธิบายถึงวิธีการมีชีวิตของพระเจ้า และมีการให้ทัศนะที่แตกต่างกัน โดยนักเทววิทยาอิสลามบางคนได้กล่าวว่า การมีชีวิต เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่มีอยู่ในอาตมันของพระองค์ และบางคนก็กล่าวว่า คุณลักษณะนี้ มิได้มีอยู่ในอาตมันของพระองค์ เพราะว่าการมีชีวิต เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในสรรพสิ่งทั้งหลาย เช่น ในมนุษย์, ในสัตว์, พรรณพืช และในสิ่งอื่นๆ

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นได้ว่า มีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจในความหมายของ การมีชีวิต กันก่อน ดังนั้น การมีชีวิต มีความหมายว่า อย่างไร?  แล้วจะมาอธิบายในความหมายของ การมีชีวิตของพระเจ้า เป็นอันดับต่อไป

   การมีชีวิตอยู่ของสรรพสิ่ง

    เมื่อเราได้สังเกตในสภาวะของสิ่งต่างๆที่เรียกกันว่า สิ่งนั้นมีชีวิตอยู่ จะเห็นได้ว่าในการมีชีวิตอยู่ของสิ่งเหล่านั้น บรรดานักเทววิทยาได้กล่าวกันว่า ในสิ่งที่มีชีวิตอยู่ มี ๒ คุณลักษณะที่เฉพาะกับการมีชีวิตอยู่ คือ

๑.การมีความรู้

๒. การมีความสามารถ

เพราะฉะนั้นสิ่งใดก็ตามที่มีชีวิตอยู่ สิ่งนั้นต้องมีความรู้และมีความสามารถ ส่วนสิ่งที่ไม่มีชีวิต สิ่งนั้นก็ไม่มีทั้งความรู้และความสามารถ

๒๙๑

จะกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า บรรดานักวิชาการได้กล่าวว่า การมีชีวิตอยู่ของพรรณพืชนั้นมีความแตกต่างกัน เพราะว่าการมีอยู่ของความรู้และความสามารถในแต่ละพรรณพืชก็มีความแตกต่างกันเช่นเดียวกัน ดังนั้น ความหมายของ การมีชีวิตอยู่จึงครอบคลุมทั้งมนุษย์และสัตว์

และสิ่งที่ควรรู้ ซึ่งมีอยู่ ๒ ประเด็นที่สำคัญ ดังนี้

๑.การมีชีวิตอยู่ของสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เช่น มนุษย์และสัตว์ และด้วยกับการกระทำต่างๆ เช่น การเจริญเติบโต, การมีความต้องการที่อยู่อาศัย, ปัจจัยยังชีพและอาหาร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทั้งหลายของการมีชีวิตอยู่ และอาจจะกล่าวได้ว่า ทั้งหมดนั้นเป็นคุณลักษณะที่มิได้เป็นคุณลักษณะโดยเฉพาะของการมีชีวิตอยู่ และการมีชีวิตนั้น ไม่จำเป็นต้องมีคุณลักษณะดังกล่าว และคุณลักษณะเหล่านั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่ในความหมายของการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์และสัตว์ ซึ่งถูกนำมาใช้ในสิ่งที่เป็นวัตถุ ส่วนสิ่งที่มิใช่วัตถุ เช่น พระเจ้านั้นไม่มีความต้องการในการเจริญเติบโต ,อาหาร และที่อยู่อาศัย

๒.ความหมายที่แท้จริงของการมีชีวิตอยู่ หมายถึง การมีความรู้และการมีความสามารถ มิได้หมายความว่า การมีชีวิตอยู่นั้นต้องมีทั้งสองคุณลักษณะดังกล่าวเท่านั้น เพราะว่า การมีชีวิตอยู่ เป็นความหมายที่มีอยู่ในการมโนภาพโดยทิ่มิได้เกิดขึ้นจริง ดังนั้น การมีชีวิต จึงเป็นการมีอยู่ที่สมบูรณ์ และสิ่งใดก็ตามที่มีชีวิต สิ่งนั้นก็ต้องมีทั้งความรู้และความสามารถอยู่คู่กัน

๒๙๒

ด้วยเหตุนี้ การให้คำนิยามของ การมีชีวิต คือ การมีความรู้และความสามารถ ซึ่งเป็นการให้คำนิยามของสิ่งหนึ่งที่มีส่วนประกอบ

เมื่อความหมายของ การมีชีวิตอยู่ในทัศนะของบรรดานักเทววิทยาอิสลามนั้น เป็นที่กระจ่างชัดสำหรับเราแล้ว จะมาอธิบายกันในความหมายของ การมีชีวิตของพระเจ้า

   ความหมายของการมีชีวิตของพระเจ้า

    การอธิบายในความหมายของ การมีชีวิตของพระเจ้า ซึ่งบรรดานักเทววิทยาอิสลามในสำนักคิดทั้งหลายได้มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน

โดยที่นักเทววิทยาอิสลามในสำนักคิดอัชอะรีย์ มีความเชื่อว่า คุณลักษณะของพระเจ้านั้นมีความแตกต่างกับอาตมันของพระองค์ และยังได้กล่าวอีกว่า การมีชีวิตของพระเจ้า เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันของพระองค์ และเป็นคุณลักษณะที่มีอยู่เหนือจากอาตมันของพระองค์ โดยมีความหมายว่า อาตมันของพระองค์มีความรู้และความสามารถอยู่คู่กัน

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ผู้ที่ปฏิเสธการมีความแตกต่างกันระหว่างคุณลักษณะกับอาตมันของพระเจ้า ได้กล่าวว่า การมีชีวิตของพระเจ้า เป็นคุณลักษณะที่มิได้มีอยู่ในพระองค์ และความหมายของการมีชีวิตของพระเจ้า ก็คือ การมีความสามารถและการมีความรู้ และเป็นสิ่งที่ไม่เป็นที่ต้องห้าม

๒๙๓

ด้วยเหตุนี้  การมีชีวิต จึงเป็นคุณลักษณะหนึ่งที่ไม่มีอยู่ในพระเจ้า  ซึ่งจะเห็นได้ว่า จากความหมายของ การมีชีวิต ในทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์ มีความหมายที่ไม่ชัดเจนและไม่ถูกต้อง ดังนั้น การมีชีวิต จึงเป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในพระเจ้าและเป็นหนึ่งเดียวกับอาตมันของพระองค์ และคุณลักษณะการมีชีวิตของพระเจ้า หมายถึง การมีชีวิตของพระองค์ในรูปแบบที่สมบูรณ์ กล่าวคือ การมีความรู้ และสามารถ แต่การมีชีวิตของพระเจ้านั้น ปราศจากการเป็นวัตถุ ซึ่งไม่มีความต้องการในการเจริญเติบโต ,ที่อยู่อาศัย, อาหาร และการพึ่งพา และสิ่งเหล่านี้มิใช่เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นกับการมีชีวิตของพระองค์

ได้อธิบายไปแล้วว่า การมีความรู้และการมีความสามารถ เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันของพระเจ้า ดังนั้น การมีชีวิตก็มีคุณลักษณะทั้งสองอยู่ด้วย และความหมายในการมีชีวิต ก็เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในพระองค์เช่นกัน   ซึ่งมีความหมายที่แตกต่างกันกับการมีชีวิตของสิ่งทั้งหลาย

   เหตุผลของการมีชีวิตของพระเจ้า

    เหตุผลต่างๆที่ใช้ในการพิสูจน์การมีอยู่ของคุณลักษณะทั้งหลายของพระเจ้า ก็สามารถใช้ในการพิสูจน์การมีชีวิตของพระองค์ได้ เหตุผลที่เข้าใจง่าย เกิดขึ้นจากการมีความรู้ของพระเจ้า และการมีความสามารถ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการมีชีวิต และได้พิสูจน์ไปแล้วว่า พระเจ้าเป็นผู้ทรงรอบรู้และมีความสามารถ เพราะฉะนั้น พระองค์ก็ทรงมีชีวิตอยู่เช่นกัน

๒๙๔

ดั่งใน คำกล่าวของท่านมุฮักกิก ตูซีย์ ที่ได้กล่าวว่า

“ทุกสิ่งที่มีความรู้ และความสามารถ แน่นอนที่สุด สิ่งนั้นก็ต้องมีชีวิต”

   การมีชีวิตของพระเจ้า จากการอรรถาธิบายของอัลกุรอานและวจนะ

    อัล กุรอานได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนในโองการทั้งหลายถึงคุณลักษณะการมีชีวิตของพระเจ้าว่า

“อัลลอฮ์ (ทรงเป็นพระเจ้า) ซึ่งไม่มีพระเจ้าใดๆ (อีกแล้ว) นอกจากพระองค์เท่านั้น ทรงเป็นเสมอ ทรงดำรงอยู่ ความง่วงและความหลับไม่ครอบงำพระองค์ พระองค์ทรงสิทธิ์ในสรรพสิ่งที่มีอยู่ในชั้นฟ้าและสิ่งที่อยู่ในแผ่นดิน ใครเล่าที่จะให้การสงเคราะห์ (แก่ผู้อื่น) ณ พระองค์ได้ นอกจากจะเป็นไปโดยอนุมัติของพระองค์เท่านั้น พระองค์ทรงรอบรู้สิ่งที่มีอยู่   ต่อหน้าพวกเขาและที่อยู่เบื้องหลังพวกเขาและพวกเขาไม่ครอบคลุมความรู้สักเพียงเล็กน้อยของพระองค์ นอกจากในสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์(จะให้พวกเขารู้)เท่านั้นเก้าอี้ (คืออำนาจปกครอง) ของพระองค์แผ่ไพศาลทั่วทั้งชั้นฟ้าและแผ่นดินและการพิทักษ์มัน   ทั้งสองไม่ทำให้พระองค์เหนื่อยยากเลยและพระองค์ทรงสูงส่งอีกทั้งทรงยิ่งใหญ่”

 (อัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ ๒๕๕) 

๒๙๕

                                                           

และอีกโองการหนึ่งได้กล่าวว่า              

“อัลลอฮ์นั้นคือ ไม่มีผู้ที่เป็นที่เคารพสักการะใดๆนอกจากพระองค์เท่านั้น ผู้ทรงมีชีวิตอยู่เสมอ (ไม่มีกาลอวสาน) ผู้ทรงบริหารกิจการทั้งหลายเป็นเนืองนิจ (ในสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างและทรงบังเกิด)” (บทอัลอาลิอิมรอน โองการที่ ๒)

 โองการดังกล่าวนี้ได้กล่าวถึง คุณลักษณะการมีชีวิตอยู่ ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของพระเจ้า โดยที่อัล กุรอานได้กล่าวอย่างชัดเจนในเรื่องนี้ว่า พระเจ้า คือ อัลลอฮ์ เป็นผู้ทรงมอบชีวิตให้กับทุกสรรพสิ่ง ดังนั้น ความหมายของการมีชีวิตของพระเจ้า หมายถึง เมื่อพระเจ้า เป็นผู้ทรงมอบชีวิตให้กับทุกสรรพสิ่ง ก็เป็นไปไม่ได้ที่พระองค์จะไม่ทรงมีชีวิตอยู่

และในอัล กุรอานได้กล่าวอีกว่า

“และเจ้าจงมอบหมายต่อพระผู้ทรงดำรงชีวิตตลอดกาล ไม่ตาย และจงแซ่ซร้องสดุดีด้วยการสรรเสริญพระองค์ และพอเพียงแล้วสำหรับพระองค์ ผู้ทรงรอบรู้ในความผิดทั้งหลายของปวงบ่าวของพระองค์”

 (บทอัลฟุรกอน โองการที่ ๕๘ )

อัล กุรอานได้ใช้คุณลักษณะทั้งสอง กล่าวคือ การมีชีวิตอยู่ คู่กับการเป็นอมตะ แสดงให้เห็นว่า เป็นคุณลักษณะที่สมบูรณ์แบบที่สุด เพราะว่า การมีคุณลักษณะ การมีชีวิตอยู่ นอกเหนือจาก การมีความรู้ในอาตมันของตนเองแล้ว ยังมีความรู้ในสรรพสิ่ง และการมีพลังอำนาจ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่เกิดขึ้นในอาตมันของพระเจ้า  และการมีคุณลักษณะ การเป็นอมตะ มีความหมายว่า การมีอยู่ของสรรพสิ่งทั้งหลายขึ้นอยู่กับพระองค์ และพระองค์ เป็นแหล่งกำเนิดของการกระทำทั้งหลาย

ด้วยเหตุนี้ การกล่าวรำลึกว่า โอ้พระผู้ทรงดำรงชีวิตอยู่และเป็นอมตะ เป็นการกล่าวรำลึกที่สวยงามที่สุด

๒๙๖

ท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมิแด่ท่าน) ได้กล่าวไว้ในเทศนาบทหนึ่งที่มีคุณค่ายิ่งในเป้าหมายของการรู้จักในความสูงส่งของพระผู้เป็นเจ้า ก็คือ การรู้จักในคุณลักษณะการมีชีวิตอยู่และการเป็นอมตะและนิรันดร์

“เราไม่มีความรู้ในความยิ่งใหญ่ของพระผู้เป็นเจ้า นอกจากเรารู้ว่า พระองค์ทรงมีชีวิตอยู่และเป็นนิรันดร์ และพระองค์ไม่ทรงง่วงนอนและหลับไหล” (นะฮ์ญุลบะลาเฆาะ สุนทรโรวาทที่ ๑๖๐)

บางวจนะได้กล่าวเช่นเดียวกันถึงความเป็นจริงของ การมีชีวิตอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า และความแตกต่างของการมีชีวิตอยู่ของพระองค์กับการมีชีวิตอยู่ของสรรพสิ่งทั้งหลาย

ดั่งเช่น วจนะของท่านอิมามมูซา อัลกาซิม (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ที่ได้กล่าวว่า

“อัลลอฮ์ พระผู้เป็นเจ้าทรงมีชีวิตอยู่ ในสภาพที่ไม่มีผู้ให้ชืวิต และไม่มีผู้ให้คุณลักษณะแด่พระองค์ และไม่มีการจำกัดในการมีอยู่ และพระองค์ไม่มีสถานที่พำนัก แต่พระองค์ทรงมีชีวิตอยู่ด้วยพระองค์เอง “[๒]

 (อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๑๑ วจนะที่ ๖ )

ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า คำกล่าวของอิมามนั้น มีความลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง  แต่สิ่งที่เราได้รับจากวจนะนี้ ก็คือ

๒๙๗

๑.การมีชีวิตของพระเจ้านั้น ไม่เหมือนกับการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ และสิ่งสร้างพระองค์ เพราะว่าอาตมันของพระองค์มีมาแต่เดิม และไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น การมีชีวิตของพระองค์ก็มีมาแต่เดิมและไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยเช่นกัน

๒.การมีชีวิตของพระเจ้านั้น เป็นการมีอยู่ ที่มิได้เป็นคุณานุภาพที่มีขอบเขตจำกัด และไม่มีสถานที่

   การมีมาแต่เดิมและความเป็นอมตะและนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้า

    การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ของพระเจ้า เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันของพระองค์

บรรดานักปรัชญาอิสลาม มีความเชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงมีมาแต่เดิม หมายความว่า พระเจ้าไม่มีกาลเวลาที่จำกัด และคำกล่าวที่ว่า พระองค์ทรงมีอยู่เป็นนิรันดร์ หมายความว่า ไม่มีกาลเวลาใดที่จะมาทำลายหรือทำให้พระองค์สูญสลายได้

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การมีอยู่ของพระองค์นั้น ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา ไม่ว่าจะในอดีต ปัจจุบัน หรือในอนาคตก็ตาม เพราะว่า พระองค์ทรงมีอยู่เหนือกาลเวลา  ดังนั้น ความหมายของ การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ บางครั้งหมายถึง การคงมีอยู่ของสิ่งที่มาแต่เดิมตลอดไป

๒๙๘

   การอธิบาย การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ของพระเจ้า

   บรรดานักเทววิทยาอิสลาม มีความคิดเห็นและมีทัศนะที่แตกต่างกัน และจากทัศนะทั้งหลาย

ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่า มี ๒ทัศนะที่สำคัญ ดังนี้

๑.การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ หมายถึง พระผู้เป็นเจ้าทรงมีอยู่ในทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ดังนั้น จากทัศนะนี้ชี้ให้เห็นว่า การมีอยู่ของพระเจ้านั้นขึ้นอยู่กับกาลเวลา

๒.การมีอยู่ของพระเจ้านั้น อยู่เหนือกาลเวลา ซึ่งรวมถึงสิ่งที่เป็นกาลเวลาด้วย

ในทัศนะแรก บ่งบอกถึง ความเข้าใจของสามัญชนธรรมดาต่อการมีอยู่แต่เดิม และความเป็นนิรันดร์ของพระเจ้า และในทัศนะที่สอง เป็นทัศนะที่ถูกยอมรับในแวดวงวิชาการ เพราะว่า การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้านั้นไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา แต่พระองค์ทรงอยู่เหนือกาลเวลา

การมีอยู่กาลเวลา หมายถึง สิ่งที่เป็นวัตถุ และอาตมันของพระเจ้า มิได้เป็นวัตถุ ดังนั้น พระองค์ไม่ทรงมีกาลเวลา

๒๙๙

   เหตุผลของ การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้า 

 

   หลังจากที่ได้เข้าใจในความหมายของ การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้าไปแล้ว บัดนี้ จะมาพิสูจน์ในเหตุผลของง การมีอยู่สองคุณลักษณะ ในอาตมันของพระองค์ เหตุผลที่เข้าใจง่าย ก็คือ เหตุผลจาก ข้อพิสูจน์วุญูบและอิมกาน (สิ่งที่จำเป็นต้องมีอยู่และสิ่งที่จะมีอยู่ก็ได้หรือไม่มีก็ได้) เพราะว่า พระผู้เป็นเจ้า คือ สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ และการไม่มีอยู่นั้น ไม่มีในพระองค์  กล่าวคือ การไม่มีอยู่ จะไม่มีในพระองค์ในอดีต และการไม่มี จะไม่มีมา หลังจากในอนาคต

ดั่งที่ท่านควอญิฮ์ นะศีรุดดีน ตูซีย์ ได้กล่าวว่า

“ข้อพิสูจน์วุญูบและอิมกาน ( สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ และสิ่งที่จะมีอยู่ก็ได้หรือไม่มีก็ได้) บ่งบอกถึง การมีอยู่ตลอดกาลและความเป็นนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้า “

   การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ของพระเจ้า ในอัล กุรอานและวจนะ

    อัล กุรอานมิได้กล่าวคำว่า การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ แต่ทว่า กล่าวถึงคำที่บ่งบอกถึงความหมายของการมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์  เช่น บางครั้งเรียกพระผู้เป็นเจ้า ว่า พระองค์เป็นองค์แรกและเป็นองค์สุดท้าย

อัล กุรอานกล่าวว่า

“พระองค์ทรงเป็นองค์แรกและองค์สุดท้าย และทรงเปิดเผยและทรงเร้นลับ และพระองค์เป็นผู้ทรงรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง”

( บทอัลหะดีด โองการที่ ๓ )

๓๐๐

301

302

303

304

305

306

307

308

309

310

311

312

313

314

315

316

317

318

319

320

321

322

323

324

325

326

327

328

329

330

331

332

333

334

335

336

337

338

339

340

341

342

343

344

345

346

347

348

349

350

351

352

353

354

355

356

357

358

359

360

361

362

363

364

365

366

367

368

369

370

371

372

373

374

375

376

377

378

379

380

381

382

383

384

385

386

387

388

389

390

391

392

393

394

395

396

397

398

399

400

401

402

403

404

405

406

407

408

409

410

411

412

413

414

415

416

417

418

419

420

421

422

423

424

425

426

427

428

429

430

431

432

433

434

435

436

437

438

439

440

441

442

443

444

445

446

447

448

449

450