บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม0%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน: ดร.มุฮัมมัด ซะอีดีย์ เมฮร์
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 450
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 294834
ดาวน์โหลด: 3073

รายละเอียด:

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 294834 / ดาวน์โหลด: 3073
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

๓.พระเจ้าไม่มีสถานที่ต้องพักอาศัยและไม่มีทิศทางที่ต้องอยู่ เพราะว่าการมีสถานที่อยู่อาศัย เป็นคุณสมบัติของสิ่งที่เป็นวัตถุ และพระองค์ มิได้เป็นวัตถุ

๔.พระเจ้าไม่ทรงสถิตย์ ณ ที่ใด เพราะว่า การสถิตย์ต้องการสถานที่ในการสถิตย์ ขณะที่พระองค์ไม่มีความต้องการใด

๕.อีกคุณลักษณะหนึ่งที่ไม่มีในพระเจ้า คือ การไม่อยู่ร่วมกับสิ่งใดและไม่เป็นหนึ่งกับสิ่งอื่น เพราะว่า ความหมายของการอยู่ร่วมกันหรือการเป็นหนึ่งร่วมกับสิ่งอื่น  มิสามารถจะใช้กับพระองค์ได้ทั้งสองความหมาย  เพราะว่า พระองค์ไม่มีความต้องการสิ่งใดในการมีอยู่ของพระองค์

๖.พระเจ้ามิได้มีอยู่ในปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือในเหตุการณ์ เหตุผลก็คือ การเกิดขึ้นของเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ เป็นคุณลักษณะของสิ่งที่เป็นวัตถุ ในขณะที่พระองค์มิใช่วัตถุ

๗. อีกคุณลักษณะหนึ่งที่ไม่มีในพระเจ้า คือ การไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด เพราะว่า การมีความรู้สึกเจ็บปวด เป็นคุณลักษณะของสิ่งที่เป็นวัตถุ ขณะที่พระองค์มิใช่สิ่งที่เป็นวัตถุ

๘.อาตมันของพระเจ้า มิได้เป็นวัตถุและไม่มีสถานที่ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่สามารถมองเห็นพระองค์ได้

สำนักคิดอัชอะรีย์ มีความเชื่อว่า บรรดาผู้ศรัทธา สามารถมองเห็นพระเจ้าได้ในโลกหน้า แต่ความเชื่อนี้กับมีความขัดแย้งกับโองการทั้งหลายของ

อัล กุรอาน

๙.คุณลักษณะที่ไม่มีในพระเจ้าถูกกล่าวไว้ในโองการต่างๆของอัล กุรอานและในวจนะมีจำนวนอยู่มากมาย

๓๖๑

ภาคที่สี่

การกระทำของพระเจ้า

๓๖๒

   บทที่ ๑

   ความดี และ ความชั่วทางสติปัญญา

   เนื้อหาโดยทั่วไป การกระทำของพระเจ้า

    หลังจากที่ได้อธิบายในคุณลักษณะทั้งหลายของพระเจ้าไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคุณลักษณะในอาตมัน และกริยา การกระทำ

จะขออธิบายในประเด็นของการกระทำของพระเจ้า เป็นอันดับต่อไป

และก่อนที่จะมาอธิบายกันในประเด็นนี้ ก็จำเป็นที่จะต้องมากล่าวในประเด็นของการกระทำของพระเจ้า ว่ามีประเด็นหลักของการกระทำของพระองค์ ๒ ประเด็น ด้วยกัน ดังนี้

๑.ประเด็นทั่วไปของการกระทำของพระเจ้า

๒.ประเด็นที่เฉพาะกับการกระทำบางประการของพระเจ้า

ประเด็นทั่วไป รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวกับกฏต่างๆของการกระทำของพระเจ้า โดยที่มิได้จำกัดในการกระทำประการใดประการหนึ่ง

ส่วนในประเด็นที่สอง เป็นประเด็นที่เฉพาะกับกฏของการกระทำบางประการของพระเจ้า เช่น การชี้นำ (ฮิดายะฮฺ) และการทำให้หลงทาง (ฎอลาล) ของพระองค์ เป็นต้นฯ

๓๖๓

การกระทำของพระเจ้ามีความสัมพันธ์กับความเป็นเอกะของพระองค์ด้วยเช่นกัน ดังที่ได้อธิบายไปแล้ว ในเรื่องความเป็นเอกะในกริยา การกระทำว่า การมีความสัมพันธ์ในการกระทำของพระเจ้ากับการกระทำของสิ่งที่ถูกสร้าง ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นทั่วไปของการกระทำของพระเจ้า และคุณลักษณะที่มีในการกระทำ เป็นประเด็นที่เฉพาะในการกระทำของพระองค์

ความดี และ ความชั่วทางสติปัญญา

    อันดับแรก จะอธิบายในความหมายของ ความดี และความชั่วในมุมมองของสติปัญญา ซึ่งถือว่า เป็นบทนำเบื้องต้นต่อการรู้จักในการกระทำของพระเจ้า และเป็นประเด็นที่สำคัญยิ่ง และเป็นประเด็นหลักของเทววิทยาอิสลาม โดยบรรดานักเทววิทยาอิสลาม ได้มีทัศนะที่แตกต่างกันในประเด็นนี้

สำนักคิดชีอะฮ์อิมามียะฮ์ และมุอฺตะซิละฮ์ มีความเชื่อในความดี และความชั่วจากสติปัญญา โดยที่พวกเขาได้กล่าวว่า สติปัญญาของมนุษย์ มีความสามารถในการตัดสินว่า อะไรคือ ความดี และอะไรคือ ความชั่ว  โดยที่ไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากศาสนบัญญัติ ซึ่งตรงกันข้ามกับ สำนักคิดอัชอะรีย์ พวกเขาได้ยอมรับในการมีความดี และความชั่วที่มาจากศาสนบัญญัติเท่านั้น และปฏิเสธการตัดสินชี้ขาดของสติปัญญา และพวกเขาเชื่อว่า ความดี และความชั่วมาจากพระเจ้า

ก่อนที่จะอธิบายในเหตุผลของสำนักคิดทั้งสอง จะมาทำความเข้าใจในความหมายของ ความดี และความชั่วในภาษากัน

๓๖๔

การให้นิยามของความดี และความชั่วในด้านภาษา มีความหมายที่ชัดเจนโดยที่ไม่ต้องการอธิบายใดๆ

ส่วนการให้นิยามของความดีและความชั่วทางวิชาการนั้น ก็สามารถให้คำนิยามได้ด้วย ๔ ความหมาย ดังนี้

๑.บางครั้ง ความดี  หมายถึง ความสมบูรณ์ของการกระทำของมนุษย์ ส่วนความชั่ว หมายถึง ความไม่สมบูรณ์ของการกระทำเหล่านั้น ดังนั้น คำนิยามนี้ รวมถึงการกระทำที่มีการเลือกสรร และสิ่งที่มิใช่เป็นการกระทำ (คุณลักษณะ) อยู่ด้วย เช่น ความรู้ ถือว่า เป็นความดี และการเรียนรู้ ก็ถือว่าเป็นความดี และความโง่เขลา ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี และการไม่เรียนรู้ ถือว่า เป็นสิ่งที่ไม่ดี เพราะว่า ความรู้ และการศึกษาหาความรู้ เป็นความสมบูรณ์หนึ่งของมนุษย์ ในขณะที่ความโง่เขลา และการไม่ศึกษาหาความรู้ เป็นความไม่สมบูรณ์ของเขา และเช่นเดียวกัน คุณลักษณะทั้งหลาย ดั่งเช่น ความกล้าหาญและความฉลาด เป็นคุณลักษณะที่ดี และคุณลักษณะเช่น ความกลัวและความตระหนี่ เป็นคุณลักษณะที่ไม่ดี ดังนั้น มาตรฐานของการให้ความหมายของ ความดีและความชั่ว อยู่ที่ ความสมบูรณ์และความไม่สมบูรณ์ของมนุษย์

๒.ในบางครั้ง ความดีและความชั่วมีความหมายว่า  ความดี หมายถึง ความเหมาะสมในการงานของมนุษย์ และความชั่ว หมายถึง ความไม่เหมาะสมในการงานเหล่านั้น ดังนั้น การงานที่ดี คือ การงานที่มนุษย์ได้

กระทำแล้วรู้สึกว่า เหมาะสมกับเขาและเขามีความภาคภูมิใจ ส่วนการกระทำที่ไม่ดี คือ การกระทำที่ไม่เหมาะสมกับเขา และรู้สึกรังเกียจที่จะกระทำการงานนั้น

๓๖๕

 ตัวอย่างเช่น เสียงที่ไพเราะ และการได้ยินเสียงนั้น เป็นการงานที่ดี และสถานที่สกปรกและการเยี่ยมชมสถานที่นั้น เป็นการงานที่ไม่ดี จากคำนิยามนี้ ก็ได้รวมทั้งการกระทำและคุณลักษณะทั้งหลายด้วยเช่นเดียวกัน

๓.คำนิยามที่สามของ ความดีและความชั่ว ก็คือ ความดี หมายถึง การได้รับผลประโยชน์ของการกระทำหนึ่ง ส่วนความชั่ว หมายถึง การได้รับผลกระทบของการกระทำเหล่านั้น และในบางครั้ง ผลประโยชน์และผลกระทบของการกระทำ เป็นการกระทำส่วนบุคคล และบางครั้ง เป็นการกระทำส่วนรวม  เช่น การได้รับรางวัลชนะเลิศของบุคคลหนึ่งในการแข่งขัน เป็นการกระทำที่ดี  ซึ่งเขาได้รับผลประโยชน์จากการเข้าร่วมแข่งขัน แต่ในทางกลับกัน การได้รับรางวัลนั้น มีผู้ที่ไม่ได้รับผลประโยชน์ และการมีความยุติธรรมในสังคม เป็นการกระทำที่ดี ซึ่งมีผลประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม เช่น การรับประทานยาที่ขม เพื่อที่จะรักษาโรค เป็นการกระทำที่ดีและมีประโยชน์

๔.คำนิยามสุดท้ายของ ความดีและความชั่ว ก็คือ ความดี หมายถึง การกระทำที่ดีต่อมนุษย์ ส่วนความชั่ว หมายถึง การกระทำที่ไม่ดีต่อเขา ดังนั้น การกระทำที่สติปัญญาบอกว่า เป็นการกระทำที่ดี จะต้องทำการปฏิบัติ และยกย่องและให้เกียรติกับผู้ที่กระทำในการกระทำนั้น และในทางตรงกันข้าม การกระทำที่สติปัญญากล่าวว่า เป็นการกระทำที่ไม่ดี ก็ไม่สมควรที่จะปฏิบัติและผู้ที่กระทำการกระทำนั้น จะต้องถูกกล่าวหา

เพราะฉะนั้น พื้นฐานของความดีและความชั่ว ในประโยคที่กล่าวว่า ความยุติธรรม คือ ความดี และความอยุติธรรม คือ ความชั่ว ก็คือ สติปัญญาได้ยืนยันว่า ความยุติธรรม เป็นการกระทำที่ดีที่ต้องปฏิบัติและผู้ที่กระทำในการกระทำนี้  จะต้องได้รับเกียรติและถูกยกย่อง ส่วนความอยุติธรรม เป็นการกระทำที่ไม่ดีและไม่สมควรที่จะปฏิบัติ

๓๖๖

 และผู้ที่กระทำการกระทำนั้น เขาจะถูกว่าและถูกรังเกียจ

ความหมายของสติปัญญา ณ ที่นี้ ก็คือ สติปัญญาในการกระทำ มิใช่สติปัญญาในความหมายทางวิชาการ

และจากการให้คำนิยามทั้งสี่ของ ความดีและความชั่วนั้น ทำให้เห็นได้ว่า มีความแตกต่างในคำนิยามทั้งหลาย กล่าวคือ ความหมายที่สี่ ซึ่งถูกใช้เฉพาะกับการกระทำเท่านั้น และไม่รวมถึงคุณลักษณะของการ

กระทำ

ส่วนอีกสามคำนิยามนั้น ได้ถูกนำมาใช้เฉพาะกับมนุษย์เท่านั้น  แต่ในนิยามที่สี่ ได้รวมเอาทั้งมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลาย อีกทั้งยังได้รวมถึงการกระทำของพระเจ้าด้วย

   ความแตกต่างระหว่างอัดลียะฮ์กับอัชอะรีย์ในความดี และความชั่วทางสติปัญญา

    หลังจากที่อธิบายความหมายของความดีและความชั่ว และเป็นที่กระจ่างชัดไปแล้ว ประเด็นของความดีและความชั่ว ที่เป็นปัญหาระหว่าง อัดลียะฮ์และอัชอะรีย์นั้น มีทัศนะที่แตกต่างกันอย่างไร?

จากการสังเกตุในคำนิยามทั้งสี่ของ ความดีและความชั่ว และคุณสมบัติของแต่ละคำนิยาม จะเห็นได้ว่า ความแตกต่างอยู่ในนิยามที่สี่ เพราะทั้งสามนิยามนั้นไม่มีความแตกต่างกันในหมู่นักเทววิทยาอิสลาม กล่าวคือ ตัวของมนุษย์เองมีทั้งความสมบูรณ์และความไม่สมบูรณ์อยู่ด้วยกัน และมีสิ่งต่างๆที่เหมาะสมกับเขา และไม่เหมาะสมกับเขา

๓๖๗

  ดังนั้น ประเด็นหลักที่เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ คือ ประเด็นที่สติปัญญาสามารถแยกแยะความดีและความชั่วได้โดยไม่ต้องใช้คำสอนของศาสนาเข้ามาช่วย  ดั่งเช่น การกระทำหนึ่งที่ผู้กระทำขึ้นมา และเป็นการกระทำที่ดีและควรยกย่อง และการกระทำหนึ่งที่ผู้กระทำต้องถูกลงโทษ เพราะว่า เป็นการกระทำที่ไม่ดี 

คำตอบของอัดลียะฮ์ ก็คือ สติปัญญาสามารถแยกแยะสิ่งที่เป็นความดี และสิ่งที่เป็นความชั่วออกจากกันได้ ในทางตรงกันข้ามกับทัศนะที่กล่าวว่า สติปัญญาไม่มีความสามารถที่จะตัดสินเช่นนี้ได้  ด้วยเหตุนี้ จึงสรุปได้ว่า ทัศนะของความเชื่อในความดีและความชั่วทางสติปัญญา คือ สติปัญญาของมนุษย์สามารถแยกแยะและตัดสินในการกระทำที่ดีและที่ไม่ดีได้ โดยไม่ต้องใช้หลักของศาสนาเข้ามาช่วย หมายถึง รู้ว่า การกระทำใดเป็นการกระทำที่ดี และการกระทำใด เป็นการกระทำที่ไม่ดี ส่วนการกระทำที่ไม่ดีนั้น มิได้เกิดขึ้นมาจากพระเจ้า เมื่อได้มีความเข้าใจในประเด็นที่แตกต่างกันแล้ว จะมาตรวจสอบในเหตุผลของทั้งสองฝ่ายเป็นอันดับต่อไป 

เหตุผลที่ใช้ในการพิสูจน์ความดี และความชั่วทางสติปัญญา

   บรรดาผู้ที่ยืนยันในการมีอยู่ของความดีและความชั่วทางสติปัญญา มีเหตุผลมากมายในการพิสูจน์ความเชื่อของพวกเขา ซึ่งบางเหตุผลมีความลึกซึ้ง และยากที่จะมีความเข้าใจได้ ด้วยเหตุนี้ จะขอนำมากล่าวสักเพียงเหตุผลเดียว ดังนี้

๓๖๘

มนุษย์ทุกคนยอมรับว่า บางส่วนของการกระทำเป็นสิ่งที่ดี และบางส่วนเป็นการกระทำที่ไม่ดี เช่น ความยุติธรรม เป็นสิ่งที่ดี และความอยุติธรรม เป็นสิ่งที่ไม่ดี ,ความซื่อสัตย์เป็นการกระทำที่ดี และการโกหก เป็นการกระทำที่ไม่ดี ดังนั้นสิ่งเหล่านี้มนุษย์สามารถแยกแยะเองได้โดยที่ไม่ต้องใช้หลักศาสนาของมาช่วย

ด้วยเหตุนี้ การจำแนกความดีและความชั่วมิได้ขึ้นอยู่กับหลักคำสอนของศาสนาเท่านั้น แต่สติปัญญาของมนุษย์ก็สามารถจำแนกเองได้  และเช่นเดียวกัน ถ้าหากว่า เราบอกกับบุคคลหนึ่งที่ไม่มีความศรัทธาในศาสนาว่า จงเลือกระหว่างความสัตย์จริงกับการโกหก แน่นอนที่สุด เขาก็ต้องเลือกความสัตย์จริง  เพราะสติปัญญาของเขาบอกว่า ความสัตย์จริง คือ ความดี และการโกหก ก็คือ ความชั่ว

   เหตุผลของสำนักคิดอัชอะรีย์ในการปฏิเสธความดีและความชั่วทางสติปัญญา

   สำนักคิดอัชอะรีย์มีเหตุผลของพวกเขาในการปฏิเสธความเชื่อว่ามีความดีและความชั่วทางสติปัญญา  ซึ่งจะขอนำมากล่าวสัก ๒ เหตุผล ด้วยกัน ดังนี้

๑.หากว่า ความดีและความชั่วทางสติปัญญามีจริง และสามารถจำแนกการกระทำที่ดีและไม่ดีได้ โดยเป็นอิสระเสรี ดังนั้น ก็จะไม่เกิดความแตกต่างระหว่างประโยคตรรกทั้งหลาย เช่น ประโยคที่ไม่ตรงกัน เช่น ประโยคที่กล่าวว่า สีขาวและสีดำไม่มีในสิ่งเดียวกัน และประโยคที่กล่าวว่า การพูดจริง เป็น การกระทำที่ดี

๓๖๙

ก็ไม่มีความแตกต่างในทัศนะของสติปัญญา แต่ในความเป็นจริง ความกระจ่างชัดและขอบเขตของการกระทำนี้ มีความแตกต่างอย่างแท้จริง

สำหรับคำตอบของเหตุผลนี้ ก็คือ จะกล่าวได้ว่า แม้ในทัศนะของนักวิชาการที่ยอมรับ ในการมีอยู่ของความดีและความชั่วทางสติปัญญา กล่าวว่า ประโยคตรรกทั้งหลาย เช่น ประโยคที่กล่าวว่า การพูดจริง เป็นการกระทำที่ดี คือ ประโยคตรรกที่กระจ่างชัด และทุกประโยคที่กระจ่างชัด มีระดับขั้นที่ไม่เหมือนกัน  เช่น ประโยคตรรกขั้นแรก มีความกระจ่างชัดกว่า ประโยคตรรกฟิฏรีย์และประโยคตรรกอื่น ดังนั้น ประโยคใดก็ตามที่มีความกระจ่างชัดน้อยกว่า เป็นประโยคตรรกขั้นแรก คือ ประโยคที่ไม่ตรงกัน มิใช่เหตุผลที่จะกล่าวว่า ประโยคนั้นไม่ได้มีความกระจ่างชัด หรือประโยคที่สติปัญญาไม่ยอมรับ

๒.หากว่ามี ความดีและความชั่วทางสติปัญญา ในความเป็นจริง จะกล่าวไม่ได้เลยว่า การกระทำที่ดี บางครั้งเป็นการกระทำที่ไม่ดี และการกระทำที่ไม่ดี บางครั้งเป็นการกระทำที่ดี เช่น การพูดเท็จ เป็นการกระทำที่ไม่ดี แต่ในยามที่ต้องการช่วยบรรดาศาสดาให้หลุดพ้นจากภยันตราย กับเป็นการกระทำที่ดี และเฉกเช่นเดียวกัน การพูดความจริง เป็นการกระทำที่ดี แต่เป็นสาเหตุที่ทำให้บรรดาศาสดาต้องพินาศ ก็กลายเป็นการกระทำที่ไม่ดี

สำหรับคำตอบ ก็คือ การพูดความจริงและการพูดเท็จ เป็นการกระทำที่ดีและไม่ดี แต่เมื่อได้เปรียบเทียบกับการช่วยเหลือตัวแทนของพระเจ้า การพูดเท็จเป็นการกระทำที่ไม่ดีน้อยกว่าการปล่อยให้บรรดาศาสดาต้องได้รับภยันตราย ดังนั้นสติปัญญาบอกว่า ให้ละทิ้งการกระทำที่ไม่ดีน้อยกว่า และการพูดความจริงก็เช่นเดียวกัน

๓๗๐

   ผลที่ได้รับของการมีความเชื่อในความดีและความชั่วทางสติปัญญา

   ได้กล่าวแล้วว่า บรรดานักเทววิทยาอิสลามในสำนักคิดอิมามียะฮ์และ

มุอฺตะซิละฮ์ได้ยอมรับในการมีอยู่ของความดีและความชั่วทางสติปัญญา แต่สำนักคิดอัชอะรีย์กลับปฏิเสธความเชื่อนี้

การมีความเชื่อนี้ มีผลสะท้อนกับเทววิทยาอิสลาม ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของการพิสูจน์ในหลักการทั้งหลายของเทววิทยาอิสลาม เช่น ประเด็นของความจำเป็นในการรู้จักพระเจ้า , การพิสูจน์หลักความยุติธรรม และการมีวิทยปัญญา , หลักของความโปรดปราน ,การกระทำที่ต้องปฏิบัติ (ตักลีฟ) เป็นการกระทำที่ดี ,กฏของกุบฮุ ตักลีฟ บิมาลายุฏอก (กฏที่กล่าวถึง การกระทำที่ไม่ดีที่ไม่มีอำนาจในการกระทำ) ,กฏของกุบฮุ อิกอบ บิลา บะยาน

(กฏที่กล่าวถึง การลงโทษที่ไม่ดี ถ้าไม่มีการอธิบาย)

   ความดีและความชั่วทางสติปัญญา ในมุมมองของอัล กุรอาน

   เมื่อสังเกตในโองการทั้งหลายของอัล กุรอาน จะเห็นได้ว่า โองการเหล่านั้นได้เน้นย้ำในหลักของความดีและความชั่วทางสติปัญญา และการตัดสินและการจำแนกของสติปัญญาในการแยกแยะการกระทำที่ดี และการกระทำที่ไม่ดีออกจากกัน

๓๗๑

ดังโองการต่อไปนี้

แท้จริงอัลลอฮ์ทรงใช้ให้รักษาความยุติธรรมและทำดีและการบริจาคแก่ญาติใกล้ชิดและให้ละเว้นจากการทำลามกและการชั่วช้า และการอธรรม พระองค์ทรงตักเตือนพวกเจ้าเพื่อพวกเจ้าจักได้รำลึก” (บทอันนะห์ลฺ โองการ ๙๐ )

จะใช้พวกเขาให้กระทำในสิ่งที่ชอบและห้ามพวกเขามืให้กระทำในสิ่งที่ไม่ชอบ”

 (บทอัลอะอ์รอฟ โองการ ๑๕๗ )

 “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า แท้จริงสิ่งที่พระเจ้าของฉันทรงห้ามนั้น คือบรรดาสิ่งที่ชั่วช้าน่ารังเกียจ ทั้งเป็นสิ่งที่เปิดเผยจากมันและสิ่งที่ไม่เปิดเผย และสิ่งที่เป็นบาป และการข่มเหงรังแกโดยไม่เป็นธรรม และการที่พวกเจ้าให้เป็นภาคแก่อัลลอฮ์ซึ่งสิ่งที่พระองค์มิได้ทรงประทานหลักฐานใด ๆ ลงมาแก่สิ่งนั้น และการที่พวกเจ้ากล่าวให้ภัยแก่อัลลอฮ์ในสิ่งที่พวกเจ้าไม่รู้ (บทอัลอะอ์รอฟ โองการ ๓๓ )

จากโองการทั้งหลายที่กล่าวมาข้างต้น บ่งบอกถึง การกระทำบางอย่างในทัศนะของมนุษย์ เป็นการกระทำที่ดี เช่น การมีความยุติธรรมและการทำความดี และการกระทำบางส่วนเป็นการกระทำที่ไม่ดี เช่น การทำบาป และการทำความชั่ว และการมีความอธรรม ดังนั้นมนุษย์รู้จักในการกระทำที่ดีและไม่ดี เป็นอย่างดี โดยที่พระเจ้าไม่ต้องกำหนดให้กับพวกเขา

จะกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า มนุษย์นั้นรู้ว่า การกระทำอันใด คือ การกระทำที่ดี  และการกระทำใด คือ การกระทำที่ไม่ดี หลังจากนั้น พระเจ้าก็ทรงสั่งให้มนุษย์ปฏิบัติในความดีและห้ามปรามความชั่ว

๓๗๒

นอกเหนือจากโองการเหล่านี้ ยังมีอีกหลายโองการที่ พระเจ้าทรงกำหนดให้มนุษย์ใช้สติปัญญาของเขาในการตัดสินในความดีและความชั่ว

ดั่งโองการเหล่านี้

จะมีการตอบแทนความดีอันใดเล่านอกจากความดี” (บทอัรเราะห์มาน โองการ ๖๐)

 “ จะให้เราปฏิบัติต่อบรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีทั้งหลาย เช่นบรรดาผู้บ่อนทำลายในแผ่นดินกระนั้นหรือ ? หรือว่าจะให้เราปฏิบัติต่อบรรดาผู้ยำเกรง เช่นบรรดาคนชั่วกระนั้นหรือ?”

(บทศ็อด โองการ ๒๘ )

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

ความดีและความชั่วทางสติปัญญา ฮุซน์ วะ กุบฮ์ อักลีย์

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ประเด็นทางเทววิทยาอิสลามที่เกี่ยวกับ เรื่องของการกระทำของพระเจ้า แบ่งออกเป็น  สอง ประเด็นหลัก ดังนี้

๑.ประเด็นโดยทั่วไปของการกระทำของพระเจ้า

๒.ประเด็นที่เฉพาะกับการกระทำบางประการของพระเจ้า

บางส่วนของประเด็นทั่วไปของการกระทำ อยู่ในประเด็นของ คุณลักษณะในการกระทำของพระเจ้า และในประเด็นของความเป็นเอกะในการกระทำของพระเจ้า

๓๗๓

๒.หลักของความดีและความชั่วทางสติปัญญา เป็นบรรทัดฐานของหลักการอื่นๆของเทววิทยาอิสลาม เช่น หลักความยุติธรรมและความเป็นวิทยปัญญา ประเด็นของญับร์และอิคติยาร (การบังคับและการมีอิสระในการกระทำ)

ด้วยเหตุนี้ บรรดานักเทววิทยาอิสลาม ถือเอาประเด็นของหลักของความดีและความชั่วทางสติปัญญา เป็นบทนำเบื้องต้น ในการอธิบายประเด็นของการกระทำของพระเจ้า

๓.ความหมายของความดีและความชั่ว  เป็นความหมายที่เป็นที่รู้จักกันดี

ด้วยเหตุนี้ การให้คำนิยามของความดีและความชั่วตามทัศนะต่างๆมีหลายความหมาย

คือ บางครั้ง มาตรฐานของความดีและความชั่วอยู่ที่ ความสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ของการกระทำ หรืออยู่ที่ ความเหมาะสมและไม่เหมาะสมของการกระทำเหล่านั้น  และบางครั้ง รวมถึงผลประโยชน์และผลเสียของสิ่งทั้งหลายและการกระทำต่างๆ

แต่ประเด็นของความดีและความชั่วทางสติปัญญา ที่เป็นข้อวิพากษ์กัน มิใช่ คำนิยามเหล่านี้

๔.กลุ่มที่ยอมรับว่า มีความดีและความชั่วทางสติปัญญา พวกเขาเชื่อว่า สติปัญญาของมนุษย์สามารถที่จะแยกแยะและจำแนกการกระทำที่ดีและการกระทำที่ไม่ดีได้ โดยที่ไม่ต้องใช้หลักศาสนาเข้ามาช่วย และยังสามารถที่จะนำไปใช้กับพระเจ้าได้เช่นเดียวกัน

๓๗๔

๕.บรรดานักเทววิทยาอิสลามในสำนักคิดอิมามียะฮ์และมุอฺตะซิละฮ์ ที่รู้จักกันในนามของ อัดลียะฮ์ มีความเชื่อในความดีและความชั่วทางสติปัญญา และในทางตรงกันข้าม สำนักคิดอัชอะรีย์ ไม่ยอมรับในความเชื่อนี้ โดยพวกเขากล่าวว่า ความดีและความชั่วของการกระทำทั้งหลายนั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของพระเจ้าและหลักคำสอนของศาสนา โดยสติปัญญามิสามารถแยกแยะในสิ่งเหล่านี้ได้

๖.เหตุผลหนึ่งของผู้ที่ยอมรับในการมีอยู่ของความดีและความชั่วทางสติปัญญา ก็คือ มนุษย์ทุกคน นอกเหนือจาก ที่มีความเชื่อในหลักศรัทธาทางศาสนาแล้ว ยังได้ยอมรับว่า บางส่วนของการกระทำ เป็นการกระทำที่ดี เช่น ความยุติธรรม เป็นการกระทำที่ดี และบางส่วนของการกระทำ เป็นการกระทำที่ไม่ดี เช่น ความอยุติธรรม เป็นการกระทำที่ไม่ดี ดังนั้น การกระทำเหล่านี้ มนุษย์สามารถใช้สติปัญญาของเขาในการแยกแยะได้ โดยที่ไม่ต้องใช้หลักศาสนาหรือคำสอนของพระเจ้าเข้ามาช่วย

๗.หลักของความดีและความชั่วทางสติปัญญา มีผลในประเด็นเทววิทยาอิสลามมากมาย เช่น ประเด็นของหลักความยุติธรรมและวิทยปัญญาของพระเจ้า , ญับร์ และ อิคติยาร (การบังคับและการมีอิสระในการกระทำ), , หลักของความโปรดปราน ,การกระทำที่ต้องปฏิบัติ (ตักลีฟ) เป็นการกระทำที่ดี และ.....เป็นต้นฯ

๘.โองการทั้งหลายของอัล กุรอานก็ได้กล่าวเน้นย้ำในการมีอยู่ของหลักของความดีและความชั่วทางสติปัญญา

๓๗๕

   บทที่ ๒

   วิทยปัญญาของพระเจ้า คือ เป้าหมายสูงสุดในการกระทำของพระองค์

   บทนำเบื้องต้น

    ประเด็นหนึ่งที่สำคัญใน การกระทำของพระเจ้า ก็คือ การกระทำของพระองค์มีเป้าหมายหรือไม่มีเป้าหมาย และประเด็นนี้ เป็นประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องกับการมีวิทยปัญญาของพระเจ้า เพราะว่า ความหมายหนึ่งของ การมีวิทยปัญญา คือ ผู้กระทำการงานหนึ่งจะไม่กระทำการงานนั้น โดยที่มิได้มีประโยชน์ ดังนั้น การงานของผู้มีวิทยปัญญา จะต้องมีประโยชน์อย่างแน่นอน และเป็นสิ่งที่สติปัญญาได้ยอมรับด้วย

 ด้วยเหตุนี้ การอธิบายประเด็นดังกล่าว จึงย้อนกลับไปยัง การมีวิทยปัญญาและการไม่มีวิทยปัญญาของพระเจ้า

สำหรับคำตอบก็คือ เรื่องของการมีวิทยปัญญาของพระเจ้า มี  ๒ ทัศนะ ด้วยกัน ดังนี้

๑.ทัศนะของบรรดานักเทววิทยาอิสลามอัดลียะฮ์ (สำนักคิดอิมามียะฮ์และมุอฺตะซิละฮ์)

๒.ทัศนะของนักเทววิทยาอิสลามในสำนักคิดอัชอะรีย์

โดยบรรดานักเทววิทยาอิสลามอัดลียะฮ์ มีความเชื่อว่า การกระทำของพระเจ้ามีเป้าหมายที่สูงสุด

๓๗๖

ส่วนพวกอัชอะรีย์ มิได้มีความเชื่อว่า การกระทำของพระเจ้ามีเป้าหมายที่สูงสุด

และก่อนที่จะอธิบายในเหตุผลของทั้งสองสำนักคิด  ก็สมควรที่จะมาทำความเข้าใจในทัศนะของอัดลียะฮ์กัน

   เป้าหมายของผู้กระทำกับการกระทำ

    จากการสังเกตุในการกระทำของมนุษย์ ซึ่งจะเห็นได้ว่า มีเป้าหมายในการกระทำของเขาและมีอิสระเสรีที่จะกระทำการกระทำอันนั้น ดังนั้น เป้าหมายในการกระทำได้เกิดขึ้นก่อนการกระทำนั้นจะเกิดขึ้น ซึ่งก็เป็นสาเหตุที่ทำให้มนุษย์ต้องกระทำการกระทำอันนั้น เพื่อที่เขาจะได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้น  ด้วยเหตุนี้ การกระทำของมนุษย์จึงมีลักษณะอยู่ สองลักษณะด้วยกัน ก็คือ ลักษณะแรกคือ เป้าหมายของการกระทำ เพื่อที่จะขจัดความต้องการของผู้กระทำ และผู้กระทำด้วยกับการกระทำอันนั้น สามารถที่จะไปสู่ความสมบูรณ์ได้

ลักษณะที่สองคือ การมีเป้าหมายของการกระทำก่อนที่จะกระทำ ซึ่งเป็นแรงจูงใจให้กระทำในการกระทำอันนั้น

ส่วนในประเด็นนี้ การมีเป้าหมายของพระเจ้าในการกระทำของพระองค์ มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำของมนุษย์

๓๗๗

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ลักษณะทั้งสองที่ได้กล่าวผ่านมา จะไม่มีในการกระทำของพระเจ้า เหตุผลก็คือ เป้าหมายในการกระทำของพระเจ้า มิได้นำไปสู่ความสมบูรณ์ เพราะว่า พระองค์ทรงมีอยู่ที่สมบูรณ์ที่สุด และไม่มีข้อบกพร่อง แต่เป้าหมายในการกระทำของพระเจ้านั้น ย้อนกลับไปสู่สิ่งที่พระองค์สร้าง เพื่อที่จะทำให้สิ่งที่พระองค์สร้างนั้น มีความสมบูรณ์ จะกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การมีเป้าหมายในการกระทำ มิได้เป็นสาเหตุที่จะต้องกระทำในการกระทำนั้น เพราะว่า ความรอบรู้ของพระเจ้า มิได้เป็น ความรอบรู้โดยการใช้สื่อ แต่ทว่าอาตมันของพระองค์นั้น มีความสมบูรณ์ และเพื่อต้องการที่จะทำให้สิ่งที่พระองค์สร้างนั้น มีความสมบูรณ์เช่นเดียวกัน

ด้วยเหตุนี้ การมีเป้าหมายในการกระทำของพระเจ้า คือ การกระทำของพระองค์นั้น มีประโยชน์ที่ย้อนกลับไปสู่สิ่งที่พระองค์สร้าง มิใช่ว่า การกระทำหรือไม่กระทำของพระองค์ มีผลที่เท่าเทียมกับสิ่งที่พระองค์สร้าง 

ดังนั้น การมีเป้าหมายในการกระทำของพระเจ้า คือ การมีเป้าหมายต่อการกระทำ มิใช่เป็นเป้าหมายของผู้กระทำ เพราะพระเจ้าทรงมีความสมบูรณ์ที่สุด อีกทั้งพระองค์ยังไม่มีความต้องการใดๆทั้งสิ้น

เมื่อมีความเข้าใจในทัศนะที่กล่าวว่า มีเป้าหมายในการกระทำของพระเจ้า และในทัศนะของอัดลียะฮ์แล้ว จะมาอธิบายในเหตุผลของ สองสำนักคิด เป็นอันดับต่อไป  

๓๗๘

   เหตุผลของการมีวิทยปัญญาของพระเจ้า

   กล่าวได้ว่า การกระทำของพระเจ้า มีเป้าหมาย และมีเหตุผลต่างๆมากมาย ซึ่งจะขอนำมากล่าวสัก เหตุผลเดียว ดังนี้

การกระทำที่ไม่มีเป้าหมายเป็นการกระทำที่ไม่มีประโยชน์ และการกระทำที่ไม่มีประโยชน์ เป็นการกระทำที่สติปัญญาบอกว่า ไม่ดี และด้วยกับหลักความดีและความชั่วทางสติปัญญา ได้ยืนยันว่า พระเจ้าไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ดี จึงเป็นไปไม่ได้ที่ในการกระทำของพระองค์ เป็นการกระทำที่ไมมีประโยชน์ ดังนั้น การกระทำของพระเจ้า มีเป้าหมายและมีประโยชน์ที่ชัดเจน

ซึ่งจะเห็นได้ว่า เหตุผลนี้ถูกวางอยู่บนรากฐานของหลักความเชื่อในความดีและความชั่วทางสติปัญญา เพราะบรรทัดฐานของเหตุผล นั่นก็คือ สติปัญญาที่เป็นสิ่งจำแนกการกระทำที่มีเป้าหมายและการกระทำที่ไม่มีเป้าหมาย

ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าจะไม่กระทำการงานที่ไม่มีเป้าหมายเป็นอันขาด

   เหตุผลของสำนักคิดอัชอะรีย์ในการปฏิเสธการมีเป้าหมายในการกระทำของพระเจ้า 

 

   เหตุผลที่สำนักคิดอัชอะรีย์ใช้ในการปฏิเสธการมีเป้าหมายในการกระทำของพระเจ้า มีดังนี้

๓๗๙

ทุกๆการกระทำการงานจะต้องที่มีเป้าหมาย หมายความว่า การมีเป้าหมายนั้นดีกว่าการกระทำการงานนั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การมีเป้าหมาย นั่นคือ การมีความสมบูรณ์ของผู้กระทำ ผลลัพท์ก็คือ ผู้กระทำการงานนั้น

เพื่อที่จะไปสู่ความสำเร็จและความสมบูรณ์ และเช่นเดียวกัน ถ้าหากว่าการกระทำของพระเจ้ามีเป้าหมาย  พระองค์ต้องการที่จะไปสู่ความสมบูรณ์ ซึ่งสิ่งนี้มีความขัดแย้งกับความเป็นพระผู้อภิบาลของพระองค์

สำหรับคำตอบที่ให้กับพวกอัชอะรีย์ ก็คือ ได้อธิบายถึง การมีเป้าหมายของการกระทำของพระเจ้า ผ่านไปแล้ว และเป็นที่กระจ่างชัดแล้ว เพราะได้กล่าวแล้วว่า การมีเป้าหมายของการกระทำของพระเจ้า ในความเป็นจริงก็คือ การมีเป้าหมายในการกระทำ มิใช่ในผู้กระทำ ดังนั้น ความผิดพลาดของพวกอัชอะรีย์ ก็คือ การเข้าใจผิดว่า เป้าหมายของการกระทำต้องกลับไปหาผู้กระทำเสมอไป

ด้วยเหตุนี้ จะกล่าวได้ว่า การกระทำของพระเจ้า มิได้เป็นการกระทำที่ไม่มีเป้าหมาย แต่ในการกระทำของพระองค์นั้น มีเป้าหมายที่ชัดเจน  ซึ่งในการกระทำเหล่านั้น มีผลต่อการไปสู่ความสมบูรณ์ของมนุษย์

๓๘๐