บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม13%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 339943 / ดาวน์โหลด: 4960
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156

157

158

159

160

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175

176

177

178

179

180

181

182

183

184

185

186

187

188

189

190

191

192

193

194

195

196

197

198

199

200

201

202

203

204

205

206

207

208

209

210

211

212

213

214

215

216

217

218

219

220

221

222

223

224

225

226

227

228

229

230

231

232

233

234

235

236

237

238

239

240

241

242

243

244

245

246

247

248

249

250

251

252

253

254

255

256

257

258

259

260

261

262

263

264

265

266

267

268

269

270

271

272

273

274

275

276

277

278

279

280

281

282

283

284

285

286

287

288

289

290

291

292

293

294

295

296

297

298

299

300

301

302

303

304

305

306

307

308

309

310

311

312

313

314

315

316

317

318

319

320

321

322

323

324

325

326

327

328

329

330

331

332

333

334

335

336

337

338

339

340

341

342

343

344

345

346

347

348

349

350

351

352

353

354

355

356

357

358

359

360

๓.พระเจ้าไม่มีสถานที่ต้องพักอาศัยและไม่มีทิศทางที่ต้องอยู่ เพราะว่าการมีสถานที่อยู่อาศัย เป็นคุณสมบัติของสิ่งที่เป็นวัตถุ และพระองค์ มิได้เป็นวัตถุ

๔.พระเจ้าไม่ทรงสถิตย์ ณ ที่ใด เพราะว่า การสถิตย์ต้องการสถานที่ในการสถิตย์ ขณะที่พระองค์ไม่มีความต้องการใด

๕.อีกคุณลักษณะหนึ่งที่ไม่มีในพระเจ้า คือ การไม่อยู่ร่วมกับสิ่งใดและไม่เป็นหนึ่งกับสิ่งอื่น เพราะว่า ความหมายของการอยู่ร่วมกันหรือการเป็นหนึ่งร่วมกับสิ่งอื่น  มิสามารถจะใช้กับพระองค์ได้ทั้งสองความหมาย  เพราะว่า พระองค์ไม่มีความต้องการสิ่งใดในการมีอยู่ของพระองค์

๖.พระเจ้ามิได้มีอยู่ในปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือในเหตุการณ์ เหตุผลก็คือ การเกิดขึ้นของเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ เป็นคุณลักษณะของสิ่งที่เป็นวัตถุ ในขณะที่พระองค์มิใช่วัตถุ

๗. อีกคุณลักษณะหนึ่งที่ไม่มีในพระเจ้า คือ การไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด เพราะว่า การมีความรู้สึกเจ็บปวด เป็นคุณลักษณะของสิ่งที่เป็นวัตถุ ขณะที่พระองค์มิใช่สิ่งที่เป็นวัตถุ

๘.อาตมันของพระเจ้า มิได้เป็นวัตถุและไม่มีสถานที่ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่สามารถมองเห็นพระองค์ได้

สำนักคิดอัชอะรีย์ มีความเชื่อว่า บรรดาผู้ศรัทธา สามารถมองเห็นพระเจ้าได้ในโลกหน้า แต่ความเชื่อนี้กับมีความขัดแย้งกับโองการทั้งหลายของ

อัล กุรอาน

๙.คุณลักษณะที่ไม่มีในพระเจ้าถูกกล่าวไว้ในโองการต่างๆของอัล กุรอานและในวจนะมีจำนวนอยู่มากมาย

๓๖๑

ภาคที่สี่

การกระทำของพระเจ้า

๓๖๒

   บทที่ ๑

   ความดี และ ความชั่วทางสติปัญญา

   เนื้อหาโดยทั่วไป การกระทำของพระเจ้า

    หลังจากที่ได้อธิบายในคุณลักษณะทั้งหลายของพระเจ้าไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคุณลักษณะในอาตมัน และกริยา การกระทำ

จะขออธิบายในประเด็นของการกระทำของพระเจ้า เป็นอันดับต่อไป

และก่อนที่จะมาอธิบายกันในประเด็นนี้ ก็จำเป็นที่จะต้องมากล่าวในประเด็นของการกระทำของพระเจ้า ว่ามีประเด็นหลักของการกระทำของพระองค์ ๒ ประเด็น ด้วยกัน ดังนี้

๑.ประเด็นทั่วไปของการกระทำของพระเจ้า

๒.ประเด็นที่เฉพาะกับการกระทำบางประการของพระเจ้า

ประเด็นทั่วไป รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวกับกฏต่างๆของการกระทำของพระเจ้า โดยที่มิได้จำกัดในการกระทำประการใดประการหนึ่ง

ส่วนในประเด็นที่สอง เป็นประเด็นที่เฉพาะกับกฏของการกระทำบางประการของพระเจ้า เช่น การชี้นำ (ฮิดายะฮฺ) และการทำให้หลงทาง (ฎอลาล) ของพระองค์ เป็นต้นฯ

๓๖๓

การกระทำของพระเจ้ามีความสัมพันธ์กับความเป็นเอกะของพระองค์ด้วยเช่นกัน ดังที่ได้อธิบายไปแล้ว ในเรื่องความเป็นเอกะในกริยา การกระทำว่า การมีความสัมพันธ์ในการกระทำของพระเจ้ากับการกระทำของสิ่งที่ถูกสร้าง ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นทั่วไปของการกระทำของพระเจ้า และคุณลักษณะที่มีในการกระทำ เป็นประเด็นที่เฉพาะในการกระทำของพระองค์

ความดี และ ความชั่วทางสติปัญญา

    อันดับแรก จะอธิบายในความหมายของ ความดี และความชั่วในมุมมองของสติปัญญา ซึ่งถือว่า เป็นบทนำเบื้องต้นต่อการรู้จักในการกระทำของพระเจ้า และเป็นประเด็นที่สำคัญยิ่ง และเป็นประเด็นหลักของเทววิทยาอิสลาม โดยบรรดานักเทววิทยาอิสลาม ได้มีทัศนะที่แตกต่างกันในประเด็นนี้

สำนักคิดชีอะฮ์อิมามียะฮ์ และมุอฺตะซิละฮ์ มีความเชื่อในความดี และความชั่วจากสติปัญญา โดยที่พวกเขาได้กล่าวว่า สติปัญญาของมนุษย์ มีความสามารถในการตัดสินว่า อะไรคือ ความดี และอะไรคือ ความชั่ว  โดยที่ไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากศาสนบัญญัติ ซึ่งตรงกันข้ามกับ สำนักคิดอัชอะรีย์ พวกเขาได้ยอมรับในการมีความดี และความชั่วที่มาจากศาสนบัญญัติเท่านั้น และปฏิเสธการตัดสินชี้ขาดของสติปัญญา และพวกเขาเชื่อว่า ความดี และความชั่วมาจากพระเจ้า

ก่อนที่จะอธิบายในเหตุผลของสำนักคิดทั้งสอง จะมาทำความเข้าใจในความหมายของ ความดี และความชั่วในภาษากัน

๓๖๔

การให้นิยามของความดี และความชั่วในด้านภาษา มีความหมายที่ชัดเจนโดยที่ไม่ต้องการอธิบายใดๆ

ส่วนการให้นิยามของความดีและความชั่วทางวิชาการนั้น ก็สามารถให้คำนิยามได้ด้วย ๔ ความหมาย ดังนี้

๑.บางครั้ง ความดี  หมายถึง ความสมบูรณ์ของการกระทำของมนุษย์ ส่วนความชั่ว หมายถึง ความไม่สมบูรณ์ของการกระทำเหล่านั้น ดังนั้น คำนิยามนี้ รวมถึงการกระทำที่มีการเลือกสรร และสิ่งที่มิใช่เป็นการกระทำ (คุณลักษณะ) อยู่ด้วย เช่น ความรู้ ถือว่า เป็นความดี และการเรียนรู้ ก็ถือว่าเป็นความดี และความโง่เขลา ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี และการไม่เรียนรู้ ถือว่า เป็นสิ่งที่ไม่ดี เพราะว่า ความรู้ และการศึกษาหาความรู้ เป็นความสมบูรณ์หนึ่งของมนุษย์ ในขณะที่ความโง่เขลา และการไม่ศึกษาหาความรู้ เป็นความไม่สมบูรณ์ของเขา และเช่นเดียวกัน คุณลักษณะทั้งหลาย ดั่งเช่น ความกล้าหาญและความฉลาด เป็นคุณลักษณะที่ดี และคุณลักษณะเช่น ความกลัวและความตระหนี่ เป็นคุณลักษณะที่ไม่ดี ดังนั้น มาตรฐานของการให้ความหมายของ ความดีและความชั่ว อยู่ที่ ความสมบูรณ์และความไม่สมบูรณ์ของมนุษย์

๒.ในบางครั้ง ความดีและความชั่วมีความหมายว่า  ความดี หมายถึง ความเหมาะสมในการงานของมนุษย์ และความชั่ว หมายถึง ความไม่เหมาะสมในการงานเหล่านั้น ดังนั้น การงานที่ดี คือ การงานที่มนุษย์ได้

กระทำแล้วรู้สึกว่า เหมาะสมกับเขาและเขามีความภาคภูมิใจ ส่วนการกระทำที่ไม่ดี คือ การกระทำที่ไม่เหมาะสมกับเขา และรู้สึกรังเกียจที่จะกระทำการงานนั้น

๓๖๕

 ตัวอย่างเช่น เสียงที่ไพเราะ และการได้ยินเสียงนั้น เป็นการงานที่ดี และสถานที่สกปรกและการเยี่ยมชมสถานที่นั้น เป็นการงานที่ไม่ดี จากคำนิยามนี้ ก็ได้รวมทั้งการกระทำและคุณลักษณะทั้งหลายด้วยเช่นเดียวกัน

๓.คำนิยามที่สามของ ความดีและความชั่ว ก็คือ ความดี หมายถึง การได้รับผลประโยชน์ของการกระทำหนึ่ง ส่วนความชั่ว หมายถึง การได้รับผลกระทบของการกระทำเหล่านั้น และในบางครั้ง ผลประโยชน์และผลกระทบของการกระทำ เป็นการกระทำส่วนบุคคล และบางครั้ง เป็นการกระทำส่วนรวม  เช่น การได้รับรางวัลชนะเลิศของบุคคลหนึ่งในการแข่งขัน เป็นการกระทำที่ดี  ซึ่งเขาได้รับผลประโยชน์จากการเข้าร่วมแข่งขัน แต่ในทางกลับกัน การได้รับรางวัลนั้น มีผู้ที่ไม่ได้รับผลประโยชน์ และการมีความยุติธรรมในสังคม เป็นการกระทำที่ดี ซึ่งมีผลประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม เช่น การรับประทานยาที่ขม เพื่อที่จะรักษาโรค เป็นการกระทำที่ดีและมีประโยชน์

๔.คำนิยามสุดท้ายของ ความดีและความชั่ว ก็คือ ความดี หมายถึง การกระทำที่ดีต่อมนุษย์ ส่วนความชั่ว หมายถึง การกระทำที่ไม่ดีต่อเขา ดังนั้น การกระทำที่สติปัญญาบอกว่า เป็นการกระทำที่ดี จะต้องทำการปฏิบัติ และยกย่องและให้เกียรติกับผู้ที่กระทำในการกระทำนั้น และในทางตรงกันข้าม การกระทำที่สติปัญญากล่าวว่า เป็นการกระทำที่ไม่ดี ก็ไม่สมควรที่จะปฏิบัติและผู้ที่กระทำการกระทำนั้น จะต้องถูกกล่าวหา

เพราะฉะนั้น พื้นฐานของความดีและความชั่ว ในประโยคที่กล่าวว่า ความยุติธรรม คือ ความดี และความอยุติธรรม คือ ความชั่ว ก็คือ สติปัญญาได้ยืนยันว่า ความยุติธรรม เป็นการกระทำที่ดีที่ต้องปฏิบัติและผู้ที่กระทำในการกระทำนี้  จะต้องได้รับเกียรติและถูกยกย่อง ส่วนความอยุติธรรม เป็นการกระทำที่ไม่ดีและไม่สมควรที่จะปฏิบัติ

๓๖๖

 และผู้ที่กระทำการกระทำนั้น เขาจะถูกว่าและถูกรังเกียจ

ความหมายของสติปัญญา ณ ที่นี้ ก็คือ สติปัญญาในการกระทำ มิใช่สติปัญญาในความหมายทางวิชาการ

และจากการให้คำนิยามทั้งสี่ของ ความดีและความชั่วนั้น ทำให้เห็นได้ว่า มีความแตกต่างในคำนิยามทั้งหลาย กล่าวคือ ความหมายที่สี่ ซึ่งถูกใช้เฉพาะกับการกระทำเท่านั้น และไม่รวมถึงคุณลักษณะของการ

กระทำ

ส่วนอีกสามคำนิยามนั้น ได้ถูกนำมาใช้เฉพาะกับมนุษย์เท่านั้น  แต่ในนิยามที่สี่ ได้รวมเอาทั้งมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลาย อีกทั้งยังได้รวมถึงการกระทำของพระเจ้าด้วย

   ความแตกต่างระหว่างอัดลียะฮ์กับอัชอะรีย์ในความดี และความชั่วทางสติปัญญา

    หลังจากที่อธิบายความหมายของความดีและความชั่ว และเป็นที่กระจ่างชัดไปแล้ว ประเด็นของความดีและความชั่ว ที่เป็นปัญหาระหว่าง อัดลียะฮ์และอัชอะรีย์นั้น มีทัศนะที่แตกต่างกันอย่างไร?

จากการสังเกตุในคำนิยามทั้งสี่ของ ความดีและความชั่ว และคุณสมบัติของแต่ละคำนิยาม จะเห็นได้ว่า ความแตกต่างอยู่ในนิยามที่สี่ เพราะทั้งสามนิยามนั้นไม่มีความแตกต่างกันในหมู่นักเทววิทยาอิสลาม กล่าวคือ ตัวของมนุษย์เองมีทั้งความสมบูรณ์และความไม่สมบูรณ์อยู่ด้วยกัน และมีสิ่งต่างๆที่เหมาะสมกับเขา และไม่เหมาะสมกับเขา

๓๖๗

  ดังนั้น ประเด็นหลักที่เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ คือ ประเด็นที่สติปัญญาสามารถแยกแยะความดีและความชั่วได้โดยไม่ต้องใช้คำสอนของศาสนาเข้ามาช่วย  ดั่งเช่น การกระทำหนึ่งที่ผู้กระทำขึ้นมา และเป็นการกระทำที่ดีและควรยกย่อง และการกระทำหนึ่งที่ผู้กระทำต้องถูกลงโทษ เพราะว่า เป็นการกระทำที่ไม่ดี 

คำตอบของอัดลียะฮ์ ก็คือ สติปัญญาสามารถแยกแยะสิ่งที่เป็นความดี และสิ่งที่เป็นความชั่วออกจากกันได้ ในทางตรงกันข้ามกับทัศนะที่กล่าวว่า สติปัญญาไม่มีความสามารถที่จะตัดสินเช่นนี้ได้  ด้วยเหตุนี้ จึงสรุปได้ว่า ทัศนะของความเชื่อในความดีและความชั่วทางสติปัญญา คือ สติปัญญาของมนุษย์สามารถแยกแยะและตัดสินในการกระทำที่ดีและที่ไม่ดีได้ โดยไม่ต้องใช้หลักของศาสนาเข้ามาช่วย หมายถึง รู้ว่า การกระทำใดเป็นการกระทำที่ดี และการกระทำใด เป็นการกระทำที่ไม่ดี ส่วนการกระทำที่ไม่ดีนั้น มิได้เกิดขึ้นมาจากพระเจ้า เมื่อได้มีความเข้าใจในประเด็นที่แตกต่างกันแล้ว จะมาตรวจสอบในเหตุผลของทั้งสองฝ่ายเป็นอันดับต่อไป 

เหตุผลที่ใช้ในการพิสูจน์ความดี และความชั่วทางสติปัญญา

   บรรดาผู้ที่ยืนยันในการมีอยู่ของความดีและความชั่วทางสติปัญญา มีเหตุผลมากมายในการพิสูจน์ความเชื่อของพวกเขา ซึ่งบางเหตุผลมีความลึกซึ้ง และยากที่จะมีความเข้าใจได้ ด้วยเหตุนี้ จะขอนำมากล่าวสักเพียงเหตุผลเดียว ดังนี้

๓๖๘

มนุษย์ทุกคนยอมรับว่า บางส่วนของการกระทำเป็นสิ่งที่ดี และบางส่วนเป็นการกระทำที่ไม่ดี เช่น ความยุติธรรม เป็นสิ่งที่ดี และความอยุติธรรม เป็นสิ่งที่ไม่ดี ,ความซื่อสัตย์เป็นการกระทำที่ดี และการโกหก เป็นการกระทำที่ไม่ดี ดังนั้นสิ่งเหล่านี้มนุษย์สามารถแยกแยะเองได้โดยที่ไม่ต้องใช้หลักศาสนาของมาช่วย

ด้วยเหตุนี้ การจำแนกความดีและความชั่วมิได้ขึ้นอยู่กับหลักคำสอนของศาสนาเท่านั้น แต่สติปัญญาของมนุษย์ก็สามารถจำแนกเองได้  และเช่นเดียวกัน ถ้าหากว่า เราบอกกับบุคคลหนึ่งที่ไม่มีความศรัทธาในศาสนาว่า จงเลือกระหว่างความสัตย์จริงกับการโกหก แน่นอนที่สุด เขาก็ต้องเลือกความสัตย์จริง  เพราะสติปัญญาของเขาบอกว่า ความสัตย์จริง คือ ความดี และการโกหก ก็คือ ความชั่ว

   เหตุผลของสำนักคิดอัชอะรีย์ในการปฏิเสธความดีและความชั่วทางสติปัญญา

   สำนักคิดอัชอะรีย์มีเหตุผลของพวกเขาในการปฏิเสธความเชื่อว่ามีความดีและความชั่วทางสติปัญญา  ซึ่งจะขอนำมากล่าวสัก ๒ เหตุผล ด้วยกัน ดังนี้

๑.หากว่า ความดีและความชั่วทางสติปัญญามีจริง และสามารถจำแนกการกระทำที่ดีและไม่ดีได้ โดยเป็นอิสระเสรี ดังนั้น ก็จะไม่เกิดความแตกต่างระหว่างประโยคตรรกทั้งหลาย เช่น ประโยคที่ไม่ตรงกัน เช่น ประโยคที่กล่าวว่า สีขาวและสีดำไม่มีในสิ่งเดียวกัน และประโยคที่กล่าวว่า การพูดจริง เป็น การกระทำที่ดี

๓๖๙

ก็ไม่มีความแตกต่างในทัศนะของสติปัญญา แต่ในความเป็นจริง ความกระจ่างชัดและขอบเขตของการกระทำนี้ มีความแตกต่างอย่างแท้จริง

สำหรับคำตอบของเหตุผลนี้ ก็คือ จะกล่าวได้ว่า แม้ในทัศนะของนักวิชาการที่ยอมรับ ในการมีอยู่ของความดีและความชั่วทางสติปัญญา กล่าวว่า ประโยคตรรกทั้งหลาย เช่น ประโยคที่กล่าวว่า การพูดจริง เป็นการกระทำที่ดี คือ ประโยคตรรกที่กระจ่างชัด และทุกประโยคที่กระจ่างชัด มีระดับขั้นที่ไม่เหมือนกัน  เช่น ประโยคตรรกขั้นแรก มีความกระจ่างชัดกว่า ประโยคตรรกฟิฏรีย์และประโยคตรรกอื่น ดังนั้น ประโยคใดก็ตามที่มีความกระจ่างชัดน้อยกว่า เป็นประโยคตรรกขั้นแรก คือ ประโยคที่ไม่ตรงกัน มิใช่เหตุผลที่จะกล่าวว่า ประโยคนั้นไม่ได้มีความกระจ่างชัด หรือประโยคที่สติปัญญาไม่ยอมรับ

๒.หากว่ามี ความดีและความชั่วทางสติปัญญา ในความเป็นจริง จะกล่าวไม่ได้เลยว่า การกระทำที่ดี บางครั้งเป็นการกระทำที่ไม่ดี และการกระทำที่ไม่ดี บางครั้งเป็นการกระทำที่ดี เช่น การพูดเท็จ เป็นการกระทำที่ไม่ดี แต่ในยามที่ต้องการช่วยบรรดาศาสดาให้หลุดพ้นจากภยันตราย กับเป็นการกระทำที่ดี และเฉกเช่นเดียวกัน การพูดความจริง เป็นการกระทำที่ดี แต่เป็นสาเหตุที่ทำให้บรรดาศาสดาต้องพินาศ ก็กลายเป็นการกระทำที่ไม่ดี

สำหรับคำตอบ ก็คือ การพูดความจริงและการพูดเท็จ เป็นการกระทำที่ดีและไม่ดี แต่เมื่อได้เปรียบเทียบกับการช่วยเหลือตัวแทนของพระเจ้า การพูดเท็จเป็นการกระทำที่ไม่ดีน้อยกว่าการปล่อยให้บรรดาศาสดาต้องได้รับภยันตราย ดังนั้นสติปัญญาบอกว่า ให้ละทิ้งการกระทำที่ไม่ดีน้อยกว่า และการพูดความจริงก็เช่นเดียวกัน

๓๗๐

   ผลที่ได้รับของการมีความเชื่อในความดีและความชั่วทางสติปัญญา

   ได้กล่าวแล้วว่า บรรดานักเทววิทยาอิสลามในสำนักคิดอิมามียะฮ์และ

มุอฺตะซิละฮ์ได้ยอมรับในการมีอยู่ของความดีและความชั่วทางสติปัญญา แต่สำนักคิดอัชอะรีย์กลับปฏิเสธความเชื่อนี้

การมีความเชื่อนี้ มีผลสะท้อนกับเทววิทยาอิสลาม ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของการพิสูจน์ในหลักการทั้งหลายของเทววิทยาอิสลาม เช่น ประเด็นของความจำเป็นในการรู้จักพระเจ้า , การพิสูจน์หลักความยุติธรรม และการมีวิทยปัญญา , หลักของความโปรดปราน ,การกระทำที่ต้องปฏิบัติ (ตักลีฟ) เป็นการกระทำที่ดี ,กฏของกุบฮุ ตักลีฟ บิมาลายุฏอก (กฏที่กล่าวถึง การกระทำที่ไม่ดีที่ไม่มีอำนาจในการกระทำ) ,กฏของกุบฮุ อิกอบ บิลา บะยาน

(กฏที่กล่าวถึง การลงโทษที่ไม่ดี ถ้าไม่มีการอธิบาย)

   ความดีและความชั่วทางสติปัญญา ในมุมมองของอัล กุรอาน

   เมื่อสังเกตในโองการทั้งหลายของอัล กุรอาน จะเห็นได้ว่า โองการเหล่านั้นได้เน้นย้ำในหลักของความดีและความชั่วทางสติปัญญา และการตัดสินและการจำแนกของสติปัญญาในการแยกแยะการกระทำที่ดี และการกระทำที่ไม่ดีออกจากกัน

๓๗๑

ดังโองการต่อไปนี้

แท้จริงอัลลอฮ์ทรงใช้ให้รักษาความยุติธรรมและทำดีและการบริจาคแก่ญาติใกล้ชิดและให้ละเว้นจากการทำลามกและการชั่วช้า และการอธรรม พระองค์ทรงตักเตือนพวกเจ้าเพื่อพวกเจ้าจักได้รำลึก” (บทอันนะห์ลฺ โองการ ๙๐ )

จะใช้พวกเขาให้กระทำในสิ่งที่ชอบและห้ามพวกเขามืให้กระทำในสิ่งที่ไม่ชอบ”

 (บทอัลอะอ์รอฟ โองการ ๑๕๗ )

 “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า แท้จริงสิ่งที่พระเจ้าของฉันทรงห้ามนั้น คือบรรดาสิ่งที่ชั่วช้าน่ารังเกียจ ทั้งเป็นสิ่งที่เปิดเผยจากมันและสิ่งที่ไม่เปิดเผย และสิ่งที่เป็นบาป และการข่มเหงรังแกโดยไม่เป็นธรรม และการที่พวกเจ้าให้เป็นภาคแก่อัลลอฮ์ซึ่งสิ่งที่พระองค์มิได้ทรงประทานหลักฐานใด ๆ ลงมาแก่สิ่งนั้น และการที่พวกเจ้ากล่าวให้ภัยแก่อัลลอฮ์ในสิ่งที่พวกเจ้าไม่รู้ (บทอัลอะอ์รอฟ โองการ ๓๓ )

จากโองการทั้งหลายที่กล่าวมาข้างต้น บ่งบอกถึง การกระทำบางอย่างในทัศนะของมนุษย์ เป็นการกระทำที่ดี เช่น การมีความยุติธรรมและการทำความดี และการกระทำบางส่วนเป็นการกระทำที่ไม่ดี เช่น การทำบาป และการทำความชั่ว และการมีความอธรรม ดังนั้นมนุษย์รู้จักในการกระทำที่ดีและไม่ดี เป็นอย่างดี โดยที่พระเจ้าไม่ต้องกำหนดให้กับพวกเขา

จะกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า มนุษย์นั้นรู้ว่า การกระทำอันใด คือ การกระทำที่ดี  และการกระทำใด คือ การกระทำที่ไม่ดี หลังจากนั้น พระเจ้าก็ทรงสั่งให้มนุษย์ปฏิบัติในความดีและห้ามปรามความชั่ว

๓๗๒

นอกเหนือจากโองการเหล่านี้ ยังมีอีกหลายโองการที่ พระเจ้าทรงกำหนดให้มนุษย์ใช้สติปัญญาของเขาในการตัดสินในความดีและความชั่ว

ดั่งโองการเหล่านี้

จะมีการตอบแทนความดีอันใดเล่านอกจากความดี” (บทอัรเราะห์มาน โองการ ๖๐)

 “ จะให้เราปฏิบัติต่อบรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีทั้งหลาย เช่นบรรดาผู้บ่อนทำลายในแผ่นดินกระนั้นหรือ ? หรือว่าจะให้เราปฏิบัติต่อบรรดาผู้ยำเกรง เช่นบรรดาคนชั่วกระนั้นหรือ?”

(บทศ็อด โองการ ๒๘ )

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

ความดีและความชั่วทางสติปัญญา ฮุซน์ วะ กุบฮ์ อักลีย์

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ประเด็นทางเทววิทยาอิสลามที่เกี่ยวกับ เรื่องของการกระทำของพระเจ้า แบ่งออกเป็น  สอง ประเด็นหลัก ดังนี้

๑.ประเด็นโดยทั่วไปของการกระทำของพระเจ้า

๒.ประเด็นที่เฉพาะกับการกระทำบางประการของพระเจ้า

บางส่วนของประเด็นทั่วไปของการกระทำ อยู่ในประเด็นของ คุณลักษณะในการกระทำของพระเจ้า และในประเด็นของความเป็นเอกะในการกระทำของพระเจ้า

๓๗๓

๒.หลักของความดีและความชั่วทางสติปัญญา เป็นบรรทัดฐานของหลักการอื่นๆของเทววิทยาอิสลาม เช่น หลักความยุติธรรมและความเป็นวิทยปัญญา ประเด็นของญับร์และอิคติยาร (การบังคับและการมีอิสระในการกระทำ)

ด้วยเหตุนี้ บรรดานักเทววิทยาอิสลาม ถือเอาประเด็นของหลักของความดีและความชั่วทางสติปัญญา เป็นบทนำเบื้องต้น ในการอธิบายประเด็นของการกระทำของพระเจ้า

๓.ความหมายของความดีและความชั่ว  เป็นความหมายที่เป็นที่รู้จักกันดี

ด้วยเหตุนี้ การให้คำนิยามของความดีและความชั่วตามทัศนะต่างๆมีหลายความหมาย

คือ บางครั้ง มาตรฐานของความดีและความชั่วอยู่ที่ ความสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ของการกระทำ หรืออยู่ที่ ความเหมาะสมและไม่เหมาะสมของการกระทำเหล่านั้น  และบางครั้ง รวมถึงผลประโยชน์และผลเสียของสิ่งทั้งหลายและการกระทำต่างๆ

แต่ประเด็นของความดีและความชั่วทางสติปัญญา ที่เป็นข้อวิพากษ์กัน มิใช่ คำนิยามเหล่านี้

๔.กลุ่มที่ยอมรับว่า มีความดีและความชั่วทางสติปัญญา พวกเขาเชื่อว่า สติปัญญาของมนุษย์สามารถที่จะแยกแยะและจำแนกการกระทำที่ดีและการกระทำที่ไม่ดีได้ โดยที่ไม่ต้องใช้หลักศาสนาเข้ามาช่วย และยังสามารถที่จะนำไปใช้กับพระเจ้าได้เช่นเดียวกัน

๓๗๔

๕.บรรดานักเทววิทยาอิสลามในสำนักคิดอิมามียะฮ์และมุอฺตะซิละฮ์ ที่รู้จักกันในนามของ อัดลียะฮ์ มีความเชื่อในความดีและความชั่วทางสติปัญญา และในทางตรงกันข้าม สำนักคิดอัชอะรีย์ ไม่ยอมรับในความเชื่อนี้ โดยพวกเขากล่าวว่า ความดีและความชั่วของการกระทำทั้งหลายนั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของพระเจ้าและหลักคำสอนของศาสนา โดยสติปัญญามิสามารถแยกแยะในสิ่งเหล่านี้ได้

๖.เหตุผลหนึ่งของผู้ที่ยอมรับในการมีอยู่ของความดีและความชั่วทางสติปัญญา ก็คือ มนุษย์ทุกคน นอกเหนือจาก ที่มีความเชื่อในหลักศรัทธาทางศาสนาแล้ว ยังได้ยอมรับว่า บางส่วนของการกระทำ เป็นการกระทำที่ดี เช่น ความยุติธรรม เป็นการกระทำที่ดี และบางส่วนของการกระทำ เป็นการกระทำที่ไม่ดี เช่น ความอยุติธรรม เป็นการกระทำที่ไม่ดี ดังนั้น การกระทำเหล่านี้ มนุษย์สามารถใช้สติปัญญาของเขาในการแยกแยะได้ โดยที่ไม่ต้องใช้หลักศาสนาหรือคำสอนของพระเจ้าเข้ามาช่วย

๗.หลักของความดีและความชั่วทางสติปัญญา มีผลในประเด็นเทววิทยาอิสลามมากมาย เช่น ประเด็นของหลักความยุติธรรมและวิทยปัญญาของพระเจ้า , ญับร์ และ อิคติยาร (การบังคับและการมีอิสระในการกระทำ), , หลักของความโปรดปราน ,การกระทำที่ต้องปฏิบัติ (ตักลีฟ) เป็นการกระทำที่ดี และ.....เป็นต้นฯ

๘.โองการทั้งหลายของอัล กุรอานก็ได้กล่าวเน้นย้ำในการมีอยู่ของหลักของความดีและความชั่วทางสติปัญญา

๓๗๕

   บทที่ ๒

   วิทยปัญญาของพระเจ้า คือ เป้าหมายสูงสุดในการกระทำของพระองค์

   บทนำเบื้องต้น

    ประเด็นหนึ่งที่สำคัญใน การกระทำของพระเจ้า ก็คือ การกระทำของพระองค์มีเป้าหมายหรือไม่มีเป้าหมาย และประเด็นนี้ เป็นประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องกับการมีวิทยปัญญาของพระเจ้า เพราะว่า ความหมายหนึ่งของ การมีวิทยปัญญา คือ ผู้กระทำการงานหนึ่งจะไม่กระทำการงานนั้น โดยที่มิได้มีประโยชน์ ดังนั้น การงานของผู้มีวิทยปัญญา จะต้องมีประโยชน์อย่างแน่นอน และเป็นสิ่งที่สติปัญญาได้ยอมรับด้วย

 ด้วยเหตุนี้ การอธิบายประเด็นดังกล่าว จึงย้อนกลับไปยัง การมีวิทยปัญญาและการไม่มีวิทยปัญญาของพระเจ้า

สำหรับคำตอบก็คือ เรื่องของการมีวิทยปัญญาของพระเจ้า มี  ๒ ทัศนะ ด้วยกัน ดังนี้

๑.ทัศนะของบรรดานักเทววิทยาอิสลามอัดลียะฮ์ (สำนักคิดอิมามียะฮ์และมุอฺตะซิละฮ์)

๒.ทัศนะของนักเทววิทยาอิสลามในสำนักคิดอัชอะรีย์

โดยบรรดานักเทววิทยาอิสลามอัดลียะฮ์ มีความเชื่อว่า การกระทำของพระเจ้ามีเป้าหมายที่สูงสุด

๓๗๖

ส่วนพวกอัชอะรีย์ มิได้มีความเชื่อว่า การกระทำของพระเจ้ามีเป้าหมายที่สูงสุด

และก่อนที่จะอธิบายในเหตุผลของทั้งสองสำนักคิด  ก็สมควรที่จะมาทำความเข้าใจในทัศนะของอัดลียะฮ์กัน

   เป้าหมายของผู้กระทำกับการกระทำ

    จากการสังเกตุในการกระทำของมนุษย์ ซึ่งจะเห็นได้ว่า มีเป้าหมายในการกระทำของเขาและมีอิสระเสรีที่จะกระทำการกระทำอันนั้น ดังนั้น เป้าหมายในการกระทำได้เกิดขึ้นก่อนการกระทำนั้นจะเกิดขึ้น ซึ่งก็เป็นสาเหตุที่ทำให้มนุษย์ต้องกระทำการกระทำอันนั้น เพื่อที่เขาจะได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้น  ด้วยเหตุนี้ การกระทำของมนุษย์จึงมีลักษณะอยู่ สองลักษณะด้วยกัน ก็คือ ลักษณะแรกคือ เป้าหมายของการกระทำ เพื่อที่จะขจัดความต้องการของผู้กระทำ และผู้กระทำด้วยกับการกระทำอันนั้น สามารถที่จะไปสู่ความสมบูรณ์ได้

ลักษณะที่สองคือ การมีเป้าหมายของการกระทำก่อนที่จะกระทำ ซึ่งเป็นแรงจูงใจให้กระทำในการกระทำอันนั้น

ส่วนในประเด็นนี้ การมีเป้าหมายของพระเจ้าในการกระทำของพระองค์ มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำของมนุษย์

๓๗๗

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ลักษณะทั้งสองที่ได้กล่าวผ่านมา จะไม่มีในการกระทำของพระเจ้า เหตุผลก็คือ เป้าหมายในการกระทำของพระเจ้า มิได้นำไปสู่ความสมบูรณ์ เพราะว่า พระองค์ทรงมีอยู่ที่สมบูรณ์ที่สุด และไม่มีข้อบกพร่อง แต่เป้าหมายในการกระทำของพระเจ้านั้น ย้อนกลับไปสู่สิ่งที่พระองค์สร้าง เพื่อที่จะทำให้สิ่งที่พระองค์สร้างนั้น มีความสมบูรณ์ จะกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การมีเป้าหมายในการกระทำ มิได้เป็นสาเหตุที่จะต้องกระทำในการกระทำนั้น เพราะว่า ความรอบรู้ของพระเจ้า มิได้เป็น ความรอบรู้โดยการใช้สื่อ แต่ทว่าอาตมันของพระองค์นั้น มีความสมบูรณ์ และเพื่อต้องการที่จะทำให้สิ่งที่พระองค์สร้างนั้น มีความสมบูรณ์เช่นเดียวกัน

ด้วยเหตุนี้ การมีเป้าหมายในการกระทำของพระเจ้า คือ การกระทำของพระองค์นั้น มีประโยชน์ที่ย้อนกลับไปสู่สิ่งที่พระองค์สร้าง มิใช่ว่า การกระทำหรือไม่กระทำของพระองค์ มีผลที่เท่าเทียมกับสิ่งที่พระองค์สร้าง 

ดังนั้น การมีเป้าหมายในการกระทำของพระเจ้า คือ การมีเป้าหมายต่อการกระทำ มิใช่เป็นเป้าหมายของผู้กระทำ เพราะพระเจ้าทรงมีความสมบูรณ์ที่สุด อีกทั้งพระองค์ยังไม่มีความต้องการใดๆทั้งสิ้น

เมื่อมีความเข้าใจในทัศนะที่กล่าวว่า มีเป้าหมายในการกระทำของพระเจ้า และในทัศนะของอัดลียะฮ์แล้ว จะมาอธิบายในเหตุผลของ สองสำนักคิด เป็นอันดับต่อไป  

๓๗๘

   เหตุผลของการมีวิทยปัญญาของพระเจ้า

   กล่าวได้ว่า การกระทำของพระเจ้า มีเป้าหมาย และมีเหตุผลต่างๆมากมาย ซึ่งจะขอนำมากล่าวสัก เหตุผลเดียว ดังนี้

การกระทำที่ไม่มีเป้าหมายเป็นการกระทำที่ไม่มีประโยชน์ และการกระทำที่ไม่มีประโยชน์ เป็นการกระทำที่สติปัญญาบอกว่า ไม่ดี และด้วยกับหลักความดีและความชั่วทางสติปัญญา ได้ยืนยันว่า พระเจ้าไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ดี จึงเป็นไปไม่ได้ที่ในการกระทำของพระองค์ เป็นการกระทำที่ไมมีประโยชน์ ดังนั้น การกระทำของพระเจ้า มีเป้าหมายและมีประโยชน์ที่ชัดเจน

ซึ่งจะเห็นได้ว่า เหตุผลนี้ถูกวางอยู่บนรากฐานของหลักความเชื่อในความดีและความชั่วทางสติปัญญา เพราะบรรทัดฐานของเหตุผล นั่นก็คือ สติปัญญาที่เป็นสิ่งจำแนกการกระทำที่มีเป้าหมายและการกระทำที่ไม่มีเป้าหมาย

ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าจะไม่กระทำการงานที่ไม่มีเป้าหมายเป็นอันขาด

   เหตุผลของสำนักคิดอัชอะรีย์ในการปฏิเสธการมีเป้าหมายในการกระทำของพระเจ้า 

 

   เหตุผลที่สำนักคิดอัชอะรีย์ใช้ในการปฏิเสธการมีเป้าหมายในการกระทำของพระเจ้า มีดังนี้

๓๗๙

ทุกๆการกระทำการงานจะต้องที่มีเป้าหมาย หมายความว่า การมีเป้าหมายนั้นดีกว่าการกระทำการงานนั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การมีเป้าหมาย นั่นคือ การมีความสมบูรณ์ของผู้กระทำ ผลลัพท์ก็คือ ผู้กระทำการงานนั้น

เพื่อที่จะไปสู่ความสำเร็จและความสมบูรณ์ และเช่นเดียวกัน ถ้าหากว่าการกระทำของพระเจ้ามีเป้าหมาย  พระองค์ต้องการที่จะไปสู่ความสมบูรณ์ ซึ่งสิ่งนี้มีความขัดแย้งกับความเป็นพระผู้อภิบาลของพระองค์

สำหรับคำตอบที่ให้กับพวกอัชอะรีย์ ก็คือ ได้อธิบายถึง การมีเป้าหมายของการกระทำของพระเจ้า ผ่านไปแล้ว และเป็นที่กระจ่างชัดแล้ว เพราะได้กล่าวแล้วว่า การมีเป้าหมายของการกระทำของพระเจ้า ในความเป็นจริงก็คือ การมีเป้าหมายในการกระทำ มิใช่ในผู้กระทำ ดังนั้น ความผิดพลาดของพวกอัชอะรีย์ ก็คือ การเข้าใจผิดว่า เป้าหมายของการกระทำต้องกลับไปหาผู้กระทำเสมอไป

ด้วยเหตุนี้ จะกล่าวได้ว่า การกระทำของพระเจ้า มิได้เป็นการกระทำที่ไม่มีเป้าหมาย แต่ในการกระทำของพระองค์นั้น มีเป้าหมายที่ชัดเจน  ซึ่งในการกระทำเหล่านั้น มีผลต่อการไปสู่ความสมบูรณ์ของมนุษย์

๓๘๐

381

382

383

384

385

386

387

388

389

390

391

392

393

394

395

396

397

398

399

400

401

402

403

404

405

406

407

408

409

410

411

412

413

414

415

416

417

418

419

420

421

422

423

424

425

426

427

428

429

430

431

432

433

434

435

436

437

438

439

440

เพราะว่า ด้วยกับการมีพลังอำนาจและความประสงค์ของพระองค์ และอยู่ใต้อำนาจการตัดสินของพระองค์ จึงเป็นการกระทำของพระองค์ และการมีอยู่ของมนุษย์และการกระทำของเขา เป็นสิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง  และการเข้าใจในทั้งสองความสัมพันธ์นั้นมีความยากลำบาก และเพื่อการเข้าใจง่าย จึงได้นำตัวอย่างมาเปรียบเทียบ เช่น บางทีกล่าวว่า ความสัมพันธ์ของการกระทำของพระเจ้า กับการกระทำของมนุษย์ เหมือนกับความสัมพันธ์ของนักเขียนกับปากกาของเขา ดังนั้นการเขียน เป็นการกระทำของผู้เขียนและเป็นการกระทำของมือที่จับปากกา

แต่การเปรียบเทียบนี้ถือว่า ไม่ถูกต้อง เพราะว่า มือของผู้เขียนมิได้มีความเป็นอิสระ ส่วนประเด็นของเรา เป็นประเด็นที่การกระทำมีความเป็นอิสระ และอีกตัวอย่างหนึ่ง คือ  ชายคนหนึ่งทิ่มือทั้งสองของเขาใช้งานไม่ได้ เขาต้องใช้มือที่แพทย์ได้สร้างมันขึ้นมา และมีความสามารถเคลื่อนไหวมือของเขาไปตามทิศทางที่เขาต้องการ  และสมมุติว่า มีคนหนึ่งถือกุญแจในการเปิดให้เครื่องจักรนั้นทำงาน และถ้าเขาไม่กดสวิทต์นั้น

เครื่องจักรก็ไม่ทำงาน ซึ่งจะเห็นได้ว่า การกระทำนี้มีความสัมพันธ์กับทั้งสองคน คนหนึ่งเป็นผู้เปิดสวิทต์ และอีกคนมีหน้าที่ในการเคลื่อนไหวมือทั้งสองของเขา ตามความประสงค์ของเขา

๔๔๑

   ทัศนะอัมรุน บัยนะอัมร็อยน์ในอัล กุรอานและวจนะ

   ทัศนะของบรรดานักเทววิทยาในสำนักคิดอิมามียะฮ์ เป็นทัศนะที่สอดคล้องกับโองการทั้งหลายของ

อัล กุรอาน

ซึ่งอัล กุรอานได้กล่าวว่า มนุษย์มีอิสระในการกระทำของตนเอง เช่น ในโองการต่อไปนี้

และจงกล่าวเถิดมุฮัมมัด สัจธรรมนั้นมาจากพระผู้เป็นเจ้าของพวกเจ้า ดังนั้น ผู้ใดประสงค์ก็จงศรัทธา และผู้ใดประสงค์ก็จงปฏิเสธ” (บทอัลกะฮฟ์ โองการที่ ๒๙ )

 “และบรรดาผู้ศรัทธา บรรดาลูกหลานของพวกเขาจะดำเนินตามพวกเขาด้วยการศรัทธา เราจะให้ลูกหลานของพวกเขาอยู่ร่วมกับพวกเขา และเราจะไม่ให้การงานของพวกเขาลดหย่อนลงจากพวกเขาแต่อย่างใด แต่ละคนย่อมได้รับการค้ำประกันในสิ่งที่เขาขวนขวายไว้”

 (บทอัฏฏูร โองการที่ ๒๑ )

 “แท้จริงเราได้ชี้แนะแนวทางให้แก่เขาแล้ว บางทีเขาก็เป็นผู้กตัญญู และบางทีเขาก็เป็นผู้เนรคุณ”  (บทอัลอินซาน โองการที่ ๓ )

 “ผู้ใดกระทำความดีก็จะได้แก่ตัวของเขา และผู้ใดกระทำความชั่วก็จะได้แก่ตัวของเขาเอง และพระเจ้าของเจ้านั้นมิทรงอธรรมต่อปวงบ่าวของพระองค์” (บทอัลฟุศศิลัต โองการที่ ๔๖ )

๔๔๒

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ มีโองการมากมายที่กล่าวถึง ทุกการกระทำของทุกสิ่ง ขึ้นอยู่กับการอนุมัติจากพระเจ้า และความต้องการของมนุษย์ ก็ขึ้นอยู่กับการอนุมัติจากพระองค์ ดั่งโองการเหล่านี้

“และพวกเจ้าจะไม่ประสงค์สิ่งใด เว้นแต่ อัลลอฮ์พระเจ้าแห่งสากลโลกจะทรงประสงค์”

(บทอัตตักวีร โองการที่ ๒๙)

“จงกล่าวเถิดว่า (มุฮัมมัด) ว่าฉันไม่มีอำนาจที่จะครอบครองประโยชน์ใด ๆ และโทษใด ๆ ไว้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ตัวของฉันได้ นอกจากสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงประสงค์เท่านั้น” (บทอัลอะอฺรอฟ โองการที่ ๑๘๘)

 “และมิเคยปรากฏว่าชีวิตใดจะศรัทธา เว้นแต่ด้วยอนุมัติของอัลลอฮ์ และพระองค์จะทรงลงโทษแก่บรรดาผู้ไม่ใช้สติปัญญา” (บทยูนุส โองการที่ ๑๐๐ )

จะเห็นได้ว่า อัล กุรอานได้ยืนยันอย่างชัดเจนว่า ไม่ยอมรับทัศนะญับร์และทัศนะตัฟวีฎ มีเพียงทัศนะเดียวที่ถูกต้อง นั่นคือ ทัศนะของอิมามียะฮ์ ซึ่งได้รวมทั้งการกระทำของมนุษย์และการกระทำของพระเจ้า

นอกเหนือจากนี้ ยังมีโองการอื่นอีกที่กล่าวยืนยันถึงการกระทำหนึ่งที่เป็นทั้งการกระทำของพระเจ้าและของมนุษย์ เช่น โองการนี้ที่กล่าวว่า

“พวกเจ้ามิได้ฆ่าพวกเขา แต่ทว่าอัลลอฮ์ต่างหากที่ทรงฆ่าพวกเขา และเจ้ามิได้ขว้างดอกขณะที่เจ้าขว้าง แต่ทว่าอัลลอฮ์ต่างหากที่ขว้าง” (บทอัลอัมฟาล โองการที่ ๑๗ )

๔๔๓

โองการนี้ใช้คำว่า เจ้ามิได้ขว้างปา ในขณะที่ขว้างปา จะเห็นได้ว่า กริยา เช่น การขว้างปา เป็นทั้งการกระทำของศาสดาและเป็นการกระทำของพระผู้เป็นเจ้า  จากคำกล่าวนี้ซึ่งตรงกับการอธิบายของทัศนะอัมรุน บัยนุลอัมร็อยน์  เพราะทัศนะนี้ได้กล่าวว่า การกระทำที่เป็นอิสระของมนุษย์ เป็นการกระทำของเขา และการกระทำของพระเจ้า

นอกจากโองการเหล่านี้ ยังมีวจนะที่ยืนยันในทัศนะของอิมามียะฮ์อีกด้วย เช่น

วจนะจากท่านอิมามบากิร และท่านอิมามซอดิก (ขอความสันติพึงมีแด่ท่านทั้งสอง)

“แท้จริง อัลลอฮ์ ทรงมีเมตตากว่าที่จะบังคับให้มวลบ่าวของพระองค์กระทำความผิดและบาปทั้งหลาย แล้วก็ทรงลงโทษพวกเขา และพระองค์ทรงมีเกียรติกว่าที่จะประสงค์ในสิ่งหนึ่ง แล้วสิ่งนั้นไม่เกิดขึ้น

หลังจากนั้น ได้ถามอิมามทั้งสองว่า

ในระหว่างการบังคับกับกอดัร(การกำหนดสภาวะและชะตากรรม)ของมนุษย์ ยังมีระดับขั้นอื่นอีกใช่หรือไม่?

อิมามทั้งสองตอบว่า

ใช่ ยังมีอีกระดับขั้นหนึ่ง ที่กว้างกว่าชั้นฟ้าและแผ่นดิน”

(อัตเตาฮีด ศอดูก บาบที่ ๕๙  วจนะที่ ๓ หน้าที่ ๓๖๐ )

๔๔๔

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

ญับร์ หมายถึง การบังคับ: Compulsion

อิคติยาร หมายถึง เจตจำนงเสรี: Free will

กัสบ์   หมายถึง การได้มาด้วยอำนาจ  Acquision

ตัฟวีฎ  หมายถึง การมอบอำนาจในการงานต่อพระเจ้า: Empowerment

อัมรุนบัยนะอัมร็อยน์  หมายถึง แนวทางสายกลาง

   

   สรุปสาระสำคัญ

๑การบังคับและเจตจำนงเสรีของมนุษย์ (ญับร์และอิคติยาร) เป็นประเด็นหนึ่งที่มีความสำคัญทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน และเป็นข้อวิพากษ์กันในหมู่ของบรรดานักวิชาการอิสลาม โดยเฉพาะในสำนักคิดทั้งหลายของเทววิทยา จะเห็นได้ว่า มี ๒ ทัศนะที่สำคัญในประเด็นนี้

(๑.)ทัศนะของกลุ่มที่มีความเชื่อในญับร์(การบังคับ)และได้กล่าวว่า ตนไม่มีอิสระเสรีในการกระทำ

(๒.) ทัศนะของกลุ่มที่เชื่อในอิคติยาร (การเป็นอิสระ) กล่าวว่า มนุษย์มีอิสระเสรีในการกระทำ

๒.เรื่องของการบังคับและเจตจำนงเสรีของมนุษย์ มิได้มีจำกัดเฉพาะกับเทววิทยาอิสลามเท่านั้น แต่ในศาสตร์และวิชาการทั้งหลายของอิสลาม ก็มีความสัมพันธ์ในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน บางครั้ง เรื่องของญับร์และอิคติยารเกี่ยวข้องกับเทววิทยา และปรัชญาอิสลาม และบางครั้ง เรื่องนี้ก็มีความสัมพันธ์กับมนุษยศาสตร์ด้วย

๔๔๕

 

๓.เรื่องของการบังคับและเจตจำนงเสรีของมนุษย์ ในมุมมองของประวัติศาสตร์เทววิทยาอิสลาม มีด้วยกัน

๓ ทัศนะที่สำคัญ ดังนี้

๑.ทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์ คือ ญับร์ หมายถึง พวกเขามีความเชื่อว่า มนุษย์ถูกบังคับให้กระทำจากพระเจ้าในทุกการกระทำ

๒.ทัศนะของสำนักคิดมุอฺตะซิละฮฺ คือ ตัฟวีฎ  หมายถึง พวกเขามีความเชื่อว่า พระเจ้าได้มอบหมายกระทำให้กับมนุษย์ และพระองค์มิได้มีบทบาทใดในการกระทำของเขา

๓.ทัศนะของสำนักคิดอิมามียะฮ์ ก็คือ อัมรุน บัยนะอัมร็อยน์ หมายถึง การเชื่อว่ามนุษย์มีอิสระในการกระทำ

ซึ่งทัศนะนี้ได้รับมาจากวจนะของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (ขอความสันติพึงมีแด่พวกท่าน)ที่ได้กล่าวไว้ว่า ไม่มีการบังคับจากพระเจ้าและการมอบหมายจากพระองค์ นอกจากการมีระหว่างสองสิ่ง (การบังคับกับการมอบหมาย)

๔. มนุษย์ทุกคนมีความรู้สึกว่า ตนเองมีอิสระและเจตนารมณ์เสรีในการกระทำ ด้วยเหตุนี้ เมื่อสามารถตอบข้อสงสัยบางประการที่เกี่ยวกับ การเป็นอิสระในการกระทำของตน จนในที่สุด ก็ยอมรับว่า การกระทำของเขา เป็นการบังคับจากพระเจ้า

๕.พื้นฐานหนึ่งของสำนักคิดอัชอะรีย์ คือ ความรู้ที่มาดั้งเดิมของพระเจ้า และความสัมพันธ์กับการกระทำของมนุษย์  ซึ่งมิได้มีความขัดแย้งกับการกระทำที่เป็นอิสระของมนุษย์

๔๔๖

๖.อีกพื้นฐานหนึ่งของทัศนะญับร์ ก็คือ ความประสงค์อันสมบูรณ์และไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า สำนักคิดอัชอะรีย์มีความเชื่อว่า ทุกการกระทำที่มีอยู่ และการกระทำของมนุษย์ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของพระองค์ ดังนั้น มนุษย์จึงไม่มีบทบาทในการกระทำของเขา และไม่มีอิสระ ตรงกันข้ามกับทัศนะนี้ คือ ทัศนะของสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์ ที่มีความเชื่อว่า การกระทำของมนุษย์มิได้เป็นความประสงค์ของพระเจ้า

๗.ความเป็นจริงก็คือ ความประสงค์ของพระเจ้า รวมทั้งการกระทำของมนุษย์ด้วย เพราะว่า สิ่งที่สร้างสัมพันธ์กับการกระทำของมนุษย์ คือ ความประสงค์ของพระองค์ แต่การกระทำของมนุษย์ ในสภาพที่มีความเป็นอิสระ

กล่าวอีกนัยก็คือ พระเจ้าทรงประสงค์ในการกระทำที่เป็นอิสระของมวลบ่าวของพระองค์ และให้เขาปฏิบัติการกระทำของพวกเขา และตัดสินใจด้วยตนเอง

๘.ทัศนะของญับร์ เมื่อได้เปรียบเทียบกับมโนธรรมของมนุษย์ จะเห็นได้ว่า มีความขัดแย้งกัน ด้วยเหตุนี้ สำนักคิดอัชอะรีย์จึงได้ให้ทัศนะใหม่ นั่นคือ กัสบ์ เพื่อปกป้องและรักษาความเชื่อของทัศนะญับร์ และมีการอธิบายในทัศนะนี้มากมายและแตกต่างกันในหมู่นักเทววิทยาในสำนักคิดนี้ ซึ่งแต่ละทัศนะมีข้อบกพร่อง

๙.สำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์ เล็งเห็นว่า การรักษาความยุติธรรมของพระเจ้า  จึงมีความเชื่อในการตัฟวีฎ (การมอบหมาย) เพราะว่า การลงโทษของผู้กระทำความผิดและบาปทั้งหลาย ที่เรียกว่า เป็นความยุติธรรมของพระเจ้า ก็ต่อเมื่อมนุษย์มีอำนาจที่เป็นอิสระในการกระทำของตนเอง

และเหตุผลหรือหลักฐาน ถ้าหากว่ามีความถูกต้อง ก็คือ ใช้พิสูจน์ความไม่ถูกต้องของทัศนะญับร์เท่านั้น

๔๔๗

๑๐.ทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์ คือ ญับร์ (การบังคับ) และทัศนะของสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์ คือ ตัฟวีฎ ทั้งสองทัศนะถือว่า ไม่ถูกต้อง และมีทัศนะที่สาม ก็คือ ทัศนะของสำนักคิดอิมามียะฮ์ ที่มีความเชื่อว่า มนุษย์มีอิสระในการกระทำของตนเอง และการกระทำของเขาอยู่ใต้อำนาจ ความรู้ ความประสงค์ของพระเจ้า  นี่คือ ความหมายของทัศนะอัมรุน บัยนุลอัมร็อยน์ กล่าวคือ การกระทำของมนุษย์ ในมุมมองหนึ่งเป็นการกระทำของเขา และอีกมุมหนึ่ง คือการกระทำของพระเจ้า  ซึ่งมิได้มีความหมายว่า มนุษย์ถูกบังคับให้กระทำ

๑๑.โองการทั้งหลายของอัล กุรอานได้กล่าวยืนยันว่า มนุษย์มีอิสระในการกระทำของตนเอง และบางโองการกล่าวว่า ความประสงค์ของมนุษย์ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของพระเจ้า  ซึงตรงกันกับทัศนะของอัมรุน บัยนุลอัมร็อยน์

๔๔๘

                            สารบัญ

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม. ๑

การรู้จักพระเจ้า ๑

คำนำ... ๒

คำนิยามของอิลมุลกะลาม (วิชาเทววิทยาอิสลาม) ๔

คำอธิบาย. ๔

วิธีการศึกษาในอิลมุลกะลาม (วิชาเทววิทยาอิสลาม) ๗

สาเหตุที่เรียกวิชาเทววิทยาอิสลามว่า อิลมุลกะลาม. ๙

ขอบเขตของเทววิทยาอิสลาม. ๑๐

ภาคที่หนึ่ง. ๑๒

การรู้จักพระเจ้า ๑๒

บทที่ ๑ การรู้จักพระเจ้า ๑๓

เนื้อหาทั่วไป. ๑๓

ความสำคัญของการรู้จักพระเจ้า ๑๔

ความจำเป็นในการรู้จักพระเจ้า ๑๕

ระดับขั้นของการรู้จักพระเจ้า ๑๘

แนวทางการแสวงหาพระเจ้าและรู้จักพระองค์. ๒๐

วิธีการทั่วไป และวิธีการโดยเฉพาะ. ๒๒

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๒๓

สรุปสาระสำคัญ.. ๒๔

บทที่ ๒. ๒๖

วิธีการฟิฏรัต(สัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์) ๒๖

บทนำเบื้องต้น. ๒๖

ฟิฏรัต ความหมายด้านภาษา และเชิงวิชาการ. ๒๗

การอธิบายความหมายของการมีอยู่ของพระเจ้าเป็น ฟิฏรัต. ๒๘

คำอธิบาย. ๒๙

การรู้จักพระเจ้า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ในทัศนะของอัล กุรอาน. ๓๓

การรู้จักพระเจ้า  เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ในทัศนะของวจนะ. ๓๖

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๓๗

สรุปสาระสำคัญ.. ๓๘

บทที่ ๓. ๔๐

ทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก. ๔๐

อะไร คือ ความเป็นระบบและระเบียบ?. ๔๒

เหตุผลที่ง่ายต่อการเข้าใจ. ๔๓

คำอธิบายในข้ออ้างหลัก. ๔๔

คำอธิบายในข้ออ้างรอง. ๔๕

ข้อสรุป. ๔๖

ความเป็นระบบและระเบียบในทัศนะของอัล กุรอาน. ๔๗

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๕๕

สรุปสาระสำคัญ.. ๕๕

บทที่ ๔. ๕๗

เหตุผลทางสติปัญญา : ข้อพิสูจน์วุญูบและอิมกาน. ๕๗

(สิ่งจำเป็นต้องมีอยู่ และสิ่งต้องพึ่งพา) ๕๗

ประโยชน์ของเหตุผลทางสติปัญญา ๕๘

ตัวบทของข้อพิสูจน์วุญูบและอิมกาน (สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่และสิ่งที่ต้องพึ่งพา) ๕๙

การอธิบายในข้อพิสูจน์วุญูบและอิมกาน (สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่และสิ่งที่ต้องพึ่งพา) ๖๒

คุณลักษณะลำดับแรกและคุณลักษณะลำดับรอง. ๖๓

อัล กุรอานกับความต้องการของสิ่งมีชีวิตยังพระเจ้า ๖๕

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๖๖

สรุปสาระสำคัญ.. ๖๗

ภาคที่สอง. ๖๙

เตาฮีด (ความเป็นเอกานุภาพของพระเจ้า) ๖๙

บทที่ ๑ ความเป็นเอกานุภาพของพระเจ้า ๗๐

เนื้อหาทั่วไป. ๗๐

ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าที่มีกล่าวไว้ในศาสนาอื่นๆ. ๗๑

ความหมายทางภาษาของ เตาฮีด. ๗๓

ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎี ความศรัทธา และการปฏิบัติ. ๗๓

ความหมายในเชิงวิชาการของ ความเป็นเอกานุภาพ. ๗๔

อีกสองความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพ. ๗๕

ความเป็นเอกานุภาพในมุมมองของเทววิทยาอิสลาม. ๗๖

ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าในมุมมองของอัลกุรอาน และวจนะ. ๗๗

ความสำคัญของความเป็นเอกานุภาพในศาสนาอิสลามและศาสนาอื่น. ๗๘

ศัพท์ทางวิชาการท้ายบท. ๘๑

สรุปสาระสำคัญ.. ๘๑

บทที่ ๒. ๘๓

ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน ตัวตนของพระเจ้า ๘๓

ความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน ในมุมมองต่างๆ.. ๘๔

ความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า ๘๖

เหตุผลของความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ๘๘

เหตุผลของการไม่มีส่วนประกอบในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า ๘๘

คำอธิบาย. ๘๙

การพิสูจน์ความเป็นหนึ่งเดียวของพระผู้เป็นเจ้าและการปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์  ๙๒

เหตุผลที่หนึ่ง  : ความสมบูรณ์แบบที่สุดและความไม่มีขอบเขตจำกัดของพระเจ้า ๙๒

เหตุผลที่สอง  : การปฏิเสธการมีส่วนประกอบทุกชนิด. ๙๔

เหตุผลที่สาม   : การปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์. ๙๕

ความเป็นหนึ่งเดียวในความจริงและในจำนวนเลข. ๙๖

(วะฮ์ดัตฮะกีกีย์และวะฮ์ดัตอะดาดีย์) ๙๖

ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน(เตาฮีด ซาตีย์) ในอัล กุรอาน. ๙๗

ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน(เตาฮีด ซาตีย์) ในวจนะ. ๙๙

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๑๐๒

สรุปสาระสำคัญ.. ๑๐๒

บทที่ ๓. ๑๐๕

ความเป็นเอกานุภาพของพระเจ้าในคุณลักษณะ. ๑๐๕

(เตาฮีด ซิฟาตีย์) ๑๐๕

บทนำเบื้องต้น. ๑๐๕

ความเป็นหนึ่งเดียวในด้านความหมายและความเป็นจริง. ๑๐๗

ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ. ๑๐๘

เหตุผลของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ. ๑๐๙

เหตุผลที่หนึ่ง. ๑๐๙

เหตุผลที่สอง. ๑๑๑

เหตุผลที่สาม. ๑๑๒

ความแตกต่างทางด้านความหมายของคุณลักษณะ (ซิฟัต) ๑๑๔

ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ(เตาฮีด ซิฟาตีย์)ในมุมมองทางประวัติศาสตร์. ๑๑๕

ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ(เตาฮีด ซิฟาตีย์)ในมุมมองของวจนะ. ๑๑๗

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๑๒๐

สรุปสาระสำคัญ.. ๑๒๐

บทที่ ๔. ๑๒๒

ความเป็นเอกานุภาพใน กิริยา การกระทำ (เตาฮีด อัฟอาลีย์) ตอนที่หนึ่ง. ๑๒๒

บทนำเบื้องต้น. ๑๒๒

บทบาทของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำในมุมมองของโลกทรรศน์. ๑๒๓

การกระทำของสิ่งถูกสร้างอยู่ภายใต้การกระทำของผู้สร้าง. ๑๒๔

บทบาทของสื่อกลางในการเกิดขึ้นของการกระทำในพระเจ้า ๑๒๗

ความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ และเจตจำนงเสรีของมนุษย์. ๑๒๘

เหตุผลในความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ... ๑๓๐

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๑๓๒

สรุปสาระสำคัญ.. ๑๓๒

บทที่ ๕. ๑๓๔

ความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำ (เตาฮีด อัฟอาลีย์) ตอนที่สอง. ๑๓๔

บทนำเบื้องต้น. ๑๓๔

ความเป็นเอกานุภาพในการสร้าง(เตาฮีด ฟีย์คอลิกียะฮ์) ๑๓๔

ความเป็นเอกานุภาพในการอภิบาล. ๑๓๕

เหตุผลการพิสูจน์ความเป็นเอกานุภาพในการอภิบาล. ๑๓๖

ความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำ ในอัล กุรอาน และวจนะ. ๑๓๗

ความสำคัญของความเป็นเอกานุภาพในการอภิบาล. ๑๔๐

(เตาฮีด รุบูบีย์) ในทัศนะของอัล กุรอาน. ๑๔๐

ข้อพิพาทของบรรดาศาสดาในความเป็นเอกานุภาพการอภิบาลของพระผู้เป็นเจ้า ๑๔๒

เหตุผลในหลักความเป็นเอกานุภาพการอภิบาลของพระผู้เป็นเจ้า ๑๔๕

การบริหารการงานของสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นอยู่กับการอนุมัติของผู้สร้าง. ๑๔๗

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๑๔๙

สรุปสาระสำคัญ.. ๑๔๙

บทที่ ๖. ๑๕๒

ความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบและการปกครอง –ความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้า ๑๕๒

ความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบ และการปกครอง. ๑๕๒

พื้นฐานทางสติปัญญาของความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบ และการปกครอง  ๑๕๓

ความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบและการปกครองในทัศนะของอัล กุรอาน  ๑๕๕

ความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้า ๑๕๘

ทำไมต้องมีพระเจ้าองค์เดียว?. ๑๖๐

ความสัมพันธ์ของประเภทต่างๆในความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา ๑๖๑

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๑๖๒

สรุปสาระสำคัญ.. ๑๖๒

บทที่ ๗. ๑๖๓

ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ (เตาฮีด อะมะลีย์) ๑๖๓

การซึมซับของความเป็นเอกานุภาพในด้านความคิด ความเชื่อ และในด้านการปฏิบัติ. ๑๖๓

คุณค่าของความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา ๑๖๕

ความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี. ๑๖๕

ความหมายที่แท้จริงของการเคารพภักดี. ๑๖๖

ความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดีที่มีอยู่ในหมู่มุสลิม. ๑๖๙

ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้ากับการเคารพภักดี. ๑๗๒

ความเป็นเอกานุภาพในด้านการปฏิบัติในอัล กุรอานและวจนะ. ๑๗๓

ชาวคัมภีร์กับการเคารพภักดีในพระเจ้าองค์เดียว. ๑๗๕

ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดีกับความเป็นเอกานุภาพในการบริหาร  ๑๗๕

การตั้งภาคีที่ซ่อนในการเคารพภักดี. ๑๗๖

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๑๗๗

สรุปสาระสำคัญ.. ๑๗๗

บทที่ ๘. ๑๗๙

ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ ตอนที่ สอง. ๑๗๙

ความเป็นเอกานุภาพในการช่วยเหลือ (เตาฮีด อิสติอานะฮ์) ๑๗๙

ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติตาม(เตาฮีด อิฏออะฮ์) ๑๘๒

ความเป็นเอกานุภาพในการให้ความรัก. ๑๘๓

ความเป็นเอกานุภาพในการมอบหมายกิจการงาน. ๑๘๕

ความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของความเป็นเอกานุภาพ. ๑๘๖

ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติตามในทัศนะของอัล กุรอาน. ๑๘๘

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๑๙๒

สรุปสาระสำคัญ.. ๑๙๒

บทที่ ๙. ๑๙๕

พื้นฐานทางสติปัญญาของความเป็นเอกานุภาพในทัศนะอัลกุรอานและวจนะ. ๑๙๕

อัล กุรอานกับความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ๑๙๕

สัญชาตญาณดั้งเดิมของความเป็นเอกานุภาพในมุมมองของวจนะ. ๑๙๘

เหตุผลทางสติปัญญาของอัลกุรอานในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ๑๙๙

สรุปสาระสำคัญ.. ๒๐๓

บทที่ ๑๐. ๒๐๔

ความเป็นเอกานุภาพ และการตั้งภาคี (ชิรก์) ตอนที่ หนึ่ง. ๒๐๔

ประเภทของการตั้งภาคี. ๒๐๕

คำอธิบาย. ๒๐๕

การตั้งภาคีในความเป็นพระเจ้าและการเคารพภักดี. ๒๐๘

ระดับขั้นของการตั้งภาคี. ๒๐๙

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๒๑๑

สรุปสาระสำคัญ.. ๒๑๑

บทที่ ๑๑. ๒๑๓

ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า และการตั้งภาคี ตอนที่ ๒. ๒๑๓

ความเป็นเอกานุภาพ และการตั้งภาคีในประวัติศาสตร์. ๒๑๓

สาเหตุและองค์ประกอบที่ทำให้มนุษย์มีการตั้งภาคี. ๒๑๘

การตั้งภาคีกับความบาป. ๒๒๑

สรุปสาระสำคัญ.. ๒๒๒

บทที่ ๑๒. ๒๒๔

การตั้งภาคีในทัศนะอัล กุรอานและวจนะ. ๒๒๔

สาเหตุที่ทำให้มีการตั้งภาคีในทัศนะของอัล กุรอาน. ๒๒๖

วิธีการตอบโต้ของอัล กุรอานต่อการตั้งภาคี. ๒๓๒

สรุปสาระสำคัญ.. ๒๓๓

ภาคที่ สาม. ๒๓๔

คุณลักษณะของพระเจ้า ๒๓๔

บทที่ ๑ คุณลักษณะของพระเจ้า ๒๓๕

เนื้อหาทั่วไป. ๒๓๕

พระนาม คุณลักษณะ การกระทำของพระเจ้า ๒๓๖

คุณลักษณะของพระเจ้าในเทววิทยาอิสลาม. ๒๓๘

ประเภทของคุณลักษณะของพระเจ้า ๒๔๐

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๒๔๔

บทที่ ๒. ๒๔๖

การรู้จักคุณลักษณะของพระเจ้า ๒๔๖

ความเป็นไปได้ต่อการรู้จักถึงคุณลักษณะของพระเจ้า ๒๔๖

การวิเคราะห์และตรวจสอบในทัศนะของพวกตะอ์ตีล. ๒๔๘

และตัชบิฮ์. ๒๔๘

แนวทางในการรู้จักคุณลักษณะของพระเจ้า ๒๕๑

พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุด. ๒๕๓

การอธิบายคุณลักษณะของพระเจ้า ๒๕๔

การหยุดนิ่ง(เตากีฟ) ของนามทั้งหลายและคุณลักษณะของพระเจ้า ๒๕๗

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๒๕๙

สรุปสาระสำคัญ.. ๒๕๙

บทที่ ๓. ๒๖๑

อัล กุรอานกับการอธิบายคุณลักษณะของพระเจ้า ๒๖๑

คุณลักษณะของพระเจ้าในมุมมองของวจนะ. ๒๖๔

สรุปสาระสำคัญ.. ๒๖๖

บทที่ ๔. ๒๖๗

ความรู้ของพระเจ้า (อิลม์ อิลาฮีย์) ๒๖๗

ความรู้ คือ อะไร?. ๒๖๗

ความรู้โดยตรงและความรู้โดยผ่านสื่อ. ๒๖๘

ระดับขั้นความรู้ของพระเจ้า ๒๖๙

ความรู้ในอาตมันของพระเจ้า ๒๖๙

เหตุผลของ ความรู้ในอาตมันของพระเจ้า ๒๗๐

ความรู้ในสรรพสิ่งทั้งหลายก่อนการเกิดขึ้น. ๒๗๑

ความรู้ของพระเจ้าหลังการเกิดขึ้นของสรรพสิ่ง. ๒๗๓

ความรู้ในอาตมัน และความรู้ในการกระทำ... ๒๗๔

ความรู้ของพระเจ้าในรายละเอียดของสรรพสิ่ง. ๒๗๕

ความรู้ของพระเจ้าและเจตจำนงเสรีของมนุษย์. ๒๗๗

ความรู้ของพระเจ้า ในมุมมองของอัล กุรอาน. ๒๗๘

การพิสูจน์ความรู้ของพระเจ้า ๒๗๘

ความรู้อันไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า ๒๗๙

ความรู้ในสิ่งที่เร้นลับของพระเจ้า ๒๘๑

ความรู้ของพระเจ้าในมุมมองของวจนะ. ๒๘๒

ความรู้โดยเฉพาะและทั่วไปของพระเจ้า ๒๘๓

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๒๘๔

สรุปสาระสำคัญ.. ๒๘๔

บทที่ ๕. ๒๘๗

พลังอำนาจของพระเจ้า (กุดรัต อิลาฮีย์) ๒๘๗

ความหมายทางภาษาของ คำว่า กุดรัต (พลังอำนาจ) ๒๘๗

ความหมายของ พลังอำนาจของพระเจ้า (กุดรัต อิลาฮียฺ) ๒๘๙

การพิสูจน์ พลังอำนาจของพระเจ้า ๒๙๐

อานุภาพของพระเจ้า ๒๙๑

สิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้น (มุฮาล) อยู่ภายใต้การมีพลังอำนาจของพระเจ้าใช่หรือไม่?. ๒๙๒

การมีพลังอำนาจของพระเจ้าในการกระทำที่ไม่ดี. ๒๙๖

พลังอำนาจของพระเจ้าในมุมมองของอัล กุรอานและวจนะ. ๒๙๘

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๓๐๐

สรุปสาระสำคัญ.. ๓๐๐

บทที่ ๖. ๓๐๒

การมีชีวิตของพระเจ้า ๓๐๒

การมีชีวิตอยู่ของสรรพสิ่ง. ๓๐๒

ความหมายของการมีชีวิตของพระเจ้า ๓๐๔

เหตุผลของการมีชีวิตของพระเจ้า ๓๐๕

การมีมาแต่เดิมและความเป็นอมตะและนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้า ๓๐๙

การอธิบาย การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ของพระเจ้า ๓๑๐

เหตุผลของ การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้า ๓๑๑

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๓๑๓

สรุปสาระสำคัญ.. ๓๑๓

บทที่ ๗. ๓๑๕

ความประสงค์ของพระเจ้า (อิรอดะฮ์ อิลาฮีย์) ๓๑๕

ความหมายความเป็นจริงของความประสงค์ของมนุษย์. ๓๑๖

ทัศนะต่างๆของนักเทววิทยาอิสลามในการอธิบายความหมาย. ๓๑๗

ความประสงค์ของพระเจ้า ๓๑๗

ความประสงค์ในอาตมันของพระเจ้าและในการกระทำของพระองค์. ๓๑๘

การมีมาดั้งเดิมหรือการเพิ่งเกิดขึ้นมาของความประสงค์ในพระเจ้า ๓๒๑

ความแตกต่างกันระหว่างความประสงค์,ความต้องการและการเลือกสรร. ๓๒๒

เหตุผลของบรรดานักเทววิทยาอิสลามในการพิสูจน์ความประสงค์ของพระเจ้า ๓๒๓

ความประสงค์ในการสร้างสรรค์และการกำหนดบทบัญญัติ(อิรอดะฮ์ ตักวีนีย์ และตัชริอีย์) ๓๒๔

ความประสงค์และความต้องการของพระเจ้า ในอัลกุรอานและวจนะ. ๓๒๕

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๓๓๐

สรุปสาระสำคัญ.. ๓๓๐

บทที่ ๘. ๓๓๒

คำตรัสกล่าวของพระเจ้า (กะลาม อิลาฮียฺ) ๓๓๒

บทนำเบื้องต้น. ๓๓๒

ความเป็นจริงของคำตรัสกล่าวของพระเจ้าคืออะไร?. ๓๓๓

ความหมายของ คำตรัสกล่าวของพระเจ้า ๓๓๔

ทุกสรรพสิ่งคือ ดำรัส ของพระเจ้า ๓๓๖

กะลาม ลัฟซีย์ กะลาม นัฟซีย์ และ กะลามเฟียะลีย์. ๓๓๗

(ประเภทต่างๆของคำตรัสกล่าวของพระเจ้า) ๓๓๗

การมีมาแต่เดิมและการเพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ของ. ๓๓๘

คำตรัสกล่าวของพระเจ้า ๓๓๘

เหตุผลของการเป็นผู้ตรัสกล่าวของพระเจ้า ๓๔๐

คุณลักษณะ การตรัสกล่าว ในอัล กุรอานและวจนะ. ๓๔๑

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๓๔๕

สรุปสาระสำคัญ.. ๓๔๕

บทที่ ๙. ๓๔๗

ความสัตย์จริงของพระเจ้า-ความเป็นวิทยปัญญาของพระเจ้า ๓๔๗

บทนำเบื้องต้น. ๓๔๗

ความสัตย์จริง เป็นคุณลักษณะในอาตมันหรือในการกระทำ?. ๓๔๘

เหตุผลของนักเทววิทยาอิสลามในการพิสูจน์ความสัตย์จริงของพระเจ้า ๓๔๙

ความสัตย์จริงของพระเจ้าในอัล กุรอาน. ๓๕๑

ความหมายของ วิทยปัญญา ๓๕๒

สรุปสาระสำคัญ.. ๓๕๖

บทที่ ๑๐. ๓๕๘

คุณลักษณะที่ไม่มีในพระเจ้า ๓๕๘

บทนำเบื้องต้น. ๓๕๘

เหตุผลในการพิสูจน์คุณลักษณะที่ไม่มีของพระเจ้า ๓๕๙

เหตุผลของการมองไม่เห็นพระเจ้าด้วยกับสายตา ๓๖๕

คุณลักษณะที่ไม่มีในพระเจ้า ในทัศนะอัล กุรอาน. ๓๖๖

พระเจ้าคือ ผู้ที่ไม่ต้องการสถานที่อยู่อาศัย. ๓๖๖

การมองไม่เห็นพระเจ้า ๓๖๘

คุณลักษณะที่ไม่มีในพระเจ้า ในมุมมองของวจนะ. ๓๗๐

สรุปสาระสำคัญ.. ๓๗๓

ภาคที่สี่. ๓๗๕

การกระทำของพระเจ้า ๓๗๕

บทที่ ๑. ๓๗๖

ความดี และ ความชั่วทางสติปัญญา ๓๗๖

เนื้อหาโดยทั่วไป การกระทำของพระเจ้า ๓๗๖

ความดี และ ความชั่วทางสติปัญญา ๓๗๗

ความแตกต่างระหว่างอัดลียะฮ์กับอัชอะรีย์ในความดี และความชั่วทางสติปัญญา ๓๘๐

เหตุผลของสำนักคิดอัชอะรีย์ในการปฏิเสธความดีและความชั่วทางสติปัญญา ๓๘๒

ผลที่ได้รับของการมีความเชื่อในความดีและความชั่วทางสติปัญญา ๓๘๔

ความดีและความชั่วทางสติปัญญา ในมุมมองของอัล กุรอาน. ๓๘๔

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๓๘๖

สรุปสาระสำคัญ.. ๓๘๖

บทที่ ๒. ๓๘๙

วิทยปัญญาของพระเจ้า คือ เป้าหมายสูงสุดในการกระทำของพระองค์. ๓๘๙

บทนำเบื้องต้น. ๓๘๙

เป้าหมายของผู้กระทำกับการกระทำ... ๓๙๐

เหตุผลของการมีวิทยปัญญาของพระเจ้า ๓๙๒

เหตุผลของสำนักคิดอัชอะรีย์ในการปฏิเสธการมีเป้าหมายในการกระทำของพระเจ้า ๓๙๒

วิทยปัญญาของพระเจ้าในทัศนะของอัล กุรอาน. ๓๙๔

วิทยปัญญาของพระเจ้ากับความชั่วร้าย. ๓๙๖

๑.การมีขอบเขตในความรู้ของมนุษย์. ๓๙๗

๒.เป้าหมายที่สูงสุดในการสร้างมนุษย์. ๓๙๘

๓. ผลประโยชน์ส่วนรวมมาก่อนผลประโยชน์ส่วนตัว. ๓๙๘

๔.บทบาทของมนุษย์ที่มีต่อการเกิดขึ้นของความชั่วร้าย. ๓๙๙

ปรัชญาการเกิดขึ้นของความชั่วร้าย. ๔๐๐

๑.การพัฒนาทางด้านจิตวิญญาณ.. ๔๐๐

๒.การทดสอบจากพระเจ้า ๔๐๑

๓.เป็นคติเตือนใจและเป็นการปลุกให้ตื่นขึ้นจากการหลับใหล. ๔๐๒

๔.การไม่รู้คุณค่าในปัจจัยยังชีพของพระเจ้า ๔๐๓

ปรัชญาการทดสอบ ในทัศนะของวจนะ. ๔๐๔

สรุปสาระสำคัญ.. ๔๐๖

บทที่ ๓. ๔๐๘

ความยุติธรรมของพระเจ้า (อัดล์ อิลาฮียฺ) ๔๐๘

บทนำเบื้องต้น. ๔๐๘

ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยปัญญากับความยุติธรรม. ๔๑๐

ความยุติธรรมตั้งอยู่บนพื้นฐานของความดีและความชั่วทางสติปัญญา ๔๑๐

ความหมายของความยุติธรรม (อัดล์) ๔๑๑

ประเภทของความยุติธรรมของพระเจ้า ๔๑๒

ความยุติธรรมของพระเจ้า ถูกแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ด้วยกัน มีดังนี้. ๔๑๒

เหตุผลทางสติปัญญาในการพิสูจน์ความยุติธรรมของพระเจ้า ๔๑๓

ความยุติธรรมของพระเจ้าในอัล กุรอาน. ๔๑๔

ข้อสงสัยในความยุติธรรมของพระเจ้า ๔๑๗

ความยุติธรรมของพระเจ้ากับความแตกต่างที่มีอยู่ในสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย. ๔๑๘

ความตายกับการสูญสลาย. ๔๑๙

ความสัมพันธ์ของบาปกับการถูกลงโทษในวันแห่งการตัดสิน. ๔๒๐

ความยุติธรรมของพระเจ้ากับความเจ็บปวดและความยากลำบากของมนุษย์. ๔๒๒

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๔๒๓

สรุปสาระสำคัญ.. ๔๒๓

บทที่ ๔. ๔๒๖

การกำหนดกฏสภาวะและจุดหมายปลายทางของมนุษย์ (กอฎออฺและกอดัร) ๔๒๖

บทนำเบื้องต้น. ๔๒๖

ความหมายของ กอฎออฺ และ กอดัร. ๔๒๗

ประเภทของกอฎออฺ และกอดัร. ๔๒๗

กอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ (การกำหนดกฏสภาวะในความรู้) ๔๒๘

กอฎออฺและกอดัร อัยนีย์ (การกำหนดสภาวะในความเป็นจริง) ๔๒๙

ชะตากรรมและการเลือกสรรของมนุษย์. ๔๓๐

กอฎออฺและกอดัรโดยทั่วไป. ๔๓๒

กอฎออฺและกอดัรของพระเจ้า ในอัล กุรอาน และวจนะ. ๔๓๒

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๔๓๖

สรุปสาระสำคัญ.. ๔๓๗

บทที่ ๕. ๔๓๙

การบังคับและเจตจำนงเสรีของมนุษย์ (ญับรฺวะอิคติยาร) ๔๓๙

บทนำเบื้องต้น. ๔๓๙

คำอธิบาย. ๔๓๙

ขอบเขตของเรื่อง การบังคับและเจตจำนงเสรีของมนุษย์. ๔๔๐

การบังคับและเจตจำนงเสรีของมนุษย์ที่ถูกกล่าวไว้ในประวัติศาสตร์อิสลาม. ๔๔๒

มโนธรรมของมนุษย์บ่งบอกถึงการเป็นอิสระเสรี. ๔๔๓

การวิเคราะห์ในทัศนะญับร์ (การบังคับจากพระเจ้า) ๔๔๔

ทัศนะกัสบ์. ๔๔๙

การตรวจสอบในทัศนะตัฟวีฎ (การมอบอำนาจในกิจการต่อพระเจ้า) ๔๕๑

จุดประสงค์ของพวกมุอฺตะซิละฮ์ ต่อการมีความเชื่อในทัศนะตัฟวีฎ. ๔๕๒

ทัศนะของอัมรุน บัยนะอัมร็อยน์ (แนวทางสายกลาง) ๔๕๓

ทัศนะอัมรุน บัยนะอัมร็อยน์ในอัล กุรอานและวจนะ. ๔๕๕

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๔๕๘

สรุปสาระสำคัญ.. ๔๕๘

๔๔๙

๔๕๐