บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม8%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 340028 / ดาวน์โหลด: 4961
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156

157

158

159

160

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175

176

177

178

179

180

181

182

183

184

185

186

187

188

189

190

191

192

193

194

195

196

197

198

199

200

201

202

203

204

205

206

207

208

209

210

211

212

213

214

215

216

217

218

219

220

221

222

223

224

225

226

227

228

229

230

231

232

233

234

235

236

237

238

239

240

241

242

243

244

245

246

247

248

249

250

251

252

253

254

255

256

257

258

259

260

261

262

263

264

265

266

267

268

269

270

271

272

273

274

275

276

277

278

279

280

281

282

283

284

285

286

287

288

289

290

291

292

293

294

295

296

297

298

299

300

301

302

303

304

305

306

307

308

309

310

311

312

313

314

315

316

317

318

319

320

321

322

323

324

325

326

327

328

329

330

331

332

333

334

335

336

337

338

339

340

341

342

343

344

345

346

347

348

349

350

351

352

353

354

355

356

357

358

359

360

361

362

363

364

365

366

367

368

369

370

371

372

373

374

375

376

377

378

379

380

   วิทยปัญญาของพระเจ้าในทัศนะของอัล กุรอาน

   ในอัล กุรอานมีโองการต่างๆมากมายที่ได้กล่าวถึง วิทยปัญญาของพระเจ้า

“พวกเจ้าคิดหรือว่า แท้จริงเราได้ให้พวกเจ้าบังเกิดมาโดยไร้ประโยชน์ และแท้จริงพวกเจ้าจะไม่กลับไปหาเรากระนั้นหรือ ?” (บทอัลมุมินูน โองการ ๑๐๕)

โองการนี้ได้กล่าวถึง การสร้างมนุษย์ ซึ่งเป็นการกระทำประการหนึ่งของพระผู้เป็นเจ้า และได้อธิบายไว้อีกว่า การกระทำนี้ มิได้เป็นการกระทำที่ไร้สาระและไม่มีประโยชน์ แต่ทว่ามีเป้าหมายและมีวิทยปัญญาที่ชัดเจน และในส่วนที่สองของโองการนี้ ก็ได้แสดงให้เห็นถึง การมีเป้าหมายอันนั้นต่อการสร้างของพระเจ้า  หมายความว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมา และให้เขาได้ใช้ประโยชน์ เพื่อไปสู่ความสมบูรณ์พูนสุข และในโลกหน้า เขาจะได้เห็นผลของการกระทำของเขาที่ได้กระทำในโลกนี้

อีกโองการหนึ่งกล่าวถึง การมีวิทยปัญญาในการสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินและสิ่งที่อยู่ระหว่างกลางทั้งสอง (หมายถึง การสร้างโลกนี้) ดังนี้

“และเรามิได้สร้างชั้นฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดิน และสิ่งที่อยู่ระหว่างทั้งสองอย่าง อย่างไร้สาระ”

 (บทอัดดุคอน โองการ ที่๓๘)

บางส่วนของวจนะก็ได้กล่าวไว้เช่นกันถึง การมีวิทยปัญญาในการกระทำของพระเจ้า และการไม่เป็นสิ่งที่ไร้สาระในการกระทำของพระองค์ และเป้าหมายในการกระทำนั้นย้อนไปหามนุษย์และสิ่งถูกสร้างอื่นๆ

๓๘๑

 ดั่งเช่น

วจนะจากท่านอิมามริฎอ (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

“หากมีผู้ใดถามว่า เป็นอนุญาตหรือไม่ที่จะให้บ่าวของพระองค์กระทำการงานหนึ่งโดยที่ไม่มีสาเหตุ?”

ท่านอิมามกล่าวว่า

“จงตอบกับเขาว่า ไม่เป็นที่อนุญาต เพราะพระองค์ทรงไม่กระทำการงานที่ไร้สาระ”

(บิฮารุลอันวาร เล่ม ๖ หน้า๕๘)

วจนะจากท่านอิมามซอดิก ได้รายงานว่า มีชายคนหนึ่งถามท่านอิมามว่า

“ทำไมพระเจ้าต้องเป็นบ่าวของพระองค์ด้วย?”

ท่านอิมามตอบว่า

“แท้จริงอัลลอฮ์ ผู้ทรงสูงส่งและมีเกียรติยิ่ง มิได้สร้างสิ่งใดอย่างไร้สาระ และมิได้ทอดทิ้งเขาให้เดียวดาย แต่พระองค์ได้ทรงสร้างสิ่งเหล่านั้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงพลังอำนาจของพระองค์ และให้เขาปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์ โดยเขามีความหวังในความกรุณาของพระองค์  และพระองค์มิได้สร้างพวกเขามา เพื่อจะได้รับประโยชน์มาสู่พระองค์ แต่พระองค์ทรงสร้างเพื่อให้พวกเขาได้รับประโยชน์จากพระองค์”

 (บิฮารุลอันวาร เล่ม ๕ หน้า ๓๑๓)

๓๘๒

   วิทยปัญญาของพระเจ้ากับความชั่วร้าย

    จะเห็นได้ว่า การกระทำทุกประการของพระเจ้านั้นมีเป้าหมายที่สูงสุดและชัดเจน ซึ่งเป้าหมายในการกระทำของพระองค์นั้นย้อนกลับไปสู่มนุษย์

กล่าวอีกนัยหนึ่ง จะเห็นได้ว่า โลกแห่งความเป็นจริง มีการกระทำหนึ่งที่เรียกกันว่า ความชั่ว

การลงโทษจากพระเจ้าหรือความเศร้าโศกจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น อุทกภัยน้ำท่วม ,พายุถล่ม,แผ่นดินไหว,การคุกคามของโรคร้าย ,อุบัติเหตุที่อันตรายต่อชีวิต ฯลฯ ทั้งหมดนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความชั่วร้ายในสังคม

ดังนั้น เมื่อได้เปรียบเทียบสิ่งเหล่านี้กับการมีวิทยปัญญาของพระเจ้า จะเห็นได้ว่า การมีวิทยปัญญาของพระองค์มีความขัดแย้งกับการมีอยู่ของสิ่งเหล่านี้ เพราะว่า เป้าหมายของการสร้างของพระเจ้า เพื่อนำประโยชน์ไปสู่มนุษย์ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้มิได้มีประโยชน์กับมนุษย์ แต่กับมีผลกระทบต่อการดำรงชีพของเขา  และการกระทำของพระองค์จะขัดกับเป้าหมายของพระองค์ไม่ได้ เพราะว่า พระองค์คือ ผู้มีวิทยปัญญายิ่ง

สำหรับคำตอบก็คือ การลงโทษ ,ความเจ็บปวด และการเศร้าโศกเสียใจ มิได้ขัดแย้งกับการมีวิทยปัญญาของพระเจ้า  เพราะการกระทำเหล่านี้ มีผลต่อตัวของมนุษย์เอง และการมีสิ่งเหล่านี้ มิได้หมายความว่า การกระทำของพระเจ้านั้น ไร้สาระและไม่มีประโยชน์อันใด ดังนั้น การกระทำของพระองค์มิได้ขัดกับเป้าหมายของพระองค์เลย

๓๘๓

ก่อนที่จะอธิบายในประโยชน์การมีอยู่ของความชั่ว จะขอกล่าวถึง หลักการที่สำคัญ ดังนี้

   ๑.การมีขอบเขตในความรู้ของมนุษย์

    ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า ความรู้ของมนุษย์ เมื่อได้เปรียบเทียบกับ ความโง่เขลาของเขา เหมือนดั่ง หยดน้ำในห้วงมหาสมุทร  มิใช่เฉพาะกับสิ่งที่อยู่ภายนอก แม้แต่สิ่งที่อยู่ในตัวของมนุษย์เองก็มีสิ่งที่ลี้ลับอยู่มากมายที่หาคำตอบไม่ได้ และสติปัญญาของเขาไปไม่ถึงด้วย

ดังนั้น บรรดานักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ หลังจากที่ได้ค้นคว้าและวิจัย พวกเขายอมรับว่า เขาไม่มีความรู้อันใดเลย อัลกุรอานได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้เช่นกัน

และพวกท่านจะไม่ได้รับความรู้ใดๆ เว้นแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น” (บทอัลอิสรออฺ โองการที่ ๘๕)

และด้วยกับการมีขอบเขตที่จำกัดในความรู้ของมนุษย์ ไม่สามารถกล่าวว่า รู้ถึงความลี้ลับทั้งหมดที่มีอยู่ในโลก และในการกระทำที่เรียกว่า ความชั่วร้าย ก็เช่นเดียวกัน  ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีความรู้ในประโยชน์ที่ซ่อนอยู่ในความชั่วร้ายที่เกิดขึ้น และการไม่รู้ในสิ่งหนึ่ง มิได้หมายความ สิ่งนั้นจะไม่มี

อัลกุรอานได้กล่าวอีกว่า

บางทีสิ่งที่เจ้ารังเกียจสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งดีสำหรับสูเจ้าก็ได้ และบางทีสิ่งที่เจ้ารักสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่เลวร้ายสำหรับเจ้าก็ตาม อัลลอฮ์นั้นทรงรอบรู้ แต่เจ้านั้นไม่รู้” (บทอัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ ๒๑๖ )

๓๘๔

   ๒.เป้าหมายที่สูงสุดในการสร้างมนุษย์

   อีกหลักการหนึ่ง คือ เป้าหมายที่สูงสุดในการสร้างมนุษย์ มิได้หมายถึง การใช้ชีวิตอย่างสุขสบายในโลกนี้ โดยไม่คำนึงถึงโลกหน้า แต่เป้าหมายที่แท้จริงก็คือ การไปสู่ความผาสุกและความสมบูรณ์ของมนุษย์เอง นั่นก็คือ การเคารพภักดีต่อพระเจ้า ซึ่งเป็นการแสวงหาความใกล้ชิดยังพระองค์  ในบางครั้ง การไปสู่ความสมบูรณ์ เกิดจากการถูกทดสอบต่างๆมากมาย และการได้รับความทุกข์ทรมาน

   ๓. ผลประโยชน์ส่วนรวมมาก่อนผลประโยชน์ส่วนตัว

   ในโลกแห่งวัตถุและธรรมชาตินี้ เป็นโลกที่วุ่นวาย เพราะในบางทีผลประโยชน์ส่วนตัวมาก่อนผลประโยชน์ส่วนรวม  ดังนั้น สติปัญญาบอกว่า ในกรณีเช่นนี้ ผลประโยชน์ส่วนรวมต้องมาก่อน  และนี่คือ ความหมายของการงานที่มีวิทยปัญญา และในเรื่องความชั่วร้ายที่เกิดขึ้น เมื่อเราสังเกตให้รอบคอบและมองหลายด้าน เนื่องด้วยผลประโยชน์ต่อส่วนรวม จึงมีเป้าหมายที่ชัดเจน ดั่งในประเด็นของหลักความยุติธรรม (บทต่อไป) กล่าวว่า การดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมของพระเจ้า ได้ทำให้ผลประโยชน์ส่วนตัวหมดไป และผลประโยชน์ส่วนรวมเข้ามาแทน

๓๘๕

   ๔.บทบาทของมนุษย์ที่มีต่อการเกิดขึ้นของความชั่วร้าย

    ประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือ การกระทำของมนุษย์มีผลต่อการเกิดขึ้นของความชั่วร้าย

มนุษย์เป็นสิ่งมีอยู่ที่มีอิสระในการกระทำ บางครั้งเขา เป็นผู้ที่ทำให้ความชั่วเกิดขึ้น แต่เขากับไม่รู้ว่า ตนเอง เป็นผู้กระทำ และเขาได้อ้างว่า การกระทำเหล่านั้น เป็นความไม่ยุติธรรมของพระเจ้า

อัลกุรอานได้กล่าวถึงเรื่องนี้ ในโองการต่างๆมากมาย

การบ่อนทำลาย ได้เกิดขึ้นทั้งทางบกและทางน้ำ เนื่องจากสิ่งที่มือของมนุษย์ได้ขวนขวายไว้ เพื่อที่พระองค์จะให้พวกเขาลิ้มรสบางส่วนที่พวกเขาประกอบไว้ โดยที่หวังจะให้พวกเขากลับเนื้อกลับตัว” (บทอัรรูม โองการ ๔๑)

และเคราะห์กรรมอันใดที่ประสบแก่พวกเจ้า ก็เนื่องด้วยน้ำมือของพวกเจ้าได้ขวนขวายได้ และพระองค์ทรงอภัย (ความผิดให้) มากต่อมากแล้ว” (บทอัชชูรอ โองการ ๓๐)

จะอย่างไรก็ตาม เป้าหมายในการสร้างมนุษย์ ในขณะที่มนุษย์ เป็นสิ่งถูกสร้าง(มัคลูก) ที่มีความเป็นอิสระเสรี และด้วยกับกฏของเหตุและผล จะเห็นได้ว่า การกระทำบางอย่างของเขา เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเลวร้าย และการลงโทษจากพระเจ้า

จากหลักการที่กล่าวไปข้างต้นนั้น จะขอกล่าวถึงประโยชน์ของความชั่วร้ายทั้งหลาย ที่มีผลต่อการดำรงชีพของมนุษย์และในสังคม  เพื่อที่จะเห็นว่า การเกิดขึ้นของความชั่วร้าย มิได้ขัดแย้งกับการมีวิทยปัญญาของพระเจ้า และก่อนที่จะกล่าวถึงผลประโยชน์ทั้งหลาย

๓๘๖

สิ่งที่ควรจดจำก็คือ

๑.มนุษย์นั้นไม่รู้ถึงผลประโยชน์ที่แท้จริงของความชั่วร้ายทั้งหลาย หรือปรัชญาของความเลวร้าย แต่เขารู้ว่า ยังมีปรัชญาที่แฝงเร้นในความเลวร้ายเหล่านั้น

๒.จากความเลวร้ายหนึ่งที่เกิดขึ้น ไม่อาจกล่าวถึง ผลประโยชน์ของมันได้ทั้งหมด เพราะว่าการมีความรู้ของมนุษย์นั้น มีขอบเขตจำกัด

   ปรัชญาการเกิดขึ้นของความชั่วร้าย

   ๑.การพัฒนาทางด้านจิตวิญญาณ

    การสร้างมนุษย์ และการมีอยู่ของโลกแห่งธรรมชาติ  มีการเบ่งบานและเติบโตด้วยกับการประสบในเหตุการณ์ที่เลวร้าย ดั่งเช่น ร่างกายของนักกีฬา ต้องการ การฝึกฝนและออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้มีการเติบโตและการก้าวหน้า  และเช่นเดียวกัน มนุษย์เอง ก็ต้องการ การเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตวิญญาณ ซึ่งสิ่งที่ทำให้ร่างกายและจิตใจของมนุษย์พัฒนาการ คือ การประสบกับความเลวร้าย

อัล กุรอานได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า

“ฉะนั้นแท้จริงหลังจากความยากลำบากก็จะมีความง่าย”

  “แท้จริงหลังจากความยากลำบากก็จะมีความง่าย”

(บทอัลอินชิรอฮ์ โองการ ๕-๖ )

๓๘๗

   ๒.การทดสอบจากพระเจ้า

   การทดสอบจากพระเจ้า เป็นการกระทำหนึ่งของพระองค์  ดังนั้น พระองค์ทรงทดสอบมนุษย์ในการดำเนินชีวิตของเขา  ต่างๆนานา บางครั้งเขาได้รับความสะดวกสบาย บางครั้งได้รับความยากลำบาก ทุกข์ทรมานมากมาย

อัลกุรอานได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า

“ทุกชีวิตย่อมลิ้มรสแห่งความตาย และเราจะทดสอบพวกเจ้าด้วยกับความชั่วและความดี และพวกเจ้าจะต้องกลับไปหาเราอย่างแน่นอน” (บทอันอัมบิยาอ์ โองการ ๓๕)

คำว่า ความชั่วและความดี ในโองการนี้ มีความหมายที่กว้าง และรวมถึง ความโศกเศร้า,ความเจ็บปวด,ความทุกข์ทรมาน,ความยากจนขัดสน และยังรวมถึง การได้รับชัยชนะ,ประสบผลสำเร็จ , ความร่ำรวย และความสุขสบาย ดังนั้น อัลกุรอานได้อธิบายว่า สิ่งเหล่านั้น เป็นการทดสอบของพระเจ้า นอกเหนือจากนี้ ยังการพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตวิญญาณ เพื่อทำให้เขาจะได้รับรู้ความเป็นจริงของสิ่งต่างๆที่มีอยู่

ยังมีโองการทั้งหลายอีกมาก ได้กล่าวเน้นย้ำถึง การทดสอบของพระเจ้า จากการอดทนและทุกข์ทรมานและเศร้าโศกเสียใจต่างๆนานา ดั่งในโองการต่อไปนี้

“และแน่นอน เราจะทดสอบสูเจ้าโดยการให้สูเจ้าอยู่ในความกลัวและความหิวโหย และโดยการให้สูญเสียทรัพย์สิน ชีวิตและพืชผล และจงแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ที่มีความอดทน”

 (บทอัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ ๑๕๕ )

๓๘๘

ประโยคที่กล่าวว่า จงแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ที่มีความอดทน แสดงให้เห็นถึง ผลตอบแทนและรางวัลของผู้ที่กระทำความดี คือ ผู้ทีผ่านจากการทดสอบต่างๆของพระเจ้า

และอีกโองการหนึ่งก็กล่าวเช่นกันว่า

“แต่ครั้นเมื่อพระองค์ทรงทดสอบเขาทรงให้การครองชีพของเขาเป็นที่คับแคบแก่เขา เขาก็จะกล่าวว่า พระเจ้าของฉันทรงเหยียดหยามฉัน” (บทอัลฟัจร์ โองการที่ ๑๖ )

ด้วยเหตุนี้ ผลตอบแทนของพระเจ้า มิได้มีกับบ่าวของพระองค์ทุกคน แต่ทว่า กลุ่มชนหนึ่ง รู้สึกถึงความอ่อนแอจากการทดสอบของพระองค์ จนกระทั่งเขาได้กล่าวเหยียดหยามพระองค์

   ๓.เป็นคติเตือนใจและเป็นการปลุกให้ตื่นขึ้นจากการหลับใหล

    หนึ่งในผลประโยชน์ที่สำคัญของการทดสอบ และความเศร้าโศกของมนุษย์ คือ การตื่นขึ้นจากการนอนหลับจากการที่เขาหลงใหลในความสุขสบายของโลกแห่งวัตถุ และเขาได้สำนึกว่ามีหน้าที่อันยิ่งใหญ่ที่จะต้องรับผิดชอบต่อพระผู้เป็นเจ้า และหน้าที่นั้นจะทำให้เขากลับไปสู่แสงสว่างแห่งสัจธรรม และความผาสุกอย่างแท้จริงได้

โองการทั้งหลายของอัล กุรอานได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า

และเรามิได้ส่งนบี(ศาสทูต)คนใดไปในเมืองหนึ่งเมืองใด นอกจากเราได้ลงโทษชาวเมืองนั้น ด้วยความแร้นแค้น และการเจ็บป่วยเพื่อว่าพวกเขาจะได้นอบน้อม” (อัลอะอฺรอฟ โองการที่ ๙๔)

๓๘๙

 “ และแน่นอน เราจะให้พวกเขาได้ลิ้มรสการลงโทษอันใกล้ (ในโลกนี้) ก่อนการลงโทษอันยิ่งใหญ่ (ในปรโลก) เพื่อว่าพวกเขาจะกลับมาสำนึกผิด” (บทอัซซัจดะฮ์ โองการที่ ๒๑)

และเช่นกัน การลงโทษวงศ์วานของฟาโรห์ ด้วยการประสบกับความแห้งแล้งและความขาดแคลน เพื่อเป็นการเตือนสติให้กับพวกเขาได้สำนึก ในโองการต่อไปนี้

และแน่นอนเราได้ลงโทษวงศ์วานของฟิรอาวน์ด้วยความแห้งแล้ง และขาดแคลนผลไม้ต่างๆ เพื่อว่าพวกเขาจะได้สำนึก” (บทอัลอะอฺรอฟ โองการที่ ๑๓๐)

ส่วนมากของมนุษย์ เมื่อประสบกับการทดสอบและการลงโทษจากพระเจ้า จะแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ที่ไม่เหมาะสม และแทนที่จะสำนึกในการลงโทษนั้น เขากับทำเป็นไม่สนใจ อีกทั้งยังเป็นผู้ที่ฝ่าฝืน ดั่งโองการนี้ได้กล่าวว่า

“และโดยแน่แท้เราได้ทดสอบพวกเขาด้วยการลงโทษ แต่พวกเขาก็หาได้นอบน้อมต่อพระเจ้าของพวกเขาไม่ และพวกเขาก็ไม่ยอมถ่อมตน” (บทอัลมุอฺมินูน โองการที่ ๗๖)

   ๔.การไม่รู้คุณค่าในปัจจัยยังชีพของพระเจ้า

    และอีกผลประโยชน์หนึ่งของ การทดสอบของพระเจ้า ,ความทุกข์ทรมาน และความโศกเศร้า ก็คือ ให้มนุษย์รู้ถึง คุณค่าของปัจจัยยังชีพที่พระองค์ทรงประทานลงมา  ดั่งคำกล่าวที่ว่า ไม่เห็นคุณค่าของคน เมื่อไม่เห็นความเศร้าโศก

๓๙๐

อัลกุรอาน ก็เช่นเดียวกัน ได้สั่งให้มนุษย์รู้สำนึกในปัจจัยยังชีพของพระเจ้า ในยามคับขัน

“และจงรำลึกถึงปัจจัยยังชีพของอัลลอฮ์ที่มีแด่พวกเจ้า ในขณะที่พวกเจ้าเป็นศัตรูกัน แล้วพระองค์ได้ทรงให้สนิทสนมกันระหว่างหัวใจของพวกเจ้า แล้วพวกเจ้าก็กลายเป็นพี่น้องกันด้วย ความเมตตาของพระองค์”

(บทอาลิอิมรอน โองการ ๑๐๓)

   ปรัชญาการทดสอบ ในทัศนะของวจนะ

   วจนะของอิสลามได้กล่าวถึง ผลประโยชน์ของความชั่วร้ายว่า มีอยู่มากมาย เช่น

วจนะของท่านอิมาม อะลี ผู้นำแห่งศรัทธาชน (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

“จงรู้ไว้เถิดว่า แท้จริงกิ่งไม้ที่ปลูกในท้องทะเลทรายนั้น มีความแห้งแล้งกว่ากิ่งไม้ที่มีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่สม่ำเสมอ”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ จดหมายที่ ๔๕ )

๓๙๑

และยังมีวจนะอีกมากมายที่กล่าวถึง บางส่วนของความชั่วร้าย คือ บททดสอบของพระเจ้า

ท่านอิมาม อะลี ยังได้กล่าวอีกว่า

“แต่ทว่า อัลลอฮ์ทรงทดสอบบ่าวของพระองค์ โดยการลงโทษอย่างรุนแรง และเชิญชวนให้ทำการเคารพภักดีต่อพระองค์ ด้วยกับความยากลำบาก และการทดสอบต่างๆมากมาย”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ บทเทศนาที่ ๑๙๒ )

และกล่าวอีกว่า

“แท้จริง อัลลอฮ์ทรงทดสอบมวลบ่าวของพระองค์ ในเวลาที่ได้กระทำการกระทำที่ไม่ดี ด้วยกับการไม่ทรงประทานปัจจัยยังชีพให้แด่พวกเขา และได้ปิดกั้นคลังแห่งความดีทั้งหลาย เพื่อที่จะทำให้เขารู้สำนึกและทำการขออภัยโทษจากพระองค์”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ บทเทศนาที่ ๑๔๓ )

และวจนะหนึ่งจากท่านอิมามซอดิก (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

“แท้จริงความเลวร้ายทั้งหลายเหล่านั้น แม้ว่า จะประสบกับคนดีและคนไม่ดีก็ตาม ดังนั้น แท้จริงอัลลอฮ์ทรงทำให้สิ่งเหล่านั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงของทั้งสองพวก คือ ผู้ที่ประกอบคุณงามความดี สิ่งที่เขาได้รับจากการทดสอบ นั้นก็คือ การรู้จักสำนึกในปัจจัยยังชีพของพระผู้อภิบาลของเขา และเขาได้ทำการขอบคุณ อีกทั้งยังให้เขามีความอดทน”

(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๑๓๙ )

๓๙๒

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ความหมายหนึ่งของการมีวิทยปัญญาของพระเจ้า (ฮิกมะฮ์) คือ การมีจุดมุ่งหมายและเป้าหมายในการกระทำของพระองค์ และพระองค์ทรงปราศจากการงานที่ไร้สาระและไม่มีประโยชน์

๒.บรรดานักเทววิทยาสำนักคิดอิมามียะฮ์และมุอฺตะซิละฮฺ เรียกกันว่า อัดลียะฮ์ มีความเชื่อว่า การกระทำของพระเจ้า มีจุดมุ่งหมายและเป้าหมาย ส่วนบรรดานักเทววิทยาสำนักคิดอัชอะรีย์ มีความเชื่อว่า การกระทำของพระองค์ไม่มีจุดมุ่งหมายและเป้าหมาย

๓.ความหมายของการมีจุดมุ่งหมายในการกระทำของพระเจ้า มิได้หมายความว่า การเกิดขึ้นของการกระทำ เพื่อไปสู่ความสมบูรณ์ของพระองค์ แต่ทว่า จุดมุ่งหมายของการกระทำ ย้อนกลับไปหามัคลูก(สิ่งถูกสร้าง)ของพระองค์

กล่าวอีกนัยหนึ่ง จุดมุ่งหมายในการกระทำของพระเจ้า คือ จุดมุ่งหมายของการกระทำ มิใช่จุดมุ่งหมายของผู้กระทำ

๔.การมีวิทยปัญญาของพระเจ้า มีความหมายว่า การกระทำของพระเจ้า มีจุดมุ่งหมายและเป้าหมาย ด้วยกับเหตุผลจากหลักความดีและความชั่วทางสติปัญญา ได้บอกว่า การกระทำที่ไม่มีสาระ เป็นการกระทำที่ไม่ดี และพระเจ้าไม่กระทำการงานที่ไม่ดี ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ ที่การกระทำของพระเจ้า เป็นการกระทำที่ไร้สาระ และไม่มีจุดมุ่งหมาย

๕.สาเหตุที่แท้จริงของสำนักคิดอัชอะรียฺที่มีความขัดแย้งกับการมีจุดหมายในการกระทำของพระเจ้า คือ พวกเขาคิดว่า จุดหมายของการกระทำ มีผลต่อผู้กระทำเท่านั้น

๓๙๓

คำตอบที่ถูกต้อง ก็คือ จุดหมายในการกระทำของพระเจ้า ย้อนกลับไปสู่มัคลูก(สิ่งถูกสร้าง)ของพระองค์  มิใช่ไปสู่ความสมบูรณ์ในอาตมันของพระองค์

๖.มองคร่าวๆ จะเห็นได้ว่า การมีอยู่ของความชั่วร้ายและการทดสอบและการลงโทษจากพระเจ้านั้น มีความขัดแย้งกับการมีจุดหมายในการกระทำและการมีวิทยปัญญาของพระองค์  แต่เมื่อใช้สติปัญญาคิดอย่างรอบคอบ จะเห็นได้ว่า ความรู้ที่มีขอบเขตของมนุษย์ ,ความผาสุกอย่างแท้จริงของเขา ,ผลประโยชน์ของส่วนรวมต้องมาก่อนส่วนตัว และการมีบทบาทของมนุษย์ในการเกิดขึ้นของความชั่วร้าย การมองเพียงผิวเผินนั้นไม่ถูกต้อง

๗.หนึ่งในปรัชญาที่ซ่อนอยู่ในการเกิดขึ้นของ ความชั่วร้าย ก็คือ ความอดทนในปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ส่วนมากของความรู้ที่อยู่ภายใน จะเปิดออกก็ต่อเมื่อ มนุษย์ประสบกับปัญหาทั้งหลาย

๘.จุดประสงค์หนึ่งของการมีความชั่ว คือ การทดสอบจากพระเจ้า ด้วยวิธีการนี้ ทำให้จิตวิญญาณและร่างกายของมนุษย์พัฒนาการไปอีกระดับหนึ่งได้  และจะได้ผลตอบแทนจากพระองค์

๙.ส่วนมากของการมีความชั่ว จะเป็นคติเตือนใจและเป็นการปลุกให้ตื่นจากการหลับไหล เพราะบางครั้งด้วยกับการมีอยู่อย่างมากมายของปัจจัยยังชีพ ทำให้เขาหลงไหลในโลกแห่งวัตถุ และหลงลืมจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของเขา ในสภาพนี้ การทดสอบจากพระเจ้า จะเป็นการเตือนสติให้กับเขา เป็นอย่างดี

๑๐.ส่วนมากของผู้ที่มีความสุขสบาย จะไม่รู้จักในคุณค่าของปัจจัยยังชีพที่พระเจ้าได้ประทานให้กับเขา และในสภาพเช่นนี้ การเกิดความยากลำบาก จะเป็นสิ่งที่ทำให้เขารู้ในคุณค่าของสิ่งเหล่านั้น 

๓๙๔

  บทที่ ๓

   ความยุติธรรมของพระเจ้า (อัดล์ อิลาฮียฺ)

   บทนำเบื้องต้น

    ประเด็นที่สำคัญในหลักศรัทธาและเทววิทยา คือ เรื่องหลักความยุติธรรมของพระเจ้า ซึ่งก็เหมือนกับในเรื่องของความเป็นเอกานุภาพ (เตาฮีด) ที่บ่งบอกว่า เป็นคุณลักษณะหนึ่งของพระเจ้า แต่ด้วยกับการให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในเรื่องนี้ จึงขอกล่าวถึงเรื่องความยุติธรรมของพระเจ้า ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักศรัทธาของศาสนาอิสลาม ที่อยู่ควบคู่กับความเป็นศาสนทูตของบรรดาศาสดาทั้งหลาย(นะบูวะฮ์) และกับเรื่องของวันแห่งการตัดสิน(มะอาด)

ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า การให้ความสำคัญในเรื่องความยุติธรรมของพระเจ้านั้น มีเหตุผลหลายอย่างด้วยกัน ซึ่งจะขอกล่าวเพียง สองสาเหตุ ดังนี้

๑.การยอมรับและการไม่ยอมรับในความยุติธรรมของพระเจ้า เป็นสาเหตุหนึ่งซึ่งมีผลกระทบในการรู้จักพระเจ้า ดังนั้นหลักการนี้ มีความสัมพันธ์กับระบอบของธรรมชาติและการกำหนดกฏเกณฑ์ต่างๆในโลกนี้ ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกทรรศน์ของมนุษย์ นอกเหนือจากนี้ ความยุติธรรมของพระเจ้า ยังเป็นหนึ่งในพื้นฐานที่สำคัญในการพิสูจน์ถึงวันแห่งการตัดสิน(มะอาด)ดังนั้นในเรื่องของความยุติธรรมของพระเจ้า ไม่ใช่ในมุมมองทางทฤษฎีเพียงอย่างเดียว

๓๙๕

 แต่การมีความเชื่อในความยุติธรรมของพระเจ้า มีผลในด้านการปฏิบัติและการอบรมสั่งสอน การไม่ยอมรับในความอยุติธรรมและการกดขี่ข่มเหง

๒.เรื่องของความยุติธรรมของพระเจ้า  เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่า เป็นเรื่องที่มีการถกเถียงในหมู่นักวิชาการ และนักเทววิทยา โดยบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ทั้งหลายได้เน้นย้ำในความยุติธรรมของพระเจ้า จนกระทั่งมีคำกล่าวไว้ว่า “ความเป็นเอกภาพ(เตาฮีด)และความยุติธรรมของพระเจ้า(อัดล์)เป็นความเชื่อของท่านอะลีและผู้ที่ปฏิบัติตามท่านและในทางตรงกันข้ามในผู้ที่ปฏิบัติตามบะนีอุมัยยะฮ์ มีความเชื่อในการตัชบิฮ์(การเชื่อว่าพระเจ้าเหมือนกับมนุษย์)และการเชื่อในการที่มนุษย์ถูกบังคับจากพระเจ้าในการกระทำการใดการหนึ่ง”

บรรดานักเทววิทยาสำนักคิด อิมามียะฮ์และมุอฺตะซิละฮ์ เรียกกันว่า อัดลียะฮ์(ผู้ที่มีความเชื่อในความยุติธรรมของพระเจ้า) และในทางตรงกันข้ามสำนักคิดอัชอะรีย์ ได้ปฏิเสธความยุติธรรมของพระเจ้าในความหมายนี้ และพวกเขากล่าวว่า ความหมายของความยุติธรรม คือ พระเจ้ามีความสามารถที่จะนำผู้ที่ศรัทธาไปสู่ไฟนรก และนำพาผู้ที่ปฏิเสธพระองค์และผู้ที่ตั้งภาคีไปสู่สรวงสวรรค์ได้ นี่คือ ความหมายของการมีความยุติธรรมของพระเจ้า ในทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์

๓๙๖

   ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยปัญญากับความยุติธรรม

    ในบทเรื่องของวิทยปัญญาของพระเจ้า ได้พูดถึงในความหมายหนึ่งของวิทยปํญญา คือ การไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่ชั่วร้าย และจากความหมายนี้ได้ครอบคลุมในความยุติธรรมด้วย ดังนั้นการมีความยุติธรรม เป็นการกระทำที่ดี ส่วนความไม่ยุติธรรม เป็นการกระทำที่ไม่ดีเลย ด้วยเหตุนี้เอง คุณลักษณะของความยุติธรรม จึงถูกนับได้ว่าเป็นหนึ่งในความหมายของคุณลักษณะวิทยปัญญา

   ความยุติธรรมตั้งอยู่บนพื้นฐานของความดีและความชั่วทางสติปัญญา

    หลักความดีและความชั่วทางสติปัญญา เป็นพื้นฐานที่สำคัญของหลักของความยุติธรรม และได้กล่าวไปแล้วว่า หลักความดีและความชั่วทางสติปัญญา เป็นหลักการที่ทำให้มนุษย์มีอิสระทางความคิดที่จะแยกแยะถึงสิ่งที่ดีและไม่ดีและบอกถึง การกระทำใด คือ ความดี และการกระทำใด คือ ความชั่ว และยังบอกได้ว่า แก่นแท้ของการกระทำใดเป็นความดี และการกระทำใดเป็นความชั่ว ดังนั้น ความยุติธรรมจึงเป็นแก่นแท้ของความดี และการกดขี่ข่มเหงเป็นแก่นแท้ของความชั่ว และสติปัญญาของมนุษย์ได้บอกว่า ความยุติธรรมเป็นความดีของผู้กระทำที่ได้กระทำในสิ่งที่ดี และการกดขี่ข่มเหงเป็นความชั่วของผู้กระทำสิ่งที่ไม่ดี ส่วนการมีความยุติธรรมของพระเจ้า หมายถึง ด้วยกับวิทยปัญญาของพระองค์ บอกว่า พระองค์ไม่ทรงกระทำการงานที่ไม่ดี ดังนั้น สติปัญญาได้บอกว่า การกระทำทั้งหมดของพระเจ้า คือ การมีความยุติธรรม

๓๙๗

   ความหมายของความยุติธรรม (อัดล์)

 ณ ที่นี้ จะมาอธิบายกันใน ความหมายของคำว่า อัดล์ มีความหมายว่าอะไร?

และจะเห็นได้ว่า คำว่า อัดล์ มีหลายความหมายด้วยกัน ซึ่งมีดังนี้

๑.คำว่า อัดล์ (ความยุติธรรม) หมายถึง การรักษาความเสมอภาคและความเท่าเทียมกัน กล่าวคือ บางครั้ง ความยุติธรรม ถูกนำมาใช้ในความหมายของ การรักษาความเสมอภาคและความเท่าเทียมในความสัมพันธ์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใด ที่ไม่เกิดความแตกต่างกับบุคคลอื่นและสิ่งอื่นๆ ดังนั้น ความหมายนี้ จะถูกต้องก็คือ ในกรณีที่สิ่งต่างๆจะไม่มีความแตกต่างกันจริงๆ และในกรณีที่มีความแตกต่างกัน การรักษาความเท่าเทียมกัน ถือว่า ไม่ถูกต้อง เช่น คุณครูที่ต้องการรักษาความเสมอภาคและความเท่าเทียมกัน ได้ให้คะแนนสอบของเด็กนักเรียนในชั้นเรียนเท่ากัน ดังนั้น การกระทำนี้ไม่เรียกว่า มีความยุติธรรม เพราะว่า ความเป็นจริง การสอบของเด็กนักเรียนนั้นมีความแตกต่างกัน

๒.การรักษาไว้ซึ่งสิทธิของผู้อื่น บางครั้ง ความยุติธรรม หมายถึง การรักษาสิทธิของผู้อื่นโดยการให้สิทธิกับผู้ที่มีเขาสิทธิ ซึ่งตรงกันข้ามกับการกดขี่ข่มเหง หมายถึง การละเมิดในสิทธิของผู้อื่น

๓.การวางของสิ่งหนึ่งสิ่งใดในที่ๆของมันหรือการกระทำสิ่งใดก็ตามให้อยู่ในที่เหมาะสมของมัน ดังนั้น บางครั้ง ความหมายของ ความยุติธรรม คือ การวางของสิ่งหนึ่งในที่ๆของมัน 

๓๙๘

ความหมายนี้ ดั่งคำกล่าวของ ท่านอิมามอะลี (ขอสันติพึงมีแด่ท่าน) ที่กล่าวไว้ว่า

“ความยุติธรรม หมายถึง การวางของทุกๆสิ่งในที่ๆของสิ่งนั้นๆ” (นะฮ์ญุลบะลาเฆาะ ฮิกมะฮ์ ๔๓๗)

ความหมายของ คำกล่าวนี้ คือ โลกแห่งการสร้างสรรค์และการกำหนดบทบัญญัติของพระเจ้า  ทุกสรรพสิ่ง มีสถานที่ในการมีอยู่ของสิ่งเหล่านั้น  ดังนั้น การมีความยุติธรรม คือ การทำให้สิ่งนั้นๆไปอยู่ในสถานที่ๆเหมาะสมกับสิ่งนั้น  และความหมายนี้ มีความหมายที่กว้างกว่า สองความหมายข้างต้น และความหมายของ การมีความยุติธรรมของพระเจ้า คือ การวางสิ่งหนึ่งในสถานที่เหมาะสมโดยการให้สิทธิกับสิ่งนั้น

   ประเภทของความยุติธรรมของพระเจ้า

   ความยุติธรรมของพระเจ้า ถูกแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ด้วยกัน มีดังนี้

๑.อัดล์ ตักวีนีย์(ความยุติธรรมในการสร้างสรรค์) หมายถึง พระเจ้าทรงประทานปัจจัยยังชีพและสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหลายให้กับสิ่งหนึ่งในที่ๆเหมาะสมและเป็นสิทธิของสิ่งนั้น จะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสูงส่ง ทรงประทานสิ่งอำนวยความสะดวก ให้กับมัคลูก(มนุษย์และสิ่งอื่น)ของพระองค์อย่างเหมาะสมในความเพียรพยายามของสิ่งนั้น

๒.อัดล์ ตัชรีอีย์(ความยุติธรรมในการกำหนดกฏเกณฑ์) หมายถึง พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นผู้กำหนดหน้าที่ต่างๆและกฏเกณฑ์ทั้งหลายให้กับมนุษย์ เพื่อที่จะนำเขาไปสู่ความสมบูรณ์และความผาสุก

๓๙๙

 กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ มนุษย์จะไม่ปฏิบัติในสิ่งที่เขาไม่มีความสามารถ ดังนั้น นี่คือ ความหมายของ ความยุติธรรมในความหมายนี้ ที่ถูกใช้กับพระเจ้า

๓.อัดล์ ญะซาอีย์(ความยุติธรรมในการตอบแทน) หมายถึง พระเจ้าทรงให้รางวัลและลงโทษบ่าวของพระองค์ ที่เหมาะสมกับการกระทำของเขา ในสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดี ดังนั้น พระองค์ทรงให้รางวัลที่ดีกับผู้ที่กระทำความดี และทรงให้การลงโทษกับผู้ที่กระทำความชั่ว และเช่นเดียวกัน พระองค์ไม่ทรงลงโทษในสิ่งที่มนุษย์มิถูกสั่งให้กระทำ นี่คือ ความหมายของ การมีความยุติธรรมในการตอบแทน  และบางส่วนของรางวัลที่มนุษย์ จะได้รับนั้น จะได้รับในโลกนี้ และบางส่วนในโลกหน้า 

ด้วยเหตุนี้ ความหมายนี้ จึงย้อนกลับไปสู่ความหมายแรก นั่นคือ ความยุติธรรมในการสร้างของพระเจ้า

   เหตุผลทางสติปัญญาในการพิสูจน์ความยุติธรรมของพระเจ้า

    ตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่า พื้นฐานทางสติปัญญาของการมีความยุติธรรม คือ หลักความดีและความชั่วทางสติปัญญา และได้อธิบายแล้วถึง ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องระหว่างทั้งสองหลักการ

สรุปได้ว่า เหตุผลทางสติปัญญาในการพิสูจน์การมีความยุติธรรมของพระเจ้า คือ ทัศนะของสติปัญญาได้บอกว่า ความยุติธรรม เป็นการกระทำที่ดี และการกดขี่ข่มเหง เป็นการกระทำที่ไม่ดี และพระเจ้า ด้วยกับวิทยปัญญาของพระองค์ ไม่ทรงกระทำการงานที่สติปัญญาบอกว่า เป็นการกระทำที่ไม่ดี

๔๐๐

กล่าวคือ พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย ดังนั้น พระองค์มิทรงกระทำการกดขี่ และการกระทำของพระองค์ทั้งหมด มีความยุติธรรม

และยังเหตุผลอื่นๆที่ใช้พิสูจน์การมีความยุติธรรมของพระเจ้า ซึ่งเหตุผลทั้งหมดที่ใช้นั้น ถ้าหากว่า ไม่มีหลักการความดีและความชั่ว ถือว่า เหตุผลนั้น ไม่สมบูรณ์ เช่น

สมมุติว่า ถ้าพระเจ้ากระทำการกดขี่ คาดว่า มี  สาม ปัจจัย คือ

๑.การกระทำนี้ เกิดขึ้นจาก ความโง่เขลา

๒.การกระทำนี้ เกิดขึ้นจาก ความต้องการ

๓.การกระทำนี้ เกิดขึ้นจาก วิทยปัญญา

การคาดคะเนทั้งสอง ถือว่า ไม่ถูกต้อง เพราะพระองค์ทรงเป็น วาญิบุลวุญูด(สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่) และพระองค์ทรงมีความรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยเหตุนี้ ความโง่เขลา จะไม่เกิดขึ้นและความต้องการก็ไม่มีในพระองค์ด้วย และการคาดคะเนที่สาม ก็ถือว่า ไม่ถูกต้อง เช่นกัน เพราะการมีวิทยปัญญา หมายถึง การละทิ้งการกระทำที่ไม่ดีและน่ารังเกียจ ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่พระเจ้าจะกระทำการกดขี่

ด้วยเหตุนี้ การคาดคะเนทั้งหมดที่เกิดขึ้น ถือว่า ไม่ถูกต้อง ฉะนั้น การกระทำทั้งหมดของพระเจ้า เป็นการกระทำที่มีความยุติธรรม

   ความยุติธรรมของพระเจ้าในอัล กุรอาน

    ในอัล กุรอาน มืได้ใช้คำว่า อัดล์(ความยุติธรรม) และคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน  แต่ได้อธิบายถึง การไม่มีความกดขี่ของพระเจ้าแทน ตัวอย่างเช่น

๔๐๑

“แท้จริงอัลลอฮ์นั้นจะไม่ทรงอธรรมแก่มนุษย์แต่อย่างใด แต่ว่ามนุษย์ต่างหากที่อธรรมต่อตัวของพวกเขาเอง”

 (บทยูนุส โองการที่ ๔๔)

 “และพระผู้เป็นเจ้าของเจ้ามิทรงอธรรมต่อผู้ใดเลย” (บทอัลกะฮ์ฟ โองการที่ ๔๙)

 “และอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงประสงค์ซึ่งการอธรรมใด ๆ แก่ประชาชาติทั้งหลาย”

(บทอาลิอิมรอน โองการที่ ๑๐๘)

ความหมายของ คำว่า อาละมีน หมายถึง โลกทั้งหลาย มีทั้ง โลกของมนุษย์ ,ญิน และโลกของมวลเทวทูต และยังหมายถึง โลกทั้งหมดหรือสากลจักรวาล จะอย่างไรก็ตาม โองการนี้กล่าวถึง การมีความยุติธรรมของพระเจ้า ที่มีความหมายกว้างกว่า ซึ่งรวมถึง โลกทั้งหลาย

และบางโองการกล่าวถึง การมีความยุติธรรมในการสร้างสรรค์ของพระเจ้า

“ อัลลอฮ์ทรงยืนยันว่า แท้จริงไม่มีผู้ที่ควรได้รับการเคารพสักการะใด ๆ นอกจากพระองค์เท่านั้น และมลาอิกะฮ์ และผู้มีความรู้ในฐานะดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมนั้น” (บทอาลิอิมรอน โองการที่ ๑๘)

และบางโองการกล่าวถึง การมีความยุติธรรมในการกำหนดกฏเกณฑ์ของพระเจ้า

“และเรามิได้บังคับผู้ใด เว้นแต่ความสามารถของเขา และ ณ ที่เรานั้นมีบันทึก ที่บันทึกแต่ความจริง โดยที่พวกเขาจะไม่ถูกอยุติธรรม” (บทอัลมุมินูน โองการที่ ๖๒)

๔๐๒

 “ จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า พระเจ้าของฉันได้ทรงสั่งให้มีความยุติธรรม

 (บทอัลอะอฺรอฟ โองการ ๒๙ )

เช่นเดียวกัน ในบางโองการได้ยืนยันถึง ความยุติธรรมในการตอบแทนของพระเจ้า

และเราตั้งตราชูที่เที่ยงธรรมสำหรับวันกิยามะฮ์ ดังนั้นจะไม่มีชีวิตใดถูกอธรรมแต่อย่างใดเลย”

(บทอันอัมบิยาอฺ โองการที่ ๔๗)

 “และเรามิเคยลงโทษผู้ใด จนกว่าเราจะแต่งตั้งร่อซู้ลมา” (บทอัลอิสรออฺ โองการที่ ๑๕)

ใช่ว่าอัลลอฮ์นั้นจะอธรรมแก่พวกเขาก็หาไม่ แต่ทว่าพวกเขาอธรรมแก่ตัวของพวกเขาเองต่างหาก”

(บทอัตเตาบะฮ์ โองการ ๗๐ และบทอัรรูม โองการ ๙)

โองการนี้อธิบายเกี่ยวกับ พระองค์ทรงลงโทษกลุ่มชนที่ฉ้อฉล ดังนั้น การลงโทษของพระองค์ มิใช่ว่า พระองค์ไม่มีความยุติธรรม แต่คือ ผลตอบแทนที่พวกเขาจะได้รับจากการกระทำของพวกเขา ด้วยเหตุนี้ พวกเขาได้กดขี่ตัวของพวกเขา และแน่นอนที่สุด พระองค์มิทรงกดขี่ผู้ใด นอกเหนือจากโองการจากอัล กุรอาน ยังมีวจนะของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์

ท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวว่า

ด้วยกับความยุติธรรม ชั้นฟ้าและแผ่นดินจึงมีอยู่ได้”

(ตัฟซีรศอฟีย์ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๖๒๘)

๔๐๓

ท่านอิมามอะลี ได้ตอบคำถามชายคนหนึ่งในความหมายของ เตาฮีดและความยุติธรรม ว่า

“เตาฮีด คือ การไม่คิดว่า พระองค์เหมือนกับสิ่งสร้างของพระองค์ และความยุติธรรม คือ การไม่กล่าวในสิ่งที่พระองค์ไม่ทรงมี”

“พระเจ้าทรงบริสุทธิ์กว่าที่จะกล่าวว่า พระองค์ทรงอธรรมกับมวลบ่าวของพระองค์ และแท้จริง พระองค์ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๑๘๕)

   ข้อสงสัยในความยุติธรรมของพระเจ้า

    ในประเด็นวิทยปัญญาของพระเจ้า กลุ่มหนึ่งมีความเชื่อว่า การมีอยู่ของความยากลำบากทั้งหลาย  ,ความเจ็บปวด และการทดสอบจากภัยธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ชั่วร้ายสำหรับมนุษย์  สิ่งเหล่านี้ไม่เข้ากันกับการมีวิทยปัญญาของพระองค์ และดังที่ๆได้อธิบายไปแล้วถึง การมีอยู่ของวิทยปัญญาที่มนุษย์เข้าไปไม่ถึง  และความเชื่อเช่นนี้ ถือว่าไม่ถูกต้อง

ณ ที่นี้ จะมาตอบข้อสงสัยทั้งหลายที่เกี่ยวกับประเด็นความยุติธรรมของพระเจ้า

ก่อนที่จะตอบคำถาม ก็จะกล่าวว่า บางทีข้อสงสัยเหล่านี้ เกี่ยวกับประเด็นของวิทยปัญญาของพระเจ้า ด้วยเหมือนกัน แต่คำตอบของข้อสงสัยดังกล่าวอยู่ในประเด็นนี้

๔๐๔

   ความยุติธรรมของพระเจ้ากับความแตกต่างที่มีอยู่ในสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย

    ในบางครั้งอาจจะคิดว่า ความแตกต่างที่มีอยู่ในสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย จะเข้ากับความยุติธรรมของพระเจ้าได้อย่างไร  เช่น ความแตกต่างในการสร้างของพระองค์ กล่าวกันว่า เพราะเหตุใดพระเจ้าสร้าง สิ่งหนึ่งเป็นมนุษย์ และสิ่งหนึ่งเป็นสัตว์ และอีกสิ่งหนึ่งเป็น พรรณพืช  และเพราะเหตุใด สัตว์ทั้งหลายและพรรณพืช จึงไม่ถูกสร้างให้เหมือนกับมนุษย์ และบางครั้ง ความแตกต่างมีอยู่ในตัวของมนุษย์เอง เช่น เพราะเหตุใด บางคนจึงตาบอด และอีกคนตาไม่บอด แต่กับมองเห็นได้เป็นอย่างดี และทำไมบางคนมีรูปร่างที่งดงาม และบางคนมีรูปร่างที่น่ารังเกียจ และด้วยเหตุใด บางคนมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด และบางคนไม่มีเช่นนั้น และมีคำถามในทำนองเดียวกันนี้ อีกมากมาย

คำตอบ ด้วยกับหลักการดังต่อไปนี้                    

๑.ระบบของโลกแห่งธรรมชาติ เป็นระบบที่เฉพาะ มีกฏเกณฑ์ที่มั่นคงและไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น  หนึ่งในกฏเกณฑ์ทั้งหลาย คือ กฏของเหตุและผล ด้วยกับหลักการนี้ ทุกสิ่งที่มีอยู่ต้องมีเหตุและผลในการเกิดขึ้นของสิ่งนั้น

๒.ระบบและกฏเกณฑ์ของโลกนี้ เป็นระบบที่คงที่ และไม่มีการเปลี่ยนแปลง หมายความว่า  ไม่สามารถจะกล่าวว่ามีโลกอยู่ แต่ระบบและกฏเกณฑ์นั้นมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำนองเดียวกัน จะไม่มีน้ำตาลใดที่ไม่มีความหวาน และน้ำใดที่ไม่มีความเปียกชื้น

๔๐๕

๓.สิ่งจำเป็นของการมีระบบและกฏเกณฑ์ดังกล่าว คือ การมีความแตกต่างและความหลากหลายในสรรพสิ่งที่มีอยู่ เช่น กฏของเหตุและผล บ่งบอกถึง ผลของเหตุของสิ่งทั้งหลายนั้น มีความสมบูรณ์น้อยกว่า เหตุของสิ่งนั้น และเช่นเดียวกัน การมีความสามัคคีกันระหว่างเหตุและผล ดังนั้น เมื่อมีเหตุในการเกิดขึ้นของทารกที่ตาบอด จึงทำให้ทารกนั้นเกิดขึ้นมา มีตาที่บอด

สรุปได้ว่า การมีความแตกต่างในสรรพสิ่งที่มีอยู่เป็นสิ่งจำเป็นของระบบและกฏเกณฑ์ของโลกนี้ ซึ่งไม่มีการแยกออกจากกันได้

ด้วยเหตุนี้ เป็นที่กระจ่างชัดแล้วว่า การใช้คำว่า การแบ่งแยกในความแตกต่างในสิ่งทั้งหลายนั้น ไม่ถือว่า ถูกต้อง เพราะการแบ่งแยกมีอยู่ในที่ๆ มีสองสิ่ง ที่มีผลประโยชน์เหมือนกัน แต่อีกสิ่งหนึ่งมีความสามารถเหนือกว่า

ดังนั้น ความแตกต่างที่มีอยู่ในสรรพสิ่งทั้งหลาย จึงไม่ขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระเจ้า เพราะพระองค์ไม่ทรงมีการกดขี่และการแบ่งแยก และพระองค์มิกระทำการงานที่ไม่ดีและไร้สาระ

   ความตายกับการสูญสลาย

    อีกข้อสงสัยหนึ่งที่เกี่ยวกับความยุติธรรมของพระเจ้า คือ เรื่องของความตาย บางคนคิดว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังความตาย เป็นการสูญสลายและการทำลาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระเจ้า

คำตอบ ประการแรก ความตายเป็นองค์ประกอบหนึ่งของโลกแห่งธรรมชาติ ที่มีความสำคัญในการดำเนินชีวิต และสิ่งที่อยู่ในโลกแห่งธรรมชาตินั้น ไม่มีความเป็นถาวร

๔๐๖

ประการที่สอง ข้อสงสัยนี้ บ่งบอกถึง ความตาย คือ การสูญสลาย แต่ความเป็นจริง มิได้เป็นเช่นนั้น ความตายคือ การเคลื่อนย้ายจากโลกนี้ไปสู่อีกโลกหนึ่ง ซึ่งความหมายนี้มิได้มีความขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระเจ้าแต่อย่างใด

  ความสัมพันธ์ของบาปกับการถูกลงโทษในวันแห่งการตัดสิน

    ได้อธิบายไปแล้วถึง ทั้งสองข้อสงสัย  ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ความยุติธรรมในการสร้างสรรค์ของพระเจ้า  แต่เรื่องการลงโทษในวันแห่งการตัดสิน เกี่ยวกับความยุติธรรมในการตอบแทนของพระองค์

พื้นฐานของข้อสงสัยนี้  คือ สติปัญญาเป็นตัวกำหนดถึง ความสัมพันธ์ของความบาปกับการถูกลงโทษ ดังนั้น สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนกฏจราจร ไม่สมควรที่จะถูกลงโทษเหมือนผู้ที่ทำความผิดร้ายแรง

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ในกฏหมายอิสลามได้กำหนดว่าการลงโทษในความบาปทั้งหลายนั้น มีความรุนแรงมากทีเดียว เช่น  อัล กุรอานกล่าวว่า ผู้ที่ฆ่าผู้อื่นตายโดยเจตนา เขาจะถูกลงโทษโดยการให้อยู่ในนรกตลอดกาล ด้วยเหตุนี้ การถูกลงโทษในวันแห่งการตัดสิน ไม่มีความเหมาะสมกับบ่าวและบาปที่เขากระทำ ซึ่งเหล่านี้ มีความขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระเจ้า

คำตอบ ก็คือ มีความแตกต่างกันระหว่างการลงโทษที่มนุษย์เป็นผู้กำหนดขึ้นมากับการลงโทษของพระเจ้าในวันแห่งการตัดสิน เพราะว่า การลงโทษของมนุษย์ เป็นกฏหมายที่ถูกกำหนด ด้วยเหตุนี้ ในระบอบสิทธิมนุษยชน บางที การลงโทษมีมากมายในความผิดเดียว

๔๐๗

 และเช่นเดียวกัน เป้าหมายของการลงโทษในโลกนี้ เพื่อเป็นข้อเตือนใจในความผิดของตนเองและเป็นอุทาหรณ์ให้แก่ครอบครัวและชนรุ่นหลังด้วย  แต่การลงโทษของพระเจ้า มิใช่การกำหนดดังกล่าว แต่เป็นผลของการกระทำที่มนุษย์ได้กระทำในโลกนี้  เช่น การดื่มยาพิษ ผลของมัน คือ การหลีกเลี่ยงจากการกระทำนั้น มิใช่ว่า การดิ่มยาพิษ มีโทษถึงตาย

บางโองการจากอัล กุรอาน กล่าวถึง ความสัมพันธ์ของการถูกลงโทษกับความบาปทั้งหลาย

และพวกเขาได้พบสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ปรากฏอยู่ต่อหน้าและพระผู้เป็นเจ้าของเจ้ามิทรงอธรรมต่อผู้ใดเลย”

(บทอัลกะฮ์ฟ โองการที่ ๔๙ )

“วันที่แต่ละชีวิตจะพบความดีที่ตนได้ประกอบไว้ถูกนำมาอยู่ต่อหน้า และความชั่วที่ตนได้ประกอบไว้ด้วย แต่ละชีวิตนั้นชอบ หากว่าระหว่างตนกับความชั่วนั้นจะมีระยะทางที่ห่างไกล และอัลลอฮ์ทรงเตือนพวกเจ้าให้ยำเกรงพระองค์ และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีต่อปวงบ่าวทั้งหลาย” (บทอาลิอิมรอน โองการที่ ๓๐ )

ด้วยเหตุนี้ ความสัมพันธ์ของการลงโทษในวันแห่งการตัดสินกับการกระทำของมนุษย์ มืได ้เหมือนกับการลงโทษที่มนุษย์กำหนดขึ้นมาเอง เพื่อที่จะกล่าวว่า การลงโทษของพระเจ้านั้น มีความขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระเจ้า แต่การลงโทษของพระเจ้า คือ ผลตอบแทนในการกระทำที่ไม่ดีของมนุษย์

๔๐๘

   ความยุติธรรมของพระเจ้ากับความเจ็บปวดและความยากลำบากของมนุษย์

   การมีความเจ็บปวดและความยากลำบากทั้งหลาย ความป่วยไข้ การทดสอบจากภัยธรรมชาติและภัยทางสังคม เป็นอีกข้อสงสัยหนึ่งในความยุติธรรมของพระเจ้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่เข้ากันกับความยุติธรรมของพระเจ้า

สำหรับคำตอบ ก็คือ นอกเหนือจากที่ได้ตอบไปแล้วนั้น สามารถกล่าวได้ว่า ความเจ็บปวดและความยากลำบาก เกิดขึ้นจาก สองสภาพต่อไปนี้

๑.บางส่วนของความเจ็บปวด เกิดจากการกระทำของมนุษย์และผลของการกระทำบาปของเขา ซึ่งมนุษย์เป็นสิ่งถูกสร้างที่มีเจตนารมณ์เสรีในการกระทำ และบางคนเลือกที่จะปฏิบัติความชั่ว ด้วยเหตุนี้ เขาจึงได้รับการตอบแทนในการกระทำของเขา

ดังนั้น ผลของความเจ็บปวดและความยากลำบาก เกิดขึ้นมาจากการกระทำของมนุษย์เอง ซึ่งก็มิได้มีความขัดแย้งกันกับความยุติธรรมของพระเจ้า

อัล กุรอานได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ในหลายโองการ โดยกล่าวว่า ส่วนมากความยากลำบาก เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์เอง

๔๐๙

๒.บางส่วนของความข่มขืนไม่มีความเกี่ยวข้องกับการกระทำของมนุษย์และไม่มีการลงโทษในวันแห่งการตัดสินด้วย เช่น ความเจ็บปวดของเด็กที่มิได้กระทำบาปใดเลย เขาจะไม่ถูกลงโทษจากพระเจ้า  ในเรื่องนี้ บรรดานักเทววิทยาอิสลามอิมามียะฮ์ เชื่อว่า ความยุติธรรมของพระเจ้า บ่งบอกถึง การทดแทนพวกเขาทั้งหลายด้วยความเจ็บปวดนี้ หมายความว่า พระองค์ทรงประทานรางวัลที่ดีงามให้กับเขา ไม่ว่าในโลกนี้หรือโลกหน้า เพื่อเป็นการทดแทนความเจ็บปวดที่เขาทุกข์ทรมาน  ด้วยเหตุนี้ การมีความเจ็บปวดและความยากลำบาก มิใช่สิ่งที่ขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระเจ้า

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

ความยุติธรรมอัดล์     :justice

ความยุติธรรมในการสร้างสรรค์อัดล์ ตักวีนีย์

ความยุติธรรมในการกำหนดบทบัญญัติอัดล์ตัชรีอีย์

ความยุติธรรมในการตอบแทนผลรางวัลและลงโทษอัดล์ ญะซาอีย์

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ประเด็นความยุติธรรมของพระเจ้า เป็นหนึ่งในรากฐานของหลักศรัทธาอิสลาม และเป็นหนึ่งในหลักศรัทธาทั้งห้าของศาสนาหรือสำนักคิด ความเชื่อในความยุติธรรมของพระเจ้า นอกจากมีผลในโลกทรรศน์และการรู้จักพระเจ้า ยังมีผลในการอบรมสั่งสอน สำหรับมนุษย์และสังคมด้วย

๒.บรรดานักเทววิทยาอิสลามอิมามียะฮ์และมุอฺตะซิละฮ์ ที่รู้จักกันใน อัดลียะฮ์ มีความเชื่อในความยุติธรรมของพระเจ้า ในทางตรงกันข้าม สำนักคิดอัขอะรีย์ ไม่เชื่อในความยุติธรรมของพระเจ้า

๔๑๐

๓.รากฐานหนึ่งของความเชื่อในความยุติธรรมของพระเจ้า คือการยอมรับในหลักความดีและความชั่วทางสติปัญญา เพราะว่า ด้วยหลักการนี้ ความยุติธรรม คือ การกระทำที่ดี ความกดขี่ คือ การกระทำที่ไม่ดีและพระเจ้ามิกระทำการกระทำที่ไม่ดี และเหตุผลของฝ่ายที่ปฏิเสธความยุติธรรมของพระองค์ ถือว่า เหตุผลดังกล่าวไม่สมบูรณ์และไม่ถูกต้อง

๔.ความยุติธรรมมีหลายความหมาย ดังนี้

(๑) การรักษาความเท่าเทียมกันและความเสมอภาค

(๒)การรักษาไว้ซึ่งสิทธิของผู้อื่นและการออกห่างจากการแบ่งแยก

และความหมายที่ถูกต้องและสมบูรณ์คือ การวางสิ่งหนึ่งในที่ๆของมัน ในสถานที่เหมาะสมกับมัน พื้นฐานของนิยามนี้ คือ ในโลกแห่งการสร้างสรรค์และกำหนดบทบัญญัติของพระเจ้า มีทุกสิ่งที่ต้องอยุ่ในที่ๆของสิ่งนั้น และความยุติธรรมก็คือ การักษาสิ่งนั้นให้อยู่ในที่ๆของสิ่งนั้น

๕.ความยุติธรรมของพระเจ้ามี สามประเภท ดังนี้

(๑) ความยุติธรรมในการสร้างสรรค์

(๒) ความยุติธรรมในการกำหนดบทบัญญัติ

(๓) ความยุติธรรมในการตอบแทนผลรางวัลและการลงโทษ

ความยุติธรรมในการสร้างสรรค์ หมายถึง พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานปัจจัยยังชีพและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมให้กับสิ่งถูกสร้างทั้งหลายของพระองค์

๖.ความหมายของความยุติธรรมในการกำหนดบทบัญญัติ มี สอง ความหมาย ดังนี้

(๑) พระเจ้าทรงกำหนดบทบัญญัติและกฏต่างๆเพื่อทำให้มนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์และความผาสุก

(๒) และพระองค์มิได้รับสั่งให้มนุษย์ปฏิบัติในสิ่งที่เขาไม่มีความสามารถ

๔๑๑

๗.ความยุติธรรมในการตอบแทนผลรางวัลและการลงโทษ หมายถึง พระผู้เป็นเจ้าทรงให้รางวัลที่เหมาะสมกับการกระทำของมวลบ่าวของพระองค์ ผู้ที่กระทำความดี จะได้รับรางวัลที่ดี และผู้ที่กระทำความชั่ว จะถูกลงโทษในความผิดของเขา

๘.เหตุผลของบรรดานักเทววิทยาอิสลามที่ใช้ในการพิสูจน์ความยุติธรรมของพระเจ้า มีความเกี่ยวข้องกับหลักความดีและความชั่วทางสติปัญญา

๙.โองการทั้งหลายของอัล กุรอานได้อธิบายถึง ความยุติธรรมของพระเจ้า และวจนะทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน

๑๐.บางกลุ่มชนมีความคิดว่า การมีความแตกต่างในสิ่งที่มีอยู่ทั้งหลาย มีความขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระเจ้า  สำหรับคำตอบก็คือ ความแตกต่างเป็นองค์ประกอบหนึ่งของโลกแห่งธรรมชาติ ที่ไม่มีวันแยกออกจากกันได้ และเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีความแตกต่างในโลกใบนี้

๑๑.ความตายของมนุษย์ มิได้หมายถึง การไม่มีและการสูญสลาย แต่มีความหมายว่า คือ การเคลื่อนย้ายจากโลกนี้ไปสู่อีกโลกหนึ่ง ซึ่งมิได้มีความขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระเจ้า

๑๒.การลงโทษในวันแห่งการตัดสิน คือ ผลของการกระทำของมนุษย์ และมิใช่การลงโทษที่เหมือนกับการลงโทษของมนุษย์ที่เขากำหนดกฏและระเบียบขึ้นมาเอง และไม่มีความเหมาะสมกับความผิดของผู้ที่ฝ่าฝืนสักเท่าไร

๑๓.ความยุติธรรมของพระเจ้า บ่งบอกว่า ความเจ็บปวดและความยากลำบากที่ผู้มิได้กระทำความผิดต้องทนทุกข์ทรมาน เขาจะได้รับการทดแทนจากพระองค์

๔๑๒

บทที่ ๔

   การกำหนดกฏสภาวะและจุดหมายปลายทางของมนุษย์ (กอฎออฺและกอดัร)

 บทนำเบื้องต้น

  เรื่องการกำหนดกฏสภาวะและจุดหมายปลายทาง (กอฎออฺและกอดัร) เป็นประเด็นที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในเทววิทยาอิสลาม และที่รู้จักกันในประเด็นนี้ ก็คือ เรื่องของชะตาชีวิตหรือชะตากรรม ซึ่งมีความสัมพันธ์กับมนุษย์และการดำเนินชีวิตของเขาโดยตรง และมิใช่ประเด็นทีเกี่ยวกับการใช้สติปัญญาของบรรดานักปรัชญาและนักเทววิทยาอิสลามเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ เรื่องของชะตากรรม จึงเป็นเรื่องที่ความสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ และในสังคมของมนุษย์ จนกระทั่ง บรรดานักกวีและนักประพันธ์ได้เรียบเรียงเรื่องราวที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้มากมาย และในทัศนะของนักปราชญ์และผู้ที่มีศรัทธาต่อพระเจ้า มีความเห็นว่า ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความประสงค์ของพระองค์  ส่วนความเห็นของผู้ที่ไม่เชื่อในพระเจ้า กล่าวว่า ชะตากรรม เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากเหตุผลของวัตถุและธรรมชาติ

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นได้ว่า เรื่องของกอฎออฺและกอดัร จึงเป็นหลักศรัทธาหนึ่งของอิสลาม และได้มีหนังสือและตำรามากมายที่เขียนเกี่ยวกับประเด็นนี้ และก็ไม่มีความแตกต่างอันใดเหลืออยู่ และจะขออธิบายถึงหลักการนี้ในมุมมองของสำนักคิดทั้งหลายในอิสลาม เป็นลำดับต่อไป

๔๑๓

    ความหมายของ กอฎออฺ และ กอดัร

   กอดัร ในทางภาษาหมายถึง ขนาด และจำนวนของสิ่งหนึ่ง ส่วนกอฏออ์ มีหลายความหมาย คือ การตัดสิน และภาวะที่แน่นอนตายตัว  ทั้งสองคำ มีคำที่มีความคล้ายคลึงกัน ถูกกล่าวในโองการและวจนะทั้งหลาย และจากนี้ไปจะอธิบายบางส่วนต่อไป

   ประเภทของกอฎออฺ และกอดัร

   เพื่อการเข้าใจให้กระจ่างชัดในประเด็นนี้ สามารถแบ่งประเภทของกอฎออฺและกอดัร ได้ สอง ประเภท ด้วยกัน

๑.กอฎออฺและกอดัร อิลมีย์ (การกำหนดสภาวะในความรู้)

๒.กอฎออฺและกอดัร อัยนีย์ (การกำหนดสภาวะในความเป็นจริง)

เช่นเดียวกันการแบ่งประเภทของกอฎออฺและกอดัรอีกประเภท คือ ถูกแบ่งออกเป็น สอง ประเภท ดังนี้

กอฎออฺและกอดัรโดยเฉพาะ และกอฎออฺและกอดัรโดยทั่วไป

และจะเริ่มต้นด้วยกับประเภทแรก นั่นคือ กอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ (การกำหนดสภาวะทางความรู้) หลังจากนั้น จะอธิบายประเภทอื่น เป็นลำดับต่อไป

๔๑๔

   กอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ (การกำหนดกฏสภาวะในความรู้)

   ความหมายของกอดัรอิลมีย์ คือ พระผู้เป็นเจ้าทรงมีความรู้ในลักษณะ ,ขนาด และขอบเขตของสิ่งหนึ่งก่อนการสร้างของสิ่งนั้น ลักษณะของสิ่งที่มิใช่วัตถุ คือ ลักษณะที่มีอยู่ในตัวของสิ่งนั้น และลักษณะของสิ่งที่เป็นวัตถุ คือ นอกเหนือจากมีลักษณะที่เฉพาะตัวแล้ว ยังมีลักษณะความต้องการ เวลา ,สถานที่ ,มิติต่างๆ และขนาดและอื่นๆ ดังนั้น พระเจ้าทรงมีความรู้มาแต่ดั้งเดิมว่า สิ่งถูกสร้างทั้งหลายของพระองค์ มีลักษณะเป็นเช่นไร

ส่วนกอฎออฺอิลมีย์ หมายถึง พระผู้เป็นเจ้าทรงรู้ว่ามีความจำเป็นที่สิ่งหนึ่งต้องมีอยู่และเกิดขึ้น เมื่อมีปัจจัยและองค์ประกอบสมบูรณ์ หมายความว่า พระเจ้าทรงรู้มาแต่ดั้งเดิมว่า ทุกสิ่งที่มีอยู่จะเกิดขึ้นในสภาพใดและมีองค์ประกอบอะไรบ้างที่ทำให้สิ่งนั้นมีอยู่ ดังนั้น จะกล่าวได้ว่า ความรู้ที่มีมาดั้งเดิมของพระองค์ ในสิ่งที่มีอยู่ คือ กอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ นั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ กอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ จึงย้อนกลับไปหายัง ความรู้ของพระเจ้า และเป็นหนึ่งในสาขาของคุณลักษณะนี้ ด้วยกับหลักการนี้ สามารถกล่าวได้ว่า พระเจ้าทรงมีความรู้ในทุกสิ่งที่มีอยู่ และรู้ว่าสิ่งนั้นมีลักษณะเป็นเช่นไรและเกิดขึ้นในสภาพใด สิ่งเหล่านี้ ที่เรียกกันว่า ชะตากรรม

๔๑๕

กอฎออฺและกอดัร อัยนีย์ (การกำหนดสภาวะในความเป็นจริง)

   ความหมายของกอดัรอัยนีย์ คือ การกำหนดลักษณะและคุณลักษณะที่มีอยู่ในตัวของสิ่งหนึ่ง จากพระผู้เป็นเจ้า 

ส่วนความหมายของกอฎออฺอัยนีย์ คือ พระเจ้าทรงให้ความจำเป็นกับสิ่งที่มีอยู่และทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ทุกสิ่งที่มีอยู่ มี สอง สภาพ ดังนี้

สภาพแรก คือ การมีอยู่ของสิ่งหนึ่ง บนพื้นฐานของหลักเหตุและผล 

สภาพที่สอง คือ การมีลักษณะที่เฉพาะของสิ่งนั้น

ดังนั้น ทั้งสองสภาพ คือ ความหมายของกอฏออฺและกอดัรอัยนีย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ความประสงค์ของพระเจ้า

การสังเกตุในความหมายของกอฎออฺและกอดัรอัยนีย์ มีหลายประเด็นที่ควรรู้ ดังนี้

๑.ความแตกต่างของกอฎออฺและกอดัรอัยนีย์กับกอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ก็คือ กอฎออฺและกอดัรอัยนีย์ มิได้มีมาก่อนสิ่งที่มีอยู่ แต่ได้เกิดขึ้นมาพร้อมกับสิ่งเหล่านั้น

๒.กอฎออฺและกอดัรอัยนีย์ เป็นลักษณะหนึ่งในการสร้างของพระเจ้า และสามารถกล่าวว่า กอฎออฺและกอดัรนั้น ย้อนกลับไปหา คุณลักษณะการเป็นผู้สร้างของพระองค์

๔๑๖

๓.การกำหนดของแต่ละสิ่ง มีระดับขั้นการมีอยู่ที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ การกำหนดของสิ่งที่มิได้เป็นวัตถุ คือ การกำหนดที่มีอยู่เฉพาะตัวของสิ่งนั้น แต่การกำหนดของสิ่งที่เป็นวัตถุ คือ การกำหนดในสภาวะการมีอยู่ในเวลา ,สถานที่ และคุณลักษณะอื่นๆ เช่น ความสวยงาม ,ความสมบูรณ์ และฯลฯ

   ชะตากรรมและการเลือกสรรของมนุษย์

   หนึ่งในประเด็นที่สำคัญที่เกี่ยวกับกอฎออฺและกอดัร คือ ประเด็นที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกสรรและการเป็นอิสระในการกระทำของมนุษย์ ซึ่งจากความหมายของกอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ บ่งบอกว่า พระเจ้าทรงมีความรู้มาก่อนที่การกระทำทั้งหลายของมนุษย์จะเกิดขึ้น และพระองค์ทรงทราบดีว่า มีลักษณะเป็นเช่นไร และเช่นเดียวกัน กอฎออฺและกอดัรอัยนีย์ ก็บ่งบอกถึง ความประสงค์ของพระองค์ว่า แน่นอน ย่อมมีบทบาทต่อการเกิดขึ้นของการกระทำของมนุษย์  ด้วยสาเหตุนี้ บางคนก็คิดว่า กอฎออฺและกอดัรนั้นไม่เข้ากันกับการเลือกสรรของมนุษย์ และแทนที่มนุษย์จะเป็นผู้ที่แสดงบทบาท กลายเป็นผู้ชมการแสดงที่ถูกกำหนดไว้ ซึ่งเขาไม่มีอิสระในการกระทำ ดังนั้น กอฎออฺและกอดัร จึงเป็นความเชื่อของกลุ่มหนึ่งที่เชื่อว่า ทุกการกระทำของมนุษย์ เป็นการบังคับจากพระเจ้า ในขณะที่อัล กุรอานได้เน้นย้ำในการเลือกสรรของมนุษย์ และได้ตอบข้อสงสัยของพวกผู้ตั้งภาคีที่มีความเชื่อในการบังคับ และบางทีเรียกกลุ่มหนึ่งในอิสลามว่า กอดะรียะฮ์ โดยที่พวกเขากล่าวว่า ความเชื่อในกอฎออฺและกอดัรของพระเจ้า มีความขัดแย้งกับการเลือกสรรของมนุษย์

๔๑๗

คำตอบ ที่สรุปได้ก็คือ กอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ของพระเจ้าที่มีต่อการกระทำของมนุษย์นั้น มิได้เป็นสภาพที่ไร้ขอบเขต แต่เป็นกอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ต่อการกระทำที่มีคุณสมบัติครบสมบูรณ์และพร้อมที่จะเกิดขึ้น และหนึ่งในคุณสมบัติก็คือ การเลือกสรร และความประสงค์ของมนุษย์ที่มีผลทำให้การกระทำนั้นเกิดขึ้น ดังนั้น พระเจ้าทรงมีความรู้มาแต่ดั้งเดิมว่า มนุษย์ได้กระทำการกระทำของตนเองด้วยการเลือกสรรของเขาเอง  และในสภาพเช่นนี้ กอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ของพระองค์ ก็มิได้มีความขัดแย้งกับการเลือกสรรของมนุษย์เลย แต่ทว่า เป็นการเน้นย้ำอีกครั้ง และด้วยเหตุนี้ ความรู้ของพระเจ้า จึงครอบคลุมในการเกิดขึ้นการกระทำ(ผล)ของผู้กระทำ (เหตุ) ที่มีคุณสมบัติครบสมบูรณ์ และถ้าหากว่า ผู้กระทำที่ไม่มีอิสระในการกระทำ เช่น ไฟที่ทำให้ความร้อนเกิดขึ้นมานั้น ความรู้ของพระเจ้าจึงมีต่อการเกิดขึ้นในการกระทำที่ไม่มีการเลือกสรร หมายความว่า พระองค์ทรงมีความรู้มาแต่ดั้งเดิมว่า การกระทำที่ไม่มีอิสระการเลือกสรร เช่น ไฟนั้น จะทำให้เกิดความร้อนในเวลาและสถานที่ได้เฉพาะ แต่ถ้าหากว่า ผู้กระทำมีการเลือกสรร เช่น การกระทำของมนุษย์ และสิ่งที่กำหนดจาก พระเจ้า คือ การเกิดขึ้นของการกระทำที่มนุษย์เป็นผู้กระทำด้วยกับการเลือกสรรของเขา

สำหรับในเรื่องของกอฎออฺและกอดัรอัยนีย์ ก็มีคำตอบเช่นเดียวกัน ดังนั้น การเกิดขึ้นของกอฎออฺและกอดัรอัยนีย์ มิได้มีสภาพโดยตรงจากพระเจ้า แต่เป็นการเกิดขึ้นของการกระทำที่มีเหตุและผลในระบบหลักด้วยเหตุและผล และความประสงค์ของมนุษย์ เป็นหนึ่งในพื้นฐานของการกระทำที่มีความเป็นอิสระในตัวเอง

๔๑๘

 กอฎออฺและกอดัรก็มีผลต่อการเกิดขึ้นของการกระทำนั้น ด้วยเหตุนี้ การกำหนดจากพระเจ้าและการเกิดขึ้นของการกระทำที่มีอิสระ มิได้มีความขัดแย้งกับการเป็นอิสระและการเลือกสรรของมนุษย์เลย

   กอฎออฺและกอดัรโดยทั่วไป

    สิ่งที่กล่าวไปแล้ว คือ กอฎออฺและกอดัรของพระเจ้า ที่มีต่อการเกิดขึ้นของการกระทำที่เฉพาะ และกอฎออฺและกอดัรอัยนี ยังมีความหมายกว้าง ซึ่งรวมถึงกฏเกณฑ์และหลักการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสังคม ด้วยเหตุนี้ พระผู้เป็นเจ้าทรงมีความรู้มาแต่ดั้งเดิม ในกฏเกณฑ์ต่างๆที่มีอยู่ในสังคมของมนุษย์  เช่น กฏที่ว่าด้วยหลักของเหตุและผล เป็นกฏทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับกอฎออฺและกอดัรของพระองค์

   กอฎออฺและกอดัรของพระเจ้า ในอัล กุรอาน และวจนะ

   ดั่งที่ได้กล่าวไปแล้วว่า มีโองการทั้งหลายและวจนะมากมายกล่าวถึง กอฎออฺและกอดัรของพระเจ้า  เช่น

วจนะจากท่านอิมาม ริฎอ (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

“เกาะดัร หมายถึง การกำหนดขนาดของสิ่งหนึ่งโดยพิจารณาจากการคงอยู่ และสูญสลาย ส่วนกอฏออ์ หมายถึงการเกิดที่แน่นอนของสิ่งหนึ่ง”

(อุศูล อัลกาฟีย์ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๕๘)

 “กอดัร หมายถึง การกำหนดขนาดจากด้านยาว,กว้าง และการคงอยู่ของสิ่งหนึ่ง

๔๑๙

หลังจากนั้นกล่าวอีกว่า

“แท้จริงอัลลอฮฺทรงมีความต้องการที่จะให้สิ่งหนึ่งเกิดขึ้น พระองค์ก็ทรงประสงค์ เมื่อพระองค์ทรงประสงค์ พระองค์ก็ทรงกำหนด เมื่อพระองค์ทรงกำหนด พระองค์ก็ทำให้สื่งนั้นเกิดขึ้น เมื่อทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น พระองค์ก็อนุมัติ”

(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๑๒๒ )

อัล กุรอานกล่าวว่า

และมิเคยปรากฏแก่ชีวิตใดที่จะตายนอกจากด้วยอนุมัติของอัลลอฮ์เท่านั้น ทั้งนี้เป็นลิขิตที่ถูกกำหนดไว้”

(บทอาลิอิมรอน โองการที่ ๑๔๕)

“และอัลลอฮ์ทรงบังเกิดพวกเจ้ามาจากฝุ่นดิน แล้วก็มาจากเชื้ออสุจิ แล้วทรงทำให้พวกเจ้าเป็นคู่สามีภริยา และจะไม่มีหญิงใดตั้งครรภ์และนางจะไม่คลอด เว้นแต่ด้วยความรอบรู้ของพระองค์ และไม่มีผู้สูงอายุคนใดจะถูกยืดอายุออกไป และอายุของเขาก็จะไม่ถูกตัดทอน เว้นแต่อยู่ในบันทึก (ของพระองค์) แท้จริง นั่นเป็นการง่ายดายสำหรับอัลลอฮ์” (บทอัลฟาฏิร โองการที่ ๑๑ )

 “ไม่มีเคราะห์กรรมอันใดเกิดขึ้นในแผ่นดินนี้ และไม่มีแม้แต่ในตัวของพวกเจ้าเอง เว้นแต่ได้มีไว้ในบันทึกก่อนที่เราจะบังเกิดมันขึ้นมา แท้จริงนั่นมันเป็นการง่ายสำหรับอัลลอฮ์”

(บทอัลหะดีด โองการที่ ๒๒)

 “ดังนั้นพระองค์ทรงสร้างมันสำเร็จเป็นชั้นฟ้าทั้งเจ็ดในระยะเวลา ๒ วัน และทรงกำหนดในทุกชั้นฟ้าหน้าที่ของมัน”

(บทอัลฟุศศิลัต โองการที่ ๑๒ )

๔๒๐

421

422

423

424

425

426

427

428

429

430

431

432

433

434

435

436

437

438

439

440

441

442

443

444

445

446

447

448

449

450