บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม0%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน: ดร.มุฮัมมัด ซะอีดีย์ เมฮร์
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 450
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 294838
ดาวน์โหลด: 3073

รายละเอียด:

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 294838 / ดาวน์โหลด: 3073
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

กล่าวคือ พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย ดังนั้น พระองค์มิทรงกระทำการกดขี่ และการกระทำของพระองค์ทั้งหมด มีความยุติธรรม

และยังเหตุผลอื่นๆที่ใช้พิสูจน์การมีความยุติธรรมของพระเจ้า ซึ่งเหตุผลทั้งหมดที่ใช้นั้น ถ้าหากว่า ไม่มีหลักการความดีและความชั่ว ถือว่า เหตุผลนั้น ไม่สมบูรณ์ เช่น

สมมุติว่า ถ้าพระเจ้ากระทำการกดขี่ คาดว่า มี  สาม ปัจจัย คือ

๑.การกระทำนี้ เกิดขึ้นจาก ความโง่เขลา

๒.การกระทำนี้ เกิดขึ้นจาก ความต้องการ

๓.การกระทำนี้ เกิดขึ้นจาก วิทยปัญญา

การคาดคะเนทั้งสอง ถือว่า ไม่ถูกต้อง เพราะพระองค์ทรงเป็น วาญิบุลวุญูด(สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่) และพระองค์ทรงมีความรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยเหตุนี้ ความโง่เขลา จะไม่เกิดขึ้นและความต้องการก็ไม่มีในพระองค์ด้วย และการคาดคะเนที่สาม ก็ถือว่า ไม่ถูกต้อง เช่นกัน เพราะการมีวิทยปัญญา หมายถึง การละทิ้งการกระทำที่ไม่ดีและน่ารังเกียจ ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่พระเจ้าจะกระทำการกดขี่

ด้วยเหตุนี้ การคาดคะเนทั้งหมดที่เกิดขึ้น ถือว่า ไม่ถูกต้อง ฉะนั้น การกระทำทั้งหมดของพระเจ้า เป็นการกระทำที่มีความยุติธรรม

   ความยุติธรรมของพระเจ้าในอัล กุรอาน

    ในอัล กุรอาน มืได้ใช้คำว่า อัดล์(ความยุติธรรม) และคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน  แต่ได้อธิบายถึง การไม่มีความกดขี่ของพระเจ้าแทน ตัวอย่างเช่น

๔๐๑

“แท้จริงอัลลอฮ์นั้นจะไม่ทรงอธรรมแก่มนุษย์แต่อย่างใด แต่ว่ามนุษย์ต่างหากที่อธรรมต่อตัวของพวกเขาเอง”

 (บทยูนุส โองการที่ ๔๔)

 “และพระผู้เป็นเจ้าของเจ้ามิทรงอธรรมต่อผู้ใดเลย” (บทอัลกะฮ์ฟ โองการที่ ๔๙)

 “และอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงประสงค์ซึ่งการอธรรมใด ๆ แก่ประชาชาติทั้งหลาย”

(บทอาลิอิมรอน โองการที่ ๑๐๘)

ความหมายของ คำว่า อาละมีน หมายถึง โลกทั้งหลาย มีทั้ง โลกของมนุษย์ ,ญิน และโลกของมวลเทวทูต และยังหมายถึง โลกทั้งหมดหรือสากลจักรวาล จะอย่างไรก็ตาม โองการนี้กล่าวถึง การมีความยุติธรรมของพระเจ้า ที่มีความหมายกว้างกว่า ซึ่งรวมถึง โลกทั้งหลาย

และบางโองการกล่าวถึง การมีความยุติธรรมในการสร้างสรรค์ของพระเจ้า

“ อัลลอฮ์ทรงยืนยันว่า แท้จริงไม่มีผู้ที่ควรได้รับการเคารพสักการะใด ๆ นอกจากพระองค์เท่านั้น และมลาอิกะฮ์ และผู้มีความรู้ในฐานะดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมนั้น” (บทอาลิอิมรอน โองการที่ ๑๘)

และบางโองการกล่าวถึง การมีความยุติธรรมในการกำหนดกฏเกณฑ์ของพระเจ้า

“และเรามิได้บังคับผู้ใด เว้นแต่ความสามารถของเขา และ ณ ที่เรานั้นมีบันทึก ที่บันทึกแต่ความจริง โดยที่พวกเขาจะไม่ถูกอยุติธรรม” (บทอัลมุมินูน โองการที่ ๖๒)

๔๐๒

 “ จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า พระเจ้าของฉันได้ทรงสั่งให้มีความยุติธรรม

 (บทอัลอะอฺรอฟ โองการ ๒๙ )

เช่นเดียวกัน ในบางโองการได้ยืนยันถึง ความยุติธรรมในการตอบแทนของพระเจ้า

และเราตั้งตราชูที่เที่ยงธรรมสำหรับวันกิยามะฮ์ ดังนั้นจะไม่มีชีวิตใดถูกอธรรมแต่อย่างใดเลย”

(บทอันอัมบิยาอฺ โองการที่ ๔๗)

 “และเรามิเคยลงโทษผู้ใด จนกว่าเราจะแต่งตั้งร่อซู้ลมา” (บทอัลอิสรออฺ โองการที่ ๑๕)

ใช่ว่าอัลลอฮ์นั้นจะอธรรมแก่พวกเขาก็หาไม่ แต่ทว่าพวกเขาอธรรมแก่ตัวของพวกเขาเองต่างหาก”

(บทอัตเตาบะฮ์ โองการ ๗๐ และบทอัรรูม โองการ ๙)

โองการนี้อธิบายเกี่ยวกับ พระองค์ทรงลงโทษกลุ่มชนที่ฉ้อฉล ดังนั้น การลงโทษของพระองค์ มิใช่ว่า พระองค์ไม่มีความยุติธรรม แต่คือ ผลตอบแทนที่พวกเขาจะได้รับจากการกระทำของพวกเขา ด้วยเหตุนี้ พวกเขาได้กดขี่ตัวของพวกเขา และแน่นอนที่สุด พระองค์มิทรงกดขี่ผู้ใด นอกเหนือจากโองการจากอัล กุรอาน ยังมีวจนะของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์

ท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวว่า

ด้วยกับความยุติธรรม ชั้นฟ้าและแผ่นดินจึงมีอยู่ได้”

(ตัฟซีรศอฟีย์ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๖๒๘)

๔๐๓

ท่านอิมามอะลี ได้ตอบคำถามชายคนหนึ่งในความหมายของ เตาฮีดและความยุติธรรม ว่า

“เตาฮีด คือ การไม่คิดว่า พระองค์เหมือนกับสิ่งสร้างของพระองค์ และความยุติธรรม คือ การไม่กล่าวในสิ่งที่พระองค์ไม่ทรงมี”

“พระเจ้าทรงบริสุทธิ์กว่าที่จะกล่าวว่า พระองค์ทรงอธรรมกับมวลบ่าวของพระองค์ และแท้จริง พระองค์ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๑๘๕)

   ข้อสงสัยในความยุติธรรมของพระเจ้า

    ในประเด็นวิทยปัญญาของพระเจ้า กลุ่มหนึ่งมีความเชื่อว่า การมีอยู่ของความยากลำบากทั้งหลาย  ,ความเจ็บปวด และการทดสอบจากภัยธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ชั่วร้ายสำหรับมนุษย์  สิ่งเหล่านี้ไม่เข้ากันกับการมีวิทยปัญญาของพระองค์ และดังที่ๆได้อธิบายไปแล้วถึง การมีอยู่ของวิทยปัญญาที่มนุษย์เข้าไปไม่ถึง  และความเชื่อเช่นนี้ ถือว่าไม่ถูกต้อง

ณ ที่นี้ จะมาตอบข้อสงสัยทั้งหลายที่เกี่ยวกับประเด็นความยุติธรรมของพระเจ้า

ก่อนที่จะตอบคำถาม ก็จะกล่าวว่า บางทีข้อสงสัยเหล่านี้ เกี่ยวกับประเด็นของวิทยปัญญาของพระเจ้า ด้วยเหมือนกัน แต่คำตอบของข้อสงสัยดังกล่าวอยู่ในประเด็นนี้

๔๐๔

   ความยุติธรรมของพระเจ้ากับความแตกต่างที่มีอยู่ในสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย

    ในบางครั้งอาจจะคิดว่า ความแตกต่างที่มีอยู่ในสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย จะเข้ากับความยุติธรรมของพระเจ้าได้อย่างไร  เช่น ความแตกต่างในการสร้างของพระองค์ กล่าวกันว่า เพราะเหตุใดพระเจ้าสร้าง สิ่งหนึ่งเป็นมนุษย์ และสิ่งหนึ่งเป็นสัตว์ และอีกสิ่งหนึ่งเป็น พรรณพืช  และเพราะเหตุใด สัตว์ทั้งหลายและพรรณพืช จึงไม่ถูกสร้างให้เหมือนกับมนุษย์ และบางครั้ง ความแตกต่างมีอยู่ในตัวของมนุษย์เอง เช่น เพราะเหตุใด บางคนจึงตาบอด และอีกคนตาไม่บอด แต่กับมองเห็นได้เป็นอย่างดี และทำไมบางคนมีรูปร่างที่งดงาม และบางคนมีรูปร่างที่น่ารังเกียจ และด้วยเหตุใด บางคนมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด และบางคนไม่มีเช่นนั้น และมีคำถามในทำนองเดียวกันนี้ อีกมากมาย

คำตอบ ด้วยกับหลักการดังต่อไปนี้                    

๑.ระบบของโลกแห่งธรรมชาติ เป็นระบบที่เฉพาะ มีกฏเกณฑ์ที่มั่นคงและไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น  หนึ่งในกฏเกณฑ์ทั้งหลาย คือ กฏของเหตุและผล ด้วยกับหลักการนี้ ทุกสิ่งที่มีอยู่ต้องมีเหตุและผลในการเกิดขึ้นของสิ่งนั้น

๒.ระบบและกฏเกณฑ์ของโลกนี้ เป็นระบบที่คงที่ และไม่มีการเปลี่ยนแปลง หมายความว่า  ไม่สามารถจะกล่าวว่ามีโลกอยู่ แต่ระบบและกฏเกณฑ์นั้นมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำนองเดียวกัน จะไม่มีน้ำตาลใดที่ไม่มีความหวาน และน้ำใดที่ไม่มีความเปียกชื้น

๔๐๕

๓.สิ่งจำเป็นของการมีระบบและกฏเกณฑ์ดังกล่าว คือ การมีความแตกต่างและความหลากหลายในสรรพสิ่งที่มีอยู่ เช่น กฏของเหตุและผล บ่งบอกถึง ผลของเหตุของสิ่งทั้งหลายนั้น มีความสมบูรณ์น้อยกว่า เหตุของสิ่งนั้น และเช่นเดียวกัน การมีความสามัคคีกันระหว่างเหตุและผล ดังนั้น เมื่อมีเหตุในการเกิดขึ้นของทารกที่ตาบอด จึงทำให้ทารกนั้นเกิดขึ้นมา มีตาที่บอด

สรุปได้ว่า การมีความแตกต่างในสรรพสิ่งที่มีอยู่เป็นสิ่งจำเป็นของระบบและกฏเกณฑ์ของโลกนี้ ซึ่งไม่มีการแยกออกจากกันได้

ด้วยเหตุนี้ เป็นที่กระจ่างชัดแล้วว่า การใช้คำว่า การแบ่งแยกในความแตกต่างในสิ่งทั้งหลายนั้น ไม่ถือว่า ถูกต้อง เพราะการแบ่งแยกมีอยู่ในที่ๆ มีสองสิ่ง ที่มีผลประโยชน์เหมือนกัน แต่อีกสิ่งหนึ่งมีความสามารถเหนือกว่า

ดังนั้น ความแตกต่างที่มีอยู่ในสรรพสิ่งทั้งหลาย จึงไม่ขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระเจ้า เพราะพระองค์ไม่ทรงมีการกดขี่และการแบ่งแยก และพระองค์มิกระทำการงานที่ไม่ดีและไร้สาระ

   ความตายกับการสูญสลาย

    อีกข้อสงสัยหนึ่งที่เกี่ยวกับความยุติธรรมของพระเจ้า คือ เรื่องของความตาย บางคนคิดว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังความตาย เป็นการสูญสลายและการทำลาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระเจ้า

คำตอบ ประการแรก ความตายเป็นองค์ประกอบหนึ่งของโลกแห่งธรรมชาติ ที่มีความสำคัญในการดำเนินชีวิต และสิ่งที่อยู่ในโลกแห่งธรรมชาตินั้น ไม่มีความเป็นถาวร

๔๐๖

ประการที่สอง ข้อสงสัยนี้ บ่งบอกถึง ความตาย คือ การสูญสลาย แต่ความเป็นจริง มิได้เป็นเช่นนั้น ความตายคือ การเคลื่อนย้ายจากโลกนี้ไปสู่อีกโลกหนึ่ง ซึ่งความหมายนี้มิได้มีความขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระเจ้าแต่อย่างใด

  ความสัมพันธ์ของบาปกับการถูกลงโทษในวันแห่งการตัดสิน

    ได้อธิบายไปแล้วถึง ทั้งสองข้อสงสัย  ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ความยุติธรรมในการสร้างสรรค์ของพระเจ้า  แต่เรื่องการลงโทษในวันแห่งการตัดสิน เกี่ยวกับความยุติธรรมในการตอบแทนของพระองค์

พื้นฐานของข้อสงสัยนี้  คือ สติปัญญาเป็นตัวกำหนดถึง ความสัมพันธ์ของความบาปกับการถูกลงโทษ ดังนั้น สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนกฏจราจร ไม่สมควรที่จะถูกลงโทษเหมือนผู้ที่ทำความผิดร้ายแรง

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ในกฏหมายอิสลามได้กำหนดว่าการลงโทษในความบาปทั้งหลายนั้น มีความรุนแรงมากทีเดียว เช่น  อัล กุรอานกล่าวว่า ผู้ที่ฆ่าผู้อื่นตายโดยเจตนา เขาจะถูกลงโทษโดยการให้อยู่ในนรกตลอดกาล ด้วยเหตุนี้ การถูกลงโทษในวันแห่งการตัดสิน ไม่มีความเหมาะสมกับบ่าวและบาปที่เขากระทำ ซึ่งเหล่านี้ มีความขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระเจ้า

คำตอบ ก็คือ มีความแตกต่างกันระหว่างการลงโทษที่มนุษย์เป็นผู้กำหนดขึ้นมากับการลงโทษของพระเจ้าในวันแห่งการตัดสิน เพราะว่า การลงโทษของมนุษย์ เป็นกฏหมายที่ถูกกำหนด ด้วยเหตุนี้ ในระบอบสิทธิมนุษยชน บางที การลงโทษมีมากมายในความผิดเดียว

๔๐๗

 และเช่นเดียวกัน เป้าหมายของการลงโทษในโลกนี้ เพื่อเป็นข้อเตือนใจในความผิดของตนเองและเป็นอุทาหรณ์ให้แก่ครอบครัวและชนรุ่นหลังด้วย  แต่การลงโทษของพระเจ้า มิใช่การกำหนดดังกล่าว แต่เป็นผลของการกระทำที่มนุษย์ได้กระทำในโลกนี้  เช่น การดื่มยาพิษ ผลของมัน คือ การหลีกเลี่ยงจากการกระทำนั้น มิใช่ว่า การดิ่มยาพิษ มีโทษถึงตาย

บางโองการจากอัล กุรอาน กล่าวถึง ความสัมพันธ์ของการถูกลงโทษกับความบาปทั้งหลาย

และพวกเขาได้พบสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ปรากฏอยู่ต่อหน้าและพระผู้เป็นเจ้าของเจ้ามิทรงอธรรมต่อผู้ใดเลย”

(บทอัลกะฮ์ฟ โองการที่ ๔๙ )

“วันที่แต่ละชีวิตจะพบความดีที่ตนได้ประกอบไว้ถูกนำมาอยู่ต่อหน้า และความชั่วที่ตนได้ประกอบไว้ด้วย แต่ละชีวิตนั้นชอบ หากว่าระหว่างตนกับความชั่วนั้นจะมีระยะทางที่ห่างไกล และอัลลอฮ์ทรงเตือนพวกเจ้าให้ยำเกรงพระองค์ และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีต่อปวงบ่าวทั้งหลาย” (บทอาลิอิมรอน โองการที่ ๓๐ )

ด้วยเหตุนี้ ความสัมพันธ์ของการลงโทษในวันแห่งการตัดสินกับการกระทำของมนุษย์ มืได ้เหมือนกับการลงโทษที่มนุษย์กำหนดขึ้นมาเอง เพื่อที่จะกล่าวว่า การลงโทษของพระเจ้านั้น มีความขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระเจ้า แต่การลงโทษของพระเจ้า คือ ผลตอบแทนในการกระทำที่ไม่ดีของมนุษย์

๔๐๘

   ความยุติธรรมของพระเจ้ากับความเจ็บปวดและความยากลำบากของมนุษย์

   การมีความเจ็บปวดและความยากลำบากทั้งหลาย ความป่วยไข้ การทดสอบจากภัยธรรมชาติและภัยทางสังคม เป็นอีกข้อสงสัยหนึ่งในความยุติธรรมของพระเจ้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่เข้ากันกับความยุติธรรมของพระเจ้า

สำหรับคำตอบ ก็คือ นอกเหนือจากที่ได้ตอบไปแล้วนั้น สามารถกล่าวได้ว่า ความเจ็บปวดและความยากลำบาก เกิดขึ้นจาก สองสภาพต่อไปนี้

๑.บางส่วนของความเจ็บปวด เกิดจากการกระทำของมนุษย์และผลของการกระทำบาปของเขา ซึ่งมนุษย์เป็นสิ่งถูกสร้างที่มีเจตนารมณ์เสรีในการกระทำ และบางคนเลือกที่จะปฏิบัติความชั่ว ด้วยเหตุนี้ เขาจึงได้รับการตอบแทนในการกระทำของเขา

ดังนั้น ผลของความเจ็บปวดและความยากลำบาก เกิดขึ้นมาจากการกระทำของมนุษย์เอง ซึ่งก็มิได้มีความขัดแย้งกันกับความยุติธรรมของพระเจ้า

อัล กุรอานได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ในหลายโองการ โดยกล่าวว่า ส่วนมากความยากลำบาก เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์เอง

๔๐๙

๒.บางส่วนของความข่มขืนไม่มีความเกี่ยวข้องกับการกระทำของมนุษย์และไม่มีการลงโทษในวันแห่งการตัดสินด้วย เช่น ความเจ็บปวดของเด็กที่มิได้กระทำบาปใดเลย เขาจะไม่ถูกลงโทษจากพระเจ้า  ในเรื่องนี้ บรรดานักเทววิทยาอิสลามอิมามียะฮ์ เชื่อว่า ความยุติธรรมของพระเจ้า บ่งบอกถึง การทดแทนพวกเขาทั้งหลายด้วยความเจ็บปวดนี้ หมายความว่า พระองค์ทรงประทานรางวัลที่ดีงามให้กับเขา ไม่ว่าในโลกนี้หรือโลกหน้า เพื่อเป็นการทดแทนความเจ็บปวดที่เขาทุกข์ทรมาน  ด้วยเหตุนี้ การมีความเจ็บปวดและความยากลำบาก มิใช่สิ่งที่ขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระเจ้า

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

ความยุติธรรมอัดล์     :justice

ความยุติธรรมในการสร้างสรรค์อัดล์ ตักวีนีย์

ความยุติธรรมในการกำหนดบทบัญญัติอัดล์ตัชรีอีย์

ความยุติธรรมในการตอบแทนผลรางวัลและลงโทษอัดล์ ญะซาอีย์

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ประเด็นความยุติธรรมของพระเจ้า เป็นหนึ่งในรากฐานของหลักศรัทธาอิสลาม และเป็นหนึ่งในหลักศรัทธาทั้งห้าของศาสนาหรือสำนักคิด ความเชื่อในความยุติธรรมของพระเจ้า นอกจากมีผลในโลกทรรศน์และการรู้จักพระเจ้า ยังมีผลในการอบรมสั่งสอน สำหรับมนุษย์และสังคมด้วย

๒.บรรดานักเทววิทยาอิสลามอิมามียะฮ์และมุอฺตะซิละฮ์ ที่รู้จักกันใน อัดลียะฮ์ มีความเชื่อในความยุติธรรมของพระเจ้า ในทางตรงกันข้าม สำนักคิดอัขอะรีย์ ไม่เชื่อในความยุติธรรมของพระเจ้า

๔๑๐

๓.รากฐานหนึ่งของความเชื่อในความยุติธรรมของพระเจ้า คือการยอมรับในหลักความดีและความชั่วทางสติปัญญา เพราะว่า ด้วยหลักการนี้ ความยุติธรรม คือ การกระทำที่ดี ความกดขี่ คือ การกระทำที่ไม่ดีและพระเจ้ามิกระทำการกระทำที่ไม่ดี และเหตุผลของฝ่ายที่ปฏิเสธความยุติธรรมของพระองค์ ถือว่า เหตุผลดังกล่าวไม่สมบูรณ์และไม่ถูกต้อง

๔.ความยุติธรรมมีหลายความหมาย ดังนี้

(๑) การรักษาความเท่าเทียมกันและความเสมอภาค

(๒)การรักษาไว้ซึ่งสิทธิของผู้อื่นและการออกห่างจากการแบ่งแยก

และความหมายที่ถูกต้องและสมบูรณ์คือ การวางสิ่งหนึ่งในที่ๆของมัน ในสถานที่เหมาะสมกับมัน พื้นฐานของนิยามนี้ คือ ในโลกแห่งการสร้างสรรค์และกำหนดบทบัญญัติของพระเจ้า มีทุกสิ่งที่ต้องอยุ่ในที่ๆของสิ่งนั้น และความยุติธรรมก็คือ การักษาสิ่งนั้นให้อยู่ในที่ๆของสิ่งนั้น

๕.ความยุติธรรมของพระเจ้ามี สามประเภท ดังนี้

(๑) ความยุติธรรมในการสร้างสรรค์

(๒) ความยุติธรรมในการกำหนดบทบัญญัติ

(๓) ความยุติธรรมในการตอบแทนผลรางวัลและการลงโทษ

ความยุติธรรมในการสร้างสรรค์ หมายถึง พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานปัจจัยยังชีพและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมให้กับสิ่งถูกสร้างทั้งหลายของพระองค์

๖.ความหมายของความยุติธรรมในการกำหนดบทบัญญัติ มี สอง ความหมาย ดังนี้

(๑) พระเจ้าทรงกำหนดบทบัญญัติและกฏต่างๆเพื่อทำให้มนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์และความผาสุก

(๒) และพระองค์มิได้รับสั่งให้มนุษย์ปฏิบัติในสิ่งที่เขาไม่มีความสามารถ

๔๑๑

๗.ความยุติธรรมในการตอบแทนผลรางวัลและการลงโทษ หมายถึง พระผู้เป็นเจ้าทรงให้รางวัลที่เหมาะสมกับการกระทำของมวลบ่าวของพระองค์ ผู้ที่กระทำความดี จะได้รับรางวัลที่ดี และผู้ที่กระทำความชั่ว จะถูกลงโทษในความผิดของเขา

๘.เหตุผลของบรรดานักเทววิทยาอิสลามที่ใช้ในการพิสูจน์ความยุติธรรมของพระเจ้า มีความเกี่ยวข้องกับหลักความดีและความชั่วทางสติปัญญา

๙.โองการทั้งหลายของอัล กุรอานได้อธิบายถึง ความยุติธรรมของพระเจ้า และวจนะทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน

๑๐.บางกลุ่มชนมีความคิดว่า การมีความแตกต่างในสิ่งที่มีอยู่ทั้งหลาย มีความขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระเจ้า  สำหรับคำตอบก็คือ ความแตกต่างเป็นองค์ประกอบหนึ่งของโลกแห่งธรรมชาติ ที่ไม่มีวันแยกออกจากกันได้ และเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีความแตกต่างในโลกใบนี้

๑๑.ความตายของมนุษย์ มิได้หมายถึง การไม่มีและการสูญสลาย แต่มีความหมายว่า คือ การเคลื่อนย้ายจากโลกนี้ไปสู่อีกโลกหนึ่ง ซึ่งมิได้มีความขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระเจ้า

๑๒.การลงโทษในวันแห่งการตัดสิน คือ ผลของการกระทำของมนุษย์ และมิใช่การลงโทษที่เหมือนกับการลงโทษของมนุษย์ที่เขากำหนดกฏและระเบียบขึ้นมาเอง และไม่มีความเหมาะสมกับความผิดของผู้ที่ฝ่าฝืนสักเท่าไร

๑๓.ความยุติธรรมของพระเจ้า บ่งบอกว่า ความเจ็บปวดและความยากลำบากที่ผู้มิได้กระทำความผิดต้องทนทุกข์ทรมาน เขาจะได้รับการทดแทนจากพระองค์

๔๑๒

บทที่ ๔

   การกำหนดกฏสภาวะและจุดหมายปลายทางของมนุษย์ (กอฎออฺและกอดัร)

 บทนำเบื้องต้น

  เรื่องการกำหนดกฏสภาวะและจุดหมายปลายทาง (กอฎออฺและกอดัร) เป็นประเด็นที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในเทววิทยาอิสลาม และที่รู้จักกันในประเด็นนี้ ก็คือ เรื่องของชะตาชีวิตหรือชะตากรรม ซึ่งมีความสัมพันธ์กับมนุษย์และการดำเนินชีวิตของเขาโดยตรง และมิใช่ประเด็นทีเกี่ยวกับการใช้สติปัญญาของบรรดานักปรัชญาและนักเทววิทยาอิสลามเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ เรื่องของชะตากรรม จึงเป็นเรื่องที่ความสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ และในสังคมของมนุษย์ จนกระทั่ง บรรดานักกวีและนักประพันธ์ได้เรียบเรียงเรื่องราวที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้มากมาย และในทัศนะของนักปราชญ์และผู้ที่มีศรัทธาต่อพระเจ้า มีความเห็นว่า ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความประสงค์ของพระองค์  ส่วนความเห็นของผู้ที่ไม่เชื่อในพระเจ้า กล่าวว่า ชะตากรรม เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากเหตุผลของวัตถุและธรรมชาติ

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นได้ว่า เรื่องของกอฎออฺและกอดัร จึงเป็นหลักศรัทธาหนึ่งของอิสลาม และได้มีหนังสือและตำรามากมายที่เขียนเกี่ยวกับประเด็นนี้ และก็ไม่มีความแตกต่างอันใดเหลืออยู่ และจะขออธิบายถึงหลักการนี้ในมุมมองของสำนักคิดทั้งหลายในอิสลาม เป็นลำดับต่อไป

๔๑๓

    ความหมายของ กอฎออฺ และ กอดัร

   กอดัร ในทางภาษาหมายถึง ขนาด และจำนวนของสิ่งหนึ่ง ส่วนกอฏออ์ มีหลายความหมาย คือ การตัดสิน และภาวะที่แน่นอนตายตัว  ทั้งสองคำ มีคำที่มีความคล้ายคลึงกัน ถูกกล่าวในโองการและวจนะทั้งหลาย และจากนี้ไปจะอธิบายบางส่วนต่อไป

   ประเภทของกอฎออฺ และกอดัร

   เพื่อการเข้าใจให้กระจ่างชัดในประเด็นนี้ สามารถแบ่งประเภทของกอฎออฺและกอดัร ได้ สอง ประเภท ด้วยกัน

๑.กอฎออฺและกอดัร อิลมีย์ (การกำหนดสภาวะในความรู้)

๒.กอฎออฺและกอดัร อัยนีย์ (การกำหนดสภาวะในความเป็นจริง)

เช่นเดียวกันการแบ่งประเภทของกอฎออฺและกอดัรอีกประเภท คือ ถูกแบ่งออกเป็น สอง ประเภท ดังนี้

กอฎออฺและกอดัรโดยเฉพาะ และกอฎออฺและกอดัรโดยทั่วไป

และจะเริ่มต้นด้วยกับประเภทแรก นั่นคือ กอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ (การกำหนดสภาวะทางความรู้) หลังจากนั้น จะอธิบายประเภทอื่น เป็นลำดับต่อไป

๔๑๔

   กอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ (การกำหนดกฏสภาวะในความรู้)

   ความหมายของกอดัรอิลมีย์ คือ พระผู้เป็นเจ้าทรงมีความรู้ในลักษณะ ,ขนาด และขอบเขตของสิ่งหนึ่งก่อนการสร้างของสิ่งนั้น ลักษณะของสิ่งที่มิใช่วัตถุ คือ ลักษณะที่มีอยู่ในตัวของสิ่งนั้น และลักษณะของสิ่งที่เป็นวัตถุ คือ นอกเหนือจากมีลักษณะที่เฉพาะตัวแล้ว ยังมีลักษณะความต้องการ เวลา ,สถานที่ ,มิติต่างๆ และขนาดและอื่นๆ ดังนั้น พระเจ้าทรงมีความรู้มาแต่ดั้งเดิมว่า สิ่งถูกสร้างทั้งหลายของพระองค์ มีลักษณะเป็นเช่นไร

ส่วนกอฎออฺอิลมีย์ หมายถึง พระผู้เป็นเจ้าทรงรู้ว่ามีความจำเป็นที่สิ่งหนึ่งต้องมีอยู่และเกิดขึ้น เมื่อมีปัจจัยและองค์ประกอบสมบูรณ์ หมายความว่า พระเจ้าทรงรู้มาแต่ดั้งเดิมว่า ทุกสิ่งที่มีอยู่จะเกิดขึ้นในสภาพใดและมีองค์ประกอบอะไรบ้างที่ทำให้สิ่งนั้นมีอยู่ ดังนั้น จะกล่าวได้ว่า ความรู้ที่มีมาดั้งเดิมของพระองค์ ในสิ่งที่มีอยู่ คือ กอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ นั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ กอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ จึงย้อนกลับไปหายัง ความรู้ของพระเจ้า และเป็นหนึ่งในสาขาของคุณลักษณะนี้ ด้วยกับหลักการนี้ สามารถกล่าวได้ว่า พระเจ้าทรงมีความรู้ในทุกสิ่งที่มีอยู่ และรู้ว่าสิ่งนั้นมีลักษณะเป็นเช่นไรและเกิดขึ้นในสภาพใด สิ่งเหล่านี้ ที่เรียกกันว่า ชะตากรรม

๔๑๕

กอฎออฺและกอดัร อัยนีย์ (การกำหนดสภาวะในความเป็นจริง)

   ความหมายของกอดัรอัยนีย์ คือ การกำหนดลักษณะและคุณลักษณะที่มีอยู่ในตัวของสิ่งหนึ่ง จากพระผู้เป็นเจ้า 

ส่วนความหมายของกอฎออฺอัยนีย์ คือ พระเจ้าทรงให้ความจำเป็นกับสิ่งที่มีอยู่และทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ทุกสิ่งที่มีอยู่ มี สอง สภาพ ดังนี้

สภาพแรก คือ การมีอยู่ของสิ่งหนึ่ง บนพื้นฐานของหลักเหตุและผล 

สภาพที่สอง คือ การมีลักษณะที่เฉพาะของสิ่งนั้น

ดังนั้น ทั้งสองสภาพ คือ ความหมายของกอฏออฺและกอดัรอัยนีย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ความประสงค์ของพระเจ้า

การสังเกตุในความหมายของกอฎออฺและกอดัรอัยนีย์ มีหลายประเด็นที่ควรรู้ ดังนี้

๑.ความแตกต่างของกอฎออฺและกอดัรอัยนีย์กับกอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ก็คือ กอฎออฺและกอดัรอัยนีย์ มิได้มีมาก่อนสิ่งที่มีอยู่ แต่ได้เกิดขึ้นมาพร้อมกับสิ่งเหล่านั้น

๒.กอฎออฺและกอดัรอัยนีย์ เป็นลักษณะหนึ่งในการสร้างของพระเจ้า และสามารถกล่าวว่า กอฎออฺและกอดัรนั้น ย้อนกลับไปหา คุณลักษณะการเป็นผู้สร้างของพระองค์

๔๑๖

๓.การกำหนดของแต่ละสิ่ง มีระดับขั้นการมีอยู่ที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ การกำหนดของสิ่งที่มิได้เป็นวัตถุ คือ การกำหนดที่มีอยู่เฉพาะตัวของสิ่งนั้น แต่การกำหนดของสิ่งที่เป็นวัตถุ คือ การกำหนดในสภาวะการมีอยู่ในเวลา ,สถานที่ และคุณลักษณะอื่นๆ เช่น ความสวยงาม ,ความสมบูรณ์ และฯลฯ

   ชะตากรรมและการเลือกสรรของมนุษย์

   หนึ่งในประเด็นที่สำคัญที่เกี่ยวกับกอฎออฺและกอดัร คือ ประเด็นที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกสรรและการเป็นอิสระในการกระทำของมนุษย์ ซึ่งจากความหมายของกอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ บ่งบอกว่า พระเจ้าทรงมีความรู้มาก่อนที่การกระทำทั้งหลายของมนุษย์จะเกิดขึ้น และพระองค์ทรงทราบดีว่า มีลักษณะเป็นเช่นไร และเช่นเดียวกัน กอฎออฺและกอดัรอัยนีย์ ก็บ่งบอกถึง ความประสงค์ของพระองค์ว่า แน่นอน ย่อมมีบทบาทต่อการเกิดขึ้นของการกระทำของมนุษย์  ด้วยสาเหตุนี้ บางคนก็คิดว่า กอฎออฺและกอดัรนั้นไม่เข้ากันกับการเลือกสรรของมนุษย์ และแทนที่มนุษย์จะเป็นผู้ที่แสดงบทบาท กลายเป็นผู้ชมการแสดงที่ถูกกำหนดไว้ ซึ่งเขาไม่มีอิสระในการกระทำ ดังนั้น กอฎออฺและกอดัร จึงเป็นความเชื่อของกลุ่มหนึ่งที่เชื่อว่า ทุกการกระทำของมนุษย์ เป็นการบังคับจากพระเจ้า ในขณะที่อัล กุรอานได้เน้นย้ำในการเลือกสรรของมนุษย์ และได้ตอบข้อสงสัยของพวกผู้ตั้งภาคีที่มีความเชื่อในการบังคับ และบางทีเรียกกลุ่มหนึ่งในอิสลามว่า กอดะรียะฮ์ โดยที่พวกเขากล่าวว่า ความเชื่อในกอฎออฺและกอดัรของพระเจ้า มีความขัดแย้งกับการเลือกสรรของมนุษย์

๔๑๗

คำตอบ ที่สรุปได้ก็คือ กอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ของพระเจ้าที่มีต่อการกระทำของมนุษย์นั้น มิได้เป็นสภาพที่ไร้ขอบเขต แต่เป็นกอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ต่อการกระทำที่มีคุณสมบัติครบสมบูรณ์และพร้อมที่จะเกิดขึ้น และหนึ่งในคุณสมบัติก็คือ การเลือกสรร และความประสงค์ของมนุษย์ที่มีผลทำให้การกระทำนั้นเกิดขึ้น ดังนั้น พระเจ้าทรงมีความรู้มาแต่ดั้งเดิมว่า มนุษย์ได้กระทำการกระทำของตนเองด้วยการเลือกสรรของเขาเอง  และในสภาพเช่นนี้ กอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ของพระองค์ ก็มิได้มีความขัดแย้งกับการเลือกสรรของมนุษย์เลย แต่ทว่า เป็นการเน้นย้ำอีกครั้ง และด้วยเหตุนี้ ความรู้ของพระเจ้า จึงครอบคลุมในการเกิดขึ้นการกระทำ(ผล)ของผู้กระทำ (เหตุ) ที่มีคุณสมบัติครบสมบูรณ์ และถ้าหากว่า ผู้กระทำที่ไม่มีอิสระในการกระทำ เช่น ไฟที่ทำให้ความร้อนเกิดขึ้นมานั้น ความรู้ของพระเจ้าจึงมีต่อการเกิดขึ้นในการกระทำที่ไม่มีการเลือกสรร หมายความว่า พระองค์ทรงมีความรู้มาแต่ดั้งเดิมว่า การกระทำที่ไม่มีอิสระการเลือกสรร เช่น ไฟนั้น จะทำให้เกิดความร้อนในเวลาและสถานที่ได้เฉพาะ แต่ถ้าหากว่า ผู้กระทำมีการเลือกสรร เช่น การกระทำของมนุษย์ และสิ่งที่กำหนดจาก พระเจ้า คือ การเกิดขึ้นของการกระทำที่มนุษย์เป็นผู้กระทำด้วยกับการเลือกสรรของเขา

สำหรับในเรื่องของกอฎออฺและกอดัรอัยนีย์ ก็มีคำตอบเช่นเดียวกัน ดังนั้น การเกิดขึ้นของกอฎออฺและกอดัรอัยนีย์ มิได้มีสภาพโดยตรงจากพระเจ้า แต่เป็นการเกิดขึ้นของการกระทำที่มีเหตุและผลในระบบหลักด้วยเหตุและผล และความประสงค์ของมนุษย์ เป็นหนึ่งในพื้นฐานของการกระทำที่มีความเป็นอิสระในตัวเอง

๔๑๘

 กอฎออฺและกอดัรก็มีผลต่อการเกิดขึ้นของการกระทำนั้น ด้วยเหตุนี้ การกำหนดจากพระเจ้าและการเกิดขึ้นของการกระทำที่มีอิสระ มิได้มีความขัดแย้งกับการเป็นอิสระและการเลือกสรรของมนุษย์เลย

   กอฎออฺและกอดัรโดยทั่วไป

    สิ่งที่กล่าวไปแล้ว คือ กอฎออฺและกอดัรของพระเจ้า ที่มีต่อการเกิดขึ้นของการกระทำที่เฉพาะ และกอฎออฺและกอดัรอัยนี ยังมีความหมายกว้าง ซึ่งรวมถึงกฏเกณฑ์และหลักการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสังคม ด้วยเหตุนี้ พระผู้เป็นเจ้าทรงมีความรู้มาแต่ดั้งเดิม ในกฏเกณฑ์ต่างๆที่มีอยู่ในสังคมของมนุษย์  เช่น กฏที่ว่าด้วยหลักของเหตุและผล เป็นกฏทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับกอฎออฺและกอดัรของพระองค์

   กอฎออฺและกอดัรของพระเจ้า ในอัล กุรอาน และวจนะ

   ดั่งที่ได้กล่าวไปแล้วว่า มีโองการทั้งหลายและวจนะมากมายกล่าวถึง กอฎออฺและกอดัรของพระเจ้า  เช่น

วจนะจากท่านอิมาม ริฎอ (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

“เกาะดัร หมายถึง การกำหนดขนาดของสิ่งหนึ่งโดยพิจารณาจากการคงอยู่ และสูญสลาย ส่วนกอฏออ์ หมายถึงการเกิดที่แน่นอนของสิ่งหนึ่ง”

(อุศูล อัลกาฟีย์ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๕๘)

 “กอดัร หมายถึง การกำหนดขนาดจากด้านยาว,กว้าง และการคงอยู่ของสิ่งหนึ่ง

๔๑๙

หลังจากนั้นกล่าวอีกว่า

“แท้จริงอัลลอฮฺทรงมีความต้องการที่จะให้สิ่งหนึ่งเกิดขึ้น พระองค์ก็ทรงประสงค์ เมื่อพระองค์ทรงประสงค์ พระองค์ก็ทรงกำหนด เมื่อพระองค์ทรงกำหนด พระองค์ก็ทำให้สื่งนั้นเกิดขึ้น เมื่อทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น พระองค์ก็อนุมัติ”

(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๑๒๒ )

อัล กุรอานกล่าวว่า

และมิเคยปรากฏแก่ชีวิตใดที่จะตายนอกจากด้วยอนุมัติของอัลลอฮ์เท่านั้น ทั้งนี้เป็นลิขิตที่ถูกกำหนดไว้”

(บทอาลิอิมรอน โองการที่ ๑๔๕)

“และอัลลอฮ์ทรงบังเกิดพวกเจ้ามาจากฝุ่นดิน แล้วก็มาจากเชื้ออสุจิ แล้วทรงทำให้พวกเจ้าเป็นคู่สามีภริยา และจะไม่มีหญิงใดตั้งครรภ์และนางจะไม่คลอด เว้นแต่ด้วยความรอบรู้ของพระองค์ และไม่มีผู้สูงอายุคนใดจะถูกยืดอายุออกไป และอายุของเขาก็จะไม่ถูกตัดทอน เว้นแต่อยู่ในบันทึก (ของพระองค์) แท้จริง นั่นเป็นการง่ายดายสำหรับอัลลอฮ์” (บทอัลฟาฏิร โองการที่ ๑๑ )

 “ไม่มีเคราะห์กรรมอันใดเกิดขึ้นในแผ่นดินนี้ และไม่มีแม้แต่ในตัวของพวกเจ้าเอง เว้นแต่ได้มีไว้ในบันทึกก่อนที่เราจะบังเกิดมันขึ้นมา แท้จริงนั่นมันเป็นการง่ายสำหรับอัลลอฮ์”

(บทอัลหะดีด โองการที่ ๒๒)

 “ดังนั้นพระองค์ทรงสร้างมันสำเร็จเป็นชั้นฟ้าทั้งเจ็ดในระยะเวลา ๒ วัน และทรงกำหนดในทุกชั้นฟ้าหน้าที่ของมัน”

(บทอัลฟุศศิลัต โองการที่ ๑๒ )

๔๒๐