บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม8%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 339924 / ดาวน์โหลด: 4959
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156

157

158

159

160

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175

176

177

178

179

180

181

182

183

184

185

186

187

188

189

190

191

192

193

194

195

196

197

198

199

200

201

202

203

204

205

206

207

208

209

210

211

212

213

214

215

216

217

218

219

220

221

222

223

224

225

226

227

228

229

230

231

232

233

234

235

236

237

238

239

240

241

242

243

244

245

246

247

248

249

250

251

252

253

254

255

256

257

258

259

260

261

262

263

264

265

266

267

268

269

270

271

272

273

274

275

276

277

278

279

280

281

282

283

284

285

286

287

288

289

290

291

292

293

294

295

296

297

298

299

300

นักอรรถาธิบายอัลกุรอานได้กล่าวว่า ความหมายของคำว่า องค์แรกและองค์สุดท้าย ก็คือ ความหมายเดียวกับการมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ และเช่นเดียวกัน ในวจนะหนึ่งได้กล่าวเน้นย้ำ ดั่งบทเทศนาหนึ่งของท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ที่ได้กล่าวว่า

“พระเจ้า เป็นองค์แรกที่ไม่มีสิ่งใดมาก่อนหน้าพระองค์ และเป็นองค์สุดท้ายที่ไม่มีสิ่งใดมาหลังพระองค์”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๙๑ )

และท่านอิมามซอดิก ได้กล่าวว่า

“พระองค์ทรงเป็นองค์แรกที่ไม่มีการเริ่มต้น และเป็นองค์สุดท้ายที่ไม่มีที่สิ้นสุด พระองค์ทรงมีมาแต่เดิม และพระองค์ทรงมีอยู่เสมอ”

 (อุศูลุลอัลกาฟีย์ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๑๖ )

จากวจนะทั้งหลายที่ได้กล่าวถึง พระผู้เป็นเจ้าว่า เป็นองค์แรกและเป็นองค์สุดท้าย มิได้หมายความว่า พระองค์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งแรก และเป็นสิ่งสุดท้ายที่จะต้องสูญสลาย แต่ทว่า ความเป็นองค์แรกและองค์สุดท้ายของพระองค์ หมายถึง พระองค์ไม่มีคำว่า มาก่อนหรือมาหลัง เพราะพระองค์ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีที่สิ้นสุด

โองการหนึ่งของอัล กุรอาน กล่าวว่า

ทุก ๆ สิ่งที่อยู่บนแผ่นดินย่อมสูญสลาย”

และพระพักตร์ของพระเจ้าของเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่ ผู้ทรงโปรดปรานเท่านั้นที่จะคงเหลืออยู่”

( บทอัรเราะห์มาน โองการที่ ๒๖-๒๗)

และอีกโองการหนึ่ง กล่าวว่า

“และอย่าวิงวอนขอต่อพระเจ้าอื่นคู่เคียงกับอัลลอฮ์ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ทุกสิ่งย่อมพินาศนอกจากพระพักตร์ของพระองค์” ( บทอัลกอศ็อด โองการที่ ๘๘)

๓๐๑

การอธิบายความหมายของคำว่า พระพักตร์ หมายถึง ตัวตนและอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า  ด้วยเหตุนี้ โองการทั้งหลายได้กล่าวถึง การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้า

    ศัพท์วิชาการท้ายบท

: Life การมีชีวิต ฮายาต

: Life of God การมีชีวิตของพระเจ้า ฮายาต อิลาฮีย์

: Eternity การมีมาแต่เดิม อะซะลียัต

: Perenniality ความเป็นนิรันดร์

   สรุปสาระสำคัญ

๑.การมีชีวิต เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่สมบูรณ์ของพระผู้เป็นเจ้า มีความหมายครอบคลุมถึง  ๒ คุณลักษณะ กล่าวคือ ความรู้และความสามารถ

๒.การมีชีวิตอยู่ของสิ่งที่เป็นวัตถุ เช่น มนุษย์และสัตว์ มีความเจริญเติบโต ต้องการอาหารและปัจจัยสี่ และการขยายเผ่าพันธ์ สิ่งมีชีวิต เป็นองค์ประกอบของการมีชีวิตอยู่ของสิ่งที่เป็นวัตถุ และจะไม่มีอยู่ในสิ่งที่มิใช่วัตถุ

๓.ความหมายของการมีชีวิตของพระเจ้า คือ ในอาตมันของพระองค์มีความรู้และความสามารถ และการมีชีวิต เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า

๓๐๒

๔.นอกเหนือจาก เหตุผลโดยทั่วไปในการพิสูจน์การมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์แบบ เช่น ความรู้และความสามารถ เหตุผลเหล่านั้นยังใช้พิสูจน์การมีชีวิตของพระเจ้าได้อีกด้วย

๕.อัล กุรอานกล่าวถึงพระเจ้าว่า การมีชีวิตอยู่ของพระองค์นั้น มีมาแต่เดิม และไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีการเปลี่ยนแปลง และในวจนะก็กล่าวไว้เช่นเดียวกัน

๖.และอีกคุณลักษณะหนึ่งของพระผู้เป็นเจ้า ก็คือ การมีมาแต่เดิม และความเป็นนิรันดร์ ความหมายของคุณลักษณะนี้ ก็คือ การมีอยู่ของพระเจ้านั้น อยู่เหนือกาลเวลา ดังนั้น จะกล่าวได้ว่า พระองค์ทรงมีอยู่และจะมีอยู่ตลอดไป

๗.ความจำเป็นที่ต้องมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า เป็นสาเหตุที่ไม่สามารถแยกการมีอยู่ออกจากพระองค์ได้ ดังนั้น พระเจ้า ทรงเป็นองค์แรกและเป็นองค์สุดท้าย และนี่คือ ความหมายของการมีมาดั้งเดิมและความเป็นนิรันดร์

๘.อัล กุรอานกล่าวถึงพระเจ้าว่า พระองค์ทรงเป็นองค์แรกและองค์สุดท้าย ซึ่งแสดงว่า พระเจ้าทรงมีมาแต่เดิมและมีความเป็นนิจนิรันดร์

๓๐๓

   บทที่ ๗

   ความประสงค์ของพระเจ้า (อิรอดะฮ์ อิลาฮีย์)

   ในระหว่างคุณลักษณะในอาตมันของพระเจ้า คือ ความประสงค์ของพระองค์ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญเป็นพิเศษ แม้ว่าบรรดานักเทววิทยาอิสลามมีความคิดเห็นที่ตรงกันว่า พระเจ้านั้นมีคุณลักษณะนี้ แต่มีความแตกต่างกันในการอธิบายรายละเอียด

คำถามทั้งหลายเกิดขึ้นในประเด็นนี้ คือ

การให้คำนิยามของ ความประสงค์ของพระเจ้า

๑.ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะที่มีในอาตมันหรือเป็นคุณลักษณะที่มีนการกระทำของพระเจ้า

๒.ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะที่มีมาแต่ดั้งเดิมหรือเพิ่งเกิดขึ้น

๓.ความแตกต่างของความประสงค์กับความต้องการและการเลือกสรร

นอกเหนือจาก ทัศนะต่างๆของบรรดานักเทววิทยาอิสลาม ยังมีทัศนะของบรรดานักปรัชญาอิสลามที่กล่าวถึง ความเป็นจริงของความประสงค์ของพระเจ้า และรายละเอียดในความลึกซึ้ง ซึ่งเราจะกล่าวในประเด็นที่เหมาะสมกับเทววิทยาอิสลาม เป็นลำดับต่อไป

๓๐๔

 

   ความหมายความเป็นจริงของความประสงค์ของมนุษย์

   ในขณะที่มนุษย์ได้กระทำการงานหนึ่งการงานใด และเขาเป็นผู้เลือกสรรในการกระทำของเขา ดังนั้นมีสภาพหนึ่งที่เกิดขึ้นในตัวเขา นั่นคือ สภาพของความประสงค์ของมนุษย์ เป็นสภาพภายในหรือเกิดจากจิตใจของเขา ซึ่งรับรู้ด้วยการรับรู้โดยตรงและไม่ได้ใช้สื่อ และมิได้มีความหมายว่า การอธิบายในความเป็นจริงนั้น มีความง่ายดายยิ่งนัก ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดการให้คำนิยามต่างๆมากมายในความประสงค์ของมนุษย์ บางสำนักคิดกล่าวว่า ความประสงค์คือ การมีความเชื่อว่า การมีประโยชน์ในการกระทำ หมายถึง ก่อนที่มนุษย์จะกระทำการงานหนึ่งการงานใด มีความเชื่อว่า การงานที่จะกระทำนั้น ต้องมีประโยชน์ดังนั้น นี่คือความหมายของ ความประสงค์ของมนุษย์ และในบางครั้ง ความประสงค์นี้ ถูกเรียกว่า จุดประสงค์ที่มีต่อการกระทำ ด้วยเหตุนี้ ความหมายของความประสงค์ก็คือ จุดประสงค์ของมนุษย์ที่มีต่อการกระทำ และตรงกันข้ามกับทัศนะนี้ ยังมีสำนักคิดหนึ่งที่ได้กล่าวว่า ความประสงค์ มิได้หมายถึง จุดประสงค์ของมนุษย์ และการมีประโยชน์ในการกระทำ ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดทัศนะต่างๆในการให้ความหมายของ ความประสงค์ของมนุษย์ และจากทัศนะที่มีความคิดเห็นว่า ความประสงค์ของมนุษย์ คือ การมีความเชื่อว่า มีประโยชน์ในการกระทำ และมีความรู้สึกอยากที่จะกระทำ ดังนั้น ความรู้สึกอยากนี้ คือ ความประสงค์ของเขา และบางครั้งเรียกความประสงค์ว่า ความต้องการที่จะกระทำการงานหนึ่ง  ซึ่งตรงกันข้ามกับความต้องการที่จะละทิ้งการกระทำอันนั้น

๓๐๕

 และบางทัศนะกล่าวว่า ความประสงค์(ความประสงค์) คือ ความรู้สึกหนึ่งที่อยู่ในตัวของมนุษย์ หลังจากที่เขามีความรู้ในผลประโยชน์ของการกระทำนั้น และก่อนที่จะกระทำการงานนั้นขึ้นมา ซึ่งเป็นสาเหตุให้เขาต้องกระทำมากกว่าที่จะไม่กระทำ

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นได้ว่า ทัศนะทั้งหลายในการอธิบายความหมายของคำว่า ความประสงค์ นั้น มีเหตุผลและข้อพิสูจน์มากมาย ซึ่งทั้งหมดนั้นอยู่เหนือการเรียบเรียงหนังสือนี้ แต่สิ่งที่ควรรู้และสังเกต ก็คือ การอธิบายความหมายของ ความประสงค์ ในมนุษย์มีขอบเขตจำกัด เพราะว่า การมีอยู่ของมนุษย์นั้น มีขอบเขตจำกัด และความประสงค์ของมนุษย์เป็นสิ่งที่มีขอบเขต ในขณะที่พระเจ้านั้นไม่มีขอบเขตในการมีอยู่ของพระองค์ ดังนั้นความหมายของ ความประสงค์ ในพระเจ้า จึงมีความหมายทีแตกต่างกับความประสงค์ในมนุษย์

   ทัศนะต่างๆของนักเทววิทยาอิสลามในการอธิบายความหมาย

 ความประสงค์ของพระเจ้า

   กล่าวไปแล้วว่า ความหมายของ ความประสงค์ในพระเจ้า บรรดานักเทววิทยาและปรัชญาอิสลามได้ให้หลายความหมายด้วยกัน ซึ่งมีดังนี้

๑.ความประสงค์ในพระเจ้า คือ พระองค์ทรงกระทำการงานใดการงานหนึ่งโดยที่ไม่มีการบังคับใดๆทั้งสิ้น ดังนั้นความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในด้านลบของพระเจ้า

๒.ความประสงค์ในพระเจ้า คือ การมีพลังอำนาจอันไม่มีที่สิ้นสุดของพระองค์

๓๐๖

๓.ความประสงค์ในพระเจ้า มีอยู่ สอง ความหมาย กล่าวคือ ความประสงค์ในอาตมัน คือ การมีความรักในตนเองและความสมบูรณ์แบบของพระองค์ อีกความหมายของความประสงค์ กล่าวคือ ความประสงค์ในการกระทำ หมายถึง พระเจ้าทรงมีความพึงพอพระทัยในการเกิดขึ้นของการกระทำของพระองค์

๔.ความประสงค์ คือ ความรู้ที่มีมาดั้งเดิมของพระเจ้าในการปกครองที่ประเสริฐที่สุด

ทัศนะนี้ เป็นทัศนะของบรรดานักปรัชญาอิสลาม

๕.ความประสงค์ คือ การเลือกสรรของพระผู้เป็นเจ้า หมายความว่า พระเจ้า เป็นผู้กระทำที่เป็นอิสระในการเลือกสรร และไม่มีการบังคับใดๆในการกระทำของพระองค์ ดังนั้นการอธิบายในความหมายนี้ มิได้ถือว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในด้านลบของพระเจ้า และเช่นเดียวที่อธิบายความหมายของ ความรู้ หมายถึง การไม่รู้ และมิได้ถือว่า ความรู้ เป็นคุณลักษณะในด้านลบของพระเจ้า

   ความประสงค์ในอาตมันของพระเจ้าและในการกระทำของพระองค์

   มีคำถามว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในประเภทใดของพระเจ้า และเป็นคุณลักษณะในอาตมันหรือในการกระทำของพระองค์? ความสำคัญของคำถามทั้งหลายนี้แสดงให้เห็นว่า ทัศนะที่สี่ กล่าวว่า  ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในอาตมัน และทัศนะที่สอง กล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในการกระทำ

๓๐๗

และในทัศนะที่สามยอมรับว่า ความประสงค์ เป็น คุณลักษณะทั้งสองประเภท ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นก่อนทีจะอธิบายรายละเอียดของความหมายทั้งหลาย มากำหนดให้ชัดเจนว่า ความประสงค์ นั้น เป็นคุณลักษณะในอาตมันหรือในการกระทำ

สำหรับคำตอบของคำถามเหล่านี้ จะกล่าวได้ว่า ความประสงค์ มีอยู่ สอง ระดับขั้น

๑.ความประสงค์ในอาตมันของพระเจ้า

๒.ความประสงค์ในการกระทำของพระองค์

ส่วนมากของบรรดานักเทววิทยาและปรัชญา มีความเห็นว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในอาตมันของพระเจ้า หมายถึง ความรู้ที่มีมาดั้งเดิมในการมีระบบระเบียบที่สมบูรณ์แบบในการบริหารและดูแลของพระองค์

สามารถอธิบายได้ว่า ทัศนะนี้กล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงมีความรู้ในความเป็นระบบระเบียบที่สมบูรณ์แบบก่อนการสร้างโลก และความรู้นี้ ยังเป็นสาเหตุทำให้โลกนี้เกิดขึ้นและความประสงค์ ก็คือ ความรู้นี้

ดังนั้น ทัศนี้ไม่เป็นที่ยอมรับ เพราะว่าจากการสังเกตุในความหมายของความประสงค์ มิได้มีความหมายเดียวกับการมีความรู้ อีกทั้งในวจนะได้ยืนยันอย่างชัดเจนว่า การมีความรู้ มิใช่ ความประสงค์

หากว่า เราไม่ยอมรับว่า ความประสงค์ มีความหมายเดียวกับการมีความรู้ดั้งเดิมของพระเจ้า ดังนั้น ความหมายของอิรอดะฮ๋ คือ การเลือกสรรในการกระทำของพระองค์ ซึ่งเป็นความหมายที่ห้า ด้วยเหตุนี้ ความประสงค์ ถือว่าเป็นคุณลักษณะในอาตมันของพระเจ้า และในกรณีที่กล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในการกระทำของพระผู้เป็นเจ้า เหมือนกับ การให้ความรักและความพึงพอพระทัย

๓๐๘

 เพราะฉะนั้น ความประสงค์ของพระเจ้า มีความหมายว่า การเกิดขึ้นของการกระทำของพระองค์นั้น มาจากการให้ความรักและความพึงพอพระทัย การกระทำนั้น จึงจะเกิดขึ้นมาได้ และจากความหมายนี้ ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะว่าความหมายของความประสงค์ มิได้มีความหมายเดียวกับการให้ความรักและความพึงพอพระทัย และการให้ความหมายของความประสงค์ในทัศนะหนึ่งกล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในการกระทำที่เกิดจากระดับขั้นของการกระทำของพระเจ้า  หมายถึง การเกิดขึ้นของสรรพสิ่งทั้งหลาย กล่าวได้ว่า สติปัญญายอมรับว่า การมีอยู่ของสิ่งหนึ่งในสถานที่และเวลาที่ถูกกำหนด บ่งบอกถึง การมีความรู้และการให้ความรัก อีกทั้งยังเป็นความประสงค์ของพระเจ้า ที่มีต่อการเกิดขึ้นของสิ่งนั้น ด้วยเหตุนี้ คุณลักษณะความประสงค์ คือ การมีความสัมพันธ์ของพระผู้เป็นเจ้ากับการเกิดขึ้นของสรรพสิ่งทั้งหลาย

และในอีกทัศนะหนึ่งกล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในการกระทำของพระเจ้า เพราะว่า เกิดขึ้นมาจากการมีความสัมพันธ์ของพระองค์กับการกระทำที่มีองค์ประกอบสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ เมื่อใดก็ตามที่การกระทำของพระเจ้ามีองค์ประกอบที่สมบูรณ์พร้อมที่จะเกิดขึ้น เมื่อนั้นจะกล่าวได้ว่า พระเจ้ามีความประสงค์ กล่าวคือ มีความประสงค์ที่จะทำให้การกระทำนั้นเกิดขึ้น

๓๐๙

   การมีมาดั้งเดิมหรือการเพิ่งเกิดขึ้นมาของความประสงค์ในพระเจ้า

   หลังจากที่อธิบายความหมายของ ความประสงค์ และเป็นที่กระจ่างชัดสำหรับเราแล้วนั้น จะมากล่าวในคำถามที่เกี่ยวกับความประสงค์ของพระเจ้า ว่า มีมาดั้งเดิมหรือเพิ่งเกิดขึ้นมา จะเห็นได้ว่ามีทัศนะต่างๆมากมายและมีความแตกต่างกันในสำนักคิดของเทววิทยาอิสลาม  โดยสำนักคิดอัชอะรี มีความเชื่อว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่อยู่เหนืออาตมันของพระเจ้า และเป็นคุณลักษณะที่มีมาดั้งเดิม ในทางตรงข้ามกับความเชื่อของสำนักคิดอื่น ที่กล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะที่เพิ่งมีการเกิดขึ้น แต่มีความเห็นที่ไม่ตรงกันในสถานที่การเกิดขึ้นของความประสงค์ เช่น สำนักคิดกะรอมียะฮ์ มีความเห็นว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในอาตมันของพระเจ้าและเพิ่งเกิดขึ้นในอาตมันของพระองค์ แต่ในทัศนะของอะบูฮาชิม ญุบบาอีย์และกลุ่มหนึ่งของสำนักคิดมุตะซิละฮ์ กล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะที่เพิ่งเกิดขึ้นโดยไม่มีสถานที่ จากการอธิบายในประเภทของความประสงค์ทั้งสอง คือ ความประสงค์ในอาตมัน และในการกระทำ ทำให้เข้าใจได้ว่า ความประสงค์ในอาตมัน เป็นคุณลักษณะที่มีในอาตมันและเป็นหนึ่งเดียวกับอาตมันของพระเจ้า ดังนั้น ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะที่มีมาดั้งเดิม เหมือนกับอาตมัน และความประสงค์ในการกระทำ เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการมีความสัมพันธ์ของอาตมันและการกระทำของพระเจ้า

๓๑๐

 และการกระทำของพระเจ้านั้น เพิ่งเกิดขึ้น ดังนั้น ความประสงค์ของพระองค์ ก็เป็นคุณลักษณะที่เพิ่งเกิดขึ้นเช่นกัน และได้กล่าวผ่านไปแล้วว่า สาเหตุหรือที่มาของการกระทำของพระเจ้า มิได้เกิดขึ้นมาจากอาตมันของพระเจ้า อย่างเดียว แต่เกิดขึ้นจากสภาวะของการกระทำนั้น

  ความแตกต่างกันระหว่างความประสงค์,ความต้องการและการเลือกสรร

   นอกเหนือจาก การมีคุณลักษณะ ความประสงค์ของพระเจ้า ยังมีคุณลักษณะอื่นๆเช่น ความประสงค์ ความต้องการ และการเลือกสรร

มีคำถามเกิดขึ้นว่า ทั้งสามคุณลักษณะที่กล่าวไปนั้น มีความหมายเดียวกันหรือมีความหมายแตกต่างกัน?

สำหรับคำตอบ ก็คือ มีสองทัศนะด้วยกัน

กลุ่มหนึ่งของนักเทววิทยาอิสลาม กล่าวว่า ความประสงค์และความต้องการ มีความหมายเดียวกัน และไม่มีความแตกต่างกัน และบางกลุ่มมีความเห็นว่า ระหว่างความประสงค์กับความต้องการมีความหมายที่แตกต่างกัน คือ ความประสงค์ หมายถึง การมีความรู้ในผลประโยชน์และผลเสียของการกระทำ ส่วนมะชียะฮ์(ความต้องการ) หมายถึง ความต้องการที่จะกระทำหรือละทิ้งการงานนั้น  ความต้องการที่เกิดขึ้นจากการมีความรู้ในประโยชน์และผลเสียของการงานนั้น และกล่าวเช่นกันว่า การเชื่อมความสัมพันธ์ของความต้องการ คือ ผลของการกระทำหนึ่ง และการเชื่อมความสัมพันธ์ของความประสงค์ คือ การมีอยู่ของความประสงค์

๓๑๑

จะเห็นได้ว่าในการอธิบายความหมายของความประสงค์ ระหว่างความประสงค์กับการเลือกสรรนั้นไม่มีความแตกต่างกัน และความหมายที่แท้จริงของความประสงค์ คือ ความเป็นผู้เลือกสรรของพระเจ้า และบางทัศนะกล่าวว่า การเลือกสรร หมายถึง การกระทำหนึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีความรู้และความประสงค์ และความต้องการและการมีอำนาจในการบริหาร ซึ่งจากการมีความสัมพันธ์ของผู้กระทำกับการกระทำ คุณลักษณะการเลือกสรรรได้เกิดขึ้น

เหตุผลของบรรดานักเทววิทยาอิสลามในการพิสูจน์ความประสงค์ของพระเจ้า

    หลังจากที่อธิบายความหมายของ คำว่า ความประสงค์ของพระเจ้า และประเภทต่างๆของความประสงค์ ไปแล้ว บัดนี้ จะมาอธิบายในเหตุผลต่างๆของบรรดานักเทววิทยาอิสลามกัน

เหตุผลหนึ่งที่ถูกรู้จักกันโดยทั่วไป คือ บางการกระทำของพระเจ้านั้น ถูกทำให้เกิดขึ้นในเวลาที่ถูกกำหนด เช่น การมีอยู่ของสิ่งหนึ่งในเวลาที่ถูกกำหนดและก่อนหน้านี้สิ่งนี้ไม่มีอยู่ กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การมีอยู่ของสิ่งหนึ่งในเวลาดังกล่าวนั้น จะต้องการสิ่งที่เป็นตัวกำหนดให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น และสิ่งที่เป็นตัวกำหนดนั้น คือ สาเหตุของการเกิดขึ้นของการมีสิ่งนั้นในเวลาที่ได้กำหนดไว้ ไม่ช้าและก่อนกำหนด และจะเห็นได้ว่า การมีความสามารถและความรอบบรู้ของพระเจ้านั้น ไม่ต้องการสิ่งที่เป็นตัวกำหนด เพราะว่า ความสัมพันธ์ของความสามารถกับเวลานั้น มีความเท่าเทียมกัน

๓๑๒

จะไม่กล่าวว่า พระเจ้ามีความสามารถในเวลาหนึ่งและไม่มีความสามารถในอีกเวลาหนึ่ง แต่กล่าวได้ว่า พระองค์ทรงมีความสามารถในทุกๆเวลา และในความรู้ของพระองค์ก็เช่นเดียวกัน ดังนั้น สิ่งที่เป็นตัวกำหนดให้การกระทำหนึ่งเกิดขึ้นในเวลาที่ได้กำหนดนั้น มิใช่ความรู้และความสามารถ แต่สิ่งนั้น คือ ความประสงค์นั่นเอง

   ความประสงค์ในการสร้างสรรค์และการกำหนดบทบัญญัติ(อิรอดะฮ์ ตักวีนีย์ และตัชริอีย์)

    สิ่งได้กล่าวไปแล้วนั้นคือ ความประสงค์ของพระเจ้า เป็นความประสงค์ในการสร้างสรรค์ และนอกจากความประสงค์ประเภทนี้แล้ว ยังมีความประสงค์อีกประเภทหนึ่งนั่นคือ ความประสงค์ในการกำหนดบทบัญญัติ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการกระทำของมนุษย์ และเป็นสาเหตุทำให้การกระทำนั้น เป็นการกระทำที่จำเป็นต้องกระทำ(วาญิบ)หรือเป็นการกระทำที่สมควรกระทำ(มุสตะฮับ)หรือเป็นการกระทำที่ไม่สมควรกระทำ(มักรุฮ์)และในทางตรงกันข้าม การกระทำนั้นเป็นสิ่งที่ไม่อนุญาตให้กระทำ(ฮะรอม) ดังนั้น ความประสงค์ในการสร้างสรรค์เกิดจากการมีอยู่ของสิ่งทั้งหลาย และส่วนความประสงค์ในการกำหนดบทบัญญัตินั้น เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของพระเจ้ากับการกระทำของมนุษย์

ความแตกต่างอีกอันหนึ่งของความประสงค์ทั้งสองประเภท คือ ในความประสงค์ในการสร้างสรรค์ไม่มีมุรอด(สิ่งที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างความประสงค์กับผู้กระทำ) แต่มีในความประสงค์ในการกำหนดบทบัญญัติ

๓๑๓

   ความประสงค์และความต้องการของพระเจ้า ในอัลกุรอานและวจนะ

    คำว่า อิรอดะฮ์ในภาษาอาหรับ มาจากรากศัพท์ของคำว่า ราวด์ หมายถึง การกลับไปและการกลับมาที่มีความต้องการในสิ่งหนึ่ง ดังนั้น จากความหมายของคำนี้ มีอยู่ สามองค์ประกอบด้วยกัน ดังนี้

๑.ความต้องการในสิ่งหนึ่งที่มีความรักในสิ่งนั้น

๒.การมีความหวังที่จะได้รับในสิ่งนั้น

๓.การกระทำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้นด้วยตนเองหรือผู้อื่น

ส่วนคำว่า มะชียะฮ์ในด้านภาษา ซึ่งจากส่วนมากของนักอักษรศาสตร์อาหรับให้ความหมายเดียวกันกับความประสงค์(อิรอดะฮ์  และบางคนกล่าวว่า มะชียะฮ์ หมายถึง การมีความรักที่เกิดขึ้นหลังการมโนภาพ และการตัดสินใจ และหลังจากนั้น ความประสงค์ จึงจะเกิดขึ้นมาทีหลัง

แม้ว่าอัลกุรอานมิได้กล่าวถึงทั้งสองคุณลักษณะดังกล่าว นั่นก็คือ อิรอดะฮ์และมะชียะฮ์ ในรูปของอิสมุลฟาอิล (นามของผู้กระทำ) หรือศิฟัต มุชับบะฮะ(คุณลักษณะหนึ่ง) ของพระเจ้า แต่ทว่าได้กล่าวในรูปแบบของกริยาในโองการทั้งหลายมากมาย

และโองการหนึ่งได้กล่าวว่า ความประสงค์และความต้องการของพระเจ้านั้น ครอบคลุมถึงทุกสิ่งและทุกอย่าง และการกระทำของพระองค์ได้เกิดขึ้นโดยที่ไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น

ดั่งในโองการที่กล่าวว่า

 “ แท้จริงเมื่อเราปรารถนาคำตรัสของเราแก่สิ่งใด เราก็จะกล่าวแก่มันว่า จงเป็น แล้วมันก็เป็นขึ้น”

(บทอันนะห์ล์ โองการที่ ๔๐)

๓๑๔

จากโองการนี้ที่ได้กล่าวว่า จงเป็นแล้วมันก็เป็นขึ้น  บ่งบอกถึงความประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า มิได้เป็นเพียงคำกล่าวอย่างเดียว

และบางโองการก็กล่าวถึง ความไม่มีขอบเขตจำกัดในความประสงค์ของพระองค์ ความว่า  

“อัลลอฮ์ทรงบังเกิดสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงอานุภาพเหนือทุกสิ่ง”

(บทอันนูร โองการที่๔๕)

และเช่นเดียวกัน อัลกุรอานได้กล่าวย้ำถึงไม่มีอำนาจใดจะเท่าเทียมอำนาจและความประสงค์ของพระเจ้าได้
จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด)ใครเล่าจะมีอำนาจอันใดที่จะป้องกันพวกเจ้าจากอัลลอฮ์หากพระองค์ทรงประสงค์ให้ความทุกข์แก่พวกเจ้า หรือพระองค์ทรงประสงค์จะให้ประโยชน์แก่พวกเจ้า แต่ทว่า อัลลอฮ์ทรงตระหนักยิ่งในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ” (บทอัลฟัตฮ์ โองการที่๑๑)

แน่นอนที่สุด จะกล่าวในประเด็นของ ความเป็นวิทยปัญญาของพระผู้เป็นเจ้าถึง การไม่มีขอบเขตในอำนาจและความประสงค์ของพระองค์ แต่มิได้หมายความว่า พระเจ้า เป็นผู้ที่กระทำการงานที่ไม่ดีหรือไม่มีประโยชน์ได้ แต่ทว่า ด้วยกับการมีวิทยปัญญาของพระองค์ บ่งบอกว่า ทุกการกระทำของพระองค์นั้น มีประโยชน์ต่อสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นมา

และบางโองการได้กล่าวถึง ความประสงค์ของพระเจ้าในการกำหนดบทบัญญัติไว้เช่นกัน  ในบทอัลบะกอเราะ ดังนี้
“อัลลอฮ์ทรงประสงค์ให้มีความสะดวก แก่พวกเจ้า และไม่ทรงให้มีความลำบากแก่พวกเจ้า”

(บทอัลบะกอเราะฮ์ โองการที่๑๘๕)

๓๑๕

หลังจากที่อัลลอฮ์ได้กล่าวถึงหลักการถือศีลอดและอนุญาตให้บรรดาผู้ป่วยและผู้เดินทาง ไม่ต้องถือศีลอดได้ และได้กล่าวว่า ความประสงค์ของพระองค์ในการกำหนดบทบัญญัตินั้น ไม่ต้องการความยากลำบาก แต่ต้องการความสะดวกสบาย

และอัลกุรอานได้กล่าวถึง ความประสงค์ของพระองค์ หลังจากที่กล่าวหลักการปฏิบัติ ในบทอัลมาอิดะ ได้กล่าวไว้ดังนี้

“แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงชี้ขาดตามที่พระองค์ทรงประสงค์” (บทอัลมาอิดะฮ์ โองการที่ ๑)

นอกเหนือจาก โองการทั้งหลายของอัลกรุอานที่ได้กล่าวถึง ความประสงค์ของพระเจ้า ยังมีพระวจนะต่างๆที่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้เช่นกัน  และสิ่งที่ต้องสังเกตในวจนะทั้งหลาย นั่นคือ ส่วนมากของวจนะกล่าวถึง ความประสงค์ในการกระทำของพระเจ้าที่เป็นคุณลักษณะหนึ่งไม่ได้ที่อยู่นอกเหนือจากอาตมันของพระองค์และเป็นคุณลักษณะที่มีมาดั้งเดิม เช่น วจนะหนึ่งที่ผู้รายงานได้ถามท่านอิมามว่า

“พระผู้เป็นเจ้าทรงมีความประสงค์ที่มีมาดั้งเดิมกระนั้นหรือ?”

ท่านอิมามได้ตอบว่า

“พระเจ้า เป็นผู้ทรงประสงค์ที่ไม่มีสิ่งใดอยู่เคียงข้างพระองค์ และทรงมีความรู้และมีความสามารถที่มีมาแต่ดั้งเดิม หลังจากนั้น พระองค์ก็ทรงมีความประสงค์เกิดขึ้น”

(อุศูลุลกาฟี เล่มที่หนึ่ง หน้าที่ ๑๐๙ วจนะที่ ๑)

๓๑๖

จากวจนะนี้แสดงให้เห็นว่า ความประสงค์ของพระเจ้าในการกระทำนั้น ไม่มีได้มีมาแต่ดั้งเดิม ก็เพราะว่า เมื่อได้เชื่อมความสัมพันธ์ของพระองค์กับสิ่งสร้างของพระองค์ จะกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ การกระทำของสิ่งถูกสร้างเกิดจากการกระทำของพระเจ้า  และการกระทำของพระองค์เพิ่งเกิดขึ้น ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่คุณลักษณะในการกระทำของพระองค์ จะมีมาแต่ดั้งเดิม  และวจนะหนึ่งจากท่านอิมามริฎอ (อ) ได้กล่าวถึง ความประสงค์ของพระเจ้าในการกระทำและความแตกต่างของความประสงค์ของพระองค์กับมนุษย์ ความว่า

“ความประสงค์ (ความประสงค์) ของสิ่งถูกสร้าง หมายถึง การตัดสินใจหลังจากนั้นได้กระทำในสิ่งที่ได้ตัดสินใจไป แต่ความประสงค์ของพระเจ้า หมายถึง  การเกิดขึ้นที่ไม่มีการใช้ความคิดและการตัดสินใจ และทุกๆคุณลักษณะที่เป็นแบบนี้ ไม่มีในพระองค์และเป็นคุณลักษณะของสิ่งถูกสร้างของพระองค์ ดังนั้น ความประสงค์ (ความประสงค์)ของพระเจ้า คือ การกระทำของพระองค์ และมิใช่สิ่งอื่นใด พระองค์ทรงกล่าว จงเป็น แล้วสิ่งนั้นก็เป็นขึ้นมา โดยที่ปราศจากการพูดและการใช้ลิ้นในการสื่อสาร และไม่มีการตัดสินใจและการใช้ความคิด และไม่ต้องการสิ่งพึ่งพา เพราะพระองค์ก็ไม่ต้องการสิ่งพึ่งพาเช่นกัน”

(อุศูล อัลกาฟีย์ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๐๙-๑๑๐ วจนะที่ ๓)

และบางวจนะกล่าวถึง ความประสงค์ของพระเจ้าว่า เป็นสิ่งที่ถูกสร้างและเพิ่งเกิดขึ้น

๓๑๗

ดั่งวจนะของท่านอิมามซอดิก (อ) ได้กล่าวว่า

“อัลลอฮ์ทรงสร้างความประสงค์ด้วยพระองค์เอง หลังจากนั้นทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายด้วยความประสงค์ของพระองค์”

(อุศูล อัลกาฟีย์ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๑๐ วจนะที่ ๔)

ในวจนะหนึ่งจากท่านอิมามซอดิกได้กล่าวถึง ความแตกต่างของความรู้กับความประสงค์ ดังนี้

“ความรู้ของพระเจ้า มิใช่ความประสงค์ของพระองค์ เจ้ามิได้กล่าวหรือว่า ฉันจะกระทำสิ่งนี้ หากอัลลอฮ์ทรงประสงค์ และเจ้าไม่ได้กล่าวว่า ฉันจะกระทำสิ่งนี้ หากอัลลอฮ์ทรงรู้ ดังนั้น คำกล่าวของเจ้า ที่ว่า หากอัลลอฮ์ทรงประสงค์ บ่งบอกถึง พระองค์ไม่ทรงประสงค์ ถ้าพระองค์ทรงประสงค์ การกระทำนั้นก็จะเกิดขึ้น และพระองค์ทรงมีความรู้ในความประสงค์ของพระองค์” (อุศูล อัลกาฟีย์ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๐๙ วจนะที่ ๒)

๓๑๘

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

อิรอดะฮ์ หมายถึง ความประสงค์: Act of will

อิรอดะฮ์ อิลาฮีย์ หมายถึง ความประสงค์ของพระเจ้า: Divine will

ความประสงค์ในอาตมัน อิรอดะฮ์ซาตีย์

ความประสงค์ในการกระทำ อิรอดะฮ์ เฟียะลีย์

มะชียะฮ์ หมายถึง ความต้องการ  : Radical will

การเลือกสรร อิคติยาร : Choice

ความประสงค์ในการสร้างสรรค์ อิรอดะฮ์ ตักวีนีย์

ความประสงค์ในการกำหนดบทบัญญัติ อิริดะฮ์ ตัชรีอีย์

   สรุปสาระสำคัญ

๑.บรรดานักเทววิทยาอิสลามมีทัศนะที่แตกต่างกันในความหมายของ ความประสงค์ของพระเจ้า

 (อิรอดะฮ์ อิลาฮีย์)

บางคนกล่าวว่า ความประสงค์ของพระเจ้า หมายถึง การกระทำของพระเจ้าที่ไม่มีการบังคับใดๆเกิดขึ้น และบางคนมีความเชื่อว่า คือ การมีความสามารถและการชี้ขาดของพระเจ้า และบางสำนักคิดกล่าวว่า หมายถึง การเลือกสรรของพระองค์

๓๑๙

๒.ความประสงค์ของพระเจ้า มีอยู่ สองระดับขั้น

(๑).ความประสงค์ในอาตมันที่มีมาแต่ดิม

(๒).ความประสงค์ในการกระทำที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่

๓.เหตุผลของบรรดานักเทววิทยาอิสลามในการพิสูจน์ถึง การมีความประสงค์ของพระเจ้า  คือ การกระทำของพระเจ้านั้นเกิดขึ้นในเวลาที่ได้กำหนดไว้และมีสิ่งที่เป็นตัวกำหนดให้การกระทำนั้นเกิดขึ้น ก็คือ ความประสงค์ที่เป็นตัวกำหนดให้การกระทำนั้นเกิดขึ้น

๔.พระเจ้าทรงมีความประสงค์ในการสร้างสรรค์และการกำหนดบทบัญญัติ และความแตกต่างของความประสงค์ทั้งสองของพระองค์ ก็คือ ในประเภทแรก ไม่มีความสัมพันธ์กับการกระทำของมนุษย์ แต่ในประเภทที่สองนั้นมีความสัมพันธ์กับมนุษย์

๕.อัลกุรอานได้กล่าวว่า ความประสงค์ของพระเจ้า คือ เมื่อพระองค์ทรงตรัสว่า จงเป็นสิ่งนั้นก็เป็นขึ้นมาทันที และในวจนะทั้งหลายก็ได้กล่าวถึง ความแตกต่างของความประสงค์ของพระเจ้าและมนุษย์ว่า ความประสงค์ของพระเจ้านั้นไม่มีที่สิ้นสุดและขอบเขตจำกัด

๓๒๐

321

322

323

324

325

326

327

328

329

330

331

332

333

334

335

336

337

338

339

340

341

342

343

344

345

346

347

348

349

350

351

352

353

354

355

356

357

358

359

360

361

362

363

364

365

366

367

368

369

370

371

372

373

374

375

376

377

378

379

380

381

382

383

384

385

386

387

388

389

390

391

392

393

394

395

396

397

398

399

400

401

402

403

404

405

406

407

408

409

410

411

412

413

414

415

416

417

418

419

420

“พระองค์คือ ผู้ที่ทรงสร้างพวกเจ้าจากดิน แล้วทรงกำหนดวาระแห่งความตายไว้”

 (บทอัลอันอาม โองการที่ ๒)

และเมื่อพระองค์ทรงกำหนดกิจการใด พระองค์เพียงแต่ตรัสแก่มันว่า จงเป็นแล้วมันก็เป็นขึ้น”

(บทอัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ ๑๑๗)

ผู้ทรงสร้างแล้วทรงทำให้สมบูรณ์”
“และผู้ทรงกำหนดสภาวะแล้วทรงชี้แนะทาง” ( บทอัลอะอฺลา โองการที่ ๒-๓ )

 “จากเชื้ออสุจิหยดหนึ่งพระองค์ทรงบังเกิดเขา แล้วก็กำหนดสภาวะแก่เขา

 (บทอะบะซะ โองการที่ ๑๙ )

“แท้จริงทุก ๆ สิ่งเราสร้างมันตามสัดส่วน” (บทอัลกอมัร โองการที่ ๔๙)

 “แท้จริงอัลลอฮ์จะมิทรงเปลี่ยนแปลงสภาพของชนกลุ่มใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสภาพของพวกเขาเอง”

(บทอัรเราะด์ โองการที่ ๑๑ )

“และจงรำลึกขณะที่พระเจ้าของพวกเจ้าได้ประกาศว่า หากพวกเจ้าขอบคุณ ข้าก็จะเพิ่มพูนให้แก่พวกเจ้า และหากพวกเจ้าเนรคุณ แท้จริงการลงโทษของข้านั้นสาหัสยิ่ง” ( บทอิบรอฮีม โองการที่ ๗ )

 “ และผู้ใดยำเกรงอัลลอฮ์ พระองค์ก็จะทรงหาทางออกให้แก่เขา”
“และจะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่เขาจากที่ที่เขามิได้คาดคิด (บทอัฏเฏาะลาก โองการที่ ๒-๓ )

๔๒๑

วจนะจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล) ได้กล่าวว่า“ไม่มีผู้ศรัทธาคนใดนอกจากเขาจะต้องศรัทธาใน สี่ อย่าง เขาจะต้องกล่าวปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น พระเจ้าองค์เดียว และไม่มีการตั้งภาคีใดต่อพระองค์ และเขากล่าวว่า ฉันเป็นศาสนทูตของพระองค์ ที่ถูกแต่งตั้งด้วยสัจธรรม และเขาต้องศรัทธาวันแห่งการตัดสิน และศรัทธาในกอฎออฺและกอดัรของพระองค์ด้วย”

(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๕ วจนะที่ ๒ )

บางส่วนของวจนะของบรรดาอะฮฺลุลบัยต์ กล่าวถึง การเข้าใจที่ยากลำบากและมีความละเอียดอ่อนในเรื่องราวของกอฎออฺและกอดัร ดั่งเช่น

วจนะจากท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ที่ได้กล่าวตอบกับผู้ที่ถามถึง กอฏออฺและกอดัร ว่า

ท่านอย่าเดินไปในหนทางที่มืดมน และอย่าเข้าสู่ทะเลที่มีความลึก และอย่าหมกมุ่นอยู่กับการค้นหาความเร้นลับของอัลลอฮ์”

(นะญุลบะลาเฆาะฮ์ ฮิกมะฮ์ที่ ๒๘๗ )

วจนะจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล)ได้กล่าวว่า

“เวลาหนึ่งจะมาสู่ประชาชาติของฉัน พวกเขาได้กล่าวว่า การกระทำบาปของพวกเรา ขึ้นอยู่กับกอฎออฺของพระเจ้า ดังนั้น พวกเขามิใช่พวกของฉัน และฉันมิใช่พวกเขา”

(ศิรอฏ็อลมุสตะกีม อิลา มุสตะฮิกอัตตักดีม หน้าที่ ๓๒)

๔๒๒

และอีกวจนะหนึ่งจากท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) กล่าวตอบเกี่ยวกับกอฎออฺและกอดัรของพระเจ้าว่า

“เจ้าอย่าได้พูดว่า พระผู้เป็นเจ้าได้ละทิ้งสูเจ้าไปตามยถากรรมโดยที่มิได้ดูแล  คำพูดเป็นการดูถูกต่อพระองค์ และอย่าได้พูดว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงบังคับในกระทำความบาปทั้งหลาย แต่จงกล่าวเถิดว่า ความดีมาจากความประสงค์ของพระองค์ และความชั่วมาจากการไม่ยอมรับพระองค์ และทุกสิ่งเป็นสิ่งที่รับรู้ ณ พระองค์”

(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๙๕ วจนะที่ ๑๖ )

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

 

 กอฎออฺ หมายถึง การกำหนดกฏสภาวะ : Decision

 กอดัร หมายถึง จุดหมายปลายทาง : Destiny

 กอฎออฺและกอดัรอิลมีย์

 กอฎออฺและกอดัรอัยนีย์

 กอฏออฺและกอดัรโดยทั่วไป

๔๒๓

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ประเด็นของกอฎอและกอดัร เป็นประเด็นที่มีความสำคัญในหลักศรัทธาของอิสลาม ซึ่งถูกกล่าวไว้ในโองการทั้งหลายและวจนะของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ และประเด็นมีความสัมพันธ์กับเรื่องของชะตากรรม ด้วยเหตุนี้ เรื่องกอฎออฺและกอดัร จึงเป็นเรื่องทั่วไป

๒.คำว่า กอดัร หมายถึง ขนาด และจำนวนของสิ่งหนึ่ง ส่วนกอฎออฺ หมายถึง การตัดสินและการกำหนดสภาวะที่แน่นอน

๓.กอฎออฺและกอดัร ถูกแบ่งออกเป็น สอง ประเภท คือ กอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ และกอฎออฺและกอดัรอัยนีย์ และยังถูกแบ่งออกอีก สอง ประเภท นั่นคือ กอฎออฺและกอดัรโดยเฉพาะ และกอฎออฺและกอดัรโดยทั่วไป

๔. ความหมายของกอดัรอิลมีย์ คือ พระผู้เป็นเจ้าทรงมีความรู้ในลักษณะ ,ขนาด และขอบเขตของสิ่งหนึ่งก่อนการสร้างของสิ่งนั้น  ส่วนกอฎออฺอิลมีย์ หมายถึง พระองค์ทรงมีความรู้ว่าสิ่งหนึ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่และเกิดขึ้น

๕. ความหมายของกอดัรอัยนีย์ คือ พระผู้เป็นเจ้า ทรงเป็นผู้กำหนดลักษณะและคุณลักษณะทั้งหลายและขอบเขตของสิ่งหนึ่ง  ส่วนความหมายของกอฎออฺอัยนีย์ คือ พระองค์ทรงกำหนดให้มีความจำเป็นของสิ่งหนึ่งที่ต้องเกิดขึ้น

๔๒๔

๖.กอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลือกสรรในการกระทำของมนุษย์และมีผลในการกระทำนั้นด้วย ดังนั้น จึงมิได้มีความขัดแย้งกับการเลือกสรรของมนุษย์ และเช่นเดียวกัน กอฎออฺและกอดัรอัยนีย์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับความประสงค์ของมนุษย์ด้วยเหมือนกัน  ซึ่งเกิดจากระบบของหลักเหตุและผล ด้วยเหตุนี้ การมีความเชื่อในกอฎออฺและกอดัร จึงมิได้มีความขัดแย้งกับการเป็นอิสระและเป็นผู้เลือกสรรในการกระทำของมนุษย์เอง

๗.กอฎออฺและกอดัรของพระเจ้า นอกจากจะครอบคลุมต่อบุคคลและสิ่งต่างๆโดยเฉพาะ ยังได้รวมถึงกฏเกณฑ์ต่างของพระผู้เป็นเจ้าด้วย ดังนั้น ความหมายของกอฎออฺและกอดัรโดยทั่วไป หมายถึง พระผู้เป็นเจ้าทรงมีความรู้มาแต่ดั้งเดิม ในการกำหนดกฏเกณฑ์และหลักการต่างๆในสังคมของมนุษย์

๘.วจนะทั้งหลายได้กล่าวไว้ การไม่มีความขัดแย้งกันระหว่างการมีความเชื่อในกอฎออฺและกอดัรของพระเจ้ากับการเลือกสรรในการกระทำของมนุษย์

๔๒๕

   บทที่ ๕

   การบังคับและเจตจำนงเสรีของมนุษย์ (ญับรฺวะอิคติยาร)

   บทนำเบื้องต้น

    การบังคับและเจตจำนงเสรีของมนุษย์ (ญับร์และอิคติยาร) เป็นประเด็นหนึ่งที่มีความสำคัญทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน และเป็นข้อวิพากษ์กันในหมู่ของบรรดานักวิชาการอิสลาม โดยเฉพาะในสำนักคิดทั้งหลายของเทววิทยา ซึ่งคำถามที่เกิดขึ้นในประเด็นนี้ ก็คือ มนุษย์คิดว่า ตนเองมีอิสระเสรีในการกระทำของตนเอง หรือว่า ไม่มีอิสระใดและการกระทำของเขา เป็นการบังคับจากพระผู้เป็นเจ้า

   คำอธิบาย

  การบังคับจากพระเจ้าให้มนุษย์ได้กระทำการงานหนึ่ง ความหมายว่า เขาไม่มีอิสระเสรีในตนเองในการกระทำอันนั้น ส่วนการมีอิสระของมนุษย์ในการกระทำ มีความหมายว่า มนุษย์มีอิสระและการเลือกสรรที่กระทำการงานนั้นหรือไม่กระทำก็ได้ และเขามีความเข้าใจและมีความสามารถที่จะไม่กระทำการงานนั้นได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การกระทำที่เป็นอิสระขึ้นอยู่กับการเลือกสรรของผู้กระทำและจากการตัดสินใจของเขา

๔๒๖

 เพราะฉะนั้น การกระทำใดก็ตามที่เป็นอิสระ มิได้หมายความว่า การกระทำอันนั้นต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเสมอไปด้วย เช่น ผู้ป่วยและด้วยกับการรับประทานยาที่รสขม เพื่อที่จะรักษาอาการป่วยของเขาให้หายขาด แต่เนื่องจากเขาไม่ต้องการที่จะรับประทานยานั้น และการรับประทานยา เป็นการฝ่าฝืนกับการตัดสินใจของเขา

สำหรับคำตอบของคำถามข้างต้นนี้ มีทัศนะความคิดเห็นที่สำคัญ ๒  ทัศนะ ดังนี้

๑.ทัศนะของกลุ่มที่มีความเชื่อในญับร์(การบังคับ)และได้กล่าวว่า ตนไม่มีอิสระเสรีในการกระทำ

๒. ทัศนะของกลุ่มที่เชื่อในอิคติยาร (เจตนารมณ์เสรี) กล่าวว่า มนุษย์มีอิสระเสรีในการกระทำ

   ขอบเขตของเรื่อง การบังคับและเจตจำนงเสรีของมนุษย์

    เรื่องของการบังคับและเจตจำนงเสรี มิได้มีจำกัดเฉพาะกับเทววิทยาอิสลามเท่านั้น แต่ในศาสตร์และวิชาการทั้งหลายของอิสลาม ก็มีความสัมพันธ์ในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน บางครั้ง เรื่องของการบังคับและเจตจำนงเสรี เกี่ยวข้องกับเทววิทยา และปรัชญาอิสลาม และในบางครั้ง เรื่องนี้ก็มีความสัมพันธ์กับมนุษยศาสตร์ด้วย ดังนั้น กล่าวได้ว่า วิชาการทั้งหลายของอิสลามและศาสตร์แขนงต่างๆที่มีความสัมพันธ์กับเรื่องของการบังคับและเจตจำนงเสรีของมนุษย์)

๔๒๗

สามารถแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ดังนี้

๑.เทววิทยาอิสลาม กล่าวคือ ศาสตร์และวิชาการสาขานี้ มีความสัมพันธ์กับญับร์และอิคติยาร เป็นอย่างมาก ในหัวข้อคุณลักษณะที่มีอยู่บางประการของพระผู้เป็นเจ้า เช่น หลักเตาฮีดในการเป็นพระผู้ทรงสร้าง ,ความปรารถนา, ความรอบรู้ และ ฯลฯ

๒.ปรัชญาอิสลาม กล่าวคือ ศาสตร์และวิชาการสาขานี้ มีความสัมพันธ์จากการใช้กฏและหลักการของตรรกและปรัชญาในการพิสูจน์การมีของญับร์และอิคติยาร และเกี่ยวกับประเด็นการรู้จักพระเจ้าและคุณลักษณะของพระองค์โดยตรง

๓.สังคมวิทยาและจิตวิทยา ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า เรื่องของพันธุกรรม, การอบรมสั่งสอนและสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อมนุษย์ในการกระทำของเขา ดังนั้น เรื่องของญับร์และอิคติยารในวิชาการและศาสตร์ คือ การพิจารณาจากปัจจัยที่กล่าวไปแล้ว ทำให้เห็นว่า ไม่สามารถที่จะปฏิเสธการมีอิสระเสรีในการกระทำของมนุษย์ได้ และจะเป็นสาเหตุที่ทำให้มนุษย์มีความเชื่อในญับร์ (การบังคับ)ในการกระทำของเขาใช่หรือไม่

ด้วยเหตุนี้ เป้าหมายของหนังสิอนี้เกี่ยวกับวิชาการประเภทแรก คือ เทววิทยา จึงจำเป็นที่จะมาอธิบายกันในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับและเจตจำนงเสรีของมนุษย์ ก่อน นั่นก็คือ ในมุมมองและทัศนะทั้งหลายของเทววิทยาอิสลาม

๔๒๘

   การบังคับและเจตจำนงเสรีของมนุษย์ที่ถูกกล่าวไว้ในประวัติศาสตร์อิสลาม

        ความคิดเห็นในเรื่องของการบังคับและเจตจำนงเสรี ได้เกิดขึ้นในช่วงแรกของอิสลาม ก็คือประมาณ ศตวรรษแรกของอิสลาม และสาเหตุการเกิดขึ้นของความคิดนี้มาจากผลประโยชน์ของบรรดาผู้ปกครองในสมัยนั้น บรรดานักวิชาการจึงถูกแบ่งออกเป็นหลายฝ่าย กลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า อะฮ์ลุลฮะดีษหรือ กลุ่มที่มีความสันทัดในการรายงานวจนะทั้งหลาย(ฮะดีษ) และพวกเขาได้ยอมรับในความเชื่อในญับร์ เช่น ท่านญะฮ์ม์ บิน ศอฟวาน (เสียชีวิตในฮ.จ.ที่ ๑๒๔)ผู้ก่อตั้งสำนักคิดญะฮ์มียะฮ์ โดยมีความเชื่อว่า มนุษย์ทั้งหลายไม่มีอิสระในการกระทำของตนเอง และพระเจ้า เพียงพระองค์เดียวที่ทรงสร้างการกระทำทั้งหลายให้กับมนุษย์ และในพืชพรรณต่าง ก็เช่นกัน และในสรรพสิ่งทั้งหลายก็ด้วยเช่นกัน  ดังนั้น ทัศนะนี้ มีความเชื่อในการบังคับที่เกินขอบเขตที่ถูกกำหนด หลังจากที่ความเชื่อในการบังคับมีมากขึ้น จากการเกิดขึ้นของสำนักคิดอัชอะรียฺ และพวกเขามีทัศนะเป็นของตัวเอง ก็คือ ทัศนะกัสบ์ ซึ่งมีความเชื่อว่า มนุษย์มีขอบเขตในการกระทำของเขาและในทางตรงกันข้ามกับทัศนะนี้ มะอ์บัด ญะฮะนี และสานุศิษย์ของเขาคือ ฆอยลาน ดะมิชกี กับมีความเชื่อใน การมีอิสระในการกระทำของมนุษย์ ดังนั้น เรื่องของการบังคับและเจตจำนงเสรี ในมุมมองของประวัติศาสตร์เทววิทยาอิสลาม จึงมีด้วยกัน ๓ ทัศนะที่สำคัญ ดังนี้

๑.ทัศนะญับร์ (ทัศนะที่เชื่อว่า มนุษย์ถูกบังคับให้กระทำ)

๔๒๙

ทัศนะนี้ ในช่วงแรก เป็นทัศนะของอะฮฺลุลฮะดีษ ที่มีความเชื่ออย่างรุนแรง หลังจากนั้น  ก็เป็นทัศนะของสำนักคิดอัชอะรียฺ แต่มีความแตกต่างกับทัศนะของอะฮฺลุลฮะดีษ คือ มีทัศนะที่ใหม่เกิดขึ้น ก็คือ ทัศนะกัสบฺ ซึ่งมีความเป็นกลางกว่าทัศนะของอะฮฺลุลฮะดีษ

๒.ทัศนะตัฟวีฎ

ทัศนะนี้ เป็นทัศนะของสำนักคิดมุอฺตะซิละฮฺ

๓.ทัศนะอิคติยารหรืออัมรุน บัยนะอัมร์(ทัศนะที่เชื่อว่ามีอิสระในการกระทำ)

ทัศนะนี้ เป็นทัศนะของสำนักคิดอิมามียะฮ์ และจากวจนะของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (ขอความสันติ พึงมีแด่พวกท่าน)ที่ได้กล่าวไว้ว่า ไม่มีการบังคับและการมอบหมายจากพระเจ้า นอกจากการมีระหว่างสองสิ่ง

หลังจากที่มีความเข้าใจในทัศนะทั้งหลายของบรรดานักเทววิทยาอิสลามแล้ว จะขออธิบายในเหตุผลของแต่ละทัศนะ เป็นลำดับต่อไป และก่อนที่จะอธิบาย มีประเด็นที่สำคัญในเรื่องนี้ นั่นก็คือ มนุษย์กับการมีอิสระในการกระทำของเขา

   มโนธรรมของมนุษย์บ่งบอกถึงการเป็นอิสระเสรี

     ทัศนะของอิคติยาร (เชื่อในการมีอิสระเสรีในการกระทำ) มีความเชื่อว่า ทัศนะของพวกเขามีหลักฐานและเหตุผลที่เพียงพอ และไม่มีผู้ใดที่ไม่ยอมรับเหตุผลของพวกเขา

๔๓๐

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ มนุษย์ทุกคนมีความรู้สึกว่า ตนเองมีอิสระและเจตนารมณ์เสรีในการกระทำ ความรู้สึกนี้เกิดจากการรับรู้โดยตรง และไม่มีการผิดพลาดอย่างแน่นอน และอีกด้านหนึ่ง คือ การรู้สึกเสียใจที่ได้กระทำบางอย่างไป มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเองและสามารถมอบหมายหน้าที่ให้กับผู้อื่น การลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืน สิ่งเหล่านี้ เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นจากการเป็นอิสระและเจตนารมณ์เสรีของมนุษย์ทั้งสิ้น

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วทำไมบรรดานักคิดบางคน จึงมีความเชื่อในการบังคับจากพระเจ้าและปฏิเสธเจตนารมณ์เสรีของมนุษย์?

คำตอบ ก็คือ ที่มาของความเชื่อในการบังคับ นอกเหนือจากเหตุผลทางจิตใจและเป้าหมายส่วนบุคคลแล้ว ยังมีคำถามอีกมากมายที่ถูกถามและเขาไม่สามารถหาคำตอบได้ จนในที่สุดพวกเขาก็ต้องเชื่อในการบังคับ ดังนั้นสิ่งนี้ มิใช่เป็นสิ่งแปลกประหลาดอะไร เพราะในประวัติศาสตร์บันทึกไว้ได้ชัดเจนว่า แม้แต่นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ ยังไม่สามารถหาคำตอบในบางข้อสงสัยได้ เช่น การมีอยู่ของความเป็นจริง และท้ายที่สุด เขาก็กลายเป็นผู้สงสัยในการมีอยู่ของความเป็นจริง  

   การวิเคราะห์ในทัศนะญับร์ (การบังคับจากพระเจ้า)

   ในการวิเคราะห์และตรวจสอบทัศนะญับร์ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ พื้นฐานและเหตุผลของสำนักคิดอัชอะรีย์

 และพื้นฐานที่สำคัญของสำนักคิดอัชอะรีย์ ในการยอมรับญับร์ ซึ่งมีดังนี้

๔๓๑

๑.ความเป็นเอกานุภาพในการสร้างสรรค์ (เตาฮีดในการสร้าง) เป็นพื้นฐานหนึ่งที่สำคัญของอัชอะรีย์  พวกเขากล่าวว่า ด้วยกับความเป็นเอกานุภาพในการสร้างสรรค์ของพระเจ้า หมายความว่า พระองค์เพียงองค์เดียวเท่านั้น ที่เป็นผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง และทุกสรรพสิ่งซึ่งได้รวมถึง การกระทำของมนุษย์ด้วย ดังนั้น พระองค์ทรงเป็นผู้สร้างการกระทำของมนุษย์เพียงพระองค์เดียว และมนุษย์มิได้มีบทบาทใดในการเกิดขึ้นของการกระทำของเขา และเขาก็ไม่มีความเป็นอิสระและมีเจตนารมณ์เสรีอีกด้วย

ดังนั้น สิ่งที่ได้กล่าวไปในประเด็นของความเป็นเอกานุภาพในการกระทำ และประเภทต่างๆของมัน เป็นคำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในการสร้างสรรค์ ก็คือ พระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้ที่มีอำนาจสร้างทุกสรรพสิ่งโดยมิต้องได้รับอนุญาตจากสิ่งอื่นใด และความหมายนี้ ก็มิได้ขัดแย้งกับการกระทำของมนุษย์ที่เขาเป็นผู้เลือกสรรในการกระทำของเขา แต่การกระทำของเขานั้นจะต้องได้รับการอนุมัติจากพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียว ดั่งที่ได้กล่าวแล้วว่า ในโองการมากมายของอัล กุรอานได้กล่าวถึง การเป็นผู้กระทำของมัคลูก (สิ่งถูกสร้าง) ของพระองค์ ด้วยเหตุนี้ ความเป็นเอกานุภาพในการสร้างสรรค์ ก็มิได้ขัดแย้งกับการเป็นอิสระและการมีเจตนารมณ์เสรีของมนุษย์ และการกระทำของเขาเกิดได้ด้วยการอนุมัติจากพระองค์ และการกระทำนั้นอยู่ในด้านยาวของการกระทำของพระองค์ โดยมิได้อยู่ด้านกว้างของการกระทำของพระองค์

๔๓๒

๒.ความรู้ที่มีมาดั้งเดิมของพระเจ้า อีกพื้นฐานหนึ่งของอัชอะรีย์ คือ เรื่องของความรู้อันไม่มีที่สิ้นสุดของพระองค์ เหตุผลนี้มีความสัมพันธ์กับประเด็นของกอฎออฺและกอดัรของพระเจ้าอย่างลึกซึ้ง ซึ่งเป็นตัวเชื่อมระหว่างกอฎออฺและกอดัรกับการบังคับและเจตจำนงเสรี

เหตุผลของพื้นฐานความรู้ที่มีมาดั้งเดิมของพระเจ้า คือ พระองค์ทรงมีความรู้ก่อนการเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นของการกระทำของมนุษย์ จะกล่าวอีกนัยหนึ่งกืคือ เป็นไปไม่ได้ที่ความรู้ของพระองค์ จะไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือพระองค์ไม่มีความรู้ในการกระทำของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นไปไม่ได้ที่มีการเกิดขึ้นของการกระทำ แต่ทว่าพระองค์มิทรงมีความรู้ในการกระทำนั้น และการเกิดขึ้นของการกระทำ พระองค์จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ และไม่มีสภาพที่สามเกิดชึ้น ดังนั้น การกระทำของมนุษย์เกิดจาก สอง สภาพ เป็นไปไม่ได่ และความจำเป็น กล่าวได้ว่า พลังอำนาจมีกับสิ่งที่เป็นไปได้ และการกระทำของมนุษย์อยู่ในอำนาจของพระองค์ ซึ่งจะเห็นได้ว่า การกระทำของมนุษย์นั้น มิได้มีความเป็นอิสระเสรี

คำตอบ จากที่ได้อธิบายไปแล้วในประเด็นกอฎออฺและกอดัรว่า ความรู้ของพระเจ้ามีต่อการกระทำของมนุษย์ในสภาพที่มีคุณสมบัติสมบูรณ์ และความหมายของความรู้ดั้งเดิมของพระองค์ คือ  พระองค์ทรงมีความรู้ก่อนการกระทำที่เป็นอิสระของมนุษย์ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง และอื่นๆ  ซึ่งพระองค์ทรงรู้ว่าการกระทำที่เป็นอิสระของมนุษย์คนนั้น จะเกิดขึ้นในเวลาและสถานที่ใด  ดังนั้น ในสภาพนี้

๔๓๓

จึงมีความจำเป็นที่การกระทำนั้นต้องเกิดขึ้น และการกระทำนั้นมิได้มีความขัดแย้งกับการเลิอกสรรของมนุษย์ เพราะว่าความหมายของ ความจำเป็นคือ การกระทำที่มีเหตุผลสมบูรณ์และมีผู้กระทำที่มีอิสระ ดั่งเช่น ทุกๆผลของเหตุที่มีความจำเป็นและมีเหตุผลสมบูรณ์

ส่วนมากของบรรดานักปรัชญาอิสลามได้ตอบข้อสงสัย ด้วยกับคำตอบเช่นนี้ เช่น

ท่านอัลลามะฮฺ ตอบาตอบาอีย์ ได้กล่าวว่า

“ความรู้ที่มีดั้งเดิมและไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า มีต่อทุกสรรพสิ่งที่มีคุณสมบัติสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ของพระองค์ คือ การกระทำที่มีการเลือกสรรและมีอิสระในสภาพที่มีการเลือกสรร ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่การกระทำนั้น จะไม่มีอิสระอยู่เลย กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับกอฎออฺของพระเจ้า ก็คือ การกระทำของผู้กระทำที่มีอิสระ และถ้าหากว่า กอฎออฺของพระองค์มีต่อการกระทำที่ไม่มีอิสระ เท่ากับว่าเป็นการปฏิเสธกอฎออฺของพระองค์ ซึ่งเป็นไปไม่ได้”

(นิฮายะตุลฮิกมะฮ์ ตอนที่ ๑๒ ภาคที่ ๑๔ )

๓.ความประสงค์อันสมบูรณ์และไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า นี่คือพื้นฐานที่สามของอัชอะรีย์ ในการยอมรับทัศนะญับร์

เหตุผลของอัชอะรีย์ ก็คือ ความประสงค์ของพระเจ้า ได้รวมถึงการกระทำของมนุษย์เข้าไปด้วย ดังนั้น ทุกการกระทำของมนุษย์ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของพระองค์ และผลที่ได้รับก็คือ การกระทำของมนุษย์มิได้มีความเป็นอิสระเสรี  เพราะการเกิดขึ้นของการกระทำขึ้นอยูกับความประสงค์ของพระองค์ มิใช่ความประสงค์ของมนุษย์

๔๓๔

ก่อนที่จะตอบข้อสงสัยข้างต้น เล็งเห็นว่า มีความสำคัญที่จะกล่าวว่า มีความแตกต่างกันในความรู้ที่มีมาดั้งเดิมของพระเจ้า ต่อการกระทำของมนุษย์ กับเกิดความแตกต่างในความประสงค์ของพระองค์  ซึ่งอัชอะรีย์ยอมรับว่า ความประสงค์ของพระเจ้ามีต่อการกระทำของมนุษย์ด้วย แต่มุอฺตะซิละฮ์ได้คัดค้านทัศนะนี้ และกล่าวว่า เราเชื่อในการเป็นอิสระและมีเจตนารมณ์ในการกระทำของมนุษย์  ด้วยเหตุนี้ ประเด็นนี้จึงเกิดคำถามอยู่ สอง คำถาม ดังนี้

๑.ความประสงค์ของพระเจ้า มีต่อการกระทำของมนุษย์ใช่หรือไม่

๒.ถ้าตอบว่า ใช่ จะเป็นสาเหตุให้เกิดทัศนะญับร์และการไม่มีอิสระในการกระทำของมนุษย์ด้วยใช่หรือไม่

คำตอบ ก็คือ ในคำตอบแรก ตอบว่า ใช่ ส่วนคำตอบที่สอง ไม่ เพราะว่า อิรอดะฮ์ของพระเจ้า รวมถึงการกระทำของมนุษย์อยู่ด้วย และไม่มีเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ใดที่อยู่เหนือความประสงค์ของพระองค์ และสิ่งนี้มิได้เป็นสาเหตุให้เข้าใจว่า การกระทำของมนุษย์ เป็นการบังคับจากพระองค์ เพราะว่าในที่นี้ อิรอดะฮ์ (ความประสงค์) ของพระเจ้า มิได้มีสภาพที่ไม่มีขอบเขต แต่อิรอดะฮ์ของพระองค์มีต่อการกระทำที่มีคุณสมบัติสมบูรณ์ เหมือนกับเรื่องของความรู้ของพระองค์

ด้วยเหตุนี้ ถ้าอิรอดะฮ์ของพระเจ้า มีผลต่อไฟที่มีความร้อน ที่ไม่มีความรู้และความประสงค์ แต่อิรอดะฮ์ของพระองค์ในการกระทำที่เป็นอิสระ ต้องมีทั้งความรู้และความประสงค์ควบคู่กัน

๔๓๕

   ทัศนะกัสบ์

    กล่าวไปแล้วในเหตุผลของการเป็นอิสระของมนุษย์ในการกระทำ ซึ่งกลุ่มที่มีความเชื่อในการบังคับได้ปฏิเสธการเป็นอิสระของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ พวกอัชอะรีย์จึงมีความพยายามที่จะรักษาพื้นฐานและหลักการของตน เพื่อที่จะทำให้มนุษย์มีบทบาทในการกระทำของเขา จึงได้มีทัศนะใหม่เกิดขึ้น นั่นคือ ทัศนะกัสบ์ เมื่อย้อนกลับไปหาคำกล่าวของบรรดานักวิชาการของอัชอะรีย์ จะเห็นได้ว่า มีการอธิบายในทัศนะนี้ที่แตกต่างกัน  ซึ่งมีดังต่อไปนี้

๑.ในการอธิบายหนึ่งกล่าวว่า กัสบ์ หมายถึง การมีอำนาจที่เกิดขึ้นในการกระทำของมนุษย์ ดังนั้น ในเวลาที่มนุษย์กระทำ ตัวของเขามิได้เป็นผู้กระทำ แต่พระเจ้าทรงสร้างพลังอำนาจหนึ่งให้มีอยู่ในการกระทำของเขา และพลังนี้มีผลต่อการเกิดขึ้นของการกระทำนั้น

คำตอบ ก็คือ ถ้าหากพลังอำนาจที่เป็นตัวทำให้การกระทำของมนุษย์เกิดขึ้น และพระเจ้าก็มีพลังอำนาจด้วย ดังนั้น การเกิดขึ้นของการกระทำหนึ่ง มี สองพลังอำนาจ ซึ่งเป็นไปไม่ได้

และถ้าการมีพลังอำนาจของมนุษย์อยู่ใต้อำนาจของพระเจ้า ดังนั้น มนุษย์ มีผลต่อการเกิดขึ้นของการกระทำของตนเอง ซึ่งก็คือ การยอมรับในทัศนะของการเป็นอิสระในการกระทำนั่นเอง

๔๓๖

๒.ทุกการกระทำมีอยู่ สอง สภาพ คือ

(๑).การมีอยู่ของการกระทำ

(๒).การตั้งชื่อ นอกจากการมีอยู่ของการกระทำแล้ว ยังมีสิ่งอื่นอีก ซึ่งพลังอำนาจของมนุษย์มีในสิ่งนี้ ดังนั้น การมีอยู่ของการกระทำ เป็นการกระทำของพระเจ้า แต่การตั้งชื่อ เช่น การนมาซ การกิน การพูดโกหก และอื่นๆ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากพลังอำนาจที่มีอยู่ในพระองค์ ด้วยเหตุนี้ ความหมายของกัสบ์ คือ การมีพลังอำนาจของมนุษย์ในการตั้งชื่อของการกระทำของตน

การวิเคราะห์และตรวจสอบในทัศนะนี้  จะกล่าวได้ว่า ถ้าหากว่า การตั้งชื่อหรือเรียกชื่อ เป็นการกระทำที่มีอยู่จริง และตรงกับทัศนะของอัชอะรีย์ ในหลักเตาฮีดในการสร้าง และการตั้งชื่อนั้น เป็นการกระทำของพระเจ้า และมนุษย์ไม่มีผลในการกระทำอันใดเลย

และถ้าหากว่า การตั้งชื่อ มิได้มีอยู่ในความเป็นจริง ทัศนะกัสบ์ถือว่า ไม่ถูกต้อง

๓.บางครั้ง ความหมายของกัสบ์ คือ พระเจ้าในเวลาเดียวกัน ที่มีความประสงค์ และมนุษย์ก็มีความสามารถในการกระทำ  และทำให้การกระทำนั้นเกิดขึ้น ซึ่งการเกิดขึ้นของการกระทำนั้น มิได้มีผลต่อการมีพลังอำยาจของมนุษย์เลย

การตรวจสอบในทัศนะนี้ กล่าวได้ว่า การเกิดขึ้นของความประสงค์ของมนุษย์พร้อมกันกับการเกิดขึ้นของการกระทำที่เป็นการกระทำของพระเจ้า ไม่ถูกต้องที่จะเชื่อมความสัมพันธ์ของการกระทำไปยังมนุษย์

๔๓๗

นอกเหนือจากนี้ ความประสงค์ดั่งกล่าว เป็นความประสงค์ที่มิได้เป็นจริง เพราะว่า ความประสงค์ที่เป็นจริง เกิดขึ้นกับมุรอด(สิ่งที่ถูกประสงค์) และเกิดขึ้นจากการเป็นลูกโซ่ของเหตุผลทั้งหลาย

จากสิ่งที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น คือ ทัศนะหนึ่งของอัชอะรีย์เกี่ยวกับการกระทำของมนุษย์ เป้าหมายและจุดประสงค์ของพวกเขาก็คือ ต้องการที่จะรักษาในหลักเตาฮีด การมีพลังอำนาจ ความรู้ กรรมสิทธิของพระเจ้า และด้วยกับการไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้ง จึงเป็นสาเหตุให้พวกเขามีความเชื่อในการบังคับ เพื่อให้ความเชื่อนี้คงอยู่ จึงเกิดทัศนะใหม่ขึ้นมา นั่นคือ ทัศนะกัสบ์ (ด้วยกับการอธิบายในความหมายที่แตกต่างกัน) และทัศนะนี้ถือว่า ไม่ถูกต้องและขัดแย้งกับโองการทั้งหลายของอัล กุรอาน ซึ่งจะอธิบายในภายหลัง เป็นลำดับต่อไป

   การตรวจสอบในทัศนะตัฟวีฎ (การมอบอำนาจในกิจการต่อพระเจ้า)

   หลังจากที่อธิบายในทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์และได้วิเคราะห์และตรวจสอบผ่านไปแล้ว  ที่นี้ จะมาอธิบายในทัศนะของสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์ ต่อไป และทัศนะของสำนักคิดนี้ที่เป็นที่รู้จักกันว่า ตัฟวีฎ

พวกมุอฺตะซิละฮ์มีทัศนะที่แตกต่างกันอัชอะรีย์ คือ พวกเขาเชื่อว่า การกระทำที่เป็นอิสระของมนุษย์เกิดขึ้นจากความประสงค์ของเขาเอง และมนุษย์คือ ผู้ตัดสินใจในการกระทำของตนเอง และพระเจ้าไม่มีบทบาทหรือมีผลในการกระทำของเขาเลย

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า พระเจ้าได้มอบหมายการกระทำที่เป็นอิสระให้กับมนุษย์และให้เขาเป็นผู้ตัดสินใจ

๔๓๘

พวกมุอฺตะซิละฮ์ก็เหมือนกับอัชอะรีย์มีเหตุผลมากมายทางสติปัญญาและโองการจากอัล กุรอาน และวจนะ และพวกเขากล่าวว่า ถ้าหากว่า มนุษย์ไม่มีอิสระในการกระทำของตน การกำหนดบทบัญญัติและหน้าที่ก็ไม่มีความหมาย เพราะในสภาพนี้ มนุษย์ไม่มีบทบาทใดในการกระทำ และไม่มีการยกย่องและการลงโทษ

ในการตรวจสอบทัศนะของพวกมุอฺตะซิละฮ์  กล่าวได้ว่า ถ้าหากเหตุผลของพวกมุอ์ตะซิละฮ์ถูกต้อง ดังนั้น ทัศนะของพวกอัชอะรีย์ ในการบังคับถือว่า ไม่ถูกต้อง แต่ไม่ถือว่า ทัศนะตัฟวีฎ มีความถูกต้อง  เพราะว่า เหตุผลของทัศนะนี้ จะถูกต้องได้ ต้องตรงกันกับทัศนะที่สาม นั่นคือ ทัศนะอัมรุน บัยนัลอัมร์

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ถ้ายอมรับในทัศนะตัฟวีฎ  เหตุผลของสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์  นอกจากใช้พิสูจน์ว่า ทัศนะญับร์ไม่ถูกต้อง  ก็ต้องพิสูจน์ในทัศนะของบรรดานักเทววิทยาในสำนักคิดอิมามียะฮ์ด้วย ซึ่งความเป็นจริง มิได้เป็นเช่นนั้น

   จุดประสงค์ของพวกมุอฺตะซิละฮ์ ต่อการมีความเชื่อในทัศนะตัฟวีฎ

    ความเป็นจริง ก็คือ พวกมุอฺตะซิละฮ์ต้องการรักษาความยุติธรรมของพระเจ้า และอีกด้านหนึ่ง พวกเขาคาดคะเนที่ผิดพลาดว่า  การลงโทษจากพระเจ้าต่อมนุษย์ในสภาพที่การกระทำของเขาเป็นอิสระเท่านั้น ถึงเรียกว่า มีความยุติธรรม ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงหาหนทางในการหลีกเลี่ยงกับทัศนะของญับร์ จึงเลือกเอาทัศนะตัฟวีฎ เป็นทัศนะของตน

๔๓๙

จากทัศนะนี้แสดงให้เห็นว่า พระเจ้ามิได้มีบทบาทในการกระทำของมนุษย์เลย ซึ่งในความเป็นจริง ถ้าหากพวกเขาได้ครุ่นคิด ก็จะเห็นว่า การกระทำของมนุษย์และความสัมพันธ์กับการกระทำของพระเจ้า นั้นคือ หลักเตาฮีดในการกระทำ และการมีความยุติธรรม ซึ่งอยู่คู่กัน

   ทัศนะของอัมรุน บัยนะอัมร็อยน์ (แนวทางสายกลาง)

    ได้กล่าวไปแล้วในทัศนะของอัชอะรีย์และมุอฺตะซิละฮ์ จะยังคงเหลือเพียงทัศนะเดียว นั่นคือ ทัศนะของสำนักคิดอิมามียะฮ์ ที่เรียกกันว่า ทัศนะอัมรุน บัยนุลอัมร็อยน์ เป็นแนวทางสายกลางต่อการอธิบายในการกระทำของมนุษย์ แต่การที่จะมีความเข้าใจในทัศนะนี้ได้นั้น มีความยากลำบากและมีความละเอียดอ่อน ซึ่งมีการอธิบายที่มีความแตกต่างกันในหมู่นักเทววิทยาอิมามียะฮ์เอง

บรรดานักปรัชญาอิสลามได้กล่าวในการอธิบายทัศนะนี้ โดยยึดเอาหลักการและกฏตรรกที่มีความเข้าใจยากและมีความต้องการคำอธิบายที่ลึกซึ้ง โดยต้องอาศัยหลักการหนึ่ง นั่นก็คือ หลักวะฮฺดะฮฺ ตัชกีกียฺ (ความเป็นหนึ่งเดียวในระดับขั้นทั้งหลาย)(เป็นหลักการหนึ่งของปรัชญาอิสลาม)  กล่าวคือ การอธิบายถึงความสัมพันธ์ของพระเจ้า ในสภาพที่พระองค์ เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ และสิ่งอื่นเป็นสิ่งที่จะมีอยู่ก็ได้ ไม่มีก็ได้ และสิ่งที่จะกล่าวในทัศนะนี้ นั่นก็คือ การกระทำของมนุษย์ เป็นการกระทำที่มีอิสระในความเป็นจริง และเป็นการกระทำที่เขากระทำเองโดยตรงและเป็นทั้งการกระทำของพระเจ้าด้วย  และจากการกล่าวว่า การกระทำของมนุษย์ เป็นการกระทำของมนุษย์ และเป็นการกระทำของพระเจ้า

๔๔๐

441

442

443

444

445

446

447

448

449

450