บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม0%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน: ดร.มุฮัมมัด ซะอีดีย์ เมฮร์
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 450
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 297939
ดาวน์โหลด: 3185

รายละเอียด:

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 297939 / ดาวน์โหลด: 3185
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

“พระองค์คือ ผู้ที่ทรงสร้างพวกเจ้าจากดิน แล้วทรงกำหนดวาระแห่งความตายไว้”

 (บทอัลอันอาม โองการที่ ๒)

และเมื่อพระองค์ทรงกำหนดกิจการใด พระองค์เพียงแต่ตรัสแก่มันว่า จงเป็นแล้วมันก็เป็นขึ้น”

(บทอัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ ๑๑๗)

ผู้ทรงสร้างแล้วทรงทำให้สมบูรณ์”
“และผู้ทรงกำหนดสภาวะแล้วทรงชี้แนะทาง” ( บทอัลอะอฺลา โองการที่ ๒-๓ )

 “จากเชื้ออสุจิหยดหนึ่งพระองค์ทรงบังเกิดเขา แล้วก็กำหนดสภาวะแก่เขา

 (บทอะบะซะ โองการที่ ๑๙ )

“แท้จริงทุก ๆ สิ่งเราสร้างมันตามสัดส่วน” (บทอัลกอมัร โองการที่ ๔๙)

 “แท้จริงอัลลอฮ์จะมิทรงเปลี่ยนแปลงสภาพของชนกลุ่มใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสภาพของพวกเขาเอง”

(บทอัรเราะด์ โองการที่ ๑๑ )

“และจงรำลึกขณะที่พระเจ้าของพวกเจ้าได้ประกาศว่า หากพวกเจ้าขอบคุณ ข้าก็จะเพิ่มพูนให้แก่พวกเจ้า และหากพวกเจ้าเนรคุณ แท้จริงการลงโทษของข้านั้นสาหัสยิ่ง” ( บทอิบรอฮีม โองการที่ ๗ )

 “ และผู้ใดยำเกรงอัลลอฮ์ พระองค์ก็จะทรงหาทางออกให้แก่เขา”
“และจะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่เขาจากที่ที่เขามิได้คาดคิด (บทอัฏเฏาะลาก โองการที่ ๒-๓ )

๔๒๑

วจนะจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล) ได้กล่าวว่า“ไม่มีผู้ศรัทธาคนใดนอกจากเขาจะต้องศรัทธาใน สี่ อย่าง เขาจะต้องกล่าวปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น พระเจ้าองค์เดียว และไม่มีการตั้งภาคีใดต่อพระองค์ และเขากล่าวว่า ฉันเป็นศาสนทูตของพระองค์ ที่ถูกแต่งตั้งด้วยสัจธรรม และเขาต้องศรัทธาวันแห่งการตัดสิน และศรัทธาในกอฎออฺและกอดัรของพระองค์ด้วย”

(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๕ วจนะที่ ๒ )

บางส่วนของวจนะของบรรดาอะฮฺลุลบัยต์ กล่าวถึง การเข้าใจที่ยากลำบากและมีความละเอียดอ่อนในเรื่องราวของกอฎออฺและกอดัร ดั่งเช่น

วจนะจากท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ที่ได้กล่าวตอบกับผู้ที่ถามถึง กอฏออฺและกอดัร ว่า

ท่านอย่าเดินไปในหนทางที่มืดมน และอย่าเข้าสู่ทะเลที่มีความลึก และอย่าหมกมุ่นอยู่กับการค้นหาความเร้นลับของอัลลอฮ์”

(นะญุลบะลาเฆาะฮ์ ฮิกมะฮ์ที่ ๒๘๗ )

วจนะจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล)ได้กล่าวว่า

“เวลาหนึ่งจะมาสู่ประชาชาติของฉัน พวกเขาได้กล่าวว่า การกระทำบาปของพวกเรา ขึ้นอยู่กับกอฎออฺของพระเจ้า ดังนั้น พวกเขามิใช่พวกของฉัน และฉันมิใช่พวกเขา”

(ศิรอฏ็อลมุสตะกีม อิลา มุสตะฮิกอัตตักดีม หน้าที่ ๓๒)

๔๒๒

และอีกวจนะหนึ่งจากท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) กล่าวตอบเกี่ยวกับกอฎออฺและกอดัรของพระเจ้าว่า

“เจ้าอย่าได้พูดว่า พระผู้เป็นเจ้าได้ละทิ้งสูเจ้าไปตามยถากรรมโดยที่มิได้ดูแล  คำพูดเป็นการดูถูกต่อพระองค์ และอย่าได้พูดว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงบังคับในกระทำความบาปทั้งหลาย แต่จงกล่าวเถิดว่า ความดีมาจากความประสงค์ของพระองค์ และความชั่วมาจากการไม่ยอมรับพระองค์ และทุกสิ่งเป็นสิ่งที่รับรู้ ณ พระองค์”

(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๙๕ วจนะที่ ๑๖ )

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

 

 กอฎออฺ หมายถึง การกำหนดกฏสภาวะ : Decision

 กอดัร หมายถึง จุดหมายปลายทาง : Destiny

 กอฎออฺและกอดัรอิลมีย์

 กอฎออฺและกอดัรอัยนีย์

 กอฏออฺและกอดัรโดยทั่วไป

๔๒๓

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ประเด็นของกอฎอและกอดัร เป็นประเด็นที่มีความสำคัญในหลักศรัทธาของอิสลาม ซึ่งถูกกล่าวไว้ในโองการทั้งหลายและวจนะของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ และประเด็นมีความสัมพันธ์กับเรื่องของชะตากรรม ด้วยเหตุนี้ เรื่องกอฎออฺและกอดัร จึงเป็นเรื่องทั่วไป

๒.คำว่า กอดัร หมายถึง ขนาด และจำนวนของสิ่งหนึ่ง ส่วนกอฎออฺ หมายถึง การตัดสินและการกำหนดสภาวะที่แน่นอน

๓.กอฎออฺและกอดัร ถูกแบ่งออกเป็น สอง ประเภท คือ กอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ และกอฎออฺและกอดัรอัยนีย์ และยังถูกแบ่งออกอีก สอง ประเภท นั่นคือ กอฎออฺและกอดัรโดยเฉพาะ และกอฎออฺและกอดัรโดยทั่วไป

๔. ความหมายของกอดัรอิลมีย์ คือ พระผู้เป็นเจ้าทรงมีความรู้ในลักษณะ ,ขนาด และขอบเขตของสิ่งหนึ่งก่อนการสร้างของสิ่งนั้น  ส่วนกอฎออฺอิลมีย์ หมายถึง พระองค์ทรงมีความรู้ว่าสิ่งหนึ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่และเกิดขึ้น

๕. ความหมายของกอดัรอัยนีย์ คือ พระผู้เป็นเจ้า ทรงเป็นผู้กำหนดลักษณะและคุณลักษณะทั้งหลายและขอบเขตของสิ่งหนึ่ง  ส่วนความหมายของกอฎออฺอัยนีย์ คือ พระองค์ทรงกำหนดให้มีความจำเป็นของสิ่งหนึ่งที่ต้องเกิดขึ้น

๔๒๔

๖.กอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลือกสรรในการกระทำของมนุษย์และมีผลในการกระทำนั้นด้วย ดังนั้น จึงมิได้มีความขัดแย้งกับการเลือกสรรของมนุษย์ และเช่นเดียวกัน กอฎออฺและกอดัรอัยนีย์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับความประสงค์ของมนุษย์ด้วยเหมือนกัน  ซึ่งเกิดจากระบบของหลักเหตุและผล ด้วยเหตุนี้ การมีความเชื่อในกอฎออฺและกอดัร จึงมิได้มีความขัดแย้งกับการเป็นอิสระและเป็นผู้เลือกสรรในการกระทำของมนุษย์เอง

๗.กอฎออฺและกอดัรของพระเจ้า นอกจากจะครอบคลุมต่อบุคคลและสิ่งต่างๆโดยเฉพาะ ยังได้รวมถึงกฏเกณฑ์ต่างของพระผู้เป็นเจ้าด้วย ดังนั้น ความหมายของกอฎออฺและกอดัรโดยทั่วไป หมายถึง พระผู้เป็นเจ้าทรงมีความรู้มาแต่ดั้งเดิม ในการกำหนดกฏเกณฑ์และหลักการต่างๆในสังคมของมนุษย์

๘.วจนะทั้งหลายได้กล่าวไว้ การไม่มีความขัดแย้งกันระหว่างการมีความเชื่อในกอฎออฺและกอดัรของพระเจ้ากับการเลือกสรรในการกระทำของมนุษย์

๔๒๕

   บทที่ ๕

   การบังคับและเจตจำนงเสรีของมนุษย์ (ญับรฺวะอิคติยาร)

   บทนำเบื้องต้น

    การบังคับและเจตจำนงเสรีของมนุษย์ (ญับร์และอิคติยาร) เป็นประเด็นหนึ่งที่มีความสำคัญทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน และเป็นข้อวิพากษ์กันในหมู่ของบรรดานักวิชาการอิสลาม โดยเฉพาะในสำนักคิดทั้งหลายของเทววิทยา ซึ่งคำถามที่เกิดขึ้นในประเด็นนี้ ก็คือ มนุษย์คิดว่า ตนเองมีอิสระเสรีในการกระทำของตนเอง หรือว่า ไม่มีอิสระใดและการกระทำของเขา เป็นการบังคับจากพระผู้เป็นเจ้า

   คำอธิบาย

  การบังคับจากพระเจ้าให้มนุษย์ได้กระทำการงานหนึ่ง ความหมายว่า เขาไม่มีอิสระเสรีในตนเองในการกระทำอันนั้น ส่วนการมีอิสระของมนุษย์ในการกระทำ มีความหมายว่า มนุษย์มีอิสระและการเลือกสรรที่กระทำการงานนั้นหรือไม่กระทำก็ได้ และเขามีความเข้าใจและมีความสามารถที่จะไม่กระทำการงานนั้นได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การกระทำที่เป็นอิสระขึ้นอยู่กับการเลือกสรรของผู้กระทำและจากการตัดสินใจของเขา

๔๒๖

 เพราะฉะนั้น การกระทำใดก็ตามที่เป็นอิสระ มิได้หมายความว่า การกระทำอันนั้นต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเสมอไปด้วย เช่น ผู้ป่วยและด้วยกับการรับประทานยาที่รสขม เพื่อที่จะรักษาอาการป่วยของเขาให้หายขาด แต่เนื่องจากเขาไม่ต้องการที่จะรับประทานยานั้น และการรับประทานยา เป็นการฝ่าฝืนกับการตัดสินใจของเขา

สำหรับคำตอบของคำถามข้างต้นนี้ มีทัศนะความคิดเห็นที่สำคัญ ๒  ทัศนะ ดังนี้

๑.ทัศนะของกลุ่มที่มีความเชื่อในญับร์(การบังคับ)และได้กล่าวว่า ตนไม่มีอิสระเสรีในการกระทำ

๒. ทัศนะของกลุ่มที่เชื่อในอิคติยาร (เจตนารมณ์เสรี) กล่าวว่า มนุษย์มีอิสระเสรีในการกระทำ

   ขอบเขตของเรื่อง การบังคับและเจตจำนงเสรีของมนุษย์

    เรื่องของการบังคับและเจตจำนงเสรี มิได้มีจำกัดเฉพาะกับเทววิทยาอิสลามเท่านั้น แต่ในศาสตร์และวิชาการทั้งหลายของอิสลาม ก็มีความสัมพันธ์ในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน บางครั้ง เรื่องของการบังคับและเจตจำนงเสรี เกี่ยวข้องกับเทววิทยา และปรัชญาอิสลาม และในบางครั้ง เรื่องนี้ก็มีความสัมพันธ์กับมนุษยศาสตร์ด้วย ดังนั้น กล่าวได้ว่า วิชาการทั้งหลายของอิสลามและศาสตร์แขนงต่างๆที่มีความสัมพันธ์กับเรื่องของการบังคับและเจตจำนงเสรีของมนุษย์)

๔๒๗

สามารถแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ดังนี้

๑.เทววิทยาอิสลาม กล่าวคือ ศาสตร์และวิชาการสาขานี้ มีความสัมพันธ์กับญับร์และอิคติยาร เป็นอย่างมาก ในหัวข้อคุณลักษณะที่มีอยู่บางประการของพระผู้เป็นเจ้า เช่น หลักเตาฮีดในการเป็นพระผู้ทรงสร้าง ,ความปรารถนา, ความรอบรู้ และ ฯลฯ

๒.ปรัชญาอิสลาม กล่าวคือ ศาสตร์และวิชาการสาขานี้ มีความสัมพันธ์จากการใช้กฏและหลักการของตรรกและปรัชญาในการพิสูจน์การมีของญับร์และอิคติยาร และเกี่ยวกับประเด็นการรู้จักพระเจ้าและคุณลักษณะของพระองค์โดยตรง

๓.สังคมวิทยาและจิตวิทยา ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า เรื่องของพันธุกรรม, การอบรมสั่งสอนและสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อมนุษย์ในการกระทำของเขา ดังนั้น เรื่องของญับร์และอิคติยารในวิชาการและศาสตร์ คือ การพิจารณาจากปัจจัยที่กล่าวไปแล้ว ทำให้เห็นว่า ไม่สามารถที่จะปฏิเสธการมีอิสระเสรีในการกระทำของมนุษย์ได้ และจะเป็นสาเหตุที่ทำให้มนุษย์มีความเชื่อในญับร์ (การบังคับ)ในการกระทำของเขาใช่หรือไม่

ด้วยเหตุนี้ เป้าหมายของหนังสิอนี้เกี่ยวกับวิชาการประเภทแรก คือ เทววิทยา จึงจำเป็นที่จะมาอธิบายกันในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับและเจตจำนงเสรีของมนุษย์ ก่อน นั่นก็คือ ในมุมมองและทัศนะทั้งหลายของเทววิทยาอิสลาม

๔๒๘

   การบังคับและเจตจำนงเสรีของมนุษย์ที่ถูกกล่าวไว้ในประวัติศาสตร์อิสลาม

        ความคิดเห็นในเรื่องของการบังคับและเจตจำนงเสรี ได้เกิดขึ้นในช่วงแรกของอิสลาม ก็คือประมาณ ศตวรรษแรกของอิสลาม และสาเหตุการเกิดขึ้นของความคิดนี้มาจากผลประโยชน์ของบรรดาผู้ปกครองในสมัยนั้น บรรดานักวิชาการจึงถูกแบ่งออกเป็นหลายฝ่าย กลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า อะฮ์ลุลฮะดีษหรือ กลุ่มที่มีความสันทัดในการรายงานวจนะทั้งหลาย(ฮะดีษ) และพวกเขาได้ยอมรับในความเชื่อในญับร์ เช่น ท่านญะฮ์ม์ บิน ศอฟวาน (เสียชีวิตในฮ.จ.ที่ ๑๒๔)ผู้ก่อตั้งสำนักคิดญะฮ์มียะฮ์ โดยมีความเชื่อว่า มนุษย์ทั้งหลายไม่มีอิสระในการกระทำของตนเอง และพระเจ้า เพียงพระองค์เดียวที่ทรงสร้างการกระทำทั้งหลายให้กับมนุษย์ และในพืชพรรณต่าง ก็เช่นกัน และในสรรพสิ่งทั้งหลายก็ด้วยเช่นกัน  ดังนั้น ทัศนะนี้ มีความเชื่อในการบังคับที่เกินขอบเขตที่ถูกกำหนด หลังจากที่ความเชื่อในการบังคับมีมากขึ้น จากการเกิดขึ้นของสำนักคิดอัชอะรียฺ และพวกเขามีทัศนะเป็นของตัวเอง ก็คือ ทัศนะกัสบ์ ซึ่งมีความเชื่อว่า มนุษย์มีขอบเขตในการกระทำของเขาและในทางตรงกันข้ามกับทัศนะนี้ มะอ์บัด ญะฮะนี และสานุศิษย์ของเขาคือ ฆอยลาน ดะมิชกี กับมีความเชื่อใน การมีอิสระในการกระทำของมนุษย์ ดังนั้น เรื่องของการบังคับและเจตจำนงเสรี ในมุมมองของประวัติศาสตร์เทววิทยาอิสลาม จึงมีด้วยกัน ๓ ทัศนะที่สำคัญ ดังนี้

๑.ทัศนะญับร์ (ทัศนะที่เชื่อว่า มนุษย์ถูกบังคับให้กระทำ)

๔๒๙

ทัศนะนี้ ในช่วงแรก เป็นทัศนะของอะฮฺลุลฮะดีษ ที่มีความเชื่ออย่างรุนแรง หลังจากนั้น  ก็เป็นทัศนะของสำนักคิดอัชอะรียฺ แต่มีความแตกต่างกับทัศนะของอะฮฺลุลฮะดีษ คือ มีทัศนะที่ใหม่เกิดขึ้น ก็คือ ทัศนะกัสบฺ ซึ่งมีความเป็นกลางกว่าทัศนะของอะฮฺลุลฮะดีษ

๒.ทัศนะตัฟวีฎ

ทัศนะนี้ เป็นทัศนะของสำนักคิดมุอฺตะซิละฮฺ

๓.ทัศนะอิคติยารหรืออัมรุน บัยนะอัมร์(ทัศนะที่เชื่อว่ามีอิสระในการกระทำ)

ทัศนะนี้ เป็นทัศนะของสำนักคิดอิมามียะฮ์ และจากวจนะของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (ขอความสันติ พึงมีแด่พวกท่าน)ที่ได้กล่าวไว้ว่า ไม่มีการบังคับและการมอบหมายจากพระเจ้า นอกจากการมีระหว่างสองสิ่ง

หลังจากที่มีความเข้าใจในทัศนะทั้งหลายของบรรดานักเทววิทยาอิสลามแล้ว จะขออธิบายในเหตุผลของแต่ละทัศนะ เป็นลำดับต่อไป และก่อนที่จะอธิบาย มีประเด็นที่สำคัญในเรื่องนี้ นั่นก็คือ มนุษย์กับการมีอิสระในการกระทำของเขา

   มโนธรรมของมนุษย์บ่งบอกถึงการเป็นอิสระเสรี

     ทัศนะของอิคติยาร (เชื่อในการมีอิสระเสรีในการกระทำ) มีความเชื่อว่า ทัศนะของพวกเขามีหลักฐานและเหตุผลที่เพียงพอ และไม่มีผู้ใดที่ไม่ยอมรับเหตุผลของพวกเขา

๔๓๐

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ มนุษย์ทุกคนมีความรู้สึกว่า ตนเองมีอิสระและเจตนารมณ์เสรีในการกระทำ ความรู้สึกนี้เกิดจากการรับรู้โดยตรง และไม่มีการผิดพลาดอย่างแน่นอน และอีกด้านหนึ่ง คือ การรู้สึกเสียใจที่ได้กระทำบางอย่างไป มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเองและสามารถมอบหมายหน้าที่ให้กับผู้อื่น การลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืน สิ่งเหล่านี้ เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นจากการเป็นอิสระและเจตนารมณ์เสรีของมนุษย์ทั้งสิ้น

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วทำไมบรรดานักคิดบางคน จึงมีความเชื่อในการบังคับจากพระเจ้าและปฏิเสธเจตนารมณ์เสรีของมนุษย์?

คำตอบ ก็คือ ที่มาของความเชื่อในการบังคับ นอกเหนือจากเหตุผลทางจิตใจและเป้าหมายส่วนบุคคลแล้ว ยังมีคำถามอีกมากมายที่ถูกถามและเขาไม่สามารถหาคำตอบได้ จนในที่สุดพวกเขาก็ต้องเชื่อในการบังคับ ดังนั้นสิ่งนี้ มิใช่เป็นสิ่งแปลกประหลาดอะไร เพราะในประวัติศาสตร์บันทึกไว้ได้ชัดเจนว่า แม้แต่นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ ยังไม่สามารถหาคำตอบในบางข้อสงสัยได้ เช่น การมีอยู่ของความเป็นจริง และท้ายที่สุด เขาก็กลายเป็นผู้สงสัยในการมีอยู่ของความเป็นจริง  

   การวิเคราะห์ในทัศนะญับร์ (การบังคับจากพระเจ้า)

   ในการวิเคราะห์และตรวจสอบทัศนะญับร์ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ พื้นฐานและเหตุผลของสำนักคิดอัชอะรีย์

 และพื้นฐานที่สำคัญของสำนักคิดอัชอะรีย์ ในการยอมรับญับร์ ซึ่งมีดังนี้

๔๓๑

๑.ความเป็นเอกานุภาพในการสร้างสรรค์ (เตาฮีดในการสร้าง) เป็นพื้นฐานหนึ่งที่สำคัญของอัชอะรีย์  พวกเขากล่าวว่า ด้วยกับความเป็นเอกานุภาพในการสร้างสรรค์ของพระเจ้า หมายความว่า พระองค์เพียงองค์เดียวเท่านั้น ที่เป็นผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง และทุกสรรพสิ่งซึ่งได้รวมถึง การกระทำของมนุษย์ด้วย ดังนั้น พระองค์ทรงเป็นผู้สร้างการกระทำของมนุษย์เพียงพระองค์เดียว และมนุษย์มิได้มีบทบาทใดในการเกิดขึ้นของการกระทำของเขา และเขาก็ไม่มีความเป็นอิสระและมีเจตนารมณ์เสรีอีกด้วย

ดังนั้น สิ่งที่ได้กล่าวไปในประเด็นของความเป็นเอกานุภาพในการกระทำ และประเภทต่างๆของมัน เป็นคำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในการสร้างสรรค์ ก็คือ พระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้ที่มีอำนาจสร้างทุกสรรพสิ่งโดยมิต้องได้รับอนุญาตจากสิ่งอื่นใด และความหมายนี้ ก็มิได้ขัดแย้งกับการกระทำของมนุษย์ที่เขาเป็นผู้เลือกสรรในการกระทำของเขา แต่การกระทำของเขานั้นจะต้องได้รับการอนุมัติจากพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียว ดั่งที่ได้กล่าวแล้วว่า ในโองการมากมายของอัล กุรอานได้กล่าวถึง การเป็นผู้กระทำของมัคลูก (สิ่งถูกสร้าง) ของพระองค์ ด้วยเหตุนี้ ความเป็นเอกานุภาพในการสร้างสรรค์ ก็มิได้ขัดแย้งกับการเป็นอิสระและการมีเจตนารมณ์เสรีของมนุษย์ และการกระทำของเขาเกิดได้ด้วยการอนุมัติจากพระองค์ และการกระทำนั้นอยู่ในด้านยาวของการกระทำของพระองค์ โดยมิได้อยู่ด้านกว้างของการกระทำของพระองค์

๔๓๒

๒.ความรู้ที่มีมาดั้งเดิมของพระเจ้า อีกพื้นฐานหนึ่งของอัชอะรีย์ คือ เรื่องของความรู้อันไม่มีที่สิ้นสุดของพระองค์ เหตุผลนี้มีความสัมพันธ์กับประเด็นของกอฎออฺและกอดัรของพระเจ้าอย่างลึกซึ้ง ซึ่งเป็นตัวเชื่อมระหว่างกอฎออฺและกอดัรกับการบังคับและเจตจำนงเสรี

เหตุผลของพื้นฐานความรู้ที่มีมาดั้งเดิมของพระเจ้า คือ พระองค์ทรงมีความรู้ก่อนการเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นของการกระทำของมนุษย์ จะกล่าวอีกนัยหนึ่งกืคือ เป็นไปไม่ได้ที่ความรู้ของพระองค์ จะไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือพระองค์ไม่มีความรู้ในการกระทำของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นไปไม่ได้ที่มีการเกิดขึ้นของการกระทำ แต่ทว่าพระองค์มิทรงมีความรู้ในการกระทำนั้น และการเกิดขึ้นของการกระทำ พระองค์จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ และไม่มีสภาพที่สามเกิดชึ้น ดังนั้น การกระทำของมนุษย์เกิดจาก สอง สภาพ เป็นไปไม่ได่ และความจำเป็น กล่าวได้ว่า พลังอำนาจมีกับสิ่งที่เป็นไปได้ และการกระทำของมนุษย์อยู่ในอำนาจของพระองค์ ซึ่งจะเห็นได้ว่า การกระทำของมนุษย์นั้น มิได้มีความเป็นอิสระเสรี

คำตอบ จากที่ได้อธิบายไปแล้วในประเด็นกอฎออฺและกอดัรว่า ความรู้ของพระเจ้ามีต่อการกระทำของมนุษย์ในสภาพที่มีคุณสมบัติสมบูรณ์ และความหมายของความรู้ดั้งเดิมของพระองค์ คือ  พระองค์ทรงมีความรู้ก่อนการกระทำที่เป็นอิสระของมนุษย์ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง และอื่นๆ  ซึ่งพระองค์ทรงรู้ว่าการกระทำที่เป็นอิสระของมนุษย์คนนั้น จะเกิดขึ้นในเวลาและสถานที่ใด  ดังนั้น ในสภาพนี้

๔๓๓

จึงมีความจำเป็นที่การกระทำนั้นต้องเกิดขึ้น และการกระทำนั้นมิได้มีความขัดแย้งกับการเลิอกสรรของมนุษย์ เพราะว่าความหมายของ ความจำเป็นคือ การกระทำที่มีเหตุผลสมบูรณ์และมีผู้กระทำที่มีอิสระ ดั่งเช่น ทุกๆผลของเหตุที่มีความจำเป็นและมีเหตุผลสมบูรณ์

ส่วนมากของบรรดานักปรัชญาอิสลามได้ตอบข้อสงสัย ด้วยกับคำตอบเช่นนี้ เช่น

ท่านอัลลามะฮฺ ตอบาตอบาอีย์ ได้กล่าวว่า

“ความรู้ที่มีดั้งเดิมและไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า มีต่อทุกสรรพสิ่งที่มีคุณสมบัติสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ของพระองค์ คือ การกระทำที่มีการเลือกสรรและมีอิสระในสภาพที่มีการเลือกสรร ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่การกระทำนั้น จะไม่มีอิสระอยู่เลย กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับกอฎออฺของพระเจ้า ก็คือ การกระทำของผู้กระทำที่มีอิสระ และถ้าหากว่า กอฎออฺของพระองค์มีต่อการกระทำที่ไม่มีอิสระ เท่ากับว่าเป็นการปฏิเสธกอฎออฺของพระองค์ ซึ่งเป็นไปไม่ได้”

(นิฮายะตุลฮิกมะฮ์ ตอนที่ ๑๒ ภาคที่ ๑๔ )

๓.ความประสงค์อันสมบูรณ์และไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า นี่คือพื้นฐานที่สามของอัชอะรีย์ ในการยอมรับทัศนะญับร์

เหตุผลของอัชอะรีย์ ก็คือ ความประสงค์ของพระเจ้า ได้รวมถึงการกระทำของมนุษย์เข้าไปด้วย ดังนั้น ทุกการกระทำของมนุษย์ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของพระองค์ และผลที่ได้รับก็คือ การกระทำของมนุษย์มิได้มีความเป็นอิสระเสรี  เพราะการเกิดขึ้นของการกระทำขึ้นอยูกับความประสงค์ของพระองค์ มิใช่ความประสงค์ของมนุษย์

๔๓๔

ก่อนที่จะตอบข้อสงสัยข้างต้น เล็งเห็นว่า มีความสำคัญที่จะกล่าวว่า มีความแตกต่างกันในความรู้ที่มีมาดั้งเดิมของพระเจ้า ต่อการกระทำของมนุษย์ กับเกิดความแตกต่างในความประสงค์ของพระองค์  ซึ่งอัชอะรีย์ยอมรับว่า ความประสงค์ของพระเจ้ามีต่อการกระทำของมนุษย์ด้วย แต่มุอฺตะซิละฮ์ได้คัดค้านทัศนะนี้ และกล่าวว่า เราเชื่อในการเป็นอิสระและมีเจตนารมณ์ในการกระทำของมนุษย์  ด้วยเหตุนี้ ประเด็นนี้จึงเกิดคำถามอยู่ สอง คำถาม ดังนี้

๑.ความประสงค์ของพระเจ้า มีต่อการกระทำของมนุษย์ใช่หรือไม่

๒.ถ้าตอบว่า ใช่ จะเป็นสาเหตุให้เกิดทัศนะญับร์และการไม่มีอิสระในการกระทำของมนุษย์ด้วยใช่หรือไม่

คำตอบ ก็คือ ในคำตอบแรก ตอบว่า ใช่ ส่วนคำตอบที่สอง ไม่ เพราะว่า อิรอดะฮ์ของพระเจ้า รวมถึงการกระทำของมนุษย์อยู่ด้วย และไม่มีเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ใดที่อยู่เหนือความประสงค์ของพระองค์ และสิ่งนี้มิได้เป็นสาเหตุให้เข้าใจว่า การกระทำของมนุษย์ เป็นการบังคับจากพระองค์ เพราะว่าในที่นี้ อิรอดะฮ์ (ความประสงค์) ของพระเจ้า มิได้มีสภาพที่ไม่มีขอบเขต แต่อิรอดะฮ์ของพระองค์มีต่อการกระทำที่มีคุณสมบัติสมบูรณ์ เหมือนกับเรื่องของความรู้ของพระองค์

ด้วยเหตุนี้ ถ้าอิรอดะฮ์ของพระเจ้า มีผลต่อไฟที่มีความร้อน ที่ไม่มีความรู้และความประสงค์ แต่อิรอดะฮ์ของพระองค์ในการกระทำที่เป็นอิสระ ต้องมีทั้งความรู้และความประสงค์ควบคู่กัน

๔๓๕

   ทัศนะกัสบ์

    กล่าวไปแล้วในเหตุผลของการเป็นอิสระของมนุษย์ในการกระทำ ซึ่งกลุ่มที่มีความเชื่อในการบังคับได้ปฏิเสธการเป็นอิสระของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ พวกอัชอะรีย์จึงมีความพยายามที่จะรักษาพื้นฐานและหลักการของตน เพื่อที่จะทำให้มนุษย์มีบทบาทในการกระทำของเขา จึงได้มีทัศนะใหม่เกิดขึ้น นั่นคือ ทัศนะกัสบ์ เมื่อย้อนกลับไปหาคำกล่าวของบรรดานักวิชาการของอัชอะรีย์ จะเห็นได้ว่า มีการอธิบายในทัศนะนี้ที่แตกต่างกัน  ซึ่งมีดังต่อไปนี้

๑.ในการอธิบายหนึ่งกล่าวว่า กัสบ์ หมายถึง การมีอำนาจที่เกิดขึ้นในการกระทำของมนุษย์ ดังนั้น ในเวลาที่มนุษย์กระทำ ตัวของเขามิได้เป็นผู้กระทำ แต่พระเจ้าทรงสร้างพลังอำนาจหนึ่งให้มีอยู่ในการกระทำของเขา และพลังนี้มีผลต่อการเกิดขึ้นของการกระทำนั้น

คำตอบ ก็คือ ถ้าหากพลังอำนาจที่เป็นตัวทำให้การกระทำของมนุษย์เกิดขึ้น และพระเจ้าก็มีพลังอำนาจด้วย ดังนั้น การเกิดขึ้นของการกระทำหนึ่ง มี สองพลังอำนาจ ซึ่งเป็นไปไม่ได้

และถ้าการมีพลังอำนาจของมนุษย์อยู่ใต้อำนาจของพระเจ้า ดังนั้น มนุษย์ มีผลต่อการเกิดขึ้นของการกระทำของตนเอง ซึ่งก็คือ การยอมรับในทัศนะของการเป็นอิสระในการกระทำนั่นเอง

๔๓๖

๒.ทุกการกระทำมีอยู่ สอง สภาพ คือ

(๑).การมีอยู่ของการกระทำ

(๒).การตั้งชื่อ นอกจากการมีอยู่ของการกระทำแล้ว ยังมีสิ่งอื่นอีก ซึ่งพลังอำนาจของมนุษย์มีในสิ่งนี้ ดังนั้น การมีอยู่ของการกระทำ เป็นการกระทำของพระเจ้า แต่การตั้งชื่อ เช่น การนมาซ การกิน การพูดโกหก และอื่นๆ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากพลังอำนาจที่มีอยู่ในพระองค์ ด้วยเหตุนี้ ความหมายของกัสบ์ คือ การมีพลังอำนาจของมนุษย์ในการตั้งชื่อของการกระทำของตน

การวิเคราะห์และตรวจสอบในทัศนะนี้  จะกล่าวได้ว่า ถ้าหากว่า การตั้งชื่อหรือเรียกชื่อ เป็นการกระทำที่มีอยู่จริง และตรงกับทัศนะของอัชอะรีย์ ในหลักเตาฮีดในการสร้าง และการตั้งชื่อนั้น เป็นการกระทำของพระเจ้า และมนุษย์ไม่มีผลในการกระทำอันใดเลย

และถ้าหากว่า การตั้งชื่อ มิได้มีอยู่ในความเป็นจริง ทัศนะกัสบ์ถือว่า ไม่ถูกต้อง

๓.บางครั้ง ความหมายของกัสบ์ คือ พระเจ้าในเวลาเดียวกัน ที่มีความประสงค์ และมนุษย์ก็มีความสามารถในการกระทำ  และทำให้การกระทำนั้นเกิดขึ้น ซึ่งการเกิดขึ้นของการกระทำนั้น มิได้มีผลต่อการมีพลังอำยาจของมนุษย์เลย

การตรวจสอบในทัศนะนี้ กล่าวได้ว่า การเกิดขึ้นของความประสงค์ของมนุษย์พร้อมกันกับการเกิดขึ้นของการกระทำที่เป็นการกระทำของพระเจ้า ไม่ถูกต้องที่จะเชื่อมความสัมพันธ์ของการกระทำไปยังมนุษย์

๔๓๗

นอกเหนือจากนี้ ความประสงค์ดั่งกล่าว เป็นความประสงค์ที่มิได้เป็นจริง เพราะว่า ความประสงค์ที่เป็นจริง เกิดขึ้นกับมุรอด(สิ่งที่ถูกประสงค์) และเกิดขึ้นจากการเป็นลูกโซ่ของเหตุผลทั้งหลาย

จากสิ่งที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น คือ ทัศนะหนึ่งของอัชอะรีย์เกี่ยวกับการกระทำของมนุษย์ เป้าหมายและจุดประสงค์ของพวกเขาก็คือ ต้องการที่จะรักษาในหลักเตาฮีด การมีพลังอำนาจ ความรู้ กรรมสิทธิของพระเจ้า และด้วยกับการไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้ง จึงเป็นสาเหตุให้พวกเขามีความเชื่อในการบังคับ เพื่อให้ความเชื่อนี้คงอยู่ จึงเกิดทัศนะใหม่ขึ้นมา นั่นคือ ทัศนะกัสบ์ (ด้วยกับการอธิบายในความหมายที่แตกต่างกัน) และทัศนะนี้ถือว่า ไม่ถูกต้องและขัดแย้งกับโองการทั้งหลายของอัล กุรอาน ซึ่งจะอธิบายในภายหลัง เป็นลำดับต่อไป

   การตรวจสอบในทัศนะตัฟวีฎ (การมอบอำนาจในกิจการต่อพระเจ้า)

   หลังจากที่อธิบายในทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์และได้วิเคราะห์และตรวจสอบผ่านไปแล้ว  ที่นี้ จะมาอธิบายในทัศนะของสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์ ต่อไป และทัศนะของสำนักคิดนี้ที่เป็นที่รู้จักกันว่า ตัฟวีฎ

พวกมุอฺตะซิละฮ์มีทัศนะที่แตกต่างกันอัชอะรีย์ คือ พวกเขาเชื่อว่า การกระทำที่เป็นอิสระของมนุษย์เกิดขึ้นจากความประสงค์ของเขาเอง และมนุษย์คือ ผู้ตัดสินใจในการกระทำของตนเอง และพระเจ้าไม่มีบทบาทหรือมีผลในการกระทำของเขาเลย

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า พระเจ้าได้มอบหมายการกระทำที่เป็นอิสระให้กับมนุษย์และให้เขาเป็นผู้ตัดสินใจ

๔๓๘

พวกมุอฺตะซิละฮ์ก็เหมือนกับอัชอะรีย์มีเหตุผลมากมายทางสติปัญญาและโองการจากอัล กุรอาน และวจนะ และพวกเขากล่าวว่า ถ้าหากว่า มนุษย์ไม่มีอิสระในการกระทำของตน การกำหนดบทบัญญัติและหน้าที่ก็ไม่มีความหมาย เพราะในสภาพนี้ มนุษย์ไม่มีบทบาทใดในการกระทำ และไม่มีการยกย่องและการลงโทษ

ในการตรวจสอบทัศนะของพวกมุอฺตะซิละฮ์  กล่าวได้ว่า ถ้าหากเหตุผลของพวกมุอ์ตะซิละฮ์ถูกต้อง ดังนั้น ทัศนะของพวกอัชอะรีย์ ในการบังคับถือว่า ไม่ถูกต้อง แต่ไม่ถือว่า ทัศนะตัฟวีฎ มีความถูกต้อง  เพราะว่า เหตุผลของทัศนะนี้ จะถูกต้องได้ ต้องตรงกันกับทัศนะที่สาม นั่นคือ ทัศนะอัมรุน บัยนัลอัมร์

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ถ้ายอมรับในทัศนะตัฟวีฎ  เหตุผลของสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์  นอกจากใช้พิสูจน์ว่า ทัศนะญับร์ไม่ถูกต้อง  ก็ต้องพิสูจน์ในทัศนะของบรรดานักเทววิทยาในสำนักคิดอิมามียะฮ์ด้วย ซึ่งความเป็นจริง มิได้เป็นเช่นนั้น

   จุดประสงค์ของพวกมุอฺตะซิละฮ์ ต่อการมีความเชื่อในทัศนะตัฟวีฎ

    ความเป็นจริง ก็คือ พวกมุอฺตะซิละฮ์ต้องการรักษาความยุติธรรมของพระเจ้า และอีกด้านหนึ่ง พวกเขาคาดคะเนที่ผิดพลาดว่า  การลงโทษจากพระเจ้าต่อมนุษย์ในสภาพที่การกระทำของเขาเป็นอิสระเท่านั้น ถึงเรียกว่า มีความยุติธรรม ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงหาหนทางในการหลีกเลี่ยงกับทัศนะของญับร์ จึงเลือกเอาทัศนะตัฟวีฎ เป็นทัศนะของตน

๔๓๙

จากทัศนะนี้แสดงให้เห็นว่า พระเจ้ามิได้มีบทบาทในการกระทำของมนุษย์เลย ซึ่งในความเป็นจริง ถ้าหากพวกเขาได้ครุ่นคิด ก็จะเห็นว่า การกระทำของมนุษย์และความสัมพันธ์กับการกระทำของพระเจ้า นั้นคือ หลักเตาฮีดในการกระทำ และการมีความยุติธรรม ซึ่งอยู่คู่กัน

   ทัศนะของอัมรุน บัยนะอัมร็อยน์ (แนวทางสายกลาง)

    ได้กล่าวไปแล้วในทัศนะของอัชอะรีย์และมุอฺตะซิละฮ์ จะยังคงเหลือเพียงทัศนะเดียว นั่นคือ ทัศนะของสำนักคิดอิมามียะฮ์ ที่เรียกกันว่า ทัศนะอัมรุน บัยนุลอัมร็อยน์ เป็นแนวทางสายกลางต่อการอธิบายในการกระทำของมนุษย์ แต่การที่จะมีความเข้าใจในทัศนะนี้ได้นั้น มีความยากลำบากและมีความละเอียดอ่อน ซึ่งมีการอธิบายที่มีความแตกต่างกันในหมู่นักเทววิทยาอิมามียะฮ์เอง

บรรดานักปรัชญาอิสลามได้กล่าวในการอธิบายทัศนะนี้ โดยยึดเอาหลักการและกฏตรรกที่มีความเข้าใจยากและมีความต้องการคำอธิบายที่ลึกซึ้ง โดยต้องอาศัยหลักการหนึ่ง นั่นก็คือ หลักวะฮฺดะฮฺ ตัชกีกียฺ (ความเป็นหนึ่งเดียวในระดับขั้นทั้งหลาย)(เป็นหลักการหนึ่งของปรัชญาอิสลาม)  กล่าวคือ การอธิบายถึงความสัมพันธ์ของพระเจ้า ในสภาพที่พระองค์ เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ และสิ่งอื่นเป็นสิ่งที่จะมีอยู่ก็ได้ ไม่มีก็ได้ และสิ่งที่จะกล่าวในทัศนะนี้ นั่นก็คือ การกระทำของมนุษย์ เป็นการกระทำที่มีอิสระในความเป็นจริง และเป็นการกระทำที่เขากระทำเองโดยตรงและเป็นทั้งการกระทำของพระเจ้าด้วย  และจากการกล่าวว่า การกระทำของมนุษย์ เป็นการกระทำของมนุษย์ และเป็นการกระทำของพระเจ้า

๔๔๐