บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม0%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน: ดร.มุฮัมมัด ซะอีดีย์ เมฮร์
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 450
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 294831
ดาวน์โหลด: 3073

รายละเอียด:

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 294831 / ดาวน์โหลด: 3073
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

เพราะว่า ด้วยกับการมีพลังอำนาจและความประสงค์ของพระองค์ และอยู่ใต้อำนาจการตัดสินของพระองค์ จึงเป็นการกระทำของพระองค์ และการมีอยู่ของมนุษย์และการกระทำของเขา เป็นสิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง  และการเข้าใจในทั้งสองความสัมพันธ์นั้นมีความยากลำบาก และเพื่อการเข้าใจง่าย จึงได้นำตัวอย่างมาเปรียบเทียบ เช่น บางทีกล่าวว่า ความสัมพันธ์ของการกระทำของพระเจ้า กับการกระทำของมนุษย์ เหมือนกับความสัมพันธ์ของนักเขียนกับปากกาของเขา ดังนั้นการเขียน เป็นการกระทำของผู้เขียนและเป็นการกระทำของมือที่จับปากกา

แต่การเปรียบเทียบนี้ถือว่า ไม่ถูกต้อง เพราะว่า มือของผู้เขียนมิได้มีความเป็นอิสระ ส่วนประเด็นของเรา เป็นประเด็นที่การกระทำมีความเป็นอิสระ และอีกตัวอย่างหนึ่ง คือ  ชายคนหนึ่งทิ่มือทั้งสองของเขาใช้งานไม่ได้ เขาต้องใช้มือที่แพทย์ได้สร้างมันขึ้นมา และมีความสามารถเคลื่อนไหวมือของเขาไปตามทิศทางที่เขาต้องการ  และสมมุติว่า มีคนหนึ่งถือกุญแจในการเปิดให้เครื่องจักรนั้นทำงาน และถ้าเขาไม่กดสวิทต์นั้น

เครื่องจักรก็ไม่ทำงาน ซึ่งจะเห็นได้ว่า การกระทำนี้มีความสัมพันธ์กับทั้งสองคน คนหนึ่งเป็นผู้เปิดสวิทต์ และอีกคนมีหน้าที่ในการเคลื่อนไหวมือทั้งสองของเขา ตามความประสงค์ของเขา

๔๔๑

   ทัศนะอัมรุน บัยนะอัมร็อยน์ในอัล กุรอานและวจนะ

   ทัศนะของบรรดานักเทววิทยาในสำนักคิดอิมามียะฮ์ เป็นทัศนะที่สอดคล้องกับโองการทั้งหลายของ

อัล กุรอาน

ซึ่งอัล กุรอานได้กล่าวว่า มนุษย์มีอิสระในการกระทำของตนเอง เช่น ในโองการต่อไปนี้

และจงกล่าวเถิดมุฮัมมัด สัจธรรมนั้นมาจากพระผู้เป็นเจ้าของพวกเจ้า ดังนั้น ผู้ใดประสงค์ก็จงศรัทธา และผู้ใดประสงค์ก็จงปฏิเสธ” (บทอัลกะฮฟ์ โองการที่ ๒๙ )

 “และบรรดาผู้ศรัทธา บรรดาลูกหลานของพวกเขาจะดำเนินตามพวกเขาด้วยการศรัทธา เราจะให้ลูกหลานของพวกเขาอยู่ร่วมกับพวกเขา และเราจะไม่ให้การงานของพวกเขาลดหย่อนลงจากพวกเขาแต่อย่างใด แต่ละคนย่อมได้รับการค้ำประกันในสิ่งที่เขาขวนขวายไว้”

 (บทอัฏฏูร โองการที่ ๒๑ )

 “แท้จริงเราได้ชี้แนะแนวทางให้แก่เขาแล้ว บางทีเขาก็เป็นผู้กตัญญู และบางทีเขาก็เป็นผู้เนรคุณ”  (บทอัลอินซาน โองการที่ ๓ )

 “ผู้ใดกระทำความดีก็จะได้แก่ตัวของเขา และผู้ใดกระทำความชั่วก็จะได้แก่ตัวของเขาเอง และพระเจ้าของเจ้านั้นมิทรงอธรรมต่อปวงบ่าวของพระองค์” (บทอัลฟุศศิลัต โองการที่ ๔๖ )

๔๔๒

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ มีโองการมากมายที่กล่าวถึง ทุกการกระทำของทุกสิ่ง ขึ้นอยู่กับการอนุมัติจากพระเจ้า และความต้องการของมนุษย์ ก็ขึ้นอยู่กับการอนุมัติจากพระองค์ ดั่งโองการเหล่านี้

“และพวกเจ้าจะไม่ประสงค์สิ่งใด เว้นแต่ อัลลอฮ์พระเจ้าแห่งสากลโลกจะทรงประสงค์”

(บทอัตตักวีร โองการที่ ๒๙)

“จงกล่าวเถิดว่า (มุฮัมมัด) ว่าฉันไม่มีอำนาจที่จะครอบครองประโยชน์ใด ๆ และโทษใด ๆ ไว้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ตัวของฉันได้ นอกจากสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงประสงค์เท่านั้น” (บทอัลอะอฺรอฟ โองการที่ ๑๘๘)

 “และมิเคยปรากฏว่าชีวิตใดจะศรัทธา เว้นแต่ด้วยอนุมัติของอัลลอฮ์ และพระองค์จะทรงลงโทษแก่บรรดาผู้ไม่ใช้สติปัญญา” (บทยูนุส โองการที่ ๑๐๐ )

จะเห็นได้ว่า อัล กุรอานได้ยืนยันอย่างชัดเจนว่า ไม่ยอมรับทัศนะญับร์และทัศนะตัฟวีฎ มีเพียงทัศนะเดียวที่ถูกต้อง นั่นคือ ทัศนะของอิมามียะฮ์ ซึ่งได้รวมทั้งการกระทำของมนุษย์และการกระทำของพระเจ้า

นอกเหนือจากนี้ ยังมีโองการอื่นอีกที่กล่าวยืนยันถึงการกระทำหนึ่งที่เป็นทั้งการกระทำของพระเจ้าและของมนุษย์ เช่น โองการนี้ที่กล่าวว่า

“พวกเจ้ามิได้ฆ่าพวกเขา แต่ทว่าอัลลอฮ์ต่างหากที่ทรงฆ่าพวกเขา และเจ้ามิได้ขว้างดอกขณะที่เจ้าขว้าง แต่ทว่าอัลลอฮ์ต่างหากที่ขว้าง” (บทอัลอัมฟาล โองการที่ ๑๗ )

๔๔๓

โองการนี้ใช้คำว่า เจ้ามิได้ขว้างปา ในขณะที่ขว้างปา จะเห็นได้ว่า กริยา เช่น การขว้างปา เป็นทั้งการกระทำของศาสดาและเป็นการกระทำของพระผู้เป็นเจ้า  จากคำกล่าวนี้ซึ่งตรงกับการอธิบายของทัศนะอัมรุน บัยนุลอัมร็อยน์  เพราะทัศนะนี้ได้กล่าวว่า การกระทำที่เป็นอิสระของมนุษย์ เป็นการกระทำของเขา และการกระทำของพระเจ้า

นอกจากโองการเหล่านี้ ยังมีวจนะที่ยืนยันในทัศนะของอิมามียะฮ์อีกด้วย เช่น

วจนะจากท่านอิมามบากิร และท่านอิมามซอดิก (ขอความสันติพึงมีแด่ท่านทั้งสอง)

“แท้จริง อัลลอฮ์ ทรงมีเมตตากว่าที่จะบังคับให้มวลบ่าวของพระองค์กระทำความผิดและบาปทั้งหลาย แล้วก็ทรงลงโทษพวกเขา และพระองค์ทรงมีเกียรติกว่าที่จะประสงค์ในสิ่งหนึ่ง แล้วสิ่งนั้นไม่เกิดขึ้น

หลังจากนั้น ได้ถามอิมามทั้งสองว่า

ในระหว่างการบังคับกับกอดัร(การกำหนดสภาวะและชะตากรรม)ของมนุษย์ ยังมีระดับขั้นอื่นอีกใช่หรือไม่?

อิมามทั้งสองตอบว่า

ใช่ ยังมีอีกระดับขั้นหนึ่ง ที่กว้างกว่าชั้นฟ้าและแผ่นดิน”

(อัตเตาฮีด ศอดูก บาบที่ ๕๙  วจนะที่ ๓ หน้าที่ ๓๖๐ )

๔๔๔

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

ญับร์ หมายถึง การบังคับ: Compulsion

อิคติยาร หมายถึง เจตจำนงเสรี: Free will

กัสบ์   หมายถึง การได้มาด้วยอำนาจ  Acquision

ตัฟวีฎ  หมายถึง การมอบอำนาจในการงานต่อพระเจ้า: Empowerment

อัมรุนบัยนะอัมร็อยน์  หมายถึง แนวทางสายกลาง

   

   สรุปสาระสำคัญ

๑การบังคับและเจตจำนงเสรีของมนุษย์ (ญับร์และอิคติยาร) เป็นประเด็นหนึ่งที่มีความสำคัญทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน และเป็นข้อวิพากษ์กันในหมู่ของบรรดานักวิชาการอิสลาม โดยเฉพาะในสำนักคิดทั้งหลายของเทววิทยา จะเห็นได้ว่า มี ๒ ทัศนะที่สำคัญในประเด็นนี้

(๑.)ทัศนะของกลุ่มที่มีความเชื่อในญับร์(การบังคับ)และได้กล่าวว่า ตนไม่มีอิสระเสรีในการกระทำ

(๒.) ทัศนะของกลุ่มที่เชื่อในอิคติยาร (การเป็นอิสระ) กล่าวว่า มนุษย์มีอิสระเสรีในการกระทำ

๒.เรื่องของการบังคับและเจตจำนงเสรีของมนุษย์ มิได้มีจำกัดเฉพาะกับเทววิทยาอิสลามเท่านั้น แต่ในศาสตร์และวิชาการทั้งหลายของอิสลาม ก็มีความสัมพันธ์ในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน บางครั้ง เรื่องของญับร์และอิคติยารเกี่ยวข้องกับเทววิทยา และปรัชญาอิสลาม และบางครั้ง เรื่องนี้ก็มีความสัมพันธ์กับมนุษยศาสตร์ด้วย

๔๔๕

 

๓.เรื่องของการบังคับและเจตจำนงเสรีของมนุษย์ ในมุมมองของประวัติศาสตร์เทววิทยาอิสลาม มีด้วยกัน

๓ ทัศนะที่สำคัญ ดังนี้

๑.ทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์ คือ ญับร์ หมายถึง พวกเขามีความเชื่อว่า มนุษย์ถูกบังคับให้กระทำจากพระเจ้าในทุกการกระทำ

๒.ทัศนะของสำนักคิดมุอฺตะซิละฮฺ คือ ตัฟวีฎ  หมายถึง พวกเขามีความเชื่อว่า พระเจ้าได้มอบหมายกระทำให้กับมนุษย์ และพระองค์มิได้มีบทบาทใดในการกระทำของเขา

๓.ทัศนะของสำนักคิดอิมามียะฮ์ ก็คือ อัมรุน บัยนะอัมร็อยน์ หมายถึง การเชื่อว่ามนุษย์มีอิสระในการกระทำ

ซึ่งทัศนะนี้ได้รับมาจากวจนะของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (ขอความสันติพึงมีแด่พวกท่าน)ที่ได้กล่าวไว้ว่า ไม่มีการบังคับจากพระเจ้าและการมอบหมายจากพระองค์ นอกจากการมีระหว่างสองสิ่ง (การบังคับกับการมอบหมาย)

๔. มนุษย์ทุกคนมีความรู้สึกว่า ตนเองมีอิสระและเจตนารมณ์เสรีในการกระทำ ด้วยเหตุนี้ เมื่อสามารถตอบข้อสงสัยบางประการที่เกี่ยวกับ การเป็นอิสระในการกระทำของตน จนในที่สุด ก็ยอมรับว่า การกระทำของเขา เป็นการบังคับจากพระเจ้า

๕.พื้นฐานหนึ่งของสำนักคิดอัชอะรีย์ คือ ความรู้ที่มาดั้งเดิมของพระเจ้า และความสัมพันธ์กับการกระทำของมนุษย์  ซึ่งมิได้มีความขัดแย้งกับการกระทำที่เป็นอิสระของมนุษย์

๔๔๖

๖.อีกพื้นฐานหนึ่งของทัศนะญับร์ ก็คือ ความประสงค์อันสมบูรณ์และไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า สำนักคิดอัชอะรีย์มีความเชื่อว่า ทุกการกระทำที่มีอยู่ และการกระทำของมนุษย์ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของพระองค์ ดังนั้น มนุษย์จึงไม่มีบทบาทในการกระทำของเขา และไม่มีอิสระ ตรงกันข้ามกับทัศนะนี้ คือ ทัศนะของสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์ ที่มีความเชื่อว่า การกระทำของมนุษย์มิได้เป็นความประสงค์ของพระเจ้า

๗.ความเป็นจริงก็คือ ความประสงค์ของพระเจ้า รวมทั้งการกระทำของมนุษย์ด้วย เพราะว่า สิ่งที่สร้างสัมพันธ์กับการกระทำของมนุษย์ คือ ความประสงค์ของพระองค์ แต่การกระทำของมนุษย์ ในสภาพที่มีความเป็นอิสระ

กล่าวอีกนัยก็คือ พระเจ้าทรงประสงค์ในการกระทำที่เป็นอิสระของมวลบ่าวของพระองค์ และให้เขาปฏิบัติการกระทำของพวกเขา และตัดสินใจด้วยตนเอง

๘.ทัศนะของญับร์ เมื่อได้เปรียบเทียบกับมโนธรรมของมนุษย์ จะเห็นได้ว่า มีความขัดแย้งกัน ด้วยเหตุนี้ สำนักคิดอัชอะรีย์จึงได้ให้ทัศนะใหม่ นั่นคือ กัสบ์ เพื่อปกป้องและรักษาความเชื่อของทัศนะญับร์ และมีการอธิบายในทัศนะนี้มากมายและแตกต่างกันในหมู่นักเทววิทยาในสำนักคิดนี้ ซึ่งแต่ละทัศนะมีข้อบกพร่อง

๙.สำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์ เล็งเห็นว่า การรักษาความยุติธรรมของพระเจ้า  จึงมีความเชื่อในการตัฟวีฎ (การมอบหมาย) เพราะว่า การลงโทษของผู้กระทำความผิดและบาปทั้งหลาย ที่เรียกว่า เป็นความยุติธรรมของพระเจ้า ก็ต่อเมื่อมนุษย์มีอำนาจที่เป็นอิสระในการกระทำของตนเอง

และเหตุผลหรือหลักฐาน ถ้าหากว่ามีความถูกต้อง ก็คือ ใช้พิสูจน์ความไม่ถูกต้องของทัศนะญับร์เท่านั้น

๔๔๗

๑๐.ทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์ คือ ญับร์ (การบังคับ) และทัศนะของสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์ คือ ตัฟวีฎ ทั้งสองทัศนะถือว่า ไม่ถูกต้อง และมีทัศนะที่สาม ก็คือ ทัศนะของสำนักคิดอิมามียะฮ์ ที่มีความเชื่อว่า มนุษย์มีอิสระในการกระทำของตนเอง และการกระทำของเขาอยู่ใต้อำนาจ ความรู้ ความประสงค์ของพระเจ้า  นี่คือ ความหมายของทัศนะอัมรุน บัยนุลอัมร็อยน์ กล่าวคือ การกระทำของมนุษย์ ในมุมมองหนึ่งเป็นการกระทำของเขา และอีกมุมหนึ่ง คือการกระทำของพระเจ้า  ซึ่งมิได้มีความหมายว่า มนุษย์ถูกบังคับให้กระทำ

๑๑.โองการทั้งหลายของอัล กุรอานได้กล่าวยืนยันว่า มนุษย์มีอิสระในการกระทำของตนเอง และบางโองการกล่าวว่า ความประสงค์ของมนุษย์ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของพระเจ้า  ซึงตรงกันกับทัศนะของอัมรุน บัยนุลอัมร็อยน์

๔๔๘

                            สารบัญ

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม. ๑

การรู้จักพระเจ้า ๑

คำนำ... ๒

คำนิยามของอิลมุลกะลาม (วิชาเทววิทยาอิสลาม) ๔

คำอธิบาย. ๔

วิธีการศึกษาในอิลมุลกะลาม (วิชาเทววิทยาอิสลาม) ๗

สาเหตุที่เรียกวิชาเทววิทยาอิสลามว่า อิลมุลกะลาม. ๙

ขอบเขตของเทววิทยาอิสลาม. ๑๐

ภาคที่หนึ่ง. ๑๒

การรู้จักพระเจ้า ๑๒

บทที่ ๑ การรู้จักพระเจ้า ๑๓

เนื้อหาทั่วไป. ๑๓

ความสำคัญของการรู้จักพระเจ้า ๑๔

ความจำเป็นในการรู้จักพระเจ้า ๑๕

ระดับขั้นของการรู้จักพระเจ้า ๑๘

แนวทางการแสวงหาพระเจ้าและรู้จักพระองค์. ๒๐

วิธีการทั่วไป และวิธีการโดยเฉพาะ. ๒๒

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๒๓

สรุปสาระสำคัญ.. ๒๔

บทที่ ๒. ๒๖

วิธีการฟิฏรัต(สัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์) ๒๖

บทนำเบื้องต้น. ๒๖

ฟิฏรัต ความหมายด้านภาษา และเชิงวิชาการ. ๒๗

การอธิบายความหมายของการมีอยู่ของพระเจ้าเป็น ฟิฏรัต. ๒๘

คำอธิบาย. ๒๙

การรู้จักพระเจ้า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ในทัศนะของอัล กุรอาน. ๓๓

การรู้จักพระเจ้า  เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ในทัศนะของวจนะ. ๓๖

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๓๗

สรุปสาระสำคัญ.. ๓๘

บทที่ ๓. ๔๐

ทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก. ๔๐

อะไร คือ ความเป็นระบบและระเบียบ?. ๔๒

เหตุผลที่ง่ายต่อการเข้าใจ. ๔๓

คำอธิบายในข้ออ้างหลัก. ๔๔

คำอธิบายในข้ออ้างรอง. ๔๕

ข้อสรุป. ๔๖

ความเป็นระบบและระเบียบในทัศนะของอัล กุรอาน. ๔๗

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๕๕

สรุปสาระสำคัญ.. ๕๕

บทที่ ๔. ๕๗

เหตุผลทางสติปัญญา : ข้อพิสูจน์วุญูบและอิมกาน. ๕๗

(สิ่งจำเป็นต้องมีอยู่ และสิ่งต้องพึ่งพา) ๕๗

ประโยชน์ของเหตุผลทางสติปัญญา ๕๘

ตัวบทของข้อพิสูจน์วุญูบและอิมกาน (สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่และสิ่งที่ต้องพึ่งพา) ๕๙

การอธิบายในข้อพิสูจน์วุญูบและอิมกาน (สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่และสิ่งที่ต้องพึ่งพา) ๖๒

คุณลักษณะลำดับแรกและคุณลักษณะลำดับรอง. ๖๓

อัล กุรอานกับความต้องการของสิ่งมีชีวิตยังพระเจ้า ๖๕

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๖๖

สรุปสาระสำคัญ.. ๖๗

ภาคที่สอง. ๖๙

เตาฮีด (ความเป็นเอกานุภาพของพระเจ้า) ๖๙

บทที่ ๑ ความเป็นเอกานุภาพของพระเจ้า ๗๐

เนื้อหาทั่วไป. ๗๐

ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าที่มีกล่าวไว้ในศาสนาอื่นๆ. ๗๑

ความหมายทางภาษาของ เตาฮีด. ๗๓

ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎี ความศรัทธา และการปฏิบัติ. ๗๓

ความหมายในเชิงวิชาการของ ความเป็นเอกานุภาพ. ๗๔

อีกสองความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพ. ๗๕

ความเป็นเอกานุภาพในมุมมองของเทววิทยาอิสลาม. ๗๖

ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าในมุมมองของอัลกุรอาน และวจนะ. ๗๗

ความสำคัญของความเป็นเอกานุภาพในศาสนาอิสลามและศาสนาอื่น. ๗๘

ศัพท์ทางวิชาการท้ายบท. ๘๑

สรุปสาระสำคัญ.. ๘๑

บทที่ ๒. ๘๓

ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน ตัวตนของพระเจ้า ๘๓

ความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน ในมุมมองต่างๆ.. ๘๔

ความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า ๘๖

เหตุผลของความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ๘๘

เหตุผลของการไม่มีส่วนประกอบในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า ๘๘

คำอธิบาย. ๘๙

การพิสูจน์ความเป็นหนึ่งเดียวของพระผู้เป็นเจ้าและการปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์  ๙๒

เหตุผลที่หนึ่ง  : ความสมบูรณ์แบบที่สุดและความไม่มีขอบเขตจำกัดของพระเจ้า ๙๒

เหตุผลที่สอง  : การปฏิเสธการมีส่วนประกอบทุกชนิด. ๙๔

เหตุผลที่สาม   : การปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์. ๙๕

ความเป็นหนึ่งเดียวในความจริงและในจำนวนเลข. ๙๖

(วะฮ์ดัตฮะกีกีย์และวะฮ์ดัตอะดาดีย์) ๙๖

ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน(เตาฮีด ซาตีย์) ในอัล กุรอาน. ๙๗

ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน(เตาฮีด ซาตีย์) ในวจนะ. ๙๙

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๑๐๒

สรุปสาระสำคัญ.. ๑๐๒

บทที่ ๓. ๑๐๕

ความเป็นเอกานุภาพของพระเจ้าในคุณลักษณะ. ๑๐๕

(เตาฮีด ซิฟาตีย์) ๑๐๕

บทนำเบื้องต้น. ๑๐๕

ความเป็นหนึ่งเดียวในด้านความหมายและความเป็นจริง. ๑๐๗

ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ. ๑๐๘

เหตุผลของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ. ๑๐๙

เหตุผลที่หนึ่ง. ๑๐๙

เหตุผลที่สอง. ๑๑๑

เหตุผลที่สาม. ๑๑๒

ความแตกต่างทางด้านความหมายของคุณลักษณะ (ซิฟัต) ๑๑๔

ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ(เตาฮีด ซิฟาตีย์)ในมุมมองทางประวัติศาสตร์. ๑๑๕

ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ(เตาฮีด ซิฟาตีย์)ในมุมมองของวจนะ. ๑๑๗

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๑๒๐

สรุปสาระสำคัญ.. ๑๒๐

บทที่ ๔. ๑๒๒

ความเป็นเอกานุภาพใน กิริยา การกระทำ (เตาฮีด อัฟอาลีย์) ตอนที่หนึ่ง. ๑๒๒

บทนำเบื้องต้น. ๑๒๒

บทบาทของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำในมุมมองของโลกทรรศน์. ๑๒๓

การกระทำของสิ่งถูกสร้างอยู่ภายใต้การกระทำของผู้สร้าง. ๑๒๔

บทบาทของสื่อกลางในการเกิดขึ้นของการกระทำในพระเจ้า ๑๒๗

ความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ และเจตจำนงเสรีของมนุษย์. ๑๒๘

เหตุผลในความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ... ๑๓๐

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๑๓๒

สรุปสาระสำคัญ.. ๑๓๒

บทที่ ๕. ๑๓๔

ความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำ (เตาฮีด อัฟอาลีย์) ตอนที่สอง. ๑๓๔

บทนำเบื้องต้น. ๑๓๔

ความเป็นเอกานุภาพในการสร้าง(เตาฮีด ฟีย์คอลิกียะฮ์) ๑๓๔

ความเป็นเอกานุภาพในการอภิบาล. ๑๓๕

เหตุผลการพิสูจน์ความเป็นเอกานุภาพในการอภิบาล. ๑๓๖

ความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำ ในอัล กุรอาน และวจนะ. ๑๓๗

ความสำคัญของความเป็นเอกานุภาพในการอภิบาล. ๑๔๐

(เตาฮีด รุบูบีย์) ในทัศนะของอัล กุรอาน. ๑๔๐

ข้อพิพาทของบรรดาศาสดาในความเป็นเอกานุภาพการอภิบาลของพระผู้เป็นเจ้า ๑๔๒

เหตุผลในหลักความเป็นเอกานุภาพการอภิบาลของพระผู้เป็นเจ้า ๑๔๕

การบริหารการงานของสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นอยู่กับการอนุมัติของผู้สร้าง. ๑๔๗

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๑๔๙

สรุปสาระสำคัญ.. ๑๔๙

บทที่ ๖. ๑๕๒

ความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบและการปกครอง –ความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้า ๑๕๒

ความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบ และการปกครอง. ๑๕๒

พื้นฐานทางสติปัญญาของความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบ และการปกครอง  ๑๕๓

ความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบและการปกครองในทัศนะของอัล กุรอาน  ๑๕๕

ความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้า ๑๕๘

ทำไมต้องมีพระเจ้าองค์เดียว?. ๑๖๐

ความสัมพันธ์ของประเภทต่างๆในความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา ๑๖๑

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๑๖๒

สรุปสาระสำคัญ.. ๑๖๒

บทที่ ๗. ๑๖๓

ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ (เตาฮีด อะมะลีย์) ๑๖๓

การซึมซับของความเป็นเอกานุภาพในด้านความคิด ความเชื่อ และในด้านการปฏิบัติ. ๑๖๓

คุณค่าของความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา ๑๖๕

ความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี. ๑๖๕

ความหมายที่แท้จริงของการเคารพภักดี. ๑๖๖

ความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดีที่มีอยู่ในหมู่มุสลิม. ๑๖๙

ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้ากับการเคารพภักดี. ๑๗๒

ความเป็นเอกานุภาพในด้านการปฏิบัติในอัล กุรอานและวจนะ. ๑๗๓

ชาวคัมภีร์กับการเคารพภักดีในพระเจ้าองค์เดียว. ๑๗๕

ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดีกับความเป็นเอกานุภาพในการบริหาร  ๑๗๕

การตั้งภาคีที่ซ่อนในการเคารพภักดี. ๑๗๖

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๑๗๗

สรุปสาระสำคัญ.. ๑๗๗

บทที่ ๘. ๑๗๙

ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ ตอนที่ สอง. ๑๗๙

ความเป็นเอกานุภาพในการช่วยเหลือ (เตาฮีด อิสติอานะฮ์) ๑๗๙

ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติตาม(เตาฮีด อิฏออะฮ์) ๑๘๒

ความเป็นเอกานุภาพในการให้ความรัก. ๑๘๓

ความเป็นเอกานุภาพในการมอบหมายกิจการงาน. ๑๘๕

ความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของความเป็นเอกานุภาพ. ๑๘๖

ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติตามในทัศนะของอัล กุรอาน. ๑๘๘

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๑๙๒

สรุปสาระสำคัญ.. ๑๙๒

บทที่ ๙. ๑๙๕

พื้นฐานทางสติปัญญาของความเป็นเอกานุภาพในทัศนะอัลกุรอานและวจนะ. ๑๙๕

อัล กุรอานกับความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ๑๙๕

สัญชาตญาณดั้งเดิมของความเป็นเอกานุภาพในมุมมองของวจนะ. ๑๙๘

เหตุผลทางสติปัญญาของอัลกุรอานในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ๑๙๙

สรุปสาระสำคัญ.. ๒๐๓

บทที่ ๑๐. ๒๐๔

ความเป็นเอกานุภาพ และการตั้งภาคี (ชิรก์) ตอนที่ หนึ่ง. ๒๐๔

ประเภทของการตั้งภาคี. ๒๐๕

คำอธิบาย. ๒๐๕

การตั้งภาคีในความเป็นพระเจ้าและการเคารพภักดี. ๒๐๘

ระดับขั้นของการตั้งภาคี. ๒๐๙

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๒๑๑

สรุปสาระสำคัญ.. ๒๑๑

บทที่ ๑๑. ๒๑๓

ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า และการตั้งภาคี ตอนที่ ๒. ๒๑๓

ความเป็นเอกานุภาพ และการตั้งภาคีในประวัติศาสตร์. ๒๑๓

สาเหตุและองค์ประกอบที่ทำให้มนุษย์มีการตั้งภาคี. ๒๑๘

การตั้งภาคีกับความบาป. ๒๒๑

สรุปสาระสำคัญ.. ๒๒๒

บทที่ ๑๒. ๒๒๔

การตั้งภาคีในทัศนะอัล กุรอานและวจนะ. ๒๒๔

สาเหตุที่ทำให้มีการตั้งภาคีในทัศนะของอัล กุรอาน. ๒๒๖

วิธีการตอบโต้ของอัล กุรอานต่อการตั้งภาคี. ๒๓๒

สรุปสาระสำคัญ.. ๒๓๓

ภาคที่ สาม. ๒๓๔

คุณลักษณะของพระเจ้า ๒๓๔

บทที่ ๑ คุณลักษณะของพระเจ้า ๒๓๕

เนื้อหาทั่วไป. ๒๓๕

พระนาม คุณลักษณะ การกระทำของพระเจ้า ๒๓๖

คุณลักษณะของพระเจ้าในเทววิทยาอิสลาม. ๒๓๘

ประเภทของคุณลักษณะของพระเจ้า ๒๔๐

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๒๔๔

บทที่ ๒. ๒๔๖

การรู้จักคุณลักษณะของพระเจ้า ๒๔๖

ความเป็นไปได้ต่อการรู้จักถึงคุณลักษณะของพระเจ้า ๒๔๖

การวิเคราะห์และตรวจสอบในทัศนะของพวกตะอ์ตีล. ๒๔๘

และตัชบิฮ์. ๒๔๘

แนวทางในการรู้จักคุณลักษณะของพระเจ้า ๒๕๑

พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุด. ๒๕๓

การอธิบายคุณลักษณะของพระเจ้า ๒๕๔

การหยุดนิ่ง(เตากีฟ) ของนามทั้งหลายและคุณลักษณะของพระเจ้า ๒๕๗

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๒๕๙

สรุปสาระสำคัญ.. ๒๕๙

บทที่ ๓. ๒๖๑

อัล กุรอานกับการอธิบายคุณลักษณะของพระเจ้า ๒๖๑

คุณลักษณะของพระเจ้าในมุมมองของวจนะ. ๒๖๔

สรุปสาระสำคัญ.. ๒๖๖

บทที่ ๔. ๒๖๗

ความรู้ของพระเจ้า (อิลม์ อิลาฮีย์) ๒๖๗

ความรู้ คือ อะไร?. ๒๖๗

ความรู้โดยตรงและความรู้โดยผ่านสื่อ. ๒๖๘

ระดับขั้นความรู้ของพระเจ้า ๒๖๙

ความรู้ในอาตมันของพระเจ้า ๒๖๙

เหตุผลของ ความรู้ในอาตมันของพระเจ้า ๒๗๐

ความรู้ในสรรพสิ่งทั้งหลายก่อนการเกิดขึ้น. ๒๗๑

ความรู้ของพระเจ้าหลังการเกิดขึ้นของสรรพสิ่ง. ๒๗๓

ความรู้ในอาตมัน และความรู้ในการกระทำ... ๒๗๔

ความรู้ของพระเจ้าในรายละเอียดของสรรพสิ่ง. ๒๗๕

ความรู้ของพระเจ้าและเจตจำนงเสรีของมนุษย์. ๒๗๗

ความรู้ของพระเจ้า ในมุมมองของอัล กุรอาน. ๒๗๘

การพิสูจน์ความรู้ของพระเจ้า ๒๗๘

ความรู้อันไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า ๒๗๙

ความรู้ในสิ่งที่เร้นลับของพระเจ้า ๒๘๑

ความรู้ของพระเจ้าในมุมมองของวจนะ. ๒๘๒

ความรู้โดยเฉพาะและทั่วไปของพระเจ้า ๒๘๓

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๒๘๔

สรุปสาระสำคัญ.. ๒๘๔

บทที่ ๕. ๒๘๗

พลังอำนาจของพระเจ้า (กุดรัต อิลาฮีย์) ๒๘๗

ความหมายทางภาษาของ คำว่า กุดรัต (พลังอำนาจ) ๒๘๗

ความหมายของ พลังอำนาจของพระเจ้า (กุดรัต อิลาฮียฺ) ๒๘๙

การพิสูจน์ พลังอำนาจของพระเจ้า ๒๙๐

อานุภาพของพระเจ้า ๒๙๑

สิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้น (มุฮาล) อยู่ภายใต้การมีพลังอำนาจของพระเจ้าใช่หรือไม่?. ๒๙๒

การมีพลังอำนาจของพระเจ้าในการกระทำที่ไม่ดี. ๒๙๖

พลังอำนาจของพระเจ้าในมุมมองของอัล กุรอานและวจนะ. ๒๙๘

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๓๐๐

สรุปสาระสำคัญ.. ๓๐๐

บทที่ ๖. ๓๐๒

การมีชีวิตของพระเจ้า ๓๐๒

การมีชีวิตอยู่ของสรรพสิ่ง. ๓๐๒

ความหมายของการมีชีวิตของพระเจ้า ๓๐๔

เหตุผลของการมีชีวิตของพระเจ้า ๓๐๕

การมีมาแต่เดิมและความเป็นอมตะและนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้า ๓๐๙

การอธิบาย การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ของพระเจ้า ๓๑๐

เหตุผลของ การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้า ๓๑๑

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๓๑๓

สรุปสาระสำคัญ.. ๓๑๓

บทที่ ๗. ๓๑๕

ความประสงค์ของพระเจ้า (อิรอดะฮ์ อิลาฮีย์) ๓๑๕

ความหมายความเป็นจริงของความประสงค์ของมนุษย์. ๓๑๖

ทัศนะต่างๆของนักเทววิทยาอิสลามในการอธิบายความหมาย. ๓๑๗

ความประสงค์ของพระเจ้า ๓๑๗

ความประสงค์ในอาตมันของพระเจ้าและในการกระทำของพระองค์. ๓๑๘

การมีมาดั้งเดิมหรือการเพิ่งเกิดขึ้นมาของความประสงค์ในพระเจ้า ๓๒๑

ความแตกต่างกันระหว่างความประสงค์,ความต้องการและการเลือกสรร. ๓๒๒

เหตุผลของบรรดานักเทววิทยาอิสลามในการพิสูจน์ความประสงค์ของพระเจ้า ๓๒๓

ความประสงค์ในการสร้างสรรค์และการกำหนดบทบัญญัติ(อิรอดะฮ์ ตักวีนีย์ และตัชริอีย์) ๓๒๔

ความประสงค์และความต้องการของพระเจ้า ในอัลกุรอานและวจนะ. ๓๒๕

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๓๓๐

สรุปสาระสำคัญ.. ๓๓๐

บทที่ ๘. ๓๓๒

คำตรัสกล่าวของพระเจ้า (กะลาม อิลาฮียฺ) ๓๓๒

บทนำเบื้องต้น. ๓๓๒

ความเป็นจริงของคำตรัสกล่าวของพระเจ้าคืออะไร?. ๓๓๓

ความหมายของ คำตรัสกล่าวของพระเจ้า ๓๓๔

ทุกสรรพสิ่งคือ ดำรัส ของพระเจ้า ๓๓๖

กะลาม ลัฟซีย์ กะลาม นัฟซีย์ และ กะลามเฟียะลีย์. ๓๓๗

(ประเภทต่างๆของคำตรัสกล่าวของพระเจ้า) ๓๓๗

การมีมาแต่เดิมและการเพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ของ. ๓๓๘

คำตรัสกล่าวของพระเจ้า ๓๓๘

เหตุผลของการเป็นผู้ตรัสกล่าวของพระเจ้า ๓๔๐

คุณลักษณะ การตรัสกล่าว ในอัล กุรอานและวจนะ. ๓๔๑

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๓๔๕

สรุปสาระสำคัญ.. ๓๔๕

บทที่ ๙. ๓๔๗

ความสัตย์จริงของพระเจ้า-ความเป็นวิทยปัญญาของพระเจ้า ๓๔๗

บทนำเบื้องต้น. ๓๔๗

ความสัตย์จริง เป็นคุณลักษณะในอาตมันหรือในการกระทำ?. ๓๔๘

เหตุผลของนักเทววิทยาอิสลามในการพิสูจน์ความสัตย์จริงของพระเจ้า ๓๔๙

ความสัตย์จริงของพระเจ้าในอัล กุรอาน. ๓๕๑

ความหมายของ วิทยปัญญา ๓๕๒

สรุปสาระสำคัญ.. ๓๕๖

บทที่ ๑๐. ๓๕๘

คุณลักษณะที่ไม่มีในพระเจ้า ๓๕๘

บทนำเบื้องต้น. ๓๕๘

เหตุผลในการพิสูจน์คุณลักษณะที่ไม่มีของพระเจ้า ๓๕๙

เหตุผลของการมองไม่เห็นพระเจ้าด้วยกับสายตา ๓๖๕

คุณลักษณะที่ไม่มีในพระเจ้า ในทัศนะอัล กุรอาน. ๓๖๖

พระเจ้าคือ ผู้ที่ไม่ต้องการสถานที่อยู่อาศัย. ๓๖๖

การมองไม่เห็นพระเจ้า ๓๖๘

คุณลักษณะที่ไม่มีในพระเจ้า ในมุมมองของวจนะ. ๓๗๐

สรุปสาระสำคัญ.. ๓๗๓

ภาคที่สี่. ๓๗๕

การกระทำของพระเจ้า ๓๗๕

บทที่ ๑. ๓๗๖

ความดี และ ความชั่วทางสติปัญญา ๓๗๖

เนื้อหาโดยทั่วไป การกระทำของพระเจ้า ๓๗๖

ความดี และ ความชั่วทางสติปัญญา ๓๗๗

ความแตกต่างระหว่างอัดลียะฮ์กับอัชอะรีย์ในความดี และความชั่วทางสติปัญญา ๓๘๐

เหตุผลของสำนักคิดอัชอะรีย์ในการปฏิเสธความดีและความชั่วทางสติปัญญา ๓๘๒

ผลที่ได้รับของการมีความเชื่อในความดีและความชั่วทางสติปัญญา ๓๘๔

ความดีและความชั่วทางสติปัญญา ในมุมมองของอัล กุรอาน. ๓๘๔

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๓๘๖

สรุปสาระสำคัญ.. ๓๘๖

บทที่ ๒. ๓๘๙

วิทยปัญญาของพระเจ้า คือ เป้าหมายสูงสุดในการกระทำของพระองค์. ๓๘๙

บทนำเบื้องต้น. ๓๘๙

เป้าหมายของผู้กระทำกับการกระทำ... ๓๙๐

เหตุผลของการมีวิทยปัญญาของพระเจ้า ๓๙๒

เหตุผลของสำนักคิดอัชอะรีย์ในการปฏิเสธการมีเป้าหมายในการกระทำของพระเจ้า ๓๙๒

วิทยปัญญาของพระเจ้าในทัศนะของอัล กุรอาน. ๓๙๔

วิทยปัญญาของพระเจ้ากับความชั่วร้าย. ๓๙๖

๑.การมีขอบเขตในความรู้ของมนุษย์. ๓๙๗

๒.เป้าหมายที่สูงสุดในการสร้างมนุษย์. ๓๙๘

๓. ผลประโยชน์ส่วนรวมมาก่อนผลประโยชน์ส่วนตัว. ๓๙๘

๔.บทบาทของมนุษย์ที่มีต่อการเกิดขึ้นของความชั่วร้าย. ๓๙๙

ปรัชญาการเกิดขึ้นของความชั่วร้าย. ๔๐๐

๑.การพัฒนาทางด้านจิตวิญญาณ.. ๔๐๐

๒.การทดสอบจากพระเจ้า ๔๐๑

๓.เป็นคติเตือนใจและเป็นการปลุกให้ตื่นขึ้นจากการหลับใหล. ๔๐๒

๔.การไม่รู้คุณค่าในปัจจัยยังชีพของพระเจ้า ๔๐๓

ปรัชญาการทดสอบ ในทัศนะของวจนะ. ๔๐๔

สรุปสาระสำคัญ.. ๔๐๖

บทที่ ๓. ๔๐๘

ความยุติธรรมของพระเจ้า (อัดล์ อิลาฮียฺ) ๔๐๘

บทนำเบื้องต้น. ๔๐๘

ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยปัญญากับความยุติธรรม. ๔๑๐

ความยุติธรรมตั้งอยู่บนพื้นฐานของความดีและความชั่วทางสติปัญญา ๔๑๐

ความหมายของความยุติธรรม (อัดล์) ๔๑๑

ประเภทของความยุติธรรมของพระเจ้า ๔๑๒

ความยุติธรรมของพระเจ้า ถูกแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ด้วยกัน มีดังนี้. ๔๑๒

เหตุผลทางสติปัญญาในการพิสูจน์ความยุติธรรมของพระเจ้า ๔๑๓

ความยุติธรรมของพระเจ้าในอัล กุรอาน. ๔๑๔

ข้อสงสัยในความยุติธรรมของพระเจ้า ๔๑๗

ความยุติธรรมของพระเจ้ากับความแตกต่างที่มีอยู่ในสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย. ๔๑๘

ความตายกับการสูญสลาย. ๔๑๙

ความสัมพันธ์ของบาปกับการถูกลงโทษในวันแห่งการตัดสิน. ๔๒๐

ความยุติธรรมของพระเจ้ากับความเจ็บปวดและความยากลำบากของมนุษย์. ๔๒๒

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๔๒๓

สรุปสาระสำคัญ.. ๔๒๓

บทที่ ๔. ๔๒๖

การกำหนดกฏสภาวะและจุดหมายปลายทางของมนุษย์ (กอฎออฺและกอดัร) ๔๒๖

บทนำเบื้องต้น. ๔๒๖

ความหมายของ กอฎออฺ และ กอดัร. ๔๒๗

ประเภทของกอฎออฺ และกอดัร. ๔๒๗

กอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ (การกำหนดกฏสภาวะในความรู้) ๔๒๘

กอฎออฺและกอดัร อัยนีย์ (การกำหนดสภาวะในความเป็นจริง) ๔๒๙

ชะตากรรมและการเลือกสรรของมนุษย์. ๔๓๐

กอฎออฺและกอดัรโดยทั่วไป. ๔๓๒

กอฎออฺและกอดัรของพระเจ้า ในอัล กุรอาน และวจนะ. ๔๓๒

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๔๓๖

สรุปสาระสำคัญ.. ๔๓๗

บทที่ ๕. ๔๓๙

การบังคับและเจตจำนงเสรีของมนุษย์ (ญับรฺวะอิคติยาร) ๔๓๙

บทนำเบื้องต้น. ๔๓๙

คำอธิบาย. ๔๓๙

ขอบเขตของเรื่อง การบังคับและเจตจำนงเสรีของมนุษย์. ๔๔๐

การบังคับและเจตจำนงเสรีของมนุษย์ที่ถูกกล่าวไว้ในประวัติศาสตร์อิสลาม. ๔๔๒

มโนธรรมของมนุษย์บ่งบอกถึงการเป็นอิสระเสรี. ๔๔๓

การวิเคราะห์ในทัศนะญับร์ (การบังคับจากพระเจ้า) ๔๔๔

ทัศนะกัสบ์. ๔๔๙

การตรวจสอบในทัศนะตัฟวีฎ (การมอบอำนาจในกิจการต่อพระเจ้า) ๔๕๑

จุดประสงค์ของพวกมุอฺตะซิละฮ์ ต่อการมีความเชื่อในทัศนะตัฟวีฎ. ๔๕๒

ทัศนะของอัมรุน บัยนะอัมร็อยน์ (แนวทางสายกลาง) ๔๕๓

ทัศนะอัมรุน บัยนะอัมร็อยน์ในอัล กุรอานและวจนะ. ๔๕๕

ศัพท์วิชาการท้ายบท. ๔๕๘

สรุปสาระสำคัญ.. ๔๕๘

๔๔๙

๔๕๐