บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม13%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 339959 / ดาวน์โหลด: 4960
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

เรื่องการรู้จักพระเจ้า

เขียนโดย ดร.มุฮัมมัด ซะอีดีย์เมฮ์ร์

คำนำ

     ส่วนมากของผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาทั้งหลายและเช่นเดียวกันกับผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาอิสลาม หมายถึง ชาวมุสลิมทั้งหลายก็มีความเชื่อเช่นกันว่า พระผู้เป็นเจ้าคือผู้ที่ได้ประทานศาสนาลงมาเพื่อชี้นำมวลมนุษยชาติ อีกทั้งยังได้นำคำสั่งสอนต่างๆของพระองค์ผ่านยังวะฮ์ยู

 (คำวิวรณ์) จากพระองค์โดยผ่านบรรดาศาสดาทั้งหลาย ซึ่งพวกเขาคือ

 ผู้เผยเเพร่สารของพระผู้เป็นเจ้าเพื่อทำการสั่งสอนให้กับมนุษย์ในการปฏิบัติต่อหลักการปฏิบัติศาสนกิจ เพราะฉะนั้นคำสั่งสอนของศาสนาอิสลามจึงถูกแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ด้วยกัน ดังต่อไปนี้

 ๑.คำสั่งสอนทางด้านหลักศรัทธา (อะกีดะฮ์)

  ๒.คำสั่งสอนทางด้านหลักศีลธรรม และจริยธรรม (อัคลาก)

  ๓.คำสั่งสอนทางด้านหลักปฏิบัติ (อะฮฺกามหรือ ชะรีอะฮฺ)

     ในอีกมุมมองหนึ่ง ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ความสมบูรณ์ของศาสนาขึ้นอยู่กับการรู้จักศาสนา และความเคร่งครัดต่อศาสนานั้น ก็ขึ้นอยู่กับการรู้จักในศาสนาด้วยเช่นเดียวกัน และการไม่เข้าใจในคำสอนของศาสนาก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มนุษย์ต้องออกห่างจากศาสนา ดังนั้น การรู้จักอย่างถูกต้องในคำสั่งสอนของศาสนาทั้งในด้านทฤษฎีและด้านปฏิบัติ คือ บ่อเกิดแห่งการรู้จักต่อศาสนา อีกทั้งยังเป็นการเตรียมตัวเพื่อเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริง

    ด้วยเหตุนี้ หน้าที่อันสำคัญอันหนึ่งของมนุษย์ หลังจากที่เขามีความเชื่อในการเป็นศาสนทูตของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และเชื่อว่าคำสั่งสอนของท่านนั้นมีความถูกต้อง คือ การรู้จักและเข้าใจอย่างละเอียดในคำสั่งสอนของศาสนา และในเป้าหมายของศาสนา และการรู้จักอย่างถูกต้องในศาสนานั้น ทำให้เขาไปสู่ความสมบูรณ์ และความผาสุกในการดำเนินชีวิตของเขา ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้อย่างชัดเจนว่า  บรรดามุสลิมทั้งหลายนั้นได้ให้ความสำคัญต่อการรู้จักในคำสั่งสอนของศาสนาอิสลามเป็นอย่างมาก จนกระทั่งวิชาการและศาสตร์ต่างๆได้เกิดขึ้นมากมายในโลกแห่งอิสลาม และศาสตร์เหล่านั้นได้แยกออกเป็นสาขาต่างๆมากมาย ด้วยเช่นกัน ดังนั้น บรรดานักปราชญ์และนักวิชาการในสาขาวิชาการต่างๆเหล่านั้น ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับศาสนาไปตามความรู้และทัศนะความคิดที่ได้ศึกษามาจากศาสตร์เหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นสาเหตุให้ศาสตร์วิชาการแขนงหนึ่งในศาสนาอิสลามได้ถือกำเนิดเกิดขึ้น

 นั่นก็คือ วิชาอิลมุลกะลาม (วิชาเทววิทยาอิสลาม) ที่มาและแหล่งกำเนิดของวิชาการแขนงนี้ เริ่มต้นมาจาก การถือกำเนิดมาพร้อมกับและการมาของศาสนาอิสลาม เนื่องด้วยกับการเกิดปัญหาและคำถามมากมายที่เกี่ยวกับหลักศรัทธา เพราะฉะนั้น  วิชาอิลมุลกะลาม

(วิชาเทววิทยาอิสลาม) จึงมีหน้าที่ในการตอบปัญหาและคำถามและข้อสงสัยที่เกี่ยวกับหลักศรัทธา

     คำนิยามของอิลมุลกะลาม (วิชาเทววิทยาอิสลาม)

     การให้คำนิยามของอิลมุลกะลาม (วิชาเทววิทยาอิสลาม) มีหลายคำนิยามด้วยกัน และคำนิยามที่เป็นที่รู้จักในเทววิทยาอิสลาม ก็คือ

  อิลมุลกะลาม (วิชาเทววิทยาอิสลาม) คือ

 “วิชาที่ว่าด้วย การวิเคราะห์, การอรรถาธิบาย,   การเรียบเรียง,

  การพิสูจน์ด้วยเหตุและผลในหลักศรัทธาของอิสลาม อีกทั้งยังมีหน้าที่ในการตอบปัญหาและข้อสงสัยที่เกี่ยวกับหลักศรัทธา”

    คำอธิบาย

    และจากการให้คำนิยามข้างต้นนี้ บ่งบอกถึง หน้าที่ต่างๆอันสำคัญยิ่งของอิลมุลกะลาม (วิชาเทววิทยาอิสลาม) ซึ่งมีดังนี้

  ๑.การวิเคราะห์ หมายถึง การนำเอาพระมหาคัมภีร์อัล กุรอาน และฮะดีษ (วจนะของท่านศาสดามุฮัมมัดและบรรดาอะฮฺลุลบัยต์ ผู้บริสุทธิ์ทั้งหลาย) ถือว่า เป็นสองหลักการที่สำคัญได้นำมาใช้ในการวิเคราะห์เกี่ยวกับหลักศรัทธา และยังถือว่าเป็น หน้าที่อันดับแรกของนักมุตะกัลลิม

 (หมายถึง นักเทววิทยา) ส่วนภารกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของนักเทววิทยา คือ การนำเอาคำสั่งสอนของศาสนามาวิเคราะห์ด้วยกับเหตุและผล ดังนั้น หน้าที่ของนักมุตะกัลลิม จึงมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของหลักศรัทธาในภาคทฤษฎี  หรือที่เรียกกันว่า อุศูลุดดีน (รากฐานของศาสนา) ซึ่งตรงกันข้ามกับ หลักปฏิบัติศาสนกิจ(อะฮ์กาม)

  ๒.การอรรถาธิบาย หมายถึง หน้าที่ลำดับต่อไปของอิลมุลกะลาม

 (เทววิทยาอิสลาม) หลังจากที่ได้วิเคราะห์ในหลักศรัทธาของศาสนาอิสลามเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  นักมุตะกัลลิม ยังมีอีกหน้าที่หนึ่ง นั่นก็คือ

 การอรรถาธิบายหลักศรัทธาของศาสนา โดยต้องใช้คำอธิบายที่ชัดเจน และเข้าใจง่าย เพื่อขจัดความคลุมเคลือและการโต้แย้งต่างๆ ที่จะเกิดจากการวิเคราะห์ในหลักศรัทธา โดยการนำเอาหลักฐานอันชัดแจ้งจากอัลกุรอาน ,ฮะดีษ(วจนะ),ศัพท์ทางวิชาการ และหลักการต่างๆในศาสตร์อื่นๆ มาใช้ประกอบในการอรรถาธิบายด้วยเช่นเดียวกัน ส่วนวิธีการที่นักมุตะกัลลิมนำมาใช้ในการอรรถาธิบายนั้น  เป็นวิธีการที่เฉพาะเจาะจงกับวิชาเทววิทยาเท่านั้น

  ๓.การเรียบเรียง หมายถึง หลังจากที่ได้อรรถาธิบายหลักศรัทธาเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หน้าที่อันดับต่อไปของนักมุตะกัลลิม ก็คือ การเรียบเรียงหลักศรัทธาให้มีความสัมพันธ์ต่อกันและกัน โดยในความเป็นจริง

 อัลกุรอาน ซึ่งเป็นหลักฐานที่สำคัญมิได้เรียบเรียงหลักศรัทธาไว้

 ด้วยเหตุนี้เอง นักมุตะกัลลิมจึงเพ่งเล็งเห็นว่า มีความจำเป็นที่จะต้องเรียบเรียงหลักศรัทธาขึ้นมาให้เป็นระเบียบและง่ายต่อการเข้าใจ

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ได้ว่า เป้าหมายหลักของ เทววิทยาอิสลาม คือ

การทำให้หลักศรัทธานั้น ถูกจัดให้เป็นระบบระเบียบ เพราะว่า จะทำให้ความสามารถแยกแยะในประเด็นต่างๆที่สำคัญออกจากกันได้

อีกทั้งยังสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นต่างๆเหล่านั้นได้อีกด้วย

  ๔.การพิสูจน์ด้วยเหตุและผล หมายถึง หลังจากที่นักเทววิทยา ได้อรรถาธิบายและเรียบเรียงในหลักศรัทธาแล้ว อีกหน้าที่ๆสำคัญเป็นอย่างมาก นั่นก็คือ การตรวจสอบในประพจน์หรือประโยคต่างๆที่ใช้ในการพิสูจน์หลักศรัทธา และการเข้าใจในประโยคเหล่านั้น จำเป็นที่จะต้องใช้เหตุและผลมาพิสูจน์ยืนยัน โดยนักเทววิทยานั้นจะต้องใช้เหตุผลที่น่าเชื่อถือได้ในการพิสูจน์หลักศรัทธาเท่านั้น

  ๕.การตอบปัญหาและข้อสงสัย หมายถึง หน้าที่อันดับสุดท้ายของ

นักเทววิทยา ก็คือ การใช้วิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดในการตอบปัญหาและข้อสงสัยต่างๆเกี่ยวกับหลักศรัทธาของอิสลาม

     วิธีการศึกษาในอิลมุลกะลาม (วิชาเทววิทยาอิสลาม)

    ในปัจจุบันนี้ มีหลายวิธีการที่ใช้ในศึกษา และค้นคว้าในศาสตร์และวิชาการแขนงต่างๆ  เพราะฉะนั้น  วิธีการที่ใช้ในการศึกษา และค้นคว้าในวิชาการ ที่เป็นที่รู้จักกัน มีด้วยกัน ๓ วิธีการ ดังนี้

  ๑.วิธีการใช้เหตุผลทางสติปัญญา และทัศนะ(อักลีย์)

  ๒.วิธีการใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ และการทดลอง (ตัจรุบีย์)

  ๓.วิธีการอ้างอิงจากตำรา และการจดบันทึก (นักลีย์) เช่น

การบันทึกทางประวัติศาสตร์ และจากหนังสืออ้างอิง

  ดังนั้น วิธีการที่สามารถใช้ศึกษาค้นคว้าในอิลมุลกะลาม

 (วิชาเทววิทยาอิสลาม)  จึงมีด้วยกัน  ๒ วิธีการ ดังนี้

  ๑.วิธีการใช้เหตุผลทางสติปัญญา (อักลีย์)

  ๒.วิธีการอ้างอิงจากตำราและการจดบันทึก (นักลีย์)

  วิธีการอักลีย์ หมายถึง การค้นคว้าโดยอาศัยหลักที่ว่าด้วยเหตุและผลจากการใช้กฏต่างๆของตรรกศาสตร์และปรัชญา

 ส่วนประเภทของเหตุและผลที่รู้จักกันทั่วไป กล่าวคือ

 การให้เหตุผลโดยอาศัยแนวเปรียบเทียบในการพิสูจน์

  ส่วนวิธีการนักลีย์ หมายถึง การใช้หลักการที่อ้างอิงจากตำราและการบันทึก ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานของการพิสูจน์ โดยการใช้พระมหาคัมภีร์อัล กุรอานเป็นบรรทัดฐานในการพิสูจน์ และถือว่า เป็นหลักฐานที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในอิสลาม และบรรดานักเทววิทยาได้ใช้สองวิธีการนี้ในการศึกษาและค้นคว้าในอิลมุลกะลาม (วิชาเทววิทยาอิสลาม)  และใช้ในการค้นคว้าในประเด็นต่างๆของ เทววิทยา ได้อีกด้วย

ประเด็นต่างๆในกะลาม(เทววิทยา) ถูกแบ่งออกเป็น ๓ ประเด็นหลัก ด้วยกัน ดังนี้

  ๑. บางประเด็นสามารถใช้ทั้งสองวิธีการนี้ได้ คือ ทั้งวิธีการอักลีย์ และนักลีย์ พร้อมกัน เช่น ประเด็นที่เกี่ยวกับการอธิบายคุณลักษณะของพระผู้เป็นเจ้า นอกเหนือจากประเด็นที่เกี่ยวกับคุณลักษณะการมีความซื่อสัตย์ของพระองค์

  ๒.บางประเด็นสามารถใช้เพียงวิธีการเดียว นั่นคือ วิธีการอักลีย์ เท่านั้น เช่น ประเด็นที่เกี่ยวกับการพิสูจน์การมีอยู่จริงของพระผู้เป็นเจ้า และประเด็นที่ใช้ในการพิสูจน์ความเป็นศาสนทูตของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ)

  ๓.บางประเด็นที่ใช้วิธีการนักลีย์ได้เพียงอย่างเดียว ซึ่งจะไม่สามารถใช้วิธีการอักลีย์ได้เลย นั่นก็คือ ประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับสภาพของมนุษย์หลังความตาย และประเด็นที่เกี่ยวกับโลกหน้า เพราะสติปัญญาของมนุษย์นั้นมิสามารถพิสูจน์ในประเด็นเหล่านี้ได้ จึงต้องใช้เพียงคำสอนจาก

พระมหาคัมภีร์อัล กุรอาน และวจนะ เท่านั้น

     สาเหตุที่เรียกวิชาเทววิทยาอิสลามว่า อิลมุลกะลาม

     มีคำถามได้ถามขึ้นว่า ด้วยสาเหตุใดจึงเรียกวิชาเทววิทยาอิสลามว่า

อิลมุลกะลาม?

   ในความเป็นจริงก็คือ คำตอบของคำถามนี้ ไม่สามารถตอบได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น เหตุผลหนึ่งของการเรียกชื่อนี้ ก็คือ  ประเด็นหนึ่งที่เกิดความขัดแย้งกันระหว่างสำนักคิดทั้งหลายของอิสลามเกี่ยวกับคุณลักษณะประการหนึ่งของพระผู้เป็นเจ้า นั่นก็คือ กะลาม (คำพูด)  ของพระองค์ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่มีมาดั้งเดิมหรือว่าเพิ่งเกิดขึ้นใหม่  จึงนำเอาประเด็นนี้เป็นสาเหตุในการเรียกชื่อวิชาการนี้ว่า อิลมุลกะลาม  และอีกเหตุผลหนึ่งที่เรียกวิชาการนี้ว่า อิลมุลกะลาม ก็คือ

บรรดานักเทววิทยาอิสลาม มีความสามารถในการพูด  และการอธิบายในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับหลักศรัทธา จึงเรียก วิชาการนี้ว่า อิลมุลกะลาม ซึ่งหมายถึง คำพูด และยังมีเหตุผลอื่นอีกมากมาย ซึ่งไม่สามารถกล่าวได้ว่าเหตุผลต่างเหล่านั้น ถูกต้องทั้งหมดทั้งสิ้น

     ขอบเขตของเทววิทยาอิสลาม

     จากที่ได้ให้คำนิยามของเทววิทยาอิสลามผ่านไปแล้ว จะเห็นได้ว่า วิชาการนี้มีความกว้างเป็นอย่างมาก โดยที่ไม่สามารถที่จะกำหนดขอบเขตของวิชาการนี้ได้อย่างชัดเจน ดังนั้น บางทีสามารถแบ่งประเด็นที่สำคัญของเทววิทยาอิสลามได้ ๓ ประเด็น ด้วยกัน ดังนี้

   ๑.การรู้จักพระเจ้า (เตาฮีด)

   ๒.การรู้จักผู้ชี้นำมนุษยชาติ (สภาวะเป็นศาสดาและสภาวะการเป็นผู้นำของบรรดาวงศ์วานของศาสดามุฮัมมัด) (นะบูวะฮ์และอิมามะฮ์)

   ๓.การรู้จักในวันแห่งการตัดสิน (มะอาด)

     ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ศาสนาอิสลามได้อธิบายประเด็นที่เกี่ยวกับมนุษย์กับโลกไว้อย่างมากมาย และวิธีการโดยทั่วไปของนักเทววิทยาอิสลามในการอธิบายนั้น มิได้นำเอาประเด็นที่เกี่ยวกับการรู้จักมนุษย์มาป็นประเด็นหลักเพราะว่า ประเด็นหลักของเทววิทยาอิสลามได้รวมประเด็นที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์และโลกไว้แล้ว เช่นในประเด็นเรื่อง ฟิฏรัต (สัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์) ,   เรื่องเตาฮีด อัฟอาลี (ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้าในกริยา การกระทำ) ,  ความต้องการของมนุษย์ไปยังศาสนา และศาสนทูต  และวิธีการเกิดขึ้นของมะอาด (วันแห่งการย้อนกลับของมนุษย์ยังพระผู้เป็นเจ้า) และประเด็นอื่นๆ ซึ่งถือว่า เป็นประเด็นที่สำคัญในเทววิทยาทั้งสิ้น  ดังนั้น การทำความเข้าใจอย่างสมบูรณ์แบบในอิลมุลกะลาม(เทววิทยาอิสลาม)

๑๐

 นอกเหนือจากการเข้าใจในประเด็นหลักที่สำคัญแล้ว ก็จำเป็นที่จะต้องศึกษาในประวัติการถือกำเนิดของอิลมุลกะลาม (เทววิทยาอิสลาม),การศึกษาและค้นคว้าในทัศนะต่างๆของสำนักคิดทั้งหลายของอิสลาม การวิเคราะห์และวิจัยความสัมพันธ์ของอิลมุลกะลาม (เทววิทยาอิสลาม) กับวิชาการอื่นๆ เช่น วิชาการอรรถาธิบายอัลกุรอาน

วิชาปรัชญา วิชาอิรฟาน (รหัสยวิทยา) และวิชาการอื่นๆ  ซึ่งจะขอเริ่มต้นการอธิบาย ในประเด็นที่เกี่ยวกับ การรู้จักพระเจ้า เป็นอันดับแรกก่อน

๑๑

 

ภาคที่หนึ่ง

การรู้จักพระเจ้า

 

๑๒

 บทที่ ๑ การรู้จักพระเจ้า

   เนื้อหาทั่วไป

   ในช่วงต้นได้กล่าวแล้วถึงประเด็นหลักที่สำคัญในสาขาวิชาเทววิทยาอิสลาม ซึ่งมีด้วยกัน ๓ ประเด็น ดังนี้

 ๑.ความเชื่อในเรื่องของหลักเตาฮีดหรือความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า

 ๒.ความเชื่อในเรื่องของนบูวัตหรือความเป็นศาสดา

 ๓.ความเชื่อในเรื่องของมะอาดหรือวันแห่งการตัดสิน

    ประเด็นแรกที่จะกล่าวถึง คือ ความเชื่อในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้  

๑๓

      

   ความสำคัญของการรู้จักพระเจ้า

  เรื่องความเชื่อในพระเจ้า มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะปฏิเสธได้ และจะพบได้ว่าในหน้าประวัติศาสตร์ได้มีการบันทึกไว้อย่างชัดเจนถึง ความเชื่อของมนุษย์ที่มีต่อพระเจ้ามาอย่างยาวนาน  และถือว่าเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ซึ่งส่งผลอย่างมากในการดำเนินชีวิตของเขา และด้วยเหตุนี้ หน้าที่หลักของมนุษย์ คือ การรู้จักพระเจ้า และมีความเชื่อต่อพระองค์ ดังนั้น จะเห็นถึงความแตกต่างระหว่าง มนุษย์ที่มีความเชื่อในพระเจ้า กับมนุษย์ที่ไม่มีความเชื่อในพระองค์ และระหว่างมนุษย์สองคนที่มีความเชื่อในพระเจ้าเหมือนกัน ก็มีความแตกต่าง เช่นกัน เพราะว่ามนุษย์คนหนึ่ง มีความเชื่อที่แตกต่างไปจากอีกคนในเรื่องของการจินตนาการหรือการสร้างมโนภาพของพระเจ้า ซึ่งเกิดขึ้นตามแนวความคิดของเขา ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การมีความเชื่อในพระเจ้าและคุณลักษณะ (ซิฟัต) ของพระองค์ จึงมีผลต่อการดำเนินชีวิต และการปฏิบัติของมนุษย์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การมีความศรัทธาในพระเจ้า ทำให้ชีวิตของมนุษย์นั้นมีคุณค่า และการใช้ชีวิตของเขานั้นมีความหมายมากยิ่งขึ้น  

๑๔

 

  ความจำเป็นในการรู้จักพระเจ้า

  การรู้จักพระเจ้า เป็นหนึ่งในความเชื่อของมนุษย์ที่มีมาแต่เดิมตามสัญชาตญาณดั้งเดิมของเขา ซึ่งความเชื่อนี้อยู่ควบคู่มาตั้งแต่กับการถือกำเนิดของมนุษย์ ดังนั้น การรู้จักสัญชาตญาณดั้งเดิม เป็นการรู้จักสภาพเบื้องต้นและเป็นขั้นตอนแรกในการรู้จักพระองค์ ซึ่งจะเห็นได้ว่า การรู้จักพระเจ้าในลักษณะเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นการรู้จักพระเจ้าที่สมบูรณ์แบบ แต่เป็นอีกวิธีการหนึ่งในการรู้จักพระองค์

บรรดานักเทววิทยาอิสลาม ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการรู้จักพระเจ้า พวกเขาได้นำเอาเหตุผลต่างๆมากมายมาพิสูจน์ถึงการมีอยู่จริงของพระองค์ ซึ่งจะขอนำบทพิสูจน์ดังกล่าวมาเสนอ เพื่อเป็นตัวอย่าง ดังนี้

๑.การสกัดกั้นภยันตรายและผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้ สรุปก็คือ ในบทพิสูจน์นี้ บรรดานักเทววิทยาอิสลามได้กล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้า ได้ส่งบรรดาศาสดามาในทุกประชาชาติเพื่อชี้นำและตักเตือนมวลมนุษยชาติ และเชิญชวนพวกเขาไปสู่การเคารพภักดีต่อพระองค์ และถ้าหากว่า พวกเขามิได้เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของศาสดาทั้งหลาย จะพบกับภยันตรายและผลเสียที่จะได้รับ และหากว่าเขาไม่ศรัทธาในคำสั่งสอนของบรรดาศาสดา ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า คำสอนของพวกเขานั้น มีความถูกต้องและตรงกับความเป็นจริงก็ได้

๑๕

และในสภาพเช่นนี้ ความคิดที่เกิดขึ้นในสติปัญญาของเขาที่ว่า ถ้าหากว่าการเชิญชวนของบรรดาศาสดานั้นเป็นจริงและถูกต้อง ผลที่จะได้รับจากการไม่เชื่อฟังในคำสอนของพวกเขา คือ การได้รับการลงโทษจากพระผู้เป็นเจ้าอย่างแน่นอน และเขาจะได้รับภยันตรายจากการที่ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสอนของบรรดาศาสดาเหล่านั้น  โดยกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ สติปัญญาของมนุษย์เนั้นย้ำเตือนเสมอว่า ให้เขาหลีกเลี่ยงออกห่างจากภยันตรายและผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น และเมื่อมนุษย์คาดว่า การที่ไม่ปฏิบัติตามคำสอนของบรรดาศาสดา พวกเขาจะถูกลงโทษจากพระเจ้านั้นเช่นกัน ด้วยกับความจำเป็นนี้ จึงต้องหลีกเลี่ยงจากอันตรายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น  และจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาเรื่องราวที่เกี่ยวกับพระเจ้า และคุณลักษณะของพระองค์ เพราะถ้าหากว่า พระเจ้ามีอยู่จริง นั่นก็หมายความว่า การเชิญชวนของบรรดาศาสดานั้น ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องด้วย และเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงออกห่างจากอันตรายที่จะเกิดขึ้นนี้ มนุษย์จะต้องปฏิบัติตามคำสอนของบรรดาศาสดา นั่นเอง

๒.การสำนึกในบุญคุณต่อผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพ (ผู้มีบุญคุณ)

    ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทุกๆคนต่าง ได้รับปัจจัยยังชีพอันมากมายมหาศาล ซึ่งพวกเขานั้นมิได้เป็นผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพให้แก่กันและกัน หรือนำพาปัจจัยยังชีพมาพร้อมกับการถือกำเนิดของพวกเขาเอง แต่ทว่าพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงอำนาจ เป็นผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพเหล่านั้นให้แก่พวกเขา ในขณะที่สติปัญญาของมนุษย์กล่าวเสมอว่า จำเป็นที่จะต้องสำนึกในบุญคุณต่อผู้ที่มีบุญคุณต่อเขา และพระผู้เป็นเจ้า คือ ผู้ที่มีบุญคุณและเป็นผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพให้เขา ฉะนั้น เมื่อมนุษย์ต้องการที่จะตอบแทนบุญคุณต่อผู้มีบุญคุณ ก็จำเป็นต้องรู้จักผู้มีบุญคุณเสียก่อน ซึ่งผู้นั้น ก็คือ พระผู้เป็นเจ้านั่นเอง

๑๖

 และพระองค์ คือ ผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพทั้งหลายและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆให้กับมนุษย์รวมถึงบรรดาสรรพสิ่งทั้งหลาย ดังนั้น การรู้จักพระเจ้า จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง และสติปัญญาได้กล่าวย้ำว่า มนุษย์จำเป็นที่จะต้องรู้จักผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพ นั่นก็คือ การรู้จักพระเจ้า 

๑๗

   ระดับขั้นของการรู้จักพระเจ้า

   สิ่งสำคัญในการรู้จักพระเจ้าคือ เมื่อพูดถึง การรู้จักพระองค์ สามารถจะตีความได้หลายความหมาย  ซึ่ง ณ ที่นี้ จะแบ่งประเภทของระดับขั้นในการรู้จักพระเจ้า ได้ดังนี้

๑.การรู้จักอาตมันของพระเจ้า

บางครั้ง การรู้จักพระเจ้า หมายถึง การรู้จักอาตมันของพระองค์

มีคำถามได้ถามขึ้นว่า  การรู้จักพระเจ้าในสภาพเช่นนี้มีความเป็นไปได้หรือไม่? และมนุษย์จะรู้จักพระองค์ได้อย่างไร?

คำตอบ บรรดานักปรัชญาและนักเทววิทยาอิสลามได้มีความเห็นตรงกันว่า การรู้จักพระเจ้าในสภาพเช่นนี้นั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าพวกเขาได้ยกเหตุผลการใช้สติปัญญา , อัล กุรอาน และวจนะของศาสดา (ซ็อลฯ) ว่า การรู้จักอาตมันของพระองค์นั้น มิใช่ว่าเป็นไปไม่ได้สำหรับมนุษย์ ทว่าทุกสรรพสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาก็เช่นเดียวกัน ไม่มีความสามารถที่จะรู้จักถึงอาตมันที่แท้จริงของพระองค์ได้

เหตุผลทางสติปัญญา ก็คือ บรรดานักปรัชญาอิสลามได้กล่าวว่า แท้จริงอาตมันและตัวตนของพระเจ้านั้นไม่มีที่สิ้นสุด และมีความสมบูรณ์แบบที่สุด แต่ตัวตนของสิ่งที่ถูกสร้างอื่นๆตลอดจนมนุษย์นั้น มีขอบเขตจำกัดและมีที่สิ้นสุด

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การมีความรู้ หมายถึง การรู้จักสิ่งที่ต้องการที่จะรู้ซึ่งต้องมีผู้ที่ให้ความรู้ และสิ่งที่ถูกรับรู้  ดังนั้น สิ่งที่มีขอบเขตและมีที่สิ้นสุด เป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นผู้ให้ความรู้ในสิ่งที่ไม่มีขอบเขต ในขณะที่มนุษย์คือ สิ่งถูกสร้างของพระเจ้า ซึ่งมีขอบเขตและมีที่สิ้นสุด ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะรู้จักแก่นแท้แห่งอาตมันของพระองค์

๑๘

๒.การรู้จักสถานะการมีอยู่ของพระเจ้า ซึ่งอีกระดับขั้นหนึ่งในการรู้จัก หมายถึง การรู้จักว่า พระเจ้ามีอยู่จริง  และการรู้จักในสภาพนี้ทำให้มนุษย์ผู้ศรัทธาออกห่างจากกลุ่มชนที่ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้าและกลุ่มชนที่สงสัยในการมีอยู่ของพระองค์ ซึ่งการรู้จักพระเจ้าจะนำเขาไปสู่ความเป็นผู้ศรัทธาอย่างแท้จริง ดังนั้น การรู้จักในสภาพนี้นั้น มีความเป็นไปได้สำหรับมนุษย์ และยังเป็นพื้นฐานสำคัญของการรู้จักในระดับขั้นอื่นๆของพระเจ้า อีกด้วย และในการอธิบายถึงพระเจ้าก็มีความแตกต่างระหว่างผู้ที่รู้จักพระองค์ แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งที่มีความเชื่อเหมือนกัน นั่นก็คือ การรู้จักพระองค์ในฐานะที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สูงส่ง และประเสริฐที่สุด

๓.การรู้จักคุณลักษณะและการกระทำของพระเจ้า ซึ่งก็เป็นระดับขั้นหนึ่งในการรู้จักพระองค์ คือ หลังจากที่มนุษย์ยอมรับว่าพระเจ้ามีอยู่จริงแล้ว ก็จำเป็นที่จะต้องรู้จักในคุณลักษณะและการกระทำของพระองค์ และในระดับขั้นที่ผ่านมา ได้อธิบายถึงความแตกต่างของมนุษย์ผู้ศรัทธาและได้แยกพวกเขาออกจากบรรดาผู้ปฏิเสธ และผู้ที่สงสัยในการมีอยู่ของพระเจ้าไปแล้ว ซึ่งในระดับขั้นนี้ นักเทววิทยาอิสลามก็มีทัศนะต่างๆในการรู้จักถึงคุณลักษณะของพระองค์ที่แตกต่างกัน จนเป็นสาเหตุก่อให้เกิดสำนักคิดต่างๆ ในเทววิทยาอิสลาม ไม่ว่าเป็นสำนักคิดอัชอะรีย์,มุอฺตะซิละฮ์และชีอะฮ์ อีกทั้งยังมีความแตกต่างระหว่างศาสนาต่างๆ อีกด้วย เช่น ศาสนาอิสลามกับศาสนาคริสต์ ซึ่งชาวคริสเตียนนั้นมีความเชื่อในบางส่วนแห่งการมีอยู่ของคุณลักษณะบางประการในพระเจ้า กล่าวคือ พวกเขามีความเชื่อในเรื่องตัษลีษ (หมายถึงคุณ ๓ ประการในพระเจ้า ได้แก่ พระบิดา ,พระบุตร และพระจิต) และพวกเขาเชื่อในเรื่องการตะญัดซุด (การมีรูปร่างของพระเจ้า) ชาวคริสเตียนกล่าวว่า สิ่งนี้เป็นคุณลักษณะหนึ่งของพระเจ้า

๑๙

 แต่ในศาสนาอิสลามมิได้มีความเชื่อเช่นนั้นหรือบางสำนักคิดเทววิทยาของอิสลามมีความเชื่อว่า พระเจ้าทรงมีรูปร่างหน้าตา แต่บรรดามุสลิมส่วนใหญ่มิได้มีความเชื่อในการมีรูปร่างของพระองค์แต่อย่างใด  พวกเขาเชื่อในความบริสุทธิ์ของพระองค์ทรงปราศจากการมีรูปพรรณสัณฐาน  ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ส่วนมากของความแตกต่างที่เกิดขึ้นบนหลักศรัทธาที่เกี่ยวกับการรู้จักพระเจ้านั้น เกิดขึ้นมาจากความแตกต่างในการรู้จักคุณลักษณะของพระองค์เสียเป็นส่วนใหญ่

ฉะนั้น ประเด็นต่อไปที่จะกล่าวถึง คือ การมีอยู่ของพระเจ้า หลังจากนั้นจะอธิบายในเรื่องของคุณลักษณะและการกระทำของพระองค์ แต่ก่อนที่จะอธิบายถึงเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้า  จะขอกล่าวบทนำในการรู้จักถึงการมีอยู่ของพระองค์ ภายใต้หัวข้อ การแสวงหาพระเจ้า และการรู้จักพระองค์

  แนวทางการแสวงหาพระเจ้าและรู้จักพระองค์

  การแสวงหาพระเจ้าและการรู้จักพระองค์มีหลายวิธีการ  ซึ่งมนุษย์ทุกคนต่างมีวิธีการมากมายในการแสวงหาพระเจ้า โดยไม่อาจคำนวณนับได้หมายความว่า โดยส่วนตัวแล้วมนุษย์มีวิธีการในการแสวงหาพระเจ้าตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญของตนเอง ดังคำกล่าวที่ว่า  “วิธีการรู้จักพระเจ้า มีมากมาย ประดุจการมีอยู่ของสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกนี้”

นักปรัชญาและเทววิทยาอิสลามได้แบ่งวิธีการรู้จักพระเจ้า ออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ  ๒ กลุ่ม ดังนี้

๑.วิธีการใช้เหตุผลหรือทัศนะ

๒.การรู้แจ้งและการปฏิบัติ

๒๐

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

๒.การมีส่วนประกอบภายนอก หมายถึง การมีอยู่ของสิ่งหนึ่งที่มีส่วนประกอบภายนอก คือ การมีส่วนประกอบของสิ่งหนึ่งที่เป็นชิ้นส่วนอยู่ภายนอก  เช่น ส่วนประกอบของร่างกายแยกออกเป็น สสารและรูปร่าง ,การเกิดขึ้นของสิ่งที่เป็นสสารและวัตถุ เป็นตัวอย่างของการมีส่วนประกอบภายนอก

๓. การมีส่วนประกอบในด้านปริมาณ หมายถึง การมีส่วนประกอบของสิ่งหนึ่งในสภาพที่มีปริมาณ, ขนาด ความกว้าง, ความยาวและส่วนสูง ดังนั้น การมีส่วนประกอบชนิดนี้ ไม่ได้มีอยู่ในสภาวะจริงของสิ่งหนึ่ง แต่ทว่าส่วนประกอบของสิ่งนั้นกำลังจะกลายเป็นสภาวะจริง หลังจากที่ได้รวมเอาส่วนประกอบทั้งหมดเข้าด้วยกัน จึงกลายสภาพเป็นสภาวะจริง  และนักปรัชญาอิสลามบางคนได้กล่าวว่า การมีส่วนประกอบในด้านปริมาณ เป็นอีกชนิดหนึ่งของการมีส่วนประกอบภายนอก เพราะว่า สิ่งนั้นมีส่วนประกอบที่เกิดขึ้นภายนอก และมิได้เกิดขึ้นจากการใช้สติปัญญาเสียด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้น ความแตกต่างของทั้งสองชนิดนี้ ก็คือ การมีส่วนประกอบภายนอกและในด้านปริมาณ คือการมีส่วนประกอบที่มีสภาวะจริงและกำลังจะกลายเป็นสภาวะจริง ถ้าหากสิ่งนั้นมีส่วนประกอบภายนอก ถือว่าเป็นสภาวะจริง แต่ถ้าหากสิ่งนั้นมีส่วนประกอบในด้านปริมาณ ถือว่ากำลังจะกลายเป็นสภาวะจริง

๘๑

   เหตุผลของความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า

   หลังจากได้อธิบายชนิดต่างๆของการมีส่วนประกอบไปแล้ว ณ ที่นี้ จะขอกล่าวถึง เหตุผลต่างๆที่บอกถึงการไม่มีทุกชนิดของการมีส่วนประกอบในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า แต่ก่อนที่จะอธิบายในเหตุผลเหล่านั้น จะกล่าวได้ว่า เหตุผลที่บรรดานักเทววิทยาอิสลามใช้พิสูจน์ในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าคือ การปฏิเสธการมีส่วนประกอบทุกชนิดในอาตมันของพระองค์ และนอกเหนือจาก เหตุผลของนักเทววิทยา, นักปรัชญาและนักรหัสยวิทยาอิสลามแล้ว ยังมีเหตุผลอื่นๆอีกที่ใช้พิสูจน์ในเตาฮีด เช่นเดียวกัน

   เหตุผลของการไม่มีส่วนประกอบในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า

    การพิสูจน์ในความบริสุทธิ์ที่สมบูรณ์แบบของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งกล่าวได้ว่า อาตมันของพระองค์ ไม่มีส่วนประกอบทุก  ชนิดของการมีส่วนประกอบ และมิได้มีเหตุผลเดียวที่ใช้ในการพิสูจน์ถึงความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระองค์ แต่ในความเป็นจริง ก็คือ ยังมีเหตุผลมากมายที่พิสูจน์ถึงอาตมันของพระผู้เป็นเจ้าว่า ไม่มีส่วนประกอบใดในอาตมันของพระองค์

๘๒

๑.การปฏิเสธการมีส่วนประกอบภายนอก

    คำอธิบาย

    เมื่อใดก็ตามที่สิ่งหนึ่งมีส่วนประกอบ สิ่งนั้นก็จะต้องมีชิ้นส่วน และสิ่งนั้นจะมีอยู่ได้ก็ขึ้นอยู่กับการมีชิ้นส่วนของมัน และการที่สิ่งนั้นไม่มีชิ้นส่วน หมายถึง การไม่มีอยู่ของสิ่งนั้น ซึ่งสติปัญญาได้บอกว่า ส่วนประกอบทุกส่วนของสิ่งหนึ่ง  คือ การมีอยู่ของสิ่งนั้น  การเกิดขึ้นของส่วนประกอบก่อนที่สิ่งนั้นจะเกิดขึ้น หมายความว่า สิ่งนั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องมีส่วนประกอบที่เกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้น  การมีอยู่ของสิ่งที่มีส่วนประกอบ หมายความว่า การมีอยู่ของสิ่งนั้นขึ้นอยู่กับการเกิดขึ้นของส่วนประกอบ เพราะฉะนั้น การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า ในสภาพที่เป็นไปไม่ได้ว่าจะต้องมีส่วนประกอบ เพราะว่าการมีส่วนประกอบนั้นมีความขัดแย้งกับความจำเป็นต้องมีอยู่ของพระองค์

 ด้วยเหตุนี้เอง ถ้าสมมุติว่า พระผู้เป็นเจ้ามีส่วนประกอบ หมายความว่า พระองค์มิได้เป็นสิ่งจำเป็นต้องมีอยู่ แต่พระองค์นั้น เป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพาสิ่งอื่น จึงจะมีอยู่ได้ แต่ในความเป็นจริง พระองค์ คือสิ่งจำเป็นต้องมีอยู่ เพราะฉะนั้น จึงเป็นที่กระจ่างชัดว่า พระผู้เป็นเจ้านั้นไม่มีส่วนประกอบใด นอกจากอาตมันของพระองค์เท่านั้น

๘๓

๒.การปฏิเสธการมีส่วนประกอบในด้านสติปัญญา

เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่มีความเข้าใจง่ายในการพิสูจน์ถึงการปฏิเสธการมีส่วนประกอบในพระผู้เป็นเจ้า

  คำอธิบาย

   เมื่อสิ่งหนึ่งประกอบด้วย สกุล(ญินซ์) และลักษณะความแตกต่าง(ฟัศล์) เช่น มนุษย์ประกอบด้วย ความเป็นสัตว์กับการพูดได้ ดังนั้น สัตว์จึงเป็นสกุล และการพูดได้ ก็เป็นลักษณะความแตกต่าง และมนุษย์คือ สัตว์ที่พูดได้ และสิ่งที่ประกอบจากการมี(วุญูด)และสสาร(มาฮียัต) เช่น การมีอยู่ของมนุษย์จากการมีและการเป็นสสาร ทั้งหมดนั้น เป็นคุณสมบัติของสสาร

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ  สติปัญญาของมนุษย์นั้นมีความคุ้นเคยกับการมีอยู่ของสสาร และด้วยกับความแตกต่างกันในคุณสมบัติทั้งหลายของสสาร ทำให้ได้รับความหมายของคำว่า สกุล (ญินซ์) และลักษณะความแตกต่าง (ฟัศล์) ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อได้นำเอาทั้งสองคำประกอบเข้าด้วยกัน

ดังนั้น การที่สิ่งหนึ่งประกอบด้วย สกุล และลักษณะความแตกต่าง  สิ่งที่ประกอบด้วยการมีอยู่กับสสาร ทั้งหมดนั้น คือ การมีส่วนประกอบของสสาร และได้กล่าวไปแล้วว่า อาตมันของพระผู้เป็นเจ้านั้น ทรงมีอยู่อย่างบริสุทธิ์และมิได้เป็นสสาร ดังนั้น การมีอยู่ของพระองค์จึงไม่มีส่วนประกอบดังที่กล่าวมา

๘๔

๓.การปฏิเสธการมีส่วนประกอบในด้านปริมาณ ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่มีความเข้าใจง่ายในการพิสูจน์ถึงอาตมันของพระเจ้าว่า ไม่มีส่วนประกอบในด้านปริมาณ

    คำอธิบาย

   ถ้าหากสมมุติว่า พระผู้เป็นเจ้ามีส่วนประกอบในด้านปริมาณแล้วละก็ ส่วนประกอบนั้นก็จะเป็นมุมกินุลวุญูด( สิ่งที่ต้องพึ่งพา) หรือจะเป็นวาญิบุลวุญูด (สิ่งทีจำเป็นต้องมีอยู่) และถ้าส่วนประกอบนั้น เป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพา ส่วนประกอบทั้งหมดไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ต้องมีความแตกต่างกันอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น อาตมันของพระเจ้า จึงเป็นทั้งสิ่งที่จำเป็นต้องมีอยู่ สิ่งที่ต้องพึ่งพาในเวลาเดียวกัน ซึ่งก็เป็นไปไม่ได้ที่ สิ่งหนึ่งจะเป็นทั้งสองสิ่งพร้อมกัน และถ้าสมมุติว่า พระเจ้ามีส่วนประกอบที่เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมี(วาญิบุลวุญูด) ก็เป็นไปไม่ได้เช่นเดียวกัน เพราะว่า การมีส่วนประกอบในด้านปริมาณ หมายถึง การมีอยู่ของสิ่งหนึ่งในสภาวะที่ยังกลายไม่เป็นจริง ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้สำหรับการมีอยู่ของสิ่งที่จำเป็นต้องมี และมิได้มีเป็นสภาวะเป็นจริง และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ การมีส่วนประกอบในด้านปริมาณ เป็นคุณลักษณะหนึ่งของร่างกาย ซึ่งร่างกายเป็นสสาร และมีรูปร่าง ในขณะเดียวกัน อาตมันของพระผู้เป็นเจ้ามิได้เป็นสสารและมีรูปร่าง เพราะฉะนั้น จากเหตุผลดังกล่าว ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า อาตมันของพระผู้เป็นเจ้า มิได้มีส่วนประกอบในด้านปริมาณ

๘๕

  การพิสูจน์ความเป็นหนึ่งเดียวของพระผู้เป็นเจ้าและการปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์

   หลังจากที่ได้พิสูจน์ความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้าไปแล้ว บัดนี้  จะมาพิสูจน์ในเหตุผลของความเป็นหนึ่งเดียวของพระองค์

ความเป็นหนึ่งเดียวในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า (เตาฮีดซาตีย์วาฮิดีย์) หมายถึง อาตมันของพระองค์ มีหนึ่งเดียวและไม่มีพระเจ้าอื่นใดอยู่เคียงข้างพระองค์

การพิสูจน์ความเป็นหนึ่งเดียวในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า มีเหตุผลอยู่มากมาย แต่จะขอนำมากล่าวสัก ๓ เหตุผล ซึ่งมีดังนี้

    เหตุผลที่หนึ่ง  : ความสมบูรณ์แบบที่สุดและความไม่มีขอบเขตจำกัดของพระเจ้า

    ข้ออ้างแรกของเหตุผลนี้ คือ อาตมันของพระเจ้านั้น ไม่มีที่สิ้นสุด และขอบเขตจำกัด แต่มีสภาพที่สมบูรณ์แบบ เพราะว่าจากความจำเป็นที่ต้องมีอยู่ของพระองค์ได้กำหนดไว้ว่า อาตมันของพระองค์จะปราศจากความสมบูรณ์ไปไม่ได้ และถ้าหากว่าพระองค์มิได้มีความสมบูรณ์ในอาตมันก็เท่ากับว่าพระองค์ มีความต้องการ และเมื่อเป็นเช่นนี้อาตมันของพระองค์ก็มีความบกพร่องและไม่มีความสมบูรณ์ ดังนั้น การมีความต้องการก็คือ ความไม่สมบูรณ์ และความบกพร่อง ซึ่งสิ่งนี้มีความขัดแย้งกับความจำเป็นที่ต้องมีของพระองค์

๘๖

  ถ้าสมมุติว่า มีพระเจ้าอยู่สององค์ ในระหว่างพระเจ้าสององค์ก็ต้องมีความแตกต่างกัน และหากว่าไม่มีความแตกต่างกันในพระเจ้าสององค์ การสมมุติฐานที่บอกว่า มีพระเจ้าสององค์ก็จะไม่เกิดขึ้น และในสภาพเช่นนี้การสมมุติฐานที่จะเกิดขึ้นมีด้วยกัน ๒ สมมุติฐาน ดังนี้

สมมุติฐานแรก คือ พระเจ้าองค์หนึ่งมีความแตกต่างที่อีกองค์ไม่มี เช่น พระเจ้าองค์หนึ่งมีความสมบูรณ์ และอีกองค์หนึ่งไม่มีความสมบูรณ์ ในสภาพเช่นนี้ เป็นรู้กันดีว่า พระเจ้าที่แท้จริง คือพระเจ้าองค์แรก มิใช่พระเจ้าองค์ที่สอง เพราะว่า พระเจ้าองค์ที่สองนั้น มีความบกพร่องและไม่มีความสมบูรณ์ จึงไม่สามารถจะเป็นพระเจ้าได้ ดังนั้น ในสมมุติฐานนี้ ได้พิสูจน์ในความเป็นหนึ่งเดียวของพระเจ้า และการปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์

สมมุติฐานที่สอง คือ การมีอยู่ของพระเจ้าทั้งสองพระองค์ที่มีความสมบูรณ์เหมือน แต่มีความแตกต่างที่พระเจ้าอีกพระองค์ไม่มี นั่นก็คือ พระเจ้าองค์หนึ่งมีความสมบูรณ์ที่ไม่เหมือนกับอีกองค์หนึ่ง ดังนั้นในสภาพเช่นนี้ พระเจ้าทั้งสององค์มิได้เป็นพระเจ้าที่แท้จริง เพราะว่า มีความขัดแย้งกับสมมุติฐานข้างต้น เหตุผลก็คือ การมีอยู่ของพระเจ้าทั้งสององค์เกิดจากการมีและการไม่มี ซึ่งได้กล่าวไปแล้วว่า พระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากการมีส่วนประกอบทุกชนิด

    ด้วยเหตุนี้  การสมมุติว่าพระเจ้ามีหลายองค์ จึงหวนกลับไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวของพระเจ้า และในสมมุติฐานที่สอง ก็ได้นำพาไปสู่การมีส่วนประกอบในพระเจ้า ข้อสรุปจากสมมุติฐานนี้ก็คือ การคิดและจิตนาการว่า มีพระเจ้าหลายองค์ เป็นการจินตนาการไม่เข้ากับการใช้เหตุผลทางปัญญา และในบางทีอาจจะกล่าวได้ว่า มีการสมมุติฐานอื่นเกิดขึ้นอีก เป็นสมมุติฐานที่สาม นั่นก็คือ สมมุติว่า พระเจ้าทั้งสององค์มีความสมบูรณ์เหมือนกัน เหตุผลก็คือดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า

๘๗

 สมมุติฐานนี้ ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะว่าการมีอยู่หลายอย่างต้องมีความแตกต่างกัน และการสมมุติว่า พระเจ้ามีสององค์ที่มีความสมบูรณ์เหมือนกัน ก็มีความขัดแย้งกับสมมุติฐานแรกที่ได้กล่าวไปแล้ว ด้วยเหตุนี้เอง การมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์จึงเป็นไปไม่ได้ เพราะว่า มีความขัดแย้งกับความจำเป็นที่ต้องมีอยู่และความสมบูรณ์แบบของพระเจ้า

    เหตุผลที่สอง  : การปฏิเสธการมีส่วนประกอบทุกชนิด

    ถ้าสมมุติว่า มีพระเจ้าสององค์ที่เป็นวาญิบุลวุญูด (สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่) เหมือนกัน และได้อธิบายไปแล้วว่า สมมุติฐานว่ามีพระเจ้าหลายองค์ บ่งบอกถึงการมีความแตกต่างระหว่างพระเจ้าทั้งหลาย ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราพูดว่า มีหนังสือสองเล่ม ดังนั้น ความหมือนกันคือ ความเป็นหนังสือ แต่ว่ามีความแตกต่างกันในขนาดของเล่ม, สี,สถานที่จัดพิมพ์ ฯลฯ เพราะฉะนั้น การสมมุติว่า มีพระเจ้าหลายองค์ จึงหมายความว่า พระเจ้าสององค์มีความเหมือนกันในความจำเป็นต้องมีอยู่ และมีความแตกต่างในความเป็นพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้เอง การสมมุติฐานข้างต้น บ่งบอกว่า หนึ่งในพระเจ้าทั้งสองมีความเหมือนและความแตกต่างอยู่ด้วยกัน และนี่คือสาเหตุที่ทำให้อาตมันของพระเจ้า มีส่วนประกอบ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า อาตมันของพระเจ้าไม่มีส่วนประกอบใดทั้งสิ้น ดังนั้น การสมมุติว่า มีพระเจ้าหลายองค์ จึงเป็นสาเหตุทำให้อาตมันของพระเจ้ามีส่วนประกอบ และการมีส่วนประกอบในพระองค์ เป็นการกระทำที่เป็นไปไม่ได้ และการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์ก็เป็นไปไม่ได้ ด้วยเช่นเดียวกัน

๘๘

    เหตุผลที่สาม   : การปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์

    การปฏิเสธการมีของพระเจ้าหลายองค์ เป็นหนึ่งในเหตุผลของเตาฮีด และมีคำอธิบายมากมายในเหตุผลนี้ และจะกล่าวได้ว่า ในขณะที่สมมุติว่า มีพระเจ้าอยู่สององค์ การสมมุติฐาน จึงมีด้วยกัน ๓ สภาพ ดังนี้

๑.พระเจ้าองค์หนึ่งมีความสามารถเหนืออีกพระองค์หนึ่ง หมายความ พระเจ้าองค์หนึ่งสามารถที่จะต่อสู้กับอีกพระองค์หนึ่งได้ ในสภาพเช่นนี้ พระเจ้าที่แท้จริงคือ พระเจ้าองค์แรกที่มีความสามารถเหนืออีกฝ่ายหนึ่ง

๒.พระเจ้าทั้งสองพระองค์มีความสามารถเหมือนกัน

๓.พระเจ้าทั้งสองพระองค์ไม่มีความสามารถใดๆเลย

ดังนั้น การสมมุติฐานทั้งสองสภาพก็มีความขัดแย้งกับการสมมุติฐานแรก คือ การมีอยู่ของพระเจ้าทั้งสองพระองค์ เพราะว่าในสภาพที่สอง แสดงให้เห็นถึงความปราชัยของบรรดาพระเจ้าทั้งหลาย และในสภาพที่สามก็แสดงให้เห็นถึง ความไร้สามารถของพระเจ้าทั้งหลาย ซึ่งทั้งสองสภาพนั้น มีความขัดแย้งกับวาญิบุลวุญูด (สิ่งจำเป็นต้องมีอยู่) ของพระเจ้า

 ด้วยเหตุนี้ การสมมุติฐานว่ามีพระเจ้าหลายองค์ จึงมีความเป็นไปไม่ได้

๘๙

    ความเป็นหนึ่งเดียวในความจริงและในจำนวนเลข

 (วะฮ์ดัตฮะกีกีย์และวะฮ์ดัตอะดาดีย์)

  ในตอนท้ายของบทนี้ มีประเด็นสำคัญที่จะต้องขอกล่าวย้ำ คือ ส่วนมากของมนุษย์ ได้คิดว่าความหมายของความเป็นหนึ่งเดียวของพระเจ้า (วะฮ์ดัต) เป็นความหมายเดียวกับความเป็นหนึ่งเดียวในจำนวนเลข (วะฮ์ดัตอะดาดีย์)  เช่น ความหมายของความเป็นหนึ่งในพระเจ้าว่า มีความหมายเดียวกันกับความหมายของ คำว่า พระอาทิตย์ดวงหนึ่ง หรือโลกใบหนึ่ง ถ้าหากว่าได้ไตร่ตรองอย่างละเอียด และนำเอาคำสอนของอัล กุรอานและวจนะ มาเป็นบรรทัดฐาน จะได้รับในความหมายที่ลึกซึ้งของความเป็นหนึ่งเดียวในพระเจ้า ซึ่งบางครั้ง เรียกว่า ความเป็นหนึ่งเดียวในความจริง

(วะฮ์ดัตฮะกีกีย์) ความหมายของความเป็นหนึ่งเดียวในจำนวนเลข

(วะฮ์ดัตอะดาดีย์) คือ ในกรณีของสิ่งหนึ่งที่ถูกใช้ในความหมายโดยรวมที่สามารถบอกถึงจำนวนของมันได้ เช่น ถ้าบอกว่า สิ่งนั้นมีอันเดียว และจะสมมุติว่าสิ่งนั้นมีสองหรือสามอันก็ได้ เพราะว่าจากจำนวนนับมีตัวเลขหลายตัวด้วยกัน และในส่วนของความหมายของความเป็นหนึ่งเดียวที่เกิดขึ้นในความจริง (วะฮ์ดัตฮะกีกีย์) มีหมายความว่า สิ่งนั้นถูกใช้ในความหมายที่มีอันเดียวโดยไม่สามารถที่จะสมมุติว่า มีสองหรือสามได้ ดังนั้น จากการพิจารณาในความหมายของความเป็นหนึ่ง (วะฮ์ดัต) ทำให้เข้าใจได้ว่า ความหมายของความเป็นหนึ่งในอาตมันของพระเจ้า มิใช่ความเป็นหนึ่งในจำนวนเลข แต่คือความเป็นหนึ่งในความจริง ก็คือ ความเป็นหนึ่งเดียวที่เกิดขึ้นจริง และไม่มีสองหรือมีสาม  ดังนั้น ความหมายของความเป็นหนึ่งเดียวในอาตมันของพระเจ้า คือ ความเป็นหนึ่งเดียวที่ไม่มีขอบเขตจำกัด และไม่มีสิ่งอื่นเคียงข้างพระองค์

๙๐

  ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน(เตาฮีด ซาตีย์) ในอัล กุรอาน

  ในบทที่ผ่านมาได้อธิบายแล้วว่า ประเภทแรกของความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎี(เตาฮีด นะซอรีย์) คือ ความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า(เตาฮีด ซาตีย์) ซึ่งอธิบายได้  ๒ ความหมาย ด้วยกัน ดังนี้

๑.ความเชื่อในความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระเจ้า เรียกว่า เตาฮีด อะฮะดีย์

๒.ความเชื่อในความเป็นหนึ่งเดียวในอาตมัน และการปฏิเสธการตั้งภาคีใดๆ ได้เรียกว่า เตาฮีด วาฮีดีย์ เพราะว่า ความเชื่อในการตั้งภาคีเกิดขึ้นมากมายเคียงข้างพระเจ้า เช่น การมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์

อัล กุรอานได้เน้นย้ำในความหมายที่สองไว้อย่างมาก และแม้ในโองการทั้งหลายจะกล่าวถึง เตาฮีดอะฮะดีย์ และความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระเจ้าก็ตาม และยังได้กล่าวถึง การมีความเชื่อของมนุษย์ในพระเจ้าหลายองค์ และการตั้งภาคีต่อพระเจ้า

อัล กุรอานกล่าวว่า

 “ไม่มีสิ่งใดเหมือนพระองค์ พระองค์เป็นผู้ทรงได้ยินอีกทั้งทรงมองเห็น” ( บทอัชชูรอ โองการที่ ๑๑ )

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า ตามหลักไวทยากรณ์ภาษาอาหรับกล่าวว่า โองการนี้ได้ปฏิเสธทุกชนิดของความเหมือนกันในพระผู้เป็นเจ้า แต่ทว่าการอธิบายในความหมายที่ละเอียดอ่อนของประโยคก่อนโองการนี้ มีความแตกต่างกันระหว่างนักอรรถาธิบายอัลกุรอาน คือ ความแตกต่างในอักษร กาฟ ในประโยคที่กล่าวว่า “เหมือนพระองค์” เป็นอักษรที่ใช้แสดงถึง การเหมือนกันของสิ่งหนึ่งและมีความหมายว่า เหมือนกัน ดังนั้น การกล่าวสองคำพร้อมกัน บ่งบอกถึงการเน้นย้ำ

๙๑

และนักวิชาการบางคนได้กล่าวว่า อักษรกาฟ ในที่นี้เป็นอักษรที่ใช้การเน้นย้ำ และบางคนได้กล่าวว่า คำว่า มิสลิฮี มีความหมายว่า อาตมันของพระเจ้า ดังนั้น ความหมายของโองการนี้ คือ อาตมันของพระองค์นั้น ไม่มีที่สิ้นสุด และไม่สามารถที่จะเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นได้เ พราะว่าสิ่งทั้งหลายนั้น มีที่สิ้นสุด และมีขอบเขต

และในโองการอื่นๆยังได้กล่าวในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้าไว้อีกว่า

 “จงกล่าวเถิดว่า พระองค์ คืออัลลอฮ์ผู้ทรงเอกะ อัลลอฮ์ทรงเป็นที่พึ่งพา พระองค์ไม่ทรงประสูติ(ผู้ใด)และไม่ทรงถูกประสูติ(จากสิ่งใด) และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์ในเอกภพ”

 (บทอัตเตาฮีด โองการที่ ๑-๔)

จากโองการแรก แสดงให้เห็นว่า พระเจ้าได้สั่งให้ศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ประกาศให้ชัดเจนว่า พระเจ้ามีองค์เดียวคือ อัลลอฮ์ และบรรดานักอรรถาธิบายอัล กุรอานได้กล่าวว่า คุณลักษณะ “อะฮัด” และ”วาฮิด”  มีความแตกต่างกัน คำว่า “อะฮัด” บ่งบอกถึง ความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระเจ้า และคำว่า”วาฮิด” บ่งบอกถึง ความเป็นเอกะของพระองค์

 กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ  โองการสุดท้ายของบทอัตเตาฮีด ได้กล่าวว่า การไม่เสมอเหมือนผู้ใดของพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้น จากโองการนี้ แสดงให้เห็นถึง การปฏิเสธการตั้งภาคีทั้งหลาย และเป็นการพิสูจน์ว่า มีพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น

อัล กุรอานกล่าวว่า

“มหาบริสุทธิ์แห่งพระองค์ คือ อัลลอฮ์ผู้ทรงเอกะและผู้ทรงพิชิตเหนือทุกสิ่ง”

(บทอัซซุมัร โองการที่ ๔)

๙๒

ทัศนะของนักอรรถาธิบายอัล กุรอานบางคนได้กล่าวว่า การที่สองคุณลักษณะของพระเจ้า(คือ ความเป็นเอกานุภาพ และผู้ทรงพิชิตเหนือทุกสิ่ง) อยู่คู่กัน แสดงให้เห็นว่า ถ้ามีสิ่งที่มีขอบเขตจำกัดแล้วละก็ สิ่งนั้นจะต้องอยู่ภายใต้อำนาจของสิ่งที่ไม่มีขอบเขตและมีความนิรันดร์ นั่นก็คือ อยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของพระผู้เป็นเจ้า เพราะว่า พระองค์ คือสิ่งที่มีอยู่ที่ไม่มีขอบเขต และมีอำนาจเหนือทุกสรรพสิ่ง ดังนั้น คุณลักษณะทั้งสอง กล่าวคือ ความเป็นเอกานุภาพและผู้พิชิต บ่งบอกถึงประเภทของวะฮ์ดัตอัยนีย์ (เอกภาพในความจริง) และมิได้บ่งบอกในประเภทของวะฮ์ดัตอะดาดีย์ (ความเป็นหนึ่งเดียวในจำนวนเลข)

เพราะการคาดว่า พระเจ้ามีหลายองค์นั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และด้วยกับสิ่งที่เป็นเอกภาพในจำนวนเลข คือ สิ่งที่มีขอบเขต ดังนั้น จากโองการดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า พระเจ้าไม่มีสิ่งที่อยู่เคียงข้างพระองค์ และเป็นไปไม่ได้ที่จะคิดว่าพระเจ้ามีหลายองค์

   ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน(เตาฮีด ซาตีย์) ในวจนะ

   วจนะของบรรดาอิมามผู้นำ ผู้บริสุทธิ์ (ขอความสันติพึงมีแด่พวกท่าน) ที่ได้กล่าวถึง ความเอกานุภาพในอาตมัน เช่น ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ)  กล่าวว่า

“พวกเจ้า จงรู้จักพระเจ้าในสภาพที่พระองค์ไม่ทรงเหมือนกับสิ่งใดและไม่มีสิ่งใดเหมือนพระองค์ พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าเพียงองค์เดียว พระองค์ทรงเป็นพระผู้ทรงสร้าง ผู้ทรงเดชานุภาพ พระองค์เป็นพระองค์แรก และเป็นองค์สุดท้าย ผู้ที่อยู่ทั้งภายนอกและภายใน ไม่สิ่งใดเหมือนพระองค์

๙๓

 นี่คือการรู้จักถึงพระเจ้าที่แท้จริง”

(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๑๔)

ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้อธิบายในวจนะนี้ว่าความไม่เหมือนกับสิ่งใดของพระผู้เป็นเจ้า หลังจากนั้นยังได้อธิบายในการมีอยู่ของคุณลักษณะทั้งหลายของพระองค์ ต่อมาก็ได้อธิบายถึงความเป็นเอกานุภาพ และในตอนท้ายได้กล่าวว่า พระเจ้านั้นไม่เหมือนกับสิ่งใดที่มีอยู่ในโลก

และวจนะหนึ่งจากท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ท่านอิมามได้ตอบคำถามของชายคนหนึ่งในสงครามญะมัล ที่ถามท่านเกี่ยวกับความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า โดยที่ท่านตอบว่า ความเป็นเอกานุภาพ มีด้วยกัน ๔ ความหมาย ซึ่งสองความหมายนั้นเหมาะสมที่สุดสำหรับพระองค์ มีใจความว่า

 “ส่วนอีกสองความหมายที่ไม่อนุญาตให้ใช้กับพระองค์ได้นั้น คือ คำกล่าวของผู้ที่กล่าวว่า พระเจ้ามีพระองค์เดียวแต่เขาหมายถึง ในจำนวนเลข ความหมายนี้ไม่เป็นที่อนุญาต เพราะว่า พระองค์ไม่มีจำนวนสองและไม่มีจำนวนเลข.................และคำกล่าวที่พวกเขากล่าวว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งจากประชาชาติ ดังนั้น ความหมายนี้ก็ไม่เป็นที่อนุญาตด้วยเช่นเดียวกัน เพราะว่าได้ทำให้พระองค์เหมือนกับสิ่งอื่น และแน่นอนที่สุด พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งต่างๆเหล่านั้น

ส่วนความหมายที่เหลือของเตาฮีด คือ คำกล่าวของผู้ที่กล่าวว่า พระเจ้า ทรงเป็นหนึ่งเดียวไม่มีสิ่งใดเหมือนพระองค์ และคำกล่าวว่า พระเจ้าทรงเป็นหนึ่งในด้านความหมาย หมายความว่า พระเจ้าไม่มีการแบ่งชนิดต่างๆของการมีอยู่ในพระองค์ จากการเหตุผลทางสติปัญญาหรือการสร้างมโนภาพก็ตาม นี้แหละคือ พระเจ้า พระผู้อภิบาลของเรา ผู้ทรงสูงส่ง”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๓ วจนะที่ ๓)

๙๔

จากคำกล่าวของท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) แสดงให้เห็นว่า สองความหมายของวะฮ์ดัตที่ไม่เป็นที่อนุญาตให้ใช้กับพระผู้เป็นเจ้า คือ ความหมายของวะฮ์ดัตอะดาดีย์ (ความเป็นหนึ่งเดียวในจำนวนเลข) เพราะ ความหมายนี้ หมายถึง ความเป็นหนึ่งที่จะต้องมีจำนวนสองและสามและจำนวนเลขอื่นตามมา และถ้าหากว่า ไม่มีจำนวนเลขอื่น ก็มีความเป็นไปได้ว่า จะต้องมีสอง อย่างแน่นอน และอีกความหมายหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพ ที่ไม่เป็นที่อนุญาต ก็คือ ในความหมายของสิ่งหนึ่ง เมื่อได้เปรียบเทียบกับสิ่งอื่น เช่น นาย ก เขาเป็นทั้งมนุษย์และสัตว์ เมื่อได้เปรียบเทียบกับสิ่งอื่นที่มีความคล้ายคลึงกัน ดังนั้น ความหมายนี้ไม่สามารถที่จะใช้กับพระผู้เป็นเจ้าได้ เพราะว่า พระองค์ไม่เหมือนกับสิ่งใด และไม่มีสิ่งใดเสมือนพระองค์ และท่านอิมามอะลี ยังได้กล่าวอีกว่า และยังมีอีกสองความหมายที่อนุญาตให้ใช้กับพระเจ้าได้ นั่นคือ ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน และความบริสุทธิ์จากการมีส่วนประกอบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนประกอบในสติปัญญา ,ภายนอก,ภายในและอื่นๆ

ท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ยังได้ปฏิเสธ วะฮ์ดัตอะดาดีย์ (ความเป็นหนึ่งเดียวในจำนวนเลข) โดยได้กล่าวว่า

 “พระเจ้าทรงเป็นเอกะ มิใช่ด้วยกับจำนวนเลข และพระองค์ทรงเป็นนิรันดร์และไม่มีที่สิ้นสุด”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะ สุนทรโรวาทที่ ๑๘๕)

รายงานจากท่านอิมามซอดิก (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ว่า สาวกคนหนึ่งได้ถามท่านอิมามเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “อัลลอฮุอักบัร”ว่ามีความหมายว่าอย่างไร?

๙๕

 ชายคนหนึ่งได้พูดขึ้นว่า อัลลอฮุอักบัร  หมายถึง พระองค์ทรงยิ่งใหญ่เหนือทุกสรรพสิ่ง ดังนั้น ท่านอิมามได้ตอบว่า ความหมายของอัลลอฮุอักบัร คือ อัลลอฮ์ พระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่เหนือการพรรณาทั้งหลาย

    ศัพท์วิชาการท้ายบท

เตาฮีดซาตีย์  หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า

เตาฮีดนะซอรีย์ หมายถึง เตาฮีดในทฤษฎีศรัทธา

ตัรกีบอักลีย์  หมายถึง การมีส่วนประกอบในด้านสติปัญญา

ตัรกีบคอรีญี่  หมายถึง การมีส่วนประกอบภายนอก

ตัรกีบมิกดาดีย์   หมายถึง การมีส่วนประกอบในด้านปริมาณ

วะฮ์ดัตอะดาดีย์ (หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวในจำนวนตัวเลข

วะฮ์ดัตฮะกีกีย์  หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวในความจริง

    สรุปสาระสำคัญ

๑.ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีศรัทธา สามารถที่จะแบ่งออกเป็น สาม ประเภท ก็คือ

ความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระเจ้า, ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ และความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำของพระองค์

๒.ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระเจ้า คือ ความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระองค์ หมายความว่า การไม่มีส่วนประกอบ และการไม่มีการตั้งภาคีใดๆในอาตมันของพระเจ้า ความหมายแรก เรียกว่า

 เตาฮีด อะฮะดีย์ ความหมายที่สอง เรียกว่า เตาฮีด วาฮิดีย์

๙๖

๓.รากฐานของ ความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระเจ้าที่มีกล่าวไว้ในอัล กุรอาน และวจนะของท่านศาสดาและบรรดาอิมามผู้นำ ผู้บริสุทธิ์ได้อธิบายไปแล้วนั้น มีความหมายที่ลึกซึ้งและละเอียดอ่อน ซึ่งยากที่จะเข้าใจได้ เและนักวิชาการอิสลามก็มีความเข้าใจเพียงบางส่วนเท่านั้นป

๔.การมีส่วนประกอบมีด้วยกัน สาม ชนิด

(๑).การมีส่วนประกอบในด้านสติปัญญา เช่น การมีส่วนประกอบของสิ่งหนึ่งจากการมีและการไม่มี ,การมีส่วนประกอบจากการมีและสสาร และการมีส่วนประกอบจากสกุลและลักษณะความแตกต่าง

(๒).การมีส่วนประกอบภายนอก เช่น การมีส่วนประกอบของร่างกายจากวัตถุและรูปร่าง

(๓).การมีส่วนประกอบในด้านปริมาณ เช่น การมีส่วนประกอบของร่างกายจากชิ้นส่วนที่ยังไม่เป็นสภาวะจริง

๕.อาตมันของพระเจ้าไม่มีส่วนประกอบทั้งสามชนิด ไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนประกอบ ทางสติปัญญา ,ภายนอก และในด้านปริมาณ และมีเหตุผลต่างๆมาพิสูจน์ได้ว่า พระผู้เป็นเจ้า ไม่มีส่วนประกอบดังกล่าว

๖.ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า และการไม่มีการตั้งภาคีใดๆ สามารถที่จะพิสูจน์ได้ด้วยกับเหตุผลทางสติปัญญา

๗.ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า มิได้หมายความว่า ความเป็นหนึ่งเดียวหรือเอกภาพในจำนวนเลข แต่ทว่าหมายความว่า ความเป็นหนึ่งเดียวที่เกิดขึ้นในความเป็นจริง ดังนั้น การจินตนาการว่ามีพระเจ้าหลายองค์ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้และสติปัญญาก็ไม่ยอมรับ

๙๗

๘.อัล กุรอานได้เน้นย้ำในความเป็นเอกานุภาพหรือความเป็นหนึ่งเดียวของพระเจ้า โดยได้กล่าวว่า พระเจ้าไม่เสมอเหมือนกับสิ่งใด และในบทอัตเตาฮีดก็ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า พระเจ้า คืออัลลอฮ์ ผู้ทรงเป็นเอกะและไม่มีสิ่งอื่นใดเสมอเหมือนพระองค์

๙.โองการอัล กุรอานได้กล่าวถึงคุณลักษณะกอฮารียัต

(ผู้ทรงพิชิตเหนือทุกสิ่ง) หลังจาก คุณลักษณะความเป็นเอกานุภาพ แสดงให้เห็นว่า ความหมายของความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า คือ ความเป็นหนึ่งเดียวที่เกิดขึ้นในความเป็นจริง

๑๐.ท่านอิมามอะลีได้ตอบคำถามเกี่ยวกับความเป็นเอกานุภาพของ

พระผู้เป็นเจ้าว่า ความเป็นเอกานุภาพของพระองค์ มิได้หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวในจำนวนเลข และความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า หมายถึง การปฏิเสธการเสมอเหมือน และการปฏิเสธทุกชนิดของการมีส่วนประกอบในพระองค์

๑๑.วจนะของท่านอิมามซอดิก ได้รายงานว่า ความหมายของคำว่า

อัลลอฮุอักบัร คือ อัลลอฮ์ ผู้ทรงบริสุทธิ์เหนือการพรรณาทั้งปวง

๙๘

   บทที่ ๓

   ความเป็นเอกานุภาพของพระเจ้าในคุณลักษณะ

 (เตาฮีด ซิฟาตีย์)

   บทนำเบื้องต้น

    ได้กล่าวไปในบทที่แล้วว่า ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า สามารถที่จะแบ่งได้ ๒ ประเภท ก็คือ ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา และความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ

ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา ก็สามารถแบ่งออกได้ หลายประเภทด้วยกัน ซึ่งมีดังนี้

๑.ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน (เตาฮีด ซาตีย์)

๒.ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ (เตาฮีด ศิฟาตีย์)

๓ความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ(เตาฮีด อัฟอาลีย์)

ได้อธิบายในความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพในอาตมันผ่านไปแล้ว และจะมาอธิบายกันในความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ เป็นอันดับต่อไป

ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า อาตมันของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยกับเหตุผลทางสติปัญญาความจำเป็นที่ต้องมีอยู่ (วาญิบุลวุญูด) จะต้องมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุดในอาตมันของพระองค์ และขณะที่อาตมันของพระองค์ มีคุณลักษณะที่มีความสมบูรณ์ พระองค์จะปราศจากคุณลักษณะเหล่านั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

๙๙

 เพราะถ้าหากว่าพระองค์ทรงปราศจากคุณลักษณะเหล่านั้น ก็แสดงว่าคุณลักษณะของพระองค์มีข้อบกพร่อง และมีขอบเขตจำกัด เช่น คุณลักษณะ ความรอบรู้ ความสามารถ พลังอำนาจ การมีชีวิต และ อื่นๆ ทั้งหมดของคุณลักษณะดังกล่าวมีอยู่ในอาตมันของพระองค์ และเป็นคุณลักษณะที่มีความสมบูรณ์ที่สุด อีกทั้งยังเป็นคุณลักษณะที่ไม่มีขอบเขตจำกัด

หลังจากนั้น ได้มีคำถามเกิดขึ้นอีกว่า อะไรคือ ความสัมพันธ์ที่มีอยู่ระหว่าง คุณลักษณะที่มีความสมบูรณ์ที่สุด กับอาตมันของพระเจ้า ? แล้วคุณลักษณะเหล่านั้น เป็นหนึ่งเดียวกับอาตมันของพระองค์หรือไม่? แล้วคุณลักษณะเหล่านั้น ได้เกิดขึ้น หลังจากการมีมาของอาตมันของพระองค์หรือไม่

สำหรับคำตอบของคำถามเหล่านี้  ถ้าหากต้องการความชัดเจนในคำตอบ ให้สังเกตุในการมีอยู่ของคุณลักษณะในมนุษย์ จะเห็นว่า บางคุณลักษณะมิได้มีอยู่ภายนอกตัวของเขา แต่ทว่า คุณลักษณะนั้นมีอยู่ภายในตัวของเขา เช่น ความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นคุณลักษณะหนึ่งที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ และคุณลักษณะนี้ก็เป็นหนึ่งเดียวในตัวเขาด้วย และคุณลักษณะนี้มิได้เกิดขึ้นหลังจากตัวเขา และยังมีคุณลักษณะอื่นๆ อีก ที่เกิดขึ้นหลังจากมนุษย์ เช่น คุณลักษณะ ความดีใจ ความโกรธ ซึ่งในตัวมนุษย์มิได้มีคุณลักษณะเหล่านี้ และ ในความเป็นจริง ความดีใจ และความโกรธ มิได้มีอยู่ในตัวมนุษย์ และจะมาอธิบายกันในประเด็นคุณลักษณะของพระเจ้า และคุณลักษณะที่มีอยู่ในพระองค์นั้นเป็นเช่นไร? 

และก่อนที่จะตอบคำถามนี้ จะมาอธิบายในบทนำเบื้องต้นก่อน เพื่อที่จะได้มีความเข้าใจในคำตอบมากยิ่งขึ้น

๑๐๐

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156

157

158

159

160

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175

176

177

178

179

180

181

182

183

184

185

186

187

188

189

190

191

192

193

194

195

196

197

198

199

200

201

202

203

204

205

206

207

208

209

210

211

212

213

214

215

216

217

218

219

220

221

222

223

224

225

226

227

228

229

230

231

232

233

234

235

236

237

238

239

240

241

242

243

244

245

246

247

248

249

250

251

252

253

254

255

256

257

258

259

260

261

262

263

264

265

266

267

268

269

270

271

272

273

274

275

276

277

278

279

280

281

282

283

284

285

286

287

288

289

290

291

292

293

294

295

296

297

298

299

300

301

302

303

304

305

306

307

308

309

310

311

312

313

314

315

316

317

318

319

320

321

322

323

324

325

326

327

328

329

330

331

332

333

334

335

336

337

338

339

340

341

342

343

344

345

346

347

348

349

350

351

352

353

354

355

356

357

358

359

360

361

362

363

364

365

366

367

368

369

370

371

372

373

374

375

376

377

378

379

380

381

382

383

384

385

386

387

388

389

390

391

392

393

394

395

396

397

398

399

400

401

402

403

404

405

406

407

408

409

410

411

412

413

414

415

416

417

418

419

420

421

422

423

424

425

426

427

428

429

430

431

432

433

434

435

436

437

438

439

440

441

442

443

444

445

446

447

448

449

450