บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม13%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 339914 / ดาวน์โหลด: 4959
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

   คำอธิบายในข้ออ้างหลัก

   คำอธิบายในข้ออ้างหลัก มีหลายทัศนะด้วยกัน  ดังนี้

๑.ความหมายของการเป็นระบบและระเบียบของโลกแห่งธรรมชาติ หมายความว่า  ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโลก คือ สิ่งที่เป็นสากล และมีความเป็นระบบและระเบียบเหมือนกันทั้งหมด อีกทั้งมีระบบและระเบียบอันเดียวกัน ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อกันและกัน เพื่อนำไปสู่ยังจุดหมายอันเดียวกัน ดังนั้น ทุกองค์ประกอบของโลก เปรียบเสมือน ร่างกายของมนุษย์ที่ประกอบไปด้วยอวัยวะส่วนต่างๆที่มีความเป็นระบบ ระเบียบ และมีความสัมพันธ์ในการรับผิดชอบต่อหน้าที่ อีกทั้งยังมีจุดมุ่งหมายที่สูงส่ง

๒.โลกแห่งวัตถุ หากได้ทำให้มันแยกออกจากกันเป็นส่วนๆ จะเห็นในความเป็นระบบและระเบียบของแต่ละส่วน ไม่ว่าเราจะมองไปในทิศทางใด ก็จะเห็นถึงความเป็นระบบและระเบียบอยู่ ณ ที่แห่งนั้น เช่น สิ่งที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก คือ อะตอม และสิ่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ แกแล็คซี่และหมู่ดาวนพเคราะห์ ,ภูเขา ,ทะเล , ต้นไม้ สัตว์ทั้งหลายและอื่นๆ แม้แต่ในร่างกายของมนุษย์เอง ก็มีความเป็นระบบและระเบียบอยู่ด้วยเหมือนกัน

๓.ปรากฏการณ์ต่างๆ ของโลก เป็นสิ่งที่มีความเป็นระบบและระเบียบ จากการอธิบายนี้ สามารถเข้าใจได้ว่า โลกนี้ มีความเป็นระบบและระเบียบ ดังนั้น  ก็ถือว่าเป็นการเพียงพอแล้วที่ยอมรับในความเป็นระบบและระเบียบของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติโดยที่มิได้ต้องการเหตุผลใดมาพิสูจน์หรือยืนยัน ซึ่งก็เหมือนกับทัศนะที่หนึ่ง และทัศนะที่สอง

๔๑

ด้วยเหตุนี้ จากการเข้าใจในความหมายของความเป็นระบบและระเบียบ ซึ่งมี ๓ ความหมายด้วยกัน ดังที่ได้กล่าวผ่านไปแล้ว และทั้งหมดนั้น บ่งบอกถึง การมีระบบและระเบียบของโลก

   คำอธิบายในข้ออ้างรอง

  ข้ออ้างนี้กล่าวว่า การมีอยู่ของสิ่งที่มีระบบและระเบียบนั้น บ่งบอกถึงการมีอยู่ของผู้ที่จัดให้มีระบบและระเบียบที่มีความรอบรู้ในทุกส่วนประกอบ และสิ่งเหล่านั้นมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เพื่อไปสู่ยังจุดุม่งหมายอันเดียวกัน ดังนั้น ข้ออ้างรองต้องการที่จะบอกถึง การมีของสิ่งที่มีระบบและระเบียบ และการมีของผู้ที่จัดให้มีระบบและระเบียบนั้น จะต้องเป็นผู้มีความรู้และมีวิทยปัญญาด้วย

การอธิบายในข้ออ้างนี้ จำเป็นที่จะต้องใช้หลักการทางสติปัญญามายืนยัน ดังนี้

และจากกฏของเหตุและผล ซึ่งได้กล่าวว่า การมีอยู่ของผลมิได้บ่งบอกถึงการมีอยู่ของเหตุเท่านั้น แต่บ่งบอกถึงการมีอยู่ของคุณลักษณะที่มีอยู่ในเหตุด้วย ดังนั้น การมีอยู่ของสิ่งที่มีระบบและระเบียบ มิใช่ว่า จะต้องมีผู้ที่จัดให้มีระบบและระเบียบเท่านั้น แต่ผู้ที่จัดให้มีระบบและระเบียบนั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และมีความสามารถด้วย กล่าวคือ การมีอยู่ของสิ่งที่มีระบบและระเบียบ คือ ผล ส่วนการมีอยู่ของผู้ที่จัดระบบและระเบียบคือ เหตุ และการมีอยู่ของความรู้และความสามารถ ก็คือ คุณลักษณะที่มีอยู่ในเหตุผล

๔๒

   ข้อสรุป

   บัดนี้ การเข้าใจในข้ออ้างทั้งสองนั้นได้เป็นที่กระจ่างชัดแล้ว และในข้ออ้างหลักได้กล่าวว่า การมีอยู่ของสิ่งที่มีระบบและระเบียบในโลก และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เพื่อไปสู่ยังจุดหมายอันเดียว และข้ออ้างรองก็ได้กล่าวถึง การมีอยู่ของผู้ที่จัดให้มีระบบและระเบียบ

มีคำถามเกิดขึ้นว่า การพิสูจน์ในสิ่งดังกล่าวนี้มีความเท่าเทียมกับการพิสูจน์ในการมีอยู่จริงของพระเจ้าใช่หรือไม่?

คำตอบ  มีหลายทัศนะด้วยกัน บางคนกล่าวว่า เหตุผลนี้ไม่สามารถใช้พิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้าได้ แต่สามารถบอกได้ว่า พระเจ้า คือ ผู้ที่ทรงมีความรอบรู้ ,มีวิทยปัญญา ,สามารถ และมีอำนาจในการบริหารกิจการงาน และบางทัศนะได้กล่าวว่า เหตุผลนี้ สามารถใช้พิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้าได้ ในขณะที่พระองค์คือ ผู้ที่จัดให้โลกนี้มีระบบและระเบียบ มิใช่การพิสูจน์ในสภาพของพระองค์ที่ทรงเป็น วาญิบุลวูญูด (สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่) หรือเป็นผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง ดังนั้น เหตุผลนี้แสดงได้เห็นว่า การมีอยู่ของสิ่งหนึ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ และสิ่งนั้นได้จัดให้โลกนี้มีระบบและระเบียบ และด้วยกับความรู้และความสามารถ และสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งอื่นใดไปไม่ได้ นอกจาก คือ การมีอยู่ของพระเจ้าเท่านั้น

จากคำกล่าวข้างต้น เห็นได้ว่า ไม่มีข้อบกพร่องหรือความผิดพลาดใดในเหตุผลนี้ เพราะว่า เหตุผลนี้มิได้ใช้พิสูจน์คุณลักษณะของพระเจ้า ดังเช่น  ความจำเป็นต้องมีอยู่ หรือเอกานุภาพ แต่เหตุผลนี้ได้พิสูจน์เพียงการมีอยู่ของพระองค์เท่านั้น

๔๓

 กล่าวโดยสรุปว่า โลกแห่งวัตถุหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ของโลก เป็นสิ่งที่มีระบบและระเบียบ หมายความว่า ทุกส่วนหรือทุกองค์ประกอบนั้นมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เพื่อไปสู่จุดหมายอันเดียวกัน และปรากฏการณ์ของโลก ก็มีอยู่มากมาย เช่น สิ่งที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ อะตอม สิ่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ จักรวาล และสิ่งอื่นๆ เช่น ภูเขา, ทะเล ,ต้นไม้ ,สัตว์ทั้งหลาย และมนุษย์ โดยทั้งหมดนั้น มีระบบและระเบียบอย่างเห็นได้ชัด  ซึ่งบ่งบอกถึง การมีอยู่ของผู้ที่จัดให้มีระบบและระเบียบ และสิ่งนั้นอยู่เหนือธรรมชาติ นั่นก็คือ การมีอยู่ของพระเจ้า

   ความเป็นระบบและระเบียบในทัศนะของอัล กุรอาน

   โองการต่างๆของอัล กุรอานได้กล่าวถึงปรากฏการณ์ต่างๆ ของโลกว่า เป็นสัญญาณของพระเจ้า และยังได้เชิญชวนมนุษย์ให้ใช้สติปัญญาไตร่ตรองในสัญญาณเหล่านั้น เพื่อที่จะทำให้รู้จักถึงพระองค์ และเรียกกันว่า “การรู้จักสัญญาณต่างๆของพระเจ้า” ซึ่งก็มีความคล้ายคลึงกับทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก

ก่อนที่จะอธิบายในตัวอย่างจากโองการทั้งหลายของอัล กุรอาน เห็นได้ว่า มีหลายทัศนะที่แตกต่างกันในการตีความ และการอรรถาธิบายในความหมายของโองการเหล่านั้น ซึ่งมีดังนี้

๔๔

๑.นักอรรถาธิบายอัล กุรอานบางคนกล่าวว่า โองการของอัลกุรอานใช้เป็นหลักฐานยืนยันการพิสูจน์เหตุผลทางสติปัญญา ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก บ่งบอกถึง การมีอยู่ของพระเจ้า และการมีอยู่ในคุณลักษณะบางประการของพระองค์ เช่น ความรอบรู้และความมีวิทยปัญญา เป็นต้น

๒. โองการทั้งหลายของอัล กุรอานกล่าวถึง การรู้จักพระเจ้าด้วยกับสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ที่เกิดจากจิตใต้สำนึกของเขา เป็นการเตือนสติให้มนุษย์มิได้หลงลืมในการรู้จักถึงพระองค์

๓. โองการทั้งหลายของอัล กุรอานกล่าวถึง การโต้แย้งและข้อพิพาทของพวกบูชาเจว็ด โดยพวกเขามีความเชื่อว่า เจว็ดที่พวกเขาบูชานั้น มีความสามารถ และมีอำนาจสูงสุดในการบริหาร ในขณะที่พวกเขาไม่เชื่อว่า โลกนี้มีพระเจ้าเพียงองค์เดียวที่มีอำนาจสูงสุดและจำเป็นที่จะต้องรู้จักถึงพระองค์

หลังจากที่ได้อธิบายถึง การรู้จักในสัญญาณต่างๆของพระเจ้า และได้ยกโองการทั้งหลายมาเป็นตัวอย่าง มีดังนี้

อัล กุรอานได้กล่าวถึง การเชิญชวนมนุษย์ให้ใช้สติปัญญาในการรู้จักสัญญาณต่างๆของพระเจ้า ว่า

“แท้จริงในการสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน, การเปลี่ยนแปลงกลางวันและกลางคืน แน่นอนเป็นสัญญาณทั้งหลาย สำหรับผู้มีสติปัญญา” (บทอัลอาลิอิมรอน โองการที่ ๑๙๐ )

๔๕

และวจนะหนึ่งได้รายงานจากท่านอิมามซอดิก (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ว่า

ท่านได้กล่าวกับสาวกคนหนึ่งของท่านซึ่งมีนามว่า มุฟัฎฎอล เกี่ยวกับเหตุผลการมีอยู่ของพระเจ้าว่า

“โอ้มุฟัฎฎอล หนึ่งในเหตุผลของการสร้างแห่งพระเจ้า ผู้ทรงเกริกเกียรติเกรียงไกร คือ การสร้างโลกโดยทำให้มีความเป็นระบบและระเบียบ

 และหากว่า เจ้าได้ครุ่นคิดในการสร้างโลกของพระองค์ และทำให้โลกนี้แยกออกจากกันเป็นชิ้นส่วนๆ จะเห็นได้ว่า โลกนี้เปรียบประดุจดัง บ้านที่มีเครื่องอำนวยความสะดวกพร้อมสำหรับผู้อาศัยและสามารถใช้ประโยชน์ในสิ่งต่างๆเหล่านั้นได้ ,ท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ไพศาลคือ เพดานของบ้านหลังนั้น ,แผ่นดิน คือ พรมที่ใช้ปูในบ้านนั้น ,หมู่ดวงดาวทั้งหลาย คือ ดวงประทีบที่ทอแสงสว่างแวววาวในบ้านนั้น ,อัญมณีอันมากมายมหาศาล คือ ทรัพย์สมบัติและมรดกที่ซ่อนอยู่ และทุกสิ่งทุกอย่างถูกจัดเตรียมไว้ในสถานที่ของมัน และมนุษย์ คือ เจ้าของบ้านหลังนั้น และเป็นผู้ที่อาศัยและใช้ในสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหลาย ไม่ว่าเป็น พืชพรรณทุกชนิดหรือสัตว์ทุกประเภท ทั้งหมดนั้นถูกสร้างเพื่อให้ใช้ประโยชน์จากมันทั้งสิ้น  และนี่คือ เหตุผลที่กระจ่างชัดในการสร้างโลกของพระเจ้า และด้วยกับการมีวิทยปัญญาและความรอบรู้ของพระองค์ ดังนั้น พระองค์ คือ พระผู้สร้างโลกเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น”(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๖๑)

๔๖

ตัวอย่างจากอัล กุรอานและวจนะที่ได้กล่าวถึงความเป็นระบบและระเบียบในการสร้างของพระเจ้า ซึ่งมีดังนี้

   ๑.การสร้างมนุษย์

อัล กุรอานได้กล่าวถึงการสร้างมนุษย์ ว่า

“และบางสัญลักษณ์ของพระเจ้า คือ การสร้างมนุษย์มาจากดิน หลังจากนั้น พวกเจ้าก็เป็นมนุษย์ที่กระจัดกระจายบนหน้าแผ่นดิน” (บทอัร-รูม โองการที่ ๒๐)

ท่านอิมามซอดิก (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวเกี่ยวกับความเป็นระบบและระเบียบในการสร้างมนุษย์ ความว่า

“ช่างแปลกเสียนี่กระไร ในการสร้างของพระเจ้า ที่มนุษย์สงสัยว่า พระองค์ทรงปกปิดจากสายตาบ่าวของพระองค์ ในขณะที่พระองค์ทรงเห็นถึงผลของการกระทำที่สติปัญญาของมนุษย์นั้นมีความสับสนและงุนงงต่อการสร้างของพระองค์ และขอสาบานว่า หากมนุษย์ได้ครุ่นคิดในการกระทำของพระเจ้า  จะเห็นถึงความกระจ่างชัดในเหตุผลจากการกระทำเหล่านั้น ที่มีความเป็นระบบและระเบียบ และด้วยกับความโปรดปรานและความเมตตากรุณาของพระองค์ในการบริหาร และการสร้างทุกสรรพสิ่ง จากสิ่งที่มิได้มีมาก่อน แล้วทำให้เป็นธรรมชาติ โดยมีรูปร่าง ซึ่งทั้งหมดนั้น บ่งบอกถึงการมีอยู่ของพระผู้ทรงสร้างที่มีวิทยปัญญาเพียงพระองค์เดียว เพราะไม่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุผล และไม่มีความเป็นระบบและระเบียบ”

(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๑๕๒)

๔๗

   ๒.ความแตกต่างของภาษา และสีสัน

อัล กุรอานได้กล่าวถึงความแตกต่างของภาษา และสีสัน ว่า

“และบางสัญลักษณ์ของพระองค์ ในการสร้างชั้นฟ้ากับแผ่นดินและความแตกต่างของภาษากับสีผิวของพวกเจ้า การสับเปลี่ยนนั้นเป็นสัญลักษณ์ทั้งหลายสำหรับผู้มีวิจารณญาณ”

(บทอัรรูม โองการที่ ๒๒)

ท่านอิมามซอดิก (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวสอนกับมุฟัฎฎอล สานุศิษย์คนหนึ่งของท่าน ถึงความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า ว่า

 “โอ้มุฟัฎฎอล จงคิดคำนึงเถิดว่า  อัลลอฮ์(พระเจ้า)ทรงประทานการพูดให้กับมนุษย์ทั้งหลายได้อย่างไร?แล้วทำให้พวกเขาพูดในสิ่งที่ซ่อนอยู่ในหัวใจของพวกเขาได้ แ ละผลของการพูด ก็คือ ความคิดของพวกเขา และพระองค์ทรงทำให้พวกเขามีความเข้าใจในสิ่งทีอยู่เหนือตัวของพวกเขาได้ และถ้าพวกเขาไม่มีการพูด แน่นอนที่สุด เขาก็เหมือนกับสัตว์สี่เท้าที่ไม่ถูกรับรู้ในสิ่งที่มีอยู่ในตัว และไม่มีความรู้ในสิ่งอยู่นอกตัว”

(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๘๒)

๔๘

   ๓.ระบบการเป็นคู่ๆของสรรพสิ่งที่มีอยู่ในโลก

อัล กุรอานได้กล่าวถึง การมีอยู่เป็นคู่ๆของทุกสรรพสิ่งในโลก ว่า

“และหนึ่งจากสัญญาณทั้งหลายของพระองค์คือ การสร้างคู่ครองให้แก่พวกเจ้าจากตัวของพวกเจ้าเอง เพื่อพวกเจ้าจะได้มีความสุขอยู่กับนาง และการมีความรักใคร่และความเมตตาระหว่างพวกเจ้า แท้จริงในการนี้ แน่นอนย่อมเป็นสัญญาณแก่กลุ่มชนผู้ไตร่ตรอง”(บทอัร-รูม โองการที่ ๒๑)

อัล กุรอานยังกล่าวอีกว่า

“และจากทุก ๆ สิ่งนั้น เราได้สร้าง (มัน) ขึ้นเป็นคู่ ๆ เพื่อพวกเจ้าจะได้ไตร่ตรอง”

(บทอัซซาริยาต โองการที่ ๔๙)

ท่านอิมามอะลี ( ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน ) ได้กล่าวว่า

“พระเจ้าทรงสร้างความสว่างคู่กับความมืด และความเปิดเผยคู่กับความซ่อนเร้น และความแห้งแล้งคู่กับความเปียกชื้น และความหนาวคู่กับความร้อน และพระองค์เป็นผู้ทรงจัดให้มีระบบและระเบียบในสิ่งที่เป็นธรรมชาติ ดั่งโองการที่กล่าวว่า “และจากทุกๆสิ่งนั้น เราได้สร้าง(มัน)ขึ้นเป็นคู่ๆ เพื่อพวกเจ้าจะได้ไตร่ตรอง”

(อัตเตาฮีด-อัศศอดูก บทที่ ๒ ฮะดีษที่ ๒)

๔๙

   ๔.การมีอยู่ของสิ่งที่มีชีวิต

อัล กุรอานได้กล่าวถึง การมีอยู่ของสิ่งที่มีชีวิต ว่า

 “แท้จริงอัลลอฮ์ ทรงเป็นผู้ให้เมล็ดพืชและเมล็ดอินทผลัมปริออก ทรงให้สิ่งที่มีชีวิตออกจากสิ่งที่ไม่มีชีวิต และทรงให้สิ่งที่ไม่มีชีวิตออกจากสิ่งที่มีชีวิต นั่นแหละคืออัลลอฮ์ แล้วอย่างไรเล่าที่พวกเจ้าถูกหันเหไปได้”

(บทอัลอันอาม โองการที่ ๙๕)

ท่านอิมามอะลีได้กล่าวถึง การสร้างของสิ่งที่มีชีวิตว่า เป็นสัญลักษณ์อันยิ่งใหญ่อันหนึ่งของพระเจ้า ว่า

 “หากว่า สัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นนก หรือสัตว์สี่เท้าและสัตว์ทุกชนิดมารวมตัวกัน ก็ไม่สามารถที่จะสร้างสัตว์อื่นที่เหมือนกับสัตว์ตัวนั้น หรือแม้ยุงสักตัวหนึ่งได้ เพราะว่าพวกมันไม่รู้ในวิธีการสร้าง และไม่มีสติปัญญาที่สามารถจะไปถึงความรู้นั้นได้”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะ สุนทรโรวาทที่๑๘๖)

   ๕.การเจริญเติบโตของพรรณพืช

อัล กุรอานได้กล่าวถึง การเจริญเติบโตของพรรณพืช ว่า

 “และพระองค์คือ ผู้ที่ทรงให้น้ำหลั่งลงมาจากฟากฟ้า แล้วทรงให้ออกมาจากน้ำนั้น ซึ่งพรรณพืชของทุกสิ่งและเราได้ให้ออกจากพรรณพืชนั้น ซึ่งสิ่งที่มีสีเขียว และจากสิ่งที่มีสีเขียวนั้น เราได้ให้ออกมาซึ่งเมล็ดที่ซ่อนตัวอยู่ และจากต้นอินทผาลัมนั้น จั่นของมันเป็นหลายต่ำ (และทรงให้ออกมาด้วยน้ำนั้นอีก) ซึ่งสวนองุ่น

๕๐

และต้นมะกอก และต้นทับทิม โดยมีสภาพที่คล้ายคลึงกัน และไม่คล้ายคลึงกัน พวกเจ้าจงมองดู ผลของมัน เมื่อมันเริ่มออกผล และเมื่อมันสุกงอม แท้จริงในสิ่งเหล่านั้น แน่นอน มีสัญญาณมากมาย สำหรับกลุ่มชนผู้ศรัทธา” (บทอัล-อันอาม โองการที่ ๙๙)

ท่านอิมามซอดิก (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวถึงความลี้ลับในการสร้างและการเจริญเติบโตของพรรณพืช  บ่งบอกถึง การมีอยู่ของพระเจ้า ผู้ทรงมีวิทยปัญญา ว่า

“สูเจ้า จงใช้สติปัญญาไตร่ตรองในการสร้างต้นไม้และพรรณพืชทั้งหลาย เพราะว่าแท้จริงมันมีความต้องการอาหารเหมือนกับความต้องการของสัตว์ทั้งหลาย และมันไม่มีปากที่ใช้กินอาหารเหมือนกับสัตว์เหล่านั้น และไม่มีการเคลื่อนไหวเหมือนกับสัตว์เหล่านั้น แต่มันมีรากที่อยู่ใต้พื้นดินเพื่อที่จะได้หาอาหารไปหล่อเลี้ยงลำต้นของมัน ดังนั้น พื้นดิน คือ มารดาที่ให้การเลี้ยงดูและการเจริญเติบโต ส่วนรากของพรรณพืช คือ ปากที่ใช้สำหรับกินอาหารแล้วนำไปสู่ร่างกายของมัน ประดุจดั่งแม่ที่ให้นมแก่ลูกน้อยของนาง”

(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๑๓๐)

   ๖.โลกของนกทั้งหลาย

อัล กุรอานกล่าวถึง การสร้างนกทั้งหลาย ว่า

“พวกเขาไม่เห็นฝูงนกดอกหรือว่า พวกมันได้รับความสะดวกสบายในห้วงอากาศแห่งชั้นฟ้า และไม่มีผู้ใดยึดดึงพวกมันไว้ได้นอกจาก อัลลอฮ์(พระเจ้า) แท้จริงในการนั้น แน่นอนย่อมเป็นสัญญาณต่างๆสำหรับกลุ่มชนผู้ศรัทธา”

(บทอัลนะห์ล์ โองการที่ ๗๙)

๕๑

   ศัพท์วิชาการท้ายบทที่ ๓

ความเป็นระบบและระเบียบ       :  Order                

ทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก     : Argumentation of order

การรู้จักถึงสัญญาณต่างๆของพระเจ้า  

   สรุปสาระสำคัญ

๑.นักเทววิทยาอิสลามมีทัศนะที่แตกต่างกันในคำอธิบายทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก ไม่ว่าในบทนำเบื้องต้น ,ข้ออ้างทั้งสอง และบทสรุป

๒.ทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก มีลักษณะพิเศษ เมื่อได้นำไปเปรียบเทียบกับเหตุผลอื่นๆที่ใช้ในการพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้า หนึ่งในลักษณะพิเศษ นั่นคือ การเข้าใจง่ายและปราศจากหลักการของปรัชญา และกฏของตรรกศาสตร์ ซึ่งมีความหมายที่ใกล้เคียงกับโองการทั้งหลายของอัล กุรอาน

๓.สิ่งต่างๆที่มีระบบและระเบียบ หมายถึง สิ่งเหล่านั้นที่ถูกจัดให้มีระบบและระเบียบ และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

๔.การพิสูจน์ในทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก มีความต้องการสิ่งที่เป็นวัตถุที่มีองค์ประกอบ และความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนอันเดียวกัน

๕.เหตุผลที่เข้าใจง่ายของทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก ประกอบด้วย

๑.โลกแห่งธรรมชาติ เป็นสิ่งที่มีระบบและระเบียบ

๒.ทุกสิ่งที่มีระบบและระเบียบ มีผู้ที่จัดให้มีระบบและระเบียบ

๓.ข้อสรุปจากเหตุผลนี้ คือ โลกแห่งวัตถุ ตัองมีผู้ที่จัดให้มีระบบและระเบียบ และสิ่งนั้นจะต้องมิใช่วัตถุ และจะต้องอยู่เหนือธรรมชาติ

๕๒

๖.ข้ออ้างหลักของเหตุผลนี้ มีหลายทัศนะที่แตกต่างกัน ดังนี้

(๑). โลกแห่งวัตถุทั้งหมดนั้น เป็นสิ่งที่เป็นสากลและมีความเป็นระบบและระเบียบในระบบเดียวกัน

(๒).การมีอยู่ของโลกแห่งวัตถุ เป็น สิ่งที่มีความเป็นระบบและระเบียบ

(๓).ปรากฏการณ์ต่างๆ ของโลก เป็น สิ่งที่มีความเป็นระบบและระเบียบ

๗.คำอธิบายในข้ออ้างรองของเหตุผลนี้ กล่าวได้ว่า สติปัญญาสามารถเข้าใจถึง  การมีอยู่ของสิ่งที่มีระบบและระเบียบ ซึ่งจะต้องมีผู้ที่จัดให้มีระบบและระเบียบ และการมีอยู่ของสิ่งนั้นจะต้องมีลักษณะเฉพาะเจาะจงในตัว กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สิ่งที่มีระบบและระเบียบ เป็นผลของเหตุที่จัดให้มีระบบและระเบียบ

๘.ทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก ได้พิสูจน์ถึงการมีอยู่ของพระเจ้าว่า พระองค์ คือ ผู้ที่จัดให้โลกมีความเป็นระบบและระเบียบ ส่วนการมีอยู่ของคุณลักษณะประการอื่นของพระองค์ จะต้องใช้เหตุผลอื่นๆมาพิสูจน์ยืนยัน

๙.โองการของอัล กุรอานได้เน้นย้ำในระบบและระเบียบการมีอยู่ของสิ่งทั้งหลายในโลก เช่น การสร้างมนุษย์ ,การเจริญเติบโตของพรรณพืช, สัตว์ และอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดนั้น บ่งบอกถึงการมีอยู่ของพระผู้สร้างที่มีวิทยปัญญาและความรอบรู้

๕๓

   บทที่ ๔

   เหตุผลทางสติปัญญา : ข้อพิสูจน์วุญูบและอิมกาน

 (สิ่งจำเป็นต้องมีอยู่ และสิ่งต้องพึ่งพา)

   เหตุผลทางสติปัญญา เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการแสวงหาพระเจ้าและการรู้จักพระองค์ หมายถึง การใช้สติปัญญาของมนุษย์โดยอาศัยหลักปรัชญาและกฏต่างๆของตรรกศาสตร์ในการพิสูจน์ถึงการมีอยู่ของพระเจ้า และคุณลักษณะทั้งหลายของพระองค์ ดังนั้น วิธีการนี้จึงถูกตั้งอยู่บนพื้นฐานด้วยกับเหตุและผล

ความแตกต่างของวิธีการนี้กับสองวิธีการที่กล่าวไปแล้ว (วิธีการสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์และทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก)  มีดังต่อไปนี้

๑.การแสวงหาและการรู้จักถึงพระเจ้าในวิธีการนี้ โดยใช้หลักปรัชญาและกฏต่างๆของตรรกศาสตร์ ซึ่งต้องผ่านการศึกษาและค้นคว้าอย่างละเอียด เพราะว่า การแสวงหาและการรู้จักพระเจ้าในวิธีการนี้ มีความยากลำบากสำหรับสามัญชนธรรมดาที่จะเข้าใจในรายละเอียดได้ ดังนั้น ความแตกต่างของวิธีการนี้ ก็คือ บางส่วนของข้อพิสูจน์นี้ที่ใช้พิสูจน์การรู้จักถึงพระเจ้า มิได้เป็นหลักการที่สามัญชนธรรมดาจะเข้าใจได้ ด้วยเหตุนี้ นี่คือ จุดด้อยและข้อบกพร่องของข้อพิสูจน์จากวิธีการนี้ แต่ยังมีจุดเด่นและลักษณะพิเศษ ซึ่งจะกล่าวเป็นอันดับต่อไป

๕๔

๒.ยังมีหลายสาเหตุที่ทำให้มนุษย์มีความสงสัยในพระเจ้า และการมีอยู่ของพระองค์ เหตุผลทั่วไปที่ใช้พิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้า ก็ไม่มีเพียงพอที่จะยอมรับในการมีอยู่ของพระองค์ และพื่อขจัดข้อสงสัยต่างๆที่เกิดขึ้น และนี่คือ จุดเด่นและลักษณะพิเศษของเหตุผลทางสติปัญญา นั่นก็คือ ข้อพิสูจน์นี้สามารถตอบปัญหาและข้อสงสัยที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการมีอยู่ของพระเจ้าได้ อีกทั้งยังส่งผลสะท้อนต่อผู้ปฏิเสธการมีอยู่ของพระองค์

  ประโยชน์ของเหตุผลทางสติปัญญา

   ในบางทัศนะกล่าวว่า เหตุผลทางสติปัญญา ที่ใช้พิสูจน์ในการมีอยู่ของพระเจ้านั้นไม่มีประโยชน์ใดๆเกิดขึ้นเลย เพราะว่าการยอมรับการมีอยู่ของพระองค์ เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์อยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องหาเหตุผลมายืนยัน ดังนั้น ทัศนะนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะว่า การใช้เหตุผลทางสติปัญญามีประโยชน์อยู่มากมาย

ซึ่งจะขอนำมากล่าวสัก ๒ ประโยชน์ด้วยกัน ดังนี้

๑.เหตุผลทางสติปัญญา มีผลต่อการมีศรัทธาในศาสนา เพราะว่าเมื่อใดก็ตามที่สติปัญญายอมรับในเรื่องหนึ่งเรื่องใดแล้ว แน่นอนที่สุด ความศรัทธาก็จะเกิดขึ้นตามมาหลังจากนั้น

จะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ แม้ว่าความศรัทธาจะไม่เท่าเทียมกับเหตุผลทางสติปัญญาก็ตาม แต่ระหว่างความศรัทธากับเหตุผลทางสติปัญญานั้น ก็มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

๕๕

๒. ถ้าหากว่า การมีศรัทธาในศาสนา ถูกตั้งอยู่บนพื้นฐานของประสาทสัมผัสทั้งห้า จะพบว่า เมื่อใดก็ตามที่มีปัญหาต่างๆเกิดขึ้นและไม่สามารถหาคำตอบได้ เมื่อนั้นจะใช้เหตุผลทางสติปัญญาในการตอบปัญหาเหล่านั้น

หลังจากมีความเข้าใจในประโยชน์ของเหตุผลทางสติปัญญาที่ใช้พิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้าเป็นที่ชัดเจนแล้ว จะขออธิบายในตัวบทของข้อพิสูจน์นี้ เป็นอันดับต่อไป

  ตัวบทของข้อพิสูจน์วุญูบและอิมกาน (สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่และสิ่งที่ต้องพึ่งพา)

   ก่อนที่จะอธิบายในข้อพิสูจน์นี้ ต้องมาทำความเข้าใจในตัวบทของข้อพิสูจน์ก่อน ซึ่งมีดังนี้

๑.การให้คำนิยามของ วาญิบุล-วุญูด (สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่) และ มุมกินุล- วุญูด (สิ่งที่ต้องพึ่งพา)

ตัวบทหนึ่งของข้อพิสูจน์วุญูบและอิมกาน คือ การให้นิยามทั้งสองคำ

วาญิบุล-วุญูดและมุมกินุล-วุญูด

ในการอธิบายความหมายของทั้งสองคำ สามารถกล่าวได้ว่า สิ่งที่มีอยู่ทั้งหลาย เมื่อได้ให้ความสัมพันธ์ไปยังการมีอยู่ จะเกิดด้วยกัน สองสภาพ ดังนี้

๑.ความสัมพันธ์ของสิ่งที่มีอยู่กับการมีอยู่(วุญูด) ในสภาพที่มีความจำเป็นโดยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และไม่สามารถแยกทั้งสองออกจากกันได้

๒.ความสัมพันธ์ของสิ่งที่มีอยู่กับการมีอยู่ ในสภาพที่ไม่มีความจำเป็นและสามารถแยกทั้งสองออกจากกันได้

๕๖

ดังนั้น สิ่งที่อยู่ในสภาพแรกเรียกว่า วาญิบุล-วุญูด หมายถึง สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่และในการมีอยู่ของสิ่งนั้นไม่มีพึ่งพาต่อสิ่งอื่นใด และสิ่งที่อยู่ในสภาพที่สองเรียกว่า มุมกินุล-วุญูด หมายถึง สิ่งที่สามารถจะมีอยู่ได้และในการมีอยู่ของสิ่งนั้นต้องพึ่งพาต่อสิ่งอื่น และเพื่อที่จะมีความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น ก็สามารถเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของวาญิบุล-วุญูดกับมุมกินุล-วุญูดได้ เหมือนกับความสัมพันธ์ของน้ำตาลกับความหวาน กล่าวคือ ไม่สามารถแยกความหวานออกจากน้ำตาลได้ และไม่มีน้ำตาลใดในโลกนี้ที่ไม่มีความหวาน และไม่สามารถที่จะจินตนาการหรือสร้างมโนภาพถึงน้ำตาลที่ปราศจากความหวาน ส่วนน้ำธรรมดานั้น ก็ไม่มีความจำเป็นใดเลยที่จะต้องมีความหวาน เพราะว่า ธรรมชาติของน้ำ จะมีความหวานก็ได้ ไม่มีก็ได้

บรรดานักปรัชญาและนักเทววิทยาอิสลามได้กล่าวว่า วาญิบุล-วุญูด หมายถึง การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า

 มุมกินุล-วุญูด หมายถึง การมีอยู่ของสรรพสิ่ง ซึ่งรวมถึงมนุษย์อยู่ด้วย

๒. กฏที่ว่าด้วยเหตุและผล เป็นหนึ่งในพื้นฐานที่สำคัญของข้อพิสูจน์นี้ หลังจากที่ได้ให้คำนิยามของทั้งสองคำไปแล้ว ดังนั้น ความหมายของกฏที่ว่าด้วยเหตุและผล จึงหมายถึง ทุกสรรพสิ่งที่มีอยู่ในโลกนี้ มีความต้องการเหตุในการเกิดขึ้นของสิ่งเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ กฏที่ว่าด้วยเหตุและผล ก็เป็นประโยคตรรกประเภทหนึ่งด้วยเช่นกัน

๕๗

คำอธิบาย   การมีอยู่ของสิ่งหนึ่งที่สามารถจะมีอยู่หรือไม่มีอยู่ และการให้ความสัมพันธ์ของสิ่งนั้นกับการมีอยู่ และการไม่มีอยู่ ถือว่ามีความเท่าเทียมกัน หมายความว่า สิ่งนั้นจะมีอยู่ และไม่มีอยู่ก็ได้ จะเกิดขึ้น และไม่เกิดขึ้นก็ได้ ดังนั้น การเกิดขึ้นของสิ่งนั้น ต้องการสิ่งที่ทำให้สิ่งนั้นมีอยู่ และสิ่งที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นจะต้องไม่มีความต้องการสิ่งอื่นในการมีอยู่ชองสิ่งนั้น และสิ่งนั้นคือ ปฐมเหตุของสิ่งทั้งหลาย

และอีกคำนิยามหนึ่งของวาญิบและมุมกิน ก็คือ

มุมกิน หมายถึง สิ่งที่ต้องการเหตุในการการเกิดขึ้นและมีอยู่ของสิ่งนั้น

วาญิบ หมายถึง สิ่งที่ไม่มีความต้องการเหตุทั้งหลายในการเกิดขึ้นและการมีอยู่ของสิ่งนั้น

๓.ความเป็นไปไม่ได้ในตะซัลซุล (กฏลูกโซ่) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งพื้นฐานที่สำคัญในข้อพิสูจน์นี้ มีความหมายว่า กฏลูกโซ่ คือ การเป็นลูกโซ่ของเหตุและผลของสิ่งหนึ่งโดยไม่มีที่สิ้นสุดและจุดจบ และตัวอย่างของกฏลูกโซ่ เช่น การมีอยู่ของ ก ขึ้นกับการมีอยู่ของข และการมีอยู่ของ ค ขึ้นกับการมีอยู่ของ ง ไปเรื่อยๆจนไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น กฏลูกโซ่ จึงมีความเป็นไปไม่ได้ที่สิ่งหนึ่งจะมีเหตุผลเกิดขึ้นมากมายจนไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งนักปรัชญาอิสลามคนหนึ่ง ได้กล่าวว่า ความเป็นไปไม่ได้ในกฏลูกโซ่ เป็นประโยคตรรกประเภทหนึ่งที่ไม่ต้องการเหตุผลในการยืนยัน และบางคนยังกล่าวอีกว่า การพิสูจน์ในกฏลูกโซ่นั้น ต้องอาศัยการให้เหตุผลทางสติปัญญามายืนยัน

๔.ความเป็นไปไม่ได้ของกฏวัฏจักร

ความหมายของกฏวัฏจักร

กฏวัฏจักร หมายถึง การที่สิ่งหนึ่งเป็นสาเหตุให้กับตัวเองในการเกิดขึ้นของสิ่งนั้น 

๕๘

กฏแห่งวัฏจักรสามารถที่จะแบ่งได้  สอง ประเภท

๑.กฏวัฏจักรที่เปิดเผย หมายความว่า สิ่งหนึ่งในการเกิดขึ้นที่มีความต้องการสาเหตุให้เกิดขึ้นเพียงขั้นตอนเดียว ตัวอย่างเช่น การเกิดขึ้นของ นาย ก เป็นสาเหตุของ นาย ข และการเกิดขึ้นของ นาย ข ก็เป็นสาเหตุในการเกิดขึ้นของ นาย ก เป็นต้น

๒.กฏวัฏจักรที่ซ่อนอยู่ หมายความว่า สิ่งหนึ่งจะเกิดขึ้นต้องผ่านจากหลายสาเหตุจึงจะเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น การเกิดขึ้นของ นาย ก เป็นสาเหตุของ นาย ข และการเกิดขึ้นของ นาย ข เป็นสาเหตุให้กับ นาย ค และการเกิดขึ้นของ นาย ค ก็เป็นสาเหตุในการเกิดขึ้นของ นาย ก เป็นต้น

เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า กฏวัฏจักรทั้งสองประเภทนั้น ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ และยังกล่าวได้ว่า การเกิดขึ้นของกฏวัฏจักรทั้งสองประเภทนั้น ก็เป็นไปไม่ได้

   การอธิบายในข้อพิสูจน์วุญูบและอิมกาน (สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่และสิ่งที่ต้องพึ่งพา)

   หลังจากที่ได้อธิบายในพื้นฐานที่สำคัญของข้อพิสูจน์นี้ไปแล้ว จะขออธิบายในข้อพิสูจน์นี้ เป็นอันดับต่อไป

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ในโลกนี้มี สิ่งที่มีอยู่ทั้งหลาย อยู่สองจำพวก คือ

๑.สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ และไม่พึ่งพาสิ่งใด

๒.สิ่งที่ต้องพึ่งพาสิ่งอื่น จึงจะมีอยู่ได้

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การเกิดขึ้นของสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกนี้ มี สองสภาพ

๕๙

 สภาพแรก คือ การมีความต้องการต่อสิ่งอื่นในการเกิดขึ้นของสิ่งนั้น

สภาพที่สอง  คือ การไม่มีความต้องการสิ่งอื่นใดในการเกิดขึ้นของสิ่งนั้น

และถ้าหากว่า ยอมรับในสภาพแรกของการเกิดขึ้นของสิ่งทั้งหลาย หมายถึง สิ่งที่มีอยู่นั้น มีความต้องการสิ่งอื่นในการเกิดขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า ด้วยกับกฏที่ว่าด้วยเหตุและผล สิ่งที่เกิดขึ้นนั้น มีความต้องการสาเหตุในการเกิดขึ้น และถ้าหากว่า สาเหตุของสิ่งนั้น เป็นสิ่งสามารถที่จะมีอยู่ได้ ก็จะกลายเป็นกฏของลูกโซ่ไปเรื่อยๆจนไม่มีที่สิ้นสุด และได้กล่าวไปในกฏของลูกโซ่แล้วว่า การเกิดขึ้นของกฏนี้ เป็นไปไม่ได้

 และถ้าหากว่า สาเหตุนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ ก็ไม่ต้องการเหตุผลใดในการเกิดขึ้นของสิ่งนั้น ดังนั้น สามารถจะสรุปได้ว่า ในโลกนี้มีสิ่งต่างๆที่มีอยู่จริง หากว่าสิ่งนั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ หมายความว่า สิ่งนั้นไม่มีความต้องการสาเหตุในการเกิดขึ้น แต่ถ้าหากว่า สิ่งนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องมีอยู่ สิ่งนั้นก็ต้องเป็นสิ่งที่สามารถจะมีอยู่และต้องพึ่งพาสิ่งอื่น จึงจะมีอยู่ได้ และก็มีความต้องการสาเหตุในการเกิดขึ้นด้วย และท้ายที่สุด การเกิดขึ้นของสิ่งนั้น ก็ย้อนกลับไปยัง สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ ซึ่งเป็นปฐมเหตุของสรรพสิ่ง

   คุณลักษณะลำดับแรกและคุณลักษณะลำดับรอง

   ข้อพิสูจน์วุญูบและอิมกานได้กล่าวถึง การมีอยู่ของพระเจ้า ในสภาพที่เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ และเป็นปฐมเหตุของผลทั้งหลาย นั่นหมายถึง การมีอยู่ของพระองค์ในสภาพที่เป็นสิ่งหนึ่งที่มีชีวิต และยังเป็นปฐมเหตุให้กับสรรพสิ่งทั้งหลาย โดยที่พระองค์มิได้เป็นผลให้กับสิ่งใดๆ

๖๐

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156

157

158

159

160

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175

176

177

178

179

180

181

182

183

184

185

186

187

188

189

190

191

192

193

194

195

196

197

198

199

200

201

202

203

204

205

206

207

208

209

210

211

212

213

214

215

216

217

218

219

220

221

222

223

224

225

226

227

228

229

230

231

232

233

234

235

236

237

238

239

240

241

242

243

244

245

246

247

248

249

250

251

252

253

254

255

256

257

258

259

260

261

262

263

264

265

266

267

268

269

270

271

272

273

274

275

276

277

278

279

280

281

282

283

284

285

286

287

288

289

290

291

292

293

294

295

296

297

298

299

300

301

302

303

304

305

306

307

308

309

310

311

312

313

314

315

316

317

318

319

320

321

322

323

324

325

326

327

328

329

330

331

332

333

334

335

336

337

338

339

340

341

342

343

344

345

346

347

348

349

350

351

352

353

354

355

356

357

358

359

360

361

362

363

364

365

366

367

368

369

370

371

372

373

374

375

376

377

378

379

380

381

382

383

384

385

386

387

388

389

390

391

392

393

394

395

396

397

398

399

400

401

402

403

404

405

406

407

408

409

410

411

412

413

414

415

416

417

418

419

420

421

422

423

424

425

426

427

428

429

430

431

432

433

434

435

436

437

438

439

440

441

442

443

444

445

446

447

448

449

450