บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม13%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 339907 / ดาวน์โหลด: 4959
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

และเช่นเดียวกัน ด้วยกับทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก ได้อธิบายไปแล้วว่า

 การมีอยู่ของพระเจ้า ในสภาพที่พระองค์เป็นผู้ทรงดูแล และเป็นผู้ทรงจัดระบบและระเบียบให้กับโลก ดังนั้น จุดมุ่งหมายหลักของข้อพิสูจน์นี้ ก็คือ การพิสูจน์ว่า พระเจ้านั้นมีอยู่จริงใช่หรือไม่ มิได้หมายความว่า การพิสูจน์ว่า พระเจ้ามีคุณลักษณะบางประการอยู่ในพระองค์ สมมุติว่าคุณลักษณะเหล่านั้นเกิดขึ้นมาก่อนที่จะพิสูจน์ด้วยกับเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง และการสร้างมโนภาพถึง อาตมันของพระองค์ ที่มีคุณลักษณะดังกล่าว หลังจากนั้น จึงทำการพิสูจน์ถึงการมีอยู่ของพระองค์ ในสภาพที่เป็น สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ และเป็นผู้ทรงดูแลและจัดระบบและระเบียบให้กับโลกใบนี้ เป็นอันดับแรก  แล้วจะมาพิสูจน์ในคุณลักษณะประการอื่นๆ เป็นอันดับต่อไป

การพิสูจน์ในคุณลักษณะประการแรก ถูกเรียกว่า “คุณลักษณะในลำดับแรก”

การพิสูจน์ในคุณลักษณะประการอื่นๆ ถูกเรียกว่า “คุณลักษณะในลำดับรอง”

ในบทที่เกี่ยวกับคุณลักษณะของพระเจ้า จะมาอธิบายกันต่อไป ถึงคุณลักษณะในลำดับแรก นั่นก็คือ สิ่งจำเป็นต้องมีอยู่ของพระองค์ ซึ่งเป็นบรรทัดฐานต่อการพิสูจน์ในการมีอยู่ของคุณลักษณะประการอื่นๆ

๖๑

   อัล กุรอานกับความต้องการของสิ่งมีชีวิตยังพระเจ้า

  ข้อพิสูจน์วุญูบและอิมกาน มิได้ถูกกล่าวไว้ในอัล กุรอาน แต่บางโองการของอัล กุรอานได้กล่าวถึง ความต้องการของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายยังพระเจ้า ซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกับข้อพิสูจน์นี้

อัล กุรอานกล่าวว่า

“โอ้มนุษย์เอ๋ย สูเจ้าเป็นผู้ขัดสนต้องการพึ่งอัลลอฮ์ (พระเจ้า) และอัลลอฮ์ทรงไม่ต้องการสิ่งใดเลย พระองค์ควรค่าแด่การสรรเสริญยิ่ง” (บทอัลฟาฏิร โองการที่ ๑๕)

ดังนั้น ความหมายของ “ความต้องการ” ในโองการนี้บ่งบอกว่า มนุษย์มีความต้องการพึ่งยังพระเจ้า และในบางโองการได้กล่าวถึงสิ่งถูกสร้างอื่น และรวมทั้งมนุษย์ด้วย ในขณะที่พระเจ้า เป็นพระผู้ทรงสร้างทุกสรรพสิ่ง

อัล กุรอานกล่าวอีกว่า

“หรือว่าพวกเขาถูกสร้างมาโดยไม่มีผู้สร้าง หรือว่าพวกเขาเป็นผู้สร้างเสียเอง?”

 ( บทอัฏฏูร โองการที่ ๓๕ )

โองการนี้ได้กล่าวถึง มนุษย์ทุกคน เป็นสิ่งถูกสร้างของพระเจ้า เพราะว่า มนุษย์นั้นไม่มีอยู่มาดั้งเดิม หลังจากนั้นมนุษย์ก็เกิดขึ้นมา

การเกิดขึ้นของมนุษย์ จึงมีด้วยกัน ๒ สภาพ

๑.มนุษย์เกิดขึ้นเองโดยที่ไม่มีสาเหตุ

๒.มนุษย์เกิดขึ้นได้ด้วยตัวของเขาเอง

๖๒

ดังนั้น ทั้งสองสภาพนี้ ถือว่าไม่ถูกต้อง จะคงเหลือเพียงสมมุติฐานหรือสภาพเดียว นั่นก็คือ มนุษย์เกิดขึ้นมาจากพระผู้ทรงสร้างเพียงพระองค์เดียว ดังนั้น โองการนี้ได้กล่าวว่า พระเจ้า เป็นผู้ทรงสร้างมนุษย์ทั้งหลายขึ้นมา

   ศัพท์วิชาการท้ายบทที่ ๔

    

วาญิบุลวุญูด หมายถึง สิ่งจำเป็นต้องมีอยู่         : Necessary existence

                                                      มุมกินุลวุญูด หมายถึง สิ่งที่ต้องพึ่งพาสิ่งอื่น   : Possible existence

 : Cause and effect   กฏที่ว่าด้วยเหตุและผล

  ตะซัลซุล หมายถึง กฏลูกโซ่ : Endless regress

กฏวัฏจักรที่เปิดเผย : Period of concealment

  กฏวัฏจักรที่ซ่อนอยู่ : Cycle of unveiling

 คุณลักษณะลำดับแรก 

 คุณลักษณะลำดับรอง

๖๓

   สรุปสาระสำคัญ

๑.การรู้จักพระเจ้าด้วยเหตุผลทางสติปัญญา หมายถึง การรู้จักพระองค์โดยการอาศัยหลักปรัชญาและกฏต่างๆของตรรกศาสตร์  ดังนั้น การเข้าใจในข้อพิสูจน์ที่เกิดขึ้นจากเหตุผลทางสติปัญญานี้ มีความยุ่งยากสำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจในหลักของปรัชญา ซึ่งต้องผ่านการศึกษาในวิชาปรัชญาก่อน จึงจะมีความเข้าใจได้

๒.เหตุผลทางสติปัญญาการพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้าและการรู้จักพระองค์ เมื่อได้เปรียบเทียบกับเหตุผลอื่นๆ ถือว่ามีประโยชน์มากกว่า เพราะว่าสามารถใช้ในการโต้ตอบกับผู้ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า และยังมีผลในการเสริมสร้างความศรัทธาให้กับผู้ศรัทธาอีกด้วย ในเวลาที่พวกเขาประสบกับปัญหาต่างๆในการดำเนินชีวิต      

๓.มุมกินุลวุญูด คือ สิ่งที่สามารถจะมีอยู่ก็ได้หรือไม่มีอยู่ก็ได้ หมายความว่า การมีอยู่ของสิ่งนั้นไม่มีความจำเป็นและสามารถที่จะแยกออกจากกันได้

วาญิบุลวุญูด คือ สิ่งที่มีความจำเป็นที่จะต้องมีอยู่ และไม่สามารถที่จะแยกมันจากการมีได้

๔.ความหมายของกฏแห่งปฐมเหตุ หมายถึง ทุกสรรพสิ่งเป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพา และในการเกิดขึ้นของสิ่งนั้นมีความต้องการไปยังสิ่งอื่น ดังนั้น ตามหลักของกฏแห่งปฐมเหตุ คือ ทุกสรรพสิ่งเป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพา ซึ่งมีความต้องการเหตุในการเกิดขึ้นของสิ่งนั้น

๖๔

๕.การเกิดขึ้นของกฏของลูกโซ่ หมายความว่า การที่ไม่มีที่สิ้นสุดของลูกโซ่ในเหตุและผลต่างๆ และเช่นเดียวกัน กฏแห่งวัฏจักร มีความหมายว่า สิ่งหนึ่งด้วยการที่ต้องพึ่งพาสื่อหรือไม่ต้องพึ่งพาสื่อ เป็นสาเหตุให้กับสิ่งนั้น ดังนั้น ทั้งสองกฏ กล่าวคือ กฏของลูกโซ่และกฏแห่งวัฏจักร จะเกิดขึ้นไม่ได้ ในความเป็นจริง

๖.บทสรุปของข้อพิสูจน์วุญูบและอิมกาน คือ สิ่งที่อยู่ในโลกนี้ มีสองอย่าง คือ สิ่งที่เป็นมุมกินุลวุญูด(สิ่งสามารถมีอยู่ได้) หรือเป็นวาญิบุลวุญูด(สิ่งจำเป็นต้องมีอยู่) และการมีอยู่ของพระเจ้า เป็น วาญิบุลวุญูด หมายความ พระองค์เป็นสิ่งจำเป็นต้องมีอยู่

๖๕

ภาคที่สอง

เตาฮีด (ความเป็นเอกานุภาพของพระเจ้า)

     บทที่ ๑ ความเป็นเอกานุภาพของพระเจ้า

     เนื้อหาทั่วไป

    ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาแห่งเอกะเทวนิยม ที่มีคำสอนหลักในเตาฮีด (ความเป็นเอกานุภาพของพระเจ้า) และ การเคารพภักดีต่อพระเจ้าเพียงองค์เดียว  ดังนั้น เตาฮีดในทัศนะของอิสลาม  จึงถือว่า มีความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะว่าพระมหาคัมภีร์อัล กุรอาน ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นอมตะนิรันดร์ ได้กล่าวย้ำถึงหลักศรัทธานี้ และจะเห็นได้ว่า ความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้านั้นอยู่ควบคู่กับการยอมรับในสภาวะความเป็นศาสดาของท่านศาสดามุฮัมหมัด  (ซ็อล)  นั่นคือ หนึ่งในเงื่อนไขของการที่จะเข้ารับอิสลาม ศาสนาแห่งความสันติ และความผาสุก ดังนั้น การรู้จักถึงพระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว และการเคารพภักดีต่อพระองค์ ก็คือ ความหมายของความเป็นเอกานุภาพ และหลักการนี้ก็มิได้ถูกจำกัดในหลักศรัทธาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังได้ครอบคลุมถึงคำสอนอื่นๆอีกด้วย เช่น ในหลักปฏิบัติ ,หลักศีลธรรมและจริยธรรม ซึ่งจะเห็นได้ว่า ระบบของจริยธรรมอิสลามนั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นเอกานุภาพ และส่วนมากของหลักปฏิบัติ ก็เกิดขึ้นมาจากหลักความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าด้วยเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ยังมีผลต่อมนุษย์ทั้งในด้านความคิด ,ความศรัทธาและในการปฏิบัติ  และจากความเชื่อในหลักการนี้ สามารถที่จะบอกถึงความแตกต่างระหว่างมนุษย์ผู้ที่มีความศรัทธาต่อพระเจ้ากับมนุษย์ผู้ที่ได้ปฏิเสธพระองค์ได้อย่างชัดเจน

๖๖

 

และในตอนท้าย สามารถสรุปได้ว่า หลักเตาฮีด(ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า) คือ รากฐานของต้นไม้แห่งอัล-อิสลาม ส่วนหลักการอื่น ไม่ว่าจะเป็น หลักการศรัทธา ,หลักการปฏิบัติ และหลักศีลธรรม ,จริยธรรมทั้งหมดเหล่านั้น เป็นดั่งกิ่งก้านสาขา อีกทั้งยังเป็นดั่งผลผลิตของต้นไม้ต้นนั้นอย่างแน่นอน

    ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าที่มีกล่าวไว้ในศาสนาอื่นๆ          

    โองการต่างๆของอัล กุรอานและหลักฐานจากประวัติศาสตร์ได้บันทึก และยืนยันอย่างชัดเจนว่า ความเชื่อในเอกานุภาพมิได้ถูกจำกัดหรือเฉพาะเจาะจงกับศาสนาอิสลามเท่านั้น แต่ทว่าบรรดาศาสดา ต่างได้เชิญชวนมนุษยชาติสู่ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสิ้น และในคำสอนของทุกศาสนา ก็มีคำสอนในหลักการนี้ ด้วยเช่นเดียวกัน

อัล กุรอาน กล่าวว่า

“เรามิได้ส่งศาสนทูตใดมาก่อนเจ้า (มุฮัมมัด) นอกจาก เราได้ประทานวะฮ์ยู (การวิวรณ์) ว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากฉัน เจ้าจงทำการเคารพภักดีต่อฉัน” (บทอัลอัมบิยา โองการที่ ๒๕ )

และสาเหตุของการเกิดการสู้รบของบรรดาศาสดา ก็มาจากความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า และการให้ทัศนะที่แตกต่างกัน เช่น การเป็นประกาศการเป็นศัตรูของนัมรูดกับศาสดาอิบรอฮีม เพราะว่า ศาสดาอิบรอฮีมได้เชิญชวนให้มาสู่ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ในขณะที่เขาได้ปฏิเสธ และไม่เชื่อในหลักการศรัทธานี้

    ความหมายที่ลึกซึ้งของความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าในทัศนะของอิสลาม

    ได้กล่าวไปแล้วว่า ความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า มิได้ถูกจำกัดหรือเฉพาะเจาะจงกับศาสนาอิสลาม เพียงศาสนาเดียวเท่านั้น แต่ทว่าบรรดาศาสดาทุกท่านได้เชิญชวนประชาชาติมาสู่ความเป็นเอกานุภาพของพระองค์ และการเชิญชวนไปสู่ความเป็นเอกานุภาพในคำสอนของบรรดาศาสดานั้น ก็มิได้มีความแตกต่างกับอิสลามมากสักเท่าใด แต่เพียงเป็นการเน้นย้ำอีกครั้ง ในหลักศรัทธา ที่ได้นำมาจาก อัล กุรอาน และวจนะ ของบรรดาผู้นำ ผู้บริสุทธิ์ (ขอความสันติพึงมีแด่พวกท่าน) ซึ่งมีความหมายที่ลึกซึ้งและละเอียดอ่อน

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ของอิสลาม เป็นหลักการที่มนุษย์ธรรมดาเข้าใจได้ว่า  คือ บทเรียนแห่งการดำเนินชีวิตของพวกเขา และยังมีประโยชน์อีกมากมาย อีกทั้งบรรดานักปรัชญา,

นักเทววิทยาและนักรหัสยวิทยาอิสลามต่างก็ได้เชิญชวนมนุษย์ให้ใช้สติปัญญาและหาเหตุผลมาพิสูจน์ถึงหลักการนี้ ด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้น ความเชื่อหลักการนี้ในอิสลาม มีการอธิบายที่มีความหมายลึกซึ้ง และมีลักษณะที่พิเศษ เพราะว่า ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาสุดท้าย หลังจากศาสนาอิสลาม ไม่มีศาสนาอื่นเกิดขึ้นมาอีก ซึ่งศาสนาอิสลามก็ยังสามารถตอบปัญหาได้ทุกปัญหาอีกด้วย

๖๗

    ความหมายทางภาษาของ เตาฮีด

    คำว่า “เตาฮีด” ในภาษาอาหรับ มาจากรากศัพท์ของคำว่า วะฮะดะ เป็นคุณศัพท์ มาจากบาบตัฟอีล ความหมายหนึ่งของบาบนี้  คือ การมีอยู่ของคุณลักษณะประการหนึ่งในสิ่งหนึ่ง เหมือนกับคำว่า ตะอฺซีม หมายถึง การมีความสูงส่ง และคำว่า ตักฟีร หมายถึง การมีความปฏิเสธ ด้วยเหตุนี้ เตาฮีด จึงมีความหมายว่า  การมีความเป็นหนึ่งเดียว

พึงสังเกตุไว้เถิดว่า อัลกุรอานได้กล่าวถึง คำที่มีความหมายว่า เตาฮีด(ความเป็นหนึ่งเดียว) ไว้มากมาย ในขณะเดียวกันก็มิได้ใช้คำว่า เตาฮีด และคำที่คล้ายคลึงกัน แต่กลับใช้คำที่อธิบายในความหมายของเตาฮีดแทน ในขณะที่วจนะทั้งหลาย ได้กล่าวคำว่า เตาฮีด และคำที่คล้ายคลึงกันไว้อยู่มาก

    ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎี ความศรัทธา และการปฏิบัติ

    เตาฮีด(ความเป็นเอกานุภาพ) สามารถที่จะแบ่งได้ ๒ ประเภท มีดังนี้

๑.ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎี ความศรัทธา หมายถึง ความเชื่อในความเป็นหนึ่งเดียวและความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ว่าในอาตมัน, คุณลักษณะ และในกริยา การกระทำ

๖๘

๒.ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ หมายถึง การปฏิบัติและการกระทำที่ตรงกับความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพ ซึ่งหมายความว่า มนุษย์จะต้องปฏิบัติตามความเชื่อในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า เช่น ในการเคารพภักดี ก็เป็นประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ หมายถึง การเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว และไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากพระองค์เท่านั้น

    ความหมายในเชิงวิชาการของ ความเป็นเอกานุภาพ

    การให้คำนิยามของความเป็นเอกานุภาพที่สมบูรณ์แบบที่สุดนั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะว่า การให้คำนิยามที่ครอบคลุมในทุกประเภทนั้นมีความยากลำบาก แต่หลังจากที่เราได้แบ่งประเภทของความเป็นเอกานุภาพออกเป็น  ๒ ประเภท ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา และการปฏิบัติ ก็สามารถที่จะให้คำนิยามตามความหมายในเชิงวิชาการได้ ดังนี้

ความเป็นเอกานุภาพในเชิงวิชาการ  หมายถึง  “ความเชื่อในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า ในอาตมัน ,คุณลักษณะ และรวมถึง กริยา การกระทำของพระองค์ด้วย อีกทั้งยังมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามความเชื่อนี้”

หลังจากที่ยอมรับว่า การให้คำนิยามของหลักเอกภาพนั้นไม่ค่อยจะสมบูรณ์แบบมากเท่าไร แต่การให้คำนิยาม ก็เพื่อที่จะทำให้มีความเข้าใจในความหมายของความเป็นเอกานุภาพได้มากยิ่งขึ้น

๖๙

    อีกสองความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพ

    บางครั้งความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพ ที่ถูกกล่าวไว้ในหลักศรัทธา มีความหมายกว้าง ซึ่งได้ครอบคลุมความหมายของ

ความเป็นเอกานุภาพในเชิงวิชาการด้วย และได้รวมถึงประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า ไม่ว่าจะเป็น การรู้จักพระองค์, เหตุผลการมีอยู่ของพระองค์ ,การพิสูจน์คุณลักษณะของพระองค์ และอื่นๆ เป็นต้นฯ

นักเทววิทยาอิสลามบางคน ได้ให้คำนิยามของ ความเป็นเอกานุภาพ อีกสองความหมาย ก็คือ ความหมายโดยทั่วไป และความหมายที่เฉพาะเจาะจง มีดังนี้

“พึงรู้ไว้เถิดว่า ความหมายที่แท้จริงของความเป็นเอกานุภาพ หมายถึง ความเชื่อที่ไม่มีข้อคลางแคลงใดๆในพระผู้เป็นเจ้าและไม่มีการตั้งภาคีใดๆในอาตมัน, พระนามและคุณลักษณะของพระองค์”.........

ส่วนอีกความหมายหนึ่งของ ความเป็นเอกานุภาพ เป็นหนึ่งในรากฐานห้าประการของศาสนา คือ การรู้จักถึงพระจ้าในอาตมันและคุณลักษณะของพระองค์.......( อันนิซอมียะฮ์ ฟียฺ มัศฮับ อัลอิมามียะฮ์ หน้าที่ ๗๗ )

จากความหมายข้างต้นนี้ บ่งบอกถึงความหมายที่เฉพาะเจาะจงของความเป็นเอกานุภาพ นั่นคือ  ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า และการปฏิเสธการตั้งภาคีทั้งหลาย และความหมายทั่วไปของความเป็นเอกานุภาพ ก็คือ การพิสูจน์ว่าพระเจ้า และคุณลักษณะของพระองค์มีอยู่จริง นอกเหนือจากที่ได้กล่าวไปแล้ว

๗๐

 ยังมีอีกสอง ประเด็นที่สำคัญ คือ

๑.ความเป็นเอกานุภาพ เป็นหนึ่งในห้าประการของหลักศรัทธา ต่อจาก หลักศรัทธาต่อความยุติธรรมของพระเจ้า ,หลักศรัทธาต่อสภาวะความเป็นศาสดา ,หลักศรัทธาต่อวันแห่งการตัดสิน และหลักศรัทธาต่อสภาวะความเป็นผู้นำของวงศ์วานผู้บริสุทธิ์ทั้งหลายสืบต่อจากศาสดามุฮัมมัด

 ด้วยเหตุนี้ ความหมายทั่วไปของความเป็นเอกานุภาพ  หมายถึง การรู้จักถึงพระเจ้า

๒.สาเหตุการเรียกชื่อ การรู้จักถึงพระเจ้า ว่า ความเป็นเอกานุภาพ ถือว่าเป็นการตั้งชื่อที่สมบูรณ์แบบ เพราะว่า มีความหมายครอบคลุมในทุกประเด็นที่เกี่ยวกับการรู้จักพระองค์ และยังถือว่า ความเป็นเอกานุภาพ เป็นหนึ่งในหลักศรัทธาที่สำคัญของอิสลามอีกด้วย

    ความเป็นเอกานุภาพในมุมมองของเทววิทยาอิสลาม

    ก่อนที่จะอธิบายในความเป็นเอกานุภาพของพระเจ้า มีคำถามเกิดขึ้นว่า ความเป็นเอกานุภาพ เป็นประเด็นที่ถูกกล่าว  ไว้ในห้วข้อใดของเทววิทยาอิสลาม?

คำตอบ จากการสังเกตในความหมายของความเป็นเอกานุภาพ จะเห็นได้ว่า ความเป็นจริงและสารัตถะของความเป็น เอกานุภาพ ก็คือ เป็นส่วนหนึ่งของคุณลักษณะบางประการของพระผู้เป็นเจ้า นั่นคือ ความเป็นเอกะและเป็นความเป็นหนึ่งเดียวของพระองค์

ด้วยเหตุนี้ บรรดานักเทววิทยาอิสลาม จึงมีสองวิธีการที่ใช้ในการอธิบายถึง ความเป็นเอกานุภาพของพระเจ้า ซึ่งมีดังนี้

๗๑

๑.ความเป็นเอกานุภาพ เป็นส่วนหนึ่งของคุณลักษณะของพระเจ้าบางประการของพระเจ้า ซึ่งรวมถึงคุณลักษณะประการอื่นๆ ของพระองค์ด้วย

๒.ความเป็นเอกานุภาพ เป็นประเด็นอิสระ เนื่องจากเป็นประเด็นที่มีความสำคัญต่อในการรู้จักถึงพระเจ้า

และ จะมาอธิบายกันในวิธีการทั้งสองของ ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ในบทต่อไป

ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าในมุมมองของอัลกุรอาน และวจนะ

    หลังจากที่อธิบายไปแล้วว่า ความเป็นเอกานุภาพ เป็นหนึ่งในหลักศรัทธาที่สำคัญของอิสลาม นอกเหนือจาก เป็นประเด็นหนึ่งของการรู้จักพระเจ้า และได้รวมถึงประเด็นต่างๆในหลักจริยธรรม และในหลักการปฏิบัติก็มีความสำคัญต่อหลักการนี้ด้วย

และด้วยเหตุนี้ อัล กุรอานและวจนะของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และวจนะของบรรดาอิมาม ผู้นำ ผู้บริสุทธิ์ (ขอความสันติพึงมีแด่พวกท่าน) ซึ่งเป็นคำสอนของพระผู้เป็นเจ้า ก็ได้ให้ความสำคัญในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า เช่นเดียวกัน

๗๒

 ณ ที่นี้ ได้ขอนำเอาบางส่วนของโองการจากอัล กุรอาน และวจนะที่กล่าวถึง เตาฮีด แต่สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม สามารถศึกษา และค้นคว้าได้จากตำราที่เกี่ยวกับการอรรถาธิบายอัลกุรอาน เป็นอันดับต่อไป

    ความสำคัญของความเป็นเอกานุภาพในศาสนาอิสลามและศาสนาอื่น

   ได้กล่าวไปแล้วว่าความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า มิได้ถูกจำกัดหรือเฉพาะเจาะจงกับศาสนาอิสลามเท่านั้น แต่ทว่าบรรดาศาสดาทุกคนต่างก็ได้เชิญชวนมนุษย์มาสู่ความเป็นเอกานุภาพด้วยเหมือนกัน

  อัล กุรอานกล่าวว่า

“เรามิได้ส่งศาสนทูตใดมาก่อนเจ้า (มุฮัมมัด) นอกจากเราได้ลงการวิวรณ์ ว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากฉัน เจ้าจงทำการเคารพภักดีต่อฉัน” (บทอัลอัมบิยา โองการที่๒๕)

   และอัล กุรอานกล่าวอีกว่า

“และแน่นอนที่สุด เราได้ส่งศาสนทูตมาในทุกประชาชาติ ดังนั้น พวกเจ้าจงเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์(พระเจ้า) และออกห่างจากการบูชาเจว็ด(การตั้งภาคี)”  (บทอัลนะฮ์ลฺ โองการที่๓๖)

๗๓

และวจนะหนึ่ง เป็นคำกล่าวของ ท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวไว้ในสุนทรโรวาทเกี่ยวกับสาเหตุของการแต่งตั้งศาสนทูต ว่า

“เมื่อส่วนมากของประชาชาติได้เปลี่ยนแปลงพันธสัญญาที่ให้ไว้กับอัลลอฮ์ (พระเจ้า) แล้วพวกเขาไม่รู้จักในสิทธิของพระองค์ และได้ยึดถือสิ่งอื่นเคียงข้างพระองค์ เมื่อนั้น พระองค์จะทรงแต่งตั้งศาสนทูตมาเพื่อตอกย้ำในพันธสัญญาอันนั้น”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๑ )

จากวจนะนี้ แสดงให้เห็นว่า ในช่วงแรกของประวัติศาสตร์การถือกำเนิดของมนุษย์ พวกเขาได้ให้พันธสัญญากับพระเจ้า แต่พวกเขาก็มิได้รักษาพันธสัญญาที่ให้ไว้กับพระองค์ และได้ยึดถือสิ่งอื่นคียงข้างพระองค์

ด้วยเหตุนี้ พระผู้เป็นเจ้า มีความจำเป็นที่จะต้องแต่งตั้งศาสนทูตมา เพื่อทำให้มนุษยชาติได้สำนึกในพันธสัญญาที่ให้ไว้กับพระองค์ และให้พวกเขาออกห่างจากการตั้งภาคีทั้งหลาย

อัล กุรอาน ซึ่งเป็นคัมภีร์สุดท้าย ได้กล่าวเน้นย้ำในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า มีดังนี้

ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ หมายถึง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์

ลาอิลาฮะ อิลลาฮุวะ หมายถึง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์

ลาอิลาฮะ อิลลาอะนา หมายถึง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากฉัน

ลาอิลาฮะ อิลลาอันตะ หมายถึง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากท่าน

อิลาฮุกุม อิลาฮุน วาฮิด หมายถึง พระผู้เป็นเจ้าของเจ้า มีเพียงพระองค์เดียว

มามิน อิลาฮิน อิลลัลลอฮฺ หมายถึง ไม่มีจากพระเจ้าอื่นใดเลย นอกจากอัลลอฮ์

มามิน อิลาฮิน อิลลา อิลาฮุนวาฮิด หมายถึง ไม่มีจากพระเจ้าอื่นใด นอกจากพระเจ้าองค์เดียวเท่านั้น

มาละกุมมิน อิลาฮิน ฆ็อยรุฮู หมายถึง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์เท่านั้น

ท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ็อลฯ) ก็เช่นกัน ได้ประกาศเชิญชวนประชาชาติของท่านมาสู่ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าซึ่งถือว่า เป็นหน้าที่หลักและสำคัญของท่าน

ดั่งในโองการที่กล่าวว่า

“จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) อันที่จริง ฉันถูกบัญชารับสั่งให้ทำการเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์ และฉันจะไม่ตั้งภาคีเท่าเทียมกับพระองค์ และเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่ฉันจะเชิญชวนเรียกร้อง และเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่ฉันจะหวนกลับ” (บทอัรเราะอ์ด์ โองการที่ ๓๖)

อัล กุรอานกล่าวว่า

“จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด แท้จริงฉันได้รับการวิวรณ์มา ให้ประกาศว่า แท้จริงพระเจ้าของพวกท่านนั้นคือพระเจ้าองค์เดียว ดังนั้นพวกท่านยังมิยอมนอบน้อมอีกหรือ?” (บทอัลอัมบิยาอ์ โองการที่ ๑๐๘)

และอัล กุรอานกล่าวอีกว่า

 “และโดยแน่นอน เราได้ส่งนูห์ไปยังกลุ่มชนของเขา (โดยกล่าวว่า) แท้จริงฉันเป็นผู้ตักเตือนอันแน่ชัดแก่พวกท่าน แล้วพวกท่านอย่าเคารพภักดีผู้ใดนอกจากอัลลอฮ์เท่านั้น แท้จริงฉันกลัวแทนพวกท่านถึงการลงโทษในวันอันแสนเจ็บปวด”(บทฮูด โองการที่๒๕-๒๖)

นอกเหนือจาก โองการเหล่านี้แล้ว ยังมีโองการอื่นๆอีกมากมาย และมีวจนะทั้งหลายอีกที่กล่าวถึง ความเป็นเอกานุภาพและประเภทต่างๆ และผลประโยชน์ของความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพ ก็คือ การออกห่างจากการตั้งภาคีทั้งหลาย ซึ่งจะมากล่าวเป็นอันดับต่อไป

๗๔

   ศัพท์ทางวิชาการท้ายบท

เตาฮีด หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า

   : Oneness of God, Monotheism

ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ   : Monotheism in deeds  

ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา       : Monotheism in belief    

  สรุปสาระสำคัญ

๑.ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาแห่งเอกะเทวนิยมหรือศาสนาที่มีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า นั่นก็คือความหมายของเตาฮีด(ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า) ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของอิสลาม และความเป็นเอกานุภาพของพระองค์ มิได้ถูกจำกัด และเฉพาะเจาะจงในหลักศรัทธาเพียงเท่านั้น แต่ยังได้รวมถึงในหลักการปฏิบัติ และหลักศีลธรรม จริยธรรมอีกด้วย

๒.ความเป็นเอกานุภาพ มิได้ถูกจำกัด และเฉพาะเจาะจงในอิสลามเพียงศาสนาเดียวเท่านั้น แต่ในทุกศาสนาก็มีคำสอนในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเช่นเดียวกัน

๓.คำสอนของความเป็นเอกานุภาพของอิสลามนั้น มีคำอธิบายที่ลึกซึ้งและละเอียดอ่อน โดยที่มิได้มีกล่าวในคำสอนของศาสนาใดมาก่อน อีกทั้งมนุษย์ธรรมดาก็มีความสามารถที่จะเข้าใจในความหมายของความเป็นเอกานุภาพได้

๗๕

 ในขณะที่บรรดานักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญนั้น มีความเข้าใจในความหมายได้มากกว่า

๔.คำว่า เตาฮีดในด้านภาษา แปลว่า การมีหนึ่ง ซึ่งในอัล กุรอานมิได้กล่าวถึงคำนี้ แต่ในวจนะของท่านศาสดาและบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ได้กล่าวถึงคำนี้และมีการกล่าวคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน

๕.ความเป็นเอกานุภาพ สามารถแบ่งออกเป็น สอง ประเภทได้ ดังนี้

๑.ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา  หมายถึง ความเชื่อว่ามีพระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว ในอาตมัน(ตัวตน) ,กริยา การกระทำ และคุณลักษณะของพระองค์

๒.ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ หมายถึง การปฏิบัติตามความเชื่อในการมีพระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว

๖.ความหมายหนึ่งของ ความเป็นเอกานุภาพ คือ ความเชื่อในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ว่าในอาตมัน ,กริยา การกระทำ และคุณลักษณะของพระองค์ อีกทั้งความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามความเชื่อนี้

๗.บางครั้งมีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งได้รวมถึงในทุกประเด็นที่เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า

๘.ความเป็นเอกานุภาพในมุมมองหนึ่ง เป็นประเด็นของคุณลักษณะบางประการของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเป็นประเด็นย่อย แต่บางครั้ง ก็ถือว่า เป็นประเด็นหลัก

๙.อัล กุรอานและวจนะของอิสลาม ได้กล่าวเน้นย้ำในความเป็นเอกานุภาพไว้อย่างมากมาย

๑๐.ความเป็นเอกานุภาพ คือหน้าที่หลักที่มีความสำคัญมากที่สุดในการเชิญชวนของบรรดาศาสดา และโดยเฉพาะท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ็อล)

๗๖

   บทที่ ๒

   ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน ตัวตนของพระเจ้า

 (เตาฮีด ซาตีย์)

   หลังจากที่ได้แบ่งประเภทของ ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ออกเป็น ๒ ประเภท คือ ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา และในการปฏิบัติ ซึ่งแต่ละประเภทก็สามารถที่จะแบ่งออกเป็นประเภทย่อยๆได้หลายประเภทด้วยกัน   ด้วยเหตุนี้ ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา จึงแบ่งออกได้อีก ๓ ประเภท ซึ่งมีดังนี้

๑. ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน ตัวตน

๒. ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

๓. ความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำ

อันดับแรก จะขอธิบายในความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน หลังจากนั้นจะมากล่าวถึงประเภทอื่น เป็นอันดับต่อไป

๗๗

   ความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน ในมุมมองต่างๆ

   ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน ในด้านวิชาการ หมายถึง การไม่เหมือนสิ่งใด และไม่มีสิ่งใดเหมือนกับอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า และในบางครั้ง ยังมีความหมายกว้างกว่านี้อีก นอกเหนือจาก ความหมายข้างต้นแล้ว ได้ครอบคลุมถึง ความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า และการปฏิเสธการมีส่วนประกอบในอาตมันของพระองค์

ดังนั้น จากทัศนะนี้ แสดงให้เห็นว่า ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน มีด้วยกันอยู่  ๒ ประเด็น ซึ่งมีดังนี้

๑.ความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้าในทุกสภาวะ และการไม่มีส่วนประกอบใดในอาตมันของพระองค์

ด้วยเหตุนี้ การยอมรับในทัศนะนี้   หมายถึง การปฏิเสธการมีส่วนประกอบในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า

๒.การไม่เหมือนสิ่งใด และไม่มีสิ่งใดเหมือนกับอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า

ด้วยเหตุนี้ การยอมรับในทัศนะนี้ หมายถึง การปฏิเสธการมีอยู่ของสิ่งอื่นที่อยู่เคียงข้างกับอาตมันของพระองค์

๗๘

พึงสังเกตุได้เถิดว่า ในทัศนะที่หนึ่ง กล่าวว่า อาตมันของพระผู้เป็นเจ้ามิได้มีส่วนประกอบ และทัศนะที่สองกล่าวถึง  การไม่มีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์ โดยนักเทววิทยาอิสลามบางคน เรียกทัศนะแรกว่า เตาฮีด อะฮะดีย์ หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพในอาตมันโดยที่ไม่มีสิ่งอื่นอยู่เคียงข้าง ส่วนในทัศนะที่สองเรียกว่า เตาฮีด วาฮิดีย์ หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพ และความเป็นหนึ่งเดียวของพระผู้เป็นเจ้าที่ไม่มีความเป็นสองหรือสามตามมา

ดังนั้น ความหมายที่ชัดเจนของความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน หมายถึง ได้รวมการปฏิเสธการมีส่วนประกอบทุกชนิดในพระเจ้า และการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์

และก่อนจะกล่าวถึง มุมมองและทัศนะต่างๆของความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน และการให้เหตุผลของบรรดานักเทววิทยาอิสลาม จะขอกล่าวเน้นย้ำอีกว่า ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน ที่กล่าวในอัล กุรอาน และวจนะของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และบรรดาวงศ์วานผู้บริสุทธิ์ของท่าน (ขอความสันติพึงมีแด่พวกท่าน)  เป็นประเด็นที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีความหมายที่ลึกซึ้งและละเอียดอ่อนยากที่จะเข้าใจในรายละเอียดของมันได้ ซึ่งต้องอาศัยการอธิบายในบทนำเบื้องต้น หลังจากนั้น จะขอกล่าวถึงการใช้เหตุผลทางสติปัญญาที่สามารถได้รับจากโองการทั้งหลายของอัล กุรอานที่กล่าวถึงความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน

๗๙

   ความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า

   ทัศนะที่หนึ่งกล่าวว่า มีความเชื่อว่า ความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า และการปฏิเสธการมีส่วนประกอบทุกชนิดในอาตมันของพระองค์ ซึ่งก็เป็นอีกประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน  และจากทัศนะนี้ นักเทววิทยาอิสลามบางคน ได้กล่าวว่า ประเด็นหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน คือ ประเด็นที่เกี่ยวกับคุณลักษณะในด้านลบของพระผู้เป็นเจ้า หมายถึงคุณลักษณะที่ไม่มีในพระองค์ มิใช่ประเด็นนี้ เป็นประเด็นหลักของ ความเป็นเอกานุภาพ เพราะว่า การปฏิเสธการมีส่วนประกอบทุกชนิดในพระผู้เป็นเจ้า ก็คือ คุณลักษณะหนึ่งในด้านลบของพระองค์

จะเห็นได้ว่า การมีส่วนประกอบนั้น ถูกแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด 

๑.การมีส่วนประกอบในด้านสติปัญญา หมายถึง การมีส่วนประกอบของสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการจำแนกของสติปัญญา โดยการใช้หลักของปรัชญาในการจำแนก เช่น การแบ่งสิ่งหนึ่งออก เป็นสองส่วน หมายถึง การมีกับการไม่มีของสิ่งนั้น กล่าวคือ ไม่สามารถรวมสิ่งหนึ่งจากการมีและการไม่มี เพราะฉะนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ ที่สิ่งหนึ่งจะมีและไม่มีในเวลาเดียวกัน และการมีส่วนของสสาร โดยแบ่งออกเป็น สารัตถะ และการมีของสสาร การมีส่วนของสสารที่ไม่สมบูรณ์ ก็ถูกแบ่งออกเป็น การมีสกุล (ญินซ์)และการมีลักษณะความแตกต่าง (ฟัศล์) และการมีรูปแบบทั้งหมดในการจินตนาการและการสร้างมโนภาพ ก็เป็นตัวอย่างของการมีส่วนประกอบในด้านสติปัญญา

๘๐

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

   ความเป็นหนึ่งเดียวในด้านความหมายและความเป็นจริง

(วะฮ์ดัตมัฟฮูมีย์และวะฮ์ดัตอัยนีย์)

    ในขณะที่มีการกล่าวกันว่า ความเป็นหนึ่งเดียวที่มีในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้ากับคุณลักษณะของพระองค์ นั้นมีความหมายเป็นหนึ่งเดียวกัน (วะฮ์ดัต) ดังนั้น ความเป็นหนึ่งเดียว(วะฮ์ดัต) ดังกล่าวมีความหมายว่าอย่างไร? และเราสามารถแบ่งออกเป็นได้ กี่ประเภทด้วยกัน

ซึ่งจะกล่าวได้ว่า เราสามารถแบ่งประเภทของความเป็นหนึ่งเดียว (วะฮ์ดัต )ได้ ๒ ประเภท ด้วยกัน มีดังต่อไปนี้

๑. ความเป็นหนึ่งเดียวในด้านความหมาย  (วะฮ์ดัตมัฟฮูมีย์)

๒. ความเป็นหนึ่งเดียวในความเป็นจริง (วะฮ์ดัตอัยนีย์)

 วะฮ์ดัตมัฟฮูมีย์ หมายถึง คำสองคำที่มีความแตกต่างกันในตัวอักษร แต่ในด้านความหมายนั้น มีความหมายเดียวกัน เช่น ในภาษาอาหรับ คำว่า วุญูด คือ การมีอยู่ และคำว่าเกาน์ ก็แปลว่า  การมีอยู่ ด้วยเช่นกัน

 ดังนั้น วะฮ์ดัตมัฟฮูมีย์ จึงถูกนำไปใช้ในด้านของความหมายของคำเท่านั้น

ส่วนวะฮ์ดะฮ์อัยนี หมายถึง คำสองคำที่มีสองความหมาย แต่ว่ามีตัวอย่างอันเดียวกันในความเป็นจริงหรือภายนอก เช่น คำว่า คัมภีร์ของมุสลิม และคำว่า ปฏิหาริย์ของท่านศาสดามุฮัมมัด ดังนั้น สองคำนี้มีความหมายที่แตกต่างกัน แต่ในความเป็นจริงนั้น มีตัวอย่างอันเดียวกัน  นั่นคือ

พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน เป็น คัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ของอิสลาม

๑๐๑

   ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว สามารถบอกได้ถึง ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ ซึ่งในระหว่างอาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้า และในระหว่างคุณลักษณะประการหนึ่งกับอีกคุณลักษณะประการอื่นๆของพระองค์ นั้นมีความหมายที่แตกต่างกัน

 ในอีกนัยหนึ่ง กล่าวได้ว่า มีความเป็นวะฮ์ดัตอัยนี กล่าวคือ ในความเป็นจริง นั้นมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า  ในความหมายของอาตมันกับคุณลักษณะ เช่น ความรอบรู้ อานุภาพ ก็มีความแตกต่างกัน แต่ในความเป็นจริง ความรอบรู้ของพระเจ้า เป็นหนึ่งเดียวกับอาตมันของพระองค์ที่มีมาแต่เดิม และไม่มีที่สิ้นสุด

ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ เป็นประเด็นที่เกี่ยวกับคุณลักษณะบางประการของพระเจ้า คือ คุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันของพระองค์ ซึ่งตรงกันข้ามกับคุณลักษณะใน กิริยา การกระทำ อีกทั้ง คุณลักษณะซุบูตีย์ (คุณลักษณะที่มีอยู่ในพระเจ้า) ก็ตรงกันข้ามกับคุณลักษณะซัลบีย์ (คุณลักษณะที่ไม่มีในพระองค์)อย่างเห็นได้ชัด

เราสามารถแบ่งประเด็นต่างๆของความเป็นเอกานาภาพในคุณลักษณะของพระเจ้า ได้ด้วยกัน ๓ ประเด็นหลัก นั่นก็คือ

๑.ประเด็นแรก อาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้า ที่มีความหมายที่แตกต่างกัน

๒.ประเด็นที่สอง อาตมันกับคุณลักษณะที่มีในอาตมันของพระองค์ ที่ในความเป็นจริงนั้น มีตัวอย่างหนึ่งเดียวเท่านั้น

๑๐๒

๓.ประเด็นที่สาม คุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันกับคุณลักษณะประการอื่นของพระองค์ และในความเป็นจริงก็มีตัวอย่างหนึ่งเดียวเช่นกัน

หากพึงสังเกตุว่า ในประเด็นสุดท้าย ซึ่งก็เป็นประเด็นเดียวกันกับประเด็นที่สอง เพราะว่า การที่มีการกระทำหลายอย่างในสิ่งหนึ่ง แน่นอนที่สุด สิ่งนั้นต้องเป็นสิ่งเดียวที่มีหลายกริยา การกระทำด้วยเช่นกัน และเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย ที่สิ่งหนึ่งจะมีความแตกต่างในตัวตนของสิ่งนั้นเอง

   เหตุผลของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

    ดั่งที่ได้อธิบายในความหมายของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะผ่านไปแล้ว จะมาอธิบายกันในเหตุผลที่ใช้พิสูจน์ในหลักการนี้ บรรดานักปรัชญาและเทววิทยาอิสลาม มีเหตุผลในการพิสูจน์ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ  ๓ เหตุผล ด้วยกัน ดังนี้

เหตุผลที่หนึ่ง

เหตุผลนี้ประกอบด้วย ๒ ข้อพิสูจน์เบื้องต้น คือ

๑.การมีความสมบูรณ์ที่สุด(กะมาล มุตลัก)ในพระผู้เป็นเจ้า  บ่งบอกถึง การมีความสัมพันธ์จากอาตมันไปยังคุณลักษณะของพระองค์ ในสภาพที่มีความสมบูรณ์ที่สุด

๒.การมีความสมบูรณ์ที่สุดในสิ่งหนึ่ง  หมายถึง การมีความสัมพันธ์ของสิ่งนั้นด้วยกับตัวของมันเอง โดยที่ไม่ต้องการสิ่งอื่นใด

๑๐๓

ผลที่จะได้รับของข้อพิสูจน์ดังกล่าวนี้ ก็คือ : ความสมบูรณ์ที่ไม่มีขอบเขตจำกัดของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งบ่งบอกถึง อาตมันของพระองค์ และคุณลักษณะทั้งหลายจะไม่เกิดขึ้น นอกจากคุณลักษณะเหล่านั้นเกิดขึ้นด้วยอาตมันของพระองค์เท่านั้น

สิ่งที่ได้รับจากเหตุผลนี้ ก็คือ ความเป็นหนึ่งและความเป็นเอกานุภาพของคุณลักษณะ และอาตมันของพระเจ้า

การเปรียบเทียบกันระหว่างข้อถกเถียง และโต้แย้งในข้อพิสูจน์นี้ เป็นที่กระจ่างชัดโดยที่ไม่มีความต้องใช้การพิสูจน์ใดๆจากการวิเคราะห์ในความหมายของ กะมาล มุตลัก (ความสมบูรณ์ที่ไม่มีขอบเขต) หมายถึง ความสมบูรณ์ที่มีอยู่ในทุกภาวะด้วยกับตัวของตนเองโดยมีความสัมผัสสะกับคุณลักษณะทั้งหลาย ในอีกมุมมองหนึ่ง กล่าวว่า การเปรียบเทียบกันระหว่างอาตมันกับคุณลักษณะของพระผู้เป็นเจ้า มี ๒ สภาพด้วยกัน ดังนี้

สภาพแรก ความเป็นหนึ่งและเอกะในสิ่งทั้งสอง กล่าวคือ ทั้งในอาตมันของพระเจ้ากับคุณลักษณะของพระองค์ หมายความว่า สภาพนี้ เป็นระดับขั้นที่อาตมันมีความสมบูรณ์ที่สุด และไม่มีขอบเขตจำกัด

สภาพที่สอง ความแตกต่างในอาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้า

๑๐๔

   เหตุผลที่สอง

    องค์ประกอบของเหตุผลนี้ มีดังต่อไปนี้

๑.อาตมันของพระเจ้า เป็นวาญิบุลวุญูด (ความจำเป็นที่ต้องมีอยู่) และเป็นปฐมเหตุของสิ่งทั้งหลาย ส่วนสิ่งอื่น เป็นมุมกินุลวุญูด (ความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้) และยังเป็นผลของปฐมเหตุอีกด้วย

๒.ความสมบูรณ์ทั้งหมดของผลขึ้นอยู่กับต้นเหตุของมัน

๓.ถ้าหากว่า การเกิดขึ้นของคุณลักษณะของพระเจ้า มิได้ผ่านยังอาตมันของพระองค์ ก็หมายถึง ในอาตมันของพระเจ้านั้น มีข้อบกพร่องและความไม่สมบูรณ์เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ผลหรือข้อสรุปที่จะได้รับ ก็คือ จากองค์ประกอบที่หนึ่งและที่สองของเหตุผลนี้ ได้กล่าวถึง อาตมันของพระเจ้าว่า มีความสมบูรณ์ที่สุด และองค์ประกอบที่สาม ก็กล่าวว่า การเกิดขึ้นของคุณลักษณะทั้งหลายนั้น จะต้องเกิดมาจากอาตมันของพระองค์เท่านั้น และก็หมายความว่า จะต้องมีความเป็นหนึ่งหรือความเป็นเอกานุภาพอยู่อีกด้วย

สามารถสรุปได้ว่า การเกิดขึ้นของคุณลักษณะที่มีในอาตมันของพระเจ้านั้น จะต้องมีความสมบูรณ์ในตัวของตัวเอง และความไม่สมบูรณ์หรือข้อบกพร่องจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน  เพราะว่าอาตมันของพระองค์เป็นปฐมเหตุของผลทั้งหลาย และเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ แสดงให้เห็นว่า เป็นไปไม่ได้ที่คุณลักษณะของพระเจ้าจะไม่มีความสมบูรณ์อยู่เลย ดังนั้น กล่าวได้ว่า คุณลักษณะของพระเจ้าต้องมีความสมบูรณ์ที่สุด และไม่มีขอบเขตจำกัด อีกทั้งเป็นหนึ่งเดียวและเป็นเอกานุภาพกับอาตมันของพระองค์ด้วย

๑๐๕

   เหตุผลที่สาม

    ถ้าหากว่า คุณลักษณะของพระเจ้ามิได้มีความเป็นหนึ่งเดียว หรือเป็นเอกานุภาพกับอาตมันของพระองค์แล้วไซร้ จะเกิดการสมมุติฐานได้ สองประเด็น ด้วยกัน ดังนี้

๑.คุณลักษณะของพระเจ้าต้องเป็นส่วนหนึ่งในอาตมันของพระองค์

๒.คุณลักษณะของพระเจ้าต้องเกิดจากภายนอกอาตมันของพระองค์

สมมุติฐานแรก ถือว่าเป็นโมฆะและไม่ถูกต้อง เพราะว่า เป็นสาเหตุที่ทำให้มีความเชื่อว่าพระเจ้ามีส่วนประกอบและได้พิสูจน์ในบท ความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้าไปแล้วว่า อาตมันของพระองค์นั้นไม่มีส่วนประกอบใดทั้งสิ้น

และจากสมมุติฐานที่สอง ก็ถือว่าเป็นโมฆะและไม่ถูกต้องเช่นกัน เพราะว่า เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการสมมุติฐานว่า ถ้าคุณลักษณะของพระเจ้าเกิดจากภายนอกจริง คุณลักษณะนั้นจะต้องเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ หรือสิ่งที่สามารถมีอยู่ ถ้าเป็นสิ่งแรก ก็เป็นสาเหตุให้เกิดมีพระเจ้าหลายองค์ ซึ่งความเชื่อนี้ขัดแย้งกับความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า และถ้าคุณลักษณะของพระองค์ เป็นสิ่งที่สามารถมีอยู่ จะเกิดคำถามขึ้นว่า แล้วอะไร เป็นสาเหตุที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น ซึ่งได้อธิบายไปแล้วว่า ทุกสิ่งที่เป็นสิ่งที่สามารถมีอยู่ ไม่ว่าในสภาพใดก็ตาม เป็นผลของสิ่งจำเป็นต้องมีอยู่ทั้งสิ้น และถ้าหากว่าเหตุผลการเกิดขึ้นของสิ่งนั้น เกิดจากสิ่งจำเป็นต้องมีอยู่หลายๆอย่าง ที่เป็นสาเหตุให้มีพระเจ้าหลายองค์ ซึ่งก็มีความขัดแย้งกับเตาฮีดในอาตมันของพระเจ้าเช่นกัน เพราะฉะนั้น การสมมุติฐานทั้งหมด ถือว่าเป็นโมฆะ และคงเหลือเพียงสมมุติฐานเดียวก็คือ คุณลักษณะของพระเจ้าเกิดจากภายนอกอาตมัน และเป็นผลของอาตมัน

๑๐๖

 ดังนั้น การยอมรับในสมมุติฐานนี้ ก็คือ พระเจ้าไม่มีคุณลักษณะใดๆอยู่เลย เช่น พระองค์ไม่มีชีวิต ไม่มีพลานุภาพ ไม่มีความสามารถ ในตอนแรกได้เอาคุณลักษณะทั้งหลายเหล่านี้มาจากภายนอกอาตมันของพระองค์ แล้วนำไปใช้กับสิ่งที่ถูกสร้างของพระองค์

ด้วยเหตุนี้ การสมมุติฐานนี้ ก็ถือว่าเป็นโมฆะเช่นกัน เพราะว่า ด้วยกับกฏของเหตุและผล ได้กล่าวไปแล้วว่า เหตุของผลทั้งหลายจะไม่มีคุณสมบัติของผลของมัน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่สิ่งหนึ่งสิ่งใดจะปราศจากความสมบูรณ์แล้วเอาความสมบูรณ์นั้นไปให้กับสิ่งอื่น เพราะฉะนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ สำหรับพระเจ้า ในขณะที่พระองค์ไม่มีชีวิตอยู่และไม่มีพลานุภาพ และไม่มีความสามารถแล้ว พระองค์จะเป็นผู้ทรงสร้างชีวิตทั้งหลายได้อย่างไร?

สามารถสรุปได้ว่า สมมุติฐานที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ถือว่าเป็นโมฆะ และการสมมุติฐานระหว่างอาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้า มีความแตกต่างกัน ก็เป็นโมฆะเช่นเดียวกัน ผลลัพท์คือ ระหว่างอาตมันและคุณลักษณะของพระองค์ในความเป็นจริง เป็นสิ่งเดียวกัน แต่มีความหมายที่แตกต่างกัน

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สติปัญญาของมนุษย์ยอมรับในการมีอยู่ของพระเจ้าองค์เดียว ผู้ทรงบริสุทธิ์ และมิได้มีขอบเขตจำกัด ซึ่งบ่งบอกถึงการมีอยู่ของคุณลักษณะที่มากมายในพระองค์ เช่น ความรู้ ความสามารถ การมีชีวิต และได้นำไปใช้กับอาตมันของพระเจ้าซึ่งในความเป็นจริงก็มิได้มีความแตกต่างกันเลย

๑๐๗

   ความแตกต่างทางด้านความหมายของคุณลักษณะ (ซิฟัต)

    ได้กล่าวไปแล้วว่า ในความเป็นจริงของอาตมัน และคุณลักษณะของพระเจ้านั้น มีความเป็นหนึ่งเดียวและเป็นเอกะ ซึ่งในคุณลักษณะของพระองค์ก็มิได้มีความแตกต่างกับอาตมัน และมิได้เป็นส่วนประกอบใดของอาตมัน แต่ในอาตมันและคุณลักษณะมีความเป็นหนึ่งเดียวและเป็นเอกะ 

ประเด็นหลักของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ  ก็คือ การยืนยันด้วยเหตุผลถึงความแตกต่างในความหมายระหว่างอาตมันกับคุณลักษณะ เพราะว่าบุคคลใดก็ตามที่ใช้สติปัญญาเพื่อเข้าใจใน

ความหมายของคุณลักษณะ เช่น ความรอบรู้ ความปรีชาญาณ ความสามารถและอื่นๆ  ซึ่งทั้งหมดนั้นมีความหมายแตกต่างกัน  ดั่งเช่น ชาวอาหรับได้เรียกพระเจ้าว่า ผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ ผู้ทรงความสามารถ บ่งบอกถึงความหมายที่แตกต่างกัน แต่ในความเป็นจริง มีตัวตนหนึ่งเดียว

๑๐๘

                      

   ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ(เตาฮีด ซิฟาตีย์)ในมุมมองทางประวัติศาสตร์

    บรรดานักเทววิทยาในสำนักคิดทั้งหลายของอิสลามมีทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับคุณลักษณะกับการให้ความสัมพันธ์ไปยังอาตมันของพระเจ้า ซึ่งมีดังนี้

๑.ทัศนะที่มีความเชื่อว่า คุณลักษณะกับอาตมันมีความเป็นหนึ่งเดียวกันตามความเป็นจริง แต่ในความหมายมีความแตกต่างกัน ทัศนะนี้  เป็นทัศนะของสำนักคิดชีอะฮ์อิมามียะฮ์ และสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์บางคน ซึ่งมีเหตุผลมากมายจากการใช้สติปัญญา และวจนะของอิสลามที่พิสูจน์ในทัศนะนี้

๒.ทัศนะที่มีความเชื่อในการมีมาแต่เดิมของคุณลักษณะในพระเจ้า และความไม่เหมือนกันของคุณลักษณะกับอาตมัน ทัศนะนี้ เป็นทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์ ที่กล่าวว่า คุณลักษณะในพระเจ้ามีความเหมือนกันกับคุณลักษณะของสิ่งที่ถูกสร้างและมีความแตกต่างกับอาตมัน หมายความว่า คุณลักษณะของพระองค์นั้นมีมาแต่เดิม แต่คุณลักษณะของสิ่งถูกสร้างมิได้มีมาแต่เดิม

ความผิดพลาดของทัศนะนี้ ก็คือ เป็นข้อสงสัยที่ทำให้เกิดความสับสนระหว่างคุณลักษณะของพระเจ้ากับคุณลักษณะของสิ่งที่ถูกสร้าง และการยอมรับว่า คุณลักษณะมีมาแต่เดิมเหมือนกับอาตมัน ซึ่งบ่งบอกถึงการมีอยู่ของสิ่งที่มีมาแต่เดิมหลายสิ่ง และเป็นสาเหตุทำให้เกิดการตั้งภาคี

๑๐๙

 กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สำนักคิดอัชอะรีย์มีความเชื่อในการมีอยู่ของสิ่งเจ็ดประการที่มีมาแต่เดิมเหมือนกับอาตมันของพระเจ้า นั่นก็คือ คุณลักษณะเจ็ดประการ ความรอบรู้ ความปรีชาญาณ และฯลฯ และในทัศนะนี้ได้ยอมรับว่า พระเจ้ามีความต้องการในความสมบูรณ์ของพระองค์ ซึ่งมีความขัดแย้งกับการไม่มีความต้องการใดของพระองค์ แต่ในทัศนะของความเป็นเอกานุภาพได้กำหนดไว้ว่า อาตมันของพระเจ้ามีหนึ่งเดียวและมีมาแต่เดิม ส่วนสิ่งทั้งหลายนอกเหนือจากพระองค์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ และเป็นสิ่งที่ถูกสร้างของพระองค์ 

๓.ทัศนะที่มีความเชื่อในการเพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ของคุณลักษณะของพระเจ้า และความไม่เหมือนกันของคุณลักษณะและอาตมัน ทัศนะนี้เป็นทัศนะของสำนักคิดกะรอมียะฮ์ ที่กล่าวว่า คุณลักษณะของพระเจ้ามิได้มีมาแต่เดิม กล่าวคือ คุณลักษณะของพระเจ้าเพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ และมิได้เหมือนกันกับอาตมัน ดังนั้น ทัศนะนี้ก็ถือว่าเป็นโมฆะ ด้วยกับเหตุผลต่างๆทางสติปัญญาที่ได้อธิบายไปแล้ว

๔.ทัศนะที่มีความเชื่อในการเป็นตัวแทน (นิยาบัต) ของอาตมันจากคุณลักษณะ ทัศนะนี้เป็นทัศนะของนักเทววิทยาในสำนักคิดมุอ์ตะซิละฮ์บางคน เช่น อะบูอะลีและอะบูฮาชิม ญุบบาอีย์

 (ผู้ก่อตั้งสำนักคิดมุอ์ตะซิละฮ์) และทัศนะของ อับบาด บิน สุลัยมาน พวกเขากล่าวว่า พระเจ้าทรงปราศจากคุณลักษณะที่สมบูรณ์ เช่น ความรอบรู้ ความปรีชาญาณ ในขณะเดียวกันอาตมันของพระองค์ก็ได้แสดงผลของคุณลักษณะทั้งหลายนั้นออกมา ตัวอย่างเช่น อาตมันของพระเจ้าทรงปราศจากคุณลักษณะความรู้ แต่การกระทำต่างๆของพระองค์ เป็นการกระทำของผู้ที่มีความรู้

๑๑๐

ดังนั้น เหตุผลของทัศนะนี้ ก็คือ พวกเขาไม่ยอมรับในทัศนะที่สาม เพราะว่า มีความขัดแย้งกับความเป็นเอกานุภาพ และในขณะเดียวกัน พวกเขาไม่รู้ในความเป็นจริงของคุณลักษณะทั้งหลายที่มีอยู่ในอาตมันของพระเจ้า ทัศนะนี้ก็ถือว่าเป็นโมฆะเช่นกัน เพราะว่าถ้ายอมรับในทัศนะนี้ก็เท่ากับมีความเชื่อว่าพระเจ้าไม่มีความสมบูรณ์ เช่น การมีความรู้ ความสามารถ การมีชีวิต เป็นต้น

   ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ(เตาฮีด ซิฟาตีย์)ในมุมมองของวจนะ

    ได้อธิบายไปแล้วว่า ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ หมายถึง การมีความเชื่อในความเป็นหนึ่งเดียวของคุณลักษณะกับอาตมันของพระเจ้าในความเป็นจริง แต่ในความหมายนั้นมีความแตกต่างกัน ดังนั้น คุณลักษณะของพระเจ้าก็เหมือนกันกับอาตมันของพระองค์ที่มีมาแต่เดิม ในขณะเดียวกัน ก็ไม่มีความแตกต่างกันในอาตมันและคุณลักษณะของพระองค์ 

ท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวไว้ในสุนทรโรวาทหนึ่งเกี่ยวกับความสวยงามในความเป็นจริงของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ(เตาฮีด ซิฟาตีย์)ความว่า

 “พระเจ้า พระองค์ผู้ซึ่งมีคุณลักษณะที่ไม่มีขอบเขตจำกัดและไม่สามารถจะพรรณาในคุณลักษณะทั้งหลายของพระองค์ได้”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๑ )

๑๑๑

หลังจากนั้นท่านอิมามได้อธิบายถึงความสมบูรณ์ของความบริสุทธิ์ใจในการรู้จักพระเจ้าและเตาฮีด(ความเป็นเอกานุภาพ)ว่า

“ความสมบูรณ์ของความเป็นเอกานุภาพ คือ การมีความบริสุทธิ์ใจต่อพระเจ้า และความสมบูรณ์ของความบริสุทธิ์ใจ คือ การไม่ปฏิเสธการมีคุณลักษณะในพระองค์ เพราะว่า การมีอยู่ของคุณลักษณะ บ่งบอกถึงสิ่งทำให้คุณลักษณะเกิดขึ้น และการมีของสิ่งที่ทำให้คุณลักษณะเกิดขึ้น มิใช่เป็นการมีคุณลักษณะ”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๑ )

ท่านอิมามอะลีกล่าวอีกว่า

”บุคคลใดก็ตามที่ได้ทำให้พระเจ้ามีคุณลักษณะ ก็เท่ากับว่าเขาได้เข้าใกล้ชิดต่อพระองค์ และใครก็ตามที่เขาได้เข้าใกล้ชิดพระองค์ ก็เท่ากับเขาได้ทำให้พระเจ้ามีหลายองค์ และใครก็ตามที่ทำให้พระเจ้ามีหลายองค์ก็เท่ากับว่าเขานั้นไม่รู้จักพระองค์”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๑ )

ท่านอิมามริฎอ (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

”พระองค์อัลลอฮ์ ผู้ทรงยิ่งใหญ่และทรงสูงส่ง พระองค์ทรงมีความรอบรู้ ,ความสามารถ, มีชีวิต, ได้ยิน, มองเห็น และ มีมาแต่เดิม

๑๑๒

 ฉัน (ผู้รายงาน) ได้ถามท่านอิมามว่า โอ้บุตรแห่งศาสนทูต กลุ่มชนหนึ่งได้พูดกันว่า พระองค์อัลลอฮ์มิได้ทรงมีความรู้, สามารถ, มีชีวิต, ได้ยิน, มองเห็น และ มีมาแต่เดิม

ท่านอิมามได้ตอบกับเขาว่า “ใครก็ตามที่มีความเชื่อเช่นนี้ แน่นอนที่สุดเขาได้ยืดเอาพระเจ้าอื่นเคียงข้างพระองค์อัลลอฮ์และตำแหน่งวิลายะฮ์ (ความเป็นผู้นำ) ของเราจะไม่ไปถึงเขา และท่านอิมามได้กล่าวอีกว่า พระองค์อัลลอฮ์ทรงมีความรู้, ความสามารถ, มีชีวิต ได้ยิน, มองเห็น และมีมาแต่เดิมด้วยกับอาตมันของพระองค์ และพระองค์ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งที่บรรดาพวกตั้งภาคีและพวกที่คิดว่าพระองค์มีรูปร่าง”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๑๑ วจนะที่ ๓ )

 จากวจนะของท่านอิมามริฎอ ได้บ่งบอกถึง คุณลักษณะทั้งหลายของพระเจ้าที่มีมาแต่เดิม อาทิ เช่น ความรอบรู้, ความสามารถและ การมีชีวิต ผู้รายงานได้ถามอิมามเกี่ยวกับกลุ่มชนหนึ่งที่มีความเชื่อว่า การมีมาแต่เดิมของคุณลักษณะในพระเจ้าและความไม่เป็นหนึ่งเดียวกันกับอาตมันของพระองค์ อิมามได้ตอบว่า การมีความเชื่อเช่นนี้ เป็นสาเหตุของการตั้งภาคีและการเชื่อว่ามีพระเจ้าหลายองค์ ส่วนการมีอยู่ของคุณลักษณะในพระเจ้าได้เกิดขึ้นด้วยกับอาตมันของพระองค์ และมีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับอาตมัน

๑๑๓

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

ซิฟาตซาตีย์ หมายถึง คุณลักษณะที่มีในอาตมัน                                  

ซิฟาต คอริญีย์ หมายถึง คุณลักษณะที่มีในภายนอก

เตาฮีด ซิฟาตีย์ หมายถึง       ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

วะฮ์ดัต มัฟฮูมีย์ หมายถึง     ความเป็นหนึ่งเดียวในความหมาย

วะฮ์ดัต อัยนีย์  หมายถึง       ความเป็นหนึ่งเดียวในความจริง

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ ได้มีคำถามเกิดขึ้นว่า คุณลักษณะทั้งหลายของพระเจ้ามีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับอาตมันของพระองค์หรือไม่?

๒.ความเป็นหนึ่งเดียว (วะฮ์ดัต) สามารถแบ่งออกเป็น สองประเภท

(๑.)ความเป็นหนึ่งเดียวในความหมาย (วะฮ์ดัต มัฟฮูมีย์) หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวในความหมายของคำทั้งสองคำ

(๒.)ความเป็นหนึ่งเดียวในความจริง (วะฮ์ดัต อัยนีย์) หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวในความจริง แต่ในความหมายแตกต่างกัน

๓.ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะมี ๓ ประเด็นหลัก ดังนี้

(๑.)อาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้าในความหมายที่แตกต่างกัน

(๒.)อาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้าในความจริง มีความเป็นหนึ่งเดียวกันและเหมือนกัน

(๓.)คุณลักษณะของพระเจ้ากับคุณลักษณะประการอื่นในความเป็นจริง มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน และเหมือนกัน

๑๑๔

๔.การปฏิเสธการมีส่วนประกอบในอาตมันของพระเจ้า เป็นประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

๕.มีหลายเหตุผลทางสติปัญญาที่ใช้ในการพิสูจน์ถึงความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

๖.การพิจารณาความหมายทางภาษาของคุณลักษณะในพระเจ้า บ่งบอกถึงความหมายที่แตกต่างกัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง ทัศนะของความเป็นหนึ่งเดียวในความหมายของคุณลักษณะในพระเจ้านั้น มีความขัดแย้งกับการเข้าใจทางภาษาของคุณลักษณะในมนุษย์

๗.สำนักคิดอัชอะรีย์มีความเชื่อในการมีมาแต่เดิมของคุณลักษณะในพระเจ้า และมีความหมายที่แตกต่างกันกับอาตมันของพระองค์ ความเชื่อนี้ เป็นสาเหตุทำให้เกิดการตั้งภาคี และความเชื่อในพระเจ้าหลายองค์

๘.ทัศนะของนักเทววิทยาบางคนในสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์ มีความเชื่อในอาตมันของพระเจ้าว่าไม่มีคุณลักษณะประการใด พวกเขากล่าวว่า  อาตมันของพระองค์มีผลที่มีคุณลักษณะ ในขณะที่ไม่มีคุณลักษณะประการใด ดังนั้น การยอมรับในทัศนะนี้ มีความเชื่อในความไม่สมบูรณ์ในอาตมัน และการไม่มีคุณลักษณะในพระองค์

๙.ท่านอิมามอะลีได้กล่าวในสุนทรโรวาทหนึ่งในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ว่า

 “คุณลักษณะของพระเจ้ามิได้อยู่นอกเหนือจากอาตมันของพระองค์ และใครก็ตามที่มีความเชื่อว่า พระเจ้ามีคุณลักษณะอยู่ภายนอกอาตมันของพระองค์ แน่นอนที่สุดเขานั้นไม่รู้จักพระองค์อย่างแท้จริง”

๑๐.ท่านอิมามอะลี ริฎอ ได้กล่าวเน้นย้ำว่า การมีความเชื่อในการมีคุณลักษณะของพระเจ้าที่มีความหมายที่แตกต่างกันกับอาตมัน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการตั้งภาคี และได้เปรียบพระเจ้าเหมือนกับสิ่งที่มีชีวิตในโลก หมายถึง พระองค์มีรูปร่างและสรีระ

   บทที่ ๔

   ความเป็นเอกานุภาพใน กิริยา การกระทำ (เตาฮีด อัฟอาลีย์) ตอนที่หนึ่ง

   บทนำเบื้องต้น

    ตามทัศนะของบรรดานักปรัชญาและนักเทววิทยาอิสลาม มีความเห็นว่า พระเจ้าทรงมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุด และทรงเป็นแหล่งที่มาของอากัปกิริยา การกระทำ เช่น การสร้าง  , การประทานปัจจัยยังชีพ ,การบริหารกิจการงานทั้งหลาย, การมีเมตตาปรานี และอื่นๆ ซึ่งการกระทำทั้งหมดนั้น เป็นการกระทำของพระองค์

เมื่อได้สังเกตุในสิ่งต่างๆที่มีอยู่ในโลก จะพบว่า มีกิริยา การกระทำเกิดขึ้นมากมาย  ซึ่งทั้งหมดของการกระทำจะต้องมีแหล่งที่มาหรือสาเหตุในการเกิดขึ้น เช่น สภาพการเป็นสะสาร ,การเจริญเติบโตของพรรณพืช, การเกิดขึ้นของสัตว์ และการถือกำเนิดของมนุษย์ หากมองดูอย่างผิวเผิน จะเห็นได้ว่า การเกิดขึ้นของสิ่งต่างๆในโลกนี้ เกิดขึ้นจากการกระทำของหลายผู้กระทำและในทัศนะของความเป็นเอกานุภาพในอิสลาม มีความเชื่อว่า ทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกนี้ ต้องมีแหล่งที่มาอันเดียวกัน และพระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นผู้กระทำการงานเหล่านั้นเพียงองค์เดียว และไม่มีผู้กระทำ (ฟาอิล) ใดที่เป็นอิสระเสรี นอกจากพระองค์

๑๑๕

 ดังนั้น ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ จึงหมายถึง

๑.การมีความเชื่อว่า พระเจ้า เป็นผู้กระทำเพียงองค์เดียว ในการกระทำทั้งหลาย โดยที่ไม่มีผู้ที่ช่วยเหลือพระองค์

๒.การมีความเชื่อว่า การกระทำของพระเจ้า เป็นการกระทำที่เป็นอิสระเสรี ส่วนการกระทำของสิ่งอื่นๆ มิได้มีความเป็นอิสระเสรีเหมือนกับการกระทำของพระองค์ และการกระทำเหล่านั้นจะเกิดขึ้นได้ด้วยกับความประสงค์ตามเจตนารมณ์ของพระองค์เท่านั้น ดังนั้น การสร้างทุกสรรพสิ่ง  ,การให้ปัจจัยยังชีพ, การบริหารการงานทั้งหลาย และอื่นๆ เป็นการกระทำของพระเจ้าแต่เพียงองค์ดียว โดยที่ไม่มีการช่วยเหลือจากผู้อื่น

   บทบาทของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำในมุมมองของโลกทรรศน์

    ความหมายที่กว้างของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ ซึ่งครอบคลุมไปถึงทุกการกระทำที่มีอยู่ในสากลจักวาล  ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระเจ้ามีความสัมพันธ์กับจักวาล ดังนั้น การเชื่อหรือไม่เชื่อในความเป็นเอกานุภาพประเภทนี้ จึงมีผลต่อโลกทรรศน์และวิสัยทรรศน์ของมนุษย์ทุกคน เมื่อมนุษย์มีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำแล้ว มนุษย์จะมีความเชื่อในอานุภาพ และความประสงค์ของพระเจ้าที่มีต่อการเกิดขึ้นของสรรพสิ่งทั้งหลาย ในขณะเดียวกัน เมื่อเวลาใดก็ตามที่มนุษย์มองไปในทุกทิศทาง  ก็จะพบกับพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้นอานุภาพของพระองค์ครอบคลุมไปทั่วทุกสรรพสิ่งที่มีในโลกนี้และในจักวาล ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งใหญ่ที่สุดเหมือนดั่งจักวาล หรือสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งเล็กที่สุดเหมือนกับอะตอม ทั้งหมดนั้น อยู่ภายใต้อานุภาพของพระเจ้าทั้งสิ้น

๑๑๖

ด้วยเหตุนี้ การมีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพนิกริยา การกระทำ จึงมีผลต่อโลกทรรศน์ และในความคิด ความศรัทธา ยังรวมทั้งในการปฏิบัติของมนุษย์อีกด้วย ซึ่งจะอธิบายในรายละเอียดของประเด็นเหล่านี้ เป็นอันดับต่อไป

   การกระทำของสิ่งถูกสร้างอยู่ภายใต้การกระทำของผู้สร้าง

    ความหมายที่ลึกซึ้งของ ความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ หมายถึง การกระทำทั้งหมดของสรรพสิ่ง เป็นการกระทำของพระเจ้าเพียงองค์เดียว โดยเกิดขึ้นจากอาตมันอันบริสุทธิ์ของพระองค์ และเมื่อได้ใช้สติปัญญาไตร่ตรองในความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ ได้มีคำถามและข้อสงสัยเกิดขึ้นมากมาย เช่น ถ้ายอมรับว่า มีความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำแล้ว การกระทำของสิ่งอื่น จะเป็นอย่างไร ? และทุกวันนี้ เราก็ได้เห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา ที่ตัวของมันเป็นผู้กระทำการกระทำของมันขึ้นมาเอง เช่น เราได้เห็นไฟว่า มันมีความร้อน และได้เห็นแม่เหล็ก ว่า มันมีแรงดึงดูดที่สามารถดึงเอาเศษเหล็กทั้งเล็กใหญ่ไปยังตัวของมันได้, พวกพืชก็ได้รับอาหารจากใต้พื้นดิน ,สรรพสัตว์ทั้งหลายต่างก็ได้ออกไปหาอาหารด้วยกับตัวของมัน แม้แต่มนุษย์เองก็เป็นผู้กระทำกิจการงานต่างๆด้วยตัวเอง และเมื่อเป็นเช่นนี้ จะให้ความสัมพันธ์ของการกระทำเหล่านี้ไปยังพระเจ้าได้อย่างไร?  ถ้าเรายอมรับในการกระทำทั้งหลายเป็นการกระทำของพระองค์ เราก็ต้องปฏิเสธการกระทำของสิ่งอื่นด้วยหรือไม่?  หรือว่ายังมีหนทางอื่นอีกที่ยืนยันในการกระทำของสิ่งเหล่านั้นว่าอยู่ภายใต้การกระทำของพระเจ้าหรือไม่?

๑๑๗

สำหรับคำตอบของคำถามเหล่านี้ ต้องมาพิจารณาในทัศนะต่างๆของบรรดานักวิชาการว่า ได้มีความเห็นกันอย่างไร

 ด้วยเหตุนี้ บรรดานักปรัชญาและนักเทววิทยาอิสลามได้จัดแบ่งการกระทำของพระเจ้าออกเป็น สอง ประเภทได้ ด้วยกัน ดังนี้

๑.การกระทำที่เป็นแนวนอน หมายถึง มีผู้กระทำหลายคนในการกระทำหนึ่ง ที่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำกับการกระทำนั้น มีความเสมอภาคกัน ตัวอย่างเช่น การช่วยเหลือของหลายคน ในการยกสิ่งของชิ้นหนึ่งจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ในสภาพเช่นนี้ การกระทำหนึ่ง จึงมีผู้กระทำหลายคน

๒.การกระทำที่เป็นแนวตั้ง หมายถึง การกระทำของหลายคน ที่มีผลต่อการกระทำหนึ่ง และในบางส่วนมีความสัมพันธ์กับส่วนอื่นๆ ซึ่งในการกระทำนี้มีผู้กระทำสองคน คือ ผู้กระทำโดยตรง (ฟาอิล มุบาชิร) และผู้กระทำโดยใช้สื่อ (ฟาอิล บิซตัซบีบ)

ผู้กระทำโดยตรง คือ ผู้ที่ทำให้การกระทำนั้นเกิดขึ้น แต่การกระทำนั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องผ่านผู้กระทำอีกคนหนึ่ง คือ ผู้กระทำโดยใช้สื่อ จากประเภททั้งสองของการกระทำ การเปรียบเทียบการกระทำของพระเจ้ากับการกระทำของสิ่งที่ถูกสร้าง กล่าวคือ การกระทำของพระองค์ คือ การกระทำที่เป็นแนวตั้ง เหมือนกับการนั่งและการเดินของคนๆหนึ่งซึ่งเขาเป็นผู้กระทำเองโดยตรง แต่ไม่ใช่ว่าการกระทำของเขา จะอยู่นอกเหนืออำนาจของพระเจ้า ถ้าหากว่าการกระทำของเขาไม่ได้เกิดขึ้นด้วยอำนาจของพระองค์แล้ว แน่นอนที่สุดการกระทำนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น จากความแตกต่างของการกระทำที่เป็นแนวนอนกับการกระทำที่เป็นแนวตั้ง ทำให้มีความเข้าใจในความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

๑๑๘

 แต่ในความเป็นจริงนั้น การเข้าใจในความหมายที่แท้จริงของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำนั้น มีความยากและละเอียดอ่อน ซึ่งจะพยายามทำให้มีความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น โดยการอาศัยตัวอย่างต่างๆ ทั้งที่เป็นการกระทำที่เป็นแนวนอนและการกระทำที่เป็นแนวตั้ง เช่น ความสัมพันธ์ของจิตกับร่างกายของมนุษย์ โดยการสมมุติฐาน เช่น การเขียนของมนุษย์ ในขณะที่เขาคิดว่า เขานั้นเป็นผู้กระทำโดยตรง แต่ความเป็นจริง มิได้เป็นเช่นนั้น การกระทำดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นได้จากการมีความสัมพันธ์ของจิตไปสู่ร่างกายของเขา ด้วยกับการใช้มือเป็นสื่อในการเขียน ซึ่งการกระทำนั้นเกิดขึ้นในสภาพที่เป็นแนวตั้ง เพราะฉะนั้นในสภาพเช่นนี้ ผู้ที่กระทำโดยตรง คือ มือของมนุษย์ การเกิดขึ้นได้โดยการสั่งงานหรือได้รับคำสั่งจากจิต ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวไปสู่การจับปากกาแล้วเอามาเขียนลงบนกระดาษ

ซึ่งจะเห็นได้ว่า การกระทำของพระเจ้ากับการกระทำของสิ่งถูกสร้างนั้น มีความสัมพันธ์คล้ายคลึงกันกับความสัมพันธ์ของจิตกับร่างกายของมนุษย์ กล่าวคือ การกระทำของสิ่งถูกสร้างมีความสัมพันธ์ไปสู่การกระทำของพระเจ้า โดยสรุปได้ว่า  การจำกัดของการกระทำที่เป็นอิสระเสรีในพระเจ้ากับการให้มีความสัมพันธ์กับการกระทำอื่นที่มิได้มาจากพระเจ้า ถือว่า ไม่ถูกต้อง

ด้วยเหตุนี้ ก็สามารถที่จะให้ความสัมพันธ์ของกระทำนั้นไปสู่พระเจ้า และสิ่งถูกสร้างได้โดยปราศจากความขัดแย้งและข้อผิดพลาดใดๆทั้งสิ้น

๑๑๙

   บทบาทของสื่อกลางในการเกิดขึ้นของการกระทำในพระเจ้า

    มีคำถามเกิดขึ้นว่า ถ้าหากว่าพระเจ้ามีความเป็นอิสระเสรีในการกระทำของพระองค์ โดยที่ไม่ต้องการความช่วยเหลือจากผู้ใด แล้วทำไมในการเกิดขึ้นของการกระทำบางสิ่งบางอย่างต้องใช้สื่อกลางในการกระทำด้วย เช่น ในการสร้างหรือการบันดาล ซึ่งเป็นการกระทำหนึ่งของพระเจ้า แต่ทว่าการเกิดขึ้นของต้นไม้ต้นหนึ่ง ต้องผ่านปัจจัยและองค์ประกอบหลายอย่าง อาทิเช่น การได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์ ดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ ต้นไม้ต้นนั้นจึงจะเกิดขึ้นได้

สำหรับคำตอบของคำถามนี้ ก็คือ สภาพในกิริยา การกระทำของพระเจ้า สามารถแบ่งออกเป็น ๒ สภาพ ด้วยกัน ดังนี้

๑.สภาพของโลกเหนือธรรมชาติ หมายถึง โลกที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุและสสาร ดังนั้น การเกิดขึ้นของการกระทำในพระเจ้า  จึงไม่ต้องมีเงื่อนไขใดๆหรือปัจจัยใด เพียงเพราะความประสงค์ของพระองค์เท่านั้น การกระทำนั้นก็จะเกิดขึ้นในทันทีทันใด  สภาพนี้จึงถูกเรียกว่า โลกแห่งการกระทำ

 (อาลัม มุน อัมร์)

๒. สภาพของโลกแห่งธรรมชาติ คือ โลกที่เกี่ยวข้องกับวัตถุหรือสสาร ถูกเรียกว่า โลกแห่งการสร้างสรรค์ (อาลัม มุน ค็อลก์)

ดังนั้น การเกิดขึ้นของการกระทำของพระเจ้า ในสภาพเช่นนี้ จึงมีความต้องการเงื่อนไขและปัจจัยอื่นๆ เพราะว่า การเกิดขึ้นของสิ่งที่เป็นวัตถุด้วยกับกฏระบบและระเบียบของโลก หากว่าการเกิดขึ้นของสิ่งที่เป็นวัตถุ ปราศจากการมีอยู่ของเงื่อนไขหรือปัจจัยอื่นใด สิ่งนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น

๑๒๐

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156

157

158

159

160

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175

176

177

178

179

180

181

182

183

184

185

186

187

188

189

190

191

192

193

194

195

196

197

198

199

200

201

202

203

204

205

206

207

208

209

210

211

212

213

214

215

216

217

218

219

220

221

222

223

224

225

226

227

228

229

230

231

232

233

234

235

236

237

238

239

240

241

242

243

244

245

246

247

248

249

250

251

252

253

254

255

256

257

258

259

260

261

262

263

264

265

266

267

268

269

270

271

272

273

274

275

276

277

278

279

280

281

282

283

284

285

286

287

288

289

290

291

292

293

294

295

296

297

298

299

300

301

302

303

304

305

306

307

308

309

310

311

312

313

314

315

316

317

318

319

320

321

322

323

324

325

326

327

328

329

330

331

332

333

334

335

336

337

338

339

340

341

342

343

344

345

346

347

348

349

350

351

352

353

354

355

356

357

358

359

360

361

362

363

364

365

366

367

368

369

370

371

372

373

374

375

376

377

378

379

380

381

382

383

384

385

386

387

388

389

390

391

392

393

394

395

396

397

398

399

400

401

402

403

404

405

406

407

408

409

410

411

412

413

414

415

416

417

418

419

420

421

422

423

424

425

426

427

428

429

430

431

432

433

434

435

436

437

438

439

440

441

442

443

444

445

446

447

448

449

450