บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม0%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน: ดร.มุฮัมมัด ซะอีดีย์ เมฮร์
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 450
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 297933
ดาวน์โหลด: 3185

รายละเอียด:

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 297933 / ดาวน์โหลด: 3185
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

และเช่นเดียวกัน ด้วยกับทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก ได้อธิบายไปแล้วว่า

 การมีอยู่ของพระเจ้า ในสภาพที่พระองค์เป็นผู้ทรงดูแล และเป็นผู้ทรงจัดระบบและระเบียบให้กับโลก ดังนั้น จุดมุ่งหมายหลักของข้อพิสูจน์นี้ ก็คือ การพิสูจน์ว่า พระเจ้านั้นมีอยู่จริงใช่หรือไม่ มิได้หมายความว่า การพิสูจน์ว่า พระเจ้ามีคุณลักษณะบางประการอยู่ในพระองค์ สมมุติว่าคุณลักษณะเหล่านั้นเกิดขึ้นมาก่อนที่จะพิสูจน์ด้วยกับเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง และการสร้างมโนภาพถึง อาตมันของพระองค์ ที่มีคุณลักษณะดังกล่าว หลังจากนั้น จึงทำการพิสูจน์ถึงการมีอยู่ของพระองค์ ในสภาพที่เป็น สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ และเป็นผู้ทรงดูแลและจัดระบบและระเบียบให้กับโลกใบนี้ เป็นอันดับแรก  แล้วจะมาพิสูจน์ในคุณลักษณะประการอื่นๆ เป็นอันดับต่อไป

การพิสูจน์ในคุณลักษณะประการแรก ถูกเรียกว่า “คุณลักษณะในลำดับแรก”

การพิสูจน์ในคุณลักษณะประการอื่นๆ ถูกเรียกว่า “คุณลักษณะในลำดับรอง”

ในบทที่เกี่ยวกับคุณลักษณะของพระเจ้า จะมาอธิบายกันต่อไป ถึงคุณลักษณะในลำดับแรก นั่นก็คือ สิ่งจำเป็นต้องมีอยู่ของพระองค์ ซึ่งเป็นบรรทัดฐานต่อการพิสูจน์ในการมีอยู่ของคุณลักษณะประการอื่นๆ

๖๑

   อัล กุรอานกับความต้องการของสิ่งมีชีวิตยังพระเจ้า

  ข้อพิสูจน์วุญูบและอิมกาน มิได้ถูกกล่าวไว้ในอัล กุรอาน แต่บางโองการของอัล กุรอานได้กล่าวถึง ความต้องการของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายยังพระเจ้า ซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกับข้อพิสูจน์นี้

อัล กุรอานกล่าวว่า

“โอ้มนุษย์เอ๋ย สูเจ้าเป็นผู้ขัดสนต้องการพึ่งอัลลอฮ์ (พระเจ้า) และอัลลอฮ์ทรงไม่ต้องการสิ่งใดเลย พระองค์ควรค่าแด่การสรรเสริญยิ่ง” (บทอัลฟาฏิร โองการที่ ๑๕)

ดังนั้น ความหมายของ “ความต้องการ” ในโองการนี้บ่งบอกว่า มนุษย์มีความต้องการพึ่งยังพระเจ้า และในบางโองการได้กล่าวถึงสิ่งถูกสร้างอื่น และรวมทั้งมนุษย์ด้วย ในขณะที่พระเจ้า เป็นพระผู้ทรงสร้างทุกสรรพสิ่ง

อัล กุรอานกล่าวอีกว่า

“หรือว่าพวกเขาถูกสร้างมาโดยไม่มีผู้สร้าง หรือว่าพวกเขาเป็นผู้สร้างเสียเอง?”

 ( บทอัฏฏูร โองการที่ ๓๕ )

โองการนี้ได้กล่าวถึง มนุษย์ทุกคน เป็นสิ่งถูกสร้างของพระเจ้า เพราะว่า มนุษย์นั้นไม่มีอยู่มาดั้งเดิม หลังจากนั้นมนุษย์ก็เกิดขึ้นมา

การเกิดขึ้นของมนุษย์ จึงมีด้วยกัน ๒ สภาพ

๑.มนุษย์เกิดขึ้นเองโดยที่ไม่มีสาเหตุ

๒.มนุษย์เกิดขึ้นได้ด้วยตัวของเขาเอง

๖๒

ดังนั้น ทั้งสองสภาพนี้ ถือว่าไม่ถูกต้อง จะคงเหลือเพียงสมมุติฐานหรือสภาพเดียว นั่นก็คือ มนุษย์เกิดขึ้นมาจากพระผู้ทรงสร้างเพียงพระองค์เดียว ดังนั้น โองการนี้ได้กล่าวว่า พระเจ้า เป็นผู้ทรงสร้างมนุษย์ทั้งหลายขึ้นมา

   ศัพท์วิชาการท้ายบทที่ ๔

    

วาญิบุลวุญูด หมายถึง สิ่งจำเป็นต้องมีอยู่         : Necessary existence

                                                      มุมกินุลวุญูด หมายถึง สิ่งที่ต้องพึ่งพาสิ่งอื่น   : Possible existence

 : Cause and effect   กฏที่ว่าด้วยเหตุและผล

  ตะซัลซุล หมายถึง กฏลูกโซ่ : Endless regress

กฏวัฏจักรที่เปิดเผย : Period of concealment

  กฏวัฏจักรที่ซ่อนอยู่ : Cycle of unveiling

 คุณลักษณะลำดับแรก 

 คุณลักษณะลำดับรอง

๖๓

   สรุปสาระสำคัญ

๑.การรู้จักพระเจ้าด้วยเหตุผลทางสติปัญญา หมายถึง การรู้จักพระองค์โดยการอาศัยหลักปรัชญาและกฏต่างๆของตรรกศาสตร์  ดังนั้น การเข้าใจในข้อพิสูจน์ที่เกิดขึ้นจากเหตุผลทางสติปัญญานี้ มีความยุ่งยากสำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจในหลักของปรัชญา ซึ่งต้องผ่านการศึกษาในวิชาปรัชญาก่อน จึงจะมีความเข้าใจได้

๒.เหตุผลทางสติปัญญาการพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้าและการรู้จักพระองค์ เมื่อได้เปรียบเทียบกับเหตุผลอื่นๆ ถือว่ามีประโยชน์มากกว่า เพราะว่าสามารถใช้ในการโต้ตอบกับผู้ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า และยังมีผลในการเสริมสร้างความศรัทธาให้กับผู้ศรัทธาอีกด้วย ในเวลาที่พวกเขาประสบกับปัญหาต่างๆในการดำเนินชีวิต      

๓.มุมกินุลวุญูด คือ สิ่งที่สามารถจะมีอยู่ก็ได้หรือไม่มีอยู่ก็ได้ หมายความว่า การมีอยู่ของสิ่งนั้นไม่มีความจำเป็นและสามารถที่จะแยกออกจากกันได้

วาญิบุลวุญูด คือ สิ่งที่มีความจำเป็นที่จะต้องมีอยู่ และไม่สามารถที่จะแยกมันจากการมีได้

๔.ความหมายของกฏแห่งปฐมเหตุ หมายถึง ทุกสรรพสิ่งเป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพา และในการเกิดขึ้นของสิ่งนั้นมีความต้องการไปยังสิ่งอื่น ดังนั้น ตามหลักของกฏแห่งปฐมเหตุ คือ ทุกสรรพสิ่งเป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพา ซึ่งมีความต้องการเหตุในการเกิดขึ้นของสิ่งนั้น

๖๔

๕.การเกิดขึ้นของกฏของลูกโซ่ หมายความว่า การที่ไม่มีที่สิ้นสุดของลูกโซ่ในเหตุและผลต่างๆ และเช่นเดียวกัน กฏแห่งวัฏจักร มีความหมายว่า สิ่งหนึ่งด้วยการที่ต้องพึ่งพาสื่อหรือไม่ต้องพึ่งพาสื่อ เป็นสาเหตุให้กับสิ่งนั้น ดังนั้น ทั้งสองกฏ กล่าวคือ กฏของลูกโซ่และกฏแห่งวัฏจักร จะเกิดขึ้นไม่ได้ ในความเป็นจริง

๖.บทสรุปของข้อพิสูจน์วุญูบและอิมกาน คือ สิ่งที่อยู่ในโลกนี้ มีสองอย่าง คือ สิ่งที่เป็นมุมกินุลวุญูด(สิ่งสามารถมีอยู่ได้) หรือเป็นวาญิบุลวุญูด(สิ่งจำเป็นต้องมีอยู่) และการมีอยู่ของพระเจ้า เป็น วาญิบุลวุญูด หมายความ พระองค์เป็นสิ่งจำเป็นต้องมีอยู่

๖๕

ภาคที่สอง

เตาฮีด (ความเป็นเอกานุภาพของพระเจ้า)

     บทที่ ๑ ความเป็นเอกานุภาพของพระเจ้า

     เนื้อหาทั่วไป

    ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาแห่งเอกะเทวนิยม ที่มีคำสอนหลักในเตาฮีด (ความเป็นเอกานุภาพของพระเจ้า) และ การเคารพภักดีต่อพระเจ้าเพียงองค์เดียว  ดังนั้น เตาฮีดในทัศนะของอิสลาม  จึงถือว่า มีความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะว่าพระมหาคัมภีร์อัล กุรอาน ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นอมตะนิรันดร์ ได้กล่าวย้ำถึงหลักศรัทธานี้ และจะเห็นได้ว่า ความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้านั้นอยู่ควบคู่กับการยอมรับในสภาวะความเป็นศาสดาของท่านศาสดามุฮัมหมัด  (ซ็อล)  นั่นคือ หนึ่งในเงื่อนไขของการที่จะเข้ารับอิสลาม ศาสนาแห่งความสันติ และความผาสุก ดังนั้น การรู้จักถึงพระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว และการเคารพภักดีต่อพระองค์ ก็คือ ความหมายของความเป็นเอกานุภาพ และหลักการนี้ก็มิได้ถูกจำกัดในหลักศรัทธาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังได้ครอบคลุมถึงคำสอนอื่นๆอีกด้วย เช่น ในหลักปฏิบัติ ,หลักศีลธรรมและจริยธรรม ซึ่งจะเห็นได้ว่า ระบบของจริยธรรมอิสลามนั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นเอกานุภาพ และส่วนมากของหลักปฏิบัติ ก็เกิดขึ้นมาจากหลักความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าด้วยเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ยังมีผลต่อมนุษย์ทั้งในด้านความคิด ,ความศรัทธาและในการปฏิบัติ  และจากความเชื่อในหลักการนี้ สามารถที่จะบอกถึงความแตกต่างระหว่างมนุษย์ผู้ที่มีความศรัทธาต่อพระเจ้ากับมนุษย์ผู้ที่ได้ปฏิเสธพระองค์ได้อย่างชัดเจน

๖๖

 

และในตอนท้าย สามารถสรุปได้ว่า หลักเตาฮีด(ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า) คือ รากฐานของต้นไม้แห่งอัล-อิสลาม ส่วนหลักการอื่น ไม่ว่าจะเป็น หลักการศรัทธา ,หลักการปฏิบัติ และหลักศีลธรรม ,จริยธรรมทั้งหมดเหล่านั้น เป็นดั่งกิ่งก้านสาขา อีกทั้งยังเป็นดั่งผลผลิตของต้นไม้ต้นนั้นอย่างแน่นอน

    ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าที่มีกล่าวไว้ในศาสนาอื่นๆ          

    โองการต่างๆของอัล กุรอานและหลักฐานจากประวัติศาสตร์ได้บันทึก และยืนยันอย่างชัดเจนว่า ความเชื่อในเอกานุภาพมิได้ถูกจำกัดหรือเฉพาะเจาะจงกับศาสนาอิสลามเท่านั้น แต่ทว่าบรรดาศาสดา ต่างได้เชิญชวนมนุษยชาติสู่ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสิ้น และในคำสอนของทุกศาสนา ก็มีคำสอนในหลักการนี้ ด้วยเช่นเดียวกัน

อัล กุรอาน กล่าวว่า

“เรามิได้ส่งศาสนทูตใดมาก่อนเจ้า (มุฮัมมัด) นอกจาก เราได้ประทานวะฮ์ยู (การวิวรณ์) ว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากฉัน เจ้าจงทำการเคารพภักดีต่อฉัน” (บทอัลอัมบิยา โองการที่ ๒๕ )

และสาเหตุของการเกิดการสู้รบของบรรดาศาสดา ก็มาจากความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า และการให้ทัศนะที่แตกต่างกัน เช่น การเป็นประกาศการเป็นศัตรูของนัมรูดกับศาสดาอิบรอฮีม เพราะว่า ศาสดาอิบรอฮีมได้เชิญชวนให้มาสู่ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ในขณะที่เขาได้ปฏิเสธ และไม่เชื่อในหลักการศรัทธานี้

    ความหมายที่ลึกซึ้งของความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าในทัศนะของอิสลาม

    ได้กล่าวไปแล้วว่า ความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า มิได้ถูกจำกัดหรือเฉพาะเจาะจงกับศาสนาอิสลาม เพียงศาสนาเดียวเท่านั้น แต่ทว่าบรรดาศาสดาทุกท่านได้เชิญชวนประชาชาติมาสู่ความเป็นเอกานุภาพของพระองค์ และการเชิญชวนไปสู่ความเป็นเอกานุภาพในคำสอนของบรรดาศาสดานั้น ก็มิได้มีความแตกต่างกับอิสลามมากสักเท่าใด แต่เพียงเป็นการเน้นย้ำอีกครั้ง ในหลักศรัทธา ที่ได้นำมาจาก อัล กุรอาน และวจนะ ของบรรดาผู้นำ ผู้บริสุทธิ์ (ขอความสันติพึงมีแด่พวกท่าน) ซึ่งมีความหมายที่ลึกซึ้งและละเอียดอ่อน

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ของอิสลาม เป็นหลักการที่มนุษย์ธรรมดาเข้าใจได้ว่า  คือ บทเรียนแห่งการดำเนินชีวิตของพวกเขา และยังมีประโยชน์อีกมากมาย อีกทั้งบรรดานักปรัชญา,

นักเทววิทยาและนักรหัสยวิทยาอิสลามต่างก็ได้เชิญชวนมนุษย์ให้ใช้สติปัญญาและหาเหตุผลมาพิสูจน์ถึงหลักการนี้ ด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้น ความเชื่อหลักการนี้ในอิสลาม มีการอธิบายที่มีความหมายลึกซึ้ง และมีลักษณะที่พิเศษ เพราะว่า ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาสุดท้าย หลังจากศาสนาอิสลาม ไม่มีศาสนาอื่นเกิดขึ้นมาอีก ซึ่งศาสนาอิสลามก็ยังสามารถตอบปัญหาได้ทุกปัญหาอีกด้วย

๖๗

    ความหมายทางภาษาของ เตาฮีด

    คำว่า “เตาฮีด” ในภาษาอาหรับ มาจากรากศัพท์ของคำว่า วะฮะดะ เป็นคุณศัพท์ มาจากบาบตัฟอีล ความหมายหนึ่งของบาบนี้  คือ การมีอยู่ของคุณลักษณะประการหนึ่งในสิ่งหนึ่ง เหมือนกับคำว่า ตะอฺซีม หมายถึง การมีความสูงส่ง และคำว่า ตักฟีร หมายถึง การมีความปฏิเสธ ด้วยเหตุนี้ เตาฮีด จึงมีความหมายว่า  การมีความเป็นหนึ่งเดียว

พึงสังเกตุไว้เถิดว่า อัลกุรอานได้กล่าวถึง คำที่มีความหมายว่า เตาฮีด(ความเป็นหนึ่งเดียว) ไว้มากมาย ในขณะเดียวกันก็มิได้ใช้คำว่า เตาฮีด และคำที่คล้ายคลึงกัน แต่กลับใช้คำที่อธิบายในความหมายของเตาฮีดแทน ในขณะที่วจนะทั้งหลาย ได้กล่าวคำว่า เตาฮีด และคำที่คล้ายคลึงกันไว้อยู่มาก

    ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎี ความศรัทธา และการปฏิบัติ

    เตาฮีด(ความเป็นเอกานุภาพ) สามารถที่จะแบ่งได้ ๒ ประเภท มีดังนี้

๑.ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎี ความศรัทธา หมายถึง ความเชื่อในความเป็นหนึ่งเดียวและความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ว่าในอาตมัน, คุณลักษณะ และในกริยา การกระทำ

๖๘

๒.ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ หมายถึง การปฏิบัติและการกระทำที่ตรงกับความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพ ซึ่งหมายความว่า มนุษย์จะต้องปฏิบัติตามความเชื่อในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า เช่น ในการเคารพภักดี ก็เป็นประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ หมายถึง การเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว และไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากพระองค์เท่านั้น

    ความหมายในเชิงวิชาการของ ความเป็นเอกานุภาพ

    การให้คำนิยามของความเป็นเอกานุภาพที่สมบูรณ์แบบที่สุดนั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะว่า การให้คำนิยามที่ครอบคลุมในทุกประเภทนั้นมีความยากลำบาก แต่หลังจากที่เราได้แบ่งประเภทของความเป็นเอกานุภาพออกเป็น  ๒ ประเภท ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา และการปฏิบัติ ก็สามารถที่จะให้คำนิยามตามความหมายในเชิงวิชาการได้ ดังนี้

ความเป็นเอกานุภาพในเชิงวิชาการ  หมายถึง  “ความเชื่อในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า ในอาตมัน ,คุณลักษณะ และรวมถึง กริยา การกระทำของพระองค์ด้วย อีกทั้งยังมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามความเชื่อนี้”

หลังจากที่ยอมรับว่า การให้คำนิยามของหลักเอกภาพนั้นไม่ค่อยจะสมบูรณ์แบบมากเท่าไร แต่การให้คำนิยาม ก็เพื่อที่จะทำให้มีความเข้าใจในความหมายของความเป็นเอกานุภาพได้มากยิ่งขึ้น

๖๙

    อีกสองความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพ

    บางครั้งความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพ ที่ถูกกล่าวไว้ในหลักศรัทธา มีความหมายกว้าง ซึ่งได้ครอบคลุมความหมายของ

ความเป็นเอกานุภาพในเชิงวิชาการด้วย และได้รวมถึงประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า ไม่ว่าจะเป็น การรู้จักพระองค์, เหตุผลการมีอยู่ของพระองค์ ,การพิสูจน์คุณลักษณะของพระองค์ และอื่นๆ เป็นต้นฯ

นักเทววิทยาอิสลามบางคน ได้ให้คำนิยามของ ความเป็นเอกานุภาพ อีกสองความหมาย ก็คือ ความหมายโดยทั่วไป และความหมายที่เฉพาะเจาะจง มีดังนี้

“พึงรู้ไว้เถิดว่า ความหมายที่แท้จริงของความเป็นเอกานุภาพ หมายถึง ความเชื่อที่ไม่มีข้อคลางแคลงใดๆในพระผู้เป็นเจ้าและไม่มีการตั้งภาคีใดๆในอาตมัน, พระนามและคุณลักษณะของพระองค์”.........

ส่วนอีกความหมายหนึ่งของ ความเป็นเอกานุภาพ เป็นหนึ่งในรากฐานห้าประการของศาสนา คือ การรู้จักถึงพระจ้าในอาตมันและคุณลักษณะของพระองค์.......( อันนิซอมียะฮ์ ฟียฺ มัศฮับ อัลอิมามียะฮ์ หน้าที่ ๗๗ )

จากความหมายข้างต้นนี้ บ่งบอกถึงความหมายที่เฉพาะเจาะจงของความเป็นเอกานุภาพ นั่นคือ  ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า และการปฏิเสธการตั้งภาคีทั้งหลาย และความหมายทั่วไปของความเป็นเอกานุภาพ ก็คือ การพิสูจน์ว่าพระเจ้า และคุณลักษณะของพระองค์มีอยู่จริง นอกเหนือจากที่ได้กล่าวไปแล้ว

๗๐

 ยังมีอีกสอง ประเด็นที่สำคัญ คือ

๑.ความเป็นเอกานุภาพ เป็นหนึ่งในห้าประการของหลักศรัทธา ต่อจาก หลักศรัทธาต่อความยุติธรรมของพระเจ้า ,หลักศรัทธาต่อสภาวะความเป็นศาสดา ,หลักศรัทธาต่อวันแห่งการตัดสิน และหลักศรัทธาต่อสภาวะความเป็นผู้นำของวงศ์วานผู้บริสุทธิ์ทั้งหลายสืบต่อจากศาสดามุฮัมมัด

 ด้วยเหตุนี้ ความหมายทั่วไปของความเป็นเอกานุภาพ  หมายถึง การรู้จักถึงพระเจ้า

๒.สาเหตุการเรียกชื่อ การรู้จักถึงพระเจ้า ว่า ความเป็นเอกานุภาพ ถือว่าเป็นการตั้งชื่อที่สมบูรณ์แบบ เพราะว่า มีความหมายครอบคลุมในทุกประเด็นที่เกี่ยวกับการรู้จักพระองค์ และยังถือว่า ความเป็นเอกานุภาพ เป็นหนึ่งในหลักศรัทธาที่สำคัญของอิสลามอีกด้วย

    ความเป็นเอกานุภาพในมุมมองของเทววิทยาอิสลาม

    ก่อนที่จะอธิบายในความเป็นเอกานุภาพของพระเจ้า มีคำถามเกิดขึ้นว่า ความเป็นเอกานุภาพ เป็นประเด็นที่ถูกกล่าว  ไว้ในห้วข้อใดของเทววิทยาอิสลาม?

คำตอบ จากการสังเกตในความหมายของความเป็นเอกานุภาพ จะเห็นได้ว่า ความเป็นจริงและสารัตถะของความเป็น เอกานุภาพ ก็คือ เป็นส่วนหนึ่งของคุณลักษณะบางประการของพระผู้เป็นเจ้า นั่นคือ ความเป็นเอกะและเป็นความเป็นหนึ่งเดียวของพระองค์

ด้วยเหตุนี้ บรรดานักเทววิทยาอิสลาม จึงมีสองวิธีการที่ใช้ในการอธิบายถึง ความเป็นเอกานุภาพของพระเจ้า ซึ่งมีดังนี้

๗๑

๑.ความเป็นเอกานุภาพ เป็นส่วนหนึ่งของคุณลักษณะของพระเจ้าบางประการของพระเจ้า ซึ่งรวมถึงคุณลักษณะประการอื่นๆ ของพระองค์ด้วย

๒.ความเป็นเอกานุภาพ เป็นประเด็นอิสระ เนื่องจากเป็นประเด็นที่มีความสำคัญต่อในการรู้จักถึงพระเจ้า

และ จะมาอธิบายกันในวิธีการทั้งสองของ ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ในบทต่อไป

ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าในมุมมองของอัลกุรอาน และวจนะ

    หลังจากที่อธิบายไปแล้วว่า ความเป็นเอกานุภาพ เป็นหนึ่งในหลักศรัทธาที่สำคัญของอิสลาม นอกเหนือจาก เป็นประเด็นหนึ่งของการรู้จักพระเจ้า และได้รวมถึงประเด็นต่างๆในหลักจริยธรรม และในหลักการปฏิบัติก็มีความสำคัญต่อหลักการนี้ด้วย

และด้วยเหตุนี้ อัล กุรอานและวจนะของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และวจนะของบรรดาอิมาม ผู้นำ ผู้บริสุทธิ์ (ขอความสันติพึงมีแด่พวกท่าน) ซึ่งเป็นคำสอนของพระผู้เป็นเจ้า ก็ได้ให้ความสำคัญในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า เช่นเดียวกัน

๗๒

 ณ ที่นี้ ได้ขอนำเอาบางส่วนของโองการจากอัล กุรอาน และวจนะที่กล่าวถึง เตาฮีด แต่สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม สามารถศึกษา และค้นคว้าได้จากตำราที่เกี่ยวกับการอรรถาธิบายอัลกุรอาน เป็นอันดับต่อไป

    ความสำคัญของความเป็นเอกานุภาพในศาสนาอิสลามและศาสนาอื่น

   ได้กล่าวไปแล้วว่าความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า มิได้ถูกจำกัดหรือเฉพาะเจาะจงกับศาสนาอิสลามเท่านั้น แต่ทว่าบรรดาศาสดาทุกคนต่างก็ได้เชิญชวนมนุษย์มาสู่ความเป็นเอกานุภาพด้วยเหมือนกัน

  อัล กุรอานกล่าวว่า

“เรามิได้ส่งศาสนทูตใดมาก่อนเจ้า (มุฮัมมัด) นอกจากเราได้ลงการวิวรณ์ ว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากฉัน เจ้าจงทำการเคารพภักดีต่อฉัน” (บทอัลอัมบิยา โองการที่๒๕)

   และอัล กุรอานกล่าวอีกว่า

“และแน่นอนที่สุด เราได้ส่งศาสนทูตมาในทุกประชาชาติ ดังนั้น พวกเจ้าจงเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์(พระเจ้า) และออกห่างจากการบูชาเจว็ด(การตั้งภาคี)”  (บทอัลนะฮ์ลฺ โองการที่๓๖)

๗๓

และวจนะหนึ่ง เป็นคำกล่าวของ ท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวไว้ในสุนทรโรวาทเกี่ยวกับสาเหตุของการแต่งตั้งศาสนทูต ว่า

“เมื่อส่วนมากของประชาชาติได้เปลี่ยนแปลงพันธสัญญาที่ให้ไว้กับอัลลอฮ์ (พระเจ้า) แล้วพวกเขาไม่รู้จักในสิทธิของพระองค์ และได้ยึดถือสิ่งอื่นเคียงข้างพระองค์ เมื่อนั้น พระองค์จะทรงแต่งตั้งศาสนทูตมาเพื่อตอกย้ำในพันธสัญญาอันนั้น”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๑ )

จากวจนะนี้ แสดงให้เห็นว่า ในช่วงแรกของประวัติศาสตร์การถือกำเนิดของมนุษย์ พวกเขาได้ให้พันธสัญญากับพระเจ้า แต่พวกเขาก็มิได้รักษาพันธสัญญาที่ให้ไว้กับพระองค์ และได้ยึดถือสิ่งอื่นคียงข้างพระองค์

ด้วยเหตุนี้ พระผู้เป็นเจ้า มีความจำเป็นที่จะต้องแต่งตั้งศาสนทูตมา เพื่อทำให้มนุษยชาติได้สำนึกในพันธสัญญาที่ให้ไว้กับพระองค์ และให้พวกเขาออกห่างจากการตั้งภาคีทั้งหลาย

อัล กุรอาน ซึ่งเป็นคัมภีร์สุดท้าย ได้กล่าวเน้นย้ำในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า มีดังนี้

ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ หมายถึง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์

ลาอิลาฮะ อิลลาฮุวะ หมายถึง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์

ลาอิลาฮะ อิลลาอะนา หมายถึง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากฉัน

ลาอิลาฮะ อิลลาอันตะ หมายถึง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากท่าน

อิลาฮุกุม อิลาฮุน วาฮิด หมายถึง พระผู้เป็นเจ้าของเจ้า มีเพียงพระองค์เดียว

มามิน อิลาฮิน อิลลัลลอฮฺ หมายถึง ไม่มีจากพระเจ้าอื่นใดเลย นอกจากอัลลอฮ์

มามิน อิลาฮิน อิลลา อิลาฮุนวาฮิด หมายถึง ไม่มีจากพระเจ้าอื่นใด นอกจากพระเจ้าองค์เดียวเท่านั้น

มาละกุมมิน อิลาฮิน ฆ็อยรุฮู หมายถึง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์เท่านั้น

ท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ็อลฯ) ก็เช่นกัน ได้ประกาศเชิญชวนประชาชาติของท่านมาสู่ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าซึ่งถือว่า เป็นหน้าที่หลักและสำคัญของท่าน

ดั่งในโองการที่กล่าวว่า

“จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) อันที่จริง ฉันถูกบัญชารับสั่งให้ทำการเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์ และฉันจะไม่ตั้งภาคีเท่าเทียมกับพระองค์ และเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่ฉันจะเชิญชวนเรียกร้อง และเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่ฉันจะหวนกลับ” (บทอัรเราะอ์ด์ โองการที่ ๓๖)

อัล กุรอานกล่าวว่า

“จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด แท้จริงฉันได้รับการวิวรณ์มา ให้ประกาศว่า แท้จริงพระเจ้าของพวกท่านนั้นคือพระเจ้าองค์เดียว ดังนั้นพวกท่านยังมิยอมนอบน้อมอีกหรือ?” (บทอัลอัมบิยาอ์ โองการที่ ๑๐๘)

และอัล กุรอานกล่าวอีกว่า

 “และโดยแน่นอน เราได้ส่งนูห์ไปยังกลุ่มชนของเขา (โดยกล่าวว่า) แท้จริงฉันเป็นผู้ตักเตือนอันแน่ชัดแก่พวกท่าน แล้วพวกท่านอย่าเคารพภักดีผู้ใดนอกจากอัลลอฮ์เท่านั้น แท้จริงฉันกลัวแทนพวกท่านถึงการลงโทษในวันอันแสนเจ็บปวด”(บทฮูด โองการที่๒๕-๒๖)

นอกเหนือจาก โองการเหล่านี้แล้ว ยังมีโองการอื่นๆอีกมากมาย และมีวจนะทั้งหลายอีกที่กล่าวถึง ความเป็นเอกานุภาพและประเภทต่างๆ และผลประโยชน์ของความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพ ก็คือ การออกห่างจากการตั้งภาคีทั้งหลาย ซึ่งจะมากล่าวเป็นอันดับต่อไป

๗๔

   ศัพท์ทางวิชาการท้ายบท

เตาฮีด หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า

   : Oneness of God, Monotheism

ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ   : Monotheism in deeds  

ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา       : Monotheism in belief    

  สรุปสาระสำคัญ

๑.ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาแห่งเอกะเทวนิยมหรือศาสนาที่มีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า นั่นก็คือความหมายของเตาฮีด(ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า) ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของอิสลาม และความเป็นเอกานุภาพของพระองค์ มิได้ถูกจำกัด และเฉพาะเจาะจงในหลักศรัทธาเพียงเท่านั้น แต่ยังได้รวมถึงในหลักการปฏิบัติ และหลักศีลธรรม จริยธรรมอีกด้วย

๒.ความเป็นเอกานุภาพ มิได้ถูกจำกัด และเฉพาะเจาะจงในอิสลามเพียงศาสนาเดียวเท่านั้น แต่ในทุกศาสนาก็มีคำสอนในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเช่นเดียวกัน

๓.คำสอนของความเป็นเอกานุภาพของอิสลามนั้น มีคำอธิบายที่ลึกซึ้งและละเอียดอ่อน โดยที่มิได้มีกล่าวในคำสอนของศาสนาใดมาก่อน อีกทั้งมนุษย์ธรรมดาก็มีความสามารถที่จะเข้าใจในความหมายของความเป็นเอกานุภาพได้

๗๕

 ในขณะที่บรรดานักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญนั้น มีความเข้าใจในความหมายได้มากกว่า

๔.คำว่า เตาฮีดในด้านภาษา แปลว่า การมีหนึ่ง ซึ่งในอัล กุรอานมิได้กล่าวถึงคำนี้ แต่ในวจนะของท่านศาสดาและบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ได้กล่าวถึงคำนี้และมีการกล่าวคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน

๕.ความเป็นเอกานุภาพ สามารถแบ่งออกเป็น สอง ประเภทได้ ดังนี้

๑.ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา  หมายถึง ความเชื่อว่ามีพระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว ในอาตมัน(ตัวตน) ,กริยา การกระทำ และคุณลักษณะของพระองค์

๒.ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ หมายถึง การปฏิบัติตามความเชื่อในการมีพระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว

๖.ความหมายหนึ่งของ ความเป็นเอกานุภาพ คือ ความเชื่อในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ว่าในอาตมัน ,กริยา การกระทำ และคุณลักษณะของพระองค์ อีกทั้งความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามความเชื่อนี้

๗.บางครั้งมีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งได้รวมถึงในทุกประเด็นที่เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า

๘.ความเป็นเอกานุภาพในมุมมองหนึ่ง เป็นประเด็นของคุณลักษณะบางประการของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเป็นประเด็นย่อย แต่บางครั้ง ก็ถือว่า เป็นประเด็นหลัก

๙.อัล กุรอานและวจนะของอิสลาม ได้กล่าวเน้นย้ำในความเป็นเอกานุภาพไว้อย่างมากมาย

๑๐.ความเป็นเอกานุภาพ คือหน้าที่หลักที่มีความสำคัญมากที่สุดในการเชิญชวนของบรรดาศาสดา และโดยเฉพาะท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ็อล)

๗๖

   บทที่ ๒

   ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน ตัวตนของพระเจ้า

 (เตาฮีด ซาตีย์)

   หลังจากที่ได้แบ่งประเภทของ ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ออกเป็น ๒ ประเภท คือ ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา และในการปฏิบัติ ซึ่งแต่ละประเภทก็สามารถที่จะแบ่งออกเป็นประเภทย่อยๆได้หลายประเภทด้วยกัน   ด้วยเหตุนี้ ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา จึงแบ่งออกได้อีก ๓ ประเภท ซึ่งมีดังนี้

๑. ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน ตัวตน

๒. ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

๓. ความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำ

อันดับแรก จะขอธิบายในความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน หลังจากนั้นจะมากล่าวถึงประเภทอื่น เป็นอันดับต่อไป

๗๗

   ความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน ในมุมมองต่างๆ

   ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน ในด้านวิชาการ หมายถึง การไม่เหมือนสิ่งใด และไม่มีสิ่งใดเหมือนกับอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า และในบางครั้ง ยังมีความหมายกว้างกว่านี้อีก นอกเหนือจาก ความหมายข้างต้นแล้ว ได้ครอบคลุมถึง ความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า และการปฏิเสธการมีส่วนประกอบในอาตมันของพระองค์

ดังนั้น จากทัศนะนี้ แสดงให้เห็นว่า ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน มีด้วยกันอยู่  ๒ ประเด็น ซึ่งมีดังนี้

๑.ความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้าในทุกสภาวะ และการไม่มีส่วนประกอบใดในอาตมันของพระองค์

ด้วยเหตุนี้ การยอมรับในทัศนะนี้   หมายถึง การปฏิเสธการมีส่วนประกอบในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า

๒.การไม่เหมือนสิ่งใด และไม่มีสิ่งใดเหมือนกับอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า

ด้วยเหตุนี้ การยอมรับในทัศนะนี้ หมายถึง การปฏิเสธการมีอยู่ของสิ่งอื่นที่อยู่เคียงข้างกับอาตมันของพระองค์

๗๘

พึงสังเกตุได้เถิดว่า ในทัศนะที่หนึ่ง กล่าวว่า อาตมันของพระผู้เป็นเจ้ามิได้มีส่วนประกอบ และทัศนะที่สองกล่าวถึง  การไม่มีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์ โดยนักเทววิทยาอิสลามบางคน เรียกทัศนะแรกว่า เตาฮีด อะฮะดีย์ หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพในอาตมันโดยที่ไม่มีสิ่งอื่นอยู่เคียงข้าง ส่วนในทัศนะที่สองเรียกว่า เตาฮีด วาฮิดีย์ หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพ และความเป็นหนึ่งเดียวของพระผู้เป็นเจ้าที่ไม่มีความเป็นสองหรือสามตามมา

ดังนั้น ความหมายที่ชัดเจนของความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน หมายถึง ได้รวมการปฏิเสธการมีส่วนประกอบทุกชนิดในพระเจ้า และการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์

และก่อนจะกล่าวถึง มุมมองและทัศนะต่างๆของความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน และการให้เหตุผลของบรรดานักเทววิทยาอิสลาม จะขอกล่าวเน้นย้ำอีกว่า ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน ที่กล่าวในอัล กุรอาน และวจนะของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และบรรดาวงศ์วานผู้บริสุทธิ์ของท่าน (ขอความสันติพึงมีแด่พวกท่าน)  เป็นประเด็นที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีความหมายที่ลึกซึ้งและละเอียดอ่อนยากที่จะเข้าใจในรายละเอียดของมันได้ ซึ่งต้องอาศัยการอธิบายในบทนำเบื้องต้น หลังจากนั้น จะขอกล่าวถึงการใช้เหตุผลทางสติปัญญาที่สามารถได้รับจากโองการทั้งหลายของอัล กุรอานที่กล่าวถึงความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน

๗๙

   ความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า

   ทัศนะที่หนึ่งกล่าวว่า มีความเชื่อว่า ความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า และการปฏิเสธการมีส่วนประกอบทุกชนิดในอาตมันของพระองค์ ซึ่งก็เป็นอีกประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน  และจากทัศนะนี้ นักเทววิทยาอิสลามบางคน ได้กล่าวว่า ประเด็นหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน คือ ประเด็นที่เกี่ยวกับคุณลักษณะในด้านลบของพระผู้เป็นเจ้า หมายถึงคุณลักษณะที่ไม่มีในพระองค์ มิใช่ประเด็นนี้ เป็นประเด็นหลักของ ความเป็นเอกานุภาพ เพราะว่า การปฏิเสธการมีส่วนประกอบทุกชนิดในพระผู้เป็นเจ้า ก็คือ คุณลักษณะหนึ่งในด้านลบของพระองค์

จะเห็นได้ว่า การมีส่วนประกอบนั้น ถูกแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด 

๑.การมีส่วนประกอบในด้านสติปัญญา หมายถึง การมีส่วนประกอบของสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการจำแนกของสติปัญญา โดยการใช้หลักของปรัชญาในการจำแนก เช่น การแบ่งสิ่งหนึ่งออก เป็นสองส่วน หมายถึง การมีกับการไม่มีของสิ่งนั้น กล่าวคือ ไม่สามารถรวมสิ่งหนึ่งจากการมีและการไม่มี เพราะฉะนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ ที่สิ่งหนึ่งจะมีและไม่มีในเวลาเดียวกัน และการมีส่วนของสสาร โดยแบ่งออกเป็น สารัตถะ และการมีของสสาร การมีส่วนของสสารที่ไม่สมบูรณ์ ก็ถูกแบ่งออกเป็น การมีสกุล (ญินซ์)และการมีลักษณะความแตกต่าง (ฟัศล์) และการมีรูปแบบทั้งหมดในการจินตนาการและการสร้างมโนภาพ ก็เป็นตัวอย่างของการมีส่วนประกอบในด้านสติปัญญา

๘๐