ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด14%

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 130

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 130 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 78835 / ดาวน์โหลด: 4954
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ชื่อหนังสือ อัตชีวประวัติอิมามมะอฺศูมีน ๙

อิมามมุฮัมมัด อัล ญะวาด(อฺ)

ผู้เขียน ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล

แปล

อาจารย์อัยยูบ ยอมใหญ่

ทางเว็บไซต์อัลฮะซะนัยน์ได้เรียบเรียงและแก้ไขเนื้อหาบางส่วนเนื่องด้วยต้นฉบับเป็นหนังสือเล่มนี้เกี่ยวกับชีวประวัติของสอง

อิมาม กล่าวคือ อิมามมุฮัมมัด อัลญะวาด และอิมามอะลี อัลฮาดีย์

เพื่อง่ายดายสำหรับท่านผู้อ่าน ทางเจ้าหน้าที่ได้แบ่งออกเป็นสอง เล่มด้วยกัน

เล่มแรก อัตชีวประวัติอิมามมุฮัมมัด อัลญะวาด

เล่มที่สอง อัตชีวประวัติอิมามอะลี อัลฮาดีย์

จัดทำโดย เว็บไซต์ alhassanain.org

 บทนำ

หนังสือเล่มนี้ขอนำเสนอวิถีชีวิตของท่านอิมามญะวาด(อฺ)จริยธรรมมารยาท คำสั่งเสีย คติพจน์การตอบข้อสงสัยต่อปัญหาทั้งปวงของท่านอิมาม(อฺ)แล้วจะกล่าวในตอนท้ายถึงถ้อยคำที่เชิดชูและสรรเสริญของบรรดาอุละมาอ์ นักปราชญ์ของโลกอิสลามที่มอบแด่ท่านอิมาม(อฺ)

บุคลิกภาพของท่านอิมามอะบูญะอฺฟัร(อฺ)นั้นสูงส่งเกินกว่าที่จะให้คำจำกัดความได้เลิศล้ำเกินกว่าคำสรรเสริญใด ทุกถ้อยคำที่เต็มไปด้วยการยกย่องสรรเสริญที่มีต่อท่านอิมาม(อฺ)และบรรพบุรุษอีกทั้งลูกหลานของท่านนั้นไม่อาจเทียบได้กับถ้อยคำแห่งการยกย่องของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่มีต่อพวกท่าน(อฺ)ดังที่ได้กล่าวไว้ในอัล-กุรอาน ทุกถ้อยคำที่เต็มไปด้วยการยกย่องสดุดีของพวกเขาไม่อาจเทียบได้กับการยกย่องของท่านร่อซูลุลลอฮฺ(ศ)ที่มีต่อพวกท่าน(อฺ) ดังที่ปรากฏในอัล-ฮะดีษมากมาย

มันช่างเป็นถ้อยคำที่สวยงามเสียนี่กระไรที่ท่านอุซตาซอับดุลอะซีซ ซัยยิดุลอะฮฺลิ กล่าวในบทนำหนังสือของเขาเรื่อง

 ‘ซัยนุลอาบิดีน (ฮฺ)’ว่า:

“ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน อฺะลี บินฮุเซน(อฺ) มิได้อยู่ในฐานะเป็นที่ปรารถนาทั้งหลายอันเนื่องมาจากการที่ข้าพเจ้าทำให้ท่านเป็นที่กระจ่างชัดสำหรับมวลมนุษย์ หรืออย่างน้อยที่สุดสำหรับ

คนที่รู้จักท่าน(อฺ)ดีกว่าที่ข้าพเจ้ารู้จัก แต่ทว่า....ที่ท่านอยู่ในฐานะเป็นที่ปรารถนาของทุกคนนั้นก็เพราะท่าน(อฺ)สูงส่งและรุ่งโรจน์ตลอดเวลา อันที่จริงแล้วปลายปากกาของข้าพเจ้า ตำราของข้าพเจ้า

และหยดหมึกของข้าพเจ้าที่ได้จดเรียบเรียงวิถีชีวิตของวีรบุรุษหนึ่งเป็นเพียงถ้อยคำที่เสกสรรขึ้นมาใหม่ จนกระทั่งมันได้กลายเป็นสิ่งแปลกใหม่สำหรับคนในสมัยของเราก็ตามหากแม้ว่ามีสิทธิ

ประการหนึ่งสำหรับสิ่งหนึ่งอันสมควรแก่การยกย่องให้เกียรติอย่างสูงสุดละก็ แน่นอนอย่างยิ่งมันเป็นสิทธิประการหนึ่งของปลายปากกาซึ่งได้เรียบเรียงวิถีชีวิตของท่านอิมามอฺะลี บินฮุเซน(อฺ)ที่

จะต้องให้การยกย่องสรรเสริญ ที่จะต้องเทิดทูน ที่จะต้องแสดงความยิ่งใหญ่บนปลายปากกาและหยดหมึกนี้....”

ดังนั้น การขีดเขียนและการเรียบเรียงใดในเรื่องของอิมามแห่ง

อะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)นั้นมันมิได้เป็นไปเพื่ออื่นใด นอกเสียจากว่าเป็นเกียรติและคลังความรู้สำหรับผู้ประพันธ์ เป็นความภาคภูมิใจ

และน่ายกย่องสำหรับผู้เรียบเรียง เป็นความรู้และการรู้จักอย่างลึกซึ้งสำหรับผู้อ่าน

หนังสือเล่มนี้ถึงแม้ว่าจะประพันธ์ขึ้นเพื่อให้ทุกคนได้อ่านกันอันเป็นการวอนขอตัวอย่างและจริยธรรมจากวิถีชีวิตของอิมามผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้(อฺ) ก็ตาม

ทว่า...มันยังเป็นหนังสือสำหรับคนหนุ่มสาวอีกต่างหากพวกเขาถือเป็นกลุ่มคนที่เหมาะสมที่สุดที่จะยึดเอาวิถีชีวิตตามแบบฉบับของ

ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)นี้ และการปฏิบัติตามวิถีชีวิตของนายแห่งบรรดาคนหนุ่มและผู้นำของพวกเขา จะเป็นตัวเสริมแบบฉบับนั้นให้มั่นคงยิ่งขึ้น ช่วงชีวิตอันประเสริฐของท่านอิมามอะบูญะอฺฟัร

อัล-ญะวาด(อฺ)ถือเป็นตัวอย่างสำหรับหนุ่มสาวของเราทุกวันนี้ในการที่จะนำเอาวิถีชีวิตของท่านเป็นแนวทางการประพฤติปฏิบัติของพวกเขา เป็นวิถีทางของพวกเขาที่จะก้าวไกลไปในเส้นทางชีวิตของพวกเขา

พี่น้องที่รักของข้าพเจ้า ฮะดีษที่รายงานมาจากบรรดาอิมาม(อฺ)ของเรานั้นมีมากมายเหลือเกิน ดังนั้นเราควรที่จะส่งเสริมกันอย่างจริงจังต่อการคงไว้ซึ่งการรำลึกถึงพวกท่านเหล่านั้น จัดการพูดถึงความเศร้าโศกของพวกท่าน(อฺ)

แต่ทว่า....มีการงานที่ดีงามกี่มากน้อยแล้วซึ่งเป็นที่พึงพอใจของบรรดาอิมาม(อฺ) แต่พวกเรากลับละทิ้งมัน ในทางตรงกันข้ามมีสิ่งที่ไม่ดีไม่งามกี่มากน้อยซึ่งทำให้ท่านอิมาม(อฺ)ไม่พึงพอใจ แต่

พวกเรากลับกระทำมันอย่างไม่ละอาย ทั้งๆ ที่พวกท่าน(อฺ)ได้ให้สัญญาไว้กับพวกเราว่า

“ชีอะฮฺของเราคือผู้ที่ปฏิบัติตามเราด้วยการกระทำและคำพูดของเขา”

จุดประสงค์ของข้าพเจ้าในการเรียบเรียงหน้ากระดาษเหล่านี้ขึ้นมาก็เพื่อปกป้องข้าพเจ้าและพี่น้องหนุ่มสาวของข้าพเจ้า ให้ดำเนินรอยตามแนวทางอิมามของเรา น้อมรับเอาจรรยามารยาทของพวกท่าน(อฺ)มาหล่อหลอมเป็นมารยาทที่ดีงามของเรา เพื่อเราจะได้ประสบกับความสมบูรณ์พูนสุขในโลกนี้และความผาสุกอันถาวรในโลกหน้า

โอ้ อัลลอฮฺ....เราขอ ‘ตะวัซซุล’ยังพระองค์ด้วยสิทธิของชายหนุ่มแห่งอาลิมุฮัมมัด ได้โปรดประทานความโปรดปรานแก่หนุ่มสาวของเราให้มีความละอายและรักนวลสงวนตัว ได้โปรด

ส่งเสริมพวกเขายังสิ่งที่ทำให้พระองค์พอพระทัย ได้โปรดทำให้พวกเขามีความมั่นคงเพื่อที่จะได้ปฏิบัติในสิ่งที่พระองค์กำหนดให้พวกเขาทำ เพื่อละทิ้งสิ่งที่พระองค์ทรงห้ามไว้

อันที่จริงแล้วพระองค์ทรงอานุภาพเหนือทุกสิ่ง

ชีวประวัติอันทรงเกียรติของอิมามที่ ๙

นามจริง

             ท่านมุฮัมมัด บินอฺะลี อัล-ญะวาด(อฺ)

ปู่

             ท่านอิมามมูซา อัล-กาซิม(อฺ)

บิดา

            ท่านอิมามอฺะลี อัล-ริฏอ(อฺ)

มารดา

           ท่านหญิงซะบีกะฮฺ(จากครอบครัวของท่านหญิงมารียะฮฺ ภรรยาของท่านศาสดา(ศ)มารดาของท่านอิบรอฮีม)

กำเนิด

          ค่ำวันศุกร์ที่ ๑๙ ร่อมะฏอน ฮ.ศ. ๑๙๕ ณ นครมะดีนะฮฺ

รูปร่าง ขนาดสมส่วน ผิวขาว

สมญานาม

                  อะบูญะอฺฟัร-บางทีก็เรียกอะบูญะอฺฟัร อัษ-ษานี เพื่อไม่ให้ซ้ำกับสมญานามของท่านอิมามบาเก็ร(อฺ)

ฉายานาม

          อัล-ญะวาด

             อัล-กอเนียะอฺ

             อัล-มุรตะฏอ

            อัน-นะญีบ

           อัต-ตะกี

           อัล-มุนตะญับ

           อัล-มุตะวักกิล

          อัล-มุตตะกี

         อัซ-ซะกี

        อัล-อาลิม

ลายสลักบนแหวน

        ‘เนียะอฺมั้ลกอดิริ้ลลาฮฺ’

ความหมาย : ผู้ทรงอานุภาพที่สุดคืออัลลอฮฺ

ภรรยา

           ท่านหญิงซุมานะฮฺ อัล-มัฆริบียะฮฺ

            อุมมุลฟัฏลฺ บินติอัล-มะอ์มูน

บุตรชาย

           ท่านอิมามอฺะลี อัล-ฮาดี(อฺ)

           ท่านมูซา

บุตรสาว

        ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ

        ท่านหญิงอุมามะฮฺ

นักกวีผู้มีชื่อเสียงในสมัยของท่าน(อฺ)

          ฮัมมาด

          ดาวูด บินกอซิม อัล-ญะอฺฟะรี

คนรับใช้

         อุมัร บินอัล-ฟะรอต

        อุษมาน บินซะอีดุซซะมาน

กษัตริย์ในสมัยของท่าน(อฺ)

        อัล-มะอ์มูน

       อัล-มุอฺตะศิม

ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งอิสลาม

       ช่วงเวลาแห่งการดำรงตำแหน่งอิมามของท่าน(อฺ) ๑๗ ปี

วายชนม์

       วันเสาร์สุดท้ายของเดือนซุลเกาะอฺดะฮฺ ฮ.ศ. ๒๒๐ ที่กรุงแบกแดดด้วยยาพิษที่อัล-มุอฺตะศิลลอบวางยาพิษโดยอาศัยมือของภรรยาของท่านอิมาม (อฺ) เอง

สถานที่ฝังศพ

         ถูกฝังอยู่กับท่านปู่ของท่านคืออิมามกาซิม(อฺ) ซึ่ง ณ หลุ่มฝังศพของท่าน(อฺ)ในทุกวันนี้ถูกประดับประดาไปด้วยทองคำ มุสลิมทั่วทุกมุมโลกต่างก็มาที่นั่นเพื่อการน้อมรำลึกถึงท่าน แสวงหา

ความจำเริญ(ตะบัรรุก)จากหลุมฝังศพของท่าน(อฺ)ทำการนมาซและขอดุอาอ์ที่นั่น

ข้อบัญญัติการแต่งตั้งอิมามมุฮัมมัด บินอฺะลีอัล-ญะวาด(อฺ)

ผู้ที่ได้ศึกษาตำราเกี่ยวกับอัตชีวประวัติ ไม่มีโอกาสได้พบว่าจะมีบุคคลใดที่ได้รับเกียรติอย่างเป็นเอกฉันท์จากบรรดานักปราชญ์มุสลิม เหมือนอย่างความเป็นเอกฉันท์ในการให้เกียรติที่มี

แด่บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) กล่าวคือ ถึงแม้เขาเหล่านั้นจะมีความขัดแย้งกันในหลายๆ เรื่อง แต่ก็จะไม่มีความขัดแย้งกันในเรื่องของวิชาการอันสูงส่งของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)ในเรื่องความสำรวมตน เกียรติยศ ความประเสริฐความดีเด่น ความมีเกียรติศักดิ์อันสูงส่ง และฐานะอันประเสริฐสุดของบรรดาอิสลามเหล่านั้นซึ่งในเรื่องนี้ หนังสือของบรรดานักปราชญ์ต่างๆ ที่มิใช่ชีอะฮฺต่างได้พากันกล่าวถึงเรื่องราวของความดีเด่น และเกียรติยศของพวกเขาไว้มากมาย

๑๐

 จนกล่าวได้ว่าหนังสือของบรรดานักปราชญ์อะฮฺลุซซุนนะฮฺได้กล่าวถึงความดีเด่นของบรรดาอิมามไว้มากกว่าหนังสือของพวกชีอะฮฺเองเสียอีก แม้กระทั่งในขณะที่ข้าพเจ้าได้เขียนถึงเรื่องราวของท่านอิมามมะฮฺดี(อฺ)อยู่นั้น ปรากฎว่ามีหนังสือของนักปราชญ์

อะฮฺลุซซุนนะฮฺอันเป็นแหล่งอ้างอิงถึง ๔๐๐เล่ม ที่กล่าวถึงเรื่องราวของท่านอิมามมะฮฺดี (อฺ) กล่าวคือบางเล่มมีกล่าวถึงเรื่องนี้โดยเฉพาะ แต่บางเล่มได้มีการเปิดเผยและกล่าวถึงประวัติของท่านอิมามมะฮฺดี (อฺ) ไว้

ดังนั้น บุคคลเหล่านี้จึงคู่ควรกับตำแหน่งค่อลีฟะฮฺมากกว่าบุคคลอื่น โดยเหตุผลที่บรรดานักปราชญ์ทั้งหลายได้ให้เกียรติไว้อย่างเป็นเอกฉันท์ พวเขาคู่ควรในตำแหน่งค่อลีฟะฮฺมากกว่าคนอื่นโดยเหตุผลของวิชาความรู้ ความเข้าใจศาสนา ความพร้อม ความเที่ยงธรรม และจริยธรรมที่ได้รับการยกย่องมากกว่า พวกเขาคู่ควรกับตำแหน่งค่อลีฟะฮฺมากกว่าคนอื่น เพราะเหตุผลที่มีข้อบัญญัติมาจาก

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(๑)

(๑) โปรดย้อนไปดูหนังสือเล่มที่ ๑ ของเรา อัตชีวประวิตอิมามอฺะลี บินอะบีฏอลิบ (อฺ)

พวกเขาคู่ควรกับตำแหน่งค่อลีฟะฮฺมากกว่าคนอื่น เพราะความใกล้ชิดกับท่านศาสดา(ศ) เป็นผู้ให้กำเนิดพวกเขา

พวกเขาคู่ควรกับการเป็นค่อลีฟะฮฺมากกว่าคนอื่น เพราะเหตุว่าบรรดาอิมามทั้งหลายได้วางบัญญัติแต่งตั้งไว้ซึ่งกันและกัน

๑๑

ในบทที่ผ่านมาของหนังสือชุดนี้ ท่านผู้อ่านได้พบกับข้อบัญญัติบางส่วนผ่านไปแล้ว

 ในลำดับต่อไปนี้เราจะกล่าวถึงข้อบัญญัติบางประการเกี่ยวกับท่านอิมามญะวาด(อฺ)ที่ได้ตราไว้โดยท่านอิมามริฏอ(อฺ)ผู้เป็นบิดา

จากบัญญัติข้อที่ ๑

ท่านอิมามริฏอ(อฺ)ได้กล่าวว่า

“อะบูญะอฺฟัร(หมายถึงท่านอิมามญะวาด)นั้น เป็นทายาทของฉันและเป็นตัวแทนของฉันในครอบครัวของฉัน”(๒)

 (๒) อุยูนอัคบาริ้ลริฏอ เล่ม ๒ หน้า ๒๔๐

๑๒

จากบัญญัติข้อที่ ๒

ท่านเชคมุฮัมมัด บินอิบรอฮีม อัล-ญุวัยนี อัช-ชาฟีอี ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่าน(ฟะรออิตุซซิมฏัยนฺ)

จากรายงานของท่านดุอฺบัล อัลค่อซาอี จากท่านอิมามอฺะลี อัล-ริฏอ บินมูซา อัล-กาซิมได้กล่าวไว้ว่า

“แท้จริงอิมามที่สืบต่อจากฉันนั้น ได้แก่ อัล-ญะวาด อัต-ตะกี บุตรของฉัน”(๓)

จากบัญญัติข้อที่ ๓

ท่านมุอัมมัร บินคิลาด ได้กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ยินท่านอิมามริฏอ(อฺ)กล่าวถึงสิ่งหนึ่งมีใจความว่า

“พวกท่านทั้งหลายจำเป็นจะต้องรับรู้ถึงสิ่งนี้ นี่คือ อะบูญะอฺฟัรซึ่งฉันจะแต่งตัวให้เขาอยู่ในตำแหน่งของฉัน”

และท่าน(อฺ)ได้กล่าวไว้อีกว่า

“พวกเราบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺนั้นถือว่าผู้เยาว์ในหมู่พวกเรา ย่อมสืบมรดกต่อจากผู้ใหญ่ในหมู่พวกเรา โดยเป็นไปตามลำดับ”(๔)

(๓) ยะนาบีอุ้ลมะวัดดะฮฺ หน้า ๕๖๕

(๔) อัล-ฟุศูลุ้ลมุฮิมมะฮฺ หน้า ๒๕๑

๑๓

จากบัญญัติข้อที่ ๔

ท่านศ็อฟวาน บินยะฮฺยาได้กล่าวว่า : ข้าพเจ้าได้กล่าวกับท่าน

อิมามริฏอ(อฺ)ว่า

“แน่นอนที่สุด เราได้ถามท่านมาก่อนหน้าที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงประทานอะบูญะอฺฟัรมาซึ่งท่านได้กล่าวว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงประทานบุตรชายให้แก่ฉัน บัดนี้พระองค์ก็ได้ทรงประทาน

ให้แก่ท่านแล้ว พวกเรารู้สึกชื่นชมยินดีกับเขาเป็นอย่างยิ่ง ถ้าหากวันที่เราไม่พึงประสงค์ นั่นคือวันเสียของชีวิตของท่านมาถึง แล้วใครเล่าจะได้อยู่ในตำแหน่งนั้น ?”

ท่านอิมามริฏอ(อฺ)ได้ชี้มือไปยังอะบูญะอฺฟัรซึ่งกำลังยืนอยู่ใกล้ ๆ

ข้าพเจ้าได้กล่าวกับท่านว่า

“ได้โปรดเถิดท่าน นี่เขาเป็นเพียงเด็กอายุแค่ ๓ ขวบ เท่านั้น”

ท่านอิมามริฏอ(อฺ)กล่าวว่า

“ข้อนี้ไม่มีอะไรเสียหายหรอก เพราะท่านนบีอีซาทำหน้าที่ในฐานะอัล-ฮุจญะฮฺ(ยืนยันความบริสุทธิ์ของท่านหญิงมัรยัม(อฺ)) ตั้งแต่ยังเป็นเด็กที่อายุน้อยกว่า ๓ ขวบเสียอีก” (๕)

(๕) อัล-อิรชาด หน้า ๓๔๐

๑๔

จากบัญญัติข้อที่ ๕

รายงานจากท่านมุฮัมมัด บินยะอฺกูบ จากท่านฮะซัน บินมุฮัมมัด รายงานจากท่านค็อยรอนีจากบิดาของท่านได้กล่าวว่า

ครั้งหนึ่งที่เมืองคุรอซาน ข้าพเจ้าได้ยืนอยู่ใกล้กับท่านอะบุลฮะซัน(อิมามริฏอ(อฺ)) ได้มีชายคนหนึ่งถามว่า

“โอ้ท่านผู้เป็นประมุขของข้าพเจ้า ถ้าหากวันนั้นมาถึง ตำแหน่งของท่านจะให้แก่ผู้ใด”

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“อะบูญะอฺฟัร บุตรของฉัน”ปรากฎว่า ชายที่ถามแสดงความดูถูกในเรื่องอายของท่านอะบูญะอฺฟัร

ท่านอะบุลฮะซัน อัร-ริฏอ(อฺ)ได้กล่าวว่า

“แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงแต่งตั้งท่านนบีอีซา บุตรของท่านหญิงมัรยัมให้เป็นศาสนทูต

เป็นนบี เป็นเจ้าของบทบัญญัติตั้งแต่อายุยังน้อยกว่าอะบูญะอฺฟัร(๖)

(๖) อัล-อิรชาด หน้า ๓๔๒

๑๕

ความดีงามและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของอิมามตะกี(อฺ)

จิตใจอันสูงส่งย่อมไม่บกพร่องในเกียรติยศไม่ว่าจะเป็นด้านหนึ่งด้านใด กล่าวคือจิตใจอันนั้นจะไม่ยอมรับสภาพอื่นใด นอกจากความสูงส่งในแง่มุมต่างๆ ทุกด้น นับเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจ

อย่างยิ่งที่ว่า จิตใจเหล่านี้เป็นที่รวมของคุณลักษณะที่ตรงกันข้าม

 แต่กลับมีรวมอยู่ได้ในบุคคลเดียวกัน นั่นคือมีทั้งความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวอย่างถึงที่สุด ไปจนถึงลักษณะของคนที่ถือสันโดษ และ

เปี่ยมล้นด้วยการเคารพภักดี ด้วยเหตุนี้ นักกวีได้แสดงวาทศิลป์เพื่อยกย่องเชิดชูท่านอิมามอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ)ไว้ดังนี้

“ท่านคือคนที่ร้องไห้ที่เมียะฮฺรอบในยามกลางคืน แต่เป็นนักรบที่มีชั้นเชิงการรบอย่างเข้มข้น”

สิ่งเหล่านี้มิได้เป็นเรื่องใหญ่สำหรับบรรดาอิมามอะฮฺลุลัยตฺ(อฺ) เพราะในความเชื่อของเราทั้งหลายนั้น ถือว่าพวกท่านคือผู้ครอบครองคุณลักษณะอันสูงส่ง ที่เต็มไปด้วยเกียรติยศในด้าน

ต่างๆ อย่างครบครัน นั่นคือท่านเป็นบุคคลที่มีความรู้สูงที่สุด มีการเคารพภักดีมากที่สุดมีความสำรวมตน มีเกียรติ มีความกล้าหาญหนักแน่นอย่างที่สุด ตลอดจนยังมีคุณลักษณะอื่นๆ ที่ดีงามควร

แก่การยกย่องสรรเสริญ นอกจากนี้อีกมากมายนัก

๑๖

ในบทนี้ เราขอย้อนมากล่าวถึงเรื่องราวบางประการที่บรรดานักประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้เกี่ยวกับเกียรติยศและความดีงามของท่านอิมามอะบูญะอฺฟัร อัล-ญะวาด(อฺ)ดังนี้

-๑-ท่านศ็อฟดี ได้กล่าวว่า

ท่าน(อฺ)ได้ส่งเงินไปมอบให้แก่คนจนที่เมืองมะดีนะฮฺทุกปี มากกว่าปีละหนึ่งล้านดิรฮัม

เขายังกล่าวอีกว่า

“ท่านอิมามเป็นบุคคลหนึ่งที่มีชื่อในด้านการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้ฉายานาม

ว่า อัล-ญะวาด”(๗)

(๗) อัล-วาฟีบิ้ลวุฟิยาต เล่ม ๔ หน้า ๑๐๕

๑๗

-๒-ท่านอะฮฺมัด บินฮะดีดได้กล่าวว่า

ข้าพเจ้าได้ออกเดินทางพร้อมกับคณะฮุจญาจญ์โดยผ่านเส้นทางไประยะหนึ่ง ครั้งเมื่อได้เข้าไปเมืองมะดีนะฮฺ ข้าพเจ้าได้พบกับท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ) และข้าพเจ้าตามท่าน(อฺ)ไปยังบ้าน

ข้าพเจ้าได้เล่าให้ท่าน(อฺ)ทราบถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับพวกเรา ท่าน(อฺ)ได้สั่งให้มอบถุงเงินถึงหนึ่งให้แก่ข้าพเจ้า ซึ่งในนั้นมีจำนวนหลายดีนาร ท่าน(อฺ)ได้กล่าวว่า

“จงนำมันไปแบ่งแก่บรรดามิตรสหายท่าน ตามสัดส่วนของความเสียหายที่เกิดขึ้นเถิด”

ข้าพเจ้าได้จัดการแบ่งทรัพย์สินเงินทองเหล่านั้นให้แก่พวกเขาตามสัดส่วนของพวกเขาอย่างไม่ขาดไม่เกิดจนครบถ้วน(๒)

(๒) บิฮารุ้ลอันวารฺ เล่ม ๑๒ หน้า ๑๐๙

นี่คือความพิเศษสุดของท่านอิมามญะวาด(อฺ) ซึ่งมีเรื่องราวที่คล้ายคลึงกันนี้จากท่านอะมีรุลมุอ์นิมีน(อฺ)กล่าวคือ เมื่อครั้งที่ท่านได้ตีเมืองบัศเราะฮฺได้ ท่าน(อฺ)ได้เข้าไปจัการกับเงินกองคลังซึ่ง

เต็มไปด้วยทรัพย์สินเงินทอง ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ)ได้สั่งให้แบ่งแก่บุคคลต่างๆ คนละ ๕๐๐ ดิรฮัมซึ่งเมื่อแบ่งแล้วก็มีคงเหลืออยู่ ๕๐๐ ดิรฮัมเท่านั้น ท่านอิมามอะมีรุลมุอ์มินีน (อฺ) จึงเก็บเงินจำนวนนั้นไว้ก่อน

๑๘

 เมื่อชายคนหนึ่งเข้ามาพูดกับท่าน(อฺ)ว่า

“โอ้ ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมสงครามกับท่าน ด้วยจิตใจของข้าพเจ้า หาใช่ด้วยเรือนร่างอย่างเดียวไม่”

แล้วท่าน(อฺ)ก็ได้มอบเงินจำนวนนั้นให้แก่ชายคนนั้นทันที

-๓-ท่านมันคุลได้กล่าวว่า

ข้าพเจ้าได้พบกับท่านมุฮัมมัด บินอฺะลี(อฺ) แล้วข้าพเจ้าได้ขอค่าใช้จ่ายเพื่อเดินทางไปยังบัยตุลมักดิซ ปรากฎว่าท่าน(อฺ)ได้มอบให้แก่ข้าพเจ้าจำนวน ๑๐๐ ดีนาร (๘)

 (๘) อัด-ดัมอะตุซซากิบะฮฺ เล่ม ๓ หน้า ๑๑๒

-๔-ท่านดาวูด บินกอซิม ญะอฺฟะรีได้กล่าวว่า

ท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)ได้มอบเงินให้แก่ข้าพเจ้า ๓๐๐ ดีนาร และได้สั่งให้ข้าพเจ้านำเงินจำนวนนี้ไปแจกจ่ายแก่ลูกพี่ลูกน้องของท่านบางคน (๙)

(๙) กัชฟุลฆุมมะฮฺ หน้า ๒๘๗

๑๙

-๕-ท่านอิมามญะวาด (อฺ) ได้เขียนจดหมายไปยัง

อิบรอฮีม บินมุฮัมมัดว่า

“ฉันได้จัดส่งเงินจำนวนหนึ่ง และถุงเงินอีกจำนวนหนึ่งให้แก่ท่านขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรง

ประทานความจำเริญแก่ท่านในสิ่งเหล่านี้ และในความโปรดปรานทั้งมวลของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่มีแก่

ท่าน”(๑๐)

(๑๐) บิฮารุลอันวารฺ เล่ม ๑๒ หน้า ๑๒๖

-๖-ได้มีชายคนหนึ่งมาหาท่านแล้วกล่าวว่า

“โปรดมอบอะไรก็ได้ให้แก่ข้าพเจ้าตามความกล้าหาญที่ท่านมีอยู่”

ท่านอิมาม(อฺ)ได้ตอบว่า

“ฉันไม่สามารถที่จะกระทำได้”

ชายคนนั้นได้กล่าวอีกว่า

“ถ้าเช่นนั้นโปรดมอบอะไรก็ได้ให้แก่ข้าพเจ้าตามขีดความสามารถของข้าพเจ้า”

๒๐

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130