ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด28%

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 130

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 130 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 79118 / ดาวน์โหลด: 4989
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

ดุอาอ์

บทที่ ๔

ดุอาอ์อีกบทหนึ่งที่ท่านอิมามญะวาด(อฺ)ได้เขียนไปยังชายคนหนึ่งมีใจความว่า

“โอ้พระผู้ซึ่งดำรงอยู่ก่อนทุกสรรพสิ่ง หลังจากนั้นทางสร้างทุกสรรพสิ่ง จากนั้นทรงให้การคงอยู่และให้การสูญสลายแก่ทุกสรรพสิ่ง

โอ้พระผู้ซึ่งไม่มีสิ่งใดในชั้นฟ้าจะสูงส่ง และไม่มีสิ่งใดในผืนแผ่นดินจะอยู่ต่ำ และที่อยู่สูงไปกว่านั้นและไม่มีสิ่งใดอยู่ระหว่างนั้น และเบื้องล่างของสิ่งนั้นอันจะเป็นพระเจ้าอื่นนอกเหนือจาก

พระองค์”

(อัต-เตาฮีด หน้า ๔๘)

๑๐๑

การตอบสนองต่อดุอาอ์ของอิมามมุฮัมมัด อัต-ตะกี(อฺ)

บรรดานักประวัติศาสตร์ต่างพากันกล่าวถึงดุอาอ์ของบรรดานักปราชญ์และผู้มีคุณธรรม

ส่วนมากที่ได้รับการตอบสนอง แต่ส่วนเรานั้นมิได้ถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่สำหรับพวกเขามากนักเพราะมันยังเป็นเรื่องที่เล็กน้อยกว่าสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงประทานให้แก่บรรดาผู้ที่สวามิภักดิ์

ต่อพระองค์และแก่บรรดาผู้ศรัทธาในหมู่ปวงบ่าวของพระองค์

เรื่องนี้ที่ถูกพาดพิงมายังบรรดาอิมาม(อฺ)นั้นได้ถูกนำมาเปิดเผยไว้ในตำราต่างๆ ของนักปราชญ์ทั้งสองฝ่าย ในบทก่อนๆ ของหนังสือเล่มนี้ ท่านได้อ่านพบการกล่าวถึงเรื่องเหล่านี้โดยบรรดานักประวัติศาสตร์ไปแล้ว ในกรณีของบรรดาอิมามแต่ละท่าน

ณ บัดนี้ เราจะหยิบยกเรื่องราวที่เกี่ยวกับท่านอิมามอะบุ้ลญะอฺฟัรมุฮัมมัด อัต-ตะกี(อฺ)มา

นำเสนอเพียงบางส่วน

เหตุการณ์ที่ ๑

ท่านมุฮัมมัด บินซะนาน ได้เล่าว่า :

ข้าพเจ้าได้เข้าพบท่านอิมามอะบุ้ลฮะซันอัลฮาดี(อฺ)โดยท่าน(อฺ)ได้กล่าวว่า

“โอ้มุฮัมมัด ได้เกิดเหตุการณ์อันใดกับลูกหลานของฟะร็อจญ์หรือไม่ ?”

๑๐๒

ข้าพเจ้าตอบว่า

“อุมัรได้เสียชีวิตแล้ว”

ท่านอิมาม(อฺ)กล่าวว่า

“อัลฮัมดุลิ้ลลาฮฺ(มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ)”

ข้าพเจ้านับถ้อยคำเหล่านี้ได้ ๒๔ ครั้ง ข้าพเจ้ากล่าวต่อไปว่า

“โอ้ประมุขของข้า ข้าพเจ้าไม่ทราบมาก่อนว่าเรื่องนี้จะยังความชื่นชมยินดีให้แก่ท่าน”

ท่านอิมาม(อฺ)กล่าวต่อไปว่า

“โอ้มุฮัมมัดเอ๋ย ท่านไม่ทราบดอกหรือว่า บุคคลที่ได้รับการสาปแช่งจากอัลลอฮฺผู้นี้ได้อะไรไว้บ้างกับท่านมุฮัมมัด บินอะลี บิดาของฉัน”

ข้าพเจ้าตอบว่า

“ไม่ทราบขอรับ”

ท่านอิมาม(อฺ)ตอบว่า

“บิดาของฉันได้สอนเขาในเรื่อง ๆหนึ่ง แต่เขากลับกล่าวว่า –ฉันสงสัยว่าท่านมึนเมา-บิดาของฉันกล่าวว่า-ข้าแต่อัลลอฮฺ

หากพระองค์ทรงรู้ว่าข้าพระองค์คือผู้ถือศีลอดอยู่เป็นประจำเพื่อ

พระองค์แล้วไซร้ขอได้โปรดบันดาลให้เขาคนนี้ได้ลิ้มรสของภัยสงครามเถิด ขอให้เขาตกเป็นเชลยผู้ต่ำต้อย

๑๐๓

-ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ กาลเวลาผ่านพ้นไปไม่นานนักเขาได้เข้าทำสงคราม

ทรัพย์สินและสิ่งของต่าง ๆของเขาถูกริบหมด จากนั้นเขาก็ถูกจับตัวเป็นเชลย บัดนี้เขาได้ตายแล้ว

ขออัลลอฮฺทรงงดเมตตาต่อเขาและแน่นอนที่สุด อัลลอฮฺได้ทรงแสดงหลักฐานในเรื่องนี้และในเรื่องอื่นตลอดไปว่า พระองค์ทรงสนับสนุนบรรดาผู้สวามิภักดิ์ต่อพระองค์ให้อยู่เหนือบรรดาศัตรูของพระองค์เสมอ”

(อิษบาตุ้ลฮุดาฮ์ เล่ม๖ หน้า ๑๗๗

, อุศูลุ้ลกาฟี เล่ม ๑ หน้า ๔๖๙ )

๑๐๔

เหตุการณ์ที่ ๒

ภรรยาของท่านอิมามตะกี(อฺ)คือ อุมมุ้ลฟัฏลฺ บุตรสาวของคอลีฟะฮฺมะอ์มูนเป็นผู้วางยาพิษท่านอิมาม(อฺ)

 ครั้นเมื่อท่าน(อฺ)ทราบถึงเรื่องนี้

ท่าน(อฺ)ได้พูดกับนางว่า

“ขอให้อัลลอฮฺทรงบันดาลความพินาศให้แก่เจ้าด้วยโรคร้ายชนิดที่ไม่อาจรักษาได้”

จากนั้นไม่นานนัก นางก็ประสบโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งคนทั้งหลายต่างก็เฝ้ามองดูนางและแนะนำยารักษาชนิดต่างๆ ให้แก่นาง

 แต่ตัวยาเหล่านั้นก็ไม่มีผลแต่ประการใด จนกระทั่งนางถึงแก่

ความตายด้วยโรคร้ายนั้น

( อัลมะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๔๓๕)

๑๐๕

อิมามตะกี(อฺ)กับคอลีฟะฮฺมะอ์มูนแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺ

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงคัดเลือกให้บรรดาอิมาม(อฺ)ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ปกครองของมวลมนุษย์

และเป็นประมุขในการบังคับใช้บทบัญญัติตามคำสอนของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)และเป็นผู้ทำหน้าที่ดำรงรักษากิจการงานเหล่านั้น แต่ทว่าประชาชนนั่นเองที่ได้ยับยั้งท่านเหล่านั้นมิให้ทำหน้าที่

เผยแพร่สาส์นของพวกเขา พวกเขาได้สลับปรับเปลี่ยนระหว่างพวกเขาเอง เช่นเดียวกับประชาชาติในยุคอดีตที่ได้กระทำกับบรรดานบีของตน

บรรดาอิมาม(อฺ)ต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ปกครองจอมปลอม ซึ่งได้กระทำการต่างๆต่อพวกท่านตามที่พวกเขาประสงค์

บางครั้งพวกเขาจับกุมพวกท่านเหล่านั้น และบางครั้งก็อุปโลกน์

แต่งตั้งพวกท่านบางคนให้เป็นรัชทายาท ทั้งที่มิใช่เป็นความปรารถนาส่วนตัวของท่าน(อฺ)

สำหรับท่านอิมามตะกี(อฺ)นั้นก็ได้ประสบกับอีกลักษณะหนึ่งกล่าวคือ คอลีฟะฮฺมะอ์มูนได้

จัดการนำท่าน(อฺ)ไปยังเมืองแบกแดด และตกลงใจที่จะให้ท่าน(อฺ)แต่งงานกับลูกสาวของตนเองนั่นก็คือ อุมมุ้ลฟัฏลฺ

๑๐๖

 หลังจากที่ได้ประจักษ์ถึงความรู้และเกียรติยศของท่าน(อฺ)โดยที่วงศาคณาญาติของพวกเขาต่างก็ไม่เห็นด้วย บางคนได้พยายามทำให้เขาเปลี่ยนความคิด แต่มะอ์มูนก็ยังเดินหน้าจัดการเรื่องดังกล่าว

พวกเขาต่างก็พูดกับคอลีฟะฮฺมะอ์มูนว่า

“เด็กชายคนนี้ยังเล็กเกินไป ไม่มีความรู้และความเข้าใจในศาสนาดังนั้น ขอให้ท่านประวิงเวลาไว้ก่อนเพื่อให้เขาได้มีโอกาสฝึกฝนตนเอง จากนั้นก็ค่อยดำเนินการต่อไป”

คอลีฟะฮฺมะอ์มูนกล่าวกับพวกเขาว่า

“ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้จักเด็กคนนี้ดีกว่าพวกท่าน

แท้จริงเด็กน้อยคนนี้มาจากอะฮฺลุลบัยตฺซึ่งวิชาความรู้ของพวกเขาได้มาจากการดลบันดาลของอัลลอฮฺ วิชาการทางศาสนาและจริยธรรมขั้นสูงของพวกเขานั้นไม่เคยขาดตกบกพร่องเลยแม้แต่น้อย ถ้าหากท่านทั้งหลายต้องการทดสอบก็เชิญทดสอบอะบูญะอฺฟัรได้ เพื่อที่เขาจะได้แสดงให้พวกท่านได้ประจักษ์อย่างชัดเจนว่าสิ่งที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปนั้นเป็นอย่างไร”

(อัล-เอียะฮฺติญาญ์ เล่ม ๒ หน้าท ๓๔๑ )

พวกตระกูลอับบาซียะฮฺต่างก็ไม่พอใจต่อคำพูดของคอลีฟะฮฺ

มะอ์มูน ทั้งหมดได้จัดประชุมเพื่อจะทดสอบภูมิความรู้ของท่าน

อิมาม(อฺ)ดังที่เราได้นำเสนอแก่ท่านผู้อ่านไปบ้างแล้ว

๑๐๗

นั่นก็คือ บทสนทนาของยะฮฺยา บินอักษัม ซึ่งได้โต้ตอบกับท่าน

อิมามตะกี(อฺ)

คอลีฟะฮฺมะอ์มูนเคยมีเจตนาในการจัดประชุมเชิงวิชาการศาสนาก็เพื่อที่จะเบี่ยงเบนสถานภาพของท่านอิมามริฏอ(อฺ)ให้ลดลง แต่ในขณะที่เจตนาที่เขาจัดให้มีการโต้เถียงปัญหาศาสนากับท่าน

อิมามอะบูญะอฺฟัร(อฺ)นั้นกลับทำไปก็เพื่อให้ประจักษ์ถึงวิชาความรู้และเกียรติยศของท่าน(อฺ)

แน่นอนที่สุด ยะฮฺยาได้ประสบกับความพ่ายแพ้ในการโต้กับท่าน

อิมาม(อฺ)อย่างอัปยศที่สุด

เขาได้แสดงให้คนทั้งหลายเห็นถึงความอ่อนแอความพ่ายแพ้ของเขาทั้ง ๆที่มีการสนับสนุนส่งเสริม

จากพวกตระกูลอับบาซียะฮฺแล้วก็ตาม ฐานะของเขาจึงตกต่ำลงในที่สุด

มะอ์มูนมีความพอใจอย่างยิ่งต่อเหตุการณ์ครั้งนั้น

เขาถึงกับกล่าวว่า

“อัลฮัมดุลิ้ลลาฮฺในฐานะที่พระองค์ทรงให้ความเมตตาแก่ข้าพเจ้าเพื่อดำเนินงานให้บรรลุสู่ความสำเร็จ”

๑๐๘

เขาหันกลับไปมองท่านอิมามอะบูญะอฺฟัร(อฺ)แล้วกล่าวว่า

“ข้าพเจ้าตกลงใจที่จะให้อุมมุ้ลฟัฏลฺบุตรสาวของข้าพเจ้าแต่งงานกับท่าน ถึงแม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะสร้างความไม่พอใจแก่คนกลุ่มนั้นก็ตามที ดังนั้น ท่านจงมาเจรจาสู่ขอเถิด แน่นนอนที่สุดข้าพเจ้า

และบุตรสาวได้ตกลงปลงใจ”

ท่านอิมาม(อฺ)กล่าวตอบว่า

“มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ผู้ทรงบันดาลความมั่นคงโดยความโปรดปรานของพระองค์ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺอันเป็นความบริสุทธิ์แด่ฐานะแห่งเอกานุภาพ

ของพระองค์ ขออัลลอฮฺทรงประทานพรแด่ท่านศาสดามุฮัมมัด ประมุขแห่งบรรดาผู้มีคุณธรรมของพระองค์และแด่บรรดาผู้ทรงเกียรติแห่งเชื้อสายของเขา แน่นอนที่สุดเกียรติยศส่วนหนึ่งของอัลลอฮฺ

ที่มีต่อมวลมนุษย์ได้แก่การที่พระองค์ทรงบันดาลให้พวกเขาได้รับสิ่งที่เป็นที่ฮะล้าลอย่างเพียงพอ ไม่แตะต้องสิ่งที่เป็นฮะรอม

(สิ่งต้องห้าม)

ดังที่อัลลอฮฺทรงมีโองการว่า

“และจงแต่งงานกับบุรุษหรือสตรีที่เป็นโสด และคนดีในหมู่ปวงบ่าวที่เป็นบุรุษและสตรีของพวกเจ้า ถึงแม้ว่าเหล่านั้นจะยากจน แต่อัลลอฮฺจะทรงบันดาลให้เขามั่งคั่งจากความเกื้อกูลของพระองค์ แท้จริงอัลลอฮฺทรงเผื่อแผ่ทรงรอบรู้ ( อัน - นูร : ๓๒)

๑๐๙

แท้จริงมุฮัมมัด บุตรของอะลี บินมูซา ได้สู่ขออุมมุ้ลฟัฏลฺ บุตรสาวของอับดุลลอฮฺ อัลมะอ์มูน และแน่นอนที่สุดเขาได้มอบเงินมะฮัรเท่ากับจำนวนมะฮัรของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ บุตรีของท่าน

ศาสดามุฮัมมัด(ศ) ผู้เป็นย่าทวด นั่นคือ ๕๐๐ ดิรฮัม ท่านจะแต่งงานให้เขาตามจำนวนเงินมะฮัรดังกล่าวหรือไม่?”

คอลีฟะฮฺมะอ์มูนกล่าวตอบว่า

“ข้าพเจ้าตกลงยอมรับ”

แล้วมะอ์มูนได้สั่งให้คนรับใช้นำสิ่งของหนึ่งมา คล้ายกับสำเภาที่บรรจุเงิน ซึ่งห่อหุ้มด้วยทองคำ และบรรจุไปด้วยสิ่งมีค่าหลายชนิด มีทั้งน้ำบริสุทธิ์ อันได้แก่น้ำดอกไม้หอมที่สร้างความประทับใจให้แก่บรรดาแขกเหรื่ออย่างถ้วนทั่ว ต่อจากนั้นสำรับของหวานก็ถูกจัดวางลง พวกเขาได้รับการแจกจ่ายไปตามสถานภาพของพวกเขา จากนั้นทั้งหมดก็แยกย้ายกันกลับไป

( นูรุ้ลอับศอร ของชิบลันญี หน้า ๑๔๗ )

๑๑๐

ครั้นเมื่อถึงวันรุ่งขึ้น ประชาชนได้เข้ามาร่วมชุมนุมกัน ท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)ก็มาร่วมงานด้วย มีการติดตั้งผ้าม่านทั้งชนิดพิเศษและชนิดทั่วไป เพื่อเป็นการต้อนรับคอลีฟะฮฺมะอ์มูนกับ

ท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)แล้วได้มีการนำสำรับ ๓ ชนิดที่ทำด้วยเงินออกมา ซึ่งในนั้นมีของหอมชนิดพิเศษตรงกึ่งกลางกล่องมีลายสลักเขียนด้วยตัวอักษาหนึ่งอันเป็นทรัพย์ที่มีค่ายิ่งค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนได้

สั่งให้แจกจ่ายสิ่งนั้นแก่ผู้ใกล้ชิด จากนั้นคนทั้งหลายก็แยกย้ายกันกลับไป โดยที่พวกเขาได้รับของมีค่าเป็นของขวัญติดมือไปอีกทั้งค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนยังได้บริจาคอีกส่วนหนึ่งแก่คนยากจนทั่วไปด้วย

(ตารีคอิมามมัยนฺ อัลกาซิมัยนฺ หน้า ๔๓)

ค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนมีความภูมิใจในตัวของท่านอิมามอะบูญะอฺฟัร(อฺ)เป็นอย่างมาก เขาได้ใหการยกย่องวิชาความรู้และคุณลักษณะพิเศษอันดีงามของท่านอิมาม(อฺ)

เชคมุฟีด(ร.ฮ)กล่าวว่า : คอลีฟะฮฺมะอ์มูนนั้นมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งต่อท่านอิมาม(อฺ)

เมื่อเขาได้เห็นความดีเด่นของท่านทั้งๆ ที่ท่านยังมีอายุน้อยอยู่ แต่มีความสูงส่งทางด้านวิชาการ วิทยปัญญาและจริยธรรมอีกทั้งมีความสมบูรณ์พร้อมทั้งทางสติปัญญาอย่างชนิดที่ไม่รู้ผู้รู้คนใดในสมัย

นั้นเสมอเหมือนแม้แต่คนเดียว

( อัลอิรชาด หน้า ๓๔๒ )

๑๑๑

เชคฏ็อบร่อซี(ร.ฮ)กล่าวว่า : ท่านอิมามญะวาด(อฺ)เป็นผู้มีความสมบูรณ์พร้อมทางสติปัญญา เกียรติยศอันดีงาม วิชาความรู้

วิทยปัญญาและจริยธรรม อีกทั้งสถานภาพอันสูงส่งอย่างชนิดที่ไม่มี

ผู้ใดเสมอเหมือนในคนรุ่นราวคราวเดียวกัน ไม่ว่าจากตระกูลซัยยิด หรือตระกูลอื่นๆ

 ด้วยเหตุนี้คอลีฟะฮฺมะอ์มูนมีความภาคภูมิใจกับท่านเป็นยิ่งนักเมื่อได้พบเห็นสถานภาพอันสูงส่งของท่าน และความยิ่งใหญ่ในเกียรติคุณอย่างครบถ้วนทุกๆ ด้าน

(อะอ์ลามุ้ลวะรอ หน้า ๒๐๒)

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)ได้พำนักอยู่ในกรุงแบกแดด ในฐานะผู้มีเกียรติยิ่ง แต่ทว่าสถานภาพที่เป็นอยู่ในเวลานั้น มิได้เป็นความปรารถนาของท่านเลย ท่านรู้สึกเหมือนกับอยู่อย่างโดดเดี่ยว

เนื่องจากห่างไกลเมืองมะดีนะฮฺ อันเป็นเมืองของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ผู้เป็นบรรพบุรุษ

ท่านเคยกล่าวกับท่านฮุเซน อัล-มะการี ว่า

“โอ้ฮุเซนเอ๋ย ขนมปังข้าวสาลี และเกลือเค็มในดินแดนฮะร็อมของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)นั้น เป็นที่ชื่นชอบสำหรับข้าพเจ้ามากกว่าสิ่งที่ข้าพเจ้ามองเห็นอยู่ที่นี่”

(บิฮารุ้ลอันวาร เล่ม ๑๒ หน้า ๑๑๐)

๑๑๒

อาจจะเป็นเพราะว่าผู้ปกครองทำตัวเหินห่างจากคำสอนของอิสลามมากมายนั่นเอง ที่ท่านอิมามญะวาด(อ)มีความรู้สึกโดดเดี่ยวกับประชาชนชาวเมืองแบกแดด กล่าวคือคอลีฟะฮฺมะอ์มูนนั้น

ทั้ง ๆที่มีตำแหน่งเป็นอะมีรุลมุอ์มินีน แต่เขาก็ยังดื่มสุรา แน่นอนที่สุดเขาให้เกียรติต่อท่านอิมามญะวาด(อฺ)เมื่อท่านอิมามเห็นเขาเป็นเช่นนั้น โดยท่านอิมาม(อฺ)ได้เคยกล่าวกับเขาว่า

“ข้าพเจ้ามีคำเตือนสำหรับท่านอยู่ข้อหนึ่ง ขอได้โปรดรับฟัง”

คอลีฟะฮฺมะอ์มูนกล่าวว่า

“โปรดบอกมาเถิด”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“ข้าพเจ้าขอร้องท่านว่า โปรดเลิกดื่มสุราเถิด”

คอลีฟะฮฺมะอ์มูนกล่าวว่า

“แน่นอนที่สุด ข้าพเจ้าขอยอมรับคำตักเตือนของท่าน”

( นูรุ้ลอับศอร ของอัลฮาอิรีย หน้า ๒๕๘)

๑๑๓

นับเป็นโอกาสแรกที่ทำให้ท่านอิมามญะวาด(อ)ได้พบกับ

กองคาราวานที่นำท่านคืนกลับสู่นครมะดีนะฮฺอันเป็นเมืองของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ผู้เป็นบรรพบุรุษของท่าน

ในเรื่องนี้ ถ้าหากผู้อ่านศึกษาอย่างถ่องแท้จะมองเห็นถึงความยิ่งใหญ่ของท่านอิมามญะวาด(อฺ) ในขณะที่ท่านเป็นถึงลูกเขยของคอลีฟะฮฺและเป็นลูกชายของรัชทายาท

โลกนี้ทั้งโลกถ้าหากท่านต้องการจะได้มันก็จะต้องตกอยู่ในอุ้งมือของท่าน แต่ตลอดชั่วชีวิตในวัยหนุ่มของท่านไม่เคยแสดง

ความต้องการเช่นนั้นแม้แต่น้อย ท่านหันหลังให้จากความสุขทางโลก และสลัดทิ้งการที่จะเป็นผู้แสวงหาผลประโยชน์

“แน่นอนที่สุดในประวัติของบุคคลเหล่านั้นเป็นอุทาหรณ์สำหรับผู้มีปัญญาอันล้ำลึก มันมิได้เป็นเรื่องเท็จที่พูดกันมา แต่เป็นความจริงที่ยืนยันสิ่งที่มีอยู่กับเขา เป็นการให้รายละเอียดกับทุกสิ่งและเป็นทางนำ และเป็นความเมตตาสำหรับหมู่ชนผู้ศรัทธา”

 (ยูซุฟ: ๑๑๑)

๑๑๔

คำสดุดีของนักปราชญ์ต่ออิมามที่ ๙

บรรดานักปราชญ์และเจ้าของตำราต่าง ๆ ต่างให้ความสำคัญกับบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยต์(อฺ) ดังนั้นพวกเขาจึงได้เรียบเรียงหนังสือที่เกี่ยวกับเรื่องราวของบรรดาอิมามเป็นจำนวนมาก

และได้เขียนถึงท่านเหล่านั้นในรายละเอียดอย่างยืดยาวเขาเหล่านั้นได้ให้การคารวะต่อบรรดาอิมาม

โดยตัวอักษรที่เรียงร้อยลงไป ปัจจุบันนี้ประวัติศาสตร์ของอิสลามได้บอกเล่าถึงเรื่องราวของบรรดาอิมามและคำสอนอีกทั้งวิถีทางการดำเนินชีวิตของพวกท่าน ห้องสมุดของสถาบันต่างๆ ในแวดวงของศาสนาอิสลามเต็มไปด้วยข้อเขียนต่าง ๆ ที่บรรจุเรื่องราวของท่านเหล่านั้น(อฺ)

นอกจากนี้แล้วยังมีตำราต่างๆ อีกเป็นจำนวนหลายพันเล่มที่แปลเรื่องราวที่เกี่ยวกับพวกท่านหรือที่ได้นำเอาเรื่องราวที่เกี่ยวกับพวกท่านหรือที่ได้นำเอาเรื่องของท่านมากล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มิได้เป็นเรื่องที่มากมายอะไรสำหรับท่านทั้งหลาย(อฺ)เป็นทายาทของ

ศาสนา เป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ทิ้งไว้ในท่ามกลางมวลหมู่ประชาชาติอิสลาม

๑๑๕

ในบทนี้เราจะกล่าวถึงคำสดุดีบางประการที่เหล่าบรรดานักปราชญ์และบุคคลสำคัญได้กล่าวถึงท่านอิมามอบูญะอฺฟัร อัล-ญะวาด(อ)ดังต่อไปนี้

คำสดุดีจาก

ท่านอะลี บินญะอฺฟัร

ท่านมุฮัมมัด บินญะซัน บินอัมมารฺ ได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าเคยได้นั่งร่วมกับท่านอะลี บินญะอฺฟัร บินมุฮัมมัด ครั้งหนึ่งที่เมืองมะดีนะฮฺ ซึ่งข้าพเจ้าได้พำนักอยู่ร่วมกับเขานานถึงสองปี ข้าพเจ้าได้บันทึกเรื่องราวที่เขาได้รับฟังมาจากหลานของเขา

(อะบุลฮะซัน(อ)) ในขณะนั้น ท่านอะบูญะอฺฟัร มุฮัมมัด บินอะลี(อฺ) ได้เขามาหาเขาในมัสญิด นั้นคือมัสญิดของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ครั้นแล้วท่านอะลี บินญะอฺฟัร ได้ปราดเข้าไปหาท่าน(อฺ)ทั้ง ๆ ที่มิได้ใส่รองเท้าและมิได้สวมเสื้อคลุม

เขาได้จูบมือของท่าน(อฺ)และแสดงความให้เกียรติอย่างสูง ท่านอะบูญะอฺฟัรได้กล่าวกับเขาว่า

“โอ้ท่านปู่ โปรดนั่นลงเถิด ขอให้อัลลอฮฺทรงเมตตาต่อท่าน”

๑๑๖

ท่านอะลี บินญะอฺฟัรกล่าวว่า

“โอ้ท่านประมุขเอ๋ย ข้าพเจ้าจะนั่งได้อย่างไร ในขณะที่ท่านยังยืนอยู่”

ครั้นเมื่อท่านอะลี บินญะอฺฟัร ได้กลับไปยังที่นั่งของท่านแล้วบรรดามิตรสหายของท่านอะลี บินญะอฺฟัร ได้พากันตำหนิและต่อว่าด้วยถ้อยคำต่าง ๆ ว่า

“ท่านเป็นถึงลุงแห่งบิดาของเขาทำไมท่านถึงกับต้องแสดงอาการกับเขาขนาดนี้”

ท่านอะลี บินญะอฺฟัร กล่าวว่า

“ท่านทั้งหลายจงเงียบเสียเถิด ในเมื่ออัลลอฮฺมิได้มอบหมายเกียรติยศให้แก่เคราเหล่านี้ (ว่าพรางท่านเอามือไปจับที่เคราของท่าน)แต่พระองค์ทรงประทานเกียรติให้แก่เด็กคนนี้และมอบ

เกียรติให้อยู่ในที่ของมัน จะให้ข้าพเจ้าปฏิเสธเกียรติของพระองค์ได้อย่างไร ? เราขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้พ้นจากสิ่งที่พวกท่านกล่าวถึง ยิ่งไปกว่านั้น ข้าพเจ้ายังถือว่าตัวเองเป็นคนรับใช้ของเขาอีกด้วย”

( มะดีนะตุ้ลมะอาญิซ หน้า ๔๕๐)

๑๑๗

คำสดุดีจาก

คอลีฟะฮฺมะอ์มูน

ค่อลีฟะฮฺมะอ์มูน ได้กล่าวกับลูกหลานบะนีอับบาซ เมื่อเขาเหล่านั้น ขอร้องให้เขาเลิกล้มการจัดพิธีแต่งงานของอิมามญะวาด(อฺ) ว่า

“แน่นอน ข้าพเจ้าได้คัดเลือกเขาก็เพราะความดีเด่นเป็นพิเศษเหนือนักปราชญ์ทั้งปวงในด้านความรู้และเกียรติยศ ทั้งที่เขายังอายุน้อยและข้าพเจ้าหวังว่าเขาคงจะแสดงให้ประชาชนได้เห็น

ในสิ่งที่ข้าพเจ้าได้รู้จากตัวของเขา แล้วคนเหล่านั้นก็จะได้เห็นคล้อยตามที่ข้าพเจ้าเห็น”

( อะอฺยานุชชีอะฮฺ ก็อฟ ๓/๒๓๑)

เขายังได้กล่าวหลังจากที่ได้ถามท่านอิมามญะวาด(อฺ)แล้วอีกด้วยว่า

“ท่านเป็นบุตรของอัล-ริฏออย่างแท้จริง ท่านเป็นคนในตระกูลของศาสดาอัล-มุศฏ่อฟาอย่างแท้จริง”

()อัลฟุศูลุ้ลมุฮิมมะฮฺ หน้า ๒๕๓

๑๑๘

คำสดุดีจาก

อะบุ้ลอีนาอ์

 

อะบุลอีนาอ์ ได้กล่าวกับอิมามญะวาด(อฺ) ในตอนกล่าวคำเสียใจต่อการจากไปของบิดาของท่าน(อฺ)ว่า

“ท่านมีความประเสริฐยิ่งกว่าที่เรากล่าวถึง พวกเราได้ถ่ายทอดคำตักเตือนของท่าน ในเรื่องของความรู้แห่งอัลลอฮฺนั้นท่านมีมากมายแล้วและในเรื่องรางวัลจากอัลลอฮฺนั้นท่านก็ยังอย่างท่วมทัน”

(อัลมะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๔๑๓ )

คำสดุดีจาก

บาทหลวงคริสต์

บาทหลวงคริสเตียนได้กล่าวหลังจากได้ยินกิตติศัพท์แห่งเกียรติยศอันสูงส่งของอิมามญะ

วาด(อฺ)ว่า

“คนผู้นี้น่าจะเป็นศาสดาหรือไม่ก็จะต้องเป็นลูกหลานของท่านศาสดา”

( อัลมะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๔๓๔ )

๑๑๙

คำสดุดีจาก

ท่านยูซุฟ บินฟะซาฆ่อลี

ท่านยูซุฟ บินฟะซาฆ่อลี (ซิบฏฺ อิบนิลเญาซี) ได้กล่าวว่า :

มุฮัมมัดญะวาด คือท่านมุฮัมมัด บินอะลี บินมูซา บินญะอฺฟัร บินมุฮัมมัด บินละอี บินฮะซัน บินอะลี บินอะบีฏอลิบ สมญานามของ

ท่านคือ อะบู อับดุลลอฮฺมีการเรียกขานกันอีกว่า อะบูญะอฺฟัร ท่านเกิดเมื่อปี ๑๙๕ เสียชีวิตเมื่อปี๒๒๐ มีอายุได้ ๒๕ ปี เป็นผู้มีแบบแผนทางด้านวิชาความรู้ การสำรวมตนและความมักน้อยจาก

บิดา

( ตัซกิร่อตุล-ค่อวาศ หน้า ๒๐๒ )

คำสดุดีจาก

ท่านศ่อลาฮุดดี อัศ-ศ็อฟดี(ร.ฮฺ)

ท่านซอลาฮุดดีน อัศ-ศ็อฟดี(ร.ฮฺ) ได้กล่าวว่า “มุฮัมมัด บินอะลี นั้นคือท่านญะวาด บุตรของอัร-ริฏอ บุตรของอัล-กาซิม บุตรของ

อัศ-ศอดิก(ขอให้อัลลอฮฺประทานความปิติชื่นชมแก่เขา

ทั้งหลาย) ท่านมีฉายานามว่าอัล-ญะวาด, อัลกอเนียะอฺ และ

อัล-มุรตะฏอ ท่านเป็นคนเก่งที่สุดคนหนึ่งแห่งตระกูลของท่านนบี

๑๒๐

คอลีฟะฮฺมะอ์มูน ยกบุตรสาวของตนให้แต่งงานกับท่าน ท่านส่งเงิน

กลับไปที่นครมะดีนะฮฺทุกปี มากกว่าปีละ ๑, ๐๐๐,๐๐๐ ดิรฮัมท่านเสียชีวิตในวัยหนุ่มที่กรุงแบกแดด เมื่อปี ฮ.ศ.๒๒๐ หลังจากที่

คอลีฟะฮฺมะอ์มูนได้เสียชีวิตแล้ว ท่านเคยได้เข้าพบคอลีฟะฮฺ

อัล-มุอฺตะศิมบิลลาฮฺปรากฏว่าเขาได้ให้เกียรติและให้การยกย่องต่อท่าน สุสานของท่านฝังใกล้กันกับสุสานของท่านอิมามมูซา ผู้เป็นปู่ของท่าน(อฺ)”

เขาได้กล่าวอีกว่า “ท่านเป็นคนบำเพ็ญเพียรเพื่อแสวงหาความบริสุทธิ์คนหนึ่ง เป็นผู้รักความสงบ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงมีฉายานามว่า ญะวาด ท่านคือหนึ่งในบรรดาอิมาม ๑๒ ท่านเกิดเมื่อปี๑๙๕

( อัลวาฟีบิ้ลวุฟียาต เล่ม ๔ หน้า ๑๐๕ )

๑๒๑

คำสดุดีจาก

ท่านมุฮัมมัด บินฏ็อลฮะฮฺ

อัช-ชาฟีอี (ร.ฮ. )

ท่านมุฮัมมัด บิน ฏ็อลฮะฮฺ อัช-ชาฟิอี (ร.ฮ.) ได้กล่าวหลังจากที่พูดถึงอิมามญะวาด(อฺ)แล้วว่า

“แท้จริงอัลลอฮฺทรงเจาะจงที่จำให้ท่านเป็นผู้มีเกียรติยศในสถานภาพอันยิ่งใหญ่โดยได้รับความรุ่งโรจน์ ท่านถูกยกย่องให้อยู่ในตำแหน่งที่มีค่าอย่างประมาณไม่ได้ เป็นที่ยอมรับสำหรัสติปัญญา

แห่งบรรดาผู้รู้ทั้งปวง

(มะฏอลิบุซซุอูล หน้า ๘๗)

คำสดุดีจาก

ท่านอะฮฺมัด บินยูซุฟ อัด-ดะมัชกี

อัล-กุรบานี(ร.ฮ.)

ท่านอะฮฺมัด บินยูซุฟ อัด-ดะมัชกี อัล-กุรบานี(ร.ฮ.)ได้กล่าวว่า : สำหรับเกียรติยศของท่านอิมามญะวาดนั้น อยู่คู่กับกาลเวลา และไม่เคยเสื่อมถอยแต่ประการใดเลย ยิ่งกว่านั้นถือว่าท่านได้รับ

อานุภาพจากพระผู้เป็นเจ้าประการหนึ่งที่มีคุณงามความดีคงทนถาวรอยู่ในโลก เกียรติยศของท่านสูงส่ง

๑๒๒

ทั้ง ๆ ที่วันเวลาของท่านมีน้อย อย่างไรก็ตามอัลลอฮฺทรงประสงค์ที่จะให้ท่านได้รับเกียรติสูงส่ง และเป็นสัญญาณอันยิ่งใหญ่ ครั้งหนึ่งเมื่อคอลีฟะฮฺมะอ์มูนได้เข้ามายังเมืองแบกแดด

วันหนึ่งเขาได้ออกไปล่าสัตว์แล้วเดินผ่านเด็กเล็กๆ ที่กำลังเล่นอยู่ในจำนวนนั้นมีอิมามญะวาด(อฺ)รวมอยู่ด้วย บรรดาเด็กๆ ต่างพากันวิ่งหนีด้วยความหวาดกลัวคอลีฟะฮฺ มะอ์มูน ยกเว้น อิมามญะวาด(อฺ)

เพียงคนเดียวเท่านั้น อายุของท่านเวลานั้นเพียง ๙ ขวบ เมื่อคอลีฟะฮฺมะอ์มูนเห็นท่าน ก็ได้ถามว่า

“ทำไมเจ้าจึงไม่วิ่งหนีพร้อมกับเพื่อนๆ”

ท่านอิมามญะวาด(อ) กล่าวว่า

“โอ้ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน ถนนหนทางก็มิใช่ว่าจะคับแคบ มันยังกว้างพอสำหรับท่านอยู่ และข้าพเจ้าเองก็ไม่มีความผิดอะไรที่จะต้องกลัวท่าน ข้าพเจ้ามองท่านในแง่ดี คิดว่าท่านจะต้องไม่ทำอันตรายแก่คนที่มิได้ทำความผิดเป็นแน่”

คอลีฟะฮฺมะอ์มูนมีความประทับใจในคำพูดนี้ และแสดงความอาลัยต่อบิดาของท่าน เมื่อเขาได้เดินผ่านพ้นไปสักระยะหนึ่งจนถึงใจกลางป่า เขาได้จัดการปล่อยนกอินทรีให้ออกไปล่าเหยื่อ

นกอินทรีหายไปในที่กว้าง และหวนกลับมาพร้อมกับมีปลาน้อยตัวหนึ่งติดอยู่ที่จงอยปากของมัน

และปลาตัวน้อยนั้นก็ยังมีชีวิตอยู่ คอลีฟะฮฺมะอ์มูนชอบใจนักจึงเดินทางกลับจากการล่า

๑๒๓

 ครั้นแล้วก็ได้พบกับเด็กๆ ซึ่งมีอิมามญะวาด(อฺ)อยู่ด้วย เมื่อเข้าไปถึงอิมามญะวาด

ค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนกล่าวว่า

“โอ้มุฮัมมัด นี่อะไรในมือของฉัน”

อัลลอฺ(ซ.บ.)ทรงดลบันดาลให้ อิมามญะวาด(อฺ) กล่าวขึ้นว่า

“แท้จริงอัลลอฮฺทรงสร้างปลาตัวน้อยในทะเลโดยอานุภาพของพระองค์ แล้วพวกกษัตริย์และคอลีฟะฮฺก็ได้จับมันมา หลังจากนั้นท่านก็ได้นำมันมาสอบถามกับลูกหลานของอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)

มะอ์มูนมีความประทับใจยิ่งนัก เขาได้เพ่งพินิจอยู่เป็นเวลานานและตั้งใจว่าจะยกบุตรสาวของตน คืออุมมุลฟัฏลฺให้แต่งงานกับท่าน

(อัคบารุดดุลวัล หน้า ๑๑๖ )

๑๒๔

คำสดุดีจาก

ท่านอะลี บินซิบาฆ อัล-มาลิกี(ร.ฮ.)

ท่านอะลี บินซิบาฆ อัล-มาลิกี (ร.ฮ.) ได้กล่าวหลังจากที่อธิบายถึงรายละเอียดของฮะดีษจากอิมามญะวาด(อฺ)ว่า

“และนี่เป็นส่วนหนึ่งของเกียรติยศอันสูงส่งของท่าน เป็นส่วนหนึ่งของความประเสริฐอัน

งดงามยิ่งของท่าน”

(อัลฟุศูลุ้ลมุฮิมมะฮฺ ๒๕๗)

คำสดุดีจาก

ท่านอับดุลลอฮฺ ชิบรอวี อัช-ชาฟิอี

ท่านอับดุลลอฮฺ ชิบรอวี อัช-ชาฟิอี ได้กล่าวว่า ท่านคืออะบู ญะอฺฟัร มุฮัมมัดอัล-ญะวาดบินอะลีอัล-ริฏอ บินมูซาอัล-กาซิม บินญะอฺฟัร อัศ-ศอดิก บินมุฮัมมัดอัล-บากิร บินอะลีซัยนุ้ลอาบิดีน บินฮุเซน บินอะลี บินอะบีฏอลิบ (ขออัลลอฮฺทรงปิติชื่นชมต่อพวกท่าน)

 ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๙ เดือน ร่อมะฏอน ฮ.ศ. ๑๙๕ เกียรติคุณของท่านอิมามอะบูญะอฺฟัรผู้นี้มีมากมายเหลือคณานับ

(อัลอิตติฮาฟ บิฮุบบิ้ลอัซรอฟ หน้า ๖๗ )

๑๒๕

คำสดุดีจาก

ท่านยูซุฟ อิซมาอีล อัน-นะบะฮานี

ท่านยูซุฟ อิซมาอีล อัน-นะบะฮานี ได้กล่าวว่า : ท่านมุฮัมมัด ญะวาด บินอะลี อัร-ริฏอ คือ

หนึ่งในบรรดาอิมามผู้อาวุโส และเป็นดวงประทีปสำหรับประชาชาติ เป็นหนึ่งจากบรรดาประมุขทั้งหลายของเรา

ชาวอะฮฺลุลบัยตฺ

ท่านชิบรอวีได้กล่าวถึงท่านไว้ในหนังสืออิดฮาฟ บิฮุบบิลอัชรอฟหลังจากที่ได้สดุดีถึงถ้อยคำสรรเสริญอันงดงามแก่ท่าน และกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่เป็นเกียรติยศของท่าน ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่ง

ที่แสดงให้เห็นถึงความประเสริญและความสมบูรณ์พร้อมในด้านต่าง ๆและแท้จริงแล้วคอลีฟะฮฺ

มะอ์มูนแห่งวงศ์อับบาซียะฮฺ ได้ยกบุตรสาวของตนให้แต่งงานกับท่าน(

(ญามิอุกะรอมาติ้ลเอาลิยาอ์ เล่ม ๑หน้า ๑๐๐ )

๑๒๖

คำสดุดีจาก

ท่านมะฮฺมูด บินวะฮับ อัล-บัฆดาดี

อัล-ฮะนาฟี

ท่านมะฮฺมูด บินวะฮับ อัล-บัฆดาดี อัล-ฮะนาฟี ได้กล่าวว่า

“ท่านมุฮัมมัด ญะวาด บินอะลีอัล-ริฏอ นั้นมีสมญานามว่า อะบูญะอฺฟัร เช่นเดียวกับสมญานามของปู่ทวดคนหนึ่งของท่าน ได้แก่ มุฮัมมัดอัล-บากิร(ขออัลลอฮฺได้ทรงมีความปิติชื่นชมต่อท่าน) ฉายานามของท่านนั้นมี ๓ ชื่อ คือ อัล-ญะวาด อัล-กอเนียะอฺ และอัล-มุรตะฏอ แต่ที่นิยมเรียกกันมากที่สุด ได้แก่ อัล-ญะวาด ท่านเป็นคนมีรูปร่างผิวขาว สมส่วน สง่างามมีลายสลักบนแหวนว่า

เนียะอฺมัล-มุก็อดดิริ้ลลาฮฺ

หลังจากนั้นเขาได้กล่าวว่า

“ท่านคือทายาทของบิดาในด้านวิชาการความรู้และความประเสริฐ”

(เญาฮะร่อตุ้ลกะลาม หน้า ๑๔๗ )

๑๒๗

คำสดุดีจาก

ท่านอะลี ญะลาลุ้ล ฮุซัยนี

ท่านอะลี ญะลาลุ้ลฮุซัยนี ได้กล่าวว่า อะบูญะอฺฟัรที่ ๒ หมายถึง มุฮัมมัด ญะวาด บินอะลี

ท่านเกิดที่เมืองมะดีนะฮฺ เมื่อ ฮ.ศ. ๑๙๕ เป็นผู้มีความรู้และความดีงามเด่นชัดมากกว่าใครทั้งหมดในสมัยเดียวกัน

ทั้งๆ ที่ท่านยังมีอายุน้อย คอลีฟะฮฺมะอ์มูนได้จัดแต่งงานท่านกับ

อุมมุล-ฟัฏลฺบุตรสาวของตน ท่านเสียชีวิตที่กรุงแบกแดด ในปี ๒๒๐ ขณะที่ท่านอายุได้ ๒๕ ปี

( อัลฮุซัยนฺ เล่ม ๒ หน้า ๒๐๗)

คำสดุดีจาก

ท่านค็อยรุดดีน อัซ-ซัรกะลี

ท่านค็อยรุดดีน อัซ-ซัรกะลีได้กล่าวว่า

“ท่านเป็นคนที่มีความสามารถสูงส่งเป็นพิเศษ เช่นเดียวกับ

บรรพบุรุษของท่าน มีความฉลาด

หลักแหลมในการพูดยิ่งนัก เป็นผู้ที่มีความรู้ลึกซึ้งตรึงใจ ท่านเกิดที่เมืองมะดีนะฮฺ ท่านตะบีลี มุฮัมมัด บินวะฮฺบาน มีหนังสืออยู่เล่มหนึ่ง ซึ่งได้เขียนเกี่ยวกับชีวประวัติของท่านอิมามญะวาด(อฺ)โดย

ให้ชื่อหนังสือเล่มนั้นว่า “อัคบารุอะบีญะอฺฟัร อัษ-ษานี”

( อัลอะอฺลาม)

๑๒๘

บทส่งท้าย

อิมามญะวาด(อฺ)

การเรียบเรียงอันรีบเร่งแห่งอัตชีวประวัติของอิมามอะบูญะอฺฟัร มุฮัมมัด อัล-ญะวาด(อฺ)นี้ถือเป็นสิ่งพอเพียงแล้วสำหรับเราในการรำลึกวิถีชีวิตของท่าน(อฺ)อย่างง่ายๆ มันเป็นการเลือกสรร

อันน้อยนิดจากคติพจน์ของท่านอิมามที่ ๙ โดยพิจารณาจากข้อเขียนอันเป็นบทสรุปนี้ของเรา

เป็นการเหมาะสมสำหรับประชาชาติอิสลาม หลังจากที่ได้ผ่านพ้นการตรวจสอบอย่างเข้มงวดต่อวิถีชีวิตดังกล่าวนั้น ช่วงเวลาอันเคร่งเครียดได้ผ่านไป ความคิดที่แฝงไว้ด้วยความไม่ฝัน

ได้ตรึกตรองความล้มเหลงในห้วงของศีลธรรมจรรยา สังคม การเมือง และเศรษฐกิจ จะต้องย้อนกลับไปหาวิถีชีวิตของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) เพื่อไปให้ถึงยังเป้าหมายในการได้รับ

ซึ่งความดีงามและผาสุก เพื่อก้าวเข้าไปยังความีเกียรติ อำนาจ และความสุขสบาย

“จงกล่าวเถิดว่าหากพวกท่านรักอัลลอฮฺก็จงปฏิบัติตามฉันแล้วอัลลอฮฺก็จะทรงรักพวกท่าน

อภัยโทษความบาปให้แก่พวกท่านอัลลอฮฺทรงเปี่ยมล้นด้วยการอภัยทรงเมตตายิ่ง”

๑๒๙

Table of Conten  สารบัญ

บทนำ.. ๒

ชีวประวัติอันทรงเกียรติของอิมามที่ ๙. ๗

ข้อบัญญัติการแต่งตั้งอิมามมุฮัมมัด บินอฺะลีอัล-ญะวาด(อฺ) ๑๐

จากบัญญัติข้อที่ ๑. ๑๒

จากบัญญัติข้อที่ ๒. ๑๓

จากบัญญัติข้อที่ ๓. ๑๓

จากบัญญัติข้อที่ ๔. ๑๔

จากบัญญัติข้อที่ ๕. ๑๕

ความดีงามและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของอิมามตะกี(อฺ) ๑๖

คำสั่งเสียของอิมามอะบูญะอฺฟัร อัล-ญะวาด(อฺ) ๒๑

-๑-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙. ๒๒

-๒-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙. ๒๓

-๓-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙. ๒๓

-๔-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙. ๒๔

-๕-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙. ๒๔

-๖-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙. ๒๕

สาส์นข้อเตือนสติของอิมามมุฮัมมัด บินอฺะลี(อฺ) ๒๕

สาส์นฉบับที่ ๑. ๒๖

สาส์นฉบับที่ ๒. ๒๗

สาส์นฉบับที่ ๓. ๒๗

สาส์นฉบับที่ ๔. ๓๐

สุภาษิต :คำสอนจากวิทยปัญญาของอิมามญะวาด(อฺ) ๓๗

สุภาษิตที่ ๑. ๓๘

สุภาษิตที่ ๒. ๓๘

สุภาษิตที่ ๓. ๓๙

สุภาษิตที่ ๔. ๓๙

สุภาษิตที่ ๕. ๓๙

สุภาษิตที่ ๗. ๔๐

สุภาษิตที่ ๘. ๔๐

สุภาษิตที่ ๙. ๔๐

สุภาษิตที่ ๑๐. ๔๐

สุภาษิตที่ ๑๑. ๔๑

สุภาษิตที่ ๑๒. ๔๑

สุภาษิตที่ ๑๓. ๔๑

สุภาษิตที่ ๑๔. ๔๑

สุภาษิตที่ ๑๕. ๔๑

สุภาษิตที่ ๑๖. ๔๒

สุภาษิตที่ ๑๗. ๔๒

สุภาษิตที่ ๑๘. ๔๒

สุภาษิตที่ ๑๙. ๔๒

สุภาษิตที่ ๒๐. ๔๓

สุภาษิตที่ ๒๑. ๔๓

สุภาษิตที่ ๒๒. ๔๓

สุภาษิตที่ ๒๓. ๔๔

สุภาษิตที่ ๒๔. ๔๔

ถกปัญหาทางวิชาการจากแหล่งความรู้อันอมตะของอิมามที่ ๙. ๔๗

อิมามที่ ๙ ถกปัญหาฟิกฮฺกับยะฮฺยา บินอักษัม. ๔๙

อิมามที่ ๙ถกปัญหาคิลาฟิยะฮฺกับยะฮฺยา บินอักษัมและพรรคพวก. ๖๐

ถกปัญหาอะฮฺกามกับยะฮฺยา บินอักษัม. ๖๘

คำตอบอันลุ่มลึกของอิมามญะวาด(อฺ)แห่งอะฮฺลุลบัยตฺ. ๖๙

ถาม-ตอบ. ๗๖

เรื่องที่ ๑. ๗๖

ถาม~ตอบ. ๘๐

เรื่องที่ ๒. ๘๐

ถาม~ตอบ. ๘๓

เรื่องที่ ๓. ๘๓

ถาม~ตอบ. ๘๖

เรื่องที่ ๔. ๘๖

ถาม~ตอบ. ๘๗

เรื่องที่ ๕. ๘๗

ถาม~ตอบ. ๘๘

เรื่องที่ ๖. ๘๘

ถาม~ตอบ. ๙๐

เรื่องที่ ๗. ๙๐

ถาม~ตอบ. ๙๑

เรื่องที่ ๘. ๙๑

ถาม~ตอบ. ๙๒

เรื่องที่ ๙. ๙๒

ดุอาอ์ : เสียงเรียกร้องสู่ความถูกต้องของอิมามที่ ๙ ๙๓

บทที่ ๑. ๙๔

บทที่ ๒. ๙๕

บทที่ ๓. ๙๗

บทที่ ๔. ๑๐๒

การตอบสนองต่อดุอาอ์ของอิมามมุฮัมมัด อัต-ตะกี(อฺ) ๑๐๓

เหตุการณ์ที่ ๑. ๑๐๓

เหตุการณ์ที่ ๒. ๑๐๖

อิมามตะกี(อฺ)กับคอลีฟะฮฺมะอ์มูนแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺ. ๑๐๗

คำสดุดีของนักปราชญ์ต่ออิมามที่ ๙. ๑๑๖

คำสดุดีจากท่านอะลี บินญะอฺฟัร. ๑๑๗

คำสดุดีจากคอลีฟะฮฺมะอ์มูน. ๑๑๙

คำสดุดีจากอะบุ้ลอีนาอ์. ๑๒๑

คำสดุดีจากบาทหลวงคริสต์. ๑๒๑

คำสดุดีจากท่านยูซุฟ บินฟะซาฆ่อลี. ๑๒๒

คำสดุดีจากท่านศ่อลาฮุดดี อัศ-ศ็อฟดี(ร.ฮฺ) ๑๒๒

คำสดุดีจากท่านมุฮัมมัด บินฏ็อลฮะฮฺ อัช-ชาฟีอี (ร.ฮ. ๑๒๔

คำสดุดีจากท่านอะฮฺมัด บินยูซุฟ อัด-ดะมัชกีอัล-กุรบานี(ร.ฮ.) ๑๒๔

คำสดุดีจากท่านอะลี บินซิบาฆ อัล-มาลิกี(ร.ฮ.) ๑๒๘

คำสดุดีจากท่านอับดุลลอฮฺ ชิบรอวี อัช-ชาฟิอี. ๑๒๘

คำสดุดีจากท่านยูซุฟ อิซมาอีล อัน-นะบะฮานี. ๑๒๙

คำสดุดีจากท่านมะฮฺมูด บินวะฮับ อัล-บัฆดาดื อัล-ฮะนาฟี. ๑๓๐

คำสดุดีจากท่านอะลี ญะลาลุ้ล ฮุซัยนี. ๑๓๑

คำสดุดีจากท่านค็อยรุดดีน อัซ-ซัรกะลี. ๑๓๑

บทส่งท้าย. ๑๓๒

๑๓๐