ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด28%

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 130

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 130 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 78998 / ดาวน์โหลด: 4980
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“ฉันขอผ่านการตอบคำถามข้อนี้”

เขากล่าวว่า

“ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ในฐานะที่ท่านมิได้บอกเล่าถึงความรู้ที่ท่านมีอยู่

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“ถ้าท่านถึงกับต้องสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ฉันก็จะตอบแท้จริงฉันขอกล่าวว่า คนเหล่านั้นให้คำตอบผิดพลาดจากซุนนะฮฺของท่านศาสดา(ศ) เพราะว่าการตัดมือจำเป็นจะต้องกระทำ

ตรงข้อต่อของนิ้วทั้งหมด แล้วให้ปล่อยฝ่ามือไว้เหมือนเดิม”

เขากล่าวว่า

“อะไรเป็นหลักฐานในเรื่องนี้ ?”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)ตอบว่า

“คำกล่าวของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ที่ว่า

“การซุญูดนั้นจะต้องกระทำโดยอวัยวะ ๗ ส่วน คือ ใบหน้า ฝ่ามือทั้งสอง เข่าทั้งสอง และเท้าทั้งสอง”

ครั้นถ้าหากมือของเขาถูกตัดถึงข้อมือหรือถึงข้อศอก ก็จะไม่มีฝ่ามือเหลือไว้สำหรับทำการซุญูดเลย

๘๑

และอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการไว้ว่า :

“และแท้จริง มัสญิดทั้งหลาย (ในที่นี้หมายถึงตำแหน่งแห่งการซุญูดทั้งหลายนั้น) เป็นของอัลลอฮฺ”

(อัล-ญิน: ๑๘)

หมายความว่า อวัยวะทั้ง ๗ เหล่านี้แหละ คือที่จะต้องทำการซุญูดลงไปและส่วนที่ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั้นจะถูกตัดไม่ได้”

ค่อลีฟะฮฺมุอฺตะศิมมีความประทับใจในคำตอบนี้ และสั่งให้ตัดมือของโจรคนนั้นตรงโคนนิ้วทั้งหมดโดยเว้นฝ่ามือไว้

(อะอฺยานุชชีอะฮฺ เล่ม ๓ หน้า ๓๕)

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๓

ท่านอับดุลอะซีม อัล-ฮะซะนีย์(ขอให้อัลลอฮฺทรงปิติชื่นชมต่อท่าน)ได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าได้เคยพูดกับท่านมุฮัมมัด บินอฺะลี บินมูซา(อฺ)ว่า

“โอ้ นายของข้า แท้จริงข้าพเจ้าปรารถนาที่จะให้ท่านเป็น

อัลกออิมแห่งอะฮฺลุลบัยต์ของท่าน

๘๒

ศาสดามุฮัมมัด(ศ) ผู้ซึ่งจะมาสถาปนาความยุติธรรมและความเที่ยงธรรมในหน้าแผ่นดินเหมือนกับที่มันเคยได้เนืองนองไปด้วยความอธรรมและความเลวร้ายมาก่อน”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)ตอบว่า

“ผู้ที่ยืนหยัดในคำสั่งของอัลลอฮฺและทำการชี้นำสู่ศาสนาของอัลลอฮฺ ก็คือคนในหมู่พวกเรา

แต่ทว่า ‘อัล-กออิม’ (ที่ถูกกล่าวถึง) นั้นคือ ผู้ที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงบัญชาให้เขาชำระล้างหน้าแผ่นดิน

ให้พ้นไปจากการปฏิเสธและการทรยศต่อพระผู้เป็นเจ้

 เขาจะสถาปนาความเที่ยงธรรมและความยุติธรรมในหน้าแผ่นดิน เขาคือคนที่ถือกำเนิดมาในสภาพที่ซ่อนเร้นจากประชาชนและตัวของเขาจะหายไปจากพวกเขาเหล่านั้นเป็นที่ต้องห้ามสำหรับพวกเขาที่จะตั้งชื่อของเขา เขาคือผู้มีฉายานามเดียวกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) นั่นคือ ผู้ซึ่งแผ่นดินจะต้องยอมสยบให้อุปสรรคทุกประการ

จะต้องสลายตัวให้แก่ท่าน จะมีบริวารที่มารายล้อมชุมนุมรอบตัวเขาเท่ากับจำนวนนักรบในสงครามบะดัรคือ ๓๑๓ คน จากทั่วทุกทิศของแผ่นดิน

๘๓

และนั่นคือความหมายที่เป็นไปตามโองการ

ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่ว่า :

“....ไม่ว่าสูเจ้าจะอยู่ที่ใด อัลลอฮฺจะทรงนำสูเจ้าทั้งหมดมารวมกัน แท้จริงอัลลอฮฺทรงมีอำนาจเหนือทุกสิ่ง”

เมื่อจำนวนนี้อันได้แก่พวกที่มีความบริสุทธิ์ใจได้มารวมตัวอยู่กับท่าน อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงบันดาลให้ภารกิจของเขาบังเกิดขึ้น เมื่อนั้นพันธสัญญาของเขาก็จะเสร็จสมบูรณ์ นั่นคือจะมีชายฉกรรจ์ ๑๐, ๐๐๐ คน ออกมาปรากฏโดยการอนุมัติของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ดังนั้นพวกเขาจะไม่หยุดยั้งในการสังหารศัตรูของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) จนกระทั่งพระองค์ทรงพอพระทัย”

(อัล-เอียะฮฺติญาจญ์ เล่ม ๒ หน้า ๒๕๐)

๘๔

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๔

อุมัร บินฟะร็อจญ์ อัน-ร็อคญีได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าได้เคยพูดกับท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)ว่า

“แท้จริงพวกชีอะฮฺของท่านนั้นเคยอ้างว่า ท่านล่วงรู้ถึงนำหนักของน้ำทุกหยดในแม่น้ำในขณะที่พวกเราเองอาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)ตอบข้าพเจ้าว่า

“อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีพระปรีชาสามารถในการที่จะมอบความรู้อย่างนี้ให้แกยุงตัวหนึ่งได้หรือไม่”

ข้าพเจ้าตอบว่า “ใช่แล้ว”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“ฉันเป็นผู้มีเกียรติ ณ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)มากกว่ายุงตัวหนึ่ง และมีเกียรติมากกว่าสรรพสิ่งทั้งหลายอีกเป็นจำนวนมาก”

 (บิฮารุ้ลอันวารฺ เล่ม ๑๒ หน้า ๑๒๔).

๘๕

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๕

ท่านญะอฺฟัร บินมุฮัมมัด บินมะซีด ได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าเคยพำนักที่แบกแดด ท่านมุฮัมมัด บินมุนดะฮฺ ได้กล่าวกับข้าพเจ้าว่า

“จะให้ข้าพเจ้านำท่านไปพบกับท่านมุฮัมมัด บินอฺะลี

อัล-ริฏอหรือไม่”

ข้าพเจ้าบอกว่า “ตกลง”

แล้วเขาได้นำข้าพเจ้าเข้าพบ เมื่อเราได้ให้สลามและนั่งลงแล้วเขาได้กล่าวกับท่าน(อฺ)ว่า

“มีฮะดีษของท่านศาสนทูต(ศ) บทหนึ่งรายงานไว้ว่า :

“แท้จริง ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺนั้น เป็นผู้ได้รับการปกป้องซึ่งอวัยวะของนาง โดยอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงหวงห้ามมิให้เชื้อสายของนางสัมผัสกับไฟนรก

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“มีเฉพาะแต่เพียงสำหรับท่านฮะซันและท่านฮุเซนเท่านั้น”

( อัล-อะอิมมะตุอิษนะอะซัร ของอิบนุเฏาลูน หน้า ๑๐๔)

๘๖

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๖

ท่าอะฮฺมัด บินฟัฏลฺ อัล-คอกอนี ได้กล่าวว่า :

ได้มีการจับตัวผู้ร้ายบุกเข้าปล้นสะดมกองคาราวานของผู้บำเพ็ญฮัจญ์ และได้นำตัวคนเหล่านั้นเข้าพบกับเจ้าเมืองเพื่อพิจารณาโทษต่อจากนั้นเจ้าเมืองได้เขียนจดหมายไปถึงค่อลีฟะฮฺอัล-มุอฺตะศิม ครั้นแล้ว บรรดานักปราชญ์และอิบนุ์ อะบีดาวูด ก็ได้เข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือกัน

หลังจากนั้นคนพวกหนึ่งก็ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับบทบัญญัติ ซึ่งในขณะนั้น ท่านอะบูญะอฺฟัร มุฮัมมัด

บินอฺะลี อัล-ริฏอ ก็ได้อยู่ร่วมด้วยคนเหล่านั้นได้กล่าวว่า

“กฏเกณฑ์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ในเรื่องคนเหล่านั้นมีกล่าวอยู่แล้วในคำตรัสของพระองค์ที่ว่า :

“อันที่จริงแล้ว บทลงโทษสำหรับผู้ที่ทำสงครามกับอัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ และพยายามสร้างความเสียหายขึ้นในหน้าแผ่นดินนั้น จะต้องประหารชีวิตหรือจะต้องถูกตรึงบนไม้กางเขน หรือจะต้องตัดมือเขาเหล่านั้น และเท้าของเขาเหล่านั้น สลับข้างกัน หรือเขา

เหล่านั้นจะต้องถูกเนรเทศออกจากผืนแผ่นดิน...”

(อัล-มาอิดะฮฺ: ๓๓)

๘๗

แต่สำหรับท่านอะมีรุลมุอ์มินีนนั้น จะตัดสินอย่างไรก็สุดแล้วแต่ความประสงค์เถิด”

เขาได้หันไปปรึกษาท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)ว่า

“โปรดบอกให้ข้าพเจ้าได้ทราบถึงความรู้ของท่านในเรื่องนี้เถิด ?”

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“แท้จริงคนเหล่านั้นผิดพลาดในการวินิจฉันความ ความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาในข้อนี้คือ

ท่านอะมีรุลมุอ์มินีนจะต้องพิจารณาว่า คนเหล่านี้ที่ได้ขัดขวางการเดินทางหากพวกเขาข่มขู่ให้เกิดความหวาดกลัวแก่ผู้เดินทาง แต่พวกเขาก็มิได้ฆ่าใครและมิได้ยึดทรัพย์สินแต่ประการใด ที่สมควร

กับเหตุก็คือการถูกจำขัง ดังนั้นความหมายที่ให้เนรเทศพวกเขาออกจากแผ่นดินก็ด้วยการข่มขู่ของพวกเขาแก่คนเดินทางนั่นเอง ถ้าหากพวกเขาข่มขู่ให้เกิดความหวาดกลัวแก่คนเดินทางและฆ่าคน

ด้วย ผลก็คือจะต้องประหารชีวิตคนเหล่านั้น และถ้าหากคนเหล่านั้นข่มขู่ให้เกิดความหวาดกลัวแก่

คนเดินทาง อีกทั้งยังฆ่าคนและยึดทรัพย์สิน การลงโทษก็คือจะต้องตัดมือและเท้าของพวกเขาสลับข้างกัน และหลังจากนั้นจะต้องตรึงไม้กางเขนอีกด้วย”

๘๘

ดังนั้นอัล-มุอฺตะศิม จึงจัดการเขียนข้อความตามนั้นส่งไปยังเจ้าเมืองเพื่อให้ได้ตัดสินคดีดังกล่าวตามนั้น

(วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม ๑๘ หน้า ๕๓๖)

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๗

ท่านอะบูคิเดา อัล-มะฮฺดี ได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าได้ถามท่าน(อฺ)ว่า

“อุมมุวะลัด(ภรรยาที่เป็นทาสแต่ให้กำเนิดบุตร)ของข้าพเจ้าได้ให้นมแก่เด็กผู้หญิงคนหนึ่ง

ด้วยน้ำนมที่ให้ลูกของข้าพเจ้ากินจะเป็นที่ต้องห้ามแก่ข้าพเจ้าซึ่งการแต่งงานกับเด็กหญิงคนนั้นหรือไม่ ?”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“จะไม่ถือว่าเป็นการให้นม ถ้าหากกระทำขึ้นหลังจากที่เด็กหย่านมแล้ว”

ข้าพเจ้าได้ถามว่า

“การนมาซในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์(ฮะร็อม)ทั้งสองแห่งจะทำอย่างไร”

๘๙

ท่านอิมามญะวาด(อฺ) ตอบว่า

“ท่านจะทำเต็มก็ได้ และท่านจะทำย่อก็ได้ แต่สำหรับบิดาของฉันนั้น ท่านทำเต็ม”

( อิษบาตุ้ลวะศียะฮฺ หน้า ๑๘๒)

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๘

อะบูฮาซิม อัล-ญะอฺฟะรีได้ถามท่านอิมาม(อฺ)ว่า

“คำว่าเอกะหมายความว่าอย่างไร ?”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)ตอบว่า

“หมายความว่า คำกล่าวทั้งหลายพูดอย่างเป็นเอกฉันท์ในเรื่องหลักเตาฮีด เป็นไปตามที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงตรัสว่า :

“และแน่นอนที่สุด ถ้าหากเจ้าถามเขาเหล่านั้นว่า

ใครคือผู้สร้างฟ้าและแผ่นดิน แน่นอนเขาจะกล่าวว่าอัลลอฮฺ

(ลุกมาน: ๙)

อ้างอิงจากหนังสืออัต-เตาฮีด หน้า ๘๓

๙๐

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๙

อะบูฮาชิม อัล-ญะอฺฟะรี ได้ถามท่าน(อฺ)เกี่ยวกับโองการของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่ว่า

“สายตาทั้งหลายนั้นไม่สามารถหยั่งถึงพระองคื

แต่พระองค์ทรงหยั่งถึงสายตามทั้งหลาย”

(อัล-อันอาม: ๑๐๓)

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“อะบูฮาชิมเอ๋ย ดวงใจทั้งหลายละเอียดอ่อนยิ่งกว่าการมองเห็นของสายตา สำหรับท่านนั้น

สามารถหยั่งถึงสภาพของประเทศที่อยู่ห่างไกลแม้กระทั่งประเทศอินเดีย จีน ได้โดยความนึกคิดของท่าน ทั้งๆ ที่ท่านไม่เคยไปเยือนที่นั่น และสายตาของท่านก็ไม่เคยไปถึงที่นั่น แม้ว่าความนึกคิด

ของดวงจิตทั้งหลายยังไม่อาจเข้าถึงได้ตรงตามสภาพความเป็นจริงได้เลยแล้วสายตาจะมองเห็นสิ่งนั้นได้อย่างไร”

(อัต-เตาฮีด หน้า ๑๑๓)

๙๑

ดุอาอ์ : เสียงเรียกร้องสู่ความถูกต้องของอิมามที่ ๙

ดุอาอ์ต่างๆ ของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) นั้นเป็นคลังวิชาการในด้านหลักเตาฮีดและความเชื่อ เป็นข้อมูลและแบบฉบับอันสูงส่งในด้านจริยธรรมและความรอบรู้ เป็นกระแสธารอันบริสุทธิ์ที่เปี่ยมล้นสำหรับหลักการดำเนินชีวิตอันสมบูรณ์และความมีระเบียบ

ดุอาอ์ของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)นั้น เป็นสื่อที่ให้ผลเป็นอย่างยิ่งสำหรับการนำ

สังคมให้มีความตื่นตัวและก้าวหน้าไปในทิศทางแห่งพระผู้เป็นเจ้า และเป็นการยกระดับให้ก้าวขึ้นไปสู่สถานภาพอันสูงส่ง

 ในบทนี้เราจะนำเรื่องราวที่เกี่ยวกับดุอาอ์บางประการของท่าน

อิมามอะบูญะอฺฟัร อัล-ญะวาด(อฺ)มาเสนอ

๙๒

ดุอาอ์

บทที่ ๑

“โอ้พระผู้ซึ่งไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือน และไม่มีสิ่งใดคล้ายคลึง พระองค์คืออัลลอฮฺ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ ไม่มีผู้สร้างอื่นใดนอกจากพระองค์พระองค์ทรงสลายสภาพของสิ่งถูกสร้าง แต่พระองค์ทรงดำรงอยู่อย่างถาวร

 พระองค์ยังทรงอ่อนโยนต่อผู้ที่ทรยศต่อพระองค์ และในการอภัยโทษนั้นเป็นความยินดีของพระองค์”

(อะอฺยานุชชีอะฮฺ เล่ม ๓ หน้า ๒๔๕, มุกตะบิซุ้ลอะษัร เล่ม ๑๘ หน้า ๑๑๔).

๙๓

ดุอาอ์

บทที่ ๒

ดุอาอ์กุนูตบทหนึ่งของท่านอิมามญะวาด(อฺ)มีดังนี้

“การประทานให้ของพระองค์นั้นมีอย่างต่อเนื่อง ความโปรดปรานของพระองค์นั้นมีอย่างล้นเหลือ แต่การขอบพระคุณของเรานั้นมีเพียงน้อยนิดการสรรเสริญของเรานั้นมีเพียงเล็กน้อย

พระองค์ทรงให้ความสงสารแม้แต่กับผู้ที่รู้จักพระองค์เพียงผิวเผิน

โอ้ อัลลอฮฺ แน่นอนบรรดาผู้อยู่กับสัจธรรมมมักจะอยู่ในสภาพกลืนไม่เข้าคลายไม่ออก

ส่วนผู้มีวาจาสัตย์ก็ตกอยู่ในสภาพถูกปิดล้อม(หมดโอกาส)

โอ้ อัลลอฮฺพระองค์เท่านั้นที่ทรงเป็นผู้มีเมตตาต่อปวงบ่าวของพระองค์และผู้ที่มีความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะเข้าหาพระองค์ พระองค์ทรงมีอำนาจตอบรับดุอาอ์ของพวกเขาและทรงบันดาลให้พวกเขาได้รับการแคล้วคลาดอย่างเร็วพลัน

โอ้ อัลลอฮฺ ขอให้ทรงเป็นประทานความจำเริญแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของมุฮัมมัด และขอให้ทรงรีบเร่งประทานความช่วยเหลือที่ไม่มีวันบกพร่องหลังจากนั้นอีกให้แก่เราและด้วยความอนุเคราะห์ที่ไม่พลั้งพลาดอีกเลย และขอได้โปรดประทานความสันติสุขจากพระองค์ให้แก่เรา อันเป็นความสันติสุขที่บุคคลซึ่งพระองค์ทรงรักได้รับความปลอดภัยในนั้น

๙๔

 และเป็นความสันติสุขที่ศัตรูของพระองค์ต้องประสบความพ่ายแพ้ อีกทั้งเป็นความสันติสุขที่ผู้ซึ่งรู้จักพระองค์ดำรงอยู่ได้

อีกทั้งเป็นความสันติสุขที่อำนวยให้การกิจต่างๆ ของพระองค์มีความบันเจิด อันเป็นความสันติสุขที่พระองค์ทรงมีชัยเหนือศัตรูของพระองค์

โอ้ อัลลอฮฺ โปรดรีบเร่งให้พวกเราได้ใช้สถานที่พำนักแห่งความเมตตาจากพระองค์ และโปรดรีบเร่งให้ศัตรูของพระองค์ได้ไปพำนักอยู่ในบ้านแห่งการลงทัณฑ์

โอ้ อัลลอฮฺ ขอได้ทรงโปรดช่วยเหลือและเกื้อกูลต่อเรา และขอได้ทรงโปรดถอดถอนการลงโทษของพระองค์ออกไปจากเรา และทรงบันดาลให้สิ่งนั้นประสบแก่เหล่าบรรดาผู้อธรรม”

(มะฮฺญุดดะอฺวาต หน้า ๕๙)

๙๕

ดุอาอ์

บทที่ ๓

ดุอาอ์กุนูตอีกบทหนึ่งของอิมามญะวาด(อฺ) มีดังนี้

“โอ้ อัลลอฮฺ พระองคืคือผู้เป็นเจ้านับตั้งแต่เริ่มแรก ซึ่งไม่มีสภาวะเริ่มแรกใดๆ ก่อนหน้านี้อีก และทรงเป็นองค์สุดท้ายซึ่งไม่มีสภาวะสุดท้ายใดๆ ถูกกำหนดไว้หลังจากนั้นอีก พระองค์ทรงให้การบังเกิดกับพวกเราโดยไม่มีปฐมเหตุอื่นใดมาก่อนเกิดพระองค์ ทรงบันดาลให้พวกเรามีขึ้นมา

โดยมิได้เป็นไปเพราะเหตุจำเป็นอื่นใดบังคับ พระองค์ทรงบันดาลให้เราเกิดขึ้นมาด้วยวิทยาปัญญาของพระองค์ อันทางไว้ซึ่งอิสระเสรี พระองค์ทรงทดสอบเราด้วยคำสั่งใช้และคำสั่งห้ามของ

พระองค์เพื่อเป็นการทดสอบพระองค์ ทรงให้การสนับสนุนเราด้วยอุปกรณ์ต่างๆและทรงมอบเครื่องมือทั้งหลายให้แก่เรา และทรงประทานความสามารถทั้งปวงให้แก่เรา และทรงกำหนด

หลักการเชื่อฟังปฏิบัติตามให้แก่เรา กล่าวคือพระองค์ได้บัญชาใช้โดยที่ให้เราเลือก และทรงห้ามโดยเป็นการเตือน พระองค์ทรงประทานให้อย่างมากมาย ทรงเรียกร้องแต่เพียงเล็กน้อย

พระบัญชาของพระองค์ได้รับการถูกละเมิด แต่พระองค์ก็ยังมีเมตตาพลานุภาพของพระองค์ได้รับการดูถูก

๙๖

แต่กระนั้นพระองค์ก็ยังทรงให้เกียรติ พระองค์คือเจ้าแห่งเกียรติยศ เจ้าแห่งความยิ่งใหญ่เกรียงไกร

เจ้าแห่งความดี และความโปรดปราน เจ้าแห่งความหวังและความปรานี เจ้าแห่งการประทานให้และเผื่อแผ่ เจ้าแห่งการดลบันดาลซึ่งความสำเร็จ ไม่มีดวงใจดวงใดสามารถล่วงรู้ในความลี้ลับของ

พระองค์ ไม่มีมโนภาพใดๆ สามารถเข้าถึงคุณลักษณะของพระองค์ สิ่งที่พระองค์ทรงสร้างไว้ทั่วปวงไม่มีสิ่งใดคล้ายคลึงพระองค์ สิ่งที่พระองค์ทรงให้บังเกิดไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์

มหาบริสุทธิ์ผู้ทรงอยู่เหนือการถูกสัมผัสหรือการหยั่งถึงใดๆ โดยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ สิ่งถูกสร้างจะมีความสามารถหยั่งถึงผู้สร้างของตนได้อย่างไร ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าพระองค์ทรงสูงส่งเหนือสิ่งที่ผู้อธรรมได้กล่าวไปทรงสูงส่งยิ่ง ทรงเกรียงไกร

โออัลลอฮฺ โปรดสนับสนุนให้บรรดาเอาลิยาอ์(ผู้เป็นที่รักยิ่ง) ของพระองค์มีชัยชนะต่อศัตรูของพระองค์

 ผู้อธรรม ผู้ละเมิด พวกนากิษีน พวกกอซิฏีน พวกมาริกีน

(ทั้ง ๓ กลุ่มคือกลุ่มที่ทำสงครามกับท่านอิมามอฺะลี) ซึ่งเขาเหล่านั้นได้ทำให้ปวงบ่าวของพระองค์ต้องหลงผิด เขาเหล่านั้น

เปลี่ยนแปลงคัมภีร์ของพระองค์ และดัดแปลงบทบัญญัติของพระองค์เขาเหล่านั้นละเมิดสิทธิของพระองค์ และนั่งอยู่ในตำแหน่งของบรรดาเอาลิยาอ์ของพระองค์

๙๗

ความเลวร้ายจากเขาเหล่านั้นกระทำขึ้นเบื้องหน้าของพระองค์เป็นความอธรรมที่พวกเขามีต่ออะฮฺลุลบัยตฺแห่งนบีของพระองค์

ซึ่งเขาเหล่านั้นได้หลงผิดและทำให้บรรดาสิ่งถูกสร้างของพระองค์ต้องหลงผิดตามไป

โอ้ พระผู้เป็นเจ้าเขาเหล่านั้นได้ยึดเอาสิทธิของพระองค์ไปอยู่ในครอบครองและกดขี่ปวงบ่าวของพระองค์

โอ้ พระผู้เป็นเจ้า เขาเหล่านั้นละทิ้งผืนแผ่นดินของพระองค์ให้ตกอยู่ในความมือมนตลอดกาล ดังนั้นสายตาของพวกเขาถึงแม้จะเปิดอยู่ แต่หัวใจของพวกเขามือบอด ไม่มีหลักฐานอันใดหลงเหลือสำหรับพวกเขาอีกแล้ว ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าพระองค์ได้นำการลงทัณฑ์และได้กำหนดการลงโทษมาแล้ว พระองค์ทรงสัญญารไว้กับเหล่าบรรดาผู้ปฏิบัติตามว่าจะได้รับคุณงามความดีจากพระองค์ พระองค์ได้นำคำตักเตือนมายังเขาเหล่านั้น ดังนั้นคนกลุ่มหนึ่งจึงได้ศรัทธา

โอ้ อัลลอฮฺ โปรดเกื้อกูลต่อบรรดาผู้ศรัทธาให้มีชัยชนะเหนือศัตรูของพระองค์ และศัตรูแห่งบรรดาผู้สวามิภักดิ์ต่อพระองค์ ดังนั้นพวกเขาจึงปรากฏตัวอย่างชัดเจน และเป็นผู้เรียกร้องไปสู่สัจธรรม และสำหรับอิมามผู้ถูกรอดคอยอันเป็นผู้ดำรงอยู่ด้วยความเที่ยงธรรมนั้น ขอให้มีผู้ปฏิบัติตาม

๙๘

 ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดจัดเตรียมไฟนรกของพระองค์ไว้แก่ศัตรูของพระองค์ และศัตรูของคนเหล่านั้น และขอได้ทรงจัดเตรียมการลงโทษที่ไม่วันถูกปกป้องให้พ้นจากบรรดาผู้อธรรม

ข้าแต่อัลลอฮฺ ได้โปรดประทานความจำเริญแด่ศาสดามุฮัมมัดและวงศ์วานของมุฮัมมัด ขอพระองค์ทรงเพิ่มพูนพละกำลังให้แก่เหล่าบรรดาผู้บริสุทธิ์ใจต่อพระองค์ที่อ่อนแอและแก่บรรดาผู้

ปฏิบัติตามพวกเราด้วยความจงรักภักดี อันเป็นผู้ปฏิบัติตามเราด้วยความเชื่อมั่นและปฏิบัติตามคำสอน และได้โปรดบันดาลให้มีผู้กล่าวถึงเราในหมู่ชนเหล่านั้น

ข้าแต่อัลลอฮฺ ขอได้โปรดสนับสนุนกิจการงานของพวกเขาเหล่านั้น และได้ทรงสนับสนุนให้พวกเขาได้รับศาสนาตามที่พระองค์ทรงมอบให้แก่พวกเขาด้วยความยินดี และได้โปรดบันดาลความสมบูรณ์แห่งความโปรดปรานของพระองค์ให้แก่เขาเหล่านั้นและได้โปรดขัดเกลาเขาเหล่านั้นให้มีความบริสุทธิ์

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าได้โปรดยับยั้งความยากจนของพวกเขาเหล่านั้น

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ขอได้โปรดให้ความช่วยเหลือแก่ความคับแค้นของคนเหล่านั้น

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ขอได้โปรดอภัยในความบาปและความผิดพลาดของคนเหล่านั้น และขอให้ทรงอย่าหันเหจิตใจของคนเหล่านั้น หลังจากที่พระองค์ทรงนำทางพวกเขา

๙๙

โอ้ พระผู้อภิบาล ขอพระองค์ทรงอย่าปล่อยให้เขาเหล่านั้นละเมิด ได้โปรดปกป้องคุ้มครองเขาเหล่านั้นให้อยู่ในความสะอาดบริสุทธิ์กับสายธารแห่งความจงรักภักดีต่อเหล่าบรรดาเอาลิยาอ์ของพระองค์และโปรดบันดาลให้เขาเหล่านั้นแคล้วคลาดจากบรรดาศัตรูของพระองค์

 แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงให้การสนองตอบ

ขออัลลอฮฺ ได้ทรงประทานพรแด่ศาสนามุฮัมมัดและวงศ์วานผู้บริสุทธิ์”

( มะฮฺญุดดะอฺวาต หน้า ๖๐)

๑๐๐

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

คอลีฟะฮฺมะอ์มูน ยกบุตรสาวของตนให้แต่งงานกับท่าน ท่านส่งเงิน

กลับไปที่นครมะดีนะฮฺทุกปี มากกว่าปีละ ๑, ๐๐๐,๐๐๐ ดิรฮัมท่านเสียชีวิตในวัยหนุ่มที่กรุงแบกแดด เมื่อปี ฮ.ศ.๒๒๐ หลังจากที่

คอลีฟะฮฺมะอ์มูนได้เสียชีวิตแล้ว ท่านเคยได้เข้าพบคอลีฟะฮฺ

อัล-มุอฺตะศิมบิลลาฮฺปรากฏว่าเขาได้ให้เกียรติและให้การยกย่องต่อท่าน สุสานของท่านฝังใกล้กันกับสุสานของท่านอิมามมูซา ผู้เป็นปู่ของท่าน(อฺ)”

เขาได้กล่าวอีกว่า “ท่านเป็นคนบำเพ็ญเพียรเพื่อแสวงหาความบริสุทธิ์คนหนึ่ง เป็นผู้รักความสงบ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงมีฉายานามว่า ญะวาด ท่านคือหนึ่งในบรรดาอิมาม ๑๒ ท่านเกิดเมื่อปี๑๙๕

( อัลวาฟีบิ้ลวุฟียาต เล่ม ๔ หน้า ๑๐๕ )

๑๒๑

คำสดุดีจาก

ท่านมุฮัมมัด บินฏ็อลฮะฮฺ

อัช-ชาฟีอี (ร.ฮ. )

ท่านมุฮัมมัด บิน ฏ็อลฮะฮฺ อัช-ชาฟิอี (ร.ฮ.) ได้กล่าวหลังจากที่พูดถึงอิมามญะวาด(อฺ)แล้วว่า

“แท้จริงอัลลอฮฺทรงเจาะจงที่จำให้ท่านเป็นผู้มีเกียรติยศในสถานภาพอันยิ่งใหญ่โดยได้รับความรุ่งโรจน์ ท่านถูกยกย่องให้อยู่ในตำแหน่งที่มีค่าอย่างประมาณไม่ได้ เป็นที่ยอมรับสำหรัสติปัญญา

แห่งบรรดาผู้รู้ทั้งปวง

(มะฏอลิบุซซุอูล หน้า ๘๗)

คำสดุดีจาก

ท่านอะฮฺมัด บินยูซุฟ อัด-ดะมัชกี

อัล-กุรบานี(ร.ฮ.)

ท่านอะฮฺมัด บินยูซุฟ อัด-ดะมัชกี อัล-กุรบานี(ร.ฮ.)ได้กล่าวว่า : สำหรับเกียรติยศของท่านอิมามญะวาดนั้น อยู่คู่กับกาลเวลา และไม่เคยเสื่อมถอยแต่ประการใดเลย ยิ่งกว่านั้นถือว่าท่านได้รับ

อานุภาพจากพระผู้เป็นเจ้าประการหนึ่งที่มีคุณงามความดีคงทนถาวรอยู่ในโลก เกียรติยศของท่านสูงส่ง

๑๒๒

ทั้ง ๆ ที่วันเวลาของท่านมีน้อย อย่างไรก็ตามอัลลอฮฺทรงประสงค์ที่จะให้ท่านได้รับเกียรติสูงส่ง และเป็นสัญญาณอันยิ่งใหญ่ ครั้งหนึ่งเมื่อคอลีฟะฮฺมะอ์มูนได้เข้ามายังเมืองแบกแดด

วันหนึ่งเขาได้ออกไปล่าสัตว์แล้วเดินผ่านเด็กเล็กๆ ที่กำลังเล่นอยู่ในจำนวนนั้นมีอิมามญะวาด(อฺ)รวมอยู่ด้วย บรรดาเด็กๆ ต่างพากันวิ่งหนีด้วยความหวาดกลัวคอลีฟะฮฺ มะอ์มูน ยกเว้น อิมามญะวาด(อฺ)

เพียงคนเดียวเท่านั้น อายุของท่านเวลานั้นเพียง ๙ ขวบ เมื่อคอลีฟะฮฺมะอ์มูนเห็นท่าน ก็ได้ถามว่า

“ทำไมเจ้าจึงไม่วิ่งหนีพร้อมกับเพื่อนๆ”

ท่านอิมามญะวาด(อ) กล่าวว่า

“โอ้ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน ถนนหนทางก็มิใช่ว่าจะคับแคบ มันยังกว้างพอสำหรับท่านอยู่ และข้าพเจ้าเองก็ไม่มีความผิดอะไรที่จะต้องกลัวท่าน ข้าพเจ้ามองท่านในแง่ดี คิดว่าท่านจะต้องไม่ทำอันตรายแก่คนที่มิได้ทำความผิดเป็นแน่”

คอลีฟะฮฺมะอ์มูนมีความประทับใจในคำพูดนี้ และแสดงความอาลัยต่อบิดาของท่าน เมื่อเขาได้เดินผ่านพ้นไปสักระยะหนึ่งจนถึงใจกลางป่า เขาได้จัดการปล่อยนกอินทรีให้ออกไปล่าเหยื่อ

นกอินทรีหายไปในที่กว้าง และหวนกลับมาพร้อมกับมีปลาน้อยตัวหนึ่งติดอยู่ที่จงอยปากของมัน

และปลาตัวน้อยนั้นก็ยังมีชีวิตอยู่ คอลีฟะฮฺมะอ์มูนชอบใจนักจึงเดินทางกลับจากการล่า

๑๒๓

 ครั้นแล้วก็ได้พบกับเด็กๆ ซึ่งมีอิมามญะวาด(อฺ)อยู่ด้วย เมื่อเข้าไปถึงอิมามญะวาด

ค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนกล่าวว่า

“โอ้มุฮัมมัด นี่อะไรในมือของฉัน”

อัลลอฺ(ซ.บ.)ทรงดลบันดาลให้ อิมามญะวาด(อฺ) กล่าวขึ้นว่า

“แท้จริงอัลลอฮฺทรงสร้างปลาตัวน้อยในทะเลโดยอานุภาพของพระองค์ แล้วพวกกษัตริย์และคอลีฟะฮฺก็ได้จับมันมา หลังจากนั้นท่านก็ได้นำมันมาสอบถามกับลูกหลานของอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)

มะอ์มูนมีความประทับใจยิ่งนัก เขาได้เพ่งพินิจอยู่เป็นเวลานานและตั้งใจว่าจะยกบุตรสาวของตน คืออุมมุลฟัฏลฺให้แต่งงานกับท่าน

(อัคบารุดดุลวัล หน้า ๑๑๖ )

๑๒๔

คำสดุดีจาก

ท่านอะลี บินซิบาฆ อัล-มาลิกี(ร.ฮ.)

ท่านอะลี บินซิบาฆ อัล-มาลิกี (ร.ฮ.) ได้กล่าวหลังจากที่อธิบายถึงรายละเอียดของฮะดีษจากอิมามญะวาด(อฺ)ว่า

“และนี่เป็นส่วนหนึ่งของเกียรติยศอันสูงส่งของท่าน เป็นส่วนหนึ่งของความประเสริฐอัน

งดงามยิ่งของท่าน”

(อัลฟุศูลุ้ลมุฮิมมะฮฺ ๒๕๗)

คำสดุดีจาก

ท่านอับดุลลอฮฺ ชิบรอวี อัช-ชาฟิอี

ท่านอับดุลลอฮฺ ชิบรอวี อัช-ชาฟิอี ได้กล่าวว่า ท่านคืออะบู ญะอฺฟัร มุฮัมมัดอัล-ญะวาดบินอะลีอัล-ริฏอ บินมูซาอัล-กาซิม บินญะอฺฟัร อัศ-ศอดิก บินมุฮัมมัดอัล-บากิร บินอะลีซัยนุ้ลอาบิดีน บินฮุเซน บินอะลี บินอะบีฏอลิบ (ขออัลลอฮฺทรงปิติชื่นชมต่อพวกท่าน)

 ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๙ เดือน ร่อมะฏอน ฮ.ศ. ๑๙๕ เกียรติคุณของท่านอิมามอะบูญะอฺฟัรผู้นี้มีมากมายเหลือคณานับ

(อัลอิตติฮาฟ บิฮุบบิ้ลอัซรอฟ หน้า ๖๗ )

๑๒๕

คำสดุดีจาก

ท่านยูซุฟ อิซมาอีล อัน-นะบะฮานี

ท่านยูซุฟ อิซมาอีล อัน-นะบะฮานี ได้กล่าวว่า : ท่านมุฮัมมัด ญะวาด บินอะลี อัร-ริฏอ คือ

หนึ่งในบรรดาอิมามผู้อาวุโส และเป็นดวงประทีปสำหรับประชาชาติ เป็นหนึ่งจากบรรดาประมุขทั้งหลายของเรา

ชาวอะฮฺลุลบัยตฺ

ท่านชิบรอวีได้กล่าวถึงท่านไว้ในหนังสืออิดฮาฟ บิฮุบบิลอัชรอฟหลังจากที่ได้สดุดีถึงถ้อยคำสรรเสริญอันงดงามแก่ท่าน และกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่เป็นเกียรติยศของท่าน ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่ง

ที่แสดงให้เห็นถึงความประเสริญและความสมบูรณ์พร้อมในด้านต่าง ๆและแท้จริงแล้วคอลีฟะฮฺ

มะอ์มูนแห่งวงศ์อับบาซียะฮฺ ได้ยกบุตรสาวของตนให้แต่งงานกับท่าน(

(ญามิอุกะรอมาติ้ลเอาลิยาอ์ เล่ม ๑หน้า ๑๐๐ )

๑๒๖

คำสดุดีจาก

ท่านมะฮฺมูด บินวะฮับ อัล-บัฆดาดี

อัล-ฮะนาฟี

ท่านมะฮฺมูด บินวะฮับ อัล-บัฆดาดี อัล-ฮะนาฟี ได้กล่าวว่า

“ท่านมุฮัมมัด ญะวาด บินอะลีอัล-ริฏอ นั้นมีสมญานามว่า อะบูญะอฺฟัร เช่นเดียวกับสมญานามของปู่ทวดคนหนึ่งของท่าน ได้แก่ มุฮัมมัดอัล-บากิร(ขออัลลอฮฺได้ทรงมีความปิติชื่นชมต่อท่าน) ฉายานามของท่านนั้นมี ๓ ชื่อ คือ อัล-ญะวาด อัล-กอเนียะอฺ และอัล-มุรตะฏอ แต่ที่นิยมเรียกกันมากที่สุด ได้แก่ อัล-ญะวาด ท่านเป็นคนมีรูปร่างผิวขาว สมส่วน สง่างามมีลายสลักบนแหวนว่า

เนียะอฺมัล-มุก็อดดิริ้ลลาฮฺ

หลังจากนั้นเขาได้กล่าวว่า

“ท่านคือทายาทของบิดาในด้านวิชาการความรู้และความประเสริฐ”

(เญาฮะร่อตุ้ลกะลาม หน้า ๑๔๗ )

๑๒๗

คำสดุดีจาก

ท่านอะลี ญะลาลุ้ล ฮุซัยนี

ท่านอะลี ญะลาลุ้ลฮุซัยนี ได้กล่าวว่า อะบูญะอฺฟัรที่ ๒ หมายถึง มุฮัมมัด ญะวาด บินอะลี

ท่านเกิดที่เมืองมะดีนะฮฺ เมื่อ ฮ.ศ. ๑๙๕ เป็นผู้มีความรู้และความดีงามเด่นชัดมากกว่าใครทั้งหมดในสมัยเดียวกัน

ทั้งๆ ที่ท่านยังมีอายุน้อย คอลีฟะฮฺมะอ์มูนได้จัดแต่งงานท่านกับ

อุมมุล-ฟัฏลฺบุตรสาวของตน ท่านเสียชีวิตที่กรุงแบกแดด ในปี ๒๒๐ ขณะที่ท่านอายุได้ ๒๕ ปี

( อัลฮุซัยนฺ เล่ม ๒ หน้า ๒๐๗)

คำสดุดีจาก

ท่านค็อยรุดดีน อัซ-ซัรกะลี

ท่านค็อยรุดดีน อัซ-ซัรกะลีได้กล่าวว่า

“ท่านเป็นคนที่มีความสามารถสูงส่งเป็นพิเศษ เช่นเดียวกับ

บรรพบุรุษของท่าน มีความฉลาด

หลักแหลมในการพูดยิ่งนัก เป็นผู้ที่มีความรู้ลึกซึ้งตรึงใจ ท่านเกิดที่เมืองมะดีนะฮฺ ท่านตะบีลี มุฮัมมัด บินวะฮฺบาน มีหนังสืออยู่เล่มหนึ่ง ซึ่งได้เขียนเกี่ยวกับชีวประวัติของท่านอิมามญะวาด(อฺ)โดย

ให้ชื่อหนังสือเล่มนั้นว่า “อัคบารุอะบีญะอฺฟัร อัษ-ษานี”

( อัลอะอฺลาม)

๑๒๘

บทส่งท้าย

อิมามญะวาด(อฺ)

การเรียบเรียงอันรีบเร่งแห่งอัตชีวประวัติของอิมามอะบูญะอฺฟัร มุฮัมมัด อัล-ญะวาด(อฺ)นี้ถือเป็นสิ่งพอเพียงแล้วสำหรับเราในการรำลึกวิถีชีวิตของท่าน(อฺ)อย่างง่ายๆ มันเป็นการเลือกสรร

อันน้อยนิดจากคติพจน์ของท่านอิมามที่ ๙ โดยพิจารณาจากข้อเขียนอันเป็นบทสรุปนี้ของเรา

เป็นการเหมาะสมสำหรับประชาชาติอิสลาม หลังจากที่ได้ผ่านพ้นการตรวจสอบอย่างเข้มงวดต่อวิถีชีวิตดังกล่าวนั้น ช่วงเวลาอันเคร่งเครียดได้ผ่านไป ความคิดที่แฝงไว้ด้วยความไม่ฝัน

ได้ตรึกตรองความล้มเหลงในห้วงของศีลธรรมจรรยา สังคม การเมือง และเศรษฐกิจ จะต้องย้อนกลับไปหาวิถีชีวิตของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) เพื่อไปให้ถึงยังเป้าหมายในการได้รับ

ซึ่งความดีงามและผาสุก เพื่อก้าวเข้าไปยังความีเกียรติ อำนาจ และความสุขสบาย

“จงกล่าวเถิดว่าหากพวกท่านรักอัลลอฮฺก็จงปฏิบัติตามฉันแล้วอัลลอฮฺก็จะทรงรักพวกท่าน

อภัยโทษความบาปให้แก่พวกท่านอัลลอฮฺทรงเปี่ยมล้นด้วยการอภัยทรงเมตตายิ่ง”

๑๒๙

Table of Conten  สารบัญ

บทนำ.. ๒

ชีวประวัติอันทรงเกียรติของอิมามที่ ๙. ๗

ข้อบัญญัติการแต่งตั้งอิมามมุฮัมมัด บินอฺะลีอัล-ญะวาด(อฺ) ๑๐

จากบัญญัติข้อที่ ๑. ๑๒

จากบัญญัติข้อที่ ๒. ๑๓

จากบัญญัติข้อที่ ๓. ๑๓

จากบัญญัติข้อที่ ๔. ๑๔

จากบัญญัติข้อที่ ๕. ๑๕

ความดีงามและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของอิมามตะกี(อฺ) ๑๖

คำสั่งเสียของอิมามอะบูญะอฺฟัร อัล-ญะวาด(อฺ) ๒๑

-๑-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙. ๒๒

-๒-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙. ๒๓

-๓-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙. ๒๓

-๔-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙. ๒๔

-๕-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙. ๒๔

-๖-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙. ๒๕

สาส์นข้อเตือนสติของอิมามมุฮัมมัด บินอฺะลี(อฺ) ๒๕

สาส์นฉบับที่ ๑. ๒๖

สาส์นฉบับที่ ๒. ๒๗

สาส์นฉบับที่ ๓. ๒๗

สาส์นฉบับที่ ๔. ๓๐

สุภาษิต :คำสอนจากวิทยปัญญาของอิมามญะวาด(อฺ) ๓๗

สุภาษิตที่ ๑. ๓๘

สุภาษิตที่ ๒. ๓๘

สุภาษิตที่ ๓. ๓๙

สุภาษิตที่ ๔. ๓๙

สุภาษิตที่ ๕. ๓๙

สุภาษิตที่ ๗. ๔๐

สุภาษิตที่ ๘. ๔๐

สุภาษิตที่ ๙. ๔๐

สุภาษิตที่ ๑๐. ๔๐

สุภาษิตที่ ๑๑. ๔๑

สุภาษิตที่ ๑๒. ๔๑

สุภาษิตที่ ๑๓. ๔๑

สุภาษิตที่ ๑๔. ๔๑

สุภาษิตที่ ๑๕. ๔๑

สุภาษิตที่ ๑๖. ๔๒

สุภาษิตที่ ๑๗. ๔๒

สุภาษิตที่ ๑๘. ๔๒

สุภาษิตที่ ๑๙. ๔๒

สุภาษิตที่ ๒๐. ๔๓

สุภาษิตที่ ๒๑. ๔๓

สุภาษิตที่ ๒๒. ๔๓

สุภาษิตที่ ๒๓. ๔๔

สุภาษิตที่ ๒๔. ๔๔

ถกปัญหาทางวิชาการจากแหล่งความรู้อันอมตะของอิมามที่ ๙. ๔๗

อิมามที่ ๙ ถกปัญหาฟิกฮฺกับยะฮฺยา บินอักษัม. ๔๙

อิมามที่ ๙ถกปัญหาคิลาฟิยะฮฺกับยะฮฺยา บินอักษัมและพรรคพวก. ๖๐

ถกปัญหาอะฮฺกามกับยะฮฺยา บินอักษัม. ๖๘

คำตอบอันลุ่มลึกของอิมามญะวาด(อฺ)แห่งอะฮฺลุลบัยตฺ. ๖๙

ถาม-ตอบ. ๗๖

เรื่องที่ ๑. ๗๖

ถาม~ตอบ. ๘๐

เรื่องที่ ๒. ๘๐

ถาม~ตอบ. ๘๓

เรื่องที่ ๓. ๘๓

ถาม~ตอบ. ๘๖

เรื่องที่ ๔. ๘๖

ถาม~ตอบ. ๘๗

เรื่องที่ ๕. ๘๗

ถาม~ตอบ. ๘๘

เรื่องที่ ๖. ๘๘

ถาม~ตอบ. ๙๐

เรื่องที่ ๗. ๙๐

ถาม~ตอบ. ๙๑

เรื่องที่ ๘. ๙๑

ถาม~ตอบ. ๙๒

เรื่องที่ ๙. ๙๒

ดุอาอ์ : เสียงเรียกร้องสู่ความถูกต้องของอิมามที่ ๙ ๙๓

บทที่ ๑. ๙๔

บทที่ ๒. ๙๕

บทที่ ๓. ๙๗

บทที่ ๔. ๑๐๒

การตอบสนองต่อดุอาอ์ของอิมามมุฮัมมัด อัต-ตะกี(อฺ) ๑๐๓

เหตุการณ์ที่ ๑. ๑๐๓

เหตุการณ์ที่ ๒. ๑๐๖

อิมามตะกี(อฺ)กับคอลีฟะฮฺมะอ์มูนแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺ. ๑๐๗

คำสดุดีของนักปราชญ์ต่ออิมามที่ ๙. ๑๑๖

คำสดุดีจากท่านอะลี บินญะอฺฟัร. ๑๑๗

คำสดุดีจากคอลีฟะฮฺมะอ์มูน. ๑๑๙

คำสดุดีจากอะบุ้ลอีนาอ์. ๑๒๑

คำสดุดีจากบาทหลวงคริสต์. ๑๒๑

คำสดุดีจากท่านยูซุฟ บินฟะซาฆ่อลี. ๑๒๒

คำสดุดีจากท่านศ่อลาฮุดดี อัศ-ศ็อฟดี(ร.ฮฺ) ๑๒๒

คำสดุดีจากท่านมุฮัมมัด บินฏ็อลฮะฮฺ อัช-ชาฟีอี (ร.ฮ. ๑๒๔

คำสดุดีจากท่านอะฮฺมัด บินยูซุฟ อัด-ดะมัชกีอัล-กุรบานี(ร.ฮ.) ๑๒๔

คำสดุดีจากท่านอะลี บินซิบาฆ อัล-มาลิกี(ร.ฮ.) ๑๒๘

คำสดุดีจากท่านอับดุลลอฮฺ ชิบรอวี อัช-ชาฟิอี. ๑๒๘

คำสดุดีจากท่านยูซุฟ อิซมาอีล อัน-นะบะฮานี. ๑๒๙

คำสดุดีจากท่านมะฮฺมูด บินวะฮับ อัล-บัฆดาดื อัล-ฮะนาฟี. ๑๓๐

คำสดุดีจากท่านอะลี ญะลาลุ้ล ฮุซัยนี. ๑๓๑

คำสดุดีจากท่านค็อยรุดดีน อัซ-ซัรกะลี. ๑๓๑

บทส่งท้าย. ๑๓๒

๑๓๐