ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด0%

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 130

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 130
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 68116
ดาวน์โหลด: 2992

รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 130 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 68116 / ดาวน์โหลด: 2992
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

คอลีฟะฮฺมะอ์มูน ยกบุตรสาวของตนให้แต่งงานกับท่าน ท่านส่งเงิน

กลับไปที่นครมะดีนะฮฺทุกปี มากกว่าปีละ ๑, ๐๐๐,๐๐๐ ดิรฮัมท่านเสียชีวิตในวัยหนุ่มที่กรุงแบกแดด เมื่อปี ฮ.ศ.๒๒๐ หลังจากที่

คอลีฟะฮฺมะอ์มูนได้เสียชีวิตแล้ว ท่านเคยได้เข้าพบคอลีฟะฮฺ

อัล-มุอฺตะศิมบิลลาฮฺปรากฏว่าเขาได้ให้เกียรติและให้การยกย่องต่อท่าน สุสานของท่านฝังใกล้กันกับสุสานของท่านอิมามมูซา ผู้เป็นปู่ของท่าน(อฺ)”

เขาได้กล่าวอีกว่า “ท่านเป็นคนบำเพ็ญเพียรเพื่อแสวงหาความบริสุทธิ์คนหนึ่ง เป็นผู้รักความสงบ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงมีฉายานามว่า ญะวาด ท่านคือหนึ่งในบรรดาอิมาม ๑๒ ท่านเกิดเมื่อปี๑๙๕

( อัลวาฟีบิ้ลวุฟียาต เล่ม ๔ หน้า ๑๐๕ )

๑๒๑

คำสดุดีจาก

ท่านมุฮัมมัด บินฏ็อลฮะฮฺ

อัช-ชาฟีอี (ร.ฮ. )

ท่านมุฮัมมัด บิน ฏ็อลฮะฮฺ อัช-ชาฟิอี (ร.ฮ.) ได้กล่าวหลังจากที่พูดถึงอิมามญะวาด(อฺ)แล้วว่า

“แท้จริงอัลลอฮฺทรงเจาะจงที่จำให้ท่านเป็นผู้มีเกียรติยศในสถานภาพอันยิ่งใหญ่โดยได้รับความรุ่งโรจน์ ท่านถูกยกย่องให้อยู่ในตำแหน่งที่มีค่าอย่างประมาณไม่ได้ เป็นที่ยอมรับสำหรัสติปัญญา

แห่งบรรดาผู้รู้ทั้งปวง

(มะฏอลิบุซซุอูล หน้า ๘๗)

คำสดุดีจาก

ท่านอะฮฺมัด บินยูซุฟ อัด-ดะมัชกี

อัล-กุรบานี(ร.ฮ.)

ท่านอะฮฺมัด บินยูซุฟ อัด-ดะมัชกี อัล-กุรบานี(ร.ฮ.)ได้กล่าวว่า : สำหรับเกียรติยศของท่านอิมามญะวาดนั้น อยู่คู่กับกาลเวลา และไม่เคยเสื่อมถอยแต่ประการใดเลย ยิ่งกว่านั้นถือว่าท่านได้รับ

อานุภาพจากพระผู้เป็นเจ้าประการหนึ่งที่มีคุณงามความดีคงทนถาวรอยู่ในโลก เกียรติยศของท่านสูงส่ง

๑๒๒

ทั้ง ๆ ที่วันเวลาของท่านมีน้อย อย่างไรก็ตามอัลลอฮฺทรงประสงค์ที่จะให้ท่านได้รับเกียรติสูงส่ง และเป็นสัญญาณอันยิ่งใหญ่ ครั้งหนึ่งเมื่อคอลีฟะฮฺมะอ์มูนได้เข้ามายังเมืองแบกแดด

วันหนึ่งเขาได้ออกไปล่าสัตว์แล้วเดินผ่านเด็กเล็กๆ ที่กำลังเล่นอยู่ในจำนวนนั้นมีอิมามญะวาด(อฺ)รวมอยู่ด้วย บรรดาเด็กๆ ต่างพากันวิ่งหนีด้วยความหวาดกลัวคอลีฟะฮฺ มะอ์มูน ยกเว้น อิมามญะวาด(อฺ)

เพียงคนเดียวเท่านั้น อายุของท่านเวลานั้นเพียง ๙ ขวบ เมื่อคอลีฟะฮฺมะอ์มูนเห็นท่าน ก็ได้ถามว่า

“ทำไมเจ้าจึงไม่วิ่งหนีพร้อมกับเพื่อนๆ”

ท่านอิมามญะวาด(อ) กล่าวว่า

“โอ้ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน ถนนหนทางก็มิใช่ว่าจะคับแคบ มันยังกว้างพอสำหรับท่านอยู่ และข้าพเจ้าเองก็ไม่มีความผิดอะไรที่จะต้องกลัวท่าน ข้าพเจ้ามองท่านในแง่ดี คิดว่าท่านจะต้องไม่ทำอันตรายแก่คนที่มิได้ทำความผิดเป็นแน่”

คอลีฟะฮฺมะอ์มูนมีความประทับใจในคำพูดนี้ และแสดงความอาลัยต่อบิดาของท่าน เมื่อเขาได้เดินผ่านพ้นไปสักระยะหนึ่งจนถึงใจกลางป่า เขาได้จัดการปล่อยนกอินทรีให้ออกไปล่าเหยื่อ

นกอินทรีหายไปในที่กว้าง และหวนกลับมาพร้อมกับมีปลาน้อยตัวหนึ่งติดอยู่ที่จงอยปากของมัน

และปลาตัวน้อยนั้นก็ยังมีชีวิตอยู่ คอลีฟะฮฺมะอ์มูนชอบใจนักจึงเดินทางกลับจากการล่า

๑๒๓

 ครั้นแล้วก็ได้พบกับเด็กๆ ซึ่งมีอิมามญะวาด(อฺ)อยู่ด้วย เมื่อเข้าไปถึงอิมามญะวาด

ค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนกล่าวว่า

“โอ้มุฮัมมัด นี่อะไรในมือของฉัน”

อัลลอฺ(ซ.บ.)ทรงดลบันดาลให้ อิมามญะวาด(อฺ) กล่าวขึ้นว่า

“แท้จริงอัลลอฮฺทรงสร้างปลาตัวน้อยในทะเลโดยอานุภาพของพระองค์ แล้วพวกกษัตริย์และคอลีฟะฮฺก็ได้จับมันมา หลังจากนั้นท่านก็ได้นำมันมาสอบถามกับลูกหลานของอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)

มะอ์มูนมีความประทับใจยิ่งนัก เขาได้เพ่งพินิจอยู่เป็นเวลานานและตั้งใจว่าจะยกบุตรสาวของตน คืออุมมุลฟัฏลฺให้แต่งงานกับท่าน

(อัคบารุดดุลวัล หน้า ๑๑๖ )

๑๒๔

คำสดุดีจาก

ท่านอะลี บินซิบาฆ อัล-มาลิกี(ร.ฮ.)

ท่านอะลี บินซิบาฆ อัล-มาลิกี (ร.ฮ.) ได้กล่าวหลังจากที่อธิบายถึงรายละเอียดของฮะดีษจากอิมามญะวาด(อฺ)ว่า

“และนี่เป็นส่วนหนึ่งของเกียรติยศอันสูงส่งของท่าน เป็นส่วนหนึ่งของความประเสริฐอัน

งดงามยิ่งของท่าน”

(อัลฟุศูลุ้ลมุฮิมมะฮฺ ๒๕๗)

คำสดุดีจาก

ท่านอับดุลลอฮฺ ชิบรอวี อัช-ชาฟิอี

ท่านอับดุลลอฮฺ ชิบรอวี อัช-ชาฟิอี ได้กล่าวว่า ท่านคืออะบู ญะอฺฟัร มุฮัมมัดอัล-ญะวาดบินอะลีอัล-ริฏอ บินมูซาอัล-กาซิม บินญะอฺฟัร อัศ-ศอดิก บินมุฮัมมัดอัล-บากิร บินอะลีซัยนุ้ลอาบิดีน บินฮุเซน บินอะลี บินอะบีฏอลิบ (ขออัลลอฮฺทรงปิติชื่นชมต่อพวกท่าน)

 ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๙ เดือน ร่อมะฏอน ฮ.ศ. ๑๙๕ เกียรติคุณของท่านอิมามอะบูญะอฺฟัรผู้นี้มีมากมายเหลือคณานับ

(อัลอิตติฮาฟ บิฮุบบิ้ลอัซรอฟ หน้า ๖๗ )

๑๒๕

คำสดุดีจาก

ท่านยูซุฟ อิซมาอีล อัน-นะบะฮานี

ท่านยูซุฟ อิซมาอีล อัน-นะบะฮานี ได้กล่าวว่า : ท่านมุฮัมมัด ญะวาด บินอะลี อัร-ริฏอ คือ

หนึ่งในบรรดาอิมามผู้อาวุโส และเป็นดวงประทีปสำหรับประชาชาติ เป็นหนึ่งจากบรรดาประมุขทั้งหลายของเรา

ชาวอะฮฺลุลบัยตฺ

ท่านชิบรอวีได้กล่าวถึงท่านไว้ในหนังสืออิดฮาฟ บิฮุบบิลอัชรอฟหลังจากที่ได้สดุดีถึงถ้อยคำสรรเสริญอันงดงามแก่ท่าน และกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่เป็นเกียรติยศของท่าน ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่ง

ที่แสดงให้เห็นถึงความประเสริญและความสมบูรณ์พร้อมในด้านต่าง ๆและแท้จริงแล้วคอลีฟะฮฺ

มะอ์มูนแห่งวงศ์อับบาซียะฮฺ ได้ยกบุตรสาวของตนให้แต่งงานกับท่าน(

(ญามิอุกะรอมาติ้ลเอาลิยาอ์ เล่ม ๑หน้า ๑๐๐ )

๑๒๖

คำสดุดีจาก

ท่านมะฮฺมูด บินวะฮับ อัล-บัฆดาดี

อัล-ฮะนาฟี

ท่านมะฮฺมูด บินวะฮับ อัล-บัฆดาดี อัล-ฮะนาฟี ได้กล่าวว่า

“ท่านมุฮัมมัด ญะวาด บินอะลีอัล-ริฏอ นั้นมีสมญานามว่า อะบูญะอฺฟัร เช่นเดียวกับสมญานามของปู่ทวดคนหนึ่งของท่าน ได้แก่ มุฮัมมัดอัล-บากิร(ขออัลลอฮฺได้ทรงมีความปิติชื่นชมต่อท่าน) ฉายานามของท่านนั้นมี ๓ ชื่อ คือ อัล-ญะวาด อัล-กอเนียะอฺ และอัล-มุรตะฏอ แต่ที่นิยมเรียกกันมากที่สุด ได้แก่ อัล-ญะวาด ท่านเป็นคนมีรูปร่างผิวขาว สมส่วน สง่างามมีลายสลักบนแหวนว่า

เนียะอฺมัล-มุก็อดดิริ้ลลาฮฺ

หลังจากนั้นเขาได้กล่าวว่า

“ท่านคือทายาทของบิดาในด้านวิชาการความรู้และความประเสริฐ”

(เญาฮะร่อตุ้ลกะลาม หน้า ๑๔๗ )

๑๒๗

คำสดุดีจาก

ท่านอะลี ญะลาลุ้ล ฮุซัยนี

ท่านอะลี ญะลาลุ้ลฮุซัยนี ได้กล่าวว่า อะบูญะอฺฟัรที่ ๒ หมายถึง มุฮัมมัด ญะวาด บินอะลี

ท่านเกิดที่เมืองมะดีนะฮฺ เมื่อ ฮ.ศ. ๑๙๕ เป็นผู้มีความรู้และความดีงามเด่นชัดมากกว่าใครทั้งหมดในสมัยเดียวกัน

ทั้งๆ ที่ท่านยังมีอายุน้อย คอลีฟะฮฺมะอ์มูนได้จัดแต่งงานท่านกับ

อุมมุล-ฟัฏลฺบุตรสาวของตน ท่านเสียชีวิตที่กรุงแบกแดด ในปี ๒๒๐ ขณะที่ท่านอายุได้ ๒๕ ปี

( อัลฮุซัยนฺ เล่ม ๒ หน้า ๒๐๗)

คำสดุดีจาก

ท่านค็อยรุดดีน อัซ-ซัรกะลี

ท่านค็อยรุดดีน อัซ-ซัรกะลีได้กล่าวว่า

“ท่านเป็นคนที่มีความสามารถสูงส่งเป็นพิเศษ เช่นเดียวกับ

บรรพบุรุษของท่าน มีความฉลาด

หลักแหลมในการพูดยิ่งนัก เป็นผู้ที่มีความรู้ลึกซึ้งตรึงใจ ท่านเกิดที่เมืองมะดีนะฮฺ ท่านตะบีลี มุฮัมมัด บินวะฮฺบาน มีหนังสืออยู่เล่มหนึ่ง ซึ่งได้เขียนเกี่ยวกับชีวประวัติของท่านอิมามญะวาด(อฺ)โดย

ให้ชื่อหนังสือเล่มนั้นว่า “อัคบารุอะบีญะอฺฟัร อัษ-ษานี”

( อัลอะอฺลาม)

๑๒๘

บทส่งท้าย

อิมามญะวาด(อฺ)

การเรียบเรียงอันรีบเร่งแห่งอัตชีวประวัติของอิมามอะบูญะอฺฟัร มุฮัมมัด อัล-ญะวาด(อฺ)นี้ถือเป็นสิ่งพอเพียงแล้วสำหรับเราในการรำลึกวิถีชีวิตของท่าน(อฺ)อย่างง่ายๆ มันเป็นการเลือกสรร

อันน้อยนิดจากคติพจน์ของท่านอิมามที่ ๙ โดยพิจารณาจากข้อเขียนอันเป็นบทสรุปนี้ของเรา

เป็นการเหมาะสมสำหรับประชาชาติอิสลาม หลังจากที่ได้ผ่านพ้นการตรวจสอบอย่างเข้มงวดต่อวิถีชีวิตดังกล่าวนั้น ช่วงเวลาอันเคร่งเครียดได้ผ่านไป ความคิดที่แฝงไว้ด้วยความไม่ฝัน

ได้ตรึกตรองความล้มเหลงในห้วงของศีลธรรมจรรยา สังคม การเมือง และเศรษฐกิจ จะต้องย้อนกลับไปหาวิถีชีวิตของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) เพื่อไปให้ถึงยังเป้าหมายในการได้รับ

ซึ่งความดีงามและผาสุก เพื่อก้าวเข้าไปยังความีเกียรติ อำนาจ และความสุขสบาย

“จงกล่าวเถิดว่าหากพวกท่านรักอัลลอฮฺก็จงปฏิบัติตามฉันแล้วอัลลอฮฺก็จะทรงรักพวกท่าน

อภัยโทษความบาปให้แก่พวกท่านอัลลอฮฺทรงเปี่ยมล้นด้วยการอภัยทรงเมตตายิ่ง”

๑๒๙

Table of Conten  สารบัญ

บทนำ.. ๒

ชีวประวัติอันทรงเกียรติของอิมามที่ ๙. ๗

ข้อบัญญัติการแต่งตั้งอิมามมุฮัมมัด บินอฺะลีอัล-ญะวาด(อฺ) ๑๐

จากบัญญัติข้อที่ ๑. ๑๒

จากบัญญัติข้อที่ ๒. ๑๓

จากบัญญัติข้อที่ ๓. ๑๓

จากบัญญัติข้อที่ ๔. ๑๔

จากบัญญัติข้อที่ ๕. ๑๕

ความดีงามและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของอิมามตะกี(อฺ) ๑๖

คำสั่งเสียของอิมามอะบูญะอฺฟัร อัล-ญะวาด(อฺ) ๒๑

-๑-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙. ๒๒

-๒-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙. ๒๓

-๓-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙. ๒๓

-๔-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙. ๒๔

-๕-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙. ๒๔

-๖-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙. ๒๕

สาส์นข้อเตือนสติของอิมามมุฮัมมัด บินอฺะลี(อฺ) ๒๕

สาส์นฉบับที่ ๑. ๒๖

สาส์นฉบับที่ ๒. ๒๗

สาส์นฉบับที่ ๓. ๒๗

สาส์นฉบับที่ ๔. ๓๐

สุภาษิต :คำสอนจากวิทยปัญญาของอิมามญะวาด(อฺ) ๓๗

สุภาษิตที่ ๑. ๓๘

สุภาษิตที่ ๒. ๓๘

สุภาษิตที่ ๓. ๓๙

สุภาษิตที่ ๔. ๓๙

สุภาษิตที่ ๕. ๓๙

สุภาษิตที่ ๗. ๔๐

สุภาษิตที่ ๘. ๔๐

สุภาษิตที่ ๙. ๔๐

สุภาษิตที่ ๑๐. ๔๐

สุภาษิตที่ ๑๑. ๔๑

สุภาษิตที่ ๑๒. ๔๑

สุภาษิตที่ ๑๓. ๔๑

สุภาษิตที่ ๑๔. ๔๑

สุภาษิตที่ ๑๕. ๔๑

สุภาษิตที่ ๑๖. ๔๒

สุภาษิตที่ ๑๗. ๔๒

สุภาษิตที่ ๑๘. ๔๒

สุภาษิตที่ ๑๙. ๔๒

สุภาษิตที่ ๒๐. ๔๓

สุภาษิตที่ ๒๑. ๔๓

สุภาษิตที่ ๒๒. ๔๓

สุภาษิตที่ ๒๓. ๔๔

สุภาษิตที่ ๒๔. ๔๔

ถกปัญหาทางวิชาการจากแหล่งความรู้อันอมตะของอิมามที่ ๙. ๔๗

อิมามที่ ๙ ถกปัญหาฟิกฮฺกับยะฮฺยา บินอักษัม. ๔๙

อิมามที่ ๙ถกปัญหาคิลาฟิยะฮฺกับยะฮฺยา บินอักษัมและพรรคพวก. ๖๐

ถกปัญหาอะฮฺกามกับยะฮฺยา บินอักษัม. ๖๘

คำตอบอันลุ่มลึกของอิมามญะวาด(อฺ)แห่งอะฮฺลุลบัยตฺ. ๖๙

ถาม-ตอบ. ๗๖

เรื่องที่ ๑. ๗๖

ถาม~ตอบ. ๘๐

เรื่องที่ ๒. ๘๐

ถาม~ตอบ. ๘๓

เรื่องที่ ๓. ๘๓

ถาม~ตอบ. ๘๖

เรื่องที่ ๔. ๘๖

ถาม~ตอบ. ๘๗

เรื่องที่ ๕. ๘๗

ถาม~ตอบ. ๘๘

เรื่องที่ ๖. ๘๘

ถาม~ตอบ. ๙๐

เรื่องที่ ๗. ๙๐

ถาม~ตอบ. ๙๑

เรื่องที่ ๘. ๙๑

ถาม~ตอบ. ๙๒

เรื่องที่ ๙. ๙๒

ดุอาอ์ : เสียงเรียกร้องสู่ความถูกต้องของอิมามที่ ๙ ๙๓

บทที่ ๑. ๙๔

บทที่ ๒. ๙๕

บทที่ ๓. ๙๗

บทที่ ๔. ๑๐๒

การตอบสนองต่อดุอาอ์ของอิมามมุฮัมมัด อัต-ตะกี(อฺ) ๑๐๓

เหตุการณ์ที่ ๑. ๑๐๓

เหตุการณ์ที่ ๒. ๑๐๖

อิมามตะกี(อฺ)กับคอลีฟะฮฺมะอ์มูนแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺ. ๑๐๗

คำสดุดีของนักปราชญ์ต่ออิมามที่ ๙. ๑๑๖

คำสดุดีจากท่านอะลี บินญะอฺฟัร. ๑๑๗

คำสดุดีจากคอลีฟะฮฺมะอ์มูน. ๑๑๙

คำสดุดีจากอะบุ้ลอีนาอ์. ๑๒๑

คำสดุดีจากบาทหลวงคริสต์. ๑๒๑

คำสดุดีจากท่านยูซุฟ บินฟะซาฆ่อลี. ๑๒๒

คำสดุดีจากท่านศ่อลาฮุดดี อัศ-ศ็อฟดี(ร.ฮฺ) ๑๒๒

คำสดุดีจากท่านมุฮัมมัด บินฏ็อลฮะฮฺ อัช-ชาฟีอี (ร.ฮ. ๑๒๔

คำสดุดีจากท่านอะฮฺมัด บินยูซุฟ อัด-ดะมัชกีอัล-กุรบานี(ร.ฮ.) ๑๒๔

คำสดุดีจากท่านอะลี บินซิบาฆ อัล-มาลิกี(ร.ฮ.) ๑๒๘

คำสดุดีจากท่านอับดุลลอฮฺ ชิบรอวี อัช-ชาฟิอี. ๑๒๘

คำสดุดีจากท่านยูซุฟ อิซมาอีล อัน-นะบะฮานี. ๑๒๙

คำสดุดีจากท่านมะฮฺมูด บินวะฮับ อัล-บัฆดาดื อัล-ฮะนาฟี. ๑๓๐

คำสดุดีจากท่านอะลี ญะลาลุ้ล ฮุซัยนี. ๑๓๑

คำสดุดีจากท่านค็อยรุดดีน อัซ-ซัรกะลี. ๑๓๑

บทส่งท้าย. ๑๓๒

๑๓๐