ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด0%

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 130

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 130
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 68119
ดาวน์โหลด: 2993

รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 130 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 68119 / ดาวน์โหลด: 2993
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ชื่อหนังสือ อัตชีวประวัติอิมามมะอฺศูมีน ๙

อิมามมุฮัมมัด อัล ญะวาด(อฺ)

ผู้เขียน ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล

แปล

อาจารย์อัยยูบ ยอมใหญ่

ทางเว็บไซต์อัลฮะซะนัยน์ได้เรียบเรียงและแก้ไขเนื้อหาบางส่วนเนื่องด้วยต้นฉบับเป็นหนังสือเล่มนี้เกี่ยวกับชีวประวัติของสอง

อิมาม กล่าวคือ อิมามมุฮัมมัด อัลญะวาด และอิมามอะลี อัลฮาดีย์

เพื่อง่ายดายสำหรับท่านผู้อ่าน ทางเจ้าหน้าที่ได้แบ่งออกเป็นสอง เล่มด้วยกัน

เล่มแรก อัตชีวประวัติอิมามมุฮัมมัด อัลญะวาด

เล่มที่สอง อัตชีวประวัติอิมามอะลี อัลฮาดีย์

จัดทำโดย เว็บไซต์ alhassanain.org

 บทนำ

หนังสือเล่มนี้ขอนำเสนอวิถีชีวิตของท่านอิมามญะวาด(อฺ)จริยธรรมมารยาท คำสั่งเสีย คติพจน์การตอบข้อสงสัยต่อปัญหาทั้งปวงของท่านอิมาม(อฺ)แล้วจะกล่าวในตอนท้ายถึงถ้อยคำที่เชิดชูและสรรเสริญของบรรดาอุละมาอ์ นักปราชญ์ของโลกอิสลามที่มอบแด่ท่านอิมาม(อฺ)

บุคลิกภาพของท่านอิมามอะบูญะอฺฟัร(อฺ)นั้นสูงส่งเกินกว่าที่จะให้คำจำกัดความได้เลิศล้ำเกินกว่าคำสรรเสริญใด ทุกถ้อยคำที่เต็มไปด้วยการยกย่องสรรเสริญที่มีต่อท่านอิมาม(อฺ)และบรรพบุรุษอีกทั้งลูกหลานของท่านนั้นไม่อาจเทียบได้กับถ้อยคำแห่งการยกย่องของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่มีต่อพวกท่าน(อฺ)ดังที่ได้กล่าวไว้ในอัล-กุรอาน ทุกถ้อยคำที่เต็มไปด้วยการยกย่องสดุดีของพวกเขาไม่อาจเทียบได้กับการยกย่องของท่านร่อซูลุลลอฮฺ(ศ)ที่มีต่อพวกท่าน(อฺ) ดังที่ปรากฏในอัล-ฮะดีษมากมาย

มันช่างเป็นถ้อยคำที่สวยงามเสียนี่กระไรที่ท่านอุซตาซอับดุลอะซีซ ซัยยิดุลอะฮฺลิ กล่าวในบทนำหนังสือของเขาเรื่อง

 ‘ซัยนุลอาบิดีน (ฮฺ)’ว่า:

“ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน อฺะลี บินฮุเซน(อฺ) มิได้อยู่ในฐานะเป็นที่ปรารถนาทั้งหลายอันเนื่องมาจากการที่ข้าพเจ้าทำให้ท่านเป็นที่กระจ่างชัดสำหรับมวลมนุษย์ หรืออย่างน้อยที่สุดสำหรับ

คนที่รู้จักท่าน(อฺ)ดีกว่าที่ข้าพเจ้ารู้จัก แต่ทว่า....ที่ท่านอยู่ในฐานะเป็นที่ปรารถนาของทุกคนนั้นก็เพราะท่าน(อฺ)สูงส่งและรุ่งโรจน์ตลอดเวลา อันที่จริงแล้วปลายปากกาของข้าพเจ้า ตำราของข้าพเจ้า

และหยดหมึกของข้าพเจ้าที่ได้จดเรียบเรียงวิถีชีวิตของวีรบุรุษหนึ่งเป็นเพียงถ้อยคำที่เสกสรรขึ้นมาใหม่ จนกระทั่งมันได้กลายเป็นสิ่งแปลกใหม่สำหรับคนในสมัยของเราก็ตามหากแม้ว่ามีสิทธิ

ประการหนึ่งสำหรับสิ่งหนึ่งอันสมควรแก่การยกย่องให้เกียรติอย่างสูงสุดละก็ แน่นอนอย่างยิ่งมันเป็นสิทธิประการหนึ่งของปลายปากกาซึ่งได้เรียบเรียงวิถีชีวิตของท่านอิมามอฺะลี บินฮุเซน(อฺ)ที่

จะต้องให้การยกย่องสรรเสริญ ที่จะต้องเทิดทูน ที่จะต้องแสดงความยิ่งใหญ่บนปลายปากกาและหยดหมึกนี้....”

ดังนั้น การขีดเขียนและการเรียบเรียงใดในเรื่องของอิมามแห่ง

อะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)นั้นมันมิได้เป็นไปเพื่ออื่นใด นอกเสียจากว่าเป็นเกียรติและคลังความรู้สำหรับผู้ประพันธ์ เป็นความภาคภูมิใจ

และน่ายกย่องสำหรับผู้เรียบเรียง เป็นความรู้และการรู้จักอย่างลึกซึ้งสำหรับผู้อ่าน

หนังสือเล่มนี้ถึงแม้ว่าจะประพันธ์ขึ้นเพื่อให้ทุกคนได้อ่านกันอันเป็นการวอนขอตัวอย่างและจริยธรรมจากวิถีชีวิตของอิมามผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้(อฺ) ก็ตาม

ทว่า...มันยังเป็นหนังสือสำหรับคนหนุ่มสาวอีกต่างหากพวกเขาถือเป็นกลุ่มคนที่เหมาะสมที่สุดที่จะยึดเอาวิถีชีวิตตามแบบฉบับของ

ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)นี้ และการปฏิบัติตามวิถีชีวิตของนายแห่งบรรดาคนหนุ่มและผู้นำของพวกเขา จะเป็นตัวเสริมแบบฉบับนั้นให้มั่นคงยิ่งขึ้น ช่วงชีวิตอันประเสริฐของท่านอิมามอะบูญะอฺฟัร

อัล-ญะวาด(อฺ)ถือเป็นตัวอย่างสำหรับหนุ่มสาวของเราทุกวันนี้ในการที่จะนำเอาวิถีชีวิตของท่านเป็นแนวทางการประพฤติปฏิบัติของพวกเขา เป็นวิถีทางของพวกเขาที่จะก้าวไกลไปในเส้นทางชีวิตของพวกเขา

พี่น้องที่รักของข้าพเจ้า ฮะดีษที่รายงานมาจากบรรดาอิมาม(อฺ)ของเรานั้นมีมากมายเหลือเกิน ดังนั้นเราควรที่จะส่งเสริมกันอย่างจริงจังต่อการคงไว้ซึ่งการรำลึกถึงพวกท่านเหล่านั้น จัดการพูดถึงความเศร้าโศกของพวกท่าน(อฺ)

แต่ทว่า....มีการงานที่ดีงามกี่มากน้อยแล้วซึ่งเป็นที่พึงพอใจของบรรดาอิมาม(อฺ) แต่พวกเรากลับละทิ้งมัน ในทางตรงกันข้ามมีสิ่งที่ไม่ดีไม่งามกี่มากน้อยซึ่งทำให้ท่านอิมาม(อฺ)ไม่พึงพอใจ แต่

พวกเรากลับกระทำมันอย่างไม่ละอาย ทั้งๆ ที่พวกท่าน(อฺ)ได้ให้สัญญาไว้กับพวกเราว่า

“ชีอะฮฺของเราคือผู้ที่ปฏิบัติตามเราด้วยการกระทำและคำพูดของเขา”

จุดประสงค์ของข้าพเจ้าในการเรียบเรียงหน้ากระดาษเหล่านี้ขึ้นมาก็เพื่อปกป้องข้าพเจ้าและพี่น้องหนุ่มสาวของข้าพเจ้า ให้ดำเนินรอยตามแนวทางอิมามของเรา น้อมรับเอาจรรยามารยาทของพวกท่าน(อฺ)มาหล่อหลอมเป็นมารยาทที่ดีงามของเรา เพื่อเราจะได้ประสบกับความสมบูรณ์พูนสุขในโลกนี้และความผาสุกอันถาวรในโลกหน้า

โอ้ อัลลอฮฺ....เราขอ ‘ตะวัซซุล’ยังพระองค์ด้วยสิทธิของชายหนุ่มแห่งอาลิมุฮัมมัด ได้โปรดประทานความโปรดปรานแก่หนุ่มสาวของเราให้มีความละอายและรักนวลสงวนตัว ได้โปรด

ส่งเสริมพวกเขายังสิ่งที่ทำให้พระองค์พอพระทัย ได้โปรดทำให้พวกเขามีความมั่นคงเพื่อที่จะได้ปฏิบัติในสิ่งที่พระองค์กำหนดให้พวกเขาทำ เพื่อละทิ้งสิ่งที่พระองค์ทรงห้ามไว้

อันที่จริงแล้วพระองค์ทรงอานุภาพเหนือทุกสิ่ง

ชีวประวัติอันทรงเกียรติของอิมามที่ ๙

นามจริง

             ท่านมุฮัมมัด บินอฺะลี อัล-ญะวาด(อฺ)

ปู่

             ท่านอิมามมูซา อัล-กาซิม(อฺ)

บิดา

            ท่านอิมามอฺะลี อัล-ริฏอ(อฺ)

มารดา

           ท่านหญิงซะบีกะฮฺ(จากครอบครัวของท่านหญิงมารียะฮฺ ภรรยาของท่านศาสดา(ศ)มารดาของท่านอิบรอฮีม)

กำเนิด

          ค่ำวันศุกร์ที่ ๑๙ ร่อมะฏอน ฮ.ศ. ๑๙๕ ณ นครมะดีนะฮฺ

รูปร่าง ขนาดสมส่วน ผิวขาว

สมญานาม

                  อะบูญะอฺฟัร-บางทีก็เรียกอะบูญะอฺฟัร อัษ-ษานี เพื่อไม่ให้ซ้ำกับสมญานามของท่านอิมามบาเก็ร(อฺ)

ฉายานาม

          อัล-ญะวาด

             อัล-กอเนียะอฺ

             อัล-มุรตะฏอ

            อัน-นะญีบ

           อัต-ตะกี

           อัล-มุนตะญับ

           อัล-มุตะวักกิล

          อัล-มุตตะกี

         อัซ-ซะกี

        อัล-อาลิม

ลายสลักบนแหวน

        ‘เนียะอฺมั้ลกอดิริ้ลลาฮฺ’

ความหมาย : ผู้ทรงอานุภาพที่สุดคืออัลลอฮฺ

ภรรยา

           ท่านหญิงซุมานะฮฺ อัล-มัฆริบียะฮฺ

            อุมมุลฟัฏลฺ บินติอัล-มะอ์มูน

บุตรชาย

           ท่านอิมามอฺะลี อัล-ฮาดี(อฺ)

           ท่านมูซา

บุตรสาว

        ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ

        ท่านหญิงอุมามะฮฺ

นักกวีผู้มีชื่อเสียงในสมัยของท่าน(อฺ)

          ฮัมมาด

          ดาวูด บินกอซิม อัล-ญะอฺฟะรี

คนรับใช้

         อุมัร บินอัล-ฟะรอต

        อุษมาน บินซะอีดุซซะมาน

กษัตริย์ในสมัยของท่าน(อฺ)

        อัล-มะอ์มูน

       อัล-มุอฺตะศิม

ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งอิสลาม

       ช่วงเวลาแห่งการดำรงตำแหน่งอิมามของท่าน(อฺ) ๑๗ ปี

วายชนม์

       วันเสาร์สุดท้ายของเดือนซุลเกาะอฺดะฮฺ ฮ.ศ. ๒๒๐ ที่กรุงแบกแดดด้วยยาพิษที่อัล-มุอฺตะศิลลอบวางยาพิษโดยอาศัยมือของภรรยาของท่านอิมาม (อฺ) เอง

สถานที่ฝังศพ

         ถูกฝังอยู่กับท่านปู่ของท่านคืออิมามกาซิม(อฺ) ซึ่ง ณ หลุ่มฝังศพของท่าน(อฺ)ในทุกวันนี้ถูกประดับประดาไปด้วยทองคำ มุสลิมทั่วทุกมุมโลกต่างก็มาที่นั่นเพื่อการน้อมรำลึกถึงท่าน แสวงหา

ความจำเริญ(ตะบัรรุก)จากหลุมฝังศพของท่าน(อฺ)ทำการนมาซและขอดุอาอ์ที่นั่น

ข้อบัญญัติการแต่งตั้งอิมามมุฮัมมัด บินอฺะลีอัล-ญะวาด(อฺ)

ผู้ที่ได้ศึกษาตำราเกี่ยวกับอัตชีวประวัติ ไม่มีโอกาสได้พบว่าจะมีบุคคลใดที่ได้รับเกียรติอย่างเป็นเอกฉันท์จากบรรดานักปราชญ์มุสลิม เหมือนอย่างความเป็นเอกฉันท์ในการให้เกียรติที่มี

แด่บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) กล่าวคือ ถึงแม้เขาเหล่านั้นจะมีความขัดแย้งกันในหลายๆ เรื่อง แต่ก็จะไม่มีความขัดแย้งกันในเรื่องของวิชาการอันสูงส่งของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)ในเรื่องความสำรวมตน เกียรติยศ ความประเสริฐความดีเด่น ความมีเกียรติศักดิ์อันสูงส่ง และฐานะอันประเสริฐสุดของบรรดาอิสลามเหล่านั้นซึ่งในเรื่องนี้ หนังสือของบรรดานักปราชญ์ต่างๆ ที่มิใช่ชีอะฮฺต่างได้พากันกล่าวถึงเรื่องราวของความดีเด่น และเกียรติยศของพวกเขาไว้มากมาย

๑๐

 จนกล่าวได้ว่าหนังสือของบรรดานักปราชญ์อะฮฺลุซซุนนะฮฺได้กล่าวถึงความดีเด่นของบรรดาอิมามไว้มากกว่าหนังสือของพวกชีอะฮฺเองเสียอีก แม้กระทั่งในขณะที่ข้าพเจ้าได้เขียนถึงเรื่องราวของท่านอิมามมะฮฺดี(อฺ)อยู่นั้น ปรากฎว่ามีหนังสือของนักปราชญ์

อะฮฺลุซซุนนะฮฺอันเป็นแหล่งอ้างอิงถึง ๔๐๐เล่ม ที่กล่าวถึงเรื่องราวของท่านอิมามมะฮฺดี (อฺ) กล่าวคือบางเล่มมีกล่าวถึงเรื่องนี้โดยเฉพาะ แต่บางเล่มได้มีการเปิดเผยและกล่าวถึงประวัติของท่านอิมามมะฮฺดี (อฺ) ไว้

ดังนั้น บุคคลเหล่านี้จึงคู่ควรกับตำแหน่งค่อลีฟะฮฺมากกว่าบุคคลอื่น โดยเหตุผลที่บรรดานักปราชญ์ทั้งหลายได้ให้เกียรติไว้อย่างเป็นเอกฉันท์ พวเขาคู่ควรในตำแหน่งค่อลีฟะฮฺมากกว่าคนอื่นโดยเหตุผลของวิชาความรู้ ความเข้าใจศาสนา ความพร้อม ความเที่ยงธรรม และจริยธรรมที่ได้รับการยกย่องมากกว่า พวกเขาคู่ควรกับตำแหน่งค่อลีฟะฮฺมากกว่าคนอื่น เพราะเหตุผลที่มีข้อบัญญัติมาจาก

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(๑)

(๑) โปรดย้อนไปดูหนังสือเล่มที่ ๑ ของเรา อัตชีวประวิตอิมามอฺะลี บินอะบีฏอลิบ (อฺ)

พวกเขาคู่ควรกับตำแหน่งค่อลีฟะฮฺมากกว่าคนอื่น เพราะความใกล้ชิดกับท่านศาสดา(ศ) เป็นผู้ให้กำเนิดพวกเขา

พวกเขาคู่ควรกับการเป็นค่อลีฟะฮฺมากกว่าคนอื่น เพราะเหตุว่าบรรดาอิมามทั้งหลายได้วางบัญญัติแต่งตั้งไว้ซึ่งกันและกัน

๑๑

ในบทที่ผ่านมาของหนังสือชุดนี้ ท่านผู้อ่านได้พบกับข้อบัญญัติบางส่วนผ่านไปแล้ว

 ในลำดับต่อไปนี้เราจะกล่าวถึงข้อบัญญัติบางประการเกี่ยวกับท่านอิมามญะวาด(อฺ)ที่ได้ตราไว้โดยท่านอิมามริฏอ(อฺ)ผู้เป็นบิดา

จากบัญญัติข้อที่ ๑

ท่านอิมามริฏอ(อฺ)ได้กล่าวว่า

“อะบูญะอฺฟัร(หมายถึงท่านอิมามญะวาด)นั้น เป็นทายาทของฉันและเป็นตัวแทนของฉันในครอบครัวของฉัน”(๒)

 (๒) อุยูนอัคบาริ้ลริฏอ เล่ม ๒ หน้า ๒๔๐

๑๒

จากบัญญัติข้อที่ ๒

ท่านเชคมุฮัมมัด บินอิบรอฮีม อัล-ญุวัยนี อัช-ชาฟีอี ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่าน(ฟะรออิตุซซิมฏัยนฺ)

จากรายงานของท่านดุอฺบัล อัลค่อซาอี จากท่านอิมามอฺะลี อัล-ริฏอ บินมูซา อัล-กาซิมได้กล่าวไว้ว่า

“แท้จริงอิมามที่สืบต่อจากฉันนั้น ได้แก่ อัล-ญะวาด อัต-ตะกี บุตรของฉัน”(๓)

จากบัญญัติข้อที่ ๓

ท่านมุอัมมัร บินคิลาด ได้กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ยินท่านอิมามริฏอ(อฺ)กล่าวถึงสิ่งหนึ่งมีใจความว่า

“พวกท่านทั้งหลายจำเป็นจะต้องรับรู้ถึงสิ่งนี้ นี่คือ อะบูญะอฺฟัรซึ่งฉันจะแต่งตัวให้เขาอยู่ในตำแหน่งของฉัน”

และท่าน(อฺ)ได้กล่าวไว้อีกว่า

“พวกเราบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺนั้นถือว่าผู้เยาว์ในหมู่พวกเรา ย่อมสืบมรดกต่อจากผู้ใหญ่ในหมู่พวกเรา โดยเป็นไปตามลำดับ”(๔)

(๓) ยะนาบีอุ้ลมะวัดดะฮฺ หน้า ๕๖๕

(๔) อัล-ฟุศูลุ้ลมุฮิมมะฮฺ หน้า ๒๕๑

๑๓

จากบัญญัติข้อที่ ๔

ท่านศ็อฟวาน บินยะฮฺยาได้กล่าวว่า : ข้าพเจ้าได้กล่าวกับท่าน

อิมามริฏอ(อฺ)ว่า

“แน่นอนที่สุด เราได้ถามท่านมาก่อนหน้าที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงประทานอะบูญะอฺฟัรมาซึ่งท่านได้กล่าวว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงประทานบุตรชายให้แก่ฉัน บัดนี้พระองค์ก็ได้ทรงประทาน

ให้แก่ท่านแล้ว พวกเรารู้สึกชื่นชมยินดีกับเขาเป็นอย่างยิ่ง ถ้าหากวันที่เราไม่พึงประสงค์ นั่นคือวันเสียของชีวิตของท่านมาถึง แล้วใครเล่าจะได้อยู่ในตำแหน่งนั้น ?”

ท่านอิมามริฏอ(อฺ)ได้ชี้มือไปยังอะบูญะอฺฟัรซึ่งกำลังยืนอยู่ใกล้ ๆ

ข้าพเจ้าได้กล่าวกับท่านว่า

“ได้โปรดเถิดท่าน นี่เขาเป็นเพียงเด็กอายุแค่ ๓ ขวบ เท่านั้น”

ท่านอิมามริฏอ(อฺ)กล่าวว่า

“ข้อนี้ไม่มีอะไรเสียหายหรอก เพราะท่านนบีอีซาทำหน้าที่ในฐานะอัล-ฮุจญะฮฺ(ยืนยันความบริสุทธิ์ของท่านหญิงมัรยัม(อฺ)) ตั้งแต่ยังเป็นเด็กที่อายุน้อยกว่า ๓ ขวบเสียอีก” (๕)

(๕) อัล-อิรชาด หน้า ๓๔๐

๑๔

จากบัญญัติข้อที่ ๕

รายงานจากท่านมุฮัมมัด บินยะอฺกูบ จากท่านฮะซัน บินมุฮัมมัด รายงานจากท่านค็อยรอนีจากบิดาของท่านได้กล่าวว่า

ครั้งหนึ่งที่เมืองคุรอซาน ข้าพเจ้าได้ยืนอยู่ใกล้กับท่านอะบุลฮะซัน(อิมามริฏอ(อฺ)) ได้มีชายคนหนึ่งถามว่า

“โอ้ท่านผู้เป็นประมุขของข้าพเจ้า ถ้าหากวันนั้นมาถึง ตำแหน่งของท่านจะให้แก่ผู้ใด”

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“อะบูญะอฺฟัร บุตรของฉัน”ปรากฎว่า ชายที่ถามแสดงความดูถูกในเรื่องอายของท่านอะบูญะอฺฟัร

ท่านอะบุลฮะซัน อัร-ริฏอ(อฺ)ได้กล่าวว่า

“แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงแต่งตั้งท่านนบีอีซา บุตรของท่านหญิงมัรยัมให้เป็นศาสนทูต

เป็นนบี เป็นเจ้าของบทบัญญัติตั้งแต่อายุยังน้อยกว่าอะบูญะอฺฟัร(๖)

(๖) อัล-อิรชาด หน้า ๓๔๒

๑๕

ความดีงามและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของอิมามตะกี(อฺ)

จิตใจอันสูงส่งย่อมไม่บกพร่องในเกียรติยศไม่ว่าจะเป็นด้านหนึ่งด้านใด กล่าวคือจิตใจอันนั้นจะไม่ยอมรับสภาพอื่นใด นอกจากความสูงส่งในแง่มุมต่างๆ ทุกด้น นับเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจ

อย่างยิ่งที่ว่า จิตใจเหล่านี้เป็นที่รวมของคุณลักษณะที่ตรงกันข้าม

 แต่กลับมีรวมอยู่ได้ในบุคคลเดียวกัน นั่นคือมีทั้งความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวอย่างถึงที่สุด ไปจนถึงลักษณะของคนที่ถือสันโดษ และ

เปี่ยมล้นด้วยการเคารพภักดี ด้วยเหตุนี้ นักกวีได้แสดงวาทศิลป์เพื่อยกย่องเชิดชูท่านอิมามอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ)ไว้ดังนี้

“ท่านคือคนที่ร้องไห้ที่เมียะฮฺรอบในยามกลางคืน แต่เป็นนักรบที่มีชั้นเชิงการรบอย่างเข้มข้น”

สิ่งเหล่านี้มิได้เป็นเรื่องใหญ่สำหรับบรรดาอิมามอะฮฺลุลัยตฺ(อฺ) เพราะในความเชื่อของเราทั้งหลายนั้น ถือว่าพวกท่านคือผู้ครอบครองคุณลักษณะอันสูงส่ง ที่เต็มไปด้วยเกียรติยศในด้าน

ต่างๆ อย่างครบครัน นั่นคือท่านเป็นบุคคลที่มีความรู้สูงที่สุด มีการเคารพภักดีมากที่สุดมีความสำรวมตน มีเกียรติ มีความกล้าหาญหนักแน่นอย่างที่สุด ตลอดจนยังมีคุณลักษณะอื่นๆ ที่ดีงามควร

แก่การยกย่องสรรเสริญ นอกจากนี้อีกมากมายนัก

๑๖

ในบทนี้ เราขอย้อนมากล่าวถึงเรื่องราวบางประการที่บรรดานักประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้เกี่ยวกับเกียรติยศและความดีงามของท่านอิมามอะบูญะอฺฟัร อัล-ญะวาด(อฺ)ดังนี้

-๑-ท่านศ็อฟดี ได้กล่าวว่า

ท่าน(อฺ)ได้ส่งเงินไปมอบให้แก่คนจนที่เมืองมะดีนะฮฺทุกปี มากกว่าปีละหนึ่งล้านดิรฮัม

เขายังกล่าวอีกว่า

“ท่านอิมามเป็นบุคคลหนึ่งที่มีชื่อในด้านการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้ฉายานาม

ว่า อัล-ญะวาด”(๗)

(๗) อัล-วาฟีบิ้ลวุฟิยาต เล่ม ๔ หน้า ๑๐๕

๑๗

-๒-ท่านอะฮฺมัด บินฮะดีดได้กล่าวว่า

ข้าพเจ้าได้ออกเดินทางพร้อมกับคณะฮุจญาจญ์โดยผ่านเส้นทางไประยะหนึ่ง ครั้งเมื่อได้เข้าไปเมืองมะดีนะฮฺ ข้าพเจ้าได้พบกับท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ) และข้าพเจ้าตามท่าน(อฺ)ไปยังบ้าน

ข้าพเจ้าได้เล่าให้ท่าน(อฺ)ทราบถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับพวกเรา ท่าน(อฺ)ได้สั่งให้มอบถุงเงินถึงหนึ่งให้แก่ข้าพเจ้า ซึ่งในนั้นมีจำนวนหลายดีนาร ท่าน(อฺ)ได้กล่าวว่า

“จงนำมันไปแบ่งแก่บรรดามิตรสหายท่าน ตามสัดส่วนของความเสียหายที่เกิดขึ้นเถิด”

ข้าพเจ้าได้จัดการแบ่งทรัพย์สินเงินทองเหล่านั้นให้แก่พวกเขาตามสัดส่วนของพวกเขาอย่างไม่ขาดไม่เกิดจนครบถ้วน(๒)

(๒) บิฮารุ้ลอันวารฺ เล่ม ๑๒ หน้า ๑๐๙

นี่คือความพิเศษสุดของท่านอิมามญะวาด(อฺ) ซึ่งมีเรื่องราวที่คล้ายคลึงกันนี้จากท่านอะมีรุลมุอ์นิมีน(อฺ)กล่าวคือ เมื่อครั้งที่ท่านได้ตีเมืองบัศเราะฮฺได้ ท่าน(อฺ)ได้เข้าไปจัการกับเงินกองคลังซึ่ง

เต็มไปด้วยทรัพย์สินเงินทอง ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ)ได้สั่งให้แบ่งแก่บุคคลต่างๆ คนละ ๕๐๐ ดิรฮัมซึ่งเมื่อแบ่งแล้วก็มีคงเหลืออยู่ ๕๐๐ ดิรฮัมเท่านั้น ท่านอิมามอะมีรุลมุอ์มินีน (อฺ) จึงเก็บเงินจำนวนนั้นไว้ก่อน

๑๘

 เมื่อชายคนหนึ่งเข้ามาพูดกับท่าน(อฺ)ว่า

“โอ้ ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมสงครามกับท่าน ด้วยจิตใจของข้าพเจ้า หาใช่ด้วยเรือนร่างอย่างเดียวไม่”

แล้วท่าน(อฺ)ก็ได้มอบเงินจำนวนนั้นให้แก่ชายคนนั้นทันที

-๓-ท่านมันคุลได้กล่าวว่า

ข้าพเจ้าได้พบกับท่านมุฮัมมัด บินอฺะลี(อฺ) แล้วข้าพเจ้าได้ขอค่าใช้จ่ายเพื่อเดินทางไปยังบัยตุลมักดิซ ปรากฎว่าท่าน(อฺ)ได้มอบให้แก่ข้าพเจ้าจำนวน ๑๐๐ ดีนาร (๘)

 (๘) อัด-ดัมอะตุซซากิบะฮฺ เล่ม ๓ หน้า ๑๑๒

-๔-ท่านดาวูด บินกอซิม ญะอฺฟะรีได้กล่าวว่า

ท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)ได้มอบเงินให้แก่ข้าพเจ้า ๓๐๐ ดีนาร และได้สั่งให้ข้าพเจ้านำเงินจำนวนนี้ไปแจกจ่ายแก่ลูกพี่ลูกน้องของท่านบางคน (๙)

(๙) กัชฟุลฆุมมะฮฺ หน้า ๒๘๗

๑๙

-๕-ท่านอิมามญะวาด (อฺ) ได้เขียนจดหมายไปยัง

อิบรอฮีม บินมุฮัมมัดว่า

“ฉันได้จัดส่งเงินจำนวนหนึ่ง และถุงเงินอีกจำนวนหนึ่งให้แก่ท่านขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรง

ประทานความจำเริญแก่ท่านในสิ่งเหล่านี้ และในความโปรดปรานทั้งมวลของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่มีแก่

ท่าน”(๑๐)

(๑๐) บิฮารุลอันวารฺ เล่ม ๑๒ หน้า ๑๒๖

-๖-ได้มีชายคนหนึ่งมาหาท่านแล้วกล่าวว่า

“โปรดมอบอะไรก็ได้ให้แก่ข้าพเจ้าตามความกล้าหาญที่ท่านมีอยู่”

ท่านอิมาม(อฺ)ได้ตอบว่า

“ฉันไม่สามารถที่จะกระทำได้”

ชายคนนั้นได้กล่าวอีกว่า

“ถ้าเช่นนั้นโปรดมอบอะไรก็ได้ให้แก่ข้าพเจ้าตามขีดความสามารถของข้าพเจ้า”

๒๐