ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด42%

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 130

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 130 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 78951 / ดาวน์โหลด: 4977
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

ท่านอิมาม(อฺ)ได้กล่าวว่า

“ถ้าเช่นนั้นเป็นอันตกลง ลูกเอ๋ยโปรดนำเงินมามอบแก่เขาผู้นี้ ๒๐๐ ดีนาร เถิด” (๑๑)

(๑๑)อัด-ดัมอะตุซซากิบะฮฺ เล่ม ๓ หน้า ๔)

คำสั่งเสียของอิมามอะบูญะอฺฟัร อัล-ญะวาด(อฺ)

เป้าหมายในคำสั่งเสียของบรรดาอิมาม(อฺ) นั้นมิได้มีเพียงแค่การให้อ่าน หรือให้ท่องจำอย่างเดียว หากแต่จำเป็นจะต้องอ่านเพื่อปฏิบัติตามและจดจำไว้เพื่อปฏิบัติหน้าที่การงาน เพราะถ้าหากไม่เป็นอย่างนี้แล้ว เรื่องต่าง ๆ ทั้งหมดก็ไม่มีผลประการใด ความพยายามที่มีอยู่ก็จะเป็นสิ่งสูญหาย หาสาระอันใดมิได้ ข้าพเจ้าไม่พบว่าตัวเองนั้นต้องการการพิสูจน์ใด ๆ นี้ เพราะการปฏิบัติตาม

คำสั่งเสียของท่านอิมาม(อฺ)นั้น ยังประโยชน์ให้เราได้พบกับความผาสุกในโลกนี้และความสุขชั่วนิจนิรันดร์ในโลกหน้า เราทั้งหลายเชื่ออย่างนี้ตรงกัน และเป็นผู้ยอมรับในสิ่งดังกล่าว แต่เรายังมีอยู่สิ่ง

หนึ่ง นั่นคือจะต้องทำความเข้าใจแก่ตัวของเราเองเกี่ยวกับการนำเอาคำสั่งเสียเหล่านี้มายึดถือและปฏิบัติให้ตรงเป้าหมาย เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เราก็หวังความสัมฤทธิ์ผลจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ต่อไปนี้

๒๑

 เราจะกล่าวถึงคำสั่งเสียบางอย่างของท่านอิมามมุฮัมมัด อัล-ญะวาด(อฺ)

-๑-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙

มีชายคนหนึ่งได้กล่าวกับท่านอิมาม(อฺ) ว่า

“โปรดสั่งเสียข้าพเจ้าด้วยเถิด”

ท่านอิมาม(อฺ)ได้กล่าวว่า

“ท่านจะยอมรับไปปฏิบัติกระนั้นหรือ ?”

ชายคนนั้นกล่าวว่า

“ใช่แล้ว”

ท่านอิมาม(อฺ)กล่าวว่า

“ท่านจงยึดหลักความอดทน จงยอมรับความยากจน จงผลักไสความใคร่ จงต่อต้านกับอารมณ์ใฝ่ต่ำ จงรู้เถิดว่าทานมิอาจรอดเร้นจากสายตาของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านก็จงคิดดูเถิดว่าท่านควรจะทำตัวอย่างไร”(๑๒)

(๑๒)อะอฺยานุชชีอะฮฺ เล่ม ๓ หน้า ๒๔๓)

๒๒

-๒-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙

ท่านอิมามญะวาด(อฺ) ได้มีคำสั่งเสียอีกตอนหนึ่งว่า

“ขอให้ท่านระวังการเป็นมิตรกับคนชั่ว เพราะเขาเป็นเสมือนดาบที่คมกริบ ยามมองดูนั้นจะเห็นว่ามันสวยงาม แต่ผลของมันช่างเลวร้าย และน่าเกลียด(ในยามที่มันสัมผัสกับเนื้อของเรา จะฝาก

ลอยแผลฉกรรจ์ไว้)” (๑๓)

(๑๓) บิฮารุ้ลอันวารฺ เล่ม ๑๗ หน้า ๒๑๔)

-๓-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙

ท่านอิมาม(อฺ)ได้มีคำสั่งเสียอีกตอนหนึ่งว่า

“ท่านจงอย่าเป็นศัตรูกับผู้ใด จนกว่าท่านจะรู้ถึงฐานะที่เขาคนนั้นมีต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) เพราะ

ถ้าหากเขาเป็นคนดี แน่นอนพระองค์จะไม่ทรงยอมรับท่านแน่ แต่ถ้าหากเขาเป็นคนชั่ว ก็ให้ถือเสียว่าที่ท่านรู้อย่างนั้นก็เพียงพอแล้ว จึงอย่าได้เป็นศัตรูกับเขา”(๑๔)

(๑๔) บิฮารุ้ลอันวารฺ เล่ม ๑๗ หน้า ๒๑๔)

๒๓

-๔-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙

คำสั่งเสียอีกตอนหนึ่งของอิมามญะวาด(อฺ)

“อย่าใจเร็วด่วนได้กับกิจการงานใด ๆ ก่อนที่กิจการงานนั้นๆ จะล่วงเข้าสู่ภาวะที่เหมาะสม

มิฉะนั้นแล้วท่านจะเสียใจ จงอย่าให้ความฝันอันยาวไกลกินเวลายาวนานเกิดขึ้นกับท่าน เพราะว่ามันจะทำให้หัวใจของพวกท่านแข็งกระด้าง จงเมตตาคนอ่อนแอ จงขอความเมตตาจากอัลลอฮฺ

(ซ.บ.) ด้วยการให้ความเมตตากับคนเหล่านั้น” (๑๕)

(๑๕) อัล-ฟุศูลุ้ลมุฮิมมะฮฺ หน้า ๒๖๑

-๕-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙

คำสั่งเสียอีกตอนหนึ่งของอิมามญะวาด(อฺ)

“จงอย่าทำตัวเป็นผู้ภักดีต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ในยามที่อยู่อย่างเปิดเผยแต่เป็นศัตรูของพระองค์

ในยามที่อยู่เร้นลับ”(๑๖)

(๑๖) บิฮารุ้ลอันวารฺ เล่ม ๑๗ หน้า ๒๑๔)

๒๔

-๖-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙

คำสั่งเสียอีกตอนหนึ่งของอิมามญะวาด(อฺ)

“จงอดทนกับสิ่งที่ท่านรังเกียจ ในกรณีที่มันจำเป็นจะต้องเกิดขึ้นกับท่านโดยชอบธรรมและจงอดทนกับสิ่งที่ท่านรักชอบ ในกรณีที่ถ้าหากสิ่งนั้นจะนำพาไปสู่ความเสียหาย”(๑๗)

 (๑๗) อัล-อันวารุ้ลบะฮียะฮฺ หน้า ๑๓๓

สาส์นข้อเตือนสติของอิมามมุฮัมมัด บินอฺะลี(อฺ)

ในบทนี้มีแบบฉบับใหม่ ๆ จากวจนะของท่านอิมามญะวาด(อฺ)ให้เราได้ศึกษา ซึ่งท่านได้ฝากไว้ในสาส์นฉบับต่างๆ และข้อเขียนที่ท่านส่งไปยังชีอะฮฺของท่าน กล่าวคือท่านท่านอิมามญะวาด(อฺ)ได้เขียนสาส์นอย่างมากมายเพื่อกลุ่มชนมุสลิมต่างๆ ในโลกอิสลาม ขณะเดียวกันท่านก็ได้เขียนไปยังบุคคลอื่นๆ ในต่างวาระเหตุการณ์ สาส์นเหล่านั้นนับว่าเป็นเครื่องมืออันหนึ่งของท่านอิมามญะวาด(อฺ)ที่ใช้เพื่อการเผยแพร่เรียกร้องสู่ศาสนาของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และการประพฤติปฏิบัติไปตามหลักการและวิถีทางของพระองค์

๒๕

ต่อไปนี้เราจะบันทึกถึงเรื่องราวในสาส์นบางส่วน ดังนี้

สาส์นฉบับที่ ๑

มีรายงานว่า ได้มีโจรปล้นสิ่งของมีค่าของท่าน(อฺ)ในขณะที่กำลังถูกนำไปมอบให้แก่ท่าน(อฺ) ในระหว่างทาง ผู้ทำหน้าที่นำของได้เขียนจดหมายไปแจ้งเรื่องราวให้ท่าน (อฺ) ทราบ

ท่านอิมาม(อฺ)ได้ตอบว่า ตัวของเราและทรัพย์สินของเรานั้น นับเป็นสิ่งกำนัลอย่างหนึ่งจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) คุณค่าของมันล้วนเป็นสิ่งของที่ต้องพลัดพรากจากไปสิ่งที่ใช้ประโยชน์ได้ย่อมได้รับการใช้ประโยชน์ไปท่ามกลางความยินดี ส่วนที่ถูกแบ่งเอาไปได้ ก็จะถูกนำไปเป็นรางวัลและค่าตอบแทน ดังนั้นผู้ใดที่ไม่สามารถอดกลั้นความรู้สึกเสียดายสิ่งของนั้นๆ ก็ถือว่าเขาได้ลบล้างรางวัลของตนเองไปแล้วซึ่งเราขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ)ให้พ้นจากการเป็นเช่นนั้น(๑๘)

(๑๘) ตะฮัฟฟุลอุกูล หน้า ๓๓๖

๒๖

สาส์นฉบับที่ ๒

สาส์นอีกฉบับหนึ่งของท่านอิมามญะวาด(อฺ) ที่เขียนไปยังมิตรสหายของท่าน(อฺ)บางคนมีใจความว่า

สำหรับโลกนี้ ฉันเป็นผู้รู้จักเรื่องราวต่างๆ ของมันเป็นอย่างดีแต่ว่าผู้ใดที่ให้อารมณ์ใฝ่ต่ำของเขาเป็นที่ปรารถนาของเจ้าของมันและลดตัวต่ำต้อยอันนั้น เขาก็จะอยู่กับสิ่งนั้นเสมอ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะชักนำไปอย่างไร แต่ในวันปรโลกนั้น คือสถานที่พำนักอันแน่นอน(๑๙)

(๑๙) เล่มเดิม หน้า ๓๓๖

สาส์นฉบับที่ ๓

สาส์นฉบับหนึ่งของอิมามญะวาด(อฺ) ที่เขียนไปยังอิบนุมะฮฺซิยาร เพื่อตอบข้อเขียนที่เขาส่งมายังท่าน(อฺ)ดังนี้

แน่นอนยิ่ง ฉันมีความเข้าใจในสิ่งที่ท่านได้กล่าวถึง ทำให้ฉันมีความปลื้มปิติมากเป็นทวีคูณ ขออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประทานความยินดีปรีดาให้แก่ท่าน ฉันหวังการปกป้องอันพอเพียงที่จะให้ฉันพ้นผ่านแผนการร้ายทุกประการ อินซาอัลลอฮฺ และขอวิงวอนต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ)ให้ทรงปกปักรักษาท่านทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังของท่านในทุกๆ สภาพการณ์ของท่านโปรดรับทราบไว้ด้วยว่า

๒๗

 ฉันมุ่งหวังที่จะขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ปกป้องท่าน และขออัลลอฮฺ(ซ.บ)ทรงบันดาลให้ทานได้รับความดีงามในเกียรติยศต่างๆ ที่ท่านได้รับเมื่อวันอาทิตย์ ดังนั้น ขอได้โปรดประวิงสิ่งเหล่านั้นไว้เพื่อวันจันทร์ด้วยเถิด ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเป็นเพื่อนของท่านในยามเดินทางและขอให้พระองค์ทรงดูแลครอบครัวของท่านในยามที่ท่านจากไปและขอให้พระองค์ทรงรักษาพันธสัญญาของท่านไว้ด้วย อีกทั้งขอให้พระองค์ประทานความสันติให้แก่ท่าน โดยอานุภาพของพระองค์

ดังนั้นโปรดมุ่งตรงไปยังบ้านเรือนของท่าน ขออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงบันดาลให้ท่านได้รับความดี ณ ที่พำนักทั้งในโลกนี้และปรโลก

ฉันมีความเข้าใจในสิ่งที่ท่านกล่าวถึงเกี่ยวกับกิจการของชาวเมืองกุม ขออัลลอฮฺ(ซ.บ)ทรงประทานความบริสุทธิ์และแคล้วคลาดให้แก่พวกเขาเหล่านั้น ท่านทำให้ฉันมีความสุขด้วยกับสิ่งที่

ท่านได้กล่าวและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ขออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงประทานความชื่นชมให้แก่ท่านโดยได้รับสวนสวรรค์และทรงให้ความโปรดปรานแก่ท่านด้วยความพึงพอใจของฉันที่มีต่อท่าน ฉันขอต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ซึ่งการอภัยและความเมตตา ฉันขอกล่าวว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)เท่านั้นทรงเป็นที่

๒๘

พอเพียงสำหรับเราและเป็นที่ไว้วางใจอันประเสริฐยิ่ง

สำหรับสิ่งที่ท่านได้ขอให้เหตุการณ์ที่อยู่เบื้องหน้าของท่านได้รับความเปลี่ยนแปลวไปนั้น

ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเปิดทางสะดวกให้แก่ท่านและแก่บุคคลที่ท่านขอในหมู่ครอบครัวของท่าน

ให้ได้รับความสะดวกอย่างกว้างขวาง โอ้ ท่านอฺะลีเอ๋ย สิ่งที่ยังมีอยู่ ณ ตัวของฉันสำหรับท่านนั้นมีมากมายกว่าความสะดวกสบายอันนั้น ฉันขอจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ให้พระองค์ทรงเป็นเพื่อนของท่านที่

ให้ความสะดวกสบาย และได้ทรงมอบสิ่งนั้นให้แก่ท่าน แท้จริงพระองค์เป็นผู้ได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้เสมอ

ส่วนสิ่งที่ท่านขอดุอาอ์นั้น อันที่จริงแล้วท่านไม่รู้หรอกว่า ณ ที่ฉันนั้นอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะบันดาลอย่างไรแก่ท่าน บางครั้งฉันเอ๋ยถึงท่านด้วยชื่อและสายตระกูลท่าน พร้อมกันฉัน ฉันยังให้ความสำคัญกับท่าน และมีความรักต่อท่านเป็นอย่างยิ่ง และฉันมีความตระหนักในความเป็นไปของท่านดังนั้นขออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงประทานคุณงามความดีอย่างถาวรให้แก่ ท่านเกี่ยวกับการครองชีพและการนำท่านให้ไปถึงยังครอบครัว และขอพระองค์ได้ทรงจัดที่พำนักอันเป็นวิมานชั้นสูงสุดให้แก่ท่านด้วยความเมตตาของพระองค์

๒๙

 แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยินการขอดุอาอ์ ขออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ได้ทรงปกป้องคุ้มครองและเป็นมิตรกับท่าน และปกปักษ์รักษาท่านไว้ด้วยความเมตตาของพระองค์

สาส์นฉบับที่ ๔

สาส์นที่ท่านอิมามญะวาด(อฺ) ส่งไปยังท่านซะอฺดุ้ลคอยรฺ(ร.ฏ.)มีใจความดังนี้

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงปรานี ผู้ทรงเมตตาอยู่เป็นนิรันดร์ ต่อไปนี้ฉันจะขอสั่งเสียท่านไว้เกี่ยวกับการสำรวมตน(ตักวา) ต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) เพราะแท้จริงในเรื่องนี้จะนำมาซึ่งความสันติ

สุข และเป็นทรัพย์สินอันถาวรแท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงกำหนดหลักการสำรวมตนไว้แก่ปวงบ่าวไปตามสภาพทางด้านสติปัญญาของเขาและทรงยับยั้งความมืดบอดและความโง่เขลาให้พ้นจากปวงบ่าวโดยการสำรวมตน กับการสำรวมตนนี่แหละที่ศาสดานูฮฺได้รับความปลอดภัยพร้อมกับบรรดาผู้ที่อยู่กับเขาในเรือ และ

ท่านนบีศอลิฮฺพร้อมกับผู้ที่อยู่กับเขาก็ได้ปลอดภัยจากการลงโทษ กับการสำรวมตนนี่แหละที่บรรดาผู้มีความอดทนได้รับชัยชนะ และอุปสรรคต่าง ๆ อันจะยังความเสียหายเหล่านั้นได้รอดพ้นไป

๓๐

 การสำรวมตน(ตักวา)เป็นพี่น้องของพวกเขา ตามแนวทางแห่งความปลอดภัยดังกล่าวพวกเขาได้สัมผัสกับความประเสริฐนั้น

พวกเขาได้ละทิ้งการละเมิดของพวกเขา

จากการไปถึงยังความปรารถนาต่างๆ สิ่งใดก็ตามที่เป็นอุทาหรณ์ในคัมภีร์มายังพวกเขา เขาเหล่านั้น

ได้สรรเสริญสดุดีต่อพระผู้อภิบาลในฐานะที่พระองค์ทรงประทานเครื่องยังชีพให้แก่พวกเขาและในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นเจ้าแห่งมวลการสรรเสริญ เขาเหล่านั้นตำหนิตัวเอง อันเนื่องมาจากสิ่ง

ทั้งหลายที่พวกเขาผิดพลาด ในฐานะที่พวกเขาเป็นผู้มีข้อตำหนิ

จงรู้ไว้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ผู้ทรงจำเริญผู้ทรงสูงส่งนั้นทรงเกื้อการุณย์ ทรงมีความรอบรู้เสมอ อันที่จริงแล้วความกริ้วของพระองค์นั้นย่อมประสบแก่ผู้ซึ่งไม่ยอมรับความโปรดปราน

ของพระองค์ อันที่จริงแล้วพระองค์ทรงยับยั้งผู้ที่ไม่ยอมรับการให้ของพระองค์ที่มาจากพระองค์อันที่จริงแล้วพระองค์ทรงบันดาลให้ผู้ที่ไม่ยอมรับทางนำของพระองค์ได้หลงทาง ต่อจากนั้นพระองค์

ทรงเรียกร้องปวงบ่าวของพระองค์ไว้ในคัมภีร์ด้วยสุรเสียงที่ก้องกังวานอย่างมิขาดสาย และพระองค์ไม่เคยยับยั้งคำวิงวอนของบรรดาปวงบ่าว ดังนั้น อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงสาปแช่งบรรดาผู้ที่

ปิดบังซ่อนเร้นสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประทานมา และพระองค์ทรงบันทึกเรื่องความเมตตาได้สมบูรณ์อย่างแท้จริงและเที่ยงธรรมยิ่ง

๓๑

 กล่าวคือ พระองค์มิได้เริ่มต้นใช้ความกริ้วแก่บรรดาปวงบ่าว

ก่อนที่พวกเขาเหล่านั้นจะโกรธเคืองพระองค์ สิ่งเหล่านี้อยู่ในส่วนของวิชาความรู้ขั้นยะกีน และวิชาความรู้แห่งการมีตักวา ทุกๆ ประชาชาตินั้น อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงถอดถอนความรู้แห่งคัมภีร์ออกไปจากเหล่านั้นในยามที่พวกเขาปฏิเสธ และพระองค์ทรงบันดาลให้ศัตรูของพวกเขาเป็นผู้ปกครอง

พวกเขาในยามที่พวกเขาให้การยอมรับแก่ศัตรู ส่วนหนึ่งที่เป็นการละเมิดของพวกเขาต่อคัมภีร์ก็คือ

การที่พวกเขายังคงรักษาไว้ซึ่งตัวอักษรของคัมภีร์ แต่กลับเบี่ยงเบนกฎเกณฑ์ต่างๆ ของคัมภีร์

กล่าวคือ เขาเหล่านั้นเรียนรู้คัมภีร์แต่มิได้นำพาคนโง่เขลาได้ทำให้พวกเขารู้สึกชื่นชมต่อการท่องจำการรายงานฮะดีษของพวกเขา

 และบรรดานักปราชญ์ต่างทำให้พวกเขารู้สึกเสียใจต่อการละทิ้งความรับผิดชอบของพวกเขา ส่วนหนึ่งจากการละทิ้งคัมภีร์ของพวกเขาก็คือ พวกที่ไม่มีวิชาความรู้ได้ทำหน้าที่ปกครองพวกเขา ผู้ปกครองที่ว่านั้นได้นำพาพวกเขาสู่ตัณหา ได้นำพาไปสู่ความหลงผิด และได้ส่งเสริมพวกเขาสู่ความตกต่ำ และเขาเหล่านั้นได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของศาสนา ต่อจากนั้น

๓๒

พวกเขาได้สืบมรดกอยู่ในความโง่เขลาและด้อยปัญญา ประชาชาติจึงมีการแสดงออกแต่ในส่วนที่เป็นกิจการของมนุษย์ ห่างไกลจากกิจการของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)แล้วพวกเขาเหล่านั้นจะย้อนคืนกลับสู่

พระองค์ ความเลวร้ายจะต้องประสบแก่บรรดาผู้อธรรมที่เปลี่ยนแปลงเอาหลักการปกครองของมนุษย์แทนหลักการปกครองของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)แต่แล้วในประชาชาติเหล่านั้นก็ได้เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน โดยมีบรรดาผู้ซึ่งขยันหมั่นเพียรในด้านการทำอิบาดะฮฺตามแนวทางแห่งการหลงผิดนั้น มีลักษณะที่น่าทึ่ง สร้างความปั่นป่วน กล่าวคือการเคารพภักดีที่พวกเขามีอยู่นั้นเป็นการสร้างความยุ่งยากสำหรับประชาชาติและผู้ที่ปฏิบัติตามพวกเขา

แน่นอนที่สุดได้มีคำตักเตือนแก่บรรดาปวงบ่าวไว้ในบรรดาศาสดาทั้งหลายแล้ว

 แท้จริงมีนบีท่านหนึ่งซึ่งมีความพร้อมในด้านการเชื่อฟังแต่แล้วท่านได้ละเมิด(การละเมิดในที่นี้มิใช่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตามความเข้าใจโดยทั่วไป อันจะทำให้บกพร่องต่อคุณสมบัติการเป็นนบี โปรดพิจารณาเรื่องนี้จากหนังสือที่เกี่ยวข้องกับหลักความเชื่อของชีอะฮฺ)ต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)

๓๓

ในเรื่องๆ หนึ่งเท่านั้น ท่านถึงกับต้องถูกนำออกจากสวนสวรรค์ และถูกผลักไสให้ไปอยู่ในท้องของปลาตัวใหญ่ ท่านมิได้รับความปลอดภัยเลยจนกว่าได้ยอมรับผิด และขออภัยโทษ ดังนั้นจงรับรู้ถึง

ความผิดของบรรดาบาทหลวงและพวกปุโรหิตทั้งหลายผู้ที่นำพาต่อการปิดบังคัมภีร์และบิดเบือนมัน

ดังนั้น การค้าของพวกเขาเหล่านั้นมิได้ให้ผลกำไรแต่อย่างใด และพวกเขามิได้เป็นผู้อยู่ในทางนำอีกด้วย

แล้ท่านก็จะต้องรู้จักความคล้ายคลึงของพวกเขาในประชาชาตินี้นั่นคือเขาทั้งหลายผู้ซึ่งยังดำรงรักษาไว้ซึ่งอักษรต่างๆ ในคัมภีร์แต่กระทำการบิดเบือนกฎเกณฑ์ต่างๆ ของคัมภีร์ กล่าวคือเขา

เหล่านั้นจะอยู่ร่วมกับบรรดาเจ้านายและคนมีทรัพย์สินเงินทอง เมื่อผู้นำแห่งความอยากใคร่ได้แยกตัวออกมาพวกเขาก็จะอยู่กับคนส่วนมากที่เป็นชาวโลก และนี้ก็คือระดับของพวกเขาในด้าน

ความรู้ พวกเขายังคงอยู่ในความโลภโมโทสัน พวกเขายังคงฟังเสียงของอิบลีซด้วยสิ่งที่เป็นโมฆะทั้งหลาย บรรดาปวงปราชญ์ล้วนต้องอดทนกับความกลั่นแกล้งที่มีมาจากพวกเขาเขาทั้งหลายตำหนิเตียนบรรดาปวงปราชญ์ด้วยการสร้างภาระหนักมากมาย และบรรดาปวงปราชญ์ที่อยู่ในหมู่พวกเขาเหล่านั้นล้วนแต่เป็นผู้ทรยศ ซ่อนเร้นหลักคำสอน

๓๔

ถ้าหากพวกเขาเห็นคนทำผิดกำลังหลงทาง พวกเขาจะไม่ชี้แนะคนๆ นั้นเลย หรือเห็นคนที่กำลังจะกลายเป็นซากศพ พวกเขาจะไม่ทำให้เขากลับมีชีวิตชีวาขึ้นมาใหม่ สิ่งที่พวกเขากระทำไว้นั้น นับว่เลวร้ายยิ่งเพราะอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงกำหนดพันธสัญญากับพวกเขาไว้แล้วในคัมภีร์ว่าพวกเขาจะต้องสั่งสอนในเรื่องคุณธรรมไปตามที่พวกเขาเหล่านั้นได้ถูกกำชับมา และพวกเขาจะต้องทำการยับยั้งจากสิ่งต่างๆ ที่เขาเหล่านั้นถูกห้ามปรามไว้

พวกเขาจะต้องช่วยเหลือเกื้อกูลในเรื่องความดีงามและการสำรวมตน และอย่าได้สนับสนุนกันในเรื่องการทำความบาปและการสร้างศัตรู

ดังนั้นบรรดานักปราชญ์ในหมู่คนที่โง่เขลา มีความพยายามและมีความเสียสละ ถ้าหากท่านสั่งสอน พวกเขาก็จะกล่าวว่า ท่านละเมิด และถ้าหากพวกเขารู้ซึ้งถึงสัจธรรมข้อที่พวกเขาละทิ้ง

พวกเขาก็จะกล่าวว่า ท่านผิดพลาด และถ้าหากพวกเขาหลักตัวออกไปพวกเขาจะกล่าวว่า ท่านได้แตกแยกไปแล้ว และถ้าหากพวกเขากล่าวว่า จงนำหลักฐานของพวกท่านมายืนยันตามที่พวกท่าน

กล่าวไว้เถิด พวกเขาจะกล่าวว่า ท่านหลอกลวงและถ้าหากพวกท่านสั่งให้คนเหล่านั้นเชื่อฟัง คนเหล่านั้นก็จะกล่าวว่า ท่านทรยศต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)

๓๕

 กล่าวคือ บรรดาผู้ที่โง่เขลานั้นต้องได้รับความเสียหายในเรื่องต่างๆ ที่พวกเขาไม่รู้ พวกเขาเชื่อมั่นต่อคัมภีร์ในยามที่ให้คำจำกัดความ แต่จะปฏิเสธต่อคัมภีร์ในกรณีที่บิดเบือน ดังนั้นเขาเหล่านั้นจงอย่าได้ปฏิเสธเขาเหล่านั้นคล้ายกับบรรดาบาทหลวง และพวกปุโรหิตที่เป็นผู้นำในความหลงผิด เป็นหัวหน้าในเรื่องที่ต่ำต้อย ส่วนอีกด้าน

หนึ่งมีบรรดาบุคคลที่นั่นอยู่ระหว่างความหลงผิดกับความถูกต้อง ฝ่ายหนึ่งจะไม่รู้จักกับอีกฝ่ายหนึ่ง

พวกเขาเหล่านั้นจะกล่าวไปตามที่ประชาชนทั้งหลายรู้ว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร เขาเหล่านั้นเชื่อไปตามนั้น ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ละทิ้งคนเหล่านั้นที่อัล-บัยฏออ์ ทั้ง

ในยามกลางคืนและกลางวัน ทั้งๆ ที่เขาเหล่านั้นยังไม่แสดงเรื่องการอุตริให้เห็นอย่างเปิดเผย และในหมู่ชนเหล่านั้นยังมิได้เปลี่ยนแปลงหลักคำสอนแห่งซุนนุฮฺ พวกเขาเหล่านั้นยังมิได้มีความหลงผิด

ครั้นเมื่อคนทั้งหลายลับตาไปพวกเขาก็อยู่ในความผิดพลาดด้วยการมีอำนาจสองประเภท

ประเภทหนึ่งเรียกร้องไปสู่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) อีกประเภทหนึ่งเรียกร้องไปสู่ไฟนรก เมื่อเป็นเช่นนี้

๓๖

ชัยฏอนก็ได้โอกาส กล่าวคือ มันจะใช้เสียงของมันพูดไปตามกระแสลิ้นลมของบรรดาพรรคพวกบริวาร มันจะเข้าร่วมดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินและลูกๆ ของบุคคลที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกของมัน

ดังนั้น มันจึงกระทำการอันเป็นสิ่งอุตริและทอดทิ้งคัมภีร์

และซุนนะฮฺ บรรดาผู้เป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺ(เอาลิยาอ์)นั้น ย่อมพูดด้วยหลักฐานและยึดถือปฏิบัติตามคัมภีร์และวิทยปัญญา ในวันนั้นบรรดาผู้ยึดถือในหลักสัจธรรมกับบรรดาผู้ยึดถือความผิดพลาด ย่อมจะต้องแตกแยกกัน....”(๒๐)

(๒๐) บิฮารุ้ลอันวารฺ เล่ม ๑๗ หน้า ๒๑๓

สุภาษิต :คำสอนจากวิทยปัญญาของอิมามญะวาด(อฺ)

สุภาษิตและคำเตือนต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งมาจากวิทยปัญญาของ

อิมามญะวาด(อฺ) โดยสรุป หมายถึง ศิลปะแห่งการเรียนรู้ จริยธรรม หลักธรรมและการเรียกร้องเชิญชวนยังอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

อีกทั้งเป็นจุดเน้นในการเสริมสร้างคุณค่าในด้านต่าง ๆ แน่นอนที่สุดสุภาษิตเหล่านี้ได้สรุปย่อมาจากตำราต่างๆ หลายเล่ม หน้าที่ของเราในปัจจุบันควรที่จะได้นำสุภาษิตและคำสอนต่างๆ เหล่านี้มา

ประพฤติปฏิบัติและนำมาเป็นแบบแผนในการดำเนินชีวิตแห่งความเป็นจริงของเราและให้นำมาเป็นวิถีทางสำหรับการดำเนินชีวิตต่อไปในเส้นทางของท่าน

๓๗

ต่อไปนี้ เราจะกล่าวถึงสุภาษิตบางข้อของท่านอิมามมุฮัมมัด

บินอฺะลี อัล-ญะวาด(อฺ)ได้กล่าวไว้ดังนี้

สุภาษิตที่ ๑

􀂙 การประวิงเวลาสำหรับการกลับตัวนั้นคือการหลอกลวง

􀂙 การพลัดวันประกันพรุ่งเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความทุกข์

􀂙 การหยิ่งผยองกับอัลลอฮฺ (ซ.บ) ย่อมนำไปสู่ความเสียหาย

􀂙 การฝังตัวเองให้จมอยู่ในความบาปคือความรู้สึกรอดพ้นจากการวางแผนการของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) และไม่มีใครรู้สึกรอดพ้นจากแผนการของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) นอกจากเป็นกลุ่มชนที่ขาดทุน

สุภาษิตที่ ๒

คนที่เป็นมุอ์มินนั้นต้องการลักษณะ ๓ อย่าง คือ

๑. การประทานความสำเร็จ (เตาฟีก) จากอัลลอฮฺ (ซ.บ.)

๒. การชี้แนะจากตนเอง

๓. ยอมรับคำตักเตือนของผู้ให้คำตักเตือน ปฏิบัติตัวให้ถูกต้องความคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซ.บ.)

๓๘

สุภาษิตที่ ๓

􀂙 ผู้รับผิดชอบต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) จะสาบสูญไปจากอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้อย่างไร?

􀂙 ผู้วอนขอต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) จะหลบหนีจากอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้อย่างไร?

􀂙 บุคคลใดก็ตามที่หมดหวังในการขอจากผู้อื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ (ซ.บ.) แล้ว อัลลอฮฺ (ซ.บ.) แล้ว อัลลอฮฺ (ซ.บ.) จะทรงรับรองเขาเอง

􀂙 บุคคลใดที่ทำงานโดยขาดความรู้ ความเสียหายจะเกิดขึ้นมากกว่าความถูกต้องดีงาม (๒๑)

(๒๑)อะอฺยานุชชีอะฮฺ หน้า ๓ หน้า ๒๔๕, ๒๔๔

สุภาษิตที่ ๔

การมีเจตนาแน่วแน่ต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ด้วยหัวใจนั้น จะไปถึงยังเป้าหมายได้มากกว่าการทรมานร่างกายด้วยการปฏิบัติซะอีก

สุภาษิตที่ ๕

􀂙 ผู้ใดที่ผละหนีจากการต่อสู้ สิ่งที่น่ารังเกียจ (มักรูฮฺ) ก็จะเข้ามาใกล้เขา

􀂙 ใครไม่รู้จักหัวข้อเรื่องต่างๆ หลักฐานต่าง ๆจะทำให้เขาเหนื่อยอ่อน

๓๙

􀂙 ใครที่ปักใจเชื่อเรื่องหนึ่งเรื่องใดอย่าง ๑๐๐ เปอร์เซนต์ก่อนที่จะค้นหาความจริง แน่นอน

เขานำตัวเองสู่ความหายนะและบั้นปลายที่เหน็ดเหนื่อย

สุภาษิตที่ ๗

ผู้ที่มีแต่อารมณ์ใฝ่ต่ำ ย่อมจะไม่คลาดแคล้วจากความตกต่ำ

สุภาษิตที่ ๘

เมื่อการตัดสินได้ลงมา ความว่างเปล่าก็จะยิ่งคับแคบลง

สุภาษิตที่ ๙

คนที่เป็นมุอ์มินนั้นถือว่า การเป็นมิตรกับคนคดโกง ก็เป็นความคดโกงที่มากมายเสียแล้ว

สุภาษิตที่ ๑๐

เกียรติยศของคนที่เป็นมุอ์มินคือ.....

ความพอเพียงของเขาจากการพึ่งพามนุษย์

๔๐

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“ฉันขอผ่านการตอบคำถามข้อนี้”

เขากล่าวว่า

“ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ในฐานะที่ท่านมิได้บอกเล่าถึงความรู้ที่ท่านมีอยู่

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“ถ้าท่านถึงกับต้องสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ฉันก็จะตอบแท้จริงฉันขอกล่าวว่า คนเหล่านั้นให้คำตอบผิดพลาดจากซุนนะฮฺของท่านศาสดา(ศ) เพราะว่าการตัดมือจำเป็นจะต้องกระทำ

ตรงข้อต่อของนิ้วทั้งหมด แล้วให้ปล่อยฝ่ามือไว้เหมือนเดิม”

เขากล่าวว่า

“อะไรเป็นหลักฐานในเรื่องนี้ ?”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)ตอบว่า

“คำกล่าวของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ที่ว่า

“การซุญูดนั้นจะต้องกระทำโดยอวัยวะ ๗ ส่วน คือ ใบหน้า ฝ่ามือทั้งสอง เข่าทั้งสอง และเท้าทั้งสอง”

ครั้นถ้าหากมือของเขาถูกตัดถึงข้อมือหรือถึงข้อศอก ก็จะไม่มีฝ่ามือเหลือไว้สำหรับทำการซุญูดเลย

๘๑

และอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการไว้ว่า :

“และแท้จริง มัสญิดทั้งหลาย (ในที่นี้หมายถึงตำแหน่งแห่งการซุญูดทั้งหลายนั้น) เป็นของอัลลอฮฺ”

(อัล-ญิน: ๑๘)

หมายความว่า อวัยวะทั้ง ๗ เหล่านี้แหละ คือที่จะต้องทำการซุญูดลงไปและส่วนที่ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั้นจะถูกตัดไม่ได้”

ค่อลีฟะฮฺมุอฺตะศิมมีความประทับใจในคำตอบนี้ และสั่งให้ตัดมือของโจรคนนั้นตรงโคนนิ้วทั้งหมดโดยเว้นฝ่ามือไว้

(อะอฺยานุชชีอะฮฺ เล่ม ๓ หน้า ๓๕)

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๓

ท่านอับดุลอะซีม อัล-ฮะซะนีย์(ขอให้อัลลอฮฺทรงปิติชื่นชมต่อท่าน)ได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าได้เคยพูดกับท่านมุฮัมมัด บินอฺะลี บินมูซา(อฺ)ว่า

“โอ้ นายของข้า แท้จริงข้าพเจ้าปรารถนาที่จะให้ท่านเป็น

อัลกออิมแห่งอะฮฺลุลบัยต์ของท่าน

๘๒

ศาสดามุฮัมมัด(ศ) ผู้ซึ่งจะมาสถาปนาความยุติธรรมและความเที่ยงธรรมในหน้าแผ่นดินเหมือนกับที่มันเคยได้เนืองนองไปด้วยความอธรรมและความเลวร้ายมาก่อน”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)ตอบว่า

“ผู้ที่ยืนหยัดในคำสั่งของอัลลอฮฺและทำการชี้นำสู่ศาสนาของอัลลอฮฺ ก็คือคนในหมู่พวกเรา

แต่ทว่า ‘อัล-กออิม’ (ที่ถูกกล่าวถึง) นั้นคือ ผู้ที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงบัญชาให้เขาชำระล้างหน้าแผ่นดิน

ให้พ้นไปจากการปฏิเสธและการทรยศต่อพระผู้เป็นเจ้

 เขาจะสถาปนาความเที่ยงธรรมและความยุติธรรมในหน้าแผ่นดิน เขาคือคนที่ถือกำเนิดมาในสภาพที่ซ่อนเร้นจากประชาชนและตัวของเขาจะหายไปจากพวกเขาเหล่านั้นเป็นที่ต้องห้ามสำหรับพวกเขาที่จะตั้งชื่อของเขา เขาคือผู้มีฉายานามเดียวกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) นั่นคือ ผู้ซึ่งแผ่นดินจะต้องยอมสยบให้อุปสรรคทุกประการ

จะต้องสลายตัวให้แก่ท่าน จะมีบริวารที่มารายล้อมชุมนุมรอบตัวเขาเท่ากับจำนวนนักรบในสงครามบะดัรคือ ๓๑๓ คน จากทั่วทุกทิศของแผ่นดิน

๘๓

และนั่นคือความหมายที่เป็นไปตามโองการ

ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่ว่า :

“....ไม่ว่าสูเจ้าจะอยู่ที่ใด อัลลอฮฺจะทรงนำสูเจ้าทั้งหมดมารวมกัน แท้จริงอัลลอฮฺทรงมีอำนาจเหนือทุกสิ่ง”

เมื่อจำนวนนี้อันได้แก่พวกที่มีความบริสุทธิ์ใจได้มารวมตัวอยู่กับท่าน อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงบันดาลให้ภารกิจของเขาบังเกิดขึ้น เมื่อนั้นพันธสัญญาของเขาก็จะเสร็จสมบูรณ์ นั่นคือจะมีชายฉกรรจ์ ๑๐, ๐๐๐ คน ออกมาปรากฏโดยการอนุมัติของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ดังนั้นพวกเขาจะไม่หยุดยั้งในการสังหารศัตรูของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) จนกระทั่งพระองค์ทรงพอพระทัย”

(อัล-เอียะฮฺติญาจญ์ เล่ม ๒ หน้า ๒๕๐)

๘๔

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๔

อุมัร บินฟะร็อจญ์ อัน-ร็อคญีได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าได้เคยพูดกับท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)ว่า

“แท้จริงพวกชีอะฮฺของท่านนั้นเคยอ้างว่า ท่านล่วงรู้ถึงนำหนักของน้ำทุกหยดในแม่น้ำในขณะที่พวกเราเองอาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)ตอบข้าพเจ้าว่า

“อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีพระปรีชาสามารถในการที่จะมอบความรู้อย่างนี้ให้แกยุงตัวหนึ่งได้หรือไม่”

ข้าพเจ้าตอบว่า “ใช่แล้ว”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“ฉันเป็นผู้มีเกียรติ ณ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)มากกว่ายุงตัวหนึ่ง และมีเกียรติมากกว่าสรรพสิ่งทั้งหลายอีกเป็นจำนวนมาก”

 (บิฮารุ้ลอันวารฺ เล่ม ๑๒ หน้า ๑๒๔).

๘๕

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๕

ท่านญะอฺฟัร บินมุฮัมมัด บินมะซีด ได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าเคยพำนักที่แบกแดด ท่านมุฮัมมัด บินมุนดะฮฺ ได้กล่าวกับข้าพเจ้าว่า

“จะให้ข้าพเจ้านำท่านไปพบกับท่านมุฮัมมัด บินอฺะลี

อัล-ริฏอหรือไม่”

ข้าพเจ้าบอกว่า “ตกลง”

แล้วเขาได้นำข้าพเจ้าเข้าพบ เมื่อเราได้ให้สลามและนั่งลงแล้วเขาได้กล่าวกับท่าน(อฺ)ว่า

“มีฮะดีษของท่านศาสนทูต(ศ) บทหนึ่งรายงานไว้ว่า :

“แท้จริง ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺนั้น เป็นผู้ได้รับการปกป้องซึ่งอวัยวะของนาง โดยอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงหวงห้ามมิให้เชื้อสายของนางสัมผัสกับไฟนรก

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“มีเฉพาะแต่เพียงสำหรับท่านฮะซันและท่านฮุเซนเท่านั้น”

( อัล-อะอิมมะตุอิษนะอะซัร ของอิบนุเฏาลูน หน้า ๑๐๔)

๘๖

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๖

ท่าอะฮฺมัด บินฟัฏลฺ อัล-คอกอนี ได้กล่าวว่า :

ได้มีการจับตัวผู้ร้ายบุกเข้าปล้นสะดมกองคาราวานของผู้บำเพ็ญฮัจญ์ และได้นำตัวคนเหล่านั้นเข้าพบกับเจ้าเมืองเพื่อพิจารณาโทษต่อจากนั้นเจ้าเมืองได้เขียนจดหมายไปถึงค่อลีฟะฮฺอัล-มุอฺตะศิม ครั้นแล้ว บรรดานักปราชญ์และอิบนุ์ อะบีดาวูด ก็ได้เข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือกัน

หลังจากนั้นคนพวกหนึ่งก็ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับบทบัญญัติ ซึ่งในขณะนั้น ท่านอะบูญะอฺฟัร มุฮัมมัด

บินอฺะลี อัล-ริฏอ ก็ได้อยู่ร่วมด้วยคนเหล่านั้นได้กล่าวว่า

“กฏเกณฑ์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ในเรื่องคนเหล่านั้นมีกล่าวอยู่แล้วในคำตรัสของพระองค์ที่ว่า :

“อันที่จริงแล้ว บทลงโทษสำหรับผู้ที่ทำสงครามกับอัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ และพยายามสร้างความเสียหายขึ้นในหน้าแผ่นดินนั้น จะต้องประหารชีวิตหรือจะต้องถูกตรึงบนไม้กางเขน หรือจะต้องตัดมือเขาเหล่านั้น และเท้าของเขาเหล่านั้น สลับข้างกัน หรือเขา

เหล่านั้นจะต้องถูกเนรเทศออกจากผืนแผ่นดิน...”

(อัล-มาอิดะฮฺ: ๓๓)

๘๗

แต่สำหรับท่านอะมีรุลมุอ์มินีนนั้น จะตัดสินอย่างไรก็สุดแล้วแต่ความประสงค์เถิด”

เขาได้หันไปปรึกษาท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)ว่า

“โปรดบอกให้ข้าพเจ้าได้ทราบถึงความรู้ของท่านในเรื่องนี้เถิด ?”

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“แท้จริงคนเหล่านั้นผิดพลาดในการวินิจฉันความ ความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาในข้อนี้คือ

ท่านอะมีรุลมุอ์มินีนจะต้องพิจารณาว่า คนเหล่านี้ที่ได้ขัดขวางการเดินทางหากพวกเขาข่มขู่ให้เกิดความหวาดกลัวแก่ผู้เดินทาง แต่พวกเขาก็มิได้ฆ่าใครและมิได้ยึดทรัพย์สินแต่ประการใด ที่สมควร

กับเหตุก็คือการถูกจำขัง ดังนั้นความหมายที่ให้เนรเทศพวกเขาออกจากแผ่นดินก็ด้วยการข่มขู่ของพวกเขาแก่คนเดินทางนั่นเอง ถ้าหากพวกเขาข่มขู่ให้เกิดความหวาดกลัวแก่คนเดินทางและฆ่าคน

ด้วย ผลก็คือจะต้องประหารชีวิตคนเหล่านั้น และถ้าหากคนเหล่านั้นข่มขู่ให้เกิดความหวาดกลัวแก่

คนเดินทาง อีกทั้งยังฆ่าคนและยึดทรัพย์สิน การลงโทษก็คือจะต้องตัดมือและเท้าของพวกเขาสลับข้างกัน และหลังจากนั้นจะต้องตรึงไม้กางเขนอีกด้วย”

๘๘

ดังนั้นอัล-มุอฺตะศิม จึงจัดการเขียนข้อความตามนั้นส่งไปยังเจ้าเมืองเพื่อให้ได้ตัดสินคดีดังกล่าวตามนั้น

(วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม ๑๘ หน้า ๕๓๖)

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๗

ท่านอะบูคิเดา อัล-มะฮฺดี ได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าได้ถามท่าน(อฺ)ว่า

“อุมมุวะลัด(ภรรยาที่เป็นทาสแต่ให้กำเนิดบุตร)ของข้าพเจ้าได้ให้นมแก่เด็กผู้หญิงคนหนึ่ง

ด้วยน้ำนมที่ให้ลูกของข้าพเจ้ากินจะเป็นที่ต้องห้ามแก่ข้าพเจ้าซึ่งการแต่งงานกับเด็กหญิงคนนั้นหรือไม่ ?”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“จะไม่ถือว่าเป็นการให้นม ถ้าหากกระทำขึ้นหลังจากที่เด็กหย่านมแล้ว”

ข้าพเจ้าได้ถามว่า

“การนมาซในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์(ฮะร็อม)ทั้งสองแห่งจะทำอย่างไร”

๘๙

ท่านอิมามญะวาด(อฺ) ตอบว่า

“ท่านจะทำเต็มก็ได้ และท่านจะทำย่อก็ได้ แต่สำหรับบิดาของฉันนั้น ท่านทำเต็ม”

( อิษบาตุ้ลวะศียะฮฺ หน้า ๑๘๒)

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๘

อะบูฮาซิม อัล-ญะอฺฟะรีได้ถามท่านอิมาม(อฺ)ว่า

“คำว่าเอกะหมายความว่าอย่างไร ?”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)ตอบว่า

“หมายความว่า คำกล่าวทั้งหลายพูดอย่างเป็นเอกฉันท์ในเรื่องหลักเตาฮีด เป็นไปตามที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงตรัสว่า :

“และแน่นอนที่สุด ถ้าหากเจ้าถามเขาเหล่านั้นว่า

ใครคือผู้สร้างฟ้าและแผ่นดิน แน่นอนเขาจะกล่าวว่าอัลลอฮฺ

(ลุกมาน: ๙)

อ้างอิงจากหนังสืออัต-เตาฮีด หน้า ๘๓

๙๐

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๙

อะบูฮาชิม อัล-ญะอฺฟะรี ได้ถามท่าน(อฺ)เกี่ยวกับโองการของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่ว่า

“สายตาทั้งหลายนั้นไม่สามารถหยั่งถึงพระองคื

แต่พระองค์ทรงหยั่งถึงสายตามทั้งหลาย”

(อัล-อันอาม: ๑๐๓)

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“อะบูฮาชิมเอ๋ย ดวงใจทั้งหลายละเอียดอ่อนยิ่งกว่าการมองเห็นของสายตา สำหรับท่านนั้น

สามารถหยั่งถึงสภาพของประเทศที่อยู่ห่างไกลแม้กระทั่งประเทศอินเดีย จีน ได้โดยความนึกคิดของท่าน ทั้งๆ ที่ท่านไม่เคยไปเยือนที่นั่น และสายตาของท่านก็ไม่เคยไปถึงที่นั่น แม้ว่าความนึกคิด

ของดวงจิตทั้งหลายยังไม่อาจเข้าถึงได้ตรงตามสภาพความเป็นจริงได้เลยแล้วสายตาจะมองเห็นสิ่งนั้นได้อย่างไร”

(อัต-เตาฮีด หน้า ๑๑๓)

๙๑

ดุอาอ์ : เสียงเรียกร้องสู่ความถูกต้องของอิมามที่ ๙

ดุอาอ์ต่างๆ ของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) นั้นเป็นคลังวิชาการในด้านหลักเตาฮีดและความเชื่อ เป็นข้อมูลและแบบฉบับอันสูงส่งในด้านจริยธรรมและความรอบรู้ เป็นกระแสธารอันบริสุทธิ์ที่เปี่ยมล้นสำหรับหลักการดำเนินชีวิตอันสมบูรณ์และความมีระเบียบ

ดุอาอ์ของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)นั้น เป็นสื่อที่ให้ผลเป็นอย่างยิ่งสำหรับการนำ

สังคมให้มีความตื่นตัวและก้าวหน้าไปในทิศทางแห่งพระผู้เป็นเจ้า และเป็นการยกระดับให้ก้าวขึ้นไปสู่สถานภาพอันสูงส่ง

 ในบทนี้เราจะนำเรื่องราวที่เกี่ยวกับดุอาอ์บางประการของท่าน

อิมามอะบูญะอฺฟัร อัล-ญะวาด(อฺ)มาเสนอ

๙๒

ดุอาอ์

บทที่ ๑

“โอ้พระผู้ซึ่งไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือน และไม่มีสิ่งใดคล้ายคลึง พระองค์คืออัลลอฮฺ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ ไม่มีผู้สร้างอื่นใดนอกจากพระองค์พระองค์ทรงสลายสภาพของสิ่งถูกสร้าง แต่พระองค์ทรงดำรงอยู่อย่างถาวร

 พระองค์ยังทรงอ่อนโยนต่อผู้ที่ทรยศต่อพระองค์ และในการอภัยโทษนั้นเป็นความยินดีของพระองค์”

(อะอฺยานุชชีอะฮฺ เล่ม ๓ หน้า ๒๔๕, มุกตะบิซุ้ลอะษัร เล่ม ๑๘ หน้า ๑๑๔).

๙๓

ดุอาอ์

บทที่ ๒

ดุอาอ์กุนูตบทหนึ่งของท่านอิมามญะวาด(อฺ)มีดังนี้

“การประทานให้ของพระองค์นั้นมีอย่างต่อเนื่อง ความโปรดปรานของพระองค์นั้นมีอย่างล้นเหลือ แต่การขอบพระคุณของเรานั้นมีเพียงน้อยนิดการสรรเสริญของเรานั้นมีเพียงเล็กน้อย

พระองค์ทรงให้ความสงสารแม้แต่กับผู้ที่รู้จักพระองค์เพียงผิวเผิน

โอ้ อัลลอฮฺ แน่นอนบรรดาผู้อยู่กับสัจธรรมมมักจะอยู่ในสภาพกลืนไม่เข้าคลายไม่ออก

ส่วนผู้มีวาจาสัตย์ก็ตกอยู่ในสภาพถูกปิดล้อม(หมดโอกาส)

โอ้ อัลลอฮฺพระองค์เท่านั้นที่ทรงเป็นผู้มีเมตตาต่อปวงบ่าวของพระองค์และผู้ที่มีความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะเข้าหาพระองค์ พระองค์ทรงมีอำนาจตอบรับดุอาอ์ของพวกเขาและทรงบันดาลให้พวกเขาได้รับการแคล้วคลาดอย่างเร็วพลัน

โอ้ อัลลอฮฺ ขอให้ทรงเป็นประทานความจำเริญแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของมุฮัมมัด และขอให้ทรงรีบเร่งประทานความช่วยเหลือที่ไม่มีวันบกพร่องหลังจากนั้นอีกให้แก่เราและด้วยความอนุเคราะห์ที่ไม่พลั้งพลาดอีกเลย และขอได้โปรดประทานความสันติสุขจากพระองค์ให้แก่เรา อันเป็นความสันติสุขที่บุคคลซึ่งพระองค์ทรงรักได้รับความปลอดภัยในนั้น

๙๔

 และเป็นความสันติสุขที่ศัตรูของพระองค์ต้องประสบความพ่ายแพ้ อีกทั้งเป็นความสันติสุขที่ผู้ซึ่งรู้จักพระองค์ดำรงอยู่ได้

อีกทั้งเป็นความสันติสุขที่อำนวยให้การกิจต่างๆ ของพระองค์มีความบันเจิด อันเป็นความสันติสุขที่พระองค์ทรงมีชัยเหนือศัตรูของพระองค์

โอ้ อัลลอฮฺ โปรดรีบเร่งให้พวกเราได้ใช้สถานที่พำนักแห่งความเมตตาจากพระองค์ และโปรดรีบเร่งให้ศัตรูของพระองค์ได้ไปพำนักอยู่ในบ้านแห่งการลงทัณฑ์

โอ้ อัลลอฮฺ ขอได้ทรงโปรดช่วยเหลือและเกื้อกูลต่อเรา และขอได้ทรงโปรดถอดถอนการลงโทษของพระองค์ออกไปจากเรา และทรงบันดาลให้สิ่งนั้นประสบแก่เหล่าบรรดาผู้อธรรม”

(มะฮฺญุดดะอฺวาต หน้า ๕๙)

๙๕

ดุอาอ์

บทที่ ๓

ดุอาอ์กุนูตอีกบทหนึ่งของอิมามญะวาด(อฺ) มีดังนี้

“โอ้ อัลลอฮฺ พระองคืคือผู้เป็นเจ้านับตั้งแต่เริ่มแรก ซึ่งไม่มีสภาวะเริ่มแรกใดๆ ก่อนหน้านี้อีก และทรงเป็นองค์สุดท้ายซึ่งไม่มีสภาวะสุดท้ายใดๆ ถูกกำหนดไว้หลังจากนั้นอีก พระองค์ทรงให้การบังเกิดกับพวกเราโดยไม่มีปฐมเหตุอื่นใดมาก่อนเกิดพระองค์ ทรงบันดาลให้พวกเรามีขึ้นมา

โดยมิได้เป็นไปเพราะเหตุจำเป็นอื่นใดบังคับ พระองค์ทรงบันดาลให้เราเกิดขึ้นมาด้วยวิทยาปัญญาของพระองค์ อันทางไว้ซึ่งอิสระเสรี พระองค์ทรงทดสอบเราด้วยคำสั่งใช้และคำสั่งห้ามของ

พระองค์เพื่อเป็นการทดสอบพระองค์ ทรงให้การสนับสนุนเราด้วยอุปกรณ์ต่างๆและทรงมอบเครื่องมือทั้งหลายให้แก่เรา และทรงประทานความสามารถทั้งปวงให้แก่เรา และทรงกำหนด

หลักการเชื่อฟังปฏิบัติตามให้แก่เรา กล่าวคือพระองค์ได้บัญชาใช้โดยที่ให้เราเลือก และทรงห้ามโดยเป็นการเตือน พระองค์ทรงประทานให้อย่างมากมาย ทรงเรียกร้องแต่เพียงเล็กน้อย

พระบัญชาของพระองค์ได้รับการถูกละเมิด แต่พระองค์ก็ยังมีเมตตาพลานุภาพของพระองค์ได้รับการดูถูก

๙๖

แต่กระนั้นพระองค์ก็ยังทรงให้เกียรติ พระองค์คือเจ้าแห่งเกียรติยศ เจ้าแห่งความยิ่งใหญ่เกรียงไกร

เจ้าแห่งความดี และความโปรดปราน เจ้าแห่งความหวังและความปรานี เจ้าแห่งการประทานให้และเผื่อแผ่ เจ้าแห่งการดลบันดาลซึ่งความสำเร็จ ไม่มีดวงใจดวงใดสามารถล่วงรู้ในความลี้ลับของ

พระองค์ ไม่มีมโนภาพใดๆ สามารถเข้าถึงคุณลักษณะของพระองค์ สิ่งที่พระองค์ทรงสร้างไว้ทั่วปวงไม่มีสิ่งใดคล้ายคลึงพระองค์ สิ่งที่พระองค์ทรงให้บังเกิดไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์

มหาบริสุทธิ์ผู้ทรงอยู่เหนือการถูกสัมผัสหรือการหยั่งถึงใดๆ โดยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ สิ่งถูกสร้างจะมีความสามารถหยั่งถึงผู้สร้างของตนได้อย่างไร ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าพระองค์ทรงสูงส่งเหนือสิ่งที่ผู้อธรรมได้กล่าวไปทรงสูงส่งยิ่ง ทรงเกรียงไกร

โออัลลอฮฺ โปรดสนับสนุนให้บรรดาเอาลิยาอ์(ผู้เป็นที่รักยิ่ง) ของพระองค์มีชัยชนะต่อศัตรูของพระองค์

 ผู้อธรรม ผู้ละเมิด พวกนากิษีน พวกกอซิฏีน พวกมาริกีน

(ทั้ง ๓ กลุ่มคือกลุ่มที่ทำสงครามกับท่านอิมามอฺะลี) ซึ่งเขาเหล่านั้นได้ทำให้ปวงบ่าวของพระองค์ต้องหลงผิด เขาเหล่านั้น

เปลี่ยนแปลงคัมภีร์ของพระองค์ และดัดแปลงบทบัญญัติของพระองค์เขาเหล่านั้นละเมิดสิทธิของพระองค์ และนั่งอยู่ในตำแหน่งของบรรดาเอาลิยาอ์ของพระองค์

๙๗

ความเลวร้ายจากเขาเหล่านั้นกระทำขึ้นเบื้องหน้าของพระองค์เป็นความอธรรมที่พวกเขามีต่ออะฮฺลุลบัยตฺแห่งนบีของพระองค์

ซึ่งเขาเหล่านั้นได้หลงผิดและทำให้บรรดาสิ่งถูกสร้างของพระองค์ต้องหลงผิดตามไป

โอ้ พระผู้เป็นเจ้าเขาเหล่านั้นได้ยึดเอาสิทธิของพระองค์ไปอยู่ในครอบครองและกดขี่ปวงบ่าวของพระองค์

โอ้ พระผู้เป็นเจ้า เขาเหล่านั้นละทิ้งผืนแผ่นดินของพระองค์ให้ตกอยู่ในความมือมนตลอดกาล ดังนั้นสายตาของพวกเขาถึงแม้จะเปิดอยู่ แต่หัวใจของพวกเขามือบอด ไม่มีหลักฐานอันใดหลงเหลือสำหรับพวกเขาอีกแล้ว ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าพระองค์ได้นำการลงทัณฑ์และได้กำหนดการลงโทษมาแล้ว พระองค์ทรงสัญญารไว้กับเหล่าบรรดาผู้ปฏิบัติตามว่าจะได้รับคุณงามความดีจากพระองค์ พระองค์ได้นำคำตักเตือนมายังเขาเหล่านั้น ดังนั้นคนกลุ่มหนึ่งจึงได้ศรัทธา

โอ้ อัลลอฮฺ โปรดเกื้อกูลต่อบรรดาผู้ศรัทธาให้มีชัยชนะเหนือศัตรูของพระองค์ และศัตรูแห่งบรรดาผู้สวามิภักดิ์ต่อพระองค์ ดังนั้นพวกเขาจึงปรากฏตัวอย่างชัดเจน และเป็นผู้เรียกร้องไปสู่สัจธรรม และสำหรับอิมามผู้ถูกรอดคอยอันเป็นผู้ดำรงอยู่ด้วยความเที่ยงธรรมนั้น ขอให้มีผู้ปฏิบัติตาม

๙๘

 ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดจัดเตรียมไฟนรกของพระองค์ไว้แก่ศัตรูของพระองค์ และศัตรูของคนเหล่านั้น และขอได้ทรงจัดเตรียมการลงโทษที่ไม่วันถูกปกป้องให้พ้นจากบรรดาผู้อธรรม

ข้าแต่อัลลอฮฺ ได้โปรดประทานความจำเริญแด่ศาสดามุฮัมมัดและวงศ์วานของมุฮัมมัด ขอพระองค์ทรงเพิ่มพูนพละกำลังให้แก่เหล่าบรรดาผู้บริสุทธิ์ใจต่อพระองค์ที่อ่อนแอและแก่บรรดาผู้

ปฏิบัติตามพวกเราด้วยความจงรักภักดี อันเป็นผู้ปฏิบัติตามเราด้วยความเชื่อมั่นและปฏิบัติตามคำสอน และได้โปรดบันดาลให้มีผู้กล่าวถึงเราในหมู่ชนเหล่านั้น

ข้าแต่อัลลอฮฺ ขอได้โปรดสนับสนุนกิจการงานของพวกเขาเหล่านั้น และได้ทรงสนับสนุนให้พวกเขาได้รับศาสนาตามที่พระองค์ทรงมอบให้แก่พวกเขาด้วยความยินดี และได้โปรดบันดาลความสมบูรณ์แห่งความโปรดปรานของพระองค์ให้แก่เขาเหล่านั้นและได้โปรดขัดเกลาเขาเหล่านั้นให้มีความบริสุทธิ์

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าได้โปรดยับยั้งความยากจนของพวกเขาเหล่านั้น

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ขอได้โปรดให้ความช่วยเหลือแก่ความคับแค้นของคนเหล่านั้น

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ขอได้โปรดอภัยในความบาปและความผิดพลาดของคนเหล่านั้น และขอให้ทรงอย่าหันเหจิตใจของคนเหล่านั้น หลังจากที่พระองค์ทรงนำทางพวกเขา

๙๙

โอ้ พระผู้อภิบาล ขอพระองค์ทรงอย่าปล่อยให้เขาเหล่านั้นละเมิด ได้โปรดปกป้องคุ้มครองเขาเหล่านั้นให้อยู่ในความสะอาดบริสุทธิ์กับสายธารแห่งความจงรักภักดีต่อเหล่าบรรดาเอาลิยาอ์ของพระองค์และโปรดบันดาลให้เขาเหล่านั้นแคล้วคลาดจากบรรดาศัตรูของพระองค์

 แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงให้การสนองตอบ

ขออัลลอฮฺ ได้ทรงประทานพรแด่ศาสนามุฮัมมัดและวงศ์วานผู้บริสุทธิ์”

( มะฮฺญุดดะอฺวาต หน้า ๖๐)

๑๐๐

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130