ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด42%

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 130

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 130 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 78960 / ดาวน์โหลด: 4977
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

สุภาษิตที่ ๑๑

ความผิดของบุคคลที่พึงพอใจกับการกดขี่นั้นไม่อาจทำอันตรายต่อท่านได้

สุภาษิตที่ ๑๒

แน่นอน คนที่ซ่อนเร้นคำแนะนำที่ดีต่อท่านนั้นคือ

‘ศัตรู’ผู้ซึ่งจะนำแต่ความหลงผิด

สุภาษิตที่ ๑๓

การมั่นคงต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)มีราคาที่แพงลิบลิ่ว และยังความสันติสุขแก่ทุกสภาพการณ์

สุภาษิตที่ ๑๔

อวัยวะทุกส่วนนั้นต้องการความหวัง และนั่นคือสิ่งที่จะถูกประทานมาโดยการตัดสินและการได้รับชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีในบั้นปลาย

สุภาษิตที่ ๑๕

การรักษาตัวนั้นขึ้นอยู่กับขีดความกลัว

๔๑

สุภาษิตที่ ๑๖

ผู้ใดที่พึงพอใจกับพี่น้องของตนด้วยเจตนาอันดีงามก็จะไม่พึงพอใจในอันที่จะได้รับสิ่งของใด ๆจากเขา

สุภาษิตที่ ๑๗

กาลเวลาจะเปิดเผยแก่ท่านซึ่งเรื่องราวที่ซ่อนเร้น(๒๒)

สุภาษิตที่ ๑๘

บุคคลใดทำประโยชน์ให้แก่พี่น้องในวิถีทางของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)เขาจะได้รับบ้านหนึ่งหลังในสวนสวรรค์(๒๓)

สุภาษิตที่ ๑๙

หลักสามประการอันจะทำให้ปวงบ่วงบรรลุซึ่งความโปรดปรานของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้นั่นคือ

􀂙 การขออภัยโทษอันมากมาย

􀂙 ความมีใจอ่อนโยนต่อคนข้างเคียง

􀂙 การบริจาคทานมากๆ (๒๔)

(๒๒) บิฮารุ้ลอันวาร เล่ม ๑๗ หน้า ๒๑๔

(๒๓ ตารีคบัฆดาด เล่ม ๓ หน้า ๕๕

(๒๔) อัล-ฟุศูลุ้ลมุฮิมมะฮฺ หน้า ๒๖๐-๒๖๑

๔๒

สุภาษิตที่ ๒๐

สำหรับอัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั้นมีบรรดาปวงบ่าวที่พระองค์ทรงประทานความโปรดปรานให้แก่พวกเขาโดยเฉพาะอยู่เป็นเนืองนิตย์ ดังนั้นพวกเขาไม่เคยหยุดยั้งการเสียสละ เพราะถ้าหากพวกเขาหยุดซึ่งการเสียสละแล้วไซร้ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงถอดถอนความโปรดปรานอันนั้นออกจากพวกเขาแล้วจะเปลี่ยนผันไปสู่บุคคลอื่น

สุภาษิตที่ ๒๑

ความโปรดปรานของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่มีต่อบุคคลหนึ่ง ๆ นั้นจะไม่ถือเป็นเรื่องใหญ่ นอกเสียจากว่า ความจำเป็นทั้งหลายมนุษย์ที่มีต่อเขามีความจำเป็นอันยิ่งใหญ่ เพราะถ้าหากบุคคลใดมิได้นำพากับเครื่องบริโภคเหล่านั้น ก็แสดงว่าความโปรดปรานอันนั้นก็เป็นสิ่งสูญสลาย

สุภาษิตที่ ๒๒

เจ้าของความดีนั้นจำเป็นจะต้องกระทำความดียิ่งกว่าผู้เป็นเจ้าของความต้องการ เพราะว่าสำหรับพวกเขาจะได้รับรางวัลจะได้รับเกียรติ และจะได้รับการยกย่อง เพราะฉะนั้นบุคคลใดที่ประกอบคุณงามความดีก็จำเป็นจะต้องเริ่มที่ตัวเองก่อน

๔๓

สุภาษิตที่ ๒๓

􀂙 ความละอายคือเครื่องประดับสำหรับคนจน

􀂙 การขอบพระคุณคือเครื่องประดับสำหรับคนที่ได้รับการทดสอบ

􀂙 การถ่อมตนเป็นเครื่องประดับสำหรับตระกูล

􀂙 การพูดจาอย่างกระจ่างเป็นเครื่องประดับของการสนทนา

􀂙 การจดจำเป็นเครื่องประดับของการถ่ายทอด

􀂙 การไม่ถือยศถือศักดิ์เป็นเครื่องประดับของความรู้

􀂙 มารยาทอันดีงามเป็นเครื่องประดับสำหรับผู้ไม่สนใจใยดีต่อความเย้ายวนของโลก

􀂙 ความเป็นอยู่อย่างเสมอต้นเสมอปลายเป็นเครื่องประดับสำหรับผู้ที่เพียงพอแล้ว

สุภาษิตที่ ๒๔

คนที่สร้างความอธรรม คนที่ช่วยเหลือผู้อธรรม คนที่มีความพอใจกับผู้อธรรมล้วนเป็นหุ้นส่วนกัน(๒๕)

(๒๕) นุรุ้ลอับศอรฺ หน้า ๑๔๘

๔๔

สุภาษิตที่ ๒๕

􀂙 ผู้ใดที่เห็นกิจการงานอย่างหนึ่งแล้วบังเกิดความรังเกียจเสมือนดังบุคคลที่ไม่ได้อยู่ร่วมกับกิจการงานนั้น

􀂙 ส่วนบุคคลที่ไม่ได้อยู่ร่วมในกิจการงานหนึ่ง แล้วเขาบังเกิดความพอใจต่อเรื่องนั้น ก็เสมือนดังบุคคลที่อยู่ร่วมกับเรื่องนั้น

สุภาษิตที่ ๒๖

การเปิดเผยสิ่งใดสิ่งหนึ่งก่อนที่จะดำเนินการสอบสวนให้ชัดเจนจะนำไปสู่ความเสียหาย(๒๖)

(๒๖) ตะฮัฟฟุลอุกูล หน้า ๓๓๖.

สุภาษิตที่ ๒๗

ผู้ใดยึดมั่นและไว้วางใจต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทำให้เขาคลาดแคล้วจากความชั่วทุกประการและจะช่วยให้เขาชนะศัตรูทุกรูปแบบ ถึงแม้นว่าฟากฟ้าจะลงมาทับสนิทบ่าวคนหนึ่ง และแล้วเขาคนนั้นมีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)แน่นอนพระองค์จะทรงบันดาลให้เขาคลาดแคล้วจากสิ่งนั้นได้

(๒๗) วะฟาตุลญะวาด หน้า ๓๗-๔๓

๔๕

สุภาษิตที่ ๒๘

บุคคลใดไม่ตั้งความหวังกับผู้อื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงให้การรับรองต่อเขา

สุภาษิตที่ ๒๙

􀂙 การสำรวมตนนั้นคือเกียรติยศ

􀂙 ความรู้นั้นคือทรัพย์สมบัติ

􀂙 การวางเฉยคือแสงสว่าง

สุภาษิตที่ ๓๐

ไม่มีอะไรที่ทำลายศาสนาได้มากเท่ากับการกระทำในสิ่งอุตริ

สุภาษิตที่ ๓๑

สารบัญแห่งโฉมหน้าของผู้ศรัทธาอยู่ที่จริยธรรมของเขา

สุภาษิตที่ ๓๒

ผู้ใดลอกเลียนคำพูดของคนใด ก็เท่ากับเป็นบ่าวของคนนั้น

ดังนั้นถ้าหากเขาเป็นผู้ที่ใช้คำพูดที่มาจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็เท่ากับเขาเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) แต่ถ้าหากเขาใช้คำพูดที่มาจากปลายลิ้นของอิบลีซก็เท่ากับเขาเป็นบ่าวของอิบลิซ (๒๘)

(๒๘) ตะฮัฟฟุลอุกุล หน้า ๓๓๖

๔๖

ถกปัญหาทางวิชาการจากแหล่งความรู้อันอมตะของอิมามที่ ๙

เรื่องราวต่างๆ ที่ได้ประสบกับบรรดาอิมามแต่ละคนนั้นมีทั้งความรุนแรงและนุ่มนวล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของวิถีชีวิตแห่งบรรดาผู้ปกครองในแต่ละยุคแต่ละสมัย

สำหรับท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)นั้นได้ใช้ชีวิตของท่าน(อฺ)ช่วงหนึ่งอยู่ในคุกของคอลีฟะฮฺฮารูน อัรรอชีด และท่านอิมามริฏอ(อฺ)

นั้นได้กลายเป็นรัชทายาทของค่อลีฟะฮฺมะอ์มูน

ในขณะที่วิถีทางการดำเนินชีวิตของบรรดาผู้ปกครองมีความแตกต่างกันนั้น วิถีชีวิตขอประชาชนก็มีความแตกต่างกันไปด้วย เช่นเดียวกัน เนื้อหาสาระของคำถามและการให้ทัศนะในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับบรรดาอิมามแต่ละท่านก็ล้วนแต่มีความแตกต่างไปด้วย

สำหรับท่านอิมามศอดิก(อฺ)นั้นได้ประจักษ์กระแสคลื่นของการปฏิเสธพระผู้เป็นเจ้าอย่างรุนแรง แต่ท่านอิมาม(อฺ)ก็ได้ใช้หลักการตอบโต้จนได้รับความสำเร็จ จนถึงกับว่าบุคคลเหล่านั้นได้

ร่วมกันมาหาท่านอย่างเปิดเผยครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งท่าน(อฺ)ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ชี้นำให้แก่พวกเขา

ท่าน(อฺ) มอบหมายให้ท่านมุฟัฏฏ็อล บินอุมัร ลูกศิษย์คนหนึ่งของท่านเป็นผู้อธิบายในสาขาวิชาเตาฮีด

๔๗

จนกระทั่งบรรดานักปราชญ์ต่างก็ได้รับความรู้ ตั้งแต่นั้นจนถึงยุคปัจจุบันด้วยการมุ่งมั่นและให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

ท่านอิมามริฏอ(อฺ)นั้น ได้ทำหน้าที่โต้แย้งปัญหาศาสนากับบรรดานักปราชญ์ของศาสนาต่างๆ และเจ้าของลัทธินิกายต่างๆ อย่างมากมายจนกระทั่งพวกเขาบางคนได้ให้การยอมรับต่อหลัก

สัจธรรม และยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งในบทที่ผ่านไปเราได้นำเรื่องราวต่าง ๆเหล่านั้นบางประการมาเสนอให้ท่าน(อฺ)ผ่านไปแล้ว

สำหรับท่านอิมามญะวาด(อฺ)นั้น ท่าน(อฺ)ได้มีบทบาทอีกด้านหนึ่งนั่นคือพวกพ้องของคอลีฟะฮฺในราชวงศ์อับบาซียะฮฺได้ให้การยกย่องสถานภาพของท่าน(อฺ) ทั้งนี้ได้มีการแต่งงานระหว่าง

ท่าน(อฺ)กับบุตรสาวของมะอ์มูนอีกด้วย ขณะเดียวกันปรากฏว่า บรรดานักปราชญ์และผู้ทำหน้าที่ควบคุมงานการปกครองในสมัยนั้นมีความอิจฉาริษยาท่าน(อฺ) ในขณะที่อายุของท่าน(อฺ)ยังอยู่ในวัย

เยาว์

คนทั้งหลายต่างรวมตัวกันมาแสดงทัศนะโต้แย้งทางวิชาการรับท่าน(อฺ)ในปัญหาวิชาฟิกฮฺ

วิชาฮะดีษ และอื่นๆ โดยมุ่งหวังที่จะให้ท่าน(อฺ)ประสบกับความยุ่งยากในการโต้ตอบ เพื่อที่จะให้กษัตริย์มะอ์มูนและบรรดาชาวเมืองถอดถอนท่านออกไปเสียจากตำแหน่ง

๔๘

และเพื่อที่จะทำให้บรรดามุสลิมไม่มั่นใจในความรู้ของท่านอีกด้วย

คนเหล่านั้นต่างพบกับความผิดหวัง เพราะว่าทานอิมามญะวาด(อฺ)สามารถผ่านพ้นการทดสอบเหล่านี้ได้อย่างน่าภาคภูมิใจ การให้ทัศนะในด้านต่าง ๆ ของท่าน(อฺ)จึงยังคงอยู่เป็นเรื่องเล่าขานสืบต่อมาเป็นเวลานานหลายศตวรรษ และเป็นความประทับใจในการที่จะหยิบยกนำเรื่องราวเหล่านั้นมากล่าวถึงในที่ชุมนุมอยู่ตลอดเวลา

ในบทนี้เราจะขอนำเรื่องราวบางส่วนเกี่ยวกับการโต้แย้งทางวิชาการในด้านต่างๆ ของอิมามญะวาด(อฺ)

อิมามที่ ๙ ถกปัญหาฟิกฮฺกับยะฮฺยา บินอักษัม

เมื่อค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนได้แสดงความมั่นใจในการจัดแต่งงานท่านอะบูญะอฺฟัร มุฮัมมัด บินอฺะลี ริฏอ(อฺ)กับอุมมุลฟัฏลฺ บุตรสาวของตนนั้นบรรดาสมาชิกในตระกูลของมะอ์มูนต่างได้มา

รวมตัวกันคัดค้านแล้วกล่าวว่า

“ข้าแด่ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน เราขอแสดงความเห็นต่อท่านว่า ท่านกำลังกระทำการล่วงเกินในกิจการบางอย่างที่พวกเราเป็นเจ้าของอยู่ท่านกำลังถอดถอนเกียรติยศที่เราได้สวมใส่มันอยู่ใน

ขณะที่ท่านเองก็ทราบดีอยู่แล้วถึงเรื่องราวที่มีอยู่ระหว่างเรากับพวกที่อยู่ในตระกูลของอฺะลีมาตั้งแต่เดิม”

๔๙

ค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนได้กล่าวว่า

“พวกท่านทั้งหลายจงระงับอารมณ์ไว้เถิด ขอสาบานต่อพระนามของอัลลอฮฺ แน่นอนข้าจะทำให้คนใดคนหนึ่งในหมู่พวกท่านยอมรับเรื่องนี้”

พวกเขากล่าวว่า

“ข้าแต่อะมีรุลมุอ์มินีน ท่านจะทำการจัดแต่งงานบุตรสาวของท่านผู้เป็นแก้วตาดวงใจของท่านให้กับเด็กผู้ชายที่ไม่มีความรู้ใดๆ ในศาสนาของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และไม่รู้ในสิ่งฮะลัาล-สิ่งฮะรอม

และไม่รู้ทั้งในเรื่องฟัรฏเรื่องซุนนะฮฺ(ขณะนั้นท่านอะบูญะอฺฟันมีอายุเพียง ๙ ขวบ) ท่านน่าจะอดทนสักนิดเพื่อให้เขาฝึกฝนในด้านมารยาทและอ่านอัล-กุรอาน และให้เขารู้จักในสิ่งสะล้าลและ

สิ่งฮะรอมเสียก่อน”

ค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนได้กล่าวว่า

“แท้จริงเขามีความรู้ความเข้าใจในด้านศาสนบัญญัติมากกว่าพวกท่าน เขามีความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับอัลลอฮฺ(ซ.บ.) เกี่ยวกับศาสนทูต เกี่ยวกับซุนนะฮฺ และบทบัญญัติต่าง ๆเขาอ่านพระคัมภีร์

ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ดีกว่าพวกท่าน เขามีความเชี่ยวชาญอย่างยิ่งในเรื่องของโองการต่างๆ อันชัดแจ้ง

๕๐

 และโองการต่าง ๆ ที่มีความหมายเป็นนัย โองการต่าง ๆที่มายกเลิกและที่ถูกยกเลิก โองการต่างๆ ที่มีความหมายอย่างเปิดเผยและที่มีความหมายอย่างซ่อนเร้น โองการต่างๆ ที่มีความหมายเฉพาะ

และที่มีความหมายครอบคลุมทั่วไป โองการที่มีความหมายตรงตามตัวอักษรและโองการที่มีความหมายซ่อนอยู่ภายใต้ตัวอักษรหนึ่ง ดังนั้นขอให้พวกท่านซักถามเขาได้ ซึ่งถ้าหากเรื่องราว

ทั้งหมดเป็นไปเสมือนอย่างที่พวกท่านได้กล่าว ข้าก็จะยอมรับฟังความเห็นของพวกท่าน แต่ถ้าหากเรื่องราวเป็นไปตามที่ข้าได้กล่าว นั้นแสดงว่าข้ารู้ดีว่าชายคนนั้นย่อมขัดแย้งต่อพวกท่าน”

คนเหล่านั้นได้ออกจากที่ชุมนุมต่อหน้ามะอ์มูน แล้วส่งคนไปหายะฮฺยา บินอักษัม ซึ่งในขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าผู้พิพากษา พวกเขาได้นำเรื่องมาอุทธรณ์และมอบของกำนัลให้แก่เขา

จำนวนหนึ่งเพื่อให้เขาได้เตรียมคำถามในปัญหาฟิกฮฺ(ศาสนบัญญัติ) ที่ท่านอะบูญะอฺฟัร(อิมามญะวาด)ไม่รู้คำตอบ

แล้วคนเหล่านั้นก็ได้นำยะฮฺยา บินอักษัมเข้ามาในที่ประชุม และท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)ก็ได้

เข้ามาด้วย เขาเหล่านั้นกล่าวว่า

“โอ้ ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน นี่คือหัวหน้าผู้พิพากษา ขอให้ท่านอนุญาต เพื่อเขาจะได้ซักถามเถิด”

มะอ์มูนกล่าวว่า

“โอ้ยะฮฺยาเอ๋ย จงถามอะบูญะอฺฟัร ในปัญหาเกี่ยวกับวิชาฟิกฮฺเถิดเพื่อที่ท่านจะได้พิจารณาดูว่าวิชาฟิกฮฺของเราเป็นอย่างไร ?”

ยะฮฺยา กล่าวว่า

“โอ้ ท่านอะบูญะอฺฟัร ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ประทานความดีงามแก่ท่านเถิด ท่านมีทัศนะอย่างไรบ้างในเรื่องที่ผู้ครองเฮียะฮฺรอมฆ่าสัตว์โดบการล่า”

ท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)กล่าวว่า

“เขาได้ฆ่าสัตว์นั้นในดินแดนที่อนุญาต ให้ฆ่าหรือต้องห้าม เป็นผู้รู้ว่าการกระทำนั้นผิดหรือว่าไม่รู้ เขาตั้งใจหรือว่าทำแบบผิดพลาดเป็นทาส หรือเป็นอิสรชน เป็นเด็กหรือเป็นผู้ใหญ่ ถูกทำให้ตายในทันทีหรือถูกซ้ำจนตาย เป็นสัตว์ประเภทนกหรือมิใช่ ถ้าเป็นประเภทนกเป็นลูกนกหรือเป็นนกตัวใหญ่แล้ว เป็นนกที่อาศัยอยู่กับที่หรือถูกขังไว้ในกรงของมันในยามกลางคืนหรือในยามกลางวันอย่างเปิดเผย เขาครองเอียะฮฺรอมฮัจญ์หรืออุมเราะฮฺ”

ยะฮฺยาถึงกับชะงักงันจนไม่สามารถปิดบังความรู้สึกต่อคนใดในที่ประชุมได้ ประชาชนทั้งหลายต่างมีความประทับใจอย่างคาดคิดไม่ถึงกับคำตอบของท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)

ค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนได้กล่าวว่า

“โอ้ท่านอะบูญะอฺฟัร โปรดกล่าวคำปราศรัยด้วยเถิด”

๕๑

ท่าน(อฺ)ได้กล่าวว่า

“ได้ซิ ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน”

แล้วท่าน(อฺ)ได้กล่าวสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)เป็นการเริ่มต้นคำปราศรัยจนจบ

ครั้นเมื่อประชาชนส่วนมากพากัยโยกย้ายกลับไปบ้างแล้วค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนได้กล่าวว่า

“โอ้ ท่านอะบูญะอฺฟัร ถ้าท่านเห็นด้วยสักประการหนึ่งก็ได้โปรดแนะนำให้เราได้รู้ในสิ่งที่จำเป็นเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆเหล่านั้นที่มีอยู่ในเรื่องการฆ่าสัตว์โดยการฆ่า ?”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)ได้กล่าวว่า

“ได้ซิ ผู้ครองเฮียะฮฺรอมนั้นหากเขาฆ่าสัตว์โดยการล่านอกบริเวณเขต ‘ฮะร็อม’ แล้วสัตว์นั้นเป็นนกที่โตแล้ว หน้าที่ของผู้ล่าจะต้องชดใช้แพะหรือแกะหนึ่งตัว แต่ถ้าหากเหตุเกิดในบริเวณเขต ‘ฮะร็อม’ เขาจะต้องชดใช้เป็นสองเท่า

ถ้าหากสัตว์ที่ถูกฆ่าตายเป็นลูกอ่อนนอกเขตบริเวณ ‘ฮะร็อม’ ชดใช้ด้วยลูกแกะที่หย่านมแล้ว แต่ไม่จำเป็นต้องตีราคา เพราะไม่ได้เกิดเหตุในบริเวณเขต ‘ฮะร็อม’ แต่หากสัตว์ตัวนั้นถูกฆ่า

ในบริเวณเขต ‘ฮะร็อม’

๕๒

 เขาจะต้องชดใช้ด้วยลูกแกะที่หน่านมแล้วพร้อมกับชดใช้ด้วยราคาของลูกอ่อนตัวนั้น

หากสัตว์ที่ถูกฆ่าเป็นสัตว์ป่า กล่าวคือถ้าเป็นจำพวกลาป่า เขาจะต้องชดใช้ด้วยวัวหนึ่งตัว

และถ้าหากเป็นสัตว์จำพวกอูฐ เขาจะต้องชดใช้ด้วยลูกอูฐประเภทบุดนะฮฺหนึ่งตัว ครั้นหากไม่มีความสามารถ ก็ให้บริจาคอาหารแค่คนยากจน ๖๐ คน หากไม่มีความสามารถอีก ก็ให้ถือศีลอด ๑๘

วัน แต่ถ้าสัตว์ที่ถูกฆ่าเป็นวัวป่า เขาจะต้องชดใช้ด้วยวัว ๑ ตัว ครั้นถ้าหากไม่มีความสามารถก็ให้บริจาคอาหารแก่คนยากจน ๓๐ คน หากไม่มีความสามารถอีกก็ให้ถือศีลอด ๙ วัน หากสัตว์ที่ถูกฆ่า

เป็นกวาง เขาจะต้องชดใช้ด้วยแพะ ๑ ตัว หากไม่มีความสามารถก็จะต้องบริจาคอาหารแก่คนยากจน๑๐ คน หากไม่มีความสามารถก็ต้องถือศีลอด ๓ วัน

และถ้าหากกระทำเหล่านี้เกิดขึ้นบริเวณเขต‘ฮะร็อม’

เขาจะต้องชดใช้เป็น ๒ เท่า โดยการเชือดพลีชีพมอบแด่อัลกะอฺบะฮฺตามหลักการที่เป็นวาญิบ ถ้าหากอยู่ในเทศกาลฮัจญ์ก็ให้เชือดในวันอีด ถ้าหากอยู่ในช่วงการทำอุมเราะฮฺก็ให้เชือดในมักกะฮฺบริเวณสถานอัล-กะบะฮฺและจะต้องบริจาคเท่ากับราคาของสัตว์ตัวนั้น

๕๓

จนกระทั่งได้จำนวนครบเป็นสองเท่า และทำนองเดียวกันถ้าหากได้ฆ่าสัตว์จำพวกกระต่ายหรือสุนัขจิ้งจอก

เขาจะต้องชดใช้ด้วยแพะ ๑ ตัว และจะบริจาคเงินในจำนวน

เท่ากับราคาของแพะตัวนั้น และถ้าหากสัตว์ที่ถูกฆ่าเป็นนกพิรายที่อยู่ประจำบริเวณบัยตุ้ลฮะรอม

เขาจะต้องชดใช้ด้วยการบริจาคเงินจำนวน ๑ดิรฮัม และอีก ๑ ดิรฮัมนั้นให้เขาซื้ออาหารสำหรับนกพิราบในบริเวณบัยตุ้ลฮะรอม แต่ถ้าเป็นลูกอ่อน ก็ให้ชดใช้เพียงครึ่งดิรฮัม ถ้ายังเป็นไข่ก็ให้ชดใช้

 ๑ ใน ๔ ดิรฮัม แต่ในทุกประการเหล่านี้ผู้กระทำคือ

ผู้ครองเอียะฮฺรอมกระทำไปด้วยความไม่รู้หรือพลั้งพลาดก็ไม่ต้องรับผิดชอบแต่ประการใด เว้นแต่ในกรณีของการล่า เพราะในกรณีนี้จำเป็นจะต้องชดใช้ ไม่ว่ากระทำไปโดยโง่เขลา หรือมีความรู้ดีอยู่ก็ตาม ไม่ว่าจะโดยความพลั้งพลาดหรือโดยเจตนา และทุกประการเหล่านี้หากกระทำขึ้นโดยผู้เป็นทาสหน้าที่การชดใช้จะต้องตกแก่ผู้เป็นนาย ดุจดังว่าผู้เป็นนายนั่นเองที่กระทำความผิด และทุกประการเหล่านี้หากกระทำขึ้นโดยผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุสู่วัยบังคับทางศาสนาก็ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบแต่ประการใด หากว่าเขากระทำซ้ำจนตาย

ก็เท่ากับเป็นผู้ที่ต้องได้รับโทษจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ถ้าหากเขาเป็นผู้แนะนำให้ทำการล่าในขณะที่เขาครองเอียะฮฺรอม

๕๔

แล้วสัตว์ที่ถูกล่านั้นถูกฆ่าตายเขาจำเป็นจะต้องชดใช้ค่าเสียหาย และความบาปอันนี้จะต้องติดตัวเขาไปจนถึงวันปรโลก แต่ถ้ามีความเสียใจในสิ่งที่ได้กระทำลงไปแล้ว หลังจากได้ชดใช้ค่าเสียหาย

 เขาจะไม่ต้องรับโทษในวันปรโลกอีกและถ้าหากการกระทำเหล่านี้เกิดขึ้นในยามกลางคืน หรือโดยการบังคับที่พลั้งพลาด ก็ไม่ต้องรับผิดชอบแต่ประการใด เว้นแต่เขาตั้งใจจะทำการล่า กล่าวคือ ถ้าหากเขาทำการล่าในยามกลางคืนหรือกลางวันเขาจะต้องชดใช้ค่าเสียหายอันนั้น

สำหรับผู้ครองเอียะฮฺรอมเพื่อทำฮัจญ์จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้เสร็จสิ้นที่มักกะฮฺ”

ค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนได้สั่งให้บันทึกข้อความเหล่านี้จากท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)หลังจากนั้นก็ได้

หันหน้าไปยังบรรดาเครือญาติที่ปฏิเสธพิธีการแต่งงานที่เขาจะจัดขึ้น พลางกล่าวว่า

“ในหมูพวกท่านยังจะมีใครสามารถตอบได้อย่างนี้กระนั้นหรือ ?”

คนเหล่านั้นกล่าวว่า

“ไม่มี ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ โอ้ท่านอะมีรุลมุอ์มินีนหัวหน้าผู้พิพากษาก็ไม่มีความสามารถด้วย ท่านมีความรู้มากกว่าเรา”

๕๕

ค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนได้กล่าวว่า

“โอ้ท่านทั้งหลาย......

พวกท่านไม่รู้หรือว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ยอมรับการให้สัตยาบันของฮะซันและฮุเซนในขณะที่คนทั้งสองยังเป็นเด็ก แต่ไม่เคยยอมรับการให้สัตยาบันของบุคคลอื่นในขณะที่ยังเป็นเด็กเล็กๆ อยู่เฉย?”

พวกท่านไม่รู้ดอกหรือว่า บรรพบุรุษของพวกเขาคืออฺะลีนั้น ศรัทธาต่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ในขณะที่มีอายุเพียง ๙ ปีเท่านั้น ซึ่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และศาสนทูตของพระองค์ได้ให้การยอมรับต่อความศรัทธาของเขาในขณะที่ไม่เคยให้การยอมรับความศรัทธาจากเด็กเล็กๆ คนอื่น

และท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ไม่เคยเรียกร้องเชิญชวนสู่ศาสนาแก่เด็กเล็กๆ คนใดนอกเหนือจากเขา ?

พวกท่านไม่รู้ดอกหรือว่า พวกอะฮฺลุลบัยนั้นเชื้อสายของคนหนึ่งนั้นจะต้องสืบทอดซึ่งกันและกัน คนรุ่นหลังในหมู่พวกเขาจะต้องดำเนินชีวิตไปตามแนวทางของคนรุ่นแรก?”

๕๖

ต่อจากนั้นท่านอิมามญะวาด(อฺ)ได้ถามยะฮฺยาว่า

“โอ้ท่านอะบูมุฮัมมัด ท่านจะกล่าวอย่างไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องของผู้ชายคนหนึ่งที่ว่าในยามเช้าสตรีผู้หนึ่งอยู่ในฐานะเป็นที่ต้องห้ามสำหรับเขาแต่ในยามตอนเที่ยงนางมีฐานะเป็นที่อนุญาต

สำหรับเขาแต่ในยามกลางวันนางเป็นที่ต้องห้ามสำหรับเขา หลังจากนั้นในยามตอนบ่ายนางเป็นที่อนุญาตสำหรับเขา ต่อจากนั้นในเวลาตอนเย็นนางเป็นที่ต้องห้ามสำหรับเขา หลังจากนั้นในยามหัวค่ำนางเป็นอนุญาตสำหรับเขา จากนั้นในยามกลางคืนนางเป็นที่ต้องห้ามสำหรับเขา ต่อมาในยามรุ่งอรุณนางเป็นที่อนุญาตสำหรับเขา ต่อจากนั้นในยามก่อนเที่ยงนางกลับไปเป็นที่ต้องห้ามสำหรับ

เขา หลังจากนั้นในยามกลางวันนางเป็นที่อนุญาตสำหรับเขา”

ปรากฏว่ายะฮฺยาและบรรดาผู้รู้ในวิชาฟิกฮฺถึงกับตะลึง เงียบเหมือนคนใบ้

ค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนได้กล่าวว่า

“โอ้ท่านอะบูญะอฺฟัร ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประทานเกียรติให้แก่ท่านในเรื่องนี้โปรดให้ความรู้แก่พวกเราด้วยเถิด”

๕๗

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“ชายผู้นี้หมายถึงคนที่มองไปยังหญิงผู้เป็นทาสในขณะที่ยังไม่ได้เป็นที่อนุญาตสำหรับเขา

ครั้นเมื่อเขาซื้อนางมาแล้ว นางก็ได้เป็นที่อนุญาต เมื่อเขาปล่อยนางให้เป็นไทนางก็เป็นที่ต้องห้าม

ครั้นต่อมาถ้าเขาแต่งงานกับนาง นางก็จะเป็นที่อนุญาตแก่เขา ครั้นเมื่อเขาทำการซิฮาร (การกล่าวว่า ทวารหนักของภรรยาเหมือนกับของมารดาของนาง) กับนาง นางก็จะตกเป็นที่ต้องห้ามแก่เขา ครั้นเมื่อเขาทำการชดใช้(กัฟฟาเราะฮฺ)แก่การซิฮาร นางก็จะเป็นที่อนุญาตแก่เขา หลังจากนั้นเขาหย่ากับนางอีกหนึ่งครั้ง นางก็จะเป็นที่ต้องห้ามสำหรับเขา ต่อมาถ้าเขาคืนดีกับนาง นางก็จะเป็นที่อนุญาตสำหรับเขา ครั้นถ้าเขาตกจากศาสนาอิสลาม นางก็จะเป็นที่ต้องห้ามแกเขา ครั้นถ้าเขาขออภัยโทษและกลับเข้าสู่ศาสนาอิสลาม นางก็จะเป็นที่อนุญาตสำหรับเขาด้วยการนิกาฮฺครั้งแรกเช่นเดียวกับที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺได้ทำการนิการฮฺท่านหญิงซัยหนับกับอะบุลอาศ บินรอบิอฺ ตามหลักการนิกาฮฺครั้งแรก”(๑)

(๑) ตะฮัฟฟุลอุกูล หน้า ๓๓๕.

๕๘

อิมามที่ ๙ถกปัญหาคิลาฟิยะฮฺกับยะฮฺยา บินอักษัมและพรรคพวก

มีรายงานว่าค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนนั้น หลังจากที่ทำพิธีแต่งงานบุตรสาวของตน คือ อุมมุลฟัฏลฺ

เสร็จแล้วก็นั่งอยู่ในที่ประชุม โดยมีท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ) ยะฮฺยา บินอักษัมและบรรดานักปราชญ์จำนวนมากกลุ่มหนึ่ง

ยะฮฺยา บินอักษัม ได้กล่าวกับท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)ว่า

“โอ้บุตรของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ท่านจะมีคำพูดอย่างไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องราวที่บอกเล่ากันมาว่า ครั้งหนึ่งมะลาอิกะฮฺญิบรออีล(อฺ)ได้เสด็จลงมาหาท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)แล้ว

กล่าวว่า

“โอ้มุฮัมมัด แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ฝากสลามมายังท่าน แล้วฝากคำพูดมายังท่านด้วยว่าโปรดถาม ‘อะบูบักร’ด้วยเถิดว่าเขาพอใจกับฉันหรือไม่ เพราะแท้จริงแล้วฉันเป็นผู้พอใจต่อเขา?”

ท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)ได้กล่าวว่า

“ฉันมิได้ปฏิเสธในเกียรติยศของ ‘อะบูบักร’ แต่สำหรับเจ้าของเรื่องเล่าอันนี้จำเป็นจะต้อง

๕๙

ขอหยิบยกตัวอย่างรายงานฮะดีษที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)กล่าวไว้ในเทศกาลฮัจญ์อำลาเพื่อเป็นอุทาหรณ์ที่ว่า

 “แน่นอนที่สุดได้มีคนกล่าวเท็จให้แก่ฉันมากมาย และหลังจากฉันไปแล้ว ก็จะมีเพิ่มขึ้นอีกมากมาย ดังนั้นผู้ใดที่กล่าวเท็จต่อฉันโดยเจตนา ก็ขอให้เตรียมที่นั่งสำหรับตนไว้ในไฟนรก ครั้นถ้า

หากมีคำพูดของฉัน(ฮะดีษ) บทหนึ่งมายังพวกท่าน พวกท่านก็จงนำมันไปพิสูจน์กับกพระคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และซุนนะฮฺของฉัน ถ้าคำพูดอันนั้นสอดคล้องกับพระคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

และซุนนะฮฺของฉันก็ขอให้พวกท่านยึดถือไว้ แต่ถ้าหากคำพูดนั้นขัดแย้งกับพระคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และซุนนะฮฺของฉัน

พวกท่านก็จงอย่าได้ยึดถือมันเลย”

อีกทั้งคำบอกเล่าในเรื่องนี้มิได้สอดคล้องกับพระคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ดังที่พระองค์ทรงมีโองการไว้ว่า

“และแน่นอนที่สุด เราได้สร้างมนุษย์ขึ้นมา

และเราล่วงรู้ในสิ่งที่กระซิบกระซาบอยู่ในใจของเขา

และเราใกล้ชิดกับเขายิ่งกว่าเส้นเลือดฝอยที่คอหอย”

(บทก็อฟ: ๑๖)

๖๐

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130