ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด42%

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 130

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 130 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 79001 / ดาวน์โหลด: 4980
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

เป็นไปได้อย่างไรที่อัลลอฮฺ(ซ.บ. จะไม่รู้ว่า ‘อะบูบักร’ พอใจหรือไม่พอใจต่อพระองค์ จนถึงกับต้องถามเกี่ยวกับสิ่งเร้นลับอันนั้น? เรื่องนี้เป็นไปไม่ได้โดยสติปัญญา”

หลังจากนั้น ยะฮฺยา บินอักษัม ได้กล่าวอีกว่า

“มีรายงานบทหนึ่งว่า :

อุปมาของอะบูกักรฺกับอุมัรในหน้าแผ่นดินนั้น มีฐานะเสมอเหมือนกับญิบรออีลและมีกาอีลในชั้นฟ้า”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ) กล่าวว่า

“นี่ก็อีกเช่นกันที่จำเป็นจะต้องพิจารณา เพราะว่าญิบรออีลและ

มีกาอีลนั้น เป็นมะลาอิกะฮฺผู้ใกล้ชิดสำหรับอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

ทั้งสององค์จะไม่ละเมิดต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)เลย และจะไม่ฝ่าฝืนคำสั่ง

แม้แต่เสี้ยววินาทีเดียวแต่สำหรับคนทั้งสองนั้นเคยตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)มาก่อน ถึงแม้ว่าจะรับอิสลามภายหลังจากนั้นก็ตาม วันเวลาอันยาวนานของบุคคลทั้งสองคือช่วงเวลาแห่งการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)

๖๑

จึงเป็นไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบว่าคนทั้งสองเสมอเสมือนกับมะลาอิกะฮฺสององค์นั้น”

ยะฮฺยากล่าวอีกว่า

“มีรายงานอีกบทหนึ่งระบุว่า :

บุคคลทั้งสองเป็นประมุขสูงสุดของบรรดาคนชราสำหรับชาสวรรค์ ในข้อนี้ท่านจะว่าอย่างไร ?”

อิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“เรื่องนี้ก็เป็นไปไม่ได้อีกเช่นกัน เพราะว่าบรรดาชาวสวรรค์นั้นล้วนเป็นคนหนุ่มทั้งหมด ในบรรดาคนเหล่านั้นไม่มีคนชราเลย รายงานเหล่านี้คือสิ่งที่พวกลูกหลานของอุมัยยะฮฺแต่งขึ้นมาเอง เพื่อให้ได้เรื่องราวที่ตรงข้ามกับคำพูดของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ที่ได้กล่าวไว้ในเรื่องของท่านฮะซันและท่านฮุเซน(อฺ) ว่าบุคคลทั้งสองนั้นเป็นหัวหน้าของชายหนุ่มชาวสวรรค์”

ยะฮฺยา บินอักษัม ได้กล่าวอีกว่า

“มีรายงานบทหนึ่งกล่าวว่า :

แท้จริงท่านอุมัร บินค็อฏฏอบนั้นอยู่ในฐานะเป็นดวงประทีปสำหรับชาวสวรรค์”

๖๒

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“นี่ก็คือเรื่องที่เป็นไปไม่ได้อีกเช่นกัน เพราะในสวนสวรรค์นั้นมีบรรดามะลาอิกะฮฺที่ใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ(ซ.บ.) มีท่านนบีอาดัม

ท่านนบีมุฮัมมัด และบรรดานบีตลอดทั้งบรรดาศาสนทูต

ทั้งมวล สวนสวรรค์ไม่มีรัศมีสว่างไสวด้วยกับรัศมีของบุคคลเหล่านั้นเลย นอกเสียจากด้วยรัศมีของอุมัรเท่านั้นหรือ ?”

ยะฮฺยา ได้กล่าวอีกว่า

“มีรายงานบทหนึ่งกล่าวว่า :

แท้จริงท่านหญิงซะกีนะฮฺมีวาทศิลป์เช่นเดียวกับวาทศิลป์ของอุมัร”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“ฉันมิได้ปฏิเสธเกียรติยศของท่านอุมัร แต่ทว่าท่านอะบูบักรนั้นย่อมมีเกียรติเหนือกว่าท่านอุมัร แต่ท่านยังกล่าวไว้บนมินบัรในครั้งหนึ่งว่า

“แท้จริงสำหรับตัวของข้าพเจ้านี้มีชัยฏอนที่คอยหลอกลวงข้าพเจ้าอยู่ เพราะฉะนั้นถ้าหากข้าพเจ้าหันเหไป พวกท่านก็จงช่วยประคับประคองข้าพเจ้าด้วย”

ยะฮฺยาได้กล่าวอีกว่า

“มีรายงานบทหนึ่งกล่าวว่า ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ได้กล่าวว่า :

ถ้าหากข้าพเจ้ามิได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดาแล้วไซร้แน่นอนอุมัรนั่นแหละคือผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้ง”

๖๓

ท่านอิมามญะวาด(อฺ) กล่าวว่า

“พระคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ย่อมมีความสัจจริงยิ่งกว่าฮะดีษบทนี้ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ว่า :

“และในเมื่อเราได้ทำสัญญาต่อบรรดานบีและทำสัญญากับเจ้า

 อีกทั้งกับนูฮฺ......”

(อัล-อะฮฺซาบ: ๗)

แน่นอนจะเห็นได้ว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีพันธสัญญากับบรรดานบีจะเป็นไปได้อย่างที่พระองค์จะเปลี่ยนพันธสัญญาอันนี้ นั่นคือบรรดานบีทั้งหมดไม่เคยตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)เลย

อย่างแน่นอน จะเป็นไปได้อย่างไรที่พระองค์จะแต่งตั้งผู้ที่เคยตั้งภาคีมาเป็นนบี ในเมื่อท่านอุมัรนั้นตลอดระยะเวลาอันยาวนาน

 ท่านเป็นผู้ตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)? และท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)นั้นได้เคยกล่าวไว้ว่า :

“ฉันถูกแต่งตั้งให้เป็นนบีในขณะที่อาดัมยังอยู่ในสภาวะระหว่างวิญญาณและเรือนร่าง”

ยะฮฺยา บินอักษัม ได้กล่าวว่า

“มีรายงานอีกบทหนึ่งกล่าวว่า : แท้จริงท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ได้กล่าวว่า

๖๔

“ยามใดที่วะฮฺยูมิได้ถูกประทานลงมายังฉัน ทำให้ฉันนึกเสมอว่า มันได้ถูกประทานลงมายังอิบนุค็อฏฏอบ(อุมัร)”

อิมามญะวาด(อฺ)ได้กล่าวว่า

“นี่คือเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าไม่คู่ควรแก่ท่านที่ท่านนบี(ศ)จะตั้งข้อสงสัยในเรื่องตำแหน่งการเป็นนบีของตัวท่านเอง เพราะอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการไว้ว่า :

“อัลลอฮ์ทรงคัดเลือกส่วนหนึ่งจากบรรดามะลาอิกะฮฺให้

เป็นทูตและส่วนหนึ่งจากบรรดามนุษย์ขึ้นมาให้เป็นศาสนทูต...”

(อัล-ฮัจญ์: ๗๕)

แล้วเป็นไปได้อย่างที่พระองค์จะทรงเปลี่ยนย้ายตำแหน่งนบีจากบุคคลที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเลือกสรรไปยังบุคคลที่เคยตั้งภาคีต่อพระองค์”

ยะฮฺยากล่าวอีกว่า

“มีรายงานบอกว่า : ท่านศาสนทูตกล่าวว่า

“ถ้าหากโทษทัณฑ์ได้ถูกประทานลงมาแล้วไซร้ แน่นอนที่สุดจะไม่มีใครรอดปลอดภัยได้นอกจากอุมัร”

๖๕

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)ได้กล่าวว่า

“เรื่องนี้เป็นไปไม่ได้อีกเช่นกัน เพราะอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการว่า

“อัลลอฮฺจะไม่ทรงลงโทษพวกเขาเหล่านั้นอย่างแน่นอนในขณะที่เจ้ายังอยู่ท่ามกลางพวกเขา และอัลลอฮฺจะไม่เป็นผู้ลงโทษทัณฑ์เขาเหล่านั้น ในขณะที่พวกเขาขอการอภัยโทษอยู่”

(อัล-อันฟาล: ๓๓)

หมายความว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงแจ้งให้ทราบว่า พระองค์จะไม่ลงโทษบุคคลใดตราบเท่าที่ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ยังอยู่กับพวกเขาและตราบเท่าที่พวกเขายังอภัยโทษอยู่”(๑)

(๑) อัล-เอียะฮฺติญาจญ์ เล่ม ๒ หน้า ๒๔๙

๖๖

อิมามที่ เก้า

ถกปัญหาอะฮฺกาม

กับยะฮฺยา บินอักษัม

ค่อลีฟะฮฺมะอ์มูน ได้กล่าวกับยะฮฺยา บินอักษัมว่า

“ท่านจะเสนอคำถามแก่อะบูญะอฺฟัร มุฮัมมัด บินริฏอ เพื่อเอาชนะเขาให้ได้สักครั้งเถิด”

ยะฮฺยากล่าวว่า

“โอ้ ท่านอะบูญะอฺฟัร ท่านจะว่าอย่างไรในเรื่องของชายคนหนึ่งที่นิกาฮฺกับหญิงคนหนึ่งที่ผิดประเวณีจะอนุญาตให้เขาแต่งงานกับนางหรือไม่”

อิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“ให้เขาออกห่างจากนางจนกว่าอสุจิของเขาและอสุจิของชายอื่นจะพ้นวาระไปจากนาง

หากเขาไม่หลีกเลี่ยงให้พ้นจากนางแล้ว อาจเป็นไปได้ที่ว่านางจะมีบุตรกับคนอื่น เช่นเดียวกับที่นางจะมีบุตรกับเขา หลังจากนั้นผ่านไปแล้ว ให้เขาแต่งงานกับนางได้ถ้าหากเขาต้องการ อันที่จริงแล้ว

นางเปรียบได้เสมือนลูกอินทผาลัมที่ชายคนหนึ่งรับประทานไปในขณะที่ยังเป็นของต้องห้าม

๖๗

ต่อจากนั้นถ้าเขาได้ซื้อมันเสียให้ถูกต้อง แล้วเขารับประทานมันไป มันก็จะเป็นของที่อนุญาต”

ปรากฏว่ายะฮฺยาถึงกับนิ่งเงียบ

(ตะฮัฟฟุลอุกูล หน้า ๓๓๕)

คำตอบอันลุ่มลึกของอิมามญะวาด(อฺ)แห่งอะฮฺลุลบัยตฺ

สภาพแวดล้อมในช่วงสมัยของท่านอิมามอะบูญะอฺฟัร(อฺ)นั้น มีความแตกต่างออกไปจากสมัยอื่นๆ อย่างมากมาย นั่นคือที่สำคัญที่สุดท่าน(อฺ)มีอายุน้อย กล่าวคือท่านขึ้นมาดำรงตำแหน่งเป็น

ท่านอิมาม(อฺ)ในขณะที่อายุได้เพียง ๘ ปี ซึ่งปรากฏว่าเรื่องอายุของท่านได้กลายมาเป็นปัญหาสำหรับการซักถามและข้ออ้างอย่างมากมาย จนกระทั่งในสถานที่ประชุมครั้งหนึ่งท่าน(อฺ)ต้องถูกตั้ง

คำถามมากถึง ๓๐, ๐๐๐ คำถาม (๑)

(๑) อุศูลุลกาฟี เล่ม ๑ หน้า ๔๙๖, มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๔๓๐

อิษบาตุลฮุดาฮ์ เล่ม ๖ หน้า ๑๗๕, บิฮารุ้ลอันวาร เล่ม ๑๒

หน้า ๑๒๐, อัด-คัมอะตุซซากิบะฮฺ เล่ม ๓ หน้า ๑๑๓

ญะลาอุล-อุยูน เล่ม ๓ หน้า ๑๐๖, ศ่อฮีฟะตุลอับรอรฺ เล่ม ๒

หน้า ๓๐๐, อันวารุ้ลบะฮียะฮฺ หน้า ๑๓๐, อัล-มะญาลิซุซ

ซุนนะฮฺ เล่ม ๕ หน้า ๔๒๓ วะฟาตุลอิมามิลญะวาด หน้า ๕๘

๖๘

ขณะเดียวกันที่ว่าฐานะของท่าน(อฺ)ที่มีต่อมะอ์มูนนั้น ท่าน(อฺ)อยู่ในฐานะที่เป็นคนมีเกียรติ

 ในขณะที่คนใกล้ชิดของค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนแห่งวงศ์อับบาซียะฮฺต่างได้พยายามยกย่องให้เกียรติ ยะฮฺยา บินอักษัม ผู้พิพากษาประจำ

ราชสำนัก และยุให้เขาตั้งคำถามที่มีความยุ่งยากสับสน เพื่อที่ว่า

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)จะหมดปัญญาในการให้คำตอบ แล้วฐานะของท่าน(อฺ)ก็จะหมดความสำคัญไปจากสายตาของมะอ์มูน

ในบทที่ผ่านมาเราได้เสนอเรื่องราวที่เกี่ยวกับหลักฐานประเภทนั้นบางส่วนไปแล้ว ในบทนี้เราจะมากล่าวถึงประเภทของคำถามอีกด้านหนึ่งซึ่งเป็นสิ่งที่ยืนยันให้เห็นเป็นหลักฐานไปถึงเรื่องราวการดำรงตำแหน่งเป็นอิมามของท่าน(อฺ)และเป็นสิ่งที่ยืนยันอีกด้วยว่า ท่าน(อฺ)คือทายาททางด้านวิชาการและความรู้ทางศาสนาของ

บรรพบุรุษของท่าน(อฺ)

๖๙

 

และแสดงให้เห็นว่า ความอ่อนเยาว์ในด้านอายุนั้นมิได้เป็นอุปสรรคอันใดในเจตนารมณ์ของพระผู้เป็นเจ้า เพราะโดยแท้จริงแล้วอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงคัดเลือกท่านนบีอีซา(อฺ)ให้ดำรงตำแหน่งเป็นนบีในขณะที่ยังเป็นเด็กอยู่

ดังมีโองการว่า :

“ครั้นแล้ว นางก็ได้นำเขาไปหาพรรคพวกของนางโดยที่นางได้อุ้มเขาไป พวกเขากล่าวว่า

โอ้ มัรยัมเอ๋ยเจ้าได้นำสิ่งแปลกประหลาดมาแล้ว

น้องหญิงของฮารูนเอ๋ย พ่อของเธอมิได้เป็นชายชั่ว แม่ของเธอก็มิได้เป็นคนสำส่อน ดังนั้นนางก็ชี้ไปทางเขา(อีซา) พวกเขากล่าวว่า

เราจะพูดกับเด็กในเปลได้อย่างไร ?

เขา(อีซา) กล่าวว่า แท้จริงฉันเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ

---------------------------------------------

(เชิงอรรถต่อ)

ท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่า ข้อนี้ได้ถูกนำมากล่าวถึงอย่างเป็นเอกฉันท์โดยที่บรรดานักปราชญ์ได้บันทึกไว้ในตำราของพวกตน ดังเช่นที่ท่านนะศีรุดดีน อัฏ-ฏูซี(ร.ฮ.)ได้นำมาบันทึกไว้ในหนังสือ ‘เราฏ่อตุล-ญันนาต’ หน้า ๕๑๐. เพื่อตอบคำถามของลูกศิษย์คนหนึ่ง

ชื่อ ท่านนัจญ์มุดดีน อฺะลี บินอุมัร เจ้าของหนังสือ ‘มัตนุชซัมซียะฮฺ’ และหนังสือสำคัญอีก๒ เล่ม คือ ‘ฮิกมะตุลอัยนฺ’

๗๐

 และ ‘ญามิอุดดะกออิก’ ความว่า

ในขณะที่ท่าน(อฺ) อยู่ในสมรภูมิ เท้าข้างหนึ่งของท่าน(อฺ)อยู่บนพาหนะ และเท้าอีกข้างหนึ่งของท่าน(อฺ)อยู่บนดิน แต่ท่าน(อฺ)ก็ยังสามารถตอบคำถามได้ถึง ๔๐๐ ปัญหาอันล้วน

แต่เป็นปัญหาที่ลำบากในการให้ตอบ แต่ท่าน(อฺ) ก็ได้ให้คำตอบอย่างครบถ้วน

อันนี้มิใช่เป็นเรื่องราวที่มากมายแต่ประการใดสำหรับท่าน

อิมามอะบูญะอฺฟัร(อฺ)

ในฐานะที่ท่าน(อฺ)เป็นทายาททางวิชาการ และมีความรู้ทางศาสนา จากบรรดาบรรพบุรุษผู้ทรงเกียรติของท่าน(อฺ) ปัญหาในด้านต่างๆ ที่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นข้อซักถามท่านอิมามญะวาด(อฺ) นั้นมีมากมายหลายคำถามซึ่งถ้าหากเราได้พิจารณาการแสดงทัศนะโต้ตอบที่ท่านอิมามญะวาด(อฺ) มีกับยะฮฺยา บินอักษัมแล้ว เราจะพบว่า มันได้แตกออกเป็นปัญหา

ปลีกย่อยมากมาย กล่าวคือในประเด็นที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับการที่ผู้ครองเอียฮฺรอมทำการล่าสัตว์ก็มีรายละเอียดต่างๆ หลายแง่มุม เช่นเดียวกับที่ท่านอิมามญะวาด(อฺ)ได้แสดงทัศนะกับ

ปัญหาข้อที่สอง

๗๑

กล่าวคือ มีทั้งปัญหาประเภทที่อิมาม(อฺ)ได้รับมาอย่างนี้ ขณะเดียวกันก็ยังมีประเภทที่สามารถให้คำตอบในทันที่ว่า ‘ใช่หรือไม่ใช่’

ท่านอัลลามะฮ์มัจญ์ลิซี(ขอความเมตตาจากอัลลอฮฺพึงประสบแด่ท่าน) ได้กล่าวไว้ในหนังสือบิฮารุ้ลอันวารฺ เล่ม ๑๒ หน้า ๑๒๒. คำตอบต่างๆ นั้นสามารถวิเคราะห์ได้หลาย

แง่มุม ดังนี้

๑. คำกล่าวนี้เป็นไปในลักษณะ ‘พูดเกินจริง’ (มุบาละเฆาะฮฺ) ในเรื่องของจำนวนคำถาม

และคำถาม ถ้าเป็นไปตามนั้นก็ยากต่อความเข้าใจ

๒. เป็นไปได้ที่ว่าในหมู่ชนต่างๆ มีคำถามมากมายแต่เนื้อหาตรงกัน ดังนั้นเมื่อท่าน (อฺ) ให้คำตอบข้อซักถามของคนหนึ่งก็เท่ากับให้คำตอบแก่คนทั้งหมดไปด้วย

๓. เป็นคำชี้แจงที่ให้เนื้อหาอย่างมากมาย ทั้งๆ ที่มาจากประโยคคำพูดที่รวบรัดอันรวมไปถึงหลักการตอบบทบัญญัติศาสนา

๗๒

๔. ความหมายที่ว่า ‘การประชุมครั้งหนึ่ง’ นั้น อาจหมายถึง ‘การประชุมในลักษณะเดียวกัน’ หรือ ‘การประชุม’ ณ สถานที่เดียวกันถึงแม้วันเวลาจะต่างกันก็ตาม’

๕. ท่านอิมามญะวาด (อฺ) ได้แสดงความสามารถพิเศษในการให้คำ

ประทานคัมภีร์ให้แก่ฉันและทรงแต่งตั้งให้ฉันเป็นนบีแล้ว”

(มัรยัม: ๒๗-๓๐)

และอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ยังได้ประทานอำนาจ(การเป็นนบี)ให้แก่ท่านนบียะฮฺยา(อฺ)บุตรของนบีซะกะริยา(อฺ)ในขณะที่ยังเป็นเด็กอีกเช่นกัน

ดังมีโองการว่า :

“และเราได้ประทานอำนาจให้แก่เขาในขณะที่ยังเป็นเด็ก”

(มัรยัม: ๑๒)

๖. อันเนื่องมาจากผ่านมาหลายยุคหลายสมัย พวกศูฟีเป็นผู้กระทำขึ้นมาเอง ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่อุตริขึ้น

 ท่านมุฮัมมัด ตะกีฮุจญะตุลอิสลามได้กล่าวไว้ในหนังสือ

 ‘ศ่อฮีฟะตุ้ลอับรอรฺ’ เล่ม ๒ หน้า ๓๐๐. ว่า

ส่วนหนึ่งจากบรรดาคำถามที่ท่านตอบสั้น ๆอย่างรวบรัดมีดังต่อไปนี้ ท่าน(อฺ)ถูกถาม

ว่า

๗๓

ถาม : ความหมายของอักษร ‘กอฟ’ เป็นอย่างไร?

ตอบ : หมายถึงชื่อของภูเขาที่โอบล้อมโลก

ถาม : อักษร ‘ศอด’ หมายความว่าอย่างไร?

ตอบ : หมายถึงตาน้ำที่อยู่เบื้องล่างของบัลลังก์อะรัช

ถาม : ความหมาย ‘นาม’ เป็นอย่างไร?

ตอบ : ลักษณะโดยรวมของสิ่งที่ถูกกล่าวถึง

ถาม : อนุญาตให้เช็ดบนรองเท้าสองข้างได้หรือไม่ ?

ตอบ : ไม่ได้

ถาม : จะตักบีรในนมาซมัยยิตกี่ครั้ง ?

ตอบ : ๕ ครั้ง

ถาม : ในนมาซวาญิบให้อ่านซูเราะฮฺด้วยหรือ ?

ตอบ : ใช่แล้ว

ต่อไปนี้ เราจะนำเรื่องราวเกี่ยวกับการตอบคำถามโดย

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)มาเสนอเพียงบางประการ

๗๔

ถาม-ตอบ

เรื่องที่ ๑

เมื่อผ่านพ้นสมัยของท่านอิมามริฏอ(อฺ)แล้ว ท่านมุฮัมมัด บินญุมฮูร อัล-กุมมี ท่านฮะซันบินรอชิด ท่านอฺะลี บินมัดร็อก

 และท่านอฺะลี บินมะฮฺซียาร รวมทั้งประชาชนในบ้านเมืองต่างๆ อีก

จำนวนหนึ่งเดินทางมายังนครมะดีนะฮฺ คนเหล่านั้นได้ถามเกี่ยวกับบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งสืบต่อหลังจากท่านอิมามริฏอ(อฺ)

พวกเขาได้กล่าวว่า “ต้องเป็นชาวบัศรีย์”

 (เมืองหนึ่งซึ่งอิมามมูซาบินญะอฺฟัรได้ก่อตั้งขึ้น ห่างจากนครมะดีนะฮฺ ๓ ไมล์)

เขาเหล่านั้นได้กล่าวว่า :

ครั้นเมื่อเรามาถึงและได้เข้าสู่วัง ขณะนั้นคนทั้งหลายกำลังอยู่ในสภาพโกลาหลอลหม่าน

เราจึงได้เข้าไปนั่งร่วมกับพวกเขา บัดนั้นเองท่านอับดุลลอฮฺ บินมูซา ซึ่งอยู่ในวัยอาวุโสได้ออกมาพบกับพวกเรา คนทั้งหลายกล่าวขึ้นว่า

“นี่แหละคือประมุขของเรา”

บรรดานักปราชญ์ฟุก่อฮาอ์ได้กล่าวขึ้นว่า

“แน่นอน ! เราได้รับคำสอนจากท่านอะบูญะอฺฟัร และท่านอะบู อับดุลลอฮฺ(อฺ) ว่า ตำแหน่งอิมามนั้นจะต้องไม่บังเกิดแก่พี่น้องสองคนติดต่อกัน นอกจากท่านฮะซัน(อฺ)กับท่านฮุเซน(อฺ) เท่านั้น

๗๕

 ดังนั้นท่านผู้นี้จะเป็นประมุขของเรามิได้”

แล้วท่านอับดุลลอฮฺ บินมูซา ก็ได้มานั่งตรงหน้าที่ประชุม ชายคนหนึ่งได้ลุกขึ้นถามว่า

“ท่านจะกล่าวอย่างไรในเรื่องของผู้ชายคนหนึ่งที่กระทำวิตถารทางเพศกับลาตัวเมีย?”

เขาตอบว่า

“ต้องตัดมือของเขา ต้องเฆี่ยนตีเขา และต้องเนรเทศเขาไปจากบ้านเมือง”

มีชายอีกคนกลุ่มลุกขึ้นถามต่อไปว่า

“ท่านจะกล่าวอย่างไรในเรื่องของชายคนหนึ่งที่หย่าร้างกับภรรยาของตนเท่าจำนวนของดวงดาวบนท้องฟ้า?”

เขาตอบว่า

“เขาจะอยู่ท่ามกลางนกเหยี่ยว และอยู่ท่ามกลางนกอินทรีย์”

ปรากฏว่าพวกเราตื่นตะลึงในคำตอบที่ผิดพลาดของเขา ครั้นแล้วท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)ก็ได้ เดินออกมาหาพวกเรา

 ขณะนั้นท่าน(อฺ)มีอายุเพียง ๘ ปี พวกเราลุกขึ้นแสดงความคารวะต่อท่าน(อฺ)

ท่าน(อฺ)ได้ให้สลามกับประชาชน และแล้วท่านอับดุลลอฮฺ บินมูซา ก็ได้ลุกขึ้นจากที่นั่งของตนแล้ว

๗๖

กลับมานั่ง ณ เบื้องหน้าของท่าน(อฺ) ท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)ได้นั่งต่อหน้าที่ประชุมแล้วกล่าวว่า

“ท่านทั้งหลายจงตั้งคำถามมาเถิด ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเมตตาต่อพวกท่าน”

ชายคนแรกได้ลุกขึ้นถามท่าน(อฺ)ว่า

“ท่านจะว่าอย่างไรในเรื่องของชายคนหนึ่งที่กระทำวิตถารทางเพศกับลาตัวเมีย ?”

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“ให้ตีเขา และให้เขาเสียค่าปรับตามราคาของลาตัวนั้น และถือว่าการใช้งานลาตัวนั้น ตลอดทั้งลูกของลาตัวนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม และให้นำมันออกไปให้ไกลจนกระทั่งถึงที่ที่สนัขป่ากัดกินมัน

เสีย”

หลังจากนั้นท่านอิมามญะวาด(อฺ)ได้โต้แย้งคำตอบจาก

ท่านอับดุลลอฮฺ บินมูซา ว่า

“โอ้ท่านเอ๋ย สำหรับชายคนนั้นที่เขาขุดหลุมฝังศพหญิงคนหนึ่งที่ตายไป แล้วเขาขโมยผ้ากะฝั่นชองนาง และกระทำชำเราต่อซากศพนั้นกล่าวคือจำเป็นที่เขาจะต้องถูกตัดมือเพราะเหตุว่าขโมย จำเป็นจะต้องถูกเฆี่ยนตี เพราะเหตุว่าล่วงประเวณี และจะต้องเนรเทศไปให้ไกล ถ้าหากเขาเป็นคนโสด แต่ถ้าหากเขาเป็นคนมีคู่ครองแล้ว จำเป็นจะต้องประหารชีวิตและขว้างจนตาย”

๗๗

ชายคนที่สองกล่าวอีกว่า

“โอ้บุตรของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ท่านจะว่าอย่างไรในเรื่องของชายคนหนึ่งที่หย่าร้างกับภรรยาของตนหลายครั้งเท่าจำนวนดวงดาวในท้องฟ้า ?”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“ท่านเคยอ่านอัล-กุรอานหรือไม่ ?”

ชายคนนั้นตอบว่า

“เคยอ่านครับ”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ) กล่าวว่า

“ท่านจงอ่านซูเราะฮฺ อัฏ-ฏ่อลาก ไปจนถึงโองการที่ว่า :

“และสูเจ้าจงดำเนินการตั้งพยานยืนยันเพื่ออัลลอฮฺเถิด”

(อัฏ-ฏ่อลาก: ๒)

โอ้ท่านเอ๋ย การฏ่อลาก (หย่า) จะยังใช้ไม่ได้ นอกจากจะมีองค์ประกอบ ๕ ประการ นั้นคือ

จะต้องมีพยานที่เที่ยงธรรมตามหลักศาสนายืนยัน ๒ คน นางจะต้องอยู่ในสภาพที่สะอาดโดยมิได้ผ่านการร่วมประเวณี(ในช่วงรอบเดือนนั้น ๆ) จะต้องเป็นไปด้วยเจตนารมณ์และความตั้งใจอย่าง

แท้จริง”

๗๘

หลังจากผ่านคำตอบไปแล้ว ท่าน(อฺ)ได้กล่าวอีกว่า

“โอ้ท่านเอ๋ย ท่านเคยพบเห็นว่าในอัล-กุรอานระบุถึงจำนวนดวงดาวในท้องฟ้ากระนั้นหรือ?”

ชายคนนั้นตอบว่า

“ไม่เคยพบ”

( บิฮารุ้ลอันวารฺ เล่ม ๑๒ หน้า ๑๑๙ )

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๒

ท่านอะฮฺมัด บินอะบีดาวูด หัวหน้าผู้พิพากษาในสมัยของ

ค่อลีฟะฮฺอัล-มุอฺตะศิมได้กล่าวว่า:

แท้จริงมีโจรคนหนึ่งมาสารภาพผิด และขอร้องให้ท่านค่อลีฟะฮฺดำเนินการชำระโทษด้วยการลงโทษเขา

 ครั้นแล้วบรรดานักฟุก่อฮาอ์ก็ได้เข้ามาร่วมด้วย พวกเราได้ซักถามกันถึงเรื่องหลักการตัดมือ ‘ตำแหน่งที่ตัดนั้นอยู่ ณ ตรงไหน’

ข้าพเจ้าให้ความเห็นว่า “จะต้องตัดตรงข้อมือ”

เขากล่าวว่า “หลักฐานในข้อนี้เป็นอย่างไร?”

๗๙

ข้าพเจ้าตอบว่า

“เพราะว่ามือนั้นหมายถึงนิ้วทั้งหมด และรวมถึงฝ่ามือ ไปจนถึงข้อมือ ดังที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการไว้ในเรื่องการทำตะยัมมุมว่า :

“......ดังนั้นจงลูบที่ใบหน้าและมือทั้งสองข้างของสูเจ้า....”

(อัน-นิซาอ์: ๔๓)

ปรากฏว่ามีคนพวกหนึ่งเห็นด้วยกับข้าพเจ้าในข้อนี้ แต่อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า จำเป็นจะต้องตัดที่ข้อศอก เพราะอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการไว้ในเรื่องการทำวุฏูอ์ว่า :

“....และมือของสูเจ้าถึงข้อศอก....”

(อัล-มาอิดะฮฺ: ๖)

แสดงให้เห็นว่า ขอบเขตของมือคือข้อศอกด้วย”

เขาจึงหันไปถามความเห็นของท่านมุฮัมมัด บินอฺะลี(อฺ) ว่า

“โอ้ ท่านอะบูญะอฺฟัร ท่านจะกล่าวอย่างไรในเรื่องนี้”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวตอบว่า

“คนเหล่านั้นได้พูดถึงเรื่องนี้ไปแล้ว โอ้ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน”

เขากล่าวว่า

“ฉันไม่สนใจในสิ่งที่คนเหล่านั้นพูด แต่ฉันอยากรู้ว่า ท่านจะกล่าวอย่างไร ?”

๘๐

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130