ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด42%

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 130

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 130 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 79003 / ดาวน์โหลด: 4980
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

 การที่ท่านหญิงคอดีญะฮ์ให้ความช่วยเหลือท่านศาสดาในการเผยแผ่คุณธรรม ในทำนองเดียวกัน ท่านหญิงซัยนับก็ช่วยเหลืออิมามฮูเซน ในการพิทักษ์รักษาอิสลาม หลังจากที่มันได้เสื่อมลงไปตามแนวทางของยะซีด

และนี่คือเหตุผลที่ท่านศาสดาได้กล่าวว่า “ฮูเซนนุมมินนี วะอะนะ มินฮูเซน” (ฮูเซนมาจากฉันและฉันมาจากฮูเซน) ถ้าท่านหญิงซัยนับมีชีวิตอยู่ในช่วงที่ท่านหญิงคอดีญะฮ์ยังอยู่ ก็อาจจะเป็นไปได้ที่

ท่านหญิงคอดีญะฮ์จะกล่าวว่า “ซัยนะบุมินนี วะอะนามินซัยนับ”

(ซัยนับมาจากฉันและฉันมาจากซัยนับ)

เมื่อท่านหญิงฮาญัร ภรรยาของศาสดาอิบรอฮีม มองเห็นมีดที่อยู่บนต้นคอของอิสมาอีล ลูกชายของท่าน ท่านถึงกับทรุดลงและหมดสติ

ความกล้าหาญของท่านหญิงซัยนับ มากมายเพียงใดที่ทุ่งกัรบะลา? ท่านไม่เพียงแต่เห็นภาพพี่ชายของท่าน แต่ยังเห็นลูกชายทั้งสองของท่าน ถูกเชือดคออย่างเลือดเย็นอีกด้วย.

๔๑

บทที่ ๔

การเดินทางออกจากมะดีนะฮ์

ในข้อตกลงสงบศึกระหว่างอิมามฮาซันกับมุอาวิยะฮ์ ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า สิทธิในการเป็นคอลีฟะฮ์จะต้องเป็นของอิมามฮูเซน เท่านั้น

อิมามไม่เคยยอมลดเกียรติลงไปยอมรับทรราชจากดามัสกัส ซึ่งแนวคิดและการปฏิบัติตนของเขา ต่อต้านหลักการอันสูงส่งและการดำเนินชีวิตอันสง่างามของครอบครัวของท่านศาสดา

ทันทีที่ยะซีดขึ้นเถลิงอำนาจ ก็เริ่มวางแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับบุคลิกภาพที่ชั่วช้าของตน ด้วยการแทรกแซงรากฐานความเคร่งครัดของศาสนา ประกอบกรรมทำความชั่วอย่างเปิดเผยโจ๋งครึ่ม

โดยไม่เกรงกลัวต่อการลงโทษ และประกาศตนเองเป็นผู้สืบทอดของท่านศาสดา เรียกร้องให้อิมามฮูเซนยอมสวามิภักดิ์โดยไม่มีข้อต่อรองใดๆ

๔๒

แสงสว่าง (ศาสนา) ที่ท่านศาสดานำมาให้กับประชาชาติ กำลังตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกทำให้สูญสิ้นไป หน้าที่ที่จะต้องพิทักษ์ให้ดำรงอยู่ในวิถีทางที่บริสุทธิ์เหมือนเดิม ตกอยู่ที่อิมามฮูเซน ครอบครัวของท่าน และบรรดาสาวกที่ซื่อสัตย์ของท่าน ท่านจึงตัดสินใจออกเดินทางจากมะดีนะฮ์ไปยังนครมักกะฮ์

เมื่อท่านหญิงซัยนับ ทราบข่าวท่านจึงร่ำไห้ อับดุลลอฮ์สามีของท่านสังเกตเห็น จึงอยากทราบถึงสาเหตุว่า เกิดอะไรขึ้น พร้อมกับกล่าวขึ้นว่า “ขอพระผู้เป็นเจ้าอย่าได้ให้เธอต้องร่ำไห้เลย เธอมีเรื่องกลุ้มใจอะไรหรือ?” ท่านหญิงได้ตอบว่า “ท่านทราบดีใช่ไหมว่า ฉันรักฮูเซนมากเพียงใด ตอนนี้ท่านได้ตัดสินใจที่จะออกเดินทาง และเป็นไปไม่ได้ที่ฉันจะมีชีวิตอยู่โดยปราศจากฮูเซน ฉันขอทวงสัญญาที่ท่านได้ให้ไว้เพื่อที่จะติดตามฮูเซนไป” แม้ว่าท่านทั้งสองจะไม่เคยแยกจากกัน แต่ท่านหญิงก็ทราบดีถึงภาระหน้าที่ต่ออิสลาม อับดุลลอฮ์รู้สึกเศร้าใจและได้กล่าวว่า ท่านจะไม่นำมาปะปนกันระหว่างหน้าที่ของท่านหญิงที่มีต่ออิมามฮูเซนกับความสุขส่วนตัวของท่าน แม้ว่าหัวใจของท่านจะโศกเศร้าจากการนี้ แต่ท่านก็จะไม่ขัดขวางท่านหญิงด้วยการยินยอมของอับดุลลอฮ์

๔๓

ท่านหญิงจึงตัดสินใจร่วมเดินทางไปกับอิมามจากมะดีนะฮ์สู่หนทางที่ถูกกำหนดไว้ ท่านหญิงพาอูนและมุฮัมมัด บุตรชายทั้งสองของท่านไปด้วย

ตามปกติผู้หญิงจะต้องอยู่แต่ในบ้านเรือนของนาง แต่นี่เป็นข้อแตกต่าง เพราะท่านต้องกลายเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบในขบวนเชลย และเป็นผู้คุ้มกัน

แม้ท่านจะเป็นผู้นอบน้อมถ่อมตน แต่ท่านเป็นบุตรสาวของราชสีห์แห่งพระเจ้า แม้จะตกอยู่ในภยันตรายก็ยังสามารถลุกขึ้นยืนหยัดด้วยความอดทน ในการเผชิญหน้ากับความหิวกระหายซึ่งล้อมรอบไปด้วยบรรดาผู้สละชีพและผู้บาดเจ็บ ในสมรภูมิเลือดที่กัรบะลา

วันที่ ๒๘ รอญับ ฮ.ศ. ๖๐ (๗ พฤษภาคม ค.ศ.๖๘๐)

 เมื่อกองคาราวานของท่านอิมามออกเดินทางจากมะดีนะฮ์สู่นครมักกะฮ์ ลูกหลานตระกูลฮาชิม อะลี อักบัร อับบาส กอซิม อูนและมุฮัมมัด ทำหน้าที่ช่วยส่งบรรดาสตรีขึ้นบนหลังอูฐ แต่ท่านหญิงซัยนับนั้นไม่มีใครส่งท่านให้ขึ้นบนหลักอูฐ นอกจากอิมามฮูเซน เท่านั้น

๔๔

เมื่อตะวันเริ่มทอแสง ขบวนก็เริ่มออกเดินทางรอนแรมไปยังนครมักกะฮ์ ความมืดได้เข้ามาปกคลุมมะดีนะฮ์ พร้อมๆ กับการเคลื่อนตัวเข้ามาของความหม่นหมอง ความโศกเศร้า ซึ่งการจากไปของอิมามและครอบครัวของท่านในครั้งนี้ ทำให้ประชาชนเกิดความอาลัยรัก ซึ่งจะประทับอยู่ในความทรงจำตลอดไป

ขบวนของท่านอิมามหยุดพักที่มักกะฮ์ประมาณ ๔ เดือน ในช่วงนี้เอง อับดุลลอฮ์ได้ตัดสินใจร่วมเดินทางไปด้วย แรงกดดันจากพวกอุมัยยะฮ์ทวีความรุนแรงมากขึ้น พวกเขาบังคับให้อิมามฮูเซนยอมรับบัยอะฮ์ (สัตยาบัน) กับยะซีด แต่เมื่อไม่ประสบความสำเร็จ พวกเขาก็เริ่มวางแผนการว่า จะใช้วิธีใดที่จะกำจัดอิมามได้ดีที่สุด?

ในที่สุด พวกเขาก็ตัดสินใจที่จะสังหารท่าน ในบริเวณกะอ์บะฮ์

อิมามคอยติดตามข่าวอยู่ตลอดเวลา ในที่สุด ท่านก็ตัดสินใจออกเดินทางไปยังอิรัก แม้ว่าบรรดาผู้อาวุโสของตระกูลฮาชิมจะขอให้ท่านเปลี่ยนความตั้งใจ อย่างไรก็ดี ท่านได้แย้มให้ทราบถึงเรื่องราวที่ท่านเคยรับฟังมาจากท่านศาสดา

๔๕

 เมื่ออับดุลลอฮ์บุตรของอับบาส แน่ใจว่าอิมามจะไม่ยอมคล้อยตามคำแนะนำของท่าน จึงกล่าวว่า

“ด้วยเหตุอันใด ท่านจึงประสงค์ที่จะนำบรรดาสตรีและเด็กๆ ไปกับท่านในการพลีครั้งนี้ด้วยเล่า!?”

เมื่อท่านหญิงซัยนับได้ยินเช่นนั้น จึงรู้สึกไม่พอใจ พร้อมกับกล่าวว่า

“ท่านอับดุลลอฮ์ ท่านต้องการที่จะให้อิมามของพวกเราเดินทาง

ไปโดยลำพัง และทิ้งพวกเราไว้ข้างหลังกระนั้นหรือ?

 ฉันขอสาบานด้วยนามของพระเจ้าว่า มันเป็นไปไม่ได้! เราจะไม่ยอมปล่อยให้ท่านไปโดยลำพัง เราจะมีชีวิตอยู่พร้อมกับท่าน และจะตายพร้อมกับท่าน

เพราะท่านเป็นพี่ชายคนเดียวที่เหลืออยู่สำหรับเรา”

๔๖

ขณะนั้นท่านหญิงซัยนับ รู้สึกกังวลใจกับการรอคอยคำสั่งจากพี่ชายของท่าน ในการเตรียมพร้อมที่จะไปยังกูฟะฮ์ อิมามฮูเซนทราบข่าวว่า มีแผนการที่จะลอบสังหารท่านในขณะกำลังประกอบพิธีฮัจญ์ เพื่อเป็นการป้องกันการหลั่งเลือดลงบนสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ ท่านจึงตัดสินใจเดินทางออกจากมักกะฮ์ไปยังกูฟะฮ์เพียงหนึ่งวันก่อนพิธีการทำฮัจญ์ เมื่อถูกถามถึงเหตุผลในการออกจากมักกะฮ์ก่อนวันประกอบพิธีซึ่งจะมีในวันรุ่งขึ้น ท่านกล่าวตอบว่า

 “ท่านจะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่ทุ่งกัรบะลาอ์”

จึงมีคำสั่งให้ออกเดินทาง ขบวนจึงมุ่งหน้าไปยังกูฟะฮ์

การเดินทางได้ถูกกำหนดขึ้นเป็นขั้นเป็นตอน

และเมื่อขบวนเดินทางมาถึงคูวัยริยะฮ์ อิมามจึงตัดสินใจหยุดพักค้างคืนพร้อมกับบรรดาเด็กๆ

วันรุ่งขึ้นท่านหญิงบอกกับพี่ชายของท่านว่า ท่านได้ยินเสียงหนึ่งบอกกับท่านว่า “อิมามฮูเซนจะถูกสังหาร”

 อิมามตอบว่า “สิ่งนี้ได้ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว”

๔๗

เมื่อขบวนมาถึงตาฮิม อับดุลลอฮ์ บุตรของญะอ์ฟัร (ซึ่งเดินทางจากมะดีนะฮ์มาสมทบกับอิมามที่มักกะฮ์) เดินทางมาถึงแล้ว ได้แสดงความคาราวะและปรึกษาหารือเรื่องสำคัญบางอย่าง พร้อมกับย้ำเตือนบุตรชายทั้งสองของท่าน คืออูนและมุฮัมมัด ให้พลีชีพเพื่ออิมามผู้เป็นลุงของเขาทั้งสอง หลังจากนั้น

เขาได้เดินทางกลับไปยังมักกะฮ์ ขบวนของอิมามจึงมุ่งหน้าไปยังอิรัก.

๔๘

บทที่ ๕

กัรบะลา

หลังจากรอนแรมมากลางทะเลทรายอันแห้งแล้ง กองคาราวานก็ได้มาถึงจุดหมายปลายทาง นั่นคือ ‘กัรบะลา’ ดินแดนซึ่งพระผู้เป็นเจ้าได้ทรงกำหนดไว้ ณ ที่นี่เอง การเดินทางของอิมามฮูเซน และมิตรสหายของท่านในโลกนี้จบสิ้นลง แต่นั่นเป็นเพียงการเริ่มต้นสำหรับการเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางที่แท้จริงอย่างนิรันดร์

วันนั้นตรงกับวันที่ ๒ เดือนมุฮัรรอม ฮ.ศ. ๖๑ (๑ ตุลาคม ค.ศ.๖๘๐)

ท่านหญิงซัยนับมีความเศร้าสลดใจอย่างที่สุด อิมามออกคำสั่งให้ตั้งกระโจมค่ายพัก ท่านได้อ่านบางโองการจากคัมภีร์อัล กุรอาน ซึ่ง

เป็นเหตุให้ท่านหญิงทราบในทันทีว่า นี่เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่า การพลีชีพกำลังจะเกิดขึ้นแล้ว

๔๙

ท่านหญิงจึงร่ำไห้อย่างมากและกล่าวกับพี่ชายของท่านว่า

 “โอ้ ผู้เป็นแสงสว่างแห่งดวงตาของฉัน! น้องไม่อยากที่จะมีชีวิตอยู่จนได้พบกับวันนี้เลย ท่านคือผู้ช่วยเหลือ และเป็นเพียงผู้เดียวที่เหลือยู่ในจำนวนผู้บริสุทธิ์ทั้งห้า

(ปันญ์จตาน) โอ้ พี่ชายที่รัก! ท่านกำลังจะบอกให้เราทราบถึงข่าวการพลีชีพของท่านใช่ไหม?”

ด้วยคำถามนี้ อิมามตอบว่า “โอ้ น้องสาวที่รักของพี่! จงอดทนต่อความเจ็บปวด นี่เป็นการทดสอบจากพระผู้เป็นเจ้า จงจำไว้เสมอว่า ทุกชีวิตต้องลิ้มรสแห่งความตาย และต้องคืนกลับไปยังพระผู้สร้าง เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับการงานของพวกเขา โอ้ น้องรัก! ท่านศาสนทูตของพระเจ้าและบิดาของเราอยู่ที่ไหนกันเล่า? มันช่างดูไกลแสนไกลสำหรับพี่ การดำเนินรอยตามแบบฉบับของท่านนั้นเป็นหน้าที่

ของมุสลิมที่มีความเกรงกลัวในพระเจ้าทุกคน” เมื่อท่านหญิงได้ยินเช่นนั้น ดวงตาของท่านก็เอ่อนองไปด้วยน้ำตาแห่งความเศร้าสลด

๕๐

ท่านอิมาม ได้บอกถึงข่าวการพลีชีพที่ยิ่งใหญ่ และย้ำว่า หลังจากที่ท่านจากโลกนี้ไปแล้ว ท่านหญิงจะต้องพยายามควบคุมตนเองให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

ในค่ำวันที่ ๙ เดือนมุฮัรรอม (๘ ตุลาคม ค.ศ.๖๘๐) ศัตรูเริ่มบุกเข้าโจมตียังค่ายพักของอิมามฮูเซน

ในขณะนั้นท่านกำลังอยู่ในที่พักของท่าน ท่านหญิงได้มาบอกว่า การโจมตีได้เริ่มขึ้นแล้ว ขณะนั้นอิมามกำลังอยู่ในอาการครึ่งหลับครึ่งตื่น ท่านเล่าให้ท่านหญิงฟังว่า ท่านได้เห็นท่านตา คือ ท่านศาสนทูตของพระผู้เป็นเจ้า บิดาของท่านอิมามอะลี ผู้นำแห่งผ้ศรัทธา มารดาท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ และอิมามฮาซัน พี่ชายของท่าน ซึ่งท่านเหล่านั้นได้เชิญชวนให้อิมามไปอยู่กับพวกท่าน เมื่อได้ยินเช่นนั้น ท่านหญิงซัยนับรู้สึกเศร้าสลดและสั่นสะท้าน อิมามจึงขอร้องให้ท่านหญิงพยายามควบคุมตนเอง ให้มีความอดทน

มิเช่นนั้นจะทำให้คนอื่นๆ ที่อยู่รอบข้างเสียกำลังใจ และทำให้ศัตรูเกิดความยินดีปรีดา

๕๑

ด้วยการยินยอมของอิมามฮูเซน ท่านอับบาสผู้เป็นน้องชายได้ขอร้องพวกศัตรูให้เริ่มโจมตีในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น เพื่อว่าอิมามจะได้มีเวลานมาซและขอพรในค่ำคืนสุดท้ายนี้อย่างเต็มที่

ในวัน ‘อาชูรอ’ ภารกิจที่ท่านหญิงได้รับและต้องปฏิบัตินั้น ไม่มีมนุษย์ปุถุชนธรรมดาคนใดจะสามารถปฏิบัติได้เลย

ภาระทั้งหมดตกอยู่ในความรับผิดชอบของท่าน ที่จะต้องดูแลครอบครัวของบรรดาผู้สละชีพในวันนั้น ทีละคนๆ

อิมามฮูเซนมีความเชื่อมั่นในตัวน้องสาวของท่าน ว่าจะสามารถดูแลรับผิดชอบทุกๆ คน

หลังจากท่านจากไปแล้ว และจะปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถในสถานการณ์เช่นนั้น โดยจะไม่ยอมให้ความเศร้าโศกเสียใจมาทำให้หน้าที่ของท่านต้องบกพร่องเลยแม้แต่น้อย

๕๒

อิมามฮูเซน เป็นท่านสุดท้ายที่พลีชีพในวันนั้น ท่านได้ตรงไปยังร่างของบรรดาผู้ช่วยเหลือของท่านที่สละชีวิตไปแล้วทีละคน ทุกๆ ร่างจะถูกนำกลับมายังค่ายพัก ซึ่งจะมีท่านหญิงคอยปลอบโยนสมาชิกในครอบครัวของบรรดาผู้สละชีวิตเหล่านั้น

ท่านหญิงพยายมปลอบขวัญให้พวกเขาเกิดความกล้าหาญ และย้ำว่าการเสียสละชีวิตเป็นความจำเป็นในการพิทักษ์รักษาอิสลามตามแนวทางของท่านศาสดามุฮัมมัดไว้

ท่านหญิงยอมพลีชีวิตบุตรชายทั้งสองของท่าน คืออูนและมุฮัมมัด เพื่อช่วยเหลือพี่ชาย ด้วย

หัวใจที่เด็ดเดี่ยว กล้าหาญ โดยท่านพยายามกระตุ้นให้อิมามอนุญาตให้บุตรทั้งสองของท่านทำตามความปรารถนา

ท่านรู้สึกสะเทือนใจราวกับหัวใจได้แตกสลายลงไป บรรดาผู้สละชีพแต่ละท่าน ไม่ว่าจะเป็นลูกชายทั้งสองของท่านหรือ

ลูกชายของอิมามฮูเซน อิมามฮาซันหรือแม้แต่ท่านอับบาส ก็ได้สละชีพไปจนหมด

๕๓

 เหตุการณ์สะเทือนขวัญครั้งนี้ทำให้ท่านเจ็บปวดทุกข์ทรมานใจจนไม่อาจบรรยายได้

การทดสอบที่ยิ่งใหญ่ของท่านได้เริ่มต้นขึ้น เมื่ออิมามฮูเซน ได้พลีชีพครั้งยิ่งใหญ่ที่โลกทั้งโลกได้ประจักษ์.

บทที่ ๖

การพลีของท่านอูนและมุฮัมมัด

ท่านหญิงซัยนับ มีบุตรชายสองคนที่ได้พลีชีพ คืออูนและมุฮัมมัด ทั้งสองคนเกิดจากอับดุลลอฮ์

บุตรของญะอ์ฟัร ฏอยยัร

ท่านหญิงเป็นสตรีที่มีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว บุตรชายทั้งสองของท่านก็เช่นเดียวกัน ท่านญะอ์ฟัร ฏอยยัร เป็นพี่ชายของอิมามอะลี เป็นผู้ถือธงรบแห่งอิสลามในหลายๆ สมรภูมิร่วมกับท่านศาสดา

มุฮัมมัด ท่านเป็นผู้ถือธงรบในสงครามมูตะฮ์ ในการรบครั้งนั้นแขนทั้งสองของท่านถูกตัดขาด ร่างกายถูกฟันจนมีบาดแผลไปทั้งตัวและเสียชีวิตในที่สุด

๕๔

อิมามอะลี ก็เป็นผู้ถือธงรบของท่านศาสดาในสงครามหลายต่อหลายครั้งเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ อูนและมุฮัมมัด จึงขอร้องให้มารดาของท่านช่วยข้อร้องให้อิมามฮูเซนยินยอมให้เขาทั้งสองได้เป็นผู้ถือธงของอิสลามในสมรภูมิกัรบะลา แต่ ท่านหญิงทราบดีว่า ผู้ที่เหมาะสมที่จะเป็นผู้ถือธงรบในครั้งนี้คือท่านอับบาส

ท่านหญิงเห็นว่าไม่เป็นการสมควรที่จะขอในสิ่งนั้น แม้จะทำให้บุตรทั้งสองของท่านพอใจก็ตาม

ท่านจึงอธิบายเหตุผลให้ทั้งอูนและมุฮัมมัดฟัง ซึ่งทั้งสองก็เข้าใจและเชื่อฟัง โดยไม่ปรารถนาจะขอเป็นผู้ถือธงรบอีก

เช้าของวันที่ ๑๐ มุฮัรรอม (๙ ตุลาคม ค.ศ.๖๘๐)

หลังจากที่ญาติสนิทมิตรสหายของอิมามมุ่งหน้าออกไปยังสนามรบเพื่อปกป้องอิสลาม คนแล้วคนเล่า! ทุกคนก็ได้เป็นผู้พลีชีพเพื่ออิสลาม อูนและมุฮัมมัด จึงตัดสินใจออกไปยัง สนามรบ ทั้งสองขอร้องอิมามเพื่อออกไปสู้รบ และตรงไปยังมารดาเพื่อขออนุญาต

๕๕

ท่านหญิงทราบดีว่า นั่นเป็นหน้าที่ของผู้ศรัทธาทุกคนที่จะต้องช่วยปกป้องท่านอิมาม ในยามที่เต็มไปด้วยอันตรายเช่นนี้ ท่านจึงอนุญาต บุตรทั้งสองด้วยความดีใจที่จะได้ออกไปต่อสู้และเสียสละชีวิตเพื่อปกป้องอิสลาม

อิมามฮูเซน ได้โอบกอดหลานทั้งสอง หลังจากนั้นกล่าวคำอำลาด้วยความสะเทือนใจแล้ว อูนและมุฮัมมัดได้ควบม้าทะยานสู่สนามรบด้วยความปลื้มปีติ ถาโถมเข้าสู่สมรภูมิ กวัดแกว่งดาบฆ่าฟัน

ศัตรูลงได้อย่างมากมาย

ด้วยร่างที่เต็มไปด้วยบาดแผลและความอ่อนเพลียจากการกระหายน้ำ ทั้งสองถูกห้อมล้อมด้วยศัตรูที่เข้ามาโรมรัน ในที่สุด ก็ตกลงจากหลังม้า ทันใดนั้น! ศัตรูก็โถมเข้ามาอีกระลอก ทั้งสองร้องเรียกท่าน

ลุงผู้เป็นที่รักเพื่อขอความช่วยเหลือ อิมามฮูเซนขับไล่ศัตรูแตกกระเจิงออกไป แต่โอ้พระผู้เป็นเจ้า! มันสายเกินไปสำหรับอูนและมุฮัมมัด ซึ่งทั่วร่างกายมีบาดแผลฉกรรจ์เต็มไปหมด อิมามได้นำร่างของทั้งสองไปยังสถานที่ซึ่งบรรดาผู้ที่สละชีพไปก่อนหน้านี้รวมกันอยู่

๕๖

และวอนขอต่อพระผู้เป็นเจ้าว่า

 “โอ้ อัลลอฮ์!โปรดรับการพลีของข้าพระองค์ด้วยเถิด…นี่คือหลานชายของญะอ์ฟัร ฏอยยัร ผู้ถือธงรบแห่งอิสลาม ที่ได้พลีชีพเพื่อศาสนาในวันอาชูรอที่ได้ถูกกำหนดไว้ ตามแบบฉบับของบรรดาบรรพบุรุษของท่าน”.

บทที่ ๗

การอำลาของท่านอิมามฮูเซน

การลาจากกันเป็นครั้งสุดท้ายระหว่างพี่ชายกับน้องสาว เต็มไปด้วยความเศร้าสะเทือนใจเป็นอย่างยิ่ง อิมามก้าวออกจากค่ายพักของท่านด้วยความยากลำบาก เพื่อที่จะมากล่าวอำลาน้องสาว

บุตรสาวสุดที่รัก และบรรดาสตรีในครอบครัวอันเป็นที่รักของท่าน ท่านได้กล่าวกับพวกเธอว่า

 “โอ้ ซัยนับน้องรัก! อุมมุกุลซูม อุมมุลัยลา อุมมุรุบาบ และลูกรักกุบรอ

๕๗

รุกอยยะฮ์และสะกีนะฮ์ และพิฏซะฮ์ คนรับใช้ที่จงรักภักดีต่อฉัน เข้ามาใกล้ๆ และจงฟังฉันกล่าวคำอำลาและสั่งเสียครั้งสุดท้ายแด่พวกท่าน”

ด้วยคำพูดดังกล่าว ทำให้บรรดาสตรีในครอบครัวของท่านรีบพากันเข้ามาห้อมล้อมท่าน

ท่านหญิงซัยนับ น้องสาวสุดที่รักของท่าน ได้โอบแขนไว้รอบต้นคอของอิมาม และเพ่งมองลึกลงไปในดวงตาทั้งสองของท่านพร้อมกับกล่าวว่า

 “พี่ชายที่รัก! มันเป็นความจริงใช่ไหม ที่ท่านกำลังจะจากไปแล้ว และจะไม่มีชีวิตกลับมาอีก? โอ้ พี่ชายของฉัน! เวลานั้นมาถึงแล้วใช่ไหม? เวลาที่น้องกำลังจะหมดสิ้นทุกอย่างด้วยการจากไปของท่าน ท่านกำลังทิ้งพวกเราไว้ในสภาพที่หัวใจแตกสลาย”

๕๘

อิมามก้มศีรษะลงพร้อมกับพึมพำว่า

 “ใช่แล้ว ซัยนับน้องรัก! เวลานั้นได้มาถึงแล้ว เวลาที่ท่านแม่ของเราได้เตรียมเธอไว้ตั้งแต่เธอยังเป็นเด็กเล็กๆ เรื่องราวที่บิดาของเราบอกเธอในขณะที่ท่านกำลังจะสิ้นใจ สำหรับตัวพี่นั้น การจากไปครั้งนี้เป็นความสะเทือนใจอย่างที่สุด เพราะพี่ทราบดีว่า การทดสอบ

อย่างแท้จริงของเธอยังไม่สิ้นสุด แต่มันกำลังจะเริ่มต้นในวันนี้”

“โอ้ พี่ชายของฉัน! ฉันได้แต่หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การพลีชีพของอูนและมุฮัมมัดบุตรทั้งสองของน้อง น้องอับบาส กอซิมและอะลี อักบัร แล้วชีวิตของท่านจะปลอดภัย ไม่มีท่านแล้วจะมีอะไรเหลือสำหรับฉัน ที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปในโลกนี้

โอ้พี่ชาย! เมื่อท่านไปยังสวนสวรรค์ โปรดวอนขอต่อท่านตาของเรา ได้เรียกฉันกลับไปยังสวนสวรรค์โดยเร็วเถิด เพื่อช่วยให้ฉันรอดพ้นจากการถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม และต้องพบกับความอัปยศที่กำลังรอคอยฉันอยู่”

๕๙

อิมาม ไม่อาจตอบคำวอนขอของท่านหญิงได้ เพราะท่านทราบดีว่า สิ่งที่เธอพูดนั้นเป็นความจริง ท่านพยายามควบคุมอารมณ์อย่างที่สุด แล้วจึงกล่าวว่า

“ซัยนับ ถ้าเธอต้องการจะจากโลกนี้ไปโดยเร็ว แล้วใครเล่า! จะเป็นผู้แบกรับภาระหน้าที่? ใครเล่า! จะเป็นผู้สานต่อการงานของพี่ที่ยังไม่สำเร็จลุล่วง พี่กำลังจะมอบหมายให้เธอดูแลลูกๆ ที่กำพร้าและภรรยาหม้ายของพี่ ลูกๆ กำพร้าและภรรยาหม้ายของบรรดาผู้กล้าหาญของพี่ และญาติพี่น้องของเรา มันถึงเวลาแล้วที่เธอจะต้องเป็นผู้ชี้นำ ดูแลและปลอบโยนพวกเขา พี่จะจากไปอย่างสงบถ้าเธอจะให้สัญญากับพี่ว่า จะทำหน้าที่แทนบรรดาผู้ที่ได้จากไปในวันนี้”

ท่านหยุดนิ่งชั่วครู่และกล่าวต่อว่า “โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ซัยนับ! เธอจะต้องดูแล ‘อะลี ซัยนุลอาบิดีน’ ซึ่งกำลังป่วยหนัก

๖๐

เป็นไปได้อย่างไรที่อัลลอฮฺ(ซ.บ. จะไม่รู้ว่า ‘อะบูบักร’ พอใจหรือไม่พอใจต่อพระองค์ จนถึงกับต้องถามเกี่ยวกับสิ่งเร้นลับอันนั้น? เรื่องนี้เป็นไปไม่ได้โดยสติปัญญา”

หลังจากนั้น ยะฮฺยา บินอักษัม ได้กล่าวอีกว่า

“มีรายงานบทหนึ่งว่า :

อุปมาของอะบูกักรฺกับอุมัรในหน้าแผ่นดินนั้น มีฐานะเสมอเหมือนกับญิบรออีลและมีกาอีลในชั้นฟ้า”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ) กล่าวว่า

“นี่ก็อีกเช่นกันที่จำเป็นจะต้องพิจารณา เพราะว่าญิบรออีลและ

มีกาอีลนั้น เป็นมะลาอิกะฮฺผู้ใกล้ชิดสำหรับอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

ทั้งสององค์จะไม่ละเมิดต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)เลย และจะไม่ฝ่าฝืนคำสั่ง

แม้แต่เสี้ยววินาทีเดียวแต่สำหรับคนทั้งสองนั้นเคยตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)มาก่อน ถึงแม้ว่าจะรับอิสลามภายหลังจากนั้นก็ตาม วันเวลาอันยาวนานของบุคคลทั้งสองคือช่วงเวลาแห่งการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)

๖๑

จึงเป็นไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบว่าคนทั้งสองเสมอเสมือนกับมะลาอิกะฮฺสององค์นั้น”

ยะฮฺยากล่าวอีกว่า

“มีรายงานอีกบทหนึ่งระบุว่า :

บุคคลทั้งสองเป็นประมุขสูงสุดของบรรดาคนชราสำหรับชาสวรรค์ ในข้อนี้ท่านจะว่าอย่างไร ?”

อิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“เรื่องนี้ก็เป็นไปไม่ได้อีกเช่นกัน เพราะว่าบรรดาชาวสวรรค์นั้นล้วนเป็นคนหนุ่มทั้งหมด ในบรรดาคนเหล่านั้นไม่มีคนชราเลย รายงานเหล่านี้คือสิ่งที่พวกลูกหลานของอุมัยยะฮฺแต่งขึ้นมาเอง เพื่อให้ได้เรื่องราวที่ตรงข้ามกับคำพูดของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ที่ได้กล่าวไว้ในเรื่องของท่านฮะซันและท่านฮุเซน(อฺ) ว่าบุคคลทั้งสองนั้นเป็นหัวหน้าของชายหนุ่มชาวสวรรค์”

ยะฮฺยา บินอักษัม ได้กล่าวอีกว่า

“มีรายงานบทหนึ่งกล่าวว่า :

แท้จริงท่านอุมัร บินค็อฏฏอบนั้นอยู่ในฐานะเป็นดวงประทีปสำหรับชาวสวรรค์”

๖๒

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“นี่ก็คือเรื่องที่เป็นไปไม่ได้อีกเช่นกัน เพราะในสวนสวรรค์นั้นมีบรรดามะลาอิกะฮฺที่ใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ(ซ.บ.) มีท่านนบีอาดัม

ท่านนบีมุฮัมมัด และบรรดานบีตลอดทั้งบรรดาศาสนทูต

ทั้งมวล สวนสวรรค์ไม่มีรัศมีสว่างไสวด้วยกับรัศมีของบุคคลเหล่านั้นเลย นอกเสียจากด้วยรัศมีของอุมัรเท่านั้นหรือ ?”

ยะฮฺยา ได้กล่าวอีกว่า

“มีรายงานบทหนึ่งกล่าวว่า :

แท้จริงท่านหญิงซะกีนะฮฺมีวาทศิลป์เช่นเดียวกับวาทศิลป์ของอุมัร”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“ฉันมิได้ปฏิเสธเกียรติยศของท่านอุมัร แต่ทว่าท่านอะบูบักรนั้นย่อมมีเกียรติเหนือกว่าท่านอุมัร แต่ท่านยังกล่าวไว้บนมินบัรในครั้งหนึ่งว่า

“แท้จริงสำหรับตัวของข้าพเจ้านี้มีชัยฏอนที่คอยหลอกลวงข้าพเจ้าอยู่ เพราะฉะนั้นถ้าหากข้าพเจ้าหันเหไป พวกท่านก็จงช่วยประคับประคองข้าพเจ้าด้วย”

ยะฮฺยาได้กล่าวอีกว่า

“มีรายงานบทหนึ่งกล่าวว่า ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ได้กล่าวว่า :

ถ้าหากข้าพเจ้ามิได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดาแล้วไซร้แน่นอนอุมัรนั่นแหละคือผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้ง”

๖๓

ท่านอิมามญะวาด(อฺ) กล่าวว่า

“พระคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ย่อมมีความสัจจริงยิ่งกว่าฮะดีษบทนี้ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ว่า :

“และในเมื่อเราได้ทำสัญญาต่อบรรดานบีและทำสัญญากับเจ้า

 อีกทั้งกับนูฮฺ......”

(อัล-อะฮฺซาบ: ๗)

แน่นอนจะเห็นได้ว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีพันธสัญญากับบรรดานบีจะเป็นไปได้อย่างที่พระองค์จะเปลี่ยนพันธสัญญาอันนี้ นั่นคือบรรดานบีทั้งหมดไม่เคยตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)เลย

อย่างแน่นอน จะเป็นไปได้อย่างไรที่พระองค์จะแต่งตั้งผู้ที่เคยตั้งภาคีมาเป็นนบี ในเมื่อท่านอุมัรนั้นตลอดระยะเวลาอันยาวนาน

 ท่านเป็นผู้ตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)? และท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)นั้นได้เคยกล่าวไว้ว่า :

“ฉันถูกแต่งตั้งให้เป็นนบีในขณะที่อาดัมยังอยู่ในสภาวะระหว่างวิญญาณและเรือนร่าง”

ยะฮฺยา บินอักษัม ได้กล่าวว่า

“มีรายงานอีกบทหนึ่งกล่าวว่า : แท้จริงท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ได้กล่าวว่า

๖๔

“ยามใดที่วะฮฺยูมิได้ถูกประทานลงมายังฉัน ทำให้ฉันนึกเสมอว่า มันได้ถูกประทานลงมายังอิบนุค็อฏฏอบ(อุมัร)”

อิมามญะวาด(อฺ)ได้กล่าวว่า

“นี่คือเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าไม่คู่ควรแก่ท่านที่ท่านนบี(ศ)จะตั้งข้อสงสัยในเรื่องตำแหน่งการเป็นนบีของตัวท่านเอง เพราะอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการไว้ว่า :

“อัลลอฮ์ทรงคัดเลือกส่วนหนึ่งจากบรรดามะลาอิกะฮฺให้

เป็นทูตและส่วนหนึ่งจากบรรดามนุษย์ขึ้นมาให้เป็นศาสนทูต...”

(อัล-ฮัจญ์: ๗๕)

แล้วเป็นไปได้อย่างที่พระองค์จะทรงเปลี่ยนย้ายตำแหน่งนบีจากบุคคลที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเลือกสรรไปยังบุคคลที่เคยตั้งภาคีต่อพระองค์”

ยะฮฺยากล่าวอีกว่า

“มีรายงานบอกว่า : ท่านศาสนทูตกล่าวว่า

“ถ้าหากโทษทัณฑ์ได้ถูกประทานลงมาแล้วไซร้ แน่นอนที่สุดจะไม่มีใครรอดปลอดภัยได้นอกจากอุมัร”

๖๕

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)ได้กล่าวว่า

“เรื่องนี้เป็นไปไม่ได้อีกเช่นกัน เพราะอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการว่า

“อัลลอฮฺจะไม่ทรงลงโทษพวกเขาเหล่านั้นอย่างแน่นอนในขณะที่เจ้ายังอยู่ท่ามกลางพวกเขา และอัลลอฮฺจะไม่เป็นผู้ลงโทษทัณฑ์เขาเหล่านั้น ในขณะที่พวกเขาขอการอภัยโทษอยู่”

(อัล-อันฟาล: ๓๓)

หมายความว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงแจ้งให้ทราบว่า พระองค์จะไม่ลงโทษบุคคลใดตราบเท่าที่ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ยังอยู่กับพวกเขาและตราบเท่าที่พวกเขายังอภัยโทษอยู่”(๑)

(๑) อัล-เอียะฮฺติญาจญ์ เล่ม ๒ หน้า ๒๔๙

๖๖

อิมามที่ เก้า

ถกปัญหาอะฮฺกาม

กับยะฮฺยา บินอักษัม

ค่อลีฟะฮฺมะอ์มูน ได้กล่าวกับยะฮฺยา บินอักษัมว่า

“ท่านจะเสนอคำถามแก่อะบูญะอฺฟัร มุฮัมมัด บินริฏอ เพื่อเอาชนะเขาให้ได้สักครั้งเถิด”

ยะฮฺยากล่าวว่า

“โอ้ ท่านอะบูญะอฺฟัร ท่านจะว่าอย่างไรในเรื่องของชายคนหนึ่งที่นิกาฮฺกับหญิงคนหนึ่งที่ผิดประเวณีจะอนุญาตให้เขาแต่งงานกับนางหรือไม่”

อิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“ให้เขาออกห่างจากนางจนกว่าอสุจิของเขาและอสุจิของชายอื่นจะพ้นวาระไปจากนาง

หากเขาไม่หลีกเลี่ยงให้พ้นจากนางแล้ว อาจเป็นไปได้ที่ว่านางจะมีบุตรกับคนอื่น เช่นเดียวกับที่นางจะมีบุตรกับเขา หลังจากนั้นผ่านไปแล้ว ให้เขาแต่งงานกับนางได้ถ้าหากเขาต้องการ อันที่จริงแล้ว

นางเปรียบได้เสมือนลูกอินทผาลัมที่ชายคนหนึ่งรับประทานไปในขณะที่ยังเป็นของต้องห้าม

๖๗

ต่อจากนั้นถ้าเขาได้ซื้อมันเสียให้ถูกต้อง แล้วเขารับประทานมันไป มันก็จะเป็นของที่อนุญาต”

ปรากฏว่ายะฮฺยาถึงกับนิ่งเงียบ

(ตะฮัฟฟุลอุกูล หน้า ๓๓๕)

คำตอบอันลุ่มลึกของอิมามญะวาด(อฺ)แห่งอะฮฺลุลบัยตฺ

สภาพแวดล้อมในช่วงสมัยของท่านอิมามอะบูญะอฺฟัร(อฺ)นั้น มีความแตกต่างออกไปจากสมัยอื่นๆ อย่างมากมาย นั่นคือที่สำคัญที่สุดท่าน(อฺ)มีอายุน้อย กล่าวคือท่านขึ้นมาดำรงตำแหน่งเป็น

ท่านอิมาม(อฺ)ในขณะที่อายุได้เพียง ๘ ปี ซึ่งปรากฏว่าเรื่องอายุของท่านได้กลายมาเป็นปัญหาสำหรับการซักถามและข้ออ้างอย่างมากมาย จนกระทั่งในสถานที่ประชุมครั้งหนึ่งท่าน(อฺ)ต้องถูกตั้ง

คำถามมากถึง ๓๐, ๐๐๐ คำถาม (๑)

(๑) อุศูลุลกาฟี เล่ม ๑ หน้า ๔๙๖, มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๔๓๐

อิษบาตุลฮุดาฮ์ เล่ม ๖ หน้า ๑๗๕, บิฮารุ้ลอันวาร เล่ม ๑๒

หน้า ๑๒๐, อัด-คัมอะตุซซากิบะฮฺ เล่ม ๓ หน้า ๑๑๓

ญะลาอุล-อุยูน เล่ม ๓ หน้า ๑๐๖, ศ่อฮีฟะตุลอับรอรฺ เล่ม ๒

หน้า ๓๐๐, อันวารุ้ลบะฮียะฮฺ หน้า ๑๓๐, อัล-มะญาลิซุซ

ซุนนะฮฺ เล่ม ๕ หน้า ๔๒๓ วะฟาตุลอิมามิลญะวาด หน้า ๕๘

๖๘

ขณะเดียวกันที่ว่าฐานะของท่าน(อฺ)ที่มีต่อมะอ์มูนนั้น ท่าน(อฺ)อยู่ในฐานะที่เป็นคนมีเกียรติ

 ในขณะที่คนใกล้ชิดของค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนแห่งวงศ์อับบาซียะฮฺต่างได้พยายามยกย่องให้เกียรติ ยะฮฺยา บินอักษัม ผู้พิพากษาประจำ

ราชสำนัก และยุให้เขาตั้งคำถามที่มีความยุ่งยากสับสน เพื่อที่ว่า

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)จะหมดปัญญาในการให้คำตอบ แล้วฐานะของท่าน(อฺ)ก็จะหมดความสำคัญไปจากสายตาของมะอ์มูน

ในบทที่ผ่านมาเราได้เสนอเรื่องราวที่เกี่ยวกับหลักฐานประเภทนั้นบางส่วนไปแล้ว ในบทนี้เราจะมากล่าวถึงประเภทของคำถามอีกด้านหนึ่งซึ่งเป็นสิ่งที่ยืนยันให้เห็นเป็นหลักฐานไปถึงเรื่องราวการดำรงตำแหน่งเป็นอิมามของท่าน(อฺ)และเป็นสิ่งที่ยืนยันอีกด้วยว่า ท่าน(อฺ)คือทายาททางด้านวิชาการและความรู้ทางศาสนาของ

บรรพบุรุษของท่าน(อฺ)

๖๙

 

และแสดงให้เห็นว่า ความอ่อนเยาว์ในด้านอายุนั้นมิได้เป็นอุปสรรคอันใดในเจตนารมณ์ของพระผู้เป็นเจ้า เพราะโดยแท้จริงแล้วอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงคัดเลือกท่านนบีอีซา(อฺ)ให้ดำรงตำแหน่งเป็นนบีในขณะที่ยังเป็นเด็กอยู่

ดังมีโองการว่า :

“ครั้นแล้ว นางก็ได้นำเขาไปหาพรรคพวกของนางโดยที่นางได้อุ้มเขาไป พวกเขากล่าวว่า

โอ้ มัรยัมเอ๋ยเจ้าได้นำสิ่งแปลกประหลาดมาแล้ว

น้องหญิงของฮารูนเอ๋ย พ่อของเธอมิได้เป็นชายชั่ว แม่ของเธอก็มิได้เป็นคนสำส่อน ดังนั้นนางก็ชี้ไปทางเขา(อีซา) พวกเขากล่าวว่า

เราจะพูดกับเด็กในเปลได้อย่างไร ?

เขา(อีซา) กล่าวว่า แท้จริงฉันเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ

---------------------------------------------

(เชิงอรรถต่อ)

ท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่า ข้อนี้ได้ถูกนำมากล่าวถึงอย่างเป็นเอกฉันท์โดยที่บรรดานักปราชญ์ได้บันทึกไว้ในตำราของพวกตน ดังเช่นที่ท่านนะศีรุดดีน อัฏ-ฏูซี(ร.ฮ.)ได้นำมาบันทึกไว้ในหนังสือ ‘เราฏ่อตุล-ญันนาต’ หน้า ๕๑๐. เพื่อตอบคำถามของลูกศิษย์คนหนึ่ง

ชื่อ ท่านนัจญ์มุดดีน อฺะลี บินอุมัร เจ้าของหนังสือ ‘มัตนุชซัมซียะฮฺ’ และหนังสือสำคัญอีก๒ เล่ม คือ ‘ฮิกมะตุลอัยนฺ’

๗๐

 และ ‘ญามิอุดดะกออิก’ ความว่า

ในขณะที่ท่าน(อฺ) อยู่ในสมรภูมิ เท้าข้างหนึ่งของท่าน(อฺ)อยู่บนพาหนะ และเท้าอีกข้างหนึ่งของท่าน(อฺ)อยู่บนดิน แต่ท่าน(อฺ)ก็ยังสามารถตอบคำถามได้ถึง ๔๐๐ ปัญหาอันล้วน

แต่เป็นปัญหาที่ลำบากในการให้ตอบ แต่ท่าน(อฺ) ก็ได้ให้คำตอบอย่างครบถ้วน

อันนี้มิใช่เป็นเรื่องราวที่มากมายแต่ประการใดสำหรับท่าน

อิมามอะบูญะอฺฟัร(อฺ)

ในฐานะที่ท่าน(อฺ)เป็นทายาททางวิชาการ และมีความรู้ทางศาสนา จากบรรดาบรรพบุรุษผู้ทรงเกียรติของท่าน(อฺ) ปัญหาในด้านต่างๆ ที่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นข้อซักถามท่านอิมามญะวาด(อฺ) นั้นมีมากมายหลายคำถามซึ่งถ้าหากเราได้พิจารณาการแสดงทัศนะโต้ตอบที่ท่านอิมามญะวาด(อฺ) มีกับยะฮฺยา บินอักษัมแล้ว เราจะพบว่า มันได้แตกออกเป็นปัญหา

ปลีกย่อยมากมาย กล่าวคือในประเด็นที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับการที่ผู้ครองเอียฮฺรอมทำการล่าสัตว์ก็มีรายละเอียดต่างๆ หลายแง่มุม เช่นเดียวกับที่ท่านอิมามญะวาด(อฺ)ได้แสดงทัศนะกับ

ปัญหาข้อที่สอง

๗๑

กล่าวคือ มีทั้งปัญหาประเภทที่อิมาม(อฺ)ได้รับมาอย่างนี้ ขณะเดียวกันก็ยังมีประเภทที่สามารถให้คำตอบในทันที่ว่า ‘ใช่หรือไม่ใช่’

ท่านอัลลามะฮ์มัจญ์ลิซี(ขอความเมตตาจากอัลลอฮฺพึงประสบแด่ท่าน) ได้กล่าวไว้ในหนังสือบิฮารุ้ลอันวารฺ เล่ม ๑๒ หน้า ๑๒๒. คำตอบต่างๆ นั้นสามารถวิเคราะห์ได้หลาย

แง่มุม ดังนี้

๑. คำกล่าวนี้เป็นไปในลักษณะ ‘พูดเกินจริง’ (มุบาละเฆาะฮฺ) ในเรื่องของจำนวนคำถาม

และคำถาม ถ้าเป็นไปตามนั้นก็ยากต่อความเข้าใจ

๒. เป็นไปได้ที่ว่าในหมู่ชนต่างๆ มีคำถามมากมายแต่เนื้อหาตรงกัน ดังนั้นเมื่อท่าน (อฺ) ให้คำตอบข้อซักถามของคนหนึ่งก็เท่ากับให้คำตอบแก่คนทั้งหมดไปด้วย

๓. เป็นคำชี้แจงที่ให้เนื้อหาอย่างมากมาย ทั้งๆ ที่มาจากประโยคคำพูดที่รวบรัดอันรวมไปถึงหลักการตอบบทบัญญัติศาสนา

๗๒

๔. ความหมายที่ว่า ‘การประชุมครั้งหนึ่ง’ นั้น อาจหมายถึง ‘การประชุมในลักษณะเดียวกัน’ หรือ ‘การประชุม’ ณ สถานที่เดียวกันถึงแม้วันเวลาจะต่างกันก็ตาม’

๕. ท่านอิมามญะวาด (อฺ) ได้แสดงความสามารถพิเศษในการให้คำ

ประทานคัมภีร์ให้แก่ฉันและทรงแต่งตั้งให้ฉันเป็นนบีแล้ว”

(มัรยัม: ๒๗-๓๐)

และอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ยังได้ประทานอำนาจ(การเป็นนบี)ให้แก่ท่านนบียะฮฺยา(อฺ)บุตรของนบีซะกะริยา(อฺ)ในขณะที่ยังเป็นเด็กอีกเช่นกัน

ดังมีโองการว่า :

“และเราได้ประทานอำนาจให้แก่เขาในขณะที่ยังเป็นเด็ก”

(มัรยัม: ๑๒)

๖. อันเนื่องมาจากผ่านมาหลายยุคหลายสมัย พวกศูฟีเป็นผู้กระทำขึ้นมาเอง ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่อุตริขึ้น

 ท่านมุฮัมมัด ตะกีฮุจญะตุลอิสลามได้กล่าวไว้ในหนังสือ

 ‘ศ่อฮีฟะตุ้ลอับรอรฺ’ เล่ม ๒ หน้า ๓๐๐. ว่า

ส่วนหนึ่งจากบรรดาคำถามที่ท่านตอบสั้น ๆอย่างรวบรัดมีดังต่อไปนี้ ท่าน(อฺ)ถูกถาม

ว่า

๗๓

ถาม : ความหมายของอักษร ‘กอฟ’ เป็นอย่างไร?

ตอบ : หมายถึงชื่อของภูเขาที่โอบล้อมโลก

ถาม : อักษร ‘ศอด’ หมายความว่าอย่างไร?

ตอบ : หมายถึงตาน้ำที่อยู่เบื้องล่างของบัลลังก์อะรัช

ถาม : ความหมาย ‘นาม’ เป็นอย่างไร?

ตอบ : ลักษณะโดยรวมของสิ่งที่ถูกกล่าวถึง

ถาม : อนุญาตให้เช็ดบนรองเท้าสองข้างได้หรือไม่ ?

ตอบ : ไม่ได้

ถาม : จะตักบีรในนมาซมัยยิตกี่ครั้ง ?

ตอบ : ๕ ครั้ง

ถาม : ในนมาซวาญิบให้อ่านซูเราะฮฺด้วยหรือ ?

ตอบ : ใช่แล้ว

ต่อไปนี้ เราจะนำเรื่องราวเกี่ยวกับการตอบคำถามโดย

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)มาเสนอเพียงบางประการ

๗๔

ถาม-ตอบ

เรื่องที่ ๑

เมื่อผ่านพ้นสมัยของท่านอิมามริฏอ(อฺ)แล้ว ท่านมุฮัมมัด บินญุมฮูร อัล-กุมมี ท่านฮะซันบินรอชิด ท่านอฺะลี บินมัดร็อก

 และท่านอฺะลี บินมะฮฺซียาร รวมทั้งประชาชนในบ้านเมืองต่างๆ อีก

จำนวนหนึ่งเดินทางมายังนครมะดีนะฮฺ คนเหล่านั้นได้ถามเกี่ยวกับบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งสืบต่อหลังจากท่านอิมามริฏอ(อฺ)

พวกเขาได้กล่าวว่า “ต้องเป็นชาวบัศรีย์”

 (เมืองหนึ่งซึ่งอิมามมูซาบินญะอฺฟัรได้ก่อตั้งขึ้น ห่างจากนครมะดีนะฮฺ ๓ ไมล์)

เขาเหล่านั้นได้กล่าวว่า :

ครั้นเมื่อเรามาถึงและได้เข้าสู่วัง ขณะนั้นคนทั้งหลายกำลังอยู่ในสภาพโกลาหลอลหม่าน

เราจึงได้เข้าไปนั่งร่วมกับพวกเขา บัดนั้นเองท่านอับดุลลอฮฺ บินมูซา ซึ่งอยู่ในวัยอาวุโสได้ออกมาพบกับพวกเรา คนทั้งหลายกล่าวขึ้นว่า

“นี่แหละคือประมุขของเรา”

บรรดานักปราชญ์ฟุก่อฮาอ์ได้กล่าวขึ้นว่า

“แน่นอน ! เราได้รับคำสอนจากท่านอะบูญะอฺฟัร และท่านอะบู อับดุลลอฮฺ(อฺ) ว่า ตำแหน่งอิมามนั้นจะต้องไม่บังเกิดแก่พี่น้องสองคนติดต่อกัน นอกจากท่านฮะซัน(อฺ)กับท่านฮุเซน(อฺ) เท่านั้น

๗๕

 ดังนั้นท่านผู้นี้จะเป็นประมุขของเรามิได้”

แล้วท่านอับดุลลอฮฺ บินมูซา ก็ได้มานั่งตรงหน้าที่ประชุม ชายคนหนึ่งได้ลุกขึ้นถามว่า

“ท่านจะกล่าวอย่างไรในเรื่องของผู้ชายคนหนึ่งที่กระทำวิตถารทางเพศกับลาตัวเมีย?”

เขาตอบว่า

“ต้องตัดมือของเขา ต้องเฆี่ยนตีเขา และต้องเนรเทศเขาไปจากบ้านเมือง”

มีชายอีกคนกลุ่มลุกขึ้นถามต่อไปว่า

“ท่านจะกล่าวอย่างไรในเรื่องของชายคนหนึ่งที่หย่าร้างกับภรรยาของตนเท่าจำนวนของดวงดาวบนท้องฟ้า?”

เขาตอบว่า

“เขาจะอยู่ท่ามกลางนกเหยี่ยว และอยู่ท่ามกลางนกอินทรีย์”

ปรากฏว่าพวกเราตื่นตะลึงในคำตอบที่ผิดพลาดของเขา ครั้นแล้วท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)ก็ได้ เดินออกมาหาพวกเรา

 ขณะนั้นท่าน(อฺ)มีอายุเพียง ๘ ปี พวกเราลุกขึ้นแสดงความคารวะต่อท่าน(อฺ)

ท่าน(อฺ)ได้ให้สลามกับประชาชน และแล้วท่านอับดุลลอฮฺ บินมูซา ก็ได้ลุกขึ้นจากที่นั่งของตนแล้ว

๗๖

กลับมานั่ง ณ เบื้องหน้าของท่าน(อฺ) ท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)ได้นั่งต่อหน้าที่ประชุมแล้วกล่าวว่า

“ท่านทั้งหลายจงตั้งคำถามมาเถิด ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเมตตาต่อพวกท่าน”

ชายคนแรกได้ลุกขึ้นถามท่าน(อฺ)ว่า

“ท่านจะว่าอย่างไรในเรื่องของชายคนหนึ่งที่กระทำวิตถารทางเพศกับลาตัวเมีย ?”

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“ให้ตีเขา และให้เขาเสียค่าปรับตามราคาของลาตัวนั้น และถือว่าการใช้งานลาตัวนั้น ตลอดทั้งลูกของลาตัวนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม และให้นำมันออกไปให้ไกลจนกระทั่งถึงที่ที่สนัขป่ากัดกินมัน

เสีย”

หลังจากนั้นท่านอิมามญะวาด(อฺ)ได้โต้แย้งคำตอบจาก

ท่านอับดุลลอฮฺ บินมูซา ว่า

“โอ้ท่านเอ๋ย สำหรับชายคนนั้นที่เขาขุดหลุมฝังศพหญิงคนหนึ่งที่ตายไป แล้วเขาขโมยผ้ากะฝั่นชองนาง และกระทำชำเราต่อซากศพนั้นกล่าวคือจำเป็นที่เขาจะต้องถูกตัดมือเพราะเหตุว่าขโมย จำเป็นจะต้องถูกเฆี่ยนตี เพราะเหตุว่าล่วงประเวณี และจะต้องเนรเทศไปให้ไกล ถ้าหากเขาเป็นคนโสด แต่ถ้าหากเขาเป็นคนมีคู่ครองแล้ว จำเป็นจะต้องประหารชีวิตและขว้างจนตาย”

๗๗

ชายคนที่สองกล่าวอีกว่า

“โอ้บุตรของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ท่านจะว่าอย่างไรในเรื่องของชายคนหนึ่งที่หย่าร้างกับภรรยาของตนหลายครั้งเท่าจำนวนดวงดาวในท้องฟ้า ?”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“ท่านเคยอ่านอัล-กุรอานหรือไม่ ?”

ชายคนนั้นตอบว่า

“เคยอ่านครับ”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ) กล่าวว่า

“ท่านจงอ่านซูเราะฮฺ อัฏ-ฏ่อลาก ไปจนถึงโองการที่ว่า :

“และสูเจ้าจงดำเนินการตั้งพยานยืนยันเพื่ออัลลอฮฺเถิด”

(อัฏ-ฏ่อลาก: ๒)

โอ้ท่านเอ๋ย การฏ่อลาก (หย่า) จะยังใช้ไม่ได้ นอกจากจะมีองค์ประกอบ ๕ ประการ นั้นคือ

จะต้องมีพยานที่เที่ยงธรรมตามหลักศาสนายืนยัน ๒ คน นางจะต้องอยู่ในสภาพที่สะอาดโดยมิได้ผ่านการร่วมประเวณี(ในช่วงรอบเดือนนั้น ๆ) จะต้องเป็นไปด้วยเจตนารมณ์และความตั้งใจอย่าง

แท้จริง”

๗๘

หลังจากผ่านคำตอบไปแล้ว ท่าน(อฺ)ได้กล่าวอีกว่า

“โอ้ท่านเอ๋ย ท่านเคยพบเห็นว่าในอัล-กุรอานระบุถึงจำนวนดวงดาวในท้องฟ้ากระนั้นหรือ?”

ชายคนนั้นตอบว่า

“ไม่เคยพบ”

( บิฮารุ้ลอันวารฺ เล่ม ๑๒ หน้า ๑๑๙ )

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๒

ท่านอะฮฺมัด บินอะบีดาวูด หัวหน้าผู้พิพากษาในสมัยของ

ค่อลีฟะฮฺอัล-มุอฺตะศิมได้กล่าวว่า:

แท้จริงมีโจรคนหนึ่งมาสารภาพผิด และขอร้องให้ท่านค่อลีฟะฮฺดำเนินการชำระโทษด้วยการลงโทษเขา

 ครั้นแล้วบรรดานักฟุก่อฮาอ์ก็ได้เข้ามาร่วมด้วย พวกเราได้ซักถามกันถึงเรื่องหลักการตัดมือ ‘ตำแหน่งที่ตัดนั้นอยู่ ณ ตรงไหน’

ข้าพเจ้าให้ความเห็นว่า “จะต้องตัดตรงข้อมือ”

เขากล่าวว่า “หลักฐานในข้อนี้เป็นอย่างไร?”

๗๙

ข้าพเจ้าตอบว่า

“เพราะว่ามือนั้นหมายถึงนิ้วทั้งหมด และรวมถึงฝ่ามือ ไปจนถึงข้อมือ ดังที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการไว้ในเรื่องการทำตะยัมมุมว่า :

“......ดังนั้นจงลูบที่ใบหน้าและมือทั้งสองข้างของสูเจ้า....”

(อัน-นิซาอ์: ๔๓)

ปรากฏว่ามีคนพวกหนึ่งเห็นด้วยกับข้าพเจ้าในข้อนี้ แต่อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า จำเป็นจะต้องตัดที่ข้อศอก เพราะอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการไว้ในเรื่องการทำวุฏูอ์ว่า :

“....และมือของสูเจ้าถึงข้อศอก....”

(อัล-มาอิดะฮฺ: ๖)

แสดงให้เห็นว่า ขอบเขตของมือคือข้อศอกด้วย”

เขาจึงหันไปถามความเห็นของท่านมุฮัมมัด บินอฺะลี(อฺ) ว่า

“โอ้ ท่านอะบูญะอฺฟัร ท่านจะกล่าวอย่างไรในเรื่องนี้”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวตอบว่า

“คนเหล่านั้นได้พูดถึงเรื่องนี้ไปแล้ว โอ้ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน”

เขากล่าวว่า

“ฉันไม่สนใจในสิ่งที่คนเหล่านั้นพูด แต่ฉันอยากรู้ว่า ท่านจะกล่าวอย่างไร ?”

๘๐

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130