สุนทโรวาทอิมามอะลี

สุนทโรวาทอิมามอะลี75%

สุนทโรวาทอิมามอะลี ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดฮะดีษ
หน้าต่างๆ: 62

สุนทโรวาทอิมามอะลี
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 62 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 56993 / ดาวน์โหลด: 5364
ขนาด ขนาด ขนาด
สุนทโรวาทอิมามอะลี

สุนทโรวาทอิมามอะลี

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

สุนทโรวาทของอิมามอะลี (อ.)

จากหนังสือ “นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์

จัดพิมพ์โดย สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม

คำนำ

ท่านอิมามอะลี (อ.) เป็นบุตรเขยของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ท่านเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของอิสลาม มิใช่เพียงแต่เป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่เท่านั้น แต่ท่านยังเป็นนักบุญผู้ยิ่งใหญ่อีกด้วย และท่านได้พลีอุทิศตนเพื่อรับใช้อิสลามในช่วงสมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และตลอดชั่วชีวิตของท่าน

ในสมัยก่อนประเทศอาหรับมีชื่อด้านวาทะศิลป์ ท่านอิมามอะลี (อ.) เองก็เป็นนักพูดที่ยอดเยี่ยมที่สุดท่านหนึ่ง ถ้อยคำสุนทรพจน์และสุนทโรวาทต่างๆ เหล่านี้ถูกรวบรวมไว้ในฐานะที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า

“นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์” ซึ่งถูกรวบรวมไว้โดยนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งคือท่าน ซัยยิด ริฎอ

เพื่อเป็นคุณประโยชน์แก่บุคคลทั่วไปที่ไม่มีโอกาสที่จะศึกษาได้จากผลงานอันยิ่งใหญ่นั้น

นักปราชญ์ส่วนมากจึงได้รวบรวมจัดพิมพ์ขึ้นต่างหาก เป็นการประมวลประโยคสั้นๆ ที่ได้คัดเลือกมาจากบทเทศนาและคติพจน์ในโอกาสต่างๆ ของท่านอิมามอะลี (อ.) มารวมไว้เป็นสุภาษิตหรือคติสอนใจ

 การรวบรวมครั้งแรกคือผลงานของ อบูอุสมาน อุมัร บินบะฮาร์ อัลญาอิซ อัลบัสริ เสียชีวิตในปี ฮ.ศ. ๒๔๔

ได้รวบรวมคติพจน์ต่างๆ ไว้ ๑๐๐ บท ในหนังสือ “มัยติกะลิมะฮ์” หนังสือดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในอียิปต์

ความพยายามของอีกท่านหนึ่งในการรวบรวมคติพจน์ดังกล่าวที่รู้จักกันในนามของหนังสือ “นัศรุลเลาลิ” โดยท่าน ซัยยิด อิมามซัยนุดดีน

อบูอัรริฎอ ฟัศรุลลอฮ์ หุซัยนี รอวันดี หนังสือเล่มนี้บรรจุคติพจน์ต่างๆ ของท่านอิมามอะลี (อ.) ไว้ถึง ๑, ๐๐๐ คติพจน์ และถูกจัดพิมพ์ขึ้นในกรุงเดลฮี (ประเทศอินเดีย)

การรวบรวมครั้งที่ ๓ รู้จักกันในนามหนังสือ

 “ฆุรอรุลฮิกาม วะดุรรอรุลกิลาม” โดยท่าน อับดุลวะฮีด บินมุฮัมมัด วะฮีดอะมีดิ อุลตะมีมิ หนังสือเล่มนี้บรรจุคติพจน์และสุภาษิตต่างๆ ของ

อิมามอะลี (อ.)ไว้หลายพันบท

 ในบทนำของหนังสือ ผู้รวบรวมได้เขียนไว้ว่า การรวบรวมของเขาเปรียบเสมือน “น้ำเพียงฝ่ามือเดียวที่ดึงออกมาจากสายธารใหญ่”

อีกประการหนึ่ง ย่อมเป็นไปไม่ได้ในการแปลถ่ายทอดใดๆ ที่จะทำให้มีอรรถรสและคุณภาพเหมือนอย่างต้นฉบับภาษาอาหรับ บรรดาผู้รู้ที่แตกฉานในภาษาอาหรับเท่านั้นที่จะซาบซึ้งในความเป็นเลิศของการใช้ภาษาของท่านอิมามอะลี (อ.) ในสำนวนอันสละสลวยของภาษาอาหรับที่คติพจน์ต่างๆ เหล่านั้นได้แฝงเร้นอยู่ แต่จำนวนของผู้รู้ภาษาอาหรับถึงขั้นแตกฉานนั้นก็มีน้อยคน ส่วนผู้ที่ไม่รู้ภาษาอาหรับก็ต้องอาศัยจากฉบับที่แปลมาเป็นภาษาต่างๆ

นาย เจ. เอ. แซทแมน ได้ถ่ายทอดวรรณกรรมอันยิ่งใหญ่นี้ออกมาเป็นภาษาอังกฤษให้กับประชาชน ผู้ใช้ภาษาอังกฤษโดยกำเนิด ท่านได้รับความช่วยเหลือจากหลายๆ ท่านที่ช่วยทำความเข้าใจให้กับท่านในความหมายของคติพจน์จากภาษาอาหรับที่เป็นต้นฉบับเดิม

ส่วนการถ่ายทอดเป็นภาษาอังกฤษนั้นเป็นของท่านเองล้วนๆ และได้รับการตรวจทานเปรียบเทียบอย่างระมัดระวังกับต้นฉบับภาษาอาหรับ

 ข้าพเจ้าอาจกล่าวได้ว่าการแปลครั้งนี้นับว่าดีที่สุดในภาษาอังกฤษเท่าที่ข้าพเจ้าได้เคยเห็นมา หนังสือนี้มีคุณค่าใหญ่หลวงแก่บรรดาผู้อ่าน โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติและลัทธิทางศาสนา ทั้งนี้เพราะคติพจน์และสุนทโรวาทต่างๆ เหล่านี้ได้บรรจุไว้อย่างที่ไม่อาจปฏิเสธได้ซึ่งสัจธรรมอันเป็นนิรันดร์

ซัยยิด อบูมุฮัมมัด

สุนทรโรวาทอิมามอะลี

• ฉันไม่เคยสงสัยคลางแคลงในพระผู้เป็นเจ้าเลย ในเมื่อฉันได้เห็นพระองค์

• ฉันไม่เคยปฏิเสธพระผู้เป็นเจ้าเลย ในเมื่อฉันได้รู้จักพระองค์

• ผู้ใดรักตัวเขาเอง ผู้นั้นรู้จักพระผู้สร้างของเขา

• ศักดิ์ศรีอันรุ่งโรจน์พบได้ในการรับใช้พระผู้สร้าง ผู้แสวงหามันจากสิ่งถูกสร้างย่อมจะไม่พบมัน

• ถ้าท่านรักพระผู้เป็นเจ้า ก็จงสลายความหลงรักโลกนี้จากจิตใจของท่านเสีย

• โอ้พระผู้เป็นเจ้า มันช่างกว้างใหญ่ไพศาลเสียเหลือเกินในสิ่งที่เราได้ประจักษ์ถึงการสร้างสรรค์ของพระองค์ แต่ทว่ามันช่างเล็กน้อยเสียนี่กระไรเมื่อได้เปรียบเทียบกับสรรพสิ่งซึ่งอำนาจของพระองค์ได้ทรงซ่อนเร้นไว้

• จงเกรงกลัวพระผู้เป็นเจ้า เพราะพระองค์ทรงได้ยินทั้งหมดที่ท่านพูด และทรงรอบรู้ในความนึกคิดทั้งหมดของท่าน

• การยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้า จักทำให้บุคคลปลอดภัย

• ออกไป! ออกไป! เป็นเพราะความเกรงกลัวต่อพระผู้เป็นเจ้า หากไม่แล้ว ฉันจะเป็นคนที่ฉลาดแกมโกงที่สุดในหมู่ชาวอาหรับทั้งมวล

• ฉันจะไม่แนะนำชักชวนท่านให้เคารพเชื่อฟังพระผู้เป็นเจ้า ก่อนที่ตัวฉันเองจะได้เคารพเชื่อฟังพระองค์ ฉันจะไม่ห้ามปรามพวกท่านในเรื่องการทำบาปทั้งปวง หากฉันมิได้ห้ามปรามตัวฉันเองก่อน

• พระผู้เป็นเจ้าจะทรงประทานความเมตตาแก่บุคคลที่ควบคุมความโน้มเอียงแห่งอารมณ์ของเขา ที่จะนำไปสู่ความไม่เชื่อฟังและละเมิดขัดขืน

• ความโปรดปรานเบื้องบนจะโปรยปรายลงสู่บุคคลผู้ซึ่งฟื้นฟูสัจธรรม ผู้พิฆาตความหลงผิด ผู้กระชากอำนาจของทรราชที่กดขี่ให้ต่ำลง และเชิดชูความยุติธรรมให้สูงส่ง

การอุทิศเพื่อพระผู้เป็นเจ้า

• รูปแบบที่ดีที่สุดของการพลีอุทิศเพื่อรับใช้พระผู้เป็นเจ้า คือการกระทำที่ไม่โอ้อวดโลกนี้

• ความเพียบพร้อมสมบูรณ์ไม่ใช่ของโลกนี้

• โลกนี้มิใช่อะไรอื่น เว้นแต่เป็นเงาของเมฆก้อนหนึ่ง และเป็นความฝันของคนหลับ ความปีติสุขและความโศกเศร้าระคนกัน น้ำผึ้งและยาพิษ

• ทรวงอกของโลกนี้ คือความตาย และเบื้องหลังของมัน คือความเจ็บไข้ได้ป่วย

• ผู้อาศัยทั้งปวงของโลกนี้ เป็นเพียงฝูงสุนัขที่เห่าหอนและสรรพสัตว์ที่รบกวนน่ารำคาญ ตัวหนึ่งกรรโชกเข้าใส่อีกตัวหนึ่ง ตัวแข็งแรงกัดกินตัวที่อ่อนแอ ตัวใหญ่สยบตัวน้อย พวกเขาเหล่านั้นเป็นประดุจดังปศุสัตว์ที่แบกสัมภาระ บ้างก็ถูกใส่บังเหียนควบคุมไว้ บ้างก็ถูกปล่อยอย่างอิสระ

• ขอสาบานด้วยพระนามของงอัลลอฮ์ว่า โลกนี้ในสายตาของฉันน่าจะถูกประณามเสียยิ่งกว่ากระดูกของหมูที่ปราศจากเนื้อ ในมือของคนขี้เรือนมันน้อยนิดเสียยิ่งกว่าใบไม้ใบหนึ่งในปากตั๊กแตนตัวหนึ่ง

• โลกนี้คือสถานที่พำนักที่ถูกล้อมรอบไว้ด้วยเครื่องมือลงโทษดุจแส้ และถูกสุมกองไว้ด้วยการทรยศคดโกงทุจริต สภาพของมันหากไม่อดทนอดกลั้นอย่างยิ่งแล้ว ผู้คนทั้งหมดที่เขาไปหามันจะพินาศย่อยยับ

• โลกนี้คือที่อาศัยที่กำลังเสื่อมทรามลงตามผู้อยู่อาศัยของมัน ที่ซึ่งพระบัญญัติถูกผสมปนเปด้วยสิ่งที่ผิดพระบัญญัติ ความดีผสมปนเปกับความชั่ว ความหวานชื่นผสมปนเปกับความข่มขื่น

• จงมองโลกนี้ด้วยสายตาของนักการศาสนาผู้สันโดษ มิใช่เหมือนเช่นบุคคลที่หลงรักคลั่งไคล้มันอย่างตาบอด

• โอ้โลก! ไปหลอกลวงผู้อื่นเถิด ฉันไม่ต้องการเจ้า ฉันได้ตัดขาดเจ้ามาสามครั้งแล้ว ฉันจะไม่แต่งงานกับเจ้าอีกต่อไปแล้ว

• โลกนี้ประดุจดังอสรพิษ สัมผัสของมันนิ่มนวล แต่การกัดของมันถึงกับตาย

มนุษย์

• มนุษย์เป็นสิ่งประหลาดมหัศจรรย์เสียเหลือเกิน เขามองเห็นได้ด้วยกับการช่วยเหลือของวัตถุทึบหนักแน่นหนาจำนวนมากมาย เขาพูดได้ด้วยกับการช่วยเหลือของเนื้อนิ่ม เขาได้ยินได้ด้วยกับการช่วยเหลือของชิ้นส่วนต่างๆ ของกระดูก และเขาหายใจเข้าออกได้ด้วยกับการช่วยเหลือของคอหอย

• ลูกหลานของอาดัมช่างขัดสนข้นแค้นเสียนี่กระไร เขาไม่รู้ช่วงแห่งวันทั้งหลายของเขา ไม่เข้าใจความเจ็บไข้ได้ป่วยของเขา การดัดต่อยของตัวเห็บก็จะทำให้เขาเจ็บปวดทรมานได้ เขาดมกลิ่นสาปเหงื่อไคลและไอจนถึงตาย

• โอ้ลูกหลานของอาดัม จะบังอาจคุยโม้ได้อย่างไร? ผู้ที่เริ่มต้นในฐานะเชื้อจุลินทรีย์ แล้วจบลงในฐานะซากศพ ผู้ที่ไม่สามารถชุบเลี้ยงตัวเองได้และไม่อาจหนีความตายได้?

• ทุกๆ วัน ทูตสวรรค์องค์หนึ่งจะร้องตะโกนว่า “โอ้มนุษย์ ผู้อยู่เบื้องล่างนั้นผลิตลูกหลานออกมาเพื่อตาย ก่อสร้างขึ้นมาเพื่อถูกทำลาย พวกท่านรวมตัวกันเพื่อการจำพราก”

ชีวิต

• ท่านจะปีติชื่นชมในชีวิตที่กำลังหดสั้นเข้าทุกๆ โมงยามได้อย่างไร?

• โอ้! ชั่วโมงทั้งหลายที่รีบเร่งเปลี่ยนไปเป็นวัน วันทั้งหลายไปสู่เดือนทั้งหลาย เดือนทั้งหลายไปสู่ปีทั้งหลาย และเวลาที่เปลี่ยนแปลงทั้งหลายเหล่านั้นเข้าไปสู่การทำลายล้างของชีวิตได้อย่างไร?

• บุคคลเหล่านั้นไปอยู่เสียที่ไหน? ผู้ที่เคยมีชีวิตยาวนานกว่าของท่าน บุคคลเหล่านั้นไปอยู่เสียที่ไหน? ผู้ที่ได้ละทิ้งอนุสรณ์สถานที่ใหญ่ที่สุดเอาไว้ ได้ก่อสร้างอาคารป้อมปราการ ได้เคยจัดองค์กรและประดับประดาตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจง ไหนเล่าบรรดาผู้สั่งสมเหล่านั้น? ไหนเล่าผู้ที่วางแผนการณ์เหล่านั้น? กิสเราะฮ์อยู่ไหน? กัยสัร ตุบบา และฮิมยาร์อยู่ไหนเล่า?

• ความรุ่งโรจน์ทั่วทั้งโลก มิอาจถูกทำลายได้ด้วยความเสื่อมลงของโมงยาม• ความหวานชื่นแห่งชีวิตนี้อยู่ที่การแจกจ่ายให้ไปด้วยระเบียบวินัย

• ความพึงพอใจแห่งชีวิตนี้ เปรียบประดุจดังเงาของท่านเอง หากท่านหยุดมันก็หยุด หากท่านพยายามที่จะล้ำหน้ามัน มันก็จะเคลื่อนห่างออกไป

• เรื่องราวของชีวิตอันยาวนาน คือโรคภัยและความแก่ชราและอ่อนแอลง

• ผู้ใดมีชีวิตยาวนาน จะต้องคร่ำครวญให้แก่มิตรสหายของเขา

• ชีวิตคือศัตรูที่ท่านมิได้ก้าวร้าว ซึ่งท่านมิได้กดขี่ แต่มันกดขี่ท่าน ซึ่งท่านไม่เคยโจมตีมัน แต่มันโจมตีท่าน

• ชีวิตคือยาพิษที่บุคคลซึมซับมันไว้ หากผู้นั้นไม่รู้จักว่ามันคือยาพิษชนิดหนึ่ง

• ผู้ใดก็ตามที่เขายึดติดอย่างเหนียวแน่นอยู่กับชีวิตของเขาเอง ก็ย่อมจะเปิดตัวของเขาให้กลายเป็นเป้าของความโชคร้าย และความผันผวนแห่งชะตากรรม

• ความบกพร่องสามประการที่ทำให้ชีวิตไม่สามารถลงรอยกันได้ คือความพยาบาทเคียดแค้น ความอิจฉาริษยา และอุปนิสัยที่ชั่วร้าย

• ในความผันผวนของชีวิตเท่านั้น ที่บุคคลจะตัดสินคุณค่าของมนุษย์คนอื่นได้

• ชีวิตโลกนี้และชีวิตโลกหน้า เปรียบเสมือนคนที่มีภรรยาสองคน ในขณะที่ฝ่ายหนึ่งได้รับความพึงพอใจนั้น ย่อมหมายถึงความทุกข์ระทมของอีกฝ่ายหนึ่ง

• วันเหล่านั้นของท่านที่หมดไปแล้วย่อมผ่านเป็นอดีต วันเหล่านั้นที่กำลังคืบคลานมายังสงสัยอยู่เพราะฉะนั้นจงทำการงานในขณะที่ยังคงมีเวลาอยู่

• ความหยิ่งผยองที่มีต่อการครอบครองทรัพย์สมบัติอันเป็นสิ่งที่ไม่จีรัง ก่อกำเนิดมาจากความโง่เขลาเบาปัญญา

• จงคิดถึงการสิ้นสุดของมัน ความสุขในตัวของมันเองนั้นมีเพียงชั่วครู่ยาม ในขณะที่มีความชื่นชม

ยินดีอยู่กับสิ่งดีงามใดๆ จงนึกถึงความไม่จีรังของมันอยู่เสมอๆ

• ไม่มีความสุขทางโลกใดๆ เว้นเสียแต่จะต้องติดตามมาด้วยน้ำตา

• ที่ผ่านมาแล้วดูเหมือนว่าไม่เคยได้เกิดขึ้นมาเลย และอนาคตนั้นพร้อมแล้วที่จะเป็นไป

• การทดสอบที่แข็งกระด้างที่สุดคือสามสิ่งเหล่านี้ นั้นคือ การแบกภาระครอบครัวอันหนักอึ้ง ความขมขื่นของการเป็นหนี้สิน ความเจ็บไข้ได้ป่วยที่เรื้อรังยาวนาน

• โชคจากไปแม้เมื่อมันมา ชีวิตแตกร้าวถึงแม้มันประสานเข้าหากันแล้วก็ตาม

• เมื่อโชคหยิบยื่นแก่ท่าน มันให้ท่านยืมคุณสมบัติต่างๆ ของผู้อื่น และเมื่อมันหันหลังกลับไปจากท่าน มันก็ดึงเอาของของท่านไป

• หนึ่งในเครื่องหมายทั้งหลายของความโชคร้าย นั่นก็คือ การที่ต้องมีเพื่อนเลวจากคนต่ำทราม

๑๐

ความตาย

• ขณะที่ท่านมีชีวิต ท่านตาย

• ทุกลมหายใจของมนุษย์ คือการย่างก้าวไปสู่ความตาย

• ความตายรอคอยทุกสรรพสิ่งที่ถูกบังเกิดมาให้มีชีวิตอยู่ และทุกสรรพสิ่งต้องจบสิ้น

• ท่านคือเกมที่ความตายไล่ล่า ถ้าท่านยืนเฉยมันจะจับกุมท่าน ถ้าท่านหลบหนีมันจะไล่แซงท่าน

• มันน่าประหลาดใจที่ว่า ใครๆ ก็มักจะลืมความตาย ทั้งๆ ที่แม้จะเห็นกันอยู่ว่าจะต้องตายเหมือนคนอื่นก็ตาม

• คนที่รอคอยความตาย มักยอมตนให้กับการกระทำความดี

• ผู้ใดก็ตามที่ไม่ให้ความช่วยเหลือแก่พี่น้องของเขา จะถูกนับให้อยู่ในหมู่คนตาย

คนดี

• คนดีย่อมมีชีวิตอยู่ แม้เมื่อเขาถูกหามไปยังสุสานก็ตาม

• คนที่ดีที่สุด คือผู้ที่ให้ความช่วยเหลือรับใช้อย่างมากที่สุดแก่บรรดาผู้ที่มีฐานะเท่าเทียมกับเขา

• คนดี คือคนที่รู้จักคุณค่าในความสามารถของผู้อื่น

•คนดีขบถเพื่อต่อต้านความรุนแรงแต่แสดงตัวอย่างอ่อนโยนละมุนละไมและเป็นคนมีเหตุผล

๑๑

หากได้รับการปฏิบัติเป็นอย่างดี ส่วนคนเลวทรามหยาบช้าจะแข็งกระด้างและหยาบคาย เมื่อปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าความอ่อนโยนเมตตา แต่จะยอมหมอบราบคาบก็เฉพาะต่อหน้าความแข็งกร้าวเท่านั้น

• สิ่งหนึ่งที่ดีงามที่สุดในอากัปกิริยาของเสรีชน ก็คือการไม่ถือเอาความได้เปรียบในสิ่งที่เขารู้ว่าคนอื่นไม่มี

• บุคคลที่มีเกียรติ จะไม่แสดงตนโอหังในความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และหนักแน่นไม่ขยับเขยื้อนเหมือนภูเขาที่ถูกลมเหนือพัดกระหน่ำอย่างแรง ส่วนคนต่ำทรามถูกทำให้มัวเมาแม้ด้วยความสำเร็จเพียงเล็กน้อย อุปมาดั่งต้นหญ้าที่ต้องสั่นไหวแม้เพียงลมอ่อน

• สิ่งหนึ่งของความเจ็บปวดและลำบากใจที่สุดของคนดี ก็คือพันธะหน้าที่ที่จะต้องให้เกียรติแก่คนชั่วร้าย

• คนที่น่าสงสารที่สุด คือผู้รู้ที่อยู่ภายใต้คำสั่งของคนโง่เขลา คนที่มีธรรมชาติเป็นคนใจกว้างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แต่ต้องถูกชี้นำโดยคนละโมบโลภมาก และคนที่มีคุณธรรมแต่ต้องถูกบงการโดยคนชั่วมั่ว

โลกีย์

• มนุษย์ประดุจดังมวลไม้ต่างๆ แม้ว่าน้ำที่ราดรดลงไปจะเป็นน้ำอย่างเดียวกัน แต่ผลที่ออกมาไม่เหมือนกัน

• มวลมนุษย์กำลังหลับใหล พวกเขาจะตื่นเมื่อพวกเขาตาย

• ผู้ที่ถูกตำหนิแล้วไม่ทำผิดอีกเลยจะมีสักกี่คน?

๑๒

คนชั่ว

• คนเลวที่สุด คือคนที่เห็นตนเองดีที่สุด

• คนชั่วคิดว่าคนอื่นๆ ไม่มีใครดีเลย เขาจะคิดได้อย่างไรว่าคนอื่นๆ มีในสิ่งที่ตัวเขาเองไม่มี?

• คนที่ยึดถือตนเองเป็นใหญ่ จะมองไม่เห็นความบกพร่องของตนเอง แต่เขาควรจะได้เรียนรู้ถึงความดีเลิศของอุปนิสัยของคนอื่นๆ เขาจะถูกทำให้รู้สึกผิดจากสิ่งที่เขารู้สึกในขณะนี้ว่า ในตัวเขาขาดสิ่งนั้น

• คนที่เลวที่สุด คือคนที่หลงใหลในความชั่วมั่วโลกีย์ โดยยึดถือว่าเป็นสิ่งหอมหวานชวนชื่นที่สุด

และมิได้ยับยั้งรั้งรอต่อความเกรงกลัวที่จะต้องเกลือกกลั้วกับสิ่งเลวร้ายนั้นเลย

• คนที่น่ารังเกียจที่สุด คือผู้ที่ตอบแทนความดีด้วยความชั่ว และผู้ที่น่ายกย่องที่สุด คือผู้ที่ตอบแทนแก่คนเลวด้วยการปฏิบัติอย่างโอบอ้อมอารี

• จงรีบเร่งอย่างเร่งด่วน เพื่อหลบหนีไปจากคนชั่วร้ายและคนหลงโลก

• พิษร้ายของชาติ คือนักปราชญ์ผู้ชั่วร้าย และผู้ปกครองที่ดกขี่ คือพิษร้ายแห่งความยุติธรรม

• คนที่น่ารังเกียจที่สุดในสายตาของพระผู้เป็นเจ้า คือคนเข็ญใจที่หยิ่งผยองหนึ่ง คนแก่ที่ล่วงละเมิดประเวณีหนึ่ง และนักปราชญ์ที่หลงระเริงสุรุ่ยสุร่าย

๑๓

คุณธรรม

• เสื้อคลุมแห่งคุณธรรม เป็นเกียรติคุณอันสูงสุด

• คุณธรรมคือกุญแจไขสู่ความสำเร็จ

• บุคคลเป็นผู้ศรัทธา ตราบเท่าที่เขายังมีคุณธรรม

• หัวหน้าของบรรดาคุณธรรม คือการควบคุมและระงับยับยั้งอารมณ์ต่างๆ ได้

ความชั่วร้าย

• คนชั่วร้ายชอบที่จะสนับสนุนความชั่วของคนอื่นๆ และจะมีข้อแก้ตัวอย่างมากมายสำหรับความชั่วของตนเอง

• ความชั่วที่น่าเกลียด คือการตกลงไปสู่ความไม่ดีงามของคนๆ หนึ่ง ซึ่งข้อบกพร่องนั้นก็มีอยู่ในตัวท่านเองเหมือนกัน

• สิ่งหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความเลวร้าย นั้นก็คือการก้าวร้าวกับคนดี

การเรียนรู้

หนังสือทั้งหลาย คือสวนของผู้รู้

• ผู้คงแก่เรียนย่อมมีชีวิตอยู่ แม้ภายหลังการตายของเขา แต่คนโง่ย่อมตายแม้ขณะยังคงมีชีวิตอยู่

• นักปราชญ์ย่อมรู้จักคนโง่ เพราะแต่ก่อนนี้ตัวเขาเองเคยโง่มาก่อน แต่คนโง่ย่อมไม่รู้จักนักปราชญ์เพราะเขาไม่เคยเป็นเช่นนั้นมาก่อน

๑๔

• ผู้ใดก็ตามที่ใจจิตใจของเขาครุ่นคิดพิจารณาแต่ความคิดที่ดี ย่อมเรียนรู้ที่จะจำแนกแยกแยะจุดต่างๆ ของความผิดพลาด

• ผู้รู้ที่แท้จริง คือบุคคลที่เข้าใจว่าสิ่งที่เขารู้นั้น แท้จริงแล้วมีเพียงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่เขาไม่รู้

ความรู้

• ไม่มีขุมคลังใด เหมือนอย่างความรู้

• อาณาจักรแห่งความรู้นั้นไม่มีขอบเขต

• หัวหน้าของสติปัญญาอันเป็นพรสวรรค์ คือความรู้

• ความรู้นำไปสู่ปัญญา ด้วยเหตุนี้ผู้ที่ได้รับการศึกษาจึงเป็นคนฉลาด

• ความมั่งมีจะลดน้อยถอยลงด้วยการจับจ่ายใช้สอย ในขณะที่ความรู้จะถูกทำให้เพิ่มพูนด้วยการเผยแผ่

• สิ่งที่หายาก คุณค่าของมันย่อมเพิ่มมากขึ้น ยกเว้นความรู้ ยิ่งกระจัดกระจายออกไปมากเท่าใด มันก็ยิ่งมีค่ามากขึ้นเท่านั้น

• ที่สุดของทั้งสองสิ่งนี้ ที่ไม่อาจบรรลุถึงได้ คือความรู้และความเข้าใจ

• ด้วยความรู้ทำให้ท่านปลอดภัย ด้วยความโง่ทำให้ท่านขาดทุน

• สัจธรรมคือคลังสมบัติที่กว้างใหญ่ไพศาล ซึ่งมันไม่เคยถูกใช้ให้หมดสิ้นไปได้ สติปัญญาคือเสื้อคลุมตัวใหม่ซึ่งไม่มีวันเก่า

• เสื้อคลุมแห่งความรู้ จะทำให้ท่านเป็นอมตะและดูไม่แก่

• จงแสวงหาให้ได้มาซึ่งความรู้ มันเป็นอาภรณ์ประดับตัวท่านหากท่านเป็นคนร่ำรวย และมันจะชุบเลี้ยงท่านหากท่านยากจน

๑๕

• บุคคลที่ปลอดภัยที่สุดในความรู้ของเขา คือผู้ที่ความเชื่อมั่นทั้งหลายของเขาไม่ถูกทำให้อ่อนแอลงโดยความสงสัย

• ความรู้ที่เป็นประโยชน์ที่สุด คือสิ่งที่ผู้หนึ่งนำมันไปสู่การปฏิบัติ

• จงเลือกส่วนที่ดีที่สุดของวิทยากรแต่ละสาขา ให้เหมือนอย่างผึ้งที่ดูดส่วนที่ละเอียดอ่อนที่สุดของดอกไม้

• จงติดตามแสวงหาความรู้ ที่ท่านอาจจะควรค่าแก่ตำแหน่งที่มีเกียรติอันน่าเคารพยกย่อง

• จงค้นหาความรู้ จงทำให้ตัวท่านเองเป็นผู้ที่รู้จักโดยผ่ายทางความรู้นั้น จงปฏิบัติมันแล้วท่านจะกลายเป็นผู้รู้เช่นกัน

• ประสบการณ์ คือความรู้ที่ได้รับมา

• ผู้ขาดประสบการณ์ ย่อมถูกหลอกอยู่บ่อยๆ

• กษัตริย์ได้รับความเคารพนับถือเพราะอำนาจของพระองค์ นักปราชญ์ได้รับความเคารพนับถือ

เพราะสิ่งที่เขารู้ ผู้ที่ทำความดีได้รับความเคารพนับถือเพราะการทำความดีต่างๆ ของเขา และหัวหน้าเผ่าชนได้รับความเคารพนับถือก็เพราะอายุของเขา

• จะรู้จักคนอื่นได้อย่างไร หากบุคคลนั้นยังไม่รู้จักตนเอง?

• จงอย่าเกลียดในสิ่งที่ท่านไม่รู้ เพราะความรู้อันเป็นส่วนที่ใหญ่กว่านั้นประกอบด้วยสิ่งที่ท่านไม่รู้

• ถ้าท่านบิดบังซ่อนเร้นในสิ่งที่ท่านรู้ ท่านจะถูกทึกทักว่าท่านไม่รู้อะไรเลย

๑๖

• บุคคลควรไต่ถามถึงเรื่องที่ตนไม่รู้ ไม่ควรอายที่จะกล่าวว่า “ฉันไม่รู้”

• มนุษย์มักเป็นปฏิปักษ์กับสิ่งที่เขาไม่รู้

• ภัยร้ายของความรู้ คือการไม่ปฏิบัติตามความรู้นั้น ภัยร้ายของแรงงาน คือการทำงานแต่ไม่สุจริต

ใจ

• การขว้างวิทยาการทิ้งไป ก็เสมือนกับการทุบทำลายไม้ที่ต่อเรือลำหนึ่งออกเป็นชิ้นๆ ซึ่งบรรดา

ผู้สร้างเรือลำนั้นพร้อมด้วยผู้เดินทางทั้งหมดที่โดยสารไปกับมันต้องจมลงจนหมดสิ้น

• ความรู้เช่นนั้นถือว่าผิวเผินมาก ซึ่งหลงเหลืออยู่เฉพาะบนปลายลิ้นของท่านเท่านั้น คุณธรรม

ภายในและคุณค่าของความรู้ คือสิ่งที่ท่านยึดถือปฏิบัติไปตามนั้น

การศึกษา

• แท้จริงแล้ว ท่านมีความจำเป็นในการศึกษาที่ดี มากเสียยิ่งกว่าชัยชนะที่นำมาซึ่งเงินทองและ

ทองคำ

• การศึกษาที่ดี ปกปิดแหล่งกำเนิดอันต่ำต้อย

• ผู้ที่ได้รับการศึกษา ย่อมมองเห็นด้วยกับจิตใจและวิญญาณ คนโง่เขลานั้นมองเห็นก็แต่เพียงกับ

ดวงตาทั้งสองของเขาเท่านั้น

• จงฟัง แล้วท่านจะสอนตัวท่านเอง จงนิ่งสงบเงียบ แล้วท่านจะไม่เสี่ยงเลย

• อุทิศชีวิตแก่ศาสนาโดยมิได้รับการสั่งสอนอบรม ก็เหมือนกับลาสีข้าวที่เดินวนเวียนไปรอบๆโดยไม่อาจออกไปจากที่นั้นได้

๑๗

• ผู้ที่ไม่รู้จักเรียนรู้อะไรเลย ย่อมไม่เคยถูกสอนสั่ง

• ผู้ใดก็ตามที่ไม่อดทนต่อความยากลำบากในการถูกสั่งสอนอบรม จะอยู่ในความต่ำต้อยแห่งอวิชชาตลอดไป

• ครูและนักเรียนมีส่วนร่วมเท่าๆ กัน ในรางวัลของพระผู้เป็นเจ้า

• บุคคลย่อมเรียนรู้ได้ด้วยการถามปัญหาต่างๆ

• การสอนที่ดีที่สุด คือการสอนที่จะแก้ไขตัวท่านเองให้ถูกต้อง

• การสอนที่มิได้แก้ไขตัวท่านให้ถูกต้อง ย่อมอยู่ในแนวทางที่ผิดพลาด

• บุคคลที่มีความสามารถน้อยที่สุด คือบุคคลที่สำแดงตัวเขาเองให้ปรากฏว่าไม่สามารถแก้ไขตัวเองห้ถูกต้องได้

• ทำตัวท่านเองให้เป็นผู้รับใช้ผู้รู้คนใดก็ได้ที่ท่านพบเจอ

ปัญญา

• คนฉลาด ต้องการวันละชั่วโมงทุกๆ วัน เพื่อจัดการสำรวจตรวจสอบมโนธรรมของเขาเอง และวางมาตรการกับสิ่งที่เขาได้รับรู้หรือสูญเสียไป

• จิตใจเป็นแหล่งของปัญญา ด้วยกับการสดับฟังในฐานะที่เป็นช่องทางของมัน

• ปรัชญาเป็นพฤกษาที่เจริญเติบโตในจิตใจ และดอกผลของมันผ่านออกมาทางคำพูด

• ความศรัทธาและปัญญาเป็นพี่น้องฝาแฝด พระผู้เป็นเจ้าไม่ทรงรับสิ่งหนึ่งที่ปราศจากอีกสิ่งหนึ่ง โดยปัญญาที่ทำให้บุคคลบรรลุถึงยอดแห่งกิจการงานทั้งหลาย

• พระผู้เป็นเจ้ามิได้ทรงประทานสิ่งใดให้แก่บรรดาผู้ถูกบังเกิดของพระองค์ที่วางอยู่สูงกว่าเหตุผล

• แท้จริงผู้ที่เห็นไปก่อนล่วงหน้า จะไม่ถูกกับดักของเล่ห์กล คนฉลาดก็จะไม่ถูกหลอกลวงด้วย

๑๘

ความโลภ

• การไว้เนื้อเชื่อใจต่อบุคคลใดก่อนที่จะรู้จักเขาดี ถือว่าขาดสติปัญญา

• ความหลงใหลในโลกีย์วิสัยเกิดขึ้นน้อย ในขณะที่ปัญญาเพิ่มมากขึ้น

• คนฉลาดพึ่งพาแรงงานของเขาเอง ส่วนคนโง่ไว้วางใจในความคิดเพ้อฝันต่างๆ

• ปราชญ์แสวงหาความสมบูรณ์ คนโง่แสวงหาทรัพย์

• สมมุติฐานของคนฉลาด ย่อมใกล้เคียงความถูกต้องมากกว่าความรู้ของคนโง่

• มันเป็นส่วนของคนฉลาดที่จะต้องเชื่อฟังผู้มีตำแหน่งเหนือเขา ให้ความเคารพแก่ผู้ที่มีความเท่าเทียมกับเขา และให้ความยุติธรรมแก่ผู้ที่ด้อยกว่าเขา

• ความมั่งคั่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือความมั่งคั่งแห่งสติปัญญาและการวินิจฉัยที่ยุติธรรม ความยากจนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือความยากจนจากความโง่เขลาและอวิชชา ส่วนความไม่น่าคบที่สุด นั้นคือความไร้สาระ หยิ่งยโส คดโกง และยกย่องตนเอง ความสูงส่งที่สุดของความดีมีศีลธรรม คือความประพฤติอันสุภาพอ่อนโยนและความดีงามแห่งวัฒนธรรม

• คนฉลาดคิดก่อนแล้วพูด ส่วนคนโง่พูดก่อนแล้วคิด

สติปัญญา

• ผู้มีสติปัญญา คือบุคคลที่รู้ว่าจะอยู่อย่างไรในวันนี้ที่จะมีความสุขมากกว่าเมื่อวันวาน

• เกี่ยวกับคุณสมบัติที่ดีของมนุษย์ สองประการที่มีชื่อเสียงคือ สติปัญญาและถ้อยคำ โดยประการแรกเขาจะทำประโยชน์ให้แก่ตัวเอง และในประการที่สอง เขาจะทำให้คนอื่นได้รับประโยชน์

๑๙

• สติปัญญาเป็นพรสวรรค์ตามธรรมชาติ และเพิ่มพูนขึ้นด้วยประสบการณ์และการสอน

• ไม่มีใครเลยที่เป็นผู้ครอบครองสติปัญญา แล้วจะถูกลดลงมาสู่ความยากจน

• เขาเป็นผู้มีเกียรติ ผู้ซึ่งใช้สติปัญญาอยู่เป็นประจำ

การพิจารณาตรึกตรอง

• บุคคลที่ครุ่นคิดพิจารณาถึงความโปรดปรานทั้งหลายของพระผู้เป็นเจ้า ย่อมประสบความสำเร็จ

• การครุ่นคิดพิจารณาของมนุษย์ เป็นกระจกส่องให้ตัวเขาได้เห็นการกระทำที่ดีและชั่วของเขาเอง

• ผู้ใดก็ตามที่มีพลังแห่งความตรึกตรอง ย่อมได้บทเรียนจากทุกๆ สิ่ง

• เรื่องต่างๆ ที่มืดมัว จะกลับกลายเป็นความกระจ่างชัดในความเพียรและครุ่นคิดพิจารณา

• การกระทำในสิ่งที่ได้พิจารณาไตร่ตรองแล้วเท่านั้น ที่จะทำให้กิจการงานทั้งหลายของท่านดำเนินไปได้ด้วยดี

• คิดใคร่ครวญก่อนที่ท่านจะลงมือกระทำ (การโจมตี)

• คิดใคร่ครวญก่อนที่ท่านจะพูด แล้วท่านจะหลีกเลี่ยงความผิดพลาดได้เช่นกัน

๒๐

เขากล่าวว่า

“นี่คืออะบุลฮะซัน(มูซา บินญะอฺฟัร) แท้จริงฉันห่างเขาเป็นวันเป็นคืน แต่พอพบเห็นเขาครั้งใดเขาก็จะอยู่ในท่าที่ฉันบอกให้ท่านดู นี่แหละแท้จริงเขานมาซตั้งแต่รุ่งอรุณ หลังจากนมาซเสร็จเขาก็อ่านคำวิงวอนไปจนดวงอาทิตย์ขึ้น ต่อจากนั้น เขาก็จะซุญูดเป็นเวลานานติดต่อไปจนถึงยามบ่าย...”

วิถีชีวิต :อันควรสรรเสริญของอิมามที่ 7

ต่อไปนี้จะเป็นการกล่าวถึงวิถีชีวิตโดยย่อของท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ) บุตรของอิมามญะอฺฟัร(อฺ)ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องราวที่มีเกียรติ และเป็นจริยธรรมที่น่าสรรเสริญ ซึ่งในปัจจุบันนี้ เราจำเป็นจะต้องอาศัยแบบฉบับเหล่านี้มาเป็นทางนำ เพื่อเราจะได้เข้าถึงสัจธรรมอันเป็นจุดหมายปลายทางได้อย่างถ่องแท้ อันหมายถึงความดีงามและความผาสุก จึงควรย้อนกลับไปหาอดีตอันไพโรจน์ของเรา

เราจะกล่าวถึงเรื่องราวบางส่วนเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของท่านอิมาม

มูซา กาซิม(อฺ)ดังนี้

---1---

ครั้งหนึ่ง มีชายคนหนึ่งในเมืองมะดีนะฮฺรังแกท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ) อยู่เป็นประจำ เขาจะด่าท่าน(อฺ)ทันทีที่ได้พบเห็น และยังได้กล่าววาจาหมิ่นประมาทไปถึงท่านอะลี(อฺ)ด้วย สหายของท่าน(อฺ)ได้กล่าวกับท่าน(อฺ)ว่า

“ขอได้อนุญาตให้เราได้ฆ่าคนชั่วร้ายผู้นี้เสียเถิด”

๒๑

ปรากฏว่า ท่านอิมามมูซา(อฺ)ได้ยับยั้งคนเหล่านั้นมิให้กระทำและท่าน(อฺ)ยังได้ห้ามคนเหล่านั้นอย่างรุนแรง ท่าน(อฺ)ได้ถามถึงชายคนนั้น มีคนบอกท่าน(อฺ)ว่า ชายคนนั้นอยู่ที่แปลงเพาะปลูก ท่าน(อฺ)จึงออกไปหาชายคนนั้น และเข้าไปยังแปลงเพาะปลูกดังกล่าว ด้วยลาน้อยตัวหนึ่งของท่าน(อฺ)เป็นพาหนะ ชายคนนั้นร้องเสียงหลงเพื่อมิให้ท่าน(อฺ)เหยียบย่างลงในแปลงเพาะปลูกของตน แต่ท่านอิมามกาซิม(อฺ)ก็นำลาน้อยของท่าน(อฺ)เข้าไปในแปลงเพาะปลูกจนถึงตัวชายคนนั้น

แล้วท่าน(อฺ)ก็ลงจากหลังลาและได้เข้าไปนั่งข้างชายคนนั้น พลางยื่นมือออกไปหาด้วยอาการยิ้มแย้ม

และถามว่า

“ท่านจะปรับค่าเหยียบแปลงเพาะปลูกของท่านเท่าไหร่ ?”

ชายคนนั้นตอบว่า

“100 ดีนารฺ”

อิมาม(อฺ)ถามต่อว่า

“แล้วท่านต้องการรายได้ผลผลิตมันอีกเท่าไหร่ ?”

ชายคนนั้นตอบว่า

“ฉันไม่รู้ในสิ่งเร้นลับ”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ฉันหมายถึงว่า ท่านต้องการที่จะได้สักเท่าไหร่ ?”

ชายคนนั้นตอบว่า

“ฉันต้องการขายผลผลิตให้ได้ 200 ดีนารฺ”

๒๒

ดังนั้นท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)จึงได้หยิบเงินออกมามอบให้จำนวน 300 ดีนารฺ แล้วกล่าวว่า

“นี่คือค่าพืชไร่ของท่าน ตามสภาพของมัน อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประทานให้ตามที่ท่านประสงค์”

ชายคนนั้นได้ลุกขึ้น แล้วจูบตรงศีรษะของท่านอิมามมูซา(อฺ) ท่านอิมาม(อฺ)ยิ้มและผินหลังกลับไปยังมัสญิด ต่อมาท่าน(อฺ)ก็ได้พบกับชายคนนั้นนั่งอยู่ในมัสญิด เมื่อชายคนนั้นมองเห็นท่าน(อฺ) เขาได้กล่าวว่า

“อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงรอบรู้ว่าจะทรงบันดาลกิจการเกี่ยวกับคำสอนของพระองค์ไว้ ณ ที่ใด”

มีสหายของท่านอิมาม(อฺ)รีบรุดเข้าไปถาม

“อะไรกัน แต่ก่อนท่านไม่เคยพูดเช่นนี้ ?”

เขากล่าวว่า

“ท่านก็ได้ยินสิ่งที่ข้าพเจ้าพูดในตอนนี้แล้ว”

ครั้นเมื่อท่านอะบุลฮะซัน(อิมามมูซา)(อฺ)กลับไปถึงบ้าน ท่าน(อฺ) ได้กล่าวกับสหายของท่าน คนที่แนะนำให้ฆ่าชายคนนั้นว่า

“พวกท่านเห็นแล้วใช่ไหม ว่าฉันแก้ไขสภาพของเขาได้โดยไม่ต้องทำร้ายเขาเลย”(1)

๒๓

---2---

ท่านอิมามมูซา(อฺ)เดินผ่านชาวซูดานคนหนึ่ง ท่าน(อฺ)ได้หยุดสนทนาด้วยเป็นเวลานาน จากนั้นท่าน(อฺ)ได้เสนอตัวทำงานให้ชายคนนั้น ถ้าเขาต้องการ

ชายคนหนึ่งกล่าวกับท่าน(อฺ)ว่า

“โอ้ บุตรแห่งท่านศาสนทูต(ศ) ท่านลงไปหาชายคนนี้ แล้วถามถึงความต้องการของเขา เขาเป็นคนสำคัญของท่านกระนั้นหรือ ?”

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ตอบว่า

“บ่าวคนหนึ่งจากปวงบ่าวของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) พี่น้องคนหนึ่งตามบัญญัติแห่งคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และญาติคนหนึ่งในแผ่นดินของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) พระองค์ทรงนำเขากับเราเข้ามาอยู่ในฐานะลูกหลานของอาดัม(อฺ)ด้วยกัน และศาสนาที่ดีที่สุดคือ ‘อัล-อิสลาม’ หวังว่าในอนาคตกาลเขาอาจกลับมาเป็นผู้หนึ่งที่เราต้องการก็ได้ เราจึงเห็นว่าจะต้องนอบน้อมต่อเขา”

แล้วท่าน(อฺ)ก็กล่าวเป็นรำพันว่า

“เราจะสัมพันธ์กับคนที่ไม่สัมพันธ์กับเรา เพราะเรากลัวว่า เราจะอยู่ในสภาพที่ไร้เพื่อนในวันหนึ่ง”(2)

(1) กัชฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า 247, ตารีคบัฆดาด เล่ม 13 หน้า 29.

(2) ตะฮัฟฟุล-อุกูล หน้า 305.

๒๔

---3---

ฮารูน ร่อชีดได้ไปทำฮัจญ์ แล้วเข้าเยี่ยมสุสานของท่านนบีมุฮัมมัด(ศ) รอบๆ ตัวเขามีทั้งชาวกุเรชและชนเผ่าต่าง ๆ และมีท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)รวมอยู่ด้วย ครั้นพอไปถึงยังสุสาน ฮารูนรอชีด ได้กล่าวว่า

“ขอความสันติสุขพึงมีแต่ท่านร่อซูลุลลอฮฺ(ศ)ผู้เป็นบุตรของตระกูลฝ่ายลุงของฉัน”

อันเป็นการแสดงออกถึงความภาคภูมิใจต่อหน้าคนรอบข้าง ทันใดนั้นท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ได้ขยับเข้ามาใกล้ แล้วกล่าวว่า

“ขอความสันติสุขพึงมีแด่ท่าน โอ้ บิดาของข้าพเจ้า”

ปรากฏว่าสีหน้าของรอชีดเปลี่ยนไป และเขาก็กล่าวว่า

“ช่างภาคภูมิใจเสียเหลือเกินนะ ท่านอะบุลฮะซัน”(3)

---4---

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)เคยปล่อยทาสให้เป็นไทจำนวน 1,000 คน (4)

---5---

รายงานจากท่านฮะซัน บินอฺะบี บินฮัมซะฮฺ จากบิดาของเขากล่าวว่า : ข้าพเจ้าเคยเห็นท่านอะบุลฮะซันทำงานหนัก จนกระทั่งเหงื่อโทรมถึงตาตุ่ม

(3) ตารีค บัฆดาด เล่ม 13 หน้า 31.

(4) ฮะยาตุ้ล-อิมามมูซา บินญะอฺฟัร เล่ม 1 หน้า 89.

๒๕

ข้าพเจ้าเลยกล่าวว่า

“ตัวของฉันขอพลีให้แก่ท่าน”

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“อะลีเอ๋ย ผู้ที่ประเสริฐยิ่งกว่าฉันในโลกนี้ และดียิ่งกว่าพ่อของฉัน ก็ยังเคยทำงานด้วยมือของเขาเอง”

ข้าพเจ้าถามว่า

“ใครกันเล่า”

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“ก็รอซูลุลลอฮฺ(ศ) ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ) และบรรพบุรุษของฉัน(อฺ)ไง เขาเหล่านั้นทำงานด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเองทั้งนั้น มันคือการงานของบรรดาอัมบิยาอ์ ศาสนทูตและผู้ทรงคุณธรรมทั้งหลาย”(5)

---6---

รายงานจากมุอฺตับ กล่าวว่า : ท่านอะบุลฮะซัน(อฺ)ได้สั่งพวกเราว่า เมื่อผลผลิตออกแล้ว ให้เก็บมันมาขาย แลกเปลี่ยนในหมู่มุสลิมวันต่อวัน(6)

---7---

วันหนึ่ง ยะฮฺยา บินคอลิดได้กล่าวกับสหายบางคนของเขาว่า :

“พวกท่านจะไม่แนะนำชายคนหนึ่งที่มาจากตระกูลอะบูฏอลิบ ที่มีความเป็นอยู่ไม่ใคร่จะดีนักแก่ฉันบ้างหรือ เพื่อที่เขาจะได้เสนอแก่ฉันในสิ่งที่เขามีความต้องการ”

(5) บิฮารุ้ล-อันวารฺ เล่ม 11 หน้า 266.

(6) อ้างเล่มเดิม หน้า 267.

๒๖

(จากคำพูดดังกล่าวเขาต้องการที่จะบอกเรื่องราวของท่านกาซิม (อฺ) นั่นเอง)

เพื่อนของเขาได้เสนอชื่อท่านอะลี บินอิซมาอีล บินญะอฺฟัร บินมุฮัมมัดแก่เขา ยะฮฺยา บินคอลิดก็เลยมอบทรัพย์สินให้แก่เขา ส่วนท่านมูซา(อฺ)นั้นมีความรู้สึกผูกพันอยู่กับเขา ฉันท์ญาติสนิทและบางทีก็เปิดเผยความลับที่มีกับเขาด้วย มีคนเขียนจดหมายไปบอกเขาถึงเรื่องดังกล่าว

 เมื่อท่านมูซา(อฺ)รู้สึกเช่นนั้น ท่าน(อฺ)ได้เรียกเขามาแล้วถามว่า

“ท่านจะไปไหนหรือ”

เขากล่าวตอบ

“ไปแบกแดด”

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“เกิดอะไรขึ้น”

เขาตอบ

“ฉันมีหนี้สิน”

ท่าน(อฺ)จึงกล่าวอีกว่า

“ฉันจะชดใช้ให้เอง”

แต่เขาก็ไม่ได้สนใจ แล้วท่าน(อฺ)ก็ได้กล่าวกับเขาว่า

“ดูก่อน อย่าได้ทำให้ลูก ๆ ของฉันต้องทนทุกข์เลย”

ท่าน(อฺ)ก็สั่งให้คนนำเงินมา 300 ดีนารฺกับอีก 4,000 ดิรฮัม เมื่อเขาได้ลุกขึ้นเดินจากไปแล้ว

ท่านอะบุลฮะซัน(มูซา)(อฺ)ได้กล่าวผู้ที่อยู่ ณ ที่นั้นว่า

“วัลลอฮฺ เขาได้เพียรพยายามในเรื่องเลือดของฉัน(อาจจะหมายความถึงการสังหาร) และก็จะทำความยากแค้นให้กับลูกหลานของฉัน”

๒๗

 

พวกที่อยู่ที่นั่นได้กล่าวขึ้นว่า

“ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทำให้พวกเรามอบพลีแก่ท่าน ก็ในเมื่อท่านรู้สภาพของเขาเช่นนั้น ท่านยังมอบสิ่งของ และทำดีกับเขาอีกหรือ ?”

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“ใช่แล้ว บิดาของฉันได้กล่าวแก่ฉัน ตามการบอกเล่ามาจากบรรพบุรุษของท่านจากท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)กล่าวว่า :

“ในเรื่องความสัมพันธ์ทางเครือญาตินั้น เมื่อท่านถูกตัดความสัมพันธ์ก็จงทำให้มันมั่นคงยิ่งขึ้น ดังนั้น ถ้าหากท่านตัดขาดมันอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็จะตัดขาดมันด้วย อันที่จริงฉันนั้นต้องการที่จะเชื่อมสัมพันธ์กับเขา จนกว่าเมื่อเขาได้ตัดสัมพันธ์ฉันแล้ว แล้วอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็จะตัดความสัมพันธ์กับเขา”

คุณธรรมต่อผู้ยากไร้ของอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

คุณสมบัติพิเศษอีกประการหนึ่งของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)คือ การมีคุณธรรมและบำเพ็ญคุณประโยชน์ให้แก่คนทุกชั้น พวกท่าน(อฺ)ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับคนยากจน จนกระทั่งในยามกลางคืน พวกท่าน(อฺ)ถือเป็นประเพณีในการออกไปยังบ้านเรือนของคนจน โดยได้นำอาหารและเงินทองไปแจกจ่าย โดยที่พวกเขาไม่รู้จักท่าน(อฺ)

๒๘

ในบทนี้ เราจะกล่าวถึงเรื่องราว

บางประการเกี่ยวกับท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

.....1.....

ท่านอิมามมูซา(อฺ)จะหลบไปหาคนยากจนเข็ญใจในเมืองมะดีนะฮฺในยามกลางคืน โดยได้นำอาหาร แป้ง และลูกอินทผลัมไปให้ตามบ้านเรือน โดยที่คนยากจนเหล่านั้นไม่รู้ว่าสิ่งของเหล่านี้มาอยู่ในบ้านของพวกตนได้อย่างไร(!)

....2....

ท่านอิบนุ ศิบาฆ อัล-มาลิกี(ร.ฎ.)กล่าวว่า :

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)เป็นคนที่เคร่งครัดในการทำอิบาดะฮฺมากที่สุดในสมัยของท่าน(อฺ) เป็นคนมีความรู้สูงสุด มีจิตใจเมตตาอารี ท่าน(อฺ)จะหลบไปหาคนยากจนในเมืองมะดีนะฮฺ นำเงินทองและเครื่องยังชีพไปมอบให้ โดยที่คนยากจนเหล่านั้นไม่รู้เลยว่าสิ่งของเหล่านั้นมาจากไหน

พวกเขาไม่รู้ในเรื่องนี้เลยจนกระทั่งท่านอิมาม(อฺ)วะฟาต(เสียชีวิต)(2)

(1) กัชฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า 247. อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ 4 ก็อฟ เล่ม 3 หน้า 11. และอัล-มะนากิบ เล่ม 2 หน้า219.

(2) อัล-ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า 219.

๒๙

....3....

ท่านค่อฏีบ บัฆดาตีกล่าวว่า :

ท่าน(อฺ) เป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ใจดี ครั้งหนึ่งท่านได้ทราบข่าวว่ามีคนเจ็บป่วย ท่านจึงได้จัดส่งห่อเงินซึ่งในนั้นมีเงินอยู่ 1,000 ดีนารฺไปให้เขา (3)

....4....

ท่านมุฮัมมัด บินอับดุลลอฮฺ อัล-บักรีกล่าวว่า :

ข้าพเจ้าได้เดินทางมาเมืองมะดีนะฮฺ ต้องการหยิบยืมเงิน หาจนเหนื่อยอ่อน แล้วพูดกับตัวเองว่า หากข้าพเจ้าได้ไปหาท่านอะบุลฮะซัน(มูซา)(อฺ) แล้วข้าพเจ้าจะบอกเรื่องนี้กับท่าน(อฺ) แล้ว

ข้าพเจ้าก็ได้มาหาท่าน(อฺ)ที่สวนแปลงหนึ่ง เล่าเรื่องราวให้ท่าน(อฺ)ฟัง ท่าน(อฺ)ได้เข้าไปข้างในแล้ว

ไม่นานนัก ก็ออกมาหาข้าพเจ้า แล้วท่าน(อฺ)ก็กล่าวกับคนรับใช้ว่า :

“ไปได้แล้ว”

หลังจากนั้นท่าน(อฺ)ได้ยื่นมือของท่าน(อฺ)ออกมายังฉัน ยกห่อเงินมาให้ซึ่งในนั้นมีเงินอยู่จำนวน 300 ดีนารฺ เสร็จแล้วท่าน (อฺ) ก็ลุกขึ้นยืนแล้วเดินหันหลังจากไป แล้วข้าพเจ้าก็ขึ้นขี่ม้าจากไป (4)

(3) ตารีค บัฆดาด เล่ม 13 หน้า 28.

(4) กัชฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า 247.

๓๐

....5....

ท่านอีซา บินมุฮัมมัด บินมุฆีษ อัล-กุรฏฺบี กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าปลูกแตงโม แตงกวาและลูกน้ำเต้า ในรอบๆ บริเวณแอ่งน้ำแห่งหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า

“อุมมุอิซอม” เมื่อมันใกล้จะออกผลสุกงอม ตั๊กแตนฝูงหนึ่งได้เข้ามาเจาะกินจนหมด ข้าพเจ้านั่งหมดอาลัยตายอยากอยู่ที่สวนแห่งนั้น มูลค่าของมันทั้งหมด ถ้าเก็บได้ก็ประมาณ 120 ดีนารฺ ระหว่างนั้นเองท่านมูซา บินญะอฺฟัร(อฺ)ก็เดินเข้ามา ให้สลามแล้วกล่าวว่า

“เป็นอย่างไรบ้าง”

ข้าพเจ้าตอบว่า

“ข้าพเจ้าหมดตัวแล้ว ตั๊กแตนเข้ามาทำลาย และกัดกินผลไม้ของข้าพเจ้าหมด”

ท่าน(อฺ)ถามว่า

“ท่านสูญเสียไปเท่าไร ?”

ข้าพเจ้าตอบ

“โดยประมาณ 120 ดีนารฺ”

ท่าน(อฺ)กล่าวตอบ

“โอ้ อุรฟะฮฺมอบเงินให้อะบุลมุฆีษไป 150 ดีนารฺ กำไรของมันคงจะประมาณ 30 ดีนารฺ”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

“โอ้ ท่านผู้จำเริญ ได้โปรดเข้ามาข้างในเพื่อให้ความจำเริญแก่สวนของข้าพเจ้าด้วยเถิด”

๓๑

แล้วท่าน(อฺ)ก็ได้เข้าไปข้างในพร้อมทั้งขอดุอาอ์ แล้วได้รายงานคำบอกเล่าของร่อซูลุลลอฮฺ(ศ) ที่กล่าวว่า:

“พวกท่านจงยึดกุมสิ่งที่ยังคงเหลืออยู่แห่งภัยพิบัติทั้งมวล”

จากนั้นข้าพเจ้าก็มีความรู้สึกผูกพันกับประโยคดังกล่าว รู้สึกอิ่มเอมไปหมด ดังนั้นอัลลอฮฺ(ซ.บ.) จึงทรงเพิ่มความจำเริญในมัน และทำให้มันเพิ่มพูนขึ้น แล้วอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ก็จะให้มันเพิ่มขึ้นเป็น 10,000 เท่า (5)

....6....

ท่านอิมามมูซา(อฺ)มักจะส่งคืนเงินจากจำนวน 100 ดีนารฺ เป็น 300 ดีนารฺ (6)

....7....

มีคนยากจนคนหนึ่งเข้าไปพบท่านอิมามมูซา(อฺ) แล้วขอความช่วยเหลือ ท่าน(อฺ)ก็มอบให้1,000 ดีนารฺ (7)

....8....

มีคนผิวดำคนหนึ่งได้มอบน้ำผึ้งและกล่องไม้ให้เป็นของขวัญแก่ท่าน

อิมามมูซา(อฺ) ท่าน(อฺ)ก็เลยซื้อเขามา พร้อมทั้งสวน(ที่เขาทำงานอยู่ด้วย) จากนายของเขา แล้วก็ได้ปล่อยเขาเป็นไท อีกทั้งยังมอบสวนนั้นให้แก่เขาด้วย(8)

(5) กัชฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า 243, ตารีค บัฆดาด เล่ม 13 หน้า 29.

(6) อัล-มะนากิบ เล่ม 2 หน้า 379.

(7) ฮะยาตุ้ล-อิมามมูซา บินญะอฺฟัร เล่ม 1 หน้า 96.

(8) ตารีค บัฆดาด เล่ม 13 หน้า 30.

๓๒

มรดกอิสลามอันอมตะจากคำสั่งเสียของอิมามที่ 7

ในหนังสือฮะดีษและหนังสือประวัติศาสตร์หลายเล่ม มีคำสั่งเสียของท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ) บันทึกไว้เป็นจำนวนมาก

 ท่าน(อฺ)ได้สั่งเสียบุตรหลานและบรรดาชีอะฮฺของท่าน(อฺ) คำสั่งเสียเหล่านั้นถือได้ว่าเป็นมรดกอันอมตะของศาสนาอิสลาม ที่ช่วยเสริมสร้างและจรรโลงคุณธรรม จริยธรรม และระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ และเป็นปัจจัยสำคัญของบรรดามุสลิมในยุคปัจจุบัน ในอันที่จะต้องนำมายึดถือ เพื่อนำสังคมของตนกลับสู่ความรุ่งโรจน์อย่างที่เคยมีมาในอดีต

ในบทนี้เราจะกล่าวถึงเรื่องราวที่เป็นคำสั่งเสียบางส่วนของท่านอิมาม

มูซา กาซิม(อฺ)ดังนี้

คำสั่งเสียที่ 1ต่อบุตรของอิมามที่ 7

คำสั่งเสียของท่านอิมามมูซา(อฺ)ที่มีต่อบุตรของท่าน(อฺ)

“โอ้ ลูกเอ๋ย จงระวังไว้ว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเห็นเจ้ากระทำความบาปที่พระองค์ทรงห้ามเจ้าและจงระวังไว้ว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงไม่ให้โอกาสแก่เจ้า เพื่อทำตามคำสั่งของพระองค์ที่มีต่อเจ้า

๓๓

ขอให้เจ้าทำงานอย่างจริงจัง จงอย่าท้อถอยออกจากการเคารพภักดีและเชื่อฟังอัลลอฮฺ(ซ.บ.) แม้แต่เพียงเล็กน้อย จงระวังในเรื่องการหยอกล้อ เพราะมันจะขจัดแสงสว่างแห่งความศรัทธาออกไปจากเจ้า และจะทำให้บุคลิกภาพของเจ้าลดหย่อนลง จงระวังในเรื่องความเกียจคร้าน เพราะมันจะทำให้เจ้าอับโชคทั้งในโลกนี้และโลกหน้า”(1)

(1) บิฮารุ้ล-อันวารฺ เล่ม 17 หน้า 203.

คำสั่งเสียที่ 2 ต่อบรรดาชีอะฮฺของอิมามที่ 7

คำสั่งเสียที่ท่านอิมามมูซา บินญะอฺฟัร(อฺ)ให้ไว้กับบรรดาชีอะฮฺของท่าน(อฺ)

“จงเกรงกลัวอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และจงพูดความจริง ถึงแม้ว่าจะทำให้ท่านเสียหายก็ตาม เพราะในความจริงนั้นจะทำให้ท่านปลอดภัย

จงยำเกรงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และจงละวางสิ่งที่เป็นความผิด ถึงแม้ว่าจะทำให้ท่านปลอดภัยก็ตาม เพราะในสิ่งผิดนั้นจะทำให้ท่านเสียหาย”(2)

๓๔

คำสั่งเสียที่ 3 ต่อบรรดาชีอะฮฺของอิมามที่ 7

คำสั่งเสียที่ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ให้ไว้กับบรรดาชีอะฮฺของท่าน(อฺ)

“จงรับโชคลาภจากโลกนี้เพื่อตัวของพวกท่านที่เป็นของดีๆ อันได้รับอนุญาต และของที่ไม่ทำลายบุคลิกภาพ และของที่ไม่ทำให้ฟุ่มเฟือย และจงให้ความช่วยเหลือในกิจการงานศาสนา คนใดก็ตามที่ทิ้งโลกนี้เพราะศาสนา หรือทิ้งศาสนาเพราะโลกนี้ ย่อมใช่พวกเราไม่”(3)

(2) ตะฮัฟฟุล-อุกูล หน้า 301.

(3) เมาซูอะตุ้ล-อะตะบาติล-มุก็อดดะซะฮฺ หน้า 217.

คำสั่งเสียที่ 4 ต่อบรรดาชีอะฮฺของอิมามที่ 7

คำสั่งเสียที่ท่านอิมามที่ 7 ให้ไว้กับบรรดาชีอะฮฺของท่าน (อฺ)

“พวกท่านจงหาความรู้ทางศาสนา เพราะความรู้ทางศาสนาเป็นกุญแจไขความประจักษ์แจ้งและทำให้การอิบาดะฮฺสมบูรณ์ อีกทั้งเป็นที่มาของตำแหน่งอันสูงส่ง และจะนำไปสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ทั้งในด้านศาสนาและทางโลก เกียรติของคนมีความรู้ทางศาสนา ย่อมเหนือกว่าผู้ทำการอิบาดะฮฺอย่างเดียว ดุจดังดวงอาทิตย์ที่มีแสงเหนือกว่าดวงดาว และผู้ใดก็ตามที่ไม่มีความรู้ในศาสนาของตน อัลลอฮฺ(ซ.บ.) จะไม่ทรงโปรดปรานผลงานใด ๆ ของเขาเลย”(4)

(4) บิฮารุ้ล-อันวารฺ เล่ม 17 หน้า 203.

๓๕

คำสั่งเสียที่ 5ต่อฮิชาม บินฮะกัม (ร.ฎ.) ของอิมามที่ 7

คำสั่งเสียของท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ที่มีแก่ท่านฮิชาม บินฮะกัม(ร.ฎ.)ในเรื่อง “สติปัญญา”

ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสนทูต ในขณะที่ชาวอาหรับกำลังบูชาเจว็ด ส่วนชาวเปอร์เซียก็กำลังบูชาไฟ ชาวฮินดูกำลังบูชาโค

 ส่วนชาวยิวเชื่อถือว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีบุตรและชาวคริสต์นั้นเคารพ

พระเจ้า 3 องค์ นั่นคือ พระบุตร พระจิต และพระบิดา

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงอยู่เหนือข้อกล่าวหาเหล่านี้ แน่นอนทีเดียวในยุคนั้นชาวโลกต่างพากันเคารพภักดีสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) จนกระทั่งนักประวัติศาสตร์สามารถบันทึกรายชื่อของบางคนได้เพียงจำนวนน้อยเท่านั้น ที่เป็นผู้ปฏิเสธการเคารพภักดีสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

 เช่น ท่านญะอฺฟัร บินอะบีฏอลิบ(ร.ฎ.)

ท่านอะบูซัร(ร.ฎ.) ท่านกิซ บินซาอิดะฮฺ และท่านวะรอเกาะฮฺ บินเนาฟัล

แน่นอนที่สุดความเป็นมนุษย์ได้กีดกันสติปัญญามิให้เห็นชอบไปกับการเคารพภักดีสิ่งอื่น

นอกจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) กล่าวคือ สติปัญญาอันบริสุทธิ์ย่อมปฏิเสธการบูชาสิ่งต่างๆ เหล่านั้น

๓๖

ศาสนาอิสลามได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในด้านส่งเสริมสติปัญญา

ขัดเกลาและยกระดับสติปัญญา ดังจะเห็นได้ว่า ในอัล-กุรอานมีหลายโองการที่กล่าวว่า :

“แท้จริง ในเรื่องเหล่านี้เป็นสัญญาณสำหรับหมู่ชนที่ใช้สติปัญญา”

(อัร-เราะอฺด์: 4)

“แน่นอน เราได้อธิบายสัญญาณต่างๆ ให้แก่สูเจ้าเพื่อสูเจ้าจะได้ใช้สติปัญญา”(อัล-ฮะดีด : 17)

และอัล-กุรอานยังได้สนับสนุนให้เขาเหล่านั้นยกระดับตัวเองขึ้นสู่โลกแห่งจิตวิญญาณอันสูงส่งอีกด้วย ดังโองการที่ว่า :

“และเขาเหล่านั้นคิดใคร่ครวญในงานสร้างสรรค์ชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินว่า โอ้พระผู้อภิบาลของเรา พระองค์มิได้ทรงสร้างสิ่งเหล่านี้มาอย่างไร้ความหมาย”(อาลิอิมรอน : 191)

ฮะดีษที่รายงานโดยท่านอิบนุชุอฺบะฮฺ จากท่านศาสนทูต(ศ)บทหนึ่ง อาจจะทำให้ท่านผู้อ่านเห็นภาพที่ชัดเจนอีกภาพหนึ่งในเรื่องการให้ความสำคัญต่อสติปัญญา ดังต่อไปนี้

คนกลุ่มหนึ่งได้ให้การยกย่องบุคคลหนึ่งในแง่ของคุณงามความดีด้านต่างๆ ทั้งหมด แต่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ถามว่า

“สติปัญญาของคนเหล่านั้นเป็นอย่างไร ?”

๓๗

เขาเหล่านั้นกล่าวว่า

“โอ้ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) เราแจ้งให้ท่านทราบในเรื่องของเขาเกี่ยวกับความสามารถสูงสุดของเขาในด้านการอิบาดะฮฺ และความดีงามประการต่าง ๆ แต่ท่านกลับมาถามเราในเรื่องสติปัญญาของเขา”

ท่านศาสนทูต(ศ)ตอบว่า

“แท้จริง คนที่โง่เขลาที่สุดนั้นจะประสบกับความเลวร้ายด้วยความโง่เขลาของเขาเองยิ่งกว่าคนชั่วที่ทำความชั่ว อันที่จริงแล้วการเคารพภักดีที่สมควรได้รับการยกย่อง และที่บรรลุถึงความพอพระทัยแห่งพระผู้อภิบาลนั้นขึ้นอยู่กับสติปัญญาของพวกเขาเหล่านั้นด้วย”

มีฮะดีษอีกเป็นจำนวนมากที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ) ในเรื่องของ “สติปัญญา” ในบทนี้

เราจะได้บันทึกถ้อยคำของท่านอิมามมูซากาซิม(อฺ)ที่ได้ให้ไว้แก่ท่าน

ฮิชาม บินฮะกัม(ร.ฎ.)ในเรื่องนี้

ท่านฮิชาม บินฮะกัม(ร.ฎ.)ได้เล่าว่า : ท่านอิมามมูซา บินญะอฺฟัร

อัล-กาซิม(อฺ) ได้กล่าวแก่ข้าพเจ้าว่า

“ฮิชามเอ๋ย แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงแจ้งข่าวดีแก่ผู้มีสติปัญญาและเข้าใจในคัมภีร์ของพระองค์ว่า :

“ดังนั้น จงแจ้งข่าวดีแก่ปวงบ่าวของข้าที่รับฟังคำสอน แล้วปฏิบัติตามอย่างดี เขาเหล่านั้นคือผู้ที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงชี้นำพวกเขา และเขาเหล่านั้น คือปวงผู้มีสติปัญญาอันเลิศ”(อัซ-ซุมัร : 18)

๓๘

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงให้หลักฐานอันสมบูรณ์ด้วยกับสติปัญญามายังมนุษยชาติแล้ว และทรงสนับสนุนบรรดานบีด้วยคำอธิบายอันชัดแจ้ง และทรงแนะนำเขาเหล่านั้นให้มีความรู้เกี่ยวกับพระผู้อภิบาลด้วยหลักฐานอันชัดแจ้ง

ดังที่พระองค์ทรงมีโองการว่า :

“และพระผู้เป็นเจ้าของพวกท่านนั้นคือ พระเจ้าองค์เดียว ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ ผู้ทรงกรุณาปรานีผู้ทรงเมตตายิ่งเป็นนิรันดร์ แท้จริงในงานสร้างสรรค์ชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และการสับเปลี่ยนของกลางคืนกับกลางวัน และเรือที่ล่องลอยอยู่ในทะเลอันอำนวยคุณประโยชน์แก่มนุษย์ และที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประทานน้ำฝนลงมาจากฟากฟ้า แล้วทรงบันดาลให้แผ่นดินมีชีวิตขึ้นมาหลังจากที่มันได้ตาย และทรงแพร่พันธุ์สัตว์ทุกชนิดในแผ่นดิน อีกทั้งทรงกระจัดกระจายสายลมชนิดต่างๆ และก้อนเมฆทั้งหลาย ที่เลื่อนลอยอยู่ระหว่างฟากฟ้าและแผ่นดิน

แน่นอนที่สุด มันเป็นสัญญาณที่ได้ให้ไว้แก่กลุ่มชนที่ใช้สติปัญญา”

(อัล-บะกอเราะฮฺ: 164)

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงกำหนดให้เรื่องเหล่านี้เป็นหลักฐานในการรู้จักพระองค์ในฐานะที่ว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมีผู้ควบคุม

๓๙

ดังที่พระองค์ตรัสว่า :

“และทรงกำหนดควบคุมกลางคืนและกลางวันไว้สำหรับสูเจ้า และดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาวทั้งหลายต่างเป็นสิ่งที่ถูกควบคุมโดยพระบัญชาของพระองค์ แท้จริงในสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณแก่กลุ่มชนที่ใช้สติปัญญา”

(อัน-นะฮฺล์: 12)

พระองค์ตรัสอีกว่า :

“และพระองค์คือผู้ซึ่งได้ทรงสร้างสูเจ้ามาจากดิน ต่อจากนั้นก็ทรงบันดาลให้เป็นน้ำเชื้อต่อจากนั้นก็ทรงบันดาลให้เป็นก้อนเลือด ต่อจากนั้นก็ทรงบันดาลให้สูเจ้าคลอดออกมาเป็นทารก ต่อจากนั้นก็ทำให้สูเจ้าเจริญวัย ต่อจากนั้นก็ทำให้สูเจ้าเป็นคนชรา และมีบางคนที่ถึงแก่ชีวิตไปก่อน

และมีบางคนที่มีอายุจนถึงเวลาที่กำหนดเพื่อสูเจ้าทั้งหลายจะได้ใช้สติปัญญา”(ฆอฟิร : 67)

พระองค์ตรัสอีกว่า :

“การสลับเปลี่ยนกลางคืนกับกลางวัน และปัจจัยยังชีพที่อัลลอฮฺทรงประทานลงมาจากฟากฟ้า แล้วพระองค์ทรงทำให้แผ่นดินมีชีวิตขึ้นมา หลังจากที่มันได้ตายไปแล้ว และทรงกระจัดกระจายกระแสลมทั้งหลาย มันเป็นสัญญาณสำหรับปวงชนที่ใช้สติปัญญา”

(อัล-ญาษิยะฮฺ: 5)

๔๐

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62