สุนทโรวาทอิมามอะลี

สุนทโรวาทอิมามอะลี75%

สุนทโรวาทอิมามอะลี ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดฮะดีษ
หน้าต่างๆ: 62

สุนทโรวาทอิมามอะลี
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 62 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 56969 / ดาวน์โหลด: 5358
ขนาด ขนาด ขนาด
สุนทโรวาทอิมามอะลี

สุนทโรวาทอิมามอะลี

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

สุนทโรวาทของอิมามอะลี (อ.)

จากหนังสือ “นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์

จัดพิมพ์โดย สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม

คำนำ

ท่านอิมามอะลี (อ.) เป็นบุตรเขยของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ท่านเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของอิสลาม มิใช่เพียงแต่เป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่เท่านั้น แต่ท่านยังเป็นนักบุญผู้ยิ่งใหญ่อีกด้วย และท่านได้พลีอุทิศตนเพื่อรับใช้อิสลามในช่วงสมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และตลอดชั่วชีวิตของท่าน

ในสมัยก่อนประเทศอาหรับมีชื่อด้านวาทะศิลป์ ท่านอิมามอะลี (อ.) เองก็เป็นนักพูดที่ยอดเยี่ยมที่สุดท่านหนึ่ง ถ้อยคำสุนทรพจน์และสุนทโรวาทต่างๆ เหล่านี้ถูกรวบรวมไว้ในฐานะที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า

“นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์” ซึ่งถูกรวบรวมไว้โดยนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งคือท่าน ซัยยิด ริฎอ

เพื่อเป็นคุณประโยชน์แก่บุคคลทั่วไปที่ไม่มีโอกาสที่จะศึกษาได้จากผลงานอันยิ่งใหญ่นั้น

นักปราชญ์ส่วนมากจึงได้รวบรวมจัดพิมพ์ขึ้นต่างหาก เป็นการประมวลประโยคสั้นๆ ที่ได้คัดเลือกมาจากบทเทศนาและคติพจน์ในโอกาสต่างๆ ของท่านอิมามอะลี (อ.) มารวมไว้เป็นสุภาษิตหรือคติสอนใจ

 การรวบรวมครั้งแรกคือผลงานของ อบูอุสมาน อุมัร บินบะฮาร์ อัลญาอิซ อัลบัสริ เสียชีวิตในปี ฮ.ศ. ๒๔๔

ได้รวบรวมคติพจน์ต่างๆ ไว้ ๑๐๐ บท ในหนังสือ “มัยติกะลิมะฮ์” หนังสือดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในอียิปต์

ความพยายามของอีกท่านหนึ่งในการรวบรวมคติพจน์ดังกล่าวที่รู้จักกันในนามของหนังสือ “นัศรุลเลาลิ” โดยท่าน ซัยยิด อิมามซัยนุดดีน

อบูอัรริฎอ ฟัศรุลลอฮ์ หุซัยนี รอวันดี หนังสือเล่มนี้บรรจุคติพจน์ต่างๆ ของท่านอิมามอะลี (อ.) ไว้ถึง ๑, ๐๐๐ คติพจน์ และถูกจัดพิมพ์ขึ้นในกรุงเดลฮี (ประเทศอินเดีย)

การรวบรวมครั้งที่ ๓ รู้จักกันในนามหนังสือ

 “ฆุรอรุลฮิกาม วะดุรรอรุลกิลาม” โดยท่าน อับดุลวะฮีด บินมุฮัมมัด วะฮีดอะมีดิ อุลตะมีมิ หนังสือเล่มนี้บรรจุคติพจน์และสุภาษิตต่างๆ ของ

อิมามอะลี (อ.)ไว้หลายพันบท

 ในบทนำของหนังสือ ผู้รวบรวมได้เขียนไว้ว่า การรวบรวมของเขาเปรียบเสมือน “น้ำเพียงฝ่ามือเดียวที่ดึงออกมาจากสายธารใหญ่”

อีกประการหนึ่ง ย่อมเป็นไปไม่ได้ในการแปลถ่ายทอดใดๆ ที่จะทำให้มีอรรถรสและคุณภาพเหมือนอย่างต้นฉบับภาษาอาหรับ บรรดาผู้รู้ที่แตกฉานในภาษาอาหรับเท่านั้นที่จะซาบซึ้งในความเป็นเลิศของการใช้ภาษาของท่านอิมามอะลี (อ.) ในสำนวนอันสละสลวยของภาษาอาหรับที่คติพจน์ต่างๆ เหล่านั้นได้แฝงเร้นอยู่ แต่จำนวนของผู้รู้ภาษาอาหรับถึงขั้นแตกฉานนั้นก็มีน้อยคน ส่วนผู้ที่ไม่รู้ภาษาอาหรับก็ต้องอาศัยจากฉบับที่แปลมาเป็นภาษาต่างๆ

นาย เจ. เอ. แซทแมน ได้ถ่ายทอดวรรณกรรมอันยิ่งใหญ่นี้ออกมาเป็นภาษาอังกฤษให้กับประชาชน ผู้ใช้ภาษาอังกฤษโดยกำเนิด ท่านได้รับความช่วยเหลือจากหลายๆ ท่านที่ช่วยทำความเข้าใจให้กับท่านในความหมายของคติพจน์จากภาษาอาหรับที่เป็นต้นฉบับเดิม

ส่วนการถ่ายทอดเป็นภาษาอังกฤษนั้นเป็นของท่านเองล้วนๆ และได้รับการตรวจทานเปรียบเทียบอย่างระมัดระวังกับต้นฉบับภาษาอาหรับ

 ข้าพเจ้าอาจกล่าวได้ว่าการแปลครั้งนี้นับว่าดีที่สุดในภาษาอังกฤษเท่าที่ข้าพเจ้าได้เคยเห็นมา หนังสือนี้มีคุณค่าใหญ่หลวงแก่บรรดาผู้อ่าน โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติและลัทธิทางศาสนา ทั้งนี้เพราะคติพจน์และสุนทโรวาทต่างๆ เหล่านี้ได้บรรจุไว้อย่างที่ไม่อาจปฏิเสธได้ซึ่งสัจธรรมอันเป็นนิรันดร์

ซัยยิด อบูมุฮัมมัด

สุนทรโรวาทอิมามอะลี

• ฉันไม่เคยสงสัยคลางแคลงในพระผู้เป็นเจ้าเลย ในเมื่อฉันได้เห็นพระองค์

• ฉันไม่เคยปฏิเสธพระผู้เป็นเจ้าเลย ในเมื่อฉันได้รู้จักพระองค์

• ผู้ใดรักตัวเขาเอง ผู้นั้นรู้จักพระผู้สร้างของเขา

• ศักดิ์ศรีอันรุ่งโรจน์พบได้ในการรับใช้พระผู้สร้าง ผู้แสวงหามันจากสิ่งถูกสร้างย่อมจะไม่พบมัน

• ถ้าท่านรักพระผู้เป็นเจ้า ก็จงสลายความหลงรักโลกนี้จากจิตใจของท่านเสีย

• โอ้พระผู้เป็นเจ้า มันช่างกว้างใหญ่ไพศาลเสียเหลือเกินในสิ่งที่เราได้ประจักษ์ถึงการสร้างสรรค์ของพระองค์ แต่ทว่ามันช่างเล็กน้อยเสียนี่กระไรเมื่อได้เปรียบเทียบกับสรรพสิ่งซึ่งอำนาจของพระองค์ได้ทรงซ่อนเร้นไว้

• จงเกรงกลัวพระผู้เป็นเจ้า เพราะพระองค์ทรงได้ยินทั้งหมดที่ท่านพูด และทรงรอบรู้ในความนึกคิดทั้งหมดของท่าน

• การยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้า จักทำให้บุคคลปลอดภัย

• ออกไป! ออกไป! เป็นเพราะความเกรงกลัวต่อพระผู้เป็นเจ้า หากไม่แล้ว ฉันจะเป็นคนที่ฉลาดแกมโกงที่สุดในหมู่ชาวอาหรับทั้งมวล

• ฉันจะไม่แนะนำชักชวนท่านให้เคารพเชื่อฟังพระผู้เป็นเจ้า ก่อนที่ตัวฉันเองจะได้เคารพเชื่อฟังพระองค์ ฉันจะไม่ห้ามปรามพวกท่านในเรื่องการทำบาปทั้งปวง หากฉันมิได้ห้ามปรามตัวฉันเองก่อน

• พระผู้เป็นเจ้าจะทรงประทานความเมตตาแก่บุคคลที่ควบคุมความโน้มเอียงแห่งอารมณ์ของเขา ที่จะนำไปสู่ความไม่เชื่อฟังและละเมิดขัดขืน

• ความโปรดปรานเบื้องบนจะโปรยปรายลงสู่บุคคลผู้ซึ่งฟื้นฟูสัจธรรม ผู้พิฆาตความหลงผิด ผู้กระชากอำนาจของทรราชที่กดขี่ให้ต่ำลง และเชิดชูความยุติธรรมให้สูงส่ง

การอุทิศเพื่อพระผู้เป็นเจ้า

• รูปแบบที่ดีที่สุดของการพลีอุทิศเพื่อรับใช้พระผู้เป็นเจ้า คือการกระทำที่ไม่โอ้อวดโลกนี้

• ความเพียบพร้อมสมบูรณ์ไม่ใช่ของโลกนี้

• โลกนี้มิใช่อะไรอื่น เว้นแต่เป็นเงาของเมฆก้อนหนึ่ง และเป็นความฝันของคนหลับ ความปีติสุขและความโศกเศร้าระคนกัน น้ำผึ้งและยาพิษ

• ทรวงอกของโลกนี้ คือความตาย และเบื้องหลังของมัน คือความเจ็บไข้ได้ป่วย

• ผู้อาศัยทั้งปวงของโลกนี้ เป็นเพียงฝูงสุนัขที่เห่าหอนและสรรพสัตว์ที่รบกวนน่ารำคาญ ตัวหนึ่งกรรโชกเข้าใส่อีกตัวหนึ่ง ตัวแข็งแรงกัดกินตัวที่อ่อนแอ ตัวใหญ่สยบตัวน้อย พวกเขาเหล่านั้นเป็นประดุจดังปศุสัตว์ที่แบกสัมภาระ บ้างก็ถูกใส่บังเหียนควบคุมไว้ บ้างก็ถูกปล่อยอย่างอิสระ

• ขอสาบานด้วยพระนามของงอัลลอฮ์ว่า โลกนี้ในสายตาของฉันน่าจะถูกประณามเสียยิ่งกว่ากระดูกของหมูที่ปราศจากเนื้อ ในมือของคนขี้เรือนมันน้อยนิดเสียยิ่งกว่าใบไม้ใบหนึ่งในปากตั๊กแตนตัวหนึ่ง

• โลกนี้คือสถานที่พำนักที่ถูกล้อมรอบไว้ด้วยเครื่องมือลงโทษดุจแส้ และถูกสุมกองไว้ด้วยการทรยศคดโกงทุจริต สภาพของมันหากไม่อดทนอดกลั้นอย่างยิ่งแล้ว ผู้คนทั้งหมดที่เขาไปหามันจะพินาศย่อยยับ

• โลกนี้คือที่อาศัยที่กำลังเสื่อมทรามลงตามผู้อยู่อาศัยของมัน ที่ซึ่งพระบัญญัติถูกผสมปนเปด้วยสิ่งที่ผิดพระบัญญัติ ความดีผสมปนเปกับความชั่ว ความหวานชื่นผสมปนเปกับความข่มขื่น

• จงมองโลกนี้ด้วยสายตาของนักการศาสนาผู้สันโดษ มิใช่เหมือนเช่นบุคคลที่หลงรักคลั่งไคล้มันอย่างตาบอด

• โอ้โลก! ไปหลอกลวงผู้อื่นเถิด ฉันไม่ต้องการเจ้า ฉันได้ตัดขาดเจ้ามาสามครั้งแล้ว ฉันจะไม่แต่งงานกับเจ้าอีกต่อไปแล้ว

• โลกนี้ประดุจดังอสรพิษ สัมผัสของมันนิ่มนวล แต่การกัดของมันถึงกับตาย

มนุษย์

• มนุษย์เป็นสิ่งประหลาดมหัศจรรย์เสียเหลือเกิน เขามองเห็นได้ด้วยกับการช่วยเหลือของวัตถุทึบหนักแน่นหนาจำนวนมากมาย เขาพูดได้ด้วยกับการช่วยเหลือของเนื้อนิ่ม เขาได้ยินได้ด้วยกับการช่วยเหลือของชิ้นส่วนต่างๆ ของกระดูก และเขาหายใจเข้าออกได้ด้วยกับการช่วยเหลือของคอหอย

• ลูกหลานของอาดัมช่างขัดสนข้นแค้นเสียนี่กระไร เขาไม่รู้ช่วงแห่งวันทั้งหลายของเขา ไม่เข้าใจความเจ็บไข้ได้ป่วยของเขา การดัดต่อยของตัวเห็บก็จะทำให้เขาเจ็บปวดทรมานได้ เขาดมกลิ่นสาปเหงื่อไคลและไอจนถึงตาย

• โอ้ลูกหลานของอาดัม จะบังอาจคุยโม้ได้อย่างไร? ผู้ที่เริ่มต้นในฐานะเชื้อจุลินทรีย์ แล้วจบลงในฐานะซากศพ ผู้ที่ไม่สามารถชุบเลี้ยงตัวเองได้และไม่อาจหนีความตายได้?

• ทุกๆ วัน ทูตสวรรค์องค์หนึ่งจะร้องตะโกนว่า “โอ้มนุษย์ ผู้อยู่เบื้องล่างนั้นผลิตลูกหลานออกมาเพื่อตาย ก่อสร้างขึ้นมาเพื่อถูกทำลาย พวกท่านรวมตัวกันเพื่อการจำพราก”

ชีวิต

• ท่านจะปีติชื่นชมในชีวิตที่กำลังหดสั้นเข้าทุกๆ โมงยามได้อย่างไร?

• โอ้! ชั่วโมงทั้งหลายที่รีบเร่งเปลี่ยนไปเป็นวัน วันทั้งหลายไปสู่เดือนทั้งหลาย เดือนทั้งหลายไปสู่ปีทั้งหลาย และเวลาที่เปลี่ยนแปลงทั้งหลายเหล่านั้นเข้าไปสู่การทำลายล้างของชีวิตได้อย่างไร?

• บุคคลเหล่านั้นไปอยู่เสียที่ไหน? ผู้ที่เคยมีชีวิตยาวนานกว่าของท่าน บุคคลเหล่านั้นไปอยู่เสียที่ไหน? ผู้ที่ได้ละทิ้งอนุสรณ์สถานที่ใหญ่ที่สุดเอาไว้ ได้ก่อสร้างอาคารป้อมปราการ ได้เคยจัดองค์กรและประดับประดาตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจง ไหนเล่าบรรดาผู้สั่งสมเหล่านั้น? ไหนเล่าผู้ที่วางแผนการณ์เหล่านั้น? กิสเราะฮ์อยู่ไหน? กัยสัร ตุบบา และฮิมยาร์อยู่ไหนเล่า?

• ความรุ่งโรจน์ทั่วทั้งโลก มิอาจถูกทำลายได้ด้วยความเสื่อมลงของโมงยาม• ความหวานชื่นแห่งชีวิตนี้อยู่ที่การแจกจ่ายให้ไปด้วยระเบียบวินัย

• ความพึงพอใจแห่งชีวิตนี้ เปรียบประดุจดังเงาของท่านเอง หากท่านหยุดมันก็หยุด หากท่านพยายามที่จะล้ำหน้ามัน มันก็จะเคลื่อนห่างออกไป

• เรื่องราวของชีวิตอันยาวนาน คือโรคภัยและความแก่ชราและอ่อนแอลง

• ผู้ใดมีชีวิตยาวนาน จะต้องคร่ำครวญให้แก่มิตรสหายของเขา

• ชีวิตคือศัตรูที่ท่านมิได้ก้าวร้าว ซึ่งท่านมิได้กดขี่ แต่มันกดขี่ท่าน ซึ่งท่านไม่เคยโจมตีมัน แต่มันโจมตีท่าน

• ชีวิตคือยาพิษที่บุคคลซึมซับมันไว้ หากผู้นั้นไม่รู้จักว่ามันคือยาพิษชนิดหนึ่ง

• ผู้ใดก็ตามที่เขายึดติดอย่างเหนียวแน่นอยู่กับชีวิตของเขาเอง ก็ย่อมจะเปิดตัวของเขาให้กลายเป็นเป้าของความโชคร้าย และความผันผวนแห่งชะตากรรม

• ความบกพร่องสามประการที่ทำให้ชีวิตไม่สามารถลงรอยกันได้ คือความพยาบาทเคียดแค้น ความอิจฉาริษยา และอุปนิสัยที่ชั่วร้าย

• ในความผันผวนของชีวิตเท่านั้น ที่บุคคลจะตัดสินคุณค่าของมนุษย์คนอื่นได้

• ชีวิตโลกนี้และชีวิตโลกหน้า เปรียบเสมือนคนที่มีภรรยาสองคน ในขณะที่ฝ่ายหนึ่งได้รับความพึงพอใจนั้น ย่อมหมายถึงความทุกข์ระทมของอีกฝ่ายหนึ่ง

• วันเหล่านั้นของท่านที่หมดไปแล้วย่อมผ่านเป็นอดีต วันเหล่านั้นที่กำลังคืบคลานมายังสงสัยอยู่เพราะฉะนั้นจงทำการงานในขณะที่ยังคงมีเวลาอยู่

• ความหยิ่งผยองที่มีต่อการครอบครองทรัพย์สมบัติอันเป็นสิ่งที่ไม่จีรัง ก่อกำเนิดมาจากความโง่เขลาเบาปัญญา

• จงคิดถึงการสิ้นสุดของมัน ความสุขในตัวของมันเองนั้นมีเพียงชั่วครู่ยาม ในขณะที่มีความชื่นชม

ยินดีอยู่กับสิ่งดีงามใดๆ จงนึกถึงความไม่จีรังของมันอยู่เสมอๆ

• ไม่มีความสุขทางโลกใดๆ เว้นเสียแต่จะต้องติดตามมาด้วยน้ำตา

• ที่ผ่านมาแล้วดูเหมือนว่าไม่เคยได้เกิดขึ้นมาเลย และอนาคตนั้นพร้อมแล้วที่จะเป็นไป

• การทดสอบที่แข็งกระด้างที่สุดคือสามสิ่งเหล่านี้ นั้นคือ การแบกภาระครอบครัวอันหนักอึ้ง ความขมขื่นของการเป็นหนี้สิน ความเจ็บไข้ได้ป่วยที่เรื้อรังยาวนาน

• โชคจากไปแม้เมื่อมันมา ชีวิตแตกร้าวถึงแม้มันประสานเข้าหากันแล้วก็ตาม

• เมื่อโชคหยิบยื่นแก่ท่าน มันให้ท่านยืมคุณสมบัติต่างๆ ของผู้อื่น และเมื่อมันหันหลังกลับไปจากท่าน มันก็ดึงเอาของของท่านไป

• หนึ่งในเครื่องหมายทั้งหลายของความโชคร้าย นั่นก็คือ การที่ต้องมีเพื่อนเลวจากคนต่ำทราม

๑๐

ความตาย

• ขณะที่ท่านมีชีวิต ท่านตาย

• ทุกลมหายใจของมนุษย์ คือการย่างก้าวไปสู่ความตาย

• ความตายรอคอยทุกสรรพสิ่งที่ถูกบังเกิดมาให้มีชีวิตอยู่ และทุกสรรพสิ่งต้องจบสิ้น

• ท่านคือเกมที่ความตายไล่ล่า ถ้าท่านยืนเฉยมันจะจับกุมท่าน ถ้าท่านหลบหนีมันจะไล่แซงท่าน

• มันน่าประหลาดใจที่ว่า ใครๆ ก็มักจะลืมความตาย ทั้งๆ ที่แม้จะเห็นกันอยู่ว่าจะต้องตายเหมือนคนอื่นก็ตาม

• คนที่รอคอยความตาย มักยอมตนให้กับการกระทำความดี

• ผู้ใดก็ตามที่ไม่ให้ความช่วยเหลือแก่พี่น้องของเขา จะถูกนับให้อยู่ในหมู่คนตาย

คนดี

• คนดีย่อมมีชีวิตอยู่ แม้เมื่อเขาถูกหามไปยังสุสานก็ตาม

• คนที่ดีที่สุด คือผู้ที่ให้ความช่วยเหลือรับใช้อย่างมากที่สุดแก่บรรดาผู้ที่มีฐานะเท่าเทียมกับเขา

• คนดี คือคนที่รู้จักคุณค่าในความสามารถของผู้อื่น

•คนดีขบถเพื่อต่อต้านความรุนแรงแต่แสดงตัวอย่างอ่อนโยนละมุนละไมและเป็นคนมีเหตุผล

๑๑

หากได้รับการปฏิบัติเป็นอย่างดี ส่วนคนเลวทรามหยาบช้าจะแข็งกระด้างและหยาบคาย เมื่อปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าความอ่อนโยนเมตตา แต่จะยอมหมอบราบคาบก็เฉพาะต่อหน้าความแข็งกร้าวเท่านั้น

• สิ่งหนึ่งที่ดีงามที่สุดในอากัปกิริยาของเสรีชน ก็คือการไม่ถือเอาความได้เปรียบในสิ่งที่เขารู้ว่าคนอื่นไม่มี

• บุคคลที่มีเกียรติ จะไม่แสดงตนโอหังในความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และหนักแน่นไม่ขยับเขยื้อนเหมือนภูเขาที่ถูกลมเหนือพัดกระหน่ำอย่างแรง ส่วนคนต่ำทรามถูกทำให้มัวเมาแม้ด้วยความสำเร็จเพียงเล็กน้อย อุปมาดั่งต้นหญ้าที่ต้องสั่นไหวแม้เพียงลมอ่อน

• สิ่งหนึ่งของความเจ็บปวดและลำบากใจที่สุดของคนดี ก็คือพันธะหน้าที่ที่จะต้องให้เกียรติแก่คนชั่วร้าย

• คนที่น่าสงสารที่สุด คือผู้รู้ที่อยู่ภายใต้คำสั่งของคนโง่เขลา คนที่มีธรรมชาติเป็นคนใจกว้างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แต่ต้องถูกชี้นำโดยคนละโมบโลภมาก และคนที่มีคุณธรรมแต่ต้องถูกบงการโดยคนชั่วมั่ว

โลกีย์

• มนุษย์ประดุจดังมวลไม้ต่างๆ แม้ว่าน้ำที่ราดรดลงไปจะเป็นน้ำอย่างเดียวกัน แต่ผลที่ออกมาไม่เหมือนกัน

• มวลมนุษย์กำลังหลับใหล พวกเขาจะตื่นเมื่อพวกเขาตาย

• ผู้ที่ถูกตำหนิแล้วไม่ทำผิดอีกเลยจะมีสักกี่คน?

๑๒

คนชั่ว

• คนเลวที่สุด คือคนที่เห็นตนเองดีที่สุด

• คนชั่วคิดว่าคนอื่นๆ ไม่มีใครดีเลย เขาจะคิดได้อย่างไรว่าคนอื่นๆ มีในสิ่งที่ตัวเขาเองไม่มี?

• คนที่ยึดถือตนเองเป็นใหญ่ จะมองไม่เห็นความบกพร่องของตนเอง แต่เขาควรจะได้เรียนรู้ถึงความดีเลิศของอุปนิสัยของคนอื่นๆ เขาจะถูกทำให้รู้สึกผิดจากสิ่งที่เขารู้สึกในขณะนี้ว่า ในตัวเขาขาดสิ่งนั้น

• คนที่เลวที่สุด คือคนที่หลงใหลในความชั่วมั่วโลกีย์ โดยยึดถือว่าเป็นสิ่งหอมหวานชวนชื่นที่สุด

และมิได้ยับยั้งรั้งรอต่อความเกรงกลัวที่จะต้องเกลือกกลั้วกับสิ่งเลวร้ายนั้นเลย

• คนที่น่ารังเกียจที่สุด คือผู้ที่ตอบแทนความดีด้วยความชั่ว และผู้ที่น่ายกย่องที่สุด คือผู้ที่ตอบแทนแก่คนเลวด้วยการปฏิบัติอย่างโอบอ้อมอารี

• จงรีบเร่งอย่างเร่งด่วน เพื่อหลบหนีไปจากคนชั่วร้ายและคนหลงโลก

• พิษร้ายของชาติ คือนักปราชญ์ผู้ชั่วร้าย และผู้ปกครองที่ดกขี่ คือพิษร้ายแห่งความยุติธรรม

• คนที่น่ารังเกียจที่สุดในสายตาของพระผู้เป็นเจ้า คือคนเข็ญใจที่หยิ่งผยองหนึ่ง คนแก่ที่ล่วงละเมิดประเวณีหนึ่ง และนักปราชญ์ที่หลงระเริงสุรุ่ยสุร่าย

๑๓

คุณธรรม

• เสื้อคลุมแห่งคุณธรรม เป็นเกียรติคุณอันสูงสุด

• คุณธรรมคือกุญแจไขสู่ความสำเร็จ

• บุคคลเป็นผู้ศรัทธา ตราบเท่าที่เขายังมีคุณธรรม

• หัวหน้าของบรรดาคุณธรรม คือการควบคุมและระงับยับยั้งอารมณ์ต่างๆ ได้

ความชั่วร้าย

• คนชั่วร้ายชอบที่จะสนับสนุนความชั่วของคนอื่นๆ และจะมีข้อแก้ตัวอย่างมากมายสำหรับความชั่วของตนเอง

• ความชั่วที่น่าเกลียด คือการตกลงไปสู่ความไม่ดีงามของคนๆ หนึ่ง ซึ่งข้อบกพร่องนั้นก็มีอยู่ในตัวท่านเองเหมือนกัน

• สิ่งหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความเลวร้าย นั้นก็คือการก้าวร้าวกับคนดี

การเรียนรู้

หนังสือทั้งหลาย คือสวนของผู้รู้

• ผู้คงแก่เรียนย่อมมีชีวิตอยู่ แม้ภายหลังการตายของเขา แต่คนโง่ย่อมตายแม้ขณะยังคงมีชีวิตอยู่

• นักปราชญ์ย่อมรู้จักคนโง่ เพราะแต่ก่อนนี้ตัวเขาเองเคยโง่มาก่อน แต่คนโง่ย่อมไม่รู้จักนักปราชญ์เพราะเขาไม่เคยเป็นเช่นนั้นมาก่อน

๑๔

• ผู้ใดก็ตามที่ใจจิตใจของเขาครุ่นคิดพิจารณาแต่ความคิดที่ดี ย่อมเรียนรู้ที่จะจำแนกแยกแยะจุดต่างๆ ของความผิดพลาด

• ผู้รู้ที่แท้จริง คือบุคคลที่เข้าใจว่าสิ่งที่เขารู้นั้น แท้จริงแล้วมีเพียงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่เขาไม่รู้

ความรู้

• ไม่มีขุมคลังใด เหมือนอย่างความรู้

• อาณาจักรแห่งความรู้นั้นไม่มีขอบเขต

• หัวหน้าของสติปัญญาอันเป็นพรสวรรค์ คือความรู้

• ความรู้นำไปสู่ปัญญา ด้วยเหตุนี้ผู้ที่ได้รับการศึกษาจึงเป็นคนฉลาด

• ความมั่งมีจะลดน้อยถอยลงด้วยการจับจ่ายใช้สอย ในขณะที่ความรู้จะถูกทำให้เพิ่มพูนด้วยการเผยแผ่

• สิ่งที่หายาก คุณค่าของมันย่อมเพิ่มมากขึ้น ยกเว้นความรู้ ยิ่งกระจัดกระจายออกไปมากเท่าใด มันก็ยิ่งมีค่ามากขึ้นเท่านั้น

• ที่สุดของทั้งสองสิ่งนี้ ที่ไม่อาจบรรลุถึงได้ คือความรู้และความเข้าใจ

• ด้วยความรู้ทำให้ท่านปลอดภัย ด้วยความโง่ทำให้ท่านขาดทุน

• สัจธรรมคือคลังสมบัติที่กว้างใหญ่ไพศาล ซึ่งมันไม่เคยถูกใช้ให้หมดสิ้นไปได้ สติปัญญาคือเสื้อคลุมตัวใหม่ซึ่งไม่มีวันเก่า

• เสื้อคลุมแห่งความรู้ จะทำให้ท่านเป็นอมตะและดูไม่แก่

• จงแสวงหาให้ได้มาซึ่งความรู้ มันเป็นอาภรณ์ประดับตัวท่านหากท่านเป็นคนร่ำรวย และมันจะชุบเลี้ยงท่านหากท่านยากจน

๑๕

• บุคคลที่ปลอดภัยที่สุดในความรู้ของเขา คือผู้ที่ความเชื่อมั่นทั้งหลายของเขาไม่ถูกทำให้อ่อนแอลงโดยความสงสัย

• ความรู้ที่เป็นประโยชน์ที่สุด คือสิ่งที่ผู้หนึ่งนำมันไปสู่การปฏิบัติ

• จงเลือกส่วนที่ดีที่สุดของวิทยากรแต่ละสาขา ให้เหมือนอย่างผึ้งที่ดูดส่วนที่ละเอียดอ่อนที่สุดของดอกไม้

• จงติดตามแสวงหาความรู้ ที่ท่านอาจจะควรค่าแก่ตำแหน่งที่มีเกียรติอันน่าเคารพยกย่อง

• จงค้นหาความรู้ จงทำให้ตัวท่านเองเป็นผู้ที่รู้จักโดยผ่ายทางความรู้นั้น จงปฏิบัติมันแล้วท่านจะกลายเป็นผู้รู้เช่นกัน

• ประสบการณ์ คือความรู้ที่ได้รับมา

• ผู้ขาดประสบการณ์ ย่อมถูกหลอกอยู่บ่อยๆ

• กษัตริย์ได้รับความเคารพนับถือเพราะอำนาจของพระองค์ นักปราชญ์ได้รับความเคารพนับถือ

เพราะสิ่งที่เขารู้ ผู้ที่ทำความดีได้รับความเคารพนับถือเพราะการทำความดีต่างๆ ของเขา และหัวหน้าเผ่าชนได้รับความเคารพนับถือก็เพราะอายุของเขา

• จะรู้จักคนอื่นได้อย่างไร หากบุคคลนั้นยังไม่รู้จักตนเอง?

• จงอย่าเกลียดในสิ่งที่ท่านไม่รู้ เพราะความรู้อันเป็นส่วนที่ใหญ่กว่านั้นประกอบด้วยสิ่งที่ท่านไม่รู้

• ถ้าท่านบิดบังซ่อนเร้นในสิ่งที่ท่านรู้ ท่านจะถูกทึกทักว่าท่านไม่รู้อะไรเลย

๑๖

• บุคคลควรไต่ถามถึงเรื่องที่ตนไม่รู้ ไม่ควรอายที่จะกล่าวว่า “ฉันไม่รู้”

• มนุษย์มักเป็นปฏิปักษ์กับสิ่งที่เขาไม่รู้

• ภัยร้ายของความรู้ คือการไม่ปฏิบัติตามความรู้นั้น ภัยร้ายของแรงงาน คือการทำงานแต่ไม่สุจริต

ใจ

• การขว้างวิทยาการทิ้งไป ก็เสมือนกับการทุบทำลายไม้ที่ต่อเรือลำหนึ่งออกเป็นชิ้นๆ ซึ่งบรรดา

ผู้สร้างเรือลำนั้นพร้อมด้วยผู้เดินทางทั้งหมดที่โดยสารไปกับมันต้องจมลงจนหมดสิ้น

• ความรู้เช่นนั้นถือว่าผิวเผินมาก ซึ่งหลงเหลืออยู่เฉพาะบนปลายลิ้นของท่านเท่านั้น คุณธรรม

ภายในและคุณค่าของความรู้ คือสิ่งที่ท่านยึดถือปฏิบัติไปตามนั้น

การศึกษา

• แท้จริงแล้ว ท่านมีความจำเป็นในการศึกษาที่ดี มากเสียยิ่งกว่าชัยชนะที่นำมาซึ่งเงินทองและ

ทองคำ

• การศึกษาที่ดี ปกปิดแหล่งกำเนิดอันต่ำต้อย

• ผู้ที่ได้รับการศึกษา ย่อมมองเห็นด้วยกับจิตใจและวิญญาณ คนโง่เขลานั้นมองเห็นก็แต่เพียงกับ

ดวงตาทั้งสองของเขาเท่านั้น

• จงฟัง แล้วท่านจะสอนตัวท่านเอง จงนิ่งสงบเงียบ แล้วท่านจะไม่เสี่ยงเลย

• อุทิศชีวิตแก่ศาสนาโดยมิได้รับการสั่งสอนอบรม ก็เหมือนกับลาสีข้าวที่เดินวนเวียนไปรอบๆโดยไม่อาจออกไปจากที่นั้นได้

๑๗

• ผู้ที่ไม่รู้จักเรียนรู้อะไรเลย ย่อมไม่เคยถูกสอนสั่ง

• ผู้ใดก็ตามที่ไม่อดทนต่อความยากลำบากในการถูกสั่งสอนอบรม จะอยู่ในความต่ำต้อยแห่งอวิชชาตลอดไป

• ครูและนักเรียนมีส่วนร่วมเท่าๆ กัน ในรางวัลของพระผู้เป็นเจ้า

• บุคคลย่อมเรียนรู้ได้ด้วยการถามปัญหาต่างๆ

• การสอนที่ดีที่สุด คือการสอนที่จะแก้ไขตัวท่านเองให้ถูกต้อง

• การสอนที่มิได้แก้ไขตัวท่านให้ถูกต้อง ย่อมอยู่ในแนวทางที่ผิดพลาด

• บุคคลที่มีความสามารถน้อยที่สุด คือบุคคลที่สำแดงตัวเขาเองให้ปรากฏว่าไม่สามารถแก้ไขตัวเองห้ถูกต้องได้

• ทำตัวท่านเองให้เป็นผู้รับใช้ผู้รู้คนใดก็ได้ที่ท่านพบเจอ

ปัญญา

• คนฉลาด ต้องการวันละชั่วโมงทุกๆ วัน เพื่อจัดการสำรวจตรวจสอบมโนธรรมของเขาเอง และวางมาตรการกับสิ่งที่เขาได้รับรู้หรือสูญเสียไป

• จิตใจเป็นแหล่งของปัญญา ด้วยกับการสดับฟังในฐานะที่เป็นช่องทางของมัน

• ปรัชญาเป็นพฤกษาที่เจริญเติบโตในจิตใจ และดอกผลของมันผ่านออกมาทางคำพูด

• ความศรัทธาและปัญญาเป็นพี่น้องฝาแฝด พระผู้เป็นเจ้าไม่ทรงรับสิ่งหนึ่งที่ปราศจากอีกสิ่งหนึ่ง โดยปัญญาที่ทำให้บุคคลบรรลุถึงยอดแห่งกิจการงานทั้งหลาย

• พระผู้เป็นเจ้ามิได้ทรงประทานสิ่งใดให้แก่บรรดาผู้ถูกบังเกิดของพระองค์ที่วางอยู่สูงกว่าเหตุผล

• แท้จริงผู้ที่เห็นไปก่อนล่วงหน้า จะไม่ถูกกับดักของเล่ห์กล คนฉลาดก็จะไม่ถูกหลอกลวงด้วย

๑๘

ความโลภ

• การไว้เนื้อเชื่อใจต่อบุคคลใดก่อนที่จะรู้จักเขาดี ถือว่าขาดสติปัญญา

• ความหลงใหลในโลกีย์วิสัยเกิดขึ้นน้อย ในขณะที่ปัญญาเพิ่มมากขึ้น

• คนฉลาดพึ่งพาแรงงานของเขาเอง ส่วนคนโง่ไว้วางใจในความคิดเพ้อฝันต่างๆ

• ปราชญ์แสวงหาความสมบูรณ์ คนโง่แสวงหาทรัพย์

• สมมุติฐานของคนฉลาด ย่อมใกล้เคียงความถูกต้องมากกว่าความรู้ของคนโง่

• มันเป็นส่วนของคนฉลาดที่จะต้องเชื่อฟังผู้มีตำแหน่งเหนือเขา ให้ความเคารพแก่ผู้ที่มีความเท่าเทียมกับเขา และให้ความยุติธรรมแก่ผู้ที่ด้อยกว่าเขา

• ความมั่งคั่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือความมั่งคั่งแห่งสติปัญญาและการวินิจฉัยที่ยุติธรรม ความยากจนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือความยากจนจากความโง่เขลาและอวิชชา ส่วนความไม่น่าคบที่สุด นั้นคือความไร้สาระ หยิ่งยโส คดโกง และยกย่องตนเอง ความสูงส่งที่สุดของความดีมีศีลธรรม คือความประพฤติอันสุภาพอ่อนโยนและความดีงามแห่งวัฒนธรรม

• คนฉลาดคิดก่อนแล้วพูด ส่วนคนโง่พูดก่อนแล้วคิด

สติปัญญา

• ผู้มีสติปัญญา คือบุคคลที่รู้ว่าจะอยู่อย่างไรในวันนี้ที่จะมีความสุขมากกว่าเมื่อวันวาน

• เกี่ยวกับคุณสมบัติที่ดีของมนุษย์ สองประการที่มีชื่อเสียงคือ สติปัญญาและถ้อยคำ โดยประการแรกเขาจะทำประโยชน์ให้แก่ตัวเอง และในประการที่สอง เขาจะทำให้คนอื่นได้รับประโยชน์

๑๙

• สติปัญญาเป็นพรสวรรค์ตามธรรมชาติ และเพิ่มพูนขึ้นด้วยประสบการณ์และการสอน

• ไม่มีใครเลยที่เป็นผู้ครอบครองสติปัญญา แล้วจะถูกลดลงมาสู่ความยากจน

• เขาเป็นผู้มีเกียรติ ผู้ซึ่งใช้สติปัญญาอยู่เป็นประจำ

การพิจารณาตรึกตรอง

• บุคคลที่ครุ่นคิดพิจารณาถึงความโปรดปรานทั้งหลายของพระผู้เป็นเจ้า ย่อมประสบความสำเร็จ

• การครุ่นคิดพิจารณาของมนุษย์ เป็นกระจกส่องให้ตัวเขาได้เห็นการกระทำที่ดีและชั่วของเขาเอง

• ผู้ใดก็ตามที่มีพลังแห่งความตรึกตรอง ย่อมได้บทเรียนจากทุกๆ สิ่ง

• เรื่องต่างๆ ที่มืดมัว จะกลับกลายเป็นความกระจ่างชัดในความเพียรและครุ่นคิดพิจารณา

• การกระทำในสิ่งที่ได้พิจารณาไตร่ตรองแล้วเท่านั้น ที่จะทำให้กิจการงานทั้งหลายของท่านดำเนินไปได้ด้วยดี

• คิดใคร่ครวญก่อนที่ท่านจะลงมือกระทำ (การโจมตี)

• คิดใคร่ครวญก่อนที่ท่านจะพูด แล้วท่านจะหลีกเลี่ยงความผิดพลาดได้เช่นกัน

๒๐

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

 การที่ท่านหญิงคอดีญะฮ์ให้ความช่วยเหลือท่านศาสดาในการเผยแผ่คุณธรรม ในทำนองเดียวกัน ท่านหญิงซัยนับก็ช่วยเหลืออิมามฮูเซน ในการพิทักษ์รักษาอิสลาม หลังจากที่มันได้เสื่อมลงไปตามแนวทางของยะซีด

และนี่คือเหตุผลที่ท่านศาสดาได้กล่าวว่า “ฮูเซนนุมมินนี วะอะนะ มินฮูเซน” (ฮูเซนมาจากฉันและฉันมาจากฮูเซน) ถ้าท่านหญิงซัยนับมีชีวิตอยู่ในช่วงที่ท่านหญิงคอดีญะฮ์ยังอยู่ ก็อาจจะเป็นไปได้ที่

ท่านหญิงคอดีญะฮ์จะกล่าวว่า “ซัยนะบุมินนี วะอะนามินซัยนับ”

(ซัยนับมาจากฉันและฉันมาจากซัยนับ)

เมื่อท่านหญิงฮาญัร ภรรยาของศาสดาอิบรอฮีม มองเห็นมีดที่อยู่บนต้นคอของอิสมาอีล ลูกชายของท่าน ท่านถึงกับทรุดลงและหมดสติ

ความกล้าหาญของท่านหญิงซัยนับ มากมายเพียงใดที่ทุ่งกัรบะลา? ท่านไม่เพียงแต่เห็นภาพพี่ชายของท่าน แต่ยังเห็นลูกชายทั้งสองของท่าน ถูกเชือดคออย่างเลือดเย็นอีกด้วย.

๔๑

บทที่ ๔

การเดินทางออกจากมะดีนะฮ์

ในข้อตกลงสงบศึกระหว่างอิมามฮาซันกับมุอาวิยะฮ์ ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า สิทธิในการเป็นคอลีฟะฮ์จะต้องเป็นของอิมามฮูเซน เท่านั้น

อิมามไม่เคยยอมลดเกียรติลงไปยอมรับทรราชจากดามัสกัส ซึ่งแนวคิดและการปฏิบัติตนของเขา ต่อต้านหลักการอันสูงส่งและการดำเนินชีวิตอันสง่างามของครอบครัวของท่านศาสดา

ทันทีที่ยะซีดขึ้นเถลิงอำนาจ ก็เริ่มวางแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับบุคลิกภาพที่ชั่วช้าของตน ด้วยการแทรกแซงรากฐานความเคร่งครัดของศาสนา ประกอบกรรมทำความชั่วอย่างเปิดเผยโจ๋งครึ่ม

โดยไม่เกรงกลัวต่อการลงโทษ และประกาศตนเองเป็นผู้สืบทอดของท่านศาสดา เรียกร้องให้อิมามฮูเซนยอมสวามิภักดิ์โดยไม่มีข้อต่อรองใดๆ

๔๒

แสงสว่าง (ศาสนา) ที่ท่านศาสดานำมาให้กับประชาชาติ กำลังตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกทำให้สูญสิ้นไป หน้าที่ที่จะต้องพิทักษ์ให้ดำรงอยู่ในวิถีทางที่บริสุทธิ์เหมือนเดิม ตกอยู่ที่อิมามฮูเซน ครอบครัวของท่าน และบรรดาสาวกที่ซื่อสัตย์ของท่าน ท่านจึงตัดสินใจออกเดินทางจากมะดีนะฮ์ไปยังนครมักกะฮ์

เมื่อท่านหญิงซัยนับ ทราบข่าวท่านจึงร่ำไห้ อับดุลลอฮ์สามีของท่านสังเกตเห็น จึงอยากทราบถึงสาเหตุว่า เกิดอะไรขึ้น พร้อมกับกล่าวขึ้นว่า “ขอพระผู้เป็นเจ้าอย่าได้ให้เธอต้องร่ำไห้เลย เธอมีเรื่องกลุ้มใจอะไรหรือ?” ท่านหญิงได้ตอบว่า “ท่านทราบดีใช่ไหมว่า ฉันรักฮูเซนมากเพียงใด ตอนนี้ท่านได้ตัดสินใจที่จะออกเดินทาง และเป็นไปไม่ได้ที่ฉันจะมีชีวิตอยู่โดยปราศจากฮูเซน ฉันขอทวงสัญญาที่ท่านได้ให้ไว้เพื่อที่จะติดตามฮูเซนไป” แม้ว่าท่านทั้งสองจะไม่เคยแยกจากกัน แต่ท่านหญิงก็ทราบดีถึงภาระหน้าที่ต่ออิสลาม อับดุลลอฮ์รู้สึกเศร้าใจและได้กล่าวว่า ท่านจะไม่นำมาปะปนกันระหว่างหน้าที่ของท่านหญิงที่มีต่ออิมามฮูเซนกับความสุขส่วนตัวของท่าน แม้ว่าหัวใจของท่านจะโศกเศร้าจากการนี้ แต่ท่านก็จะไม่ขัดขวางท่านหญิงด้วยการยินยอมของอับดุลลอฮ์

๔๓

ท่านหญิงจึงตัดสินใจร่วมเดินทางไปกับอิมามจากมะดีนะฮ์สู่หนทางที่ถูกกำหนดไว้ ท่านหญิงพาอูนและมุฮัมมัด บุตรชายทั้งสองของท่านไปด้วย

ตามปกติผู้หญิงจะต้องอยู่แต่ในบ้านเรือนของนาง แต่นี่เป็นข้อแตกต่าง เพราะท่านต้องกลายเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบในขบวนเชลย และเป็นผู้คุ้มกัน

แม้ท่านจะเป็นผู้นอบน้อมถ่อมตน แต่ท่านเป็นบุตรสาวของราชสีห์แห่งพระเจ้า แม้จะตกอยู่ในภยันตรายก็ยังสามารถลุกขึ้นยืนหยัดด้วยความอดทน ในการเผชิญหน้ากับความหิวกระหายซึ่งล้อมรอบไปด้วยบรรดาผู้สละชีพและผู้บาดเจ็บ ในสมรภูมิเลือดที่กัรบะลา

วันที่ ๒๘ รอญับ ฮ.ศ. ๖๐ (๗ พฤษภาคม ค.ศ.๖๘๐)

 เมื่อกองคาราวานของท่านอิมามออกเดินทางจากมะดีนะฮ์สู่นครมักกะฮ์ ลูกหลานตระกูลฮาชิม อะลี อักบัร อับบาส กอซิม อูนและมุฮัมมัด ทำหน้าที่ช่วยส่งบรรดาสตรีขึ้นบนหลังอูฐ แต่ท่านหญิงซัยนับนั้นไม่มีใครส่งท่านให้ขึ้นบนหลักอูฐ นอกจากอิมามฮูเซน เท่านั้น

๔๔

เมื่อตะวันเริ่มทอแสง ขบวนก็เริ่มออกเดินทางรอนแรมไปยังนครมักกะฮ์ ความมืดได้เข้ามาปกคลุมมะดีนะฮ์ พร้อมๆ กับการเคลื่อนตัวเข้ามาของความหม่นหมอง ความโศกเศร้า ซึ่งการจากไปของอิมามและครอบครัวของท่านในครั้งนี้ ทำให้ประชาชนเกิดความอาลัยรัก ซึ่งจะประทับอยู่ในความทรงจำตลอดไป

ขบวนของท่านอิมามหยุดพักที่มักกะฮ์ประมาณ ๔ เดือน ในช่วงนี้เอง อับดุลลอฮ์ได้ตัดสินใจร่วมเดินทางไปด้วย แรงกดดันจากพวกอุมัยยะฮ์ทวีความรุนแรงมากขึ้น พวกเขาบังคับให้อิมามฮูเซนยอมรับบัยอะฮ์ (สัตยาบัน) กับยะซีด แต่เมื่อไม่ประสบความสำเร็จ พวกเขาก็เริ่มวางแผนการว่า จะใช้วิธีใดที่จะกำจัดอิมามได้ดีที่สุด?

ในที่สุด พวกเขาก็ตัดสินใจที่จะสังหารท่าน ในบริเวณกะอ์บะฮ์

อิมามคอยติดตามข่าวอยู่ตลอดเวลา ในที่สุด ท่านก็ตัดสินใจออกเดินทางไปยังอิรัก แม้ว่าบรรดาผู้อาวุโสของตระกูลฮาชิมจะขอให้ท่านเปลี่ยนความตั้งใจ อย่างไรก็ดี ท่านได้แย้มให้ทราบถึงเรื่องราวที่ท่านเคยรับฟังมาจากท่านศาสดา

๔๕

 เมื่ออับดุลลอฮ์บุตรของอับบาส แน่ใจว่าอิมามจะไม่ยอมคล้อยตามคำแนะนำของท่าน จึงกล่าวว่า

“ด้วยเหตุอันใด ท่านจึงประสงค์ที่จะนำบรรดาสตรีและเด็กๆ ไปกับท่านในการพลีครั้งนี้ด้วยเล่า!?”

เมื่อท่านหญิงซัยนับได้ยินเช่นนั้น จึงรู้สึกไม่พอใจ พร้อมกับกล่าวว่า

“ท่านอับดุลลอฮ์ ท่านต้องการที่จะให้อิมามของพวกเราเดินทาง

ไปโดยลำพัง และทิ้งพวกเราไว้ข้างหลังกระนั้นหรือ?

 ฉันขอสาบานด้วยนามของพระเจ้าว่า มันเป็นไปไม่ได้! เราจะไม่ยอมปล่อยให้ท่านไปโดยลำพัง เราจะมีชีวิตอยู่พร้อมกับท่าน และจะตายพร้อมกับท่าน

เพราะท่านเป็นพี่ชายคนเดียวที่เหลืออยู่สำหรับเรา”

๔๖

ขณะนั้นท่านหญิงซัยนับ รู้สึกกังวลใจกับการรอคอยคำสั่งจากพี่ชายของท่าน ในการเตรียมพร้อมที่จะไปยังกูฟะฮ์ อิมามฮูเซนทราบข่าวว่า มีแผนการที่จะลอบสังหารท่านในขณะกำลังประกอบพิธีฮัจญ์ เพื่อเป็นการป้องกันการหลั่งเลือดลงบนสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ ท่านจึงตัดสินใจเดินทางออกจากมักกะฮ์ไปยังกูฟะฮ์เพียงหนึ่งวันก่อนพิธีการทำฮัจญ์ เมื่อถูกถามถึงเหตุผลในการออกจากมักกะฮ์ก่อนวันประกอบพิธีซึ่งจะมีในวันรุ่งขึ้น ท่านกล่าวตอบว่า

 “ท่านจะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่ทุ่งกัรบะลาอ์”

จึงมีคำสั่งให้ออกเดินทาง ขบวนจึงมุ่งหน้าไปยังกูฟะฮ์

การเดินทางได้ถูกกำหนดขึ้นเป็นขั้นเป็นตอน

และเมื่อขบวนเดินทางมาถึงคูวัยริยะฮ์ อิมามจึงตัดสินใจหยุดพักค้างคืนพร้อมกับบรรดาเด็กๆ

วันรุ่งขึ้นท่านหญิงบอกกับพี่ชายของท่านว่า ท่านได้ยินเสียงหนึ่งบอกกับท่านว่า “อิมามฮูเซนจะถูกสังหาร”

 อิมามตอบว่า “สิ่งนี้ได้ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว”

๔๗

เมื่อขบวนมาถึงตาฮิม อับดุลลอฮ์ บุตรของญะอ์ฟัร (ซึ่งเดินทางจากมะดีนะฮ์มาสมทบกับอิมามที่มักกะฮ์) เดินทางมาถึงแล้ว ได้แสดงความคาราวะและปรึกษาหารือเรื่องสำคัญบางอย่าง พร้อมกับย้ำเตือนบุตรชายทั้งสองของท่าน คืออูนและมุฮัมมัด ให้พลีชีพเพื่ออิมามผู้เป็นลุงของเขาทั้งสอง หลังจากนั้น

เขาได้เดินทางกลับไปยังมักกะฮ์ ขบวนของอิมามจึงมุ่งหน้าไปยังอิรัก.

๔๘

บทที่ ๕

กัรบะลา

หลังจากรอนแรมมากลางทะเลทรายอันแห้งแล้ง กองคาราวานก็ได้มาถึงจุดหมายปลายทาง นั่นคือ ‘กัรบะลา’ ดินแดนซึ่งพระผู้เป็นเจ้าได้ทรงกำหนดไว้ ณ ที่นี่เอง การเดินทางของอิมามฮูเซน และมิตรสหายของท่านในโลกนี้จบสิ้นลง แต่นั่นเป็นเพียงการเริ่มต้นสำหรับการเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางที่แท้จริงอย่างนิรันดร์

วันนั้นตรงกับวันที่ ๒ เดือนมุฮัรรอม ฮ.ศ. ๖๑ (๑ ตุลาคม ค.ศ.๖๘๐)

ท่านหญิงซัยนับมีความเศร้าสลดใจอย่างที่สุด อิมามออกคำสั่งให้ตั้งกระโจมค่ายพัก ท่านได้อ่านบางโองการจากคัมภีร์อัล กุรอาน ซึ่ง

เป็นเหตุให้ท่านหญิงทราบในทันทีว่า นี่เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่า การพลีชีพกำลังจะเกิดขึ้นแล้ว

๔๙

ท่านหญิงจึงร่ำไห้อย่างมากและกล่าวกับพี่ชายของท่านว่า

 “โอ้ ผู้เป็นแสงสว่างแห่งดวงตาของฉัน! น้องไม่อยากที่จะมีชีวิตอยู่จนได้พบกับวันนี้เลย ท่านคือผู้ช่วยเหลือ และเป็นเพียงผู้เดียวที่เหลือยู่ในจำนวนผู้บริสุทธิ์ทั้งห้า

(ปันญ์จตาน) โอ้ พี่ชายที่รัก! ท่านกำลังจะบอกให้เราทราบถึงข่าวการพลีชีพของท่านใช่ไหม?”

ด้วยคำถามนี้ อิมามตอบว่า “โอ้ น้องสาวที่รักของพี่! จงอดทนต่อความเจ็บปวด นี่เป็นการทดสอบจากพระผู้เป็นเจ้า จงจำไว้เสมอว่า ทุกชีวิตต้องลิ้มรสแห่งความตาย และต้องคืนกลับไปยังพระผู้สร้าง เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับการงานของพวกเขา โอ้ น้องรัก! ท่านศาสนทูตของพระเจ้าและบิดาของเราอยู่ที่ไหนกันเล่า? มันช่างดูไกลแสนไกลสำหรับพี่ การดำเนินรอยตามแบบฉบับของท่านนั้นเป็นหน้าที่

ของมุสลิมที่มีความเกรงกลัวในพระเจ้าทุกคน” เมื่อท่านหญิงได้ยินเช่นนั้น ดวงตาของท่านก็เอ่อนองไปด้วยน้ำตาแห่งความเศร้าสลด

๕๐

ท่านอิมาม ได้บอกถึงข่าวการพลีชีพที่ยิ่งใหญ่ และย้ำว่า หลังจากที่ท่านจากโลกนี้ไปแล้ว ท่านหญิงจะต้องพยายามควบคุมตนเองให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

ในค่ำวันที่ ๙ เดือนมุฮัรรอม (๘ ตุลาคม ค.ศ.๖๘๐) ศัตรูเริ่มบุกเข้าโจมตียังค่ายพักของอิมามฮูเซน

ในขณะนั้นท่านกำลังอยู่ในที่พักของท่าน ท่านหญิงได้มาบอกว่า การโจมตีได้เริ่มขึ้นแล้ว ขณะนั้นอิมามกำลังอยู่ในอาการครึ่งหลับครึ่งตื่น ท่านเล่าให้ท่านหญิงฟังว่า ท่านได้เห็นท่านตา คือ ท่านศาสนทูตของพระผู้เป็นเจ้า บิดาของท่านอิมามอะลี ผู้นำแห่งผ้ศรัทธา มารดาท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ และอิมามฮาซัน พี่ชายของท่าน ซึ่งท่านเหล่านั้นได้เชิญชวนให้อิมามไปอยู่กับพวกท่าน เมื่อได้ยินเช่นนั้น ท่านหญิงซัยนับรู้สึกเศร้าสลดและสั่นสะท้าน อิมามจึงขอร้องให้ท่านหญิงพยายามควบคุมตนเอง ให้มีความอดทน

มิเช่นนั้นจะทำให้คนอื่นๆ ที่อยู่รอบข้างเสียกำลังใจ และทำให้ศัตรูเกิดความยินดีปรีดา

๕๑

ด้วยการยินยอมของอิมามฮูเซน ท่านอับบาสผู้เป็นน้องชายได้ขอร้องพวกศัตรูให้เริ่มโจมตีในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น เพื่อว่าอิมามจะได้มีเวลานมาซและขอพรในค่ำคืนสุดท้ายนี้อย่างเต็มที่

ในวัน ‘อาชูรอ’ ภารกิจที่ท่านหญิงได้รับและต้องปฏิบัตินั้น ไม่มีมนุษย์ปุถุชนธรรมดาคนใดจะสามารถปฏิบัติได้เลย

ภาระทั้งหมดตกอยู่ในความรับผิดชอบของท่าน ที่จะต้องดูแลครอบครัวของบรรดาผู้สละชีพในวันนั้น ทีละคนๆ

อิมามฮูเซนมีความเชื่อมั่นในตัวน้องสาวของท่าน ว่าจะสามารถดูแลรับผิดชอบทุกๆ คน

หลังจากท่านจากไปแล้ว และจะปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถในสถานการณ์เช่นนั้น โดยจะไม่ยอมให้ความเศร้าโศกเสียใจมาทำให้หน้าที่ของท่านต้องบกพร่องเลยแม้แต่น้อย

๕๒

อิมามฮูเซน เป็นท่านสุดท้ายที่พลีชีพในวันนั้น ท่านได้ตรงไปยังร่างของบรรดาผู้ช่วยเหลือของท่านที่สละชีวิตไปแล้วทีละคน ทุกๆ ร่างจะถูกนำกลับมายังค่ายพัก ซึ่งจะมีท่านหญิงคอยปลอบโยนสมาชิกในครอบครัวของบรรดาผู้สละชีวิตเหล่านั้น

ท่านหญิงพยายมปลอบขวัญให้พวกเขาเกิดความกล้าหาญ และย้ำว่าการเสียสละชีวิตเป็นความจำเป็นในการพิทักษ์รักษาอิสลามตามแนวทางของท่านศาสดามุฮัมมัดไว้

ท่านหญิงยอมพลีชีวิตบุตรชายทั้งสองของท่าน คืออูนและมุฮัมมัด เพื่อช่วยเหลือพี่ชาย ด้วย

หัวใจที่เด็ดเดี่ยว กล้าหาญ โดยท่านพยายามกระตุ้นให้อิมามอนุญาตให้บุตรทั้งสองของท่านทำตามความปรารถนา

ท่านรู้สึกสะเทือนใจราวกับหัวใจได้แตกสลายลงไป บรรดาผู้สละชีพแต่ละท่าน ไม่ว่าจะเป็นลูกชายทั้งสองของท่านหรือ

ลูกชายของอิมามฮูเซน อิมามฮาซันหรือแม้แต่ท่านอับบาส ก็ได้สละชีพไปจนหมด

๕๓

 เหตุการณ์สะเทือนขวัญครั้งนี้ทำให้ท่านเจ็บปวดทุกข์ทรมานใจจนไม่อาจบรรยายได้

การทดสอบที่ยิ่งใหญ่ของท่านได้เริ่มต้นขึ้น เมื่ออิมามฮูเซน ได้พลีชีพครั้งยิ่งใหญ่ที่โลกทั้งโลกได้ประจักษ์.

บทที่ ๖

การพลีของท่านอูนและมุฮัมมัด

ท่านหญิงซัยนับ มีบุตรชายสองคนที่ได้พลีชีพ คืออูนและมุฮัมมัด ทั้งสองคนเกิดจากอับดุลลอฮ์

บุตรของญะอ์ฟัร ฏอยยัร

ท่านหญิงเป็นสตรีที่มีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว บุตรชายทั้งสองของท่านก็เช่นเดียวกัน ท่านญะอ์ฟัร ฏอยยัร เป็นพี่ชายของอิมามอะลี เป็นผู้ถือธงรบแห่งอิสลามในหลายๆ สมรภูมิร่วมกับท่านศาสดา

มุฮัมมัด ท่านเป็นผู้ถือธงรบในสงครามมูตะฮ์ ในการรบครั้งนั้นแขนทั้งสองของท่านถูกตัดขาด ร่างกายถูกฟันจนมีบาดแผลไปทั้งตัวและเสียชีวิตในที่สุด

๕๔

อิมามอะลี ก็เป็นผู้ถือธงรบของท่านศาสดาในสงครามหลายต่อหลายครั้งเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ อูนและมุฮัมมัด จึงขอร้องให้มารดาของท่านช่วยข้อร้องให้อิมามฮูเซนยินยอมให้เขาทั้งสองได้เป็นผู้ถือธงของอิสลามในสมรภูมิกัรบะลา แต่ ท่านหญิงทราบดีว่า ผู้ที่เหมาะสมที่จะเป็นผู้ถือธงรบในครั้งนี้คือท่านอับบาส

ท่านหญิงเห็นว่าไม่เป็นการสมควรที่จะขอในสิ่งนั้น แม้จะทำให้บุตรทั้งสองของท่านพอใจก็ตาม

ท่านจึงอธิบายเหตุผลให้ทั้งอูนและมุฮัมมัดฟัง ซึ่งทั้งสองก็เข้าใจและเชื่อฟัง โดยไม่ปรารถนาจะขอเป็นผู้ถือธงรบอีก

เช้าของวันที่ ๑๐ มุฮัรรอม (๙ ตุลาคม ค.ศ.๖๘๐)

หลังจากที่ญาติสนิทมิตรสหายของอิมามมุ่งหน้าออกไปยังสนามรบเพื่อปกป้องอิสลาม คนแล้วคนเล่า! ทุกคนก็ได้เป็นผู้พลีชีพเพื่ออิสลาม อูนและมุฮัมมัด จึงตัดสินใจออกไปยัง สนามรบ ทั้งสองขอร้องอิมามเพื่อออกไปสู้รบ และตรงไปยังมารดาเพื่อขออนุญาต

๕๕

ท่านหญิงทราบดีว่า นั่นเป็นหน้าที่ของผู้ศรัทธาทุกคนที่จะต้องช่วยปกป้องท่านอิมาม ในยามที่เต็มไปด้วยอันตรายเช่นนี้ ท่านจึงอนุญาต บุตรทั้งสองด้วยความดีใจที่จะได้ออกไปต่อสู้และเสียสละชีวิตเพื่อปกป้องอิสลาม

อิมามฮูเซน ได้โอบกอดหลานทั้งสอง หลังจากนั้นกล่าวคำอำลาด้วยความสะเทือนใจแล้ว อูนและมุฮัมมัดได้ควบม้าทะยานสู่สนามรบด้วยความปลื้มปีติ ถาโถมเข้าสู่สมรภูมิ กวัดแกว่งดาบฆ่าฟัน

ศัตรูลงได้อย่างมากมาย

ด้วยร่างที่เต็มไปด้วยบาดแผลและความอ่อนเพลียจากการกระหายน้ำ ทั้งสองถูกห้อมล้อมด้วยศัตรูที่เข้ามาโรมรัน ในที่สุด ก็ตกลงจากหลังม้า ทันใดนั้น! ศัตรูก็โถมเข้ามาอีกระลอก ทั้งสองร้องเรียกท่าน

ลุงผู้เป็นที่รักเพื่อขอความช่วยเหลือ อิมามฮูเซนขับไล่ศัตรูแตกกระเจิงออกไป แต่โอ้พระผู้เป็นเจ้า! มันสายเกินไปสำหรับอูนและมุฮัมมัด ซึ่งทั่วร่างกายมีบาดแผลฉกรรจ์เต็มไปหมด อิมามได้นำร่างของทั้งสองไปยังสถานที่ซึ่งบรรดาผู้ที่สละชีพไปก่อนหน้านี้รวมกันอยู่

๕๖

และวอนขอต่อพระผู้เป็นเจ้าว่า

 “โอ้ อัลลอฮ์!โปรดรับการพลีของข้าพระองค์ด้วยเถิด…นี่คือหลานชายของญะอ์ฟัร ฏอยยัร ผู้ถือธงรบแห่งอิสลาม ที่ได้พลีชีพเพื่อศาสนาในวันอาชูรอที่ได้ถูกกำหนดไว้ ตามแบบฉบับของบรรดาบรรพบุรุษของท่าน”.

บทที่ ๗

การอำลาของท่านอิมามฮูเซน

การลาจากกันเป็นครั้งสุดท้ายระหว่างพี่ชายกับน้องสาว เต็มไปด้วยความเศร้าสะเทือนใจเป็นอย่างยิ่ง อิมามก้าวออกจากค่ายพักของท่านด้วยความยากลำบาก เพื่อที่จะมากล่าวอำลาน้องสาว

บุตรสาวสุดที่รัก และบรรดาสตรีในครอบครัวอันเป็นที่รักของท่าน ท่านได้กล่าวกับพวกเธอว่า

 “โอ้ ซัยนับน้องรัก! อุมมุกุลซูม อุมมุลัยลา อุมมุรุบาบ และลูกรักกุบรอ

๕๗

รุกอยยะฮ์และสะกีนะฮ์ และพิฏซะฮ์ คนรับใช้ที่จงรักภักดีต่อฉัน เข้ามาใกล้ๆ และจงฟังฉันกล่าวคำอำลาและสั่งเสียครั้งสุดท้ายแด่พวกท่าน”

ด้วยคำพูดดังกล่าว ทำให้บรรดาสตรีในครอบครัวของท่านรีบพากันเข้ามาห้อมล้อมท่าน

ท่านหญิงซัยนับ น้องสาวสุดที่รักของท่าน ได้โอบแขนไว้รอบต้นคอของอิมาม และเพ่งมองลึกลงไปในดวงตาทั้งสองของท่านพร้อมกับกล่าวว่า

 “พี่ชายที่รัก! มันเป็นความจริงใช่ไหม ที่ท่านกำลังจะจากไปแล้ว และจะไม่มีชีวิตกลับมาอีก? โอ้ พี่ชายของฉัน! เวลานั้นมาถึงแล้วใช่ไหม? เวลาที่น้องกำลังจะหมดสิ้นทุกอย่างด้วยการจากไปของท่าน ท่านกำลังทิ้งพวกเราไว้ในสภาพที่หัวใจแตกสลาย”

๕๘

อิมามก้มศีรษะลงพร้อมกับพึมพำว่า

 “ใช่แล้ว ซัยนับน้องรัก! เวลานั้นได้มาถึงแล้ว เวลาที่ท่านแม่ของเราได้เตรียมเธอไว้ตั้งแต่เธอยังเป็นเด็กเล็กๆ เรื่องราวที่บิดาของเราบอกเธอในขณะที่ท่านกำลังจะสิ้นใจ สำหรับตัวพี่นั้น การจากไปครั้งนี้เป็นความสะเทือนใจอย่างที่สุด เพราะพี่ทราบดีว่า การทดสอบ

อย่างแท้จริงของเธอยังไม่สิ้นสุด แต่มันกำลังจะเริ่มต้นในวันนี้”

“โอ้ พี่ชายของฉัน! ฉันได้แต่หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การพลีชีพของอูนและมุฮัมมัดบุตรทั้งสองของน้อง น้องอับบาส กอซิมและอะลี อักบัร แล้วชีวิตของท่านจะปลอดภัย ไม่มีท่านแล้วจะมีอะไรเหลือสำหรับฉัน ที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปในโลกนี้

โอ้พี่ชาย! เมื่อท่านไปยังสวนสวรรค์ โปรดวอนขอต่อท่านตาของเรา ได้เรียกฉันกลับไปยังสวนสวรรค์โดยเร็วเถิด เพื่อช่วยให้ฉันรอดพ้นจากการถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม และต้องพบกับความอัปยศที่กำลังรอคอยฉันอยู่”

๕๙

อิมาม ไม่อาจตอบคำวอนขอของท่านหญิงได้ เพราะท่านทราบดีว่า สิ่งที่เธอพูดนั้นเป็นความจริง ท่านพยายามควบคุมอารมณ์อย่างที่สุด แล้วจึงกล่าวว่า

“ซัยนับ ถ้าเธอต้องการจะจากโลกนี้ไปโดยเร็ว แล้วใครเล่า! จะเป็นผู้แบกรับภาระหน้าที่? ใครเล่า! จะเป็นผู้สานต่อการงานของพี่ที่ยังไม่สำเร็จลุล่วง พี่กำลังจะมอบหมายให้เธอดูแลลูกๆ ที่กำพร้าและภรรยาหม้ายของพี่ ลูกๆ กำพร้าและภรรยาหม้ายของบรรดาผู้กล้าหาญของพี่ และญาติพี่น้องของเรา มันถึงเวลาแล้วที่เธอจะต้องเป็นผู้ชี้นำ ดูแลและปลอบโยนพวกเขา พี่จะจากไปอย่างสงบถ้าเธอจะให้สัญญากับพี่ว่า จะทำหน้าที่แทนบรรดาผู้ที่ได้จากไปในวันนี้”

ท่านหยุดนิ่งชั่วครู่และกล่าวต่อว่า “โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ซัยนับ! เธอจะต้องดูแล ‘อะลี ซัยนุลอาบิดีน’ ซึ่งกำลังป่วยหนัก

๖๐

61

62