พื้นฐานอิสลาม

พื้นฐานอิสลาม0%

พื้นฐานอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา

พื้นฐานอิสลาม

ผู้เขียน: อัลลามะฮ์ ซัยยิด มุฮัมมัด ฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 24686
ดาวน์โหลด: 3375

รายละเอียด:

พื้นฐานอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 354 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 24686 / ดาวน์โหลด: 3375
ขนาด ขนาด ขนาด
พื้นฐานอิสลาม

พื้นฐานอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

 อุปมัยว่า พวกเขาเสมือนเมล็ดพันธุ์พืชที่งอกรากออกมา เพื่อให้พลังงานเข้าไป ก็จะแข็งแกร่งและลงรากลึกยิ่งขึ้น มันได้ทำให้ชาวสวนประหลาดใจ ด้วยกับพวกเขา (ตัวอย่างที่ได้กล่าวไปถึงการที่ท่านศาสนทูต และบรรดาสหายของท่านได้ร่วมเสียสละโดยเริ่มต้นจากศูนย์ จนกระทั่งขึ้นสู่จุดสุดยอดเป็นที่เกรงขามของพวกปฏิเสธรู้สึกโกรธไม่พอใจ

 อัลลอฮฺได้สัญญาไว้กับปวงบ่าวผู้มีอีหม่านและประพฤติคุณธรรมความดีในหมู่พวกเขาว่า พระองค์จะอภัยโทษและประทานรางวัลอันยิ่งใหญ่ (ให้แก่พวกเขา)”

อัลกุรอานยังกล่วอีกว่า

“เมื่อครั้งที่อีซาบุตรของมัรยัม กล่าวว่า โอ้ชาวบะนีอิสรออีล

 ฉันคือศาสนทูตของอัลลอฮฺ ที่มีมายังพวกท่าน เป็นผู้มายืนยันถึงความสัจจะของคัมภีร์เตารอตที่อยู่กับพวกท่านและเป็นผู้แจ้งข่าวเกี่ยวกับศาสนทูตคนหนึ่ง ที่จะมาภายหลังฉันชื่อของเขาคือ อะฮฺมัด แต่เมื่อเขาได้นำหลักฐานอันชัดแจ้งมายืนยันกับพวกเขาแล้ว พวกเขากลับกล่าวว่า นี่คือเวทมนต์เป็นแน่”

และที่กล่าวว่า

“เขาเหล่านั้นผู้ที่เราได้ประทานคัมภีร์ให้แก่พวกเขา รู้จักเขา (ศาสดามุฮัมมัด) ดีเสมือนที่พวกเขารู้จักลูกหลานของพวกเขาเอง

 แท้จริงแล้วชนกลุ่มหนึ่งในหมู่พวกเขากระทำการปิดบังสัจธรรมทั้ง ๆ ที่รู้อยู่เต็มอก”

และอีกโองการหนึ่ง อัล กุรอาน กล่าวว่า

“เขาเหล่านั้น ผู้ที่เราได้ประทานคัมภีร์ให้แก่พวกเขา รู้จักเขา

 (ศาสดามุฮัมมัด) ดีเสมือนที่พวกเขาได้รู้จักลูกหลานของพวกเขาเอง พวกเขาคือผู้ที่ทำให้ตัวเองชาดทุน อีกทั้งยังไม่มีอีหม่าน”

จากอายะฮฺเหล่านี้ทำให้เข้าใจได้ว่า ศาสดาท่านก่อนๆ ได้แจ้งข่าวเกี่ยวกับการมาของศาสดามุฮัมมัด(ศ)

และคุณลักษณะของท่าน(ศ)ไว้ การบอกข่าวดีต่าง ๆ อันแจ้งชัดเหล่านี้ มีอยู่ในคัมภีร์ทางศาสนาของพวกเขา ถึงขนาดที่ว่าหลังจากการปรากฏของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) และอิสลาม มันไม่ได้สร้างความเคลือบแคลงสงสัยใดๆ สำหรับชาวคัมภร์ (ยิวและคริสเตียน) เลย

ก็เพราะว่า หากในคัมภีร์ของยิวและคริสเตียน (ในสมัยของท่านศาสดา) ไม่ปรากฏว่ามีการบอกข่าวดังกล่าวไว้แล้ว แน่นอนเหลือเกินว่าบุคคลที่มีปัญญาอันเป็นเลิศอย่างเช่น ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) คงไม่รีบเร่งที่จะยืนยันสาส์นของตัวเองด้วยการเผชิญหน้าอย่างจริงจังต่อชาวคัมภีร์เหล่านั้น โดยการกล่าว่า

“ชื่อของฉัน และคุณลักษณะของฉันมีกล่าวอยู่ในเตารอตและอินญีลที่อยู่ในมือของพวกท่าน”

หรือจากศัตรูของท่านศาสดา(ศ)ก็เช่นกัน พวกเขาจะต้องไม่นิ่งเฉย และเพื่อทำลายล้างสาส์นนี้ให้ได้

พวกเขาจะต้องรวบรวมสิ่งหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในเตารอตและอินญีลเอามายืนยันให้ได้ว่า เรื่องดังกล่าวไม่มีอยู่ในคัมภีร์เหล่านั้น

ประวัติศาสตร์เป็นพยานยืนยันว่า พวกเขาเหล่านั้นได้ทำทุกวิถีทางที่จะขจัดท่านศาสดา(ศ) ออกไปให้ได้

แต่ก็ไม่เคยที่จะเอาวิธีการอันง่ายดายดังกล่าวมาใช้เลยเพื่อจะพิสูจน์ว่าไม่มีการแจ้งข่าวถึงการมาของท่าน(ศ)ปรากฏอยู่ในคัมภีร์นั้น

 ดังนั้นจึงเป็นที่กระจ่างชัดว่า ในคัมภีร์ที่มาจากฟากฟ้า ปรากฏข่าวดีที่แจ้งให้ทราบเกี่ยวกับการมาของท่านศาสดาแห่งอิสลาม(ศ) อย่างแน่นอน

หลักฐานอื่น ๆ ทางประวัติศาสตร์

ก่อนการมาของอิสลาม มีกลุ่มชนสองกลุ่มที่อาศัยอยู่ในเมืองมะดีนะอฺ กล่าวคือ

1) ชาวยะฮูดีที่ต้องการพบกับท่านศาสดา (ศ) ได้ละทิ้งบ้านเกิดเมืองนอนอพยพสู่เมืองมะดีนะฮฺ

2) ชาวเผ่าเอาซฺและค็อซรอจญ์ ซึ่งก็คือเครือญาติของตับอ์ กษัตริย์ชาวเยเมน ในตอนที่ตับอฺได้เดินทางมาถึงเมืองมะดีนะฮฺ แล้วพบว่า ที่นั่นคือ สถานที่ที่ท่านศาสดา (ศ) จะอพยพมา และจะกลายเป็นศูนย์กลางของรัฐบาลอิสลาม

เขาจึงกล่าวกับชนเผ่าทั้งสองว่า

“พวกท่านจงอยู่ที่นี่ล่ะ เมื่อท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ศ) ปรากฏแล้วก็จงร่วมช่วยเหลือเขา ฉันก็เช่นเดียวกัน ถ้าได้พบกับท่าน (ศ) แน่นอนเหลือเกิน จะต้องเข้าร่วมช่วยเหลือท่าน”

พวกเขาก็ได้พำนักอยู่ที่นั่น ค่อยๆ มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ค่อย ๆ มีอำนาจขึ้นถึงขนาดที่ว่า สามารถยึดครองทรัพย์สินที่ไม่มีเจ้าของของชาวยิวได้ และรุกล้ำสิทธิของพวกเขา ค่อย ๆ ลืมสาเหตุที่บรรพบุรุษผู้มีคุณธรรมของพวกเขาว่าอยู่ในเมืองนั้นเพื่ออะไร อยู่ในฐานะอะไร ?

แต่...พวกยะฮูดีที่ไม่มีกำลังต่อกรกับพวกเขา ได้บอกข่าวดีถึงการปรากฏของท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ศ)

และการรอดพ้นจากเงื้อมมือของการรุกรานดังกล่าวแก่พรรคพวกของตัวเอง ในเรื่องยะฮูดีนี้

อัลกุรอานได้กล่าวไว้ว่า

“...ก่อนหน้านี้ (การมาของอิสลาม) พวกเขาเฝ้าวิงวอนขอชัยชนะที่มีต่อผู้ปฏิเสธเมื่อเขา (ศาสดามุฮัมมัด)ได้มาแล้ว พวกเขากลับไม่รู้จัก อีกทั้งเป็นผู้ปฏิเสธเขาเสียเอง...”

อิบนุฮะวาชนักปราชญ์ชาวยิวคนหนึ่งได้จากเมืองชามมายังเมืองมะดีนะฮฺเพราะต้องการพบท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ศ) จนวาระสุดท้ายของชีวิต ท่านศาสดา (ศ) ก็ยังไม่ได้ถูกแต่งตั้ง ก่อนจะตายเขาได้กล่าวกับชาวยิวว่า

“ฉันละทิ้งชีวิตอันแสนสุขสบายในเมืองชามมาก็เพราะปรารถนาที่จะได้พบกับศาสดาแห่งอิสลาม มาอยู่ที่นี่ได้กินเพียงขนมปังและอินทผาลัมเท่านั้น ช่างน่าอดสูเหลือเกินที่ความปรารถนาของฉันไม่สัมฤทธิ์ผล แต่

พวกท่านต้องจำไว้ เขาจะไดรับการแต่งตั้งให้เป็นศาสนทูตในเมืองมักกะฮฺและจะอพยพมาที่นี่ อาหาร ของเขามีเพียงขนมปังแห้งและอินทผาลัมเท่านั้น เขาอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างมาก ขนาดที่จะไม่นั่งบนพาหนะที่มีเครื่องประดับประดา การปกครองของเขาจะแพร่กระจายไปทั่ว เขาจะไม่เกรงกลัวผู้ใดทั้งสิ้น เขาจะรวบรวมเอาบุคคลที่อยู่เบื้องหน้าเขาที่เสมือนเมล็ดกรวดที่โรยอยู่บนแนวทางแห่งสัจธรรมมาไว้...”

ซัยดฺ บินอัมรว์ ชาวฮิญาซได้พากเพียรพยายามแสวงหาศาสนาบริสุทธิ์ของท่านนบีอิบรอฮีม (อฺ) เขาได้เดินทางแสวงหาจากมักกะฮฺจนถึงเมืองชาม แต่ยิ่งหา กลับยิ่งไม่พบอะไรเลย จนกระทั่งนักปราชญ์ชาวยิวคนหนึ่งได้กล่าวกับเขาว่า

“ศาสนาอันบริสุทธิ์นั้นไม่มีอีกแล้ว แต่ในกาลข้างหน้าเจ้าจะได้พบกับศาสดาท่านหนึ่ง ซึ่งเจ้าจะค้นพบศาสนาอันบริสุทธิ์ได้จากพฤติกรรมและคำพูดของเขา”

ซัยดฺได้ย้อนกลับไปมักกะฮฺ แต่เสียชีวิตระหว่างทาง

ท่านศาสดา (ศ) ได้เคยกล่าวรำลึกถึงความดีของเขาว่า

“ซัยดฺจากโลกนี้ไปในสภาพของบุคคลผู้ที่แสวงหาศาสนาของพระผู้เป็นเจ้า”

บุฮัยรอ นักปราชญ์ชาวคริสเตียนเคยเห็นท่านศาสดา (ศ) ในวัยเด็กก็รู้จักท่าน (ศ) ทันที เพราะเขาเคยอ่านคุณลักษณะของท่าน (ศ) ในคัมภีร์ของเขา จึงกล่าวกับท่านอะบูฎอลิบ (ร.ฎ.) ซึ่งอยู่เคียงข้างท่าน (ศ) ในคราวเดินทางไปค้าขายว่า

“เขาคือศาสดา โปรดปกป้องเขาให้เป็นอย่างดี และรีบนำเขากลับสู่บ้านเกิน”

นัซฎูร นักปราชญ์คริสเตียนคนหนึ่งก็เช่นเดียวกัน เมื่อเขาเห็นท่านศาสดา (ศ) ในตอนวัยหนุ่ม เขาได้บอกข่าวดีด้วยคำอธิบายอันชัดแจ้งถึงเรื่อง “การถูกแต่งตั้งให้เป็นศาสดาของท่าน”

 

โดยกล่าวว่า

“เขาคือศาสดาท่านสุดท้าย”

จากสาเหตุที่มีการบอกเล่าอยู่ในคัมภีร์แต่ก่อนกาล จึงทำให้กลุ่มชนหนึ่งเข้ารับอิสลามในตอนเริ่มต้นการเผยแพร่ใหม่ๆ โดยปราศจากการบังคับขู่เข็ญใด ๆ

การหลั่งไหลของชาวเมืองมะดีนะฮฺสู่อิสลาม

เมื่อท่านศาสดา (ศ) ได้รับพระบัญชาจากเอกองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ให้เชิญชวนประชาชนสู่อิสลาม ท่าน(ศ)มักจะพบปะกับผู้คนในช่วงเทศกาลฮัจญ์ (ก่อนการมาของอิสลามก็มีพิธีนี้อยู่) และเชิญชวนเขาเหล่านั้นสู่อิสลาม

ตัวอย่าง เช่น ครั้งหนึ่งท่าน (ศ) ได้พบกับชนกลุ่มค็อซรอจญ์บางคนใน “มินา”

ท่าน (ศ) กล่าวว่า :

“พวกท่านมาจากชนเผ่าไหนกัน ?”

ชายคนนั้นตอบว่า

“จากเผ่าค็อซรอจญ์”

ท่าน (ศ) ถามว่า

“ว่างหรือเปล่าที่จะนั่งสนทนากันหน่อย”

เขาตอบว่า

“ว่างครับ”

ท่าน (ศ) จึงกล่าวต่อไปว่า

“ฉันของเรียกร้องพวกท่านให้ศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว”

แล้วท่าน (ศ) ก็อ่านโองการบางตอนจากอัลกุรอานให้พวกเขาฟัง พวกเขาตกอยู่ในภวังค์อันดึงดูดของอัลกุรอาน

จึงกล่าวรำพันกับตัวเองว่า

“ขอสาบาน ใช่แล้ว นี่คือสิ่งที่พวกยิวได้เคยแจ้งข่าวดีนี้แก่เรา จะต้องไม่ให้ชาวยิวเจอเขาก่อนเรา”

แล้วพวกเขาก็เข้ารับอิสลาม และเมื่อกลับไปยังเมืองมะดีนะฮฺแล้วก็ได้ทำหน้าที่เผยแพร่อิสลาม หลังจากนั้น ท่าน (ศ) ก็ได้ส่ง มุศอับ บินอุมัยรฺ ไปยังมะดีนะฮฺ เพื่อสอนอัลกุรอานให้แก่พวกเขา และเชิญชวนคนอื่นๆให้รับอิสลาม

ท่านมุศอับ (ร.ฎ.) ได้ทำให้คนกลุ่มหนึ่งเป็นมุสลิมในจำนวนนั้นก็คือ

อุซัยดฺซึ่งเป็นชนชั้นหัวหน้าเผ่าเอาซฺ เมื่อเขาเข้ารับอิสลามแล้ว

เขาได้กล่าวกับกลุ่มชนของเขาว่า :

“มุฮัมมัด (ศ) คือบุคคลที่ชาวยะฮูดีได้แจ้งข่าวการมาของเขานั่นเอง”

กลุ่มชนของเขาก็ได้กลายเป็นมุสลิม ด้วยเหตุนี้เองที่อิสลามได้ขจรขจายไปทั่วเมืองมะดีนะฮฺ มีชาวมุสลิมมักกะฮฺจำนวนหนึ่งได้อพยพมาที่นี่ก่อนแล้วจนกระทั่งในที่สุด ท่านศาสดา (ศ) ก็ได้อพยพไปที่นั่น และสร้างรัฐอิสลามอันจำเริญที่นั่น

การเข้ารับอิสลามของท่านซัลมาน (ร.ฎ.)

ท่านเป็นชาวอิหร่านชนบท บิดาและมารดาของท่านเป็นคนรับใช้อยู่ในวิหารของพวกโซโรแอสเตอร์

เขาทั้งสองงรักท่าน ซัลมาน – ในตอนนั้นมีชื่อว่า รูซเบะฮฺ – เป็นอย่างมาก ได้สอนหลักความเชื่อทางศาสนาของพวกเขาไห้แก่ท่านซัลมาน และจะไม่ปล่อยให้ท่านได้พบกับใครทั้งสิ้น

วันหนึ่งท่านได้ออกไปยังท้องทุ่งตามคำสั่งของบิดา ตามทางได้พบโบสถ์แห่งหนึ่งซึ่งในนั้นมีผู้คนกลุ่มหนึ่งทากรเคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้าอยู่

ท่านตกอยู่ในภวังค์แห่งความคิดชั่วขณะ จนกระทั่งอาทิตย์ลับขอบฟ้า ก็

ยังคงอยู่กับคนพวกนั้นและการครุ่นคิดต่อไป ในที่สุดก็พบว่า แนวทางของพวกเขาดีกว่าแนวทางของบิดามารดา ผู้บังเกิดเกล้าของท่านเอง

ท่านถามพวกเขาว่า

“ศูนย์กลางของศาสนานี้อยู่ที่ไหน?”

มีคนตอบว่า

“อยู่ที่เมืองชาม”

บิดาของท่านเกิดความสงสัยว่าทำไมถึงช้าเช่นนั้น เลยส่งคนออกไปตามเมื่อท่านได้กลับมาแล้ว

บิดาของท่านได้ถามว่า

“เจ้าไปอยู่ไหนมา?”

แล้วท่านก็ได้เล่าเหตุการณ์ให้ฟัง

บิดาของท่านจึงกล่าวว่า

“ศาสนาของบรรพบุรุษของเจ้าดีกว่ามาก”

แต่ท่านได้ตอบว่า

“ตามความคิดของฉันแล้ว ศาสนาของพวกเขาดีกว่า”

บิดาของท่านตกใจมาก ด่าและกักตัวท่านไว้ในบ้าน

ท่านได้ส่งชายคนหนึ่งให้ออกไปพบกับพวกคริสเตียนอย่างลับๆส่งจดหมายมีใจความว่า

“เมื่อเวลาที่พ่อค้าชาวชามได้มาถึงและปฎิบัตภารกิจเสร็จเรียบร้อยแล้ว เตรียมตัวจะเดินทางกลับให้แจ้งข่าวแก่เขา – รูซเบะฮฺ – ทราบโดยด่วน เพื่อจะหลบหนีออกมาจากบ้านและร่วมเดินทางไปกับพวกพ่อค้าไปยังเมืองชาม”

แล้วท่านก็ได้ทำเช่นนั้น...ในเมืองชามท่านได้อาศัยอยู่กับบาทหลวงคริสเตียนคนหนึ่ง โดยได้ขอร้องกับเขาให้ช่วยรับท่านไว้ในฐานะคนรับใช้ เพื่อจะได้เรียนรู้ และทำการเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า บาทหลวงคนนั้นตกลงรับท่านไว้

หลังจากที่บาทหลวงคนนั้นได้เสียชีวิตแล้ว ท่านก็ได้ไปอาศัยอยู่กับนักปราชญ์ชาวคริสเตียนคนแล้วคนเล่าตามการชี้แนะของคนก่อน

ท่านซัลมานได้วอนขอบาทหลวงคนสุดท้ายก่อนที่จะเสียชีวิตว่าให้ช่วยแนะนำคนอื่นให้แก่ท่าน

บาทหลวงคนนั้นตอบว่า

 “ฉันไม่มีใครอีกแล้ว ทว่า...ในไม่ช้านี้ ในแผ่นดินอาหรับจะมีศาสดาคนหนึ่งถูกแต่งตั้งมา เขาจะอพยพจากบ้านเกิดของตัวเองไปยังสถานที่หนึ่งซึ่งมีต้นอินทผาลัมปกคลุมอยู่ทั่ว สถานที่แห่งนี้อยู่ระหว่าง “ฮุรร่อตัยนฺ”

คุณลักษณะบางอย่างของเขาก็คือ เวลาเดินตัวตรง และเวลามีคนมอบของขวัญหรือสิ่งของที่แสดงถึงการให้เกียรติ เขาจะยอมรับ แต่จะไม่ยอมรับของบริจาคที่ให้ด้วยความเมตตาระหว่างไหล่สองข้างจะมีตราประทับการเป็นศาสนทูต ถ้าเจ้าไปยังที่นั้นได้ ก็จงไปซิ...”

หลังจากบาทหลวงคนนั้นได้เสียชีวิตแล้ว ท่านซัลมานได้ขอเดินทางไปพร้อมกับกองคาราวานสินค้าที่จะไปยังแผ่นดินอาหรับ พวกเขาตอบรับแต่ในระหว่างทางก็เกิดความละโมภ บิดพลิ้วต่อสัญญาที่ได้ให้ไว้ ขายท่านซัลมานให้เป็นทาสชาวยะฮูดีคนหนึ่งของเผ่าบะนีก่อร็อยเศาะฮฺ ชาวยะฮูดีคนนี้ได้นำเขาไปตระเวนรับจ้างไปทั่วเมืองมะดีนะฮฺ

เมื่อท่านได้มาถึงที่นี่แล้ว จำได้ว่าสถานที่นี้นั่นเองที่บาทหลวงผู้นั้นได้กล่าวไว้ ท่านรู้สึกลิงโลดใจ ทำงานอยู่ในสวนของนายทาส ในขณะที่หัวใจก็คิดถึงการมาของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) พยายามที่จะหาท่าน (ศ)

ห้พบ แต่อันเนื่องมาจากไม่ใช่คนที่นี่ และอยู่ในสภาพที่ถูกจำกัดจึงไม่อาจสืบหาได้มากกว่านี้

ในที่สุดวันที่รอคอยก็มาถึง ท่านซัลมานได้ข่าวว่า ท่านศาสดา (ศ) และสหายบางคนของท่าน (ศ) ได้มายังสถานที่หนึ่งใกล้เมืองมะดีนะฮฺ

ท่านรำพันกับตัวเองว่า เป็นโอกาสของเราแล้ว ที่จะค้นหาสัญลักษณ์ที่จะทำให้ตนเองออกจากความหลงผิดได้ และพิสูจน์ในสิ่งที่ได้ยินมาจากบาทหลวงชาวคริสเตียนผู้นั้น และแล้วท่านก็ได้เก็บรวบรวมสัมภาระ

อาหารจำนวนหนึ่งที่นำติดตัวมามุ่งหน้าหาท่านศาสดา (ศ) ทันที เมื่อพบท่านศาสดา (ศ)

ท่านซัลมาน กล่าวกับท่าน (ศ) ว่า

“นี่คือศ่อดะเกาะฮฺ เฉพาะสำหรับคนยากไร้ และบุคคลที่มาพร้อมกับท่านด้วย ได้โปรดรับมันไว้”

ท่านศาสดา (ศ) ได้รับมันไว้ และมอบให้กับผู้ติดตามท่าน (ศ)

 ท่านซัลมานจ้องมองไม่กระพริบ แล้วก็พบว่าท่านศาสดา (ศ) ไม่แตะต้องของสิ่งนั้นเลยจึงรู้สึกดีใจอย่างออกนอกหน้าว่า ได้พบสัญลักษณ์หนึ่งแล้ว

หลังจากผ่านไปชั่วขณะหนึ่ง ก็ได้นำอาหารที่ยังมีเหลือติดตัวมาไปมอบให้กับท่านศาสดา (ศ) โดยกล่าวว่า

“นี่คือฮะดียะฮฺ (ของขวัญ) ของข้าพเจ้าที่ขอมอบให้แก่ท่าน โปรดรับมันไว้ด้วยเถิด”

ท่าน (ศ) ก็รับมันมาด้วยความเต็มใจ และลงมือรับประทาน

ท่านซัลมานจ้องมองด้วยความดีใจเป็นอย่างยิ่ง เดินวนไปรอบๆ ท่านศาสดา (ศ) เพื่อจะดูอะไรบางอย่าง บนไหล่ของท่านศาสดา (ศ)

ท่าน (ศ)จึงเข้าใจถึงจุดประสงค์ของเขา ท่าน (ศ)ก็เลยเปลื้องผ้าคลุมไหล่ออกเพื่อให้

เขาได้แลเห็นตราประทับการเป็นนบี นั้น เมื่อท่านซัลมานได้เห็นมันแล้ว ท่านก็ได้ปวารณาตัวเข้ารับอิสลามทันที

ท่านศาสดา (ศ) ได้ตั้งชื่อท่านว่าซัลมาน และได้รวบรวมของที่จะนำไปใช้ไถ่ตัวท่าน ท่านซัลมานได้เข้าร่วมกับสหายของท่านในฐานะผู้ใกล้ชิดคนหนึ่งของท่านศาสดา (ศ) ด้วยกับญาณทัศนะอันกว้างไกล ลุ่มลึก

อีหม่านที่แข็งแกร่งมั่นคงของตัวเอง เวลาไม่นานนักท่านก็ได้กลายเป็นลูกศิษย์ผู้ยิ่งใหญ่ และมีเกียรติยิ่งของท่านศาสดา (ศ)

ผู้ใฝ่หาความจริงทั้งหลายในสังคมที่เหือดแห้ง และน่ารันทดของยุคนั้นเปรียบเสมือนกับคนที่ใกล้จะตาย

ในการแสวงหาน้ำหล่อเลี้ยงชีวิต เมื่อได้พบกับสิ่งที่ปรากฏอยู่บนไหล่ของท่านศาสดา (ศ) ตามที่ได้ศึกษา และได้ยินมาแล้วหัวใจได้พองตัว ชะล้างดวงจิตที่เหือดแห้งด้วยกับน้ำเลี้ยงแห่งชีวิต ยอมรับอิสลามและเข้าร่วมกับท่านศาสดา (ศ)

ดังที่อัลกุรอานได้กล่าวว่า :

“เจ้าได้เห็นประชาชนเข้ามาอยู่ในศาสนาของอัลลอฮฺเป็นกลุ่มก้อน...” (อัน – นัศรฺ)

ทว่า...ตรงกันข้ามกับกลุ่มชนผู้ใฝ่หาสัจธรรมแห่งการมีอยู่ของท่าน(ศ) เช่น ชาวยิว คริสเตียนและกลุ่มอื่นๆ ที่ยังไม่ยอมเข้ารับอิสลามอันเนื่องมาจากความหลงผิดยึดติดอยู่กับความคิดของตนเอง หรือไม่ก็กลัวว่ามันอาจเป็นอันตรายต่อหน้าที่การงาน และตำแหน่งของตัวเอง

พวกเขารู้จักตาน้ำแห่งความรอดพ้น แต่ด้วยกับความอวดดี หัวใจไม่ยอมดูดดื่มน้ำนั้นและไม่ก้าวเท้าออกมาจากปลักแห่งการดื้อดึง ตกอยู่ในความล่มจมตลอดกาล ไปไม่ถึงความไพบูลย์

“...เมื่อสิ่งที่เขาได้เคยรู้จักเป็นอย่างดีได้มาถึงพวกเขา พวกเขากลับปฏิเสธ” (อัล – บะก่อเราะฮฺ: 89)

โปรดพิจารณาสองตัวอย่างข้างล่างนี้

ต่อฟียะฮฺ บุตรสาวของ ฮัยย์ บินอัคฎ็อบ เล่าว่า :

ตอนที่ท่านศาสดา (ศ) ได้อพยพมายังเมืองมะดีนะฮฺ ในระหว่างทางที่พักอยู่ที่ “กุบา” พ่อและอาของฉันได้ติดตามไปพบท่านศาสดา (ศ) ในตอนกลางคืนเมื่อเขาทั้งสองกลับมาในตอนค่ำ ข้าพเจ้าก็ตรงไปพบกับพวกเขา ในสภาพที่อยากรู้อยากเห็น แต่ทว่า...เขาทั้งสองเหนื่อยมาก และไม่สนใจข้าพเจ้าเหมือนเมื่อก่อน

อาได้พูดกับพ่อของข้าพเจ้าว่า

“เขาคือ คน ๆ นั้นแน่หรือ?”

พ่อตอบว่า

“ขอสาบานต่อพระผู้เป็นเจ้า ใช่เขาแน่”

อาถามด้วยความสงสัยว่า

“พี่รู้จักเขาหรือ?”

พ่อตอบว่า

“แน่นอน”

อาจึงถามต่อไปว่า

“แล้วตอนนี้ พี่คิดอย่างไรเกี่ยวกับตัวเขา”

พ่อตอบอย่างชัดเจนว่า

“ขอสาบานต่อพระผู้เป็นเจ้า ตราบเท่าที่ข้ายังมีชีวิตอยู่ ข้าจะขอเป็นศัตรูกับเขาไปตลอด”

เราจะขอกล่าวสรุปเรื่องนี้ด้วยตัวอย่างของคนที่หัวใจมืดมิดคนอื่น

วันหนึ่งท่านศาสดา (ศ) กล่าวกับ กะอับ บินอะซัด ว่า

 “เจ้าลืมคนที่ชื่อ อิบนุฮะวาช (นักปราชญ์ชาวชามที่มาเมืองมะดีนะฮฺ) แล้วหรือ เขาไม่ได้มีอิทธิพลต่อเจ้าเลยหรือ”

กะอับ ตอบท่านศาสดา (ศ) ว่า

“ฉันยังจำได้หากว่า คำปรามาสของชาวยิวไม่ได้ร่อนในโสตประสาทของฉันที่พวกเขามักจะกล่าวเสมอว่า กะอับกลัวถูกฆ่า ละก็ ฉันจะศรัทธาต่อท่าน ถึงตอนนี้ฉันจะยังคงอยู่ในศาสนายิวต่อไป เพื่อให้รอดพ้นจากคำปรามาส และคำสบประมาทนั้น ฉันจะนับถือศาสนานี้จนกว่าจะตาย”

อัลกุรอาน กล่าวถึงบุคคลที่หัวใจมืดบอดเหล่านี้ ที่ทำลายรากเหง้าแห่งความผาสุกของชีวิตไว้ว่า คือ พวกที่ขาดทุน โดยกล่าวว่า

“สิ่งที่พวกเขาซื้อขายแลกเปลี่ยนตัวของเขาเองกับสิ่งนั้นช่างเลวร้าย คือกรณีที่พวกเขาปฏิเสธสิ่งที่อัลลอฮฺประทานมาด้วยจิตอิจฉาริษยาว่า (ทำไม) อัลลอฮฺได้ทรงประทานความโปรดปรานพิเศษของพระองค์แก่บุคคลที่พระองค์ทรงประสงค์จากปวงบ่าวของพระองค์ พวกเขาได้ขายความกริ้วโกรธด้วยความกริ้วโกรธ และสำหรับผู้ปฏิเสธนั้น คือการลงทัณฑ์อันต่ำต้อย” (อัล – บะก่อเราะฮฺ: 90)

บทที่ 21

อัล – กุรอาน สิ่งมหัสจรรย์แห่งโลกและเป็นอมตะของอิสลาม

บรรดาศาสนทูต และปาฏิหาริย์ต่าง ๆ

บรรดาศาสนทูตของพระผู้เป็นเจ้าถูกแต่งตั้งมาพร้อมกับสัญลักษณ์ต่าง ๆ อันชัดแจ้งเพื่อประชาชนจะได้มั่นใจว่า พวกท่านเหล่านั้นได้รับการแต่งตั้งจากพระผู้อภิบาล

ด้วยเหตุนี้เอง ที่พวกเขาเหล่านั้นผู้ซึ่งมีดวงจิตที่ใสสะอาด แจ่มแจ้งสะอาดบริสุทธิ์ จึงสามารถยอมรับด้วยหัวใจ และมีอีหม่านต่อสิ่งนั้นเมื่อมองเห็นสัญลักษณ์ และเครื่องหมายทั้งหลาย ดังเช่น นักเล่นกลในสมัยของ

ฟิรอูน เมื่อเห็นปาฏิหาริย์ต่างๆ ของท่านนบีมูซา(อฺ) ว่า ทำให้ไม้เท้ากลายเป็นงูใหญ่ได้อย่างไร พวกเขารู้ได้ทันทีว่า มันเกินขอบเขตความสามารถของมนุษย์ธรรมดา (ที่จะแสดง หรือตบตาผู้คนได้) ก็เกิดความศรัทธาต่อท่าน (อฺ) และไม่เกรงกลัวต่อคำขู่ใด ๆ ของฟิรอูน

พวกคนสนิท (ฮะวารียูน) ของท่านนบีอีซา(อฺ) ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเห็นผลทางจิตวิญญาณอันสูงส่งของท่าน(อฺ) ที่ได้ทำให้คนตายได้มีชีวิตขึ้นมาใหม่ โดยพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าก็ได้เกิดศรัทธา และติดตามท่าน (อฺ)

ด้วยกับอีหม่าน(ศรัทธา) ที่มีต่อท่านนบีอีซา (อฺ) นั้นได้ทำให้หัวใจที่ตายด้านไปแล้วของพวกเขากลับมีชีวิตชีวาขึ้นมาใหม่

ท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ศ) ซึ่งเป็นศาสดาท่านสุดท้าย สำคัญที่สุดและดีที่สุดในบรรดาศาสนทูตด้วยกัน

อีกทั้งยังได้นำศาสนาซึ่งเป็นอมตะ ที่เป็นเสมือนตัวทำให้ศาสนาก่อน ๆ ที่มาจากพระผู้เป็นเจ้าสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และมันจะคงอยู่ตลอดไปจนกว่าจะถึงวันสิ้นโลก ในตอนที่ท่าน (ศ) ได้รับการแต่งตั้งนั้น ท่าน (ศ) ได้มาพร้อมกับ

หลักฐานอันชัดแจ้งจากองค์พระผู้เป็นเจ้า เพื่อเป็นประจักษ์พยานถึงความจริงแท้ และสัจธรรมของศาสนาอันเที่ยงตรงและดีที่สุดนี้

อัลกุรอาน คือ  อภิมหาอมตะแห่งความจริงแท้ที่อยู่เหนือการพิสูจน์

อัลกุรอาน คือ  หลักฐานอันอมตะของอิสลามที่ส่งแสงสว่างไสวเหนือความคิดของมนุษยชาติ คือคบเพลิงหนึ่งที่ลุกโชติช่วงอยู่เหนือความมืดมิดที่ปกคลุมศาสนาอันสูงส่งของมุฮัมมัด (ศ) มันได้จุดประกายอยู่ในจุดสูงสุดของสมองอันปราดเปรื่องของมนุษยชาติ และจะยังสุกสกาว ตราบเท่าที่ดวงอาทิตย์ยังคงโคจรอยู่ คือวิถีของพระผู้เป็นเจ้าอันแจ้งชัด ดุจดังแสงอาทิตย์ที่สาดส่องไปยังทุกอณูของสิ่งมีชีวิต ตลอดทุกยุคทุกสมัยตลอดไป

คือ ความจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต และเตรียมพร้อมสำหรับความผาสุกของชนทุกหมู่เหล่า

หลักการทั้วหลายที่มีความจำเป็นสำหรับการชี้นำประชาชาติจะถูกกล่าวไว้ในตัวบทของอัลกุรอาน

อัลกุรอาน จะทำหน้าที่สาธยายหลักศรัทธา อีกทั้งความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระผู้เป็นเจ้า