พื้นฐานอิสลาม

พื้นฐานอิสลาม0%

พื้นฐานอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา

พื้นฐานอิสลาม

ผู้เขียน: อัลลามะฮ์ ซัยยิด มุฮัมมัด ฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 24134
ดาวน์โหลด: 3142

รายละเอียด:

พื้นฐานอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 354 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 24134 / ดาวน์โหลด: 3142
ขนาด ขนาด ขนาด
พื้นฐานอิสลาม

พื้นฐานอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

บทที่ 23

สาส์นสุดท้ายและศาสนทูตท่านสุดท้าย

นับตั้งแต่เริ่มแรก อิสลามก้าวไปข้างหน้าในฐานะที่เป็นสาส์นสุดท้าย มุสลิมทั่วไป ก็ยอมรับความจริงข้อนี้อย่างผู้ชาญฉลาด และเชื่อมั่นว่า อิสลาม คือ การจำแลงของวะฮฺยู (วิวรณ์จากฟากฟ้า) การเป็นศาสนทูต และเป็นตัวที่ทำให้ศาสนาอันบริสุทธิ์แต่กาลก่อนสมบูรณ์ขึ้น

เช่นเดียวกันตามเชื่อของมุสลิมทุกคนบนพื้นฐานของอัลกุรอานและรายงานว่าต่างๆ ยืนยันว่า ท่านศาสดาแห่งอิสลาม(ศ) คือ ศาสนทูตท่านสุดท้าย

อัลกุรอานอันจำเริญ ได้อธิบายถึงความเป็นสากลของศาสนาอิสลามไว้ในหลายโองการด้วยกัน และชี้แจงอย่างกระจ่างชัด ไร้ความคลุมเครือใดๆ ว่า ท่านศาสนทูตมุฮัมมัด(ศ) คือ ศาสดาท่านสุดท้าย

ดังในโองการที่ 40 ซูเราะฮฺอัล- อะฮฺซาบ กล่าวว่า:

“มุฮัมมัดมิใช่บิดาของคนหนึ่งคนใดในหมู่สูเจ้า แต่เขาคือศาสนทูตของอัลลอฮฺเป็นนบีท่านสุดท้าย อัลลอฮฺทรงรอบรู้ในทุกสิ่ง”

มีรายงานหนึ่งมาจากท่านศาสนา (ศ) โดยท่าน(ศ) กล่าวว่า

“ตัวฉัน และบรรดานบีทั้งหลายเปรียบประดุจดังชายคนหนึ่งได้สร้างบ้านเขาได้สร้างมันจนกระทั่ง เกือบจะเสร็จสมบูรณ์อย่างสวยงาม เหลือเพียงนำหินอีกหนึ่งก้อนมาเสริมให้เต็ม เมื่อคนเดินเข้าไปดูข้างในและพิจารณาดูมันอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว จะกล่าวว่า มันช่างสวยงามอะไรเช่นนี้ แต่ทำไมยังมีรอยโหว่ของหินอีกหนึ่งก้อน และฉันก็คือหินก้อนนั้น ความเป็นศาสนทูตทั้งหมดจะสิ้นสุดที่ฉัน”

ท่านอิมามอะลี(อฺ) กล่าวว่า

“กฎเกณฑ์ศาสนาอันบริสุทธิ์ของมุฮัมมัด จะไม่ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขจนถึงวันกิยามะฮฺ และจะไม่มีนบีภายหลังจากท่านอีกจนถึงวันกิยามะฮฺ

สิ่งที่ผ่านสายตาเราไปนั้น เป็นตัวอย่างอันน้อยนิดของหลักฐานต่างๆ ที่กล่าวในเรื่องการเป็นศาสนทูต คนสุดท้ายของนบีฮัมมัด(ศ)

การเป็นสาส์นนิรันดร์ของอิสลาม ซึ่งไม่มีที่ว่างหลงเหลือสำหรับความเคลือบแคลงใดๆ

สาเหตุใหญ่ที่สุดของความเป็นนิรันดร์ของศาสนาอิสลาม ก็คือ

ความสมบูรณ์พร้อมในทุกๆ ด้าน ของอิสลามนั่นเอง

อิสลาม คือ คำตอบของสังคมซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานธรรมชาติแห่งความเป็นมนุษย์ มันได้ครอบคลุมถึงวิถีชีวิตส่วนตัว สังคม ความต้องการทางวัตถุ ความต้องการทางด้านภายใน ความรักความผูกพัน เรื่องเศรษฐกิจ และสิทธิต่างๆ

   อิสลามได้ให้คำตอบต่อรากเง้าของทุกปัญหาในทุกเวลาทุกสถานที่ ด้วยวิธีการอันสละสลวย และด้วยญาณทัศนะอันกว้างไกล เพื่อทุกชนชาติ ทุกชนชั้นทางสังคม

นี่เอง คือ สิ่งที่ผู้ชำนาญการในเรื่องอิสลามชาวยุโรปได้แสดงการยอมรับ ความสมบูรณ์พร้อมในทุกๆด้าน ของคำสอนอิสลามและความเป็นสากลของมันด้วยการวิเคราะห์ตรวจสอบอย่างลึกซึ้งของพวกเขา

 เราจะมาพิจารณาในแง่ของความเป็นสากลของสาส์นดังต่อไปนี้

พระผู้เป็นเจ้าของอิสลามและอัลกุรอาน

พระผู้เป็นเจ้าของอิสลาม คือ พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก มิใช่พระเจ้าของกลุ่มชน หรือเผ่าใดเป็นการเฉพาะ เราได้อ่านในตอนนมาซว่า

 “อัลฮัมดุลิลลาฮิ ร็อบบิลอาละมีน” ซึ่งแปลว่า

 “การสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์ของพระผู้อภิบาลแห่งสากลจักรวาล”

ไม่ว่า ณ สถานที่ใด เวลาใด เรื่องใดที่พระองค์ทรงประสงค์ สิ่งนั้นก็จะอุบัติขึ้น ไม่มีข้อจำกัดใดในเรื่องตัวตนของพระองค์

พระองค์คือผู้ทรงสิทธิ์ในทุกสรรพสิ่ง พระองค์ทรงรอบรู้สิ่งที่เปิดเผยหรือซ่อนเร้น อดีตหรือปัจจุบัน แม้กระทั่งสิ่งที่อยู่ในหัวอกของมนุษย์ พระองค์อยู่ใกล้เรายิ่งกว่าสิ่งใดๆ พระองค์คือสิ่งที่มีอยู่จริง ไม่ต้องการที่อยู่ ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเสมอเหมือน หรือเทียบเคียงพระองค์ ความหลับไหล ง่วงนอน เหนื่อย ท้อแท้ไม่อาจครอบงำพระองค์ได้ พระองค์คือผู้ทรงเอกะ ไม่มีผู้ให้กำเนิดและไม่ให้กำเนิดผู้ใด

สัจธรรมเหล่านี้ถูกสาธยายไว้ในซูเราะฮฺเตาฮีด ซึ่งมวลมุสลิมได้กล่าวย้ำมันในการนมาซของพวกเขา เพื่อที่ว่าให้ตัวของพวกเขาออกห่างการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ)

พระผู้เป็นเจ้าของอิสลาม คือ พระผู้เป็นเจ้าที่เพียบพร้อมไปด้วยคุณลักษณะดังกล่าวจากถ้อยคำอันบริสุทธิ์และงดงามของอัลกุรอาน ด้วยกับความเข้าใจที่กว้างขวาง พร้อมกับความชาญฉลาด ด้วยกับความเลอเลิศของมันสมองมนุษย์อีกทั้งไกลเกินกว่าที่มนุษย์จะคาดเดาได้ มนุษย์ทุกคนทุกเวลา ทุกสถานที่สามารถที่จะบอกความในใจกับพระองค์

 ขอความช่วยเหลือต่อหน้าพระพักตร์ของพระองค์ สิ่งใดที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ ก็ขอให้พระองค์ประทานสิ่งนั้นให้

พระองค์ตรัสว่า

“แท้จริงอัลลอฮฺทรงเมตตาปราณีอย่างมากมายต่อสูเจ้า”

 ( บทอัล-ฮะดีด : 9)

ความเท่าเทียมกันในอิสลาม

ลักษณะของชาตินิยม ความมีเกียรติทางชนชั้น ไม่เพียงแต่การถูกปฏิเสธ และตำหนิเท่านั้น ความเท่าเทียมและความเสมอภาคในหมู่มนุษย์ ตามทัศนะของอิสลามแล้วถือเป็นความจริงแท้ที่ไม่อาจปฏิเสธได้

 อิสลามกล่าวอย่างผู้ที่รู้จริงว่า

“มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ทุกคนเป็นหนึ่งในครอบครัวเดียวกันมีบิดา มารดาคนเดียวกัน ทุกคนมีส่วนเหมือนกันในแง่ของศักดิ์ศรี ความมีเกียรติและมีต้นกำเนิดเดียวกัน ไม่มีใครมีความดีเด่นกว่ากัน นอกเสียจากความมีตักวาเท่านั้น”

อิสลามและความเป็นอิสระทางความคิด

อิสลาม คือ ผู้ชูธงแห่งการใช้ความคิด ใช้เหตุผล และความคิดอย่างอิสระการบังคับให้เชื่อในสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่มีอยู่ในคำสอนของอิสลาม

 “ไม่มีการบังคับกันในเรื่องราวของศาสนา ทางนำอันชัดแจ้งถูกแยกออกจากความหลงผิดโดยสิ้นเชิงแล้ว...”(บทอัล-บะกอเราะฮ : 256)

ในอิสลาม การตรวจสอบหลักความเชื่อสำหรับทุกคน ถือเป็นหน้าที่และเป็นความจำเป็นที่ว่า ทุกๆคนจะต้องไม่ยอมรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยปราศจากเหตุผลและหลักฐาน ส่วนในกรณีที่ว่ากฎศาสนาบัญญัติและคำสั่งของอิสลามจำเป็นต้องปฏิบัติโดยปราศจากคำถามที่ว่า “ทำไม” และ “เพราะอะไร” นั้นก็เพราะว่า มันมีที่มาจากวะฮฺยู (ปราศจากซึ่งความผิดพลาดใดๆ ทั้งสิ้น) และถูกอธิบายโดยท่านศาสดา (ศ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ (อฺ) แล้ว

อิสลามได้ประณามบุคคลที่ยอมรับความเชื่อของบรรพบุรุษอย่างไม่ลืมหูลืมตา อีกทั้งยังกับชับอีกว่า

“จงคิดและไตร่ตรองให้ดี อย่าตามความคิดที่อ่อนแอ จงเป็นผู้ที่ปฏิบัติตามความรู้และความเชื่อมั่นเท่านั้น”

อิสลามยอมรับที่จะให้ฝ่ายตรงข้ามได้อธิบายข้อโต้แย้งของตนเองในที่ประชุมทางวิชาการ และนำเสนอเหตุผลของตนเอง ดังที่อัล กุรอานกล่าวว่า

“จงกล่าวออกไปว่า พวกเจ้าจงนำหลักฐานของพวกเจ้ามา หากว่าพวกเจ้าเป็นผู้สัตย์จริง”(บทอัล บะกอเราะฮฺ : 111)

ด้วยสาเหตุนี้เอง ที่หลายต่อหลายครั้ง พวกยะฮูดี นัศรอนีและกลุ่มอื่นๆ ที่ยืนประจันหน้ากับอิสลาม มาหาท่านศาสดา (ศ) และบรรดาอิมาม(อฺ)ถกเถียงกันในเรื่องของศาสนา ในสมัยต่อๆ มาก็เช่นกัน แบบฉบับอันนี้ได้แพร่หลายเรื่อยมาผู้รู้ในศาสนาอื่นพยายามที่จะมาพูดคัยถกเถียงกับอุละมาอ์อิสลาม

ดร. กุลสตาฟ เลอบอง เขียนไว้ในหนังสือ “อารยธรรมอิสลาม” ว่า

“ในกรุงแบกแดด ที่ประชุมมากมายถูกจัดขึ้น ตัวแทนของศาสนายะฮูดี นัศรอนี และลัทธิที่ไม่เชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้า ได้เข้าร่วมในการประชุมนี้ พวกเขาถกเถียงพูดคุยกันอย่างอิสระ รับฟังการอธิบายของกันและกัน

 ในที่ประชุมแห่งนั้นมีคำขอร้องเพียงอย่างเดียว ทุกคนต้องโต้เถียงด้วยเหตุและผล”

เขาได้เขียนเพิ่มเติมว่า

“ถ้าพิจารณากันให้ดี ผ่านมาแล้วกว่า 1,000 ปี ยุโรปยังไม่ได้รับความสำเร็จถึงขั้นที่จะมีอิสระเสรีปานนั้น”

อิสลามกับการเรียกร้องเชิญชวนไปสู่การใช้ความคิด และการแสวงหาความรู้

อิสลามได้ให้ความสำคัญอย่างมากต่อการใช้ความคิด และเรียกร้องให้มีผู้มีปัญญาทั้งหลายได้ใช้ความคิดอย่างมากในเรื่องการสร้างสรรค์ของพระผู้เป็นเจ้ากาลเวลา กลางวัน และกลางคืน ท้องฟ้าและผืนแผ่นดิน สิ่งสาราสัตว์ มนุษย์และความเป็นไปในโลก พวกเขาจะต้องค้นคว้าและตรวจสอบวิถีชีวิตของบรรพชนในอดีต ศึกษาถึงสาเหตุแห่งความตกต่ำของคนเหล่านั้น เพื่อที่ได้ดำเนินชีวิตของตัวเองไปให้พ้นจากวิถีแห่งความหายนะ เช่น คนพวกนั้น

ใช่แล้ว อิสลามต้องการให้มนุษย์อย่างมีอิสระ และลุ่มลึก เพื่อที่จะได้ล่องลอยไปให้ถึงสุดหล้าแห่งความคิดและศิลปะวิทยาการ อีกทั้งให้ได้รับประโยชน์ที่ดีที่สุดต่อการมีชีวิตของตัวเอง

ด้วยเหตุนี้เอง ที่อิสลามให้คุณค่าต่อความก้าวหน้าของวิทยาการสมัยใหม่และการค้นคว้าวิจัยต่างๆ ที่ยังประโยชน์ให้กับมนุษยชาติ ณ ที่นี้เองที่นักวิชาการอิสลามตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมาไม่เคยหยุดนิ่ง พวกเขาได้

ประดับประดา อารยธรรมของมนุษยชาติ ด้วยกับการขวนขวายหาความรู้ของพวกเขา ดังเช่น นามอันยิ่งใหญ่ของพวกเขาที่คงปรากฏอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ของศิลปะวิทยาการในหลายๆแขนง และมันก็ยังคงฉายแสงของมันต่อไป

มร.ยอร์ช ซัยดอน เขียนไว้ในหนังสือ “ประวัติศาสตร์ของอารยธรรมแห่งอิสลาม”ว่า

“เมื่ออารยธรรมของอิสลามได้อุบัติขึ้นแล้ว ความรู้ใหม่ๆ ก็ได้รับการถ่ายทอดในหมู่มุสลิม นักวิชาการมุสลิมได้ก้าวเดินหน้าต่อไป ซึ่งความคิดของพวกเขาลึกซึ้งยิ่งกว่าบุคคลที่เรียกว่า บิดาของวิทยาศาสตร์ในสาขาหนึ่งสาขาใดเสียอีกและในความเป็นจริง วิชาการในสาขานั้น ๆ มีสีสันขึ้นด้วยกับการวิจัยค้นคว้าของอุละมาอ์อิสลามนั่นเอง และมันได้ก้าวหน้าอย่างเหมาะสมกับอารยธรรมของอิสลาม”

มร. วอลเบอร์ลี่ เขียนว่า

“หากอิสลามหลุดออกมาจากแก่นกลางของประวัติศาสตร์ ห้วงเวลาแห่งการรื้อพื้นศิลปะวิทยาการของยุโรปจะล้าหลังไปหลายศตวรรษเลยทีเดียว

อิสลามกับการดำเนินชีวิต

ตามทัศนะของอิสลาม ไม่มีความขัดแย้งกันระหว่างการดำเนินชีวิตแบบวัตถุและจิตนิยม หรือสนใจทางโลกและใฝ่ใจในเรื่องศาสนา อิสลามไม่ยินดีต่อบุคคลที่ไม่ยอมทำมาหากิน ไม่ขยันหมั่นเพียร ถึงแม้ว่าเขาจะมีทุกอย่างพร้อมแล้วไม่จำเป็นต้องคิดถึงสิ่งใดอีก ก็ไม่เป็นที่ปรารถนาของอิสลาม

ท่านอิมามศอดิก(อฺ) กล่าวว่า

“ผู้ใดที่ปล่อยเรื่องราวทางโลกดุนยานี้ให้แก่โลกอาคิเราะฮฺ (ทำตัวว่ามีสมถะละทิ้งการทำงานเพื่อการดำรงชีพ) และเช่นกัน ผู้ที่หมกมุ่นแต่โลก

ดุนยาไม่สนใจใยดีต่อเรื่องราวของโลกอาคิเราะฮฺ เขาไม่ใช่พวกเรา”

ดังนั้นสามารถจะกล่าวได้ว่าในกรณีนี้ อิสลามเอาใจใส่ต่อพฤติกรรมทั้งหลายของมุสลิมว่า พวกเขาจะต้องก้าวไปข้างหน้าในอันที่จะได้รับประโยชน์จากโลกดุนยานี้อย่างชาญฉลาด ในนณะเดียวกันก็จะต้องอยู่เคียงข้างโลกแห่งจิตวิญญาณด้วย ในอิสลามไม่มีคำว่า นักบวชหรืออยู่อย่างสันโดษ

ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) กล่าวว่า

“การเป็นนักบวชไม่ได้ถูกกำหนดแก่เรา สภาพแห่งการเป็นนักบวชของประชาชาติของฉัน ก็คือ การญิฮาดในวิถีทางของอัลลอฮฺ

กฎเกณฑ์อิสลามกับความทันสมัย 

การเปลี่ยนแปลง ความสมบูรณ์ การมีเครื่องใช้ไม้สอยที่ทันสมัย หรือความก้าวหน้าของตัวกำหนดอารยธรรม ไม่ได้มีความแตกต่างกับความเป็นนิรันดร์ของกฎเกณฑ์อิสลามเลย เพราะว่าความไม่เหมาะสมของกฎเกณฑ์หนึ่งกับความทันสมัยต่างๆ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อกฎเกณฑ์อันนั้นจะยึดเครื่องมือเริ่มแรก หรือเฉพาะของมัน อย่างเช่น กฎเกณฑ์หนึ่งกล่าวว่า เมื่อจะเขียนด้วยมือ เมื่อจะเดินทางด้วยลาเท่านั้น ในสภาพเช่นนี้กฎเกณฑ์ดังกล่าวไม่อาจที่จะไปร่วมกันได้กับวิชาการสมัยใหม่และความก้าวหน้าอื่นๆ

แต่ถ้ากฎเกณฑ์ใดไม่ยึดติดอยู่กับเครื่องไม้เครื่องมือเฉพาะ และเมื่อจะกำหนดอะไรลงไปก็เพียงเป็นตัวอย่างเท่านั้น กรณีนี้จะไม่ขัดแย้งกับอุปกรณ์สมัยใหม่หรือความทันสมัยต่างๆ

อิสลามก็มีสภาพเช่นนี้ หมายความว่า ไม่มีทัศนะที่ยึดติดเฉพาะเครื่องไม้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ในสมัยนั้น เช่นที่ในอิสลามกล่าวว่า

“พวกท่านจะต้องเข้มแข็งเมื่อเผชิญหน้ากับชาวต่างชาติ เพื่อจะได้ปกป้องสิทธิต่างๆ ของตัวเอง”

จากกฎเกณฑ์ดังกล่าวทั้งๆ ที่ถูกำหนดในสมัยที่มีการใช้ดาบและม้าแต่ไม่ได้มีทัศนะคติเฉพาะกับอาวุธที่จะใช้ในการทำสงคราม หมายความว่า อิสลามจะไม่กล่าวว่า การต่อสู้ในอิสลามจะต้องใช้ดาบเป็นอาวุธเท่านั้น

ด้วยสาเหตุนี้เองกฎเกณฑ์ดังกล่าวก็ยังคงใช้ได้ในปัจจุบัน เช่นเดียวกับกฎเกณฑ์ต่างๆ ในเรื่องการค้าขาย การทำมาหากินและอื่นๆ ดังนั้น

อารยธรรมสมัยใหม่ อาวุธยุทโธปกรณ์ เทคโนโลยีสมัยใหม่ไม่ว่าจะไปไกลขนาดไหน ก็ไม่อาจออกนอกจากขอบเขตกฎเกณฑ์ของอิสลามได้ และนี่คือรหัสย์แห่งความเป็นอมตะของคำสอนอิสลาม

ดร. ยอร์ช เบอนาดชอร์ นักปรัชญาผู้มีชื่อเสียงชาวอังกฤษว่า

“อิสลาม คือ ศาสนาเดียวเท่านั้นที่เหมาะสมกับทุกห้วงเวลาแห่งการดำเนินชีวิตของมนุษยชาติ และเหมาะสมที่จะดึงดูดทุกๆ เชื้อชาติ”

การปกครอง และแนวความคิดต่างๆ ในปัจจุบันสร้างความพอเพียงให้กับเราแล้วหรือ?

ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า มนุษยชาติได้ก้าวล้ำนำหน้าอย่างมากในเรื่องศิลปะวิทยาการต่างๆ ทว่า ผู้คงแก่เรียนทั้งหลายก็ยังแสดงความรู้สึกออกมาว่า ความรู้ต่างๆของพวกเขา ไม่อาจนำไปเปรียบเทียบกับความไม่รู้ต่างๆอีกมากมายที่มีอยู่ ในโลกแห่งการสร้างสรรค์นี้ แน่นอนเหลือเกิน เป็นเพราะว่า ความคิดอันจำกัดของพวกเขาไม่อาจที่จะไขข้อข้องใจของความลี้ลับแห่งจักรวาล ความต้องการหลักและสิ่งที่เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์ของมนุษย์ได้

ไม่เพียงเท่านั้น ไม่ว่ามนุษย์จะล้ำหน้าไปขนาดไหนก้ไม่ได้รอดพ้นจากความผิดพลาดได้เลย ดังนั้นความปรารถนาใดๆ ของมนุษย์ที่ถูกนำมาเสนอออกมาไม่ว่าในช่วงเวลาใด ก็ไม่อาจให้ความมั่นคงใจได้ถึง 100%

เพราะว่าเป็นไปได้ว่าปัจจัยของสภาพแวดล้อมและอื่นๆ ที่ตัวเขาไม่รู้ยังมีผลอยู่ในความรู้สึกนึกคิดของเขา ทำให้เขาออกห่างจากความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น

บทบัญญัติของอิสลามถือกำเนิดจากวะฮฺยู ณ ที่นั้นความผิดพลาดไม่อาจบังเกิดขึ้นได้เลย ไม่ว่ากาลสมัยใดก็สามารถให้ความมั่นใจได้อย่างแน่นอน แต่มีข้อยกเว้นว่ากฎเกณฑ์อันบริสุทธิ์นี้จะต้องไม่ถูกปกปิดด้วยกับ

ความสับสนต่างๆ เพราะเมื่อนั้นก็ไม่อาจได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงได้

ความช่วยเหลือที่ไม่ปรากฏตัวตน ยังคงมีอยู่มีบางคนเดาว่า ความเป็นนบีท่านสุดท้ายของศาสดามูฮัมมัด(ศ) นั้นหมายความว่าหลังจากท่าน (ศ) จาก

ไปแล้ว ความสัมพันธ์กับโลกลี้ลับ (ฆอยบฺ) ถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง

การคาดการณ์ดังกล่าวผิดถนัด เพราะความหมายของความเป็นนบีท่านสุดท้ายนั้น คือ หลังจากการจากไปของท่านศาสดา (ศ) แล้ว จะไม่มีศาสดาและศาสนาอื่นอีก จึงไม่ได้หมายความว่า ความสัมพันธ์กับโลกลี้ลับถูกตัดขาดหมด

ดังนั้นพวกเรา(ชีอะฮฺ) จึงมีความเชื่อต่อฐานภาพแห่งการเป็นอิมามของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ว่า

ความสัมพันธ์อันนี้ยังคงมีอยู่โดยอาศัยผ่านบรรดาผู้บริสุทธิ์เหล่านั้น และนี่ก็คือความดีเด่นเฉพาะของมัซฮับชีอะฮฺนั้นเอง

ท่าน มุลลา ศ็อดรอ (ศ็อดรุลมุตะอัลลิฮีน) (ร.ฮ.) กล่าวว่า

“วะฮฺยู หมายถึงการลงมาของมะลาอิกะฮฺเพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อในการส่งสาส์นอิสลาม มันได้ขาดตอนไปแล้ว แต่อิสลาม (การดลใจ) ยังไม่สิ้นสุดลงและจะยังคงมีอยู่ต่อไป เป็นไปไม่ได้ว่าแนวทางดังกล่าวจะถูกปิดกั้นสิ้นไปแล้ว”

ในโลกปัจจุบันจะสามารถปฏิบัติตามอิสลามได้อย่างไร?

ความเสื่อมเสียในโลกปัจจุบันถึงมันจะมากมายสักเพียงใดก็ตาม และมันก็มีมากยิ่งขึ้นเป็นเงาตามตัว แต่เราก็จงจำไว้ด้วยว่า

 ความยิ่งใหญ่ของบุรุษหนึ่งก็จะปรากฏขึ้นท่ามกลางความยุ่งยากเหล่านั้น ดังนั้นความเป็นอิสระเสรี และเกียรติยศของเรากำหนดว่า จะต้องต่อสู้กับความผิดพลาดทั้งหลาย

เป็นที่แน่นอนเหลือเกินว่า การควบคุม การแก้ไขสภาพสังคม ถือเป็นหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของเรา บรรดาศาสนทูตได้ให้บทเรียนการต่อสู้กับความเหลวไหล ความผิดพลาดทั้งมวลในสมัยนั้น ด้วยกับวิถีชีวิตของตัวพวกท่านเหล่านั้น พวกท่านไม่เคยปฏิบัติตามความปรารถนาที่หลงผิดของกลุ่มชนนั้น ความใคร่ และความสกปรกโสมมของสังคมนั้น พวกท่านได้ทำการเปลี่ยนสภาพเหล่านั้น มิใช่สภาพเหล่านั้นเป็นผู้เปลี่ยนแปลงตัวของพวกท่าน

ท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ศ) ได้ยืนหยัดต่อสู้กับแบบฉบับอันโง่งมงายของสังคมญาฮิลียะฮฺ จนกระทั่งสามารถเปลี่ยนแปลงสภาพของสังคมนั้นได้

ความขัดแย้งระหว่างเผ่าต่างๆ การไม่ให้เกียรติสตรี การเคารพบูชารูปปั้น การทำสงครามระหว่างกัน และความโง่งมงายทั้งหลายเป็นแบบฉบับ และถ่ายทอดต่อๆ กันมาของประชาชนในสมัยนั้น แต่ด้วยกับการเอาจริงเอาจังของท่านศาสดา (ศ) มันทั้งหมดถูกทำลายลงโดยสิ้นเชิง

ผู้อาวุโสของกุเรซ เช่น อุตบะฮฺ มีความรู้สึกแค้นเคืองต่อวิธีการของท่านศาสดา (ศ) อย่างมาก เขาได้จัดการประชุมขึ้นมา หลังจากการพูดคุยแล้วได้บทสรุปว่า ต้องทำสัญญา หรือไม่ก็ต้องขู่ให้กลัว ให้ท่าน (ศ) หยุดการกระทำให้ได้

 ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ตอบว่า

“หน้าที่ของฉันคือสิ่งนี้ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ หากพวกเขานำเอาดวงอาทิตย์มาไว้ในมือขวาของฉัน ดวงจันทร์มาไว้ในมือซ้าย ฉันก็จะไม่วางมือจากแนวทางนี้ และจะไม่ออกห่างจากความเชื่อที่มีอยู่จนกว่าจะได้รับชัยชนะหรือไม่ก็จากโลกนี้ไป”

บทที่ 24

ตัวแทนศาสนทูต (ศ) หรือฐานภาพการเป็นอิมาม

ในที่สุดเหตุการณ์หนึ่งก็ได้อุบัติขึ้น วิญญาณของท่านศาสดา (ศ) โบยบินหาเบื้องบนนิรันดร์กาล

เป็นที่กระจ่างว่า การจากไปของท่านศาสดาผู้ทรงเกียรติ(ศ) ได้ก่อให้เกิดลมพายุในทะเลแห่งความเงียบสงบของอิสลาม คลื่นมหึมาถาโถมเข้ามา ชาวเรือพยายามอย่างยิ่งที่จะให้ได้รับประโยชน์จากความสับสนปั่นป่วนอันนี้ และได้ปลาจากท้องทะเลแห่งนี้ อีกฟากหนึ่งเราก็รู้ว่ายังมีกลุ่มชนอีกกลุ่มหนึ่งไร้ซึ่งสติปัญญา ยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป อีกทั้งมักจะทำตัวเป็นฟืนที่ใช้เผาไหม้ที่ค่อยให้คนนำไปเผา พวกเขายังคงต้องการการอบรมสั่งสอน คอยดูแลอยู่ตลอดเวลา ถ้าปราศจากซึ่งคนดูแลละก็ พวกเขาก็ไม่อาจจะดำเนินชีวิตสู่ความสมบูรณ์ต่อไปได้

เราขอถามว่า

สังคมเช่นที่ว่านี้ ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว ไม่ต้องการผู้นำคนหนึ่งขึ้นมาทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองแทนท่านศาสดา (ศ) เพื่อจะได้ไม่ให้รากฐานแห่งความเหนื่อยยากของท่าน (ศ) ต้องถูกทำลายลง? หรือว่าผู้นำทางด้านความรู้และการเมืองที่รอบรู้อย่างสมบูรณ์ในกฎเกณฑ์ทุกประการของพระผู้เป็นเจ้า มีความสามารถที่จะนำพาประชาชาติสู่แนวทาง และวิถีชีวิตที่ถูกต้อง ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไปแล้ว?

 

ชีอะฮฺมีความเชื่อที่ว่าความเมตตาอันหาที่สิ้นสุดไม่ได้ของพระผู้เป็นเจ้าอีกทั้งวิทยปัญญาอันไร้ของเขตของพระองค์บอกเราว่า หลังการจากไปของท่านศาสดา (ศ) แล้ว ประชาชนก็จะต้องไม่ถูกทอดทิ้งโดยปราศจากผู้นำ พวกท่านเหล่านั้นจะต้องเป็นผู้ที่บริสุทธิ์ไร้มลทินทั้งปวง

มีสติปัญญาอันเลอเลิศ ซึ่งเป็นสิ่งยืนยันถึงความเป็นสัตย์จริงของคำพูด และการกระทำของพวกท่านเหล่านั้น เป็นตัวอย่างของมนุษย์คนหนึ่งที่มีความดีเด่น เพียบพร้อมบริบูรณ์ และเป็นมนุษย์ผู้ถูกเลือกสรรจากพระผู้เป็นเจ้า เพื่อจะได้กุมบังเหียนสังคมมุสลิมและชี้นำพวกเขาด้วยความรู้และญาณทัศนะอันกว้างไกลและไร้ซึ่งความผิดพลาดใด

ก็เพราะว่า พระผู้เป็นเจ้าที่อยู่ในความนึกคิดของประชาชาติในสมัยของท่านศาสดาอิสลาม(ศ) ไม่มีเหตุอันใดที่ทัศนะของพระองค์เปลี่ยนไปและไม่ปรากฏความเมตตาปราณีหลงเหลืออยู่

เป็นไปได้อย่างไรที่พระผู้อภิบาลผู้ที่คอยระวังรักษา และสร้างความเจริญเติบโตแข็งแรงให้กับร่างกายของเรา ด้วยการกำหนดให้อวัยวะแต่ละส่วนทำหน้าที่เฉพาะของมัน อย่างเช่น จนคิ้วที่คอยระวังไมให้เหงื่อที่มี

ความเค็ม และมีความสกปรกเจืออยู่ ไหลจากหน้าผากเข้าสู่ดวงตา หรือขนตาที่ถูกสร้างขึ้นมาให้ทำหน้าที่เสมือนร่มคอยปกป้องให้ดวงตามีความสวยงามและถูกรักษาอยู่เสมอ มีอีกหลายสิบอย่างทั้งที่เรารู้และไม่รู้ แล้วพระองค์จะไม่ได้กำหนดตัวแทนของท่านศาสดา (ศ) ที่มีคุณสมบัติพร้อมอีกหรือ? หรือว่าการบังเกิดขึ้นของสังคมที่ดีที่สุด (ที่มีอิสลามเป็นตัวชี้นำ) ไม่มีความจำเป็นต้องมีผู้นำที่ดีที่สุด กระนั้นหรือ ?