พื้นฐานอิสลาม

พื้นฐานอิสลาม0%

พื้นฐานอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา

พื้นฐานอิสลาม

ผู้เขียน: อัลลามะฮ์ ซัยยิด มุฮัมมัด ฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 24506
ดาวน์โหลด: 3291

รายละเอียด:

พื้นฐานอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 354 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 24506 / ดาวน์โหลด: 3291
ขนาด ขนาด ขนาด
พื้นฐานอิสลาม

พื้นฐานอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

หรือว่าการกำหนดผู้ที่จะเป็นอิมาม ผู้ดูแล และผู้นำที่บริสุทธิ์ไร้มลทินไม่ใช่รากฐานแห่งความไพบูลย์ของสังคมดอกหรือ? สังคมอิสลามสามารถก้าวไปถึงยังความสมบูรณ์พูนสุข โดยปราศจากการจัดตั้งที่ดีและมีผู้นำได้กระนั้นหรือ?

ดังนั้นหากผู้นำที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระผู้เป็นเจ้าและบริสุทธิ์ไร้มลทินมีความจำเป็นและสังคมอิสลามยังต้องการผู้ดูแลที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระองค์ละก็ เป็นไปได้อย่างไรที่ว่า ในอิสลามไม่มีการกล่าวถึงในเรื่องนี้

มันถูกวางให้เป็นหน้าที่ของประชาชาติเอง

สรุปอย่างง่ายก็คือ วิทยปัญญาที่เป็นผลของการแต่งตั้งท่านศาสดา (ศ) ก็คือ เหตุผลเดียวกับการที่พระผู้เป็นเจ้าทรงแต่งตั้งและกำหนดตัวแทนของท่านศาสดา (ศ) โดยผ่านตัวของท่าน (ศ)เอง

ท่านศาสดา (ศ) กล่าวในช่วงสุดท้ายอายุขัยของท่าน (ศ) ว่า

“ประชาชาติทั้งหลาย ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ) สิ่งที่จะทำให้พวกท่านเข้าใกล้สวรรค์ และทุกสิ่งที่จะทำให้พวกท่านออกห่างจากไฟนรกนั้น ฉันได้อธิบายมันหมดแล้ว”

แล้วอย่างนี้ยังกล่าวได้อีกหรือว่าท่านศาสดา (ศ) ไม่ได้แต่งตั้งผู้หนึ่งผู้ใดขึ้นมาเป็นผู้นำภายหลังจากท่าน(ศ)

อัลกุรอานไม่เพียงพอดอกหรือ?

อัลกุรอานอันจำเริญ คือ ที่มาของแนวความคิดทุกอย่างของอิสลามเปรียบเสมือนกับฐานอันแข็งแกร่งที่สิ่งก่อสร้างทั้งมวลของอิสลามตั้งอยู่บนนั้นหรือเสมือนตาน้ำที่ผู้แสวงหาได้ดื่มกินมัน แหล่งที่มาและที่อ้างอิงอันอื่นของอิสลามก็มีที่มาจากอัลกุรอานนี้

ทว่า...ด้วยสาเหตุต่อไปนี้ที่เราจะกล่าวถึง ทำให้อัลกุรอานเพียงอย่างเดียวไม่อาจเป็นผู้นำ และเข้าแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทั้งหลายของสังคมมุสลิม และตอบสนองต่อความต้องการทั้งหลายของประชาชาติได้

1) อัลกุรอาน และใจความอันลึกซึ้งของมัน

ต้องอาศัยการอรรถาธิบายอย่างกระจ่างชัด เพราะใช่ว่าทุกโองการของ

อัลกุรอานจะเต็มไปด้วยข้อความที่ชัดเจนแล้วเหมือนกันหมด จึงทำให้ผู้ที่จะเดินทาง (ทำความเข้าใจอัลกุรอาน) ที่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอในตอนเริ่มต้นของมันตามเส้นทางนี้หลงทาง และไม่อาจจะไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ได้

ดังนั้นตัวของท่านศาสดา (ศ) หรือบุคคลลที่ถูกแต่งตั้งจากท่าน (ศ) จะต้องมีส่วนสัมพันธ์ทางด้านวิญญาณภายในด้วยกับการโบยบินจากโลกแห่งสัมผัสนี้ไป เพื่อที่พวกท่านเหล่านั้นจะได้ทำหน้าที่อรรถาธิบายโองการต่างๆ ตรงตามพระประสงค์ของพระผู้อภิบาล

มิเช่นนั้นแล้วบุคคลทั่วก็อาจหาญแปลอัล-กุรอาน แต่ก็ยิ่งออกห่างจากสัจธรรมของมัน ดังเช่นที่เราเห็นในหน้าประวัติศาสตร์ดังนี้

ในที่ประชุมขุนนางของอัล มุอฺตะศิม (ผู้ปกครองคนหนึ่งของราชวงศ์

อับบาซียะฮฺ) มีการนำเอาขโมยคนหนึ่งเข้ามา เพื่อที่จะได้ลงโทษตามกฎเกณฑ์ของอิสลาม(ฮัด) ซึ่งถูกกำหนดไว้ในอัลกุรอาน

คำสั่งของอัลกุรอานมีอยู่ว่า “จงตัดมือของคนขโมย”

แต่ตัวของอัลมุอฺตะศิม เองไม่รู้ว่าจะต้องตัดจากไหน? เขาได้ถามนักวิชาการศาสนาชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮฺ มีคนกล่าวว่า “ให้ตัดตั้งแต่ข้อมือ” บ้างก็ว่า “ให้ตัดตั้งแต่ข้อศอก” ก็ไม่อาจตัดสินได้เลยหันมาถามอิมามมุฮัมมัด ตะกี (อฺ) ซึ่งบังเอิญปรากฏตัวอยู่ ณ ที่นั้น

ท่าน (อฺ) ได้ตอบว่า

“จะต้องตัดทั้งสี่ เพราะอัลลอฮฺ ตรัสในอัลกุรอานว่า”

“อันที่จริงมัสญิด (ที่ทำการซุญูด) ทั้งหลายเป็นของอัลลอฮฺ”

 (บทอัล- ญิน:18)

หมายความว่า จากสถานที่ทั้งเจ็ดแห่งของร่างกายมือทั้งสอง เข่าทั้งสอง หัวแม่โป้งของเท้าทั้งสอง และหน้าผาก) หนึ่งในนั้นก็คือมือทั้งสองที่ใช้สำหรับวางแนบกับพื้นเมื่อเวลาซุญูดของอัลลอฮฺ (ซ.บ) และจะต้องไม่ถูกตัดทิ้งไป”

ทุกคนยอมรับการตัดสินของท่าน (อฺ) นี่คือการอรรถาธิบายอัลกุรอาน ที่เรียกว่า “การตัฟซีรอัลกุรอาน” และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเชื้อสายของท่านศาสดา (ศ) ไม่มีใครที่จะอรรถาธิบายได้สมบูรณ์ ถึงแม้จะมีความรู้ถึงขั้นสอนผู้คนแล้วก็ตาม นอกจากเสียว่าเขาจะต้องอยู่คลุกคลีกับพวกท่านเหล่านั้น (อฺ) และได้รับการเรียนรู้แนวทางดังกล่าวจากพวกท่านเหล่านั้น (อฺ)

2) สิ่งที่เราได้กล่าวในเรื่องของสภาพความจำเป็นของการอรรถาธิบายที่ถูกต้องนั้น เป็นเพียงเปลือกด้านนอกของอัลล-กุรอานเท่านั้น

ภายในถ้อยคำ และความหมายเปลือกนอกนี้ ยังมีความที่ลึกซึ้งลุ่มลึกภายในซุกซ่อนอยู่ เฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการทำความรู้จักพระผู้อภิบาล (มะอ์ริฟะฮฺ) ความเชื่อต่างๆ และจริยธรรมอันดีงาม ฯลฯ

ท่านศาสดาผู้ทรงเกียรติ(ศ) ได้กล่าวว่า

“อัลกุรอานเปลือกนอก (ด้านความหมาย) คือ ความสวยงาม

อัลกุรอานแก่นใน คือ ความลุ่มลึก”

ใช่แล้วอัลกุรอานทั้งหมดตามคำกล่าวของนักอรรถาธิบายอัลกุรอาน มีการเปรียบเทียบความหมาย(ตะอ์วีล) และความหมายด้านใน ซึ่งการที่จะเข้าถึงแก่นแท้มันได้นั้น ไม่อาจใช้เพียงความคิด และการวิเคราะห์เท่านั้น

จากการสื่อภาษาคำสำหรับทุกคนก็ไม่อาจอธิบายได้ทั้งหมด เพราะบางกลุ่มชนไม่อาจทำความเข้าใจมันได้ มีเพียงบุคคลอันเป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺ (เอาลิยาอ์) และผู้บริสุทธิ์ทั้งหลายที่สามารถทำความเข้าใจมันได้

พวกท่านเหล่านั้นสามารถประโยชน์และบทเรียนจากมันเพื่อใช้แก้ปัญหาและเหตุการณ์ทั้งมวลของมนุษยชาติ บุคคลที่ได้รับการปกป้องให้พ้นจากความผิดพลาด ก็จะต้องทำหน้าที่เป็นครูสอนผู้อื่น

บุคคลที่เป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺ และบ่าวผู้จงรักภักดีที่ถูกปกป้องจากความผิดทั้งมวล ก็คือท่านศาสดา(ศ) และวงศ์วานผู้บริสุทธิ์ของท่าน (อฺ)

ดังที่อัลกุรอาน อันจำเริญได้กล่าวถึงพวกเขาไว้ว่า

“อันที่จริงอัลลอฮฺทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมทุกประการให้ห่างไกลจากพวกเจ้า โอ้อะฮฺลุลบัยต์และทำให้พวกเจ้าสะอาดบริสุทธิ์ยิ่ง”(บทอัล- อะฮฺซาบ: 33)

ในอัล- ฮะดีษก็มีกล่าวว่า

“อันที่จริงผู้ที่เป็นที่รู้จักอัลกุรอานอย่างแท้จริง คือ ผู้ที่อัลกุรอานสนทนาด้วย”

ท่านศาสดา (ศ) และวงศ์วานผู้บริสุทธิ์เท่านั้นคือ ผู้ที่อัลกุรอานสนทนาด้วย ดังนั้นพวกเขาย่อมจะต้องเข้าใจอัลกุรอานได้อย่างลึกซึ้ง

จากความสัมพันธ์ของอัลกุรอานและอะฮฺลุลบัยต์ (อฺ) ดังกล่าว ท่านศาสดา (ศ) จึงกล่าวสิ่งหนึ่งในช่วงสุดท้ายของชีวิตอันจำเริญของท่านว่า

“แท้จริงฉันได้ละทิ้งสิ่งหนักสองสิ่งไว้แก่พวกท่าน นั่นคือ คัมภีร์ของอัลลอฮฺ และวงศ์วานผู้บริสุทธิ์ของฉัน”

3) อัลกุรอานต้องการยืนยันด้วยการปฏิบัติของมะอฺศูม (ผู้บริสุทธิ์)

อัลกุรอาน คือ ธรรมนูญสูงสุด ดังนั้นก็มีความจำเป็นต้องใช้ผู้ที่จะ

นำกฎเกณฑ์เหล่านั้นไปปฏิบัติ

ผู้ปกครองที่มีความสามารถนำกฎเกณฑ์ และคำสั่งทั้งหลายของพระผู้อภิบาลไปปฏิบัติได้นั้นจะต้องเป็นเหมือนท่านศาสดา (ศ) คือ บริสุทธิ์ปราศจากมลทินทั้งมวล อีกทั้งต้องมีความเข้าใจอัลกุรอานอย่างแจ่มแจ้งตามความเป็นจริงของมัน

คุณลักษณะพิเศษเหล่านี้มีอยู่ในตัวของท่านอิมาม (อฺ) ประจักษ์พยานยืนยันในเรื่องนี้ได้อย่างดีเยี่ยม ก็คือ

รัฐบาลอันทรงเกียรติของท่านอะมีรุลมุอ์มินีน อะลี บินอะบีฏอลิบ (อฺ) ซึ่งเต็มไปด้วยปัญหา และความยุ่งยากมากมาย แต่กฎเกณฑ์อันสูงส่งของอิสลามก็ยังคงได้รับการปฏิบัติด้วยดี

บทสรุปในเรื่องนี้ ขอกล่าวถึงการโต้แย้งปัญหาศาสนาของ

ลูกศิษย์คนหนึ่งที่เล่าเรียนจากสถาบันวิชาการท่าน อิมามศอดิก (อฺ)

กับอุละมาอ์อะฮฺลุซซุนนะฮฺ ต่อหน้าท่านอิมามดังนี้

ชายคนหนึ่งจากเมืองดะมัสกัส รุดไปพบท่านอิมามศอดิก (อฺ) แล้วกล่าวขึ้นว่า

“ข้าพเจ้ามาที่นี่ เพื่อโต้ตอบปัญหาศาสนากับลูกศิษย์ของท่าน”

ท่านอิมาม(อฺ) ได้แนะนำท่านฮิชาม ซึ่งมีอายุน้อยที่สุดในบรรดาลูกศิษย์ของท่าน ชายคนนั้นเอ่ยก่อนว่า

“เด็กน้อย จงถามข้าเรื่องการเป็นอิมามของชายคนนี้(อิมามศอดิก) ซิ”

ท่านฮิชาม รู้สึกโกรธจนตัวสั่น จากอาการไร้มารยาทของเขา แต่ก็ซ่อนความโกรธเอาไว้ แล้วก็เริ่มต้นว่า

“ระหว่างพระผู้อภิบาลของเจ้ากับบ่าวของพระองค์ ใครมีความเมตตาต่อปวงบ่าวของพระองค์ยิ่งกว่ากัน?”

ชายคนนั้นตอบว่า

“พระผู้อภิบาล”

ท่านฮิชาม ถามต่อไปว่า

“พระผู้อภิบาล ผู้ทรงเมตตาทำอย่างไรต่อปวงบ่าวของพระองค์”

ชายคนนั้นตอบว่า

“ทรงชี้นำและสำแดงหลักฐานอันแจ้งชัด เพื่อปกปักรักษาพวกเขาจากความขัดแย้ง และความแตกแยกทั้งมวล พระองค์ได้สร้างความรัก ความเป็นหนึ่งให้เกิดขึ้นในหมู่พวกเขา และอธิบายหน้าที่ทางศาสนาแก่พวกเขา”

ท่านฮิชาม จึงถามต่อว่า

“ใครคือผู้ชี้นำ?”

ชายคนนั้นตอบอย่างมั่นใจว่า

“ท่านศาสดา(ศ)”

ท่านฮิชาม ถามต่อว่า

“หลังจากท่าน(ศ) แล้วเป็นใคร?”

ชายคนนั้นกล่าวตอบว่า

“อัล-กุรอาน และแบบฉบับ (ซุนนะฮฺ) ของท่านศาสดา”

ท่านฮิชาม สร้างคำถามชวนให้คิดว่า

“ทุกวันนี้ อัล-กุรอานและซุนนะฮฺของท่านศาสดาสามารถป้องกันความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นได้ กระนั้นหรือ?”

ชายคนนั้น ตอบว่า

“แน่นอน”

ท่านฮิชาม ถามทันทีว่า

“แล้วทำไม่ ข้ากับเจ้าซึ่งเป็นมุสลิมทั้งคู่ จึงมีความขัดแย้งกัน ยิ่งไปกว่านั้นเจ้ายังมากถึงที่นี้ก็เพราะความขัดแย้งดังกล่าวนี้?”

ชายคนดังกล่าวเงียบสนิท ไม่อาจกล่าวโต้ตอบได้อีก

ท่านอิมามศอดิก (อฺ) กล่าวกับชายคนนั้นว่า

“ทำไมไม่พูดต่อไปล่ะ”

เขากล่าวตอบว่า

“ข้าพเจ้าจะพูดต่อได้อย่างไร ถ้าบอกว่าไม่มีความขัดแย้งกัน ก็เท่ากับข้าพเจ้าโกหก อีกทั้งถ้าจะบอกว่าอัลกุรอาน และซุนนะฮฺของท่านศาสดาสามารถ แก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างเราได้ ก็ใช่จะเป็นคำพูดที่ถูกต้องนัก

เพราะหลายต่อหลายเรื่องด้วยกันที่อัลกุรอานและซุนนะฮฺไม่มีความหมายที่ชัดเจนพอที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทั้งมวลได้”

แล้วเขาก็กล่าวต่อไปว่า

“ข้าพเจ้าขอถามปัญหาเดียวกันนี้กับฮิชาม”

ท่านอิมาม(อฺ) ตอบว่า

“เชิญเลย”

เขาก็เริ่มคำถามว่า

“โอ้ฮิชาม ระหว่างพระผู้เป็นเจ้ากับบ่าวของพระองค์ ผู้ใดจะมีความเมตตาต่อประชาชนมากกว่ากัน”

ท่านฮิชาม ตอบว่า

“แน่นอนต้องเป็นผู้อภิบาล”

ชายคนนั้นถามต่อไปว่า

“พระองค์ได้ส่งผู้ใดมาทำหน้าที่สมานฉันท์ สร้างความเป็นหนึ่งเดียวแก่มวลมุสลิม อีกทั้งอธิบายสัจธรรมและหลงผิดแก่พวกเขา”

ท่านฮิชาม ถามกลับว่า

“ถ้าในสมัยของท่านศาสดา(ศ) ก็ย่อมเป็นตัวท่านอย่างแน่นอน

 ข้าหมายถึงในปัจจุบันนี้”

ท่านฮิชาม ชี้ไปที่ท่านอิมามศอดิก (อฺ) แล้วกล่าวว่า

 “ปัจจุบันนี้ ก็คือ ชายคนที่นั่งอยู่ ณ ที่นั่น ซึ่งประชาชนทั้งหลายไม่ว่าอยู่แห่งหนตำบลใดต่างก็มุ่งตรงมายังท่าน (อฺ) ได้บอกเราถึงสิ่งที่อยู่ในชั้นฟ้าและผืนแผ่นดิน ความรู้อันนี้ท่าน(อฺ) ได้รับมาจากบรรพบุรุษของท่าน(อฺ) ซึ่งได้รับมาจากท่านศาสดา(ศ)”

ชายคนนั้นกล่าวว่า

“ข้าจะเชื่อ และยอมรับคำพูดดังกล่าวได้อย่างไร?”

ท่านฮิชาม จึงตอบแบบท้าทายว่า

“เจ้าต้องการรู้อะไร ก็ถามท่านเลยซิ”

ชายคนนั้นรับคำท้า

“ตกลง ข้าไม่ขอโต้แย้งใดๆ อีกแล้ว ขอถามว่า”

แล้วทันใดนั้นเอง ท่านอิมาม (อฺ) ก็บอกกับเขาว่า เขาเดินทางมาที่นี้โดยใช้พาหนะใด และมีเหตุการณ์อันใดเกิดขึ้นระหว่างทาง ซึ่งไม่มีผู้ใดรู้นอกจากตัวเขาเอง จนถึงขนาดที่ว่า ไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยใดหลงเหลืออยู่ในตัวของเขาอีก ในที่สุด เขาก็อีหม่านต่อการเป็นอิมามของท่าน

อิมามศอดิก (อฺ)

บทที่ 25

การชี้นำทางจิตวิญญาณของบรรดาอิมาม (อฺ)

การดำเนินชีวิตของท่านศาสดา (ศ) การประพฤติปฏิบัติของท่าน (ศ) คือรูปลักษณ์ที่แท้จริงของบทบัญญัติแห่งอิสลาม

ท่าน(ศ) เป็นทั้งผู้นำทางการเมือง ผู้ปกครองลังคมมุสลิม อีกทั้งท่าน (ศ) ยังได้รับกฎเกณฑ์ บทบัญญัติต่างๆ ของอิสลาม โดยผ่านวะฮฺยูจาก

พระผู้อภิบาล ให้นำมาใช้ภายใต้รัฐบาลอิสลาม การกระทำของท่าน (ศ) คือกฎหมายที่เป็นตัวตน จริยวัตรของท่าน(ศ) คือ จริยธรรมอันบริสุทธิ์ คำสั่งของท่าน(ศ) คือ การชี้นำชาญฉลาดและมั่นคง ท่าน(ศ) ไม่หยุดยั้งเพียงการทำหน้าที่ตักเตือนและให้คำชี้แนะเท่านั้น แต่ท่าน(ศ)ยังทำหน้าที่สร้างสังคมที่วางอยู่บนรากฐานของความยุติธรรมที่แท้จริง

เพราะว่า ในการสร้างความไพบูลย์แก่สังคมนั้น อิสลามมีพันธะในเรื่องการใช้ชีวิตในดุนยานี้ด้วย มิใช่ว่าบทลงโทษแก่ผู้ที่มีความสุขกับสังคมนี้ด้วยวิธีประพฤติชั่วจะถูกเลื่อนไปถึงโลกหน้า ทว่า...ในโลกนี้พวกเขาก็จะต้องได้รับโทษทัณฑ์นั้นด้วย ดังนั้นรัฐบาล และผู้นำ (อิมาม) จึงได้รับเกียรติให้กระทำงานดังกล่าวนี้

อิสลามมีความสูงเด่นเหนือกว่ารัฐบาลรูปแบบอื่นในโลกนี้ตรงที่ว่า มีการสอดส่อง ดูแลทุกจังหวะย่างก้าวของชีวิตมนุษย์

ดังนั้นอิสลามจึงได้สั่งให้ทุกคนปฏิบัติตามคำสั่งของอิสลามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้รับอานิสงส์ทางด้านจิตวิญญาณและความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

สิ่งที่ถูกลืมอย่างมากในโลกยุคโลกาภิวัตน์นี้ และนับวันจะยิ่งพบกับผลแห่งการลืมนั้นที่เป็นความเลวร้ายขึ้นทุกวัน สิ่งนั้น ก็คือ การนำพาสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ความสูงส่งทางวิญญาณ และการคิดถึงโลกหน้า อิสลามได้ให้ความสำคัญต่อเรื่องดังกล่าวเป็นกรณีพิเศษ บรรดาผู้นำอิสลามได้กำหนดแนวความเชื่อขั้นพื้นฐานของพวกเขาอยู่บนการอบรมทางด้านจิตวิญญาณ

มนุษย์ส่วนใหญ่หลงลืมความจริงแท้ของแก่นแท้ความสูงส่งของความเป็นมนุษย์ เพราะว่ามันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนไม่อาจสัมผัสด้วยสายตาธรรมดาได้ ดังนั้น จากสายตาของบุคคลทั่วไปจึงมองเห็นว่าโลกแห่งการมีอยู่ของมนุษย์อยู่ห่างไกลจากแนวความคิด อุดมการณ์ของมนุษย์ และไม่อาจที่จะรับรู้ในสิ่งนั้นได้ นับประสาอะไรกับการที่พวกเขาจะมีความสามารถเป็นถึง “ผู้นำ” ในสภาวการณ์เช่นนี้

ผ่านมาหลายช่วงศตวรรษแล้ว มนุษย์ก็ยังไม่อาจทำความเข้าใจ การทำงาน และผลตอบสนองทางฟิสิกส์ของร่างกายของตัวเองแม้เพียงครึ่งหนึ่งของเรื่องนั้น แล้วพวกเขาจะสามารถมีความหวังในการทำความรู้จักเรื่องราวแห่งความลี้ลับที่ไม่อาจสัมผัสด้วยประสาทสัมผัสธรรมดา และเตรียมพร้อมเพื่อไปให้ถึงยังสิ่งที่อยู่ไกลเกินฝันได้อย่างไร?

ณ ที่นี้ไม่จำเป็น จะต้องพูดให้ยืดยามว่า ในเรื่อง “ผู้นำ” นี้ ตัวของเขาเองจะต้องมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อเรื่องราวของโลกแห่งความจริงแท้ที่อยู่ไกลเกินกว่าประสาทสัมผัสธรรมดา อีกทั้งต้องสามารถเป็น “ผู้นำ” ที่ทำความรู้จักกับโลกนั้นและทุกเส้นทางที่ยังไม่เปิดเผยของมัน ความสูงส่งและความลุ่มลึกของมันทั้งหมดได้อย่างทะลุปรุโปร่ง หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่รู้จักทาง แล้วจะนำทางได้อย่างไร?

เป็นการถูกต้องแล้วนะหรือ ที่เราจะต้องวางมือจากเรื่องราวทางด้านจิตวิญญาณทั้งหมด? เราจะไม่สนใจต่อความสามารถพิเศษเฉพาะทางจิตวิญญาณและแก่นแท้แห่งความสูงส่งของมนุษย์ทั้งหลาย? หรือเราจะรับรู้มัน

แต่เพียงว่ามีความเสมอภาคกับความเป็นสัตว์ทั้งหลาย มอบตัวเองให้กับโลกแห่งความต้อยต่ำมีเพียงการหลับนอน ความโกรธ และการสืบพันธุ์เท่านั้น จนกระทั่งเหมือนตัวหนอนที่คลุกอยู่กับความปรารถนาแห่งความเป็นสัตว์?

ไม่...มันต้องไม่ใช่อย่าง นั้นแน่นอน มันไม่อาจแหมาะสมกับตำแหน่งของความสูงส่งแห่งความเป็นมนุษย์ได้เลย

ความปรารถนาทางด้านจิตวิญญาณ และความสูงส่งทั้งหลาย และพร้อมกับความสามารถพิเศษที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงกำหนดมาให้ ทำให้มนุษย์ คือ

ผู้ชี้นำของสรรพสิ่งทั้งมวล และเป็นเสมือนดวงประทีปของโลกแห่ง

การสร้างสรรค์นี้ เขาสามารถเข้ายึดครองตั้งแต่พื้นพสุธาจนถึงจุดสูงสุดอันไกลโพ้น เสมือนกับแสงอาทิตย์ที่สาดส่องไปทั่วทุกทิศให้ความร้อนและแสงสว่าง

เพราะว่าผู้ถูกเลือกสรรนี้ไม่ได้ดำเนินชีวิตไปเรื่อย ๆ ในวงโคจรแห่งการถูกสร้างสรรค์ เขาคือ อณูเล็กๆ หนึ่งแต่ได้รับรัศมีอันสูงส่งแห่งพระผู้อภิบาลและในหมู่สิ่งถูกสร้างทั้งหลายของพระผู้เป็นเจ้า

พระองค์ทรงประทานความโปรดปรานแก่เขาอย่างมากมาย

เราได้เห็นผลแห่งความโปรดปรานอันนี้ที่พระผู้เป็นเจ้ามีต่อมวลมนุษย์ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่มาพร้อมกับการแต่งตั้งบรรดาศาสนทูต พระองค์ทรงส่งบรรดาศาสนทูตทั้งหลายบนพื้นฐานของความเมตตา และความโปรดปรานดังกล่าวเพื่อจะให้พวกเขาได้ทำการชี้นำประชาชาติ และนำพาดวงจิตอันสูงส่ง และไม่หยุดนิ่งของมนุษย์สู่ชัยชนะและความสูงส่ง

อัลกุรอานได้กล่าวเรื่องนี้ไว้ในหลายอายะฮฺด้วยกัน

ตัวอย่างเช่นในอายะฮฺที่ 129 ซูเราะฮฺ อัล-บะกอเราะฮฺ

 พระองค์ตรัสว่า :

“(ส่วนหนึ่งของดุอาอ์ของท่านนบีอิบรอฮีม(อฺ) คือ) โอ้พระผู้อภิบาลของเรา ได้โปรดส่งศาสนทูตคนหนึ่งที่มาจากพวกเขาแก่พวกเขา

เขาจะได้สาธยายสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของพระองค์ และสอนคัมภีร์ วิทยปัญญา และทำการขัดเกลาพวกเขา แท้จริงพระองค์ทรงมีเกียรติยิ่ง อีกทั้งทรงวิทยปัญญายิ่ง”

จากอายะฮฺดังกล่าวทำให้เรากระจ่างว่า นอกจากการให้ความรู้ การสอนวิทยปัญญา และชี้นำแล้ว ยังมีการขัดเกลาจิตวิญญาณที่ถูกนับว่าเป็นงานหนึ่งของการเรียกร้องเชิญชวนของบรรดาศาสนทูตต่าง ๆ

ตามแนวทางของท่านศาสนทูตแห่งอิสลาม(ศ) มีกลุ่มบุคคลที่ได้รับการอบรมสั่งสอนเป็นพิเศษ

จนกระทั่งได้รับความสมบูรณ์และถูกขัดเกลาแล้ว อย่างเช่น

ท่านซัลมาน ท่านอะบูซัร ท่านอัมมาร ท่านมิกดาด ท่านมัยษัม และอีกหลายคนที่อยู่ในระดับที่ดีเยี่ยมของกลุ่มชนนี้

การดำรงอยู่ของพวกเขา คือ ตาน้ำแห่งความบริสุทธิ์และใสสะอาด... พวกเขาได้รับการชำระล้างจากความเลวร้ายทั้งมวล...

พวกเขาไม่ปรารถนาสิ่งใด นอกจาก อัลลอฮฺ (ซ.บ.) เท่านั้นและไม่เห็นผู้ใดอยู่ในสายตา นอกจาก พระองค์... ทั้งสรรพางค์กาย ชีวิต และจิตวิญญาณของพวกเขามีเพียงอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่มีอำนาจเหนือพวกเขา

ด้วยเหตุนี้เองที่พวกเขาทุกคนเป็นแบบอย่างของมนุษย์ที่สมบูรณ์แล้ว คือ ต้นตอของการรับใช้อันยิ่งใหญ่ตามแนวทางอันสูงส่งของมนุษยชาติ และสังคมมนุษย์ในช่วงสมัยของเขาเหล่านั้น

ดังนั้นจริยธรรม และการขัดเกลาจิตวิญญาณมิใช่เรื่องที่เป็นเพียงการพูดให้เกียรติยกย่องโดยพวกเราทำเป็นไม่ใส่ใจ จนกระทั่งเราเกลือกกลั้วใช้ชีวิตอย่างหรูหราตามใจปรารถนา... ไม่ใช่อย่างแน่นอน

จริยธรรม (อัคลาก) ที่งดงาม เป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต ยิ่งไปกว่านั้นยังมีความสำคัญยิ่งกว่านั้นอีก หมายความว่า ความรู้สึกและสติปัญญาเป็นพยานยืนยันว่า คุณลักษณะอันสูงส่งทางด้านจริยธรรม และดวงจิตที่ถูกขัดเกลาแล้วนั้นยิ่งใหญ่และลุ่มลึกยิ่งนัก ถึงขนาดที่ว่า มนุษย์ได้เลยผ่านรูปสมบัติทั้งหลายเข้าไปพักพิงในมัน และเข้าไปใช้ชีวิตทางจิตวิญญาณอันสูงส่ง และความจริงแท้แห่งความเป็นมนุษย์

ตัวอย่างของโองการแห่งอัลกุรอาน ที่ชี้นำสู่ชีวิตทางด้านจิตวิญญาณอันสูงส่งของมนุษย์

“ผู้ใดก็ตามไม่ว่าชายหรือหญิงที่ปฏิบัติการงานที่ดีเหมาะสม และมีอีหม่านศรัทธา เราจะมอบชีวิตอันบริสุทธิ์และดีงามให้แก่เขา...”

(บทอัน-นะฮ์ล์: 97 )

“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงตอบรับอัลลอฮ์และศาสนทูต เมื่อพระองค์ได้เรียกร้องสูเจ้าไปยังสิ่งที่สร้างความมีชีวิตชีวาให้แก่ตัวของสูเจ้าเอง...”

 (บทอัล-อันฟาล: 24)

เป็นที่ชัดเจนว่า การดำเนินชีวิตและการมีชีวิตชีวาที่อัลกุรอานกล่าวไว้ข้างต้น ไม่ใช่การมีชีวิตตามสภาพปรกติที่เป็นอยู่นี้อย่างแน่นอน มันมิใช่อื่นใดเลย นอกจากต้องเป็นชีวิตที่สัมพันธ์กับจิตวิญญาณอันสูงส่ง