พื้นฐานอิสลาม

พื้นฐานอิสลาม0%

พื้นฐานอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา

พื้นฐานอิสลาม

ผู้เขียน: อัลลามะฮ์ ซัยยิด มุฮัมมัด ฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 24561
ดาวน์โหลด: 3303

รายละเอียด:

พื้นฐานอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 354 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 24561 / ดาวน์โหลด: 3303
ขนาด ขนาด ขนาด
พื้นฐานอิสลาม

พื้นฐานอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

พี่น้องอะฮฺลิซซุนนะฮฺ เรียกเหตุการณ์นี้ที่เสมือนกับการเล่นฟุตบอลของเด็ก ๆ ว่า

การร่วมปรึกษาหารือ และลงมติของประชาชาติอิสลาม (ชูรอ)

ข้อที่ 3

คำพูดชัดเจนของท่านอุมัร เองหลังเหตุการณ์ซะกีฟะฮฺเพียงไม่กี่ปีในเรื่องไม่มีการจัดตั้ง “ชูรอ” โดยที่เขากล่าวขณะรับตำแหน่งคอลีฟะฮฺบนมินบัรว่า:

“...ข้าได้ยินมามีคนพูดว่า อุมัรเสียชีวิตไป ข้าก็จะให้การบัยอะฮฺต่อชายคนหนึ่ง อันที่จริงการให้บัยอะฮฺต่ออะบูบักร์นั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน (ซึ่งหมายความว่าการบัยอะฮฺต่ออะบูบักรฺไม่มีการปรึกษาหารือ) จริงอยู่การบัยอะฮฺต่ออะบูบักรเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไม่คาดฝัน ทว่า...อัลลอฮฺได้ปกป้องความเลวร้ายของมันแล้ว แต่ในระหว่างพวกท่านไม่มีใครเลยที่เหมือนกับอะบูบักร์ที่จะทำให้หัวหน้ากลุ่มชนต่างๆ เชื่อฟัง และปฏิบัติตามได้”

หากว่ามีการ “ชูรอ” กันขึ้นจริง และบรรดาศอฮาบะฮฺของท่านศาสดา (ศ) ได้แสดงทัศนะกันอย่างอิสระละก็ การบัยอะฮฺต่อท่านอะบูบักร์คงจะไม่ถูกเรียกว่าเกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน ไม่มีการปรึกษากันอย่างจริงจัง

ข้อที่ 4

ท่านอุมัรกล่าวว่า

“หลังท่านศาสดา(ศ) จากไปแล้ว อะลี ซุเบร และพรรคพวกของเขาเป็นปรปักษ์ต่อเรา ได้มารวมตัวกันที่บ้านของฟาฎิมะฮ์”

เราขอถามว่า การแสดงความไม่เห็นด้วยและการเป็นปรปักษ์ดังกล่าวจะถูกมองข้ามได้กระนั้นหรือ ?

เฉพาะอย่างยิ่งตัวของท่านอุมัรเองก็สารภาพออกมาเอง นี่คือความหมายของการร่วมลงมติ (อิจญ์มาอฺ) กระนั้นหรือ?

ข้อที่ 5

หากปัญหาเรื่องผู้นำจำเป็นจะต้องมีการปรึกษาหารือละก็ แน่นอนอย่างยิ่งท่านศาสดาผู้ทรงเกียรติ (ศ)

จะต้องอธิบายถึงรูปแบบและวิธีการเฉพาะไว้แล้วอย่างน้อยก็น่าจะมีการชี้ให้เห็นในบางประเด็นไว้บ้าง ท่านศาสดา (ศ) เอาใจใส่ต่อการอธิบายข้อปลีกย่อยขอกฏศาสนบัญญัติ แต่...ปัญหาที่สำคัญเช่นนี้กลับไม่ได้ให้ข้อคิดอะไรไว้เลยกระนั้นหรือ ?

สิทธิของท่านอะลี(อฺ) ถูกช่วงชิงไปได้อย่างไร?

ในสังคมโลกมีพฤติกรรมบางอย่างเกิดขึ้นนั้นก็คือ มีการกระทำทุกวิถีทางเพื่อช่วงชิงอำนาจการปกครอง

พวกเขาแสวงหาโอกาสทุกอย่างเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อให้ได้มาซึ่งเกียรติยศของตัวเองถึงแม้ว่าในเรื่องนั้นจะมีคำสั่งของอัลลอฮ์(ซ.บ.) และ

รอซูล(ศ) อยู่ก่อนแล้ว

ในประวัติศาสตร์การเป็นตัวแทนของท่านศาสดา (ศ) ก็เช่นเดียวกันสมองที่รู้จักคิดย่อมต้องพบกับร่องรอยที่ว่านี้ กลุ่มคนที่มารวมตัวกันที่

“ซะกีฟะฮฺ” ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มชนที่ว่านี้

ขอให้ยอ้นกลับมาดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่ท่านศาสดา (ศ) ยังคงนอนป่วยอยู่

กองกำลังของอุซามะฮฺ

ในช่วงสุดท้ายแห่งชีวิตของท่านศาสดา (ศ) ขณะที่ท่าน (ศ) นอนป่วยอยู่บนเตียง ท่าน (ศ) ได้มีคำสั่งให้อุซามะฮฺ บินซัยดฺ ซึ่งยังเป็นหนุ่มคนหนึ่งแต่มีความสามารถและเหมาะสมจัดกำลังทัพ และนำทัพไปยัง “มูตะฮ์” (ใกล้กับชายแดนโรมตะวันออกขณะนั้น)

ในกองกำลังของเขามีทั้งชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศอร์ ซึ่งในนั้นก็มีท่านอะบูบักร์ ท่านอุมัร อะบูอุบัยดะฮฺ ญัรรอฮ์ ฯลฯ รวมอยู่ด้วย

ท่านศาสดา(ศ) ย้ำอย่างหนักแน่นว่า จะต้องไม่ละทิ้งการรวมพลในครั้งนี้อย่างเด็ดขาด

แม้กระทั่งอุซามะฮฺถามว่า :

“ท่านจะอนุญาตให้เราอยู่ที่นี้ก่อนจนกว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.) จะให้ท่านปลอดภัยจะได้ไหม”

ท่าน(ศ)ยังตอบว่า :

“ออกจากเมืองให้เร็วที่สุด แล้วรีบเคลื่อนกำลังพลด้วยนามของพระผู้เป็นเจ้า”

อุซามะฮฺ ถามขึ้นว่า

“ถ้าหากข้าพเจ้าออกไปนำทัพในขณะที่ท่านอยู่ในสภาพป่วยเช่นนี้ หัวใจของข้าพเจ้าคงจะกังวลและไม่สบายใจเป็นแน่”

ท่านศาสดา(ศ) ตอบกลับว่า

“รีบไปเถิด สู่ชัยชนะและกลับมาอย่างปลอดภัย!”

อุซามะฮฺ เอ่ยขึ้นว่า

“ข้าพเจ้ารู้สึกไม่ดีเลยที่จะต้องถามอาการของท่านจากคนเดินทาง (ที่มาเยี่ยมท่านศาสดา)”

ท่านศาสดา(ศ) ยืนยันด้วยน้ำเสียงเด็ดขาดว่า

“ฉันสั่งอะไรก็ทำตามนั้น!”

แล้วท่านก็หมดสติไป เมื่อรู้สึกตัวขึ้นมาท่าน(ศ) กล่าวต่อไปว่า

“ขอให้อัลลอฮฺ สาปแช่ง (ละอฺนัต) คนที่ไม่เข้าร่วมหรือหลบหนีจากกองทัพของอุซามะฮฺ”

อย่างไรก็ตาม ท่านอะบูบักร์และท่านอุมัรก็ละทิ้งกองทัพกลับมายันนคร

มะดีนะฮ์

ข้อโต้แย้งเรื่องปากกากับกระดาษ

วันสุดท้ายที่ท่านศาสดา(ศ) ป่วยหนักอยู่บนเตียง ท่าน(ศ) ได้สั่งให้นำปากกา และกระดาษมาให้ท่าน (ศ)

โดยกล่าวว่า

“ฉันต้องการเขียนอะไรบางอย่าง ที่จะทำให้พวกท่านไม่หลงทาง หลังฉันจากโลกนี้ไปแล้ว”

มีใครบางคนพูดขึ้นว่า

“ท่านพูดด้วยอาการเพ้อ”

ท่านอิบนุอับบาซ เล่าว่า :

วันแรกที่ท่านอุมัร ขึ้นสู่อำนาจการเป็นคอลีฟะฮฺ ข้าพเจ้าได้ไปพบเขา เขาได้พูดกับข้าพเจ้าว่า

“จนถึงเดี๋ยวนี้ ท่านยังคิดว่าเขา (อิมามอะลี) ยังเป็นคอลีฟะฮฺอีกหรือเปล่า”

ข้าพเจ้าตอบว่า

“แน่นอนไม่มีวันเปลี่ยน”

ท่านอุมัร จึงกล่าวขึ้นว่า

“ท่านคิดว่าท่านศาสดา(ศ) กล่าวถึงการเป็นคอลีฟะฮฺของเขาไว้อย่างนั้นหรือ?”

ข้าพเจ้าตอบว่า

“ใช่แล้ว ยิ่งไปกว่านั้นและกระจ่างชัดยิ่งกว่าก็คือข้าพเจ้าได้ถามบิดาของข้าพเจ้า (ท่านอับบาซ) ในเรื่องนี้

ท่านตอบว่าท่านอะลีพูดจริง

ท่านอุมัร พูดขึ้นว่า

“ท่านศาสดาตอนที่กำลังป่วยก็ต้องการบอกชื่อของเขา แต่ข้าไม่ปล่อยให้ท่านทำ”

จากถ้อยความเหล่านี้ เป็นที่กระจ่างว่าใครคือ ผู้ที่กล่าวถึงท่านศาสดา(ศ) ในขณะที่ท่าน(ศ) นอนป่วยว่า

“ท่านพูดด้วยอาการเพ้อ”

ท่านอุมัร รู้ดีกว่าท่านศาสดา(ศ)และรู้ซึ้งถึงผลประโยชน์ของประชาชาติอิสลามดีกว่าท่านศาสดา(ศ) จึง

ไม่ปล่อยให้ท่าน(ศ) ได้เขียนชื่อของท่านอะลี(อฺ) กระนั้นหรือ?

กลุ่มคนที่พยายามเสแสร้งอ้างความสัมพันธืกับท่านศาสดา(ศ) ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่มีสิทธิ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่งคอลีฟะฮฺ ก็คือ คนกลุ่มเดียวกับที่แสดงบทบาท และพฤติกรรมที่กล่าวไปในขณะที่ท่านศาสดา(ศ) ยัง

นอนป่วยอยู่มันทั้งหมดแสดงให้เห็นถึงความมักใหญ่ใฝ่สูงและต้องการเป็นผู้นำ

ด้วยสาเหตุของการแสวงหาอำนาจและต้องการเป็นใหญ่นี่เอง ที่ทำให้เหตุการณ์อันอับปยศอดสูเกิดขึ้นในโลกอิสลาม กล่าวคือ :

• พวกเขาได้สังหารซะอัด บินอุบาดะฮฺ ผู้ที่ต่อต้านการเป็นคอลีฟะฮฺของท่านอะบูบักร์และไม่ยอมให้บัยอะฮฺต่อเขา แล้วยังกล่าวว่า “ญินเป็นผู้ฆ่าเขา”

• คอลิด บินวาลิดได้สังหารท่านมาลิก บินนุวัยเราะฮฺ ผู้ที่มีอีหม่านและเป็นคนศอลิฮฺถึงขนาดที่ท่านศาสดา(ศ) กล่าวถึงเขาว่า

“ใครที่ต้องการจะดูชาวสวรรค์ก็ให้จ้องมองไปยังใบหน้าของมาลิก”

สาเหตุที่เขาถูกสังหารก็คือ เมื่อเขาได้ยิข่าวว่าท่านศาสดา(ศ) ได้จากโลกนี้ไปแล้ว เขาได้มายังนครมะดีนะฮ์ แล้วพบว่าท่านอิมามอะลี(อฺ) ถูกแย่งชิงตำแหน่งคอลีฟะฮฺไปแล้ว เขาก็ลุกขึ้นต่อต้านทันที เพราะเขาได้ยินคำพูดของท่านศาสดา (ศ) ในเรื่องการเป็นคอลีฟะฮฺของท่านอิมามอะลี(อ)

ส่วนคนที่สังหารเขาคือ คอลิด บินวาลิดนั้นยังข่มขืนภรรยาของเขาอีกแต่ไม่มีการลงโทษใดๆ ทั้งสิ้นจากคอ่ลีฟะฮฺสมัยนั้น

• พฤติกรรมอันสกปรกของคนพวกนี้อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ การเข้ายึด “สวนฟะดัก” อันเป็นมรดกของท่านหญิงฟาฎิมะฮ์ (อ) ไป

“ฟะดัก” คือชื่อของสวนหนึ่งที่ดาษดื่นไปด้วยไม้ผลต่างๆ และอยู่ในความดูแลของท่านหญิงฟฏิมะฮ์(อฺ)มาโดยตลอด ท่านอะบูบักร์เข้ายึดสวนนั้นมา พร้อมทั้งไล่คนงานของท่านหญิง(อฺ)ออกไปหมด

ท่านหญิง(อฺ) ได้โต้เถียงกับท่านอะบูบักร์อย่างรุนแรง จนกระทั่งเขาได้มอบใบสำคัญแสดงสิทธิในที่ดินให้แก่ท่านหญิง(อฺ) แต่...ท่านอุมัรกลับแย่งมันคืนมาแล้ว ฉีกมันทิ้ง แล้วก็ไม่มีการว่ากล่าวหรือตำหนิใดๆจากท่านอะบูบักรฺเลย?

|

บทที่ 28

อิมามที่ 12 ผู้ผดุงความยุติธรรมแห่งพระผู้เป็นเจ้า

ท่านอิมามมะฮ์ดี (อ) ผู้นำไว้ซึ่งความยุติธรรม ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 15

ชะอฺบาน ฮ.ศ. 255 ณ เมืองซามัรรออ์ บิดาของท่าน (อ) คือท่านอิมามที่ 11 แห่งวงศ์วานอะฮฺลูลบัยตฺอิมามฮะซัน อัสกะรี (อฺ) มารดาของท่านคือ

ท่านหญิงนัรญิซ ผู้สูงศักดิ์ในปี ฮ.ศ. 260 บิดาผู้ทรงเกียรติของท่าน (อ) ได้จากโลกนี้ไป ท่าน(อฺ) จึงเข้ารับตำแหน่งอ่อจากบิดาของท่าน(อฺ) (ตามกฎเกณฑ์ที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงกำหนด) นามและฉายานามของท่าน(อ) คือ

นามและฉายานามของท่านศาสดา(ศ)

ไม่มีใครได้พบท่าน (นอกจากผู้ใกล้ชิดเพียงไม่กี่ท่าน) นับตั้งแต่วันแรกที่ท่าน (อ) ลืมตาดูโลก ในช่วง 7 ปี หลังจากนั้นประชาชาติอิสลามสามารถติดต่อกับท่าน (อฺ) โดยผ่านตัวแทน (นาอิบ) พิเศษ สี่คนของท่าน

 (คือ ท่านอุษมาน บินซะอีด ท่านมุฮัมมัด บินอุษมาน ท่านฮุเซน บินรูฮ์ และท่านอะลี บินมุฮัมมัด ซะมะรี ตามลำดับ)

ช่วงนี้ถูกเรียกว่า “ฆ็อยบะฮ์ อัศศุฆรอ” และหลังจากนั้นเป็นต้นมา

ท่าน (อ) ก็อยู่ในสภาพไม่ปรากฏกายอย่างถาวร

จนกว่าจะมีพระบัญชาของอัลลอฮ์(ซ.บ.) ซึ่งเรียกว่า “ฆ็อยบะฮ์อัลกุบรอ”

ในช่วง “ฆ็อยบะฮ์อัลกุบรอ” จนกระทั่งเวลาแห่งการปรากฏกายของท่าน (ซุฮูร) ไม่มีผู้ใดถูกแต่งตั้งเป็นตัวแทนพิเศษของท่าน (อ) ประชาชาติอิสลามจะได้รับการชี้นำหลักการศาสนาจากฟุกอฮาอ์ (นักปราชญ์ทางศาสนบัญญัติ) และมุฮัดดิษ (นักรายงานฮะดีษ)

ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องอิมามมะฮ์ดี (อฺ) และการเปลี่ยนแปลงโลก

ความเชื่อในเรื่องการกลับมาปรากฏกายของท่าน (อ) และจะทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงสังคมโลกไม่ใช่เป็นความเชื่อเฉพาะของชีอะฮ์เท่านั้น มัซฮับอื่นของอิสลาม และแม้กระทั่งที่ไม่ใช่อิสลาม อีกทั้งพวกยะฮูดี นัศรอนีและนักวิชาการที่มีชื่อเสียงของโลกก็มีความเชื่อนี้ด้วย

คัมภีรซะบูร (นบีดาวูด) ปรากฏข้อความดังต่อไปนี้ :

“...ผู้ที่ถูกรอคอยของพระผู้เป็นเจ้า คือ ผู้รับมรดกแห่งแผ่นดิน...เขาจะมีสุขภาพที่สมบูรณ์...พระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้สนับสนุนคนที่มีคุณธรรม... พระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้ที่รู้ดีถึงวันเวลาแห่งความสมบูรณ์ทั้งมวลและการเป็นทายาทของเขาจะเป็นอยู่ชั่วนิรันดร์... บุคคลที่รับเอาความจำเริญจากเขาจะเป็นทายาทของแผ่นดินส่วนผู้ที่ถูกสาปแช่ง จะถูกทำลายไปจากแผ่นดิน...ผู้ที่มีคุณธรรมจะได้เป็นทายาทของแผ่นดินและจะอยู่ในนั้นนิรันดร”

อัล – กุรอานกับความเชื่อเรื่องอิมามมะฮ์ดี (อฺ)

ในอัล – กุรอาน มีการกล่าวถึงวันหนึ่ง ซึ่งผู้รักสัจธรรมและผู้ที่มีความดีงามแห่งโลกนี้ถูกสัญญาว่าจะได้มีอำนาจและปกครองโลกนี้ ศาสนาอันมีเกียรติยิ่ง คือ อิสลามจะแพร่กระจายออกไปเหนือศาสนาใดทั้งมวล

อีกทั้งยังมีอายะฮ์ที่ถูกอรรถาธิบาย และหมายถึง อิมามมะฮ์ดี (อฺ) อยู่ไม่ใช่น้อย ตัวอย่างเช่น :

1) ซูเราะฮ์อัล – อันบิยาอ์ อายะฮ์ที่ 105

“และหลังจากอัซ – ซิกรฺ (คัมภีร์เตารอต) เราได้บันทึกไว้ในคัมภีร์ซะบูรว่า แน่นอนยิ่งบนผืนแผ่นดินนี้ บ่าวผู้ทรงคุณธรรมของข้าจะเป็นผู้สืบทอดรับมรดกแห่งแผ่นดิน”

2) ซูเราะฮ์อัน – นูร อายะฮฺ ที่ 55

 “อัลลอฮ์ทรงสัญญากับบรรดาผู้มีศรัทธาในหมู่สูเจ้าและประพฤติดีมีคุณธรรมว่าพระองค์จะแต่งตั้งพวกเขาให้เป็นคอลีฟะฮ์ (ตัวแทน) ในแผ่นดินนี้ ดังเช่นที่พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งผู้ที่มาก่อนหน้าพวกเขาให้เป็นคอลีฟะฮ์ พระองค์จะทรงทำให้ศาสนาของพวกเขาที่พระองค์ทรงพอพระทัยมั่นคงยิ่งขึ้นสำหรับพวกเขา และพระองค์จะทรงเปลี่ยนพวกเขาให้บังเกิดความรู้สึกปลอดภัยภายหลังจากความรู้สึกหวาดกลัวของพวกเขา พวกเขาจะอิบาดะฮฺ (เคารพภักดี) ต่อข้า และจะไม่ตั้งสิ่งเป็นภาคีกับข้าเลย...”

3) ซูเราะฮ์ อัศ – ศ็อฟ อายะฮฺที่ 9

“พระองค์ผู้ทรงส่งรอซูล (ผู้สื่อสาส์น) ของพระองค์มาด้วยกับทางนำและศาสนาแห่งสัจธรรม เพื่อทำให้มันเป็นที่ปรากฏเหนือศาสนาใดๆ ทั้งมวล ถึงแม้ว่าพวกมุชริก (ผู้ตั้งภาคี) จะไม่พอใจก็ตาม”

4) ซูเราะฮ์อัล – กอศ็อศ อายะฮ์ที่ 5

“และเราต้องการที่จะมอบความโปรดปรานพิเศษแก่ผู้ที่ไร้ความสามารถ (ผู้มีอีหม่านที่อยู่ภายใต้การกดขี่ของมหาอำนาจแล้วไม่มีโอกาสต่อสู้) ในผืนแผ่นดินนี้และปรารถนาที่จะทำให้พวกเขาเป็นอิมาม (ผู้นำ)และปรารถนาที่จะทำให้พวกเขาเป็นทายาท (ผู้รับมรดกแห่งแผ่นดินนี้)”

จากอายะฮ์ดังกล่าวข้างต้น ให้ความกระจ่างว่าโลกนี้จะตกอยู่ภายใต้การดูแลของบ่าวผู้ทรงธรรมของพระผู้เป็นเจ้า พวกเขาจะเป็นผู้นำของประชาคมโลกและอิสลามจะโดดเด่นเหนือศาสนาอื่นทั้งมวล

อิมามมะฮ์ดี (อฺ) ในตำราของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์

ในเรื่องนี้ นักปราชญ์ของพี่น้องอะฮ์ลิซซุนนะฮฺได้นำฮะดิษของท่านศาสดา (ศ) ที่รายงานมาจากนักรายงานฮะดิษที่พวกเขาเชื่อถือใจความรวมของฮะดีษเหล่านี้กล่าวว่า อิมามทั้ง 12 เป็นชาวกุเรช

ท่านอิมามมะฮ์ดี (อ) ผู้ถูกสัญญาเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของท่านอิมามอะลี (อ) และท่านหญิงฟาฎิมะฮฺ (ซ)

จากรายงานฮะดิษบอกว่าท่าน (อ) มาจากสายเลือดของอิมามฮุเซน (อ) นักปราชญ์เหล่านั้นได้รวบรวมฮะดีษ

จำนวนนับร้อยฮะดิษไว้ในหนังสือที่เป็นแหล่งอ้างอิง และเชื่อถือได้ของพวกเขากว่า 70 เล่ม ซึ่งเราจะยกมาเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ :

“มุสนัดอะฮ์มัด”

ของอิมามอะฮ์มัด บินฮัมบัล (เสียชีวิต ฮ.ศ. 241)

“ศอฮีฮ์บุคอรี”

ของอิมามบุคอรี (เสียชีวิต ฮ.ศ. 256)

“ศ่อฮีฮฺมุสลิม”

ของอิมามมุสลิม บินฮัจญาจญ์ นีชาบูรี (เสียชีวิต ฮ.ศ. 261)

“สุนันอะบีดาวูด”

ของซุลัยมาน บินอัชอัษ ซะญิซตานี (เสียชีวิต ฮ.ศ. 275)

“ศ่อฮีฮ์ติรมิซี”

ของมุฮัมมัด บินอีซา ติรมิซี (เสียชีวิต ฮ.ศ. 279)

เจ้าของตำราฮะดีษเหล่านี้ซึ่งถือว่าเป็นตำราฮะดิษที่น่าเชื่อถือที่สุดของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ เสียชีวิตก่อนปีฮ.ศ. 255 หรือหลังจากนั้นไม่กี่ปี ซึ่งเป็นปีที่ท่านอิมามมะฮฺดี(อฺ) กำเนิด ยังมีตำราที่มีชื่อเสียงอื่นอีก

เช่น :

“มะศอบีฮุซซุนนะฮฺ”

ของบัฆวี (เสียชีวิต ฮ.ศ. 516)

“ญามิอุลอุศูล”

ของอิบนุอะศีร (เสียชีวิต ฮ.ศ. 606)

“อัล – ฟุตูฮาต อัล – มักกียะฮฺ”

ของมุฮ์ยิดดีน อะรอบี (เสียชีวิต ฮ.ศ. 638)

“ตัซกิร่อตุลคอวาศ”

ของซิบฎฺ อิบนุเญาซี (เสียชีวิต ฮ.ศ. 653)

“ฟะรออิดุซซิมฏัยน์”

ของฮะมะวี (เสียชีวิต ฮ.ศ. 716)

“ศอวาอิกุลมุฮัรรอเกาะฮ์”

ของอิบนุฮะญัร ฮัยษะมี (เสียชีวิต ฮ.ศ. 973)

“ยะนาบีอุลมะวัดดะฮ์”

ของเชคสุลัยมาน กุนดูซี (เสียชีวิต ฮ.ศ. 1293)

ยังมีนักปราชญ์อะฮฺลิซซุนนะฮฺเขียนเรื่องท่านอิมามมะฮ์ดี (อฺ) ไว้เป็นตำราเฉพาะ ดังเช่น :

“อัล บะยาน ฟี อัคบาริ ศอฮิบิซซะมาน”

แต่งโดย อัลลามะฮฺฆ็อนญี ชาฟิอี

“อักดุดดูร็อร ฟี อัคบาริลอิมามมิลมุนตะซ็อร”

แต่งโดย เชคญะมาลุดดีน ยูซุฟ อัดดะมัชกี

“มะฮฺดีอาลิลรอซูล”

แต่งโดย อะลี บิน ซุลฎอน มุฮัมมัด อัลฮะรอวี อัลฮะนะฟี

“กิตาบุ้ลมะฮฺดี”

แต่งโดย อะบูดาวุด

“อะลามาตุ้ลมะฮฺดี”

แต่งโดย ญะลาลุดดีน ซะยูฎี

“มะนากิบุ้ลมะฮฺดี”

แต่งโดย ฮาฟิซอะบูนะอีม อิศฟะฮานี

“อัลเกาลุลมุคตะศ็อร ฟีอะลามาติล มะฮ์ดี ยิลมุนตะซ็อร”

แต่งโดย อิบนุฮะญัร

 “อัลบุรฮาน ฟี อะลามาติลมะฮ์ดี อาคิริซซะมาน”

แต่งโดย มุลลา อะลี มุตตะกี

“อัรบะอีนะฮะดีษ ฟิลมะฮฺดี”

แต่งโดย อะบิลอุลา ฮัมดานี

ผู้มาแก้ไขที่ยังไม่ปรากฏกาย

มีฮะดีษจำนวนไม่ต่ำกว่า 3000 ฮะดีษที่รายงานมาจากท่านศาสดา (ศ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ) เกี่ยวกับเรื่องท่านอิมามมะฮ์ดี (อฺ) ซึ่งใจความโดยสรุปก็คือ :

ท่านอิมามมะฮ์ดี (อ) เป็นทายาทชั้นที่ 9 ของท่านอิมามฮุเซน บินอะลี (อ) บิดาของท่าน (อ) คือ ท่านอิมามฮะซัน อัสกะรี (อ) มารดาของท่าน(อ) คือท่านหญิงนัรญิซ คอตูน(ร.ฎ.)

 ชื่อของท่าน คือ ชื่อเดียวกับท่านศาสดา (ศ) คือ มุฮัมมัด

ฉายานามของท่าน (อ) คือ มะฮ์ดี...ท่าน (อ) ถือกำเนิดที่เมืองซามัรรอ ขณะที่ท่าน (อฺ) อายุได้ 5 ขวบ บิดาผู้ทรงเกียรติของท่าน (อ) ได้จากโลกนี้ไป

ท่าน (อ) จึงเข้ารับตำแหน่งอิมามสืบต่อ (ตามกำหนดของอัลลอฮ์) ปัจจุบันท่าน (อ์) ยังมีชีวิตอยู่และจะอยู่ต่อไปตราบเท่าที่อัลลอฮ์ทรงประสงค์

วันหนึ่งท่าน (อ) จะปรากฏกายขึ้นทำหน้าที่เปลี่ยนโลกนี้ให้เป็นโลกแห่งความยุติธรรมหลังจากที่มันได้ปกคลุมไปด้วยความอธรรมมาก่อน

ท่าน (อ) จะปรากฏกายขึ้นในสภาพที่หลังพิงกำแพงอัล-กะอ์บ์ ร้องเรียกสหาย และผู้ร่วมต่อสู้กับท่านจำนวน 313 คน พวกเขาจะเข้ามารายล้อมท่านอิมาม(อ) ท่านนบีอีซา (อ) จะลงมาจากฟากฟ้าแล้วร่วมนมาซกับพวกเขา ท่านอิมามผู้ทรงเกียรติ (อ) จะทำให้หลักการอิสลามขจรขจายไปทั่วโลก โลกนี้จะเป็นเสมือนสวรรค์...

ฮะดีษที่นักปราชญ์อะฮฺลิซซุนนะฮ์และชีอะฮ์บันทึกไว้ในหัวข้อเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับท่านอิมามะฮ์ดี (อ)นั้นมีจำนวนไม่น้อย ณ ที่นี้เราจะยกมากล่าวไว้พอเป็นสังเขป ซึ่งรายละเอียดนั้นมีปรากฏอยู่ในหนังสือ

“มุนตะคอบุลอะษัร”

หัวข้อเรื่อง จำนวนฮะดีษ

(1) ฮะดีษที่รายงานว่าอิมามมี 12 ท่าน ท่านแรกคือท่านอะลี (อ)

  ท่านสุดท้ายคือ ท่านอิมามมะฮ์ดี (อ)56

(2) ฮะดีษที่รายงานว่าจะมีการปรากฏกายของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ) 657

(3) ฮะดีษที่รายงานว่าท่าน (อ) คือ เลือดเนื้อเชื้อไขท่านศาสดา (ศ) 389

(4) ฮะดีษที่รายงานว่าชื่อและฉายานามของท่าน (อ) คือ ชื่อและฉายานามเดียวกับท่านศาสดา (ศ)48

(5) ฮะดีษที่รายงานว่าท่าน(อ) คือ ลูกหลานของท่านอิมามอะลี(อ) 214

(6) ฮะดีษที่รายงานว่าท่าน(อ)คือลูกหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ(อ) 192

(7) ฮะดีษที่รายงานว่าท่าน(อ) คือทายาทของท่านอิมามฮุเซน(อ) 185

(8) ฮะดีษที่รายงานว่าท่าน (อ) คือ ทายาทชั้นที่ 9 ของท่าน

อิมามฮุเซน(อ) 148

 (9) ฮะดีษที่รายงานว่าท่าน (อ) คือทายาทที่สืบต่อมาจาก

ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ) 185

(10) ฮะดีษที่รายงานว่าท่าน (อ) คือทายาทที่สืบต่อมาจาก

ท่านอิมามบาเก็ร (อ) 103

(11) ฮะดีษที่รายงานว่าท่าน (อ) คือทายาทที่สืบต่อมาจาก

ท่านอิมามศอดิก (อ)103

(12) ฮะดีษที่รายงานว่าท่าน (อ) คือทายาทที่สืบต่อมาจาก

ท่านอิมามกาซิม (อ)101

(13) ฮะดีษที่รายงานว่าท่าน (อ) คือทายาทที่สืบต่อมาจาก 95

ท่านอิมามริฎอ(อ)

(14) ฮะดีษที่รายงานว่าท่าน (อ) คือทายาทชั้นที่ 3 ของ

 ท่านอิมามญะวาด(อ) 90

(15) ฮะดีษที่รายงานว่า ท่าน (อ) คือทายาทที่สืบต่อมาจากท่านอิมาม

ฮาดีย์ (อ) 90

(16) ฮะดีษที่รายงานว่าท่าน (อ) คือทายาทที่สืบต่อมาจาก

ท่านอิมามฮาดีย์(อ) 146

(17) ฮะดีษที่รายงานว่า บิดาของท่าน (อ) ชื่อฮะซัน 147

(18) ฮะดีษที่รายงานว่า ท่าน (อ) คือผู้ที่ทำให้โลกนี้เต็มไปด้วยความยุติธรรม 128

(19) ฮะดีษที่รายงานว่าช่วงการไม่ปรากฏกาย (ฆ็อยบะฮฺ)

ของท่าน(อ) จะยาวนาน 91

(20) ฮะดีษที่อธิบายการดำรงชีวิตอันยาวนานของท่าน (อ) 318

(21) ฮะดีษที่รายงานว่าอิสลามจะกลายเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก

โดยอาศัยการเผยแพร่ของท่าน(อฺ) 47

(22) ฮะดีษที่รายงานว่าท่าน (อฺ) คือ อิมามที่ 12 และเป็นอิมาม

ท่านสุดท้าย 136

จากการพิจารณาดูจำนวนของฮะดีษข้างต้นประกอบกับการตรวจสอบ

ฮะดีษอื่นให้ความกระจ่างว่าฮะดีษเกี่ยวกับเรื่องอิมามมะฮ์ดี(อ) นี้มีลักษณะเป็นสายสืบที่สอดคล้องกันและมีควมถูกต้องแน่นอน (มุตะวาติร) ซึ่งหาได้ไม่ง่ายนักสำหรับการรายงานฮะดีษทั่ว ๆ ไป ดังนั้นผู้ที่อีหม่านต่ออิสลามและท่านศาสดา (ศ) ก็จะต้องมีอีหม่านอย่างสมบูรณ์และมั่นคงต่อการมีชีวิตอยู่ของ มะฮ์ดี ผู้ถูกสัญญา (อ) ซึ่งดำรงอยู่โดยการไม่ปรากฏกายด้วย

ตัวบทฮะดีษ

1) ผู้เขียนหนังสือ “ยะนาบีอุ้ลมะวัดดะฮ์” รายงานฮะดีษบทหนึ่งของท่านศาสดา (ศ) ที่ท่าน (ศ) กล่าวว่า

 “มะฮ์ดี คือ ลูกหลานของฉัน มีการดำรงอยู่แบบไม่ปรากฏกาย และเมื่อเขาได้ปรากฏกายขึ้น เขาจะทำให้โลกนี้เต็มไปด้วยความยุติธรรมหลังจากที่มันเคยเต็มไปด้วยอธรรมและการกดขี่”

2) ในหนังสือเล่มนี้ยังมีรายงานที่กล่าวว่า ท่านซัลมาน ฟาร์ซีย์ กล่าวว่า:

ฉันไปพบท่านศาสดาในขณะที่ ฮุเซน บินอะลี อยู่บนตักอันจำเริญของท่าน(ศ) ท่าน(ศ) จุมพิตที่ตาและปากของเขา แล้วพูดว่า

“เจ้าเป็นนาย ลูกของนาย และน้องชายของนาย เจ้าเป็นอิมาม ลูกของ

อิมาม และน้องชายของอิมาม เจ้า คือ ฮุจญะฮ์ (ข้อพิสูจน์อันชัดแจ้ง) ลูกของฮุจญะฮฺ น้องชายของฮุจญะฮ์ และบิดาของฮุจญะฮ์อีก 9 คน

คนสุดท้ายคือ กออิม (หมายถึง อิมามมะฮฺดี)”