พื้นฐานอิสลาม

พื้นฐานอิสลาม0%

พื้นฐานอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา

พื้นฐานอิสลาม

ผู้เขียน: อัลลามะฮ์ ซัยยิด มุฮัมมัด ฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 24516
ดาวน์โหลด: 3296

รายละเอียด:

พื้นฐานอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 354 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 24516 / ดาวน์โหลด: 3296
ขนาด ขนาด ขนาด
พื้นฐานอิสลาม

พื้นฐานอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

(เป็นที่กระจ่างชัดว่า ตามสามัญสำนึกของทุกคน แม้เพียงคาดการณ์ว่ายังมีโลกอื่นอีก เขาก็จำเป็นที่จะต้องปฏิบัติภารกิจทางศาสนาของเขา เพื่อจะไม่ตกอยู่ในสภาพแห่งความหายนะ)

ชายคนนั้นถามขึ้นว่า

“แล้วพระผู้เป็นเจ้าที่ท่านเชื่อนั้นอยู่ที่ไหน และอยู่อย่างไรเล่า ?”

ท่านอิมาม(อ) ตอบว่า

“คำถามของเจ้าผิด พระผู้เป็นเจ้าไม่มีที่อยู่ ที่จะถูกตั้งคำถามว่าอยู่ที่ไหน พระองค์เป็นผู้สร้างที่อยู่ (ของทุกสรรพสิ่ง) พระองค์ไม่มีสภาพว่าเป็นอย่างไร จึงไม่อาจตั้งคำถามว่า พระองค์มีอย่างไร พระองค์เป็นผู้สร้างสภาพต่างๆ ขึ้นมาเอง ดังนั้นจึงไม่อาจรู้จักพระองค์ได้ด้ว ยแนวทางเหล่านั้น

พระผู้เป็นเจ้าไม่อาจรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส และไม่ทางที่จะนำไปเปรียบกับสิ่งถูกสร้างใด ๆ”

ชายคนดังกล่าวแย้งว่า

“หากว่าไม่อาจรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส ดังนั้นพระองค์ก็ไม่มี”

ท่านอิมาม(อฺ) จึงตอบ

“ความหายนะจงมีแก่เจ้า (ทำไมความคิดเขลาขนาดนี้) เพียงเพราะประสาทสัมผัสของเจ้าไร้ความสามารถที่จะรู้จักพระองค์ เจ้าก็อาจหาญที่จะปฏิเสธ พระผู้สร้างตัวเองกระนั้นหรือ ? แต่พวกเรา ทั้งๆ ที่รู้ว่า เราไม่มีความสามารถที่จะเจอพระองค์ได้ เราก็เชื่อมั่นว่า พระองค์ คือพระผู้อภิบาลของเราแต่เพียงผู้เดียว”

เขากล่าวตอบว่า

“งั้นก็ลองบอกซิว่า พระองค์มีมาเมื่อไร ?”

ท่านอิมาม(อ) ตอบ

“เจ้านั้นแหละจงบอกซิว่าพระองค์ไม่มีมาตั้งแต่เมื่อไร เพื่อที่ข้าจะได้บอกว่า พระองค์มีมาตั้งแต่เมื่อไร(หมายความว่า พระผู้เป็นเจ้ามีอยู่ก่อน “กาลเวลา” พระองค์เป็นผู้สร้าง “กาลเวลา” ขึ้นมา)”

เขากล่าวว่า

“เหตุผลในการพิสูจน์การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าคืออะไร ?”

ท่านอิมาม(อ) ตอบว่า

“เมื่อเวลาที่ข้าคิดพิจารณาในเรื่องร่างกายของข้า ข้าเห็นว่า ตัวข้าเองไม่อาจเพิ่มเติมให้มันสั้น ยาว ได้ตามใจชอบ เช่นเดียวกับที่ไม่อาจรู้สึกให้สบาย หรือไม่ให้สบายตามใจปรารถนาของตัวเองได้ (บางครั้งพยายามที่จะให้หายป่วยจากโรคหนึ่ง แต่ก็ไม่เป็นผล) ด้วยสาเหตุดังกล่าว และจากการพิจารณาระบบแห่งสุริยจักรวาล อีกทั้งสิ่งถูกสร้างทั้งมวลในโลกทำให้ข้าเข้าใจได้ว่า ร่างกายของข้าและโลกที่ถูสร้างนี้มีพระผู้อภิบาล และพระผู้สร้าง (ที่ทรงรอบรู้ และปรีชาญาณ)”

บทที่ 3

ตัวอย่างหนึ่งจากระบบของโลก

ในโลกนี้ในทุกสิ่งที่เราได้พิจารณาไม่ว่าจะเป็นอณูที่เล็กที่สุดหรือระบบสุริยจักรวาลอันยิ่งใหญ่ก็ตาม

เป็นตัวแสดงให้เห็นถึงความเป็นระบบที่สมบูรณ์ และละเอียดถี่ถ้วน มันยิ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง

มร. ซิซิล บอยซ์ ฮาแมน อาจารย์คณะชีววิทยา มหาวิทยาลัยออสบูรี

เขียนไว้ว่า

“เมื่อเราได้มองเห็นหยดน้ำหยดหนึ่งในกล้องจุลทรรศน์ เช่นเดียวกับที่เมื่อเราได้ส่องดูดวงดาวที่อยู่ไกลที่สุดด้วยกล้องดูดาว มันทำให้ข้าพเจ้าตกอยู่ในภวังค์อันใหญ่หลวง”

มีหลายระบบที่อยู่ในธรรมชาติซึ่งสามารถอธิบายถึงการเกิดขึ้นของมันก่อนที่มันจะเกิดขึ้นเสียอีกด้วยกับกฎเกณฑ์ที่ได้ตั้งสมมุติฐานไว้แล้ว

ด้วยเหตุนี้เอง กฎเกณฑ์ทางธรรมชาติจึงเป็นสิ่งที่แน่นอนและตายตัวนักวิทยาศาสตร์ได้พากเพียรพยายามแสวงหากฎเกณฑ์ทางธรรมชาติ (ที่ยังไม่ถูกกค้นพบ) อย่างไรก็ตาม ความพากเพียรของพวกเขาก็ดูจะไร้ผล

ผืนแผ่นดินที่เราอาศัยอยู่นั้น เมื่อพิจารณาจากความใหญ่ ความเล็ก ความใกล้ – ไกลจากดวงอาทิตย์และความเร็วที่โคจรรอบตัวเอง มันยังมีความเป็นระบบระเบียบ ซึ่งสามารถที่จะเป็นศูนย์กลางการดำรงชีวิต และการมีชีวิตอยู่ หากว่าภายใต้กฎเกณฑ์ที่มีอยู่เกิดการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยก็จะพบกับความสูญเสียที่ไม่อาจหาอะไรมาทดแทนได้เลย

“อากาศ” ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบขึ้นด้วยก๊าซที่ใช้ในการดำรงชีวิตทั้งที่มีขนาดที่เล็กมากไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าสามารถที่จะทำหน้าที่ปกป้องโลกนี้จากการจู่โจมของลูกอุกกาบาตจำนวนนับ 20 ล้าน ชิ้นเล็กๆ ในแต่ละวันซึ่งมีความเร็วโดยเฉลี่ยประมาณ 50 กม. / นาที

ระบบแห่งการแผ่รังสีความร้อนบนพื้นโลกซึ่งเหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิตก็เป็นหน้าที่อันหนึ่งของ”อากาศ” นั่นเอง

การถ่ายเทความร้อนและการระเหยของน้ำในมหาสมุทรก็เป็นหน้าที่ของ “อากาศ” ที่ว่า หากไม่มีอากาศ

แล้วแน่นอนเหลือเกินว่าทุกที่ในผืนโลกนี้จะต้องเหือดแห้งไป และไม่เหมาะกับการมีชีวิตอยู่เลย

แล้วทำไมเราต้องไปไกลกันด้วย ?

ที่ใกล้ที่สุด ก็คือตัวของเราเอง!

ความลึกลับแห่งการสร้างมนุษย์นั้นไม่อาจคำนวณนับได้เลย ถึงแม้นว่าบรรดานักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ของโลกได้ทำการศึกษา และค้นคว้าเป็นเวลาหลายปี แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่อาจทำความเข้าใจกับความมหัศจรรย์ดังกล่าวได้เลย

ดร.อเล็กซิส คาร์ล ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งขึ้นมา หลังจากที่ได้ทำการค้นคว้าเป็นเวลาหลายปี

เขาได้แสดงความคิดว่า

 “จนถึงเดี๋ยวนี้ ชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สาขาอื่นๆ ก็ยังไม่สามารถเข้าใจถึงสัจธรรมแห่งร่างกายของมนุษย์ได้เลย ยังมีอีกหลายร้อยคำถามที่ยังหาคำตอบไม่ได้”

ต่อไปนี้ขอให้เราพิจารณาตัวอย่างแห่งความน่าอัศจรรย์ของการมีอยู่ของตัวเอง ดังนี้

เซลล์ของร่างกาย :

ร่างกายของมนุษย์ก็เหมือนกับโครงสร้างหนึ่งที่ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนเล็ก คือ “เซลล์” ซึ่งแต่ละส่วนของมันก็มีชีวิตมันต้องกินอาหาร ผลักไส ปกป้อง และขยายเซลล์ต่อไป เหมือนกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ

ในโครงสร้างของ “เซลล์” ทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นธาตุ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซี่ยม ทองแดง ออกซิเจน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ซัลเฟอร์ ฯลฯ

จำนวนของ “เซลล์” ในร่างกายของมนุษย์ธรรมดามีประมาณ 1016 หรือ 10,000 ล้านล้านเซลล์นั่นเอง

“เซลล์” ที่มีชีวิตเหล่านี้ร่วมมือกันอย่างดีเยี่ยม และทำหน้าที่สู่เป้าหมายอันเดียวกัน พวกมันจะไม่รู้สึกอิ่มเลย ต้องการอาหารอยู่ตลอดเวลา “เลือด” ทำหน้าที่นี้พร้อมกับการช่วยเหลือของหัวใจได้เป็นอย่างดี

(สูบฉีดไปทั่วร่าง) โครงสร้างของหัวใจก็เป็นสิ่งที่มีความสมบูรณ์สามารถสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยผ่านหลอดเลือด

หลังจากที่เลือดได้ทำหน้าที่ส่งอาหารไปยังเซลล์ต่างๆ แล้ว มันก็จะทำหน้าที่ดูดเอาสิ่งที่เป็นพิษที่รวมอยู่ในเซลล์ต่างๆ ออกมาที่กลายเป็นเลือดเสียกำลังจะกลับไปสู่หัวใจ หัวใจจะทำหน้าที่ฟอกมันให้กลับเป็นเลือดดีดังเดิมส่งไปยังทั่วร่างกาย

ไม่เพียงเท่านั้น มันยังทำหน้าที่ทำลายสารมีพิษอื่น ๆ เพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่จะเป็นอันตรายต่อร่างกาย การรวมตัวและขนาดที่พอดีของวัตถุธาตุต่าง ๆ ที่ประกอบกันเข้าเป็นเซลล์ และโครงสร้างของหัวใจซึ่ง

บรรดานักคิดในปัจจุบันให้ความสนใจนั้น ยังไม่เพียงพอที่จะแสดงถึงระบบที่สมบูรณ์และสูงส่งอีกหรือ ?

หากเราเรียกร่างกายของมนุษย์ว่าเป็นคลังแห่งความอัศจรรย์และในขณะเดียวกันก็มีระบบอย่างน่าอัศจรรย์ละก็ เรายังกล้าเปล่งคำพูดอันไร้สาระ (ว่าไม่มีผู้สร้างเรา) ออกมาอีกหรือ ? ไม่มีทางหรอก

ด้วยเหตุนี้จะต้องกล่าวว่า โลกมั่นคงอยู่บนระเบียบแบบแผนที่สมบูรณ์และแน่นอนที่สุดว่าในทุกระเบียบกฎเกณฑ์จะต้องมีผู้ให้กำเนิดที่รอบรู้ และปรีชาญาณ

บทที่ 4

ผู้ให้กำเนิดความเป็นระบบคือใคร ?

คอมพิวเตอร์

ทุกวันนี้ มนุษย์สามารถที่จะทำงานที่ยุ่งยากของตัวเองได้โดยง่าย ด้วยกับเครื่องมือหลายๆอย่าง หนึ่งในเครื่องมือดังกล่าวที่น่าพิศวงทึ่งในความสามารถก็คือ “คอมพิวเตอร์”

 ซึ่งท่านคงรู้มาบ้างแล้วว่ามันทำงานได้อย่างไร? หรือตัวอย่างก็คือ “คอมพิวเตอร์” สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคของคนป่วยที่เป็นมาก่อนให้แก่หมอภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที ในการวินิจฉัยโรคมันสามารถจะตรวจสอบรายละเอียดของอาการที่เคยเกิดขึ้นในปีที่แล้วหรือ 10 ปีที่แล้ว และเสนอวิธีรักษาโรคนั้นได้ เครื่องมือดังกล่าวสามารถที่จะสั่งยาที่จำเป็น และให้พยาบาลได้ให้ยานั้นแก่ผู้ป่วยได้ทันเวลาในบางโรงงานที่สำคัญๆ ก็ยังใช้ “คอมพิวเตอร์” ในการควบคุมการทำงานและเครื่องจักรต่างๆ

เป็นไปได้หรือว่า อุปกรณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นโดยบังเอิญ ? หรือว่าระบบอันน่าอัศจรรย์นี้แสดงถึงความสามารถและปรีชาญาณของผู้สร้าง ?

 แน่นอนเหลือเกินใครก็ตามที่อยู่ต่อหน้าอุปกรณ์เหล่านี้ย่อมต้องนึกถึง

ความคิดอันเลอเลิศ และมันสมองที่ชาญฉลาดของผู้สร้าง

ครัวออโตเมติก

“ออร์บิส” คือชื่อของอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งในเวลาเพียง 1 ชั่วโมง สามารถที่จะเตรียมอาหารอย่างดีสำหรับคนมากกว่า 1, 000 คนได้

ปัจจุบันในบางประเทศก็นิยมใช้อุปกรณ์ชนิดนี้ในภัตตาคาร อุปกรณ์ชนิดนี้ทำงานได้มากกว่ากุ๊กชั้นยอดถึง 20 เท่า

เมื่อคุณจอดรถข้าง ๆ ภัตตาคาร (ที่มีอุปกรณ์นี้อยู่) มีไมค์อยู่ข้าง ๆ คุณ คุณจะกดปุ่มตรงกลาง ทันใดนั้นก็จะมีเสียงออกมา “จะรับอะไรค่ะ” แล้วคุณก็สั่งชนิดของอาหาร ภายในเวลาเพียง 8 นาที 11 วินาที ถาดชนิดพิเศษก็จะนำอาหารมาให้แก่คุณ

วิธีการทำงานของครัวออโตเมติก

เมื่อผู้ซื้อได้กดปุ่มแล้ว ไฟของ “ออร์บิส” จะสว่างขึ้น แล้วผู้ซื้อก็จะเลือกรายการอาหารที่ต้องการ เช่น

แซนด์วิช จะมีคนอยู่ประจำที่เครื่อง “ออร์บิส” นั้นคอยกดปุ่มรายการอาหารตามที่สั่ง แล้วเครื่องก็จะทำงานเอง

เริ่มตั้งแต่ตัดขนมปังออก ตักเนื้อลงไปในกระทะ ประมาณ 4 นาที 7 วินาที มันก็จะสุก แล้วมันก็จะนำมาวางบนขนมปัง โดยอัตโนมัติ แล้วใส่เครื่องเทศหรือผักต่าง ๆ ลงไปบนขนมปัง เมื่อทุกอย่างเสร็จแล้วก็จะถูกนำมาใส่ไว้ในตระกร้า

อุปกรณ์ออโตเมติก เช่น “ออร์บิส” นี้จะไม่มีผู้สร้างกระนั้นหรือ? เกิดมาโดยความบังเอิญ หรือว่ามันคือ

ผลผลิตทางความคิด และความบากบั่นอดทนของนักวิศวกรคนหนึ่ง ซึ่งได้คิดค้นมันดว้ ยกับการคำนวณอย่างละเอียดถี่ถ้วนไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ

ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า ความเป็นระบบของตัวอย่างข้างต้นที่ท่านได้พิจารณาแล้วนั้น มันคือผลผลิตทางความคิดของผู้สร้าง และผู้ประดิษฐ์มันขึ้นมา กล่าวคือ ถ้าไม่มีผู้คิดค้น และไม่ได้สร้างมันขึ้นมาด้วยการคำนวณ

และวัดขนาดอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว แน่นอนเหลือเกินเครื่องจักรที่ว่า ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้

จากตรงนี้ กฎเกณฑ์อันหนึ่งจึงเกิดขึ้นคือ ระบบและความเป็นระเบียบจะต้องเกิดมาจากสิ่งที่มีความรู้และมีความสามารถ “ความบังเอิญ”

 ไม่อาจเป็นที่มาของความน่าอัศจรรย์ และระบบนี้ได้เลย เพราะทุกสิ่งจะมีผลที่แสดงออกเฉพาะของมัน ดังที่ว่า การรอคอยการเดือดของน้ำเย็นถือเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ฉันใดฉันนั้น ความบังเอิญเป็นที่มาของความมีระบบก็เป็นความคิดที่ผิดเช่นเดียวกัน

ด้วยเหตุนี้เอง ความเป็นระบบระเบียบซึ่งมีอยู่ในสมอง ประสาทส่วนต่างๆ ของร่างกาย ชีพจร หัวใจ ตาและตัวอย่างอื่น ๆ ที่อาจพบได้ คือเหตุผลที่เพียงพอต่อการกล่าวว่า โลกนี้มีผู้สร้าง และผู้วางกฎระเบียบที่ทรงรอบรู้ และมีความสามารถ ไม่ว่าเราจะพินิจพิจารณาในความเร้นลับของระบบแห่งการสร้างสรรค์มากเท่าใด เราก็จะพบกับความยิ่งใหญ่ของพระผู้สร้างมันนั่นเอง หรือจะกล่าวว่า มันสมองของมนุษย์ และโครงสร้างของร่างกายด้วยค่ากว่า “คอมพิวเตอร์” กระนั้นหรือ?

แน่นอน ท่านจะต้องเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า มันทั้งหมดนั้น คือพยานยืนยันถึงความสูงส่งและความยิ่งใหญ่ของปฐมบทอันรอบรู้ปรีชาญาณ และผู้สร้างมันขึ้นมา ขอเสริมว่า ความรู้สึกและการรับรู้ซึ่งมีให้เห็นในตัวของมนุษย์นั้น นับเป็นเหตุผลที่กระจ่างชัดมากที่แสดงถึงการมีปัญญา และรู้แจ้งของพระผู้สร้าง เพราะคนที่ไร้ปัญญา

และรอบรู้ขนาดนั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่จะให้กำเนิด หรือสร้างสิ่งที่เต็มไปด้วยการรับรู้และการรู้แจ้งที่ประเสริฐ(เช่นมนุษย์ ฯลฯ)

อัลกุรอานในหลายโองการด้วยกัน ได้ชี้ให้เห็นถึงสมมุติฐานที่แจ้งชัดและเป็นสัจธรรมดังกล่าวที่ว่า

“อัลลอฮ์ คือ ผู้ซึ่งยกท้องฟ้าขึ้นโดยปราศจากเสาที่เจ้าจะมองเห็น แล้วพระองค์ก็มุ่งตรง (ด้วยพลานุภาพ)ไปยังอัรชฺ (การมีอยู่ของทุกสรรพสิ่ง และทำการควบคุมให้เป็นไปตามระบบที่พระองค์วางไว้)

 พระองค์ได้ควบคุมดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ทุกอย่างจะดำเนินไปตามเวลาที่ถูกกำหนดไว้ พระองค์ทำการบังคับบัญชากิจการงานทั้งปวงทำการแยกแยะอธิบายสัญลักษณ์ต่างๆ (ของพระองค์) เพื่อที่ว่าสูเจ้าจะได้มีความเชื่อมั่นอย่างมั่นคงต่อการพบกับพระผู้อภิบาลของสูเจ้า”

 (บทอัร – เราะอ์ด์: 3)

บทที่ 5

ความเร้นลับทางธรรมชาติจะถูกค้นพบ

ความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ของวิยาการของมนุษยชาติได้ทำการค้นพบสิ่งที่ไม่เคยรู้จัก ไม่เคยรับรู้เรื่องแล้วเรื่องเล่า และได้ทำลายความเชื่อขั้นพื้นฐานที่ไม่ถูกต้องในกฎเกณฑ์ทางฟิสิกส์ และวิทยาศาสตร์แขนงอื่น ๆ

ตัวอย่างเช่น ในสมัยก่อน พวกเขาคิดว่าอวัยวะบางส่วนของร่างกายไม่มีประโยชน์ แต่ในปัจจุบัน หลังจากที่วิชาการในเรื่องดังกล่าวได้ถูกค้นคว้าวิจัยแล้วกลับมีบทสรุปถึงคุณค่ามหาศาลของสิ่งนั้นๆ ต่อไปคุณค่าที่สำคัญอื่น ๆ ก็คงจะถูกค้นพบในไม่ช้าด้วยอุปกรณ์การตรวจสอบที่ทันสมัย

เพื่อทำความกระจ่างในหัวข้อเรื่องดังกล่าว ขอยกตัวอย่างต่อไปนี้

(1) ต่อม “ธัยมัส”

“ธัยมัส” คือ ต่อมเล็กๆ ต่อมหนึ่งอยู่ในทรวงอกใต้กระดูกขาไก่ (กลางทรวงอก) บนหลอดลม ก่อนหน้านี้ต่อม “ธัยมัส” ไม่เป็นที่ชี้ชัดว่ามีไว้ทำหน้าที่อะไร ถึงขนาดนักสรีรวิทยาบางคนกล่าวว่า

มันเป็นอวัยวะที่เพิ่มขึ้นมา แต่ปัจจุบันเป็นที่รับรู้กันว่า ต่อม “ธัยมัส” มีส่วนอย่างมากในการป้องกันสิ่งไม่พึงปรารถนาจากภายนอกที่เข้ามาสู่ร่างกาย

นักสรีรวิทยาบางคนยังเชื่ออีกว่า ต่อมนี้มีผลอย่างมากหลังจากเข้าสู่วัยรุ่นโดยมีส่วนในการเจริญเติบโตของร่างกาย และความรู้สึกทางเพศ

การเอามันออกจากร่างกายอาจมีผลทำให้อวัยวะส่วนที่สร้างความรู้สึกทาง

เพศผิดปกติ ทำให้แคระแกรนได้

(2) ต่อม “เอพพิฟีซ”

อยู่ในสมอง มีความสลับซับซ้อนยิ่งกว่าต่อม “ธัยมัส” เสียอีก ก่อนนี้นักสรีรวิทยา บางคนคิดว่ามันไม่มีประโยชน์อันใด แต่ในปัจจุบันกลับเชื่อว่าต่อมนี้มีหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตทางเพศ และยับยั้งการโตวัยก่อนกำหนด และยังมีหน้าที่อื่นอีก การไม่มีต่อมนี้อาจมีผลถึงเสียชีวิตได้

(3) ต่อม “ทอนซิล”

สมัยก่อนแพทย์เชื่อว่า ต่อมนี้ไม่มีประโยชน์ ถ้ามันเกิดบวมขึ้นมา เขาจะสั่งผ่าตัดมันออกทันที แต่ในทุกวันนี้ ผู้ชำนาญการให้ความสนใจพิเศษต่อต่อม “ทอนซิล” ในร่างกาย การเอามันออกถือว่าเป็นผลเสียต่อร่างกาย

พวกเขาจะไม่อนุญาตให้เอามันออก

ต่อม “ทอนซิล” จะสร้างสิ่งหนึ่งขึ้นมาทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคในสภาพเหมือนเขื่อนที่แข็งแกร่งอยู่ในช่องหลอดลม ทำหน้าที่ฟอกอากาศที่เข้าใช้ในการหายใจเข้าให้สะอาด และทำลายเชื้อโรคที่แฝงเข้ามา

บางทีมีสิ่งสกปรกในอากาศปะปนอยู่มาก หรือมีเชื้อโรคที่แข็งแรงปนเข้ามา ต่อมนี้ก็จะทำหน้าที่มากขึ้นจนกระทั่งสิ่งสกปรกถูกขจัดไปในที่สุด

การเอาต่อม “ทอนซิล” เหล่านี้ออกเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพราะ

1) เป็นการปล่อยให้เชื้อโรคเข้าไปอย่างอิสระในลำคอเข้าสู่ทรวงอก และระบบการหายใจ ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบหายใจ

 

2) ถ้าเอาต่อม “ทอนซิล” ออกเยื่อในโพรงจมูกจะบางกว่าปกติทำให้ลำคอและจมูกแห้ง ไม่เพียงเท่านั้น

เมื่อภายในลำคอเกิดอกการเหม็นและเน่า ต่อม”ทอนซิล”

 จะทำหน้าที่เหมือนกับสัญญาณอันตรายหนึ่งที่จะบอก

ให้แพทย์ทราบอาการที่เกิดขึ้นภายในลำคอ แต่ถ้าไม่มีต่อมนี้ เป็นไปได้ว่าการเน่าที่ลำคอและหลอดเสียงไม่อาจถูกตรวจสอบได้ และยังจะมีผลข้างเคียงอื่นอีก คือ “โรครูมาติสซั่ม”

(4) “ไส้ติ่ง”

นักวิชาการกลุ่มหนึ่ง หลังจากที่ได้ค้นคว้าอย่างละเอียดแล้วจึงได้บทสรุปว่า “ไส้ติ่ง” มีส่วนอย่างมากในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง การเอามันออกก่อนถึงเวลาจำเป็น อาจมีผลทำให้โรคมะเร็งกำเริบขึ้นมาได้

วารสารการแพทย์ “ญามา” เขียนว่า:

“การตัดไส้ติ่งของบุคคลที่มีโอกาสเป็นมะเร็งออก มีผลอย่างน่าเป็นห่วงว่าจะเกิดเป็นมะเร็งขึ้นได้”

การพิจารณาตัวอย่างข้างต้น และตัวอย่างอื่น ๆ ทำให้เรากระจ่างว่า :

หากเราไม่พบสิ่งที่มีคุณค่าในสิ่งหนึ่ง เราก็จะต้องไม่คิดว่ามันไร้ค่า แต่ควรรอคอยว่า สักวันหนึ่งคุณค่าของมันอาจจะถูกค้นพบได้ เพราะขณะที่วิชาการของมนุษยชาติได้ก้าวล้ำนำหน้าไปเท่าใดก็เป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น

 และเมื่อเปรียบเทียบกับตำราธรรมชาติอันยิ่งใหญ่แล้ว มันก็เป็นเพียงหนึ่งบรรทัดเท่านั้นเอง

ไอน์สไตน์ เขียนในหนังสือ “ปรัชญาสัมพันธ์” ว่า:

“สิ่งที่เราได้เรียนรู้จาก “ตำราธรรมชาติ” นั้น สอนให้เราได้รู้ในหลายอย่างแต่เราก็ต้องรู้ไว้ด้วยว่า จนถึงเดี๋ยวนี้เรายังห่างไกลจากการค้นพบอันสมบูรณ์ของความเร้นลับทางธรรมชาติอีกมาก”

วิลเลียม เจมส์ กล่าวว่า :

“ความรู้ของเราเมื่อเทียบกับความไม่รู้ของเราแล้ว เปรียบได้ดังเช่น หยดนํ้าหนึ่งหยดเมื่อเทียบกับมหาสมุทรกระนั้น”

แต่ก็ยังมีนักวัตถุนิยมบางคนคิดว่ามันไม่มีคุณค่าใดๆ เพียงเพราะเขาไม่รู้ถึงความเร้นลับ และคุณลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิตต่างๆ

 การคิดอย่างนี้ไม่ผิดดอกหรือ? ขณะที่ ถ้าเขาพิจารณาอย่างรอบคอบ

 เขาจะพบได้อย่างง่ายดายว่า “ความไม่รู้” กับ “การไม่มี”นั้น

ห่างไกลกันเหลือเกิน เป็นการไม่ถูกต้องเลยที่มนุษย์คนหนึ่งไม่สามารถค้นพบสิ่งหนึ่งเป็นสาเหตุให้เขาปฏิเสธว่า มันไม่มี

เป็นที่กระจ่างว่า การไม่รู้ถึงคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิตนับล้านๆ อย่างจะต้องไม่เป็นตัวอุปสรรคอันใดต่อการที่มนุษย์จะพยายามทำความเข้าใจกับความลี้ลับของโลกที่ถูกสร้าง และระบบอันน่าอัศจรรย์นี้ ซึ่งนำพาสู่การรู้จักต่อผู้สร้างอันชาญฉลาด และรู้แจ้งในทุกสิ่ง

ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า เพียงการศึกษาสิ่งที่มีอยู่ในโลกเพียงอย่างเดียว หรือแม้กระทั่งบางส่วน ก็เพียงพอแล้วสำหรับการชี้นำสู่ “ผู้วางระบบ” และ “พระผู้สร้างผู้ทรงเกรียงไกร”

ตัวท่านเอง หากพบตำราเล่มหนึ่งที่เพียบพร้อมไปด้วยข้อมูลทางวิชาการและมีเหตุผลที่น่าเชื่อถือ แต่บางวรรคบางตอนของมันไม่อาจทำให้ท่านเข้าใจได้ ท่านจะตัดสินตำราเล่มนี้อย่างไร ? ท่านจะไม่สนใจต่อข้อมูล

วิชาการที่เป็นผลิตผลทางความคิดอันสูงส่ง และยิ่งใหญ่ส่วนอื่นกระนั้นหรือ ? แน่นอนต้องไม่ใช่ เช่นนั้น มันจะไม่ดีกว่าหรือที่เราจะต้องคิดอยู่เสมอว่า

 “โลกนี้ก็เหมือนกับดวงตา ขนตา และคิ้ว

อยู่ ณ ที่ ๆ ของมันก็ดีอยู่แล้ว” (สำนวน)

บทที่ 6

กฎ “ลาวัวซิเย” และกฎแห่งการสร้าง

เราทุกคนรู้จัก และเคยเห็นเปลวไฟ เมื่อไฟลุกโชนเราไม่เคยคิดเลยหรือว่าไฟ คืออะไร ? ทุกวันนี้เรารู้ว่า

ไฟประกอบขึ้นมาจากก๊าซออกซิเจนถูกเผาไหม้ในอากาศ แต่นักเล่นแร่แปรธาตุสมัยก่อนเคยคิดว่า มีสิ่งหนึ่งที่มองไม่เห็นอยู่ในถ่าน หรือน้ำมัน เมื่อมันถูกเผา มันก็จะออกมาในรูปของเปลวไฟ !

ทัศนะเช่นนี้ ค่อยๆ แพร่กระจายออกไปมีคนเชื่อมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีนักวิชาการ จำนวนไม่น้อยสนับสนุนทัศนะดังกล่าว และตั้งชื่อวัตถุที่มองไม่เห็นว่า “ฟลอจิสตอน”

สตาฮล์ กล่าวว่า :

“วัตถุที่ชื่อว่า “ฟลอจิสตอน” (แก่นแท้ และหัวใจของไฟ) มีอยู่ในใจกลางของวัตถุที่ถูเผาไฟ เมื่อมันถูกเผามันจะออกมาในรูปของเปลวไฟ”

และเขายังให้คำอธิบายอีกว่า สาเหตุที่ไม้ ถ่าน และนํ้ามันจะถูกเผาไหม้อย่างรวดเร็วนั้น ก็เป็นเพราะว่า

ในสสารเหล่านี้มี “ฟลอจิสตอน” อยู่เป็นจำนวนมาก แต่ในสสารจำพวกโลหะจะมี “ฟลอจิสตอน” อยู่น้อย

เขา และพรรคพวกของเขายังเชื่ออีกว่า เมื่อเราเผาเหล็กด้วยความร้อน “ฟลอจิสตอน” จะออกมา และที่เหลือจะอยู่ในรูปของ “เสียง” (มีเสียงเวลาเผาไฟ)