พื้นฐานอิสลาม

พื้นฐานอิสลาม0%

พื้นฐานอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา

พื้นฐานอิสลาม

ผู้เขียน: อัลลามะฮ์ ซัยยิด มุฮัมมัด ฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 24510
ดาวน์โหลด: 3293

รายละเอียด:

พื้นฐานอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 354 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 24510 / ดาวน์โหลด: 3293
ขนาด ขนาด ขนาด
พื้นฐานอิสลาม

พื้นฐานอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

 ดังนั้นการปกปักรักษาศาสนาของท่านอิมาม และติดตามดูแลผู้ที่มีความดีงามเหมาะสมในช่าวงสมัย “ฆ็อยบะฮฺ” ของท่าน (อ) นั้น ก็ยังคงมีอยู่ต่อไปในความเป็นจริงแล้ว ท่านอิมาม (อ) ก็เปรียบเสมือนกับดวงอาทิตย์เวลาที่ถูกเมฆบดบังนั่นเอง ซึ่งสิ่งมีชีวิตก็ยังคงใช้ประโยชน์จากรัศมีและความร้อนนั้น ถึงแม้ว่าคนตาบอด และคนโง่เขลาจะไม่รู้จักสิ่งนั้นก็ตาม

ท่านอิมามศอดิก (อ) ตอบคำถามของชายคนหนึ่งที่ถามว่า

“ประชาชนจะได้รับประโยชน์จากอิมามที่ไม่ปรากฏกายได้อย่างไร?”

โดยท่าน(อ) ตอบว่า

“ก็เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ที่มีเมฆมาบดบังนั่นเอง”

ณ ที่นี้เราขอยกคำพูดของนักบูรพาคดีตะวันออกท่านหนึ่ง ที่กล่าวว่า :

“ตามความเชื่อของข้าพเจ้า มัซฮับชีอะฮฺเป็นมัซฮับเดียวที่รักษาความสัมพันธ์แห่งการชี้นำของพระผู้เป็นเจ้าระหว่างพระองค์กับสิ่งถูกสร้างไว้ตลอดเวลา อีกทั้งยังทำให้วิลายะฮฺ (อำนาจการปกครองจากเบื้องบน) มีชีวิตชีวาและมั่นคงยิ่งขึ้น ศาสนาของพวกยะฮูดีทำให้ตำแหน่งนบีซึ่งถือว่า เป็นตัวเชื่อมที่แท้จริงระหว่างพระผู้เป็นเจ้ากับโลกมนุษย์ สิ้นสุดแด่ท่าน

นบีมูซา (อ) เท่านั้น จากนั้นแล้วก็ไม่เชื่อว่าตำแหน่งนบีสืบทอดถึงท่านนบี

อีซา(อ) และมุฮัมมัด (ศ) ตัดขาดความสัมพันธ์ดังกล่าวเสียสิ้น พวกนะศอรอนีก็เช่นเดียวกันหยุดที่ท่านมะซีฮ์(อีซา)

ส่วนมุสลิม มัซฮับอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ก็หยุดนิ่งอยู่ที่ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) โดยเชื่อว่าเมื่อความเป็นนบีท่านสุดท้ายอยู่ที่ท่าน(ศ) พวกเขาก็ไม่อาจสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพระผู้สร้างกับสิ่งถูกสร้างได้อีกต่อไป

มีเพียงมัซฮับชีอะฮ์เท่านั้นที่เชื่ออย่างมั่นคงว่า ตำแหน่งนบีสิ้นสุดที่ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) แต่ตำแหน่งวิลายะฮ์ (อำนาจการปกครองสูงสุด) ซึ่ง ก็คือตัวเชื่อมของการชื้นำ และความสมบูรณ์ทั้งมวลหลังจากท่านศาสดา(ศ) ยังคงมีอยู่ตลอดไป...

ใช่แล้ว ในมัซฮับชีอะฮฺนี่แหละที่ความจริงแท้ระหว่างโลกมนุษย์กับเบื้องบนนั้นยังมีอยู่ตลอดไป...”

คำเตือนที่จำเป็น

ควมเชื่อเรื่องอิมามมะฮ์ดี (อ) ให้ความหมายว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับโลกเร้นลับยังคงมีอยู่

ใครก็ตามที่เชื่อในเรื่องนี้ก็จะตอ้งระลึกถึงท่านอิมามมะฮ์ดี(อ) และรอคอยการมาปรากฏกายของท่าน(อ)ตลอดเวลา

การรอคอยอิมามมะฮ์ดี(อฺ) ไม่ได้หมายความว่า ให้มุสลิมและชีอะฮ์ทั้งหมดหยุด การเคลื่อนไหวใดๆทั้งสิ้น ไม่ตื่นตัวต่อการนำพาสู่เป้าหมาย

ของอิสลามเพียงแต่รออย่างเดียวก็พอ แต่อุลามาอ์และนักปราชญ์ชีอะฮ์

พูดอยู่ตลอดว่า มุสลิมและชีอะฮ์ทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องพยายามเผยแพร่หลักการอิสลามในทุกสถานการณ์

จะต้องต่อสู้กับการกดขี่และความเลวร้ายต่างๆ เท่าที่มีความสามารถ

 หรืออีกนัยหนึ่ง ก็คือ ให้พยายามจนกว่าจะสร้างสภาพที่เหมาะสมสำหรับการสถาปนารัฐบาลผู้ทรงธรรม์ได้ หมายความว่า พวกเขาจะต้องทำให้คนทุกคนในสังคมมีความปรารถนาเพียงความยุติธรรม

หากความอธรรม การกดขี่เข้าครอบงำสังคมเมื่อใด เมื่อนั้นทุกคน

ในสังคมต้องลุกขึ้นต่อต้านและการเปลี่ยนแปลง

ใช่แล้ว มุสลิมทุกคนมีหน้าที่เสียสละตามแนวทางของอิสลาม และ

อีหม่าน พวกเขาจะต้องเตรียมต้อนรับการมาของอิมามผู้ถูกสัญญาอยู่ตลอดเวลา นั่นหมายความว่า พวกเขาจะต้องจัดระเบียบการดำเนินชีวิตของเขาไป

ในลักษณะที่ไม่ขัดแย้งกับพฤติกรรมของท่านอิมาม(อ) จนกระทั่งพวกเขาสามารถที่จะยืนอยู่ในแถวหน้าของผู้ติดตามท่าน(อ) และร่วมต่อสู้กับ

ศัตรูของท่าน(อ)

บทที่ 29

สถานที่คืนกลับอันถาวรของมนุษยชาติ

“พวกท่านไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการสูญสิ้น แต่พวกท่านถูกสร้างมาเพื่อการคงอยู่ อันที่จริงพวกท่านจะถูกย้ายจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง”  จากท่านร่อซูลุลลอฮ์(ศ)

ศาสนาที่มาจากพระผู้เป็นเจ้าต่างก็อธิบายเป็นเสียงเดียวกันว่า มนุษย์จะไม่สูญสิ้นไปด้วยกับความตาย

แต่นั่นมันเป็นเพียงการเดินทางจากโลกหนึ่งไปอีกโลกหนึ่งในโลกนั้นเขาจะได้รับผลตอบแทนการกระทำไม่ว่าดีหรือเลวของเขา

บรรดาศาสนทูตแห่งพระผู้เป็นเจ้าและผู้ปฏิบัติตามพวกเขาได้ยินคำกล่าวนี้อยู่เสมอว่า ระบบอันน่าทึ่งของโลกนี้ไม่ได้เป็นระบบที่ไร้สาระเลย หลังจากที่จากโลกนี้ไปแล้ว การกระทำทั้งหลายของเขาในโลกนี้จะถูกสอบสวน ดังนั้น พวกเขาจึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อโลกหน้านั้น เสมือนกับสิ่งที่พวกเขามักจะกล่าวอยู่เสมอว่า

“...(ตุอาอ์) โอ้พระผู้อภิบาลของเรา พระองค์ไม่ได้สร้างสิ่งเหล่านี้มาอย่างไร้สาระ มหาบริสุทธิ์ยิ่ง เป็นของพระองค์ได้โปรดปกป้องเราจากการลงทัณฑ์แห่งไฟนรกด้วยเถิด” (บทอาลิอิมรอน : 191)

เหตุผลที่แสดงให้เห็นถึงควมจำเป็นต้องมี “มะอาด”

1) ฮิกมะฮ์และความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า

ปัญหาเรื่อง “มะอาด” ซึ่งศาสนาที่มาจากพระผู้เป็นเจ้า และบรรดา

ศาสนทูตทั้งหลายได้ตักเตือนประชาชนให้ตระหนักในเรื่องนี้นั่น ไม่ใช่เรื่องที่เป็นปัญหาแบบ ตะอับบุดี (ไม่มีใครล่วงรู้ถึงสาเหตุและเหตุผลที่แท้จริงที่อัลลอฮฺสั่งให้กระทำงานนั้น และมนุษย์ก็ไม่จำเป็นต้องค้นหาด้วย) แต่สติปัญญาของมนุษย์ยอมรับสิ่งนั้นอย่างแน่นอนบนพื้นฐานของวิทยปัญญา ความยุติธรรม และความเอื้ออารีของพระผู้เป็นเจ้า

ฮิกมะฮ์ (วิทยปัญญา) ของพระผู้เป็นเจ้าบอกเราว่า คนทำดีจะไม่ถูกปล่อยไว้โดยไม่ได้รับผลตอบแทนความดีนั้น คนชั่วจะไม่ถูกปล่อยไว้โดยปราศจากการลงโทษ เสียงเรียกร้องของผู้ถูกกดขี่จะต้องได้รับการตอบสนองเรียกคืนจากผู้กดขี่

พวกเราเห็นแล้ว่าโลกนี้ไม่ใช่สถานที่ที่จะลงโทษหรือตอบแทนอย่างสมบูรณ์ได้ มีคนทำดี และคนทำชั่วอีกมากมายที่จากโลกนี้ไปก่อนที่พวกเขาจะได้รับการตอบอทนสิ่งที่พวกเขาได้กระทำไว้ คนทำชั่วมีชีวิตอย่างเสพสุขทั้งๆ ที่พวกเขาก็ไม่เคยละเว้นความชั่วร้าย และการกดขี่เลย ส่วนความยุติธรรมที่ผู้กดขี่ริบเอาไปจากผู้ตกทุกข์ได้ยาก และผู้ถูกกดขี่ก็ยังไม่มีการเอาคืนเลย

ด้วยเหตุนี้เอง หากพระผู้อภิบาลของพวกเขาขีดเส้นตายไว้แต่โลกนี้

 “มะอาด” และการฟื้นขึ้นมาใหม่ไม่มีอยู่ในแผนงานของพระองค์ละก็ ความยุติธรรม วิทยปัญญาอันลึกซึ้ง และความเอื้ออารีอันหาที่สิ้นสุดมิได้ของพระองค์จะหาได้จากที่ใดเล่า?

จะกล่าวได้อย่างไรว่า พระผู้สร้างผู้ทรงเที่ยงธรรม และทรงไว้ซึ่งความกรุณาอย่างเหลือล้น ทรงสร้างโลกหนึ่งขึ้นมา ซึ่งในที่นั้นผู้ระทมทุกข์จากความอธรรมของผู้กดขี่ถูกทำลายจนหมดสิ้น ?

ทุกคนทราบดีว่า พฤติกรรมดังกล่าว คือ ความอธรรมนั่นเอง อันความยุติธรรม ปัญญาอันน้อยนิด และความเมตตาอันจำกัดของมนุษย์ไม่ยอมรับสิ่งนั้นเลย นับประสาอะไรกับพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงปรีชาญาณ? พระผู้เป็นเจ้าซึ่งไม่ต้องการสิ่งใดจากสิ่งถูกสร้างเลย เป้าหมายแห่งการสร้างของพระองค์มีเพียงการฟูมฟัก และทำให้พวกเราเจริญเติบโตขึ้น เป็นไปได้หรือว่ามันจะเพียงพอแค่โลกนี้ หรือว่าจะปล่อยให้รากเหง้าแห่งการมีชีวิตของมนุษย์เคระแกรน และถูกตัดขาดก่อนที่จะเจริญเติบโต

ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า อัลลอฮ์(ซ.บ.) จะทรงตอบแทนการกระทำทุกสิ่งอย่างสมบูรณ์ ในอีกลักษณะหนึ่ง พระองค์จะไม่ปล่อยไปตามยถากรรมโดยเด็ดขาด

“ผู้ที่มีพฤติกรรมชั่วคิดหรือว่าเราจะทำให้พวกเขาเหมือนกับบรรดาผู้ที่มี

อีหม่านและประพฤติแตสิ่งที่ดีงาม มีความเท่าเทียมกันในตอนมีชีวิตอยู่ของพวกเขาและ (เท่าเทียมกันใน) ตอนตายจากไปของพวกเขา สิ่งที่พวกเขาตัดสินช่างเลวร้ายเสียเลือเกิน

 อัลลอฮ์ทรงสร้างชั้นฟ้าและผืนดินด้วยสัจธรรม ทุกชีวิตจะต้องได้รับการตอบแทนสิ่งที่พวกเขาได้แสวงหา พวกเขาจะไม่ถูกอธรรม” (

บทอัลญาษิยะฮ์ : 21-22)

ในโลกแห่งความจำกัดนี้ เป็นไปไม่ได้ว่า จะมีการตอบแทนผลแห่งการกระทำจนหมดสิ้น

ดังตัวอย่างที่ว่า คนที่บงการการทิ้งระเบิดปรมาณูทำให้คนนับล้านคนต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินถูกตัดสินให้ประหารชีวิตแล้ว ก็ยังไม่นับว่านั่นคือ ที่สิ้นสุดของการตอบแทนผลกรรมของเขา ยังมีการลงทัณฑ์อื่น

อีกที่จะเกิดขึ้นในอีกโลกหนึ่งซึ่งเป็นโลกอันถาวร

เช่นเดียวกัน ชีวิตในโลกนี้ซึ่งคลุกเคล้าไปด้วยความทุกข์ยาก และความไม่เป็นสุขต่างๆ ยังถือว่า เล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการที่อัลลอฮ์(ซ.บ.) ทรงให้รางวัลแก่ผู้ทำความดีและบุคคลที่ตลอดชีวิตของเขาอุทิศเพื่อความเป็นบ่าวที่ดีของพระองค์ บุคคลที่ทำดีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และบุคคลที่ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์จากความตาย

2) ผลกรรมต่าง ๆ

ในโลกนี้เรารับรู้ และมองเห็นว่ามีบุคคลอยู่หลายจำพวก เช่น ผู้ที่อกตัญญูต่อผู้บังเกิดเกล้าทั้งสองของเขานั้น ในการดำรงชีวิตของเขาไม่มีความก้าวหน้าใดเลย หรือคนที่ฆ่าพ่อแม่ตัวเองก็ถูกฆ่าด้วย เช่นเดียวกันมีคนอีกมากมายที่ทำดีต่อผู้บังเกิดเกล้าทั้งสอง พวกเขา ก็ได้รับการตอบแทนผลกรรมที่ดีของเขาในโลกนี้และมีชีวิตที่ประสบความสำเร็จ ส่วนคนที่ไม่ใส่ใจต่อสิทธิของเด็กกำพร้าก็เห็นผลอันขมขื่นของมันในโลกนี้

อัลกุรอานได้เตือนคนที่กดขี่ข่มเหงเด็กกำพร้าว่า ให้ระวังผลแห่งการกระทำนั้น

ท่านอิมามบากิร(อฺ) กล่าวว่า

“อัลลอฮ์(ซ.บ) ได้กำหนดโทษผู้บริโภคทรัพย์สินของเด็กกำพร้าไว้ 2 อย่าง คือโทษในโลกนี้กับโทษทัณฑ์ในโลกหน้า”

บางเวลาความเจ็บปวด ความทุกข์ต่างๆ ที่มนุษย์คนหนึ่งประสบนั้นมันคือ ผลแห่งการกระทำชั่วของเขาเอง ซึ่งเขาเป็นผู้ก่อขึ้นในความเป็นจริงมันคือ การตอบแทนในโลกนี้ ซึ่งมีมายังเขาเพื่อให้เขาได้สำนึก และหยุดการกระทำชั่วนั้นเสีย

อัลกุรอาน หลายอายะฮ์ ด้วยกันที่พูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจนตัวอย่างเช่น:

“ความระทมทุกข์ที่มาประสบกับสูเจ้าเป็นผลของสิ่งที่ มือ (การกระทำ) ของสูเจ้ากระทำมันไว้...”

(บทอัชชูรอ: 30)

 “ผู้ที่ขัดขืนต่อคำสั่งของพระองค์จะต้องระวังต่อการที่การทดสอบหรือการลงโทษอันเจ็บปวดยิ่ง จะมาประสบกับพวกเขา”

 (บทอันนูร: 63)

“...อันที่จริงแล้วอัลลอฮฺจะไม่ทรงเปลี่ยนสภาพของชนกลุ่มใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนสภาพตัวของพวกเขาเองก่อน...”

 (บทอัร เราะอ์ด์: 11)

มีบางกลุ่มชนของศาสนทูตของพระผู้เป็นเจ้าได้เห็นผลกรรมของพวกเขาในโลกนี้อันสืบเนื่องมาจากการขัดขืนต่อคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้า

อัลกุรอาน ได้อธิบายถึงเหตุการณ์อันเป็น การลงโทษที่เกิดขึ้นกับกลุ่มชนของนบีนูฮ์ กลุ่มชนนบีฮูด กลุ่มชนนบีศอลิฮ์ กลุ่มชนนบีลูฏ

และกลุ่มชนบีชุอัยบ์

ผลกรรมต่างๆ นี้เป็นตัวอย่างอันอมตะที่ว่า อัลลอฮ์(ซ.บ.) ผู้ทรงยุติธรรมและมีเมตตาอย่างเหลือล้นนั้นไม่ทรงพอพระทัยต่อคนต่ำช้าและผู้กดขี่เลย

พระองค์จะทรงตอบแทนผลกรรมชั่วของเขาในอีกโลกหนึ่ง ผลกรรมที่เกิดขึ้รในโลกนี้ถือเป็น ตัวอย่าง ที่จะแสดงให้เห็นถึงผลกรรมอย่างสมบูรณ์ที่จะเกิดขึ้นในโลกหน้า

ใครที่พิจารณาการลงโทษที่เกิดขึ้นในโลกนี้อย่างดีก็จะพบว่ามนุษย์ไม่ได้ถูกปล่อยให้อยู่อย่างเป็นเอกเทศ ในโลกหน้าเขาจะถูกสอบสวนถึงพฤติกรรมที่เขาได้ทำไว้ในโลกนี้อย่างละเอียด

สิ่งที่จะต้องเตือนให้ระลึกอยู่เสมอก็คือ บางเวลาอาจจะพบเห็นความทุกข์ยากภัยพิบัติต่างๆ ประสบกับคนที่ประพฤติดี ซึ่งไม่อาจเรียกได้ว่าสิ่งนั้นคือผลของการทำดีของเขา เช่นเดียวกับที่อาจจะพบว่าคนชั่วก็ไม่ได้รับผลกรรมของการทำชั่วของเขาเลยในโลกนี้ สาเหตุนั้นไม่ได้เป็นเพราะว่าพวกเขาทั้งหมดอยู่ภายใต้ข้อยกเว้นหรือได้รับความกรุณาพิเศษของอัลลอฮ์(ซ.บ.) หรือถูกละเลยไป แต่...ผลกรรมทั้งดีและชั่วของพวกเขาถูกยกไปคิดบัญชีใน โลกหน้านั่นเอง

มะอาด ตามทัศนะของอิสลาม

ในบรรดาศาสนาทั้งหลายที่มาจากพระผู้เป็นเจ้า อิสลามให้ความสำคัญกับเรื่อง “มะอาด” มากที่สุด จนถึงขนาดกล่าวได้ว่า อาจจะไม่มีเรื่องราวใดที่ได้รับการกล่าวมากที่สุดในอิสลาม นอกจากเรื่อง “มะอาด” มีอายะฮ์จาก

อัลกุรอานมากกว่า 1,000 อายะฮ์ที่พูดเรื่อง “มะอาด” และชีวิตหลังความตาย ทั้งๆ ที่อายะฮ์ที่เกี่ยวกับกฏศาสนบัญญัติหรือกฏเกณฑ์ทางสังคมอื่นๆ มีอยู่เพียงไม่เกิน500 อายะฮ์ ด้วยเหตุนี้เอง ที่ความเชื่อเรื่อง “มะอาด” ถือเป็นรากฐานหนึ่งของหลักความเชื่อ (อุศูลุดดีน) ในศาสนาอิสลาม

อายะฮ์ที่เกี่ยวกับกับ “มะอาด์ มีอยู่หลายลักษณะด้วยกัน เช่น

อายะฮ์ที่บอกเกี่ยวกับความจำเป็นของ “มะอาด”

“มนุษย์คิดหรือว่าเขาจะถูกปล่อยไว้อย่างไร้จุดหมาย (จะไม่ถูกตรวจสอบพฤติกรรม)”

(บทอัล กิยามะฮ์: 36).

“เราไม่ได้สร้างฟากฟ้า ผืนแผ่นดิน และสิ่งที่อยู่ระหว่างมันทั้งสองมาอย่างไร้สาระ นั่นเป็นการคาดเดาของผู้ปฏิเสธ ดังนั้นความหายนะจากไฟนรกจงประสบแก่ผู้ปฏิเสธ เราเป็นผู้กำหนดให้ผู้ศรัทธา และประพฤติคุณงามความดีเป็นดังเช่นผู้สร้างความเสียหายในหน้าผืนแผ่นดิน หรือว่าเราเป็นผู้กำหนดให้ผู้มีตักวา(ความยำเกรง)เป็นดังเช่น ผู้ยะโสโอหังกระนั้นหรือ?” (บทศอด: 27-28)

 “เจ้าอย่าได้คิดว่าอัลลอฮ์จะทรงละเลยต่อสิ่งที่ผู้กดขี่ได้ทำไว้ อันที่จริงแล้วพระองค์ยืดเวลาให้พวกเขาเพื่อวันหนึ่งที่ดวงตาจะเถลือกถลนในวันนั้น(เมื่อถึงเวลาถูกสอบสวน)” (บทอิบรอฮีม: 42)

อายะฮ์ที่บอกเกี่ยวกับการฟื้นขึ้นมาใหม่

พวกมุชริกไม่เชื่อว่ามนุษย์จะฟื้นขึ้นมาใหม่ได้ โดยบอกว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ วันหนึ่งอุบัย บินคอลัฟ ได้นำเอากระดูกป่นติดตัวไปพบท่านศาสดา(ศ) แล้วพูดว่า

“ใครจะเป็นผู้ทำให้กระดูกป่นนี้มีชีวตขึ้นมาใหม่”

อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้ตรัสตอบผู้ที่หลงลืมการกำเนิดแรกของตัวเองด้วยการให้ท่าน(ศ)กล่าวตอบว่า

“จงกล่าวเถิด ผู้ที่ใช้ชีวิตมันในตอนที่มันมีชีวิตครั้งแรกนั่นแหละ(ที่จะให้ชีวิตมันขึ้นมาใหม่) พระองค์ทรงรอบรู้ยิ่งในสรรพสิ่งต่างๆ ที่ถูกสร้าง”

(บทยาซีน: 79)

พระองค์ยังเสริมต่ออีกว่า

“ผู้ที่ทรงสร้างชั้นฟ้า และผืนแผ่นดินไร้ความสามารถที่จะสร้างสิ่งหนึ่งเช่นพวกเขากระนั้นหรือไม่หรอก

พระองค์คือผู้สร้างสรรค์ที่ทรงรอบรู้ยิ่ง”

อายะฮ์ที่บอกเกี่ยวกับบั้นปลายของผู้มีอีหม่านและผู้ปฏิเสธ

“ผู้ที่ละเมิดละเลือกเอาชีวิตในโลกนี้ (ไม่สนใจโลกหน้า) ที่จริงแล้วนรกญะฮีม คือ ที่พำนักของเขา ส่วนผู้ที่เกรงกลัวฐานานุภาพของ

พระผู้อภิบาลของเขาและปกป้องตัวเองจากอารมณ์ใฝ่ต่ำ ที่จริงแล้วสวรรค์ คือ ที่พำนักของเขา” (บทอันนาซิอาต: 37-14)

“ผู้ใดที่ประกอบกรรมชั่วไว้ เขาจะได้รับผลกรรมเช่นเดียวกับที่เขาได้กระทำไปและผู้ที่ประกอบกรรมดี

ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง และเป็นผู้มีอีหม่าน พวกเขาจะได้เข้าสู่สรวงสวรรค์ จะได้รับริซกีก็อย่างมากมายไม่อาจคำนวณนับได้”

 (บทฆอฟิร: 40)

อายะฮฺที่บอกเกี่ยวกับความน่ากลัวของวันกิยามะฮฺ และการลงทัณฑ์ในวันนั้น

อัลกุรอาน ได้พูดถึงความน่ากลัวของวันกิยามะฮ์ และการลงทัณฑ์อันเจ็บปวดยิ่งเพื่อให้มนุษย์ยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้า

“โอ้มนุษย์ทั้งหลายจงยำเกรงต่อพระผู้อภิบาลของสูเจ้า อันที่จริงแล้วความระส่ำระสายของวันนั้น (วันกิยามะฮฺ ) มันช่างเป็นเรื่องยิ่งใหญ่มาก (น่ากลัวยิ่ง)”

(บทอัล – ฮัจญ์: 1)

“เมื่อเสียงอันก้องกังวาน (บอกการมาของวันกิยามะฮ์) มาถึง วันนั้นทุกคนจะวิ่งตะลีตะลานหนีจากพี่น้องของเขา (ด้วยความกลัว) จากแม่และพ่อของเขา จากคู่ครองและลูกของเขา (ไม่มีใครสนใจใคร อันเนื่องจากความกลัวสุดขีด)” (บทอะบะซะ: 33-36)

“วันหนึ่งทุกชีวิตจะได้พบกับสิ่งที่เป็นผลงานที่เป็นคุณธรรมความดีปรากฏรายล้อมเขา และ (ทุกชีวิตจะได้พบกับ) ผลงานที่เป็นกรรชั่วนั้นเขากลับต้องการที่จะให้มันนั้นอยู่ขู่ห่างไกลเขายิ่งไกลยิ่งดี...”

(บทอาลิอิมรอน: 30)

ยังมีอายฮ์อีกเป็นร้อยที่อธิบายเรื่อง “มะอาด” และการสอบสวนในวัน

กิยามะฮฺ หากทุกคนได้เอาใจใส่ต่อการพิจารณอายะฮ์เหล่านี้อย่างละเอียด

ถี่ถ้วน วิถีชีวิตของเขาจะเปลี่ยนไปถึงขนาดที่ว่า เขาต้องคิดอยู่เสมอว่าทุก

การกระทำของเขาที่ได้ทำลงไปนั้นมีการขึ้นบัญชีไว้แล้ว เขาจะรีบเร่งสะสมเสบียงจากโลกนี้เพื่อเอาไปใช้ในโลกอันถาวรของตนเอง

 มุสลิมที่หัวใจสะอาดบริสุทธิ์ เขาจะคอยตรวจสอบการกระทำแม้กระทั่งคำพูดของเขาอยู่เสมอ เพราะกลัววันแห่งการถูกสอบสวน ในค่ำคืนเขาจะยกมือขึ้นสู่ท้องฟ้ามุ่งมั่นอยู่กับดุอาอ์และการอิบาดะฮ์

เขาจะไม่ดำเนินการใดจากความต้องการใฝ่ต่ำของตนเอง ทุกยามเช้า และยามค่ำคืนเขาจะคิดถึงแต่เรื่องการขัดเกลาตัวเองและปรับปรุงสังคม

วันหนึ่งหลังจากนมาซศุบฮ์แล้ว ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) เห็นชายคนหนึ่ง(หมายถึงท่านฮาริษะฮฺ) นั่งหาวอยู่ เนื้อตัวซีดเผือด ดวงตาอิดโรย

ท่าน (ศ) ถามเขาว่า

“เป็นอย่างไรเช้านี้”

เขาตอบว่า

“อยู่ในสภาพแห่งการยะกีน (มีความเชื่อมั่นอย่างสูงสุด)”

ท่านศาสดา(ศ) ประหลาดใจในคำตอบของเขา จึงถามเขาว่า

“ทุกการยะกีนมีฮะกีเกาะฮฺ (ความจริงแท้) อยู่แล้วความจริงแท้แห่ง

การยะกีนของเจ้าคืออะไรกันเล่า?”

เขาตอบว่า

“ท่านศาสดาครับ ยะกีนของข้าพเจ้าทำให้ข้าพเจ้าตกอยู่ในความเศร้า ถอดถอนการหลับนอนไปจากดวงตาของข้าพเจ้า ทำให้ข้าพเจ้าตกอยู่ในความหิวกระหายเป็นเวลาครึ่งวัน ท่ามกลางอากาศร้อนจัด ข้าพเจ้าได้ตัดขาดโลกนี้ (จากผลของยะกีน) ดูเหมือนว่า ขณะนี้ข้าพเจ้าได้ประจักษ์วันแห่งการฟื้นคืนชีพแล้ว ประชาชนต่างมาร่วมชุมนุมเพื่อการถูกสอบสวนแล้ว ข้าพเจ้าก็อยู่ในหมู่พวกเขาด้วย ข้าพเจ้าได้มองเห็นกลุ่มชนที่กำลังได้รับความโปรดปรานด้วยสรวงสวรรค์ พวกเขานั่งรายล้อมอยู่ ณ ที่นั่งแห่งสรวงสวรรค์กำลังพูดคุยกันอย่างสนุกสนาน และข้าพเจ้าก็เห็นชนอีกกลุ่มหนึ่งกำลังถูกเผาอยู่ในไฟนรก ส่งเสียงร้องขอความช่วยเหลือ ดูเหมือนว่าขณะนี้เสียงของสะเก็ดไฟนรกยังคงก้องกังวานอยู่ในหูของข้าพเจ้า”

ท่านศาสดา(ศ) หันมายังศอฮาบะฮ์ของท่าน(ศ) แล้วกล่าวว่า

“นี่คือบ่าวคนหนึ่งของอัลลอฮ์(ซ.บ.) ซึ่งพระองค์ได้ทำให้หัวใจของเขาสว่างไสวไปด้วยอีหม่าน”

แล้วท่าน(ศ) ก็หันไปพูดกับชายหนุ่มคนนั้นว่า

“จงระวังให้ดี อย่าให้ความรู้สึกนี้หลุดลอยไปจากเจ้า”

ชายหนุ่มคนนั้นกล่าวขึ้นว่า

“โอ้ท่านศาสดา ได้โปรดวอนของต่ออัลลอฮ์ให้ข้าพเจ้าได้ชะฮีด ภายใต้คำบัญชาของท่าน”

แล้วท่านศาสดา(ศ) ก็ขอดุอาอ์ตามนั้น หลังจากนั้นไม่นานเขาก็เป็นชะฮีดในสมรภูมิหนึ่งหลังจากศอฮาบะฮฺอีก 9 คน

ท่านเศาะอฺศออะฮฺ(ร.ฎ.) รายงานว่า :

ข้าพเจ้าได้ไปร่วมนมาซศุบฮ์กับที่รอะมีรุลมุอ์มินีน อะลี (อ) ที่มัสญิดกูฟะฮ์ หลังนมาซเสร็จแล้ว ท่าน(อ)ได้นั่งหันหน้าไปยังกิบละฮ์ กล่าว

ซิกรุลลอฮ์นั่งนิ่งไม่หันหน้าไปยังทิศใดทั้งสิ้น เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นท่าน (อ) ได้

หันหน้ามายังเราแล้วกล่าวว่า

 “ในสมัยของผู้เป็นที่รักยิ่งของฉัน (ท่านศาสดา) มีชนกลุ่มหนึ่งหมกหมุ่นอยู่กับการอิบาดะฮ์ตั้งแต่ค่ำยันเช้า เมื่อแสงอาทิตย์สาดส่องจะเห็นผมที่กระเซอะกระเซิงและเปื้อนฝุ่น มีรอบคราบสูญดปรากฏอยู่ที่หน้าผากของเขา เมื่อคนเหล่านั้นคิดถึงความตาย ร่างกายของเขาจะสั่นระริกเหมือนต้นอ่อนที่โดนลมพัดกระโชกพวกเขา จะร้องให้จนกระทั่งเสื้อผ้าเปียกชุ่มด้วยน้ำตา...”

แล้วท่านอะมีรุลมุอ์มินีน (อ) ก็ลุกขึ้น พลางกล่าวว่า

“แต่ดูเหมือนว่าคนที่อยู่ข้างหลังก็ยังคงตกอยู่ในความหลงลืมไม่ใส่ใจ”

บทที่ 30

โลกหลังความตาย

ความตาย

“วันหนึ่งเราต้องจากบ้านหลังนี้ไป”

ใช่แล้ว สิ่งที่ไม่เคยตายและจะไม่มีวันตาย คือ อัลลอฮ์(ซ.บ.) เราผู้เป็นบ่าวสักวันหนึ่ง เราก็ต้องจากบ้านหลังนี้ไป ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าในทุกวันเป็นอุทาหรณ์อย่างดีถึงการจากไปของเรา คงจะปิติสุข หากว่าในอีกวันหนึ่ง

เราเงยศีรษะขึ้นมาจากที่นอนด้วยอาการแจ่มใสและเป็นสุข... นี่เป็นสิ่งสำคัญถ้ามิเช่นนั้นแล้วเราก็จะไม่พบกัน

ยามที่ดวงอาทิตย์ลับของฟ้า...ความตาย คือสัจธรรมหนึ่งที่ต้องมาประสบกับทุกคน

สิ่งที่จำเป็นต้องพินิจไตร่ตรองก็คือ หลังจากความตายแล้วเราจะเป็นเช่นไร ? เราจะสูญสลาย? ความตาย คือที่สิ้นสุดแห่งการมีชีวิต ? เรายังคงอยู่หรือแต่หากเป็นเช่นนั้น จะคงอยู่อย่างไรเล่า ?

ผู้ที่ไม่เชื่อ และศรัทธาในอัลลอฮ์(ซ.บ.) คิดว่าความตาย ก็คือ การสูญสลายของมนุษย์ ชีวิตจะถูกจำกัดด้วยกับวันนี้ ส่วนแนวความเชื่อที่มีรากฐานมาจากวะฮ์ยูต่อต้านกับแนวความคิดดังกล่าวอย่างสิ้นเชิง