พื้นฐานอิสลาม

พื้นฐานอิสลาม0%

พื้นฐานอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา

พื้นฐานอิสลาม

ผู้เขียน: อัลลามะฮ์ ซัยยิด มุฮัมมัด ฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 24559
ดาวน์โหลด: 3302

รายละเอียด:

พื้นฐานอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 354 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 24559 / ดาวน์โหลด: 3302
ขนาด ขนาด ขนาด
พื้นฐานอิสลาม

พื้นฐานอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

(4)

ผู้ให้กำเนิดและผู้สร้างที่ยิ่งใหญ่นี้ ย่อมต้องรอบรู้ถึงชิ้นส่วนย่อยๆ ของสิ่งถูกสร้างสิ่งนี้ ดังตัวอย่างก็คือ

เขาจะต้องรอบรู้ถึงการกระทำทุกอย่างของบ่าวโดยสิ้นเชิง

ด้วยเหตุนี้เอง มนุษย์ไม่มีความจำเป็นต้องอาศัยสื่อกลางใดๆ เมื่อเวลาที่เขาทำการเคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้าของตัวเอง เขาจะต้องปฏิบัติการเคารพภักดี พระองค์โดยตรง การเคารพบูชาสื่อกลาง เช่น บรรดามาลาอิกะฮฺ

(เทวทูต) ดวงดาวรูปปั้นต่าง ๆ ผู้ที่ใกล้ชิดในอัลลอฮฺ (ซ.บ.) และผู้มีคุณธรรมจึงถือว่าไม่ถูกต้อง

สาเหตุที่มวลมนุษย์หันห่างจากการเคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว

สิ่งที่ได้กล่าวไปนั้นเป็นไปตามธรรมชาติ และความบริสุทธิ์ของมนุษย์ที่มีความคิดที่ถูกต้อง ซึ่งยังไม่ถูกแปดเปื้อนด้วยกับขนบธรรมเนียมประเพณีที่หลงผิดการเชื่อถือปฏิบัติตาม และการสอนสั่งจากบรรพบุรุษ หรือ

จะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ :

สิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ และความบริสุทธิ์ของมนุษย์แต่ดั้งเดิม ก็คือเคารพภักดี พระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว

แต่ทว่า...มนุษย์เหล่านั้นหันเหออกจากแนวทางตามธรรมชาติ และความบริสุทธิ์ของเขาสู่การตั้งภาคีได้อย่างไร ?

มีสาเหตุมากมายซึ่งเราจะขอยกมากล่าว เพียงบางส่วนต่อไปนี้ :

1

บรรดาผู้ที่บูชารูปปั้นบางคนกล่าวว่า :

“อันเนื่องมาจากพระผู้เป็นเจ้าอยู่นอกขอบเขตความคิด และสติปัญญาของเรา และไม่มีสถานที่อยู่ที่เรา

จะหันเข้าหาพระองค์ เพื่อเราจะได้เคารพภักดี ณ ที่นั้น ดังนั้นเราจึงไม่มีทางเลือกใดนอกจากต้องเคารพบูชาสิ่งหนึ่ง หรือบุคคลหนึ่งซึ่งมีเกียรติ และใกล้ชิดต่อพระผู้เป็นเจ้า เพื่อจะให้สิ่งเหล่านั้นเกิดความรู้สึกยินดีและเป็นสื่อ

ระหว่างเรากับพระผู้เป็นเจ้าอันจะทำให้เราได้ใกล้ชิดพระองค์”

พวกเขาเหล่านั้นหลงลืมไปเรื่องหนึ่งก็คือ ถึงแม้ว่า พระผู้เป็นเจ้าจะไม่มีทิศทาง หรือสถานที่อยู่ใดๆ ก็ตาม แต่พระองค์ก็ทรงควบคุม และมีอำนาจเหนือสิ่งเหล่านี้ และมีอยู่ในทุกที่ (ไม่ใช่แยกเป็นส่วน ๆ แต่ความเป็นหนึ่งของพระองค์นั้นปรากฏอยู่ในทุกที่นั้นเอง – ผู้แปล) ดังนั้นไม่ว่าเราจะหันเหไปในทิศทางใด ตัวตนของพระองค์อันบริสุทธิ์ยิ่งก็ปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราด้วย เราสามารถที่จะสนทนากับพระองค์ได้โดยตรง และก้มกราบต่อหน้าพระพักตร์ของพระองค์

ดังที่อัลกุรอาน ซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์ อายะฮ์ที่ 115 กล่าวว่า:

“ไม่ว่าที่ใดที่พวกเจ้าหันสู่ ณ ที่นั้นคือพระพักตร์ของเอกองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.)”

2

บางกรณีหลังจากผู้อาวุโสของเผ่าหรือกลุ่มชนที่เขาเคารพนับถือ และให้เกียรติได้ตายลง พวกเขาก็จะปั้นรูปเขาเหล่านั้นไว้เพื่อเป็นสิ่งเตือนใจและให้เกียรติแก่ผู้อาวุโสหรือหัวหน้าเผ่านั้น เขาจะสงบนิ่งและตั้งจิตอธิษฐานไปยังรูปปั้นเหล่านั้น เมื่อเวลาที่เขาทำการเคารพบูชาพระผู้เป็นเจ้าของเขา แล้วหลังจากนั้น ความสัมพันธ์ที่เขาได้ตั้งจิตอธิษฐานต่อพระผู้เป็นเจ้าก็ค่อยๆ เลือนหายไปเหลือแต่การเคารพบูชารูปปั้นล้วน ซึ่งมันได้กลายเป็นตำนานการสร้างรูปปั้น ซึ่งมันได้กลายเป็นตำนานการสร้างรูปปั้นและเคารพบูชาในสิ่งนั้น

 ดังที่เราได้อ่านจากประวัติศาสตร์ว่า :

“ลูกหลานของกอบีล (บุตรของนบีอาดัม(อ)) ได้สร้างรูปปั้นขึ้นมาตามชื่อของผู้อาวุโสของเขาที่ชื่อ วัดด์

เพื่อเป็นการเตือนให้ระลึกถึงเขาในที่สุดจากการให้เกียรติธรรมดาก็กลายเป็นการเคารพบูชา และก้มกราบรูปปั้นนั้นไปในที่สุด”

3

มนุษย์ได้ให้เกียรติ และให้การเคารพต่อสิ่งหนึ่งที่ให้คุณประโยชน์แก่เขา และนับถือว่ามันนั้น

เปรียบเสมือนเป็นตัวจำแลงของพระผู้เป็นเจ้า การให้เกียรติและให้การเคารพนี้ในที่สุดได้กลายเป็นการเคารพบูชาไป การเคารพบูชาดวงอาทิตย์ และแสงสว่างที่ปรากฏอยู่ในหมู่ชาวอีหร่านโบราณ และในหมู่ชาวอินเดียอารยันนั้นก็มาจากแนวความคิดนี้ ความเชื่อและทัศนะดังกล่าวนี้เองที่เป็นตัวกำเนิดให้เกิดการตั้งภาคีและบูชารูปปั้นในโลกนี้

คนรุ่นต่อมาก็ไม่ได้ใส่ใจในแนวความเชื่อของบรรพบุรุษดังกล่าว ทำให้พวกเขาตกอยู่ในสภาพที่หันเหออกจากการเคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวไปเคารพรูปปั้นและตั้งภาคีต่อพระองค์

การต่อสู้และเผชิญหน้าของศาสนาต่าง ๆ ต่อการตั้งภาคี

บรรดาศาสนาที่มาจากฟากฟ้า (นับถือพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว) ได้เพียรพยายามอย่างต่อเนื่องในการทำให้ประชาชนหันกลับมาเคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว อัลกุรอานได้กล่าวถึงและให้เกียรติต่อบรรดานบี

(ศาสนทูต) ที่พวกท่านเหล่านั้นได้พากเพียรพยายามอย่างสุดกำลังในการกำจัดแนวความเชื่อที่เป็นการตั้งภาคี

และเชิญชวนให้ประชาชนกลับมาพิจารณาต่อพระผู้เป็นเจ้าแต่เพียงผู้เดียว

ดังที่อัลกุรอานได้กล่าวถึงศาสดาอบรอฮีม (อ) ตอนที่ท่าน (อ) กล่าวกับประชาชนของท่าน (อ) ว่า:

“พวกท่านเคารพบูชาอะไรกัน ?”

พวกเขากล่าวตอบว่า

“เราเป็นผู้แสวงหาตามแนวทางที่บรรพบุรุษของเราได้แสวงหาและปฏิบัติกัน”

ศาสดาอิบรอฮีม (อ) กล่าวว่า :

“แน่นอน พวกท่านและบรรพบุรุษของท่านตกอยู่ในความหลงผิดอันชัดแจ้ง”

ท่าน (อ) ตัดสินใจที่จะทำให้พวกโง่เขลาเบาปัญญานั้นได้ตื่นขึ้น และทำความเข้าใจขึ้นมาบ้างจากการสอนที่เห็นจริง สัมผัสได้จากความตั้งใจจริงดังกล่าว วันหนึ่งท่าน (อ) ได้ตรงเข้าไปยังเทวสถานใช้ขวานจามรูปปั้นเหล่านั้นแตกหักกระจัดกระจาย เมื่อพวกนั้นรู้ข่าวก็เกิดความกังวลใจระคนความแค้น กล่าวกับท่าน (อ) ว่า

“ท่านใช่ไหมที่ทำกับพระผู้เป็นเจ้าของเราเช่นนี้ ?”

ท่านนบีอิบรอฮีม (อ) ตอบอย่างชนิดที่ต้องให้พวกเขาได้คิดถึงแนวความเชื่ออันไร้แก่นสารของตัวเองว่า

“จงถามตัวของพวกมันเองซิ (รูปปั้น)”

พวกเขานิ่งเงียบสักพักใหญ่ แล้วตอบด้วยความกระดากอายว่า

“ท่านก็รู้ดีว่า รูปเจว็ดเหล่านั้นไม่อาจพูดได้”

ท่าน (อ) สบโอกาสจึงกล่าวขึ้นว่า

“แล้วพวกท่านเคารพบูชาต่อสิ่งที่ไร้ความสามารถ แม้กระทั่งการปกป้องตัวเองได้อย่างไรกัน ? ทำไมพวกท่านไม่คิดให้ดี ?”

ผู้นำอันยิ่งใหญ่ของประชาชาติเหล่านี้ได้ย้ำเตือนต่อประชาชาติของท่านอย่างสม่ำเสมอว่า ไม่ว่าที่ใดเวลาใดก็ตาม เขาสามารถที่จะสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างตัวเขากับพระผู้เป็นเจ้าได้ทุกเมื่อ จำเป็นที่จะต้องนอบ

น้อมและเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงยิ่งใหญ่แต่เพียงผู้เดียว

ในการเคารพภักดีจะต้องไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดเข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเอกะแต่เพียงผู้เดียว แม้กระทั่งการให้ความสนใจหรืออธิษฐานต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพียงชั่วขณะหนึ่งนอกจากพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวควบคู่ไปกับพระองค์ก็ไม่อาจยอมรับได้

ผลที่จะได้รับจากการเชื่อมั่นในพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว

1. ความเป็นอิสระของตัวเองอย่างน่าภาคภูมิใจ

บุคคลที่เชื่อมั่นในพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว และมีความศรัทธายึดมั่นว่า พระองค์ทรงรอบรู้และมีพลานุภาพเหนือทุกสรรพสิ่ง และสิ่งที่มีอยู่ในจักรวาลเกิดขึ้นจากอำนาจ และความประสงค์ของพระองค์ เขาจะไมย่อมตนและพึ่งพิงต่อสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น บุคคลที่มีกำลังความสามารถที่สุดและร่ำรวยมหาศาลใดๆ ก็ไม่อาจบังคับเขาให้ตกอยู่ภายใต้การเป็นทาส และผู้ภักดีได้ เขาจะยอมอ่อนน้อมและก้มกราบต่อเฉพาะพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่แต่เพียงพระองค์เดียว

ชาวอิหร่านสมัยก่อนคิดว่าผู้ปกครองทรราชย์ที่ชั่วช้า และอธรรมทั้งหลายเป็นเสมือนตัวจำแลงของพระผู้เป็นเจ้า พวกเขายอมตามบุคคลเหล่านี้ โดยปราศจากเหตุผลใดๆ ทั้งสิ้น พวกเขาไม่ได้รับอิสระ และความเป็นไทใดๆ ทั้งส่วนตัวและสังคม

เมื่อตัวแทนของชาวอาหรับในสมรภูมิ “กอดิซียะฮ” ได้เข้าพบกับผู้บังคับบัญชากองทหารอิหร่าน เขาได้นั่งอยู่บนพื้นตามสบายไม่ได้สนใจต่อการประดับประดา และตกแต่งสถานที่อย่างสมเกียรติของชาวอิหร่านเลย

เขาได้ตอบคำถามที่ว่าทำไมถึงได้ทำเช่นนั้น โดยกล่าวว่า :

“พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงคัดเลือกเรา เพื่อให้เราเรียกร้องเชิญชวน ผู้ที่ตกเป็นทาสทั้งมวลสู่การเคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว เรียกร้องเชิญชวนพวกเขาจากมุมของโลกหนึ่งสู่โลกกว้างแห่งความเป็นอิสระเสรีจาก

แนวความคิดอันเป็นโมฆะทั้งมวลสู่ความยุติธรรมแห่งอัล – อิสลาม”

2. ความยุติธรรมที่แท้จริงและเป็นสากล

ภายใต้ “เตาฮีด” (การเชื่อมั่นในพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว) ผู้ศรัทธาทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของพระผู้เป็นเจ้าที่วางอยู่บนรากฐานของวิทยปัญญาและความบริสุทธิ์ยุติธรรม

เป็นที่กระจ่างชัดว่า การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของพระผู้เป็นเจ้านั้นจะส่งผลทำให้เกิดการแพร่กระจายของความยุติธรรมที่แท้จริง ความอธรรม และการล่วงละเมิดทั้งมวลจักต้องมลายสิ้น

ในทางกลับกันผู้ที่บูชารูปปั้น และสิ่งสมมุติอื่นๆ ไม่สามารถที่จะสถาปนาความยุติธรรมที่แท้จริงได้

เพราะในแต่ละกลุ่มชนก็จะยึดมั่นอยู่แต่เฉพาะเของตัวเองเหนือกว่าพระเจ้าของผู้อื่น ทำให้พวกเขามีความกล้าหาญที่จะยื่นมือแห่งการบุกรุก ล่วงล้ำไปยังบุคคลอื่น เมื่อเป็นเช่นนี้ความยุติธรรมที่แท้จริงก็จะไม่บังเกิดขึ้น

ความโง่งม ความเขลา การแตกแยก ความอธรรม และการกดขี่ก็จะเข้ามาแทนที่

ผลประโยชน์ของผู้ที่ยึดมั่นในพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวที่จะได้รับ ก็คือการได้มาซึ่งมนุษย์ที่รักอิสระ

ความคิดบริสุทธิ์เป็นหนึ่งเดียวและพบกับความสุขสบาย เขาจะไม่ตกอยู่ภายใต้กงล้อแห่งความอธรรม และการล่วงละเมิดทั้งมวล

ณ ที่นี้ ข้อเท็จจริงแห่งถ้อยคำอันบริสุทธิ์ก็เป็นที่กระจ่างสำหรับเราดังที่ว่า :

“จงกล่าว ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ แล้วพวกเจ้าจะได้รับชัยชนะ”

จงพูดกับส่วนลึกของหัวใจว่า :

“ไม่มีผู้ที่ควรแก่การเคารพภักดีใด นอกจากเอกองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.)”

แล้วเมื่อนั้น เราก็จะพบกับชัยชนะและความผาสุกทั้งมวล

บทที่ 12

อะฮฺรีมันและยัซดอนหรือพระผู้เป็นเจ้าทรงเอกะ

ความดีและความเลว

ชนกลุ่มหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า “ษะนะวียะฮฺ” มีความเชื่อแบบเดาสุ่มว่า สรรพสิ่งในโลกนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

คือ ดีและเลว จากความเชื่อพื้นฐานนี้พวกเขาจึงกล่าวว่า

“สำหรับโลกที่ถูกสร้างนี้มีปฐมเหตุมาจาก 2 ประการ”

และยังกล่าวอีกว่า

“ความดีงามทั้งมวลถือกำเนิดมาจาก ยัซดอน ส่วนความชั่ว ความเลวทั้งหมดถือกำเนิดมาจาก อะฮฺรีมัน”

มุมมองของพวกเขาตามทัศนะนี้ก็คือ เขาเชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงภาวะบริสุทธิ์ปราศจากสิ่งที่น่ารังเกียจ

ความไม่สมบูรณ์ และความไม่ดีทั้งหมด แต่เขาลืมไปว่าด้านหนึ่งนั้นพวกเขาก็ตกอยู่ในสภาพของผู้ตั้งภาคี และ

เชื่อว่ามีการตั้งภาคีสำหรับพระผู้เป็นเจ้า ส่วนอีกด้านหนึ่งก็คือ พวกเขาผิดพลาดในการแยกประเภทสรรพสิ่งในโลกนี้ออกเป็น 2 ประเภท

คือ ดีและเลว เพราะว่าหากเขาพิจารณาสรรพสิ่งทุกชนิดในโลกนี้ให้ดี เขาก็จะรู้ได้ทันทีว่า ในโลกนี้ไม่ปรากกฎสิ่งที่ไม่ดีและสิ่งที่เลวอยู่เลย

!

แต่ทว่า...ทุกๆ สิ่งมีความดีงาม และเหมาะสมอยู่ในตัวของมันเอง

พวกเขายังคิดไปไกลอีกว่า : การมีอยู่ของสิ่งที่เขาเรียกว่า “ไม่ดี” นั้นแยกออกอย่างสิ้นเชิงจากการมีอยู่ของสิ่งที่ “ดี” จากจุดนั้น เขาจึงได้ทำการแก้ปัญหาตามความเชื่อของเขา โดยบอกว่า ความดีงามต่างๆ มาจาก

“ปฐมเหตุ” หนึ่ง และความชั่วต่าง ๆ ก็มาจาก “ปฐมเหตุ” อีกอันหนึ่ง

ตามสภาพความเป็นจริง หากเราได้พิจารณาอย่างละเอียดจะพบว่า มีสิ่งถูกสร้างหลายอย่างที่ไม่อาจแยกออกเป็น 2 ประเภทได้อย่างเด่นชัด ตัวอย่างเช่น “ฝน” นั้น “ดี” เพราะเป็นที่ต้องการสำหรับการหว่านเมล็ดพันธุ์พืช และการเพาะปลูก แต่ “ฝน” ตัวเดียวกันนี้ ที่ใครบางคนที่มีความคิดพื้นๆ บอกว่ามัน “ไม่ดี” เพราะมันได้ทำลายบ้านดิน โคลนของคนยากกคนจน (เมื่อฝนตกลงมา) !

เป็นที่กระจ่างว่า ตามแนวทางการแก้ปัญหาที่พวก “ษะนะวียะฮฺ” เสนอไม่อาจแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้

เพราะ “ความไม่ดี” (ไม่เหมาะสม) ของ “ฝน” นี้ไม่อาจแยกออกจาก “ความดี” ของมันได้เลย หมายความว่า สิ่งทั้งสองไม่มีอยู่จริงถึงขนาดจะกล่าวว่า ส่วนหนึ่งของมัน “ดี” และมาจากพระผู้เป็นเจ้า อีกส่วนหนึ่ง “ไม่ดี” และมาจากสิ่งอื่น

ส่วนแนวทางที่คำสอนของอิสลาม (อัล – กุรอานและริวายะฮฺ) ใช้แก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ และสติปัญญาอันสมบูรณ์ได้ยืนยันตามนั้นก็คือ:

หากว่าสิ่งหนึ่งตามทัศนะของคนที่มีความคิดพื้นๆ ไม่อาจจะบ่งบอกถึงความดี ความเหมาะสมของมันได้ เช่น ความหิวกระหาย ความไม่สงบ ความรู้สึก โกรธ ไม่พึงพอใจ อากาศร้อน อากาศเย็น สัตว์มีพิษต่างๆฯลฯ

เราก็ต้องไม่แยกมันออกมาพิจารณา แต่จะต้องคิดถึงมันในแง่ที่ว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบที่สัมพันธ์กันของโลก แล้วเราก็จะพบว่า ทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่ดี และมีความจำเป็นต่อระบบของโลกทั้งหมดโดยรวมต่อไปนี้

 เราจะตรวจสอบวิเคราะห์ถึงความเป็นจริงของสิ่งที่เราได้กล่าวไปอีกครั้งหนึ่ง

ปัจจัยในการหลบหลีกจากอันตราย

ร่างกายของคนเราประกอบด้วย เนื้อ ผิวหนัง และกระดูก ซึ่งจะไม่ปลอดภัยเลยเมื่อเผชิญกับภยันตราย

ไฟเพียงอย่างเดียวก็สามารถทำให้สิ่งนั้นเป็นเถ้าถ่านในเวลาเพียงไม่กี่นาที ร่างกายไม่อาจต้านทานความแหลมคมได้ อุบัติเหตุเพียงครั้งเดียวก็อาจทำให้ร่างกายแหลกเหลวไม่เป็นชิ้นดี อัลลอฮฺ(ซ.บ) ได้ตระเตรียมปัจจัยต่างๆ

สำหรับร่างกายไว้ เพื่อให้มนุษย์ปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ

(1)

ความหิวกระหายซึ่งไม่อาจแสดง “ความดี” ออกมาให้เห็นสำหรับทัศนะของคนที่มีความคิดแคบ แต่มันกลับมีความสำคัญต่อร่างกายมากทีเดียว

 กล่าวคือ: ความรู้สึกนี้เองที่เป็นตัวการทำให้เซลล์นับล้านๆ มีชีวิตอยู่

หากมนุษย์ไม่มีความรู้สึกนี้ ไม่กี่อึดใจ เซลล์ต่างๆ ในร่างกายก็จะถูกทำลาย เพราะขาดน้ำ และอาหารแน่นอนคนๆ นั้นก็จะตกอยู่ในอันตรายและเสียชีวิตในที่สุด

(2)

ความรู้สึกเจ็บ และความกังวลต่างๆ คือความโปรดปรานหนึ่งสำหรับสิ่งถูกสร้างในความเป็นจริง

ประสาทสัมผัสของมนุษย์เปรียบเสมือนช่องความถี่ที่ละเอียดยิบสำหรับส่งสัญญาณ มันจะส่งสัญญาณเตือนทันทีที่มีความรู้สึกไม่เหมาะสมเกิดขึ้น (กับร่างกาย) และเตือนให้คนๆ นั้นหาทางป้องกันภัยที่เกิดขึ้น

หากไม่มาความรู้สึกเจ็บปวด คนเจ็บไข้ได้ป่วยก็ไม่คิดที่จะทำการรักษา หากเส้นประสาทไม่รับรู้ถึงความไม่เหมาะสมที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกาย หรือพลั้งเพลอไป ผิวหนังและเนื้อหนังมังสาอาจถูกทำลายด้วยไฟ

และกลายเป็นเถ้าถ่านไปก็ได้ หรือเมื่อเจอกับสิ่งที่หนักและคมจัด ร่างกายก็อาจถูกฉีกเป็นชิ้น กระดูกแหลกเหลวได้

ดังนั้น หากในความรู้สึกเหล่านี้ เราพบว่าตัวเองมีความโกรธ และก้าวร้าว เราก็จะต้องรู้ว่า นี่คือสัญญาณเตือนอันตรายให้หยุดโกรธเสีย เพื่อที่ให้มนุษย์หยุดคิดสักนิด เพื่อตัวเอง และสุขภาพของร่างกายได้กลับมามีสุขภาพดีตามเดิม และดำเนินชีวิตได้ต่อไป

ความทุกข์ยาก และการฟูมฟักมนุษย์

นักวิชาการได้กล่าวว่า:

“โลกแห่งธรรมชาตินี้ คือโลกแห่งการเคลื่อนไหว และทำให้สมบูรณ์”

การเคลื่อนไหว และการทำให้สมบูรณ์เกี่ยวพันกับความไม่พอดี และความทุกข์ยากต่างๆ เพราะความยุ่งยากและปัญหาทั้งมวลนั้น ทำให้จิตวิญญาณได้กล้าแข็ง และเป็นน้ำหล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์

ความไม่พอดีเหล่านี้เองที่เป็นตัวหล่อเลี้ยงความเฉลียวฉลาด เพราะจากเตาหลอมแห่งความเจ็บปวดนี้ที่ผลิตเหล็กกล้าที่ถูกหลอมแล้ว

ความชาญฉลาดและการเจริญเติบโตเต็มที่ของมนุษย์จะต้องเกิดในสภาพที่ผิวหนังอันบอบบางของเขาต้องถูกแยกออกเมื่อเจอปัญหาต่างๆ จนกระทั่งถึงความสมบูรณ์แห่งการเป็นมนุษย์

บุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ก็คือบุคคลที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากกว่า ดังสำนวนที่ว่า

“ถ้าไฟไม่ลามเลียเข้าไปในเนื้อไม้และเผาไหม้มันละก็ กลิ่นหอมของไม้ก็ไม่มีวันที่จะเกิดขึ้น”

นโปเลียน เคยกล่าวว่า:

 “ความทุกข์ยาก และความเจ็บปวดของมนุษย์ทำให้มนุษย์คนนั้นกล้าแข็งขึ้น”

ความยุ่งยากและความขื่นขมทั้งมวล คือตัวการที่ทำให้พลังงานที่แฝงเร้นอยู่ในตัวของมนุษย์ได้จุดประกายขึ้น เมื่อนั้นเขาก็สามารถที่จะสร้างชัยชนะให้กับตัวเอง ทั้งในด้านวัตถุ จิตวิญญาณ ความรู้ และการประดิษฐ์คิดค้นต่างๆ

สาเหตุที่ผู้ยิ่งใหญ่ของโลกก้าวเท้าออกมาจากกระท่อมอันซอมซ่อได้ก็เพราะพวกเขาเผชิญหน้ากับอุปสรรคทั้งปวง และในที่สุดหลังทางความคิดของพวกเขาก็สว่างไสวขึ้นด้วยการเพียรพยายามอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย

ประวัติศาสตร์อารยธรรมโลกได้แสดงให้เห็นว่า ความก้าวหน้าของวิชาการและอารยธรรมความเจริญต่างๆ ของมวลมนุษย์ได้มาพร้อมกับความทุกข์ยากและความเจ็บปวดทั้งมวล

เพราะความไม่พอดีต่างๆ นั้นเองที่ทำให้มนุษย์คิดแสวงหาทางออกและในที่สุดก็บังคับให้เขาได้พากเพียรไปให้ถึงยังสภาพที่ดีกว่า

ดังนั้นบุคคลที่ไม่รู้สาเหตุของการมีความทุกข์ยาก และคิดว่ามันไม่ดีนั้นตกอยู่ในความผิดพลาดเป็นแน่แท้

มาตรฐานการวัดความดี และความเลว

ความผิดพลาดของพวก “ษะนะวียะฮฺ” ซึ่งคิดว่าความเย็น ความร้อน และสัตว์มีพิษต่างๆ ฯลฯ เป็นสิ่งไม่ดี ก็คือ พวกเขาเอาสภาพตัวเองเป็นข้อกำหนดวัดความดีและความไม่ดีของสรรพสิ่งในโลก

ในขณะที่เพียงการได้รับประโยชน์ และการสูญเสียของมนุษย์ไม่อาจเป็นตาชั่งวัดความดีและความเลวของสิ่งต่างๆ ได้ แต่จะต้องมองให้ออกว่าทุกสิ่งในโลกนี้มีผลอย่างไรต่อระบบของสิ่งถูกสร้างนั้น

ความหนาว ความร้อนที่ว่าเป็น “ความไม่ดี” ในสายตาของพวกเขานั้นแต่ในสายตาและทัศนะของนักธรรมชาติวิทยา ซึ่งมองโลกทั้งโลก กลับบอกว่ามันเป็นประโยชน์ มีคุณค่าและเป็นความจำเป็นต่อความสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิต พืชพรรณและตัวมนุษย์

แนวความคิดของบุคคลที่วัดมาตรฐานความดีและความเลวของสิ่งต่างๆ ด้วยกับการได้รักประโยชน์และการสูญเสียของตัวเองนั้น ก็เปรียบเสมือนกับมดตัวน้อยที่กล่าวถึงมนุษย์และสิ่งก่อสร้างของมนุษย์ว่า:

“มนุษย์ไม่มาคุณค่าใดเลย นอกจากเป็นตัวเหยียบย้ำทำลายเรา”

หรือกล่าวว่า

“เครื่องบินและรถยนต์สำหรับเราแล้วไม่มีคุณค่าอันใด ดังนั้น มันก็ไว้ประโยชน์ หรืออาจเป็นโทษด้วยซ้ำ”

มดน้อยเหล่านั้นคิดถูกแล้วหรือในเรื่องมนุษย์ และสิ่งที่ถูกสร้างของมนุษย์? ความผิดของพวกมันอยู่ที่ไหน? ไม่ใช่การที่พวกมันเอามาตรวัดความดี ความเลวไม่ขึ้นอยู่กับสภาพตัวเอง และส่วนที่เกี่ยวพันกับตัวเองกระนั้นหรือ?

แนวความคิดต่อไปนี้ก็เช่นเดียวกัน:

ชาวทะเลที่อาศัยอยู่บริเวณมหาสมุทรอินเดีย กล่าวถึงเรื่องหมอกที่ทำให้บริเวณชายหาดทะเลเกิดร้อนขึ้น ทำให้หายใจไม่สะดวกว่า

“หมอกพวกนี้มีประโยชน์อันใด ทำลายชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเรา เราไม่อาจทำงานต่อไปได้เลย”

การตัดสินเช่นนี้ถูกต้องหรือ?

ทั้ง ๆ ที่เราก็รู้ว่าหมอกเกิดขึ้นจากลมซึ่งพัดอยู่บริเวณชายทะเล เป็นตัวทำให้ความแห้งกันดารของทะเลทรายชุ่มชื้นขึ้น ช่วยให้ต้นไม้เจริญงอกงาม อากาศอบอุ่นเย็นสบาย และหล่อเลี้ยงชีวิตนับล้านๆ ชีวิตให้คงอยู่ต่อไป

ความผิดพลาดของการตัดสินเช่นนี้อยู่ตรงที่ว่า ชาวทะเล ชาวประมงเห็นสภาพของตัวเอง ไม่ได้สนใจต่อสภาพโดยรวมของระบบสิ่งถูกสร้างทั้งหมด

ด้วยกับการพินิจพิจารณาข้อมูลเบื้องต้นที่เราได้กล่าวไปแล้วทำให้ได้ข้อสรุปว่า เราจะต้องไม่ด่วนตัดสินใจว่าสิ่งหนึ่งไม่มีประโยชน์ ด้วยความมักง่ายของความคิดของเรา แต่จะต้องให้ความสนใจถึงผล และสภาพเฉพาะของสิ่งถูกสร้างนั้นเมื่อมันได้สัมพันธ์กับสรรพสิ่งทั้งมวลในโลกนี้ในเวลาปัจจุบัน (ว่ามีประโยชน์หรือเป็นโทษกันแน่)