ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม28%

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 133

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 133 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 63207 / ดาวน์โหลด: 5512
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

 อัตชีวประวัติอิมามอะอฺศูมีน ๗

อิมามมูซา กาซิม(อ)

เขียน

ศาสตราจารย์เชคอฺะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล

แปล

อาจารย์อัยยูบ ยอมใหญ่

บทนำ

แนวความเชื่อของเราเกี่ยวกับอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ (อฺ) ก็คือ พวกท่านเป็นผู้ถูกเลือกสรรที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเลือกพวกท่านเหล่านั้นให้เป็นเครื่องหมายชี้นำสำหรับปวงบ่าวของพระองค์

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเลือกเฟ้นพวกท่าน(อฺ)เหล่านั้นเพื่อนำทางสิ่งถูกสร้างทั้งมวลของพระองค์ เป็นทายาทของนบี(ศ)ของพระองค์ เป็นอิมามสำหรับบ่าวทั้งหลายของพระองค์ เป็นผู้ปกครองของสรรพสิ่งทั้งหลาย พวกท่านเหล่านั้นคือผู้ดูแลสาส์นของมุฮัมมัด(ศ) และเป็นหลักในการให้ทุกคน

ปฏิบัติตามนั้น กฎบัญญัติศาสนาถูกถ่ายทอดมาจากพวกท่าน(อฺ) สิ่งที่อนุมัติ(ฮะลาล) และสิ่งต้องห้าม(ฮะรอม) ทั้งหมดถูกรู้จักได้จากท่าน(อฺ)เหล่านั้น

พวกท่าน(อฺ)ทั้งหมดคือหลักฐานอันชัดแจ้งที่มียังอัลลอฮฺ(ซ.บ.) คือ

 ผู้นำทางสู่(การรู้จัก)พระองค์ คือผู้เรียกร้องเชิญชวนสู่ศาสนาของพระองค์

ณ พวกท่าน(อฺ)เหล่านั้นมีความรู้แห่งคัมภีร์และสัญลักษณ์ที่มีมาพร้อมกับคัมภีร์นั้น

ท่านร่อซูลุลลอฮฺ(ศ)สั่งให้ประชาชาติของท่าน(ศ)ปฏิบัติตามและเชื่อฟังพวกท่านเหล่านั้น(อฺ) แต่ทว่า….หลังการจากไปของท่านศาสดา (ศ) พวกเขากลับมาร่วมชุมนุมกันในเรื่องนี้อีก ขณะที่ท่านศาสดา (ศ) ถูกปล่อยเอาไว้ยังไม่จัดการฝังท่าน (ศ) พวกเขากลัวปัญหาความยุ่งยากทั้งมวล

 (กระนั้นหรือ?) แต่ก็จมปลักอยู่ในความยุ่งยากสับสนปั่นป่วน(ฟิตนะฮฺ)ในที่สุด

ประชาชาติมุสลิมกีดกันตำแหน่งผู้ปกครอง(คิลาฟะฮฺ)ให้ออกไปจากบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อฺ)

และเริ่มผลัดเปลี่ยนฐานภาพนั้นไปให้แก่บุคคลอื่น แล้วในที่สุดก็ตกไปถึงมือของมุอาวิยะฮฺ บิน อะบีซุฟยาน (ศัตรูตัวฉกาจของอิสลามและท่านศาสดา) เขาไม่หยุดยั้งเพียงเท่านั้น

 แต่ยังส่งผ่านฐานภาพอันทรงเกียรตินั้นไปให้แก่ทรราชเยี่ยงยะซีด คนโสมม แล้วก็ดำเนินเรื่อยมาในมือของวงศ์วานแห่งความต่ำต้อย

หลังจากพวกเขา วงศ์วานบะนีอับบาซก็ขึ้นมามีอำนาจ ประชาชาติได้ถูกปรับเปลี่ยนจากความอธรรมหนึ่งไปสู่อีกความอธรรมหนึ่ง จากความเลวร้ายหนึ่งไปสู่อีกความเลวร้ายหนึ่ง ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้บรรดาอิมาม(อฺ)ได้คอยเฝ้าดูอยู่ห่างๆ ภายในบ้านของตัวเอง ท่าน(อฺ)เหล่านั้นไม่มีอำนาจที่จะสั่งหรือห้ามปรามสิ่งใดๆ เลย

บรรดาผู้ปกครองแห่งวงศ์อุมัยยะฮฺและอับบาซียะฮฺ ใช่ว่าจะหยุดยั้งเพียงการเข้าสวมอำนาจการปกครองเท่านั้น พวกเขากลับตามจองล้างจองผลาญพวกท่านเหล่านั้น ถึงขนาดที่ติดตามสังหารจับกุมคุมขังและทำลายล้างพวกท่านเหล่านั้น(อฺ)

ท่านอิมาม(อฺ)ไม่ได้ใส่ใจต่อการบีบคั้น และการทารุณกรรมต่างๆ ซึ่งท่านได้รับมา ท่าน(อฺ)เหล่านั้นยังคงทำหน้าที่เผยแผ่สาส์นของพวกท่านในการทำให้พระดำรัสของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) สูงส่งยิ่งขึ้น สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับอิสลามและสะกัดกั้นแนวความคิดอันเลวทรามและเสื่อมเสีย

 ท่านเหล่านั้นได้บรรจุโลกนี้ให้เต็มไปด้วยวิชาความรู้ และการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งถือว่าเป็นการยกธงอิสลามให้สูงเด่นที่ดีที่สุด

มิได้พูดเกินเลยที่จะบอกว่า ท่าน(อฺ)เหล่านั้นมีคุณสมบัติเหล่านี้ เพราะตัวของพวกท่านเหล่านั้นถือว่าทรงสิทธิ์ยิ่งกว่าผู้ใด ยิ่งไปกว่านั้นพวกท่าน(อฺ)ยังรับหน้าที่ในการเผยแผ่สาส์นอิสลาม

ต่อจากท่านศาสดา(ศ)เป็นผู้ปกปักษ์รักษาจริยวัตร และกฎเกณฑ์ต่างๆ ของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)

หนังสือเล่มนี้เป็นเสมือนรัศมีอันจำรัสหนึ่งแห่งอัตชีวประวัติของท่าน

อิมามมูซา บินญะอฺฟัร อัล-กาซิม(อฺ) เป็นการนำเสนอแง่มุมบางอย่างของ

การอิบาดะฮฺ วิถีชีวิต และการมีคุณธรรมของท่าน(อฺ) อีกทั้งยังมีการกล่าวถึงถ้อยคำอันทรงคุณค่าและคำสั่งเสียอันทรงเกียรติของท่าน(อฺ)

เราได้นำเสนอหนังสือที่วางอยู่ตรงหน้าท่านนี้โดยปรารถนาที่จะให้มวลมุสลิมทั้งหลายได้รู้จักสิทธิอันชอบธรรมของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์(อฺ)

 อันเป็นสิ่งที่บรรพชนรุ่นก่อนทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ต่ออำนาจแห่งการได้รับการจงรักภักดีของพวกท่าน(อฺ)เหล่านั้น ให้พวกเราได้รับรู้ถึงความรู้สึกโกรธแค้นของศัตรูของพวกท่าน(อฺ)เหล่านั้น อีกทั้งปรารถนาที่จะให้มวลมุสลิมทั้งหมดยึดเอาแนวทางคำสั่งสอนของพวกท่าน(อฺ) ปฏิบัติตามคำสั่งของพวกท่าน(อฺ) ละเว้นจากข้อห้ามทั้งปวงของพวกท่าน(อฺ)เพื่อปฏิบัติตามคำบัญชาที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) และร่อซูลของพระองค์(ศ)ได้สั่งไว้ในเรื่องของอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) อันหมายถึงความไพบูลย์ทั้งโลกนี้และปรโลก

ดังพระดำรัสของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่ว่า :

“พวกเขาเหล่านั้นรับฟังถ้อยคำนั้น แล้วปฏิบัติตามอย่างดีที่สุด พวกเหล่านั้นเองที่อัลลอฮฺทรงชี้นำพวกเขา และพวกเขาคือกลุ่มชนผู้รู้แจ้ง”

(อัซ-ซุมัร: ๑๘)

ชีวประวัติของอิมามมูซา บิน ญะอฺฟัร(อฺ)

นามจริง

อิมามมูซา บิน ญะอฺฟัร อัล-กาซิม(อฺ)

ปู่

อิมามมุฮัมมัด บาเก็ร(อฺ)

บิดา

อิมามญะอฺฟัร ศอดิก(อฺ)

มารดา

ท่านหญิงฮะมีดะฮฺ บินติ ศออิด อัล-มัฆริบี

สถานที่เกิด

ณ ตำบลอับวาอ์(ระหว่างมักกะฮฺกับมะดีนะฮฺ) เมื่อวันอาทิตย์ที่

๗ เดือนศ่อฟัร ฮ.ศ. ๑๒๘ ในตอนที่ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ) ถือกำเนิดมา ท่านอิมามศอดิก(อฺ)ได้จัดเลี้ยงอาหารแก่ประชาชนทั่วไปเป็นเวลา ๓ วัน

บุคลิกลักษณะ

ท่าน(อฺ)เป็นคนผิวขาว เรือนร่างสมส่วน เคราดกงาม

สมญานาม

อะบูอิบรอฮีม

อะบุลฮะซัน

อะบูอฺะลี

อะบูอิสมาอีล

ฉายานาม

อับดุศศอลิฮฺ

อัล-กาซิม

อัศ-ศอบิร

อัล-อะมีน บาบุลฮะวาอิจญ์

ลายสลักบนแหวน

อัล-มุลกุ ลิลลาฮิ วะฮฺตะฮฺ

ความหมาย : มวลอาณาจักรเป็นของอัลลอฮฺองค์เดียว

บุตรชาย

อฺะลี ริฎอ อิบรอฮีม อัล-อับบาซ

อัล-กอซิม อิซมาอีล ฮารูน

ฮะซัน อะฮฺมัด มุฮัมมัด

ฮัมซะฮฺ อัลดุลลอฮฺ อิซฮาก

อะบัยดุลลอฮฺ เซด อัล-ฮะซัน

อัล-ฟัฎลฺ ซุลัยมาน

บุตรสาว

ฟาฏิมะฮฺ อัล-กุบรอ ฟาฏิมะฮฺ อัศ-ศุฆรอ

กุลษุม อุมมุญะอฺฟัร

ลับบาละฮฺ ซัยนับ

รุก็อยยะฮฺ ฮะกีมะฮฺ

อุมมุอะบีฮา รุก็อยยะฮฺ ศุฆรอ

ค่อดีญะฮฺ อามินะฮฺ

ฮะซะนะฮฺ บะรีฮะฮฺ

อาอิซะฮฺ อุมมุซะละมะฮฺ

มัยมูนะฮฺ อุมมุกุลษูม

(ดังกล่าวนี้มาจากริวายะฮฺของเชคอัล-มุฟีด และมีบางท่านระบุว่าบุตรของท่าน (อฺ) มีมากกว่านี้)

กวีเอกในสมัยของท่าน(อฺ)

ซัยยิด อัล-ฮะมีรี

คนสนิท

มุฮัมมัด บินมุฟัฎฎ็อล

กษัตริย์ที่ปกครองในสมัยของท่านอิมามกาซิม(อฺ)

มันศูรฺ

มุฮัมมัด มะฮฺดี

มูซา อัล-ฮาดี

ฮารูน อัร-ร่อชีด

ช่วงชีวิตของท่านอิมามมูซา(อฺ)

ส่วนใหญ่ท่าน(อฺ)ใช้ชีวิตอยู่ในคุก ซึ่งมะฮฺดีแห่งวงศ์อับบาซียะฮฺสั่งกักขัง ต่อมาก็ได้ปล่อยตัวท่าน(อฺ)ออกมา และฮารูน ร่อชีด ก็ได้ขังท่าน(อฺ) อีกที่เมืองบัศเราะฮฺ จากนั้นก็ย้ายไปอยู่ที่กรุงแบกแดด อยู่ภายใต้การควบคุมของซินดี บินชาฮิก เป็นเวลา ๔ ปี บางรายงานบอกว่ามากกว่านั้น

วายชนม์

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ถึงแก่วะฟาต เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๕ เดือนร่อญับ

 ฮ.ศ. ๑๘๓ เพราะถูกวางยาพิษ โดยคำสั่งของฮารูน ร่อชีด

ช่วงเวลาแห่งการเป็นอิมาม

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ) ดำรงตำแหน่งอิมามนานถึง ๓๕ ปี

สุสานของท่าน(อฺ)

อยู่ในเมือง ‘กุรคฺ’ อันเป็นที่รวมสุสานของชาวกุเรช ปัจจุบันนี้สุสานของท่าน (อฺ) ถูกให้เกียรติ โดยได้รับการประดับประดาตกแต่งอย่างสวยงามเป็นที่เยี่ยมเยียนของมวลมุสลิมจำนวนมากมาย ที่เดินทางมาจากภาคตะวันออกและตะวันตกของโลก

บทบัญญัติการเป็นค่อลีฟะฮฺของท่านอิมามที่ ๗

เป็นเรื่องที่น่าแปลกอย่างยิ่งสำหรับกรณีที่ฝ่ายอื่นอ้างว่า ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ได้เสียชีวิตไป โดยมิได้สั่งเสียให้ใครดำรงตำแหน่งผู้นำภายหลังจากท่าน(ศ) กล่าวคือ ท่าน(ศ)ได้ละทิ้งประชาชาติที่อยู่ข้างหลังให้บริหารกิจการงานของประชาชาติกันเอง ควบคุมกันเอง และให้อธิบายแบบอย่างกฎเกณฑ์ต่างๆ กันเอง

ขณะเดียวกัน ประชาชาติอิสลามต่างมีความเข้าใจตรงกันว่า

 ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)นั้นเคยแต่งตั้งผู้ปกครองไว้ในเมืองมะดีนะฮฺ เมื่อตอนที่ท่าน(ศ)ต้องการเดินทาง และจะไม่ส่งทหารออกศึกจนกว่าจะได้แต่งตั้งแม่ทัพให้เป็นที่แน่นอนเสียก่อน และในบางครั้งท่าน(ศ) ได้แต่งตั้งแม่ทัพไว้

สำหรับกองทัพหนึ่งมากกว่า ๑ คน

สิ่งที่น่าเสียใจประการหนึ่งก็คือ เมื่อเราต้องการจะปลีกให้พ้นจากบุคคลคนหนึ่งหรือคณะหนึ่ง เรายังต้องสร้างความรู้สึกที่ดีต่อผลงานของพวกเขา และเราต้องขอขมาต่อพวกเขาด้วยการขอขมาที่ดีงาม แน่นอนเรามอบเป็นหน้าที่ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และศาสนทูต(ศ) สำหรับกรณีความเจ็บปวดต่าง ๆ ที่นักปกครองผู้ถืออำนาจได้กระทำไว้ให้ทุกประการเหล่านี้เป็นเพราะวิธีการ

ตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ ว่าถูกต้องโดยบรรดานักปราชญ์ในอดีตนั่นเอง

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการว่า :

“ผู้นำทางไปสู่สัจธรรม ทรงสิทธิในการถูกปฏิบัติตามมากกว่า ผู้ที่มิได้นำทางอะไรเลย อีกทั้งยังถูกนำทางด้วย มิใช่หรือ ? แล้วพวกเจ้าจะตัดสินความกันอย่างไร ?”

(ยูนุซ: ๓๕)

ถ้าหากคนทั้งหลายจะกล่าวถึงตำแหน่งอิมามของท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ) ย่อมรับรู้ได้เต็มที่จากข้อบัญญัติในเหตุการณ์ที่ “ฆ่อดีรคุม” เพียงแห่งเดียว โดยไม่ต้องพิสูจน์ต่อข้อบัญญัติอื่นๆ อีกที่ยังมีมากมาย กล่าวคือ ได้พิสูจน์ถึงการให้สัตยาบันในวันสำคัญที่ “ฆ่อดีรคุม”โดยชาวมุสลิมกลุ่มหนึ่งและได้ประจักษ์อย่างถ่องแท้ต่อพิธีกรรมที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ได้กระทำขึ้นในวันนั้น

และข้อความหนึ่งของอัล-กุรอานที่ถูกประทานมาในเรื่องนั้น

แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลกตรงที่ว่า ประชาชาติมุสลิมได้พากันลืมเลือนเหตุการณ์ในวันนั้นหลังจากที่ท่านศาสนทูต(ศ)วะฟาตไปแล้ว

๑๐

เรื่องราวในเหตุการณ์นี้ยืดยาวและขมขื่น บรรดามุสลิมจะมิได้รับสิ่งใด นอกจาก ณ ตรงจุดนี้ และพวกเขาจะไม่แตกแยกกัน นอกจากเพราะขัดแย้งกันในเรื่องนี้

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ท่านอิมามอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ)ได้รับบทบัญญัติจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ดำรงตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ และทำนองเดียวกับบุตรหลานของท่าน(อฺ)ด้วย แน่นอน

ตำแหน่งอิมามมีขึ้นโดยข้อบัญญัติที่แต่ละท่านมีให้ไว้ต่อกัน โดยที่ท่าน(อฺ)ผู้ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนได้แต่งตั้งคนที่จะดำรงตำแหน่งถัดมา บิดาจะแต่งตั้งบุตร เพื่อเป็นการดำรงไว้ซึ่งข้อพิสูจน์ และหลักฐานสำหรับประชาชาติ ในบทนี้เราจะกล่าวถึงข้อบัญญัติที่มีการระบุถึงการแต่งตั้งท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ) โดยท่านอิมามศอดิก(อฺ) ผู้เป็นบิดา

ข้อบัญญัติที่ ๑.

ท่านมุฮัมมัด บินวะลีด(ร.ฎ.)ได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าได้ยินท่านอฺะลี บินญะอฺฟัร บินมุฮัมมัดกล่าวว่า : ฉันได้ยินบิดาของฉัน กล่าวเป็นการส่วนตัวต่อบุคคลกลุ่มหนึ่งว่า

“ฉันจะขอสั่งเสียเรื่องทายาทไว้กับมูซา บุตรชายของฉัน เพราะเขาคือบุตรที่ประเสริฐที่สุดของฉัน และเป็นผู้ดำรงตำแหน่งสืบต่อภายหลังจากฉัน เขาคือผู้จะมาดำรงตำแหน่งของฉัน และจะเป็นข้อพิสูจน์หนึ่งของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ต่อบรรดามวลมนุษย์ทั้งหลาย ภายหลังจากฉัน”(๑)

๑๑

ข้อบัญญัติที่ ๒.

ท่านอีซา บินอับดุลลอฮฺ(ร.ฎ.)ได้ถามท่านอิมามศอดิก(อฺ)ว่า :

“ถ้ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นแก่ท่าน แล้วใครจะเป็นอิมามต่อไป ?”

ปรากฏว่า ท่านอิมามศอดิก(อฺ)ได้ชี้มือไปที่ท่านมูซา(อฺ) แล้วเขาก็ถามท่านอิมามศอดิก(อฺ)ต่อไปอีกว่า

“แล้วถ้ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นกับท่านมูซาอีกเล่า ใครจะเป็นอิมามต่อไป ?”

ท่าน(อฺ) กล่าวว่า

“บุตรชายของเขา”(๒)

ข้อบัญญัติที่ ๓.

ท่านฟัยฎฺ บินมุคตารฺ(ร.ฎ.)กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าเคยพูดกับท่านอิมามศอดิก(อฺ)ว่า

“โปรดช่วยฉุดมือของข้าพเจ้าให้พ้นจากนรกด้วยเถิด ใครจะเป็นอิมามของเราภายหลังจากท่าน ?”

อ้างอิง

(๑) อัล-อิรชาด หน้า ๓๑๐.

(๒) อิษบาตุลฮุดา เล่ม ๕ หน้า ๔๖๘.

๑๒

ครั้นแล้วท่านอะบูอิบรอฮีม(อิมามมูซา)(อฺ) ได้เข้ามาหาท่าน(อฺ) ซึ่งตอนนั้นยังเป็นเด็กอยู่

ท่าน(อฺ)จึงกล่าวว่า

“นี่แหละคืออิมามของพวกท่าน ดังนั้นจงยึดมั่นต่อเขาเถิด”(๓)

ข้อบัญญัติที่ ๔.

ท่านอิมามศอดิก(อฺ)กล่าวว่า

“มูซาบุตรของฉัน คืออิมามภายหลังจากฉัน”(๔)

ข้อบัญญัติที่ ๕.

ท่านซุลัยมาน บินคอลิด(ร.ฎ.)กล่าวว่า

วันหนึ่งท่านอิมามศอดิก(อฺ)ได้เรียกท่านอิมามมูซา(อฺ)มาในขณะที่พวกเราอยู่กับท่าน(อฺ)

ท่าน(อฺ)กล่าวกับพวกเราว่า

“พวกท่านต้องยึดถือคน ๆ นี้ ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ เขาคืออิมามของพวกท่านภายหลังจากฉัน”(๕)

อ้างอิง

(๓) อิษบาตุลฮุดา เล่ม ๕ หน้า ๔๖๘.

(๔) อิษบาตุลฮุดา เล่ม ๕ หน้า ๔๙๓.

(๕) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ ๔ ก๊อฟ เล่ม ๓ หน้า ๑๔

๑๓

อิบาดะฮฺ :รูปจำลองแห่งการภักดีของอิมามกาซิม(อฺ)

เมื่อกล่าวถึงบรรดาอิมาม(อฺ)แห่งอะฮฺลุลบัยตฺ ก็ทำให้นึกไปถึงวิชาการอันมากมายมหาศาล

การทำอิบาดะฮฺอย่างต่อเนื่อง การวิงวอนขอดุอาอ์ การบริจาคอันมากมาย จริยธรรมอันสูงส่ง ความบริสุทธิ์ผุดผ่อง การอภัยต่อคนที่ทำบาป

และทำความผิดพลาด เพราะท่านเหล่านี้คือผู้มีเกียรติ มีบารมีที่ดีงามเป็นอาภรณ์ประดับเรือนร่าง

ในบทนี้จะกล่าวถึงเรื่องการทำอิบาดะฮฺของท่านอิมามมูซากาซิม(อฺ) บุตรของอิมามญะอฺฟัร(อฺ)ซึ่งมีฉายานามเป็นที่ประจักษ์ด้วยการทำอิบาดะฮฺ กล่าวคือเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่า

‘ซัยนุลมุจญ์ตะฮิดีน’(เครื่องประดับของบรรดาผู้พากเพียร)

‘อัล-อับดุศศอลิฮฺ’(บ่าวผู้มีคุณธรรมสูง)

‘อัน-นัฟซุซซะกียะฮฺ’(ผู้มีดวงจิตอันใสสะอาด)

‘อัศ-ศอบิร’(ผู้อดทน)

และยังมีฉายานามอื่น ๆ อีกมากมายอันแสดงถึงลักษณะอันบริสุทธิ์ของท่าน(อฺ)

นักประวัติศาสตร์มิได้กล่าวถึงผู้ถูกจำคุกคนใดนอกจากท่านอิมามมูซา(อฺ)ที่ว่า ท่าน(อฺ)ได้ขอบพระคุณต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ในการที่ประสงค์ให้โอกาสแก่ท่าน(อฺ)ทำอิบาดะฮฺตลอดเวลาที่อยู่ในกำแพงคุก โดยท่าน(อฺ)ถือว่า สิ่งนี้คือความโปรดปรานอย่างหนึ่ง และควรแก่การได้ขอบพระคุณ

๑๔

ท่านอิบนุศิบาฆ อัล-มาลิกีได้กล่าวว่า :

“ท่านอีซา บิน ญะอฺฟัรได้ยินคำวิงวอนของอิมามมูซาในคุกมีใจความว่า

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงพระองค์ทรงรู้ว่าข้าพระองค์ได้ขอจากพระองค์ให้ข้าฯมีเวลาว่างเพื่อทำการอิบาดะฮฺต่อพระองค์ บัดนี้พระองค์ทรงประทานให้แล้ว ขอการสรรเสริญพึงมีแด่พระองค์”(๑)

ในบทนี้จะกล่าวถึงเรื่องราวบางประการเกี่ยวกับการทำอิบาดะฮฺของท่านอิมามมูซา บิน ญะอฺฟัร(อฺ)

-๑-

ครั้งหนึ่งท่านอิมามมูซา(อฺ)ได้เข้าไปในมัสญิดของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ที่เมืองมะดีนะฮฺ ท่าน(อฺ)ได้ทำการซุญูดในตอนหัวค่ำ มีคนได้ยินคำกล่าวของท่าน(อฺ)ในตอนซุญูดว่า

“ความผิดอันยิ่งใหญ่อยู่ในตัวของข้าฯ ดังนั้นโปรดมอบการอภัยที่ดีงามจากพระองค์ให้ด้วยเถิด

โอ้... ผู้ทรงเป็นเจ้าของอัต-ตักวา

โอ้... ผู้ทรงเป็นเจ้าของการอภัย”

ท่านอิมาม(อฺ)กล่าวอย่างนั้นจนถึงยามรุ่งอรุณ(๒)

อ้างอิง

(๑) อัล-ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า ๒๒๒.

(๒) ตารีคบัฆดาด เล่ม ๑๓ หน้า ๒๗.

๑๕

-๒-

ท่านอะบูฮะนีฟะฮฺ(ร.ฮ.)ได้เข้าพบท่านอิมามญะอฺฟัร ศอดิก(อฺ) แล้วกล่าวว่า

 “ข้าพเจ้าเห็นมูซา บุตรของท่าน นมาซในขณะที่ประชาชนเดินผ่านไปมาข้างหน้า”

ท่านอิมามศอดิก(อฺ)จึงเรียกท่านอิมามมูซา(อฺ)เข้ามาหา แล้วกล่าวถึงเรื่องนี้

ท่านอิมามมูซา(อฺ)ได้ตอบว่า

“ใช่แล้ว ท่านพ่อ แท้จริงผู้ที่ฉันนมาซให้นั้น พระองค์ทรงอยู่ใกล้ชิดต่อฉันยิ่งกว่าเขาเหล่านั้น

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการว่า :

“และเราอยู่ใกล้ชิดเขายิ่งกว่าเส้นเลือดที่คอหอยของเขาเสียอีก”

(ก็อฟ: ๑๖)

ท่านอิมามศอดิก(อฺ)ดึงตัวมูซา(อฺ)บุตรของท่าน(อฺ)มากอด แล้วกล่าว พรรณนาสรรเสริญต่อพระผู้เป็นเจ้าในความปราดเปรื่องของท่าน(อฺ)

-๓-

ท่านอิมามมูซา(อฺ)เคยทำนมาซนะวาฟิลตลอดทั้งคืน แล้วติดตามด้วยนมาซศุบฮฺ หลังจากนั้นก็นั่งอ่านคำวิงวอนต่าง ๆ จนดวงอาทิตย์ขึ้น แล้วทรุดตัวลงซุญูดต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ขอดุอาอ์สรรเสริญพระองค์โดยไม่ยกศีรษะขึ้นเลยจนดวงอาทิตย์เกือบบ่ายคล้อยและดุอาอ์ที่ท่าน(อฺ)ขอมากที่สุดคือ

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงข้าพระองค์ขอความสะดวกสบายในยามตาย และขอการอภัยในยามตัดสิน”

๑๖

ท่าน(อฺ)กล่าวซ้ำ ๆ อยู่อย่างนี้(๓)

-๔-

ท่านฮิชาม บินอะฮฺมัร(ร.ฎ.)ได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าเคยเดินทางพร้อมกับท่านอะบุลฮะซัน(อฺ)ในเส้นทางแห่งหนึ่งที่ไปยังมะดีนะฮฺ เมื่อท่าน(อฺ)ย่างเท้าลงบนพื้น ท่าน(อฺ)จะก้มซุญูดเป็นเวลานาน ต่อจากนั้นท่าน(อฺ)ได้ขึ้นพาหนะแล้วเดินทางต่อไป

ข้าพเจ้าถามท่าน(อฺ)ว่า

“ทำไมจึงได้ซุญูดนานเหลือเกิน ?”

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“แท้จริง ฉันนั้นรำลึกถึงความโปรดปรานที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประทานให้ ดังนั้นฉันจึงทำการขอบคุณพระองค์”(๔)

-๕-

ท่านอิมามมูซา(อฺ)เคยร้องไห้ด้วยความเกรงกลัวต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)จนแก้มของท่านเปียกชุ่มด้วยน้ำตา(๕)

-๖-

ท่านอฺะลี บินญะอฺฟัร(ร.ฎ.) ได้กล่าวว่า

“เราได้ออกเดินทางร่วมกับท่านมูซา บินญะอฺฟัร พี่ชายของฉันไปยังเมืองมักกะฮฺพร้อมกับสมาชิกครอบครัว หลายครั้ง บางครั้ง ๒๖ วัน บางครั้ง ๒๕ วัน” (๖)

(๓) กัชฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า ๒๔๗.

(๔) บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม ๑๑ หน้า ๒๖๖.

(๕) กัชฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า ๒๔๗.

๑๗

-๗-

ท่านอิมามมูซา(อฺ)เป็นคนที่อ่านอัล-กุรอานได้ไพเราะมาก

เมื่อเวลาท่าน(อฺ)อ่าน ผู้ฟังจะเศร้าใจและร้องไห้ และตัวท่าน(อฺ)เองก็ร้องไห้จนเคราของท่าน(อฺ)เปียกชุ่มด้วยน้ำตา(๗)

-๘-

ท่านอิบรอฮีม บินอะบิลบิลาด(ร.ฎ.) ได้กล่าวว่า:

ท่านอะบุลฮะซัน(อิมามมูซา)(อฺ)กล่าวกับข้าพเจ้าว่า

“แท้จริง ฉันขอการอภัยโทษต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทุกวัน ๆ ละ ๕,๐๐๐ ครั้ง” (๘)

-๙-

เมื่อท่านอิมามมูซา(อฺ)มีอายุได้ ๑๐ ปี ท่าน (อฺ) ได้ซุญูดตั้งแต่เวลาดวงอาทิตย์แรกแย้มจนถึงตอนบ่ายคล้อยทุกวัน (๙)

(๖) บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม ๑๑ หน้า ๒๖๒.

(๗) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๓๗๙.

(๘) เล่มเดิม หน้า ๒๖๗.

(๙) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๓๗๙.

-๑๐-

กษัตริย์รอชีดได้ตรวจดูสถานที่คุมขังท่านอิมามมูซา(อฺ)อยู่เป็นประจำ ซึ่งที่นั่นเขาได้เห็นท่านอิมาม(อฺ)ซุญูด เขาได้กล่าวกับคนใกล้ชิดว่า

“ทำไมหรือ ฉันจึงเห็นผ้าผืนนั้นอยู่ที่ตรงนั้นทุกวัน ?

๑๘

คนใกล้ชิดตอบเขาว่า

“นั่นมิใช่ผ้าดอก หากแต่นั่นคือ มูซาบุตรของญะอฺฟัร ทุกวันเขาจะซุญูดตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนบ่ายคล้อย”

ฮารูนกล่าวว่า

“แน่นอน นี่คือผู้บำเพ็ญเพียรคนหนึ่งของบะนีฮาชิม”(๑๐)

-๑๑-

ท่านอะฮฺมัด บินอับดุลลอฮฺ อัล-ฟัรอี(ร.ฎ.) จากบิดาของเขาได้กล่าวว่า : ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าได้เข้าไปพบท่านฟัฎลฺ บินรอบีอฺ ซึ่งเขากำลังนั่งอยู่กลางลานกว้าง เขาพูดกับข้าพเจ้าว่า

“จงดูไปที่บ้านหลังนั้นซิ ท่านเห็นอะไรบ้าง ?”

เมื่อข้าพเจ้าขยับเข้าไปดู เขาก็ถามว่า

“ท่านเห็นอะไรบ้าง ?”

ข้าพเจ้าตอบว่า

“ผ้าผืนหนึ่งถูกทิ้งอยู่”

เขากล่าวว่า

“ดูให้ดี ๆ ซิ”

(๑๐) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ ๔ ก็อฟ เล่ม ๓ หน้า ๔๒.

๑๙

ข้าพเจ้าจึงพยายามดูอย่างพินิจพิเคราะห์ จึงกล่าวว่า

“ชายคนหนึ่งกำลังซุญูดอยู่”

เขากล่าวกับข้าพเจ้าอีกว่า

“ท่านรู้จักเขาไหม ?”

ข้าพเจ้าตอบว่า

“ไม่”

เขากล่าวว่า

“นี่แหละคือนายของท่าน”

ข้าพเจ้าถามว่า

“ใครกัน เป็นนายของฉัน”

เขากล่าวว่า

“ท่านจะแกล้งทำเป็นโง่กับฉันหรือ ?”

ข้าพเจ้าตอบว่า

“เรื่องอะไรข้าพเจ้าจะแกล้งทำเป็นโง่ แต่ข้าพเจ้าไม่รู้จริง ๆ ว่า นายของข้าพเจ้าคือใคร ?”

๒๐

เขากล่าวว่า

“นี่คืออะบุลฮะซัน(มูซา บินญะอฺฟัร) แท้จริงฉันห่างเขาเป็นวันเป็นคืน แต่พอพบเห็นเขาครั้งใดเขาก็จะอยู่ในท่าที่ฉันบอกให้ท่านดู นี่แหละแท้จริงเขานมาซตั้งแต่รุ่งอรุณ หลังจากนมาซเสร็จเขาก็อ่านคำวิงวอนไปจนดวงอาทิตย์ขึ้น ต่อจากนั้น เขาก็จะซุญูดเป็นเวลานานติดต่อไปจนถึงยามบ่าย...”

วิถีชีวิต :อันควรสรรเสริญของอิมามที่ 7

ต่อไปนี้จะเป็นการกล่าวถึงวิถีชีวิตโดยย่อของท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ) บุตรของอิมามญะอฺฟัร(อฺ)ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องราวที่มีเกียรติ และเป็นจริยธรรมที่น่าสรรเสริญ ซึ่งในปัจจุบันนี้ เราจำเป็นจะต้องอาศัยแบบฉบับเหล่านี้มาเป็นทางนำ เพื่อเราจะได้เข้าถึงสัจธรรมอันเป็นจุดหมายปลายทางได้อย่างถ่องแท้ อันหมายถึงความดีงามและความผาสุก จึงควรย้อนกลับไปหาอดีตอันไพโรจน์ของเรา

เราจะกล่าวถึงเรื่องราวบางส่วนเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของท่านอิมาม

มูซา กาซิม(อฺ)ดังนี้

---1---

ครั้งหนึ่ง มีชายคนหนึ่งในเมืองมะดีนะฮฺรังแกท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ) อยู่เป็นประจำ เขาจะด่าท่าน(อฺ)ทันทีที่ได้พบเห็น และยังได้กล่าววาจาหมิ่นประมาทไปถึงท่านอะลี(อฺ)ด้วย สหายของท่าน(อฺ)ได้กล่าวกับท่าน(อฺ)ว่า

“ขอได้อนุญาตให้เราได้ฆ่าคนชั่วร้ายผู้นี้เสียเถิด”

๒๑

ปรากฏว่า ท่านอิมามมูซา(อฺ)ได้ยับยั้งคนเหล่านั้นมิให้กระทำและท่าน(อฺ)ยังได้ห้ามคนเหล่านั้นอย่างรุนแรง ท่าน(อฺ)ได้ถามถึงชายคนนั้น มีคนบอกท่าน(อฺ)ว่า ชายคนนั้นอยู่ที่แปลงเพาะปลูก ท่าน(อฺ)จึงออกไปหาชายคนนั้น และเข้าไปยังแปลงเพาะปลูกดังกล่าว ด้วยลาน้อยตัวหนึ่งของท่าน(อฺ)เป็นพาหนะ ชายคนนั้นร้องเสียงหลงเพื่อมิให้ท่าน(อฺ)เหยียบย่างลงในแปลงเพาะปลูกของตน แต่ท่านอิมามกาซิม(อฺ)ก็นำลาน้อยของท่าน(อฺ)เข้าไปในแปลงเพาะปลูกจนถึงตัวชายคนนั้น

แล้วท่าน(อฺ)ก็ลงจากหลังลาและได้เข้าไปนั่งข้างชายคนนั้น พลางยื่นมือออกไปหาด้วยอาการยิ้มแย้ม

และถามว่า

“ท่านจะปรับค่าเหยียบแปลงเพาะปลูกของท่านเท่าไหร่ ?”

ชายคนนั้นตอบว่า

“100 ดีนารฺ”

อิมาม(อฺ)ถามต่อว่า

“แล้วท่านต้องการรายได้ผลผลิตมันอีกเท่าไหร่ ?”

ชายคนนั้นตอบว่า

“ฉันไม่รู้ในสิ่งเร้นลับ”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ฉันหมายถึงว่า ท่านต้องการที่จะได้สักเท่าไหร่ ?”

ชายคนนั้นตอบว่า

“ฉันต้องการขายผลผลิตให้ได้ 200 ดีนารฺ”

๒๒

ดังนั้นท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)จึงได้หยิบเงินออกมามอบให้จำนวน 300 ดีนารฺ แล้วกล่าวว่า

“นี่คือค่าพืชไร่ของท่าน ตามสภาพของมัน อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประทานให้ตามที่ท่านประสงค์”

ชายคนนั้นได้ลุกขึ้น แล้วจูบตรงศีรษะของท่านอิมามมูซา(อฺ) ท่านอิมาม(อฺ)ยิ้มและผินหลังกลับไปยังมัสญิด ต่อมาท่าน(อฺ)ก็ได้พบกับชายคนนั้นนั่งอยู่ในมัสญิด เมื่อชายคนนั้นมองเห็นท่าน(อฺ) เขาได้กล่าวว่า

“อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงรอบรู้ว่าจะทรงบันดาลกิจการเกี่ยวกับคำสอนของพระองค์ไว้ ณ ที่ใด”

มีสหายของท่านอิมาม(อฺ)รีบรุดเข้าไปถาม

“อะไรกัน แต่ก่อนท่านไม่เคยพูดเช่นนี้ ?”

เขากล่าวว่า

“ท่านก็ได้ยินสิ่งที่ข้าพเจ้าพูดในตอนนี้แล้ว”

ครั้นเมื่อท่านอะบุลฮะซัน(อิมามมูซา)(อฺ)กลับไปถึงบ้าน ท่าน(อฺ) ได้กล่าวกับสหายของท่าน คนที่แนะนำให้ฆ่าชายคนนั้นว่า

“พวกท่านเห็นแล้วใช่ไหม ว่าฉันแก้ไขสภาพของเขาได้โดยไม่ต้องทำร้ายเขาเลย”(1)

๒๓

---2---

ท่านอิมามมูซา(อฺ)เดินผ่านชาวซูดานคนหนึ่ง ท่าน(อฺ)ได้หยุดสนทนาด้วยเป็นเวลานาน จากนั้นท่าน(อฺ)ได้เสนอตัวทำงานให้ชายคนนั้น ถ้าเขาต้องการ

ชายคนหนึ่งกล่าวกับท่าน(อฺ)ว่า

“โอ้ บุตรแห่งท่านศาสนทูต(ศ) ท่านลงไปหาชายคนนี้ แล้วถามถึงความต้องการของเขา เขาเป็นคนสำคัญของท่านกระนั้นหรือ ?”

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ตอบว่า

“บ่าวคนหนึ่งจากปวงบ่าวของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) พี่น้องคนหนึ่งตามบัญญัติแห่งคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และญาติคนหนึ่งในแผ่นดินของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) พระองค์ทรงนำเขากับเราเข้ามาอยู่ในฐานะลูกหลานของอาดัม(อฺ)ด้วยกัน และศาสนาที่ดีที่สุดคือ ‘อัล-อิสลาม’ หวังว่าในอนาคตกาลเขาอาจกลับมาเป็นผู้หนึ่งที่เราต้องการก็ได้ เราจึงเห็นว่าจะต้องนอบน้อมต่อเขา”

แล้วท่าน(อฺ)ก็กล่าวเป็นรำพันว่า

“เราจะสัมพันธ์กับคนที่ไม่สัมพันธ์กับเรา เพราะเรากลัวว่า เราจะอยู่ในสภาพที่ไร้เพื่อนในวันหนึ่ง”(2)

(1) กัชฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า 247, ตารีคบัฆดาด เล่ม 13 หน้า 29.

(2) ตะฮัฟฟุล-อุกูล หน้า 305.

๒๔

---3---

ฮารูน ร่อชีดได้ไปทำฮัจญ์ แล้วเข้าเยี่ยมสุสานของท่านนบีมุฮัมมัด(ศ) รอบๆ ตัวเขามีทั้งชาวกุเรชและชนเผ่าต่าง ๆ และมีท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)รวมอยู่ด้วย ครั้นพอไปถึงยังสุสาน ฮารูนรอชีด ได้กล่าวว่า

“ขอความสันติสุขพึงมีแต่ท่านร่อซูลุลลอฮฺ(ศ)ผู้เป็นบุตรของตระกูลฝ่ายลุงของฉัน”

อันเป็นการแสดงออกถึงความภาคภูมิใจต่อหน้าคนรอบข้าง ทันใดนั้นท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ได้ขยับเข้ามาใกล้ แล้วกล่าวว่า

“ขอความสันติสุขพึงมีแด่ท่าน โอ้ บิดาของข้าพเจ้า”

ปรากฏว่าสีหน้าของรอชีดเปลี่ยนไป และเขาก็กล่าวว่า

“ช่างภาคภูมิใจเสียเหลือเกินนะ ท่านอะบุลฮะซัน”(3)

---4---

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)เคยปล่อยทาสให้เป็นไทจำนวน 1,000 คน (4)

---5---

รายงานจากท่านฮะซัน บินอฺะบี บินฮัมซะฮฺ จากบิดาของเขากล่าวว่า : ข้าพเจ้าเคยเห็นท่านอะบุลฮะซันทำงานหนัก จนกระทั่งเหงื่อโทรมถึงตาตุ่ม

(3) ตารีค บัฆดาด เล่ม 13 หน้า 31.

(4) ฮะยาตุ้ล-อิมามมูซา บินญะอฺฟัร เล่ม 1 หน้า 89.

๒๕

ข้าพเจ้าเลยกล่าวว่า

“ตัวของฉันขอพลีให้แก่ท่าน”

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“อะลีเอ๋ย ผู้ที่ประเสริฐยิ่งกว่าฉันในโลกนี้ และดียิ่งกว่าพ่อของฉัน ก็ยังเคยทำงานด้วยมือของเขาเอง”

ข้าพเจ้าถามว่า

“ใครกันเล่า”

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“ก็รอซูลุลลอฮฺ(ศ) ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ) และบรรพบุรุษของฉัน(อฺ)ไง เขาเหล่านั้นทำงานด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเองทั้งนั้น มันคือการงานของบรรดาอัมบิยาอ์ ศาสนทูตและผู้ทรงคุณธรรมทั้งหลาย”(5)

---6---

รายงานจากมุอฺตับ กล่าวว่า : ท่านอะบุลฮะซัน(อฺ)ได้สั่งพวกเราว่า เมื่อผลผลิตออกแล้ว ให้เก็บมันมาขาย แลกเปลี่ยนในหมู่มุสลิมวันต่อวัน(6)

---7---

วันหนึ่ง ยะฮฺยา บินคอลิดได้กล่าวกับสหายบางคนของเขาว่า :

“พวกท่านจะไม่แนะนำชายคนหนึ่งที่มาจากตระกูลอะบูฏอลิบ ที่มีความเป็นอยู่ไม่ใคร่จะดีนักแก่ฉันบ้างหรือ เพื่อที่เขาจะได้เสนอแก่ฉันในสิ่งที่เขามีความต้องการ”

(5) บิฮารุ้ล-อันวารฺ เล่ม 11 หน้า 266.

(6) อ้างเล่มเดิม หน้า 267.

๒๖

(จากคำพูดดังกล่าวเขาต้องการที่จะบอกเรื่องราวของท่านกาซิม (อฺ) นั่นเอง)

เพื่อนของเขาได้เสนอชื่อท่านอะลี บินอิซมาอีล บินญะอฺฟัร บินมุฮัมมัดแก่เขา ยะฮฺยา บินคอลิดก็เลยมอบทรัพย์สินให้แก่เขา ส่วนท่านมูซา(อฺ)นั้นมีความรู้สึกผูกพันอยู่กับเขา ฉันท์ญาติสนิทและบางทีก็เปิดเผยความลับที่มีกับเขาด้วย มีคนเขียนจดหมายไปบอกเขาถึงเรื่องดังกล่าว

 เมื่อท่านมูซา(อฺ)รู้สึกเช่นนั้น ท่าน(อฺ)ได้เรียกเขามาแล้วถามว่า

“ท่านจะไปไหนหรือ”

เขากล่าวตอบ

“ไปแบกแดด”

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“เกิดอะไรขึ้น”

เขาตอบ

“ฉันมีหนี้สิน”

ท่าน(อฺ)จึงกล่าวอีกว่า

“ฉันจะชดใช้ให้เอง”

แต่เขาก็ไม่ได้สนใจ แล้วท่าน(อฺ)ก็ได้กล่าวกับเขาว่า

“ดูก่อน อย่าได้ทำให้ลูก ๆ ของฉันต้องทนทุกข์เลย”

ท่าน(อฺ)ก็สั่งให้คนนำเงินมา 300 ดีนารฺกับอีก 4,000 ดิรฮัม เมื่อเขาได้ลุกขึ้นเดินจากไปแล้ว

ท่านอะบุลฮะซัน(มูซา)(อฺ)ได้กล่าวผู้ที่อยู่ ณ ที่นั้นว่า

“วัลลอฮฺ เขาได้เพียรพยายามในเรื่องเลือดของฉัน(อาจจะหมายความถึงการสังหาร) และก็จะทำความยากแค้นให้กับลูกหลานของฉัน”

๒๗

 

พวกที่อยู่ที่นั่นได้กล่าวขึ้นว่า

“ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทำให้พวกเรามอบพลีแก่ท่าน ก็ในเมื่อท่านรู้สภาพของเขาเช่นนั้น ท่านยังมอบสิ่งของ และทำดีกับเขาอีกหรือ ?”

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“ใช่แล้ว บิดาของฉันได้กล่าวแก่ฉัน ตามการบอกเล่ามาจากบรรพบุรุษของท่านจากท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)กล่าวว่า :

“ในเรื่องความสัมพันธ์ทางเครือญาตินั้น เมื่อท่านถูกตัดความสัมพันธ์ก็จงทำให้มันมั่นคงยิ่งขึ้น ดังนั้น ถ้าหากท่านตัดขาดมันอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็จะตัดขาดมันด้วย อันที่จริงฉันนั้นต้องการที่จะเชื่อมสัมพันธ์กับเขา จนกว่าเมื่อเขาได้ตัดสัมพันธ์ฉันแล้ว แล้วอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็จะตัดความสัมพันธ์กับเขา”

คุณธรรมต่อผู้ยากไร้ของอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

คุณสมบัติพิเศษอีกประการหนึ่งของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)คือ การมีคุณธรรมและบำเพ็ญคุณประโยชน์ให้แก่คนทุกชั้น พวกท่าน(อฺ)ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับคนยากจน จนกระทั่งในยามกลางคืน พวกท่าน(อฺ)ถือเป็นประเพณีในการออกไปยังบ้านเรือนของคนจน โดยได้นำอาหารและเงินทองไปแจกจ่าย โดยที่พวกเขาไม่รู้จักท่าน(อฺ)

๒๘

ในบทนี้ เราจะกล่าวถึงเรื่องราว

บางประการเกี่ยวกับท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

.....1.....

ท่านอิมามมูซา(อฺ)จะหลบไปหาคนยากจนเข็ญใจในเมืองมะดีนะฮฺในยามกลางคืน โดยได้นำอาหาร แป้ง และลูกอินทผลัมไปให้ตามบ้านเรือน โดยที่คนยากจนเหล่านั้นไม่รู้ว่าสิ่งของเหล่านี้มาอยู่ในบ้านของพวกตนได้อย่างไร(!)

....2....

ท่านอิบนุ ศิบาฆ อัล-มาลิกี(ร.ฎ.)กล่าวว่า :

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)เป็นคนที่เคร่งครัดในการทำอิบาดะฮฺมากที่สุดในสมัยของท่าน(อฺ) เป็นคนมีความรู้สูงสุด มีจิตใจเมตตาอารี ท่าน(อฺ)จะหลบไปหาคนยากจนในเมืองมะดีนะฮฺ นำเงินทองและเครื่องยังชีพไปมอบให้ โดยที่คนยากจนเหล่านั้นไม่รู้เลยว่าสิ่งของเหล่านั้นมาจากไหน

พวกเขาไม่รู้ในเรื่องนี้เลยจนกระทั่งท่านอิมาม(อฺ)วะฟาต(เสียชีวิต)(2)

(1) กัชฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า 247. อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ 4 ก็อฟ เล่ม 3 หน้า 11. และอัล-มะนากิบ เล่ม 2 หน้า219.

(2) อัล-ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า 219.

๒๙

....3....

ท่านค่อฏีบ บัฆดาตีกล่าวว่า :

ท่าน(อฺ) เป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ใจดี ครั้งหนึ่งท่านได้ทราบข่าวว่ามีคนเจ็บป่วย ท่านจึงได้จัดส่งห่อเงินซึ่งในนั้นมีเงินอยู่ 1,000 ดีนารฺไปให้เขา (3)

....4....

ท่านมุฮัมมัด บินอับดุลลอฮฺ อัล-บักรีกล่าวว่า :

ข้าพเจ้าได้เดินทางมาเมืองมะดีนะฮฺ ต้องการหยิบยืมเงิน หาจนเหนื่อยอ่อน แล้วพูดกับตัวเองว่า หากข้าพเจ้าได้ไปหาท่านอะบุลฮะซัน(มูซา)(อฺ) แล้วข้าพเจ้าจะบอกเรื่องนี้กับท่าน(อฺ) แล้ว

ข้าพเจ้าก็ได้มาหาท่าน(อฺ)ที่สวนแปลงหนึ่ง เล่าเรื่องราวให้ท่าน(อฺ)ฟัง ท่าน(อฺ)ได้เข้าไปข้างในแล้ว

ไม่นานนัก ก็ออกมาหาข้าพเจ้า แล้วท่าน(อฺ)ก็กล่าวกับคนรับใช้ว่า :

“ไปได้แล้ว”

หลังจากนั้นท่าน(อฺ)ได้ยื่นมือของท่าน(อฺ)ออกมายังฉัน ยกห่อเงินมาให้ซึ่งในนั้นมีเงินอยู่จำนวน 300 ดีนารฺ เสร็จแล้วท่าน (อฺ) ก็ลุกขึ้นยืนแล้วเดินหันหลังจากไป แล้วข้าพเจ้าก็ขึ้นขี่ม้าจากไป (4)

(3) ตารีค บัฆดาด เล่ม 13 หน้า 28.

(4) กัชฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า 247.

๓๐

....5....

ท่านอีซา บินมุฮัมมัด บินมุฆีษ อัล-กุรฏฺบี กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าปลูกแตงโม แตงกวาและลูกน้ำเต้า ในรอบๆ บริเวณแอ่งน้ำแห่งหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า

“อุมมุอิซอม” เมื่อมันใกล้จะออกผลสุกงอม ตั๊กแตนฝูงหนึ่งได้เข้ามาเจาะกินจนหมด ข้าพเจ้านั่งหมดอาลัยตายอยากอยู่ที่สวนแห่งนั้น มูลค่าของมันทั้งหมด ถ้าเก็บได้ก็ประมาณ 120 ดีนารฺ ระหว่างนั้นเองท่านมูซา บินญะอฺฟัร(อฺ)ก็เดินเข้ามา ให้สลามแล้วกล่าวว่า

“เป็นอย่างไรบ้าง”

ข้าพเจ้าตอบว่า

“ข้าพเจ้าหมดตัวแล้ว ตั๊กแตนเข้ามาทำลาย และกัดกินผลไม้ของข้าพเจ้าหมด”

ท่าน(อฺ)ถามว่า

“ท่านสูญเสียไปเท่าไร ?”

ข้าพเจ้าตอบ

“โดยประมาณ 120 ดีนารฺ”

ท่าน(อฺ)กล่าวตอบ

“โอ้ อุรฟะฮฺมอบเงินให้อะบุลมุฆีษไป 150 ดีนารฺ กำไรของมันคงจะประมาณ 30 ดีนารฺ”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

“โอ้ ท่านผู้จำเริญ ได้โปรดเข้ามาข้างในเพื่อให้ความจำเริญแก่สวนของข้าพเจ้าด้วยเถิด”

๓๑

แล้วท่าน(อฺ)ก็ได้เข้าไปข้างในพร้อมทั้งขอดุอาอ์ แล้วได้รายงานคำบอกเล่าของร่อซูลุลลอฮฺ(ศ) ที่กล่าวว่า:

“พวกท่านจงยึดกุมสิ่งที่ยังคงเหลืออยู่แห่งภัยพิบัติทั้งมวล”

จากนั้นข้าพเจ้าก็มีความรู้สึกผูกพันกับประโยคดังกล่าว รู้สึกอิ่มเอมไปหมด ดังนั้นอัลลอฮฺ(ซ.บ.) จึงทรงเพิ่มความจำเริญในมัน และทำให้มันเพิ่มพูนขึ้น แล้วอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ก็จะให้มันเพิ่มขึ้นเป็น 10,000 เท่า (5)

....6....

ท่านอิมามมูซา(อฺ)มักจะส่งคืนเงินจากจำนวน 100 ดีนารฺ เป็น 300 ดีนารฺ (6)

....7....

มีคนยากจนคนหนึ่งเข้าไปพบท่านอิมามมูซา(อฺ) แล้วขอความช่วยเหลือ ท่าน(อฺ)ก็มอบให้1,000 ดีนารฺ (7)

....8....

มีคนผิวดำคนหนึ่งได้มอบน้ำผึ้งและกล่องไม้ให้เป็นของขวัญแก่ท่าน

อิมามมูซา(อฺ) ท่าน(อฺ)ก็เลยซื้อเขามา พร้อมทั้งสวน(ที่เขาทำงานอยู่ด้วย) จากนายของเขา แล้วก็ได้ปล่อยเขาเป็นไท อีกทั้งยังมอบสวนนั้นให้แก่เขาด้วย(8)

(5) กัชฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า 243, ตารีค บัฆดาด เล่ม 13 หน้า 29.

(6) อัล-มะนากิบ เล่ม 2 หน้า 379.

(7) ฮะยาตุ้ล-อิมามมูซา บินญะอฺฟัร เล่ม 1 หน้า 96.

(8) ตารีค บัฆดาด เล่ม 13 หน้า 30.

๓๒

มรดกอิสลามอันอมตะจากคำสั่งเสียของอิมามที่ 7

ในหนังสือฮะดีษและหนังสือประวัติศาสตร์หลายเล่ม มีคำสั่งเสียของท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ) บันทึกไว้เป็นจำนวนมาก

 ท่าน(อฺ)ได้สั่งเสียบุตรหลานและบรรดาชีอะฮฺของท่าน(อฺ) คำสั่งเสียเหล่านั้นถือได้ว่าเป็นมรดกอันอมตะของศาสนาอิสลาม ที่ช่วยเสริมสร้างและจรรโลงคุณธรรม จริยธรรม และระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ และเป็นปัจจัยสำคัญของบรรดามุสลิมในยุคปัจจุบัน ในอันที่จะต้องนำมายึดถือ เพื่อนำสังคมของตนกลับสู่ความรุ่งโรจน์อย่างที่เคยมีมาในอดีต

ในบทนี้เราจะกล่าวถึงเรื่องราวที่เป็นคำสั่งเสียบางส่วนของท่านอิมาม

มูซา กาซิม(อฺ)ดังนี้

คำสั่งเสียที่ 1ต่อบุตรของอิมามที่ 7

คำสั่งเสียของท่านอิมามมูซา(อฺ)ที่มีต่อบุตรของท่าน(อฺ)

“โอ้ ลูกเอ๋ย จงระวังไว้ว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเห็นเจ้ากระทำความบาปที่พระองค์ทรงห้ามเจ้าและจงระวังไว้ว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงไม่ให้โอกาสแก่เจ้า เพื่อทำตามคำสั่งของพระองค์ที่มีต่อเจ้า

๓๓

ขอให้เจ้าทำงานอย่างจริงจัง จงอย่าท้อถอยออกจากการเคารพภักดีและเชื่อฟังอัลลอฮฺ(ซ.บ.) แม้แต่เพียงเล็กน้อย จงระวังในเรื่องการหยอกล้อ เพราะมันจะขจัดแสงสว่างแห่งความศรัทธาออกไปจากเจ้า และจะทำให้บุคลิกภาพของเจ้าลดหย่อนลง จงระวังในเรื่องความเกียจคร้าน เพราะมันจะทำให้เจ้าอับโชคทั้งในโลกนี้และโลกหน้า”(1)

(1) บิฮารุ้ล-อันวารฺ เล่ม 17 หน้า 203.

คำสั่งเสียที่ 2 ต่อบรรดาชีอะฮฺของอิมามที่ 7

คำสั่งเสียที่ท่านอิมามมูซา บินญะอฺฟัร(อฺ)ให้ไว้กับบรรดาชีอะฮฺของท่าน(อฺ)

“จงเกรงกลัวอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และจงพูดความจริง ถึงแม้ว่าจะทำให้ท่านเสียหายก็ตาม เพราะในความจริงนั้นจะทำให้ท่านปลอดภัย

จงยำเกรงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และจงละวางสิ่งที่เป็นความผิด ถึงแม้ว่าจะทำให้ท่านปลอดภัยก็ตาม เพราะในสิ่งผิดนั้นจะทำให้ท่านเสียหาย”(2)

๓๔

คำสั่งเสียที่ 3 ต่อบรรดาชีอะฮฺของอิมามที่ 7

คำสั่งเสียที่ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ให้ไว้กับบรรดาชีอะฮฺของท่าน(อฺ)

“จงรับโชคลาภจากโลกนี้เพื่อตัวของพวกท่านที่เป็นของดีๆ อันได้รับอนุญาต และของที่ไม่ทำลายบุคลิกภาพ และของที่ไม่ทำให้ฟุ่มเฟือย และจงให้ความช่วยเหลือในกิจการงานศาสนา คนใดก็ตามที่ทิ้งโลกนี้เพราะศาสนา หรือทิ้งศาสนาเพราะโลกนี้ ย่อมใช่พวกเราไม่”(3)

(2) ตะฮัฟฟุล-อุกูล หน้า 301.

(3) เมาซูอะตุ้ล-อะตะบาติล-มุก็อดดะซะฮฺ หน้า 217.

คำสั่งเสียที่ 4 ต่อบรรดาชีอะฮฺของอิมามที่ 7

คำสั่งเสียที่ท่านอิมามที่ 7 ให้ไว้กับบรรดาชีอะฮฺของท่าน (อฺ)

“พวกท่านจงหาความรู้ทางศาสนา เพราะความรู้ทางศาสนาเป็นกุญแจไขความประจักษ์แจ้งและทำให้การอิบาดะฮฺสมบูรณ์ อีกทั้งเป็นที่มาของตำแหน่งอันสูงส่ง และจะนำไปสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ทั้งในด้านศาสนาและทางโลก เกียรติของคนมีความรู้ทางศาสนา ย่อมเหนือกว่าผู้ทำการอิบาดะฮฺอย่างเดียว ดุจดังดวงอาทิตย์ที่มีแสงเหนือกว่าดวงดาว และผู้ใดก็ตามที่ไม่มีความรู้ในศาสนาของตน อัลลอฮฺ(ซ.บ.) จะไม่ทรงโปรดปรานผลงานใด ๆ ของเขาเลย”(4)

(4) บิฮารุ้ล-อันวารฺ เล่ม 17 หน้า 203.

๓๕

คำสั่งเสียที่ 5ต่อฮิชาม บินฮะกัม (ร.ฎ.) ของอิมามที่ 7

คำสั่งเสียของท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ที่มีแก่ท่านฮิชาม บินฮะกัม(ร.ฎ.)ในเรื่อง “สติปัญญา”

ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสนทูต ในขณะที่ชาวอาหรับกำลังบูชาเจว็ด ส่วนชาวเปอร์เซียก็กำลังบูชาไฟ ชาวฮินดูกำลังบูชาโค

 ส่วนชาวยิวเชื่อถือว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีบุตรและชาวคริสต์นั้นเคารพ

พระเจ้า 3 องค์ นั่นคือ พระบุตร พระจิต และพระบิดา

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงอยู่เหนือข้อกล่าวหาเหล่านี้ แน่นอนทีเดียวในยุคนั้นชาวโลกต่างพากันเคารพภักดีสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) จนกระทั่งนักประวัติศาสตร์สามารถบันทึกรายชื่อของบางคนได้เพียงจำนวนน้อยเท่านั้น ที่เป็นผู้ปฏิเสธการเคารพภักดีสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

 เช่น ท่านญะอฺฟัร บินอะบีฏอลิบ(ร.ฎ.)

ท่านอะบูซัร(ร.ฎ.) ท่านกิซ บินซาอิดะฮฺ และท่านวะรอเกาะฮฺ บินเนาฟัล

แน่นอนที่สุดความเป็นมนุษย์ได้กีดกันสติปัญญามิให้เห็นชอบไปกับการเคารพภักดีสิ่งอื่น

นอกจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) กล่าวคือ สติปัญญาอันบริสุทธิ์ย่อมปฏิเสธการบูชาสิ่งต่างๆ เหล่านั้น

๓๖

ศาสนาอิสลามได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในด้านส่งเสริมสติปัญญา

ขัดเกลาและยกระดับสติปัญญา ดังจะเห็นได้ว่า ในอัล-กุรอานมีหลายโองการที่กล่าวว่า :

“แท้จริง ในเรื่องเหล่านี้เป็นสัญญาณสำหรับหมู่ชนที่ใช้สติปัญญา”

(อัร-เราะอฺด์: 4)

“แน่นอน เราได้อธิบายสัญญาณต่างๆ ให้แก่สูเจ้าเพื่อสูเจ้าจะได้ใช้สติปัญญา”(อัล-ฮะดีด : 17)

และอัล-กุรอานยังได้สนับสนุนให้เขาเหล่านั้นยกระดับตัวเองขึ้นสู่โลกแห่งจิตวิญญาณอันสูงส่งอีกด้วย ดังโองการที่ว่า :

“และเขาเหล่านั้นคิดใคร่ครวญในงานสร้างสรรค์ชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินว่า โอ้พระผู้อภิบาลของเรา พระองค์มิได้ทรงสร้างสิ่งเหล่านี้มาอย่างไร้ความหมาย”(อาลิอิมรอน : 191)

ฮะดีษที่รายงานโดยท่านอิบนุชุอฺบะฮฺ จากท่านศาสนทูต(ศ)บทหนึ่ง อาจจะทำให้ท่านผู้อ่านเห็นภาพที่ชัดเจนอีกภาพหนึ่งในเรื่องการให้ความสำคัญต่อสติปัญญา ดังต่อไปนี้

คนกลุ่มหนึ่งได้ให้การยกย่องบุคคลหนึ่งในแง่ของคุณงามความดีด้านต่างๆ ทั้งหมด แต่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ถามว่า

“สติปัญญาของคนเหล่านั้นเป็นอย่างไร ?”

๓๗

เขาเหล่านั้นกล่าวว่า

“โอ้ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) เราแจ้งให้ท่านทราบในเรื่องของเขาเกี่ยวกับความสามารถสูงสุดของเขาในด้านการอิบาดะฮฺ และความดีงามประการต่าง ๆ แต่ท่านกลับมาถามเราในเรื่องสติปัญญาของเขา”

ท่านศาสนทูต(ศ)ตอบว่า

“แท้จริง คนที่โง่เขลาที่สุดนั้นจะประสบกับความเลวร้ายด้วยความโง่เขลาของเขาเองยิ่งกว่าคนชั่วที่ทำความชั่ว อันที่จริงแล้วการเคารพภักดีที่สมควรได้รับการยกย่อง และที่บรรลุถึงความพอพระทัยแห่งพระผู้อภิบาลนั้นขึ้นอยู่กับสติปัญญาของพวกเขาเหล่านั้นด้วย”

มีฮะดีษอีกเป็นจำนวนมากที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ) ในเรื่องของ “สติปัญญา” ในบทนี้

เราจะได้บันทึกถ้อยคำของท่านอิมามมูซากาซิม(อฺ)ที่ได้ให้ไว้แก่ท่าน

ฮิชาม บินฮะกัม(ร.ฎ.)ในเรื่องนี้

ท่านฮิชาม บินฮะกัม(ร.ฎ.)ได้เล่าว่า : ท่านอิมามมูซา บินญะอฺฟัร

อัล-กาซิม(อฺ) ได้กล่าวแก่ข้าพเจ้าว่า

“ฮิชามเอ๋ย แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงแจ้งข่าวดีแก่ผู้มีสติปัญญาและเข้าใจในคัมภีร์ของพระองค์ว่า :

“ดังนั้น จงแจ้งข่าวดีแก่ปวงบ่าวของข้าที่รับฟังคำสอน แล้วปฏิบัติตามอย่างดี เขาเหล่านั้นคือผู้ที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงชี้นำพวกเขา และเขาเหล่านั้น คือปวงผู้มีสติปัญญาอันเลิศ”(อัซ-ซุมัร : 18)

๓๘

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงให้หลักฐานอันสมบูรณ์ด้วยกับสติปัญญามายังมนุษยชาติแล้ว และทรงสนับสนุนบรรดานบีด้วยคำอธิบายอันชัดแจ้ง และทรงแนะนำเขาเหล่านั้นให้มีความรู้เกี่ยวกับพระผู้อภิบาลด้วยหลักฐานอันชัดแจ้ง

ดังที่พระองค์ทรงมีโองการว่า :

“และพระผู้เป็นเจ้าของพวกท่านนั้นคือ พระเจ้าองค์เดียว ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ ผู้ทรงกรุณาปรานีผู้ทรงเมตตายิ่งเป็นนิรันดร์ แท้จริงในงานสร้างสรรค์ชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และการสับเปลี่ยนของกลางคืนกับกลางวัน และเรือที่ล่องลอยอยู่ในทะเลอันอำนวยคุณประโยชน์แก่มนุษย์ และที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประทานน้ำฝนลงมาจากฟากฟ้า แล้วทรงบันดาลให้แผ่นดินมีชีวิตขึ้นมาหลังจากที่มันได้ตาย และทรงแพร่พันธุ์สัตว์ทุกชนิดในแผ่นดิน อีกทั้งทรงกระจัดกระจายสายลมชนิดต่างๆ และก้อนเมฆทั้งหลาย ที่เลื่อนลอยอยู่ระหว่างฟากฟ้าและแผ่นดิน

แน่นอนที่สุด มันเป็นสัญญาณที่ได้ให้ไว้แก่กลุ่มชนที่ใช้สติปัญญา”

(อัล-บะกอเราะฮฺ: 164)

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงกำหนดให้เรื่องเหล่านี้เป็นหลักฐานในการรู้จักพระองค์ในฐานะที่ว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมีผู้ควบคุม

๓๙

ดังที่พระองค์ตรัสว่า :

“และทรงกำหนดควบคุมกลางคืนและกลางวันไว้สำหรับสูเจ้า และดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาวทั้งหลายต่างเป็นสิ่งที่ถูกควบคุมโดยพระบัญชาของพระองค์ แท้จริงในสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณแก่กลุ่มชนที่ใช้สติปัญญา”

(อัน-นะฮฺล์: 12)

พระองค์ตรัสอีกว่า :

“และพระองค์คือผู้ซึ่งได้ทรงสร้างสูเจ้ามาจากดิน ต่อจากนั้นก็ทรงบันดาลให้เป็นน้ำเชื้อต่อจากนั้นก็ทรงบันดาลให้เป็นก้อนเลือด ต่อจากนั้นก็ทรงบันดาลให้สูเจ้าคลอดออกมาเป็นทารก ต่อจากนั้นก็ทำให้สูเจ้าเจริญวัย ต่อจากนั้นก็ทำให้สูเจ้าเป็นคนชรา และมีบางคนที่ถึงแก่ชีวิตไปก่อน

และมีบางคนที่มีอายุจนถึงเวลาที่กำหนดเพื่อสูเจ้าทั้งหลายจะได้ใช้สติปัญญา”(ฆอฟิร : 67)

พระองค์ตรัสอีกว่า :

“การสลับเปลี่ยนกลางคืนกับกลางวัน และปัจจัยยังชีพที่อัลลอฮฺทรงประทานลงมาจากฟากฟ้า แล้วพระองค์ทรงทำให้แผ่นดินมีชีวิตขึ้นมา หลังจากที่มันได้ตายไปแล้ว และทรงกระจัดกระจายกระแสลมทั้งหลาย มันเป็นสัญญาณสำหรับปวงชนที่ใช้สติปัญญา”

(อัล-ญาษิยะฮฺ: 5)

๔๐

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133