ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม28%

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 133

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 133 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 63316 / ดาวน์โหลด: 5544
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“ฉันขอผ่านการตอบคำถามข้อนี้”

เขากล่าวว่า

“ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ในฐานะที่ท่านมิได้บอกเล่าถึงความรู้ที่ท่านมีอยู่

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“ถ้าท่านถึงกับต้องสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ฉันก็จะตอบแท้จริงฉันขอกล่าวว่า คนเหล่านั้นให้คำตอบผิดพลาดจากซุนนะฮฺของท่านศาสดา(ศ) เพราะว่าการตัดมือจำเป็นจะต้องกระทำ

ตรงข้อต่อของนิ้วทั้งหมด แล้วให้ปล่อยฝ่ามือไว้เหมือนเดิม”

เขากล่าวว่า

“อะไรเป็นหลักฐานในเรื่องนี้ ?”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)ตอบว่า

“คำกล่าวของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ที่ว่า

“การซุญูดนั้นจะต้องกระทำโดยอวัยวะ ๗ ส่วน คือ ใบหน้า ฝ่ามือทั้งสอง เข่าทั้งสอง และเท้าทั้งสอง”

ครั้นถ้าหากมือของเขาถูกตัดถึงข้อมือหรือถึงข้อศอก ก็จะไม่มีฝ่ามือเหลือไว้สำหรับทำการซุญูดเลย

๘๑

และอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการไว้ว่า :

“และแท้จริง มัสญิดทั้งหลาย (ในที่นี้หมายถึงตำแหน่งแห่งการซุญูดทั้งหลายนั้น) เป็นของอัลลอฮฺ”

(อัล-ญิน: ๑๘)

หมายความว่า อวัยวะทั้ง ๗ เหล่านี้แหละ คือที่จะต้องทำการซุญูดลงไปและส่วนที่ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั้นจะถูกตัดไม่ได้”

ค่อลีฟะฮฺมุอฺตะศิมมีความประทับใจในคำตอบนี้ และสั่งให้ตัดมือของโจรคนนั้นตรงโคนนิ้วทั้งหมดโดยเว้นฝ่ามือไว้

(อะอฺยานุชชีอะฮฺ เล่ม ๓ หน้า ๓๕)

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๓

ท่านอับดุลอะซีม อัล-ฮะซะนีย์(ขอให้อัลลอฮฺทรงปิติชื่นชมต่อท่าน)ได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าได้เคยพูดกับท่านมุฮัมมัด บินอฺะลี บินมูซา(อฺ)ว่า

“โอ้ นายของข้า แท้จริงข้าพเจ้าปรารถนาที่จะให้ท่านเป็น

อัลกออิมแห่งอะฮฺลุลบัยต์ของท่าน

๘๒

ศาสดามุฮัมมัด(ศ) ผู้ซึ่งจะมาสถาปนาความยุติธรรมและความเที่ยงธรรมในหน้าแผ่นดินเหมือนกับที่มันเคยได้เนืองนองไปด้วยความอธรรมและความเลวร้ายมาก่อน”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)ตอบว่า

“ผู้ที่ยืนหยัดในคำสั่งของอัลลอฮฺและทำการชี้นำสู่ศาสนาของอัลลอฮฺ ก็คือคนในหมู่พวกเรา

แต่ทว่า ‘อัล-กออิม’ (ที่ถูกกล่าวถึง) นั้นคือ ผู้ที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงบัญชาให้เขาชำระล้างหน้าแผ่นดิน

ให้พ้นไปจากการปฏิเสธและการทรยศต่อพระผู้เป็นเจ้

 เขาจะสถาปนาความเที่ยงธรรมและความยุติธรรมในหน้าแผ่นดิน เขาคือคนที่ถือกำเนิดมาในสภาพที่ซ่อนเร้นจากประชาชนและตัวของเขาจะหายไปจากพวกเขาเหล่านั้นเป็นที่ต้องห้ามสำหรับพวกเขาที่จะตั้งชื่อของเขา เขาคือผู้มีฉายานามเดียวกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) นั่นคือ ผู้ซึ่งแผ่นดินจะต้องยอมสยบให้อุปสรรคทุกประการ

จะต้องสลายตัวให้แก่ท่าน จะมีบริวารที่มารายล้อมชุมนุมรอบตัวเขาเท่ากับจำนวนนักรบในสงครามบะดัรคือ ๓๑๓ คน จากทั่วทุกทิศของแผ่นดิน

๘๓

และนั่นคือความหมายที่เป็นไปตามโองการ

ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่ว่า :

“....ไม่ว่าสูเจ้าจะอยู่ที่ใด อัลลอฮฺจะทรงนำสูเจ้าทั้งหมดมารวมกัน แท้จริงอัลลอฮฺทรงมีอำนาจเหนือทุกสิ่ง”

เมื่อจำนวนนี้อันได้แก่พวกที่มีความบริสุทธิ์ใจได้มารวมตัวอยู่กับท่าน อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงบันดาลให้ภารกิจของเขาบังเกิดขึ้น เมื่อนั้นพันธสัญญาของเขาก็จะเสร็จสมบูรณ์ นั่นคือจะมีชายฉกรรจ์ ๑๐, ๐๐๐ คน ออกมาปรากฏโดยการอนุมัติของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ดังนั้นพวกเขาจะไม่หยุดยั้งในการสังหารศัตรูของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) จนกระทั่งพระองค์ทรงพอพระทัย”

(อัล-เอียะฮฺติญาจญ์ เล่ม ๒ หน้า ๒๕๐)

๘๔

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๔

อุมัร บินฟะร็อจญ์ อัน-ร็อคญีได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าได้เคยพูดกับท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)ว่า

“แท้จริงพวกชีอะฮฺของท่านนั้นเคยอ้างว่า ท่านล่วงรู้ถึงนำหนักของน้ำทุกหยดในแม่น้ำในขณะที่พวกเราเองอาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)ตอบข้าพเจ้าว่า

“อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีพระปรีชาสามารถในการที่จะมอบความรู้อย่างนี้ให้แกยุงตัวหนึ่งได้หรือไม่”

ข้าพเจ้าตอบว่า “ใช่แล้ว”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“ฉันเป็นผู้มีเกียรติ ณ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)มากกว่ายุงตัวหนึ่ง และมีเกียรติมากกว่าสรรพสิ่งทั้งหลายอีกเป็นจำนวนมาก”

 (บิฮารุ้ลอันวารฺ เล่ม ๑๒ หน้า ๑๒๔).

๘๕

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๕

ท่านญะอฺฟัร บินมุฮัมมัด บินมะซีด ได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าเคยพำนักที่แบกแดด ท่านมุฮัมมัด บินมุนดะฮฺ ได้กล่าวกับข้าพเจ้าว่า

“จะให้ข้าพเจ้านำท่านไปพบกับท่านมุฮัมมัด บินอฺะลี

อัล-ริฏอหรือไม่”

ข้าพเจ้าบอกว่า “ตกลง”

แล้วเขาได้นำข้าพเจ้าเข้าพบ เมื่อเราได้ให้สลามและนั่งลงแล้วเขาได้กล่าวกับท่าน(อฺ)ว่า

“มีฮะดีษของท่านศาสนทูต(ศ) บทหนึ่งรายงานไว้ว่า :

“แท้จริง ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺนั้น เป็นผู้ได้รับการปกป้องซึ่งอวัยวะของนาง โดยอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงหวงห้ามมิให้เชื้อสายของนางสัมผัสกับไฟนรก

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“มีเฉพาะแต่เพียงสำหรับท่านฮะซันและท่านฮุเซนเท่านั้น”

( อัล-อะอิมมะตุอิษนะอะซัร ของอิบนุเฏาลูน หน้า ๑๐๔)

๘๖

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๖

ท่าอะฮฺมัด บินฟัฏลฺ อัล-คอกอนี ได้กล่าวว่า :

ได้มีการจับตัวผู้ร้ายบุกเข้าปล้นสะดมกองคาราวานของผู้บำเพ็ญฮัจญ์ และได้นำตัวคนเหล่านั้นเข้าพบกับเจ้าเมืองเพื่อพิจารณาโทษต่อจากนั้นเจ้าเมืองได้เขียนจดหมายไปถึงค่อลีฟะฮฺอัล-มุอฺตะศิม ครั้นแล้ว บรรดานักปราชญ์และอิบนุ์ อะบีดาวูด ก็ได้เข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือกัน

หลังจากนั้นคนพวกหนึ่งก็ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับบทบัญญัติ ซึ่งในขณะนั้น ท่านอะบูญะอฺฟัร มุฮัมมัด

บินอฺะลี อัล-ริฏอ ก็ได้อยู่ร่วมด้วยคนเหล่านั้นได้กล่าวว่า

“กฏเกณฑ์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ในเรื่องคนเหล่านั้นมีกล่าวอยู่แล้วในคำตรัสของพระองค์ที่ว่า :

“อันที่จริงแล้ว บทลงโทษสำหรับผู้ที่ทำสงครามกับอัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ และพยายามสร้างความเสียหายขึ้นในหน้าแผ่นดินนั้น จะต้องประหารชีวิตหรือจะต้องถูกตรึงบนไม้กางเขน หรือจะต้องตัดมือเขาเหล่านั้น และเท้าของเขาเหล่านั้น สลับข้างกัน หรือเขา

เหล่านั้นจะต้องถูกเนรเทศออกจากผืนแผ่นดิน...”

(อัล-มาอิดะฮฺ: ๓๓)

๘๗

แต่สำหรับท่านอะมีรุลมุอ์มินีนนั้น จะตัดสินอย่างไรก็สุดแล้วแต่ความประสงค์เถิด”

เขาได้หันไปปรึกษาท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)ว่า

“โปรดบอกให้ข้าพเจ้าได้ทราบถึงความรู้ของท่านในเรื่องนี้เถิด ?”

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“แท้จริงคนเหล่านั้นผิดพลาดในการวินิจฉันความ ความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาในข้อนี้คือ

ท่านอะมีรุลมุอ์มินีนจะต้องพิจารณาว่า คนเหล่านี้ที่ได้ขัดขวางการเดินทางหากพวกเขาข่มขู่ให้เกิดความหวาดกลัวแก่ผู้เดินทาง แต่พวกเขาก็มิได้ฆ่าใครและมิได้ยึดทรัพย์สินแต่ประการใด ที่สมควร

กับเหตุก็คือการถูกจำขัง ดังนั้นความหมายที่ให้เนรเทศพวกเขาออกจากแผ่นดินก็ด้วยการข่มขู่ของพวกเขาแก่คนเดินทางนั่นเอง ถ้าหากพวกเขาข่มขู่ให้เกิดความหวาดกลัวแก่คนเดินทางและฆ่าคน

ด้วย ผลก็คือจะต้องประหารชีวิตคนเหล่านั้น และถ้าหากคนเหล่านั้นข่มขู่ให้เกิดความหวาดกลัวแก่

คนเดินทาง อีกทั้งยังฆ่าคนและยึดทรัพย์สิน การลงโทษก็คือจะต้องตัดมือและเท้าของพวกเขาสลับข้างกัน และหลังจากนั้นจะต้องตรึงไม้กางเขนอีกด้วย”

๘๘

ดังนั้นอัล-มุอฺตะศิม จึงจัดการเขียนข้อความตามนั้นส่งไปยังเจ้าเมืองเพื่อให้ได้ตัดสินคดีดังกล่าวตามนั้น

(วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม ๑๘ หน้า ๕๓๖)

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๗

ท่านอะบูคิเดา อัล-มะฮฺดี ได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าได้ถามท่าน(อฺ)ว่า

“อุมมุวะลัด(ภรรยาที่เป็นทาสแต่ให้กำเนิดบุตร)ของข้าพเจ้าได้ให้นมแก่เด็กผู้หญิงคนหนึ่ง

ด้วยน้ำนมที่ให้ลูกของข้าพเจ้ากินจะเป็นที่ต้องห้ามแก่ข้าพเจ้าซึ่งการแต่งงานกับเด็กหญิงคนนั้นหรือไม่ ?”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“จะไม่ถือว่าเป็นการให้นม ถ้าหากกระทำขึ้นหลังจากที่เด็กหย่านมแล้ว”

ข้าพเจ้าได้ถามว่า

“การนมาซในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์(ฮะร็อม)ทั้งสองแห่งจะทำอย่างไร”

๘๙

ท่านอิมามญะวาด(อฺ) ตอบว่า

“ท่านจะทำเต็มก็ได้ และท่านจะทำย่อก็ได้ แต่สำหรับบิดาของฉันนั้น ท่านทำเต็ม”

( อิษบาตุ้ลวะศียะฮฺ หน้า ๑๘๒)

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๘

อะบูฮาซิม อัล-ญะอฺฟะรีได้ถามท่านอิมาม(อฺ)ว่า

“คำว่าเอกะหมายความว่าอย่างไร ?”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)ตอบว่า

“หมายความว่า คำกล่าวทั้งหลายพูดอย่างเป็นเอกฉันท์ในเรื่องหลักเตาฮีด เป็นไปตามที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงตรัสว่า :

“และแน่นอนที่สุด ถ้าหากเจ้าถามเขาเหล่านั้นว่า

ใครคือผู้สร้างฟ้าและแผ่นดิน แน่นอนเขาจะกล่าวว่าอัลลอฮฺ

(ลุกมาน: ๙)

อ้างอิงจากหนังสืออัต-เตาฮีด หน้า ๘๓

๙๐

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๙

อะบูฮาชิม อัล-ญะอฺฟะรี ได้ถามท่าน(อฺ)เกี่ยวกับโองการของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่ว่า

“สายตาทั้งหลายนั้นไม่สามารถหยั่งถึงพระองคื

แต่พระองค์ทรงหยั่งถึงสายตามทั้งหลาย”

(อัล-อันอาม: ๑๐๓)

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“อะบูฮาชิมเอ๋ย ดวงใจทั้งหลายละเอียดอ่อนยิ่งกว่าการมองเห็นของสายตา สำหรับท่านนั้น

สามารถหยั่งถึงสภาพของประเทศที่อยู่ห่างไกลแม้กระทั่งประเทศอินเดีย จีน ได้โดยความนึกคิดของท่าน ทั้งๆ ที่ท่านไม่เคยไปเยือนที่นั่น และสายตาของท่านก็ไม่เคยไปถึงที่นั่น แม้ว่าความนึกคิด

ของดวงจิตทั้งหลายยังไม่อาจเข้าถึงได้ตรงตามสภาพความเป็นจริงได้เลยแล้วสายตาจะมองเห็นสิ่งนั้นได้อย่างไร”

(อัต-เตาฮีด หน้า ๑๑๓)

๙๑

ดุอาอ์ : เสียงเรียกร้องสู่ความถูกต้องของอิมามที่ ๙

ดุอาอ์ต่างๆ ของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) นั้นเป็นคลังวิชาการในด้านหลักเตาฮีดและความเชื่อ เป็นข้อมูลและแบบฉบับอันสูงส่งในด้านจริยธรรมและความรอบรู้ เป็นกระแสธารอันบริสุทธิ์ที่เปี่ยมล้นสำหรับหลักการดำเนินชีวิตอันสมบูรณ์และความมีระเบียบ

ดุอาอ์ของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)นั้น เป็นสื่อที่ให้ผลเป็นอย่างยิ่งสำหรับการนำ

สังคมให้มีความตื่นตัวและก้าวหน้าไปในทิศทางแห่งพระผู้เป็นเจ้า และเป็นการยกระดับให้ก้าวขึ้นไปสู่สถานภาพอันสูงส่ง

 ในบทนี้เราจะนำเรื่องราวที่เกี่ยวกับดุอาอ์บางประการของท่าน

อิมามอะบูญะอฺฟัร อัล-ญะวาด(อฺ)มาเสนอ

๙๒

ดุอาอ์

บทที่ ๑

“โอ้พระผู้ซึ่งไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือน และไม่มีสิ่งใดคล้ายคลึง พระองค์คืออัลลอฮฺ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ ไม่มีผู้สร้างอื่นใดนอกจากพระองค์พระองค์ทรงสลายสภาพของสิ่งถูกสร้าง แต่พระองค์ทรงดำรงอยู่อย่างถาวร

 พระองค์ยังทรงอ่อนโยนต่อผู้ที่ทรยศต่อพระองค์ และในการอภัยโทษนั้นเป็นความยินดีของพระองค์”

(อะอฺยานุชชีอะฮฺ เล่ม ๓ หน้า ๒๔๕, มุกตะบิซุ้ลอะษัร เล่ม ๑๘ หน้า ๑๑๔).

๙๓

ดุอาอ์

บทที่ ๒

ดุอาอ์กุนูตบทหนึ่งของท่านอิมามญะวาด(อฺ)มีดังนี้

“การประทานให้ของพระองค์นั้นมีอย่างต่อเนื่อง ความโปรดปรานของพระองค์นั้นมีอย่างล้นเหลือ แต่การขอบพระคุณของเรานั้นมีเพียงน้อยนิดการสรรเสริญของเรานั้นมีเพียงเล็กน้อย

พระองค์ทรงให้ความสงสารแม้แต่กับผู้ที่รู้จักพระองค์เพียงผิวเผิน

โอ้ อัลลอฮฺ แน่นอนบรรดาผู้อยู่กับสัจธรรมมมักจะอยู่ในสภาพกลืนไม่เข้าคลายไม่ออก

ส่วนผู้มีวาจาสัตย์ก็ตกอยู่ในสภาพถูกปิดล้อม(หมดโอกาส)

โอ้ อัลลอฮฺพระองค์เท่านั้นที่ทรงเป็นผู้มีเมตตาต่อปวงบ่าวของพระองค์และผู้ที่มีความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะเข้าหาพระองค์ พระองค์ทรงมีอำนาจตอบรับดุอาอ์ของพวกเขาและทรงบันดาลให้พวกเขาได้รับการแคล้วคลาดอย่างเร็วพลัน

โอ้ อัลลอฮฺ ขอให้ทรงเป็นประทานความจำเริญแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของมุฮัมมัด และขอให้ทรงรีบเร่งประทานความช่วยเหลือที่ไม่มีวันบกพร่องหลังจากนั้นอีกให้แก่เราและด้วยความอนุเคราะห์ที่ไม่พลั้งพลาดอีกเลย และขอได้โปรดประทานความสันติสุขจากพระองค์ให้แก่เรา อันเป็นความสันติสุขที่บุคคลซึ่งพระองค์ทรงรักได้รับความปลอดภัยในนั้น

๙๔

 และเป็นความสันติสุขที่ศัตรูของพระองค์ต้องประสบความพ่ายแพ้ อีกทั้งเป็นความสันติสุขที่ผู้ซึ่งรู้จักพระองค์ดำรงอยู่ได้

อีกทั้งเป็นความสันติสุขที่อำนวยให้การกิจต่างๆ ของพระองค์มีความบันเจิด อันเป็นความสันติสุขที่พระองค์ทรงมีชัยเหนือศัตรูของพระองค์

โอ้ อัลลอฮฺ โปรดรีบเร่งให้พวกเราได้ใช้สถานที่พำนักแห่งความเมตตาจากพระองค์ และโปรดรีบเร่งให้ศัตรูของพระองค์ได้ไปพำนักอยู่ในบ้านแห่งการลงทัณฑ์

โอ้ อัลลอฮฺ ขอได้ทรงโปรดช่วยเหลือและเกื้อกูลต่อเรา และขอได้ทรงโปรดถอดถอนการลงโทษของพระองค์ออกไปจากเรา และทรงบันดาลให้สิ่งนั้นประสบแก่เหล่าบรรดาผู้อธรรม”

(มะฮฺญุดดะอฺวาต หน้า ๕๙)

๙๕

ดุอาอ์

บทที่ ๓

ดุอาอ์กุนูตอีกบทหนึ่งของอิมามญะวาด(อฺ) มีดังนี้

“โอ้ อัลลอฮฺ พระองคืคือผู้เป็นเจ้านับตั้งแต่เริ่มแรก ซึ่งไม่มีสภาวะเริ่มแรกใดๆ ก่อนหน้านี้อีก และทรงเป็นองค์สุดท้ายซึ่งไม่มีสภาวะสุดท้ายใดๆ ถูกกำหนดไว้หลังจากนั้นอีก พระองค์ทรงให้การบังเกิดกับพวกเราโดยไม่มีปฐมเหตุอื่นใดมาก่อนเกิดพระองค์ ทรงบันดาลให้พวกเรามีขึ้นมา

โดยมิได้เป็นไปเพราะเหตุจำเป็นอื่นใดบังคับ พระองค์ทรงบันดาลให้เราเกิดขึ้นมาด้วยวิทยาปัญญาของพระองค์ อันทางไว้ซึ่งอิสระเสรี พระองค์ทรงทดสอบเราด้วยคำสั่งใช้และคำสั่งห้ามของ

พระองค์เพื่อเป็นการทดสอบพระองค์ ทรงให้การสนับสนุนเราด้วยอุปกรณ์ต่างๆและทรงมอบเครื่องมือทั้งหลายให้แก่เรา และทรงประทานความสามารถทั้งปวงให้แก่เรา และทรงกำหนด

หลักการเชื่อฟังปฏิบัติตามให้แก่เรา กล่าวคือพระองค์ได้บัญชาใช้โดยที่ให้เราเลือก และทรงห้ามโดยเป็นการเตือน พระองค์ทรงประทานให้อย่างมากมาย ทรงเรียกร้องแต่เพียงเล็กน้อย

พระบัญชาของพระองค์ได้รับการถูกละเมิด แต่พระองค์ก็ยังมีเมตตาพลานุภาพของพระองค์ได้รับการดูถูก

๙๖

แต่กระนั้นพระองค์ก็ยังทรงให้เกียรติ พระองค์คือเจ้าแห่งเกียรติยศ เจ้าแห่งความยิ่งใหญ่เกรียงไกร

เจ้าแห่งความดี และความโปรดปราน เจ้าแห่งความหวังและความปรานี เจ้าแห่งการประทานให้และเผื่อแผ่ เจ้าแห่งการดลบันดาลซึ่งความสำเร็จ ไม่มีดวงใจดวงใดสามารถล่วงรู้ในความลี้ลับของ

พระองค์ ไม่มีมโนภาพใดๆ สามารถเข้าถึงคุณลักษณะของพระองค์ สิ่งที่พระองค์ทรงสร้างไว้ทั่วปวงไม่มีสิ่งใดคล้ายคลึงพระองค์ สิ่งที่พระองค์ทรงให้บังเกิดไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์

มหาบริสุทธิ์ผู้ทรงอยู่เหนือการถูกสัมผัสหรือการหยั่งถึงใดๆ โดยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ สิ่งถูกสร้างจะมีความสามารถหยั่งถึงผู้สร้างของตนได้อย่างไร ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าพระองค์ทรงสูงส่งเหนือสิ่งที่ผู้อธรรมได้กล่าวไปทรงสูงส่งยิ่ง ทรงเกรียงไกร

โออัลลอฮฺ โปรดสนับสนุนให้บรรดาเอาลิยาอ์(ผู้เป็นที่รักยิ่ง) ของพระองค์มีชัยชนะต่อศัตรูของพระองค์

 ผู้อธรรม ผู้ละเมิด พวกนากิษีน พวกกอซิฏีน พวกมาริกีน

(ทั้ง ๓ กลุ่มคือกลุ่มที่ทำสงครามกับท่านอิมามอฺะลี) ซึ่งเขาเหล่านั้นได้ทำให้ปวงบ่าวของพระองค์ต้องหลงผิด เขาเหล่านั้น

เปลี่ยนแปลงคัมภีร์ของพระองค์ และดัดแปลงบทบัญญัติของพระองค์เขาเหล่านั้นละเมิดสิทธิของพระองค์ และนั่งอยู่ในตำแหน่งของบรรดาเอาลิยาอ์ของพระองค์

๙๗

ความเลวร้ายจากเขาเหล่านั้นกระทำขึ้นเบื้องหน้าของพระองค์เป็นความอธรรมที่พวกเขามีต่ออะฮฺลุลบัยตฺแห่งนบีของพระองค์

ซึ่งเขาเหล่านั้นได้หลงผิดและทำให้บรรดาสิ่งถูกสร้างของพระองค์ต้องหลงผิดตามไป

โอ้ พระผู้เป็นเจ้าเขาเหล่านั้นได้ยึดเอาสิทธิของพระองค์ไปอยู่ในครอบครองและกดขี่ปวงบ่าวของพระองค์

โอ้ พระผู้เป็นเจ้า เขาเหล่านั้นละทิ้งผืนแผ่นดินของพระองค์ให้ตกอยู่ในความมือมนตลอดกาล ดังนั้นสายตาของพวกเขาถึงแม้จะเปิดอยู่ แต่หัวใจของพวกเขามือบอด ไม่มีหลักฐานอันใดหลงเหลือสำหรับพวกเขาอีกแล้ว ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าพระองค์ได้นำการลงทัณฑ์และได้กำหนดการลงโทษมาแล้ว พระองค์ทรงสัญญารไว้กับเหล่าบรรดาผู้ปฏิบัติตามว่าจะได้รับคุณงามความดีจากพระองค์ พระองค์ได้นำคำตักเตือนมายังเขาเหล่านั้น ดังนั้นคนกลุ่มหนึ่งจึงได้ศรัทธา

โอ้ อัลลอฮฺ โปรดเกื้อกูลต่อบรรดาผู้ศรัทธาให้มีชัยชนะเหนือศัตรูของพระองค์ และศัตรูแห่งบรรดาผู้สวามิภักดิ์ต่อพระองค์ ดังนั้นพวกเขาจึงปรากฏตัวอย่างชัดเจน และเป็นผู้เรียกร้องไปสู่สัจธรรม และสำหรับอิมามผู้ถูกรอดคอยอันเป็นผู้ดำรงอยู่ด้วยความเที่ยงธรรมนั้น ขอให้มีผู้ปฏิบัติตาม

๙๘

 ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดจัดเตรียมไฟนรกของพระองค์ไว้แก่ศัตรูของพระองค์ และศัตรูของคนเหล่านั้น และขอได้ทรงจัดเตรียมการลงโทษที่ไม่วันถูกปกป้องให้พ้นจากบรรดาผู้อธรรม

ข้าแต่อัลลอฮฺ ได้โปรดประทานความจำเริญแด่ศาสดามุฮัมมัดและวงศ์วานของมุฮัมมัด ขอพระองค์ทรงเพิ่มพูนพละกำลังให้แก่เหล่าบรรดาผู้บริสุทธิ์ใจต่อพระองค์ที่อ่อนแอและแก่บรรดาผู้

ปฏิบัติตามพวกเราด้วยความจงรักภักดี อันเป็นผู้ปฏิบัติตามเราด้วยความเชื่อมั่นและปฏิบัติตามคำสอน และได้โปรดบันดาลให้มีผู้กล่าวถึงเราในหมู่ชนเหล่านั้น

ข้าแต่อัลลอฮฺ ขอได้โปรดสนับสนุนกิจการงานของพวกเขาเหล่านั้น และได้ทรงสนับสนุนให้พวกเขาได้รับศาสนาตามที่พระองค์ทรงมอบให้แก่พวกเขาด้วยความยินดี และได้โปรดบันดาลความสมบูรณ์แห่งความโปรดปรานของพระองค์ให้แก่เขาเหล่านั้นและได้โปรดขัดเกลาเขาเหล่านั้นให้มีความบริสุทธิ์

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าได้โปรดยับยั้งความยากจนของพวกเขาเหล่านั้น

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ขอได้โปรดให้ความช่วยเหลือแก่ความคับแค้นของคนเหล่านั้น

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ขอได้โปรดอภัยในความบาปและความผิดพลาดของคนเหล่านั้น และขอให้ทรงอย่าหันเหจิตใจของคนเหล่านั้น หลังจากที่พระองค์ทรงนำทางพวกเขา

๙๙

โอ้ พระผู้อภิบาล ขอพระองค์ทรงอย่าปล่อยให้เขาเหล่านั้นละเมิด ได้โปรดปกป้องคุ้มครองเขาเหล่านั้นให้อยู่ในความสะอาดบริสุทธิ์กับสายธารแห่งความจงรักภักดีต่อเหล่าบรรดาเอาลิยาอ์ของพระองค์และโปรดบันดาลให้เขาเหล่านั้นแคล้วคลาดจากบรรดาศัตรูของพระองค์

 แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงให้การสนองตอบ

ขออัลลอฮฺ ได้ทรงประทานพรแด่ศาสนามุฮัมมัดและวงศ์วานผู้บริสุทธิ์”

( มะฮฺญุดดะอฺวาต หน้า ๖๐)

๑๐๐

ความดีงามพิเศษ :

บทขอพรของอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)นั้นมีความดีงามพิเศษมากมายที่ไม่มีผู้ใดเทียบได้ ท่าน(อฺ)เหล่านั้นมีเกียรติคุณที่ดีเด่นเป็นพิเศษกันแต่เพียงกลุ่มเดียวสำหรับความดีงามเหล่านั้นในหมู่ประชาชาตินี้

เรื่องดุอาอ์(บทขอพร)คือลักษณะพิเศษอันมากมายอีกประการหนึ่งที่บรรดาสาวกและตาบีอีนทั้งหลายไม่มีโอกาสเทียบเทียมได้เลย แม้แต่คนเดียว อีกทั้งบรรดานักปราชญ์อื่น ๆ ในรุ่นถัดมาก็ตาม กล่าวคือ ได้มีการบันทึกดุอาอ์ของแต่ละท่านไว้มากมาย ซึ่งบรรดานักปราชญ์ของเราได้เก็บ

รวบรวมไว้นับร้อยๆ เรื่องบรรดาอิมาม(อฺ)เป็นมนุษย์ที่รู้จริงเกี่ยวกับระเบียบแบบแผนที่บ่าวของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จำเป็นจะต้องดำเนินการปฏิบัติในยามสนทนากับพระองค์ และรู้ว่าควรจะเป็นอย่างไร สำหรับการถ่อมตน

การขอพึ่งพิง และตัดขาด(จากทุกสิ่งทุกอย่าง) เพื่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)

ในหนังสือนี้เราได้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับการอิบาดะฮฺโดยละเอียดของท่านอิมาม(อฺ)ผ่านมาแล้ว ต่อไปนี้จะเป็นการบันทึกดุอาอ์บางบทบางตอนของท่าน(อฺ)ดังนี้

๑๐๑

ดุอาอ์

บทที่ ๑

เป็นบทดุอาอ์บทหนึ่งของอิมามที่ ๗

“ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ข้าฯขอปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และขอปฏิญานตนว่า มุฮัมมัดเป็นบ่าวและเป็นศาสนทูตของพระองค์ แท้จริงศาสนาอิสลามย่อมเป็นไปตามที่พระองค์ตรัสไว้ ศาสนาย่อมเป็นไปตามที่พระองค์ทรงวางกฎไว้ คัมภีร์ย่อมเป็นไปตามที่

พระองค์ทรงประทานให้ไว้ คำสอนย่อมเป็นไปตามที่พระองค์ตรัสไว้

แท้จริงอัลลอฮฺคือ ผู้ทรงสิทธิอันชัดแจ้ง ความเจริญสิริมงคลของอัลลอฮฺพึงมีแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของท่าน”

“ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าฯดำรงอยู่ในความคุ้มครองของพระองค์ ชีวิตของข้าฯนอบน้อมต่อพระองค์ ใบหน้าของข้าฯหันสู่พระองค์ กิจการงานของข้าฯ ขอมอบหมายยังพระองค์ ร่างกายของข้าฯขอนอบน้อมยังพระองค์ กลัวเกรงพระองค์ และมุ่งหวังต่อพระองค์ ข้าฯศรัทธาต่อคัมภีร์ของพระองค์ที่ทรงประทานมาแก่ศาสนทูตของพระองค์ที่ทรงส่งมา”

“โอ้อัลลอฮ์ แท้จริงข้าฯเป็นคนยากจน ณ พระองค์ ขอได้ทรงโปรดประทานเครื่องยังชีพแก่ข้าฯโดยอย่าได้คำนวณ

แท้จริงพระองค์ทรงประทานเครื่องยังชีพให้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์

โดยไม่มีการคำนวณ”

๑๐๒

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริง ข้าฯวิงวอนขอเครื่องยังชีพที่ดีงามทั้งหลาย และละเว้นความเลวร้ายทั้งหลาย และขอให้พระองค์อภัยโทษให้แก่ข้าฯ”

“โอ้อัลลอฮฺ ข้าพระองค์ขอความกรุณาของพระองค์ที่ทรงเป็นเจ้าของได้โปรดบันดาลให้ข้าฯได้ออกห่างจากความชั่วอันมาจากข้าฯ ด้วยความดีอันมาจากพระองค์ และขอให้พระองค์ประทานความดีอย่างมากมายที่พระองค์มิได้ประทานให้แก่บ่าวคนใดให้แก่ข้าฯ”

“โอ้อัลลอฮฺ ข้าฯขอความคุ้มครองให้พ้นจากทรัพย์สินที่เป็นตัวทดสอบ(ฟิตนะฮฺ)แก่ข้าฯ ให้พ้นจากบุตรที่เป็นศัตรูของข้าฯ ให้พ้นจากบุตรที่เป็นศัตรูของข้าฯ”

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริง พระองค์ทรงเห็นฐานะความเป็นอยู่ของข้าฯ ทรงได้ยินดุอาอ์และคำพูดของข้าฯ ทรงรู้ในความจำเป็นของข้าฯ ข้าฯขอต่อพระนามทั้งมวลของพระองค์ ได้โปรดทำให้ความ ต้องการทั้งหลายในชีวิตทางโลกนี้และปรโลกของข้าฯได้บรรลุผล”

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงข้าฯขอดุอาอ์ต่อพระองค์อันเป็นดุอาอ์ของบ่าวผู้ซึ่งด้อยในความสามารถเดือดร้อนเป็นยิ่งนัก มีความทุกข์อย่างสาหัส มีความสามารถน้อยนิด และมีการงานที่ตกต่ำเป็นดุอาอ์ของผู้ที่ไม่มีใครช่วยเหลือได้นอกจากพระองค์ เป็นความอ่อนแอที่ไม่มีใครช่วยได้นอกจากพระองค์

๑๐๓

ข้าฯขอความดีต่าง ๆ ทั้งมวล ขอเกียรติคุณ ขอความดีความเมตตาทั้งมวลของพระองค์ ได้โปรดเมตตาต่อข้าฯ และให้ข้าฯพ้นจากไฟนรก”

“โอ้พระองค์ ผู้ทรงบันดาลให้แผ่นดินอยู่เหนือน้ำ ทรงบันดาลให้ฟากฟ้าอยู่ในห้วงอากาศ

โอ้ผู้ทรงเอกะ ก่อนทุกสิ่งที่เป็นหนึ่งเดียว โอ้ ผู้ทรงเป็นหนึ่งหลังจากทุก ๆ สิ่ง โอ้ผู้ซึ่งไม่มีใครรู้ว่า พระองค์ทรงเป็นอย่างไร นอกจากพระองค์ และไม่มีใครรู้ซึ้งถึงอำนาจของพระองค์ นอกจากพระองค์ โอ้พระองค์ผู้ทรงดำรงอยู่กับกิจการงาน โอ้พระองค์ผู้ทรงให้ความช่วยเหลือ โอ้พระผู้ช่วยบรรดาผู้เดือดร้อน โอ้พระผู้ทรงตอบรับคำขอของคนเดือดร้อน โอ้พระผู้ทรงมีความเมตตาในโลกนี้และปรโลก เป็นพระผู้ทรงกรุณาปรานี โอ้พระผู้อภิบาลของข้าฯ โปรดเมตตาข้าฯ อย่าให้ข้าฯหลงผิด และอย่าชิงชังข้าฯตลอดกาล แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งการสรรเสริญยิ่ง

 โปรดประทานพรแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของท่านเทอญ”(๑)

(๑) อัล-บะละดุล-อะมีน หน้า ๑๐๑.

๑๐๔

ดุอาอ์

บทที่ ๒

เป็นดุอาอ์ของอิมามมูซา กาซิม(อฺ)หลังนมาซซุฮฺริ

ท่านมุฮัมมัด บินซุลัยมานเล่าว่า : บิดาของท่านกล่าวว่า ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าได้ออกเดินทางไปกับท่านอิมามอะบุลฮะซัน(อฺ) หรือมูซา บินญะอฺฟัร เมื่อท่าน(อฺ)นมาซซุฮฺริเสร็จแล้ว ท่าน(อฺ)ได้อ่านดุอฺาอ์ในขณะที่ทรุดตัวลงกราบอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ด้วยอาการเศร้าสร้อย น้ำตาหลั่งไหล ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

 “โอ้พระผู้อภิบาลของข้าฯ ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยลิ้น ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงให้ข้าฯเป็นใบ้ก็ได้ ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยตา ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯตาบอดเสียก็ได้

ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยหู หากพระองค์ทรงประสงค์อาจทางทำให้ข้าฯหูหนวกเสียก็ได้

ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยมือ ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯมือด้วนเสียก็ได้ ข้าพระองค์ทรยศพระองค์ด้วยเท้า ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯขาด้วนเสียก็ได้

ข้าพระองค์ทรยศพระองค์ด้วยอวัยวะสืบพันธุ์ ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯเป็นหมันเสียก็ได้ ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยอวัยวะทั้งเรือนร่างที่ทรงประทานให้แก่ข้าฯ และสิ่งนี้ข้าฯไม่มีสิ่งใดๆ ตอบแทนแก่พระองค์ได้”

๑๐๕

บิดาของท่านมุฮัมมัด เล่าอีกว่า หลังจากนั้นข้าพเจ้าได้นับจำนวนครั้ง ในคำที่ท่านกล่าวว่า

“อัล-อัฟว์ อัล-อัฟว์”(ขออภัย ขออภัย) ได้ ๑,๐๐๐ ครั้ง จากนั้นท่าน (อฺ) แนบแก้มขวาลงบนดิน แล้วข้าพเจ้าได้ยินท่าน (อฺ) กล่าวว่า

“ข้าฯล่วงเกินต่อพระองค์ด้วยความผิดของข้าฯ ข้าฯได้กระทำความชั่วและอธรรมต่อตัวของข้าฯเอง ดังนั้นได้โปรดให้อภัยแก่ข้าฯ เพราะไม่มีใครอภัยความผิดพลาดได้ นอกจากพระองค์ โอ้นายของข้าฯ โอ้นายของข้าฯ นายของข้าฯ นายของข้าฯ”

ท่าน(อฺ)ก็แนบแก้มซ้ายลงบนดิน แล้วกล่าวว่า

“โปรดให้ความเมตตาต่อผู้ทำบาป”

อ่านดังนี้สามครั้ง หลังจากนั้นท่าน(อฺ)จึงยกศีรษะขึ้น(๒)

(๒) อัล-บะละดุล-อะมีน หน้า ๑๐๑.

๑๐๖

ดุอฺาอ์

บทที่ ๓

เป็นดุอฺาอ์อีกบทหนึ่งของอิมามมูซา(อฺ)

“โอ้ ผู้ทรงดำรงอยู่ก่อนสิ่งทั้งหลาย โอ้ผู้ทรงได้ยินทุกเสียงสำเนียง ทั้งดังและค่อย โอ้ผู้ทรงประทานชีวิตให้หลังจากตาย ความมืดมิดอันใดย่อมไม่ครอบคลุมพระองค์เลย ภาษาอันหลากหลายย่อมไม่ทำให้พระองค์ทรงสับสน ไม่มีสิ่งใดทำให้พระองค์วุ่นวาย”

“โอ้พระผู้ซึ่งไม่ทรงวุ่นวายด้วยดุอฺาอ์ของผู้ใดที่อ้อนวอนขอต่อพระองค์จากฟากฟ้า โอ้พระผู้ทรงบันดาลให้ทุกสิ่งที่ได้ยิน ทรงได้ยินได้ฟังและมองเห็น โอ้พระผู้ซึ่งไม่เคยผิดพลาด แม้จะมีการร้องขออย่างมากมาย”

“โอ้พระผู้ทรงดำรงชีวิตในยามที่ไม่มีสิ่งใดดำรงชีวิต โดยทรงดำรงอยู่ตลอดกาล และมั่นคงถาวร โอ้พระผู้ทรงดำรงอยู่สูงสุด แต่ซ่อนเร้นจากสรรพสิ่งทั้งหลายด้วยรัศมีของพระองค์ โอ้พระองค์ ผู้ทรงบันดาลให้แสงสว่างปรากฏออกมาท่ามกลางความมืด ข้าฯขอวิงวอนต่อพระองค์ด้วย

พระนามของพระองค์ผู้ทรงเอกะ ทรงเป็นหนึ่งเดียวแห่งการพึ่งพิง โปรดประทานความเจริญแด่ท่านศาสดามุฮัมมัดและอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน”

จากนั้นท่าน(อฺ)ได้วิงวอนขอในสิ่งที่ท่าน(อฺ)ต้องการ(๓)

(๓) บิฮารุ้ล-อันวารฺ เล่ม ๑๑ หน้า ๒๓๙.

๑๐๗

ดุอฺาอ์

บทที่ ๔

เป็นดุอฺาอ์อีกบทหนึ่งของท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

“ข้าฯขอมอบหมายตนเองยังพระองค์ ผู้ซึ่งไม่ตาย และข้าฯขอพึ่งการพิทักษ์คุ้มครอง โดยผู้ทรงเกียรติและอำนาจ ข้าฯขอความช่วยเหลือต่อผู้ทรงเกรียงไกรและมีอำนาจครอบครองข้าฯ โอ้นายของข้าฯขอยอมจำนนต่อพระองค์ ข้าฯขอมอบหมายตนต่อพระองค์ ดังนั้นขออย่าทำลายข้าฯ

ข้าฯขอพึ่งร่มเงาของพระองค์ ดังนั้นจงอย่าผลักไสข้าฯ พระองค์เป็นที่พึ่งอาศัย ทรงรู้สิ่งที่ข้าฯซ่อนเร้นและเปิดเผย ทรงรู้สิ่งที่อยู่ในสายตาและที่ซ่อนไว้ในจิตใจ ดังนั้นได้โปรดยับยั้งข้าฯให้พ้นจากผู้อธรรมทั้งในหมู่ญิน และหมู่มนุษย์ทั้งมวลด้วยเถิด โอ้พระผู้ทรงกรุณาปราณี ได้โปรดปกปักรักษา

ข้าฯด้วยเถิด”(๔)

 (๔) มะฮัจญุด-ดะอฺวาต หน้า ๓๐๐.

๑๐๘

การตอบสนองต่อบทดุอฺาอ์ของท่านอิมามที่ ๗

บรรดาอิมาม(อฺ)ทั้งหลายนั้นต่างใช้ชีวิตทั้งหมดในฐานะผู้ถูกกดขี่ข่มเหง ตลอดระยะเวลาการปกครองของวงศ์อุมัยยะฮฺ คนทั้งหลายคาดคิดว่าในการปกครองของสมัยวงศ์อับบาซียะฮฺสิ่งนั้นคงจะบรรเทาเบาบางลงบ้างและภัยอันตรายคงจะยกเลิกจากพวกท่าน(อฺ)ไปบ้าง ซึ่งการคาดคิดของคนทั้งหลายไม่น่าจะผิดพลาด เพราะเชื้อสายของกลุ่มทั้งสองใกล้เคียงกัน ประกอบกับว่า ราชวงศ์อับบาซียะฮฺนั้นแอบอ้างดำเนินการปกครองในนามของเชื้อสายท่านอิมามอฺะลี(อฺ) ธงของท่านอะบูมุสลิมอัล-คุรอซานีที่ได้เข้าไปในเมือง

คุรอซานนั้น ดำเนินการปกครองในนามของเชื้อสายท่านอฺะลี(อฺ)

การเข้าไปในเมืองคุรอซานนั้นก็ไม่ใช่เพราะเหตุอื่นนอกจากเพื่อสนับสนุนลูกหลานของท่านอฺะลี(อฺ)

แต่สถานการณ์กลับเปลี่ยนไปเป็นตรงกันข้าม ในเมื่อพวกอับบาซียะฮฺได้เริ่มติดตามอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ด้วยการลอบสังหาร คุมขัง ฯลฯ จนช่วงหนึ่งในการปกครองของพวกวงศ์นี้ ยังความรุนแรงแก่บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)ยิ่งกว่าพวกวงศ์อุมัยยะฮฺเสียอีก

บรรดาอิมาม(อฺ)จะไม่อ่านดุอฺาอ์เพื่อขอสาปแช่งบรรดาผู้อธรรม นอกจากในกรณีที่ความอธรรมถึงขีดสุดของความรุนแรงเท่านั้น เมื่อเราได้รู้ถึงเรื่องนี้จากท่าน(อฺ) เราก็สามารถประเมินสถานการณ์ที่รุนแรงอันเกิดขึ้นแก่ท่านอิมาม(อฺ)ได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านต้องขอดุอฺาอ์สาปแช่งบุคคลที่อธรรมต่อท่าน(อฺ)

๑๐๙

ในลำดับต่อไปนี้ เราจะเสนอเรื่องดุอฺาอ์ของท่านอิมามมูซา บินญะอฺฟัร(อฺ)ที่ได้รับการตอบสนองจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

-๑-

เจ้าของหนังสือ “นะษะรุต-ตุรรุล” ได้กล่าวไว้ว่า :

 ท่านอิมามมูซา บินญะอฺฟัร อัล-กาซิม(อฺ)นั้น มีคนแจ้งให้ท่าน(อฺ)ทราบว่า อัล-ฮาดี วางแผนการร้ายต่อท่าน(อฺ) ท่าน(อฺ)ได้พูดกับครอบครัวและผู้ติดตามว่า

“พวกท่านมีความคิดเห็นอะไรเสนอแนะแก่ฉันบ้าง?”

คนเหล่านั้นกล่าวว่า

“เราเห็นว่า ท่านควรออกห่างจากเขา และหลบซ่อนให้พ้นไปจากเขา เพราะความชั่วร้ายของเขานั้นจะไม่ให้ความปลอดภัยแก่ท่าน”

ท่าน(อฺ)ยิ้ม แล้วกล่าวว่า

“คนโฉดคิดว่าตัวเองจะสามารถเอาชนะพระผู้อภิบาลได้ แน่นอน

ผู้ชนะที่แท้จริงย่อมชนะอยู่แล้ว”

หลังจากนั้นท่าน(อฺ)ยกมือขึ้นขอดุอฺาอ์ แล้วกล่าวว่า

“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า มากมายเหลือเกินแล้ว สำหรับพวกศัตรูที่มุ่งหมายทำลายข้าฯ ข่มเหงรังแกข้าฯ โดยแผนการเข่นฆ่าด้วยพิษร้ายของมันจนดวงตาของข้าฯไม่เคยหลับไหล เนื่องจากคอยระแวดระไวต่อพวกมัน ครั้นเมื่อพระองค์ทรงเห็นถึงความอ่อนแอของข้าฯ ในการปกป้องโพยภัยและความเกินกำลังที่ข้าฯจะทานทนกับความเจ็บปวดได้ ขออำนาจและอานุภาพของพระองค์ได้โปรดสลัดสิ่งนั้นออกให้พ้นจากข้าฯโดยมิใช่ด้วยความสามารถและอานุภาพของข้าฯ และจงโยนเขาลงไปสู่หลุมลึกที่พวกเขาขุดล่อข้าฯให้ตกลงไปในโลกแห่งวัตถุของเขา จนห่างไกลจากความหวังในปรโลก

๑๑๐

 มวลการสรรเสริญเป็นของพระองค์ที่ได้ทรงกำหนดความโปรดปรานของพระองค์ที่โปรยปรายแก่ข้าฯ และพระองค์มิได้ทรงปฏิเสธความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลต่อข้าฯ

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ได้โปรดลงโทษเขาด้วยอำนาจของพระองค์ โปรดพลิกแผนการของเขาออกจากข้าฯ ด้วยอานุภาพของพระองค์ โปรดบันดาลภาระอันหนักหน่วงจนเกินกำลังให้แก่เขา

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ได้โปรดบันดาลให้ความเป็นศัตรูนั้นกลายเป็นยาบำบัดรักษาแก่ข้าฯ

และบันดาลให้ความแค้นของข้าฯที่มีต่อเขา เป็นการอภัย โปรดประทานแก่ดุอฺาอ์ของข้าฯ ด้วยการตอบรับ และโปรดรับรองคำอุทธรณ์ของข้าฯ และโปรดให้เขาสำนึกเพียงสักเล็กน้อยกับการตอบรับต่อบ่าวของพระองค์

ผู้ถูกกดขี่ แท้จริงพระองค์ทรงมีเกียรติอันยิ่งใหญ่”

ต่อจากนั้นสมาชิกครอบครัวก็ลาจากไป ครั้นต่อมาไม่นาน คนเหล่านั้นมาชุมนุมกันเพื่ออ่านจดหมายที่มีมาถึงท่านอิมามมูซา(อฺ)แจ้งให้ท่าน(อฺ)ทราบว่ามูซา อัล-ฮาดีนั้นได้ตายเสียแล้ว(๑)

(๑) อัล-ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า ๒๒๒. มุฮัจญุด-ดะอฺวาต หน้า ๒๙.

๑๑๑

-๒-

ท่านอับดุลลอฮฺ บินศอลิฮฺ ได้กล่าวว่า : ท่านศอฮิบุ้ล ฟัฎลฺ บินร่อบีอฺเล่าให้เราทราบว่า : ในคืนหนึ่งขณะที่ข้าพเจ้าอยู่บนที่นอนพร้อมกับภรรยาของข้าพเจ้า พอตกกลางคืนข้าพเจ้าได้ยินเสียงดังที่ประตูเมือง ข้าพเจ้าจึงลุกขึ้นยืนดู

ภรรยาของข้าพเจ้ากล่าวว่า

“อาจเป็นเสียงของลมพัดก็ได้”

แต่แล้วไม่ทันไร ประตูบ้านที่ข้าพเจ้าอยู่ขณะนั้นก็เปิดออก แล้วคนชื่อ ‘มัซรูร’ก็พรวดพลาดเข้ามา พลางกล่าวว่า

“จงยอมรับคอลีฟะฮฺฮารูน รอชีด”

โดยมิได้ให้สลามแก่ข้าพเจ้าแต่ประการใด ข้าพเจ้ารู้สึกผิดหวังมาก นึกในใจว่า ‘มัซรูร’ ผู้นี้เข้ามาโดยไม่ขออนุญาตและไม่ให้สลาม ฉะนั้นย่อมไม่มีจุดประสงค์อื่นนอกจากมาฆ่า ขณะนั้น

ข้าพเจ้ามีญุนุบอยู่จึงไม่ได้ถามอะไรเขา โดยให้เขาคอยข้าพเจ้าซึ่งต้องอาบน้ำชำระร่างกายเสียก่อน

ภรรยาของข้าพเจ้ากล่าวว่า

“จงยึดมั่นต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)อย่างหนักแน่น แล้วลุกออกไปเถิด”

ข้าพเจ้าจึงลุกออกไปสวมเสื้อผ้า แล้วออกมาพร้อมกับเขาจนถึงอาคาร ข้าพเจ้าได้กล่าว

สลามท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน(คอลีฟะฮฺฮารูน รอชีด) ที่กำลังเอนเอกเขนกอยู่ เขารับสลาม แล้วข้าพเจ้าก็นั่งลง

เขากล่าวว่า

“ท่านกลัวมากใช่ไหม ?”

๑๑๒

ข้าพเจ้าตอบว่า

“ใช่แล้ว โอ้ ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน”

เขาปล่อยให้ข้าพเจ้าพักสงบจิตใจอยู่ครู่หนึ่ง แล้วกล่าวว่า

“จงออกไปยังคุกของเรา แล้วปล่อยมูซา บินญะอฺฟัร บินมุฮัมมัด ออกมา พร้อมกับจ่ายเงินให้กับเขาสามหมื่นดิรฮัม และให้พาหนะอีกสามชุด และให้ออกเดินทางไปจากเรา ไปที่ไหนก็ได้ตามที่เขาปรารถนา”

ข้าพเจ้าพูดกับเขาว่า

“โอ้ ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน ท่านจะปล่อยตัวมูซา บินญะอฺฟัร กระนั้นหรือ ?”

เขาตอบว่า

“ใช่แล้ว”

ข้าพเจ้าทวนคำถามถึงสามครั้ง เขาก็ตอบว่า

“ใช่แล้ว ท่านต้องการจะให้ฉันผิดคำสัญญากระนั้นหรือ ?”

ข้าพเจ้าถามว่า

“โอ้ ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน คำสัญญาที่ว่านั้นหมายถึงอะไร ?”

ฮารูน รอชีดกล่าวว่า

“ขณะที่ข้านอนอยู่บนเตียงแห่งนี้ มีสิงโตตัวหนึ่งขึ้นมาคร่อมบนหน้าอก และขย้ำตรงคอหอยของข้า มันเป็นสิงโตตัวใหญ่ชนิดที่ข้าไม่เคยเห็นมาก่อน และมันพูดกับข้าว่า

“ท่านกักขังมูซา กาซิมด้วยกับความอธรรม”

๑๑๓

ข้าจึงพูดกับมันว่า

“ข้าจะปล่อยตัวเขาและจะมอบสิ่งของให้เขา ข้าขอทำสัญญากับ

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)

มันจึงออกไปจากหน้าอกของข้า ซึ่งแทบว่าชีวิตของข้าจะปลิดออกจากร่าง”

ท่านอับดุลลอฮฺ บินศอลิฮฺได้เล่าต่อไปว่า : แล้วข้าพเจ้าก็ออกจากที่นั่น และไปพบท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ซึ่งกำลังอยู่ในคุก ข้าพเจ้าเห็นท่าน(อฺ)นมาซ ข้าพเจ้าจึงนั่งรอจนท่าน(อฺ)ให้สลาม

หลังจากนั้นข้าพเจ้าได้เข้าไป แล้วกล่าวว่า

“ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน(ฮารูน รอชีด) ฝากสลามมายังท่าน และแจ้งให้ท่านทราบถึงเรื่องที่ข้าพเจ้าได้รับคำสั่งมา และข้าพเจ้าก็ได้นำคำสั่งนั้นมายังท่านแล้ว”

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ถึงแม้ท่านจะถูกสั่งมาให้ทำอย่างอื่น ท่านก็จงกระทำเถิด”

ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า

“หามิได้ ขอสาบานต่อสิทธิของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ว่าข้าพเจ้ามิได้ถูกสั่งมาให้กระทำอย่างอื่นนอกจากสิ่งนี้”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ไม่มีความจำเป็นอันใดสำหรับข้าพเจ้าในเรื่องการมอบเสื้อผ้า ทรัพย์สิน ยานพาหนะต่างๆในเมื่อสิ่งนั้นๆ เป็นสิทธิของประชาชาติอิสลาม”

ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า

“ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ท่านอย่าได้ปฏิเสธเลย”

๑๑๔

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ท่านจงกระทำในสิ่งที่ท่านต้องการเถิด”

ข้าพเจ้าได้จับมือท่านอิมาม(อฺ) แล้วนำท่าน(อฺ)ออกจากคุก จากนั้นจึงได้กล่าวกับท่าน(อฺ)ว่า

“โอ้ท่านผู้เป็นบุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)โปรดบอกข้าพเจ้าซิว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ท่านได้รับความเอื้อเฟื้อจากชายคนนี้เป็นสิทธิของข้าพเจ้าเหนือท่านที่จะต้องแสดงความยินดีกับท่าน และได้รับรางวัลจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) จากผลงานอันนี้”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ฉันได้ฝันเห็นศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ในคืนวันพุธที่ผ่านมา ท่าน(ศ)บอกฉันว่า

“มูซา เอ๋ย เจ้าถูกกักขังด้วยกับความอธรรม”

ฉันตอบว่า

“ใช่แล้ว ยารอซูลุลลอฮฺ”

ท่าน(ศ)กล่าวอย่างนี้สามครั้ง แล้วท่าน(ศ)พูดอีกว่า

“หวังว่าสิ่งนี้ จะเป็นการทดสอบสำหรับพวกเจ้า และเป็นความสุขชั่วระยะหนึ่ง เจ้าจงถือศีลอดในพรุ่งนี้เช้า และจงถือติดต่อทั้งวันพฤหัสและวันศุกร์ ครั้นถึงเวลาละศีลอด เจ้าจงนมาซ ๑๒ร็อกอะฮฺ ในทุกร็อกอะฮฺนั้น

 จงอ่านอัล-ฮัมดุ ๑ ครั้ง และอ่านกุลฮุวัลลอฮุ อะฮัด ๑๒ ครั้ง ครั้นทำ

นมาซครบ ๔ ร็อกอะฮฺ

๑๑๕

แล้วจงซุญูด แล้วให้อ่านดุอฺาอ์บทหนึ่ง ดังนี้ :

“โอ้ผู้ทรงชัยชนะ ผู้ทรงได้ยินเสียงต่างๆ ทั้งหมด ผู้ทรงให้ชีวิตแก่กระดูกที่มันผุกร่อน หลังจากความตาย ข้าฯขอต่อพระนามของพระองค์

พระผู้ทรงยิ่งใหญ่ ขอพระองค์ทรงประทานพรแด่มุฮัมมัด บ่าวของพระองค์และศาสนทูตของพระองค์ และแด่บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺผู้บริสุทธิ์ของพระองค์ และโปรดได้บันดาลให้ข้าฯ ได้รับความรอดพ้นโดยเร็วพลัน”

ฉันได้กระทำอย่างนั้น แล้วเหตุการณ์ก็เป็นไปเหมือนที่ท่านได้เห็น(๒)

(๒) มะดีนะตุล-มะอาญิช หน้า ๓๙๔.

คำสดุดี จากบรรดานักปราชญ์ต่ออิมามมูซา บินญะอฺฟัร(อฺ)

บรรดามุสลิมทั้งหลายถึงแม้จะมีมัซฮับแตกต่างกัน แต่ก็ลงความเห็นตรงกันในเรื่องของเกียรติยศของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ตลอดทั้งยอมรับในเรื่องวิชาการ ตำแหน่งอันสูงส่ง

และความมีสถานภาพที่ใกล้ชิดต่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) นักปราชญ์ทั้งหลายต่างได้บันทึกเรื่องดังกล่าวไว้ในตำราของพวกเขาเกี่ยวกับฮะดีษต่าง ๆ ที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)กล่าวถึงท่าน(อฺ)เหล่านั้น มีการอธิบายกันถึงเกียรติประวัติ จริยธรรม ความเฉลียวฉลาดและความรอบรู้ของท่าน(อฺ)เหล่านั้น

๑๑๖

ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ผนวกบุคคลเหล่านั้นให้อยู่ควบคู่กับอัล-กุรอาน เช่น ในฮะดีษที่ว่าด้วย

 ‘อัษ-ษะก่อลัยนฺ’ (สิ่งสำคัญสองประการ) และที่อุปมาว่า

บุคคลเหล่านั้นเหมือนเรือของท่านนบีนูฮฺ(อฺ) ถ้าผู้ใดขึ้นเรือก็จะปลอดภัย ผู้ใดผลักไสก็จะพินาศล่มจม และเปรียบว่าคนเหล่านั้นเหมือนประตูอัล-ฮิฏเฏาะฮฺ ที่ถ้าหากใครเข้าไปก็จะปลอดภัย

อีกทั้งมีฮะดีษมากมายที่รายงานว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวถึงเกียรติคุณของท่าน(อฺ)เหล่านั้นไว้

ในบทนี้เราจะเสนอคำสดุดีของบุคคลต่างๆ ที่มีต่อท่านอิมามมูซา

 กาซิม(อฺ) ดังต่อไปนี้

๑. ท่านอิมามศอดิก (อฺ) ได้กล่าวว่า:

ท่านมูซา กาซิมเป็นคนรอบรู้ในกฎเกณฑ์ มีความเข้าใจจริงและรู้จักอย่างถ่องแท้ในเรื่องที่มนุษย์ทั้งหลายจำเป็น ซึ่งเรื่องนั้นๆ คนทั้งหลายขัดแย้งกันในกิจการศาสนา เขาเป็นคนมีจริยธรรมที่ดีงาม เป็นเพื่อนบ้านที่ดี และเป็นประตูบานหนึ่งในหลายๆ ประตูที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเปิดให้(๑)

(๑) บิฮารุ้ล-อันวารฺ เล่ม ๑๑ หน้า ๒๓๔.

๑๑๗

๒. ฮารูน รอชีดได้กล่าวว่า:

สำหรับมูซา กาซิมนั้น เขาคือประมุขทางศาสนาของพวกตระกูลฮาซิม(๒)

(๒) อันวารุล-บะฮียะฮฺ ๙๒.

เขายังได้พูดกับมะอ์มูน ผู้เป็นบุตรชายของเขาอีกว่า

“มูซา ผู้นี้คืออิมามของมนุษยชาติ เป็นข้อพิสูจน์หนึ่งของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่มีต่อมวลมนุษย์ และเป็นค่อลีฟะฮฺของพระองค์ในหมู่ปวงบ่าวทั้งหลายของพระองค์”(๓)

(๓) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ ๔ กอฟ เล่ม ๓ หน้า ๕๑.

เขาได้กล่าวต่อไปอีกว่า

“โอ้ลูกเอ๋ย มูซา กาซิมผู้นี้เป็นทายาททางความรู้วิชาการของบรรดานบี ถ้าเจ้าต้องการความรู้ที่ถูกต้อง ก็จงไปเอาจากเขาผู้นี้แหละ”(๔)

(๔) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๓๘๓. อะมาลี ของเชค ศ็อดดูก ๓๐๗.

๑๑๘

๓. มะอ์มูน กษัตริย์ในราชวงศ์อับบาซียะฮฺได้กล่าวถึงอิมามมูซา กาซิม (อฺ) ว่า:

ท่านเป็นคนเคร่งครัดในการทำอิบาดะฮฺอย่างยิ่ง ใบหน้าและจมูกของท่านมีแต่การกราบพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น(๕)

(๕) อันวารุล-บะฮียะฮฺ ๙๓.

๔. ท่านอีซา บินญะอฺฟัรได้เขียนจดหมายไปหาฮารูน รอชีดว่า:

ตลอดเวลาที่ท่านมูซา กาซิมอยู่ในคุกอย่างยาวนานนั้น ฉันไม่เคยเห็นเขาว่างเว้นจากการอิบาดะฮฺเลย ฉันได้จัดคนให้คอยฟังการขอดุอฺาอ์ของเขา ปรากฏว่าเขาไม่เคยขอดุอฺาอ์สาปแช่งท่านและฉันเลย และไม่เคยกล่าวถึงเราในทางที่ไม่ดี และไม่เคยขออะไรให้กับตัวเอง นอกจากการอภัยและความเมตตา(๖)

(๖) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ ๔ ก็อฟ ๓/๗๑.

๕. ท่านอะบูอฺะลี อัล-คิลาล (นักปราชญ์มัซฮับฮันบะลี) ได้กล่าวว่า:

เมื่อฉันกลุ้มใจในเรื่องใด ฉันจะไปยังสุสานของท่านอิมามมูซา กาซิมเสมอเพื่อขอการตะวัซซุล แล้วอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็ทรงให้ความสะดวกในกิจการที่ฉันอยากได้เสมอ(๗)

(๗) ตารีค บัฆดาด เล่ม ๑ หน้า ๑๒๐.

๑๑๙

๖. อิมามชาฟิอีได้กล่าวว่า:

สุสานของอิมามมูซา กาซิมคือสถานที่ที่มีความประเสริฐสูงส่งยิ่ง”(๘)

(๘) ตุฮฺฟะตุล-อาลิม เล่ม ๒ หน้า ๒๒.

๗. ท่านอะบูฮาติมได้กล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิม คือผู้ที่น่าเชื่อถือในด้านรายงานฮะดีษ(ษิกเกาะฮฺ) และสัจจริง และเป็นผู้นำ(อิมาม)ของประชาชาติมุสลิมทั้งหลาย(๙)

 (๙) ตะฮุชีบุต-ตะฮฺชีบ เล่ม ๑๐ หน้า ๒๔๐.

๘. ท่านอับดุรเราะฮฺมาน บินอัล-เญาซีกล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิมได้ชื่อว่าเป็นบ่าวที่มีคุณธรรม เพราะการอิบาดะฮฺ การอิจญ์ติฮาด และดำรงนมาซในยามกลางคืน และท่านเป็นคนที่มีเกียรติที่สุภาพ เมื่อท่านได้รับข่าวคราวว่า ใครกล่าวร้ายท่าน ท่านจะตอบแทนคนนั้นด้วยทรัพย์สินเสมอ(๑๐)

(๑๐) ศิฟะตุศ-ศ็อฟวะฮฺ เล่ม ๒ หน้า ๑๐๓.

๑๒๐

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133