ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม28%

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 133

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 133 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 63356 / ดาวน์โหลด: 5547
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

และเช่นเดียวกัน ด้วยกับทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก ได้อธิบายไปแล้วว่า

 การมีอยู่ของพระเจ้า ในสภาพที่พระองค์เป็นผู้ทรงดูแล และเป็นผู้ทรงจัดระบบและระเบียบให้กับโลก ดังนั้น จุดมุ่งหมายหลักของข้อพิสูจน์นี้ ก็คือ การพิสูจน์ว่า พระเจ้านั้นมีอยู่จริงใช่หรือไม่ มิได้หมายความว่า การพิสูจน์ว่า พระเจ้ามีคุณลักษณะบางประการอยู่ในพระองค์ สมมุติว่าคุณลักษณะเหล่านั้นเกิดขึ้นมาก่อนที่จะพิสูจน์ด้วยกับเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง และการสร้างมโนภาพถึง อาตมันของพระองค์ ที่มีคุณลักษณะดังกล่าว หลังจากนั้น จึงทำการพิสูจน์ถึงการมีอยู่ของพระองค์ ในสภาพที่เป็น สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ และเป็นผู้ทรงดูแลและจัดระบบและระเบียบให้กับโลกใบนี้ เป็นอันดับแรก  แล้วจะมาพิสูจน์ในคุณลักษณะประการอื่นๆ เป็นอันดับต่อไป

การพิสูจน์ในคุณลักษณะประการแรก ถูกเรียกว่า “คุณลักษณะในลำดับแรก”

การพิสูจน์ในคุณลักษณะประการอื่นๆ ถูกเรียกว่า “คุณลักษณะในลำดับรอง”

ในบทที่เกี่ยวกับคุณลักษณะของพระเจ้า จะมาอธิบายกันต่อไป ถึงคุณลักษณะในลำดับแรก นั่นก็คือ สิ่งจำเป็นต้องมีอยู่ของพระองค์ ซึ่งเป็นบรรทัดฐานต่อการพิสูจน์ในการมีอยู่ของคุณลักษณะประการอื่นๆ

๖๑

   อัล กุรอานกับความต้องการของสิ่งมีชีวิตยังพระเจ้า

  ข้อพิสูจน์วุญูบและอิมกาน มิได้ถูกกล่าวไว้ในอัล กุรอาน แต่บางโองการของอัล กุรอานได้กล่าวถึง ความต้องการของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายยังพระเจ้า ซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกับข้อพิสูจน์นี้

อัล กุรอานกล่าวว่า

“โอ้มนุษย์เอ๋ย สูเจ้าเป็นผู้ขัดสนต้องการพึ่งอัลลอฮ์ (พระเจ้า) และอัลลอฮ์ทรงไม่ต้องการสิ่งใดเลย พระองค์ควรค่าแด่การสรรเสริญยิ่ง” (บทอัลฟาฏิร โองการที่ ๑๕)

ดังนั้น ความหมายของ “ความต้องการ” ในโองการนี้บ่งบอกว่า มนุษย์มีความต้องการพึ่งยังพระเจ้า และในบางโองการได้กล่าวถึงสิ่งถูกสร้างอื่น และรวมทั้งมนุษย์ด้วย ในขณะที่พระเจ้า เป็นพระผู้ทรงสร้างทุกสรรพสิ่ง

อัล กุรอานกล่าวอีกว่า

“หรือว่าพวกเขาถูกสร้างมาโดยไม่มีผู้สร้าง หรือว่าพวกเขาเป็นผู้สร้างเสียเอง?”

 ( บทอัฏฏูร โองการที่ ๓๕ )

โองการนี้ได้กล่าวถึง มนุษย์ทุกคน เป็นสิ่งถูกสร้างของพระเจ้า เพราะว่า มนุษย์นั้นไม่มีอยู่มาดั้งเดิม หลังจากนั้นมนุษย์ก็เกิดขึ้นมา

การเกิดขึ้นของมนุษย์ จึงมีด้วยกัน ๒ สภาพ

๑.มนุษย์เกิดขึ้นเองโดยที่ไม่มีสาเหตุ

๒.มนุษย์เกิดขึ้นได้ด้วยตัวของเขาเอง

๖๒

ดังนั้น ทั้งสองสภาพนี้ ถือว่าไม่ถูกต้อง จะคงเหลือเพียงสมมุติฐานหรือสภาพเดียว นั่นก็คือ มนุษย์เกิดขึ้นมาจากพระผู้ทรงสร้างเพียงพระองค์เดียว ดังนั้น โองการนี้ได้กล่าวว่า พระเจ้า เป็นผู้ทรงสร้างมนุษย์ทั้งหลายขึ้นมา

   ศัพท์วิชาการท้ายบทที่ ๔

    

วาญิบุลวุญูด หมายถึง สิ่งจำเป็นต้องมีอยู่         : Necessary existence

                                                      มุมกินุลวุญูด หมายถึง สิ่งที่ต้องพึ่งพาสิ่งอื่น   : Possible existence

 : Cause and effect   กฏที่ว่าด้วยเหตุและผล

  ตะซัลซุล หมายถึง กฏลูกโซ่ : Endless regress

กฏวัฏจักรที่เปิดเผย : Period of concealment

  กฏวัฏจักรที่ซ่อนอยู่ : Cycle of unveiling

 คุณลักษณะลำดับแรก 

 คุณลักษณะลำดับรอง

๖๓

   สรุปสาระสำคัญ

๑.การรู้จักพระเจ้าด้วยเหตุผลทางสติปัญญา หมายถึง การรู้จักพระองค์โดยการอาศัยหลักปรัชญาและกฏต่างๆของตรรกศาสตร์  ดังนั้น การเข้าใจในข้อพิสูจน์ที่เกิดขึ้นจากเหตุผลทางสติปัญญานี้ มีความยุ่งยากสำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจในหลักของปรัชญา ซึ่งต้องผ่านการศึกษาในวิชาปรัชญาก่อน จึงจะมีความเข้าใจได้

๒.เหตุผลทางสติปัญญาการพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้าและการรู้จักพระองค์ เมื่อได้เปรียบเทียบกับเหตุผลอื่นๆ ถือว่ามีประโยชน์มากกว่า เพราะว่าสามารถใช้ในการโต้ตอบกับผู้ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า และยังมีผลในการเสริมสร้างความศรัทธาให้กับผู้ศรัทธาอีกด้วย ในเวลาที่พวกเขาประสบกับปัญหาต่างๆในการดำเนินชีวิต      

๓.มุมกินุลวุญูด คือ สิ่งที่สามารถจะมีอยู่ก็ได้หรือไม่มีอยู่ก็ได้ หมายความว่า การมีอยู่ของสิ่งนั้นไม่มีความจำเป็นและสามารถที่จะแยกออกจากกันได้

วาญิบุลวุญูด คือ สิ่งที่มีความจำเป็นที่จะต้องมีอยู่ และไม่สามารถที่จะแยกมันจากการมีได้

๔.ความหมายของกฏแห่งปฐมเหตุ หมายถึง ทุกสรรพสิ่งเป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพา และในการเกิดขึ้นของสิ่งนั้นมีความต้องการไปยังสิ่งอื่น ดังนั้น ตามหลักของกฏแห่งปฐมเหตุ คือ ทุกสรรพสิ่งเป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพา ซึ่งมีความต้องการเหตุในการเกิดขึ้นของสิ่งนั้น

๖๔

๕.การเกิดขึ้นของกฏของลูกโซ่ หมายความว่า การที่ไม่มีที่สิ้นสุดของลูกโซ่ในเหตุและผลต่างๆ และเช่นเดียวกัน กฏแห่งวัฏจักร มีความหมายว่า สิ่งหนึ่งด้วยการที่ต้องพึ่งพาสื่อหรือไม่ต้องพึ่งพาสื่อ เป็นสาเหตุให้กับสิ่งนั้น ดังนั้น ทั้งสองกฏ กล่าวคือ กฏของลูกโซ่และกฏแห่งวัฏจักร จะเกิดขึ้นไม่ได้ ในความเป็นจริง

๖.บทสรุปของข้อพิสูจน์วุญูบและอิมกาน คือ สิ่งที่อยู่ในโลกนี้ มีสองอย่าง คือ สิ่งที่เป็นมุมกินุลวุญูด(สิ่งสามารถมีอยู่ได้) หรือเป็นวาญิบุลวุญูด(สิ่งจำเป็นต้องมีอยู่) และการมีอยู่ของพระเจ้า เป็น วาญิบุลวุญูด หมายความ พระองค์เป็นสิ่งจำเป็นต้องมีอยู่

๖๕

ภาคที่สอง

เตาฮีด (ความเป็นเอกานุภาพของพระเจ้า)

     บทที่ ๑ ความเป็นเอกานุภาพของพระเจ้า

     เนื้อหาทั่วไป

    ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาแห่งเอกะเทวนิยม ที่มีคำสอนหลักในเตาฮีด (ความเป็นเอกานุภาพของพระเจ้า) และ การเคารพภักดีต่อพระเจ้าเพียงองค์เดียว  ดังนั้น เตาฮีดในทัศนะของอิสลาม  จึงถือว่า มีความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะว่าพระมหาคัมภีร์อัล กุรอาน ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นอมตะนิรันดร์ ได้กล่าวย้ำถึงหลักศรัทธานี้ และจะเห็นได้ว่า ความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้านั้นอยู่ควบคู่กับการยอมรับในสภาวะความเป็นศาสดาของท่านศาสดามุฮัมหมัด  (ซ็อล)  นั่นคือ หนึ่งในเงื่อนไขของการที่จะเข้ารับอิสลาม ศาสนาแห่งความสันติ และความผาสุก ดังนั้น การรู้จักถึงพระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว และการเคารพภักดีต่อพระองค์ ก็คือ ความหมายของความเป็นเอกานุภาพ และหลักการนี้ก็มิได้ถูกจำกัดในหลักศรัทธาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังได้ครอบคลุมถึงคำสอนอื่นๆอีกด้วย เช่น ในหลักปฏิบัติ ,หลักศีลธรรมและจริยธรรม ซึ่งจะเห็นได้ว่า ระบบของจริยธรรมอิสลามนั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นเอกานุภาพ และส่วนมากของหลักปฏิบัติ ก็เกิดขึ้นมาจากหลักความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าด้วยเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ยังมีผลต่อมนุษย์ทั้งในด้านความคิด ,ความศรัทธาและในการปฏิบัติ  และจากความเชื่อในหลักการนี้ สามารถที่จะบอกถึงความแตกต่างระหว่างมนุษย์ผู้ที่มีความศรัทธาต่อพระเจ้ากับมนุษย์ผู้ที่ได้ปฏิเสธพระองค์ได้อย่างชัดเจน

๖๖

 

และในตอนท้าย สามารถสรุปได้ว่า หลักเตาฮีด(ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า) คือ รากฐานของต้นไม้แห่งอัล-อิสลาม ส่วนหลักการอื่น ไม่ว่าจะเป็น หลักการศรัทธา ,หลักการปฏิบัติ และหลักศีลธรรม ,จริยธรรมทั้งหมดเหล่านั้น เป็นดั่งกิ่งก้านสาขา อีกทั้งยังเป็นดั่งผลผลิตของต้นไม้ต้นนั้นอย่างแน่นอน

    ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าที่มีกล่าวไว้ในศาสนาอื่นๆ          

    โองการต่างๆของอัล กุรอานและหลักฐานจากประวัติศาสตร์ได้บันทึก และยืนยันอย่างชัดเจนว่า ความเชื่อในเอกานุภาพมิได้ถูกจำกัดหรือเฉพาะเจาะจงกับศาสนาอิสลามเท่านั้น แต่ทว่าบรรดาศาสดา ต่างได้เชิญชวนมนุษยชาติสู่ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสิ้น และในคำสอนของทุกศาสนา ก็มีคำสอนในหลักการนี้ ด้วยเช่นเดียวกัน

อัล กุรอาน กล่าวว่า

“เรามิได้ส่งศาสนทูตใดมาก่อนเจ้า (มุฮัมมัด) นอกจาก เราได้ประทานวะฮ์ยู (การวิวรณ์) ว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากฉัน เจ้าจงทำการเคารพภักดีต่อฉัน” (บทอัลอัมบิยา โองการที่ ๒๕ )

และสาเหตุของการเกิดการสู้รบของบรรดาศาสดา ก็มาจากความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า และการให้ทัศนะที่แตกต่างกัน เช่น การเป็นประกาศการเป็นศัตรูของนัมรูดกับศาสดาอิบรอฮีม เพราะว่า ศาสดาอิบรอฮีมได้เชิญชวนให้มาสู่ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ในขณะที่เขาได้ปฏิเสธ และไม่เชื่อในหลักการศรัทธานี้

    ความหมายที่ลึกซึ้งของความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าในทัศนะของอิสลาม

    ได้กล่าวไปแล้วว่า ความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า มิได้ถูกจำกัดหรือเฉพาะเจาะจงกับศาสนาอิสลาม เพียงศาสนาเดียวเท่านั้น แต่ทว่าบรรดาศาสดาทุกท่านได้เชิญชวนประชาชาติมาสู่ความเป็นเอกานุภาพของพระองค์ และการเชิญชวนไปสู่ความเป็นเอกานุภาพในคำสอนของบรรดาศาสดานั้น ก็มิได้มีความแตกต่างกับอิสลามมากสักเท่าใด แต่เพียงเป็นการเน้นย้ำอีกครั้ง ในหลักศรัทธา ที่ได้นำมาจาก อัล กุรอาน และวจนะ ของบรรดาผู้นำ ผู้บริสุทธิ์ (ขอความสันติพึงมีแด่พวกท่าน) ซึ่งมีความหมายที่ลึกซึ้งและละเอียดอ่อน

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ของอิสลาม เป็นหลักการที่มนุษย์ธรรมดาเข้าใจได้ว่า  คือ บทเรียนแห่งการดำเนินชีวิตของพวกเขา และยังมีประโยชน์อีกมากมาย อีกทั้งบรรดานักปรัชญา,

นักเทววิทยาและนักรหัสยวิทยาอิสลามต่างก็ได้เชิญชวนมนุษย์ให้ใช้สติปัญญาและหาเหตุผลมาพิสูจน์ถึงหลักการนี้ ด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้น ความเชื่อหลักการนี้ในอิสลาม มีการอธิบายที่มีความหมายลึกซึ้ง และมีลักษณะที่พิเศษ เพราะว่า ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาสุดท้าย หลังจากศาสนาอิสลาม ไม่มีศาสนาอื่นเกิดขึ้นมาอีก ซึ่งศาสนาอิสลามก็ยังสามารถตอบปัญหาได้ทุกปัญหาอีกด้วย

๖๗

    ความหมายทางภาษาของ เตาฮีด

    คำว่า “เตาฮีด” ในภาษาอาหรับ มาจากรากศัพท์ของคำว่า วะฮะดะ เป็นคุณศัพท์ มาจากบาบตัฟอีล ความหมายหนึ่งของบาบนี้  คือ การมีอยู่ของคุณลักษณะประการหนึ่งในสิ่งหนึ่ง เหมือนกับคำว่า ตะอฺซีม หมายถึง การมีความสูงส่ง และคำว่า ตักฟีร หมายถึง การมีความปฏิเสธ ด้วยเหตุนี้ เตาฮีด จึงมีความหมายว่า  การมีความเป็นหนึ่งเดียว

พึงสังเกตุไว้เถิดว่า อัลกุรอานได้กล่าวถึง คำที่มีความหมายว่า เตาฮีด(ความเป็นหนึ่งเดียว) ไว้มากมาย ในขณะเดียวกันก็มิได้ใช้คำว่า เตาฮีด และคำที่คล้ายคลึงกัน แต่กลับใช้คำที่อธิบายในความหมายของเตาฮีดแทน ในขณะที่วจนะทั้งหลาย ได้กล่าวคำว่า เตาฮีด และคำที่คล้ายคลึงกันไว้อยู่มาก

    ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎี ความศรัทธา และการปฏิบัติ

    เตาฮีด(ความเป็นเอกานุภาพ) สามารถที่จะแบ่งได้ ๒ ประเภท มีดังนี้

๑.ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎี ความศรัทธา หมายถึง ความเชื่อในความเป็นหนึ่งเดียวและความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ว่าในอาตมัน, คุณลักษณะ และในกริยา การกระทำ

๖๘

๒.ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ หมายถึง การปฏิบัติและการกระทำที่ตรงกับความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพ ซึ่งหมายความว่า มนุษย์จะต้องปฏิบัติตามความเชื่อในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า เช่น ในการเคารพภักดี ก็เป็นประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ หมายถึง การเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว และไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากพระองค์เท่านั้น

    ความหมายในเชิงวิชาการของ ความเป็นเอกานุภาพ

    การให้คำนิยามของความเป็นเอกานุภาพที่สมบูรณ์แบบที่สุดนั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะว่า การให้คำนิยามที่ครอบคลุมในทุกประเภทนั้นมีความยากลำบาก แต่หลังจากที่เราได้แบ่งประเภทของความเป็นเอกานุภาพออกเป็น  ๒ ประเภท ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา และการปฏิบัติ ก็สามารถที่จะให้คำนิยามตามความหมายในเชิงวิชาการได้ ดังนี้

ความเป็นเอกานุภาพในเชิงวิชาการ  หมายถึง  “ความเชื่อในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า ในอาตมัน ,คุณลักษณะ และรวมถึง กริยา การกระทำของพระองค์ด้วย อีกทั้งยังมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามความเชื่อนี้”

หลังจากที่ยอมรับว่า การให้คำนิยามของหลักเอกภาพนั้นไม่ค่อยจะสมบูรณ์แบบมากเท่าไร แต่การให้คำนิยาม ก็เพื่อที่จะทำให้มีความเข้าใจในความหมายของความเป็นเอกานุภาพได้มากยิ่งขึ้น

๖๙

    อีกสองความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพ

    บางครั้งความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพ ที่ถูกกล่าวไว้ในหลักศรัทธา มีความหมายกว้าง ซึ่งได้ครอบคลุมความหมายของ

ความเป็นเอกานุภาพในเชิงวิชาการด้วย และได้รวมถึงประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า ไม่ว่าจะเป็น การรู้จักพระองค์, เหตุผลการมีอยู่ของพระองค์ ,การพิสูจน์คุณลักษณะของพระองค์ และอื่นๆ เป็นต้นฯ

นักเทววิทยาอิสลามบางคน ได้ให้คำนิยามของ ความเป็นเอกานุภาพ อีกสองความหมาย ก็คือ ความหมายโดยทั่วไป และความหมายที่เฉพาะเจาะจง มีดังนี้

“พึงรู้ไว้เถิดว่า ความหมายที่แท้จริงของความเป็นเอกานุภาพ หมายถึง ความเชื่อที่ไม่มีข้อคลางแคลงใดๆในพระผู้เป็นเจ้าและไม่มีการตั้งภาคีใดๆในอาตมัน, พระนามและคุณลักษณะของพระองค์”.........

ส่วนอีกความหมายหนึ่งของ ความเป็นเอกานุภาพ เป็นหนึ่งในรากฐานห้าประการของศาสนา คือ การรู้จักถึงพระจ้าในอาตมันและคุณลักษณะของพระองค์.......( อันนิซอมียะฮ์ ฟียฺ มัศฮับ อัลอิมามียะฮ์ หน้าที่ ๗๗ )

จากความหมายข้างต้นนี้ บ่งบอกถึงความหมายที่เฉพาะเจาะจงของความเป็นเอกานุภาพ นั่นคือ  ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า และการปฏิเสธการตั้งภาคีทั้งหลาย และความหมายทั่วไปของความเป็นเอกานุภาพ ก็คือ การพิสูจน์ว่าพระเจ้า และคุณลักษณะของพระองค์มีอยู่จริง นอกเหนือจากที่ได้กล่าวไปแล้ว

๗๐

 ยังมีอีกสอง ประเด็นที่สำคัญ คือ

๑.ความเป็นเอกานุภาพ เป็นหนึ่งในห้าประการของหลักศรัทธา ต่อจาก หลักศรัทธาต่อความยุติธรรมของพระเจ้า ,หลักศรัทธาต่อสภาวะความเป็นศาสดา ,หลักศรัทธาต่อวันแห่งการตัดสิน และหลักศรัทธาต่อสภาวะความเป็นผู้นำของวงศ์วานผู้บริสุทธิ์ทั้งหลายสืบต่อจากศาสดามุฮัมมัด

 ด้วยเหตุนี้ ความหมายทั่วไปของความเป็นเอกานุภาพ  หมายถึง การรู้จักถึงพระเจ้า

๒.สาเหตุการเรียกชื่อ การรู้จักถึงพระเจ้า ว่า ความเป็นเอกานุภาพ ถือว่าเป็นการตั้งชื่อที่สมบูรณ์แบบ เพราะว่า มีความหมายครอบคลุมในทุกประเด็นที่เกี่ยวกับการรู้จักพระองค์ และยังถือว่า ความเป็นเอกานุภาพ เป็นหนึ่งในหลักศรัทธาที่สำคัญของอิสลามอีกด้วย

    ความเป็นเอกานุภาพในมุมมองของเทววิทยาอิสลาม

    ก่อนที่จะอธิบายในความเป็นเอกานุภาพของพระเจ้า มีคำถามเกิดขึ้นว่า ความเป็นเอกานุภาพ เป็นประเด็นที่ถูกกล่าว  ไว้ในห้วข้อใดของเทววิทยาอิสลาม?

คำตอบ จากการสังเกตในความหมายของความเป็นเอกานุภาพ จะเห็นได้ว่า ความเป็นจริงและสารัตถะของความเป็น เอกานุภาพ ก็คือ เป็นส่วนหนึ่งของคุณลักษณะบางประการของพระผู้เป็นเจ้า นั่นคือ ความเป็นเอกะและเป็นความเป็นหนึ่งเดียวของพระองค์

ด้วยเหตุนี้ บรรดานักเทววิทยาอิสลาม จึงมีสองวิธีการที่ใช้ในการอธิบายถึง ความเป็นเอกานุภาพของพระเจ้า ซึ่งมีดังนี้

๗๑

๑.ความเป็นเอกานุภาพ เป็นส่วนหนึ่งของคุณลักษณะของพระเจ้าบางประการของพระเจ้า ซึ่งรวมถึงคุณลักษณะประการอื่นๆ ของพระองค์ด้วย

๒.ความเป็นเอกานุภาพ เป็นประเด็นอิสระ เนื่องจากเป็นประเด็นที่มีความสำคัญต่อในการรู้จักถึงพระเจ้า

และ จะมาอธิบายกันในวิธีการทั้งสองของ ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ในบทต่อไป

ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าในมุมมองของอัลกุรอาน และวจนะ

    หลังจากที่อธิบายไปแล้วว่า ความเป็นเอกานุภาพ เป็นหนึ่งในหลักศรัทธาที่สำคัญของอิสลาม นอกเหนือจาก เป็นประเด็นหนึ่งของการรู้จักพระเจ้า และได้รวมถึงประเด็นต่างๆในหลักจริยธรรม และในหลักการปฏิบัติก็มีความสำคัญต่อหลักการนี้ด้วย

และด้วยเหตุนี้ อัล กุรอานและวจนะของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และวจนะของบรรดาอิมาม ผู้นำ ผู้บริสุทธิ์ (ขอความสันติพึงมีแด่พวกท่าน) ซึ่งเป็นคำสอนของพระผู้เป็นเจ้า ก็ได้ให้ความสำคัญในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า เช่นเดียวกัน

๗๒

 ณ ที่นี้ ได้ขอนำเอาบางส่วนของโองการจากอัล กุรอาน และวจนะที่กล่าวถึง เตาฮีด แต่สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม สามารถศึกษา และค้นคว้าได้จากตำราที่เกี่ยวกับการอรรถาธิบายอัลกุรอาน เป็นอันดับต่อไป

    ความสำคัญของความเป็นเอกานุภาพในศาสนาอิสลามและศาสนาอื่น

   ได้กล่าวไปแล้วว่าความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า มิได้ถูกจำกัดหรือเฉพาะเจาะจงกับศาสนาอิสลามเท่านั้น แต่ทว่าบรรดาศาสดาทุกคนต่างก็ได้เชิญชวนมนุษย์มาสู่ความเป็นเอกานุภาพด้วยเหมือนกัน

  อัล กุรอานกล่าวว่า

“เรามิได้ส่งศาสนทูตใดมาก่อนเจ้า (มุฮัมมัด) นอกจากเราได้ลงการวิวรณ์ ว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากฉัน เจ้าจงทำการเคารพภักดีต่อฉัน” (บทอัลอัมบิยา โองการที่๒๕)

   และอัล กุรอานกล่าวอีกว่า

“และแน่นอนที่สุด เราได้ส่งศาสนทูตมาในทุกประชาชาติ ดังนั้น พวกเจ้าจงเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์(พระเจ้า) และออกห่างจากการบูชาเจว็ด(การตั้งภาคี)”  (บทอัลนะฮ์ลฺ โองการที่๓๖)

๗๓

และวจนะหนึ่ง เป็นคำกล่าวของ ท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวไว้ในสุนทรโรวาทเกี่ยวกับสาเหตุของการแต่งตั้งศาสนทูต ว่า

“เมื่อส่วนมากของประชาชาติได้เปลี่ยนแปลงพันธสัญญาที่ให้ไว้กับอัลลอฮ์ (พระเจ้า) แล้วพวกเขาไม่รู้จักในสิทธิของพระองค์ และได้ยึดถือสิ่งอื่นเคียงข้างพระองค์ เมื่อนั้น พระองค์จะทรงแต่งตั้งศาสนทูตมาเพื่อตอกย้ำในพันธสัญญาอันนั้น”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๑ )

จากวจนะนี้ แสดงให้เห็นว่า ในช่วงแรกของประวัติศาสตร์การถือกำเนิดของมนุษย์ พวกเขาได้ให้พันธสัญญากับพระเจ้า แต่พวกเขาก็มิได้รักษาพันธสัญญาที่ให้ไว้กับพระองค์ และได้ยึดถือสิ่งอื่นคียงข้างพระองค์

ด้วยเหตุนี้ พระผู้เป็นเจ้า มีความจำเป็นที่จะต้องแต่งตั้งศาสนทูตมา เพื่อทำให้มนุษยชาติได้สำนึกในพันธสัญญาที่ให้ไว้กับพระองค์ และให้พวกเขาออกห่างจากการตั้งภาคีทั้งหลาย

อัล กุรอาน ซึ่งเป็นคัมภีร์สุดท้าย ได้กล่าวเน้นย้ำในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า มีดังนี้

ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ หมายถึง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์

ลาอิลาฮะ อิลลาฮุวะ หมายถึง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์

ลาอิลาฮะ อิลลาอะนา หมายถึง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากฉัน

ลาอิลาฮะ อิลลาอันตะ หมายถึง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากท่าน

อิลาฮุกุม อิลาฮุน วาฮิด หมายถึง พระผู้เป็นเจ้าของเจ้า มีเพียงพระองค์เดียว

มามิน อิลาฮิน อิลลัลลอฮฺ หมายถึง ไม่มีจากพระเจ้าอื่นใดเลย นอกจากอัลลอฮ์

มามิน อิลาฮิน อิลลา อิลาฮุนวาฮิด หมายถึง ไม่มีจากพระเจ้าอื่นใด นอกจากพระเจ้าองค์เดียวเท่านั้น

มาละกุมมิน อิลาฮิน ฆ็อยรุฮู หมายถึง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์เท่านั้น

ท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ็อลฯ) ก็เช่นกัน ได้ประกาศเชิญชวนประชาชาติของท่านมาสู่ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าซึ่งถือว่า เป็นหน้าที่หลักและสำคัญของท่าน

ดั่งในโองการที่กล่าวว่า

“จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) อันที่จริง ฉันถูกบัญชารับสั่งให้ทำการเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์ และฉันจะไม่ตั้งภาคีเท่าเทียมกับพระองค์ และเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่ฉันจะเชิญชวนเรียกร้อง และเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่ฉันจะหวนกลับ” (บทอัรเราะอ์ด์ โองการที่ ๓๖)

อัล กุรอานกล่าวว่า

“จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด แท้จริงฉันได้รับการวิวรณ์มา ให้ประกาศว่า แท้จริงพระเจ้าของพวกท่านนั้นคือพระเจ้าองค์เดียว ดังนั้นพวกท่านยังมิยอมนอบน้อมอีกหรือ?” (บทอัลอัมบิยาอ์ โองการที่ ๑๐๘)

และอัล กุรอานกล่าวอีกว่า

 “และโดยแน่นอน เราได้ส่งนูห์ไปยังกลุ่มชนของเขา (โดยกล่าวว่า) แท้จริงฉันเป็นผู้ตักเตือนอันแน่ชัดแก่พวกท่าน แล้วพวกท่านอย่าเคารพภักดีผู้ใดนอกจากอัลลอฮ์เท่านั้น แท้จริงฉันกลัวแทนพวกท่านถึงการลงโทษในวันอันแสนเจ็บปวด”(บทฮูด โองการที่๒๕-๒๖)

นอกเหนือจาก โองการเหล่านี้แล้ว ยังมีโองการอื่นๆอีกมากมาย และมีวจนะทั้งหลายอีกที่กล่าวถึง ความเป็นเอกานุภาพและประเภทต่างๆ และผลประโยชน์ของความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพ ก็คือ การออกห่างจากการตั้งภาคีทั้งหลาย ซึ่งจะมากล่าวเป็นอันดับต่อไป

๗๔

   ศัพท์ทางวิชาการท้ายบท

เตาฮีด หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า

   : Oneness of God, Monotheism

ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ   : Monotheism in deeds  

ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา       : Monotheism in belief    

  สรุปสาระสำคัญ

๑.ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาแห่งเอกะเทวนิยมหรือศาสนาที่มีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า นั่นก็คือความหมายของเตาฮีด(ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า) ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของอิสลาม และความเป็นเอกานุภาพของพระองค์ มิได้ถูกจำกัด และเฉพาะเจาะจงในหลักศรัทธาเพียงเท่านั้น แต่ยังได้รวมถึงในหลักการปฏิบัติ และหลักศีลธรรม จริยธรรมอีกด้วย

๒.ความเป็นเอกานุภาพ มิได้ถูกจำกัด และเฉพาะเจาะจงในอิสลามเพียงศาสนาเดียวเท่านั้น แต่ในทุกศาสนาก็มีคำสอนในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเช่นเดียวกัน

๓.คำสอนของความเป็นเอกานุภาพของอิสลามนั้น มีคำอธิบายที่ลึกซึ้งและละเอียดอ่อน โดยที่มิได้มีกล่าวในคำสอนของศาสนาใดมาก่อน อีกทั้งมนุษย์ธรรมดาก็มีความสามารถที่จะเข้าใจในความหมายของความเป็นเอกานุภาพได้

๗๕

 ในขณะที่บรรดานักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญนั้น มีความเข้าใจในความหมายได้มากกว่า

๔.คำว่า เตาฮีดในด้านภาษา แปลว่า การมีหนึ่ง ซึ่งในอัล กุรอานมิได้กล่าวถึงคำนี้ แต่ในวจนะของท่านศาสดาและบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ได้กล่าวถึงคำนี้และมีการกล่าวคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน

๕.ความเป็นเอกานุภาพ สามารถแบ่งออกเป็น สอง ประเภทได้ ดังนี้

๑.ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา  หมายถึง ความเชื่อว่ามีพระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว ในอาตมัน(ตัวตน) ,กริยา การกระทำ และคุณลักษณะของพระองค์

๒.ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ หมายถึง การปฏิบัติตามความเชื่อในการมีพระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว

๖.ความหมายหนึ่งของ ความเป็นเอกานุภาพ คือ ความเชื่อในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ว่าในอาตมัน ,กริยา การกระทำ และคุณลักษณะของพระองค์ อีกทั้งความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามความเชื่อนี้

๗.บางครั้งมีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งได้รวมถึงในทุกประเด็นที่เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า

๘.ความเป็นเอกานุภาพในมุมมองหนึ่ง เป็นประเด็นของคุณลักษณะบางประการของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเป็นประเด็นย่อย แต่บางครั้ง ก็ถือว่า เป็นประเด็นหลัก

๙.อัล กุรอานและวจนะของอิสลาม ได้กล่าวเน้นย้ำในความเป็นเอกานุภาพไว้อย่างมากมาย

๑๐.ความเป็นเอกานุภาพ คือหน้าที่หลักที่มีความสำคัญมากที่สุดในการเชิญชวนของบรรดาศาสดา และโดยเฉพาะท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ็อล)

๗๖

   บทที่ ๒

   ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน ตัวตนของพระเจ้า

 (เตาฮีด ซาตีย์)

   หลังจากที่ได้แบ่งประเภทของ ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ออกเป็น ๒ ประเภท คือ ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา และในการปฏิบัติ ซึ่งแต่ละประเภทก็สามารถที่จะแบ่งออกเป็นประเภทย่อยๆได้หลายประเภทด้วยกัน   ด้วยเหตุนี้ ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา จึงแบ่งออกได้อีก ๓ ประเภท ซึ่งมีดังนี้

๑. ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน ตัวตน

๒. ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

๓. ความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำ

อันดับแรก จะขอธิบายในความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน หลังจากนั้นจะมากล่าวถึงประเภทอื่น เป็นอันดับต่อไป

๗๗

   ความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน ในมุมมองต่างๆ

   ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน ในด้านวิชาการ หมายถึง การไม่เหมือนสิ่งใด และไม่มีสิ่งใดเหมือนกับอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า และในบางครั้ง ยังมีความหมายกว้างกว่านี้อีก นอกเหนือจาก ความหมายข้างต้นแล้ว ได้ครอบคลุมถึง ความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า และการปฏิเสธการมีส่วนประกอบในอาตมันของพระองค์

ดังนั้น จากทัศนะนี้ แสดงให้เห็นว่า ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน มีด้วยกันอยู่  ๒ ประเด็น ซึ่งมีดังนี้

๑.ความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้าในทุกสภาวะ และการไม่มีส่วนประกอบใดในอาตมันของพระองค์

ด้วยเหตุนี้ การยอมรับในทัศนะนี้   หมายถึง การปฏิเสธการมีส่วนประกอบในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า

๒.การไม่เหมือนสิ่งใด และไม่มีสิ่งใดเหมือนกับอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า

ด้วยเหตุนี้ การยอมรับในทัศนะนี้ หมายถึง การปฏิเสธการมีอยู่ของสิ่งอื่นที่อยู่เคียงข้างกับอาตมันของพระองค์

๗๘

พึงสังเกตุได้เถิดว่า ในทัศนะที่หนึ่ง กล่าวว่า อาตมันของพระผู้เป็นเจ้ามิได้มีส่วนประกอบ และทัศนะที่สองกล่าวถึง  การไม่มีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์ โดยนักเทววิทยาอิสลามบางคน เรียกทัศนะแรกว่า เตาฮีด อะฮะดีย์ หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพในอาตมันโดยที่ไม่มีสิ่งอื่นอยู่เคียงข้าง ส่วนในทัศนะที่สองเรียกว่า เตาฮีด วาฮิดีย์ หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพ และความเป็นหนึ่งเดียวของพระผู้เป็นเจ้าที่ไม่มีความเป็นสองหรือสามตามมา

ดังนั้น ความหมายที่ชัดเจนของความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน หมายถึง ได้รวมการปฏิเสธการมีส่วนประกอบทุกชนิดในพระเจ้า และการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์

และก่อนจะกล่าวถึง มุมมองและทัศนะต่างๆของความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน และการให้เหตุผลของบรรดานักเทววิทยาอิสลาม จะขอกล่าวเน้นย้ำอีกว่า ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน ที่กล่าวในอัล กุรอาน และวจนะของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และบรรดาวงศ์วานผู้บริสุทธิ์ของท่าน (ขอความสันติพึงมีแด่พวกท่าน)  เป็นประเด็นที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีความหมายที่ลึกซึ้งและละเอียดอ่อนยากที่จะเข้าใจในรายละเอียดของมันได้ ซึ่งต้องอาศัยการอธิบายในบทนำเบื้องต้น หลังจากนั้น จะขอกล่าวถึงการใช้เหตุผลทางสติปัญญาที่สามารถได้รับจากโองการทั้งหลายของอัล กุรอานที่กล่าวถึงความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน

๗๙

   ความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า

   ทัศนะที่หนึ่งกล่าวว่า มีความเชื่อว่า ความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า และการปฏิเสธการมีส่วนประกอบทุกชนิดในอาตมันของพระองค์ ซึ่งก็เป็นอีกประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน  และจากทัศนะนี้ นักเทววิทยาอิสลามบางคน ได้กล่าวว่า ประเด็นหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน คือ ประเด็นที่เกี่ยวกับคุณลักษณะในด้านลบของพระผู้เป็นเจ้า หมายถึงคุณลักษณะที่ไม่มีในพระองค์ มิใช่ประเด็นนี้ เป็นประเด็นหลักของ ความเป็นเอกานุภาพ เพราะว่า การปฏิเสธการมีส่วนประกอบทุกชนิดในพระผู้เป็นเจ้า ก็คือ คุณลักษณะหนึ่งในด้านลบของพระองค์

จะเห็นได้ว่า การมีส่วนประกอบนั้น ถูกแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด 

๑.การมีส่วนประกอบในด้านสติปัญญา หมายถึง การมีส่วนประกอบของสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการจำแนกของสติปัญญา โดยการใช้หลักของปรัชญาในการจำแนก เช่น การแบ่งสิ่งหนึ่งออก เป็นสองส่วน หมายถึง การมีกับการไม่มีของสิ่งนั้น กล่าวคือ ไม่สามารถรวมสิ่งหนึ่งจากการมีและการไม่มี เพราะฉะนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ ที่สิ่งหนึ่งจะมีและไม่มีในเวลาเดียวกัน และการมีส่วนของสสาร โดยแบ่งออกเป็น สารัตถะ และการมีของสสาร การมีส่วนของสสารที่ไม่สมบูรณ์ ก็ถูกแบ่งออกเป็น การมีสกุล (ญินซ์)และการมีลักษณะความแตกต่าง (ฟัศล์) และการมีรูปแบบทั้งหมดในการจินตนาการและการสร้างมโนภาพ ก็เป็นตัวอย่างของการมีส่วนประกอบในด้านสติปัญญา

๘๐

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

ความดีงามพิเศษ :

บทขอพรของอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)นั้นมีความดีงามพิเศษมากมายที่ไม่มีผู้ใดเทียบได้ ท่าน(อฺ)เหล่านั้นมีเกียรติคุณที่ดีเด่นเป็นพิเศษกันแต่เพียงกลุ่มเดียวสำหรับความดีงามเหล่านั้นในหมู่ประชาชาตินี้

เรื่องดุอาอ์(บทขอพร)คือลักษณะพิเศษอันมากมายอีกประการหนึ่งที่บรรดาสาวกและตาบีอีนทั้งหลายไม่มีโอกาสเทียบเทียมได้เลย แม้แต่คนเดียว อีกทั้งบรรดานักปราชญ์อื่น ๆ ในรุ่นถัดมาก็ตาม กล่าวคือ ได้มีการบันทึกดุอาอ์ของแต่ละท่านไว้มากมาย ซึ่งบรรดานักปราชญ์ของเราได้เก็บ

รวบรวมไว้นับร้อยๆ เรื่องบรรดาอิมาม(อฺ)เป็นมนุษย์ที่รู้จริงเกี่ยวกับระเบียบแบบแผนที่บ่าวของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จำเป็นจะต้องดำเนินการปฏิบัติในยามสนทนากับพระองค์ และรู้ว่าควรจะเป็นอย่างไร สำหรับการถ่อมตน

การขอพึ่งพิง และตัดขาด(จากทุกสิ่งทุกอย่าง) เพื่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)

ในหนังสือนี้เราได้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับการอิบาดะฮฺโดยละเอียดของท่านอิมาม(อฺ)ผ่านมาแล้ว ต่อไปนี้จะเป็นการบันทึกดุอาอ์บางบทบางตอนของท่าน(อฺ)ดังนี้

๑๐๑

ดุอาอ์

บทที่ ๑

เป็นบทดุอาอ์บทหนึ่งของอิมามที่ ๗

“ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ข้าฯขอปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และขอปฏิญานตนว่า มุฮัมมัดเป็นบ่าวและเป็นศาสนทูตของพระองค์ แท้จริงศาสนาอิสลามย่อมเป็นไปตามที่พระองค์ตรัสไว้ ศาสนาย่อมเป็นไปตามที่พระองค์ทรงวางกฎไว้ คัมภีร์ย่อมเป็นไปตามที่

พระองค์ทรงประทานให้ไว้ คำสอนย่อมเป็นไปตามที่พระองค์ตรัสไว้

แท้จริงอัลลอฮฺคือ ผู้ทรงสิทธิอันชัดแจ้ง ความเจริญสิริมงคลของอัลลอฮฺพึงมีแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของท่าน”

“ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าฯดำรงอยู่ในความคุ้มครองของพระองค์ ชีวิตของข้าฯนอบน้อมต่อพระองค์ ใบหน้าของข้าฯหันสู่พระองค์ กิจการงานของข้าฯ ขอมอบหมายยังพระองค์ ร่างกายของข้าฯขอนอบน้อมยังพระองค์ กลัวเกรงพระองค์ และมุ่งหวังต่อพระองค์ ข้าฯศรัทธาต่อคัมภีร์ของพระองค์ที่ทรงประทานมาแก่ศาสนทูตของพระองค์ที่ทรงส่งมา”

“โอ้อัลลอฮ์ แท้จริงข้าฯเป็นคนยากจน ณ พระองค์ ขอได้ทรงโปรดประทานเครื่องยังชีพแก่ข้าฯโดยอย่าได้คำนวณ

แท้จริงพระองค์ทรงประทานเครื่องยังชีพให้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์

โดยไม่มีการคำนวณ”

๑๐๒

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริง ข้าฯวิงวอนขอเครื่องยังชีพที่ดีงามทั้งหลาย และละเว้นความเลวร้ายทั้งหลาย และขอให้พระองค์อภัยโทษให้แก่ข้าฯ”

“โอ้อัลลอฮฺ ข้าพระองค์ขอความกรุณาของพระองค์ที่ทรงเป็นเจ้าของได้โปรดบันดาลให้ข้าฯได้ออกห่างจากความชั่วอันมาจากข้าฯ ด้วยความดีอันมาจากพระองค์ และขอให้พระองค์ประทานความดีอย่างมากมายที่พระองค์มิได้ประทานให้แก่บ่าวคนใดให้แก่ข้าฯ”

“โอ้อัลลอฮฺ ข้าฯขอความคุ้มครองให้พ้นจากทรัพย์สินที่เป็นตัวทดสอบ(ฟิตนะฮฺ)แก่ข้าฯ ให้พ้นจากบุตรที่เป็นศัตรูของข้าฯ ให้พ้นจากบุตรที่เป็นศัตรูของข้าฯ”

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริง พระองค์ทรงเห็นฐานะความเป็นอยู่ของข้าฯ ทรงได้ยินดุอาอ์และคำพูดของข้าฯ ทรงรู้ในความจำเป็นของข้าฯ ข้าฯขอต่อพระนามทั้งมวลของพระองค์ ได้โปรดทำให้ความ ต้องการทั้งหลายในชีวิตทางโลกนี้และปรโลกของข้าฯได้บรรลุผล”

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงข้าฯขอดุอาอ์ต่อพระองค์อันเป็นดุอาอ์ของบ่าวผู้ซึ่งด้อยในความสามารถเดือดร้อนเป็นยิ่งนัก มีความทุกข์อย่างสาหัส มีความสามารถน้อยนิด และมีการงานที่ตกต่ำเป็นดุอาอ์ของผู้ที่ไม่มีใครช่วยเหลือได้นอกจากพระองค์ เป็นความอ่อนแอที่ไม่มีใครช่วยได้นอกจากพระองค์

๑๐๓

ข้าฯขอความดีต่าง ๆ ทั้งมวล ขอเกียรติคุณ ขอความดีความเมตตาทั้งมวลของพระองค์ ได้โปรดเมตตาต่อข้าฯ และให้ข้าฯพ้นจากไฟนรก”

“โอ้พระองค์ ผู้ทรงบันดาลให้แผ่นดินอยู่เหนือน้ำ ทรงบันดาลให้ฟากฟ้าอยู่ในห้วงอากาศ

โอ้ผู้ทรงเอกะ ก่อนทุกสิ่งที่เป็นหนึ่งเดียว โอ้ ผู้ทรงเป็นหนึ่งหลังจากทุก ๆ สิ่ง โอ้ผู้ซึ่งไม่มีใครรู้ว่า พระองค์ทรงเป็นอย่างไร นอกจากพระองค์ และไม่มีใครรู้ซึ้งถึงอำนาจของพระองค์ นอกจากพระองค์ โอ้พระองค์ผู้ทรงดำรงอยู่กับกิจการงาน โอ้พระองค์ผู้ทรงให้ความช่วยเหลือ โอ้พระผู้ช่วยบรรดาผู้เดือดร้อน โอ้พระผู้ทรงตอบรับคำขอของคนเดือดร้อน โอ้พระผู้ทรงมีความเมตตาในโลกนี้และปรโลก เป็นพระผู้ทรงกรุณาปรานี โอ้พระผู้อภิบาลของข้าฯ โปรดเมตตาข้าฯ อย่าให้ข้าฯหลงผิด และอย่าชิงชังข้าฯตลอดกาล แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งการสรรเสริญยิ่ง

 โปรดประทานพรแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของท่านเทอญ”(๑)

(๑) อัล-บะละดุล-อะมีน หน้า ๑๐๑.

๑๐๔

ดุอาอ์

บทที่ ๒

เป็นดุอาอ์ของอิมามมูซา กาซิม(อฺ)หลังนมาซซุฮฺริ

ท่านมุฮัมมัด บินซุลัยมานเล่าว่า : บิดาของท่านกล่าวว่า ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าได้ออกเดินทางไปกับท่านอิมามอะบุลฮะซัน(อฺ) หรือมูซา บินญะอฺฟัร เมื่อท่าน(อฺ)นมาซซุฮฺริเสร็จแล้ว ท่าน(อฺ)ได้อ่านดุอฺาอ์ในขณะที่ทรุดตัวลงกราบอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ด้วยอาการเศร้าสร้อย น้ำตาหลั่งไหล ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

 “โอ้พระผู้อภิบาลของข้าฯ ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยลิ้น ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงให้ข้าฯเป็นใบ้ก็ได้ ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยตา ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯตาบอดเสียก็ได้

ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยหู หากพระองค์ทรงประสงค์อาจทางทำให้ข้าฯหูหนวกเสียก็ได้

ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยมือ ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯมือด้วนเสียก็ได้ ข้าพระองค์ทรยศพระองค์ด้วยเท้า ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯขาด้วนเสียก็ได้

ข้าพระองค์ทรยศพระองค์ด้วยอวัยวะสืบพันธุ์ ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯเป็นหมันเสียก็ได้ ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยอวัยวะทั้งเรือนร่างที่ทรงประทานให้แก่ข้าฯ และสิ่งนี้ข้าฯไม่มีสิ่งใดๆ ตอบแทนแก่พระองค์ได้”

๑๐๕

บิดาของท่านมุฮัมมัด เล่าอีกว่า หลังจากนั้นข้าพเจ้าได้นับจำนวนครั้ง ในคำที่ท่านกล่าวว่า

“อัล-อัฟว์ อัล-อัฟว์”(ขออภัย ขออภัย) ได้ ๑,๐๐๐ ครั้ง จากนั้นท่าน (อฺ) แนบแก้มขวาลงบนดิน แล้วข้าพเจ้าได้ยินท่าน (อฺ) กล่าวว่า

“ข้าฯล่วงเกินต่อพระองค์ด้วยความผิดของข้าฯ ข้าฯได้กระทำความชั่วและอธรรมต่อตัวของข้าฯเอง ดังนั้นได้โปรดให้อภัยแก่ข้าฯ เพราะไม่มีใครอภัยความผิดพลาดได้ นอกจากพระองค์ โอ้นายของข้าฯ โอ้นายของข้าฯ นายของข้าฯ นายของข้าฯ”

ท่าน(อฺ)ก็แนบแก้มซ้ายลงบนดิน แล้วกล่าวว่า

“โปรดให้ความเมตตาต่อผู้ทำบาป”

อ่านดังนี้สามครั้ง หลังจากนั้นท่าน(อฺ)จึงยกศีรษะขึ้น(๒)

(๒) อัล-บะละดุล-อะมีน หน้า ๑๐๑.

๑๐๖

ดุอฺาอ์

บทที่ ๓

เป็นดุอฺาอ์อีกบทหนึ่งของอิมามมูซา(อฺ)

“โอ้ ผู้ทรงดำรงอยู่ก่อนสิ่งทั้งหลาย โอ้ผู้ทรงได้ยินทุกเสียงสำเนียง ทั้งดังและค่อย โอ้ผู้ทรงประทานชีวิตให้หลังจากตาย ความมืดมิดอันใดย่อมไม่ครอบคลุมพระองค์เลย ภาษาอันหลากหลายย่อมไม่ทำให้พระองค์ทรงสับสน ไม่มีสิ่งใดทำให้พระองค์วุ่นวาย”

“โอ้พระผู้ซึ่งไม่ทรงวุ่นวายด้วยดุอฺาอ์ของผู้ใดที่อ้อนวอนขอต่อพระองค์จากฟากฟ้า โอ้พระผู้ทรงบันดาลให้ทุกสิ่งที่ได้ยิน ทรงได้ยินได้ฟังและมองเห็น โอ้พระผู้ซึ่งไม่เคยผิดพลาด แม้จะมีการร้องขออย่างมากมาย”

“โอ้พระผู้ทรงดำรงชีวิตในยามที่ไม่มีสิ่งใดดำรงชีวิต โดยทรงดำรงอยู่ตลอดกาล และมั่นคงถาวร โอ้พระผู้ทรงดำรงอยู่สูงสุด แต่ซ่อนเร้นจากสรรพสิ่งทั้งหลายด้วยรัศมีของพระองค์ โอ้พระองค์ ผู้ทรงบันดาลให้แสงสว่างปรากฏออกมาท่ามกลางความมืด ข้าฯขอวิงวอนต่อพระองค์ด้วย

พระนามของพระองค์ผู้ทรงเอกะ ทรงเป็นหนึ่งเดียวแห่งการพึ่งพิง โปรดประทานความเจริญแด่ท่านศาสดามุฮัมมัดและอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน”

จากนั้นท่าน(อฺ)ได้วิงวอนขอในสิ่งที่ท่าน(อฺ)ต้องการ(๓)

(๓) บิฮารุ้ล-อันวารฺ เล่ม ๑๑ หน้า ๒๓๙.

๑๐๗

ดุอฺาอ์

บทที่ ๔

เป็นดุอฺาอ์อีกบทหนึ่งของท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

“ข้าฯขอมอบหมายตนเองยังพระองค์ ผู้ซึ่งไม่ตาย และข้าฯขอพึ่งการพิทักษ์คุ้มครอง โดยผู้ทรงเกียรติและอำนาจ ข้าฯขอความช่วยเหลือต่อผู้ทรงเกรียงไกรและมีอำนาจครอบครองข้าฯ โอ้นายของข้าฯขอยอมจำนนต่อพระองค์ ข้าฯขอมอบหมายตนต่อพระองค์ ดังนั้นขออย่าทำลายข้าฯ

ข้าฯขอพึ่งร่มเงาของพระองค์ ดังนั้นจงอย่าผลักไสข้าฯ พระองค์เป็นที่พึ่งอาศัย ทรงรู้สิ่งที่ข้าฯซ่อนเร้นและเปิดเผย ทรงรู้สิ่งที่อยู่ในสายตาและที่ซ่อนไว้ในจิตใจ ดังนั้นได้โปรดยับยั้งข้าฯให้พ้นจากผู้อธรรมทั้งในหมู่ญิน และหมู่มนุษย์ทั้งมวลด้วยเถิด โอ้พระผู้ทรงกรุณาปราณี ได้โปรดปกปักรักษา

ข้าฯด้วยเถิด”(๔)

 (๔) มะฮัจญุด-ดะอฺวาต หน้า ๓๐๐.

๑๐๘

การตอบสนองต่อบทดุอฺาอ์ของท่านอิมามที่ ๗

บรรดาอิมาม(อฺ)ทั้งหลายนั้นต่างใช้ชีวิตทั้งหมดในฐานะผู้ถูกกดขี่ข่มเหง ตลอดระยะเวลาการปกครองของวงศ์อุมัยยะฮฺ คนทั้งหลายคาดคิดว่าในการปกครองของสมัยวงศ์อับบาซียะฮฺสิ่งนั้นคงจะบรรเทาเบาบางลงบ้างและภัยอันตรายคงจะยกเลิกจากพวกท่าน(อฺ)ไปบ้าง ซึ่งการคาดคิดของคนทั้งหลายไม่น่าจะผิดพลาด เพราะเชื้อสายของกลุ่มทั้งสองใกล้เคียงกัน ประกอบกับว่า ราชวงศ์อับบาซียะฮฺนั้นแอบอ้างดำเนินการปกครองในนามของเชื้อสายท่านอิมามอฺะลี(อฺ) ธงของท่านอะบูมุสลิมอัล-คุรอซานีที่ได้เข้าไปในเมือง

คุรอซานนั้น ดำเนินการปกครองในนามของเชื้อสายท่านอฺะลี(อฺ)

การเข้าไปในเมืองคุรอซานนั้นก็ไม่ใช่เพราะเหตุอื่นนอกจากเพื่อสนับสนุนลูกหลานของท่านอฺะลี(อฺ)

แต่สถานการณ์กลับเปลี่ยนไปเป็นตรงกันข้าม ในเมื่อพวกอับบาซียะฮฺได้เริ่มติดตามอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ด้วยการลอบสังหาร คุมขัง ฯลฯ จนช่วงหนึ่งในการปกครองของพวกวงศ์นี้ ยังความรุนแรงแก่บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)ยิ่งกว่าพวกวงศ์อุมัยยะฮฺเสียอีก

บรรดาอิมาม(อฺ)จะไม่อ่านดุอฺาอ์เพื่อขอสาปแช่งบรรดาผู้อธรรม นอกจากในกรณีที่ความอธรรมถึงขีดสุดของความรุนแรงเท่านั้น เมื่อเราได้รู้ถึงเรื่องนี้จากท่าน(อฺ) เราก็สามารถประเมินสถานการณ์ที่รุนแรงอันเกิดขึ้นแก่ท่านอิมาม(อฺ)ได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านต้องขอดุอฺาอ์สาปแช่งบุคคลที่อธรรมต่อท่าน(อฺ)

๑๐๙

ในลำดับต่อไปนี้ เราจะเสนอเรื่องดุอฺาอ์ของท่านอิมามมูซา บินญะอฺฟัร(อฺ)ที่ได้รับการตอบสนองจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

-๑-

เจ้าของหนังสือ “นะษะรุต-ตุรรุล” ได้กล่าวไว้ว่า :

 ท่านอิมามมูซา บินญะอฺฟัร อัล-กาซิม(อฺ)นั้น มีคนแจ้งให้ท่าน(อฺ)ทราบว่า อัล-ฮาดี วางแผนการร้ายต่อท่าน(อฺ) ท่าน(อฺ)ได้พูดกับครอบครัวและผู้ติดตามว่า

“พวกท่านมีความคิดเห็นอะไรเสนอแนะแก่ฉันบ้าง?”

คนเหล่านั้นกล่าวว่า

“เราเห็นว่า ท่านควรออกห่างจากเขา และหลบซ่อนให้พ้นไปจากเขา เพราะความชั่วร้ายของเขานั้นจะไม่ให้ความปลอดภัยแก่ท่าน”

ท่าน(อฺ)ยิ้ม แล้วกล่าวว่า

“คนโฉดคิดว่าตัวเองจะสามารถเอาชนะพระผู้อภิบาลได้ แน่นอน

ผู้ชนะที่แท้จริงย่อมชนะอยู่แล้ว”

หลังจากนั้นท่าน(อฺ)ยกมือขึ้นขอดุอฺาอ์ แล้วกล่าวว่า

“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า มากมายเหลือเกินแล้ว สำหรับพวกศัตรูที่มุ่งหมายทำลายข้าฯ ข่มเหงรังแกข้าฯ โดยแผนการเข่นฆ่าด้วยพิษร้ายของมันจนดวงตาของข้าฯไม่เคยหลับไหล เนื่องจากคอยระแวดระไวต่อพวกมัน ครั้นเมื่อพระองค์ทรงเห็นถึงความอ่อนแอของข้าฯ ในการปกป้องโพยภัยและความเกินกำลังที่ข้าฯจะทานทนกับความเจ็บปวดได้ ขออำนาจและอานุภาพของพระองค์ได้โปรดสลัดสิ่งนั้นออกให้พ้นจากข้าฯโดยมิใช่ด้วยความสามารถและอานุภาพของข้าฯ และจงโยนเขาลงไปสู่หลุมลึกที่พวกเขาขุดล่อข้าฯให้ตกลงไปในโลกแห่งวัตถุของเขา จนห่างไกลจากความหวังในปรโลก

๑๑๐

 มวลการสรรเสริญเป็นของพระองค์ที่ได้ทรงกำหนดความโปรดปรานของพระองค์ที่โปรยปรายแก่ข้าฯ และพระองค์มิได้ทรงปฏิเสธความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลต่อข้าฯ

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ได้โปรดลงโทษเขาด้วยอำนาจของพระองค์ โปรดพลิกแผนการของเขาออกจากข้าฯ ด้วยอานุภาพของพระองค์ โปรดบันดาลภาระอันหนักหน่วงจนเกินกำลังให้แก่เขา

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ได้โปรดบันดาลให้ความเป็นศัตรูนั้นกลายเป็นยาบำบัดรักษาแก่ข้าฯ

และบันดาลให้ความแค้นของข้าฯที่มีต่อเขา เป็นการอภัย โปรดประทานแก่ดุอฺาอ์ของข้าฯ ด้วยการตอบรับ และโปรดรับรองคำอุทธรณ์ของข้าฯ และโปรดให้เขาสำนึกเพียงสักเล็กน้อยกับการตอบรับต่อบ่าวของพระองค์

ผู้ถูกกดขี่ แท้จริงพระองค์ทรงมีเกียรติอันยิ่งใหญ่”

ต่อจากนั้นสมาชิกครอบครัวก็ลาจากไป ครั้นต่อมาไม่นาน คนเหล่านั้นมาชุมนุมกันเพื่ออ่านจดหมายที่มีมาถึงท่านอิมามมูซา(อฺ)แจ้งให้ท่าน(อฺ)ทราบว่ามูซา อัล-ฮาดีนั้นได้ตายเสียแล้ว(๑)

(๑) อัล-ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า ๒๒๒. มุฮัจญุด-ดะอฺวาต หน้า ๒๙.

๑๑๑

-๒-

ท่านอับดุลลอฮฺ บินศอลิฮฺ ได้กล่าวว่า : ท่านศอฮิบุ้ล ฟัฎลฺ บินร่อบีอฺเล่าให้เราทราบว่า : ในคืนหนึ่งขณะที่ข้าพเจ้าอยู่บนที่นอนพร้อมกับภรรยาของข้าพเจ้า พอตกกลางคืนข้าพเจ้าได้ยินเสียงดังที่ประตูเมือง ข้าพเจ้าจึงลุกขึ้นยืนดู

ภรรยาของข้าพเจ้ากล่าวว่า

“อาจเป็นเสียงของลมพัดก็ได้”

แต่แล้วไม่ทันไร ประตูบ้านที่ข้าพเจ้าอยู่ขณะนั้นก็เปิดออก แล้วคนชื่อ ‘มัซรูร’ก็พรวดพลาดเข้ามา พลางกล่าวว่า

“จงยอมรับคอลีฟะฮฺฮารูน รอชีด”

โดยมิได้ให้สลามแก่ข้าพเจ้าแต่ประการใด ข้าพเจ้ารู้สึกผิดหวังมาก นึกในใจว่า ‘มัซรูร’ ผู้นี้เข้ามาโดยไม่ขออนุญาตและไม่ให้สลาม ฉะนั้นย่อมไม่มีจุดประสงค์อื่นนอกจากมาฆ่า ขณะนั้น

ข้าพเจ้ามีญุนุบอยู่จึงไม่ได้ถามอะไรเขา โดยให้เขาคอยข้าพเจ้าซึ่งต้องอาบน้ำชำระร่างกายเสียก่อน

ภรรยาของข้าพเจ้ากล่าวว่า

“จงยึดมั่นต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)อย่างหนักแน่น แล้วลุกออกไปเถิด”

ข้าพเจ้าจึงลุกออกไปสวมเสื้อผ้า แล้วออกมาพร้อมกับเขาจนถึงอาคาร ข้าพเจ้าได้กล่าว

สลามท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน(คอลีฟะฮฺฮารูน รอชีด) ที่กำลังเอนเอกเขนกอยู่ เขารับสลาม แล้วข้าพเจ้าก็นั่งลง

เขากล่าวว่า

“ท่านกลัวมากใช่ไหม ?”

๑๑๒

ข้าพเจ้าตอบว่า

“ใช่แล้ว โอ้ ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน”

เขาปล่อยให้ข้าพเจ้าพักสงบจิตใจอยู่ครู่หนึ่ง แล้วกล่าวว่า

“จงออกไปยังคุกของเรา แล้วปล่อยมูซา บินญะอฺฟัร บินมุฮัมมัด ออกมา พร้อมกับจ่ายเงินให้กับเขาสามหมื่นดิรฮัม และให้พาหนะอีกสามชุด และให้ออกเดินทางไปจากเรา ไปที่ไหนก็ได้ตามที่เขาปรารถนา”

ข้าพเจ้าพูดกับเขาว่า

“โอ้ ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน ท่านจะปล่อยตัวมูซา บินญะอฺฟัร กระนั้นหรือ ?”

เขาตอบว่า

“ใช่แล้ว”

ข้าพเจ้าทวนคำถามถึงสามครั้ง เขาก็ตอบว่า

“ใช่แล้ว ท่านต้องการจะให้ฉันผิดคำสัญญากระนั้นหรือ ?”

ข้าพเจ้าถามว่า

“โอ้ ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน คำสัญญาที่ว่านั้นหมายถึงอะไร ?”

ฮารูน รอชีดกล่าวว่า

“ขณะที่ข้านอนอยู่บนเตียงแห่งนี้ มีสิงโตตัวหนึ่งขึ้นมาคร่อมบนหน้าอก และขย้ำตรงคอหอยของข้า มันเป็นสิงโตตัวใหญ่ชนิดที่ข้าไม่เคยเห็นมาก่อน และมันพูดกับข้าว่า

“ท่านกักขังมูซา กาซิมด้วยกับความอธรรม”

๑๑๓

ข้าจึงพูดกับมันว่า

“ข้าจะปล่อยตัวเขาและจะมอบสิ่งของให้เขา ข้าขอทำสัญญากับ

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)

มันจึงออกไปจากหน้าอกของข้า ซึ่งแทบว่าชีวิตของข้าจะปลิดออกจากร่าง”

ท่านอับดุลลอฮฺ บินศอลิฮฺได้เล่าต่อไปว่า : แล้วข้าพเจ้าก็ออกจากที่นั่น และไปพบท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ซึ่งกำลังอยู่ในคุก ข้าพเจ้าเห็นท่าน(อฺ)นมาซ ข้าพเจ้าจึงนั่งรอจนท่าน(อฺ)ให้สลาม

หลังจากนั้นข้าพเจ้าได้เข้าไป แล้วกล่าวว่า

“ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน(ฮารูน รอชีด) ฝากสลามมายังท่าน และแจ้งให้ท่านทราบถึงเรื่องที่ข้าพเจ้าได้รับคำสั่งมา และข้าพเจ้าก็ได้นำคำสั่งนั้นมายังท่านแล้ว”

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ถึงแม้ท่านจะถูกสั่งมาให้ทำอย่างอื่น ท่านก็จงกระทำเถิด”

ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า

“หามิได้ ขอสาบานต่อสิทธิของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ว่าข้าพเจ้ามิได้ถูกสั่งมาให้กระทำอย่างอื่นนอกจากสิ่งนี้”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ไม่มีความจำเป็นอันใดสำหรับข้าพเจ้าในเรื่องการมอบเสื้อผ้า ทรัพย์สิน ยานพาหนะต่างๆในเมื่อสิ่งนั้นๆ เป็นสิทธิของประชาชาติอิสลาม”

ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า

“ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ท่านอย่าได้ปฏิเสธเลย”

๑๑๔

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ท่านจงกระทำในสิ่งที่ท่านต้องการเถิด”

ข้าพเจ้าได้จับมือท่านอิมาม(อฺ) แล้วนำท่าน(อฺ)ออกจากคุก จากนั้นจึงได้กล่าวกับท่าน(อฺ)ว่า

“โอ้ท่านผู้เป็นบุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)โปรดบอกข้าพเจ้าซิว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ท่านได้รับความเอื้อเฟื้อจากชายคนนี้เป็นสิทธิของข้าพเจ้าเหนือท่านที่จะต้องแสดงความยินดีกับท่าน และได้รับรางวัลจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) จากผลงานอันนี้”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ฉันได้ฝันเห็นศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ในคืนวันพุธที่ผ่านมา ท่าน(ศ)บอกฉันว่า

“มูซา เอ๋ย เจ้าถูกกักขังด้วยกับความอธรรม”

ฉันตอบว่า

“ใช่แล้ว ยารอซูลุลลอฮฺ”

ท่าน(ศ)กล่าวอย่างนี้สามครั้ง แล้วท่าน(ศ)พูดอีกว่า

“หวังว่าสิ่งนี้ จะเป็นการทดสอบสำหรับพวกเจ้า และเป็นความสุขชั่วระยะหนึ่ง เจ้าจงถือศีลอดในพรุ่งนี้เช้า และจงถือติดต่อทั้งวันพฤหัสและวันศุกร์ ครั้นถึงเวลาละศีลอด เจ้าจงนมาซ ๑๒ร็อกอะฮฺ ในทุกร็อกอะฮฺนั้น

 จงอ่านอัล-ฮัมดุ ๑ ครั้ง และอ่านกุลฮุวัลลอฮุ อะฮัด ๑๒ ครั้ง ครั้นทำ

นมาซครบ ๔ ร็อกอะฮฺ

๑๑๕

แล้วจงซุญูด แล้วให้อ่านดุอฺาอ์บทหนึ่ง ดังนี้ :

“โอ้ผู้ทรงชัยชนะ ผู้ทรงได้ยินเสียงต่างๆ ทั้งหมด ผู้ทรงให้ชีวิตแก่กระดูกที่มันผุกร่อน หลังจากความตาย ข้าฯขอต่อพระนามของพระองค์

พระผู้ทรงยิ่งใหญ่ ขอพระองค์ทรงประทานพรแด่มุฮัมมัด บ่าวของพระองค์และศาสนทูตของพระองค์ และแด่บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺผู้บริสุทธิ์ของพระองค์ และโปรดได้บันดาลให้ข้าฯ ได้รับความรอดพ้นโดยเร็วพลัน”

ฉันได้กระทำอย่างนั้น แล้วเหตุการณ์ก็เป็นไปเหมือนที่ท่านได้เห็น(๒)

(๒) มะดีนะตุล-มะอาญิช หน้า ๓๙๔.

คำสดุดี จากบรรดานักปราชญ์ต่ออิมามมูซา บินญะอฺฟัร(อฺ)

บรรดามุสลิมทั้งหลายถึงแม้จะมีมัซฮับแตกต่างกัน แต่ก็ลงความเห็นตรงกันในเรื่องของเกียรติยศของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ตลอดทั้งยอมรับในเรื่องวิชาการ ตำแหน่งอันสูงส่ง

และความมีสถานภาพที่ใกล้ชิดต่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) นักปราชญ์ทั้งหลายต่างได้บันทึกเรื่องดังกล่าวไว้ในตำราของพวกเขาเกี่ยวกับฮะดีษต่าง ๆ ที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)กล่าวถึงท่าน(อฺ)เหล่านั้น มีการอธิบายกันถึงเกียรติประวัติ จริยธรรม ความเฉลียวฉลาดและความรอบรู้ของท่าน(อฺ)เหล่านั้น

๑๑๖

ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ผนวกบุคคลเหล่านั้นให้อยู่ควบคู่กับอัล-กุรอาน เช่น ในฮะดีษที่ว่าด้วย

 ‘อัษ-ษะก่อลัยนฺ’ (สิ่งสำคัญสองประการ) และที่อุปมาว่า

บุคคลเหล่านั้นเหมือนเรือของท่านนบีนูฮฺ(อฺ) ถ้าผู้ใดขึ้นเรือก็จะปลอดภัย ผู้ใดผลักไสก็จะพินาศล่มจม และเปรียบว่าคนเหล่านั้นเหมือนประตูอัล-ฮิฏเฏาะฮฺ ที่ถ้าหากใครเข้าไปก็จะปลอดภัย

อีกทั้งมีฮะดีษมากมายที่รายงานว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวถึงเกียรติคุณของท่าน(อฺ)เหล่านั้นไว้

ในบทนี้เราจะเสนอคำสดุดีของบุคคลต่างๆ ที่มีต่อท่านอิมามมูซา

 กาซิม(อฺ) ดังต่อไปนี้

๑. ท่านอิมามศอดิก (อฺ) ได้กล่าวว่า:

ท่านมูซา กาซิมเป็นคนรอบรู้ในกฎเกณฑ์ มีความเข้าใจจริงและรู้จักอย่างถ่องแท้ในเรื่องที่มนุษย์ทั้งหลายจำเป็น ซึ่งเรื่องนั้นๆ คนทั้งหลายขัดแย้งกันในกิจการศาสนา เขาเป็นคนมีจริยธรรมที่ดีงาม เป็นเพื่อนบ้านที่ดี และเป็นประตูบานหนึ่งในหลายๆ ประตูที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเปิดให้(๑)

(๑) บิฮารุ้ล-อันวารฺ เล่ม ๑๑ หน้า ๒๓๔.

๑๑๗

๒. ฮารูน รอชีดได้กล่าวว่า:

สำหรับมูซา กาซิมนั้น เขาคือประมุขทางศาสนาของพวกตระกูลฮาซิม(๒)

(๒) อันวารุล-บะฮียะฮฺ ๙๒.

เขายังได้พูดกับมะอ์มูน ผู้เป็นบุตรชายของเขาอีกว่า

“มูซา ผู้นี้คืออิมามของมนุษยชาติ เป็นข้อพิสูจน์หนึ่งของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่มีต่อมวลมนุษย์ และเป็นค่อลีฟะฮฺของพระองค์ในหมู่ปวงบ่าวทั้งหลายของพระองค์”(๓)

(๓) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ ๔ กอฟ เล่ม ๓ หน้า ๕๑.

เขาได้กล่าวต่อไปอีกว่า

“โอ้ลูกเอ๋ย มูซา กาซิมผู้นี้เป็นทายาททางความรู้วิชาการของบรรดานบี ถ้าเจ้าต้องการความรู้ที่ถูกต้อง ก็จงไปเอาจากเขาผู้นี้แหละ”(๔)

(๔) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๓๘๓. อะมาลี ของเชค ศ็อดดูก ๓๐๗.

๑๑๘

๓. มะอ์มูน กษัตริย์ในราชวงศ์อับบาซียะฮฺได้กล่าวถึงอิมามมูซา กาซิม (อฺ) ว่า:

ท่านเป็นคนเคร่งครัดในการทำอิบาดะฮฺอย่างยิ่ง ใบหน้าและจมูกของท่านมีแต่การกราบพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น(๕)

(๕) อันวารุล-บะฮียะฮฺ ๙๓.

๔. ท่านอีซา บินญะอฺฟัรได้เขียนจดหมายไปหาฮารูน รอชีดว่า:

ตลอดเวลาที่ท่านมูซา กาซิมอยู่ในคุกอย่างยาวนานนั้น ฉันไม่เคยเห็นเขาว่างเว้นจากการอิบาดะฮฺเลย ฉันได้จัดคนให้คอยฟังการขอดุอฺาอ์ของเขา ปรากฏว่าเขาไม่เคยขอดุอฺาอ์สาปแช่งท่านและฉันเลย และไม่เคยกล่าวถึงเราในทางที่ไม่ดี และไม่เคยขออะไรให้กับตัวเอง นอกจากการอภัยและความเมตตา(๖)

(๖) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ ๔ ก็อฟ ๓/๗๑.

๕. ท่านอะบูอฺะลี อัล-คิลาล (นักปราชญ์มัซฮับฮันบะลี) ได้กล่าวว่า:

เมื่อฉันกลุ้มใจในเรื่องใด ฉันจะไปยังสุสานของท่านอิมามมูซา กาซิมเสมอเพื่อขอการตะวัซซุล แล้วอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็ทรงให้ความสะดวกในกิจการที่ฉันอยากได้เสมอ(๗)

(๗) ตารีค บัฆดาด เล่ม ๑ หน้า ๑๒๐.

๑๑๙

๖. อิมามชาฟิอีได้กล่าวว่า:

สุสานของอิมามมูซา กาซิมคือสถานที่ที่มีความประเสริฐสูงส่งยิ่ง”(๘)

(๘) ตุฮฺฟะตุล-อาลิม เล่ม ๒ หน้า ๒๒.

๗. ท่านอะบูฮาติมได้กล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิม คือผู้ที่น่าเชื่อถือในด้านรายงานฮะดีษ(ษิกเกาะฮฺ) และสัจจริง และเป็นผู้นำ(อิมาม)ของประชาชาติมุสลิมทั้งหลาย(๙)

 (๙) ตะฮุชีบุต-ตะฮฺชีบ เล่ม ๑๐ หน้า ๒๔๐.

๘. ท่านอับดุรเราะฮฺมาน บินอัล-เญาซีกล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิมได้ชื่อว่าเป็นบ่าวที่มีคุณธรรม เพราะการอิบาดะฮฺ การอิจญ์ติฮาด และดำรงนมาซในยามกลางคืน และท่านเป็นคนที่มีเกียรติที่สุภาพ เมื่อท่านได้รับข่าวคราวว่า ใครกล่าวร้ายท่าน ท่านจะตอบแทนคนนั้นด้วยทรัพย์สินเสมอ(๑๐)

(๑๐) ศิฟะตุศ-ศ็อฟวะฮฺ เล่ม ๒ หน้า ๑๐๓.

๑๒๐

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133