ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม14%

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 133

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 133 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 64010 / ดาวน์โหลด: 5617
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

พระองค์ทรงมีโองการอีกว่า :

“จงรู้ไว้ว่า แท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงทำให้แผ่นดินมีชีวิต หลังจากที่มันได้ตายไปแล้ว แน่นอนยิ่งเราได้สาธยายแก่สูเจ้าซึ่งโองการต่าง ๆ เพื่อสูเจ้าจักได้ใช้สติปัญญา”(อัล-ฮะดีด : ๑๗)

พระองค์ตรัสอีกว่า :

“และสวนต่าง ๆ นั้นมีทั้งองุ่น พืชพันธุ์ต่างๆ อินทผลัม อีกทั้งพืชที่มีหน่อ และไม่มีหน่อ พระองค์ทรงให้มันรับน้ำฝนชนิดเดียวกันและทรงให้คุณประโยชน์ในการรับประทานแก่บางอย่างมากกว่า อีกบางอย่าง แท้จริงในเรื่องนี้เป็นสัญญาณสำหรับปวงชนที่ใช้สติปัญญา”(อัร-เราะอฺด์ : ๔)

พระองค์ตรัสอีกว่า :

“และส่วนหนึ่งในสัญญาณของพระองค์นั้นได้แก่สายฟ้าแลบที่ทำให้สูเข้าเห็น มีทั้งความน่ากลัวและมีทั้งความปรารถนา และพระองค์ทรงประทานน้ำฝนลงมาจากฟากฟ้า แล้วพระองค์ได้ทรงทำให้แผ่นดินมีชีวิตขึ้นมา หลังจากที่มันได้ตายไปแล้ว แท้จริงในเรื่องเหล่านี้เป็นสัญญาณ

สำหรับบรรดาผู้ที่ใช้สติปัญญา”(อัร-รูม : ๒๔)

๔๑

พระองค์ตรัสอีกว่า :

“จงกล่าว มานี่เถิดท่านทั้งหลาย ฉันได้ถูกบัญชาให้แจ้งถึงสิ่งที่พระผู้อภิบาลของพวกท่านทรงห้ามพวกท่านไว้ อันได้แก่ พวกท่านจะต้องไม่ยกสิ่งใด ๆ ขึ้นเป็นภาคีกับพระองค์ และกับบิดา มารดานั้นต้องทำความดี และจงอย่านำลูก ๆ ของพวกท่านเพราะกลัวความยากจน เราได้ประทานเครื่องยังชีพให้แก่สูเจ้า และแก่พวกเขาเองและสูเจ้า จงอย่าเข้าใกล้ความชั่วร้ายทั้งโดยเปิดเผยและโดยซ่อนเร้น และจงอย่าฆ่าชีวิตใดชีวิตหนึ่งที่อัลลอฮฺทรงหวงห้ามไว้ นอกจากด้วยความชอบธรรมนี่คือสิ่งที่พระองค์ทรงสั่งเสียแก่พวกท่าน เพื่อพวกท่านจะได้ใช้สติปัญญา”

(อัล-อันอาม: ๑๕๑)

พระองค์ตรัสอีกว่า :

“สำหรับสูเจ้านั้น มีบุคคลที่อยู่ในการปกครองของสูเจ้ามิใช่หรือ อันเป็นผู้มีส่วนร่วมในการที่เราได้ประทานเครื่องยังชีพให้แก่สูเจ้า ดังนั้นสูเจ้าทั้งหลายจึงเสมอภาคกันในเรื่องนี้ สูเจ้ายำเกรงพวกเขา เช่นเดียวกับที่สูเจ้ายำเกรงเพื่อตัวของสูเจ้าเอง ดังนี้แหละที่เราได้อธิบายสัญญาณต่าง ๆอย่างละเอียดสำหรับพวกที่ใช้สติปัญญา”(อัร-รูม : ๒๘)

ฮิชามเอ๋ย หลังจากนั้นพระองค์ได้ทรงแนะนำผู้มีสติปัญญา และทรงสอนให้เขาเหล่านั้นมีความปรารถนาในปรโลก

๔๒

ดังที่พระองค์ตรัสว่า :

“ชีวิตในโลกนี้มิใช่อื่นใด นอกจากเป็นเพียงการละเล่น และความเพลิดเพลินเท่านั้น แต่สำหรับปรโลกย่อมประเสริฐยิ่งนักสำหรับพวกที่ยำเกรงแล้วสูเจ้าไม่ใช้สติปัญญาอีกหรือ”

(อัล-อันอาม: ๓๒)

ฮิชามเอ๋ย ต่อจากนั้นพระองค์ยังได้กำชับให้พวกที่ไม่ใช้สติปัญญาได้เกรงกลัวถึงการลงโทษของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

โดยพระองค์ได้ตรัสว่า :

“ต่อจากนั้น เราได้ทำลายคนกลุ่มหนึ่ง และแท้จริงสูเจ้าทั้งหลายก็ได้ผ่านไปพบเห็นพวกเขาทั้งในยามเช้าและในยามค่ำคืน สูเจ้าจะไม่ใช้สติปัญญาอีกหรือ”(อัล-ศอฟฟาต : ๑๓๖-๑๓๘)

พระองค์ตรัสอีกว่า :

“แท้จริง เราได้บันดาลให้การลงโทษลงมาจากฟากฟ้ามายังชาวเมืองเหล่านี้ด้วยเหตุที่ว่าพวกเขาละเมิด และแท้จริงเราได้ละทิ้งสัญญาณอันหนึ่งอย่างชัดเจนยิ่งไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อพวกเขาจะได้ใช้สติปัญญาใคร่ครวญ”

(อัล-อันกะบูต: ๓๔-๓๕)

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงสติปัญญานั้นย่อมอยู่กับความรู้

ดังที่พระองค์ตรัสว่า :

“และบรรดาอุทาหรณ์เหล่านั้น เราได้ยกมาเปรียบเทียบไว้เพื่อมวลมนุษย์ แต่ไม่มีผู้ใดใช้สติปัญญานอกจากผู้ที่มีความรู้เท่านั้น”

(อัล-อันกะบูต: ๔๓)

๔๓

ฮิชามเอ๋ย ต่อจากนั้นพระองค์ทรงตำหนิพวกที่ไม่ใช้สติปัญญา

ดังที่พระองค์ตรัสว่า :

“และในเมื่อมีคนกล่าวกับพวกเขาว่า จงปฏิบัติตามสิ่งที่อัลลอฺทรงประทานมา พวกเขากล่าวว่าหามิได้ เราจะปฏิบัติตามแต่สิ่งที่เราพบมาว่าบรรพบุรุษของเราอยู่กับมันเท่านั้น แล้วถ้าหากว่าบรรพบุรุษของพวกเขาไม่ใช้สติปัญญา และพวกเขามิได้รับทางนำเลยเล่า”

(อัล-บะกอเราะฮฺ: ๑๗๐)

พระองค์ตรัสว่า :

“และเปรียบพวกปฏิเสธได้เหมือนอย่างกับพวกที่ผงกคอรับ โดยไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย นอกจากการเรียกและการกู่ร้อง เป็นพวกใบ้ หูหนวก และตาบอด กล่าวคือพวกเขาไม่ใช้สติปัญญา”

(อัล-บะกอเราะฮฺ: ๑๗๑)

พระองค์ตรัสว่า :

“และในหมู่พวกเขาก็มีผู้ที่ยอมรับฟังเจ้า แล้วเจ้าจะทำให้คนหูหนวกรับฟังได้หรือ ถ้าหากพวกเขาไม่ใช้สติปัญญา” (ยูนุซ: ๔๒)

พระองค์ตรัสว่า :

“เจ้าคิดหรือว่า ส่วนมากของพวกเขาจะรับฟังหรือใช้สติปัญญา

 พวกเขามิใช่อื่นใดนอกจากเสมือนสัตว์เดรัจฉาน ยิ่งกว่านั้นยังหลงผิดจากหนทางอย่างยิ่ง”(อัล-ฟุรกอน : ๔๔)

๔๔

พระองค์ตรัสอีกว่า :

“และสูเจ้าลืมตัวของสูเจ้าเอง ในขณะที่สูเจ้าก็อ่านคัมภีร์และสูเจ้าไม่ได้ใช้สติปัญญาดอกหรือ ?”

(อัล-บะกอเราะฮฺ: ๔๔)

ฮิชามเอ๋ย ต่อจากนั้นอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงตำหนิคนส่วนมากดังนี้ :

“ถ้าหากเจ้าปฏิบัติตามคนส่วนมากในแผ่นดิน พวกเขาก็จะทำให้เจ้าหลงออกจากทางของอัลลอฮฺ”

(อัล-อันอาม: ๑๑๖)

พระองค์ตรัสอีกว่า :

“และแน่นอน ถ้าหากเจ้าถามคนเหล่านั้นว่าใครสร้างฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน พวกเขาจะต้องกล่าวว่า “อัลลอฮฺ” จงกล่าวเถิด มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ แต่ส่วนมากพวกเขาไม่ปฏิบัติตาม(การงานที่ดี)”

(ลุกมาน: ๒๕)

พระองค์ตรัสว่า :

“และแน่นอนยิ่ง ถ้าหากเจ้าได้ถามเขาเหล่านั้นว่าใครคือผู้ประทานน้ำฝนลงมาจากฟากฟ้าแล้ว ได้ทรงทำให้แผ่นดินมีชีวิตขึ้นมาหลังจากที่มันได้ตายไปแล้ว แน่นอนที่สุดพวกเขาจะต้องกล่าวว่า “อัลลอฮฺ”

 จงกล่าวเถิด มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ แต่คนส่วนมากในหมู่พวกเขาไม่ใช้สติปัญญา”(อัล-อันกะบูต : ๖๓)

๔๕

ฮิชามเอ๋ย ต่อจากนั้นพระองค์ได้ทรงยกย่องคนส่วนน้อย

ดังที่พระองค์ตรัสว่า :

“และคนส่วนน้อยในหมู่ปวงบ่าวของฉัน เป็นผู้ที่รู้จักขอบพระคุณอย่างยิ่ง”(ซะบะอ์ : ๑๓)

พระองค์ตรัสอีกว่า :

“และชายผู้ศรัทธาคนหนึ่งจากพวกพ้องของฟิรเอาน์ ซึ่งซ่อนเร้นความศรัทธาของตนเองไว้ได้กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจะสังหารบุคคลหนึ่งเพราะเนื่องจากการที่เขาเพียงแต่กล่าวว่า “พระผู้อภิบาลของฉันคืออัลลอฮฺ” กระนั้นหรือ ?”(ฆอฟิร: ๒๘)

พระองค์ตรัสว่า :

“และไม่มีใครศรัทธาต่อเขา นอกจากเพียงส่วนน้อยเท่านั้น”

(ฮูด: ๔๐)

และตรัสว่า

“แต่คนส่วนมากในหมู่พวกเขาไม่รู้”

(อัล-อันอาม: ๓๗)

และตรัสอีกว่า :

“แต่คนส่วนมากในหมู่พวกเขาไม่ใช้สติปัญญา”

(อัล-มาอิดะฮฺ: ๑๐๓)

โอ้ ฮิชามเอ๋ย ต่อจากนั้นพระองค์ตรัสถึงบรรดาผู้มีสติปัญญาลุ่มลึกไว้อย่างดียิ่ง และทรงตบแต่งเขาเหล่านั้นด้วยเครื่องประดับที่ดีงาม

๔๖

ดังที่พระองค์ตรัสว่า :

“พระองค์ทรงมอบวิทยปัญญาให้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และผู้ใดก็ตามที่พระองค์ทรงมอบวิทยปัญญาให้ ก็เท่ากับผู้นั้นได้รับคุณงามความดีอย่างมากมาย แต่ไม่มีใครคิดใคร่ครวญนอกจากบรรดาผู้มีสติปัญญาอันล้ำเลิศเท่านั้น”(อัล-บะกอเราะฮฺ : ๒๖๙)

พระองค์ตรัสว่า :

“และบรรดาผู้สันทัดในวิชาการอย่างสูงนั้นกล่าวว่าเราศรัทธาต่อพระองค์ ทุกสิ่งทุกอย่างมาจากพระผู้อภิบาลของเรา และไม่มีใครคิดใคร่ครวญ นอกจากบรรดาผู้มีสติปัญญาอันล้ำเลิศ”

(อาลิอิมรอน: ๗)

และพระองค์ตรัสว่า :

“ผู้ที่รู้ว่า สิ่งที่ถูกประทานมายังเจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้านั้นคือสัจธรรม จะเหมือนกันหรือกับคนที่ตาบอด อันที่จริงผู้จะคิดใคร่ครวญได้นั้น

ก็คือผู้มีสติปัญญาอันล้ำเลิศเท่านั้น”

(อัร-เราะอฺด์: ๑๙)

พระองค์ตรัสอีกว่า :

“ผู้มีสมาธิในยามค่ำคืนโดยการซุญูดและยืนนมาซมิใช่หรือ ที่เขาหวั่นเกรงในปรโลก และหวังความเมตตาจากพระผู้อภิบาลของเขา

จงกล่าวเถิดผู้ที่มีความรู้กับผู้ที่ไม่มีความรู้นั้น จะเสมอเหมือนกันได้หรือ?

อันที่จริงแล้วบรรดาผู้มีสติปัญญาเท่านั้นที่จะคิดใคร่ครวญได้”

(อัซ-ซุมัร: ๙)

๔๗

พระองค์ตรัสอีกว่า :

“คัมภีร์อัล-กุรอานที่เราได้ประทานลงมายังเจ้านั้นเป็นสิ่งโปรดปรานให้ความจำเริญ เพื่อเขาเหล่านั้น จักได้ใคร่ครวญต่อโองการทั้งหลายของพระองค์ และเพื่อปวงผู้มีสติปัญญาอันเลอเลิศจะได้คิดพินิจพิเคราะห์”

(ศ็อด: ๒๙)

พระองค์ตรัสอีกว่า :

“และแน่นอนยิ่ง เราได้ประทานทางนำให้แก่มูซาและเราให้

บะนีอิสรออีลได้รับมรดกแห่งคัมภีร์อันเป็นทางนำและข้อเตือนสติสำหรับผู้มีสติปัญญาอันเลอเลิศ”(ฆอฟิร : ๕๓-๕๗)

และพระองค์ตรัสอีกว่า :

“จงตักเตือน แท้จริงการเตือนสติย่อมมีคุณค่าสำหรับบรรดาผู้มีศรัทธา”

(อัซฺ-ซาริยาต : ๕๕)

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตรัสไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ว่า :

“แท้จริง ในเรื่องนี้ย่อมเป็นข้อเตือนสติสำหรับบุคคลผู้มีหัวใจ”

(ก็อฟ: ๓๗)

“หัวใจ” ในที่นี้ก็คือ “สติปัญญา”

และพระองค์ตรัสอีกว่า :

“โดยแน่นอนยิ่งเราได้ประทานวิทยปัญญาให้แก่ลุกมาน”

(ลุกมาน: ๑๒)

๔๘

อันหมายถึงความเข้าใจและสติปัญญา

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงลุกมานนั้นได้กล่าวแก่บุตรของตนว่า ให้ยอมรับต่อสัจธรรม แล้วจะเป็นคนที่มีปัญญาเลิศที่สุดในหมู่ชน โดยท่านได้กล่าวว่า

“โอ้ลูกเอ๋ย แท้จริงโลกนี้คือทะเลอันล้ำลึก แน่นอนคนที่มีความรู้เป็นอันมากได้จมลงในทะเลแห่งนี้ เพราะฉะนั้นเจ้าจงกำหนดให้ความยำเกรงที่มีต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)เป็นนาวาสำหรับเจ้า และจงมีความศรัทธาเป็นเครื่องคุ้มกัน อีกทั้งจงมีดวงจิตที่มอบหมายเป็นเครื่องมือในการทำงาน และจงให้สติปัญญาเป็นเครื่องควบคุม และจงให้ความรู้เป็นเครื่องชี้นำ และจงให้ความอดทนเป็นพื้นฐาน”

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงทุกสิ่งทุกอย่างนั้นย่อมขึ้นอยู่กับหลักฐานชี้นำ

ส่วนหลักฐานชี้นำของสติปัญญานั้นได้แก่ การคิดใคร่ครวญ ส่วนหลักฐานชี้นำความคิดใคร่ครวญนั้น ได้แก่ การใช้สติอย่างสุขุม และทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีคู่ประกอบ ส่วนคู่ประกอบของสติปัญญานั้นได้แก่ การถ่อมตนเพียงพอแล้วที่จะกล่าวว่าท่านเป็นผู้โง่เขลา หากท่านได้กระทำสิ่งที่ต้องห้าม

ฮิชามเอ๋ย อัลลอฮฺ(ซ.บ.)มิได้ส่งศาสนทูตและนบีของพระองค์มายังปวงบ่าวของพระองค์เพื่ออื่นใดนอกจากเพื่อให้พวกเขาใช้ความคิดในเรื่องของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ดังนั้นผู้ที่ดีที่สุดที่เหมาะสม

สำหรับการตอบรับดุอฺาอ์ คือ ผู้ที่รู้จักพระองค์ดีที่สุด และผู้มีความรู้ในเรื่องคำสั่งของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ถือเป็นผู้ที่มีสติปัญญาที่ดีเลิศของพวกเขา ผู้มีสติปัญญาที่เพียบพร้อมบริบูรณ์นั้น

๔๙

 พระองค์จะทรงยกย่องให้สูงส่งทั้งในโลกนี้และปรโลก

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมอบข้อพิสูจน์มาให้แก่มนุษย์สองประการ นั้นคือ ข้อพิสูจน์ที่เปิดเผยและข้อพิสูจน์ที่ซ่อนเร้น ข้อพิสูจน์ที่เปิดเผยคือ ‘บรรดาศาสนทูตและนบี’ ส่วนข้อพิสูจน์ที่ซ่อนเร้นคือ “สติปัญญา”

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงผู้มีสติปัญญาที่ไม่ขัดแย้งกับสิ่งอนุมัติ(ฮะลาล)นั้น ย่อมขอบพระคุณต่อพระองค์ และความอดทนของเขาจะไม่พ่ายแพ้ต่อสิ่งต้องห้าม(ฮะรอม)

ฮิชามเอ๋ย ใครก็ตามที่ปล่อยให้ ๓ อย่างเอาชนะ ๓ อย่างได้ก็เท่ากับเขาช่วยส่งเสริมให้ทำลาย

“สติปัญญา” ของตนเอง นั่นคือ

- คนที่ดับรัศมีแห่งความคิดของตนเองด้วยการตั้งความหวังอันเลือนลาง

- คนที่ลบเลือนวิทยปัญญาของตนเองด้วยคำพูดที่ไร้ประโยชน์

-คนที่ดับรัศมีแห่งความเข้าใจของตนเองด้วยกิเลสฝ่ายต่ำ

 เพราะเปรียบเสมือนว่า เขาช่วยกิเลสฝ่ายต่ำทำลายสติปัญญาของตนเอง

ผู้ใดทำลายสติปัญญาของตนเอง ก็เท่ากับทำลายศาสนาและชีวิตทางโลกของตน

โอ้ ฮิชามเอ๋ย การทำงานของท่านจะใสสะอาดในทัศนะของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้อย่างไร ในเมื่อหัวใจของท่านยังพะวักพะวงอยู่กับคำสั่งของพระผู้อภิบาล(เกิดความไม่แน่ใจ) และท่านยังทำตามอารมณ์ฝ่ายต่ำที่ครอบงำสติปัญญาของท่านอยู่

๕๐

ฮิชามเอ๋ย ความอดทนต่อการอยู่โดดเดี่ยวนั้น คือ เครื่องหมายของสติปัญญาที่มีพลัง ดังนั้นผู้ใดที่ใช้สติปัญญาในเรื่องของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

 เขาจะปลีกตัวให้พ้นจากชาวโลกและผู้ที่ปรารถนาอย่างดูดดื่มกับชีวิตทางโลกได้แล้ว เขาก็จะมีความปรารถนาในสิ่งที่อยู่ ณ อัลลอฮฺ(ซ.บ.) และอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงทำให้เขามีความอบอุ่นใจในยามที่เขาเปล่าเปลี่ยว และทรงอยู่กับเขาในยามที่เขาอยู่ตามลำพัง ทรงให้เขามั่งคั่งในยามที่เขายากจน ทรงให้ความรักแก่เขาในยามที่เขาขาดญาติมิตร

ฮิชามเอ๋ย มวลมนุษย์นั้นถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) เขาไม่สามารถจะปลอดภัยได้ นอกจากอาศัยการปฏิบัติตาม(ฏออัต)และการปฏิบัติตามนั้นย่อมขึ้นอยู่กับความรู้ และความรู้นั้นย่อมขึ้นอยู่กับการเรียน และการเรียนนั้นย่อมผูกพันอยู่กับ “สติปัญญา” ความรู้จะมีไม่ได้นอกจากอาศัยผู้มีความรู้ในเรื่องของพระผู้เป็นเจ้า การเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในความรู้ขึ้นอยู่กับ”สติปัญญา”

ฮิชามเอ๋ย การทำงานเพียงน้อยนิดของผู้มีความรู้นั้น ย่อมถูกยอมรับหลายเท่านัก ส่วนการทำงานอย่างมากมายของพวกที่ถือตามอารมณ์และความโง่ย่อมได้รับการปฏิเสธ

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงผู้มีความรู้ย่อมมีความยินดีต่อการจากไปของชีวิตทางโลก ในเมื่ออยู่กับวิทยปัญญา แต่จะไม่พอใจกับการจากไปของวิทยปัญญา ถึงแม้จะมีชีวิตอยู่กับโลก ดังนั้น เพราะเหตุนี้เองการทำงานของพวกเขาจึงได้รับรางวัล

๕๑

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงบรรดาผู้มีสติปัญญานั้นย่อมละทิ้งส่วนเกินที่ไม่มีประโยชน์ของโลก แล้วเขาจะมีความบาปได้อย่างไร เขาละทิ้งชีวิตทางโลกในส่วนที่ไร้ประโยชน์ เขาละทิ้งความบาปในส่วนที่เป็นความจำเป็นต่างๆ

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงผู้มีสติปัญญานั้น จะพิจารณาไปยังโลกและชาวโลก เมื่อนั้นเขาจะรู้ว่าจะไม่มีใครเข้าถึงได้ นอกจากอาศัยความยากลำบากเท่านั้น และจะพิจารณาไปยังปรโลก เขาก็จะรู้ว่าไม่มีใครเข้าถึงได้นอกจากอาศัยความยากลำบาก ดังนั้น เขาจึงแสวงหาความยากลำบากเพื่อการดำรงอยู่ในโลกทั้งสอง

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงบรรดาผู้มีสติปัญญานั้น มีความมักน้อยในชีวิตทางโลก แต่จะมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าในปรโลก เพราะเขาเหล่านั้นรู้ดีว่า โลกนี้เป็นสิ่งที่ต้องการและถูกต้องการส่วนโลกหน้านั้นก็เป็นสิ่งที่ปรารถนาและถูกต้องการด้วย ดังนั้น ผู้ใดก็ตามที่แสวงหาชีวิตในโลกหน้า โลกหน้านั้นก็ต้องการเขา จนกระทั่งเครื่องยังชีพทางโลกของเขาจะเพียงพอครบถ้วน และผู้ใดที่แสวงหาแต่เรื่องของโลกนี้ โลกหน้าก็ต้องการเขาเช่นกัน ครั้นเมื่อความตายมาถึงเขา ชีวิตของเขาก็จะเสียหายลงทั้งหมด ไม่ว่าเรื่องของโลกนี้ หรือโลกหน้า

ฮิชามเอ๋ย บุคคลใดที่ต้องการความมั่งคั่งโดยที่ไม่มีทรัพย์สิน มีจิตใจที่สงบปราศจากความริษยา และมีความสันติสุขอยู่กับศาสนา ก็พึงได้

นอบน้อมถ่อมตนต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ในเรื่องข้อเรียกร้องของเขา ผู้ใดพอใจในสิ่งที่มีอยู่เขาจะเป็นผู้พอเพียงแล้ว เพราะใครก็ตาม ถ้าหากยังไม่พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ เขาก็มิอาจเข้าถึงความมั่งคั่งได้เลยตลอดกาล

๕๒

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงบอกเล่าเกี่ยวกับประวัติของบรรดาผู้มีคุณธรรมกลุ่ม

หนึ่ง ที่พวกเขากล่าวว่า :

“โอ้พระผู้อภิบาลของเรา โปรดอย่าได้หันเหจิตใจของเรา หลังจากที่ได้ทรงชี้นำให้แก่เรา แล้วและโปรดประทานคลังแห่งความเมตตาของพระองค์ให้แก่เราเถิด แท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้ให้โดยแท้”

(อาลิอิมรอน: ๘)

ทั้งนี้ก็เพราะพวกเขารู้ว่าจิตใจนั้น มันเป็นสิ่งโลเล และพลิกผันไปมาอยู่เสมอเป็นอาจิณที่แท้นั้น คนที่ไม่เกรงกลัวอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และคนที่ไม่ใช้สติปัญญานั้น จิตใจของเขาย่อมจะไม่ตระหนักกับความรู้อันแน่นอน ซึ่งเขามองเห็นอยู่แล้ว และเขาจะไม่พบเลยว่า ในจิตใจของเขานั้น จะมีความรู้อย่างแท้จริงแต่ประการใด จะไม่มีใครเป็นอย่างนี้ได้เลยนอกจากคนที่มีคำพูดและการกระทำที่สอดคล้องกัน ความเป็นอยู่ทั้งโดยลับและเปิดเผยที่ตรงต่อกัน เพราะอัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั้นมิทรงให้หลักฐานเกี่ยวกับความเร้นลับโดยซ่อนเร้นจากสติปัญญา หากแต่เป็นไปตามที่เปิดเผยและที่ได้อธิบายไว้นั่นเอง

ฮิชามเอ๋ย ท่านอฺะลี อะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ)ได้กล่าวว่า

“อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะไม่ถูกเคารพภักดีด้วยสิ่งใดที่ดีเลิศไปกว่าการใช้สติปัญญา และสติปัญญาของมนุษย์นั้นจะไม่สมบูรณ์จนกว่าในสติปัญญานั้นจะประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ คือ ปลอดภัยจากการตั้งภาคีและการปฏิเสธ มุ่งหวังความชอบธรรมและความดีงาม และทรัพย์สินที่ประเสริฐของเขาอยู่ที่การบริจาค คำพูดที่ประเสริฐของเขาอยู่ที่การยับยั้ง ส่วนได้ของเขาจากโลกนี้คือส่วนที่เสียหายไป

๕๓

 ชีวิตของเขาไม่เคยอิ่มต่อความรู้ ความต่ำต้อยต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)เป็นสิ่งที่เขารักยิ่งกว่าการมีเกียรติต่อคนอื่น การถ่อมตัวเป็นสิ่งที่เขาชอบมากกว่าการมีเกียรติ เขาถือว่าความดีเล็กๆ น้อยๆ จากคนอื่นนั้นมากมายเสมอ และถือว่าความดีอันมากมายของตนเองนั้นน้อยเสมอ และเห็นว่ามนุษย์ทุกคนดีกว่าตนเอง ส่วนตนนั้นยังเป็นคนไม่ดีสำหรับคนเหล่านั้น เมื่อเป็นอย่างนี้ การงานของเขาจะประสบความสำเร็จ”

ฮิชามเอ๋ย แท้จริง ผู้มีสติปัญญานั้น จะไม่โกหก ถึงแม้เขาจะตกอยู่ในอารมณ์ฝ่ายต่ำก็ตาม

ฮิชามเอ๋ย ไม่มีศาสนาสำหรับคนที่ไม่มีมนุษยธรรม และการมีมนุษยธรรมนั้นย่อมไม่มีอะไรกับคนที่ไม่มีสติปัญญา แท้จริง ผู้ที่มีความสามารถอันยิ่งใหญ่นั้น ได้แก่ ผู้ที่มองไม่เห็นว่าโลกนี้จะเป็นอันตรายแก่ตนเองเลย

ฮิชามเอ๋ย ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ)ได้กล่าวว่า

“แท้จริง เครื่องหมายของคนมี “สติปัญญา” มีสามประการ คือ

๑. เมื่อถูกถามก็จะตอบ

๒. จะพูดเมื่อคนอื่นไม่มีความสามารถจะพูด

๓. จะเสนอความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์แก่พรรคพวกของตน

ส่วนคนที่ไม่มีสามประการนี้อยู่ในตัวย่อมเป็นคนโง่เขลา”

๕๔

แท้จริงท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ)ได้กล่าวว่า

“จะไม่มีใครกล้านั่งแถวหน้าของที่ประชุม นอกจากคนที่มีสามประการนี้อยู่ในตัว หรือมีสักประการหนึ่งก็ยังดี ครั้นถ้าคนที่ไม่มีสักประการหนึ่งอยู่ในตัวเลย แล้วนั่งอยู่แถวหน้าเขาคือคนเขลา”

ท่านฮะซัน บินอฺะลี(อฺ)กล่าวว่า

“เมื่อท่านต้องการขอความช่วยเหลือ ก็จงขอจากคนที่เป็นเจ้าของ

เรื่องนั้นๆ”

มีคนหนึ่งถามว่า

“โอ้ บุตรของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ แล้วใครเล่าคือเจ้าของ

เรื่องนั้นๆ ?”

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“เจ้าของเรื่องนั้นๆ คือ บรรดาผู้ที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงบอกเล่าไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ว่า :

“อันที่จริงบรรดาผู้มีสติปัญญาอันลุ่มลึกนั้นจะมีการรำลึกใคร่ครวญได้”

(อัร-เราะอฺด์: ๑๙)

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“พวกเขาคือบรรดาผู้มีสติปัญญา”

๕๕

ท่านอะลี บิน ฮุเซน(อฺ)ได้กล่าวว่า

“การคบหากับผู้มีคุณธรรมย่อมนำไปสู่การขัดเกลา จริยธรรมของนักปราชญ์ คือการเพิ่มพูนสติปัญญา การเชื่อฟังผู้มีความเที่ยงธรรมย่อมทำให้มีเกียรติคุณสมบูรณ์ ทรัพย์สินจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อการมีมนุษยธรรมเป็นไปอย่างสมบูรณ์ เรื่องร้ายแรงจะหยุดยั้ง เพราะความสมบูรณ์ของสติปัญญา และในนั้นมีความสุขแก่ชีวิตร่างกายทั้งในโลกนี้และโลกหน้า”

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงผู้มีสติปัญญาจะไม่พูดกับคนที่เขากลัวว่า คนผู้นั้นจะว่าเขาโกหก และจะไม่ขอสิ่งใดจากคนที่เขากลัวว่า จะไม่ให้แก่เขา เขาจะไม่คิดถึงในสิ่งที่เขาไม่มีความสามารถ เขาจะไม่มุ่งหวังในสิ่งที่สุดวิสัยซึ่งความสมหวัง และจะไม่เดินหน้าเข้าหาในสิ่งที่เขากลัวว่า มันอาจจากเขาไปด้วยการไร้ความสามารถของตัวเอง”(๕)

(๕) อุศูลุล-กาฟี เล่ม ๑ หน้า ๒๐.

๕๖

สาส์นของอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

บทเรียนอันสูงค่า

ชีวิตในทุกๆ ด้านของท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)นั้นล้วนเป็นตัวอย่างอันสูงส่งซึ่งเราอาจถือได้ว่า เป็นหลักการแห่งคำสอนของศาสนาอิสลาม ที่เราต้องนำมาเป็นบทเรียนอันอำนวยประโยชน์สุขแก่ชีวิตที่แท้จริงของเรา

ในบทนี้ เราขอเสนอเรื่องราวจากสาส์นบางฉบับของท่านอิมามมูซา

กาซิม(อฺ)ที่ส่งไปยังชีอะฮฺของท่าน(อฺ)และศัตรูของท่าน(อฺ) ซึ่งทุกฉบับนั้นล้วนเป็นบทเรียนและมีคุณค่าอย่างสูง

สาส์นฉบับที่ ๑

จากอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

ถึงผู้พิพากษาคนหนึ่ง

เป็นสาส์นของท่านอิมามกาซิม(อฺ)ที่ส่งไปยังผู้พิพากษาคนหนึ่งที่ตัดสินลงโทษชายคนหนึ่ง

ดังมีใจความว่า

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ อัลฮัมดุลิลลาฮฺ, อัมมาบะอฺดุ:

จงรับรู้ไว้ว่า แท้จริงภายใต้บัลลังก์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั้นมีร่มเงาหนึ่งซึ่งจะไม่มีผู้ใดพักพิงได้ นอกจากคนที่สนับสนุนพี่น้องของเขาให้ได้รับความดีงาม หรือปกป้องชีวิตหนึ่งให้พ้นจากอันตรายหรือจะต้องนำความปลื้มปิติไปสู่หัวใจของเขา และนี่คือจดหมายจากพี่น้องของท่าน

วัสลาม

๕๗

สาส์นฉบับที่ ๒

จากอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

ถึงคอลีฟะฮฺฮารูน ร่อชีด

ข้อความบางตอนจากสาส์นของท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ที่ส่งไปยัง

คอลีฟะฮฺฮารูน รอชีด เพื่อเป็นการตอบจดหมายฉบับหนึ่งที่เขาเขียนส่งไปยังท่าน(อฺ)เพื่อขอร้องให้ท่าน(อฺ)ช่วยแนะนำสั่งสอน

ท่านอิมาม(อฺ)ตอบเขาว่า

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ

อัลฮัมดุลิลลาฮฺ, อัมมาบะอฺดุ:

ทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านมองเห็นด้วยสายตา ล้วนมีคำแนะนำสั่งสอนในสิ่งนั้นอยู่ทั้งสิ้น

วัสลาม

สาส์นฉบับที่ ๓

จากอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

ถึงท่านอฺะลี บินซุวัยดฺ

เป็นสาส์นที่ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)เขียนในคุกเพื่อมอบให้แก่ท่านอฺะลี บินซุวัยดฺ มีใจความว่า

๕๘

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ

อัลฮัมดุลิลลาฮฺ, อัมมาบะอฺดุ:

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ผู้ทรงสูงสุด ผู้ทรงยิ่งใหญ่

ซึ่งโดยเกียรติคุณและรัศมีของพระองค์จึงบันดาลให้หัวใจของศรัทธาชนทั้งหลายมองเห็นเด่นชัด โดยเกียรติคุณและรัศมีของพระองค์จึงทำให้พวกโง่เขลาเป็นศัตรูของพระองค์ โดยเกียรติคุณของพระองค์ จึงทำให้สื่อสัมพันธ์พร้อมกับพิธีกรรมอันแตกต่างมุ่งปรารถนายังพระองค์ ซึ่งบ้างก็มีถูก บ้างก็มีผิด บ้างก็หลงทาง บ้างก็อยู่ในทางนำที่ถูก บ้างก็ได้ยิน บ้างก็ไม่ได้ยิน บ้างก็มองเห็น บ้างมองไม่เห็นและเป็นทุกข์

มวลการสรรเสริญจึงเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ผู้ทรงแนะนำรูปลักษณะศาสนาของพระองค์ให้เป็นที่ประจักษ์ ด้วยกับ(ฐานภาพของ)ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ) ท่านคือบุคคลหนึ่งที่มาจากวงศ์วานของมุฮัมมัด(ศ)ผู้มีฐานะพิเศษ ซึ่งความรักจักช่วยทำให้ท่านได้พบความถูกต้อง และมองเห็นสัจธรรมในศาสนา

จงเรียกร้องสู่วิถีทางแห่งพระผู้อภิบาลผู้ซึ่งท่านปรารถนาการตอบรับการวิงวอนในเรื่องเกี่ยวกับพวกเราเถิด จงอย่าปิดบังอำนาจด้วยความเห็นแก่ตัว จงสวามิภักดิ์กับวงศ์วานของมุฮัมมัด(ศ) และจงอย่าพูดอะไรพาดพิงถึงพวกเราในลักษณะที่ผิดพลาด ถึงแม้ท่านจะไม่ขัดแย้งกับเราก็ตาม

เพราะท่านไม่รู้ว่า เรามิได้กล่าวอย่างนั้นไม่ว่าในลักษณะใดๆ ก็ตาม จงศรัทธาในสิ่งที่เราบอกท่าน และจงอย่าแคะคุ้ยในสิ่งที่ซ่อนเร้นจากท่าน

๕๙

ฉันขอบอกท่านว่า สิทธิที่สำคัญอย่างหนึ่งของพี่น้องท่าน ได้แก่ การที่ท่านต้องไม่ซ่อนเร้น เขาไม่ว่าเรื่องใดที่มีประโยชน์ต่อเขาทั้งทางโลกและทางปรโลก

วัสลาม(๑)

(๑) บิฮารุ้ล-อันวารฺ เล่ม ๑๗ หน้า ๒๐๕.

สาส์นฉบับที่ ๔

จากอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

ถึงค่อลีฟะฮฺฮารูน ร่อชีด

เป็นสาส์นของท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ที่ส่งไปยังค่อลีฟะฮฺฮารูน รอชีด เมื่อครั้งที่ท่าน(อฺ)อยู่ในคุก มีใจความว่า

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ

อัลฮัมดุลิลลาฮฺ, อัมมาบะอฺดุ:

วันเวลาแห่งการทดสอบจะไม่ผ่านพ้นล่วงเลยไปจากฉัน จนกว่าวันเวลาแห่งความสุขสบาย จะผ่านพ้นล่วงเลยไปจากท่านพร้อมๆ กัน เมื่อนั้นเราจะผ่านพ้นไปพร้อมๆ กันสู่วันๆ หนึ่งที่ไม่มีการตัดสินอันใดจะยังความพ่ายแพ้ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหา

วัสลาม(๒)

(๒) อัล-ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า ๒๒๗.

๖๐

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133