ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม42%

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 133

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 133 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 63342 / ดาวน์โหลด: 5545
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

สุภาษิต :

คำสอนแห่งจริยธรรมของอิมามกาซิม(อฺ)

คำสอนของบรรดาอิมามอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) อันเป็นบทเรียนชี้นำที่ทรงคุณค่า และเป็นวิทยปัญญาอันสูงส่งนั้นมีดาษดื่นเต็มไปหมดทั้งโลก ซึ่งนับว่าเป็นการให้โอกาสแก่ประชาชาติทั้งหลาย

ในการก้าวไปสู่ความดีงาม และเป็นวิถีทางอันมากมายในการเป็นสื่อนำเพื่อเผยแผ่ศาสนาอิสลาม และเชิดชูหลักการและเรียกร้องเชิญชวนสู่แนวทางของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)โดยไม่จำกัดเฉพาะเพียงแต่บทเรียน คำเทศนาและคำสั่งเสียต่างๆ เท่านั้น หากแต่ยังมีคำสอนสั้น ๆ ที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่งในการ

ชี้นำ เนื่องจากมีความหมายอย่างใหญ่หลวงทางด้านความดีงาม และจริยธรรมอันประเสริฐ อีกทั้งเป็นคติเตือนใจอย่างมากมาย ถ้าหากเราจะคิดคำนวณคำสอนสั้น ๆ ของบรรดาอิมาม(อฺ)แต่ละคนมารวมกัน ก็จะกลายเป็นหนังสือเล่มใหญ่อีกต่างหาก และจะกลายเป็นผลงานอันทรงคุณค่าแก่โลกแห่งจริยธรรมคำสอน อันเป็นการปูทางให้เราได้เดินไปอย่างเรียบง่าย

 เราจึงขอสรุปเอาคำสอนบางประการของท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)มาบันทึกไว้ ณ ที่นี้

๖๑

สุภาษิตที่ ๑

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ได้กล่าวว่า

“ฉันได้พบว่า ความรู้ในหมู่ประชาชนมีเพียง ๔ ประการ

๑. รู้จักพระผู้เป็นเจ้า

๒. รู้ว่า อะไรบ้างที่พระองค์ทรงสร้างมาเพื่อท่าน

๓. ต้องรู้ว่า พระองค์ทรงต้องการอะไรจากท่าน

๔. จะต้องรู้ว่า อะไรที่ทำให้ท่านต้องออกจากแนวทางศาสนา”

สุภาษิตที่ ๒

ท่านอิมามมูซา บินญะอฺฟัร(อฺ)ได้กล่าวต่อหน้าสุสานว่า

“แท้จริง สิ่งนี้ ท้ายที่สุดของมันมีค่าอย่างยิ่งย่อมทำให้ตระหนักถึงความสมถะอย่างแท้จริงต่อช่วงแรกของมัน และแท้จริงสิ่งนี้ ช่วงแรกของมันมีค่าอย่างยิ่งที่ทำให้ตระหนักถึงความยำเกรงอย่างแท้จริงต่อท้ายที่สุดของมัน”

สุภาษิตที่ ๓

เพื่อนบ้านที่ดีมิใช่เพียงแต่หยุดยั้งการทำอันตราย แต่เพื่อนบ้านที่ดีจะต้องอดทนต่อการที่จะไม่สร้างความเดือดร้อน ทำอันตราย

๖๒

สุภาษิตที่ ๔

จงพยายามให้การใช้ชีวิตอยู่ของท่านมีเวลาสำหรับสี่ประการนี้

๑. เวลาสำหรับการเข้าเฝ้าอัลลอฮฺ (ซ.บ.)

๒. เวลาการประกอบอาชีพ

๓. เวลาสำหรับพี่น้อง คนนับถือที่รู้จักพวกท่านทั้งในส่วนดีและส่วนเสีย เพื่อพวกเขาจะได้ซักฟอกพวกท่านให้สะอาด

๔. เวลาสำหรับแสวงหาความสุขส่วนตัวในสิ่งที่ไม่เป็นที่ต้องห้าม

สุภาษิตที่ ๕

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ได้กล่าวกับท่านอะลี บินยักฏีนว่า

“การกัฟฟาเราะฮฺสำหรับงานในหน้าที่ของผู้ปกครองนั้น ได้แก่การทำความดีต่อพี่น้องทั้งหลาย”

สุภาษิตที่ ๖

ในวันกิยามะฮฺจะมีเสียงประกาศว่า

“ผู้ที่มีรางวัลสำหรับตนเอง ณ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ขอให้ยืนขึ้น จะไม่มีผู้ใดลุกขึ้นยืนเลย นอกจากคนที่มีจิตอภัย และปรับปรุงตนเอง แล้วเขาจะได้รับรางวัล ณ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)”

๖๓

สุภาษิตที่ ๗

จงอย่าเป็นคนคล้อยตามผู้อื่นที่พูดว่า

“ฉันอยู่กับคนส่วนมาก”

แท้จริงท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวว่า

“ความจริงแล้วคนทั้งหมดมีสองฝ่ายเท่านั้น คือ ฝ่ายของคนดีและฝ่ายของคนเลว จงอย่าให้ฝ่ายของคนเลวเป็นที่ชื่นชอบสำหรับท่านมากกว่าฝ่ายของคนดี”

สุภาษิตที่ ๘

􀀛 คนใดที่ทำเสมอตัวในสองวัน เขาคือคนถูกหลอก

􀀛 คนใดที่ในช่วงสุดท้ายของสองวัน เป็นเวลาที่เลวสำหรับตน เขาคือ คนถูกสาปแช่ง

􀀛 คนใดที่ไม่รู้จักการเพิ่มพูนขึ้นในตัวเอง เขาคือคนขาดทุน

􀀛 คนใดที่ขาดทุนอย่างนั้นก็เป็นอันว่า

“ตายเสียดีกว่าอยู่”

สุภาษิตที่ ๙

เป็นการสมควรสำหรับคนที่คิดใคร่ครวญในเรื่องของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่เขาจะต้องไม่แชเชือนในการแสวงหาริชกี(ปัจจัยยังชีพ)ของเขา ต้องไม่ระแวงสงสัยพระองค์ในข้อกำหนดทั้งหลายของพระองค์

๖๔

สุภาษิตที่ ๑๐

จงระวังในเรื่องการไม่เชื่อฟังอัลลอฮฺ(ซ.บ.) เพราะเท่ากับทำการทรยศต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ถึงสองเท่า

สุภาษิตที่ ๑๑

จงอย่าให้ความเกรงใจระหว่างกันและกันหมดสิ้นไป แต่จงรักษามันไว้ให้คงอยู่ เพราะถ้าหากมันหมดสิ้นไป ก็เท่ากับความละอายต้องหมดสิ้นไปด้วย

สุภาษิตที่ ๑๒

ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คือ การมีจริยธรรมที่ดีต่อการเฝ้ามองของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และอัลลอฮฺ(ซ.บ.) จะไม่เหินห่างจากเขา จนกว่าเขาจะเข้าสวนสวรรค์ อัลลอฮฺ (ซ.บ.) มิได้ตั้งนบีมาเป็นศาสดาเพื่อเหตุอื่นใด นอกจากเพื่อ

ความเอื้ออาทร บิดาของฉันสอนเรื่องความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และการมีจริยธรรมที่ดีเสมอ จวบจนถึงแก่กรรม

สุภาษิตที่ ๑๓

การให้ความช่วยเหลือแก่คนอ่อนแอ นับเป็นการบริจาค(ศ่อดะเกาะฮฺ)ที่ประเสริฐยิ่งนัก

๖๕

สุภาษิตที่ ๑๔

อย่าถือว่าการทำความดีมาก ๆ นั้น เป็นความดีที่มากแล้ว และจงอย่าถือว่า การทำบาปน้อยนั้น บาปจะน้อยไปด้วย เพราะความน้อยของบาปอาจสะสม จนกระทั่งมากขึ้นได้ และจงยำเกรงในยามที่อยู่โดยลำพัง จนกระทั่งทำให้ตัวของท่านมีความยุติธรรม

สุภาษิตที่ ๑๕

หน้าที่ของพวกท่าน คือ การวิงวอนขอ เพราะการวิงวอนขอนั้นขึ้นต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) และการขอต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) คือการทำให้พ้นจากภัยพิบัติ ครั้นเมื่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงได้รับการวิงวอนขอ ภัยพิบัติก็จะหันเหไป

สุภาษิตที่ ๑๖

การกล่าวถึงความโปรดปรานของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั้น เป็นการขอบพระคุณ การไม่ทำอย่างนั้นถือว่าเป็นการปฏิเสธ ดังนั้นต้องผูกมัดความโปรดปรานของพระผู้อภิบาลของพวกท่านไว้ด้วยกับการขอบพระคุณและจงนับคำนวณทรัพย์สินของพวกท่านด้วยการจ่ายซะกาต จงผลักดันภัยพิบัติด้วยการขอดุอฺาอ์ เพราะแท้จริงดุอฺาอ์นั้นคือเกราะกำบังภัยอันตราย

สุภาษิตที่ ๑๗

บุคคลใดที่บริภาษในเรื่องของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) เขาจะประสบความหายนะ บุคคลใดแสวงหาตำแหน่งผู้นำ เขาจะประสบความหายนะ และบุคคลใดที่หลงตัวเองก็จะประสบความหายนะเช่นกัน

๖๖

สุภาษิตที่ ๑๘

เสบียงสะสมทางโลกและทางศาสนาต่างก็มีความรุนแรงแข็งขัน สำหรับเสบียงทางโลกนั้น ไม่ว่าเจ้าจะยื่นมือออกไปในยามใด เจ้าจะต้องพบคนเลวล้ำหน้าเจ้าอยู่ก่อนแล้วเสมอ แต่เสบียงในปรโลกนั้น เจ้ามิอาจพบพานความช่วยเหลือจากใครที่จะมาช่วยเหลือเจ้าได้

สุภาษิตที่ ๑๙

ความดีนั้นถูกกักขังอยู่เสมอ ไม่มีอะไรปลดปล่อยมันให้ออกมาได้ นอกจากความช่วยเหลือต่อกันหรือการขอบพระคุณ

สุภาษิตที่ ๒๐

ถ้าหากวาระการสิ้นชีพได้รับการเปิดเผย ความหวังต่างๆ ก็จะชัดเจนขึ้น

สุภาษิตที่ ๒๑

ความจนให้กำเนิดบุคคลใด ความร่ำรวยก็จะทำลายบุคคลนั้น

สุภาษิตที่ ๒๒

บุคคลใดหาทางออกให้กับความทุกข์ยากไม่ได้ ความดีงามใดๆ ก็จะไม่อยู่กับเขา

๖๗

สุภาษิตที่ ๒๓

การด่าทอกันระหว่างคนสองคน มักจะทำให้คนที่อยู่เหนือกว่าลดระดับตัวเองลงไปอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเสมอ

สุภาษิตที่ ๒๔

􀀛 ความรู้ที่จำเป็นที่สุดสำหรับท่าน คือ ความรู้ที่ช่วยส่งเสริมการงานให้แก่ท่าน

􀀛 การทำงานที่จำเป็นแก่ท่าน คือการทำงานที่ท่านเป็นผู้รับผิดชอบ

􀀛 ความรู้ที่จำเป็นแก่ท่าน คือความรู้ที่ช่วยส่งเสริมให้จิตใจของท่านได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น และที่ให้ท่านรู้ว่าอะไรคือความเสียหาย

􀀛 ความรู้ที่จะนำมาซึ่งการลงโทษได้แก่ความรู้ที่เพิ่มพูนความคิดในเรื่องเกี่ยวกับชีวิตทางโลก ดังนั้นจงอย่าสับสนกับความรู้ที่ถึงแม้จะไม่รู้ในความรู้นั้น มันก็ไม่เป็นอันตราย

แต่จงอย่าลืมความรู้ที่ถ้าหากละทิ้งมันเสียแล้ว มันจะเพิ่มพูนความโง่เขลาให้แก่ท่าน

สุภาษิตที่ ๒๕

ภัยพิบัติอันจะประสบแก่คนที่มีความอดทนนั้น มีเพียงครั้งเดียว

ส่วนภัยพิบัติที่จะประสบแก่คนอ่อนแอ มักจะเกิดซ้ำสองเสมอ

สุภาษิตที่ ๒๖

การให้ความรักต่อเพื่อนมนุษย์ นับเป็นครึ่งหนึ่งของการมีปัญญา

หลากรส

๖๘

ถาม~ตอบของอิมามที่ ๗

ในบทนี้ เราจะเสนอเรื่องการตอบคำถามต่าง ๆ ของท่านอิมามมูซา

กาซิม(อฺ) บางประการ

คำถามต่าง ๆ เหล่านี้มีหลายประเภท ซึ่งมีทั้งเรื่องหลักความเชื่อ มีทั้งเรื่องบทบัญญัติกฎหมาย(ฟิกฮฺ)และมีทั้งเรื่องจริยธรรม ขณะเดียวกัน เจ้าของคำถามก็เป็นคนประเภทต่าง ๆ ซึ่งบ้างก็เป็นพวกทรราชย์ บ้างก็เป็นศัตรู บ้างก็เป็นคนโง่เขลา แต่คนทั้งหมดเหล่านั้น ถึงแม้จะแตกต่างกันในด้านความเชื่อถือและทางความคิด ก็ยังให้การยอมรับโดยดุษณีย์ต่อคำตอบของท่าน

อิมามมูซา กาซิม(อฺ)

ดังที่เราจะนำมาเสนอต่อไปนี้

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๑

ท่านอะบูฮะนีฟะฮฺ(อิมามมัซฮับฮะนะฟี)ได้กล่าวว่า : ข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปทำฮัจญ์ในสมัยของท่านอะบูอับดุลลอฮฺ(อฺ) อัศ-ศอดิก ครั้นเมื่อข้าพเจ้าได้เดินทางไปถึงเมืองมะดีนะฮฺ ข้าพเจ้าก็ได้เข้าไปในบ้านของท่าน(อฺ) เมื่อข้าพเจ้านั่งลงในที่รับแขกเพื่อรอการอนุญาตในการเข้าไปหา

ทันใดนั้นมีเด็กชายคนหนึ่งออกมา

ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า

“โอ้เด็กน้อย ในบ้านเมืองของพวกท่านนี้ คนแปลกหน้าจะถ่ายอุจจาระได้ที่ไหน ?”

๖๙

เด็กชายคนนั้นได้นั่งลงแล้วเอนตัวพิงกับฝาผนังพลางกล่าวว่า

“จงระวังอย่าถ่ายในลำธาร ใต้ต้นไม้ที่ให้ผล บริเวณมัสญิดทั้งหลายตามถนนหนทาง ด้านหลังของฝาผนังกำแพง และอย่าหันหน้าหรือหันหลังไปยังทิศกิบละฮฺ แล้วจงถ่ายเมื่อท่านต้องการ”

ข้าพเจ้ารู้สึกแปลกใจที่ได้ยินเด็กพูดออกมาอย่างนี้ จึงถามว่า

“เธอชื่ออะไร ?”

เขาตอบว่า

“มูซา บินญะอฺฟัร บินมุฮัมมัด บินอฺะลี บินฮุเซน บินอฺะลี บิน

อะบีฏอลิบ”

ข้าพเจ้าถามอีกว่า

“โอ้ เด็กน้อย ความบาปมาจากไหน ?”

เขาตอบว่า

“แท้จริงความชั่วร้ายต่าง ๆ ย่อมมาจากทางใดทางหนึ่งในสามทาง ดังนี้ อาจมาจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) แต่แน่นอน มันย่อมไม่มาจากพระองค์ เพราะไม่เป็นการบังควรที่พระผู้เป็นเจ้าจะลงโทษบ่าวของพระองค์ในสิ่งที่เขามิได้กระทำ หรืออาจมาจากพระองค์ และจากบ่าวของพระองค์ด้วย แต่ต้องไม่ใช่อย่างนั้น เพราะไม่บังควรที่ผู้ร่วมหุ้นอันมีพลังเหนือกว่าจะอธรรมต่อคู่ร่วมหุ้นที่อ่อนแอกว่า และอาจมาจากผู้เป็นบ่าวเอง เพราะถ้าหากทรงอภัย เขาก็ให้เกียรตินบนอบต่อการดำรงอยู่ของพระองค์ และถ้าหากทรงลงโทษก็เพราะบ่าวของพระองค์กระทำบาปนั่นเอง”

๗๐

ท่านอะบูฮะนีฟะฮฺได้กล่าวว่า

“ข้าพเจ้าจึงได้อำลาจากไป โดยไม่ต้องพบกับท่านอิมามศอดิก(อฺ)อีก เพราะเพียงพอแล้วกับสิ่งที่ได้ยินได้ฟังในที่นี้”(๑)

(๑) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ ๔ ก็อฟ ๓/๓๘.

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๒

ฮารูน รอชีดถามท่านอิมามมูซา อัล-กาซิม(อฺ)ว่า

“ทำไมพวกท่านจึงมีการอ้างถึงสายสัมพันธ์ทางสายเลือดจากท่าน

ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) โดยให้คนทั้งหลายเรียกพวกท่านว่า  

บุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ในขณะที่พวกท่านเป็นบุตรของอะลี(อฺ) เพราะความจริงแล้ว คนเราย่อมนับว่าสืบสายเลือดมาจากบิดาของตนเท่านั้น ฟาฏิมะฮฺนั้นเป็นเพียงแค่ส่วนประกอบ ส่วนท่านนบี(ศ)จึงเป็นเพียง “ตา”

ทางฝ่ายมารดาเท่านั้น มิใช่หรือ ?”

ท่าน(อฺ)จึงกล่าวว่า

“โอ้ อะมีรุ้ลมุอ์มินีน ถ้าหากท่านนบี(ศ)ฟื้นชีพขึ้นมา แล้วสู่ขอภรรยาให้แก่ท่าน ท่านจะยอมรับไหม ?”

เขาตอบว่า

“มหาบริสุทธิ์เป็นของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทำไมข้าพเจ้าจะไม่ยอมรับเพราะเรื่องนั้นยิ่งทำให้ข้าพเจ้ามีความภาคภูมิใจต่อคนอาหรับและคนอะญัม(คนที่ไม่ใช่อาหรับ)มากขึ้น”

๗๑

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวต่อไปว่า

“แต่ทว่า สำหรับข้าพเจ้าภูมิใจโดยที่ท่านไม่ต้องสู่ขอและจัดแต่งงานให้”

เขาถามว่า

“เพราะเหตุใด”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)ตอบว่า

“เพราะท่าน(ศ)ให้กำเนิดแก่ข้าพเจ้า แต่มิได้ให้กำเนิดแก่ท่าน”

เขากล่าวว่า

“ดีมาก ท่านมูซา แต่ท่านมีเหตุผลอย่างไร ในการที่กล่าวว่า “เราเป็นผู้สืบเชื้อสายของท่านนบี (ศ)” ทั้งๆ ที่ท่านนบี (ศ) นั้นไม่มีบุตรชายสืบสกุล ทั้งนี้เพราะสายสกุล จะสืบได้ก็แต่เพียงกับบุตรที่เป็นชายเท่านั้น หาใช่บุตรที่เป็นหญิงไม่

พวกท่านเป็นบุตรหลานที่สืบมาจากบุตรที่เป็นหญิง ฉะนั้นจึงมิใช่ผู้สืบสายสกุล มิใช่หรือ ?”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ข้าพเจ้าขอถามท่านเกี่ยวกับสิทธิของเครือญาติและสิทธิแห่งสุสาน นอกเสียจากว่าท่านจะไม่ให้อภัยแก่ข้าพเจ้าเนื่องจากคำถามอันนี้?”

 แต่อย่างไรก็ตาม ท่านก็คงจะไม่ยอมรับคำถามอันนี้ใช่ไหม ?”

ฮารูน รอชีดตอบว่า

“หามิได้ ถ้าหากว่าท่านได้แจ้งให้ข้าพเจ้าได้รับทราบถึงหลักฐานของพวกท่านในเรื่องนี้ โอ้บุตรของอฺะลี(อฺ) ท่านมูซาเอ๋ย ความจริงท่านก็คือ ประมุขทางศาสนาสำหรับพวกเขาเหล่านั้น เรื่องนี้เป็นที่ยอมรับของข้าพเจ้า แต่ข้าพเจ้าจะไม่ให้อภัยในทุกสิ่งที่ข้าพเจ้าถามท่าน จนกว่าท่านจะเสนอหลักฐานจากคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่มีในเรื่องนี้ต่อข้าพเจ้า”

๗๒

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“จะอนุญาตให้ข้าพเจ้าตอบเลยไหม ?”

ฮารูนกล่าวว่า

“เอาซิ”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ข้าขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ให้พ้นจากชัยฏอนที่ถูกสาปแช่ง ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ

“...และส่วนหนึ่งจากเชื้อสายของเขานั้น ได้แก่ ดาวูดและซุลัยมาน และอัยยูบ และยูซุฟ และมูซาและในทำนองนี้เราตอบแทนแก่ผู้ทำความดีอีกทั้งซะกะรียา และอีซา...”

(อัล-อันอาม: ๘๔)

“โอ้ ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน ใครกันเล่าที่เป็นบิดาของท่านนบีอีซา ?”

ฮารูน ร่อชีดตอบว่า

“ท่านนบีอีซา ไม่มีบิดา”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“อันที่จริงแล้ว พวกเรานับลำดับให้ท่านนบีอีซา(อฺ)ว่าท่านเป็นลูกหลานของบรรดานบีต่างๆ จากสายสกุลของมัรยัม(อฺ) ทำนองเดียวกัน พวกเราก็สืบต่อการเป็นเชื้อสายของนบี(ศ)จากสายสกุลด้านท่านหญิง

ฟาฏิมะฮฺ(อฺ) จะให้บอกหลักฐานเพิ่มเติมอีกไหม ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน ?”

ฮารูนกล่าวว่า

“เอาซิ”

๗๓

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“อัลลอฮฺ(ซ.บ.)มีโองการว่า :

“ดังนั้นถ้าใครโต้แย้งเจ้าในเรื่องนั้น หลังจากที่ความรู้มีมายังเจ้าแล้ว ก็จงกล่าวเถิดว่า มาซิท่านทั้งหลาย เราจะเรียกลูกๆ ของเราและลูกๆ ของพวกท่านและเรียกสตรีของเรา และสตรีของพวกท่าน และตัวของเราและตัวของพวกท่าน ต่อจากนั้น เรามาสาบานกัน โดยที่เราขอให้การสาปแช่งของ

อัลลอฮฺมีแก่ผู้ปฏิเสธ”

(อาลิอิมรอน: ๖๑)

“ในครั้งนั้น ท่านนบี(ศ)ไม่ได้เรียกใครแม้สักคนเดียวให้เข้าไปอยู่ใต้ผ้ากิซาอ์ร่วมกับท่าน(ศ) และเมื่อตอนทำการสาบานกับพวกนะศอรอนอกจากท่านอฺะลี บิน อะบีฏอลิบ (อฺ) ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อฺ) ท่านฮะซัน (อฺ) และท่านฮุเซน (อฺ) แล้วไม่มีใครอื่นอีก

จึงแปลความหมายโองการของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่ว่า

“ลูกๆ ของเรา” ได้ว่าหมายถึง ‘ท่านฮะซันและท่านฮุเซน”

ส่วน “สตรีของเรา”  หมายถึง “ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ”

และ “ตัวของเรา” หมายถึง “ท่านอิมามอฺะลี บินอะบีฏอลิบ”นั่นเอง” (๒)

(๒) เล่มเดียวกัน หน้า ๔๙.

๗๔

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๓

ท่านรอฮิบได้ถามท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ว่า

“รากของต้นฏูบาเป็นอย่างไรในสายตระกูลของอีซา ? เมื่อพวกท่านอยู่ในสายตระกูลของมุฮัมมัด แล้วแตกกิ่งก้านสาขาออกไปทุกสาย”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)ตอบว่า

“ดวงอาทิตย์นั้น แสงของมันสาดไปถึงที่ต่างๆ ทุกแห่งหน และทุกพื้นที่ทั้งๆ ที่มันอยู่ในชั้นฟ้า”

เขากล่าวว่า

“แต่ในสวนสวรรค์นั้น อาหารมิได้บกพร่องด้วยการกินเลยจริงไหม?”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)ตอบว่า

 “แสงสว่างในโลกนี้ไม่สามารถทำให้อะไรในสวรรค์บกพร่องไปได้เลย”

เขากล่าวว่า

“ในสวนสวรรค์มีร่มเงาที่ทอดยาวอยู่เป็นนิจใช่หรือไม่ ?”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ช่วงเวลาก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ทุกสิ่งจะเป็นเงาทอดยาว

๗๕

พระองค์ตรัสว่า :

“เจ้าไม่เห็นดอกหรือว่า พระผู้อภิบาลของเจ้าได้ทรงทอดร่มเงาให้ยาวออกไปอย่างไร”

(อัล-ฟุรกอน: ๔๕)

เขาถามอีกว่า

“แล้วจริงหรือที่ว่า การกิน การดื่มในสวนสวรรค์นั้นจะไม่ทำให้ขับถ่ายและไม่ปัสสาวะ ?”

ท่านอิมาม(อฺ)ตอบว่า

“ก็เหมือนทารกที่อยู่ในครรภ์นั่นเอง ?”

เขาถามอีกว่า

“จริงหรือที่ว่า ชาวสวรรค์ จะมีคนรับใช้ที่คอยบริการตามความประสงค์โดยมิต้องสั่งงาน”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“เมื่อเวลาที่คนเราต้องการสิ่งใด อวัยวะในร่างกายจะรับรู้สิ่งนั้นและจะทำให้ตามความประสงค์ โดยที่เจ้าของไม่ต้องออกคำสั่ง ?”

เขาถามอีกว่า

“กุญแจสวรรค์ทำด้วยทองคำหรือทำด้วยเงิน ?”

๗๖

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“กุญแจสวรรค์อยู่ที่วาจาของคนเรา ที่กล่าวว่า “ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ”(ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮฺ)”

รอฮิบกล่าวว่า

“จริงของท่าน”

แล้วเขาก็เข้ารับอิสลาม เข้าร่วมกับอิมามมูซา(อฺ)(๓)

(๓) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๓๗๔.

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๔

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ) ถูกถามถึงเรื่อง ‘ความยะกีน’

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“ความยะกีน หมายถึงการยอมมอบหมายตนเองยังอัลลอฮฺ(ซ.บ.) การสวามิภักดิ์ต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) การพึงพอใจในการกำหนด (ก่อฎอ) ของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) และถือว่าอำนาจทั้งมวลขึ้นอยู่ ณ อัลลอฮฺ (ซ.บ.)” (๔)

(๔) ตะฮัฟฟุล-อุกูล หน้า ๓๐๑.

๗๗

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๕

ท่านอิมามมูซา(อฺ)ถูกถามเกี่ยวกับความหมายของ “อัลลอฮฺ”

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“ผู้ทรงควบคุมบริหารกิจการทั้งเล็กที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุด”(๕)

 (๕) อุศูลุล-กาฟี เล่ม ๑ หน้า ๑๑๕.

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๖

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ถูกถามเกี่ยวกับเรื่องของชายคนหนึ่งที่กล่าวว่า

“ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า

“ฉันจะบริจาคด้วยทรัพย์สินอย่างมากมาย”

ว่าเขาควรจะบริจาคอย่างไร ?”

ท่านอิมาม(อฺ)ตอบว่า

“ถ้าคนสาบานเป็นเจ้าของฝูงแกะ เขาจะต้องบริจาคแกะ ๘๔ ตัว ถ้าเป็นผู้ครอบครองเงินดิรฮัม เขาจะต้องบริจาค ๘๔ ดิรฮัม หลักฐานในเรื่องนี้อยู่ที่โองการหนึ่งของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่ว่า:

“และแน่นอนที่สุด อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงให้ความช่วยเหลือต่อสูเจ้าที่อยู่ตามบ้านเมืองอันมากมาย”

(อัต-เตาบะฮฺ: ๒๕)

๗๘

กล่าวคือ จำนวนบ้านเมืองในเขตของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ก่อนที่โองการนี้จะถูกประทานลงมานั้นมี ๘๔ แห่ง (๖)

(๖) บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม ๑๑ หน้า ๓๕๓

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๗

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ถูกถามเกี่ยวกับ ‘การที่ชายคนหนึ่งขุดสุสานของผู้ตาย และตัดคอของผู้ตาย แล้วเอาผ้ากะฝั่นที่ห่อไปว่าจะมีการตัดสินอย่างไร?”

.

ท่านอิมาม(อฺ)ตอบว่า

“ต้องตัดมือเยี่ยงคนลักขโมย เพราะเขาลักผ้ากะฝั่น และต้องปรับเงิน ๑๐๐ ดีนารฺ เพราะตัดศีรษะคนตาย เพราะเราต้องถือว่า คนตายอยู่ในฐานะเสมือนทารกในครรภ์มารดาที่ยังไม่ได้เป่าวิญญาณ” (๗)

(๗) บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม ๑๑ หน้า ๒๕๓.

๗๙

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๘

ท่านอะบูอะฮฺมัดแห่งคุรอซานได้ถามท่าน(อฺ)ว่า

“การเป็นกุฟรฺ(ผู้ปฏิเสธพระผู้เป็นเจ้า)กับการตั้งภาคี(ชิริกฺ)นั้นอันไหนมาก่อนกัน”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ท่านมีอะไรกับปัญหานี้หรือ ข้าพเจ้าเคยสัญญากับท่านไว้อย่างไรบ้างในเรื่องการสนทนากับผู้คนทั้งหลาย ?”

ท่านอะบูอะฮฺมัดกล่าวว่า

“ท่านฮิชาม บินฮะกัม สั่งข้าพเจ้าให้ถามท่าน”

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ตอบว่า

“การที่กุฟรฺคือสิ่งที่มาก่อน กุฟรฺคนแรกได้แก่อิบลิส

(ดังกุรอานกล่าวว่า)

 “เขาดื้อรั้นและเย่อหยิ่ง และเป็นหนึ่งในมวลผู้ปฏิเสธ”

(อัล-บะกอเราะฮฺ: ๓๔)(๘)

(๘) บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม ๑๗ หน้า ๒๐๓.

๘๐

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

   ความเป็นหนึ่งเดียวในด้านความหมายและความเป็นจริง

(วะฮ์ดัตมัฟฮูมีย์และวะฮ์ดัตอัยนีย์)

    ในขณะที่มีการกล่าวกันว่า ความเป็นหนึ่งเดียวที่มีในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้ากับคุณลักษณะของพระองค์ นั้นมีความหมายเป็นหนึ่งเดียวกัน (วะฮ์ดัต) ดังนั้น ความเป็นหนึ่งเดียว(วะฮ์ดัต) ดังกล่าวมีความหมายว่าอย่างไร? และเราสามารถแบ่งออกเป็นได้ กี่ประเภทด้วยกัน

ซึ่งจะกล่าวได้ว่า เราสามารถแบ่งประเภทของความเป็นหนึ่งเดียว (วะฮ์ดัต )ได้ ๒ ประเภท ด้วยกัน มีดังต่อไปนี้

๑. ความเป็นหนึ่งเดียวในด้านความหมาย  (วะฮ์ดัตมัฟฮูมีย์)

๒. ความเป็นหนึ่งเดียวในความเป็นจริง (วะฮ์ดัตอัยนีย์)

 วะฮ์ดัตมัฟฮูมีย์ หมายถึง คำสองคำที่มีความแตกต่างกันในตัวอักษร แต่ในด้านความหมายนั้น มีความหมายเดียวกัน เช่น ในภาษาอาหรับ คำว่า วุญูด คือ การมีอยู่ และคำว่าเกาน์ ก็แปลว่า  การมีอยู่ ด้วยเช่นกัน

 ดังนั้น วะฮ์ดัตมัฟฮูมีย์ จึงถูกนำไปใช้ในด้านของความหมายของคำเท่านั้น

ส่วนวะฮ์ดะฮ์อัยนี หมายถึง คำสองคำที่มีสองความหมาย แต่ว่ามีตัวอย่างอันเดียวกันในความเป็นจริงหรือภายนอก เช่น คำว่า คัมภีร์ของมุสลิม และคำว่า ปฏิหาริย์ของท่านศาสดามุฮัมมัด ดังนั้น สองคำนี้มีความหมายที่แตกต่างกัน แต่ในความเป็นจริงนั้น มีตัวอย่างอันเดียวกัน  นั่นคือ

พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน เป็น คัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ของอิสลาม

๑๐๑

   ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว สามารถบอกได้ถึง ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ ซึ่งในระหว่างอาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้า และในระหว่างคุณลักษณะประการหนึ่งกับอีกคุณลักษณะประการอื่นๆของพระองค์ นั้นมีความหมายที่แตกต่างกัน

 ในอีกนัยหนึ่ง กล่าวได้ว่า มีความเป็นวะฮ์ดัตอัยนี กล่าวคือ ในความเป็นจริง นั้นมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า  ในความหมายของอาตมันกับคุณลักษณะ เช่น ความรอบรู้ อานุภาพ ก็มีความแตกต่างกัน แต่ในความเป็นจริง ความรอบรู้ของพระเจ้า เป็นหนึ่งเดียวกับอาตมันของพระองค์ที่มีมาแต่เดิม และไม่มีที่สิ้นสุด

ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ เป็นประเด็นที่เกี่ยวกับคุณลักษณะบางประการของพระเจ้า คือ คุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันของพระองค์ ซึ่งตรงกันข้ามกับคุณลักษณะใน กิริยา การกระทำ อีกทั้ง คุณลักษณะซุบูตีย์ (คุณลักษณะที่มีอยู่ในพระเจ้า) ก็ตรงกันข้ามกับคุณลักษณะซัลบีย์ (คุณลักษณะที่ไม่มีในพระองค์)อย่างเห็นได้ชัด

เราสามารถแบ่งประเด็นต่างๆของความเป็นเอกานาภาพในคุณลักษณะของพระเจ้า ได้ด้วยกัน ๓ ประเด็นหลัก นั่นก็คือ

๑.ประเด็นแรก อาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้า ที่มีความหมายที่แตกต่างกัน

๒.ประเด็นที่สอง อาตมันกับคุณลักษณะที่มีในอาตมันของพระองค์ ที่ในความเป็นจริงนั้น มีตัวอย่างหนึ่งเดียวเท่านั้น

๑๐๒

๓.ประเด็นที่สาม คุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันกับคุณลักษณะประการอื่นของพระองค์ และในความเป็นจริงก็มีตัวอย่างหนึ่งเดียวเช่นกัน

หากพึงสังเกตุว่า ในประเด็นสุดท้าย ซึ่งก็เป็นประเด็นเดียวกันกับประเด็นที่สอง เพราะว่า การที่มีการกระทำหลายอย่างในสิ่งหนึ่ง แน่นอนที่สุด สิ่งนั้นต้องเป็นสิ่งเดียวที่มีหลายกริยา การกระทำด้วยเช่นกัน และเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย ที่สิ่งหนึ่งจะมีความแตกต่างในตัวตนของสิ่งนั้นเอง

   เหตุผลของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

    ดั่งที่ได้อธิบายในความหมายของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะผ่านไปแล้ว จะมาอธิบายกันในเหตุผลที่ใช้พิสูจน์ในหลักการนี้ บรรดานักปรัชญาและเทววิทยาอิสลาม มีเหตุผลในการพิสูจน์ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ  ๓ เหตุผล ด้วยกัน ดังนี้

เหตุผลที่หนึ่ง

เหตุผลนี้ประกอบด้วย ๒ ข้อพิสูจน์เบื้องต้น คือ

๑.การมีความสมบูรณ์ที่สุด(กะมาล มุตลัก)ในพระผู้เป็นเจ้า  บ่งบอกถึง การมีความสัมพันธ์จากอาตมันไปยังคุณลักษณะของพระองค์ ในสภาพที่มีความสมบูรณ์ที่สุด

๒.การมีความสมบูรณ์ที่สุดในสิ่งหนึ่ง  หมายถึง การมีความสัมพันธ์ของสิ่งนั้นด้วยกับตัวของมันเอง โดยที่ไม่ต้องการสิ่งอื่นใด

๑๐๓

ผลที่จะได้รับของข้อพิสูจน์ดังกล่าวนี้ ก็คือ : ความสมบูรณ์ที่ไม่มีขอบเขตจำกัดของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งบ่งบอกถึง อาตมันของพระองค์ และคุณลักษณะทั้งหลายจะไม่เกิดขึ้น นอกจากคุณลักษณะเหล่านั้นเกิดขึ้นด้วยอาตมันของพระองค์เท่านั้น

สิ่งที่ได้รับจากเหตุผลนี้ ก็คือ ความเป็นหนึ่งและความเป็นเอกานุภาพของคุณลักษณะ และอาตมันของพระเจ้า

การเปรียบเทียบกันระหว่างข้อถกเถียง และโต้แย้งในข้อพิสูจน์นี้ เป็นที่กระจ่างชัดโดยที่ไม่มีความต้องใช้การพิสูจน์ใดๆจากการวิเคราะห์ในความหมายของ กะมาล มุตลัก (ความสมบูรณ์ที่ไม่มีขอบเขต) หมายถึง ความสมบูรณ์ที่มีอยู่ในทุกภาวะด้วยกับตัวของตนเองโดยมีความสัมผัสสะกับคุณลักษณะทั้งหลาย ในอีกมุมมองหนึ่ง กล่าวว่า การเปรียบเทียบกันระหว่างอาตมันกับคุณลักษณะของพระผู้เป็นเจ้า มี ๒ สภาพด้วยกัน ดังนี้

สภาพแรก ความเป็นหนึ่งและเอกะในสิ่งทั้งสอง กล่าวคือ ทั้งในอาตมันของพระเจ้ากับคุณลักษณะของพระองค์ หมายความว่า สภาพนี้ เป็นระดับขั้นที่อาตมันมีความสมบูรณ์ที่สุด และไม่มีขอบเขตจำกัด

สภาพที่สอง ความแตกต่างในอาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้า

๑๐๔

   เหตุผลที่สอง

    องค์ประกอบของเหตุผลนี้ มีดังต่อไปนี้

๑.อาตมันของพระเจ้า เป็นวาญิบุลวุญูด (ความจำเป็นที่ต้องมีอยู่) และเป็นปฐมเหตุของสิ่งทั้งหลาย ส่วนสิ่งอื่น เป็นมุมกินุลวุญูด (ความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้) และยังเป็นผลของปฐมเหตุอีกด้วย

๒.ความสมบูรณ์ทั้งหมดของผลขึ้นอยู่กับต้นเหตุของมัน

๓.ถ้าหากว่า การเกิดขึ้นของคุณลักษณะของพระเจ้า มิได้ผ่านยังอาตมันของพระองค์ ก็หมายถึง ในอาตมันของพระเจ้านั้น มีข้อบกพร่องและความไม่สมบูรณ์เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ผลหรือข้อสรุปที่จะได้รับ ก็คือ จากองค์ประกอบที่หนึ่งและที่สองของเหตุผลนี้ ได้กล่าวถึง อาตมันของพระเจ้าว่า มีความสมบูรณ์ที่สุด และองค์ประกอบที่สาม ก็กล่าวว่า การเกิดขึ้นของคุณลักษณะทั้งหลายนั้น จะต้องเกิดมาจากอาตมันของพระองค์เท่านั้น และก็หมายความว่า จะต้องมีความเป็นหนึ่งหรือความเป็นเอกานุภาพอยู่อีกด้วย

สามารถสรุปได้ว่า การเกิดขึ้นของคุณลักษณะที่มีในอาตมันของพระเจ้านั้น จะต้องมีความสมบูรณ์ในตัวของตัวเอง และความไม่สมบูรณ์หรือข้อบกพร่องจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน  เพราะว่าอาตมันของพระองค์เป็นปฐมเหตุของผลทั้งหลาย และเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ แสดงให้เห็นว่า เป็นไปไม่ได้ที่คุณลักษณะของพระเจ้าจะไม่มีความสมบูรณ์อยู่เลย ดังนั้น กล่าวได้ว่า คุณลักษณะของพระเจ้าต้องมีความสมบูรณ์ที่สุด และไม่มีขอบเขตจำกัด อีกทั้งเป็นหนึ่งเดียวและเป็นเอกานุภาพกับอาตมันของพระองค์ด้วย

๑๐๕

   เหตุผลที่สาม

    ถ้าหากว่า คุณลักษณะของพระเจ้ามิได้มีความเป็นหนึ่งเดียว หรือเป็นเอกานุภาพกับอาตมันของพระองค์แล้วไซร้ จะเกิดการสมมุติฐานได้ สองประเด็น ด้วยกัน ดังนี้

๑.คุณลักษณะของพระเจ้าต้องเป็นส่วนหนึ่งในอาตมันของพระองค์

๒.คุณลักษณะของพระเจ้าต้องเกิดจากภายนอกอาตมันของพระองค์

สมมุติฐานแรก ถือว่าเป็นโมฆะและไม่ถูกต้อง เพราะว่า เป็นสาเหตุที่ทำให้มีความเชื่อว่าพระเจ้ามีส่วนประกอบและได้พิสูจน์ในบท ความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้าไปแล้วว่า อาตมันของพระองค์นั้นไม่มีส่วนประกอบใดทั้งสิ้น

และจากสมมุติฐานที่สอง ก็ถือว่าเป็นโมฆะและไม่ถูกต้องเช่นกัน เพราะว่า เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการสมมุติฐานว่า ถ้าคุณลักษณะของพระเจ้าเกิดจากภายนอกจริง คุณลักษณะนั้นจะต้องเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ หรือสิ่งที่สามารถมีอยู่ ถ้าเป็นสิ่งแรก ก็เป็นสาเหตุให้เกิดมีพระเจ้าหลายองค์ ซึ่งความเชื่อนี้ขัดแย้งกับความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า และถ้าคุณลักษณะของพระองค์ เป็นสิ่งที่สามารถมีอยู่ จะเกิดคำถามขึ้นว่า แล้วอะไร เป็นสาเหตุที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น ซึ่งได้อธิบายไปแล้วว่า ทุกสิ่งที่เป็นสิ่งที่สามารถมีอยู่ ไม่ว่าในสภาพใดก็ตาม เป็นผลของสิ่งจำเป็นต้องมีอยู่ทั้งสิ้น และถ้าหากว่าเหตุผลการเกิดขึ้นของสิ่งนั้น เกิดจากสิ่งจำเป็นต้องมีอยู่หลายๆอย่าง ที่เป็นสาเหตุให้มีพระเจ้าหลายองค์ ซึ่งก็มีความขัดแย้งกับเตาฮีดในอาตมันของพระเจ้าเช่นกัน เพราะฉะนั้น การสมมุติฐานทั้งหมด ถือว่าเป็นโมฆะ และคงเหลือเพียงสมมุติฐานเดียวก็คือ คุณลักษณะของพระเจ้าเกิดจากภายนอกอาตมัน และเป็นผลของอาตมัน

๑๐๖

 ดังนั้น การยอมรับในสมมุติฐานนี้ ก็คือ พระเจ้าไม่มีคุณลักษณะใดๆอยู่เลย เช่น พระองค์ไม่มีชีวิต ไม่มีพลานุภาพ ไม่มีความสามารถ ในตอนแรกได้เอาคุณลักษณะทั้งหลายเหล่านี้มาจากภายนอกอาตมันของพระองค์ แล้วนำไปใช้กับสิ่งที่ถูกสร้างของพระองค์

ด้วยเหตุนี้ การสมมุติฐานนี้ ก็ถือว่าเป็นโมฆะเช่นกัน เพราะว่า ด้วยกับกฏของเหตุและผล ได้กล่าวไปแล้วว่า เหตุของผลทั้งหลายจะไม่มีคุณสมบัติของผลของมัน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่สิ่งหนึ่งสิ่งใดจะปราศจากความสมบูรณ์แล้วเอาความสมบูรณ์นั้นไปให้กับสิ่งอื่น เพราะฉะนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ สำหรับพระเจ้า ในขณะที่พระองค์ไม่มีชีวิตอยู่และไม่มีพลานุภาพ และไม่มีความสามารถแล้ว พระองค์จะเป็นผู้ทรงสร้างชีวิตทั้งหลายได้อย่างไร?

สามารถสรุปได้ว่า สมมุติฐานที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ถือว่าเป็นโมฆะ และการสมมุติฐานระหว่างอาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้า มีความแตกต่างกัน ก็เป็นโมฆะเช่นเดียวกัน ผลลัพท์คือ ระหว่างอาตมันและคุณลักษณะของพระองค์ในความเป็นจริง เป็นสิ่งเดียวกัน แต่มีความหมายที่แตกต่างกัน

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สติปัญญาของมนุษย์ยอมรับในการมีอยู่ของพระเจ้าองค์เดียว ผู้ทรงบริสุทธิ์ และมิได้มีขอบเขตจำกัด ซึ่งบ่งบอกถึงการมีอยู่ของคุณลักษณะที่มากมายในพระองค์ เช่น ความรู้ ความสามารถ การมีชีวิต และได้นำไปใช้กับอาตมันของพระเจ้าซึ่งในความเป็นจริงก็มิได้มีความแตกต่างกันเลย

๑๐๗

   ความแตกต่างทางด้านความหมายของคุณลักษณะ (ซิฟัต)

    ได้กล่าวไปแล้วว่า ในความเป็นจริงของอาตมัน และคุณลักษณะของพระเจ้านั้น มีความเป็นหนึ่งเดียวและเป็นเอกะ ซึ่งในคุณลักษณะของพระองค์ก็มิได้มีความแตกต่างกับอาตมัน และมิได้เป็นส่วนประกอบใดของอาตมัน แต่ในอาตมันและคุณลักษณะมีความเป็นหนึ่งเดียวและเป็นเอกะ 

ประเด็นหลักของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ  ก็คือ การยืนยันด้วยเหตุผลถึงความแตกต่างในความหมายระหว่างอาตมันกับคุณลักษณะ เพราะว่าบุคคลใดก็ตามที่ใช้สติปัญญาเพื่อเข้าใจใน

ความหมายของคุณลักษณะ เช่น ความรอบรู้ ความปรีชาญาณ ความสามารถและอื่นๆ  ซึ่งทั้งหมดนั้นมีความหมายแตกต่างกัน  ดั่งเช่น ชาวอาหรับได้เรียกพระเจ้าว่า ผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ ผู้ทรงความสามารถ บ่งบอกถึงความหมายที่แตกต่างกัน แต่ในความเป็นจริง มีตัวตนหนึ่งเดียว

๑๐๘

                      

   ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ(เตาฮีด ซิฟาตีย์)ในมุมมองทางประวัติศาสตร์

    บรรดานักเทววิทยาในสำนักคิดทั้งหลายของอิสลามมีทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับคุณลักษณะกับการให้ความสัมพันธ์ไปยังอาตมันของพระเจ้า ซึ่งมีดังนี้

๑.ทัศนะที่มีความเชื่อว่า คุณลักษณะกับอาตมันมีความเป็นหนึ่งเดียวกันตามความเป็นจริง แต่ในความหมายมีความแตกต่างกัน ทัศนะนี้  เป็นทัศนะของสำนักคิดชีอะฮ์อิมามียะฮ์ และสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์บางคน ซึ่งมีเหตุผลมากมายจากการใช้สติปัญญา และวจนะของอิสลามที่พิสูจน์ในทัศนะนี้

๒.ทัศนะที่มีความเชื่อในการมีมาแต่เดิมของคุณลักษณะในพระเจ้า และความไม่เหมือนกันของคุณลักษณะกับอาตมัน ทัศนะนี้ เป็นทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์ ที่กล่าวว่า คุณลักษณะในพระเจ้ามีความเหมือนกันกับคุณลักษณะของสิ่งที่ถูกสร้างและมีความแตกต่างกับอาตมัน หมายความว่า คุณลักษณะของพระองค์นั้นมีมาแต่เดิม แต่คุณลักษณะของสิ่งถูกสร้างมิได้มีมาแต่เดิม

ความผิดพลาดของทัศนะนี้ ก็คือ เป็นข้อสงสัยที่ทำให้เกิดความสับสนระหว่างคุณลักษณะของพระเจ้ากับคุณลักษณะของสิ่งที่ถูกสร้าง และการยอมรับว่า คุณลักษณะมีมาแต่เดิมเหมือนกับอาตมัน ซึ่งบ่งบอกถึงการมีอยู่ของสิ่งที่มีมาแต่เดิมหลายสิ่ง และเป็นสาเหตุทำให้เกิดการตั้งภาคี

๑๐๙

 กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สำนักคิดอัชอะรีย์มีความเชื่อในการมีอยู่ของสิ่งเจ็ดประการที่มีมาแต่เดิมเหมือนกับอาตมันของพระเจ้า นั่นก็คือ คุณลักษณะเจ็ดประการ ความรอบรู้ ความปรีชาญาณ และฯลฯ และในทัศนะนี้ได้ยอมรับว่า พระเจ้ามีความต้องการในความสมบูรณ์ของพระองค์ ซึ่งมีความขัดแย้งกับการไม่มีความต้องการใดของพระองค์ แต่ในทัศนะของความเป็นเอกานุภาพได้กำหนดไว้ว่า อาตมันของพระเจ้ามีหนึ่งเดียวและมีมาแต่เดิม ส่วนสิ่งทั้งหลายนอกเหนือจากพระองค์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ และเป็นสิ่งที่ถูกสร้างของพระองค์ 

๓.ทัศนะที่มีความเชื่อในการเพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ของคุณลักษณะของพระเจ้า และความไม่เหมือนกันของคุณลักษณะและอาตมัน ทัศนะนี้เป็นทัศนะของสำนักคิดกะรอมียะฮ์ ที่กล่าวว่า คุณลักษณะของพระเจ้ามิได้มีมาแต่เดิม กล่าวคือ คุณลักษณะของพระเจ้าเพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ และมิได้เหมือนกันกับอาตมัน ดังนั้น ทัศนะนี้ก็ถือว่าเป็นโมฆะ ด้วยกับเหตุผลต่างๆทางสติปัญญาที่ได้อธิบายไปแล้ว

๔.ทัศนะที่มีความเชื่อในการเป็นตัวแทน (นิยาบัต) ของอาตมันจากคุณลักษณะ ทัศนะนี้เป็นทัศนะของนักเทววิทยาในสำนักคิดมุอ์ตะซิละฮ์บางคน เช่น อะบูอะลีและอะบูฮาชิม ญุบบาอีย์

 (ผู้ก่อตั้งสำนักคิดมุอ์ตะซิละฮ์) และทัศนะของ อับบาด บิน สุลัยมาน พวกเขากล่าวว่า พระเจ้าทรงปราศจากคุณลักษณะที่สมบูรณ์ เช่น ความรอบรู้ ความปรีชาญาณ ในขณะเดียวกันอาตมันของพระองค์ก็ได้แสดงผลของคุณลักษณะทั้งหลายนั้นออกมา ตัวอย่างเช่น อาตมันของพระเจ้าทรงปราศจากคุณลักษณะความรู้ แต่การกระทำต่างๆของพระองค์ เป็นการกระทำของผู้ที่มีความรู้

๑๑๐

ดังนั้น เหตุผลของทัศนะนี้ ก็คือ พวกเขาไม่ยอมรับในทัศนะที่สาม เพราะว่า มีความขัดแย้งกับความเป็นเอกานุภาพ และในขณะเดียวกัน พวกเขาไม่รู้ในความเป็นจริงของคุณลักษณะทั้งหลายที่มีอยู่ในอาตมันของพระเจ้า ทัศนะนี้ก็ถือว่าเป็นโมฆะเช่นกัน เพราะว่าถ้ายอมรับในทัศนะนี้ก็เท่ากับมีความเชื่อว่าพระเจ้าไม่มีความสมบูรณ์ เช่น การมีความรู้ ความสามารถ การมีชีวิต เป็นต้น

   ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ(เตาฮีด ซิฟาตีย์)ในมุมมองของวจนะ

    ได้อธิบายไปแล้วว่า ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ หมายถึง การมีความเชื่อในความเป็นหนึ่งเดียวของคุณลักษณะกับอาตมันของพระเจ้าในความเป็นจริง แต่ในความหมายนั้นมีความแตกต่างกัน ดังนั้น คุณลักษณะของพระเจ้าก็เหมือนกันกับอาตมันของพระองค์ที่มีมาแต่เดิม ในขณะเดียวกัน ก็ไม่มีความแตกต่างกันในอาตมันและคุณลักษณะของพระองค์ 

ท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวไว้ในสุนทรโรวาทหนึ่งเกี่ยวกับความสวยงามในความเป็นจริงของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ(เตาฮีด ซิฟาตีย์)ความว่า

 “พระเจ้า พระองค์ผู้ซึ่งมีคุณลักษณะที่ไม่มีขอบเขตจำกัดและไม่สามารถจะพรรณาในคุณลักษณะทั้งหลายของพระองค์ได้”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๑ )

๑๑๑

หลังจากนั้นท่านอิมามได้อธิบายถึงความสมบูรณ์ของความบริสุทธิ์ใจในการรู้จักพระเจ้าและเตาฮีด(ความเป็นเอกานุภาพ)ว่า

“ความสมบูรณ์ของความเป็นเอกานุภาพ คือ การมีความบริสุทธิ์ใจต่อพระเจ้า และความสมบูรณ์ของความบริสุทธิ์ใจ คือ การไม่ปฏิเสธการมีคุณลักษณะในพระองค์ เพราะว่า การมีอยู่ของคุณลักษณะ บ่งบอกถึงสิ่งทำให้คุณลักษณะเกิดขึ้น และการมีของสิ่งที่ทำให้คุณลักษณะเกิดขึ้น มิใช่เป็นการมีคุณลักษณะ”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๑ )

ท่านอิมามอะลีกล่าวอีกว่า

”บุคคลใดก็ตามที่ได้ทำให้พระเจ้ามีคุณลักษณะ ก็เท่ากับว่าเขาได้เข้าใกล้ชิดต่อพระองค์ และใครก็ตามที่เขาได้เข้าใกล้ชิดพระองค์ ก็เท่ากับเขาได้ทำให้พระเจ้ามีหลายองค์ และใครก็ตามที่ทำให้พระเจ้ามีหลายองค์ก็เท่ากับว่าเขานั้นไม่รู้จักพระองค์”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๑ )

ท่านอิมามริฎอ (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

”พระองค์อัลลอฮ์ ผู้ทรงยิ่งใหญ่และทรงสูงส่ง พระองค์ทรงมีความรอบรู้ ,ความสามารถ, มีชีวิต, ได้ยิน, มองเห็น และ มีมาแต่เดิม

๑๑๒

 ฉัน (ผู้รายงาน) ได้ถามท่านอิมามว่า โอ้บุตรแห่งศาสนทูต กลุ่มชนหนึ่งได้พูดกันว่า พระองค์อัลลอฮ์มิได้ทรงมีความรู้, สามารถ, มีชีวิต, ได้ยิน, มองเห็น และ มีมาแต่เดิม

ท่านอิมามได้ตอบกับเขาว่า “ใครก็ตามที่มีความเชื่อเช่นนี้ แน่นอนที่สุดเขาได้ยืดเอาพระเจ้าอื่นเคียงข้างพระองค์อัลลอฮ์และตำแหน่งวิลายะฮ์ (ความเป็นผู้นำ) ของเราจะไม่ไปถึงเขา และท่านอิมามได้กล่าวอีกว่า พระองค์อัลลอฮ์ทรงมีความรู้, ความสามารถ, มีชีวิต ได้ยิน, มองเห็น และมีมาแต่เดิมด้วยกับอาตมันของพระองค์ และพระองค์ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งที่บรรดาพวกตั้งภาคีและพวกที่คิดว่าพระองค์มีรูปร่าง”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๑๑ วจนะที่ ๓ )

 จากวจนะของท่านอิมามริฎอ ได้บ่งบอกถึง คุณลักษณะทั้งหลายของพระเจ้าที่มีมาแต่เดิม อาทิ เช่น ความรอบรู้, ความสามารถและ การมีชีวิต ผู้รายงานได้ถามอิมามเกี่ยวกับกลุ่มชนหนึ่งที่มีความเชื่อว่า การมีมาแต่เดิมของคุณลักษณะในพระเจ้าและความไม่เป็นหนึ่งเดียวกันกับอาตมันของพระองค์ อิมามได้ตอบว่า การมีความเชื่อเช่นนี้ เป็นสาเหตุของการตั้งภาคีและการเชื่อว่ามีพระเจ้าหลายองค์ ส่วนการมีอยู่ของคุณลักษณะในพระเจ้าได้เกิดขึ้นด้วยกับอาตมันของพระองค์ และมีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับอาตมัน

๑๑๓

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

ซิฟาตซาตีย์ หมายถึง คุณลักษณะที่มีในอาตมัน                                  

ซิฟาต คอริญีย์ หมายถึง คุณลักษณะที่มีในภายนอก

เตาฮีด ซิฟาตีย์ หมายถึง       ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

วะฮ์ดัต มัฟฮูมีย์ หมายถึง     ความเป็นหนึ่งเดียวในความหมาย

วะฮ์ดัต อัยนีย์  หมายถึง       ความเป็นหนึ่งเดียวในความจริง

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ ได้มีคำถามเกิดขึ้นว่า คุณลักษณะทั้งหลายของพระเจ้ามีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับอาตมันของพระองค์หรือไม่?

๒.ความเป็นหนึ่งเดียว (วะฮ์ดัต) สามารถแบ่งออกเป็น สองประเภท

(๑.)ความเป็นหนึ่งเดียวในความหมาย (วะฮ์ดัต มัฟฮูมีย์) หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวในความหมายของคำทั้งสองคำ

(๒.)ความเป็นหนึ่งเดียวในความจริง (วะฮ์ดัต อัยนีย์) หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวในความจริง แต่ในความหมายแตกต่างกัน

๓.ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะมี ๓ ประเด็นหลัก ดังนี้

(๑.)อาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้าในความหมายที่แตกต่างกัน

(๒.)อาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้าในความจริง มีความเป็นหนึ่งเดียวกันและเหมือนกัน

(๓.)คุณลักษณะของพระเจ้ากับคุณลักษณะประการอื่นในความเป็นจริง มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน และเหมือนกัน

๑๑๔

๔.การปฏิเสธการมีส่วนประกอบในอาตมันของพระเจ้า เป็นประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

๕.มีหลายเหตุผลทางสติปัญญาที่ใช้ในการพิสูจน์ถึงความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

๖.การพิจารณาความหมายทางภาษาของคุณลักษณะในพระเจ้า บ่งบอกถึงความหมายที่แตกต่างกัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง ทัศนะของความเป็นหนึ่งเดียวในความหมายของคุณลักษณะในพระเจ้านั้น มีความขัดแย้งกับการเข้าใจทางภาษาของคุณลักษณะในมนุษย์

๗.สำนักคิดอัชอะรีย์มีความเชื่อในการมีมาแต่เดิมของคุณลักษณะในพระเจ้า และมีความหมายที่แตกต่างกันกับอาตมันของพระองค์ ความเชื่อนี้ เป็นสาเหตุทำให้เกิดการตั้งภาคี และความเชื่อในพระเจ้าหลายองค์

๘.ทัศนะของนักเทววิทยาบางคนในสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์ มีความเชื่อในอาตมันของพระเจ้าว่าไม่มีคุณลักษณะประการใด พวกเขากล่าวว่า  อาตมันของพระองค์มีผลที่มีคุณลักษณะ ในขณะที่ไม่มีคุณลักษณะประการใด ดังนั้น การยอมรับในทัศนะนี้ มีความเชื่อในความไม่สมบูรณ์ในอาตมัน และการไม่มีคุณลักษณะในพระองค์

๙.ท่านอิมามอะลีได้กล่าวในสุนทรโรวาทหนึ่งในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ว่า

 “คุณลักษณะของพระเจ้ามิได้อยู่นอกเหนือจากอาตมันของพระองค์ และใครก็ตามที่มีความเชื่อว่า พระเจ้ามีคุณลักษณะอยู่ภายนอกอาตมันของพระองค์ แน่นอนที่สุดเขานั้นไม่รู้จักพระองค์อย่างแท้จริง”

๑๐.ท่านอิมามอะลี ริฎอ ได้กล่าวเน้นย้ำว่า การมีความเชื่อในการมีคุณลักษณะของพระเจ้าที่มีความหมายที่แตกต่างกันกับอาตมัน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการตั้งภาคี และได้เปรียบพระเจ้าเหมือนกับสิ่งที่มีชีวิตในโลก หมายถึง พระองค์มีรูปร่างและสรีระ

   บทที่ ๔

   ความเป็นเอกานุภาพใน กิริยา การกระทำ (เตาฮีด อัฟอาลีย์) ตอนที่หนึ่ง

   บทนำเบื้องต้น

    ตามทัศนะของบรรดานักปรัชญาและนักเทววิทยาอิสลาม มีความเห็นว่า พระเจ้าทรงมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุด และทรงเป็นแหล่งที่มาของอากัปกิริยา การกระทำ เช่น การสร้าง  , การประทานปัจจัยยังชีพ ,การบริหารกิจการงานทั้งหลาย, การมีเมตตาปรานี และอื่นๆ ซึ่งการกระทำทั้งหมดนั้น เป็นการกระทำของพระองค์

เมื่อได้สังเกตุในสิ่งต่างๆที่มีอยู่ในโลก จะพบว่า มีกิริยา การกระทำเกิดขึ้นมากมาย  ซึ่งทั้งหมดของการกระทำจะต้องมีแหล่งที่มาหรือสาเหตุในการเกิดขึ้น เช่น สภาพการเป็นสะสาร ,การเจริญเติบโตของพรรณพืช, การเกิดขึ้นของสัตว์ และการถือกำเนิดของมนุษย์ หากมองดูอย่างผิวเผิน จะเห็นได้ว่า การเกิดขึ้นของสิ่งต่างๆในโลกนี้ เกิดขึ้นจากการกระทำของหลายผู้กระทำและในทัศนะของความเป็นเอกานุภาพในอิสลาม มีความเชื่อว่า ทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกนี้ ต้องมีแหล่งที่มาอันเดียวกัน และพระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นผู้กระทำการงานเหล่านั้นเพียงองค์เดียว และไม่มีผู้กระทำ (ฟาอิล) ใดที่เป็นอิสระเสรี นอกจากพระองค์

๑๑๕

 ดังนั้น ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ จึงหมายถึง

๑.การมีความเชื่อว่า พระเจ้า เป็นผู้กระทำเพียงองค์เดียว ในการกระทำทั้งหลาย โดยที่ไม่มีผู้ที่ช่วยเหลือพระองค์

๒.การมีความเชื่อว่า การกระทำของพระเจ้า เป็นการกระทำที่เป็นอิสระเสรี ส่วนการกระทำของสิ่งอื่นๆ มิได้มีความเป็นอิสระเสรีเหมือนกับการกระทำของพระองค์ และการกระทำเหล่านั้นจะเกิดขึ้นได้ด้วยกับความประสงค์ตามเจตนารมณ์ของพระองค์เท่านั้น ดังนั้น การสร้างทุกสรรพสิ่ง  ,การให้ปัจจัยยังชีพ, การบริหารการงานทั้งหลาย และอื่นๆ เป็นการกระทำของพระเจ้าแต่เพียงองค์ดียว โดยที่ไม่มีการช่วยเหลือจากผู้อื่น

   บทบาทของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำในมุมมองของโลกทรรศน์

    ความหมายที่กว้างของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ ซึ่งครอบคลุมไปถึงทุกการกระทำที่มีอยู่ในสากลจักวาล  ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระเจ้ามีความสัมพันธ์กับจักวาล ดังนั้น การเชื่อหรือไม่เชื่อในความเป็นเอกานุภาพประเภทนี้ จึงมีผลต่อโลกทรรศน์และวิสัยทรรศน์ของมนุษย์ทุกคน เมื่อมนุษย์มีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำแล้ว มนุษย์จะมีความเชื่อในอานุภาพ และความประสงค์ของพระเจ้าที่มีต่อการเกิดขึ้นของสรรพสิ่งทั้งหลาย ในขณะเดียวกัน เมื่อเวลาใดก็ตามที่มนุษย์มองไปในทุกทิศทาง  ก็จะพบกับพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้นอานุภาพของพระองค์ครอบคลุมไปทั่วทุกสรรพสิ่งที่มีในโลกนี้และในจักวาล ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งใหญ่ที่สุดเหมือนดั่งจักวาล หรือสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งเล็กที่สุดเหมือนกับอะตอม ทั้งหมดนั้น อยู่ภายใต้อานุภาพของพระเจ้าทั้งสิ้น

๑๑๖

ด้วยเหตุนี้ การมีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพนิกริยา การกระทำ จึงมีผลต่อโลกทรรศน์ และในความคิด ความศรัทธา ยังรวมทั้งในการปฏิบัติของมนุษย์อีกด้วย ซึ่งจะอธิบายในรายละเอียดของประเด็นเหล่านี้ เป็นอันดับต่อไป

   การกระทำของสิ่งถูกสร้างอยู่ภายใต้การกระทำของผู้สร้าง

    ความหมายที่ลึกซึ้งของ ความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ หมายถึง การกระทำทั้งหมดของสรรพสิ่ง เป็นการกระทำของพระเจ้าเพียงองค์เดียว โดยเกิดขึ้นจากอาตมันอันบริสุทธิ์ของพระองค์ และเมื่อได้ใช้สติปัญญาไตร่ตรองในความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ ได้มีคำถามและข้อสงสัยเกิดขึ้นมากมาย เช่น ถ้ายอมรับว่า มีความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำแล้ว การกระทำของสิ่งอื่น จะเป็นอย่างไร ? และทุกวันนี้ เราก็ได้เห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา ที่ตัวของมันเป็นผู้กระทำการกระทำของมันขึ้นมาเอง เช่น เราได้เห็นไฟว่า มันมีความร้อน และได้เห็นแม่เหล็ก ว่า มันมีแรงดึงดูดที่สามารถดึงเอาเศษเหล็กทั้งเล็กใหญ่ไปยังตัวของมันได้, พวกพืชก็ได้รับอาหารจากใต้พื้นดิน ,สรรพสัตว์ทั้งหลายต่างก็ได้ออกไปหาอาหารด้วยกับตัวของมัน แม้แต่มนุษย์เองก็เป็นผู้กระทำกิจการงานต่างๆด้วยตัวเอง และเมื่อเป็นเช่นนี้ จะให้ความสัมพันธ์ของการกระทำเหล่านี้ไปยังพระเจ้าได้อย่างไร?  ถ้าเรายอมรับในการกระทำทั้งหลายเป็นการกระทำของพระองค์ เราก็ต้องปฏิเสธการกระทำของสิ่งอื่นด้วยหรือไม่?  หรือว่ายังมีหนทางอื่นอีกที่ยืนยันในการกระทำของสิ่งเหล่านั้นว่าอยู่ภายใต้การกระทำของพระเจ้าหรือไม่?

๑๑๗

สำหรับคำตอบของคำถามเหล่านี้ ต้องมาพิจารณาในทัศนะต่างๆของบรรดานักวิชาการว่า ได้มีความเห็นกันอย่างไร

 ด้วยเหตุนี้ บรรดานักปรัชญาและนักเทววิทยาอิสลามได้จัดแบ่งการกระทำของพระเจ้าออกเป็น สอง ประเภทได้ ด้วยกัน ดังนี้

๑.การกระทำที่เป็นแนวนอน หมายถึง มีผู้กระทำหลายคนในการกระทำหนึ่ง ที่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำกับการกระทำนั้น มีความเสมอภาคกัน ตัวอย่างเช่น การช่วยเหลือของหลายคน ในการยกสิ่งของชิ้นหนึ่งจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ในสภาพเช่นนี้ การกระทำหนึ่ง จึงมีผู้กระทำหลายคน

๒.การกระทำที่เป็นแนวตั้ง หมายถึง การกระทำของหลายคน ที่มีผลต่อการกระทำหนึ่ง และในบางส่วนมีความสัมพันธ์กับส่วนอื่นๆ ซึ่งในการกระทำนี้มีผู้กระทำสองคน คือ ผู้กระทำโดยตรง (ฟาอิล มุบาชิร) และผู้กระทำโดยใช้สื่อ (ฟาอิล บิซตัซบีบ)

ผู้กระทำโดยตรง คือ ผู้ที่ทำให้การกระทำนั้นเกิดขึ้น แต่การกระทำนั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องผ่านผู้กระทำอีกคนหนึ่ง คือ ผู้กระทำโดยใช้สื่อ จากประเภททั้งสองของการกระทำ การเปรียบเทียบการกระทำของพระเจ้ากับการกระทำของสิ่งที่ถูกสร้าง กล่าวคือ การกระทำของพระองค์ คือ การกระทำที่เป็นแนวตั้ง เหมือนกับการนั่งและการเดินของคนๆหนึ่งซึ่งเขาเป็นผู้กระทำเองโดยตรง แต่ไม่ใช่ว่าการกระทำของเขา จะอยู่นอกเหนืออำนาจของพระเจ้า ถ้าหากว่าการกระทำของเขาไม่ได้เกิดขึ้นด้วยอำนาจของพระองค์แล้ว แน่นอนที่สุดการกระทำนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น จากความแตกต่างของการกระทำที่เป็นแนวนอนกับการกระทำที่เป็นแนวตั้ง ทำให้มีความเข้าใจในความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

๑๑๘

 แต่ในความเป็นจริงนั้น การเข้าใจในความหมายที่แท้จริงของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำนั้น มีความยากและละเอียดอ่อน ซึ่งจะพยายามทำให้มีความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น โดยการอาศัยตัวอย่างต่างๆ ทั้งที่เป็นการกระทำที่เป็นแนวนอนและการกระทำที่เป็นแนวตั้ง เช่น ความสัมพันธ์ของจิตกับร่างกายของมนุษย์ โดยการสมมุติฐาน เช่น การเขียนของมนุษย์ ในขณะที่เขาคิดว่า เขานั้นเป็นผู้กระทำโดยตรง แต่ความเป็นจริง มิได้เป็นเช่นนั้น การกระทำดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นได้จากการมีความสัมพันธ์ของจิตไปสู่ร่างกายของเขา ด้วยกับการใช้มือเป็นสื่อในการเขียน ซึ่งการกระทำนั้นเกิดขึ้นในสภาพที่เป็นแนวตั้ง เพราะฉะนั้นในสภาพเช่นนี้ ผู้ที่กระทำโดยตรง คือ มือของมนุษย์ การเกิดขึ้นได้โดยการสั่งงานหรือได้รับคำสั่งจากจิต ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวไปสู่การจับปากกาแล้วเอามาเขียนลงบนกระดาษ

ซึ่งจะเห็นได้ว่า การกระทำของพระเจ้ากับการกระทำของสิ่งถูกสร้างนั้น มีความสัมพันธ์คล้ายคลึงกันกับความสัมพันธ์ของจิตกับร่างกายของมนุษย์ กล่าวคือ การกระทำของสิ่งถูกสร้างมีความสัมพันธ์ไปสู่การกระทำของพระเจ้า โดยสรุปได้ว่า  การจำกัดของการกระทำที่เป็นอิสระเสรีในพระเจ้ากับการให้มีความสัมพันธ์กับการกระทำอื่นที่มิได้มาจากพระเจ้า ถือว่า ไม่ถูกต้อง

ด้วยเหตุนี้ ก็สามารถที่จะให้ความสัมพันธ์ของกระทำนั้นไปสู่พระเจ้า และสิ่งถูกสร้างได้โดยปราศจากความขัดแย้งและข้อผิดพลาดใดๆทั้งสิ้น

๑๑๙

   บทบาทของสื่อกลางในการเกิดขึ้นของการกระทำในพระเจ้า

    มีคำถามเกิดขึ้นว่า ถ้าหากว่าพระเจ้ามีความเป็นอิสระเสรีในการกระทำของพระองค์ โดยที่ไม่ต้องการความช่วยเหลือจากผู้ใด แล้วทำไมในการเกิดขึ้นของการกระทำบางสิ่งบางอย่างต้องใช้สื่อกลางในการกระทำด้วย เช่น ในการสร้างหรือการบันดาล ซึ่งเป็นการกระทำหนึ่งของพระเจ้า แต่ทว่าการเกิดขึ้นของต้นไม้ต้นหนึ่ง ต้องผ่านปัจจัยและองค์ประกอบหลายอย่าง อาทิเช่น การได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์ ดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ ต้นไม้ต้นนั้นจึงจะเกิดขึ้นได้

สำหรับคำตอบของคำถามนี้ ก็คือ สภาพในกิริยา การกระทำของพระเจ้า สามารถแบ่งออกเป็น ๒ สภาพ ด้วยกัน ดังนี้

๑.สภาพของโลกเหนือธรรมชาติ หมายถึง โลกที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุและสสาร ดังนั้น การเกิดขึ้นของการกระทำในพระเจ้า  จึงไม่ต้องมีเงื่อนไขใดๆหรือปัจจัยใด เพียงเพราะความประสงค์ของพระองค์เท่านั้น การกระทำนั้นก็จะเกิดขึ้นในทันทีทันใด  สภาพนี้จึงถูกเรียกว่า โลกแห่งการกระทำ

 (อาลัม มุน อัมร์)

๒. สภาพของโลกแห่งธรรมชาติ คือ โลกที่เกี่ยวข้องกับวัตถุหรือสสาร ถูกเรียกว่า โลกแห่งการสร้างสรรค์ (อาลัม มุน ค็อลก์)

ดังนั้น การเกิดขึ้นของการกระทำของพระเจ้า ในสภาพเช่นนี้ จึงมีความต้องการเงื่อนไขและปัจจัยอื่นๆ เพราะว่า การเกิดขึ้นของสิ่งที่เป็นวัตถุด้วยกับกฏระบบและระเบียบของโลก หากว่าการเกิดขึ้นของสิ่งที่เป็นวัตถุ ปราศจากการมีอยู่ของเงื่อนไขหรือปัจจัยอื่นใด สิ่งนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น

๑๒๐

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133