ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม42%

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 133

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 133 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 63334 / ดาวน์โหลด: 5545
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

อะบูบักร์ อุมัรเอง ก็มิได้ปฏิเสธอะไรกับคนที่ใช้ทัศนะทางวิชาการขัดแย้งกับตนยิ่งกว่านั้น เกี่ยวกับเรื่องอิจญ์ติฮาด พวกเขาจะให้การยอมรับกับผู้ทำการอิจญ์ติฮาดทุกคน ที่ทำตามหลักวินิจฉัยความของตนเอง

เพราะขาดหลักฐานว่าพวกเขามีสภาพเป็นมะศูม

และพวกเขาก็มีความขัดแย้งกันเอง อีกทั้งพวกเขายังยืนยันเองว่าอนุญาตให้ใครๆ ขัดแย้งกับพวกเขาได้เป็นหลักฐาน ๓ ข้อที่สามารถตัดสินได้อย่างเด็ดขาดแล้ว(๒๐)

ขณะเดียวกับที่เราได้ทำความเข้าใจในทัศนะของอิมามฆอซาลีย์ เราควรจะได้ทำความเข้าใจกับทัศนะของ อัล-อามิดีย์ ผู้มีพื้นฐานในมัซฮับ ฮัมบะลีย์ ตลอดทั้งทัศนะอื่นๆ ที่ได้อ้างอิงจากบรรดาอิมามหลายมัซฮับ เกี่ยวกับมัซฮับของศ่อฮาบะฮฺ ท่านได้กล่าวว่า

“ทุกฝ่ายให้ความเห็นตรงกันว่า มัซฮับศ่อฮาบะฮฺ ในส่วนของปัญหาการอิจญ์ติฮาดนั้น ไม่อยู่ในฐานะที่เป็นข้อพิสูจน์ใดๆ สำหรับศ่อฮาบะฮฺระดับมุจญ์ตะฮิดคนอื่นๆ ไม่ว่าในฐานะอิมามผู้ปกครอง หรือผู้ทำหน้าที่วินิจฉัยความก็ตาม”

พวกเขามีความเห็นแตกต่างกันในประเด็นที่ว่าฐานะของมัซฮับศ่อฮาบะฮฺจะเป็นข้อพิสูจน์

๔๑

สำหรับคนในยุคตาบิอีน และบรรดามุจญ์ตะฮิด สมัยถัดมาหรือไม่

มี ๒ เรื่องจากมัซฮับนี้ที่พวกอัชอะรีย์ พวกมุตะซิละฮฺ และซาฟิอีย์ เห็นด้วย ๑ เรื่อง

มี ๒ รายงานริวายะฮฺ ที่อะหฺมัด บิน ฮัมบัล เห็นด้วย ๑ ริวายะฮฺ

ส่วนอัล-กัรคีย์นั้น เห็นว่า “มัซฮับนี้ ไม่เป็นข้อพิสูจน์แต่อย่างใด

มุคตารฺเองก็ยังเห็นว่าไม่สามารถเป็นข้อพิสูจน์ได้เลยอย่างเด็ดขาด”(๒๑)

“เมื่อสามารถยืนยันได้ว่า มัซฮับศ่อฮาบะฮฺ มิใช่ข้อพิสูจน์ทางศาสนาที่วาญิบให้ปฏิบัติตาม แล้วยังอนุญาตให้มัซฮับอื่นรับการตักลีด (เชื่อถือตาม) ได้อีกหรือขนาดมุคตารฺเองก็ยังตัดสินห้ามอย่างเฉียบขาดเช่นนี้แล้ว”(๒๒)

ซุนนะฮฺของอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)

บรรดาผู้ที่ยึดถือตามอะฮฺลุลบัยตฺ เชื่อถือว่า ซุนนะฮฺของอิมามอาลี บิน อะบีฏอลิบ, ฮาซัน, ฮุเซน (อ) ตลอดทั้งบรรดาอิมามจากลูกหลานของฮุเซน (อ) มีฐานะที่เกี่ยวพันกับซุนนะฮฺของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ)

ด้วยเหตุนี้พวกเขามีความเชื่อถือว่าอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) คือแหล่งที่มาของบทบัญญัติทางศาสนาถัดจากพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และซุนนะฮฺนบีของพระองค์

๔๒

นักปราชญ์ ให้การยอมรับในสำนักวิชาการแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ อย่างนี้ก็เพราะในพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และซุนนะฮฺนบีของพระองค์ มีหลักฐานยืนยันในเรื่องความเป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจากความบาปของอะฮฺลุลบัยตฺ และมีหลักฐานยืนยันในความเคร่งครัดที่ท่านเหล่านั้นมีต่อพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และซุนนะฮฺนบีของพระองค์

อีกทั้ง โดยการแนะนำจากท่านศาสนทูต(ศ) เองว่า ให้ประชาชาติทั้งหลายยึดถือ และยอมรับให้ท่านเหล่านั้นเป็นนำภายหลังจากสมัยของท่าน ส่วนหนึ่งจากโครงการในพระคัมภีร์อัล-กุรฺอาน ที่ระบุถึงเรื่องนี้ คือโองการของอัลลอฮฺ ความว่า

“อันที่จริง อัลลอฮฺทรงมีพระประสงค์เพียงขจัดความมลทินออกให้พ้นไปจากสูเจ้า โอ้อะฮฺลุลบัยตฺ และทรงชำระขัดเกลาสูเจ้าให้บริสุทธิ์”

ในตำราตัฟสีรหลายเล่ม รายงานฮะดีษอีกมากมายได้บันทึกความหมายในโองการนี้อย่างสอดคล้องตรงกันว่า อะฮฺลุลบัยตฺของท่านนบี(ศ) ตามความหมายในโองการนี้ คือ อาลี ฟาฏิมะฮฺ ฮาซัน และฮุเซน

๔๓

จากหนังสืออัด-ดุรรุล-มันษูร ของ ท่านซะยูฏีย์ มีข้อความบันทึกไว้ว่า”ท่านฏ็อบรอนีย์ ได้บันทึกรายงานมาจากท่านหญิงอุมมุสะ-ละมะฮฺว่า

 ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวกับฟาฏิมะฮฺว่า

 “จงไปนำสามีและลูกของเจ้าทั้งสองคนมาพบฉัน”” แล้วนางก็ได้ไป นำพวกเขามา ครั้นแล้ว ท่านศาสนทูต (ศ) ก็ได้คลุมผ้ากิสาอฺแห่งฟะดักลงบนพวกเขาจากนั้นท่านได้วางมือลงไป แล้วกล่าวว่า

“ข้าแต่อัลลอฮฺ แท้จริงคนเหล่านี้ เป็นอะฮฺลุของมุฮัมมัด

(บางรายงานใช้คำว่า อาลิมุฮัมมัด)

ขอได้โปรดประทานพร และความจำเริญของพระองค์ให้แก่อาลิมุฮัมมัดดังที่พระองค์ทรงบันดาลให้ได้แก่อาลิของอิบรอฮีม แท้จริงพระองค์เป็นที่สรรเสริญเป็นผู้ทรงคุณอันประเสริฐยิ่ง”

อุมมุสะละมะฮฺได้กล่าวว่าข้าพเจ้าได้ยกผ้ากิสาอฺขึ้น หมายใจจะเข้าไปนั่งกับพวกเขาด้วย

แต่ท่านยื้อจากมือของข้าพเจ้าไป แล้วกล่าวว่า “แท้จริงเจ้าก็อยู่กับความดีอยู่แล้ว”

๔๔

ท่านติรมิซีย์ได้รายงานว่า “แท้จริงโองการว่าด้วยความบริสุทธิ์ ได้ถูกประทานที่บ้านของอุมมุสะละมะฮฺ กล่าวคือ

ท่านนบีได้เรียกท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านฮะซัน, ฮุเซน และท่านอะลีมาอยู่ด้านหลังของท่าน แล้วท่านก็จัดการหันมาใช้ผ้าคลุมวางลงบนพวกเขา แล้วกล่าวว่า

“ข้าแต่อัลลอฮฺ คนเหล่านี้ คืออะฮฺลุลบัยตฺของข้า ดังนั้น โปรดขจัดมลทินออกไปให้พ้นจากพวกเขาด้วยเถิด และโปรดชำระขัดเกลาพวกเขาให้สะอาดบริสุทธิ์ด้วยเถิด”

อุมมุสะละมะฮฺกล่าวว่า “ให้ข้าพเจ้าเข้าไปอยู่กับพวกเขาด้วยเถิด โอ้นบีแห่งอัลลอฮฺ ท่านกล่าวว่า “เธออยู่ในที่ที่ดีของเธอแล้ว”

ยังมีหลักฐานที่ยืนยันในฐานะการเป็นแหล่งที่มาแห่งบทบัญญัติทางศาสนาของบุคคลเหล่านี้อีกมาก โดยได้บันทึกเรื่องราวที่ท่านศาสนทูต(ศ) ได้แนะนำและสาธยายไว้

อะหฺมัด บินฮัมบัล และอะบูยะอฺลา ได้บันทึกรายงานจากอะบี สะอีด อัล-คุดรีย์เกี่ยวกับวจนะตอนหนึ่งของท่านศาสนทูต(ศ)ในเหตุการณ์หลังจากบำเพ็ญฮัจญ์อำลาว่า

“แท้จริงฉันได้ถูกเรียกกลับแล้ว ดังนั้นฉันก็ได้ตอบรับ และแท้จริงฉันได้ละทิ้งสิ่งสำคัญยิ่งสองประการไว้ในหมู่พวกท่าน นั่นคือพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺและเชื้อสายของฉันจากอะฮฺลุลบัยตฺของฉันและแท้จริงผู้ทรงการุณย์ ผู้ทรงรอบรู้ได้แจ้งแก่ฉันว่าทั้งสองสิ่งนั้นจะไม่แยกจากกันจนกว่า

จะได้ย้อนกลับไปหาฉันที่อัล-เฮาฎ์

๔๕

ดังนั้นพวกท่านจงพิจารณา ดูเถิดพวกท่านจะขัดแย้งกับฉัน ในสองสิ่งนั้นอย่างไร”(๒๓)

อิมามญะฟัร บิน มุฮัมมัด ศอดิก(อ) ได้อธิบายถึงแหล่งที่มา ของคำวินิจฉัยจากบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลลุบัยตฺตามรายงานบอกเล่าระบุว่า

ครั้งหนึ่ง ซูเราะฮฺ บิน กะลีบ ได้กล่าวว่า “ข้าพเจ้าได้พูดกับ อะบี อับดุลลอฮฺว่า “อิมาม วินิจฉัยหลักการต่างๆด้วยการยึดอะไรเป็นข้อพิสูจน์”

ท่านตอบว่า “พระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ”

ข้าพเจ้าถามอีกว่า “ถ้าหากปัญหานั้นๆ ไม่มีระบุอยู่ในพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺท่านจะทำอย่างไร?”

ท่านตอบว่า “ซุนนะฮฺนบี”

ข้าพเจ้าถามอีกว่า “ถ้าเรื่องนั้น ไม่มีทั้งในพระคัมภีร์และซุนนะฮฺ ท่านจะทำอย่างไร?

ท่านตอบว่า “ไม่มีอะไรสักอย่างเดียว ที่ไม่มีระบุในพระคัมภีร์ และซุนนะฮฺ”

ซูเราะฮฺกล่าวอีกว่า “ข้าพเจ้าถามซ้ำอยู่สองครั้ง จนท่านตอบสรุปว่า

“เรื่องนี้ มีพรจากพระผู้เป็นเจ้ามาสนับสนุน และด้วยความสัมฤทธิ์ผล ส่วนเรื่องที่ท่านสงสัยนั้นไม่มี”(๒๔)

๔๖

อะบูญะอ์ฟัร มุฮัมมัด บิน อาลี อัล-บากิรฺ(อ) ได้อธิบายถึงแนวความคิดและการออกคำวินิจฉัยจากท่าน ดังที่ท่านได้พูดกับญาบิรฺ สหายของท่านว่า

“โอ้ญาบิรฺ ถ้าหากเราวินิจฉัยความออกไปให้ประชาชนตามความคิดและอารมณ์ของเราเองแล้ว แน่นอน เราจะต้องพบกับความพินาศ แต่ในเวลาที่เราจะออกคำวินิจฉัยให้แก่พวกเขาเราจะยึดหลักการของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) เป็นหลักสำหรับพื้นฐานทางวิชาการของเรานั้น เราได้มา

ด้วยการสืบมรดก มันเป็นเรื่องสำคัญอย่างใหญ่หลวงเราจะรักษาไว้เหมือนอย่างคนทั้งหลายรักษาเงินทองนั่นแหละ”(๒๕)

ดังที่ได้กล่าวมานี้แสดงให้เห็นว่า กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ได้มาจากบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) ไม่มีข้อแตกต่างจากพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ นั่นคือเป็นสิ่งที่อยู่ในมาตรฐานเดียวกับพระคัมภีร์และซุนนะฮฺ

ด้วยเหตุนี้ อะฮฺลุลบัยตฺ จึงเป็นรากฐานอย่างหนึ่งของกฎเกณฑ์ทางศาสนาและมีฐานะเป็นแหล่งที่มาของศาสนบัญญัติ

ฮะดีษปลอม

คำสอนและบทบัญญัติทางศาสนาของพระผู้เป็นเจ้า เคยถูกทำการปลอมแปลงมาแล้วในอดีต โดยฝีมือของพวกยะฮูด ที่ได้เปลี่ยนแปลง พระคัมภีร์เตารอตและพวกนะศอรอก็เคยเปลี่ยนแปลงพระคัมภีร์อินญีลพวกเขาได้ทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งของอัลลอฮฺที่ทรงประทานมา

๔๗

อย่างไรก็ตามพระคัมภีร์อัล-กุรฺอานเป็นพระคัมภีร์ฉบับเดียวของพระผู้เป็นเจ้าที่ได้รับการพิทักษ์คุ้มครองไว้มิให้มีการเปลี่ยนแปลง ดังมีโองการความว่า

“แน่นอนเราได้ประทานคัมภีร์แห่งการตักเตือนมา และแท้จริงเราเป็นผู้พิทักษ์รักษามันเอง”

“แท้จริง หน้าที่ของเรา คือการรวบรวมคัมภีร์ และรักษาคำอ่านของมัน”

ประชาชาติอิสลามทุกสมัยต่างให้ความสำคัญต่อพระคัมภีร์ฉบับนี้

ด้วยการท่องจำ และศึกษาเล่าเรียน ในทุกๆ ยุคจะมีผู้รู้มีนักอ่าน

นักท่องจำ ที่สามารถท่องจำพระคัมภีร์อัล-กุรฺอานได้ตลอดทั้งเล่ม

มีการจดบันทึกไว้เป็นรูปเล่ม สืบทอดต่อๆ กันมาอย่างเป็นเอกฉันท์ฉะนั้นเมื่อพระคัมภีร์อัล-กุรฺอานคือสารอมตะฉบับหนึ่งของพระผู้เป็นเจ้า แน่นอนพระองค์ย่อมปกป้องคุ้มครองให้รอดพ้นจากการถูกเปลี่ยนแปลง

ส่วนซุนนะฮฺนบี ซึ่งมีความสำคัญในฐานะเป็นคำอธิบายอัล-กุรฺอาน และเป็นหลักการที่อยู่ในมาตรฐานเดียวกันเป็นแหล่งที่มาอันดับสอง

 สำหรับแนวความคิด และบทบัญญัติทางศาสนา

แน่นอนบรรดาคนโกหก ชอบหลอกลวงประชาชน เพราะประสงค์จะเสพย์สุขทางโลกและเสวยอำนาจทางการเมืองในอดีต มีความพยายามที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น จนกระทั่งมีการกล่าวเท็จให้แก่

ท่านศาสนทูต(ศ) มีการปลอมแปลงซุนนะฮฺ และใช้เลห์เพทุบายอย่าง

เลวร้ายในการกระทำสิ่งเหล่านี้

๔๘

แน่นอน ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) เคยเตือนให้ระมัดระวังภัยร้ายจากสิ่งเหล่านี้เป็นพิเศษ เมื่อครั้งบำเพ็ญฮัจญ์อำลา ท่านได้เตือนประชาชนของท่านว่า

“ได้มีการกล่าวเท็จแก่ฉันกันอย่างมากมาย และจะมากมายยิ่งขึ้นหลังจากผ่านยุคของฉันไปแล้ว ดังนั้นคนใดที่กล่าวความเท็จแก่ฉันโดยเจตนา ก็ให้เขาเตรียมที่นั่งไว้ในไฟนรก

ดังนั้น ถ้ามีฮะดีษใดที่ถูกรายงานไปจากฉันถึงยังพวกท่านก็จงนำไปพิสูจน์กับพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และซุนนะฮฺของฉัน ครั้นถ้ามันสอดคล้องตรงกับพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และซุนนะฮฺของฉันก็จงยึดถือแต่อันใดถ้าหากขัดแย้งกับพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺและซุนนะฮฺของฉันจงอย่าได้ยึดถือ(๒๖)

ความเท็จที่เลวร้ายที่สุดได้แก่การปลอมฮะดีษ นั่นคือการประพันธ์เรื่องใดๆ ขึ้นมาเป็นฮะดีษเสร็จแล้วก็อ้างว่าเป็นรายงานที่มาจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) หรือว่ามาจากบรรดาอิมาม(อ)

ท่านชะฮีดษานีย์ ได้อธิบายถึงเรื่องฮะดีษปลอมว่า “เป็นการประพันธ์เรื่องราวขึ้นมา มันเป็นการกระทำที่เลวร้ายที่สุด ไม่อนุญาตให้นำมาถ่ายทอดต่อเว้นแต่จะได้แจ้งอย่างชัดเจนว่า เป็นฮะดีษปลอม”(๒๗)

ฮะดีษปลอมได้ถูกบันทึกไว้ในตำราฮะดีษฉบับต่างๆ นับร้อยนับพันฮะดีษโดยเฉพาะอย่างยิ่งฮะดีษประเภทยกย่องเกียรติคุณ (อัล-มะนากิบ) ของบุคคลต่างๆ เมืองต่างๆ ซึ่งเป็นการกระทำที่มีความหมายมากที่สุดอย่างหนึ่งของการบันดาลให้อำนาจทางการเมือง มีความแกร่งกล้าอย่างยิ่ง

๔๙

 ในตอนต้นสมัยวงศ์อุมัยยะฮฺหลังจาก ฮ.ศ.๔๐

ขณะเดียวกัน ได้มีการปลอมฮะดีษเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ด้านอื่นจากคนเหล่านั้น เป็นฮะดีษที่มุ่งเน้นสอนในเรื่องหลักปฏิบัติ และมุสตะฮับต่างๆ เพื่อให้ประชาชนหันมาให้ความสนใจในกิจกรรมประเภทมุสตะฮับ

เราสามารถทำความเข้าใจถึงหลักฐานที่มาของการปลอมฮะดีษได้อย่างดีทีเดียว เมื่อเราสามารถเจาะลึกเข้าไปว่า บุคอรีเองได้คัดฮะดีษมาบันทึกในตำราของท่าน ประมาณ ๔, ๐๐๐ ฮะดีษ จากจำนวนฮะดีษที่ท่าน รับรายงานมาทั้งสิ้น ๖๕๐,๐๐๐ ฮะดีษ

อะหฺมัด บิน ฮัมบัล ได้คัดฮะดีษมาบันทึกในหนังสือมุสนัดของท่านเองจากจำนวนฮะดีษทั้งหมดที่ท่านรับรายงานมา ๗๕๐, ๐๐๐ ฮะดีษ ดังที่ท่านได้ยืนยันไว้เองอย่างชัดเจน

ซัยยิดมุรฺตะฎอ ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่านชื่อ อัล-ฆอร็อรฺ วัดดะร็อรฺ เล่ม ๑ หน้า ๒๔๗

เรื่องอัล-ฆุลาต กับการปลอมแปลงฮะดีษ ดังนี้

“เมื่อครั้งที่ มุฮัมมัด บิน อะบี สุลัยมาน เจ้าเมืองกูฟะฮฺ ซึ่งถูกแต่งตั้งโดยเคาะลีฟะฮฺมันศูรฺ ได้จับตัวอับดุลการีม บิน อะบีเอาญาอ์ ไปประหารชีวิต อับดุลการีม ตัดสินใจกล่าวออกมาเมื่อรู้ตัวเองต้องจบชีวิตแน่นอนแล้วว่า “ถึงแม้พวกท่านจะฆ่าฉันจนตาย แต่แน่นอน ฉันเคยปลอมฮะดีษเพื่อพวกท่านมากถึง ๔,๐๐๐ ฮะดีษ ล้วนแต่เป็นความเท็จทั้งสิ้น”(๒๙)

๕๐

ควรจะกล่าวไว้ด้วยว่า บททดสอบอันยิ่งใหญ่สำหรับมุสลิมทั้งมวล ก็คือการกล่าวความเท็จให้แก่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) และบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) เพราะถ้าหากไม่มีเรื่องมุสาหลอกลวงเหล่านี้ในหน้าประวัติศาสตร์ แน่นอนเราจะไม่พบอุปสรรคหรือความขัดแย้งใดๆ ทั้งในด้านความเชื่อ และบทบัญญัติทางศาสนาดังที่ปรากฏอยู่ในมุสลิม เช่นนี้เลย

บทเรียนต่างๆ จากฮะดีษปลอม

ตัวอย่างฮะดีษปลอมบทหนึ่ง ได้แก่ ฮะดีษที่มีความหมายว่า

“ศ่อฮาบะฮฺของฉันเปรียบเสมือนดวงดาว ไม่ว่าจะเป็นใครในหมู่พวกเขา ถ้าพวกท่านปฏิบัติตามพวกท่านจะได้รับทางนำ”

ฮะดีษบทนี้ ก่อให้เกิดพื้นฐานความคิด ความเข้าใจว่า ซุนนะฮฺมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ที่มาจากศ่อฮาบะฮฺ

บรรดาอิมามในหมู่นักปราชญ์ฮะดีษกล่าวว่ามันเป็นเรื่องเท็จที่ถูกกุขึ้นมาให้แก่ท่านนบี (ศ)

เช่น อิบนุก็อยยิม อัล-เญาซียะฮฺ ได้กล่าวว่า “ฮะดีษนี้เป็นข้อความที่ถูกกุขึ้นมา” (๓๐)

๕๑

ท่านซะฮะบีย์ ถือว่า เป็นฮะดีษที่ขาดประสิทธิภาพความน่าเชื่อถือ โดยได้กล่าวถึงนักรายงานคนหนึ่งที่ชื่อว่า ญะอฺฟัร บิน อับดุล วาฮิด อัล-ฮาชิมีย์ หลังจากได้อ้างอิงทัศนะของนักปราชญ์ เกี่ยวกับนักรายงานฮะดีษที่เป็นคนมุสาว่า“จากผลงานที่เสียหายที่สุดของเขาคือฮะดีษที่ว่า“สาวกของฉันเปรียบเสมือนดวงดาว” (๓๑)

อิบนุตัยมียะฮฺ ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่กล่าวว่า ฮะดีษที่ว่า สาวกของฉันเปรียบเสมือนดวงดาว

เป็นฮะดีษที่บรรดาอิมามแห่งบรรดานักรายงานถือว่าขาดประสิทธิภาพ (เฎาะอีฟ) จึงนำมาเป็นหลักฐานไม่ได้

ตัวอย่างฮะดีษปลอมที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นมาอีกฮะดีษหนึ่งคือ “หน้าที่ของพวกท่าน คือทำตามซุนนะฮฺของฉัน และซุนนะฮฺของเคาะลีฟะฮฺผู้ทรงธรรมของฉันพวกท่านจงยึดให้มั่นเหมือนกัดให้แน่นด้วยกราม”(๓๒)

จากการศึกษาวิเคราะห์ ถึงนักรายงานฮะดีษประเภทนี้ เป็นที่แน่ชัดแก่เราว่ามันเป็นฮะดีษที่ถูกประพันธ์ขึ้นมา โดยมิได้มาจากท่านศาสนทูตแต่อย่างใด

นักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านประวัตินักรายงานฮะดีษ ได้กล่าวว่า

 “อาลี บิน ฮะญัรฺ ได้เล่าเราว่า บะกียะฮฺ บิน วะลีด ได้เล่าเราว่า

 ญุบัยรฺ บิน สะอัด ได้รับรายงานจากคอลิด บิน มิดาน ซึ่งได้รับมา

จาก อับดุรเราะมาน บิน อัมร์ อัสสิลมีย์ ซึ่งได้รับมากจากอัล-หิรบาฏ บิน ซารียะฮฺได้กล่าวว่า “วันหนึ่งท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺได้สอนพวกเรา...หลังจากนั้นท่านได้กล่าวฮะดีษบทนี้”

๕๒

จากการศึกษาคุณสมบัตินักรายงานฮะดีษ ทำให้เข้าใจอย่างชัดเจนว่า “บะกียะฮฺ บิน วะลีด มิได้เป็นที่เชื่อถือของนักปราชญ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัตินักรายงาน เราจะกล่าวถึงข้อความสั้นๆ ที่มีหลายคนพูดว่า

“อิบนุอัยยินะฮฺ กล่าวว่า “พวกท่านอย่าได้ฟังเรื่องอะไรเกี่ยวกับซุนนะฮฺ จากบะกียะฮฺเลย”

ยะหฺยา บิน มุฮีน ได้กล่าวถึง บะกียะฮฺ บิน วะลีดว่า

 “ถ้าหากเป็นฮะดีษที่เล่าโดยกลุ่มคนที่น่าเชื่อถืออย่าง ศ็อฟฟาน บิน อัมร์ และ อื่นๆ ก็พอใช้ แต่ถ้าหากเล่ามาจากบุคคลเหล่านี้ ที่ไม่น่าเชื่อถือ ก็อย่าได้บันทึกเลย

อะบูมัซฮัรได้กล่าวว่า “มีหลักฐานปรากฏว่า บะกียะฮฺเป็นคนที่มือไม่สะอาด ในการรายงานฮะดีษดังนั้นจงปฏิบัติต่อฮะดีษเช่นนั้นด้วยความระมัดระวัง (๓๓)

อิบนุฮะญัร เป็นคนหนึ่งที่กล่าวว่า “ท่านบัยฮะกีย์ ได้กล่าวถึงเรื่องความขัดแย้งต่างๆ ว่า บรรดานักปราชญ์ทั้งหมดลงมติร่วมกันว่า บะกียะฮฺ เป็นคนที่ไม่มีคุณสมบัติให้ยึดถือเป็นหลักฐาน”(๓๔)

ส่วนอับดุลเราะมาน บิน อุมัร อัส-สิลมีย์นั้น อิบนุฮะญัรอ้างถึงเขาว่า “อัล-ฟุฏฏอน อัล-ฟาซีย์ อ้างว่า เขาผู้นี้ไม่มีความเหมาะสม ด้วยเหตุว่า ที่มาของเขาไม่เป็นที่รู้กันเลย” (๓๕)

๕๓

การบันทึกฮะดีษ

แน่นอนท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) นั้น ท่านมีอาลักษณ์ประจำตัวไว้หลายคน เพื่อบันทึกหมายเหตุต่างๆ คนเหล่านี้ ได้รับสมญานามว่า “นักบันทึกวะหฺยู” คือจะทำหน้าที่บันทึกเรื่องราว

ที่มาจากอัล-วะหฺยู บางที จะจดไว้ตามหนังสัตว์ตามกิ่งอินทผลัม ตามกระดูกสัตว์ และอื่นๆ ประกอบกับยังมีศ่อฮาบะฮฺ(ร.ฎ) อีกกลุ่มหนึ่งทำหน้าที่ท่องจำซุนนะฮฺนบีนั้น ปรากฏว่าไม่มีนักบันทึกคนใดจะบันทึกไว้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วนไว้ตั้งแต่สมัยของนบี ทั้งในด้านวจนะ การกระทำ และท่าทีการแสดงออกอย่างไรก็ตาม มีรายงานจากท่านนบี(ศ) ว่าท่านเคยอนุญาตให้สาวกของท่านบันทึกฮะดีษได้

อะบูดาวูด และท่านฮากิม และนักบันทึกท่านอื่นๆได้รับรายงานจากอับดุลลอฮฺ บิน อุมัรบิน อาศ ว่า

“ข้าพเจ้าได้พูดว่า ข้าแต่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ แท้จริงข้าพเจ้าได้ยินสิ่งใดจากท่านแล้วบันทึกไว้จะได้ไหม?”

ท่านตอบว่า “ถูกต้องแล้ว”

อับดุลลอฮฺ ยังกล่าวอีกว่า “ทั้งในยามที่ท่านโกรธและยินดีด้วยหรือ?”

ท่านกล่าวว่า “แท้จริงทั้งสองกรณีนั้นฉันจะไม่พูดอะไรนอกจากความจริง” (๓๖)

๕๔

ท่านบุคอรีได้บันทึกไว้ว่า “อะบูฮุร็อยเราะฮฺ กล่าวว่า

“ ในหมู่ศ่อฮาบะฮฺนบี ไม่มีใครท่องจำฮะดีษได้มากกว่าฉัน ยกเว้นก็แต่อับดุลลอฮฺ บิน อุมัร เพราะเขาได้บันทึกส่วนฉันมิได้บันทึก” (๓๗)

ท่านติรมิซีย์บันทึกจากอะบีฮุร็อยเราะฮฺว่า “

มีชาวอันศอรคนหนึ่งนั่งใกล้ท่านศาสนทูต (ศ) แล้วเขาได้ยินคำพูดตอนหนึ่งที่เขาประทับใจมาก แต่เขาจำไม่ได้ ดังนั้นเขาจึงถามทบทวนเรื่องนั้น

ต่อท่านศาสนทูต(ศ) ท่านกล่าวว่า “ฉันจะช่วยจับมือเธอเอง” ว่าแล้ว ท่านก็จับมือเขาเขียนข้อความ”(๓๘)

มีรายงานจากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ อีกเช่นกันว่า “พวกท่านจงแสวงหาความรู้ด้วยการเขียน” (๓๙)

รายงานจากนาฟิอ์ บิน เคาะดีจญ์กล่าวว่า “ฉันได้พูดกับท่านศาสนทูต (ศ) ว่า “ข้าแต่ท่านศาสนทูตแท้จริง พวกเราได้ยินจากท่านมาหลายอย่างแล้ว

 เราจะจดบันทึกมันไว้ จะได้หรือไม่?”

ท่านตอบว่า “จงบันทึกมันไว้เถิด มันมิใช่ความผิด” (๔๐)

๕๕

บทรายงานเหล่านี้ ต่างยืนยันว่า ท่านอนุญาตให้สาวกบันทึกฮะดีษ จากท่าน ขณะเดียวกัน มีบทรายงานอีกส่วนหนึ่งยืนยันว่าท่านได้เรียกร้องให้ท่องจำและเผยแพร่ฮะดีษกันในหมู่มุสลิม ดังนี้

“อัลลอฮฺจะทรงประทานความผาสุกแก่บ่าวของพระองค์ ที่ได้ยินฉันพูดอะไรแล้วจดจำนำไปสอนต่อ แล้วทำได้เหมือนอย่างตอนที่ได้ยิน เพราะบางที คนที่นำพาความรู้อาจนำไปให้คนที่ไม่รู้เสมอไป และบางทีคนนำพาความรู้ อาจนำความรู้ไปให้คนที่รู้เหนือกว่าก็ได้”(๔๑)

รายงานฮะดีษบทหนึ่ง ความว่า

“ผู้ใดในหมู่ประชาชาติของฉัน ท่องจำฮะดีษของฉันได้ ๔๐ บท ในเรื่องศาสนาโดยมีความมุ่งหวังยังอัลลอฮฺและปรโลกในวันฟื้นคืนชีพ อัลลอฮฺจะทรงแต่งตั้งเขาให้อยู่ในตำแหน่งนักปราชญ์ทางศาสนา”(๔๒)

เป็นที่แน่นอนว่าสื่อช่วยความจำและเผยแพร่ที่ดีคือการบันทึก เป็นอันว่าการท่องจำฮะดีษ ถือเป็นเรื่องที่ถูกยอมรับ ยิ่งกว่านั้นสามารถจะถือเป็นวาญิบได้ด้วยหากถึงคราวต้องรักษาซุนนะฮฺให้รอดพ้นจากความสูญหาย

ท่านศาสนทูต(ศ) เคยส่งสารไปยังบรรดากษัตริย์และประมุขของเมืองต่างๆ ขณะเดียวกัน ท่านก็เคยทำสนธิสัญญาฉบับต่างๆ ที่ยังคงเก็บรักษาไว้จนถึงทุกวันนี้

๕๖

อิบนุอับบาส ได้กล่าวว่า เมื่อครั้งที่ท่านศาสนทูต(ศ)ป่วยหนัก ท่านได้กล่าวว่า “พวกท่านจงนำกระดาษมาเถิด เพื่อฉันจะได้บันทึกข้อความที่ไม่ทำให้พวกท่านหลงผิดต่อไปในภายหลัง”

อุมัรกล่าวขึ้นว่า “นบีเพ้อไปแล้ว พวกเรามีพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺก็พอแล้ว”

แต่พวกเขาโต้เถียงกันเสียงลั่น ท่านศาสนทูต(ศ) จึงตัดบทว่า “พวกท่านจงออกจากฉันไปเสียเถิด ไม่บังควรที่จะโต้เถียงกันต่อหน้าฉัน”

อิบนุอับบาสได้ออกมากล่าวว่า “มันเป็นความอัปโชคที่สุดของเราที่ท่านศาสนทูตมิได้จดบันทึกเรื่องของท่าน” (๔๓)

ที่ตรงข้ามกับรายงานเหล่านี้ มีอยู่สองฮะดีษที่ระบุว่า ท่านห้ามมิให้บันทึกคือจากรายงานของ อะบี สะอีด อัล-คุดรีย์ กล่าวว่า

ท่านศาสนทูตได้กล่าวว่า

 “พวกท่านอย่าได้บันทึกอะไรจากฉันนอกจากอัล-กุรฺอาน ใครก็ตามที่บันทึกเรื่องอื่น นอกจากอัล-กุรฺอาน ก็จงลบออกเสีย” (๔๔)

จากการศึกษาวิเคราะห์ฮะดีษต่างๆ ที่มีลักษณะขัดแย้งกันอย่างนี้แสดงให้เห็นว่า ท่านนบีมุ่งเน้นให้มีการจดบันทึกฮะดีษมากกว่า อันนี้คือ ความเข้าใจของศ่อฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่ง เช่น อิมามอะลี และฮะซัน ผู้เป็นบุตร กล่าวคือ ท่านทำงานในด้านนี้อยู่ ดังมีรายงานจากท่านว่า

“เมื่อพวกท่านจะบันทึกฮะดีษใด ก็จงบันทึกรายชื่อนักรายงานด้วย”(๔๕)

๕๗

บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) ท่านอื่น ก็ได้เจริญรอยตามท่านทั้งสองตลอดทั้งคนในยุคตาบิอีน บรรดานักปราชญ์อิสลาม ต่างมีความเห็นอย่างนี้ด้วย ดังนั้นพวกเขาจึงพากันบันทึกและเขียนฮะดีษกัน เพราะหากไม่มีใครบันทึกกันแล้ว แน่นอนการศึกษาซุนนะฮฺจะเป็นเรื่องที่ไม่อาจเป็นไปได้

และแน่นอนมนุษยชาติจะได้รับความขาดทุนอันใหญ่หลวง เพราะไม่มีโอกาสได้รับมรดกทางความคิดที่มีมาในหน้าประวัติศาสตร์

อิบนุศิลาห์ ได้อธิบายในเรื่องนี้ว่า

“หากไม่มีใครบันทึกฮะดีษไว้ในตำราคนรุ่นหลังจะต้องประสบกับความเสียหายอย่างใหญ่หลวง”(๔๖)

เรื่องนี้ อุมัร บินอับดุล-อะซีซ (ร.ฎ)ได้เรียกร้อง และสั่งการให้จดฮะดีษในสมัยที่เขาเป็นเคาะลีฟะฮฺ (เมื่อฮ.ศ ๙๙-๑๐๑)(๔๗)

ประวัติศาสตร์ได้อธิบายให้เราทราบว่า มีศ่อฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่งได้สั่งห้ามมิให้ใครๆจดบันทึกฮะดีษได้แก่อะบูบักร์ อุมัร และอุษมาน ต่อมาบรรดาเคาะลีฟะฮฺในวงศ์อุมัยยะฮฺ ก็ถือปฏิบัติตามแนวนี้ มาจนกระทั่งถึงสมัยของ อุมัร บิน อับดุล-อะซีซ

สาเหตุที่อะบูบักร์ สั่งห้ามการบันทึกฮะดีษของท่านศาสนทูต(ศ)นั้น ท่านได้ระบุไว้ในที่ประชุม ภายหลังจากท่านนบีวะฟาตแล้ว ดังที่ท่านได้กล่าว

“แท้จริง พวกท่านรายงานบอกเล่า ฮะดีษต่างๆ จากท่านศาสนทูตแล้ว พวกท่านก็ขัดแย้งกัน

ประชาชนรุ่นหลังจะยิ่งขัดแย้งหนักขึ้นไปอีก ดังนั้น จงอย่าได้บอกเล่าฮะดีษใดๆ ของท่านศาสนทูต

๕๘

หากใครถามปัญหาอะไรจากพวกท่านก็จงตอบว่า ระหว่างพวกท่านกับเรา มีแต่พระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ ดังนั้น จงอนุญาตในสิ่งที่อัล-กุรฺอานอนุญาต และจงห้ามในสิ่งที่อัล-กุรฺอานห้าม”(๔๘)

อิบนุสะอัด ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ฏอบะกอตว่า “แท้จริงมีฮะดีษจำนวนมากในสมัยอุมัรที่ประชาชนนำมาเสนอแต่แล้วท่านอุมัรก็สั่งการให้เผาเสีย (๔๙)

สำหรับในสมัยของอุษมาน บิน อัฟฟาน ก็มีคำสั่งในคุฏบะฮฺว่า ห้ามมิให้รายงานฮะดีษใดๆของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ยกเว้นฮะดีษที่เคยรายงานกันอยู่ในสมัยอะบูบักร์และอุมัร ดังมีถ้อยคำของเขาปรากฏในคำคุฏบะฮ์ว่า

“ไม่อนุญาตให้ผู้ใดรายงานฮะดีษบทใดที่ไม่เคยได้ยินในสมัยอะบูบักร์และอุมัร”(๕๐)

มุอาวียะฮฺยิ่งทวีความแข็งกร้าวหนักข้อขึ้นไปอีก ในคำสั่งห้ามจดบันทึกฮะดีษ โดยยกขึ้นมาเป็นประเด็นต่อต้านอิมามอาลี และอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) ผู้บริสุทธิ์ ครั้นพอเขาสามารถของอำนาจเต็มรูปแบบ หลังจากทำสนธิสัญญาสันติภาพกับอิมามฮาซันแล้วก็ออกคำสั่งห้ามจดบันทึกฮะดีษใดๆของ

ท่านศาสนทูต ที่กล่าวถึงความดีงาม ความประเสริฐ ของอิมามอาลี ตลอดจนได้คาดบทลงโทษ หากใครฝ่าฝืนด้วยการจดบันทึก

๕๙

มะดาอินีย์ได้บันทึกในหนังสืออัล-อะหฺดาษว่า “มุอาวียะฮฺได้ ออกคำสั่งไปตามหัวเมืองต่างๆ ที่บรรดาข้าหลวงของตนประจำอยู่ หลังจากผ่านพ้นปีแห่ง “ญะมาอะฮฺ” ว่า “ข้าพเจ้าจะไม่รับผิดชอบแก่ผู้ใดที่รายงานฮะดีษใดๆ เกี่ยวกับความดีงามของอะบูตุรอบ (ฉายานามหนึ่งของท่านอาลี)

 และอะฮฺลุลบัยตฺของเขา เพราะเรื่องนี้ จะมีผลสะท้อนเป็นความวิบัติแก่ชาวกูฟะฮฺ”(๕๑)

ด้วยเหตุนี้เอง ซุนนะฮฺนบีจึงประสบกับปัญหาการออกคำสั่งมิให้จดบันทึก จนกระทั่งทำให้เกิดมีการปลอมแปลงและกล่าวเท็จแก่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) กันขึ้นมาบิดอะฮฺ (กิจกรรมอุตริในศาสนา)

เราได้เรียนรู้ถึงความหมายของคำว่า ซุนนะฮฺ ในแง่ของภาษาและความหมายทางศาสนากันไปแล้ว เพื่อจะได้ประโยชน์มากยิ่งขึ้นในด้านความรู้ เราควรจะเข้าใจความหมายของคำว่า

“บิดอะฮฺ” ควบคู่ไปด้วย เพราะคำนี้ นักปราชญ์มุสลิมได้ให้ความหมายประกอบเหตุผลอย่างหนึ่งไว้เป็นกรณีพิเศษ

คำว่า “บิดอะฮฺ” ในแง่ของภาษา หมายถึง “การประดิษฐ์ การริเริ่มทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมา”

บิดอะฮฺ ยังหมายถึง “กิจกรรมใหม่ๆ ที่ถูกริเริ่มทำให้มีขึ้น” (๕๒)

คำว่า “บิดอะฮฺ” ในแง่ของวิชาการศาสนา เป็นความหมายที่ควรจะทำความเข้าใจ ภายหลังจากเข้าใจในความหมายทางด้านภาษาแล้ว

๖๐

สุภาษิต :

คำสอนแห่งจริยธรรมของอิมามกาซิม(อฺ)

คำสอนของบรรดาอิมามอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) อันเป็นบทเรียนชี้นำที่ทรงคุณค่า และเป็นวิทยปัญญาอันสูงส่งนั้นมีดาษดื่นเต็มไปหมดทั้งโลก ซึ่งนับว่าเป็นการให้โอกาสแก่ประชาชาติทั้งหลาย

ในการก้าวไปสู่ความดีงาม และเป็นวิถีทางอันมากมายในการเป็นสื่อนำเพื่อเผยแผ่ศาสนาอิสลาม และเชิดชูหลักการและเรียกร้องเชิญชวนสู่แนวทางของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)โดยไม่จำกัดเฉพาะเพียงแต่บทเรียน คำเทศนาและคำสั่งเสียต่างๆ เท่านั้น หากแต่ยังมีคำสอนสั้น ๆ ที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่งในการ

ชี้นำ เนื่องจากมีความหมายอย่างใหญ่หลวงทางด้านความดีงาม และจริยธรรมอันประเสริฐ อีกทั้งเป็นคติเตือนใจอย่างมากมาย ถ้าหากเราจะคิดคำนวณคำสอนสั้น ๆ ของบรรดาอิมาม(อฺ)แต่ละคนมารวมกัน ก็จะกลายเป็นหนังสือเล่มใหญ่อีกต่างหาก และจะกลายเป็นผลงานอันทรงคุณค่าแก่โลกแห่งจริยธรรมคำสอน อันเป็นการปูทางให้เราได้เดินไปอย่างเรียบง่าย

 เราจึงขอสรุปเอาคำสอนบางประการของท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)มาบันทึกไว้ ณ ที่นี้

๖๑

สุภาษิตที่ ๑

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ได้กล่าวว่า

“ฉันได้พบว่า ความรู้ในหมู่ประชาชนมีเพียง ๔ ประการ

๑. รู้จักพระผู้เป็นเจ้า

๒. รู้ว่า อะไรบ้างที่พระองค์ทรงสร้างมาเพื่อท่าน

๓. ต้องรู้ว่า พระองค์ทรงต้องการอะไรจากท่าน

๔. จะต้องรู้ว่า อะไรที่ทำให้ท่านต้องออกจากแนวทางศาสนา”

สุภาษิตที่ ๒

ท่านอิมามมูซา บินญะอฺฟัร(อฺ)ได้กล่าวต่อหน้าสุสานว่า

“แท้จริง สิ่งนี้ ท้ายที่สุดของมันมีค่าอย่างยิ่งย่อมทำให้ตระหนักถึงความสมถะอย่างแท้จริงต่อช่วงแรกของมัน และแท้จริงสิ่งนี้ ช่วงแรกของมันมีค่าอย่างยิ่งที่ทำให้ตระหนักถึงความยำเกรงอย่างแท้จริงต่อท้ายที่สุดของมัน”

สุภาษิตที่ ๓

เพื่อนบ้านที่ดีมิใช่เพียงแต่หยุดยั้งการทำอันตราย แต่เพื่อนบ้านที่ดีจะต้องอดทนต่อการที่จะไม่สร้างความเดือดร้อน ทำอันตราย

๖๒

สุภาษิตที่ ๔

จงพยายามให้การใช้ชีวิตอยู่ของท่านมีเวลาสำหรับสี่ประการนี้

๑. เวลาสำหรับการเข้าเฝ้าอัลลอฮฺ (ซ.บ.)

๒. เวลาการประกอบอาชีพ

๓. เวลาสำหรับพี่น้อง คนนับถือที่รู้จักพวกท่านทั้งในส่วนดีและส่วนเสีย เพื่อพวกเขาจะได้ซักฟอกพวกท่านให้สะอาด

๔. เวลาสำหรับแสวงหาความสุขส่วนตัวในสิ่งที่ไม่เป็นที่ต้องห้าม

สุภาษิตที่ ๕

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ได้กล่าวกับท่านอะลี บินยักฏีนว่า

“การกัฟฟาเราะฮฺสำหรับงานในหน้าที่ของผู้ปกครองนั้น ได้แก่การทำความดีต่อพี่น้องทั้งหลาย”

สุภาษิตที่ ๖

ในวันกิยามะฮฺจะมีเสียงประกาศว่า

“ผู้ที่มีรางวัลสำหรับตนเอง ณ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ขอให้ยืนขึ้น จะไม่มีผู้ใดลุกขึ้นยืนเลย นอกจากคนที่มีจิตอภัย และปรับปรุงตนเอง แล้วเขาจะได้รับรางวัล ณ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)”

๖๓

สุภาษิตที่ ๗

จงอย่าเป็นคนคล้อยตามผู้อื่นที่พูดว่า

“ฉันอยู่กับคนส่วนมาก”

แท้จริงท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวว่า

“ความจริงแล้วคนทั้งหมดมีสองฝ่ายเท่านั้น คือ ฝ่ายของคนดีและฝ่ายของคนเลว จงอย่าให้ฝ่ายของคนเลวเป็นที่ชื่นชอบสำหรับท่านมากกว่าฝ่ายของคนดี”

สุภาษิตที่ ๘

􀀛 คนใดที่ทำเสมอตัวในสองวัน เขาคือคนถูกหลอก

􀀛 คนใดที่ในช่วงสุดท้ายของสองวัน เป็นเวลาที่เลวสำหรับตน เขาคือ คนถูกสาปแช่ง

􀀛 คนใดที่ไม่รู้จักการเพิ่มพูนขึ้นในตัวเอง เขาคือคนขาดทุน

􀀛 คนใดที่ขาดทุนอย่างนั้นก็เป็นอันว่า

“ตายเสียดีกว่าอยู่”

สุภาษิตที่ ๙

เป็นการสมควรสำหรับคนที่คิดใคร่ครวญในเรื่องของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่เขาจะต้องไม่แชเชือนในการแสวงหาริชกี(ปัจจัยยังชีพ)ของเขา ต้องไม่ระแวงสงสัยพระองค์ในข้อกำหนดทั้งหลายของพระองค์

๖๔

สุภาษิตที่ ๑๐

จงระวังในเรื่องการไม่เชื่อฟังอัลลอฮฺ(ซ.บ.) เพราะเท่ากับทำการทรยศต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ถึงสองเท่า

สุภาษิตที่ ๑๑

จงอย่าให้ความเกรงใจระหว่างกันและกันหมดสิ้นไป แต่จงรักษามันไว้ให้คงอยู่ เพราะถ้าหากมันหมดสิ้นไป ก็เท่ากับความละอายต้องหมดสิ้นไปด้วย

สุภาษิตที่ ๑๒

ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คือ การมีจริยธรรมที่ดีต่อการเฝ้ามองของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และอัลลอฮฺ(ซ.บ.) จะไม่เหินห่างจากเขา จนกว่าเขาจะเข้าสวนสวรรค์ อัลลอฮฺ (ซ.บ.) มิได้ตั้งนบีมาเป็นศาสดาเพื่อเหตุอื่นใด นอกจากเพื่อ

ความเอื้ออาทร บิดาของฉันสอนเรื่องความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และการมีจริยธรรมที่ดีเสมอ จวบจนถึงแก่กรรม

สุภาษิตที่ ๑๓

การให้ความช่วยเหลือแก่คนอ่อนแอ นับเป็นการบริจาค(ศ่อดะเกาะฮฺ)ที่ประเสริฐยิ่งนัก

๖๕

สุภาษิตที่ ๑๔

อย่าถือว่าการทำความดีมาก ๆ นั้น เป็นความดีที่มากแล้ว และจงอย่าถือว่า การทำบาปน้อยนั้น บาปจะน้อยไปด้วย เพราะความน้อยของบาปอาจสะสม จนกระทั่งมากขึ้นได้ และจงยำเกรงในยามที่อยู่โดยลำพัง จนกระทั่งทำให้ตัวของท่านมีความยุติธรรม

สุภาษิตที่ ๑๕

หน้าที่ของพวกท่าน คือ การวิงวอนขอ เพราะการวิงวอนขอนั้นขึ้นต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) และการขอต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) คือการทำให้พ้นจากภัยพิบัติ ครั้นเมื่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงได้รับการวิงวอนขอ ภัยพิบัติก็จะหันเหไป

สุภาษิตที่ ๑๖

การกล่าวถึงความโปรดปรานของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั้น เป็นการขอบพระคุณ การไม่ทำอย่างนั้นถือว่าเป็นการปฏิเสธ ดังนั้นต้องผูกมัดความโปรดปรานของพระผู้อภิบาลของพวกท่านไว้ด้วยกับการขอบพระคุณและจงนับคำนวณทรัพย์สินของพวกท่านด้วยการจ่ายซะกาต จงผลักดันภัยพิบัติด้วยการขอดุอฺาอ์ เพราะแท้จริงดุอฺาอ์นั้นคือเกราะกำบังภัยอันตราย

สุภาษิตที่ ๑๗

บุคคลใดที่บริภาษในเรื่องของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) เขาจะประสบความหายนะ บุคคลใดแสวงหาตำแหน่งผู้นำ เขาจะประสบความหายนะ และบุคคลใดที่หลงตัวเองก็จะประสบความหายนะเช่นกัน

๖๖

สุภาษิตที่ ๑๘

เสบียงสะสมทางโลกและทางศาสนาต่างก็มีความรุนแรงแข็งขัน สำหรับเสบียงทางโลกนั้น ไม่ว่าเจ้าจะยื่นมือออกไปในยามใด เจ้าจะต้องพบคนเลวล้ำหน้าเจ้าอยู่ก่อนแล้วเสมอ แต่เสบียงในปรโลกนั้น เจ้ามิอาจพบพานความช่วยเหลือจากใครที่จะมาช่วยเหลือเจ้าได้

สุภาษิตที่ ๑๙

ความดีนั้นถูกกักขังอยู่เสมอ ไม่มีอะไรปลดปล่อยมันให้ออกมาได้ นอกจากความช่วยเหลือต่อกันหรือการขอบพระคุณ

สุภาษิตที่ ๒๐

ถ้าหากวาระการสิ้นชีพได้รับการเปิดเผย ความหวังต่างๆ ก็จะชัดเจนขึ้น

สุภาษิตที่ ๒๑

ความจนให้กำเนิดบุคคลใด ความร่ำรวยก็จะทำลายบุคคลนั้น

สุภาษิตที่ ๒๒

บุคคลใดหาทางออกให้กับความทุกข์ยากไม่ได้ ความดีงามใดๆ ก็จะไม่อยู่กับเขา

๖๗

สุภาษิตที่ ๒๓

การด่าทอกันระหว่างคนสองคน มักจะทำให้คนที่อยู่เหนือกว่าลดระดับตัวเองลงไปอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเสมอ

สุภาษิตที่ ๒๔

􀀛 ความรู้ที่จำเป็นที่สุดสำหรับท่าน คือ ความรู้ที่ช่วยส่งเสริมการงานให้แก่ท่าน

􀀛 การทำงานที่จำเป็นแก่ท่าน คือการทำงานที่ท่านเป็นผู้รับผิดชอบ

􀀛 ความรู้ที่จำเป็นแก่ท่าน คือความรู้ที่ช่วยส่งเสริมให้จิตใจของท่านได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น และที่ให้ท่านรู้ว่าอะไรคือความเสียหาย

􀀛 ความรู้ที่จะนำมาซึ่งการลงโทษได้แก่ความรู้ที่เพิ่มพูนความคิดในเรื่องเกี่ยวกับชีวิตทางโลก ดังนั้นจงอย่าสับสนกับความรู้ที่ถึงแม้จะไม่รู้ในความรู้นั้น มันก็ไม่เป็นอันตราย

แต่จงอย่าลืมความรู้ที่ถ้าหากละทิ้งมันเสียแล้ว มันจะเพิ่มพูนความโง่เขลาให้แก่ท่าน

สุภาษิตที่ ๒๕

ภัยพิบัติอันจะประสบแก่คนที่มีความอดทนนั้น มีเพียงครั้งเดียว

ส่วนภัยพิบัติที่จะประสบแก่คนอ่อนแอ มักจะเกิดซ้ำสองเสมอ

สุภาษิตที่ ๒๖

การให้ความรักต่อเพื่อนมนุษย์ นับเป็นครึ่งหนึ่งของการมีปัญญา

หลากรส

๖๘

ถาม~ตอบของอิมามที่ ๗

ในบทนี้ เราจะเสนอเรื่องการตอบคำถามต่าง ๆ ของท่านอิมามมูซา

กาซิม(อฺ) บางประการ

คำถามต่าง ๆ เหล่านี้มีหลายประเภท ซึ่งมีทั้งเรื่องหลักความเชื่อ มีทั้งเรื่องบทบัญญัติกฎหมาย(ฟิกฮฺ)และมีทั้งเรื่องจริยธรรม ขณะเดียวกัน เจ้าของคำถามก็เป็นคนประเภทต่าง ๆ ซึ่งบ้างก็เป็นพวกทรราชย์ บ้างก็เป็นศัตรู บ้างก็เป็นคนโง่เขลา แต่คนทั้งหมดเหล่านั้น ถึงแม้จะแตกต่างกันในด้านความเชื่อถือและทางความคิด ก็ยังให้การยอมรับโดยดุษณีย์ต่อคำตอบของท่าน

อิมามมูซา กาซิม(อฺ)

ดังที่เราจะนำมาเสนอต่อไปนี้

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๑

ท่านอะบูฮะนีฟะฮฺ(อิมามมัซฮับฮะนะฟี)ได้กล่าวว่า : ข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปทำฮัจญ์ในสมัยของท่านอะบูอับดุลลอฮฺ(อฺ) อัศ-ศอดิก ครั้นเมื่อข้าพเจ้าได้เดินทางไปถึงเมืองมะดีนะฮฺ ข้าพเจ้าก็ได้เข้าไปในบ้านของท่าน(อฺ) เมื่อข้าพเจ้านั่งลงในที่รับแขกเพื่อรอการอนุญาตในการเข้าไปหา

ทันใดนั้นมีเด็กชายคนหนึ่งออกมา

ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า

“โอ้เด็กน้อย ในบ้านเมืองของพวกท่านนี้ คนแปลกหน้าจะถ่ายอุจจาระได้ที่ไหน ?”

๖๙

เด็กชายคนนั้นได้นั่งลงแล้วเอนตัวพิงกับฝาผนังพลางกล่าวว่า

“จงระวังอย่าถ่ายในลำธาร ใต้ต้นไม้ที่ให้ผล บริเวณมัสญิดทั้งหลายตามถนนหนทาง ด้านหลังของฝาผนังกำแพง และอย่าหันหน้าหรือหันหลังไปยังทิศกิบละฮฺ แล้วจงถ่ายเมื่อท่านต้องการ”

ข้าพเจ้ารู้สึกแปลกใจที่ได้ยินเด็กพูดออกมาอย่างนี้ จึงถามว่า

“เธอชื่ออะไร ?”

เขาตอบว่า

“มูซา บินญะอฺฟัร บินมุฮัมมัด บินอฺะลี บินฮุเซน บินอฺะลี บิน

อะบีฏอลิบ”

ข้าพเจ้าถามอีกว่า

“โอ้ เด็กน้อย ความบาปมาจากไหน ?”

เขาตอบว่า

“แท้จริงความชั่วร้ายต่าง ๆ ย่อมมาจากทางใดทางหนึ่งในสามทาง ดังนี้ อาจมาจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) แต่แน่นอน มันย่อมไม่มาจากพระองค์ เพราะไม่เป็นการบังควรที่พระผู้เป็นเจ้าจะลงโทษบ่าวของพระองค์ในสิ่งที่เขามิได้กระทำ หรืออาจมาจากพระองค์ และจากบ่าวของพระองค์ด้วย แต่ต้องไม่ใช่อย่างนั้น เพราะไม่บังควรที่ผู้ร่วมหุ้นอันมีพลังเหนือกว่าจะอธรรมต่อคู่ร่วมหุ้นที่อ่อนแอกว่า และอาจมาจากผู้เป็นบ่าวเอง เพราะถ้าหากทรงอภัย เขาก็ให้เกียรตินบนอบต่อการดำรงอยู่ของพระองค์ และถ้าหากทรงลงโทษก็เพราะบ่าวของพระองค์กระทำบาปนั่นเอง”

๗๐

ท่านอะบูฮะนีฟะฮฺได้กล่าวว่า

“ข้าพเจ้าจึงได้อำลาจากไป โดยไม่ต้องพบกับท่านอิมามศอดิก(อฺ)อีก เพราะเพียงพอแล้วกับสิ่งที่ได้ยินได้ฟังในที่นี้”(๑)

(๑) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ ๔ ก็อฟ ๓/๓๘.

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๒

ฮารูน รอชีดถามท่านอิมามมูซา อัล-กาซิม(อฺ)ว่า

“ทำไมพวกท่านจึงมีการอ้างถึงสายสัมพันธ์ทางสายเลือดจากท่าน

ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) โดยให้คนทั้งหลายเรียกพวกท่านว่า  

บุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ในขณะที่พวกท่านเป็นบุตรของอะลี(อฺ) เพราะความจริงแล้ว คนเราย่อมนับว่าสืบสายเลือดมาจากบิดาของตนเท่านั้น ฟาฏิมะฮฺนั้นเป็นเพียงแค่ส่วนประกอบ ส่วนท่านนบี(ศ)จึงเป็นเพียง “ตา”

ทางฝ่ายมารดาเท่านั้น มิใช่หรือ ?”

ท่าน(อฺ)จึงกล่าวว่า

“โอ้ อะมีรุ้ลมุอ์มินีน ถ้าหากท่านนบี(ศ)ฟื้นชีพขึ้นมา แล้วสู่ขอภรรยาให้แก่ท่าน ท่านจะยอมรับไหม ?”

เขาตอบว่า

“มหาบริสุทธิ์เป็นของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทำไมข้าพเจ้าจะไม่ยอมรับเพราะเรื่องนั้นยิ่งทำให้ข้าพเจ้ามีความภาคภูมิใจต่อคนอาหรับและคนอะญัม(คนที่ไม่ใช่อาหรับ)มากขึ้น”

๗๑

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวต่อไปว่า

“แต่ทว่า สำหรับข้าพเจ้าภูมิใจโดยที่ท่านไม่ต้องสู่ขอและจัดแต่งงานให้”

เขาถามว่า

“เพราะเหตุใด”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)ตอบว่า

“เพราะท่าน(ศ)ให้กำเนิดแก่ข้าพเจ้า แต่มิได้ให้กำเนิดแก่ท่าน”

เขากล่าวว่า

“ดีมาก ท่านมูซา แต่ท่านมีเหตุผลอย่างไร ในการที่กล่าวว่า “เราเป็นผู้สืบเชื้อสายของท่านนบี (ศ)” ทั้งๆ ที่ท่านนบี (ศ) นั้นไม่มีบุตรชายสืบสกุล ทั้งนี้เพราะสายสกุล จะสืบได้ก็แต่เพียงกับบุตรที่เป็นชายเท่านั้น หาใช่บุตรที่เป็นหญิงไม่

พวกท่านเป็นบุตรหลานที่สืบมาจากบุตรที่เป็นหญิง ฉะนั้นจึงมิใช่ผู้สืบสายสกุล มิใช่หรือ ?”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ข้าพเจ้าขอถามท่านเกี่ยวกับสิทธิของเครือญาติและสิทธิแห่งสุสาน นอกเสียจากว่าท่านจะไม่ให้อภัยแก่ข้าพเจ้าเนื่องจากคำถามอันนี้?”

 แต่อย่างไรก็ตาม ท่านก็คงจะไม่ยอมรับคำถามอันนี้ใช่ไหม ?”

ฮารูน รอชีดตอบว่า

“หามิได้ ถ้าหากว่าท่านได้แจ้งให้ข้าพเจ้าได้รับทราบถึงหลักฐานของพวกท่านในเรื่องนี้ โอ้บุตรของอฺะลี(อฺ) ท่านมูซาเอ๋ย ความจริงท่านก็คือ ประมุขทางศาสนาสำหรับพวกเขาเหล่านั้น เรื่องนี้เป็นที่ยอมรับของข้าพเจ้า แต่ข้าพเจ้าจะไม่ให้อภัยในทุกสิ่งที่ข้าพเจ้าถามท่าน จนกว่าท่านจะเสนอหลักฐานจากคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่มีในเรื่องนี้ต่อข้าพเจ้า”

๗๒

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“จะอนุญาตให้ข้าพเจ้าตอบเลยไหม ?”

ฮารูนกล่าวว่า

“เอาซิ”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ข้าขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ให้พ้นจากชัยฏอนที่ถูกสาปแช่ง ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ

“...และส่วนหนึ่งจากเชื้อสายของเขานั้น ได้แก่ ดาวูดและซุลัยมาน และอัยยูบ และยูซุฟ และมูซาและในทำนองนี้เราตอบแทนแก่ผู้ทำความดีอีกทั้งซะกะรียา และอีซา...”

(อัล-อันอาม: ๘๔)

“โอ้ ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน ใครกันเล่าที่เป็นบิดาของท่านนบีอีซา ?”

ฮารูน ร่อชีดตอบว่า

“ท่านนบีอีซา ไม่มีบิดา”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“อันที่จริงแล้ว พวกเรานับลำดับให้ท่านนบีอีซา(อฺ)ว่าท่านเป็นลูกหลานของบรรดานบีต่างๆ จากสายสกุลของมัรยัม(อฺ) ทำนองเดียวกัน พวกเราก็สืบต่อการเป็นเชื้อสายของนบี(ศ)จากสายสกุลด้านท่านหญิง

ฟาฏิมะฮฺ(อฺ) จะให้บอกหลักฐานเพิ่มเติมอีกไหม ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน ?”

ฮารูนกล่าวว่า

“เอาซิ”

๗๓

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“อัลลอฮฺ(ซ.บ.)มีโองการว่า :

“ดังนั้นถ้าใครโต้แย้งเจ้าในเรื่องนั้น หลังจากที่ความรู้มีมายังเจ้าแล้ว ก็จงกล่าวเถิดว่า มาซิท่านทั้งหลาย เราจะเรียกลูกๆ ของเราและลูกๆ ของพวกท่านและเรียกสตรีของเรา และสตรีของพวกท่าน และตัวของเราและตัวของพวกท่าน ต่อจากนั้น เรามาสาบานกัน โดยที่เราขอให้การสาปแช่งของ

อัลลอฮฺมีแก่ผู้ปฏิเสธ”

(อาลิอิมรอน: ๖๑)

“ในครั้งนั้น ท่านนบี(ศ)ไม่ได้เรียกใครแม้สักคนเดียวให้เข้าไปอยู่ใต้ผ้ากิซาอ์ร่วมกับท่าน(ศ) และเมื่อตอนทำการสาบานกับพวกนะศอรอนอกจากท่านอฺะลี บิน อะบีฏอลิบ (อฺ) ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อฺ) ท่านฮะซัน (อฺ) และท่านฮุเซน (อฺ) แล้วไม่มีใครอื่นอีก

จึงแปลความหมายโองการของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่ว่า

“ลูกๆ ของเรา” ได้ว่าหมายถึง ‘ท่านฮะซันและท่านฮุเซน”

ส่วน “สตรีของเรา”  หมายถึง “ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ”

และ “ตัวของเรา” หมายถึง “ท่านอิมามอฺะลี บินอะบีฏอลิบ”นั่นเอง” (๒)

(๒) เล่มเดียวกัน หน้า ๔๙.

๗๔

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๓

ท่านรอฮิบได้ถามท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ว่า

“รากของต้นฏูบาเป็นอย่างไรในสายตระกูลของอีซา ? เมื่อพวกท่านอยู่ในสายตระกูลของมุฮัมมัด แล้วแตกกิ่งก้านสาขาออกไปทุกสาย”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)ตอบว่า

“ดวงอาทิตย์นั้น แสงของมันสาดไปถึงที่ต่างๆ ทุกแห่งหน และทุกพื้นที่ทั้งๆ ที่มันอยู่ในชั้นฟ้า”

เขากล่าวว่า

“แต่ในสวนสวรรค์นั้น อาหารมิได้บกพร่องด้วยการกินเลยจริงไหม?”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)ตอบว่า

 “แสงสว่างในโลกนี้ไม่สามารถทำให้อะไรในสวรรค์บกพร่องไปได้เลย”

เขากล่าวว่า

“ในสวนสวรรค์มีร่มเงาที่ทอดยาวอยู่เป็นนิจใช่หรือไม่ ?”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ช่วงเวลาก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ทุกสิ่งจะเป็นเงาทอดยาว

๗๕

พระองค์ตรัสว่า :

“เจ้าไม่เห็นดอกหรือว่า พระผู้อภิบาลของเจ้าได้ทรงทอดร่มเงาให้ยาวออกไปอย่างไร”

(อัล-ฟุรกอน: ๔๕)

เขาถามอีกว่า

“แล้วจริงหรือที่ว่า การกิน การดื่มในสวนสวรรค์นั้นจะไม่ทำให้ขับถ่ายและไม่ปัสสาวะ ?”

ท่านอิมาม(อฺ)ตอบว่า

“ก็เหมือนทารกที่อยู่ในครรภ์นั่นเอง ?”

เขาถามอีกว่า

“จริงหรือที่ว่า ชาวสวรรค์ จะมีคนรับใช้ที่คอยบริการตามความประสงค์โดยมิต้องสั่งงาน”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“เมื่อเวลาที่คนเราต้องการสิ่งใด อวัยวะในร่างกายจะรับรู้สิ่งนั้นและจะทำให้ตามความประสงค์ โดยที่เจ้าของไม่ต้องออกคำสั่ง ?”

เขาถามอีกว่า

“กุญแจสวรรค์ทำด้วยทองคำหรือทำด้วยเงิน ?”

๗๖

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“กุญแจสวรรค์อยู่ที่วาจาของคนเรา ที่กล่าวว่า “ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ”(ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮฺ)”

รอฮิบกล่าวว่า

“จริงของท่าน”

แล้วเขาก็เข้ารับอิสลาม เข้าร่วมกับอิมามมูซา(อฺ)(๓)

(๓) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๓๗๔.

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๔

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ) ถูกถามถึงเรื่อง ‘ความยะกีน’

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“ความยะกีน หมายถึงการยอมมอบหมายตนเองยังอัลลอฮฺ(ซ.บ.) การสวามิภักดิ์ต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) การพึงพอใจในการกำหนด (ก่อฎอ) ของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) และถือว่าอำนาจทั้งมวลขึ้นอยู่ ณ อัลลอฮฺ (ซ.บ.)” (๔)

(๔) ตะฮัฟฟุล-อุกูล หน้า ๓๐๑.

๗๗

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๕

ท่านอิมามมูซา(อฺ)ถูกถามเกี่ยวกับความหมายของ “อัลลอฮฺ”

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“ผู้ทรงควบคุมบริหารกิจการทั้งเล็กที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุด”(๕)

 (๕) อุศูลุล-กาฟี เล่ม ๑ หน้า ๑๑๕.

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๖

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ถูกถามเกี่ยวกับเรื่องของชายคนหนึ่งที่กล่าวว่า

“ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า

“ฉันจะบริจาคด้วยทรัพย์สินอย่างมากมาย”

ว่าเขาควรจะบริจาคอย่างไร ?”

ท่านอิมาม(อฺ)ตอบว่า

“ถ้าคนสาบานเป็นเจ้าของฝูงแกะ เขาจะต้องบริจาคแกะ ๘๔ ตัว ถ้าเป็นผู้ครอบครองเงินดิรฮัม เขาจะต้องบริจาค ๘๔ ดิรฮัม หลักฐานในเรื่องนี้อยู่ที่โองการหนึ่งของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่ว่า:

“และแน่นอนที่สุด อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงให้ความช่วยเหลือต่อสูเจ้าที่อยู่ตามบ้านเมืองอันมากมาย”

(อัต-เตาบะฮฺ: ๒๕)

๗๘

กล่าวคือ จำนวนบ้านเมืองในเขตของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ก่อนที่โองการนี้จะถูกประทานลงมานั้นมี ๘๔ แห่ง (๖)

(๖) บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม ๑๑ หน้า ๓๕๓

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๗

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ถูกถามเกี่ยวกับ ‘การที่ชายคนหนึ่งขุดสุสานของผู้ตาย และตัดคอของผู้ตาย แล้วเอาผ้ากะฝั่นที่ห่อไปว่าจะมีการตัดสินอย่างไร?”

.

ท่านอิมาม(อฺ)ตอบว่า

“ต้องตัดมือเยี่ยงคนลักขโมย เพราะเขาลักผ้ากะฝั่น และต้องปรับเงิน ๑๐๐ ดีนารฺ เพราะตัดศีรษะคนตาย เพราะเราต้องถือว่า คนตายอยู่ในฐานะเสมือนทารกในครรภ์มารดาที่ยังไม่ได้เป่าวิญญาณ” (๗)

(๗) บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม ๑๑ หน้า ๒๕๓.

๗๙

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๘

ท่านอะบูอะฮฺมัดแห่งคุรอซานได้ถามท่าน(อฺ)ว่า

“การเป็นกุฟรฺ(ผู้ปฏิเสธพระผู้เป็นเจ้า)กับการตั้งภาคี(ชิริกฺ)นั้นอันไหนมาก่อนกัน”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ท่านมีอะไรกับปัญหานี้หรือ ข้าพเจ้าเคยสัญญากับท่านไว้อย่างไรบ้างในเรื่องการสนทนากับผู้คนทั้งหลาย ?”

ท่านอะบูอะฮฺมัดกล่าวว่า

“ท่านฮิชาม บินฮะกัม สั่งข้าพเจ้าให้ถามท่าน”

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ตอบว่า

“การที่กุฟรฺคือสิ่งที่มาก่อน กุฟรฺคนแรกได้แก่อิบลิส

(ดังกุรอานกล่าวว่า)

 “เขาดื้อรั้นและเย่อหยิ่ง และเป็นหนึ่งในมวลผู้ปฏิเสธ”

(อัล-บะกอเราะฮฺ: ๓๔)(๘)

(๘) บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม ๑๗ หน้า ๒๐๓.

๘๐

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133