ชีวประวัติอิมามฮุเซน

ชีวประวัติอิมามฮุเซน20%

ชีวประวัติอิมามฮุเซน ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน

ชีวประวัติอิมามฮุเซน ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 149 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 53729 / ดาวน์โหลด: 5486
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามฮุเซน

ชีวประวัติอิมามฮุเซน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

อัตชีวประวัติอิมามมะอฺศูมีน ๓

ฮุเซน บิน อะลี(อฺ)

เขียน

ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล

คำนำ

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตานิรันดร์

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ขององค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) เพียงพระองค์เดียว

ความสันติสุข แด่ท่านนบีมูฮัมหมัด (ซ.ล) และความจำเป็นสุขแด่บรรดา

อิมามผู้บริสุทธิ์ยิ่ง

นับได้ว่าเป็นความโปรดปรานจากองค์อัลลอฮ์อีกครั้งหนึ่งแก่พวกเราผู้อยู่ในแนวทางแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) ของศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล) ในประเทศไทยมีโอกาสศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับอัตชีวประวัติของอิมามมะอ์ซูมีน

ด้วยเหตุนี้ สถาบันศึกษา มัดรอซะฮ์ ดารุล-อิลมิ อิมามคูอีย์ จึงได้จัดการแปลและพิมพ์อัตชีวประวัติของ อิมาม ฮุเซน

ทางสถาบันใคร่ขอความร่วมมือให้พี่น้องผู้ศรัทธาทุกท่านและฝ่ายช่วยกันสนับสนุนหนังสือชุดนี้ด้วยการซื้อและบริจาคทรัพย์สินของท่าน เพื่อทางเราจักได้มีโอกาสจัดพิมพ์เล่มอื่นต่อไป

เราขอวิงวอนจากองค์อัลลอฮ์ ได้โปรดประทานความรู้และความเข้าใจในเรื่องของอิสลามแด่พี่น้องผู้ศรัทธาทุกท่านด้วยเถิด

วัสลามุอะลัยกุม

สถาบันศึกษา มัดรอซะฮ์ ดารุล-อิลมิ อิมามคูอีย์

วันพุธที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐

บทนำของอิมามที่ ๓

ท่านอิมามอะบูอับดุลลอฮฺ อัล-ฮุเซน บิน อะมีรุล มุอ์มินีน (อฺ) คือหลานของท่านศาสนทูต ผู้ทรงเกียรติ (ศ) และ......

􀂙 ท่าน (อฺ) เป็นเหมือนดวงใจของท่านศาสดา (ศ)

􀂙 ท่าน (อฺ) เป็นประมุขของชายหนุ่มชาวสวรรค์

􀂙 ท่าน (อฺ) เป็นหนึ่งในห้าของบุคคลแห่งผ้าคลุมกิซาอ์

􀂙 ท่าน (อฺ) เป็นผู้บริสุทธิ์ปราศจากมลทินทั้งปวง

ตามที่อัล-กุรอานได้บัญญัติไว้ ความว่า

“ อันที่จริงอัลลอฮฺทรงประสงค์เพียงเพื่อขจัดความมลทินออกไปจากพวกเจ้า โอ้อะฮฺลุลบัยตฺและทรงชำระขัดเกลาพวกเจ้าให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ ”

( อัล-อะฮฺซาบ: ๓๓)

จากอัล-กุรอาน ท่าน(อฺ)คือผู้สำแดงภาพลักษณ์แห่งจริยธรรมของศาสดามุฮัมมัด(ศ) และเป็นภาพลักษณ์แห่งความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของท่านอะลี(อฺ) ท่าน(อฺ)เป็นศูนย์รวมของความประเสริฐ นานัปการ เป็นผู้ให้แบบอย่างอันสูงส่ง เป็นประมุขของเหล่าบรรดาผู้พลีชีพในวิถีทางศาสนา มวลมนุษย์ทั้งหลายต่างได้รับบทเรียนด้านการต่อสู้จากท่าน(อฺ) การต่อสู้ของท่าน(อฺ)ในวันอาชูรออ์ ได้มอบบทเรียนให้แก่ประชาชาตินี้ ในการต่อสู้กับบรรดาผู้อธรรมและยืนหยัดต่อสู้กับผู้รุกราน

ประวัติศาสตร์ อันยาวนานของมวลมนุษยชาติยังไม่เคยได้ประจักษ์ถึงการยืนหยัดต่อสู้ใดๆให้เหมือนกับการที่ได้ประจักษ์ถึงการยืนหยัดต่อสู้ของท่านผู้นี้ ซึ่งเป็นประมุขของบรรดาชะฮีดในวันอาชูรออ์ นับตั้งแต่แผ่นดินนี้ได้ถูกสร้างมาก็ยังไม่เคยมีปรากฏการณ์ใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่าจะเคยมีนักสู้ที่ห้าวหาญเช่นนี้มาก่อน ท่าน(อฺ)คนเดียวที่มีสมาชิกครอบครัวเคียงข้างเพียง ๑๐ คน พร้อมกับสหาย ๗๐ คนเศษ แต่มีข้าศึกนักจำนวนมากเป็นพันๆ คน วันนั้นสำหรับอิมามฮุเซน (อฺ) เพียงวันเดียวโลกนี้ทั้งโลกต้องยอมสดุดีให้มวลมนุษยชาติต้องยอมสงบให้และทำให้โลกต้องศึกษาเรียนรู้

ปรัชญาอันลึกลับของท่าน(อฺ)

เรื่องนี้และเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับวันเวลาทั้งหลายของอิมามฮุเซน(อฺ)ล้วนเป็นอมตะชั่วนิรันดร์กาล ทุกอย่างในวิถีของท่าน(อฺ)มีแต่ความประเสริฐ หนังสือเล่มนี้จะเป็นบันทึกเกี่ยวกับเกร็ดชีวิตของท่านเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ได้สะท้อนให้เป็นแสงสว่างสำหรับพวกเรา เพื่อกู่เรียกมวลประชาชาติมุสลิมให้ดำเนินชีวิตตามร่องรอยแห่งวิถีชีวิตของท่าน(อฺ)ผู้เป็นบิดาของเหล่าผู้เสียสละบรรดาชะฮีดทั้งหลาย

ชีวประวัติของอิมาม อะบูอับดิลลาฮฺ(อ)

นามจริง

ฮุเซน บินอะ ลี(อฺ)

ท่านตา.....

ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ)

ท่านยาย....

ท่านหญิงเคาะดีญะฮฺ บินติคุวัยลิด(ร.ฎ.)

ท่านปู่......

ท่านอะบูฎอลิบ(ร.ฎ.)

ท่านย่า....

ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ บินติ อะซัด(ร.ฏ.)

ท่านบิดา.....

ท่านอิมามอะลี บิน อะบีฏอลิบ(อฺ)

ท่านมารดา.....

ท่านหญิงฟาติมะฮฺ ซะฮฺรอ(อฺ)

ท่านพี่ชาย.....

ท่านอิมามฮะซัน(อฺ)

น้องสาว......

ท่านหญิงซัยนับ อัล-กุบรอ(อฺ)

ท่านหญิงอุมมุกุลซูม(ร.ฏ.)

สถานที่และวันถือกำเนิด....

ท่าน(อฺ)ถือกำเนิด ณ เมืองมะดีนะฮฺ เมื่อวันที่ ๓ ชะอฺบาน ฮ.ศ. ๔

วันแรกที่เกิดท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) รีบเร่งรุดไปหาด้วยความยินดีปรีดาอย่างยิ่งท่าน (ศ) กล่าวอะซานให้ที่หูข้างขวาและกล่าวอิกอมะฮฺให้ที่หูข้างซ้ายและได้ทำบุญเลี้ยงแสดงความยินดี เมื่อถึงวันที่ ๗ ท่านได้ตั้งชื่อให้ว่า “ ฮุเซน ” ท่านศาสนทูต (ศ) ได้เชือดแกะพลีเป็นอะกีเกาะฮฺและสั่งมารดาของท่านให้โกนผมไฟและจัดการบริจาคเป็นเงินจำนวนเท่ากับน้ำหนักของเส้นผม

ท่าน(อฺ)มีความเหมือนกับศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)มากที่สุด กล่าวคือมีเรือนร่างสมส่วน ไม่สูงต่ำ หน้าอกผึ่งผาย สง่างาม ฝ่ามือและเท้าเรียวงามมีเส้นขนดกตามเรือนร่างและมีหนวดสีขาวเรียบ

ท่าน(อฺ)เติบโตภายใต้การดูแลของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)กล่าวคือ ท่านศาสนทูต(ศ)เป็นผู้เลี้ยงดูและโอบอุ้มมาด้วยตัวท่าน(ศ)เอง

ฉายานาม....

อัร-ร่อชีด

อัล-วะฟียฺ

อัฏ-ฏ็อยยิบ

อัซ-ซัยยิด

อัซ-ซะกี

อัล-มุบาร็อก

อัต-ตาบิอฺลิมัรฎอติลลาฮฺ

อัด-ดะลีลอะลา ซาติลลาฮฺ

ซัยยิดชะบาบอะฮฺลิลญันนะฮฺ

ช่วงชีวิตของท่าน(อฺ)ร่วมกับบิดา.......

ท่าน(อฺ)ทำหน้าที่ติดตามท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ) ผู้เป็นบิดาและร่ำเรียนวิชาในสำนักอันยิ่งใหญ่ของท่าน(อฺ)เป็นเวลาถึงหนึ่งในสี่ศตวรรษ

ท่าน(อฺ)ได้เข้าร่วมกับบิดาในการสู้รบถึง ๓ สมรภูมิด้วยกัน คือ อัล-ญะมัล , ศิฟฟิน , และนะฮฺร่อวาน

ภรรยา.......

ท่านหญิงลัยลา บินติอะบีมุรเราะฮฺ บินอุรวะฮฺ บินมัซอูดแห่ง ตระกูลษะกอฟียฺ

ท่านหญิงอุมมุอิซหาก บินติฏ็อลฮะฮฺ บินอุบัยดิลลาฮฺ อัต-ตัยมี

ท่านหญิงชาฮฺซะนาน บินติกุสรอ ยัซด์ญัรด์ กษัตริย์แห่งเปอร์เซีย

ท่านหญิงร็อบบาบ บินติอุมะริ้ลก็อยซฺ บินอะดีย

บุตรชาย......

อิมามซัยนุล-อาบิดีน

อะลี อักบัร

ญะอฺฟัร

อับดุลลอฮ( ๑)

บุตรสาว......

ท่านหญิงซะกีนะฮฺ ฟาฏิมะฮฺ รุก็อยยะฮฺ

ลายสลักบนแหวน......

คำว่า “ ฮัซบิยัลลอฮฺ ”

ความว่า “ ข้ามีเพียงอัลลอฮฺ ก็พอแล้ว ”

นักกวีประจำยุค......

ยะหฺยา บินฮิกัม

องค์รักษ์.....

อัซอัด อัล-ฮิจรีย์

ช่วงชีวิตของท่าน(อฺ).......

ท่าน(อฺ)ได้ให้สัตยาบันต่อพี่ชายของท่าน(อฺ)คือท่านอิมามฮะซัน(อฺ)หลังจากที่บิดาของท่านถูกสังหาร เมื่อ ฮ.ศ. ๔๐ ท่าน (อฺ) ได้ให้เกียรติยกย่องฐานะของพี่ชายอย่างสูงสุด

ตามรายงานจากท่านอิมามญะอฺฟัร ศอดิก(อฺ) ที่ท่านฏ็อบรอซีได้บันทึกไว้ว่า “ ท่านฮุเซน ( อฺ) ไม่เคยดำเนินงานล้ำหน้าท่านฮะซัน (อฺ) เลย และไม่เคยปริปากคัดค้านท่านเลยเมื่อยามที่อยู่ร่วมกัน เพื่อแสดงให้เก็นถึงการให้เกียรติอย่างสูงนั่นเอง ” (๒)

(๑) นักประวัติศาสตร์บางท่านระบุว่าบุตรชายของท่านมี ๖ คน

(๒) หนังสือ มิชกาตุล-อันวาร หน้า ๑๗๐.

ท่านใช้ชีวิตอยู่ภายหลังจากท่านอิมามฮะซัย(อฺ)พี่ชายเสียชีวิตแล้วเป็นเวลา ๑๐ ปี ในช่วงเวลานั้นท่าน (อฺ) คืออิมามที่ถูกบัญญัติมาให้เชื่อฟังปฏิบัติตาม (ตามทัศนะของมวลมุสลิมกลุ่มใหญ่)

ในฐานะทายาทของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ผู้เป็นที่รักยิ่งของท่าน เป็นสิ่งที่สองในจำนวนสิ่งสำคัญสองประการที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้ฝากไว้ในประชาชาตินี้ (กิตาบุลลฮฺและเชื้อสาย)และเป็นนายของบรรดาชายหนุ่มชาวสวรรค์ตามความเชื่อถือที่เป็นหนึ่งเดียวกันของมวลมุสลิม

ท่าน(อฺ)เดินทางออกจากเมืองมะดีนะฮฺพร้อมกับครอบครัวและบรรดาสหายมุ่งหน้าไปยังเมืองมักกะฮฺ ในฐานะผู้คัดค้านการให้สัตยาบันรับรองแก่ยะซีด การเดินทางของท่าน(อฺ)มีขึ้นตอนกลางคืนของวันอาทิตย์สองวันสุดท้ายของเดือนร่อญับ ฮ.ศ. ๖๐ ในขณะนั้นท่าน (อฺ) ได้อ่านโองการ

ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่ว่า

“ แล้วเขาก็ได้ออกเดินทางจากที่นั้น ในสภาพที่มีความหวาดระวังตัว เขากล่าวว่า พระผู้อภิบาลของข้าฯ โปรดคุ้มครองให้ข้าปลอดภัยจากพวกอธรรมด้วยเถิด ”

( อัล-ก่อศ็อศ: ๒๑)

ท่าน(อฺ)ได้เข้าเมืองมักกะฮฺเมื่อผ่านพ้นเดือนชะอฺบานไปแล้วสามวันในฮ.ศ. ๖๐ ขณะนั้นท่าน (อฺ) ได้อ่านโองการที่ว่า

“ ครั้นเมื่อเขาได้มุ่งหน้ามาถึงยังเมืองมัดยันเขาก็กล่าวว่า หวังว่าพระเจ้าของข้าฯจะทรงชี้นำหนทางอันเที่ยงตรงให้แก่ข้าฯด้วย ”

( อัล-ก่อศ็อศ: ๒๒)

ท่าน(อฺ)ได้รับจดหมายจากชาวเมืองกูฟะฮฺ และคำสัญญาของพวกเขาที่ว่าจะให้สัตยาบันรับรองท่าน(อฺ)และจงรักภักดีจนกระทั่งว่าสามารถเก็บรวบรวมจดหมายเหล่านั้นได้มากถึง ๑๒,๐๐๐ ฉบับ

ท่าน(อฺ)จึงจัดการส่งบุตรชายของลุงของท่านคนหนึ่ง คือ มุสลิม บิน อะกีล(ร.ฏ.) เดินทางไปยังเมืองกูฟะฮฺในฐานะผู้แทนและทูตพิเศษ

ต่อมาท่าน(อฺ)ได้รับข่าวว่า ยะซีด บุตรของมุอาวียะฮฺ ได้ส่งคนมาเพื่อสังหารท่าน(อฺ)ถึงแม้ว่าท่านจะหลบหลีกเข้าไปพักพิงบริเวณที่กำบังของอัล-กะอฺบะฮฺก็ตาม

ท่าน(อฺ)จึงออกเดินทางจากมักกะฮฺในวันที่ ๘ เดือนซุลฮิจญะฮฺ (วันตัรวียะฮฺ) ฮ.ศ. ๖๐ หลังจากที่ได้กล่าวคุฏบะฮฺที่นั่นอันเป็นการประกาศคำเชิญชวนของท่าน (อฺ)

ท่าน(อฺ)ได้เข้าถึงเขตอิรักบริเวณเส้นทางเมืองกูฟะฮฺ แต่ได้เจอกับกองทหารกลุ่มหนึ่งของอิบนุซิยาดที่ถูกส่งมาคุมเชิงอยู่ที่นั่นโดยการนำของฮุร บิน ยะซีด อัร-ร็อยฮานี จนกระทั่งท่าน ( อฺ) ต้องถอยร่นไปตั้งหลักที่กัรบะลาอ์

ท่าน(อฺ)ได้มาถึงกัรบะลาอฺในวันที่ ๘ เดือนมุฮัรร็อม ฮ.ศ. ๕๑

เพียงกองคาราวานของท่าน(อฺ)มาถึงยังกัรบะลาอ์เท่านั้น ก็ปรากฏว่าทหารของอิบนุซิยาดก็ประชิดเข้ามาอย่างมากมายถึง ๓๐,๐๐๐ คน

ท่าน(อฺ)ได้พลีชีวิตรวมทั้งสมาชิกครอบครัวของท่านถูกต้อนจากกัรบะลาอ์ ในวันที่ ๑๑ และได้ถูกนำไปยังเมืองกูฟะฮฺในสภาพของเชลย ต่อจากนั้นก็ได้ถูกนำไปยังเมืองซีเรีย

ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน(อฺ) ได้จัดการฝังศพของท่านเมื่อวันที่ ๑๓ มุฮัรร็อม ฮ.ศ. ๖๑

ท่านญาบิร บินอับดุลลอฮฺ อันศอรี(ร.ฏ.) ผู้ซึ่งเป็นศ่อฮาบะฮฺอาวุโสที่สุดคนหนึ่งในยุคนั้นได้เดินทางไปเยี่ยมสุสานของท่านเมื่อวันที่ ๒๐ เดือนศ่อฟัร ฮ.ศ. ๖๑ และในวันเดียวกันนี้อิมามซัยนุลอาบิดีน (อฺ) บุตรชายของท่านก็ได้มาเยี่ยมเยียนด้วยพร้อมกับสมาชิกครอบครัวที่รอดชีวิตเมื่อครั้งที่พวกเขาเดินผ่านเส้นทางนี้เพื่อไปยังเมืองมะดีนะฮฺ หลังจากได้ผ่านภัยพิบัติไปแล้วทั้งในเมืองกูฟะฮฺและซีเรีย

วายชนม์.......

ท่าน(อฺ)เป็นชะฮีดที่กัรบะลาอ์ ในวันที่ ๑๐ มุฮัรร็อม ฮ.ศ. ๖๑

หลุมฝังศพของท่าน(อฺ).......

สุสานของท่าน(อฺ)อยู่ที่กัรบะลาอฺ อันสวยงาม โดดเด่นเป็นสง่ามีโดมที่ทำด้วยทองคำบริสุทธิ์ สามารถมองเห็นได้ในระยะที่ห่างไกลนับเป็นสิบๆไมล์ มวลมุสลิมทั้งภาคตะวันออก ตะวันตกของโลกต่างพากันหลั่งไหลกันเข้าเยี่ยมชมไม่ขาดสาย บ้างก็มายังสถานที่ฝังศีรษะอันทรงเกียรติของท่านแห่งนั้นเพื่อทำนมาซ มาขอดุอาอ์

ฮุเซน บินอฺะลี (อฺ) ในอัลกุรอาน อันทรงเกียรติ

หาเราจะพรรณนาถึงเรื่องราวในอัล-กุรอานอันทางเกียรติที่ถูกประทานมาในเรื่องของอะฮฺลุลบัยตฺแล้วแน่นอน เราจำเป็นจะต้องบันทึกเป็นหนังสือที่มีความหนามากกว่าเล่มนี้ เพราะบรรดาอิมามนักวิชาการและนักตัฟซีร รวมทั้งนักประวัติศาสตร์ทั้งหลายได้รายงานไว้ว่ามีโองการอัล-กุรอานนับจำนวนเป็นร้อยๆ ที่กล่าวถึงพวกเขาเหล่านั้น ในที่นี้เราจะไม่ละเลยคำพูดตอนหนึ่งของท่านอะมีรุล-มุอ์มินีน(อฺ) ที่ว่า

“ อัล-กุรอานนั้น ถูกประทานลงมาใน ๔ เรื่องด้วยกัน คือ เรื่องราวเกี่ยวกับพวกเรา เรื่องที่เกี่ยวกับศัตรูของเรา เรื่องประวัติศาสตร์และอุทธาหรณ์และเรื่องบทบัญญัติหลักการทางศาสนาสำหรับพวกเรานั้นคืออัญมณีอันมีค่าของอัล-กุรอาน ( ๑)

ในบทนี้ เราจะกล่าวอายะฮฺที่เกี่ยวกับท่านอิมามฮุเซน(อฺ)

-๑- “ พระองค์ทรงบันดาลมนุษย์มาจากน้ำ แล้วก็ได้ทรงบันดาลให้เขาแพร่เผ่าพันธุ์ทางสายตระกูลและการเกี่ยวดอง ” ( อัล-ฟุรกอน: ๕๔)

รายงานโดยอะบู นะอีม อัล-ฮาฟิซ และอิบนุ อัล-มะฆอซะลี โดยอ้างสายสืบจากท่านซะอีดบินญุบัยรฺ จากท่านอิบนุอับบา(ร.ฏ.) ว่า

“ โองการนี้ถูกประทานมาในเรื่องของบุคคลทั้งห้าแห่งผ้าคลุมกิซาอ์ ”

หลังจากนั้นท่าน (อฺ) ได้กล่าวว่า

“ ความหมายของคำว่า ‘ น้ำ ’ ในโองการนี้ ก็คือ รัศมีของท่านนบี (ศ) ซึ่ได้มีอยู่ก่อนการสร้างมนุษย์ ต่อจากนั้นก็ได้ถูกนำไปวางไว้ที่กระดูกสันหลังของนบีอาดัม (อฺ) ต่อจากนั้นก็เคลื่อนย้ายจากระดูกสันหลังไปสู่กระดูกสันหลังหนึ่ง จนถึงกระดูกสันหลังของอับดุลมุฏฏอลิบ แล้วก้ได้แยกออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งไปอยู่ที่กระดูกสันหลังของอับดุลลอฮฺ แล้วก็ได้กำเนิดท่านนบี (ศ) อีกส่วนหนึ่งได้ไปอยู่ที่กระดูกสันหลังของอะบูฏอลิบ แล้วได้กำเนิดเป็นท่านอะลี ต่อมาก็ได้สัมพันธ์กันด้วยการนิกะฮฺ คือ ท่านอะลีก็ได้แต่งงานกับท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ จนมีบุตรชายสองคนคือฮะซัน

และฮุเซน(ร.ฏ)

ท่านษะอฺละมี และท่านเมาฟิก บินอะฮฺมัด อัล-ค่อวาริชมี ได้รายงานมาจากท่านอะบีศอลิฮฺ จากท่านอิบนุ อับบาซอีกเช่นกัน อีกทั้งท่านอิบนุมัซอูดท่านญาบิร ท่านบัรรออ์ ท่านอะนัซและท่านหญิงอุมมุซะละมะฮฺ (ร.ฏ.)ได้กล่าวว่า

“ โองการนี้ได้ถูกประทานลงมาในเรื่องราวของบรรดาบุคคลในผ้าคลุมทั้งห้า ” (๒)

-๒-

“ และพระองค์ได้ทรงบันดาลให้มันเป็นพจนารถหนึ่งอันยืนยงอยู่ในหมู่ชนรุ่นต่อๆ ไปของเขาเพื่อพวกเขาจะได้คืนกลับ ” ( อัซ-ซุครุฟ : ๒๘)

ในหนังสืออัล-มะนากิบกล่าวว่า รายงานจากท่านษาบิต อัษ-ษุมาลี จากท่านอฺะลี บินฮุเซน จากบิดาของท่าน จากท่านปู่ของท่าน คือท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ)กล่าวว่า

“ มีคำตรัสของอัลลอฮฺ(ซ.บ)ที่ประทานลงมา ในเรื่องของเราความว่า

และพระองค์ได้ทรงบันดาลให้มันเป็นพจนารถหนึ่งอันยืนยงอยู่ในหมู่ชนรุ่นต่อๆ ไปของเขา เพื่อพวกเขาจะได้คืนกลับหมายความว่าจะทรงบันดาลให้ตำแหน่งอิมามดำรงอยู่ในบุคคลที่สืบต่อไปจากฮุเซน(อฺ)จนถึงวันฟื้นคืนชีพ ” (๓)

*********

-๓-

“ พระองค์ทรงให้ทะเลทั้งสองไหลวนบรรจบกันโดยระหว่างทั้งสองนั้นมีเขตกั้นซึ่งทั้งสองจะไม่ล่วงล้ำกัน ดังนั้นพวกเจ้าจะกล่าวปฏิเสธต่อความการุณย์อันใดแห่งพระผู้อภิบาลของพวกเจ้าหรือ จากทั้งสองทะเลนั้นไข่มุกและปะการังจะได้ปรากฏออกมา ”

( อัล-เราะฮฺมาน: ๒๒)

(๑) กัชฟุล-ฆ็อมมะฮฺ หน้า ๙๒ และยะนาบีอุล-มะวัดดะฮฺ หน้า ๑๒๖

(๒) ยะนาบีอุล-มะวัดดะฮฺ หน้า ๑๑๘.

(๓) ยะนาบีอุล-มะวัดดะฮฺ หน้า ๑๑๗.

รายงานจากท่านอะนัซ (ร.ฏ.)อธิบายโองการนี้ว่า

“ ทะเลทั้งสองไหลวนมาบรรจบกันหมายถึงท่านอะลีและฟาฏิมะฮฺระหว่างทั้งสองนั้นมีเขตกั้น ได้แก่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)โดยฮะซันกับฮุเซนได้ปรากฏออกมาจากทะเลทั้งสองนั้น ” (๔)

ในการตะอ์วีล(ตีความ) โองการนี้ ท่านษะอฺละบีย์ได้รับรายงานจากท่านซุฟยาน อัษ-เษารีและท่านซะอีด บิน ญุบัยรฺ กล่าวว่า

“ แท้จริงทะเลทั้งสองหมายถึงท่านอะลีและท่านหญิงฟาฏิมะฮฺเขตกั้นระหว่างกลางหมายถึงท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ไข่มุกและหินปะการังที่จะปรากฏออกมาหมายถึงท่านฮะซันและฮุเซน(อฺ) ” (๕)

************

-๔-

“ อนุมัติให้แก่บรรดาผู้ที่ถูกเข่นฆ่า เพราะเหตุว่าพวกเขาได้รับความอธรรมและแน่นอนอัลลอฮฺทรงมีความสามารถยิ่งนักต่อการให้ความช่วยเหลือพวกเขา ”

( อัล-ฮัจญ์: ๓๙)

(๔) กัชฟุล-ฆ็อลมะฮฺ หน้า ๙๕

(๕) ตัซกิร่อตุล-ค่อวาศ หน้า ๒๔๕

รายงานจากท่านคอลิด อัล-กาบุลี กล่าวว่า

“ ข้าพเจ้าได้รับฟังมาจากอะบูญะอฺฟัร(อฺ) ท่านได้อธิบายความหมายโองการนี้ โดยท่านกล่าวว่า หมายถึงท่านอะลี ฮะซันและฮุเซน ”

(๖)

-๕-

“ พวกเขาให้อาหารโดยความรักในพระองค์ แก่คนยากจน เด็กกำพร้าและเชลยสงคราม ( พวกเขากล่าวว่า) เราให้อาหารพวกท่าน เพื่อพระองค์อัลลอฮฺ เรามิได้ต้องการรางวัลใดๆ จากพวกท่านและไม่ต้องการการขอบคุณ ” ( อัล-อินซาน: ๙)

ท่านเชคฏซี (ขอความเมตตาพึงประสบแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

“ ทั้งซุนนีและชีอะฮฺ รายงานว่าโองการเหล่านี้ถูกประทานมาในเรื่องของ อะลี ฟาฏิมะฮฺ ฮะซันและฮุเซน (อฺ) กล่าวคือพวกเขาได้เสียสละให้แก่คนยากจน เด็กกำพร้าและเชลยสงครามเป็นเวลาสามคืนติดต่อกันในการให้อาหารแก่คนเหล่านั้น และพวกเขาก็มิได้ละศีลอดกับอะไรเลย ดังนั้นอัลลอฮฺจึงได้ทรงยกย่องความดีงามในคราวนี้และประทานโองการในซูเราะฮฺนี้ลงมาในเรื่องของพวกเขาทั้งหมดนี้ คงจะเป็นที่เพียงพอสำหรับท่านในการที่ได้ประจักษ์ถึงคุณงามความดีอันลึกซึ้งที่ถูกอ่านอยู่ตลอดกาลจนถึงวันฟื้นคืนชีพ ” (๗)

(๖) อุยูนอัคบาริ้ลรีฏอ เล่ม ๒ หน้า ๖๕

(๗) อัต-ติบยานฟีตัฟซีริ้ลกุรอาน เล่ม ๑๐ หน้า ๒๑๑

อิมามฮุเซน (อฺ) จากฮะดีษของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ)

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ไม่เคยละเลยการกล่าวยกย่องอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน(ศ)ในทุกๆ สถานที่และทุกสภาวการณ์ บางครั้งท่าน(ศ)จะเปรียบเทียบว่า เขาเหล่านั้นเป็นเหมือนเรือนบีนุฮฺ ซึ่งถ้าหากใครจะขึ้นเรือที่จะปลอดภัย และถ้าผู้ใดผลักใสก็จะจมและพินาศ บางครั้งท่าน(ศ)จะเปรียบว่า พวกเขาเป็นเหมือนประตูฮิฏเฏาฮฺ ซึ่งถ้าใครเข้าผ่านไปก็จะปลอดภัย บางครั้งท่าน (ศ)จะกล่าวว่า พวกเขาเป็นหลักประกัน ความปลอดภัยสำหรับชาวโลกเช่นเดียวกับดวงดาวที่เป็นหลักประกันความปลอดภัยของผู้ที่อยู่บนฟากฟ้า

และท่านศาสนทูต(ศ)ได้เคยกล่าวถึงท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ไว้เป็นฮะดีษจำนวนมาก ซึ่งในฮะดีษเหล่านั้นได้อธิบายอย่างชัดแจ้งเกี่ยวกับเกียรติและฐานะของท่าน(อฺ) ดังที่เราจะบันทึกไว้ ณ ที่นี้เพียงบางส่วน

-๑-

ท่านฮากิมได้บันทึกไว้ และกล่าวว่าเป็นฮะดีษเศาะฮีฮฺ จากรายงานของท่านยะห์ยา อัล-อามิรี กล่าวว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวว่า

“ ฮุเซนเป็นส่วนหนึ่งของฉันและฉันเป็นส่วนหนึ่งของฮุเซน( ๑) โอ้อัลลอฮ์ขอทรงโปรดให้ความรักแก่คนที่รักฮุเซน ฮุเซนผู้ซึ่งเป็นผู้สืบสายตระกูลคนหนึ่งของศาสดา ” (๒)

-๒-

ท่านอิบนุฮิบบาน ท่านอิบนุซะอัด ท่านอะบูยะอฺลา และท่านอิบนุอะซากิร ได้รายงานมาจากท่านญาบิร บินอับดุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าได้ ฟังท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) กล่าวว่า

“ คนใดประสงค์จะได้เห็นประมุขของชายหนุ่มชาวสวรรค์ ก็ขอให้มองดูฮุเซน บุตรของอะลีเถิด ” (๓)

*******

(๑) คำพูดของท่านศาสนทูต (ศ) ที่ว่า ‘ ฮุเซนเป็นส่วนหนึ่งของฉัน ’ หมายความว่า ‘ ท่านฮุเซนมีฐานะเป็นบุตรของท่าน ’ ตามความหมายในโองการ มุบาฮะละฮฺ ส่วนคำว่าที่ว่า ‘ และฉันเป็นส่วนหนึ่งของฮุเซน ’ หมายความว่า ‘ ศาสนาของท่าน(ศ)ได้ดำรงอยู่ก็เพราะการต่อสู้ของท่านฮุเซน เพราะถ้าไม่มีท่านในวันนั้น แน่นอนพวกอุมัยยะฮฺจะต้องนำลัทธิญาฮิลียะฮฺกลับคืนมา

เพราะพวกเขากล่าวว่า ’ ‘ ไม่มีคำสอนศาสนาและไม่มีการลง

วะฮฺยูมาแต่อย่างใด ’

(๒) ยะนาบีอุล-มะวัดดะฮฺ หน้า ๑๖๔

-๓-

ท่านซัลมา อัล-ฟาริซี ได้กล่าวว่า ครั้งหนึ่งขณะที่ท่านฮุเซนนั่งอยู่บนตักของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ท่าน(ศ)ก้มลงจูบเขาแล้วกล่าวว่า

“ เจ้าคือประมุข บุตรของประมุข บิดาของประมุขทั้งหลาย เจ้าคืออิมาม บุตรของอิมาม บิดาของบรรดาอิมาม เจ้าคือข้อพิสูจน์ของอัลลอฮฺบุตรของข้อพิสูจน์ของอัลลอฮฺ บิดาของบรรดาข้อพิสูจน์ของอัลลอฮฺเก้าคนจากสายโลหิตของเจ้า และคนที่เก้านั้น คือ ‘ กออิม ’ ของพวกเขา ”

- ๔-

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ได้กล่าวว่า

“ ฮุเซนนั้นเป็นผู้สืบตระกูลศาสดา ผู้ใดรักฉัน ก็ต้องรักฮุเซนด้วย ” ( ๔)

********

-๕-

ท่านอับดุลลอฮฺ บินฮะซัน อัซ-ซะอฺดี ได้กล่าวว่า เมื่อครั้งที่ประชาชนสับสนกันเรื่องว่าใครมีเกียรติกว่ากัน ข้าพเจ้าได้ขึ้นขี่พาหนะนำเสบียงเดินทางติดตัวแล้วมุ่งหน้าออกเดินทางไปยังเมืองมะดีนะฮฺ แล้วข้าพเข้าก็ได้เข้าพบท่านฮุซัยฟะฮฺ บินยะมาน

ท่านถามว่า “ เธอเดินทางมาจากไหน ?”

ข้าพเจ้าตอบว่า “ จากเมืองอิรัก ”

(3) อัซอาฟุร-รอฆิบีน ภาคผนวกหนังสือ นูรุ้ล-อับศอร หน้า 182

(4) ตารีค อิบนุอะชากิร เล่ม 4 หน้า 329

ท่านถามอีกว่า “ มาจากส่วนไหนของเมืองอิรัก ”

ข้าพเจ้าตอบว่า “ จากกูฟะฮฺ ”

ท่านกล่าวว่า “ ยินดีต้อนรับชาวเมืองกูฟะฮฺ ”

ข้าพเจ้าได้กล่าวกับท่านว่า “ ประชาชนต่างพากันสับสนกับพวกเราในเรื่องที่ว่าใครมีเกียรติกว่ากัน ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงได้เดินทางเรียนถามท่านเกี่ยวกับเรื่องนี้ ”

ท่านได้กล่าวกับฉันว่า “ ฉันจะไม่บอกเล่าเรื่องใด นอกจากเท่าที่หูสองข้างของฉันได้ยินมาและที่หัวใจของฉัดจดจำไว้และที่ตาสองข้างของฉันเคยได้เห็น ครั้งหนึ่งท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ( ศ) ได้ออกมาพบพวกเราจนฉันมองเห็นท่านชัดเจน เหมือนมองเห็นเธอในขณะนี้ ท่าน (ศ) แบกท่านฮุเซนไว้บนบ่าจนฉันมองเห็นฝ่ามืออันบริสุทธิ์ของท่านรองรับส้นเท้าท่านฮุเซนไว้ ขณะที่ท่าน ( ศ)อุ้มแนบติดทรวงอก ท่าน(ศ)ได้กล่าวว่า “ ประชาชนทั้งหลาย แน่นอนฉันรู้ซึ้งถึงเรื่องราวที่พวกท่านจะขัดแย้งกันในเรื่องความประเสริฐของบุคคลหนึ่ง นี่คือฮุเซน บุตรของอะลี คือผู้ประเสริฐที่สุดทั้งสายตาและยาย ตาของเขาคือมุฮัมมัด ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ประมุขของบรรดานบี ยายของเขาคือค่อดีญะฮฺ บินติคุวัยลิด เป็นสตรีระดับนำคนหนึ่งในสากลโลกในเรื่องการมีศรัทธาต่ออัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์

ฮุเซน บุตรของอะลีคนนี้ประเสริฐที่สุดทั้งสายบิดา และประเสริฐที่สุด

ทั้งสายมารดา บิดาของเขาคือ อะลี บินอะบีฏอลิบ พี่น้องของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ เป็นผู้ร่วมภารกิจและเป็นบุตรแห่งลุงของศาสดา เป็นบุรุษระดับแนวหน้าคนหนึ่งในสากลโลกในเรื่องการมีศรัทธา

มารดาของเขาคือฟาฏิมะฮฺ บินติมุฮัมมัด ประมุขของเหล่าสตรีในสากลโลกฮุเซนบุตรของอะลีคนนี้เป็นผู้ประเสริฐที่สุดทางสายลุงและสายป้า ลุงของเขาคือญะอฺฟัร บินอะบีฏอลิบ ผู้มีปีกอันงดงามซึ่งจะโบยบินในสวนสวรรค์ ป้าของเขาคืออุมมุฮานี บินติอะบี ฏอลิบ

ฮุเซนบุตรของอะลีคนนี้ เป็นผู้ประเสริฐที่สุดทางสายน้าผู้ชายและน้าผู้หญิง น้าชายของเขาคือกอซิมบุตรของมุฮัมมัดศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ

น้าผู้หญิงของเขาคือ ซัยนับบุตรีของมุฮัมมัด ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ

หลังจากนั้นท่านได้ขยับอิมามฮุเซนมาอุ้มไว้เบื้องหน้าแล้วแสดงความดีใจ โดยกล่าวว่า

“ ประชาชนทั้งหลาย ฮุเซน บุตรของอะลีผู้นี้ ตาและยายของเขาจะอยู่ในสวรรค์ บิดาและมารดาของเขาจะอยู่ในสวรรค์และจงรู้ไว้ว่า ไม่มีเชื้อสายของบรรดานบีคนใดที่ได้รับความโปรดปรานเหมือนอย่างที่ถูกประทานให้แก่ฮุเซน บุตรของอะลี นอกจากยูซุฟ บุตรของนบียะอฺกูบเท่านั้น ” ( 5)

(5) ตารีดอิบนุอะซากิร เล่ม 4 หน้า 320

ข้อบัญญัติเรื่องตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ ของท่านฮุเซน บินอฺะลี(อฺ)

บรรดานักปราชญ์ของเราได้รวบรวมข้อบัญญัติต่างๆ ของท่านศาสนทูตผู้ทรงเกียรติ(ศ)ที่มีไว้สำหรับบรรดาอิมาม(อฺ)ดังที่มีปรากฏในตำรามากมายหลายเล่ม บางครั้งจะพบว่าท่านศาสนทูต ( ศ) จะกล่าวถึงชื่อของท่านเหล่านั้น (อฺ) โดยรวม แต่บางครั้งท่าน (ศ) ก็จะกล่าวถึงชื่อของบางคน

บางครั้งท่าน(ศ)ก็ได้แนะนำในเรื่องของท่านเหล่านั้น(อฺ)ในเล่มแรกเกี่ยวกับเรื่องอิมามอะลี(อฺ)นั้น

เราได้ยกฮะดีษจำนวน 44 บทที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้วางไว้เป็นข้อบัญญัติเกี่ยวกับบรรดาอิมาม(อฺ) ซึ่งเราได้นำมาจากตำราอ้างอิงหลายเล่ม ในบทนี้ เราจะนำบางส่วนมาเสนอเฉพาะที่เกี่ยวกับท่านอิมามอะบูอับดุลลอฮฺ อัล-ฮุเซน(อฺ) จากบิดาของท่าน(ศ)คือท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ) และพี่ชายของท่าน(อฺ) คือท่านอิมามฮะซัน(อฺ)

ข้อบัญญัติ

เรื่องที่ 1

ในคำสั่งเสียตอนหนึ่งที่ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ)มีไปยังท่านอิมามฮะซัน(อฺ)บุตรของท่าน(อฺ)ความว่า

“ โอ้ลูกเอ๋ย ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ มีบัญชาให้ฉันสั่งเสียแก่เจ้าและให้มอบหนังสือและดาบของฉันแก่เจ้า เช่นเดียวกับที่ท่านได้สั่งเสียแก่ฉันและมอบหนังสือและดาบของฉันแก่เจ้า

เช่นเดียวกับที่ท่านได้สั่งเสียแก่ฉันและมอบหนังสือและดาบของท่านแก่ฉัน และท่านยังสั่งฉันว่าให้สั่งเจ้าว่าเมื่อเจ้าใกล้จะถึงความตาย ให้เจ้ามอบมัน ต่อไปยังฮุเซนน้องชายของเจ้า ” ( 1)

(1) บิฮารุล-อันวาร เล่ม 10 หน้า 89

ข้อบัญญัติ

เรื่องที่ 2

ท่านอะลี บินยุนุซ อัล-อามิลี ได้รายงานไว้ในหนังสือ ‘ ศิรอฏ็อล-มุซตะกีม ’ ว่า ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน (อฺ) ได้บัญชาไว้แก่ท่านอิมามฮุเซน (อฺ) เช่นเดียวกับที่มีต่อท่านอิมามฮะซัน (อฺ) เขาได้รายงานว่า

“ แท้จริงท่านฮะซันได้สั่งเสียแก่น้องชายเมื่อคราวที่ท่านจวนจะถึงแก่

กรรม และได้มอบหมายพันธะอันสำคัญของท่านนบีและสัญญาเรื่องตำแหน่งอิมาม และแนะนำบรรดาชีอะฮฺของท่านให้ยอมรับตำแหน่ง

ค่อลีฟะฮฺ และแต่งตั้งท่านไว้ให้เป็นผู้นำทางวิชาการในภายหลัง ซึ่งเรื่องนี้ได้มีขึ้นอย่างเปิดเผยโดยมิได้ปิดบังอำพรางแต่อย่างใด ” ( 2)

**********

ข้อบัญญัติ

เรื่องที่ 3

คำสั่งเสียบางตอนของท่านอิมามฮะซัน(อฺ)ที่มีต่อท่านมุฮัมมัด บินฮะนะฟียะฮฺ น้องชายของท่าน(อฺ)ใกล้จะถึงแก่กรรมมีใจความว่า

“ โอ้ มุฮัมมัด บินอะลี เจ้ารู้หรือไม่ว่า ภายหลังจากที่ฉันถึงแก่กรรมและวิญญาณของฉันออกจากร่างแล้ว ฮุเซน บุตรของอะลี จะเป็นอิมามภายหลังจากฉัน ณ. อัลลอฮฺในคัมภีร์แต่ยุคอดีตถือว่า มรดกของนบีนั้นเชื่อมโยงมาแต่มรดาของบิดาและมารดาของท่าน อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงรับรู้ว่าพวกเจ้าเป็นมนุษย์ที่ดีเลิศของพระองค์ ดังนั้นทรงคัดเลือกศาสดามุฮัมมัดมาจากหมู่พวกเจ้าและศาสดามุฮัมมัด ก็ได้คัดเลือกท่านอะลี และท่านอะลีก็ได้คัดเลือกฉันเป็นอิมาม และฉันก็ได้คัดเลือกฮุเซน ....” ( 3)

(2) อิษบาตุล-ฮุดา เล่ม 5 หน้า 173

(3) บิฮารุล-อันวาร เล่ม 10 หน้า 140

ข้อบัญญัติ

เรื่องที่ 4

ท่านชัมซุดดีน มุฮัมมัด บินเฏาลูน ได้กล่าวว่า

“ ท่านอิมามฮะซันได้ทำการสั่งเสียไว้แก่อิมามฮุเซนผู้เป็นน้องชาย ” ( 4)

(4) อัล-อะอิมมะตุลอิษนาอะชัร หน้า 65

อิบาดะฮฺอันยิ่งใหญ่ของอิมามฮุเซน(อฺ)

บทนี้เราจะกล่างถึงเรื่องการทำอิบาดะฮฺของประมุขบรรดาชุฮะดาอ์ กล่าวคือชีวิตทุกส่วนของท่านอิมามฮุเซน(อฺ) นั้นล้วนเป็นอิบาดะฮฺ เป็นการเคารพภักดีทั้งสิ้น วันเวลาทั้งหมดของท่าน(อฺ)ล้วนแต่ติดต่อสัมพันธ์กับอัลลอฮฺ (ซ.บ.)และอยู่ในหนทางของพระองค์

ฉะนั้นเมื่อเราจะกล่าวถึงเรื่องการนมาซการบำเพ็ญตนและการทำฮัจญ์ของท่าน(อฺ)ก็ขอให้เราสรุปด้วยเรื่องราวของชายคนหนึ่งที่ทำนมาซในวันกับคืนหนึ่งๆ จำนวน 1 , 000 ร็อกอะฮฺ ทำฮัจญ์ทุกปีโดยเดินทางด้วยเท้า ตลอดจนด้านอื่นๆ ในลักษณะนี้ของอิบาดะฮฺทั้งหลาย

เราจะกล่าวถึงเรื่องราวบางประการที่บรรดานักประวัติศาสตร์เคยกล่าวถึงการทำอิบาดะฮ์ของท่านอิมามฮุเซน(อฺ)

- 1-

ท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ทำฮัจญ์จำนวน 25 ครั้ง ท่าน(อฺ)เดินทางไปยังฮะร็อมด้วยเท้า เคียงข้างด้วยพาหนะติดตามท่าน(1)

- 2-

ในแต่ละวันกับคืนหนึ่งๆ ท่านนมาซถึง 1 , 000 ร็อกอะฮฺ (2)

-3-

จากท่านอะนัซ บินมาลิก(ร.ฏ.) ได้กล่าวว่า

ฉันเคยออกเดินทางกับท่านอิมามฮุเซน(อฺ) ครั้นเมื่อไปถึงสุสานของท่านหญิงค่อดีญะฮฺ ( ร.ฏ.) ท่าน (อฺ) ก็ร้องไห้ แล้วสั่งว่า

“ โอ้ อะนัซเอ๋ย ท่านออกไปก่อนเถิด ”

ท่านอะนัซเล่าว่า แล้วฉันก็ปลีกตัวออกไปจากท่าน(อฺ) ขณะนั้นท่าน(อฺ)ยืนนมาซอยู่เป็นเวลานานมาก ฉันได้ยินท่าน(อฺ)กล่าววิงวอนว่า

“ โอ้พระผู้อภิบาล โอ้พระองค์ผู้ทางเป็นนาย โปรดเมตตาต่อบ่าวของพระองค์ที่มอบตัวด้วยเถิด

(1) มะฏอลิบุซซุอูล เล่ม 2 หน้า 28 , อะสะดุล-ฆอบะฮฺ เล่ม 2 หน้า 120

(2) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ เล่ม 1 หน้า 124

(3)

โอ้พระผู้ทรงสูงสุด ข้าขอผูกมัดตัวไว้กับพระองค์ ขอความผาสุกพึงมีแด่ผู้ซึ่งมีพระองค์เป็นนายด้วยเถิด.... ” ( 3)

-4-

มีคนเคยถามท่านอิมามอะลี บินฮุเซน(อฺ)ว่า

“ ทำไมบิดาของท่านจึงมีบุตรน้อยเหลือเกิน ?”

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“ ท่านจะมีบุตรหลายๆ คนได้อย่างไรกัน ในเมื่อทุกวันและคืน ท่านทำนมาซถึง 1 , 000ร็อกอะฮฺ แล้วท่านจะมีเวลาเข้าหาภรรยาได้เมื่อไหร่ ” ( 4)

*********

- 5-

เมื่อครั้งที่ อิบนุซะอัด ได้เข้าล้อมกรอบท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ในคืนที่เก้าเดือนมุฮัรร็อมนั้น

ท่านอิมาม(อฺ)ได้สั่งให้ท่านอับบาซ น้องชายของท่าน(อฺ)ไปพบกองทหารฝ่ายตรงข้าม โดยกล่าวกับท่านอับบาซว่า

“ เจ้าจงไปบอกพวกเขาเถิดว่า ถ้าหากอดใจได้ก็ขอให้รอไปจนถึงวันพรุ่งนี้และให้พวเกเขาให้โอกาสแก่พวกเราในคืนนี้ เพื่อให้เราได้ทำนมาซต่อพระผู้เป็นเจ้า ขอพรและขออภัยโทษต่อพระองค์ทั้งคืน เพราะพระองค์ทรงรู้ดีว่าฉันรักการทำนมาซ รักการอ่านอัล-กุรอานและรักการขอดุอาอ์ และกล่าวคำอิซติฆฟารมากๆ “( 5)

(4) บิฮารุล-อันวาร เล่ม 10 หน้า 144

(5) อัล-อุกดุล-ฟะรีด เล่ม 4 หน้า 384 , บิหารุล-อันวาร เล่ม 10 หน้า 145

(6) ญะลาอุล-อุยูน เล่ม 2 หน้า 167

วิถีชีวิตของอิมามฮุเซน บินอฺะลี (อฺ)

ท่านอิมามฮุเซน(อฺ)เป็นผู้ที่มีจริยธรรมตามแบบอย่างของนบีมุฮัมมัด(ศ)และมีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบเหมือนท่านอะลี(อฺ)เป็นผู้ได้รับมรดกทางด้านคุณงามความดีและเกียรติยศมาจากท่านตาและบิดาของท่านโดยที่ได้รับเอาแบบอย่างอันสูงส่งมาจากบุคคลทั้งสอง

เราถือว่าเราอยู่ในช่วงเวลาที่จำเป็นจะต้องยึดถือเอาวิถีชีวิตของท่านอิมามฮุเซน(อฺ)มาปฏิบัติเพื่อปรับเปลี่ยนสภาพสังคมอันเลวร้ายของเราให้หวนกลับสู่สภาพที่ดีเลิศสำหรับเราในอนาคต

ในบทนี้ เราจะกล่าวถึงเรื่องราวบางส่วนที่ได้มีการบันทึกไว้เกี่ยวกับวิถีชีวิตของอิมามฮุเซน ( อฺ)

วิถีชีวิตที่ 1.

ท่านอะนัซ(ร.ฏ.)เล่าว่า ข้าพเจ้าได้เคยอยุ่ร่วมกับท่านอิมามฮุเซนเมื่อครั้ง ที่สาวใช้คนหนึ่งได้เข้ามาหาท่านและแสดงความคารวะให้สลามท่านพร้อมด้วยเหยือกน้ำอันโอชารส ท่านจึงได้กล่าวกับนางว่า

“ บัดนี้ เธอได้รับการปล่อยให้เป็นอิสระต่อเบื้องพระพักตร์แห่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.)แล้ว ”

ข้าพเจ้าได้กล่าวขึ้นว่า

“ นางแสดงความคารวะท่านด้วยน้ำอันโอชารสเหยือกหนึ่งไม่ถึงกับทำให้นางเดือดร้อนแต่ประการใด ทำไมท่านจึงปล่อยนางให้เป็นอิสระด้วย ?”

ท่านกล่าวว่า

“ อย่างนี้แหละที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสอนเรา อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตรัสว่า

“ และเมื่อพวกเท่านได้รับการแสดงคารวะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้นจงได้คารวะตอบด้วยการกระทำที่ดีกว่านั้นหรือให้ตอบแทน ”

( อัน-นิซาอ์: 86)

และการกระทำที่ดีกว่านั้น คือ การปลดปล่อยนางให้เป็นอิสระ ” ( 1)

********

(1) กัชฟุล-ฆ็อมมะฮฺ หน้า 184 , อัล-ฟุศูลุล-มุฮัมมะฮฺ หน้า 159

วิถีชีวิตที่ 2.

ครั้งหนึ่งคนรับใช้ของท่าน(อฺ)กระทำผิดอย่างหนึ่งซึ่งมีโทษที่ท่าน(อฺ) จำเป็นต้องสั่งให้เฆี่ยน แต่เขาร้องว่า

“ โอ้นายข้า อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ตรัสว่า :

“ และบรรดาผู้ที่ข่มความโกรธไว้ได้..... ”

( อาลิอิมรอน: 134)

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ จงปล่อยเขา ”

คนรับใช้พูดต่อไปอีกว่า

“ พระองค์ตรัสว่า

“ และบรรดาผู้ให้การอภัยต่อปวงมนุษย์..... ”

( อาลิอิมรอน: 134)

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ บัดนี้ฉันให้อภัยแก่เจ้าแล้ว ”

คนรับใช้พูดอีกว่า

“ โอ้นายของข้าพระองค์ตรัสว่า

“ แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักบรรดาผู้ประพฤติการดี ”

( อาลิอิมรอน: 148)

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ บัดนี้ เจ้าเป็นอิสระแล้วต่อหน้าพระพักตร์ของอัลลอฮฺ และสำหรับเจ้าจะได้รับเพิ่มอีกเท่าหนึ่งจากที่ข้าเคยให้แก่เจ้า ” ( 2)

**********

(2) กัชฟุล-ฆ็อมมะฮฺ หน้า 184 , อัล-ฟูศูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า 159

วิถีชีวิตที่ 3.

เมื่อครั้งที่มุอาวียะฮฺได้เดินทางเข้ามายังเมืองมักกะฮฺ เขาได้จัดส่งทรัพย์สินเป็นจำนวนมากให้แก่ท่านอิมามฮุเซน(อฺ)มีทั้งเสื้อผ้า อาภรณ์อย่างครบครันท่านได้ส่งของทั้งหมดนั้นกลับคืนไปโดยที่ไม่ยอมรับอะไรเลย

นี่คือการแสดงออกให้เห็นถึงความเป็นคนประเสริฐเป็นคนรักษาเกียรติ

และมีคุณค่าอันสูงส่งและเป็นคุณสมบัติประการหนึ่งของผู้มีจริยธรรมอันดีเลิศ และเป็นคน มีไหวพริบที่ดีเยี่ยม (3)

(3) นัฟซุล-มะฮฺมูม หน้า 12 , มะฏอลิบุสสุอูล เล่ม 2 หน้า 28 ,

อัล-ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า 159

วิถีชีวิตที่ 4.

บุตรชายคนหนึ่งของท่าน(อฺ)ได้เสียชีวิตลง ท่าน(อฺ)ตัดสินใจไม่ยอมดูเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น จนมีคนตำหนิท่าน(อฺ)ในเรื่องนี้ แต่ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ แท้จริงพวกเราอะฮฺลุลบัยตฺ เมื่อเราขออะไรจากอัลลอฮ์(ซ.บ.)พระองค์ก็จะทรงประทานให้แก่เรา ฉะนั้นเมื่อพระองค์ทรงประสงค์สิ่งที่เราไม่ต้องการในสิ่งที่เรารัก เราก็พอใจ ” ( 4)

(4) อัซอาฟุร-รอฆิบีน ภาคผนวกหนังสือ นูรุล-อับศอร หน้า 183

**********

วิถีชีวิตที่ 5.

ท่านมัซอะดะฮฺ ได้กล่าวว่า :

ครั้งหนึ่งท่านอิมามฮุเซน(อฺ) เดินผ่านคนยากจนเข็ญใจกลุ่มหนึ่งปรากฏว่าท่านทอดตัวลงปูผ้าคลุมให้พวกเขา พวกเขานำขนมปังออกมาแบ่งปันให้แก่ท่านโดยกล่าวว่า

“ เชิญรับเถิด ท่านผู้เป็นบุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ”

ท่าน(อฺ)ลดตัวลงนั่ง แล้วร่วมรับประทานกับพวกเขา แล้วกล่าวว่า

“ แท้จริงพระองค์ไม่ทรงรักบรรดาผู้หยิ่งผยอง ”

( อัน-นะฮฺลุ: 23)

ต่อจากนั้นท่าน(อฺ)ก็กล่าวอีกว่า

“ บัดนี้ฉันรับคำเชื้อเชิญของพวกท่านแล้ว ฉะนั้นพวกท่านจงตอบรับคำเชิญของฉันบ้าง ”

พวกเขากล่าวว่า

“ ตกลง โอ้บุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ”

พวกเขาก็ได้ลุกขึ้นเดินไปกับท่าน(อฺ) เมื่อไปถึงยังบ้านแล้ว ท่านก็ได้กล่าวกับคนรับใช้ว่า

“ จงนำสิ่งของที่พวกเจ้าเก็บสะสมไว้ออกมาซิ ” ( 5)

วิถีชีวิตที่ 6.

ในวันอาชูรออ์ ท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ได้สั่งให้พรรคพวกของท่านจุดไฟในบริเวณคูกั้นด้านหลังกระโจมที่พัก เพื่อให้สถานที่รบมีอยู่เพียวด้านเดียวและให้กระโจมที่พักปลอดภัยจากการถูกบุกเข้าจู่โจมชาวเมืองกูฟะฮฺที่อยู่ตามบ้านเรือนต่างก็ได้แลเห็นกองไฟที่ติดอยู่ในหลุม ดังนั้นชิมฺร จึงได้ร้องตะโกนขึ้นว่า

“ โอ้ฮุเซน เจ้าเร่งจุดไฟเผาตัวเองก่อนจะถึงวันกิยามะฮฺหรือ ?”

ท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ถามว่า

“ นั่นเป็นใคร ? ดูเหมือนจะใช่ชิมฺร บุตรของซีเญาชัน ”

มีคนบอกว่า

“ ใช่แล้ว ”

ท่านอิมาม(อฺ)จึงกล่าวว่า

“ โอ้บุตรของคนเลี้ยงแกะเอ๋ย เจ้านั่นแหละจะมีสิทธิลงนรก ก่อนเข้า ”

ชายคนหนึ่งมีชื่อว่า มุสลิม บินเอาซะญะฮฺ ต้องการจะยิงธนูใส่ไปยังชิมฺร แต่ท่านอิมาม(อฺ)กลับทัดเขาไว้ พลางกล่าวว่า

“ ฉันไม่อยากเป็นฝ่ายเริ่มก่อสงครามก่อนพวกเขา ” ( 6)

วิถีชีวิตที่ 7.

มีคนพบรอยแผลเป็นบนหลังของท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ในวันโศกนาฏกรรม ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน(อฺ)ถูกลามถึงรอยแผลนี้

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“ นี่คือรอยแผลอันเกิดจากการที่ท่านแบกแป้งสาลีใส่กระสอบเพื่อนำไปแจกจ่ายตามบ้านเรือนของหญิงหม้าย ลูกกำพร้า และคนยากจนเข็ญใจ ” (7)

(5) บิฮารุล-อันวาร เล่ม 10 หน้า 143

(6) มักตัลฮุเซน ของมุก็อรร็อม หน้า 253

(7) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ เล่ม 1 หน้า 132

การบำเพ็ญคุณธรรมและความเผื่อแผ่ของอิมามที่ 3

ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของท่านอิมามฮุเซน(อฺ) ประมุขของบรรดาชะฮีดนั้น นับเป็นเรื่องที่บรรดานักประวัติศาสตร์และนักรายงานฮาดีษและบรรณานุกรม ต่างๆได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ฉะนั้นเมื่อมีการกล่าวถึงท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ก็จะมีการนำเอาคุณงานความดี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

ความสุภาพอ่อนโยนของท่าน(อฺ)มารายงานกันอย่างมากมายซึ่งในเรื่องเหล่านี้มิใช่เป็นเรื่องแปลก

เพราะท่าน(อฺ)คือบุตรของท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ)ผู้ซึ่งถ้าหากว่ามีบ้านอยู่สองหลัง หลังหนึ่งทำด้วยทองคำ อีกหลังหนึ่งทำด้วยอิฐธรรมดา แน่นอนท่าน(อฺ)จะต้องบริจาคบ้านหลังที่ทำด้วยทองคำก่อนเป็นอันดับแรก (1)

ในบทนี้ จะเสนอเรื่องราวบางประการที่เกี่ยวกับคุณงามความดีและความเผื่อแผ่ของท่านอิมามฮุเซน(อฺ)

- 1-

ท่านอะบูอับดุรเราะฮฺมาน อับดุลลอฮฺ บินฮะบีบ อัซ-ซิลมี ได้สอนซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺให้แก่ บุตรชายคนหนึ่งของท่านอิมามฮุเซน(อฺ) ครั้นเมื่อเขาได้กลับไปอ่านให้ผู้เป็นบิดาฟัง ท่าน(อฺ)ก็ได้มอบเงินจำนวน 1 , 000 ดีนารให้แก่ท่านอับดุรเราะฮฺมาน อีกทั้งยังไมอบเพชรนิลจินดาและเครื่องใช้

อีกมากมายจนกระทั่งมีคนพูดกันถึงเรื่องนี้ว่าท่าน(อฺ)ให้การตอบแทนมากไป

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ ไหนเลยจะทัดเทียมกับที่เขามอบให้ (หมายถึงการสอน) ”

- 2-

มีชาวอาหรับคนหนึ่งมาหาท่านอิมามฮุเซน(อฺ)แล้วกล่าวว่า

“ โอ้บุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ฉันเองมีหนี้สินอยู่จำนวนหนึ่งและสุดความสามารถที่จะชดใช้คืนได้ ฉันจึงบอกกับตัวเองว่าจำเป็นจะต้องถามหาคนที่เผื่อแผ่ที่สุด แต่ก็ไม่เห็นใครจะเอื้อเฟื้อได้มากกว่าผู้เป็นบุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ”

(1) เป็นคำพูดประโยคหนึ่งของมุอาวียะฮฺ ในเรื่องของท่านอิมามอะลี (อฺ) ดังที่มีการนำมาอ้างไปแล้วในหนังสือชุดที่หนึ่ง

ท่านอิมามฮุเซน(อฺ)กล่าวว่า

“ โอ้พี่น้องอาหรับเอ๋ย ฉันจะตั้งคำถามถามท่านสามประการ ถ้าหากท่านตอบได้หนึ่งข้อ ฉันจะมอบเงินให้ท่านสองในสาม และถ้าหากท่านตอบได้หมดทุกข้อ ฉันก็จะมอบให้ท่านตามจำนวนเงินทั้งหมด ”

ชาวอาหรับกล่าวว่า

“ โอ้บุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ คนอย่างท่านหรือจะตั้งคำถามคนอย่างข้าพเจ้า ตัวท่านเองเป็นถึงคนที่เยี่ยมยอดด้วยวิชาความรู้ ?”

ท่านอิมาม(อฺ)กล่าวว่า

“ ใช่แล้ว แต่ฉันเองเคยได้ยินท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ตาของฉันกล่าวว่า การทำความดีนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณของการมีความรู้ ”

ชาวอาหรับคนนั้นกล่าวว่า

“ ถ้าเช่นนั้น ขอให้ท่านถามฉันมาเถิด ถ้าฉันตอบถูกก็ดีไปแต่ถ้าตอบไม่ได้ ก็จะได้เรียนรู้จากท่านอีก ไม่มีพลังใดๆ นอกจากโดยการอนุมัติของอัลลอฮฺ ”

ท่านอิมาม(อฺ) : “ งานอะไรที่ถือว่าประเสริฐที่สุด ?”

ชาวอาหรับ : “ ความศรัทธาที่มีต่ออัลลอฮฺ ”

ท่านอิมาม(อฺ) : “ อะไรคือสิ่งที่ทำให้ปลอดภัยจากความเสียหาย ?”

ชาวอาหรับ : “ การมีความยึดมั่นต่ออัลลอฮฺ ”

ท่านอิมาม(อฺ) : “ อะไรคือเครื่องประดับของผู้ชาย ?”

ชาวอาหรับ : “ ความรู้อันควบคู่ด้วยความสุขุม ”

ท่านอิมาม(อฺ) : “ ถ้าหากฉันจะว่าเธอตอบผิด ?”

ชาวอาหรับ : “ ทรัพย์สินอันควบคู่ด้วยความเผื่อแผ่ ”

ท่านอิมาม(อฺ) : “ ถ้าฉันจะว่าเธอตอบผิด ?”

ชาวอาหรับ : “ ความจนอันควบคู่กันความอดทด ”

ท่านอิมาม(อฺ) : “ ถ้าหากฉันจะว่าเธอตอบผิด ?”

ชาวอาหรับ : “ สายฟ้าแลบฟาดลงมาจากฟากฟ้า แล้วแผดเผาทำลายมันเพราะมันควรจะได้รับเช่นนั้น ”

ท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ถึงกับปล่อยเสียงหัวเราะออกมา พร้อมกับมอบเงินจำนวน 1 , 000 ดีนาร ให้เขาไป อีกทั้งยังได้มอบแหวนของท่าน(อฺ)ซึ่งมีราคาสองร้อยดิรฮัมแก่เขาไปด้วย แล้วกล่าวว่า

“ โอ้ชาวอาหรับเอ๋ย จงมอบทองเหล่านี้ให้แก่เจ้าหนี้ของท่านเถิด ส่วนแหวนนั้น ให้เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวของท่าน ”

ชาวอาหรับได้รับเอาสิ่งของเหล่านั้น แล้วกล่าวว่า

“ อัลลอฮฺทรงมอบรู้ว่าจะประทานสาส์นของพระองค์ไว้ ณ ที่ใด ” ( 2)

- 3-

ท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ได้เข้าพบท่านอุซามะฮฺ บินซัยดฺ ในขณะที่เขากำลังป่วยอยู่ เขากล่าวรำพึงด้วยความกลุ้มใจ

ท่านอิมาม(อฺ)ถามว่า

“ โอ้พี่ชายเอ๋ย ท่านกลุ่มใจด้วยเรื่องอันใด ?”

ท่านอุซามะฮฺตอบว่า

“ ฉันมีหนี้สินจำนวน 60 , 000 ดิรฮัม ”


3

4

5

6

7

8

9

10