ชีวประวัติอิมามฮุเซน

ชีวประวัติอิมามฮุเซน0%

ชีวประวัติอิมามฮุเซน ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน

ชีวประวัติอิมามฮุเซน

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 51661
ดาวน์โหลด: 3226


รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามฮุเซน ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 149 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 51661 / ดาวน์โหลด: 3226
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามฮุเซน

ชีวประวัติอิมามฮุเซน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

พินัยกรรม : แบบชี้นำการต่อสู้ของอิมามฮุเซน(อฺ)ต่ออำนาจอธรรม

ในบทนี้เราขอเสนอพินัยกรรม คำสั่งเสียต่างๆ ที่ถูกคัดเลือกแล้วของท่านอิมามฮุเซน(อฺ)แสดงให้เห็นว่าบทบาทชีวิตอีกด้านหนึ่งของท่านอิมาม

ฮุเซน(อฺ)นั้นท่าน(อฺ)ทำหน้าที่ชี้นำ สั่งสอนคนในสังคมอิสลามขณะเดียวกันส่วนหนึ่งของมันก็มีความเกี่ยวพันกับการต่อสู้อันสุดแสนประเสริฐ

เป้าหมายของท่าน(อฺ)มีความสูงส่งในแง่ของการต่อสู้อย่างเด็ดเดี่ยวกับอำนาจที่อธรรม ดังที่เราจะกล่าวถึงต่อไปนี้

พินัยกรรม

ฉบับที่ 4

คำสั่งเสียของท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ที่มีต่อท่านหญิงอากีละฮ์(ซัยนับ)น้องสาวของท่าน(อฺ)ซึ่งท่าน(อฺ)ได้ให้ไว้ในคืนอาชูรออ์

“ โอ้น้องรัก เธอจงยำเกรงต่ออัลลอฮฺ และจงเศร้าเสียใจด้วยความเศร้าเสียใจเพื่ออัลลอฮฺ เธอจงรู้ไว้ว่าในโลกนี้มนุษย์ทุกคนจะต้องตายและผู้ที่อยู่บนชั้นฟ้าก็จะไม่ยืนยงคงอยู่ ทุกสิ่งจะต้องดับสลายนอกจากพระองค์เท่านั้น ซึ่งได้ทรงสร้างสรรสรรพสิ่งมาด้วยเดชานุภาพของพระองค์ ทรงให้มวลสรรพสิ่งบังเกิดมาแล้วกลับคืนไป ทรงเป็นผู้ทรงเอกะ ตาของฉันย่อมประเสริฐกว่าฉันบิดาของฉันก็ประเสริฐกว่าฉัน มารดาของฉันก็ประเสริฐกว่าฉัน พี่ชายของฉันก็ประเสริฐกว่าฉัน สำหรับฉันและมวลมุสลิมทุกคนต้องถือท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)เป็นแบบอย่าง

โอ้น้องสาวที่รัก ฉันได้เคยสาบานกับเธอมาแล้ว และฉันกำลังทำตามคำสาบานอย่าฉีกทึ้งเสื้อผ้าเพราะเศร้าใจกับฉัน อย่างข่วนขีดใบหน้าเพราะเศร้าใจกับฉัน และอย่างอ้างถึงฉันว่าได้รับความวิบัติและต่ำต้อยเมื่อฉันเสียชีวิตไปแล้ว ” ( 4)

***********

พินัยกรรม

ฉบับที่ 5

คำสั่งเสียของท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ที่ให้ไว้แก่ลูกชายของท่าน คือท่านอะลี บินฮุเซน(อฺ) ความว่า

“ โอ้ลูกเอ๋ย เจ้าจงระวังในเรื่องความอธรรมกับคนที่ไม่มีทางเอาชนะเจ้าได้ นอกจากอัลลอฮฺ ” ( 5)

สาส์น : เหตุการตัดสินใจของอิมามฮุเซน(อฺ)

สาส์นสามฉบับที่ท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ได้เขียนขึ้นฉบับแรกท่านเขียนส่งไปให้มุอาวิยะฮฺ บิน อะบีซุฟยาน สาส์นฉบับนี้ได้ทำให้เราเห็นภาพของความจริงที่ประชาชาติอิสลามได้ประสบกับการกดขี่ทารุณ ตลอดสมัยการครองอำนาจของวงศ์อุมัยยะฮฺผู้อธรรม ส่วนสองฉบับหลังเป็นสาส์นที่ท่าน

อิมามฮุเซน(อฺ)เขียนส่งไปยังชาวเมืองกูฟะฮฺซึ่งเป็นการตอบจดหมายของพวกเขาที่เขียนส่งไปให้ท่านอิมาม(อฺ)หลายฉบับ

สาส์นสองฉบับนี้เราสามารถจะเข้าใจเหตุผลการตัดสินใจของท่าน

อิมาม(อฺ)ในการเลือกเมืองกูฟะฮฺแทนที่จะเลือกเมืองอื่นๆ ของอาณาจักรอิสลามในการเดินทางเพื่อไปพำนัก คือท่าน(อฺ)จะไม่ยอมเดินทางไปที่นั่นจนกว่าท่าน(อฺ)จะได้เล็งเห็นถึงความพร้อมของคนที่จะให้การสนับสนุน ดังที่มีระบุไว้ในหนังสือของชาวกูฟะฮฺ

สาส์น

ฉบับที่ 1

สาส์นที่ท่านอิมามฮุเซน(อฺ)เขียนถึงมุอาวิยะฮฺ เพื่อตอบจดหมายที่เขาเขียนไปหาท่าน(อฺ) ดังนี้

“ จดหมายของท่านได้ส่งถึงฉันแล้ว ท่านได้กล่าวในจดหมายนั้นว่ามีเรื่องราวบางอย่างของฉันรู้ไปถึงท่านซึ่งท่านมีความรังเกียจ ส่วนฉันถือว่าคู่ควรแล้วกับสิ่งอื่นๆ นอกเหนือจากนั้นที่มีอยู่ในตัวท่าน เพราะความดีงามทั้งหลายมิอาจถูกชี้นำและมิอาจถูกปิดกั้นได้ นอกจากด้วยการอนุมัติของอัลลอฮฺ ส่วนเรื่องราวต่างๆ ที่ท่านกล่าวว่ามีจากฉันไปถึงท่านนั้น อันที่จริงบรรดาคนที่เข้าพบท่านกุขึ้นมาเท่านั้น มันเป็นการใส่ร้าย โดยคนติฉินนินทาฉันไม่ต้องการจะทำสงครามกับท่าน และไม่ต้องการจะทำการขัดแย้งกับท่านขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ว่าแท้จริงฉันกลัวอัลลอฮฺใน

การละทิ้งสิ่งนี้และฉันไม่คิดว่าอัลลอฮฺจะทรงพอพระทัยต่อการละทิ้งสิ่งนี้ และไม่มีการอุทธรณ์แก้ตัวใดๆ ในเรื่องนี้ต่อท่านและในบรรดามิตรสหายของท่านที่ปฏิเสธต่อองค์พระผู้เป็นเจ้า

อันเป็นพรรคที่อธรรมเป็นสหายของมารร้ายชัยฏอน ท่านมิใช่หรือที่เข่นฆ่าพี่ชายของกินดะฮฺอย่างทารุณทั้งๆที่เขาเป็นคนนมาซที่ภักดีซึ่งเป็นผู้ที่ปฏิเสธความอธรรม และสิ่งอุตริในศาสนาอีกทั้งมิได้กลัวการติเตียนใดๆ ในการต่อสู้ตามวิถีทางของอัลลอฮฺแล้วท่านได้เข่นฆ่าเขาเหล่านั้นด้วยอธรรม และ

เป็นศัตรูหลังจากที่ท่านได้แสดงความศรัทธาอันจอมปลอมต่อพวกเขา และทำสัญญาอย่างแข็งขันว่าจะไม่ถือโทษพวกเขาในเรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่างท่านกับพวกเขา หามีความจริงใจจากท่านไม่ที่จะมีต่อพวกเขาเลย หรือว่าท่านมิใช่คนที่สังหารอัมรฺ บิน อัล-ฮัก ศ่อฮาบะฮฺคนหนึ่งของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ผู้เป็นบาวที่มีคุณธรรม ซึ่งการอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺได้ทดสอบเขา จนเขาต้องสูญเสียเรือนร่างไป หลังจากที่ท่านเคยให้คำมั่นสัญญากับเขาด้วยการสาบานต่ออัลออฮฺว่าจะให้ความปลอดภัยแก่เขาหลังจากนั้นท่านได้สังหารเขาอย่างทารุณต่อพระผู้อภิบาลของท่านและเป็นการให้สัญญาที่แอบแฝงด้วยความหลอกลวง ท่านมิใช่หรือที่อ้างว่าซิยาด บุตรของซุมัยยะฮฺที่ถูกคลอดในบ้านของอุบัยดฺ ษะกีฟ ว่าเป็นลูกชายของบิดาของท่านเอง และท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)เคยกล่าวว่า ลูกที่เกิดมาอย่างผิดประเวณีนั้นย่อมเป็นสิทธิของเจ้าของบ้านแห่งนั้น ส่วนคนผิดประเวณีย่อมถูกลงโทษด้วยก้อนหิน แต่ท่านละทิ้งแบบอย่างของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ด้วยการมีเจตนา แล้วปฏิบัติตามอารมณ์ของท่านเองแทนที่จะตามการชี้นำของอัลลอฮฺ หลังจากนั้น ท่านก็บีบบังคับเขาอย่างทรมาณตัดมือและตัดเท้าของชาวมุสลิม ควักลูกตาของพวกเขา ตรึงพวกเขาไว้กับต้นอินทผลัมเหมือนกับว่าท่านมิได้เป็นส่วนหนึ่งของประชาชาตินี้และประชาชาตินี้ก็มิได้เป็นของท่านใช่หรือไม่ ท่านก็มิใช่ชาวฮัฏรอมัยนฺ ผู้ซึ่งอิบนุซุมัยยะฮฺเคยเขียนถึงพวกเขาว่า เป็นพวกที่ถือศาสนาเดียวกับอะลีซึ่งท่านได้เขียนจดหมายไปว่า “ จะต้องฆ่าคนที่ถือศาสนาเดียวกับอะลี ”

แล้วก็ได้มีการฆ่าพวกเขาและพวกที่ถือเหมือนกับพวกเขา ตามคำสั่งของท่าน สำหรับศาสนาที่อะลีนับถือนั้น ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ

นั่นคือ ศาสนาที่ได้ตีตราประทับบิดาของท่านและตัวท่านเอง ท่านได้นั่งอยู่บนที่นั่งของท่านขณะนี้เพราะศาสนานี้นั่นเอง หากไม่เช่นนั้นแล้ว ฐานะของท่านและบิดาของท่านก็จะถูกแบ่งเป็นสองสภาพ

ท่านได้พูดในข้อเดียวกับที่ฉันพูดว่า จงพิจารณาเพื่อตัวท่านเองและเพื่อศาสนาของท่านและเพื่อประชาชาติของมุฮัมมัด(ศ)และจงยำเกรงต่อการกระทำความชั่วแก่ประชาชาตินี้ และต่อการที่จะนำพวกเขาให้ย้อนกลับไปในความมัวหมอง ฉันเองยังไม่รู้เลยว่าความมัวหมองอันใดที่ไหนอีกที่จะยิ่งใหญ่กว่าการถืออำนาจปกครองที่ท่านมีต่อประชาชาตินี้และฉันยังมองไม่เห็นเลยว่าเพื่อตัวฉันและเพื่อศาสนาของฉัน และเพื่อประชาชาติของมุฮัมมัด(ศ)แล้วจะมีอะไรดีที่สุดสำหรับเรายิ่งกว่าการต่อสู้กับท่าน ดังนั้น ถ้าหากฉันทำก็เท่ากับได้ถวายตัวให้ใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺและถ้าหากฉันละทิ้งก็ถือเป็นบาปอย่างหนึ่งที่ฉันต้องขออภัยต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)และฉันขอวิงวอนจากพระองค์ให้ทรงประทานความสัมฤทธิ์ผลเพื่อการชี้นำแก่ภารกิจของฉัน

ท่านพูดในข้อเดียวกับที่ฉันพูดว่า แท้จริงเพราะฉันปฏิเสธท่าน ท่านจึงปฏิเสธฉัน เพราะว่าฉันวางแผนร้ายต่อท่าน ท่านจึงวางแผนร้ายต่อฉันขอให้วางแผนร้ายต่อฉันเถิด ไม่ว่าด้วยวิธีใดที่ท่านมี เพราะฉันเชื่อว่าแผนการของท่านจะไม่เกิดอันตรายแก่ตัวฉันได้เลย และจะไม่มีใครได้รับอันตรายจากมันยิ่งไปกว่าตัวของท่านเองเพราะว่าท่านอาศัยความโง่เขลาของท่านและปรารถนาที่จะบั่นทอนคำมั่นสัญญาของท่านเอง ขอสาบานได้ว่า ท่านไม่เคยทำตามคำสัญญาแต่ประการใด ท่านละเมิดสัญญาของท่านเองด้วยการสังหารพวกเขาเหล่านั้นที่ท่านได้สังหารไปแล้ว

หลังจากที่ได้มีการตกลงกันและสาบานกันแล้ว ท่านสังหารคนเหล่านั้น ทั้งๆ ที่พวกเขามิได้ต่อสู้ด้วยเลข ท่านมิได้กระทำอย่างนั้นกับพวกเขาเพราะเหตุอันใด นอกจากว่าพวกเขากล่าวถึงเกียรติยศของพวกเขา และเพราะว่าพวกเขาให้เกียรติต่อสิทธิของเรา ท่านฆ่าคนเหล่านั้น ด้วยความกลัวสิ่งหนึ่ง นั่นคือบางทีถ้าหากท่านไม่ฆ่าพวกเขาท่านจะต้องตายก่อนที่พวกเขาจะถูกกระทำ หรือพวกเขาจะต้องตายก่อนที่พวกเขาจะรู้ตัว ดังนั้น โอ้มุอาวิยะฮฺเอ๋ย จงรับรู้เรื่องการชำระความแค้นและจงเชื่อการตัดสินตอบแทน และจงรู้ว่าสำหรับอัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั้น ทรงมีบัญชีที่พระองค์ไม่ทรงละเว้นที่จะบันทึกไม่ว่าเรื่องเล็กน้อยหรือเรื่องใหญ่ พระองค์จะบรรทุกไว้หมดสิ้น อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ไม่ลืมการลงโทษที่ท่านกระทำไปด้วยความสงสัยและการฆ่าบรรดาปิยมิตรของพระองค์ที่เจ้ากระทำไปด้วย

การยัดเยียดข้อหาและการที่ท่าบังคับคนทั้งหลายให้ยอมรับบุตรชายของท่านซึ่งเป็นเด็กหนุ่ม สกปรก ดื่มสุรา เล่นกับสุนัข ฉันเองบอกอะไรให้ท่านรู้ไม่ได้ นอกจากอย่างเดียวนั่นคือท่านได้ทำลายตัวเอง และกำลังตัดขาดจากศาสนาของท่านเอง ท่านฉ้อฉลต่อหน้าที่ของท่าน ท่านลบล้างคำสัญญาของท่านท่านกำลังรับฟังคำพูดของคนโง่ แล้วท่านก็เลยหวาดกลัวคนที่นอบน้อม ยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้าเพราะคนเหล่านั้น ” วัสลาม (1)

(1) บิฮารุล-อันวาร เล่ม 10 หน้า 149

สาส์น

ฉบับที่ 2

สาส์นของท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ที่ส่งไปยังชาวเมืองกูฟะฮฺ

“ ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานีผู้ทรงเมตตาเป็นนิรันดร์จากฮุเซน บินอะลี ถึงผู้นำในหมู่ผู้ศรัทธาและมวลมุสลิมทั้งหลาย แท้จริงแล้วฉันมีความปลื้มใจและเป็นสุขกับจดหมายของพวกท่านเป็นอย่างยิ่ง และจากจดหมายฉบับล่าสุดของพวกท่านที่มายังฉันนั้น ได้ทำให้ฉันเข้าใจดีในสิ่งที่พวกท่านอธิบายและกล่าวถึงทุกประการ เกี่ยวกับคำพูดของพวกท่านที่ว่าพวกเรา ไม่ใช่อิมาม ดังนั้น ฉันจึงยอมรับ หวังว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงรวมพวกเรากับท่านไว้ด้วยสัจธรรมและการชี้นำแท้จริงฉันได้ส่งน้องชายและบุตรของลุงมายังพวกท่านและเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งจากครอบครัวของฉัน เขาคือมุสลิม บินอะกีล แท้จริงเขาได้เขียนจดหมายมาแจ้งแก่ฉันว่า ได้รวบรวมคนระดับแกนนำในหมู่พวกท่านไว้จำนวนหนึ่ง ซึ่งล้วนเป็นคนที่ได้รับความเชื่อถือและมีเกียรติในหมู่พวกท่านและตามที่ฉันได้รับรู้จากจดหมายของพวกท่านและได้อ่านดูแล้ว ฉันจึงตั้งใจที่จะเดินทางมายังพวกท่านอย่างรวดเร็ว อินชาอัลลอฮฺ ขอยืนยันว่าจะไม่มีอิมามนอกจากผู้ปกครองที่ใช้พระคัมภีร์ซึ่งดำรงไว้ด้วยความเที่ยงธรรมอันเป็นผู้ยึดถือหลักศาสนาอย่างแท้จริง โดยบังคับตนเองให้อยู่ในครรลองของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทุกประการ ” วัสลาม ( 2)

(2) อัล-อิรชาด หน้า 210

สาส์น

ฉบับที่ 3

สาส์นของท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ที่ส่งไปยังชาวกูฟะฮฺ พร้อมกับก็อยซฺบินมัซฮัร อัศ-ศ็อยดาวี

“ ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเป็นนิรันดร์จากฮุเซน บินอะลี ถึงพี่น้องผู้ศรัทธาและมวลมุสลิมทั้งหลายขอความสันติสุขพึงแก่พวกท่าน แท้จริงฉันขอสรรเสริญอัลลอฮฺผู้ซึ่งไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ เพื่อพวกท่าน แท้จริงจดหมายของมุสลิม บินอะกีล

ได้มีมาถึงฉันเขาได้แจ้งในจดหมายนั้นถึงเรื่องความดีงามของพวกท่าน และบอกว่าคนระดับแกนนำในหมู่พวกท่านร่วมมือกันเพื่อให้ความช่วยเหลือพวกเราและเรียกร้องเกี่ยวกับสิทธิของเรา ดังนั้นฉันจึงวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ว่าโปรดประทานความดีในกิจการงานให้แก่เรา และของพระองค์

ประทานรางวัลอันยิ่งใหญ่ให้แก่พวกท่าน และฉันตั้งใจเดินทางมาหาพวกท่านจากเมืองมักกะฮฺ ในวันอังคาร เดือนซุลฮิจญะฮฺ

(ช่วงเวลาในวันตัรวียะฮฺ) ดังนั้นเมื่อคนถือสาส์นของฉันมาถึงยังพวกท่าน ก็จงได้ปกปิดเรื่องของพวกท่าน ไว้เป็นความลับและฉันเองจะเดินทางมาพบพวกท่านในเร็ววันนี้อินชาอัลลอฮฺ ” วัสลาม ( 3)

(3) อัล-ฮุเซน ของท่านอะลี ญะลาล เล่ม 1 หน้า 196

สาส์น

ฉบับที่ 4

สาส์นของท่านอิมามฮุเซน(อฺ) ที่เขียนไปยังท่านอับดุลลอฮฺ บิน อับบาซ เมื่อครั้งที่อับดุลลอฮฺ บิน ซุบัยรฺ จับเขาเป็นเชลยไปยังเมืองฏออิฟ ดังนี้

“ ได้มีข่าวมาถึงฉันว่า บุตรของซุบัยรฺ จับท่านเป็นเชลยไปยังเมือง ‘ ฏอลิฟ ’ ขอให้อัลลอฮฺยกย่องท่านให้สูงส่งด้วยเถิด และขอให้ภาระอันหนักอึ้งของท่านถูกบรรเทาลง อันที่จริงบรรดาผู้มีคุณธรรมนั้นย่อมได้รับการทดสอบเสมอ และท่านจะมิได้รับสิ่งใดเป็นรางวัล นอกจากสิ่งที่ท่านชอบ และนั่นยังนับว่าน้อย ขอให้อัลลอฮฺประทานความแข็งแกร่งแก่เราและท่านด้วยขันติธรรมในยามถูกทดสอบ และขอบคุณพระองค์ในยามได้รับความโปรดปรานและอย่าให้เราและท่านต้องแผ้วพานกับศัตรูที่อิจฉาริษยาตลอดไปด้วย ” วัสลาม ( 4)

(4) ตะฮัฟฟุล-อุบูล หน้า 177

สุภาษิต : วาทะอันสมบูรณ์แห่งคุณธรรมจากอิมามที่ 3

ทุกอิมามจากบรรดาอะฮ์ลุลบัยตฺ(อฺ)จะต้องมีสุภาษิตที่รวบรวมไว้ด้วยคุณค่าอย่างสูง

สุภาษิตเหล่านี้ทั้งหมดว่าด้วยเรื่องจริยธรรม วิชาความรู้ มารยาทและวาทศิลป์อันสมบูรณ์ที่บ่งชี้ถึงคุณธรรมอันสูงส่งและเป็นการป้องกันตัวให้พ้นจากความต่ำต้อยข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่าคำพูดในด้านต่างๆ เหล่านี้ถ้าหากเราพยายามทำตัวของเราให้ดำเนินตามอย่างครบถ้วนแล้ว เราจะสามารถรักษา

เยียวยาโรคทางด้านจริยธรรมให้แก่อวัยวะทุกส่วนในสังคมของเราได้

ในหนังสือเล่มนี้ เราจะเสนอเรื่องราวบางส่วนจากสุภาษิตต่างๆ ของท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ดังนี้

สุภาษิตที่ 1

นักปกครองที่เลวร้ายที่สุด ได้แก่ ผู้ที่ขี้ขลาดตาขาวกับศัตรู หยาบกระด้างกับคนอ่อนแอและตระหนี่ในการหยิบยื่นให้

*******

สุภาษิตที่ 2

คนที่ต้องการที่พึ่งนั้น มิได้ปิดบังความละอายแก่ใบหน้าของตนในการขอความช่วยเหลือจากท่าน ดังนั้น ท่านจงปิดบังความละอายแก่ใบหน้าของท่านด้วยการตอบสนองแก่เขา

สุภาษิตที่ 3

ชายคนหนึ่งนินทาเพื่อนอีกคนต่อหน้าท่านอิมามฮุเซน(อฺ)

ท่านอิมาม(อฺ)ได้ กล่าวว่า :

“ ท่านเอ๋ย จงหยุดยั้งการนินทา เพราะมันคือการรับประทานเนื้อสุนัขแห่งไฟนรก ”

สุภาษิตที่ 4

เครื่องหมายอย่างหนึ่งของคนที่ยอมรับความจริงคือ

การนั่งร่วมกับผู้มีสติปัญญา

*******

สุภาษิตที่ 5

แท้จริงผู้ศรัทธานั้นยึดถืออัลลอฮฺ(ซ.บ.)เป็นที่ปกป้องคุ้มครองตนเองมีคำพูดที่เหมือนกระจกเงา ดังนั้นเขาจะพินิจพิจารณาต่อคุณลักษณะของผู้ศรัทธา แล้วพินิจพิจารณาต่อลักษณะของคนหยิ่งทะนง ดังนั้นในตัวของเขามีความอ่อนโยนจากตัวของเขาจะมีความรู้ในจิตใจของเขาจะมีความเชื่อมั่น และจากดวงวิญญาณของเขาจะมีที่พึ่งพิง

สุภาษิตที่ 6

􀂙 คนพวกหนึ่งจะเคารพภักดีอัลลอฮฺเพราะความอยากได้นั่นคิอ อิบาดะฮฺของพ่อค้า

􀂙 คนพวกหนึ่งจะเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺเพราะความหวาดกลัวนั่นคือ

อิบาดะฮฺของข้าทาส

􀂙 คนพวกหนึ่งเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺเพราะซาบซึ้งในพระคุณนั่นคือผู้มีอิสระแก่ตนและเป็นคนมีเกียรติ

*******

สุภาษิตที่ 7

เครื่องหมายอย่างหนึ่งของคนมีความรู้ได้แก่การดำเนินชีวิตไปตามคำพูดของตนและวิชาความรู้ของเขาประกอบด้วยข้อเท็จจริวที่พิสูจน์ได้โดยความลึกซึ้งในการพิจารณา

*******

สุภาษิตที่ 8

การให้สลามแก่กันมีความดีจึงเจ็ดสิบประการ

หกสิบเก้าประการจะได้แก่ ‘ คนเริ่มต้น ’

อีกหนึ่งประการจะได้แก่ ‘ คนตอบรับ ’

*******

สุภาษิตที่ 9

􀂙 คนตระหนี่ที่สุดได้แก่คนที่ตระหนี่การให้สลาม

*******

สุภาษิตที่ 10

คนที่พยายามในเรื่องการจะกระทำสิ่งที่ละเมิดต่ออัลลอฮฺนั้น

เขาย่อมจะพลาดจากสิ่งที่เขาหวังจนสิ้น

และสิ่งที่เขากลัวอยู่จะมายังเขาโดยเร็ว ( 1)

(1) ตะฮัฟฟุล-อุกูล หน้า 178

*******

สุภาษิตที่ 11

คนใดเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ด้วยการเคารพภักดีอย่างแท้จริง

พระองค์จะประทานให้แก่เขามากเกินกว่าความปรารถนาและความเพียงพอของเขา

*******

สุภาษิตที่ 12

ทรัพย์สินของท่านนั้น ถ้าหากมันไม่เป็นของท่าน ท่านก็จะเป็นของมัน ดังนั้นท่านจะอยู่กับมันไม่ได้ แล้วมันก็จะไม่อยู่กับท่าน และทุกสิ่งทุกอย่างเหล่านั้นมันจะหันมากัดกินท่าน

*******

สุภาษิตที่ 13

􀂙 ความซื่อสัตย์นั้นคือเกียรติยศ

􀂙 การโกหกคือความอัปยศ

􀂙 การรักษาความลับคือการเป็นที่ไว้วางใจ

􀂙 เพื่อนบ้านคือญาติสนิท

􀂙 การให้ความช่วยเหลือ คือการบริจาคทาน

􀂙 การทำงานคือการฝึกตน

􀂙 จรรยาที่ดีงามคืออิบาดะฮฺ

􀂙 การเงียบสงบคืออาภรณ์ประดับกาย

􀂙 การรู้จักพอคือความร่ำรวย

􀂙 การมีเพื่อนคือแสงสว่าง ( 2)

(2) ลุมอะฮฺ มินบะลาฆ่อติลฮุเซน หน้า 104.

ถาม-ตอบ

จากวิชาการอันถ่องแท้ของอิมามฮุเซน(อฺ)

บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)คือทายาทของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) และเป็นบุคคลสำคัญสำหรับศาสนานี้ และพวกเขามีความรู้ในเรื่องของพระคัมภีร์และเรื่องราวต่างๆ ในบทต่างๆ ของอัลกุรอาน พวกเขาจึงเป็นบรรดาผู้คงแก่กล้าทางวิชาการ มีความสามารถในการอธิบายความเป็นจริงต่างๆ ได้อย่างถ่องแท้ แน่นอนได้มีรายงานบอกเล่าถึงเรื่องการตั้งคำถามอย่างมากมายแก่บรรดาอิมาม(อฺ)แต่ละท่านดังที่ได้ผ่านไปแล้วในสองอิมามแรกคือ ท่านอิมามอะลี(อฺ)และท่านอิมามฮะซัน ( อฺ) ดังมีคำตอบ บางเรื่องผ่านไปแล้วในบทนี้ จะเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับคำถามบางข้อที่ถูกหยิบ ยกมาตั้งเป็นคำถามแก่ท่านอิมามฮุเซน (อฺ) และคำตอบที่ท่าน (อฺ) ให้สำหรับในแต่ละคำถามนั้น

ถาม~ ตอบ

เรื่องที่ 1

ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ)บิดาของท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ได้เคยถามท่าน(อฺ)เพื่อเป็นการเปิดเผยถึงเกียรติยศอันสูงส่งดังนี้

ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ) : “ ลูกเอ๋ย จะใช้อำนาจอย่างไร ?”

ท่านอิมาม(อฺ) : “ สร้างสรรค์ผลงานแก่หมู่ชนและยับยั้งชั่งใจกับ

ความผิด ”

ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ) : “ จะใช้ความร่ำรวยอย่างไร ?”

ท่านอิมาม(อฺ) : “ ลดความต้องการของท่านให้น้อยลงและจงพอใจ

กับสิ่งที่ท่านมีอยู่ ”

ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ) : “ ความยากจนเป็นอย่างไร ?”

ท่านอิมาม(อฺ) : “ ความทะยานอยากและสิ้นหวังอย่างรุนแรง ”

ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ) : “ การติเตียน หมายถึง กิริยาอย่างไร ?”

ท่านอิมาม(อฺ) : “ การละเมิดสิทธิของตนเองและการเป็นอิสลามของเขา

จะขึ้นอยู่กับคู่ครองของเขา ”

ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ) : “ บาดแผลลึกที่สุดเป็นอย่างไร ?”

ท่านอิมาม(อฺ) : “ เมื่อคนที่กำหนดสภาพความเป็นไปของท่าน

และผู้สามารถให้คุณให้โทษแก่ท่านคือผู้ปกครองของท่านเอง ”

แล้วท่านอิมามอะลี(อฺ) ก็ได้หันไปยังท่านฮาริษ อัล-อะอฺวัรพลางกล่าวว่า

“ โอ้ฮาริษ จงสอนวิทยปัญญาเหล่านี้ให้แก่ลูกๆ ของท่าน เพราะมันจะเป็นการเพิ่มพูนสติปัญญา ความแข็งแกร่งและปลูกฝังทัศนคติที่ดี ” ( 1)

(1) มะอานี อัล-อัคบาร หน้า 401

ถาม~ ตอบ

เรื่องที่ 2

นาฟิอฺ บินอัซร็อก(หัวหน้าคนหนึ่งของพวกค่อวาริจญ์) ได้ถามท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ในครั้งหนึ่ง โดยกล่าวกับท่าน(อฺ)ว่า

“ จงอธิบายลักษณะของพระผู้เป็นเจ้าที่ท่านเคารพภักดีให้ฉันฟังซิ ?”

ท่านอิมาม(อฺ)ตอบว่า

“ โอ้ นาฟิอฺ แท้จริงคนที่ถือศาสนาโดยวิธีการใช้หลักเปรียบเทียบไม่แคล้วที่จะต้องล่มจมอยู่ตลอดเวลา จะเป็นคนที่หันเหจากแนวทาง จะเป็นแมลงเม่าที่ตกเข้าไปอยู่ที่ที่คดงอ จะเป็นคนหลงทาง จะเป็นคนที่พูดไม่สุภาพ

โอ้ อิบนุอัซร็อกเอ๋ย ฉันจะอธิบายลักษณะของพระผู้เป็นเจ้าของฉันไปตามที่พระองค์ทรงอธิบายไว้โดยพระองค์เองและฉันจะบอกให้รู้จักพระองค์ไปตามที่พระองค์ทรงสอนให้รู้จัก จะไม่มีพลังสัมผัสใดเข้าถึงพระองค์ พระองค์ไม่อยู่ในฐานะที่เปรียบกับมนุษย์ได้ ทรงอยู่ใกล้แต่มิใช่จะถูกสัมผัส ทรงอยู่ห่างแต่มิใช่จะขาดช่วง ทรงเป็นเอกะแต่ใช่จะแบ่งได้ ทรงเป็นที่รู้จักได้โดยสัญญาณต่างๆ มีคุณลักษณะโดยหมายเหตุต่างๆ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ ผู้ทรงยิ่งใหญ่ ผู้ทรงสูงสุด ”

อิบนุอัซร็อก ร้องไห้ แล้วกล่าวว่า

“ คำตอบของท่านช่างดีอะไรเช่นนี้ ” ( 2)

(2) อัต-เตาฮีด หน้า 80 , ตาริค อิบนุอะซากิร เล่ม 4 หน้า 323