ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน0%

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดประวัติศาสตร์

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 41106
ดาวน์โหลด: 3106


รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามฮุเซน ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 157 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 41106 / ดาวน์โหลด: 3106
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

- 7-

ท่านอิมามซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ)ได้ไปหาบุตรชายของลุงของท่าน(อฺ)คนหนึ่งในยามกลางคืน แล้วมอบเงินดีนารฺให้ไปเป็นจำนวนมาก

เขากล่าวกับท่าน(อฺ)ว่า

“ อฺะลี บินฮุเซนไม่เคยผิดต่อสัมพันธ์กับข้าพเจ้าเลย ขออย่าให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตอบแทนความดีให้แก่เขาเลย ”

เมื่อท่าน(อฺ)ได้ฟังดังนั้นก็รู้สึกสะเทือนใจแต่อดกลั้นไว้ เพราะเขาไม่รู้จักท่าน(อฺ) ครั้นเมื่อท่าน(อฺ)ถึงแก่การวายชนม์ การกระทำดังกล่าวก็หายไปด้วย เขาจึงได้รู้ว่าที่แท้คนๆ นั้นก็คือ ท่านอฺะลี บินฮุเซน(อฺ) นั่นเอง

แล้วเขาก็มายืนร้องไห้คร่ำครวญที่สุสานของท่าน(อฺ)(7)

(7) อ้างเล่มเดิม

-8-

ท่านอิมามศอดิก(อฺ)ได้กล่าวอีกว่า : ท่านอฺะลี บินฮุเซน(อฺ) โปรดปรานลูกองุ่นมาก วันหนึ่ง

มีองุ่นพันธุ์ดีที่สุดถูกนำเข้ามาในนครมะดีนะฮฺ ภรรยาของท่าน(อฺ)จึงซื้อมาฝากท่าน(อฺ)เพื่อเป็น

อาหารสำหรับละศีลอด ซึ่งท่าน(อฺ)ก็พอใจมาก แต่พอท่าน(อฺ)ทำท่าจะเอื้อมมือไปรับเท่านั้นเอง ก็

ปรากฏว่ามีคนมาขอรับบริจาคมายืนอยู่ที่หน้าประตูบ้านพอดี

ท่าน(อฺ)จึงกล่าวกับภรรยาว่า :

“ มอบให้เขาไปเถอะ ”

ภรรยาของท่าน(อฺ)กล่าวว่า :

“ โอ้ ท่านผู้เป็นนาย ให้เพียงบางส่วนก็พอแล้ว ”

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า “ ไม่ได้ ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺให้เขาไปทั้งหมดนั่นแหละ ”

วันรุ่งขึ้นนางก็ไปซื้อมาให้ท่าน(อฺ)อีก คนขอรับบริจาคก็มายืนขอเหมือนเดิม และท่าน(อฺ)ก็

ทำอย่างนั้นอีก นางก็ไปซื้อมาให้ท่าน(อฺ)อีกเป็นคืนที่สาม ปรากฎว่าคราวนี้ไม่มีคนขอรับบริจาค

ท่าน(อฺ)จึงได้รับประทาน

แล้วท่าน(อฺ)ก็กล่าวว่า :

“ ขอสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่ไม่มีสิ่งใดขาดหายไปจากเรา ” ( 8)

(8) บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม 11 , หน้า 26.

- 8-

ท่านซุฟยาน บินอุยยินะฮฺได้กล่าวว่า : กล่าวท่านซุ์ฮฺรีได้เห็นท่านอฺะลี บินฮุเซน(อฺ) ในคืนวันหนึ่งมีหิมะอันหนาวเหน็บตกลงมาอย่างหนัก และที่หลังของท่านมีสัมภาระอยู่ด้วยในขณะที่ท่านเดิน เขาจึงกล่าวขึ้นว่า :

“ ข้าแต่ผู้เป็นบุตรของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ของเหล่านี้เป็นอะไร ?”

ท่านอิมาม(อฺ)ตอบว่า “ ฉันต้องการเดินทาง ฉันเตรียมของพวกนี้เป็นเสบียงที่ต้องนำไปจนถึงที่หมาย ณ ป้อมปราการนอกเมือง ”

เขากล่าวว่า “ ขออนุญาตให้คนรับใช้คนนี้ของข้าพเจ้าแบกให้ท่านเอง ”

แต่ท่าน(อฺ)ปฏิเสธ และเขากล่าวอีกว่า :

“ ถ้าเช่นนี้ ข้าพเจ้าจะขอแบกเองเพื่อแบ่งเบาภาระของท่าน ”

ท่านอฺะลี(อฺ)กล่าวว่า “ แต่ฉันจะไม่เอาของที่จะทำให้ฉันปลอดภัยในการเดินทางออกไปจากตัวฉัน น้ำดื่มของฉันที่ดีที่สุดได้แก่ น้ำดื่มที่ฉันนำมาเอง ฉันขอร้องท่านโดยอ้างถึงสิทธิของอัลลอฮฺว่า ให้ท่านดูแลหน้าที่ที่จำเป็นสำหรับตัวท่านเองและอย่าได้สนใจเรื่องของฉัน ”

ครั้นเวลาผ่านไปหลายวัน เขาได้กล่าวแก่ท่าน(อฺ)ว่า :

“ ข้าแต่บุตรของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ข้าพเจ้ายังไม่เห็นด้วยกับถ้อยคำใดๆ ที่ท่านพูดเมื่อตอนเดินทางในคราวนั้น ”

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า “ ถูกแล้ว ซุ์ฮฺรีเอ๋ย ความจริงมันมิได้เป็นอย่างที่ท่านคิดหรอก แต่ทว่าความตายนั้นคือ สิ่งที่ท่านต้องเตรียมตัว อันว่าการเตรียมตัวรับความตายนั้นคือ การหลีกเลี่ยงจากสิ่งต้องห้ามทั้งปวง และเสียสละในส่วนที่คิดว่า ดีที่สุด ” ( 9)

9) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ เล่ม 4 , หน้า 464.บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม 11 , หน้า 20.

- 10-

ท่านอิบนุอฺาอิชะฮฺได้กล่าวว่า : ข้าพเจ้าได้ฟังชาวเมืองมะดีนะฮฺพูดกันว่า “ พวกเราได้รับการบริจาคอย่างลับๆ อยู่ไม่เคยขาด นอกจากในช่วงหลังที่ท่านอฺะลี บินฮุเซน (อฺ) ได้วายชนม์ไปแล้ว ” ( 10)

( 10) ศิฟะตุศ-ศ็อฟฟะฮฺ เล่ม 2 , หน้า 54. นูรุล-อับศ็อร หน้า 127.

กัชฟุล-ฆุมมะฮฺหน้า 199.

-11 -

ท่านอะบูฮัมซะฮฺ อัษ-ษุมาลี(ร.ฏ.) กล่าวว่า : ท่านซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ)จะนำถุงขนมปังจากแป้งข้าวสาลีแบกบนหลังในยามค่ำคืน แล้วเอาไปแจกจ่ายเสมอ

ท่านอิมาม(อฺ)กล่าวว่า

“ แท้จริงการทำกุศลกรรมโดยลับนั้น จะเป็นการดับความกริ้วของพระผู้อภิบาลได้ ” ( 11)

(11) มะฏอลิบุซ-ซุอูล เล่ม 2 , หน้า 48. กัซฟูล-ฆุมมะฮฺ หน้า 200.

ศิฟะตุศ-ศ็อฟวะฮฺ เล่ม 2 , หน้า 56. บิดายะตุวัน-นิฮายะฮฺ เล่ม 9 , หน้า 105.

-12 -

ท่านมุฮัมมัด บินอิซฮาก (ร.ฏ.)กล่าวว่า : ชาวเมืองมะดีนะฮฺกลุ่มหนึ่งมีชีวิตอยู่โดยไม่รู้ว่าเครื่องยังชีพของพวกเขามาจากที่ไหนแต่เมื่อท่านอฺะลี บินฮุเซน(อฺ)วายชนม์ พวกเขาก็สูญเสีบสิ่งที่เขาเคยได้รับในยามค่ำคืนไป(12)

( 12) นูรูล-อับศ็อร หน้า 127. กัชฟุล-ฆุมมะฮฺหน้า 100 , มะฏอลิบุซ-ซุอูล เล่ม 2 หน้า45.

- 13-

เมื่อครั้งที่มุสลิม บินอุตบะฮฺเข้าล้อมเมืองมะดีนะฮฺ ปรากฎว่าท่านซัยนุลอฺาบิดีน(ร.ฏ.) ได้อุปการะสุภาพสตรีจำนวนมากถึง 400 คน รวมทั้งเด็กๆ และสัมภาระต่างๆ ของพวกนาง ท่าน(อฺ)ได้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูคนเหล่านี้ จนกระทั่งอิบนุอุตบะฮฺถอยออกไปจากเมืองมะดีนะฮฺ

สุภาพสตรีแต่ละคนต่างสาบานด้วยความจริงใจว่า :

พวกเธอไม่เคยพบบรรยากาศที่อบอุ่น และมีความสุขความสบายจากบ้านบิดารมารดาของตนให้ เท่ากับที่ได้มาพบเห็นในบ้านของท่านอฺะลีบินฮุเซน(ร.ฏ.)เลย(13)

(13) อิมามซัยนุลอฺาบิดีน โดยอะฮฺหมัด ฟะฮ์มี มุฮัมมัด หน้า 64

- 14-

เมื่อท่านอิมามซัจญาด(อฺ)ถึงแก่การวายชนม์ ประชาชนก็เข้ามาอาบน้ำมัยยัตของท่าน(อฺ)เขาเหล่านั้นได้เห็นรอยบางอย่างปรากฏที่บริเวณแผ่นหลัง

แล้วพากันถามว่า “ นี่เป็นรอยอะไร ”

มีคนบอกว่า “ เขาแบกแป้งข้าวสาลรในยามกลางคืนเพื่อนำไปแจกจ่ายแค่คนยากจนในเมืองมะดีนะฮฺอย่างลับๆ เสมอ ” ( 14)

(14) กัชฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า 199. มะฏอลิบุซ-ซุอูล เล่ม 2 , หน้า 45.

นูรุล-อับศ็อร หน้า 127.

- 15-

เมื่อท่านอิมามอฺะลี บินฮุเซน(อฺ)จากไป ชาวมะดีนะฮฺจำนวนนับร้อยครอบครัวถึงรู้ว่า ท่าน ( อฺ) นี่เองที่ให้การเลี้ยงดูพวกเขา และนำสิ่งที่พวกเขาต้องการไปให้ (15)

(15) นูรุล-อับศ็อร หน้า 127. กัชฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า 194.

ศิฟะตุศ-ศ็อฟวะฮฺ หน้า 2 , หน้า 54.

ปลดปล่อยทาสสร้างสัมพันธ์มนุษย์

ศาสนาอิสลามได้อุบัติขึ้น ในขณะที่โลกนี้เต็มไปด้วยระบบทาส ดังนั้นจึงได้มีการพยายามทุกวิถีทางเพื่อปลดปล่อยโซ่ตรวนที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อผูกสายสัมพันธ์เพื่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันประการแรกที่อิสลามดำเนินการก็คือ ปิดประตูการสำนึกในการตกเป็นทาส เพราะไม่บังควรที่มนุษย์จะยอมตกเป็นบ่าวของเพื่อนมนุษย์

ต่อจากนั้นก็ดำเนินวิธีการแก้ไขปัญหาของทาส และหาวิธีการในการปลดปล่อยทาส โดยชี้ให้เห็นว่า การปลดปล่อยทาสคือ การบำเพ็ญคุณงามความดีอย่างสูงสำหรับอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และเป็นงานที่พระองค์ทรงให้ความรักความโปรดปรานเป็นยิ่งนัก ในขั้นต่อมา อิสลามถือว่า เรื่องนี้เป็นข้อบังคับประการหนึ่งและการปลดปล่อยทาสคือการปลดเปลื้องความบาปได้

เช่น ความบาปเนื่องจากเจตนาไม่ถือศีลอดในเดือนรอมฏอน และอื่นๆ

แนวทางในการปลดปล่อยทาสของอิสลามได้ดำเนินเรื่อยมา ในลักษณะนี้ จนถึงสมัยของท่านอิมามอฺะลี บินฮุเซน(อฺ) ท่าน(อฺ)ได้ทำการปลดปล่อยทาสไปจำนวนนับพันคน

------------------------------------------------------ 1---------------------------------------------------------

ท่านซัยยิดุลอะฮฺลิได้กล่าวว่า : ท่านอิมามซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ)ซื้อทาสแต่มิได้มุ่งหวังอะไรจากทาสเลย ทว่าท่าน(อฺ)ซื้อมาเพื่อปลดปล่อยเขาเหล่านั้น

พวกเขากล่าวว่า

“ ท่านได้ปลดปล่อยทาสจำนวน 10 , 000 คน ” ( 1)

(1) อัล-อิมามซัยนุลอฺาบิดีน ของซัยยิดุอะฮฺลิ หน้า 7

------------------------------------------------------ 2---------------------------------------------------------

ในยามที่พวกทาสทำความผิด ท่านอิมามอฺะลี บินฮุเซน(อฺ) จะปลดปล่อยพวกเขาทันที และได้วางหลักไว้ว่า

“ การปลดปล่อยทาสคือ ผลตอบแทนสำหรับความผิดนั้น ๆ ” ( 2)

(2) โปรดดูรายละเอียดในบทวิถีชีวิตของท่านจากหนังสือเล่านี้อีกครั้ง

------------------------------------------------------ 3

ท่านซัยยิด อัล-อามีน (ขอให้ท่านได้รับความเมตตาจากอัลลอฮฺ)ได้กล่าวว่า :

ทุกปีเมื่อถึงปลายเดือนร่อมะฏอน ท่าน(อฺ)จะต้องปล่อยทาสเป็นอิสระราวๆ ไม่ต่ำกว่า 20คนเสมอ

ท่านอิมาม(อฺ)กล่าวว่า

“ แท้จริงทุกคืนของเดือนร่อมะฏอน ณ อัลลอฮฺ(ซ.บ.) จะมีการปลดปล่อยชาวนรกออกมาถึง70 , 000 คน ทั้งๆที่ทุกคนล้วนมีความผิดต้องตกนรกดังนั้นเมื่อถึงวันสุดท้ายของเดือนรอมฏอน

ฉันก็จะปลดปล่อยทาสเช่นกันเพราะฉันชอบที่จะให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประจักษ์ว่า ฉันได้ปลดปล่อยทาสในครอบครองของฉันในโลกนี้แล้ว เพื่อพระองค์จะกรุณาปลอปล่อยฉันให้พ้นจากนรก ”

ท่านซัยยิด อัล-อะมีน(ร.ฮ.)กล่าวว่า :

ท่าน(อฺ)ไม่เคยให้คนใช้ทำงานเกินกำลัง ถ้าหากท่าน(อฺ)ครอบครองทาสคนใดมาตั้งแต่ต้นปีหรือกลางปี ครั้นพอถึงวันออกอีด ท่าน(อฺ)จะปลดปล่อยทันทีและจะทำอย่างนี้อีกในปีที่ 2 แล้วท่าน ( อฺ) ก็จะปลดปล่อยอีกท่าน (อฺ) ทำอย่างนี้จนถึงวาระคืนกลับสู่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) พวกเขาให้เป็นอิสระทันที และมอบทรัพย์สินเพื่อเป็นรางวัลแก่คนเหล่านั้นอีกด้วย (3)

(3) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ เล่ม 4 , หน้า 468.

------------------------------------------------------ 4

ท่านอุซด๊าซซัยยิดุลอะฮฺลิ ได้กล่าวว่า :

เมื่อบรรดาทาสทั้งหลายรู้เรื่องนี้ต่างก็พากกันเสนอตัวขายให้แก่ท่าน(อฺ)และต่างพากันเลือกท่าน(อฺ)เป็นนาย ต่างพากันออกจากการปกครองของเจ้านายเดิมเพื่อมาอยู่กับท่าน(อฺ)

เพราะท่าน(อฺ)ให้ความสะดวก ครั้นเวลาผ่านไปท่านอิมามซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ)ก็ปลดปล่อยทาสเป็นประจำทุกๆ ปีทุกๆ เดือนและทุกวันในทุกครั้งที่ทาสทำความผิด จนกระทั่งในเมืองมะดีนะฮฺเต็มไปด้วยอิสระชน

ทุกคนอยู่ในความดูแลของท่านอิมาซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ)คนเหล่านั้นมีจำนวนมากถึง 50 , 000 คน หรือมากกว่านั้น(4)

(4) ซัยนุลอฺาบิดีน ของ ท่านซัยยิดุลอะฮฺลิ หน้า 47.

คำเทศนาของอิมามซัยนุลอฺาบิดีน (อฺ)

อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงให้การลงโทษอย่างสาสมกับพฤติกรรมของพวกวงศ์อุมัยยะฮฺและอับบาซียะฮฺที่ก่อกรรมทำเข็ญกับบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)

ความชั่วร้ายเลวทรามเหล่านั้นไม่เพียงแต่จะกระทบต่อบรรดาอิมาม(อฺ)ฝ่ายเดียว หากแต่ยังเกิดขึ้นกับสังคมของประชาชาติอิสลามอีกด้วย โดยสกัดกั้น

มิให้มวลมุสลิมได้รับการชี้นำและคำสั่งสอนของบรรดาอิมาม(อฺ) อีกทั้งยังได้ขวางกั้นมิให้ยอมรับฐานะภาพอันสำคัญที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประสงค์ให้แก่พวกเขาเป็นการเฉพาะ จึงทำให้บรรดาอิมาม(อฺ)ดำเนินงานสอนศาสนาโดยซ่อนเร้น และต้องปกป้องตนเองต้องคอยระมัดระวังตัวอยู่เสมอในการทำงาน แต่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็ทรงให้การสนับสนุนจนงานสอนศาสนาในลักษณะนี้แพร่หลายในท่ามกลางหมู่ประชาชน

เนื้อหาของคำเทศนามีจุดมุ่งหมายในเรื่องเสรีภาพทางด้านการเผยแผ่และการปฏิบัติภาระกิจ สิ่งนี้เองที่บรรดาอิมาม(อฺ) ได้รับการสกัดกั้นคำเทศนาของบรรดาอิมาม(อฺ)นั้นสามารถทำได้แต่เพียงส่วนน้อยตามความเหมาะสม ในบทนี้จะมีการนำเสนอคำเทศนาของท่านอิมามซัยนุลอฺาบิดีน ( อฺ) เพียงบางตอนเท่านั้น

คำเทศนาบทที่ 1

ที่เมืองกูฟะฮฺ

หลังจากที่ท่านหญิงอุมมุกุลษูม(อฺ)กล่าวคำปราศรัยแล้ว

ท่านอิมามซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ)ก็พยุงกายขึ้นกล่าวต่อหน้าประชาชนชาวกูฟะฮฺทั้งหลายว่า

“ ท่านทั้งหลายจงเงียบ จงเงียบ ”

เมื่อท่าน(อฺ)ยืนตรงได้แล้วก็กล่าวสดุดี สรรเสริญต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)และรำลึกถึงท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ต่อจากนั้นท่าน(อฺ)ก็ได้กล่าวว่า

“ ประชาชนทั้งหลายใครที่รู้จักข้า ก็ย่อมรู้จักข้าดีแล้ว แต่สำหรับคนที่ยังไม่รู้จักก็ขอให้ทราบว่า ข้าคือ อฺะลี บินฮุเซน บินอฺะลี บินอะบีฏอลิบ ข้าคือบุตรของคนที่ถูกเชือดคอที่ริมแม่น้ำอัล-ฟะรอต โดยมิได้มีการแก้แค้นข้าคือบุตรของผู้ที่ได้รับการเหยียบย่ำศักดิ์ศรี ถูกริบสมบัติ ถูกช่วงทรัพย์สินและครอบครัวถูกจับเป็นเชลย ข้าคือบุตรของนักต่อสู้ที่ทรหด ผู้มีความภาคภูมิใจในเรื่องนี้มากที่สุด ประชาชนทั้งหลาย ข้าขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.) เป็นพยาน พวกเจ้ารู้ไหมว่า พวกเจ้าเขียนจดหมายไปหลอกลวงบิดาของข้าพวกเจ้าเอาตัวเองยืนยันรับรองกับท่าน ด้วยข้อผูกพันสัญญา แต่แล้วพวกเจ้าก็ร่วมกันต่อสู้และทำลายท่าน ดังนั้นความพินาศจึงตกอยู่กับพวกเจ้าเพราะสิ่งที่พวกเจ้ากระทำไป ด้วยเจตนาที่ชั่วร้ายของพวกเจ้า พวกเจ้ามีความคิดเห็นอย่างไรกับคำพูดของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ที่เคยกล่าวกับพวกเจ้าว่า :

“ ถ้าพวกเจ้าฆ่าเชื้อสายของข้า และเหยียบย่ำศักดิ์ศรีของข้า พวกเจ้าก็หาใช่ประชาชาติของข้าไม่ ”

ถึงตอนนั้นประชาชนทั้งหลายต่างก็พากันร้องไห้ระงมไปหมดขณะที่บางคนก็เปรยแก่กันว่า

“ พวกเจ้าพินาศแล้ว แต่ไม่รู้ตัวกันเอง ”

ท่านอิมาม(อฺ)กล่าวต่อไปว่า

“ ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)เมตตากับคนที่ยอมรับคำเตือนของข้า และรักษาคำสั่งสอนของข้าในเรื่องของอัลลอฮฺ ของศาสนทูตของพระองค์ และของอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน แท้จริงแล้วสำหรับเรานั้น มีแบบอย่างที่ดีงามอยู่ที่ตัวของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ”

“ ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)เมตตากับคนที่ยอมรับคำเตือนของข้าและรักษาคำสั่งสอนของข้าในเรื่องของอัลลอฮฺ ของศาสนทูตของพระองค์ และของอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน แท้จริงแล้วสำหรับเรานั้น มีแบบอย่างที่ดีงามอยู่ที่ตัวของท่านศาสนทูตแห่งอัลลฮฺ(ศ) ”

พวกเขากล่าวพร้อมกันทั้งหมดว่า

“ ข้าแต่บุตรของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) พวกเราเป็นผู้เคารพเชื่อฟัง และจะให้การพิทักษ์เกียรติของท่าน จะไม่ผละจากท่านไป และจะไม่ชิงชังท่านต่อไป ดังนั้นขอให้ท่านดำเนินการกับพวกเราได้เลย ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเมตตาท่าน พวกเราจะต่อสู้กับท่าน พวกเราจะให้สันติภาพกับคนที่ให้ความสันติแก่ท่าน เพื่อเราจะได้อยู่ร่วมกับท่าน ไม่ว่าในยามที่ท่านได้รับความไม่เป็นธรรม หรือในยามที่เราได้รับความไม่เป็นธรรม ”

ท่านอิมาม(อฺ)กล่าวว่า

“ ช้าก่อน เหล่าบรรดาคนลวงเอ๋ย อารมณ์ต่ำของพวกเจ้าครอบงำจิตใจของพวกเจ้าเองเสียสิ้นแล้ว พวกเจ้าต้องการที่จะทำกับข้าเหมือนอย่างที่ทำกับบิดาของข้ากระนั้นหรือ ? มิได้หรอก

พวกเจ้าฆ่าบิดาของข้าและสมาชิกครอบครัวของท่านไปเมื่อวาน ข้ายังไม่ลืมเลือนการลูบไล้ของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ของบิดาของข้า และของบุตรหลานของบิดาข้าที่ข้าเคยพบในยามที่ข้าวิ่งเล่นและยังไม่ลืมการระแวดระวังดูแลที่ท่านมีต่อการพะเน้าพะนอคลอเคลียของข้า และในยามที่ข้าใช้อกซอกซอนบนที่นอน จุดประสงค์ของข้าก็คือ ถ้าไม่เป็นพวกของเราก็ขออย่าเป็นศัตรูกับเราเลย ”

คำเทศนาบทที่ 2

ที่เมืองชาม

ยะซีดได้สั่งให้คนกล่าวปราศรัยประณามเหยียดหยามท่านอิมามฮุเซน(อฺ)และผู้เป็นบิดา เมื่อผู้กล่าวคำปราศรัยขึ้นบนมิมบัรแล้ว เขาก็กล่าวสรรเสริญ สดุดีอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก่อน ต่อจากนั้นก็ได้กล่าวประณามท่านอฺะลี

อะมีรุลมุมินีน(อฺ) และท่านอิมามฮุเซน(อฺ)อย่างรุนแรง และได้ยกย่องชมเชย

มุอาวิยะฮฺกับยะซีดอย่างไพเราะเพราะพริ้ง

ท่านอิมามอฺะลิ บินฮุเซน(อฺ) ได้ตะโกนด้วยเสียอันดังว่า

“ ความวิบัติจะได้แก่เจ้า โอ้นักพูด ในฐานะที่เจ้าเอาความพอใจของผู้ถูกสร้างแลกเปลี่ยนกับความชิงชังของผู้สร้าง ดังนั้นขอให้เจ้าเตรียมที่นั่งไว้ในไฟนรกเถิด ”

ต่อจากนั้นท่านอิมาม(อฺ)ได้กล่าวอีกว่า

“ ยะซีดเอ๋ย เจ้าจะอนุญาตให้ข้าขึ้นบทแท่นปราศรัยนี้ได้ไหมเพื่อที่ข้าจะได้กล่าวถึงถ้อยคำต่างๆ อันเป็นที่พอพระทัยของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)เพื่อผู้ฟังทั้งหลายจะได้รับรางวัลและผลบุญ ”

แต่ยะซีดกลับปฏิเสธ ประชาชนทั้งหลายกล่าวว่า

“ ข้าแต่อะมีรุลมุมินีน อนุญาตให้เขาขึ้นกล่าวคำปราศรัยบนแท่นปราศรัยเถิด เพื่อพวกเราจะได้รับฟังอะไรบางอย่าง ”

เขากล่าวว่า “ ถ้าหากปล่อยให้เขาขึ้นกล่าวคำปราศรัยแล้ว เขาจะไม่ยอมลงมาจนกว่าจะได้สบประมาทข้า และสบประมาทบรรดาวงศ์วานของอะบีซุฟยานก่อน ”

มีคนถามว่า “ อะไรทำให้เขามีความสามารถดีอย่างนี้ ?”

เขาตอบว่า “ พวกอะฮฺลุลบัยตฺได้รับการฟูมฟักทางวิชาการอย่างเต็มที่ ”

ต่อมาไม่ทันไรเขาก็อนุญาตให้ท่าน(อฺ)ขึ้นกล่าวคำปราศรัย หลังจากที่ได้สรรเสริญสดุดีอัลลอฮฺ(ซ.บ.)แล้ว ท่าน(อฺ)ก็ได้กล่าวคำปราศรัยด้วยน้ำตานองหน้า และสะเทือนใจอย่างรุนแรง

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ ประชาชนทั้งหลาย พวกเราได้รับพร 6 ประการ และได้รับความดีเด่น 7 ประการ กล่าวคือ พวกเราได้รับความรู้ ความมีน้ำใจอารี ความมีเกียรติความสันทัดทางวาจา ความกล้าหาญ และความรักในจิตใจของผู้ศรัทธา พวกเราได้รับเกียรติสูงก็เพราะว่าคนในหมู่พวกเราได้รับการคัดเลือกให้เป็นนบี นั่นคือ มุฮัมมัด (ศ)

คนของเรามีผู้ได้รับฉายานามว่า

“ เจ้าแห่งความซื่อสัตย์ ” ( ในอัล-กุรอานกล่างถึงท่านอิมามอฺะลี(อฺ)ว่าเป็น อัศ-ศอดิก) “ ผู้ที่มีปีก ” ( เหมือนมะลาอิกะฮฺ-หมายถึง ท่านญะอฺฟัร บินอะบีฏอลิบ(ร.ฏ.)) “ ราชสีห์ของอัลลอฮฺและราชสีห์ของศาสนทูต ” ( หมายถึง ท่านฮัมซะฮฺ บินอับดุลมุฏฏอลิบ ( ร.ฏ.)

“ ประมุขแห่งสตรีทั้งมวลโลกในสากลโลก ” ( หมายถึง ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ(อฺ))

“ ทายาทของศาสดาแห่งประชาชาติ ” ( หมายถึงท่านฮะซัน(อฺ)และท่านฮุเซน(อฺ))

ใครรู้จักข้าก็ย่อมรู้ดี แต่ใครที่ยังไม่รู้จัก ข้าก็จะบอกให้รู้ในฐานะภาพของข้าเท่าที่ข้ามี

ประชาชนทั้งหลาย

ข้าคือ บุตรแห่งนครมักกะฮฺและมินา( 1)

ข้าคือ บุตรแห่งซัมซัมและศ่อฟา( 2)

ข้าคือ บุตรของหินโค้งที่อยู่ริมเชิงอัร-ร่อดา( 3)

ข้าคือ บุตรของคนที่ดีที่สุดในหมู่ผู้สวมใส่ชุดเสื้อผ้า( 4)

ข้าคือ บุตรของคนที่ดีที่สุดในหมู่ผู้ที่สวมรองเท้า( 5)

ข้าคือ บุตรของคนที่ดีที่สดุในหมู่ผู้เที่เวียนฏ่อวาฟและเดินซะแอ( 6)

ข้าคือ บุตรของผู้ที่ดีที่สุดในหมู่ผู้บำเพ็ญฮัจญ์ และกล่าว “ ลับบัยกฺ ” ต่อพระผู้เป็นเจ้า ( 7)

ข้าคือ บุตรของผู้ที่ขี่ม้าอัล-บุรอกฺในห้วงอากาศ( 8)

ข้าคือ บุตรของผู้ที่เดินทางในยามค่ำคืนจากมัสญิดอัล-ฮะรอมสู่อัล-อักศอ( 9)

ข้าคือ บุตรของคนที่เข้าถึงญิบรออีล ณ ซิดเราะตุล-มุนตะฮา( 10)

ข้าคือ บุตรของผู้ที่ถูกเรียกหาและขานรับอย่างใกล้ชิดประมาณปลายคันธนูหรือยิ่งกว่านั้น (11)

ข้าคือ บุตรของผู้ที่นมาซร่วมกับมะลาอิกะฮฺแห่งชั้นฟ้า( 12)

ข้าคือ บุตรของผู้ที่ได้รับสภาวะอัล-วะฮฺยูอันประเสริฐยิ่ง( 13)

ข้าคือ บุตรของมุฮัมมัด อัล-มุศฏ่อฟา

ข้าคือ บุตรของมุฮัมมัด อัล-มุศฏ่อฟา

ข้าคือ บุตรของอฺะลี อัล-มุรตะฏอ

ข้าคือ บุตรของผู้มีสิทธิประหารชีวิตคน จนกว่าเขาจะกล่าวปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ

ข้าคือ บุตรของผู้ที่สามารถใช้ดาบคู่และใช้หอกคู่ในการรบต่อหน้าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)

ข้าคือ บุตรของผู้ที่อพยพถึงสองครั้งให้สัตยาบันสองครั้ง ต่อสู้ทั้งในบะดัรฺและฮุนัยนฺ ไม่เคยบิดเบือนต่ออัลลอฮฺ แม้แต่ในชั่วพริบตา

ข้าคือ บุตรของผู้ทรงธรรมในหมู่บรรดาผู้ศรัทธาและทายาทของบรรดา

นบี ศัตรูของผู้ทรยศ หัวหน้าของมวลมุสลิม เป็นรัศมีของบรรดานักสู้เป็นเครื่องประดับแห่งปวงบ่าวผู้ภักดี เป็นมงกุฎของคนหลั่งน้ำตาเพื่อพระผู้เป็นเจ้า เป็นคนมีความขันติอดทนเป็นเลิศ เป็นผู้ที่ดำรงนมาซที่ประเสริฐที่สุดในบรรดาวงศ์วานของยาซีนศาสนทูตของอัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก

ข้าคือ บุตรของผู้ที่ได้รับการสนับสนุนจากญิบรออี เป็นผู้ได้รับการช่วยเหลือจากมีกาอีล

(1)- (13) คำกล่าวที่อ้างถึงฐานะภาพของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ)

ข้าคือ บุตรของคนที่ปกป้องเกียรติภูมิของมวลมุสลิม ผู้พิฆาตคนทรยศและตระบัดสัตย์และต่อสู้กับศัตรูทุกคน อีกทั้งเป็นผู้ยังความภูมิใจในบรรดาชาวกุเรชทั้งมวลเมื่อย่างไปที่ใด เป็นคนแรกที่ยอมรับและให้การตอบสนองข้อเรียกร้องของอัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ ท่ามกลางบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย เป็นผู้บำเพ็ญคุณธรรมล้ำหน้าคนทั้งปวง เป็นผู้ทำลายบรรดาคนที่ขัดขวางสัจธรรม ผู้ทำลายล้างพวกตั้งภาคี และร่วมในการขว้างบรรดาผู้กลับกลอกต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) เป็นผู้มีวาจาที่ให้วิทยปัญญาแก่ปวงบ่างของพระผู้เป็นเจ้า และเป็นผู้ช่วยส่งเสริมศาสนาของพระผู้เป็นเจ้า