ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน0%

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดประวัติศาสตร์

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 41098
ดาวน์โหลด: 3101


รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามฮุเซน ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 157 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 41098 / ดาวน์โหลด: 3101
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

เป็นผู้รับมอบหมายในการทำงานของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) เป็นผู้มีลิ้นอันคงไว้ซึ่งปัญญาญาณของอัลลอฮฺ ( ซ.บ.) และคลังแห่งวิชาความรู้ของพระองค์ เป็นผู้มีจิตใจโอบอ้อมอารี เป็นผู้มีไหวพริบอันชาญฉลาด เป็นผู้ให้การอุปการะคุณอย่างชื่นชมยินดี เป็นผู้อดทนต่อความทุกข์ยาก เป็นผู้ขัดเกลาจิตใจของหมู่คณะเป็นผู้ทำลายการรวมตัวของก๊กต่างๆ เป็นผู้ผูกพันคนทั้งหลายด้วยการให้ความช่วยเหลือและยืนยันในเรื่องของสวรรค์ และมอบเกียรติยศให้แก่คนเหล่านั้น เป็นคนที่โดดเด่นที่สุดในการออกรบในสมรภูมิ เขาคือบิดาแห่งทายาทสองคนอันได้แก่ ฮะซันและฮุเซน และนี่ก็คืออฺะลี

บินอะบีฏอลิบ ปู่ของข้าเอง..... ”

“ ข้าคือ บุตรของฟาฏิมะฮฺ อัซ์-ซะฮฺรออ์

ข้าคือ บุตรของประมุขแห่งมวลสตรี.... ”

ไม่ว่าครั้งใด ที่ท่าน(อฺ)กล่าวคำว่า ข้าคือ.....ข้าคือ.....ประชาชนเป็นต้องร้องห่มร้องไห้ระงมกันไปหมด

ยะซีดเกรงว่าจะเกิดความยุ่งยากจึงสั่งให้มุอัซฺซิน(ทำหน้าที่ประกาศเวลานมาซ) ลุกขึ้นประกาศว่า

“ อัลลอฮุอักบัร อัลลอฮฺอักบัร ”

ท่านอิมามอฺะลี(อฺ) กล่าวว่า

“ ไม่มีอะไรยิ่งใหญ่กว่าอัลลอฮฺ ”

ครั้นพอเขากล่าวว่า “ อัชฮะดุอัน ลาอิลาฮะ อิ้ลอัลลอฮฺ (ข้อขอปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ)

ท่านอิมามอฺะลี บินฮุเซน(อฺ) ก็กล่าวตอบว่า

“ เส้นผมและร่างกาย ตลอดทั้งเลือดและเนื้อของข้า ปฏิญาณอยู่แล้ว ”

ครั้นมุอัซฺซินกล่าวว่า “ อัชฮะดุอันนะ มุฮัมมะดัร ร่อซูลุลลอฮฺ (ข้าขอปฏิญาณว่า มุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ) ”

ท่านอิมามอฺะลี(อฺ)ก็เหลียวมามองทางยะซีดที่นั่งอยู่บนแท่น แล้วกล่าวว่า

“ มุฮัมมัดคนนั้น เป็นทวดของข้าหรือทวดของเจ้า ? ถ้าเจ้ากล่าวว่าเป็นทวดของเจ้าก็เท่ากับเจ้าบิดเบือนความจริง และมีมิจฉาทิฏฐิ แต่ถ้าหากเจ้าบอกว่า เป็นทวดของข้า แล้วทำไมเจ้าถึงได้สังหารเชื้อสายของเขา ?”

คำเทศนาบทที่ 3

ที่เมืองมะดีนะฮฺ

ครั้นเมื่อท่านอิมามซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ)เดินทางถึงเมืองมะดีนะฮฺ หลังจากที่ผ่านเหตุการณ์ที่กัรบะลาอ์แล้ว ชาวเมืองต่างก็พากันออกมาต้อนรับด้วยการร้องห่มร้องไห้อย่างโศกเศร้า

ท่านอิมาม(อฺ)ได้ขอร้องให้ประชาชนอยู่ในความสงบ

แล้วท่าน(อฺ)ก็กล่าวคำปราศรัยว่า

“ มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลกผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาอยู่เป็นนิรันดร์ ผู้ทรงเป็นเจ้าแห่งวันตอบแทนผู้ทรงบริสุทธิ์หลุดพ้นจากการครหาทั้งปวง

พระองค์ทรงดำรงอยู่ห่างไกลที่สุดจึงสามารถยกชั้นฟ้าให้อยู่เบื้องสูงได้ และพระองค์ทรงดำรงอยู่ใกล้ที่สุดจึงทรงสามารถประจักษ์แจ้งกับเสียงกระซิบได้ เราขอสรรเสริญต่อพระองค์เนื่องในสาระแห่งภารกิจอันแสนจะยิ่งใหญ่ ในทุกข์ภันอันแสนสาหัสและความเจ็บปวดรวดร้าวในโศกนาฎกรรมอันใหญ่หลวง และในการประสบเภทภัยอันหนักหน่วง

อะบู อับดุลลอฮฺ อัล-ฮุเซน(อฺ)และเชื้อสายแห่งท่านได้ถูกสังหารเสียแล้ว สตรีและเด็กเล็กๆ ต้องตกเป็นเชลย เขาเหล่านั้นนำศีรษะของท่านแห่ไปตามเมืองต่างๆ ศพนี้จึงไม่เหมือนกับศพใดๆ

โอ้ประชาชนทั้งหลาย มีบุรุษคนใดบ้างในหมู่พวกท่านที่ดีอกดีใจหลังจากที่ท่านอิมามฮุเซน ( อฺ) ถูกฆ่าแล้ว หรือว่ามีใครบ้างที่ไม่เสียอกเสียใจในเรื่องของท่าน หรือว่ายังมีดวงตาของใครที่สามารถกลั้นน้ำตาอยู่ได้อีก แน่นอนที่สุด แม้แต่ราชสีห์ที่องอาจยังต้องร้องไห้ในการตายของท่าน

ห้วงสมุทรทั้งหลายอันมากด้วยคลื่นลม ยังต้องร้องไห้ ท้องฟ้าทั้งๆ ที่มีรากฐานแข็งแกร่งโลกทั้งๆ ที่มีรากฐานอันมั่นคง พฤกษานานาพันธุ์ ทั้งๆ ที่สมบูรณ์ไปด้วยกิ่งก้านสาขา เหล่ามัจฉาน้อยใหญ่ที่แหวกว่ายอาศัยในธารา มวลมะลาอิกะฮฺผู้มีฐานะภาพอันใกล้ชิดกับพระองค์ และเหล่าบรรดาผู้ที่สถิตอยู่บนชั้นฟ้าทั้งหลายยังต้องร้องไห้ด้วยโศกาอาดูร เนื่องในการจากไปของท่าน

“ โอ้ประชาชนทั้งหลาย ยังมีดวงใจของใครบ้างที่ยังไม่ตื่นเต้นไปกับการที่ท่านถูกสังหารหรือว่ายังมีดวงจิตใจบ้างที่ไม่รู้สึกอาทร มีหูของใครบ้างที่ยังไม่ได้ยิน บัดนี้พวกเราต้องกลายเป็นผู้ถูกเนรเทศ ถูกขับไล่ไสส่งให้พลัดพรากจากบ้านเกิดเมืองนอนแห่งตน เปรียบพวกเราเหมือนดั่งเช่นเด็กเล็กๆ และลุกอูฐที่ถูกทอดทิ้ง โดยที่พวกเรามิได้ก่อกรรมทำชั่วประการใดเลย

พวกเราไม่เคยบั่นทอนกิจการใดๆ ของอิสลามเลย ในเรื่องแบบนี้เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนเลยแม้ในบรรพบุรุษของเรา เรื่องแบบนี้ล้วนเป็นเรื่องเท็จ

ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า ถ้าหากแม้นท่านนบี(ศ)ได้เสนอให้พวกเขาได้ทำการสังหารพวกเรา ดุจเดียวกับที่ท่านได้เสนอให้พวกเขายึดถือพวกเราเป็นทายาทแล้วไซร้ แน่นอนพวกเขาจะไม่ทำอะไรกินเลยมากนักหรอก แน่นอนพวกเราเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ และแท้จริงเราคือผู้คืนกลับสู่พระองค์ อาจมิได้ประสบกับทุกขภัยที่ยิ่งใหญ่อันแสนทรมาน และเจ็บปวดรวดร้าวใดๆ เลยก็เป็นได้ เราจึงขอคำนวณทุกข์ภัย ณ อัลลอฮฺ จนเหมาะสมกับฐานะภาพของเรา เพราะพระองค์คือผู้ทรงเกริกเกียรติ ทรงเข้มงวดในการลงโทษตอบแทน.... ”

และแล้วศูฮาน บินเศาะอฺเศาะอะฮฺ บินศูฮาน ซึ่งเป็นคนพิการได้ลุกเข้ามาขออภัยต่อท่าน(อฺ)ในฐานะที่ตนเป็นคนทุพลภาพ ไม่อาจให้ความช่วยเหลือใดๆ ต่อทุกขภัยของท่าน(อฺ)ได้ ซึ่งท่านอิมาม(อฺ)ก็ยอมรับการขอขมาด้วยด้วยจิตสำนึกอันแสนดีและแสดงความขอบคุณ และขอดุอฺาร์ให้แก่บิดาของเขาด้วย

ต่อจากนั้นท่าน(อฺ)ก็ได้เข้าสู่นครมะดีนะฮฺ พร้อมด้วยสมาชิกครอบครัวและเหล่าสตรีทั้งหลาย( 14)

(14) ซัยนุลอฺาบิดีน ของ อัล-มุกัรร็อม หน้า 360

พินัยกรรม :

ข้อชี้แนะปราะชาชาติสู่ความเจริญก้าวหน้า

สื่อนำประการหนึ่งที่บรรดาอิมาม(อฺ)ของเราได้นำมาปฏิบัติในการดำเนินงานด้านการต่อสู้เพื่อสังคม นั่นคือ บรรดาพินัยกรรมอันมากมายนั่นเองซึ่งล้วนแต่เป็นข้อชี้แนะและนำประชาชาติให้เจริญก้าวหน้าทั้งสิ้น และถ้าหากคำพินัยกรรมต่างๆ เหล่านี้ได้ถูกรวบรวมให้เป็นเล่มต่างหากแล้ว

ไซร้แน่นอนที่สุด มันจะต้องเป็นหนังสือที่เล่มใหญ่ที่สุดเล่มหนึ่งในบรรดาหนังสือที่เกี่ยวกับจริยธรรมทั้งหลาย เนื่องจากว่าในพินัยกรรม(คำสั่งเสีย)เหล่านี้เต็มไปด้วยสาระทางด้านคำสั่งสอน การตัดสินคดีความ การเรียกร้องเชิญชวนให้ทำความดี และเกียรติคุณให้ด้านต่างๆในบทนี้

เราจะได้นำพินัยกรรม(คำสั่งเสีย)ของท่านอิมามอฺะลี บินฮุเซน(อฺ) บางตอนมาเสนอ

พินัยกรรมฉบับที่ 1

เป็นส่วนหนึ่งจากพินัยกรรมของท่านอิมามอะลี บินฮุเซน(อฺ) ที่ให้ไว้กับท่านอิมามบาเก็ร ( อฺ) ผู้เป็นบุตรมีดังนี้

“ ลูกเอ๋ย จงสังเกตบุคคล 5 จำพวกไว้ให้ดี แล้วลูกจงอย่าคบหาเป็นเพื่อน อย่าสนทนาด้วยและอย่าเป็นมิตรในยามเดินทางด้วยเสมอ ”

ผู้เป็นบุตรถามว่า “ ข้าแต่ท่านพ่อ บุคคลเหล่านี้ มีใครบ้าง โปรดแจ้งให้ฉันทราบด้วยเถิด ?”

ท่าน(อฺ) ตอบว่า

“ จงอย่าเป็นเพื่อนกับคนมุสา เพราะเขาจะเป็นเสมือนภาพลวงตา จะทำให้เห็นว่าของใกล้อยู่ไกล

จงอย่าคบกันคนฟาซิก(คนหลอกลวง) เพราะเขาจะขายเจ้าในราคาเท่ากับอาหารมื้อหนึ่งหรือน้อยกว่านั้นก็ได้

จงอย่าคบคนตระหนี่ เพราะจะทำให้ทรัพย์สินของเจ้าพร่องไปหาเขาเสมอ จงอย่าคบกับคนโง่ เพราะถึงแม้เขาต้องการจะช่วยเจ้า แต่ไม่วายที่จะเป็นการให้โทษแก่เจ้าอยู่ดี

จงอย่าคบคนที่ตัดญาติขาดมิตร เพราะเจ้าก็ได้พบในคัมภีร์ของพระผู้เป็นเจ้าแล้วว่า คนประเภทนั้นเป็นคนที่ได้รับการสาปแช่งใน 3 แห่งด้วยกัน

ดังซูเราะฮฺ มุฮัมมัด โองการที่ 22 ว่า :

“ พวกเจ้ายังมีความหวังอีกหรือทั้ง ๆ ที่ปฏิเสธหลักธรรมแล้วก่อความเสียหายในหน้าแผ่นดินและญาติขาดมิตรของพวกเจ้า บุคคลเหล่านี้เป็นพวกที่อัลลอฮฺทรงให้การสาปแช่งและทรงบันดาลให้พวกเขาหูหนวกและตาบอด ”

อีกทั้งในซูเราะฮฺอัล-เราะอฺดุ โองการที่ 25 ยังตรัสอีกว่า :

“ เหล่าบรรดาผู้ที่ลิดรอนพันธะสัญญาของอัลลอฮฺหลังจากให้คำมั่นกับพระองค์แล้ว และตัดขาดในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงบัญชาให้เขาเชื่อมสัมพันธ์ไว้และก่อความเสียหายในแผ่นดินเหล่านี้คือพวกที่ได้รับซึ่งการสาปแช่ง และมีสถานพำนักอันแสนเลว ”

และทรงมีโองการในซูเราะฮฺอัล-บะก่อเราะฮฺ โองการที่ 27 ว่า :

“ บรรดาผู้ที่บั่นทอนพันธะสัญญาของอัลลอฮฺหลังจากที่ได้ให้คำมั่นต่อพระองค์แล้ว และตัดขาดในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงบัญชาให้เขาเชื่อมสัมพันธ์ไว้และก่อความเสียหายในหน้าแผ่นดินเหล่านี้คือพวกขาดทุน ” ( 1)

(1) อุศูลุล-กาฟี เล่ม 2 หน้า 641 , ศิฟะตุศ-ศ็อฟวะฮฺ เล่ม 2 หน้า 56

พินัยกรรมฉบับที่ 2

เป็นพินัยกรรมที่ท่านอิมามอฺะลี บินฮุเซน(อฺ)มีไว้สำหรับบรรดามิตรสหายของท่าน(อฺ)มีดังนี้

ท่านอะบูฮัมซะฮฺ อัษ-ษุมาลี(ร.ฏ.) กล่าวว่า :

ท่านอฺะลี บินฮุเซน(อฺ)กล่าวกับบรรดามิตรสหายของท่าน(อฺ)ว่าของพวกท่าน งานที่อัลลอฮฺ ( ซ.บ.) ให้เกียรติมากที่สุดคือ งานที่พวกท่านให้เกียรติในงานนั้น ๆ เพื่อมุ่งหวังให้ความโปรดปรานของพระองค์ งานที่ทำให้พวกท่านปลอดภัยจากการลงโทษของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้แก่ ความยำเกรงอย่างยิ่งที่พวกท่านมีต่อพระองค์ สิ่งที่ทำให้พวกท่านใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) มากที่สุด ได้แก่ จริยธรรมในด้านการเผื่อแผ่ของพวกท่าน สิ่งที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงพอพระทัยมากที่สุดในหมู่พวกท่าน ได้แก่ การมีความเกื้อกูลต่อคนในครอบครัว และคนที่มีเกียรติยศที่สุดสำหรับอัลลอฮฺ (ซ.บ.) คือคนที่มีความยำเกรงมากที่สุดในหมู่พวกท่าน ” ( 2)

(2) ซัยนุลอฺาบิดีน ของ อัล-มุก็อรร็อม หน้า 141.

พินัยกรรมฉบับที่ 3

เป็นพินัยกรรมที่ท่านอิมาม(อฺ)มอบแก่ ท่านซุฮฺรี(ร.ฏ.)มีดังนี้

ท่านอิมามบาเก็ร(อฺ)กล่าวว่า : มุฮัมมัด บินมุสลิม บินชิฮาบ อัซซุฮฺรี(ร.ฏ.)ได้เข้าพบท่านอฺะลี บินฮุเซน(อฺ) ในอาการของคนมีความทุกข์

ท่าน(อฺ)ได้ถามท่าน

“ อะไรทำให้ท่านเป็นทุกข์อย่างนี้ ?”

เขาตอบว่า “ ข้าแต่ผู้เป็นบุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ความระทมทุกข์และความกลุ้มอกกลุ้มใจมาเร้ารุมเข้า ก็เนื่องด้วยข้าได้รับการทดสอบในเรื่องของผู้อิจฉาริษยาต่อสิ่งที่เป็นความดีงามของข้า และคนที่อยากได้ในของๆ ข้า และในเรื่องของคนที่ข้าหวังดีด้วย แต่เขาขัดต่อเจตนาดีของข้า ”

ท่านอะลี บินฮุเซน(อฺ)จึงกล่าวว่า “ ท่านจงรักษาลิ้นของท่านไว้ให้จงดีแล้วท่านจะสามารถใช้มันควบคุมมิตรสหายของท่านได้ ”

ท่านซุฮฺรี(ร.ฏ.)กล่าวว่า “ ข้าแต่ผู้เป็นบุตรของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ข้าพูดดีกับพวกเขาเสมอ ”

ท่านอิมาม(อฺ)กล่าวว่า “ ช้าก่อน ช้าก่อน ท่านต้องระวังในการที่หัวใจจะพึงพอใจในสิ่งดังกล่าว ท่านต้องระวังการพูดที่ก่อให้เกิดการปฏิเสธในหัวใจทั้งหลาย ถึงแม้ท่านมีความจำเป็นก็ตาม กล่าวคือ ใช่ว่าทุกอย่างที่ท่านได้ยินมาจะเป็นความชั่วร้ายไปเสียทั้งหมดก็หามิได้ ท่านจำเป็นต้องทำใจกว้างด้วยการผ่อนปรนให้กับสิ่งนั้นๆ

ซุฮฺรีเอ๋ย คนใดที่ไม่มีความคิดอ่านอย่างสมบูรณ์พร้อมจริงๆ ย่อมประสบความหายนะด้วยเหตุเพียงง่ายๆ

ซุฮฺรีเอ๋ย หน้าที่ของท่านคือ จะต้องทำให้มุสลิมทั่วไปเป็นเสมือนหนึ่งครอบครัวของท่าน กล่าวคือ จงถือว่าคนที่อาวุโสกว่าอยู่ในฐานะเสมอบิดา และจงถือว่า คนที่เล็กกว่าอยู่ในฐานะเสมอบุตร ส่วนกับคนรุ่นราวคราวเดียวกันก็จงถือเสมอพี่น้อง แล้วยังจะมีใครอีกที่ท่านจะขุดคุ้ยความลับ และแท้จริงการที่อิบลีซซึ่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.)สาปแช่ง หันหลังให้ท่านก็เพราะท่านมีความดีเด่นกว่าคนใดในหมู่ชาวกิบละฮฺ(พวกที่ยึดถือศาสนาต่อปฏิเสธทายาทของท่านศาสดา) ดังนั้นจงดูให้ดี ถ้าหากใครอาวุโสกว่าท่าน ท่านก็จงกล่าวว่า :

“ แน่นอน เขามีศรัทธาและมีผลงานที่ดีมาก่อนข้า เขาย่อมประเสริฐกว่าข้า ”

แต่ถ้าหากใครเป็นผู้น้อยกว่า ท่านก็จงกล่าวว่า :

“ แน่นอนความผิดพลาดและความบาปต่างๆ นั้น ข้าย่อมพานพบมาก่อนเขา ดังนั้นเขาย่อมประเสริฐกว่าข้า ”

แต่ถ้าหากคนรุ่นเดียวกัน ท่านก็จงกล่าวว่า :

“ ข้ามั่นใจในส่วนที่เป็นความบาปของข้า แต่ยังไม่แน่ใจในส่วนที่เป็นของเขา ฉะนั้นข้าจึงไม่ควรละวางของที่ข้ามั่นใจไปวุ่นวายกับของที่ข้ายังสงสัย ”

หากท่านเห็นมุสลิมให้เกียรติยกย่องท่าน ก็จงพูดเถิดว่า :

“ อันนี้คือความดีงามที่ท่านต้องรับมันเอง ”

แต่ถ้าหากท่านเห็นความกระด้างการเดื่องของพวกเขา ก็จงกล่าวว่า

“ นี่คือความผิดที่ข้าก่อขึ้นเอง ”

ถ้าหากท่านทำได้อย่างนี้ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงให้การดำเนินชีวิตของท่านสะดวกและท่านจะมีเพื่อนฝูงมาก ศัตรูของท่านจะน้อยลง และท่านจะเป็นสุขเพราะความดีของพวกเขา จะไม่ได้รับความเสียใจจากความหยาบกระด้างของพวกเขาอีกเลย

จงสังวรไว้ว่า คนที่มีเกียรติกว่าใครทั้งหมด จะต้องเป็นคนที่มีความดีมากกว่าใครทั้งหมดด้วย และคนเหล่านั้นจะต้องมีความเอื้อเฟื้อ มีจิตใจผ่อนปรน และคนที่มีเกียรติยิ่งไปกว่านั้นอีก ก็คือ คนที่ให้ความผ่อนปรนเสมอ แม้ในยามที่ตนมีความจำเป็นก็ตาม คนใดไม่รบกวนประชาชนในสิ่งที่พวกเขามีอยู่ จะได้ชื่อว่าเป็นคนมีเกียรติ คนใดไม่รบกวนประชาชนในเรื่องดังกล่าวแล้วยังช่วยเสริมให้พวกเขาไปอีกบางส่วน จะได้ชื่อว่ามีเกียรติที่สุดเผื่อแผ่ที่สุด ” ( 3)

(3) อัล-อิฮ์ติญาจ เล่ม 2 หน้า 52

พินัยกรรมฉบับที่ 4

เป็นพินัยกรรมที่ท่านอิมามอฺะลี บินฮุเซน(อฺ) ให้ไว้กับสหายของท่าน(อฺ) ดังนี้

ท่านอะบีฮัมซะฮฺ อัษ-ษุมาลี(ร.ฏ.) กล่าวว่า :

ท่านอฺะลี บินฮุเซน(อฺ) ได้พูดกับสหายของท่าน(อฺ)ว่า

“ พี่น้องของฉัน ฉันจะสั่งเสียพวกท่านในเรื่องปรภพ แต่จะไม่สั่งเสียพวกท่านเกี่ยวกับเรื่องชีวิตทางโลก เพราะสิ่งนี้พวกท่านปรารถนา และยึดมั่นกันอยู่แล้ว คำพูดตอนหนึ่งของท่านนบีอีซา ( อฺ) บุตรของท่านหญิงมัรยัม (ร.ฏ.) ที่ให้ไว้กับบรรดาสาวก พวกท่านเคยรับทราบแล้วหรือยัง ? ท่านกล่าวว่า

“ พวกท่านแต่ละคนล้วนสร้าบ้านอยู่ในกระแสคลื่นในทะเล นั่นคือ บ้านแห่งชีวิตทางโลกดังนั้นจงอย่าถือว่ามันเป็นบ้านถาวร ” ( 4)

(4) ซัยนุลอฺาบิดีน ของ มุก็อรร็อม หน้า 176.

พินัยกรรมฉบับที่ 5

ท่านอิมามบาเก็ร(อฺ) กล่าวว่า : ท่านอะลี บินฮุเซน(อฺ)ได้พูดกับบุตรชายของท่าน(อฺ)ว่า

“ จงระมัดระวังเรื่องการโกหก ไม่ว่าเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ ไม่ว่าจะเรื่องหนักหรือเรื่องเบา เพราะคนถ้าโกหกในตอนเด็ก ก็จะติดตัวจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่ พวกท่านรู้หรือไม่ว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวไว้ว่า

“ ถ้าบ่าวของพระองค์คนใดพูดความจริงอยู่เสมอ ไม่แคล้วที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะบันทึกว่า เขาคือคนมีสัจจะ แต่ถ้าบ่าวคนใดพูดโกหกอยู่ประจำก็ไม่วายที่พระองค์จะบันทึกว่าเขาคือ คนโกหก ” ( 5)

(5) อิรชาดุล-กุลู๊บ เล่ม 1 , หน้า 178.

พินัยกรรมฉบับที่ 6

เป็นพินัยกรรมที่ท่านอิมามซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ)มีไว้ต่อบรรดาสหายและพรรคพวก(ชีอะฮฺ)ของท่าน(อฺ) ทุกวันศุกร์ มีดังนี้

“ ประชาชนทั้งหลาย จงยำเกรงต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)และจงสังวรว่า พวกท่านจะต้องคืนกลับสู่พระองค์ และทุกชีวิตจะต้องพบกับผลงานของตนที่ได้ประกอบไว้ หากเป็นความดี มันก็จะมาปรากฏทันที และอันใดที่เป็นผลงานความชั่ว แต่ละชีวิตก็อยากให้มันออกห่างไปจากตนให้ไกลแสนไกลอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเตือนให้พวกท่านระแวดระวังพระองค์ บุตรของอาดัมผู้หลงลืมแต่ไม่เคยถูกลืม ความพินาศจะได้แก่พวกท่าน แท้จริงวาระสุดท้ายของท่านก็คือ สิ่งที่จะประสบแก่ท่านอย่างรวดเร็วที่สุด

มันจะมุ่งหมายมาหาท่านอย่างเฉียบพลัน มันคอยแต่จับจ้องท่านให้ทัน ดังนั้น ในเมื่อวาระสุดท้ายของท่านมาถึงแล้ว มะลาอิกะฮฺก็จะมาดึงวิญญาณของท่าน และท่านจะถูกนำไปอยู่ในสุสานของท่านแต่ผู้เดียว บัดนั้นวิญญาณของท่านก็จะถูกนำกลับมาสู่ท่าน จะมีมะลาอิกะฮฺสองท่านมาหาก่อน นั่นคือ มุงกัรและนากีรฺเพื่อสอบถามท่าน อันเป็นการสอบสวนที่รุนแรง ท่านรู้ใช่ไหมว่า

ข้อแรกที่พวกเขาจะถามท่านก็คือ เรื่องของพระผู้อภิบาลของท่านที่ท่านเคารพภักดี และเรื่องของนบีของท่านที่พระองค์ทรงส่งมาเพื่อท่าน และเรื่องศาสนาที่ท่านนับถือ และเรื่องคัมภีร์ที่ท่านอ่าน และเรื่องอิมามที่ท่านยอมรับในความเป็นผู้นำ และเรื่องอายุขัยที่ท่านทำให้สูญเสียไป และเรื่องทรัพย์สินที่ท่านหามาจากทางใดและจ่ายไปในทางใด ดังนั้นจงระวังให้ดี จงพิจารณาดูตัวของท่าน และจงเตรียมคำตอบก่อนจะมีคำถามและการสอบสวนแต่ถ้าท่านเป็นคนที่มีความเชื่อมั่น รู้แจ้งในศาสนาของท่านจริงเป็นคนที่ปฏิบัติตามเหล่าบรรดาผู้มีสัจจะจริง เป็นผู้ให้การยอมรับในการเป็นผู้นำของบรรดาเหล่าเอาลิยาอ์ (บรรดาอิมามะอฺศูมทั้งหลาย)จริง อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็จะทรงบันดาลให้ท่านได้พบข้อพิสูจน์ของท่าน และลิ้นของท่านก็จะตอบได้อย่างถูกต้องคำตอบของท่านก็จะเป็นไปด้วยดี ท่านจะได้รับการแจ้งข่าวดีในเรื่องสวรรค์และความปิติชื่นชมจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) มวลมะลาอิกะฮฺจะนำท่านไปพบกับดวงวิญญาณอันใสสะอาดบริสุทธิ์ผุดผ่อง แต่ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น ลิ้นของท่านจะระรัว ข้อพิสูจน์ของท่านจะไม่มีคำตอบ จะผิดพลาด และท่านจะได้รับการแจ้งให้ทราบถึงเรื่องนรก มะลาอิกะฮฺจะรับท่านไปพบกับการลงโทษในนรกอันเดือดพล่าน ท่านจะต้องเข้านรกอันร้อนแรง

บุตรของอาดัมเอ๋ย จงสังวรไว้ว่า สิ่งที่มาที่หลังจากนี้ อันเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่และตื่นตระหนกแก่ดวงใจทั้งหลาย ก็คือ วันฟื้นคืนชีพ

วันนั้น จะเป็นวันที่มนุษยชาติทั้งหลายจะรวมเข้ามาอยู่ด้วยกัน และนั่นคือวันที่ได้รับการยืนยัน ในวันนั้นอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงรวบรวมทั้งคนยุคแรกและยุคสุดท้าย และวันนั้นสังข์แห่งสัญญาณจะถูกเป่าลงไป

สุสานทั้งหลายจะถูกเปิดเผย และวันนั้นดวงวิญญาณทั้งหลายจะต้องทนกล้ำกลืน นั่นคือวันที่จะไม่มีคำพูดที่เหลวไหลอีกแล้ว สิ่งทดแทนใดๆ จากใครจะไม่เป็นที่ถูกยอมรับอีกต่อไป คำอุทธรณ์ใดๆ ของใครที่จะไม่เป็นที่ถูกยอมรับการขอโทษอันใดของใครก็จะไม่เป็นที่ถูกยอมรับ สิ่งใดๆ ย่อมไม่มีนอกจากการตอบแทนความดีทั้งหลาย และการตอบแทนความชั่วทั้งหลาย ดังนั้นผู้ใดเป็นคนเชื่อมั่นประกอบความดีบนโลกนี้ แม้เพียงธุลีหนึ่ง เขาก็จะพบเห็น ผู้เชื่อมั่นคนใดที่ประกอบความชั่วแม้เพียงธุลีหนึ่ง เขาก็จะพบเห็น

ประชาชนทั้งหลาย จงระวังในเรื่องความบาปที่อัลลฮฺ(ซ.บ.)ทรงห้ามพวกท่านไว้ในคัมภีร์อันคงความสัจจะ และคำอธิบายอันทรงไว้ ซึ่งเหตุผลพวกท่านจะไม่ได้รับความปลอดภัยจากแผนการของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และการทำลายล้างพระองค์ ในขณะที่ชัยฏอนเชิญชวนพวกท่านไปสู่ความชั่วร้ายและความเอร็อดอร่อยในชีวิตทางโลก

แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการว่า :

“ บรรดาพวกที่ยำเกรงเหล่านั้น ในเมื่อพวกชัยฏอนมาแผ้วพาน พวกเขาก็จะรำลึกได้ บัดนั้นพวกเขาย่อมเป็นพวกที่มีสายตามองเห็น ”

( อัล-อะอฺรอฟ: 201)

จงปลุกหัวใจของพวกท่านให้รู้สึกเกรงกลัวอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และสำนึกใคร่ครวญถึงสัญญาในการกลับคืนสู่พระองค์ พร้อมด้วยกับการตอบแทนอันแสนดีงาม ขณะเดียวกันก็จงกลัวต่อการลงโทษอันร้ายแรง เพราะคนเราถ้ากลัวสิ่งใดก็จะระวังสิ่งนั้น เมื่อระวังสิ่งใดก็จะสลัดสิ่งนั้นได้

จงอย่าเป็นผู้เผลอไผลลืมเลือนไปกับความเพริดแพร้วของโลกซึ่งพวกเขาวางแผนร้าย

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการว่า :

“ บรรดาผู้ที่วางแผนการชั่ว จะปลอดภัยจากการที่อัลลอฮฺจะให้แผ่นดินสูบพวกเขาไปหรือ หรือว่าให้รอดพ้นจากการลงโทษที่จะมายังพวกเขาโดยที่พวกเขาไม่รู้ตัว หรือจะลงโทษพวกเขาให้ตกอยู่ในความสับสน แล้วพวกเขามิอาจมีชัย ( เหนือพลานุภาพของพระองค์) ใด ”

( อัน-นะฮฺลุ: 45-46)

บางที่พระองค์จะลงโทษพวกเขาด้วยความกลัว ดังนั้นพวกท่านจงระวังในสิ่งที่อัลลอฮฺ ( ซ.บ.) ทรงเตือนให้ระวังเรื่อง “ ความอธรรม ”

ตามที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอานของพระองค์ เพราะพวกท่านจะไม่ปลอดภัยจากการลงโทษบางประการที่พระองค์สัญญาไว้กับบรรดาผู้อธรรมตามข้อความในคัมภีร์ของพระองค์ แน่นอน อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงเตือนพวกทานด้วยการกล่าวถึงคนอื่น และแท้จริงผู้ได้รับความผาสุก คือ ผู้ที่ถูกตักเตือนด้วยบุคคลอื่น แน่นอนพวกท่านได้ฟังข้อความที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตรัสไว้ในคัมภีร์เกี่ยวกับเรื่องที่พระองค์จะทรงกระทำต่อบรรดาผู้อธรรมในเมืองต่างๆ ก่อน สมัยของพวกท่าน