ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน0%

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดประวัติศาสตร์

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 41064
ดาวน์โหลด: 3074


รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามฮุเซน ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 157 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 41064 / ดาวน์โหลด: 3074
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ถาม ~ ตอบ

เรื่องที่ 13

มีคนถามท่านอิมามที่ 4 อฺะลี บิน ฮุเซน (อฺ) ว่า

“ ความเป็นอยู่ของท่านเป็นอย่างไรบ้าง ข้าแต่ผู้เป็นบุตรแห่งท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ(ศ) ?”

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“ ฉันอยู่ในฐานะผู้ได้รับการถามหาถึง 8 กรณีด้วยกันคือ

หนึ่ง อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงถามหาฉันเกี่ยวกับบทบัญญัติภาคบังคับ

สอง ท่านนบี(ศ) ถามหาฉันเกี่ยวกับ เรื่องกฎเกณฑ์แบบจริยวัตร

( ซุนนะฮฺ) ของท่าน

สาม ครอบครัวถามหาอาหาร

สี่ จิตใจถามหาความต้องการทางกิเลส

ห้า ชัยฏอนถามหาถึงความเป็นบริวาร (ต่อมัน)

หก มะลาอิกะฮฺทั้งสองถามหาการงานที่จริงใจ

เจ็ด มะลาอิกะฮฺแห่งมรณะถามหาวิญญาณ

แปด สุสานถามหาเรือนร่าง

ฉันจึงตกอยู่ในสภาพที่ถูกถามหาเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ ” (13)

(13) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ 4 กอฟ 1/534

ถาม ~ ตอบ

เรื่องที่ 14

ท่านอิมามซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ)ได้อธิบายโองการอัล-กุรอานที่ว่า

“ และในเรื่องการลงโทษนั้น สำหรับสูเจ้าคือ ชีวิตครึ่ง โอ้งปวงชนผู้มีสติปัญญา... ”( อัล-บะก่อเราะฮฺ: 179)

ท่าน(อฺ)ได้ให้ความหมายว่า

“ โอ้ ประชาชาติของมุฮัมมัด ผู้ใดครุ่นคิดถึงการฆ่า ก็จงรู้ไว้เถิดว่าเขาจะต้องได้รับการแก้แค้นอย่างสาสมกับการฆ่าในครั้งนี้ นั่นคือ ชีวิตหนึ่งจะต้องเป็นของผู้ที่ครุ่นคิดถึงการฆ่า และชีวิตของผู้เสียหายคนนี้จำต้องมีการชดใช้ด้วยการฆ่าชีวิตหนึ่งจากคนอื่นอีก ในเมื่อรู้ว่า เรื่องการฆ่ามีกฎบังคับให้แก้แค้น จึงมิได้เร่งเร้ากันในการฆ่า เนื่องจากกลัวถูกแก้แค้น ” ( 14)

(14) อัล-เอียะฮฺติญาจญ์ เล่ม 2 , หน้า 50

ถาม ~ ตอบ

เรื่องที่ 15

ท่านอิมามอฺะลี บินฮุเซน(อฺ) ได้รับการถามเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “ อัศ-เศาะมัด ”

และท่าน(อฺ)ตอบว่า

“ ทรงเป็นที่พึ่งโดยไม่มีภาคีใด ๆ ไม่มีการเหน็ดเหนื่อยเนื่องจาก

การพิทักษ์สิ่งใด ๆ และไม่บกพร่องจากสิ่งใดๆ ” ( 15)

(15) อะมาลี ของ ชัยคฺ ศุดูก หน้า 129

ถาม ~ ตอบ

เรื่องที่ 16

ท่านษาบิต บินดีนาร(ร.ฏ.)ได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าเคยถามท่านอิมามซัยนุลอฺาบิดีน อฺะลี บิน ฮุเซน บิน อฺะลี

บิน อะลีฏอลิบ(อฺ)ในเรื่องของ “ อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ” ว่า

“ พระองค์จะถูกกำหนดคุณลักษณะว่า มีที่อยู่ หรือไม่ ?”

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสูงส่งเกินกว่าที่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องเช่นนี้ ”

ข้าพเจ้าถามว่า

“ แล้วทำไมพระองค์ทรงนำนบีของพระองค์เสด็จขึ้นสู่ฟากฟ้าในยามเดินทาง ?”

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“ เพื่อให้ท่านแลเห็นบรรดามะลาอิกะฮฺแห่งชั้นฟ้าและงานสร้างสรรค์อันมหัศจรรย์ยิ่งของพระองค์ ”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “ อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงมีโอกาสว่า

“ หลังจากนั้น เขา(ศาสดามุฮัมมัด(ศ)) ก็เข้ามาใกล้แล้ว (วะฮฺยู)ก็ถูกประทานลงมาแก่เขา

เขาอยู่ใกล้เสมือนความห่างสองช่วงปลายคันธนูหรือใกล้ยิ่งกว่านั้น ” ( อัน-นัจญม์ : 8)

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“ ท่านศาสทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ก็เป็นอย่างนั้น ท่านเข้ามาใกล้จากหลังม่านรัศมี แล้วท่าน(ศ)ได้แลเห็นมวลมะลาอิกะฮฺแห่งชั้นฟ้าทั้งหลาย จากนั้นท่านศาสนทูต(ศ)ก็ได้ขยับเข้าไปใกล้ แล้วท่าน ( ศ) ได้ทอดสายตา มองจากเบื้องล่างของม่านไปยังมะลาอิกะฮฺแห่งพื้นโลก จนท่านนึกว่า ระหว่าง

ท่านกับพื้นโลกใกล้กันแค่ระยะของสองปลายธนู หรือใกล้กว่านั้น ” ( 16)

(16) อะมาลีย์ ของ ชัยคฺ ศอดูก หน้า 129

ถาม ~ ตอบ

เรื่องที่ 17

ท่านซุฮฺรี(ร.ฏ.)ได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าเคยเข้าพบท่านอฺะลี บินฮุเซน(อฺ) แล้วท่าน(อฺ) พูดกับข้าพเจ้าว่า

“ ซุฮฺรีเอ๋ย ท่านมาจากไหน ?”

ข้าพเจ้าตอบว่า

“ มาจากมัสญิด ”

ท่าน(อฺ)ถามว่า

“ พวกท่านมีอะไรกัน ?”

ข้าพเจ้าตอบว่า

“ พวกเราทบทวนกันเรื่องการถือศีลอด ทั้งข้าพเจ้าและบรรดาสหายต่างก็ร่วมกันแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่ว่า การถือศีลอดไม่มีอะไรเป็นข้อบังคับอีกเลย นอกจากการถือศีลอดในเดือนร่อมะฏอน ”

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ ซุฮฺรีเอ๋ย มันมิได้เป็นเหมือนอย่างที่พวกท่านพูดกันหรอก

การถือศีลอดนั้นมีอยู่ 40 ประเภท มีที่เป็นข้อบังคับเหมือนศีลอดร่อมะฏอน

10 ประเภท อีก 10 ประเภทเป็นการถือศีลอดที่ต้องห้าม และอีก

14 ประเภทที่เจ้าตัวสามารถตัดสินใจเลือกเอาเองได้ ไม่ว่าจะเป็นการถือหรือต้องการจะไม่ถือ มี 3 ประเภทที่เป็นศีลอะที่ต้องมีการได้รับอนุญาต นอกจากนี้ก็เป็นศีลอดเพื่อการฝึก ศีลอดอนุโลม ศีลอดในยามเดินทาง หรือศีลอดของผู้ป่วย ”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

“ ขอท่านได้โปรดอธิบายให้ข้าฯทราบถ้วยเถิด ”

ท่าน(อฺ)เริ่มอธิบายว่า

“ สำหรับศีลอดภาคบังคับ ได้แก่

1) การถือศีลอดในเดือนร่อมะฏอน

2) การถือศีลอดสองเดือนติดต่อกัน สำหรับคนที่ละศีลอดในเดือนร่อมะฏอนโดยเจตนา

3) การถือศีลอดสองเดือนติดต่อกัน ในกรณีฆาตกรรมโดยไม่เจตนาของคนที่ไม่สามารถปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระ

เป็นข้อบังคับดังที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการว่า

“ และผู้ใดฆ่าผู้ศรัทธาคนหนึ่งตายโดยไม่เจตนาเขาจะต้องปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระ และส่งมอบสินไหมให้แก่ครอบครัวของผู้นั้นโดยดุษฏี ดังนั้น ผู้ใดที่ไม่สามารถกระทำได้ ก็ให้ถือศีลอดสอเดือนติดต่อกัน ”

( อัน-นิซาอ์: 92)

4) การถือศีลอดสองเดือนติดต่อกัน ในกรณีปลดเปลื้องความบาปของการสาบาน “ ซิฮารฺ ” ( เปรียบภรรยาว่า เป็นแม่ แล้วจะไม่เกี่ยวข้องเป็นสามีภรรยากันอีก) ถ้าไม่สามารถปลดปล่อยทาสได้ก็เป็นข้อบังคับ

ดังที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตรัสว่า :

“ และบรรดาผู้ที่สาบาน “ ศิฮารฺ ” กับภรรยาของตน ต่อมาก็กลับคำพูด ดังนั้นจงทำการปลดปล่อยทาส ให้เป็นอิสระ ก่อนจะแตะต้องตัวกัน นี่คือข้อแม้ที่สูเจ้าได้รับคำตักเตือน และอัลลอฮฺทรงตระหนักเสมอในสิ่งที่สูเจ้ากระทำ ดังนั้นผู้ใดไม่สามารถทำได้ ก็ให้ทำการถือศีลอดสองเดือนติดต่อกันก่อนจะมีการแตะต้องตัวกัน ”

( อัล-มุญาดะละฮฺ: 3)

5) การถือศีลอด 3 วัน เนื่องในการปลดเปลื้องความบาป กรณีที่ทำการสาบาน(เมื่อบรรลุผล แล้วไม่ปฏิบัติตามที่ได้สาบานไว้) เป็นข้อบังคับของคนที่ไม่มีสิ่งอื่น นอกจากอาหารมื้อเดียว

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการว่า :

“ ดังนั้นคนที่ไม่มีความสามารถใด ๆ จะต้องถือศีลอด 3 วัน นี่คือการปลดเปลื้องความบาป เนื่องในการสาบานของสูเจ้าเมื่อเจ้าออกปากสาบานแล้ว ” ( อัล-มาอิดะฮฺ : 89)

ทุกประเภทนี้จะต้องถือติดต่อกันไป โดยแบ่งแยกเวลามิได้

6) การถือศีลอดทดแทนของคนที่โกนศีรษะไม่ได้ เนื่องในพิธีฮัจญ์ (เพราะกลัวว่าอาจเป็นอันตราย) ก็เป็นข้อบังคับ

ดังที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการว่า :

“ ในหมู่สูเจ้า ถ้าใครเป็นคนป่วยหรืออาจเป็นอันตรายต่อศีรษะ(หากทำการโกนศีรษะในพิธีฮัจญ์) ดังนั้นก็ใช้ชดเชย(ฟิดยะฮฺ)ด้วยการถือศีลอด หรือทำการบริจาคทาน(เศาะตะเกาะฮฺ)หรือเชือดสัตว์ (แพะ , แกะ) พลี ”

( อัล-บะก่อเราะฮฺ: 196)

ในเรื่องนี้เจ้าตัวมีสิทธิในการตัดสินใจเลือกได้หากจะถือศีลอด ก็ถือ

3 วัน

7) การถือศีลอดในการไถ่โทษ(ดัม) สำหรับพิธีฮัจญ์ตะมัตตุอฺอันเป็นข้อบังคับแก่คนที่ไม่สามารถเชือดสัตว์เป็นพลี(อัล-ฮัดยฺ)ได้

ดังที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงมีโองการว่า :

“ ดังนั้น ผู้ใดที่ย้อนกลับมาทำฮัจญ์จากการทำอุมเราะฮฺตะมัตตุอฺ(ทำไม่เสร็จ) ก็ให้เขาจัดหาสัตว์ที่สะดวกเพื่อทำการเชือดเป็นพลี ส่วนผู้ใดที่ไม่สามารถทำได้ก็ให้เขาถือศีลอดเป็นเวลา 3 วัน ในพิธีฮัจญ์ และอีก 7 วันเมื่อได้กลับมาแล้ว นั้นก็คือ 10 วัน วันบริบูรณ์ ”

( อัล-บะก่อเราะฮฺ: 196)

8) การถือศีลอดเพื่อชดใช้ความผิด เนื่องจากการล่าสัตว์ ในขณะครองเอียะฮฺรอมในพิธีฮัจญ์ก็เป็นข้อบังคับ ดังมีโองการของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่ว่า

“ และผู้ใดในหมู่สูเจ้าที่ฆ่าสัตว์โดยเจตนา (ในขณะครองเอียะฮฺรอม) การทดแทนในข้อนี้จะต้องเป็นไปเหมือนดังที่เจาได้ฆ่าไป โดยให้ผู้มีความ

ยุติธรรมในหมู่สูเจ้าตัดสิน(ว่าเหมือนสัตว์ที่ถูกฆ่าไปหรือไม่) ด้วยการเชือดสัตว์พลีส่งมอบแก่อัล-กะอฺบะฮฺ) หรือต้องลบล้างความผิด(จ่าย

กัฟฟาเราะฮฺ)ด้วยการให้อาหารแก่คนจน หรือให้เท่าเทียมกันนี้ ด้วยการถือศีลอด ” ( อัล-มาอิดะฮฺ : 95)

“ ซุฮฺรีเอ๋ย เจ้ารู้หรือเปล่า ข้อความที่ว่า

“ ให้เท่าเทียมกันนี้ด้วยการถือศีลอด ” หมายความว่ากระไร ?”

ข้าพเจ้าตอบว่า

“ ไม่ทราบ ”

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ ให้หาข้อมูลของสัตว์ที่ถูกล่าตัวนั้น แล้วตีราคาตามมูลค่านั้นมาในรูปของอาหารที่ดี

ต่อจากนั้นให้เอาอาหารดังกล่าวมาตวงหาปริมาณว่าได้กี่ทะนาน และให้วางหลักเกณฑ์ว่า ต้องถือศีลอด 1 วัน ต่อทุก ๆ ครึ่งทะนาน

9) การถือศีลอดตามที่บนบาน(นะซัร)ไว้ก็เป็นข้อบังคับ

10) การถือศีลอดต้องห้าม ได้แก่ การถือศีลอดในวันอีดฟิฏรฺและวันอีดอัฏฮา ในจำนวน 3วันของช่วงเวลาแห่งการการเริ่มทำพิธีฮัจย์(ตัชรีก)การถือศีลอดในวันที่ยังสงสัยอยู่ กล่าวคือ มีทั้งสั่งให้ถือ และห้ามมิให้ถือที่สั่งให้ถือก็คือ เราจะต้องถือควบกับชะอฺบาน(เนียตให้เป็นศีลอดเดือนชะอฺบาน) แต่ที่ห้ามมิให้ถือก็คือ การที่คน ๆหนึ่งถือศีลอด(เนียตว่า เป็นศีลอดร่อมะฏอนเพียงงานเดียว)ในวันที่คนทั้งหลายยังสงสัยอยู่ (ว่าเป็นวันที่ 30 ชะอฺบาน หรือที่ 1 รอมฏอน) ”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

“ โปรดแนะนำด้วยเถิดว่า ถ้าหากเขามิได้เนียตถือศีลอดเพื่อเตือน

ชะอฺบานเลย เขาจะทำอย่างไร ?”

ท่าน(อฺ) ตอบว่า

“ ในคืนที่ยังอยู่ในความสงสัยนั้น ให้เขาตั้งเจตจำนงว่า เขาถือศีลอดเพื่อเดือนชะอฺบาน

กล่าวคือ ถ้าหากมันไปเดือนรอมฏอน เขาก็จะได้รับผลตอบแทน และถ้าหากเป็เดือนชะอฺบานก็ไม่เป็นพิษเป็นภัยอันใด ”

ข้าพเจ้าถามอีกว่า

“ ศีลอดที่ถือไปเพื่อเป็นงานอาสา(มุซตะฮับ) จะมีค่าทดแทนศีลอดภาคบังคับได้อย่างไร ?”

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“ ใครก็ตามจะถือศีลอดในวันใดวันหนึ่งของเดือนรอมฏอน เพื่อเจตนาให้เป็นงานอาสาโดยไม่รู้ว่านั่นคือวันของร่อมะฏอน แต่มารู้เอาที่หลังจากที่ตั้งเจตจำนงอย่างนั้นไปแล้ว เขาก็จะได้รับผลตอบแทนตามค่าของศีลอดร่อมะฏอน เพราะว่าศีลอดภาคบังคับย่อมเป็นไปตามวันเวลาที่แน่นอนของมันอยู่เสมอ

การถือศีลอดในเชิงติดต่อกันย่อมเป็นที่ต้องห้าม

การถือศีลอดด้วยการไม่พูดอะไรเลย ย่อมเป็นที่ต้องห้าม

การถือศีลอดเพื่อแก้บนในกิจการอันเป็นการทรยศต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็เป็นที่ต้องห้าม อีกทั้งการถือศีลอดตามวาระสำคัญก็เป็นที่ต้องห้ามเช่นกัน(17)

(17) ถืออย่างติดต่อกันหมายถึง ถือทั้งวันทั้งคืน ถือตามวาระสำคัญ หมายถึง ถือในวันต้องห้าม เช่นในวันอีดต่าง ๆ เป็นต้น ถือศีลอดด้วยการไม่พูดอะไร หมายถึง เนียตว่าในช่วงถือศีลอดจะไม่พูดสิ่งใดทั้งสิ้น

ส่วนการถือศีลอดที่เจ้าตัวมีสิทธิตัดสินเลือกเองได้ คือการถือศีลอดประจำวันศุกร์ วันพฤหัสบดี และวันจันทร์ การถือศีลอดเนื่องในวันที่ 13 , 14 , 15 ของทุกเดือน การถือศีลอดใน 6 วันของเดือนเชาวาลหลังจากเดือนรอมฏอนการถือศีลอดในวันอะร่อฟะฮฺ การถือศีลอดในวันอาชูรออ์

วาระต่างๆ เหล่านี้ เจ้าตัวมีสิทธิเลือกได้เอง อาจถือก็ได้จะไม่ถือก็ได้

ส่วนการถือศีลอดที่ต้องได้รับอนุญาต ได้แก่ กรณีของผู้เป็นภรรยาที่ต้องการจะถือศีลอด เพื่อเป็นงานอาสา นางจะถือมิได้นอกจากด้วยความยินยอมของสามี ทาสจะถือศีลอดเพื่อเป็นงานอาสามิได้ นอกจากด้วยความยินยอมของเจ้าของบ้าน

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)กล่าวว่า

“ ผู้ใดอยู่ในฐานะแขกของใคร ก็อย่าได้ถือศีลอดเพื่อเป็นงานอาสาอย่างเด็ดขาด นอกจากต้องได้รับการอนุญาตจากพวกเขาเสียก่อน ”

ส่วนกรณีการถือศีลอดเพื่อเป็นการฝึกฝนนั้น ได้แก่ การสั่งให้เด็กๆ ที่กำลังเจริญวัยถือศีลอดเพื่อเป็นการฝึกฝนแต่มิใช่เป็นข้อบังคับ

ทำนองเดียวกันนี้กับการฝึกเด็กด้วยวิธีให้เขารับประทาน

ในช่วงแรกของกลางวัน แล้วต่อจากนั้นก็สั่งให้เขาถือต่อไปอีกตามเวลาในส่วนที่เหลือของวันนั้น เพื่อเป็นการฝึกแต่มิใช่ข้อบังคับ เช่นเดียวกับคนเดินทาง ในเมื่อเขาได้รับประทานอาหารในช่วงแรกของกลางวัน แล้วให้เขาถือศีลอดในช่วงที่เหลือของวันนั้น ตอนกลับมาบ้าน อันเป็นการฝึกฝนมิใช่

ข้อบังคับ

ส่วนการถือศีลอดแบบอนุโลม ได้แก่ ใครก็ตามที่รับประทานอาหารหรือดื่ม หรืออาเจียนโดยมิได้ตั้งใจ ก็เท่ากับอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงอนุโลมให้แก่เขา และเขายังได้รับผลตอบแทนตามค่าของการถือศีลอดอยู่

ส่วนการถือศีลอดของคนเดินทางหรือคนป่วยนั้น คนทั่วไป

(หมายถึงพี่น้องอะฮฺลุซซุนนะฮฺ)ให้ทัศนะแตกต่างกันมาก กล่าวคือ

บางพวกกล่าวว่า “ ต้องถือศีลอด ”

บางพวกกล่าวว่า “ ไม่ต้องถือศีลอด ”

และบางพวกกล่าวว่า “ ถ้าต้องการจะถือก็ให้ถือไป แต่ถ้าต้องการจะไม่ถือก็ไม่ต้องถือ ”

แต่สำหรับเรา จะขอกล่าวว่า ในสองสถานการณ์นิ เขาไม่ต้องถือ ดังนั้นถึงแม้คนเดินทาง

หรือคนป่วยถือศีลอดก็ตาม เขายังจะต้องถือศีลอดชดเชย ในกรณีนี้อยู่ดี (เมื่อกลับมาถึงบ้านหรือหายไปจากการป่วยนั้น)

เพราะอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงมีโองการว่า :

“ ดังนั้นผู้ใดในหมู่สูเจ้าป่วยหรืออยู่ในการเดินทาง

ก็ให้คิดคำนวณวันเวลานั้น ๆ ไปชดใช้ในวันอื่น ๆ ” ( 18)

(18) อัล-คิศ็อล หน้า 537

ถาม ~ ตอบ

เรื่องที่ 18

ท่านซัยดฺ บินอฺะลี(ร.ฏ.) ได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าเคยถามท่านอิมามซัจญาด(อฺ)ผู้เป็นบิดาของข้าพเจ้าว่า

“ พ่อครับโปรดบอกลูกทีเถิด ในเรื่องที่ว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ทวดของพวกเราขึ้นสู่ฟากฟ้า (เมียะอฺร็อจญ)ในครั้งกระนั้น

แล้วพระผู้อภิบาลของท่าน(ศ)สั่งให้ทำการนมาซ 50 ครั้ง

ทำไมท่าน(ศ)จึงไม่ขอลดหย่อนเพื่อประชาชาติของท่าน(ศ)เสียเอง จนกระทั่งท่านนบีมูซาบุตรของอิมรอน(อฺ) ต้องกล่าวกับท่าน(ศ)ว่า :

จงกลับไปหาพระผู้อภิบาลของท่านเถิด แล้วจงขอลดหย่อนจากพระองค์ เพราะประชาชาติของท่านไม่มีความสามารถอย่างนั้นแน่ ”

ท่านอิมาม(อฺ)กล่าวว่า

“ ลูกเอ๋ย ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)มิได้ยื่นข้อเสนอแนะอะไรแด่พระผู้อภิบาลของท่านหรอก และท่าน(ศ)ก็มิได้หวนกลับไปหาพระผู้อภิบาลของท่านเพื่อทบทวนเรื่องใดๆ ก็ตามที่พระองค์ทรงบัญชาแก่ท่าน(ศ)ครั้นเมื่อนบีมูซา(อฺ) ถามท่าน(ศ)ในเรื่องนี้ ก็เท่ากับนบีมูซา(อฺ)ทำหน้าที่ขอความอนุเคราะห์ต่อท่าน(ศ)เพื่อประชาชาติของท่าน(ศ)เอง ก็ไม่เป็นการเหมาะสมที่ท่าน ( ศ) จะปฏิเสธการอนุเคราะห์ของท่านนบีมูซา (อฺ) ดังนั้น ท่าน (ศ) จึงกลับไปหาพระผู้อภิบาลเพื่อขอการลดหย่อนให้เหลือแค่เพียงวันละ 5 ครั้ง ”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

“ แล้วทำไมท่าน(ศ)จึงไม่กลับไปหาพระผู้อภิบาล เพื่อขอการลดหย่อนให้ต่ำจากวันละ 5ครั้ง ในเมื่อท่านนบีมูซา(อฺ) ก็ขอร้องท่าน(ศ)อีกว่าให้กลับไปขอการลดหย่อนจากพระผู้อภิบาลของท่าน(ศ)อีก ?”

ท่านอิมาม(อฺ)ตอบว่า

“ ลูกเอ๋ย ท่านศาสนทูต(ศ)มีความประสงค์ที่จะให้ประชาชาติของท่าน(ศ)มีโอกาสได้รับการลดหย่อน พร้อมๆ กับรางวัลของการนมาซ 50 ครั้ง ตามโองการของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่พระองค์ตรัสว่า :

“ ผู้ใดปฏิบัติความดีเพียงหนึ่ง เขาจะได้รับการตอบแทนเป็น 10 เท่าของความดีนั้น ”

( อัล-อันอาม: 160)

เจ้าไม่รู้หรือว่า เมื่อตอนที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)เสด็จลงสู่พื้นโลกแล้ว ญิบรออีลลงมาหาท่าน(ศ) แล้วกล่าวว่า

“ มุฮัมมัดเอ๋ย แท้จริงพระผู้อภิบาลของท่านฝากสลามมาให้

และตรัสว่า :แท้จริงนมาซนั้นมี 5 แต่รางวัลมี 50 ตรัสของข้าจะไม่เปลี่ยนแปลงและข้าจะไม่อธรรมต่อปวงบ่าวของข้าเลย ”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

“ พ่อครับ พระองค์อัลลอฮฺ(ซ.บ.)มิได้ทรงดำรงอยู่ในสภาพที่มีสถานที่มิใช่หรือ ?”

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ ใช่แล้ว อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีฐานะสูงส่งเกินจากสิ่งนั้น ”

ข้าพเจ้าถามว่า

“ แล้วที่ท่านนบีมูซา(อฺ)กล่าวกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ว่าจงกลับไปหาพระผู้อภิบาลของท่านเล่า จะหมายความว่าอย่างไร ?”

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ เป็นความหมายเดียวกันกับคำพูดของนบีอิบรอฮีม(อฺ)ที่ว่า

“ แท้จริง ข้าจะไปหาพระผู้อภิบาลของข้า แล้วพระองค์จะทรงนำทางข้า ”

( อัศ-ศ็อฟฟาต: 99)

และเป็นความหมายเดียวกันกับคำพูดของนบีมูซา(อฺ)เองที่ว่า

“ และข้าฯรีบมาหาพระองค์ ข้าแต่พระผู้อภิบาลของข้า ฯ เพื่อพระองค์ทรงพอพระทัย ”

( ฏอฮา: 84)

และเป็นความหมายเดียวกันกับที่พระองค์ตรัสว่า

“ แล้วเขาเหล่านั้นก็เร่งรุดไปหาอัลลอฮฺ ”

( อัซฺ-ซฺาริยาต: 50)

ซึ่งหมายถึงการไปบำเพ็ญฮัจญ์ที่บัยตุลลอฮฺ

ลูกเอ๋ย สถานกะอฺบะฮฺนั้น เป็นบ้านของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ดังนั้น ผู้ใดบำเพ็ญฮัจญ์ที่บ้านของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็เท่ากับเขาได้มุ่งไปสู่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)และมัสญิดทั้งหลายก็เป็นบ้านของอัลลอฮฺ ( ซ.บ.) ดังนั้น ผู้ใดพยายามไปมัสญิดก็เท่ากับพยายามไปหาอัลลอฮฺ (ซ.บ.) และมุ่งไปหาพระองค์

สถานที่นมาซในช่วงที่เขายืนนมาซอยู่นั้นเท่ากับยืนต่อหน้าอัลลอฮฺ(ซ.บ.) พวกที่ไปหยุดพักที่ทุ่งอะรอฟะฮฺเท่ากับพวกเขาไปหยุดพักต่อหน้าอัลลอฮฺ(ซ.บ.) แท้จริงฐานที่ตั้งแห่งชั้นฟ้าทั้งหลาย ล้วนเป็นของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ดังนั้นถ้าใครสามารถขึ้นไปสู่ที่นั่นได้ก็เท่ากับได้ขึ้นไปสู่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)

เช่นกัน (ดังการเมียะอฺร็อจญของท่านศาสดา(ศ))

เจ้าเคยได้ยินโองการหนึ่งของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ใช่ไหมว่า

“ บรรดามะลาอิกะฮฺ วิญญาณบริสุทธิ์เหล่านั้นทะยานขึ้นเบื้องสูงสู่พระองค์ ”

( อัล-มะอาริจญ์: 4)

และโองการที่พระองค์ตรัสในเรื่องนบีอีซา(อฺ)ว่า

“ แต่ทว่า อัลลอฮฺทรงยกเขาขึ้นไปสู่พระองค์ ”

( อัน-นิซาอ์: 158)

และพระองค์ทรงตรัสว่า

“ ถ้อยคำที่ดีย่อมมุ่งขึ้นไปสู่เบื้องบนและการงานที่ดีงาม(เหมาะสม

สมบูรณ์)เป็นตัวยกมันขึ้นไป ”

( ฟาฏิร: 10)( 19)

( 19) อัล-คิศ็อล หน้า 372

ถาม ~ ตอบ

เรื่องที่ 19

ท่านอะบี มาลิก(ร.ฏ.) กล่าวว่า

ข้าพเจ้าเคยกล่าวกับท่านอิมามอฺะลิ บินฮุเซน(อฺ) ว่า

“ โปรดบอกข้าพเจ้าให้รู้ในบทบัญญัติศาสนาทั้งหมดด้วยเถิด ”

ท่านอิมาม(อฺ)ตอบว่า

“ พูดด้วยสัจจะ ตัดสินด้วยความยุติธรรม และทำตามสัญญาให้ครบถ้วน ” ( 20)

( 20) อัล-คิศ็อล หน้า 113

‘ อัศ-ศ่อฮีฟะตุซ-ซัจญาดียะฮฺ ’

รวมบทดุอฺาอ์ของอิมามซัจญาด(อฺ)

บทดุอาอ์ของท่านอิมามซัจญาด(อฺ)ที่อยู่ในรูปของหนังสือ

“ อัศ-ศ่อฮีฟะตุซ-ซัจญาดียะฮฺ ”

เป็นต้นแบบของวิชาความรู้และจริยธรรม เป็นหนังสือที่ให้คุณค่าอย่างสูงทางด้านกฎเกณฑ์ คำตักเตือนในด้านต่างๆ ความรู้ในด้านหลักเอกภาพ และความเข้าใจในพระผู้เป็นเจ้าอย่างดีเป็นพิเศษ

อีกด้วยเป็นศูนย์รวมแห่งคติธรรม ข้อเตือนใจ และสอนมารยาทที่ยิ่งใหญ่อย่างชนิดที่ไม่มีหนังสือเล่มใดเทียบได้ นอกจากอัล-กุรอาน

นะฮฺญุล-บะลาเฆาะฮฺและตำราฮะดีษทั้งหลาย ในแง่ของต้นตำรับแห่งความดีงาม และความถูกต้อง

การกล่าวถึงหนังสือเล่มนี้ ถึงแม้จะให้การยกย่องอย่างสูงแล้วแต่ก็ยังนับว่าน้อยไปจากความเป็นจริงของมัน บางครั้งจึงมีคนกล่าวยกย่องว่าเป็น “ ซ์ะบูรแห่งวงศ์วานของมุฮัมมัด (ศ) ” ( 1)

(1) ซะบูร หมายถึงคัมภีร์เล่มหนึ่งที่ถูกประทานมายังศาสดาดาวูด (อฺ)

เป็นมูลฐานแห่งวิชาการด้านหลักเอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า เป็นแบบแผนของความชำนาญทางภาษา และที่สุดแห่งโวหารอันลึกซึ้ง

ท่านชัยคฺ อัล-มัจญลิซี(ร.ฮ.) กล่าวว่า : ข้าพเจ้าได้กล่าวถึงหนังสือ

“ ศ่อฮีฟะตุล-กามีละฮฺ ” ( อีกชื่อหนึ่งของอัศ-ศ่อฟะฮฺ) กับผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงคนหนึ่งในเมืองบัศเราะฮฺ ท่านกล่าวว่า

“ จงรับเอาไปจากข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าจะเขียนให้พวกท่าน ว่าแล้วเขาก็จับปากกามาเคาะที่ศีรษะ แต่ไม่ทันไรเขาก็เสียชีวิตไปเสียก่อน ” ( 2)

(2) บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม 11 , หน้า 12

บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) และพรรคพวกของท่านเหล่านั้นให้ความสำคัญกับหนังสือ “ อัศ-ศ่อฮีฟะตุซ-ซัจญาดียะฮฺ ” มาก ดังนั้น จึงต่างพากันถ่ายทอด โดยผู้ทำหน้าที่สายสืบเป็นจำนวนมากจน ท่านอัล-มัจญ์ลิซี (ร.ฮ.) กล่าวว่า ท่านมีหนังสือนี้จากสายรายงานต่าง ๆ จำนวนนับพัน (3)

(3) จากบทนำหนังสือ “ อัศ-ศ่อฮีฟะตุซ-ซัจญาดียะฮฺ ” โดยท่านซัยยิดมุฮัมมัดอับ-มิชกาฮฺ

บรรดานักปราชญ์ทั้งหลายต่างระดมกันทำหน้าพิทักษ์รักษา ศึกษา และอธิบายโดยคนเหล่านั้นได้ดำเนินการตรวจสอบหนังสือประวัติศาสตร์ ฮะดีษ และบูรพาคดีของอิสลาม เพื่อค้นคว้าหาบทดุอฺาอ์ของอิมาม(อฺ)ท่านนี้ ว่าบทใดที่ยังไม่มีปรากฏอยู่ในหนังสือ “ อัศ-ศ่อฮีฟะตุซ-ซัจญาดียะฮฺ ”

ต่อมาได้มีการรวบรวมหนังสือนี้ขึ้นเป็นครั้งที่ 2 โดยท่านชัยคฺมุฮัมมัด บินฮะซัน บินอัล-ฮุรรุลอามิลี