ชีวประวัติอิมามอะลี

ชีวประวัติอิมามอะลี 33%

ชีวประวัติอิมามอะลี ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: อิมามอลี
หน้าต่างๆ: 166

ชีวประวัติอิมามอะลี
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 166 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 34164 / ดาวน์โหลด: 4896
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามอะลี

ชีวประวัติอิมามอะลี

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

อัตชีวประวัติอิมามมะศูมีน ๑

อิมามอะลี(อ)

เขียน

ศาสตราจารย์เชคอะลี มุฮัมมัด อะลี ดุคัยยิล

แปล

อาจารย์อัยยูบ ยอมใหญ่

บทนำ

ตำแหน่งอิมาม

เมื่อเราถือว่า เป็นหน้าที่ของอัลลอฮ์(ซ.บ.)ที่พระองค์ทรงเมตตากรุณา ในกรณีที่ส่งมายังมวลมนุษย์ซึ่งบุคคลที่ชี้นำตักเตือน และเรียกร้องเชิญชวนมนุษย์สู่หนทางอันเที่ยงตรงโดยได้ทรงอธิบายความรู้ในทางศาสนาและกำหนดแบบแผนอันแน่นอนตามที่ทรงประสงค์แก่พวกเขาเพื่อเป็น

หลักฐานข้อพิสูจน์ของพระองค์ที่ให้แก่พวกเขาดังโองการที่ว่า :

“ดังนั้น หลักฐานข้อพิสูจน์อันเป็นเหตุผลลึกซึ้งเป็นของอัลลอฮ์”( )

ผู้ชี้นำและผู้ตักเตือนที่ว่านี้คือท่านศาสนทูตมุฮัมมัด(ศ)ซึ่งได้มีปาฏิหารย์มากมายและมีข้อพิสูจน์หลายประการมาสนับสนุนสัจธรรมและคำสอนของท่านและอัล-กุรอานอันทรงเกียรติเล่มนี้

ก็เป็นสิ่งมหัศจรรย์อันอมตะและเป็นข้อพิสูจน์อันเที่ยงธรรมประการหนึ่งของพระองค์ ที่ไม่มีความผิดพลาดใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นในยุคปัจจุบันและอนาคตข้างหน้าก็ตามจะล่วงล้ำกล้ำกลายคัมภีร์เล่มนี้ได้

มันเป็นสิ่งที่ถูกประทานจากพระผู้ทรงเกียรติ พระผู้ทรงปัญญาญาณนับเป็นเวลา ๑๔ ศตวรรษล่วงมาแล้วที่พระองค์ทรงท้าทายมนุษยชาติให้นำเสนอคัมภีร์ที่เหมือนกับเล่มนี้มาต่างหากสักเล่มหนึ่ง ต่อจากนั้นเมื่อทรงประจักษ์ถึงความด้อยในสมรรถภาพ และขีดความสามารถของมนุษย์

------------------------------------------------------------------

(๑)ซูเราะฮ์ อัล-อันอาม: ๑๔๙

พระองค์ตรัสว่า :

“ให้พวกเจ้านำมาเสนอเพียง ๑๐ บทที่เหมือนอย่างนี้” (๒)

ต่อมาตรัสอีกว่า :

“ให้พวกเจ้านำมาเสนอเพียงบทเดียว ที่เหมือนอย่างนี้”(๓)

และหลังจากเป็นที่แน่นอนแล้วว่า มวลมนุษย์ไร้ซึ่งสมรรถภาพ

พระองค์ก็ตรัสอีกว่า :

“จงกล่าวเถิดว่า แน่นอนถึงแม้มวลมนุษย์กับญินจะร่วมกันนำเสนอคัมภีร์สักเล่มหนึ่งให้เหมือนกับอัล-กุรอานนี้ พวกเขาก็มิอาจนำเสนอให้เหมือนเล่มนี้ได้ แม้ว่าส่วนหนึ่งจะเป็นฝ่ายช่วยเหลือแก่อีกส่วนหนึ่งก็ตามที”(๔)

เพราะท่านเป็นศาสนทูตจากอัลลอฮ์(ศ)สู่มวลมนุษย์เพื่อปลดปล่อยพวกเขาให้พ้นจากสภาพความเป็นอยู่แบบงมงาย หลงผิดซึ่งท่านก็ได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ตามที่ได้รับมอบหมาย และจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ที่ท่านจำเป็นต้องกลับคืนสู่พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งหมายถึงความตายที่ท่านไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

---------------------------------------------------------------------------

(๒) ซูเราะฮ์ ฮูด: ๑๓

(๓) ซูเราะฮ์ ยูนุส: ๓๘

(๔) ซูเราะฮ์ อัลอิซรออ์: ๘๘

ดังโองการที่ว่า

“แท้จริง เจ้าคือคนที่ต้องตายคนหนึ่งแล้วพวกเขาก็เป็นคนที่ต้องตายด้วย”(๕)

“เป็นกฎของอัลลอฮ์ที่มีแด่บรรดาคนในรุ่นก่อนๆ และเจ้าจะไม่พบว่ากฎใด ๆ ของอัลลอฮ์มีความเปลี่ยนแปลง”(๖)

แน่นอนที่สุด หลังจากท่านได้สิ้นไปแล้วจะต้องมีเหตุหลายประการเกิดขึ้น ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

๑. ศาสนาที่จะต้องเลิกล้ม และบทบัญญัติของอิสลามจะต้องมีอันลบล้างไป ในเหตุผลที่ว่าตำแหน่งศาสดาเป็นของคู่กับชีวิตของท่านเมื่อสิ้นสูญไปด้วยกันแล้ว มวลมนุษยชาติก็จะย้อนกลับสู่สภาพที่ไร้อารยธรรมตามเดิม หรือ

๒. มนุษยชาติถูกทอดทิ้งโดยเจตนา ให้อยู่กับวัฒนธรรมและการควบคุมบริหารของพวกตนเพราะว่าพวกตนสามารถปกครองพวกกันเองด้วยตัวเองได้แล้ว และปล่อยให้พวกเขาดำเนินชีวิตไปตามแบบแผนที่พวกตนกำหนดขึ้นมาเองได้โดยหมดความจำเป็นแก่บทบัญญัติว่า ต้องมีผู้ควบคุมผู้อธิบายกฎเกณฑ์ในบทบัญญัตินั้นๆ และผู้ที่จะคงไว้ซึ่งการกำหนดขอบเขตต่างๆ ของบทบัญญัติดังกล่าวหรือ

----------------------------------

(๕) ซูเราะฮ์ อัซ-ซุมัร: ๓๐

(๖) ซูเราะฮ์ อัล-อะห์ซาบ: ๖๒

๓. มิฉะนั้นประชาชาติในสมัยหลังจากท่านศาสดา (ศ) แล้ว มีอิสระใน การตัดสินใจได้ โดยที่ประชาชนร่วมกันลงคะแนนเสียงเลือกอิมามขึ้นมาทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมพวกตนเองได้ หรือ

๔. จะต้องมีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งอิมามสำหรับประชาชาติไว้เพื่อดำรงไว้ซึ่งทางนำสำหรับพวกเขาเหล่านั้น และสั่งให้คนเหล่านั้นปฏิบัติตามและเคารพเชื่อฟัง

หากเราจะพิจารณาให้ถ่องแท้ เราจะต้องถอนความรู้สึกนิยมการถือฝักฝ่ายอันน่าชังออกไปเสียก่อน แล้วเราค่อยวิเคราะห์แต่ละข้อด้วยเหตุผล

แน่นอนที่สุด เราจะพบว่าความในข้อแรกที่ว่า บทบัญญัติต้องมีอันล้มเลิกนั้น ผิดพลาดอย่างแน่นอน เพราะว่าอิสลามคือบทบัญญัติสุดท้ายที่สมบูรณ์แบบ เป็นมาตรการที่อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงประทานมาเพื่อมนุษย์ทั้งมวล

 ดังโองการที่ว่า :

“แท้จริงศาสนาของอัลลอฮ์ คืออัล-อิสลาม”

ฉะนั้นถ้าหากว่า บทบัญญัติของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)อันควรค่าแก่การยกย่องนี้เป็นของที่อยู่กันกับชีวิตของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ)

เท่านั้น แน่นอน ศาสนานี้ต้องมีความบกพร่อง เพราะว่า การเผยแพร่ยังมิได้ควบคุมไปยังมวลมนุษย์อีกเป็นจำนวนมหาศาลและยังมิได้เข้าใจกระจ่างแจ้งถึงวิถีทางนำอันถูกต้องและปลอดภัย

จุดบกพร่องอีกประการหนึ่งก็คือ งานเสียสละอันยิ่งใหญ่ที่ท่านนบี (ศ) ได้ทุ่มเทเพื่อศาสนานี้

เป็นมรดกที่ยิ่งใหญ่ที่ท่านได้มอบไว้แก่ศาสดานี้อีกทั้งยังปล่อยให้เป็นอิสระแก่คนรุ่นหลังที่จะพิทักษ์ปกป้องหรือไม่ แต่ถ้าเราพิจารณาดูผู้ก่อตั้งแนวคิดทางการเมืองและลัทธิความเชื่อทั้งหลายแล้ว

จะพบว่าคนเหล่านั้นวางพื้นฐานรองรับแนวความคิดของพวกตน และกำหนดแนวทางไว้ให้ยืนยาวสำหรับประชาชนในทุกยุคทุกสมัยต่อๆมา

ไม่จำเป็นต้องหาเหตุผลหักล้างข้อความในแง่นี้ให้ยืดยาวแต่อย่างใด เพราะมันหมายถึงความผิดพลาดอย่างเห็นได้ชัด และคงไม่มีใครเห็นด้วยเลย ไม่ว่าจะเป็นคนในศาสนานี้หรือไม่ก็ตาม

เหตุผลตามข้อ ๒. ที่ว่า ท่านได้ละทิ้งประชาชาติอิสลามโดยเจตนาให้พวกเขาบริหารกิจการกันเองก็ยิ่งผิดพลาดมากกว่าข้อ ๑ เพราะทหารไม่อาจดำรงอยู่ได้โดยไม่มีผู้บังคับบัญชาและกำกับการ ประชาชนก็ขาดเสียมิได้ซึ่งหัวหน้าบริหารกิจการและพิทักษ์รักษาสิทธิ์ต่างๆ ยิ่งกว่านั้น

แม้กระทั่งร่างกายเล็กๆ ของเรานี้ อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ก็ทรงกำหนดให้มีศูนย์ควบคุม และหัวหน้าเอาไว้

นั่นคือ “หัวใจ” และศูนย์สมองความรู้สึกสัมผัสต่าง ๆ ทั่วสารพางค์ล้วนมีศูนย์กลางอยู่ที่หัวใจและศูนย์สมองทั้งสิ้น

เป็นไปได้อย่างไรที่ว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) จะทอดทิ้งมนุษย์ทั้งหลายโดยเจตนาให้พวกเขาดำเนินการกันไปเองตามธรรมชาติหรือความสามารถของพวกเขาเองโดยที่ท่านได้ให้บรรดาสาวก

 และประชาชาติในยุคที่ติดตามมา ซึ่งได้รับพรอันสูงส่งทางด้านวิชาความรู้และการรู้จักพระผู้เป็นเจ้าจนสามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ชี้นำและผู้ปกครอง เนื่องจากทุกคนเคยใกล้ชิดท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) แล้วได้รับเอาทุกสิ่งทุกอย่างมาจากท่านด้วยกัน แล้วอะไรจะเกิดขึ้นกับประชาชนในเมืองอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไป ทำอย่างไรจะให้คนในเมืองนั้นๆ ได้มีผู้สอนศาสนาอธิบายบทบัญญัติและควบคุมให้อยู่ในกฎเกณฑ์ และขัดขวางบรรดาผู้ละเมิดตลอดทั้งต่อต้านกับพวกมิจฉาทิฎฐิ (กาฟิร)

ใช่อาจเป็นอย่างนี้ได้ ถ้าหากอัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงเปลี่ยนธรรมชาติของมนุษย์ให้เป็นธรรมชาติของมะลาอิกะฮ์และให้พวกเขาพำนักในโลกนี้เยี่ยงการพำนักในชั้นฟ้า กล่าวคือ อยู่ในระดับสูงเกินกว่าที่จะตั้งข้อกล่าวหาและประเสริฐจนพ้นสภาพที่จะทรยศฝ่าฝืนได้อีก

คำตอบสำหรับเหตุผลตามข้อ๓. ที่ว่าให้ประชาชาติอิสลามเลือกผู้ปกครองของพวกตนกันเองก็คือ เป็นไปไม่ได้ที่จะให้ประชาชนร่วมกันลงมติเลือกคนใดคนหนึ่งขึ้นมา ถึงแม้คนๆ นั้น

จะมีความพร้อมบริบูรณ์และมีความรู้ที่สุดแล้วก็ตาม จะเป็นไปได้อย่างไรที่ประชาชนทุกคนจะร่วมกันลงมติเลือกคนๆ เดียวกัน ในเมื่อต่างคนต่างก็มีความคิดเห็นและทัศนะทางด้านนโยบายแตกต่างกันทั้งนั้น

ปัจจุบันเป็นสมัยที่มีการปกครองกันในระบอบประชาธิปไตย ประชาชนสามารถเลือกผู้แทนของตน และพวกเขาก็เข้าไปเลือกรัฐบาลโดยได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างถูกต้อง

แต่พร้อมกันนั้น เราก็พบว่าในทุกประเทศจะมีแต่ปัญหาความขัดแย้งกันเอง และพบว่ามีผู้ตั้งตัวขึ้นเป็นฝ่ายค้านทางการเมืองกับรัฐบาลในทุก ๆ ประเด็น และจะพบว่าตามหน้าหนังสือพิมพ์ล้วนมีการโต้แย้งและขัดค้านการดำเนินงานของรัฐบาลมีการโจมตีกันอย่างมากมาย

 จนกระทั่งรัฐบาลนั้นถูกล้มไปก็จะมีการเลือกตั้งครั้งใหม่กันอีก ในรูปแบบเดียวกันกับที่ผ่านมาแล้วในอดีต ในหมู่ผู้แทนก็จะมีการแบ่งฝักฝ่ายกันไปตามที่ประชาชนเลือกเข้ามา และถึงแม้จะเป็นที่ถูกใจของฝ่ายที่คัดค้านในอดีตแต่ก็ยังขัดแย้งกับฝ่ายค้านอีกกลุ่มหนึ่งต่อไป เพราะแต่ละฝ่ายต่างก็มีหนังสือพิมพ์ มีพรรคการเมืองสนับสนุนบางครั้งการขัดแย้งก็มิได้น้อยไปกว่าคราวก่อนๆ เลย

เมื่อเป็นเช่นนี้ ประชาชนไม่สามารถจะร่วมกันลงมติเลือกบุคคลใดๆ ที่แน่นอนขึ้นมาได้ถึงแม้คนๆ นั้นจะเป็นผู้มีความดีเด่นและความรอบรู้

สักเพียงใดก็ตามต่อให้พวกเขาร่วมกันคัดเลือกทั้งทางทิศตะวันออกสุดจนถึงทิศตะวันตกสุด การเลือกของพวกเขาจะดีไปกว่าการเลือกของอัลลอฮ์

(ซ.บ.) กระนั้นหรือ?

ความคิดเห็นของพวกเขาจะดีกว่าทัศนะของอัลลอฮ์(ซ.บ.) กระนั้นหรือ ? อัซตัฆฟิรุลลอฮ์(ข้าขออภัยโทษต่ออัลลอฮ์) ข้าพเจ้าเชื่อว่าไม่มีมุสลิมคนใดกล้าพูดเช่นนั้น เพราะคนเราไม่ว่าจะมีความรู้ลึกซึ้งมากมายแค่ไหน ก็ยังมีการตัดสินใจผิดพลาดได้เสมอ

ยกตัวอย่าง ท่านนบีมูซา บินอิมรอน(อ)ตามโองการที่ว่า

“และมูซาได้คัดเลือกพวกของตน ๗๐ คนเนื่องในการกำหนดเวลาของเรา”(๗)

โดยเชื่อว่าคนเหล่านั้นเป็นคนดีที่สุดในประชาชาติของท่าน แต่แล้วการสนทนาของคนเหล่านั้นมีต่อท่านตอนหนึ่งว่า :

“เราจะไม่ศรัทธากับท่านจนกว่าเราจะเห็นอัลลอฮ์ (ซ.บ.) อย่างชัดเจน”(๘)

-------------------------------------

(๗) ซูเราะฮ์อัล-อะอ์รอฟ: ๑๕๕

(๘) ซูเราะฮ์อัล-บะเกาะเราะฮ์: ๕๕

และการตักเตือนใดๆของท่านนบีมูซา(อ)ที่มีต่อพวกเขาก็ไม่เกิดประโยชน์อันใดจนถึงกับมีเสียงกัมปนาทแห่งการลงโทษมาคร่าชีวิตของพวกเขาไปเลยเหตุผลที่แฝงเร้นอยู่ก็คือความไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ของพวกเขาในการตัดสินใจเลือกนั่นเอง เพราะมิได้ถูกต้องตรงกับสาวกที่มีคุณสมบัติ

ประเสริฐสุดของท่านจริงๆ ทั้งๆ ที่ท่านเองก็เป็นถึงศาสดาที่พระเจ้าส่งมา

เรื่องการเลือกอิมาม เป็นหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะของอัลลอฮ์(ซ.บ.) ดังโองการที่ว่า :

“และพระผู้อภิบาลของเจ้าทรงสร้างและทรงคัดเลือกตามที่พระองค์ทรงประสงค์อันว่าการคัดเลือกมิได้เป็นเรื่องของพวกเขา”(๙)

เพราะเป็นกิจการภายในศาสนาข้อสำคัญที่สุดข้อหนึ่งในเรื่องศาสนานั้นมวลประชาชาติไม่มีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นเช่นในเรื่องจำนวนครั้งของรอกะอัตต่างๆ ในการนมาซ และพระองค์มิได้ปรึกษาหารือกับมนุษย์ในเรื่องอัตราการจ่ายทรัพย์สิน (ซะกาต) และความรู้ต่างๆ ของอิสลามก็มิได้ถ่ายทอดออกมาจากความคิดของพวกเขาด้วย ทั้งนี้รวมไปถึงบทบัญญัติว่า อะไรเป็นของอนุญาต อะไรเป็นของต้องห้าม ยิ่งไปกว่านั้นในเรื่องเหล่านี้อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงบัญชา และวางกฎข้อบังคับให้พวกเขาถือหลักปฏิบัติด้วยพระองค์เองทั้งสิ้น

-------------------------------------------------

 (๙) ซูเราะฮ์อัล-เกาะศ็อศ: ๖๘

ตำแหน่งอิมามได้รับการยืนยันด้วยอะไร

“ตำแหน่งอิมาม” ได้รับการยืนยันโดยสิ่งสำคัญสองประการ นั่นคือข้อบัญญัติจากอัล-กุรอาน และจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) เกี่ยวกับเรื่อง “อิมาม” ที่มีมากมายหลายประการ ดังที่ท่านจะได้อ่านข้อบัญญัติของ

อัลกุรอานและจากท่านศาสนทูต (ศ) เป็นจำนวนมากในเรื่องของ

ท่านอะมีรุลมุมินีน (อ) อินชาอัลลอฮ์(หากอัลลอฮ์ทรงประสงค์)

ขณะเดียวกัน ประวัติศาสตร์ก็ได้บันทึกถึงความยิ่งใหญ่ และคุณสมบัติพิเศษต่างๆ มากมายของท่าน

ในปัจจุบันนี้ ท่านอิมามอะลี บินอะบีฎอลิบ(อ) ได้จากไปแล้ว ๑๔ ศตวรรษ แต่เราก็ยังสามารถศึกษาคำเทศนาทุกๆ บทได้ในหนังสือนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ แม้กระทั่งในทุกบทตอนของการปราศรัยในที่ต่างๆ นอกจากนี้ท่านอิมาม(อ)ก็ยังมีการตอบคำถาม และการตัดสินคดีความซึ่งท่านอิมามอะลี(อ)ยังรู้คำตอบของคดีนั้นอย่างสมบูรณ์ก่อนแล้วขนาดที่ถ้าหากคนทั่วไปทั้งหมดร่วมกันนำเอาคำตอบข้อใดข้อหนึ่งของท่านมาพิจารณาหรือค้นคว้าในคำตัดสินคดีความของท่านเพื่อที่จะหาเหตุผลหักล้างแล้ว แน่นอนคนทั้งหลายก็ไม่มีความสามารถจะกระทำได้เลย

ในเมื่อตำแหน่งอิมามของท่านอะมีรุลมุมินีน (อ) ได้รับการยืนยันโดยข้อบัญญัติของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)และโดยการสำแดงความมหัศจรรย์ออกมาด้วยตัวของท่านเองแล้ว ตำแหน่งอิมามของบรรดาลูกหลานของท่าน (อ) ก็ได้รับการยืนยันโดยข้อบัญญัติของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) และข้อบัญญัติของแต่ละท่านที่มีต่อกันและกันและโดยการสำแดงความมหัศจรรย์ออกมาด้วยตัวของท่านเหล่านั้นทั้งหมดเองด้วย

๑๐

ทำไมต้องมีอิมาม?

ในเมื่อท่านนบีมุฮัมมัด (ศ) เป็นมนุษย์ที่ประเสริฐที่สุด มีความสมถะที่สุด มีความสำรวม เคร่งครัดที่สุด มีความรู้ดีที่สุด มีความกล้าหาญที่สุด

และมีความเผื่อแผ่ที่สุดแล้ว ย่อมหมายความว่า

ท่านคือผู้ที่มีความดีเด่นสูงสุดยอดอย่างบริบูรณ์ มีคุณสมบัติที่ควรแก่

การสรรเสริญ และมีบุคลิกภาพที่ยิ่งใหญ่เพียบพร้อมด้วยจริยธรรมอันทรงเกียรติเพราะถ้าท่านมิได้เป็นคนที่ประเสริฐที่สุด

ท่านก็ยังต้องจำเป็นแสวงหาการชี้แนะจากมนุษย์คนอื่นอีก ถ้าหากท่านมิได้เป็นคนมีความสำรวมและยำเกรงพระเจ้าที่สุดแล้ว ท่านก็ยังเป็นที่ให้ความมั่นใจแก่ศาสนาและโลกนี้ไม่ได้ ถ้าหากท่านมิได้เป็นคนสมถะที่สุดแล้ว ความปรารถนาในทางโลกของท่านก็จะทำให้คนทั่วไปไม่ปรารถนาศาสนาของท่าน หากท่านมิได้เป็นคนมีความรู้มากที่สุด ท่านก็ไม่สามารถอธิบายให้ปวงบ่าวของพระผู้เป็นเจ้าเข้าใจในการแยกแยะว่า อะไรเป็นของอนุมัติและอะไรเป็นของต้องห้าม ถ้าหากท่านมิได้เป็นคนกล้าหาญที่สุดในการรบและอดทนที่สุดในยามเผชิญหน้ากับศัตรูก็ย่อมจะเป็นข้อบกพร่องอย่างใหญ่หลวงในการควบคุมทหารและจะสร้างความพ่ายแพ้ในการสงคราม

หากท่านมิได้เป็นคนที่มีความเผื่อแผ่ที่สุด แน่นอนภารกิจทางศาสนาของท่านก็มิอาจดำรงอยู่ได้ บรรดาสาวกจะพากันแตกแยกจากท่าน เมื่อนั้นคนทั่วไปก็จะเป็นทาสของโลก และเป็นพวกแสวงหาผลประโยชน์ไปเสีย

๑๑

ดังนั้น ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ) จึงต้องมีคุณสมบัติที่เพียบพร้อมด้วยเกียรติและมีบุคลิกภาพทีควรแก่การสรรเสริญที่สุด กล่าวคือประชาชนทั่วไปศึกษาเรียนรู้จริยธรรมอันบริบูรณ์จากท่าน และคุณสมบัติอันประเสริฐใดๆ ก็ตามที่เราถือว่าต้องมีสำหรับนบีนั้น คือ เหตุผลที่ระบุอย่างชัดเจน

สำหรับการเป็นอิมามภายหลังจากท่านศาสดา เพราะเขาผู้นั้นเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งตามเจตนารมณ์ของท่านศาสดา จะทำหน้าที่ควบคุมและเผยแผ่บทบัญญัติของท่านศาสดา และเป็นผู้อธิบายบทบัญญัติที่อนุมัติ(ฮะลาล)และบทบัญญัติต้องห้าม(ฮะรอม)อย่างชัดเจน

ใครคืออิมาม?

ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับท่านศาสนทูต (ศ) ที่จะต้องดำเนินการให้มีอิมามแก่ประชาชาติตามบัญชาของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) เพื่อเขาจะได้ดำเนินการเผยแผ่ศาสนาแก่ประชาชนทั้งหลาย และเพื่อเขาจะได้อธิบายให้ประชาชนมีความรู้ในสิ่งที่ดีงาม ผลตอบแทนสำหรับความดีและการลงโทษสำหรับความชั่ว เพื่อสอนคนเหล่านั้นให้รู้ชัดแจ้งในบทบัญญัติ และรู้ในสิ่งที่เป็น

ของอนุญาต (ฮะลาล) และของต้องห้าม (ฮะรอม) อย่างชัดเจน อีกทั้งทำหน้าที่ดำรงไว้ซึ่งกฎเกณฑ์ทางศาสนาเพื่อประชาชาติจะได้ยึดเป็นหลักการ

แล้วใครกันเล่า คืออิมามที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)ได้แต่งตั้งไว้

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า นั่นคือ ท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ (อ) กล่าวคือ นับแต่วันที่ท่านศาสนทูต(ศ) ถูกแต่งตั้งจนถึงแก่การวายชนม์ ไม่ว่าจะอยู่ ณ แห่งหนตำบลใด ท่านไม่เคยแยกตัวออกห่างจากท่านอะลี (อ) เลย

๑๒

 เมื่อเริ่มได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดา และประกาศศาสนาใหม่ๆ ท่านศาสนทูต (ศ) ได้ประกาศเรียกคนในตระกูลบะนีฮาชิมมาประชุมพร้อมกัน ท่านได้พูดกับคนเหล่านั้นว่า

“ผู้ใดตอบรับงานอันนี้ และจะร่วมดำเนินภารกิจอันนี้กับข้าบ้าง เขาก็คือพี่น้องของข้า และเป็นทายาท เป็นผู้ร่วมภารกิจ เป็นผู้สืบมรดก และเป็นผู้ปกครองแทนข้า หลังจากข้าไปแล้ว”

แต่ไม่มีใครตอบรับท่านเลยสักคน ท่านอะมีรุลมุมินีน (อ) จึงกล่าวขึ้นว่า

“ข้าแต่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) ข้าพเจ้าจะเป็นผู้ร่วมภารกิจนี้กับท่านเอง”

ท่านศาสนทูต(ศ)จึงกล่าวว่า

“เจ้าคือพี่น้องของข้า ทายาทของข้า ผู้ร่วมภารกิจของข้า ผู้สืบมรดกและผู้ปกครองแทนข้าหลังจากข้าไปแล้ว”

คนเหล่านั้นพากันลุกขึ้นยืน พลางกล่าวกับอะบีฎอลิบว่า

“วันนี้ท่านจะต้องวิบัติแน่แล้ว ถ้าท่านยอมรับศาสนาของลูกชายของน้องชายของท่านเพราะว่าเขาได้ตั้งลูกของท่านขึ้นเป็นผู้บัญชาการท่านแล้วนี่”

อีกเรื่องหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในตอนแรกของการประกาศศาสนาของท่านศาสดา (ศ) กล่าวคือ ครั้งหนึ่งเคยมีคนนำนกย่างเป็นอาหารไปมอบแก่ท่านศาสดา (ศ) ดังนั้นท่านได้อ้อนวอนต่อพระผู้เป็นเจ้า (ดุอาอ์) ว่า

“ข้าแต่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ขอได้ส่งคนที่พระองค์รักมากที่สุดมารับประทานนกย่างตัวนี้พร้อมกับข้าด้วยเถิด”

๑๓

ปรากฏว่าท่านอะลี (อ) ก็เข้ามาทันที อีกครั้งหนึ่งท่านได้กล่าวกับ

ท่านอะลี (อ)ว่า

“เธอกับฉันมีฐานะเช่นฮารูนกับมูซา เพียงแต่ไม่มีนบีคนใดหลังจากฉันอีกแล้ว”

เมื่อครั้งท่านศาสดา (ศ) ได้ส่งท่านอิมามอะลี (อ) ออกไปรบดวลดาบตัวต่อตัวในสงครามคอนดัก(สนามเพลาะ) กับอัมร์ บินอับด์วุด อัลอามิรี แล้วท่าน ก็กล่าวขึ้นว่า

“อีมามทั้งมวลได้ออกไปเผชิญหน้ากับการชิริก(ตั้งภาคี)ทั้งมวล”

แล้วหลังจากที่ท่านอิมามอะลี(อ)ได้สังหารอัมร์เสร็จ ท่านศาสดา (ศ) ได้กล่าวว่า

“การลงดาบเพียงครั้งเดียวของอะลีที่มีต่ออัมร บินอับด์วุด อัล-อามิรีแห่งสงครามคอนดักครั้งนี้นั้น มีค่าเทียบได้กับการเคารพภักดี(อิบาดัต)ต่อพระเจ้า ทั้งโดยหมู่ญินและมนุษย์ทั้งมวลรวมกัน”

ในสงครามคัยบัรท่านศาสดา(ศ)ได้กล่าวว่า

“แน่นอน วันพรุ่งนี้ฉันจะมอบธงชัยให้แก่คนผู้หนึ่งที่รักในอัลลอฮ์(ซ.บ.) และศาสนทูตแห่งพระองค์ (ศ) โดยอัลลอฮ์ (ซ.บ.)และศาสนทูต (ศ)รักเขาเช่นกัน เขาจะไม่กลับจากการรบจนกว่าอัลลอฮ์ (ซ.บ.)จะมอบชัยชนะแก่เขา”

ต่อมาท่านจึงเรียกหาอิมามอะลี (อ) และเมื่ออิมามอะลี (อ) มาแล้วท่านก็มอบธงชัยนั้นให้แก่ท่านอะลี (อ)

๑๔

ซึ่งท่านอะลี (อ) ได้ออกไปพร้อมกับธงชัยทำสงครามอย่างห้าวหาญจนประสบผลสำเร็จโดยได้สังหารแม่ทัพฝ่ายคัยบัรชื่อว่า มัรหับ และมีชัยชนะกลับมาเพราะฝีมือของท่านท่านศาสดาเคยนำท่านอะลี (อ) ออกไปทำพิธีสาบานเพื่อพิสูจน์ความจริง(มุบาฮะละฮ์)เพราะท่านอิมามอะลี (อ) มีค่าเท่ากับตัวของท่านศาสดา (ศ) เอง

ดังโองการในอัล-กุรอานที่ว่า:

“ดังนั้นจงกล่าวเถิดว่า พวกท่านจงมากันเถิดแล้วเราจะเรียกบรรดา

ลูกๆ ของเรามาและท่านเรียกบรรดาลูกๆ ของท่านมา เราเรียกบรรดาสตรีของเรามาและท่านก็เรียกบรรดาสตรีของท่านมาและเราเรียกตัวตนของเรามาและท่านเรียกตัวตนของพวกท่านมา”(๑๐)

ท่านศาสดา(ศ)เคยคลุมตัวท่านอะลี(อ) ด้วยผ้าคลุม “กิซา” ในขณะที่อ่านโองการของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ที่ว่า:

“อันที่จริงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ประสงค์เพียงการขจัดมลทินออกไปจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์และทรงชำระขัดเกลาพวกเจ้าให้บริสุทธ์ยิ่ง”(๑๑)

---------------------------------------------------------------------

(๑๐) ซูเราะฮ์ อาลิ อิมรอน: ๖๑

(๑๑) ซูเราะฮ์ อัลอะหซาบ: ๓๓

๑๕

ท่านศาสดา (ศ) เคยสั่งให้ปิดประตูบานต่างๆ ของบ้านที่ตรงกับมัสยิดยกเว้นประตูบ้านของท่านอะลี (อ) เท่านั้น

ท่านศาสดา(ศ)เคยกล่าวถึงท่านอะลี(อ)ว่า

“ฉันคือนครแห่งความรู้ ส่วนอะลีคือประตูของมัน”

ท่านศาสดา (ศ) เคยพูดกับท่านอะลี (อ) ว่า

“เธอคือทายาทของฉัน ผู้ทำหน้าที่ชำระหนี้สินของฉัน และทำความสมบูรณ์ให้แก่พันธะสัญญาของฉัน”

ตลอดจนถึงวจนะต่าง ๆ จำนวนนับร้อยที่ออกมาจากท่านศาสดา

มุฮัมมัด (ศ) ซึ่งล้วนแต่ให้ความหมายบ่งชี้ถึงการแต่งตั้งให้ท่านอะลี (อ) เป็นอิมามของประชาชาติและประกาศให้ประชาชนได้ตระหนักว่า ท่านมีความรู้และบทสรุปของอัลฮะดีษต่างๆเหล่านั้นที่สำคัญที่สุดได้มาถึงบทสรุป

สุดท้ายแห่งอัลฮะดีษ

ในวันสำคัญที่เฆาะดีรคุม ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ได้ประกาศว่าท่านจะบำเพ็ญฮัจญ์ในปีนี้เป็นครั้งสุดท้าย เพราะท่านได้ประจักษ์ว่า ท่านจะต้องตอบรับการเรียกร้องให้คืนกลับสู่พระผู้เป็นเจ้าแล้ว ฉะนั้นประชาชนต่างมารวมกันจากทั่วทุกสารทิศ หลังจากเสร็จพิธีฮัจญ์ร่วมกับคนเหล่านั้นแล้ว ท่านศาสนทูต (ศ) ก็ได้เดินทางกลับไปยังนครมะดีนะฮ์ พร้อมกับบรรดามุสลิมทั้งหลาย ครั้นพอมาถึงตรงทางแยกที่บรรดาฮุจญาจทั้งหมดต่างจำต้องแยกย้ายกันกลับบ้านเมืองของตนนั้น ท่านศาสทูต (ศ) ได้สั่งให้หยุด และให้เรียกบรรดาพวกที่เดินรุดหน้าไปแล้วกลับมาและให้รอพวกที่ยังเดินทางอยู่ข้างหลังให้มาถึงด้วย

๑๖

 พอบรรดามุสลิมชุมนุมกันพร้อมแล้ว ท่านก็สั่งให้ตั้งมิมบัรที่ทำจาก

อานบนหลังอูฐมาวางลง แล้วท่านก็ขึ้นกล่าวคำเทศนากับคนเหล่านั้นโดยอธิบายอย่างชัดเจนถึงบุคคลที่จะเป็นผู้นำ(อิมาม) ภายหลังจากท่านต่อจากนั้นท่านก็จับมือของท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ (อ) ชูขึ้น จนคนสามารถมองเห็นซอกรักแร้ที่ชาวของท่านทั้งสองได้

ท่านศาสดา(ศ) กล่าวว่า

“ดังนั้นบุคคลใดที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา ก็ให้ถือว่า อะลี ผู้นี้เป็นผู้ปกครองของเขาด้วย ข้าแต่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) โปรดคุ้มครองคนที่สวามิภักดิ์ต่อเขา และโปรดเป็นศัตรูต่อคนที่เป็นศัตรูต่อเขาโปรดช่วยเหลือ คนที่ช่วยเหลือเขา โปรดทำลายคนที่ทำลายเขา”

จากนั้นท่านก็จัดให้ท่านอะลี (อ) ยืนโดดเด่นอยู่ภายนอก แล้วออกคำสั่งให้บรรดามุสลิมเข้ามาแสดงการคารวะต่อท่านในฐานะผู้ศรัทธา

 และญิบรออีลได้นำโองการหนึ่งลงมาความว่า

“วันนี้ ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์สำหรับพวกเจ้าแล้ว และข้าได้ให้ความโปรดปรานของข้าครบบริบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้ว และข้าพอใจให้อิสลามเป็นศาสนาของพวกเจ้า”(อัลมาอิดะฮ์: ๓)

๑๗

ข้อบัญญัติจากท่านศาสนทูต (ศ) ในเรื่องบรรดาอิมาม (อ)

วจนะ (อัล-ฮะดีษ) ของท่านศาสนทูต (ศ) ในประเด็นที่ว่า บรรดาอิมาม (อ)มี ๑๒ ท่านนั้นมีการบันทึกไว้มากมายอย่างน่าอัศจรรย์ บางทีข้าพเจ้าคงไม่ถึงกับเป็นคนพูดเกินเลยแต่อย่างใด

ถ้าจะกล่าวว่าอัลฮะดีษในข้อนี้ มีไม่น้อยไปกว่าอัลฮะดีษต่าง ๆ ที่กล่าวถึงเรื่องนมาซ หรือเรื่องการถือศีลอดเลย

ฮะดีษเหล่านี้มิได้ให้ความหมายในทางอื่น นอกจากว่า บรรดาอิมามทั้ง ๑๒ ท่านนั้นต้องเป็นอะฮ์ลุลบัยต์ (อ) ผู้ซึ่งมีฐานะเป็นสิ่งสำคัญหนักยิ่งอันดับที่ ๒ ซึ่งท่านศาสนทูต(ศ)ได้ฝากไว้ให้กับบรรดาประชาชาติและในเมื่อไม่มีคนใดสามารถคัดค้านหรือกล่าวตำหนิสายสืบผู้นำมาบันทึกเนื่องจากการบันทึกไว้ตรงกันอย่างมากมาย ประกอบกับจำนวนของนักรายงานที่มีมาก อีกทั้งจากการบันทึกโดยนักปราชญ์ต่างๆ แล้ว ผู้มีใจอคติบางกลุ่มจึงพยายามที่จะเบนเหตุผลที่มีอยู่ในฮะดีษเหล่านี้ ออกจากความหมายตามความเป็นจริงและตีความตามเหตุผลดังกล่าวไปให้แก่คนกลุ่มอื่นอีกพวกหนึ่ง

ถึงแม้พวกเขาจะใช้ความพยายามในเรื่องนี้ ก็ปรากฏว่า ในส่วนของจำนวนนั้นยังขาดอยู่บ้างหรือเกินไปบ้างกล่าวคือบรรดาคอลีฟะฮ์อัร-รอชิดีนนั้นมิได้ครบตามจำนวน ส่วนคอลีฟะฮ์ในราชวงศ์อุมัยยะฮ์ก็เกินจากจำนวนและราชวงศ์อับบาซียะฮ์ก็ยิ่งเกินจากจำนวนไปเป็นทวีคูณ คนอีกส่วนหนึ่งก็พยายามจะดึงเอาฝ่ายโน้นมาประกอบกับฝ่ายนี้ ดึงฝ่ายนี้ไปประกอบกับฝ่ายโน้นเพื่อให้ได้ครบตามจำนวนตัวเลขทั้ง ๑๒ ท่าน แต่ก็จำเป็นต้องนับรวมเอานักปกครองทรราชย์ที่หลงผิดและเป็นที่ปฏิเสธของคัมภีร์ลงไปด้วยเช่น มุอาวิยะฮ์, ยะซีด, อับดุลมาลิกบินมัรวานและลูกหลานของตน

๑๘

 ถึงกระนั้นก็ยังไม่ครบจำนวนตามตัวเลขดังกล่าว อีกทั้งไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานและมีสมญานามต่างๆ ที่น่าดูแคลนสำหรับพวกเขาอยู่กล่าวคือ พวกเขาไม่มีโอกาสที่จะเป็นบุคคลตามที่ท่านศาสนทูต (ศ) ประสงค์ที่จะให้เป็นผู้นำของประชาชาติมุสลิม และผู้ร่วมภารกิจกับอันกุรอานอันทรงเกียรติได้ ขณะเดียวกันก็ยังมีฮะดีษของท่านศาสดาอยู่อีกส่วนหนึ่ง ที่ระบุชื่อของบรรดาอิมามอย่างชัดเจนจนไม่อาจมองข้ามได้ เนื่องจากมีหลายรายงานและมีหลักที่มั่นคงอันต้องยอมรับ

เราเชื่อในความสามารถของผู้คัดค้านว่าสามารถล้มล้างฮะดีษบางเรื่องของท่านศาสนทูต (ศ) ได้แต่ต้องไม่ใช่ฮะดีษต่าง ๆ อันเกี่ยวกับข้อบัญญัติในเรื่องอิมาม ๑๒ เนื่องจากการบันทึกที่ตรงกันของรายงานต่าง ๆ มากมายและประกอบกับจำนวนของนักบันทึกที่ได้รายงานกันมากมาย อีกทั้งเป็นฮะดีษที่ถูกนำเสนอโดยบรรดานักปราชญ์จำนวนมาก และเชื่อว่าผู้ที่สันทัดในการตีความก็สามารถตีความหรือแปลความฮะดีษบางเรื่องของท่านศาสดาได้ แต่จะทำไม่ได้กับฮะดีษต่างๆ ในเรื่องนี้ เพราะจะไม่เป็นการถูกต้องเลย

 ถ้าหากมิให้หมายถึงบรรดาอิมามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์(อ)

ชัยค์ สุลัยมาน อัล-ก็อนดูซี ได้กล่าวว่า นักวิเคราะห์ผู้สันทัดกรณีทางวิชาการอธิบายว่า

 “ฮะดีษต่างๆ ของท่านศาสดาที่ให้เหตุผลในเรื่องคอลีฟะฮ์

 (ผู้สืบทอดการปกครอง) ต่อจากท่าน จำนวน ๑๒ คนนั้น เป็นที่รับรู้กันอย่างแพร่หลายโดยกระแสรายงานหลายฝ่าย กล่าวคือมีการอธิบายและให้

รายละเอียดถึงกาลเวลาและสถานที่ จึงเป็นที่รู้กันว่าจุดมุ่งหมายของ

ท่านศาสนทูตที่มีต่อฮะดีษของท่าน ก็คือ บรรดาอิมาม ๑๒ เหล่านี้ต้องมาจากอะฮ์ลุลบัยต์ (อ) และวงศ์วานของท่านนั่นเอง

๑๙

ฉะนั้นจึงไม่อาจให้ข้อสันนิษฐานได้เลยว่าฮะดีษข้อนี้ของท่านศาสดา (ศ) จะหมายถึง คอลีฟะฮ์ หลังจากท่านที่เป็นสาวก (ศอฮาบะฮ์) เนื่องจากจำนวนของพวกเขามีน้อยกว่า ๑๒ และไม่อาจสันนิษฐานอีกเช่นกันว่า จะหมายถึงราชวงศ์อุมัยยะฮ์ เนื่องจากพวกเขามีจำนวนเกินกว่า ๑๒ และเนื่องจากความอธรรมอย่างเลวร้ายของคนเหล่านั้นอีกด้วย ยกเว้น อุมัรบิน อับดุลอะซีซ

คนเดียว และเนื่องจากเหตุผลประการหนึ่งคือ พวกนั้นมิใช่ลูกหลานจากตระกูลบะนีฮาชิมตามรายงานที่บันทึกจากท่านอับดุลมาลิกโดยการบอกเล่าของท่านญาบิร และที่ท่านศาสนทูต(ศ)ได้บอกกระซิบถึงข้อนี้ ซึ่งเป็นข้อแม้ของ

รายงานดังกล่าวก็เพราะพวกเขาไม่เห็นชอบกับตำแหน่งคอลีฟะฮ์ของลูกหลานบะนีฮาชิม และไม่อาจสันนิษฐานได้อีกเลยว่า จะหมายถึง

ราชวงศ์อับบาซียะฮ์เนื่องจากพวกเขามิได้รับความคุ้มครอง

โดยโองการที่ว่า

“จงกล่าวเถิดว่า ฉันมิได้ขอรางวัลใด ๆ สำหรับเรื่องนี้จากพวกท่าน นอกจากความจงรักภักดีในญาติสนิทของฉัน” (อัชชูรออ์: ๒๓)

และเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับผ้าคลุมกิซา ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า ฮะดีษของท่านศาสดา(ศ)ข้อนี้ ต้องหมายถึงบรรดาอิมาม ๑๒ จาก

อะฮ์ลุลบัยต์ (อ) ซึ่งเป็นวงศ์วานลูกหลานของท่านเท่านั้น เพราะเขาเหล่านั้นเป็นคนมีความรู้มากที่สุดสำหรับคนในยุคนั้น

๒๐

ข้อควรพิจารณา มีผู้ถามท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่าบุคคลใดอ่านอัล-กุรอานเสียงเพราะที่สุด ท่านกล่าวว่า บุคคลที่ได้ยินเสียงอ่านของตนเองแล้วคิดว่าตนอยู่ ณ พระพักตร์ของพระองค์

จากริวายะฮฺดังกล่าวทำให้รู้ว่าการอ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงไพเราะนั้นมี 2 ลักษณะ

- เสียงไพเราะทั้งภายนอกและคำ

- เสียงไพเราะทั้งคำและความหมาย ซึ่งเป็นผลแก่จิตใจของผู้อ่านและทำให้มีความนอบน้อมเมื่ออยู่ต่อหน้าอัล-กุรอาน

การอ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงไพเราะนอกเหนือไปจากการอ่านควบคู่ด้วยเสียงดนตรี ซึ่งมีความเหมาะสมกับงานสนุกสนานร่าเริง ถือว่าฮะรอม

9. การอ่านอัล-กุรอานด้วยสำเนียงอาหรับ

ประเด็นดังกล่าวสามารถพิจารณาได้หลายขั้นตอนด้วยกัน กล่าวคือ

ขั้นตอนที 1 เป็นการอ่านอัล-กุรอานที่ถูกต้อง หมายถึงผู้ที่ต้องการอ่านอัล-กุรอานจำเป็นต้องเรียนรู้การอ่านจากครูบาอาจารย์

หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเพีอเรียนรู้การอ่านที่ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺ หรือซูเราะฮฺอื่นเพื่อนะมาซ การเรียนรู้เป็นวาญิบเสียด้วยซํ้า ส่วนการอ่านอย่างอื่นที่นอกเหนือจากนะมาซถือว่าจำเป็นแต่ไม่ถึงขั้นของวาญิบ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากว่าการออกเสียงอักษรภาษาอาหรับบางตัวไม่เหมือนกับภาษาอื่น เช่น อักษร ظ- ض- ز- ذ

ซึ่งบางครั้งเป็นสาเหตุทำให้ผิดพลาดในการออกเสียงและทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไปเช่น คำว่า ( عظِيْم ) แปลว่า ใหญ่ ถ้าออกเสียงเป็น ( عِزِیم ) ความหมายจะเปลี่ยนไปทันที่เนื่องจากคำนี้หมายถึง ศัตรู

๒๑

ข้อควรพิจารณา จะสังเกตเห็นว่าบุคคลที่กำลังเรียนรู้การอ่านอัล-กุรอานมักจะอ่านผิดพลาด แม้ว่าพยายามแก้ไขแล้วก็ยังผิดพลาดอยู่ ซึ่งไม่สามารถอ่านให้ถูกต้องได้ ฉะนั้นบุคคลเหล่านี้ถือว่ามีอุปสรรค แต่เป็นอุปสรรคที่ได้รับการอภัย ณ พระผู้เป็นเจ้า แต่อย่างไรก็ตามในนะมาซหน้าที่ของเขาจะแตกต่างออกไป ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า ผู้ที่อ่านอัล-กุรอานถ้าระหว่างที่อ่านได้อ่านผิด หรือ่านวรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง หรือออกเสียงภาษาอาหรับไม่ถูกต้อง มะลาอิกะฮฺผู้ที่มีหน้าที่บันทึกความดีงามจะบันทึกการอ่านที่ถูกต้องให้เขา ( 1)

( 1) อุซูล อัลกาฟียฺ เล่มที่ 2 หน้าที่ 619 ฮะดีษที่ 1

ขั้นตอนที่ 2 การเอาใจใส่ต่อกฎเกณฑ์ของการอ่าน (ตัจวีด) เช่น ใส่ใจต่อการหยุดวรรคตอน การอ่านอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงจุดต่างๆ ของตัจวีดที่เป็นสาเหตุของความถูกต้องสมบูรณ์ในการอ่านอัล-กุรอาน

ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ นอกจากต้องมีการเรียนรู้จากครูบาอาจารย์และ

ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องหลักการอ่าน

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า จงอ่านอัล-กุรอานด้วยสำเนียงภาษาอาหรับ เพราะอัล-กุรอานถูกประทานลงมาเป็นภาษาอาหรับ ( 1)

(1)อุซูล อัลกาฟียฺ เล่มที่ 2 หน้าที่ 450

๒๒

ขั้นตอนที่ 3 การเอาใจใส่ต่อท้วงทำนองของการอ่าน หมายถึง ถ้าผู้อ่านได้อ่านด้วยสำเนียงภาษาอาหรับ โดยเป็นการส่งความหมายของโองการด้วยสำเนียงและท้วงทำนองอันเฉพาะเจาะจง ที่ไม่ต้องอิงอาศัยเสียงดนตรีประกอบเท่ากับเป็นการเรียกร้องความสนใจได้ดีอย่างยิ่ง

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า จงอ่านอัล-กุรอานด้วยสำเนียงภาษา อาหรับ ( 2)

(2)อุซูล อัลกาฟียฺ เล่มที่ 2 หน้าที่ 450

มีนักอักษรศาสตร์ภาษาอาหรับจำนวนมาก ประกอบกับผู้วิจัยและค้นคว้าเกี่ยวกับอัล-กุรอานได้ยืนยันว่า อัล-กุรอานมีท้วงทำนองที่เฉพาะพิเศษ ซึ่งภาษาอาหรับอื่นที่ไม่ใช่อัล-กุรอานไม่มี

ชะฮีดมุรตะฎอ มุเฏาะฮะรียฺ กล่าวว่า สิ่งหนึ่งที่เรียกร้องให้คนอื่นสนใจอัล-กุรอานคือท้วงทำนอง และลีลาที่ไพเราะจับใจนั่นเอง

๒๓

10. สถานที่อ่านอัล-กุรอาน

อัล-กุรอานสามารถอ่านได้ทุกที่ถือว่าอนุญาตและเป็นสิ่งที่ดี

แต่มีอยู่ 2 สถานที่ ๆ ได้รับการแนะนำพิเศษ ให้อ่านอัล-กุรอาน กล่าวคือ

- มัสญิด

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า

انما نصب المساجد للقرآن

มัสญิดทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการอ่านอัล-กุรอาน( 1)

(1)วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่มที่ 3 หน้าที่ 493

- บ้าน ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า

قال النبی(ص):

نوروا بیوتکم بتلاوة القرآن ولاتتخذوها قبوراً کما فعلت الیهود

والنصاری،طوفی الکنائس و البیع و عطّلوا بیوتهم فانّ البیت اذا کثر فیه تلاوت القرآن کثّر خیره و التسع اهله و اضاء لاهل السماء

จงประดับรัศมีบ้านของท่านด้วยการอ่านอัล-กุรอาน จงอย่าทำบ้านของท่านให้เป็นสุสาน ดั่งที่ยะฮูดียฺ และนัซรอนียฺได้กระทำซึ่งพวกเขานมัสการเฉพาะในโบสถ์เท่านั้น พวกเขาไม่ให้ทำการนมัสการในบ้าน และบ้านหลังใดก็ตามมีการอ่านอัล-กุรอานมาก ความดีและความจำเริญก็จะมากตามไปด้วยและผู้ที่อยู่ในบ้านก็จะได้รับความจำเริญมากมาย และบ้านหลังนั้นจะกลายเป็นรัศมีที่เจิดจรัสสำหรับชาวฟ้า ดุจดังเช่นดวงดาวแห่งฟากฟ้าได้เจิดจรัสสำหรับชาวดิน( 2)

(2) อุซูลกาฟียฺ เล่มที่ 2 หน้าที่ 446

๒๔

สรุปประโยชน์ของการอ่านอัล-กุรอานที่บ้าน

1. เป็นรัศมีประดับประดาบ้านตามกล่าวของฮะดีษที่กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งการอ่านอัล-กุรอานที่บ้านจะเพิ่มชีวิตชีวา ความดี และความจำเริญมากมายแก่เจ้าของบ้านและคนในบ้าน

2. เป็นการอบรมจิตวิญญาณที่ดีอย่างหนึ่งสำหรับบุตรหลาน และทำให้ชีวิตของพวกเขามีความผูกพันอยู่กับอัล-กุรอาน

3. เสียงอ่านอัล-กุรอานภายในบ้านส่งผลจูงใจเพื่อนบ้านให้สนใจการอ่านอัล-กุรอาน อันเป็นผลดีกับสังคม และเป็นการเชิดชูวัฒนธรรมของ

อัล-กุรอาน

4. หลีกเลี่ยงการโอ้อวดในการอ่านอัล-กุรอานย่อมทำให้ได้รับผลสรุปอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามกล่าวมาข้างต้น

- การอ่านอัล-กุรอานให้จบที่มักกะฮฺมีผลบุญพิเศษที่เฉพาะเจาะจงมากมาย ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั้งซุนียฺและชีอะฮฺ

ข้อควรพิจารณา ไม่อนุญาตให้อ่านอัล-กุรอานในสถานที่ ๆ เป็นการ

ดูถูกอัล-กุรอาน

๒๕

ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่า บางริวายะฮฺห้ามไม่ให้มีการอ่านอัล-กุรอานในห้องอาบนํ้า หรือห้องส้วม แต่บางริวายะฮฺก็อนุญาต เช่น

ริวายะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่กล่าวว่า

سبعة لا يقرؤون القرآن: الراكع والساجد، وفي الكنيف، وفي الحمام، والجنب، والنفساء، والحائض

มี 7 สถานที่ไม่สมควรอ่านอัล-กุรอาน ในห้องอาบนํ้า ห้องส้วม ขณะมีญุนุบ โลหิตหลังการคลอดบุตร และรอบเดือน

หมายถึงการอ่านอัล-กุรอานตามสถานที่หรือด้วยสภาพตามกล่าวมาโดยมีเจตนาเพื่อดูถูกอัล-กุรอาน หรือไม่ได้มีเจตนาเพื่อการดูถูก แต่ในทัศนะ

คนอื่นถือว่าเป็นการดูถูกอัล-กุรอาน

ดังนั้นการอ่านอัล-กุรอานเช่นนี้ ถือว่าไม่อนุญาต แต่ถ้าเป็นการรำลึกพระผู้เป็นเจ้า โดยไม่ได้มีเจตนาดูถูกไม่เป็นไร

11. ช่วงเวลาอ่านอัล-กุรอาน

การกล่าวพรรณนาถึงพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้าทุกเวลาถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากการสนทนากับผู้ที่เป็นที่รักไม่มีเวลาเฉพาะสามารถสนทนาได้ตลอดเวลา คนรักย่อมคอยโอกาสอย่างใจจดใจจ่อว่าเมื่อไหร่คนรักของตนจะมีเวลาว่าง เพื่อจะได้อยู่ใกล้ชิด และพูดคุยด้วย

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวกับท่านอิมามอะลี (อ.) ว่า

จงอ่านอัล-กุรอานไม่ว่าเจ้าจะอยู่ในสถานการณ์หรือเงื่อนไขใดก็ตาม ( 1)

(1 )วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 4 บาบ 47 ฮะดีษที่ 1

๒๖

อัล-กุรอานบางโองการและริวายะฮฺของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) กล่าวว่า

การอ่านอัล-กุรอานบางช่วงเวลาก็เหมาะสมและบางช่วงก็ไม่เหมาะสม ซึ่งจะอธิบายทั้งสองกรณีดังนี้

ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการอ่านอัล-กุรอาน

ช่วงเดือนรอมฎอน อันจำเริญซึ่งถือว่าเป็นฤดูกาลของอัล-กุรอาน

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า บุคคลใดอ่านอัล-กุรอาน 1 โองการในเดือนรอมฎอนเสมือนได้อ่านอัล-กุรอานจบ 1 ครั้งในเดือนอื่น ( 2)

(2 )อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้าที่ 617-618

เช้าตรู่ของทุกวันที่บรรดาสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายต่างนอนหลับไหล แต่บุคคลที่มีความรักในพระผู้เป็นเจ้าได้ตื่นขึ้นเหมือนแสงเทียนที่กำลังลุกโชติช่วงรินหลั่งนํ้าตาและระลึกถึงคนรักของตนอย่างใจจดใจจ่อ

ริวายะฮฺบางบทจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวสนับสนุนการอ่าน

อัล-กุรอานในช่วงเวลากลางคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงก่อนเข้านอนได้รับการแนะนำไว้อย่างมาก ( 1)

(1) เล่มเดิม

การอ่านอัล-กุรอานขณะนมาซที่นอกเหนือไปจากซูเราะฮฺวาญิบที่ต้องอ่าน ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าว่า บุคคลใดอ่านโองการต่าง ๆ จาก

อัล-กุรอานขณะยืนปฏิบัตินมาซ อัลลอฮฺจะบันทึกแต่ละคำเท่ากับ 100

ความดี ( 2)

(2 )อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้าที่ 611 / 612

๒๗

บางโองการได้กล่าวยํ้าเน้นว่าให้อ่านอัล-กุรอานทุกเช้าและขณะดวงอาทิตย์ตกดิน โดยกล่าวว่า

และเจ้า (มุฮัมมัด) จงรำลึกถึงพระผู้อภิบาลของเจ้าในใจของเจ้าด้วยความนอบน้อมและยำเกรงและโดยไม่ออกเสียงดัง ทั้งในเวลาเช้าและเย็นและ

จงอย่าอยู่ในหมู่ผู้ที่เผลอเรอ ( 3)

(3 ) อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อะอฺรอฟ 205

ซึ่งอัล-กุรอานเป็นตัวอย่างที่ยิ่งใหญ่สำหรับการรำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้า

หมายเหตุ ช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงกลางคืนให้เป็นกลางวัน ช่วงเวลหนึ่งได้เข้ามาแทนที่อีกเวลาหนึ่ง เป็นการเตือนสำทับให้มนุษย์ได้คิดถึงตัวเองและอายุขัยของตนที่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเหมือนเวลากลางวันและกลางคืน

ช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมสำหรับอ่านอัล-กุรอาน

บางริวายะฮฺกล่าวว่า ช่วงเวลาที่เปลือยเปล่า (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขณะอยู่ในห้องนํ้า) หรือช่วงเวลาที่ทำการชำระล้าง และช่วงเวลาที่มีเพศสัมพันธ์ 4

(4 ) วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 1 บาบที่ 7 อะฮฺกามการขับถ่าย

๒๘

บางริวายะฮฺกล่าวว่า อ่านอัล-กุรอานทุกช่วงแม้แต่ช่วงเวลาที่อยู่ในห้องนํ้าถือว่าดี ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ไม่เป็นไรหากเจ้าจะทำการรำลึกถึงอัลลอฮฺ แม้ว่าท่านกำลังปัสสาวะอยู่ก็ตาม เนื่องจากว่าการรำลึกถึงอัลลอฮฺดีตลอดเสมอ ฉะนั้นจงอย่างเผลอเรอการรำลึกถึงพระองค์ ( 1)

(1 ) เล่มเดิม

ข้อควรพิจารณา จะเห็นว่าริวายะฮฺทั้งสองขัดแย้งกัน แต่สามารถรวม

ริวายะฮฺทั้งเข้าด้วยกันบนความหมายที่ว่า ทุกครั้งที่อ่านอัล-กุรอานถ้าเป็น

การดูถูกอัล-กุรอานถือว่าไม่อนุญาต แต่ถ้าไม่ถือว่าเป็นการดูถูกอัล-กุรอานและเป็นการรำลึกถึงพระองค์ ถือว่าอนุญาต

ข้อควรพิจารณา การอ่านอัล-กุรอานที่มีโองการซัจดะฮฺวาญิบสำหรับสตรีที่มีรอบเดือน หรืออยู่ในช่วงของนิฟาซ (มีโลหิตหลังการคลอดบุตร) หรือบุคคลที่มีอยู่ญูนุบ เป็นฮะรอม (ไม่อนุญาต) แต่ถ้าเป็นบทที่ไม่มีซัจดะฮฺ

วาญิบอนุญาตให้อ่านได้ไม่เกิน 7 โองการ

12. จำนวนการอ่านอัล-กุรอาน

ไม่ว่าจะมากหรือน้อยเท่าใดก็ตามสำหรับการรำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ถือว่าน้อยทั้งสิ้น อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า ดังนั้นพวกเจ้าจงอ่านอัล-กุรอานตามแต่สะดวกเถิด ( 2)

(2 ) มุซัมมิล 20

๒๙

ริวายะฮฺจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) กำหนดว่า อย่างน้อยที่สุดควรอ่าน

อัล-กุรอานคืนละ 10 โองการ

ท่านอิมามบากิร (อ.) รายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า บุคคลใดอ่านอัล-กุรอานทุกคืน ๆ ละ 10 โองการเขาจะไม่ถูกบันทึกว่าเป็นหนึ่งในหมู่หลงลืม ( 1)

(1)อุซูลกาฟียฺเล่ม 1 หน้าที่ 612 ฮะดีษที่ 5

แต่ริวายะฮฺส่วนมากได้ระบุว่าควรอ่านอัล-กุรอานอย่างน้อยวันละ 50 โองการ

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า อัล-กุรอานคือพันธสัญญาระหว่างมนุษย์กับพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้นเป็นการดีที่มนุษย์ควรใส่ใจต่อสัญญาของตนที่ได้ตกลงไว้ และควรอ่านข้อสัญญาอย่างน้อยวันละ 50 โองการ ( 2)

(2 ) เล่มเดิม หน้าที่ 609

ริวายะฮฺจำนวนมากได้กล่าวแนะนำว่าให้อ่าน อัล-กุรอานให้จบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนรอมฎอน แต่ห้ามที่จะให้อ่านอัล-กุรอานด้วยความรวดเร็ว ขณะเดียวกันได้แนะนำว่าให้อ่านอัล-กุรอานด้วยความปราณีตตั้งใจและอ่านอย่างมีท่วงทำนอง( 3)

(3 ) เล่มเดิม หน้าที่ 617 ฮะดีษที่ 2

๓๐

คำเตือน สำหรับสตรีที่มีรอบเดือน นิฟาซ และบุคคลที่มีญินาบัตเป็น

มักรูฮฺ ถ้าจะอ่านอัล-กุรอานที่นอกเหนือจากบทที่มีโองการซัจดะฮฺวาญิบเกิน

7 โองการ แต่ถ้าเป็นบทที่มีโองการซัจดะฮฺวาญิบเป็นฮะรอม

13. การฟังและนิ่งเงียบ

มารยาทของผู้ฟังขณะอัญเชิญอัล-กุรอานคือการนิ่งเงียบ

อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า และเมื่ออัล-กุรอานถูกอ่านขึ้น จงสดับฟัง

อัล-กุรอานและจงนิ่งเงียบ เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับการเอ็นดู( 1)

(1 ) อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล อะอฺรอฟ 204

จากโองการข้างต้นสามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้

1. หน้าที่ประการแรกของผู้ฟังอัล-กุรอานคือนิ่งเงียบ

2. หน้าที่ประการที่สองของผู้ฟังอัล-กุรอานคือการฟังดัวยความตั้งใจในความหมายของโองการ ซึ่งแตกต่างไปจากการฟังโดยทั่วไปที่เพียงแค่ได้ยินผ่านหูไปมาเท่านั้น และการที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสถึงการฟังก่อนการนิ่งเงียบตามโองการข้างต้น อาจเป็นเพราะการให้ความสำคัญต่อสิ่งนั้น เพราะโดยธรรมชาติแล้วการนิ่งเงียบต้องมาก่อนการฟัง

3. บุคคลใดก็ตามฟังอัล-กุรอานด้วยความตั้งใจทั้งจิตวิญญาณ พร้อมทั้งนิ่งเงียบเท่ากับเป็นการเตรียมจิตด้านในเพื่อรอรับความเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้า บางโองการได้กล่าวยํ้าเน้นถึงการตั้งใจฟังโองการต่าง ๆ สำหรับผู้ศรัทธาว่าเป็นการเพิ่มพูนความศรัทธาและเป็นการมอบหมายความไว้วางใจต่อพระองค์

๓๑

อัล-กุรอานกล่าวว่า แท้จริงบรรดาผู้ที่ศรัทธานั้นคือ ผู้ที่เมื่อกล่าวถึงอัลลอฮฺหัวใจของพวกเขาก็หวั่นเกรง และเมื่อบรรดาโองการของพระองค์ถูกอ่านแก่พวกเขา ความศรัทธาของพวกเขาก็จะเพิ่มพูน และแด่พระเจ้าของพวกเขาเท่านั้นที่พวกเขามอบไว้วางใจ( 2)

(2 )อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อันฟาล 2

ท่านอิมามซัจญาด (อ.) กล่าวว่า บุคคลใดฟังการอ่านอัล-กุรอาน โดยที่เขาไม่ได้อ่าน อัลลอฮฺจะลบล้างหนึ่งในบาปพร้อมทั้งบันทึกความดีให้แก่เขา และยกฐานันดรของเขาให้สูงส่ง

(อุซูลอัลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้าที่ 612 ฮะดีษที่ 6)

ข้อควรพิจารณา

1. การนิ่งเงียบและฟังขณะได้ยินเสียงอ่านอัล-กุรอานเป็นมุสตะฮับ

2. ถ้าไม่ฟังและส่ออาการของการไม่ใส่ใจต่ออัล-กุรอาน ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าเป็นการดูถูกอัล-กุรอานเป็นฮะรอม แต่สำหรับงานมัจลิซ (ชุมนุมเกี่ยวกับศาสนา) หรืองานอ่านฟาติฮะฮฺให้กับผู้ตาย ซึ่งบางครั้งอาจจะมีการพูดคุยกับบ้างแต่ไม่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นการดูถูกอัล-กุรอานไม่เป็นไร ( 1)

(1 ) อิซติฟตาอาตกุรอาน หน้า 147 ข้อที่ 12

3. การกล่าวคำพูดบางอย่างระหว่างที่อ่านอัล-กุรอานในมัจลิซ หรือที่มีการประกวดแข่งขันอ่านอัล-กุรอาน เช่นคำว่า อะฮฺซันตะ หรือ ฏอยยิบัลลอฮฺ หรืออัลลอฮฺ อัลลอฮฺ ไม่เป็นไร แต่คำพูดเหล่านั้นต้องสอดคล้องกับมารยาทของการฟังอัล-กุรอานด้วย

๓๒

14. ระวังเรื่องการให้เกียรติอัล-กุรอาน

ดังที่กล่าวไปแล้วว่าการดูถูกอัล-กุรอานเป็นฮะรอม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นมุสลิมนอกจากจะไม่มีสิทธิ์ดูถูกอัล-กุรอานแล้ว ต่อหน้าอัล-กุรอานยังต้องเอาใจใส่เรื่องมารยาทอย่างเป็นพิเศษชนิดที่กล่าวได้ว่าท่านกำลังยืนอยู่ต่อหน้าอาจารย์ แน่นอนการให้เกียรติต่ออัล-กุรอ่านในแต่ละพื้นที่มีประเพณีปฏิบัติไม่เหมือนกัน ซึ่งจะขอหยิบยกบางประเด็นที่เหมือนกันดังนี้

1. เก็บรักษาอัล-กุรอานในสถานที่ ๆ มีความเหมาะสมมองเห็นได้ชัดเจน ปลอดภัย และมีความสะอาด

2. นั่งอย่างมีมารยาทเมื่ออยู่ต่อหน้าอัล-กุรอาน

3. ควรมีที่วางอัล-กุรอาน เช่น หมอนหรือระฮาเป็นต้น

4. ควรนั่งหันหน้าตรงกับกิบละฮฺขณะอ่านอัล-กุรอาน และควรอ่านด้วยความตั้งใจ

5. ไม่ควรละเว้นการอ่านอัล-กุรอานในบ้าน เพราะวันกิยามะฮฺสิ่งหนึ่งที่จะฟ้องต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) คือ อัล-กุรอานที่ไม่ได้ถูกอ่านปล่อยทิ้งไว้จนฝุ่นละอองเกาะ ( 1)

(1 )อุซูลกาฟียฺ เล่ม 1 หน้าที่ 613 ฮะดีษที่ 3

6. ไม่ควรอ่านอัล-กุรอานในช่วงเวลาและสถานที่ ๆ ไม่เหมาะสม เนื่องจากเป็นการดูถูก

7. ไม่ควรวางสิ่งของบนอัล-กุรอาน

8. ถ้าหากอัล-กุรอานตกลงบนพื้นควรเก็บขึ้นมาอย่างรวดเร็วด้วยความเคารพ

๓๓

9. ไม่ควรวางอัล-กุรอานลงบนสิ่งที่เป็นนะยิส เช่น รอยเลือด หรือเลือด เป็นฮะรอม และเป็นวาญิบให้หยิบขึ้นโดยเร็ว

10. กรณีที่ปก หรือกระดาษ หรือลายเส้นของอัล-กุรอานเปื้อนนะยิส ต้องรีบล้างโดยเร็ว

ท่านเฟฎ กาชานียฺ นักตัฟซีรอัล-กุรอานผู้ทรงคุณวุฒิได้เขียนว่า

นักอ่านอัล-กุรอานทั้งหลายควรรักษามารยาทหน้าตาของตนให้เหมาะสม และเวลาอ่านเป็นการดีให้หันหน้าตรงกับกิบละฮฺ และก้มศีรษะขณะอ่าน

ขณะอ่านอัล-กุรอานให้นั่งขัดสมาธิ และไม่สมควรนั่งพิงกับสิ่งใด

เมื่อมองดูแล้วต้องมิใช่การนั่งที่มีใบหน้าบ่งบอกถึงความเหย่อหยิ่งจองหอง

ถ้านั่งคนเดียวไม่สมควรนั่งเสมอกับครู หรือมองดูแล้วเท่าเทียมกับครู ( 1)

(1 ) อัล มะฮัจตุลบัยฎออฺ เล่ม 2 หน้าที่ 219

แม้ว่าการระวังรักษาและการให้เกียรติอัล-กุรอาน จะเป็นเรื่องที่สติปัญญารับได้ทุกคนก็ตาม กระนั้นริวายะฮฺจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ยังได้สำทับให้เห็นถึงความสำคัญของเรื่องนี้ไว้อีก มีรายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ.)

ในวันกิยามะฮฺ อัลลอฮฺ (ซบ.) จะตรัสถึงอัล-กุรอานว่า ฉันขอสาบานด้วยเกียรติยศ ความสูงส่ง และอำนาจของฉันว่า วันนี้ฉันจะให้เกียรติแก่บุคคลที่เคยให้เกียรติเจ้า และฉันจะทำให้ตํ่าต้อยบุคคลที่เคยทำให้เจ้าตํ่าต้อย ( 2)

(2 ) วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 4 หน้า 827

๓๔

15.ซัจดะฮฺขณะอ่านบทที่มีโองการซัจดะฮฺ

มีอัล-กุรอานอยู่ 15 โองการขณะที่อ่านหรือได้ยินคนอื่นอ่านต้องซัจดะฮฺ 1 ครั้งได้แก่

ก. อัล-กุรอาน 4 โองการต่อไปนี้เมื่ออ่านหรือได้ยินคนอื่นอ่าน เป็นวาญิบต้องซัจดะฮฺ ซึ่งเรียกว่า ซูเราะฮฺซัจดะฮฺ หรือ ซูเราะฮฺอะซาอิม ประกอบด้วย

- ซูเราะฮฺอัซ ซัจดะฮฺ โองการที่ 15

- ซูเราะฮฺอัล-ฟุซซิลัต โองการที่ 27

- ซูเราะฮฺอัน นัจมุ โองการที่สุดท้าย

- และซูเราะฮฺอัล อะลัก โองการสุดท้าย

ข. อัล-กุรอาน 11 โองการต่อไปนี้เมื่ออ่านหรือได้ยินคนอื่นอ่าน เป็น

มุสตะฮับให้ซัจดะฮฺ ประกอบด้วย

- ซูเราะฮฺอัล อะอฺรอฟ โองการสุดท้าย

- ซูเราะฮฺอัร เราะอฺดุ โองการที่ 15

- ซูเราะฮฺอัล นะฮฺลิ โองการที่ 50

- ซูเราะฮฺอัล อิซรอ โองการที่ 109

- ซูเราะฮฺมัรยัม โองการที่ 58

- ซูเราะฮฺอัล ฮัจญฺ โองการที่ 18 และ 77

- ซูเราะฮฺอัล ฟุรกอน โองการที่ 60

- ซูเราะฮฺอัล นัมลิ โองการที่ 26

- ซูเราะฮฺอัซ ซ็อด โองการที่ 24

- ซูเราะฮฺอัน อินชิกอก โองการที่ 21

๓๕

อะฮฺกามเฉพาะสาหรับโองการซัจดะฮฺ

1. บุคคลที่อ่านหรือได้ยินคนอื่นอ่านโองการซัจดะฮฺวาญิบโองการใดโองการหนึ่ง หลังจากจบแล้วต้องลงซัจดะฮฺทันที แต่ถ้าลืมเมื่อนึกขึ้นได้ให้ซัจดะฮฺ

2. การซัจดะฮฺวาญิบกุรอาน ไม่จำเป็นต้องหันหน้าตรงกิบละฮฺ หรือต้องมีวุฎูอฺ และเสื้อผ้าไม่จำเป็นต้องสะอาด และอนุญาตให้ซัจดะฮฺลงบนทุกสิ่งได้ยกเว้น สิ่งของที่เป็นอาหารหรือเครื่องดื่ม

3. กรณีที่ได้ยินโองการซัจดะฮฺจากวิทยุ โทรทัศน์ หรือเทป ซึ่งไม่ได้เป็นการได้ยินโดยตรงจากผู้อ่านไม่จำเป็นต้องซัจดะฮฺ

แต่ถ้าได้ยินจากเครื่องขยายเสียงที่เป็นเสียงของคนอ่านโดยตรง เป็น

วาญิบต้องซัจดะฮฺ

หมายเหตุ เกี่ยวกับเรื่องนี้บรรดามัรญิอฺในยุคปัจจุบันวินิจฉัยตรงกัน เช่น

ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ริซาละฮฺเตาฎีฮุลมะซาอิล ข้อที่ 1096

ท่านอายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี อิซติฟตาอาต เล่ม 1 หน้าที่ 105

ท่านอายะตุลลอฮฺ ฟาฎิล ลันกะรอนียฺ ทั้งสองกรณีเป็นวาญิบต้อง ซัจดะฮฺ ( 1)

(1 ) เตาฎีฮุลมะซาอิล ข้อที่ 1117, อิซติฟตาอาตกุรอาน หน้าที่ 30

๓๖

4. กล่าวว่า การกล่าวซิกรฺในซัจดะฮฺวาญิบกุรอาน ไม่เป็นวาญิบ เพียงแค่เอาหน้าผากไปจรดพื้นถือว่าเพียงพอ แต่ดีกว่าให้กล่าวซิกรฺต่อไปนี้ รายงานโดยท่านอิมามอะลี (อ.)

لا إلهَ إلاّ اللّه حقّاً حقّاً لا إله إلاّ اللّه إيماناً و تصديقاً، لا إله إلاّ اللّه عُبُوديَّةً و رقّاً، سَجَدْتُ لكَ يا ربِّ تَعَبُّداً و رقّاً، لا مُسْتَنْكِفاً و لا مُسْتَكْبراً، بَلْ انا عبدٌ ذَليلٌ ضَعيفٌ خائفٌ مُسْتجير.َ

หมายถึง แน่นอนไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ ฉันขอศรัทธา และขอยืนยันว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจาก อัลลอฮฺ ฉันขอแสดงควมเคารพภักดีและขอมอบตนเป็นข้าทาส

โอ้พระผู้อภิบาล ฉันได้กราบ (ซัจดะฮฺ) ต่อพระองค์โดยการยอมจำนนเป็นข้าทาส ไม่ขอแสดงตนเป็นผู้ทรนงหรือผู้ดื้อดึง หากแต่ว่าฉันคือบ่าวที่ตํ่าต้อย มีความเกรงกลัวจึงขอความคุ้มครองพระองค์( 2)

(2 )อุรวะตุลวุซกอ เล่ม 1 ฟัซลฺ ฟี ซาอิริ อักซามิซซุญูด

๓๗

16. อ่านด้วยความใจเย็น

ความใจเย็นในการปฏิบัติทุกภารกิจการงาน ถือว่าเป็นสาเหตุนำไปสู่ความสำเร็จ และความถูกต้อง ส่วนการรีบเร่งเป็นสาเหตุนำไปสู่ความเสียหายและความบกพร่อง ซึ่งสิ่งนี้สามารถพิสูจน์ได้จากการอ่านอัล-กุรอาน

ริวายะฮฺจำนวนมากมายได้กล่าวเตือนนักอ่านอัล-กุรอานทั้งหลายว่า

จงหลีกเลี่ยงการรีบร้อนการอ่านอัล-กุรอาน ทว่าจงอ่านด้วยท่วงทำนองที่มีความไพเราะ เมื่ออ่านถึงโองการที่กล่าวถึงเรื่องสวรรค์ ให้หยุดเล็กน้อยเพื่อขอรางวัลสรวงสวรรค์จากพระองค์ และเมื่ออ่านถึงโองการที่กล่าวถึงนรก ให้หยุดเล็กน้อยเพื่อขอความคุ้มครองและพึ่งพาพระองค์ ( 1)

(1 ) อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้า 617, 618 ฮะดีษที่ 2, 5

แน่นอนเมื่อผู้อ่านอัล-กุรอาน อ่านอย่างใจเย็นยอ่มทำให้มีเวลาตรึกตรองในความหมายเหล่านั้นมากขึ้น ส่วนการอ่านอย่างรีบเร่งเขาจะไม่ได้รับการชี้นำใด ๆ จากอัล-กุรอานนอกจากผลบุญ และการออกเสียงถูกต้องตามหลักการอ่าน

17. อ่านอัล-กุรอานอย่างคนมีความรัก

บรรดาผู้ศรัทธาเมื่ออ่านอัล-กุรอานจะเห็นว่าอัล-กุรอานเกิดผลสะท้อนกับในทางบวก เขาจะอยู่ในสภาพของคนอยากรู้อยากเห็นอย่างใจจดใจจ่อ

มีความหวาดกลัวซึ่งในบางครั้งจะเห็นว่ามีนํ้าตาไหลพรากอาบแก้มทั้งสอง

ซึ่งการร้องไห้บางเกิดจากความตื่นตันใจ และบางครั้งก็เกิดจากความรัก

๓๘

จะเห็นว่ามีริวายะฮฺจำนวนมากได้เน้นให้อ่านอัล-กุรอานด้วยความรัก เช่น

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า ไม่มีดวงตาคู่ใดที่ร้องไห้ขณะอ่าน

อัล- กุรอาน นอกเสียจากว่าเขาจะมีความสุขในวันกิยามะฮฺ ( 1)

(1 ) มีซาน อัลฮิกมะฮฺ เล่ม 8 หน้า 89

อัล-กุรอานุลกะรีมได้อธิบายมนุษย์ไว้ 2 ลักษณะ ซึ่งหนึ่งในนั้นเมื่อได้ยินอัล-กุรอานพวกเขาจะร้องไห้ อัล-กุรอานกล่าวว่า

إِذَا تُتْلَى عَلَیْهِمْ آیَاتُ الرَّحْمَنِ خَرُّوا سُجَّدًا وَبُکِیًّا

เมื่อบรรดาโองการของพระผู้ทรงกรุณาปรานีถูกอ่านแก่พวกเขา พวกเขาจะก้มลงสุญูดและร้องไห้ ( 2)

(2 )อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ มัรยัม / 58

ประเด็นที่น่าสนใจ มีริวายะฮฺจำนวนมากแนะนำว่าให้อ่านอัล-กุรอานด้วยสำเนียงที่ไพเราะ บางริวายะฮฺกล่าวว่าให้ร้องไห้อ่านอัล-กุรอาน หมายถึงอ่านพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้าด้วยความรักและอ่านอย่างมีศิลปะในการอ่าน

๓๙

18. การอ่านให้จบ

ขั้นตอนการอ่านให้จบ ริวายะฮฺจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และจากท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่าควรจบการอ่านอัล-กุรอานทุกครั้งด้วยประโยคที่ว่า เซาะดะกอลลอฮุล อะลียุล อะซีม หมายถึง สัจจะยิ่งอัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่งและยิ่งใหญ่ ( 3)

(3 ) บิฮารุลอันวาร เล่มที่ 95 หน้าที่ 400, เล่มที่ 57 หน้าที่ 243

ดุอาอฺหลังจากการอ่าน ผู้ที่อ่านอัล-กุรอานทุกท่านถือว่าอยู่ท่ามกลางบรรยากาศของอุ่นไอแห่งพระดำรัส ฉะนั้นหลังจากอ่านอัล-กุรอานแล้วสมควรอย่างยิ่งที่ต้องดุอาอฺเป็นการส่งท้ายเพื่อการตอบรับในสิ่งที่ตนได้ปฏิบัติลงไป

๔๐

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156

157

158

159

160

161

162

163

164

165

166