ชีวประวัติอิมามอะลี

ชีวประวัติอิมามอะลี 33%

ชีวประวัติอิมามอะลี ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: อิมามอลี
หน้าต่างๆ: 166

ชีวประวัติอิมามอะลี
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 166 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 34236 / ดาวน์โหลด: 4916
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามอะลี

ชีวประวัติอิมามอะลี

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

อัตชีวประวัติอิมามมะศูมีน ๑

อิมามอะลี(อ)

เขียน

ศาสตราจารย์เชคอะลี มุฮัมมัด อะลี ดุคัยยิล

แปล

อาจารย์อัยยูบ ยอมใหญ่

บทนำ

ตำแหน่งอิมาม

เมื่อเราถือว่า เป็นหน้าที่ของอัลลอฮ์(ซ.บ.)ที่พระองค์ทรงเมตตากรุณา ในกรณีที่ส่งมายังมวลมนุษย์ซึ่งบุคคลที่ชี้นำตักเตือน และเรียกร้องเชิญชวนมนุษย์สู่หนทางอันเที่ยงตรงโดยได้ทรงอธิบายความรู้ในทางศาสนาและกำหนดแบบแผนอันแน่นอนตามที่ทรงประสงค์แก่พวกเขาเพื่อเป็น

หลักฐานข้อพิสูจน์ของพระองค์ที่ให้แก่พวกเขาดังโองการที่ว่า :

“ดังนั้น หลักฐานข้อพิสูจน์อันเป็นเหตุผลลึกซึ้งเป็นของอัลลอฮ์”( )

ผู้ชี้นำและผู้ตักเตือนที่ว่านี้คือท่านศาสนทูตมุฮัมมัด(ศ)ซึ่งได้มีปาฏิหารย์มากมายและมีข้อพิสูจน์หลายประการมาสนับสนุนสัจธรรมและคำสอนของท่านและอัล-กุรอานอันทรงเกียรติเล่มนี้

ก็เป็นสิ่งมหัศจรรย์อันอมตะและเป็นข้อพิสูจน์อันเที่ยงธรรมประการหนึ่งของพระองค์ ที่ไม่มีความผิดพลาดใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นในยุคปัจจุบันและอนาคตข้างหน้าก็ตามจะล่วงล้ำกล้ำกลายคัมภีร์เล่มนี้ได้

มันเป็นสิ่งที่ถูกประทานจากพระผู้ทรงเกียรติ พระผู้ทรงปัญญาญาณนับเป็นเวลา ๑๔ ศตวรรษล่วงมาแล้วที่พระองค์ทรงท้าทายมนุษยชาติให้นำเสนอคัมภีร์ที่เหมือนกับเล่มนี้มาต่างหากสักเล่มหนึ่ง ต่อจากนั้นเมื่อทรงประจักษ์ถึงความด้อยในสมรรถภาพ และขีดความสามารถของมนุษย์

------------------------------------------------------------------

(๑)ซูเราะฮ์ อัล-อันอาม: ๑๔๙

พระองค์ตรัสว่า :

“ให้พวกเจ้านำมาเสนอเพียง ๑๐ บทที่เหมือนอย่างนี้” (๒)

ต่อมาตรัสอีกว่า :

“ให้พวกเจ้านำมาเสนอเพียงบทเดียว ที่เหมือนอย่างนี้”(๓)

และหลังจากเป็นที่แน่นอนแล้วว่า มวลมนุษย์ไร้ซึ่งสมรรถภาพ

พระองค์ก็ตรัสอีกว่า :

“จงกล่าวเถิดว่า แน่นอนถึงแม้มวลมนุษย์กับญินจะร่วมกันนำเสนอคัมภีร์สักเล่มหนึ่งให้เหมือนกับอัล-กุรอานนี้ พวกเขาก็มิอาจนำเสนอให้เหมือนเล่มนี้ได้ แม้ว่าส่วนหนึ่งจะเป็นฝ่ายช่วยเหลือแก่อีกส่วนหนึ่งก็ตามที”(๔)

เพราะท่านเป็นศาสนทูตจากอัลลอฮ์(ศ)สู่มวลมนุษย์เพื่อปลดปล่อยพวกเขาให้พ้นจากสภาพความเป็นอยู่แบบงมงาย หลงผิดซึ่งท่านก็ได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ตามที่ได้รับมอบหมาย และจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ที่ท่านจำเป็นต้องกลับคืนสู่พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งหมายถึงความตายที่ท่านไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

---------------------------------------------------------------------------

(๒) ซูเราะฮ์ ฮูด: ๑๓

(๓) ซูเราะฮ์ ยูนุส: ๓๘

(๔) ซูเราะฮ์ อัลอิซรออ์: ๘๘

ดังโองการที่ว่า

“แท้จริง เจ้าคือคนที่ต้องตายคนหนึ่งแล้วพวกเขาก็เป็นคนที่ต้องตายด้วย”(๕)

“เป็นกฎของอัลลอฮ์ที่มีแด่บรรดาคนในรุ่นก่อนๆ และเจ้าจะไม่พบว่ากฎใด ๆ ของอัลลอฮ์มีความเปลี่ยนแปลง”(๖)

แน่นอนที่สุด หลังจากท่านได้สิ้นไปแล้วจะต้องมีเหตุหลายประการเกิดขึ้น ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

๑. ศาสนาที่จะต้องเลิกล้ม และบทบัญญัติของอิสลามจะต้องมีอันลบล้างไป ในเหตุผลที่ว่าตำแหน่งศาสดาเป็นของคู่กับชีวิตของท่านเมื่อสิ้นสูญไปด้วยกันแล้ว มวลมนุษยชาติก็จะย้อนกลับสู่สภาพที่ไร้อารยธรรมตามเดิม หรือ

๒. มนุษยชาติถูกทอดทิ้งโดยเจตนา ให้อยู่กับวัฒนธรรมและการควบคุมบริหารของพวกตนเพราะว่าพวกตนสามารถปกครองพวกกันเองด้วยตัวเองได้แล้ว และปล่อยให้พวกเขาดำเนินชีวิตไปตามแบบแผนที่พวกตนกำหนดขึ้นมาเองได้โดยหมดความจำเป็นแก่บทบัญญัติว่า ต้องมีผู้ควบคุมผู้อธิบายกฎเกณฑ์ในบทบัญญัตินั้นๆ และผู้ที่จะคงไว้ซึ่งการกำหนดขอบเขตต่างๆ ของบทบัญญัติดังกล่าวหรือ

----------------------------------

(๕) ซูเราะฮ์ อัซ-ซุมัร: ๓๐

(๖) ซูเราะฮ์ อัล-อะห์ซาบ: ๖๒

๓. มิฉะนั้นประชาชาติในสมัยหลังจากท่านศาสดา (ศ) แล้ว มีอิสระใน การตัดสินใจได้ โดยที่ประชาชนร่วมกันลงคะแนนเสียงเลือกอิมามขึ้นมาทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมพวกตนเองได้ หรือ

๔. จะต้องมีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งอิมามสำหรับประชาชาติไว้เพื่อดำรงไว้ซึ่งทางนำสำหรับพวกเขาเหล่านั้น และสั่งให้คนเหล่านั้นปฏิบัติตามและเคารพเชื่อฟัง

หากเราจะพิจารณาให้ถ่องแท้ เราจะต้องถอนความรู้สึกนิยมการถือฝักฝ่ายอันน่าชังออกไปเสียก่อน แล้วเราค่อยวิเคราะห์แต่ละข้อด้วยเหตุผล

แน่นอนที่สุด เราจะพบว่าความในข้อแรกที่ว่า บทบัญญัติต้องมีอันล้มเลิกนั้น ผิดพลาดอย่างแน่นอน เพราะว่าอิสลามคือบทบัญญัติสุดท้ายที่สมบูรณ์แบบ เป็นมาตรการที่อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงประทานมาเพื่อมนุษย์ทั้งมวล

 ดังโองการที่ว่า :

“แท้จริงศาสนาของอัลลอฮ์ คืออัล-อิสลาม”

ฉะนั้นถ้าหากว่า บทบัญญัติของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)อันควรค่าแก่การยกย่องนี้เป็นของที่อยู่กันกับชีวิตของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ)

เท่านั้น แน่นอน ศาสนานี้ต้องมีความบกพร่อง เพราะว่า การเผยแพร่ยังมิได้ควบคุมไปยังมวลมนุษย์อีกเป็นจำนวนมหาศาลและยังมิได้เข้าใจกระจ่างแจ้งถึงวิถีทางนำอันถูกต้องและปลอดภัย

จุดบกพร่องอีกประการหนึ่งก็คือ งานเสียสละอันยิ่งใหญ่ที่ท่านนบี (ศ) ได้ทุ่มเทเพื่อศาสนานี้

เป็นมรดกที่ยิ่งใหญ่ที่ท่านได้มอบไว้แก่ศาสดานี้อีกทั้งยังปล่อยให้เป็นอิสระแก่คนรุ่นหลังที่จะพิทักษ์ปกป้องหรือไม่ แต่ถ้าเราพิจารณาดูผู้ก่อตั้งแนวคิดทางการเมืองและลัทธิความเชื่อทั้งหลายแล้ว

จะพบว่าคนเหล่านั้นวางพื้นฐานรองรับแนวความคิดของพวกตน และกำหนดแนวทางไว้ให้ยืนยาวสำหรับประชาชนในทุกยุคทุกสมัยต่อๆมา

ไม่จำเป็นต้องหาเหตุผลหักล้างข้อความในแง่นี้ให้ยืดยาวแต่อย่างใด เพราะมันหมายถึงความผิดพลาดอย่างเห็นได้ชัด และคงไม่มีใครเห็นด้วยเลย ไม่ว่าจะเป็นคนในศาสนานี้หรือไม่ก็ตาม

เหตุผลตามข้อ ๒. ที่ว่า ท่านได้ละทิ้งประชาชาติอิสลามโดยเจตนาให้พวกเขาบริหารกิจการกันเองก็ยิ่งผิดพลาดมากกว่าข้อ ๑ เพราะทหารไม่อาจดำรงอยู่ได้โดยไม่มีผู้บังคับบัญชาและกำกับการ ประชาชนก็ขาดเสียมิได้ซึ่งหัวหน้าบริหารกิจการและพิทักษ์รักษาสิทธิ์ต่างๆ ยิ่งกว่านั้น

แม้กระทั่งร่างกายเล็กๆ ของเรานี้ อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ก็ทรงกำหนดให้มีศูนย์ควบคุม และหัวหน้าเอาไว้

นั่นคือ “หัวใจ” และศูนย์สมองความรู้สึกสัมผัสต่าง ๆ ทั่วสารพางค์ล้วนมีศูนย์กลางอยู่ที่หัวใจและศูนย์สมองทั้งสิ้น

เป็นไปได้อย่างไรที่ว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) จะทอดทิ้งมนุษย์ทั้งหลายโดยเจตนาให้พวกเขาดำเนินการกันไปเองตามธรรมชาติหรือความสามารถของพวกเขาเองโดยที่ท่านได้ให้บรรดาสาวก

 และประชาชาติในยุคที่ติดตามมา ซึ่งได้รับพรอันสูงส่งทางด้านวิชาความรู้และการรู้จักพระผู้เป็นเจ้าจนสามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ชี้นำและผู้ปกครอง เนื่องจากทุกคนเคยใกล้ชิดท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) แล้วได้รับเอาทุกสิ่งทุกอย่างมาจากท่านด้วยกัน แล้วอะไรจะเกิดขึ้นกับประชาชนในเมืองอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไป ทำอย่างไรจะให้คนในเมืองนั้นๆ ได้มีผู้สอนศาสนาอธิบายบทบัญญัติและควบคุมให้อยู่ในกฎเกณฑ์ และขัดขวางบรรดาผู้ละเมิดตลอดทั้งต่อต้านกับพวกมิจฉาทิฎฐิ (กาฟิร)

ใช่อาจเป็นอย่างนี้ได้ ถ้าหากอัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงเปลี่ยนธรรมชาติของมนุษย์ให้เป็นธรรมชาติของมะลาอิกะฮ์และให้พวกเขาพำนักในโลกนี้เยี่ยงการพำนักในชั้นฟ้า กล่าวคือ อยู่ในระดับสูงเกินกว่าที่จะตั้งข้อกล่าวหาและประเสริฐจนพ้นสภาพที่จะทรยศฝ่าฝืนได้อีก

คำตอบสำหรับเหตุผลตามข้อ๓. ที่ว่าให้ประชาชาติอิสลามเลือกผู้ปกครองของพวกตนกันเองก็คือ เป็นไปไม่ได้ที่จะให้ประชาชนร่วมกันลงมติเลือกคนใดคนหนึ่งขึ้นมา ถึงแม้คนๆ นั้น

จะมีความพร้อมบริบูรณ์และมีความรู้ที่สุดแล้วก็ตาม จะเป็นไปได้อย่างไรที่ประชาชนทุกคนจะร่วมกันลงมติเลือกคนๆ เดียวกัน ในเมื่อต่างคนต่างก็มีความคิดเห็นและทัศนะทางด้านนโยบายแตกต่างกันทั้งนั้น

ปัจจุบันเป็นสมัยที่มีการปกครองกันในระบอบประชาธิปไตย ประชาชนสามารถเลือกผู้แทนของตน และพวกเขาก็เข้าไปเลือกรัฐบาลโดยได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างถูกต้อง

แต่พร้อมกันนั้น เราก็พบว่าในทุกประเทศจะมีแต่ปัญหาความขัดแย้งกันเอง และพบว่ามีผู้ตั้งตัวขึ้นเป็นฝ่ายค้านทางการเมืองกับรัฐบาลในทุก ๆ ประเด็น และจะพบว่าตามหน้าหนังสือพิมพ์ล้วนมีการโต้แย้งและขัดค้านการดำเนินงานของรัฐบาลมีการโจมตีกันอย่างมากมาย

 จนกระทั่งรัฐบาลนั้นถูกล้มไปก็จะมีการเลือกตั้งครั้งใหม่กันอีก ในรูปแบบเดียวกันกับที่ผ่านมาแล้วในอดีต ในหมู่ผู้แทนก็จะมีการแบ่งฝักฝ่ายกันไปตามที่ประชาชนเลือกเข้ามา และถึงแม้จะเป็นที่ถูกใจของฝ่ายที่คัดค้านในอดีตแต่ก็ยังขัดแย้งกับฝ่ายค้านอีกกลุ่มหนึ่งต่อไป เพราะแต่ละฝ่ายต่างก็มีหนังสือพิมพ์ มีพรรคการเมืองสนับสนุนบางครั้งการขัดแย้งก็มิได้น้อยไปกว่าคราวก่อนๆ เลย

เมื่อเป็นเช่นนี้ ประชาชนไม่สามารถจะร่วมกันลงมติเลือกบุคคลใดๆ ที่แน่นอนขึ้นมาได้ถึงแม้คนๆ นั้นจะเป็นผู้มีความดีเด่นและความรอบรู้

สักเพียงใดก็ตามต่อให้พวกเขาร่วมกันคัดเลือกทั้งทางทิศตะวันออกสุดจนถึงทิศตะวันตกสุด การเลือกของพวกเขาจะดีไปกว่าการเลือกของอัลลอฮ์

(ซ.บ.) กระนั้นหรือ?

ความคิดเห็นของพวกเขาจะดีกว่าทัศนะของอัลลอฮ์(ซ.บ.) กระนั้นหรือ ? อัซตัฆฟิรุลลอฮ์(ข้าขออภัยโทษต่ออัลลอฮ์) ข้าพเจ้าเชื่อว่าไม่มีมุสลิมคนใดกล้าพูดเช่นนั้น เพราะคนเราไม่ว่าจะมีความรู้ลึกซึ้งมากมายแค่ไหน ก็ยังมีการตัดสินใจผิดพลาดได้เสมอ

ยกตัวอย่าง ท่านนบีมูซา บินอิมรอน(อ)ตามโองการที่ว่า

“และมูซาได้คัดเลือกพวกของตน ๗๐ คนเนื่องในการกำหนดเวลาของเรา”(๗)

โดยเชื่อว่าคนเหล่านั้นเป็นคนดีที่สุดในประชาชาติของท่าน แต่แล้วการสนทนาของคนเหล่านั้นมีต่อท่านตอนหนึ่งว่า :

“เราจะไม่ศรัทธากับท่านจนกว่าเราจะเห็นอัลลอฮ์ (ซ.บ.) อย่างชัดเจน”(๘)

-------------------------------------

(๗) ซูเราะฮ์อัล-อะอ์รอฟ: ๑๕๕

(๘) ซูเราะฮ์อัล-บะเกาะเราะฮ์: ๕๕

และการตักเตือนใดๆของท่านนบีมูซา(อ)ที่มีต่อพวกเขาก็ไม่เกิดประโยชน์อันใดจนถึงกับมีเสียงกัมปนาทแห่งการลงโทษมาคร่าชีวิตของพวกเขาไปเลยเหตุผลที่แฝงเร้นอยู่ก็คือความไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ของพวกเขาในการตัดสินใจเลือกนั่นเอง เพราะมิได้ถูกต้องตรงกับสาวกที่มีคุณสมบัติ

ประเสริฐสุดของท่านจริงๆ ทั้งๆ ที่ท่านเองก็เป็นถึงศาสดาที่พระเจ้าส่งมา

เรื่องการเลือกอิมาม เป็นหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะของอัลลอฮ์(ซ.บ.) ดังโองการที่ว่า :

“และพระผู้อภิบาลของเจ้าทรงสร้างและทรงคัดเลือกตามที่พระองค์ทรงประสงค์อันว่าการคัดเลือกมิได้เป็นเรื่องของพวกเขา”(๙)

เพราะเป็นกิจการภายในศาสนาข้อสำคัญที่สุดข้อหนึ่งในเรื่องศาสนานั้นมวลประชาชาติไม่มีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นเช่นในเรื่องจำนวนครั้งของรอกะอัตต่างๆ ในการนมาซ และพระองค์มิได้ปรึกษาหารือกับมนุษย์ในเรื่องอัตราการจ่ายทรัพย์สิน (ซะกาต) และความรู้ต่างๆ ของอิสลามก็มิได้ถ่ายทอดออกมาจากความคิดของพวกเขาด้วย ทั้งนี้รวมไปถึงบทบัญญัติว่า อะไรเป็นของอนุญาต อะไรเป็นของต้องห้าม ยิ่งไปกว่านั้นในเรื่องเหล่านี้อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงบัญชา และวางกฎข้อบังคับให้พวกเขาถือหลักปฏิบัติด้วยพระองค์เองทั้งสิ้น

-------------------------------------------------

 (๙) ซูเราะฮ์อัล-เกาะศ็อศ: ๖๘

ตำแหน่งอิมามได้รับการยืนยันด้วยอะไร

“ตำแหน่งอิมาม” ได้รับการยืนยันโดยสิ่งสำคัญสองประการ นั่นคือข้อบัญญัติจากอัล-กุรอาน และจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) เกี่ยวกับเรื่อง “อิมาม” ที่มีมากมายหลายประการ ดังที่ท่านจะได้อ่านข้อบัญญัติของ

อัลกุรอานและจากท่านศาสนทูต (ศ) เป็นจำนวนมากในเรื่องของ

ท่านอะมีรุลมุมินีน (อ) อินชาอัลลอฮ์(หากอัลลอฮ์ทรงประสงค์)

ขณะเดียวกัน ประวัติศาสตร์ก็ได้บันทึกถึงความยิ่งใหญ่ และคุณสมบัติพิเศษต่างๆ มากมายของท่าน

ในปัจจุบันนี้ ท่านอิมามอะลี บินอะบีฎอลิบ(อ) ได้จากไปแล้ว ๑๔ ศตวรรษ แต่เราก็ยังสามารถศึกษาคำเทศนาทุกๆ บทได้ในหนังสือนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ แม้กระทั่งในทุกบทตอนของการปราศรัยในที่ต่างๆ นอกจากนี้ท่านอิมาม(อ)ก็ยังมีการตอบคำถาม และการตัดสินคดีความซึ่งท่านอิมามอะลี(อ)ยังรู้คำตอบของคดีนั้นอย่างสมบูรณ์ก่อนแล้วขนาดที่ถ้าหากคนทั่วไปทั้งหมดร่วมกันนำเอาคำตอบข้อใดข้อหนึ่งของท่านมาพิจารณาหรือค้นคว้าในคำตัดสินคดีความของท่านเพื่อที่จะหาเหตุผลหักล้างแล้ว แน่นอนคนทั้งหลายก็ไม่มีความสามารถจะกระทำได้เลย

ในเมื่อตำแหน่งอิมามของท่านอะมีรุลมุมินีน (อ) ได้รับการยืนยันโดยข้อบัญญัติของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)และโดยการสำแดงความมหัศจรรย์ออกมาด้วยตัวของท่านเองแล้ว ตำแหน่งอิมามของบรรดาลูกหลานของท่าน (อ) ก็ได้รับการยืนยันโดยข้อบัญญัติของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) และข้อบัญญัติของแต่ละท่านที่มีต่อกันและกันและโดยการสำแดงความมหัศจรรย์ออกมาด้วยตัวของท่านเหล่านั้นทั้งหมดเองด้วย

๑๐

ทำไมต้องมีอิมาม?

ในเมื่อท่านนบีมุฮัมมัด (ศ) เป็นมนุษย์ที่ประเสริฐที่สุด มีความสมถะที่สุด มีความสำรวม เคร่งครัดที่สุด มีความรู้ดีที่สุด มีความกล้าหาญที่สุด

และมีความเผื่อแผ่ที่สุดแล้ว ย่อมหมายความว่า

ท่านคือผู้ที่มีความดีเด่นสูงสุดยอดอย่างบริบูรณ์ มีคุณสมบัติที่ควรแก่

การสรรเสริญ และมีบุคลิกภาพที่ยิ่งใหญ่เพียบพร้อมด้วยจริยธรรมอันทรงเกียรติเพราะถ้าท่านมิได้เป็นคนที่ประเสริฐที่สุด

ท่านก็ยังต้องจำเป็นแสวงหาการชี้แนะจากมนุษย์คนอื่นอีก ถ้าหากท่านมิได้เป็นคนมีความสำรวมและยำเกรงพระเจ้าที่สุดแล้ว ท่านก็ยังเป็นที่ให้ความมั่นใจแก่ศาสนาและโลกนี้ไม่ได้ ถ้าหากท่านมิได้เป็นคนสมถะที่สุดแล้ว ความปรารถนาในทางโลกของท่านก็จะทำให้คนทั่วไปไม่ปรารถนาศาสนาของท่าน หากท่านมิได้เป็นคนมีความรู้มากที่สุด ท่านก็ไม่สามารถอธิบายให้ปวงบ่าวของพระผู้เป็นเจ้าเข้าใจในการแยกแยะว่า อะไรเป็นของอนุมัติและอะไรเป็นของต้องห้าม ถ้าหากท่านมิได้เป็นคนกล้าหาญที่สุดในการรบและอดทนที่สุดในยามเผชิญหน้ากับศัตรูก็ย่อมจะเป็นข้อบกพร่องอย่างใหญ่หลวงในการควบคุมทหารและจะสร้างความพ่ายแพ้ในการสงคราม

หากท่านมิได้เป็นคนที่มีความเผื่อแผ่ที่สุด แน่นอนภารกิจทางศาสนาของท่านก็มิอาจดำรงอยู่ได้ บรรดาสาวกจะพากันแตกแยกจากท่าน เมื่อนั้นคนทั่วไปก็จะเป็นทาสของโลก และเป็นพวกแสวงหาผลประโยชน์ไปเสีย

๑๑

ดังนั้น ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ) จึงต้องมีคุณสมบัติที่เพียบพร้อมด้วยเกียรติและมีบุคลิกภาพทีควรแก่การสรรเสริญที่สุด กล่าวคือประชาชนทั่วไปศึกษาเรียนรู้จริยธรรมอันบริบูรณ์จากท่าน และคุณสมบัติอันประเสริฐใดๆ ก็ตามที่เราถือว่าต้องมีสำหรับนบีนั้น คือ เหตุผลที่ระบุอย่างชัดเจน

สำหรับการเป็นอิมามภายหลังจากท่านศาสดา เพราะเขาผู้นั้นเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งตามเจตนารมณ์ของท่านศาสดา จะทำหน้าที่ควบคุมและเผยแผ่บทบัญญัติของท่านศาสดา และเป็นผู้อธิบายบทบัญญัติที่อนุมัติ(ฮะลาล)และบทบัญญัติต้องห้าม(ฮะรอม)อย่างชัดเจน

ใครคืออิมาม?

ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับท่านศาสนทูต (ศ) ที่จะต้องดำเนินการให้มีอิมามแก่ประชาชาติตามบัญชาของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) เพื่อเขาจะได้ดำเนินการเผยแผ่ศาสนาแก่ประชาชนทั้งหลาย และเพื่อเขาจะได้อธิบายให้ประชาชนมีความรู้ในสิ่งที่ดีงาม ผลตอบแทนสำหรับความดีและการลงโทษสำหรับความชั่ว เพื่อสอนคนเหล่านั้นให้รู้ชัดแจ้งในบทบัญญัติ และรู้ในสิ่งที่เป็น

ของอนุญาต (ฮะลาล) และของต้องห้าม (ฮะรอม) อย่างชัดเจน อีกทั้งทำหน้าที่ดำรงไว้ซึ่งกฎเกณฑ์ทางศาสนาเพื่อประชาชาติจะได้ยึดเป็นหลักการ

แล้วใครกันเล่า คืออิมามที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)ได้แต่งตั้งไว้

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า นั่นคือ ท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ (อ) กล่าวคือ นับแต่วันที่ท่านศาสนทูต(ศ) ถูกแต่งตั้งจนถึงแก่การวายชนม์ ไม่ว่าจะอยู่ ณ แห่งหนตำบลใด ท่านไม่เคยแยกตัวออกห่างจากท่านอะลี (อ) เลย

๑๒

 เมื่อเริ่มได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดา และประกาศศาสนาใหม่ๆ ท่านศาสนทูต (ศ) ได้ประกาศเรียกคนในตระกูลบะนีฮาชิมมาประชุมพร้อมกัน ท่านได้พูดกับคนเหล่านั้นว่า

“ผู้ใดตอบรับงานอันนี้ และจะร่วมดำเนินภารกิจอันนี้กับข้าบ้าง เขาก็คือพี่น้องของข้า และเป็นทายาท เป็นผู้ร่วมภารกิจ เป็นผู้สืบมรดก และเป็นผู้ปกครองแทนข้า หลังจากข้าไปแล้ว”

แต่ไม่มีใครตอบรับท่านเลยสักคน ท่านอะมีรุลมุมินีน (อ) จึงกล่าวขึ้นว่า

“ข้าแต่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) ข้าพเจ้าจะเป็นผู้ร่วมภารกิจนี้กับท่านเอง”

ท่านศาสนทูต(ศ)จึงกล่าวว่า

“เจ้าคือพี่น้องของข้า ทายาทของข้า ผู้ร่วมภารกิจของข้า ผู้สืบมรดกและผู้ปกครองแทนข้าหลังจากข้าไปแล้ว”

คนเหล่านั้นพากันลุกขึ้นยืน พลางกล่าวกับอะบีฎอลิบว่า

“วันนี้ท่านจะต้องวิบัติแน่แล้ว ถ้าท่านยอมรับศาสนาของลูกชายของน้องชายของท่านเพราะว่าเขาได้ตั้งลูกของท่านขึ้นเป็นผู้บัญชาการท่านแล้วนี่”

อีกเรื่องหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในตอนแรกของการประกาศศาสนาของท่านศาสดา (ศ) กล่าวคือ ครั้งหนึ่งเคยมีคนนำนกย่างเป็นอาหารไปมอบแก่ท่านศาสดา (ศ) ดังนั้นท่านได้อ้อนวอนต่อพระผู้เป็นเจ้า (ดุอาอ์) ว่า

“ข้าแต่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ขอได้ส่งคนที่พระองค์รักมากที่สุดมารับประทานนกย่างตัวนี้พร้อมกับข้าด้วยเถิด”

๑๓

ปรากฏว่าท่านอะลี (อ) ก็เข้ามาทันที อีกครั้งหนึ่งท่านได้กล่าวกับ

ท่านอะลี (อ)ว่า

“เธอกับฉันมีฐานะเช่นฮารูนกับมูซา เพียงแต่ไม่มีนบีคนใดหลังจากฉันอีกแล้ว”

เมื่อครั้งท่านศาสดา (ศ) ได้ส่งท่านอิมามอะลี (อ) ออกไปรบดวลดาบตัวต่อตัวในสงครามคอนดัก(สนามเพลาะ) กับอัมร์ บินอับด์วุด อัลอามิรี แล้วท่าน ก็กล่าวขึ้นว่า

“อีมามทั้งมวลได้ออกไปเผชิญหน้ากับการชิริก(ตั้งภาคี)ทั้งมวล”

แล้วหลังจากที่ท่านอิมามอะลี(อ)ได้สังหารอัมร์เสร็จ ท่านศาสดา (ศ) ได้กล่าวว่า

“การลงดาบเพียงครั้งเดียวของอะลีที่มีต่ออัมร บินอับด์วุด อัล-อามิรีแห่งสงครามคอนดักครั้งนี้นั้น มีค่าเทียบได้กับการเคารพภักดี(อิบาดัต)ต่อพระเจ้า ทั้งโดยหมู่ญินและมนุษย์ทั้งมวลรวมกัน”

ในสงครามคัยบัรท่านศาสดา(ศ)ได้กล่าวว่า

“แน่นอน วันพรุ่งนี้ฉันจะมอบธงชัยให้แก่คนผู้หนึ่งที่รักในอัลลอฮ์(ซ.บ.) และศาสนทูตแห่งพระองค์ (ศ) โดยอัลลอฮ์ (ซ.บ.)และศาสนทูต (ศ)รักเขาเช่นกัน เขาจะไม่กลับจากการรบจนกว่าอัลลอฮ์ (ซ.บ.)จะมอบชัยชนะแก่เขา”

ต่อมาท่านจึงเรียกหาอิมามอะลี (อ) และเมื่ออิมามอะลี (อ) มาแล้วท่านก็มอบธงชัยนั้นให้แก่ท่านอะลี (อ)

๑๔

ซึ่งท่านอะลี (อ) ได้ออกไปพร้อมกับธงชัยทำสงครามอย่างห้าวหาญจนประสบผลสำเร็จโดยได้สังหารแม่ทัพฝ่ายคัยบัรชื่อว่า มัรหับ และมีชัยชนะกลับมาเพราะฝีมือของท่านท่านศาสดาเคยนำท่านอะลี (อ) ออกไปทำพิธีสาบานเพื่อพิสูจน์ความจริง(มุบาฮะละฮ์)เพราะท่านอิมามอะลี (อ) มีค่าเท่ากับตัวของท่านศาสดา (ศ) เอง

ดังโองการในอัล-กุรอานที่ว่า:

“ดังนั้นจงกล่าวเถิดว่า พวกท่านจงมากันเถิดแล้วเราจะเรียกบรรดา

ลูกๆ ของเรามาและท่านเรียกบรรดาลูกๆ ของท่านมา เราเรียกบรรดาสตรีของเรามาและท่านก็เรียกบรรดาสตรีของท่านมาและเราเรียกตัวตนของเรามาและท่านเรียกตัวตนของพวกท่านมา”(๑๐)

ท่านศาสดา(ศ)เคยคลุมตัวท่านอะลี(อ) ด้วยผ้าคลุม “กิซา” ในขณะที่อ่านโองการของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ที่ว่า:

“อันที่จริงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ประสงค์เพียงการขจัดมลทินออกไปจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์และทรงชำระขัดเกลาพวกเจ้าให้บริสุทธ์ยิ่ง”(๑๑)

---------------------------------------------------------------------

(๑๐) ซูเราะฮ์ อาลิ อิมรอน: ๖๑

(๑๑) ซูเราะฮ์ อัลอะหซาบ: ๓๓

๑๕

ท่านศาสดา (ศ) เคยสั่งให้ปิดประตูบานต่างๆ ของบ้านที่ตรงกับมัสยิดยกเว้นประตูบ้านของท่านอะลี (อ) เท่านั้น

ท่านศาสดา(ศ)เคยกล่าวถึงท่านอะลี(อ)ว่า

“ฉันคือนครแห่งความรู้ ส่วนอะลีคือประตูของมัน”

ท่านศาสดา (ศ) เคยพูดกับท่านอะลี (อ) ว่า

“เธอคือทายาทของฉัน ผู้ทำหน้าที่ชำระหนี้สินของฉัน และทำความสมบูรณ์ให้แก่พันธะสัญญาของฉัน”

ตลอดจนถึงวจนะต่าง ๆ จำนวนนับร้อยที่ออกมาจากท่านศาสดา

มุฮัมมัด (ศ) ซึ่งล้วนแต่ให้ความหมายบ่งชี้ถึงการแต่งตั้งให้ท่านอะลี (อ) เป็นอิมามของประชาชาติและประกาศให้ประชาชนได้ตระหนักว่า ท่านมีความรู้และบทสรุปของอัลฮะดีษต่างๆเหล่านั้นที่สำคัญที่สุดได้มาถึงบทสรุป

สุดท้ายแห่งอัลฮะดีษ

ในวันสำคัญที่เฆาะดีรคุม ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ได้ประกาศว่าท่านจะบำเพ็ญฮัจญ์ในปีนี้เป็นครั้งสุดท้าย เพราะท่านได้ประจักษ์ว่า ท่านจะต้องตอบรับการเรียกร้องให้คืนกลับสู่พระผู้เป็นเจ้าแล้ว ฉะนั้นประชาชนต่างมารวมกันจากทั่วทุกสารทิศ หลังจากเสร็จพิธีฮัจญ์ร่วมกับคนเหล่านั้นแล้ว ท่านศาสนทูต (ศ) ก็ได้เดินทางกลับไปยังนครมะดีนะฮ์ พร้อมกับบรรดามุสลิมทั้งหลาย ครั้นพอมาถึงตรงทางแยกที่บรรดาฮุจญาจทั้งหมดต่างจำต้องแยกย้ายกันกลับบ้านเมืองของตนนั้น ท่านศาสทูต (ศ) ได้สั่งให้หยุด และให้เรียกบรรดาพวกที่เดินรุดหน้าไปแล้วกลับมาและให้รอพวกที่ยังเดินทางอยู่ข้างหลังให้มาถึงด้วย

๑๖

 พอบรรดามุสลิมชุมนุมกันพร้อมแล้ว ท่านก็สั่งให้ตั้งมิมบัรที่ทำจาก

อานบนหลังอูฐมาวางลง แล้วท่านก็ขึ้นกล่าวคำเทศนากับคนเหล่านั้นโดยอธิบายอย่างชัดเจนถึงบุคคลที่จะเป็นผู้นำ(อิมาม) ภายหลังจากท่านต่อจากนั้นท่านก็จับมือของท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ (อ) ชูขึ้น จนคนสามารถมองเห็นซอกรักแร้ที่ชาวของท่านทั้งสองได้

ท่านศาสดา(ศ) กล่าวว่า

“ดังนั้นบุคคลใดที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา ก็ให้ถือว่า อะลี ผู้นี้เป็นผู้ปกครองของเขาด้วย ข้าแต่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) โปรดคุ้มครองคนที่สวามิภักดิ์ต่อเขา และโปรดเป็นศัตรูต่อคนที่เป็นศัตรูต่อเขาโปรดช่วยเหลือ คนที่ช่วยเหลือเขา โปรดทำลายคนที่ทำลายเขา”

จากนั้นท่านก็จัดให้ท่านอะลี (อ) ยืนโดดเด่นอยู่ภายนอก แล้วออกคำสั่งให้บรรดามุสลิมเข้ามาแสดงการคารวะต่อท่านในฐานะผู้ศรัทธา

 และญิบรออีลได้นำโองการหนึ่งลงมาความว่า

“วันนี้ ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์สำหรับพวกเจ้าแล้ว และข้าได้ให้ความโปรดปรานของข้าครบบริบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้ว และข้าพอใจให้อิสลามเป็นศาสนาของพวกเจ้า”(อัลมาอิดะฮ์: ๓)

๑๗

ข้อบัญญัติจากท่านศาสนทูต (ศ) ในเรื่องบรรดาอิมาม (อ)

วจนะ (อัล-ฮะดีษ) ของท่านศาสนทูต (ศ) ในประเด็นที่ว่า บรรดาอิมาม (อ)มี ๑๒ ท่านนั้นมีการบันทึกไว้มากมายอย่างน่าอัศจรรย์ บางทีข้าพเจ้าคงไม่ถึงกับเป็นคนพูดเกินเลยแต่อย่างใด

ถ้าจะกล่าวว่าอัลฮะดีษในข้อนี้ มีไม่น้อยไปกว่าอัลฮะดีษต่าง ๆ ที่กล่าวถึงเรื่องนมาซ หรือเรื่องการถือศีลอดเลย

ฮะดีษเหล่านี้มิได้ให้ความหมายในทางอื่น นอกจากว่า บรรดาอิมามทั้ง ๑๒ ท่านนั้นต้องเป็นอะฮ์ลุลบัยต์ (อ) ผู้ซึ่งมีฐานะเป็นสิ่งสำคัญหนักยิ่งอันดับที่ ๒ ซึ่งท่านศาสนทูต(ศ)ได้ฝากไว้ให้กับบรรดาประชาชาติและในเมื่อไม่มีคนใดสามารถคัดค้านหรือกล่าวตำหนิสายสืบผู้นำมาบันทึกเนื่องจากการบันทึกไว้ตรงกันอย่างมากมาย ประกอบกับจำนวนของนักรายงานที่มีมาก อีกทั้งจากการบันทึกโดยนักปราชญ์ต่างๆ แล้ว ผู้มีใจอคติบางกลุ่มจึงพยายามที่จะเบนเหตุผลที่มีอยู่ในฮะดีษเหล่านี้ ออกจากความหมายตามความเป็นจริงและตีความตามเหตุผลดังกล่าวไปให้แก่คนกลุ่มอื่นอีกพวกหนึ่ง

ถึงแม้พวกเขาจะใช้ความพยายามในเรื่องนี้ ก็ปรากฏว่า ในส่วนของจำนวนนั้นยังขาดอยู่บ้างหรือเกินไปบ้างกล่าวคือบรรดาคอลีฟะฮ์อัร-รอชิดีนนั้นมิได้ครบตามจำนวน ส่วนคอลีฟะฮ์ในราชวงศ์อุมัยยะฮ์ก็เกินจากจำนวนและราชวงศ์อับบาซียะฮ์ก็ยิ่งเกินจากจำนวนไปเป็นทวีคูณ คนอีกส่วนหนึ่งก็พยายามจะดึงเอาฝ่ายโน้นมาประกอบกับฝ่ายนี้ ดึงฝ่ายนี้ไปประกอบกับฝ่ายโน้นเพื่อให้ได้ครบตามจำนวนตัวเลขทั้ง ๑๒ ท่าน แต่ก็จำเป็นต้องนับรวมเอานักปกครองทรราชย์ที่หลงผิดและเป็นที่ปฏิเสธของคัมภีร์ลงไปด้วยเช่น มุอาวิยะฮ์, ยะซีด, อับดุลมาลิกบินมัรวานและลูกหลานของตน

๑๘

 ถึงกระนั้นก็ยังไม่ครบจำนวนตามตัวเลขดังกล่าว อีกทั้งไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานและมีสมญานามต่างๆ ที่น่าดูแคลนสำหรับพวกเขาอยู่กล่าวคือ พวกเขาไม่มีโอกาสที่จะเป็นบุคคลตามที่ท่านศาสนทูต (ศ) ประสงค์ที่จะให้เป็นผู้นำของประชาชาติมุสลิม และผู้ร่วมภารกิจกับอันกุรอานอันทรงเกียรติได้ ขณะเดียวกันก็ยังมีฮะดีษของท่านศาสดาอยู่อีกส่วนหนึ่ง ที่ระบุชื่อของบรรดาอิมามอย่างชัดเจนจนไม่อาจมองข้ามได้ เนื่องจากมีหลายรายงานและมีหลักที่มั่นคงอันต้องยอมรับ

เราเชื่อในความสามารถของผู้คัดค้านว่าสามารถล้มล้างฮะดีษบางเรื่องของท่านศาสนทูต (ศ) ได้แต่ต้องไม่ใช่ฮะดีษต่าง ๆ อันเกี่ยวกับข้อบัญญัติในเรื่องอิมาม ๑๒ เนื่องจากการบันทึกที่ตรงกันของรายงานต่าง ๆ มากมายและประกอบกับจำนวนของนักบันทึกที่ได้รายงานกันมากมาย อีกทั้งเป็นฮะดีษที่ถูกนำเสนอโดยบรรดานักปราชญ์จำนวนมาก และเชื่อว่าผู้ที่สันทัดในการตีความก็สามารถตีความหรือแปลความฮะดีษบางเรื่องของท่านศาสดาได้ แต่จะทำไม่ได้กับฮะดีษต่างๆ ในเรื่องนี้ เพราะจะไม่เป็นการถูกต้องเลย

 ถ้าหากมิให้หมายถึงบรรดาอิมามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์(อ)

ชัยค์ สุลัยมาน อัล-ก็อนดูซี ได้กล่าวว่า นักวิเคราะห์ผู้สันทัดกรณีทางวิชาการอธิบายว่า

 “ฮะดีษต่างๆ ของท่านศาสดาที่ให้เหตุผลในเรื่องคอลีฟะฮ์

 (ผู้สืบทอดการปกครอง) ต่อจากท่าน จำนวน ๑๒ คนนั้น เป็นที่รับรู้กันอย่างแพร่หลายโดยกระแสรายงานหลายฝ่าย กล่าวคือมีการอธิบายและให้

รายละเอียดถึงกาลเวลาและสถานที่ จึงเป็นที่รู้กันว่าจุดมุ่งหมายของ

ท่านศาสนทูตที่มีต่อฮะดีษของท่าน ก็คือ บรรดาอิมาม ๑๒ เหล่านี้ต้องมาจากอะฮ์ลุลบัยต์ (อ) และวงศ์วานของท่านนั่นเอง

๑๙

ฉะนั้นจึงไม่อาจให้ข้อสันนิษฐานได้เลยว่าฮะดีษข้อนี้ของท่านศาสดา (ศ) จะหมายถึง คอลีฟะฮ์ หลังจากท่านที่เป็นสาวก (ศอฮาบะฮ์) เนื่องจากจำนวนของพวกเขามีน้อยกว่า ๑๒ และไม่อาจสันนิษฐานอีกเช่นกันว่า จะหมายถึงราชวงศ์อุมัยยะฮ์ เนื่องจากพวกเขามีจำนวนเกินกว่า ๑๒ และเนื่องจากความอธรรมอย่างเลวร้ายของคนเหล่านั้นอีกด้วย ยกเว้น อุมัรบิน อับดุลอะซีซ

คนเดียว และเนื่องจากเหตุผลประการหนึ่งคือ พวกนั้นมิใช่ลูกหลานจากตระกูลบะนีฮาชิมตามรายงานที่บันทึกจากท่านอับดุลมาลิกโดยการบอกเล่าของท่านญาบิร และที่ท่านศาสนทูต(ศ)ได้บอกกระซิบถึงข้อนี้ ซึ่งเป็นข้อแม้ของ

รายงานดังกล่าวก็เพราะพวกเขาไม่เห็นชอบกับตำแหน่งคอลีฟะฮ์ของลูกหลานบะนีฮาชิม และไม่อาจสันนิษฐานได้อีกเลยว่า จะหมายถึง

ราชวงศ์อับบาซียะฮ์เนื่องจากพวกเขามิได้รับความคุ้มครอง

โดยโองการที่ว่า

“จงกล่าวเถิดว่า ฉันมิได้ขอรางวัลใด ๆ สำหรับเรื่องนี้จากพวกท่าน นอกจากความจงรักภักดีในญาติสนิทของฉัน” (อัชชูรออ์: ๒๓)

และเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับผ้าคลุมกิซา ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า ฮะดีษของท่านศาสดา(ศ)ข้อนี้ ต้องหมายถึงบรรดาอิมาม ๑๒ จาก

อะฮ์ลุลบัยต์ (อ) ซึ่งเป็นวงศ์วานลูกหลานของท่านเท่านั้น เพราะเขาเหล่านั้นเป็นคนมีความรู้มากที่สุดสำหรับคนในยุคนั้น

๒๐

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

ความดีงามพิเศษ :

บทขอพรของอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)นั้นมีความดีงามพิเศษมากมายที่ไม่มีผู้ใดเทียบได้ ท่าน(อฺ)เหล่านั้นมีเกียรติคุณที่ดีเด่นเป็นพิเศษกันแต่เพียงกลุ่มเดียวสำหรับความดีงามเหล่านั้นในหมู่ประชาชาตินี้

เรื่องดุอาอ์(บทขอพร)คือลักษณะพิเศษอันมากมายอีกประการหนึ่งที่บรรดาสาวกและตาบีอีนทั้งหลายไม่มีโอกาสเทียบเทียมได้เลย แม้แต่คนเดียว อีกทั้งบรรดานักปราชญ์อื่น ๆ ในรุ่นถัดมาก็ตาม กล่าวคือ ได้มีการบันทึกดุอาอ์ของแต่ละท่านไว้มากมาย ซึ่งบรรดานักปราชญ์ของเราได้เก็บ

รวบรวมไว้นับร้อยๆ เรื่องบรรดาอิมาม(อฺ)เป็นมนุษย์ที่รู้จริงเกี่ยวกับระเบียบแบบแผนที่บ่าวของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จำเป็นจะต้องดำเนินการปฏิบัติในยามสนทนากับพระองค์ และรู้ว่าควรจะเป็นอย่างไร สำหรับการถ่อมตน

การขอพึ่งพิง และตัดขาด(จากทุกสิ่งทุกอย่าง) เพื่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)

ในหนังสือนี้เราได้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับการอิบาดะฮฺโดยละเอียดของท่านอิมาม(อฺ)ผ่านมาแล้ว ต่อไปนี้จะเป็นการบันทึกดุอาอ์บางบทบางตอนของท่าน(อฺ)ดังนี้

๑๐๑

ดุอาอ์

บทที่ 1

เป็นบทดุอาอ์บทหนึ่งของอิมามที่ 7

“ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ข้าฯขอปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และขอปฏิญานตนว่า มุฮัมมัดเป็นบ่าวและเป็นศาสนทูตของพระองค์ แท้จริงศาสนาอิสลามย่อมเป็นไปตามที่พระองค์ตรัสไว้ ศาสนาย่อมเป็นไปตามที่พระองค์ทรงวางกฎไว้ คัมภีร์ย่อมเป็นไปตามที่

พระองค์ทรงประทานให้ไว้ คำสอนย่อมเป็นไปตามที่พระองค์ตรัสไว้

แท้จริงอัลลอฮฺคือ ผู้ทรงสิทธิอันชัดแจ้ง ความเจริญสิริมงคลของอัลลอฮฺพึงมีแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของท่าน”

“ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าฯดำรงอยู่ในความคุ้มครองของพระองค์ ชีวิตของข้าฯนอบน้อมต่อพระองค์ ใบหน้าของข้าฯหันสู่พระองค์ กิจการงานของข้าฯ ขอมอบหมายยังพระองค์ ร่างกายของข้าฯขอนอบน้อมยังพระองค์ กลัวเกรงพระองค์ และมุ่งหวังต่อพระองค์ ข้าฯศรัทธาต่อคัมภีร์ของพระองค์ที่ทรงประทานมาแก่ศาสนทูตของพระองค์ที่ทรงส่งมา”

“โอ้อัลลอฮ์ แท้จริงข้าฯเป็นคนยากจน ณ พระองค์ ขอได้ทรงโปรดประทานเครื่องยังชีพแก่ข้าฯโดยอย่าได้คำนวณ

แท้จริงพระองค์ทรงประทานเครื่องยังชีพให้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์

โดยไม่มีการคำนวณ”

๑๐๒

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริง ข้าฯวิงวอนขอเครื่องยังชีพที่ดีงามทั้งหลาย และละเว้นความเลวร้ายทั้งหลาย และขอให้พระองค์อภัยโทษให้แก่ข้าฯ”

“โอ้อัลลอฮฺ ข้าพระองค์ขอความกรุณาของพระองค์ที่ทรงเป็นเจ้าของได้โปรดบันดาลให้ข้าฯได้ออกห่างจากความชั่วอันมาจากข้าฯ ด้วยความดีอันมาจากพระองค์ และขอให้พระองค์ประทานความดีอย่างมากมายที่พระองค์มิได้ประทานให้แก่บ่าวคนใดให้แก่ข้าฯ”

“โอ้อัลลอฮฺ ข้าฯขอความคุ้มครองให้พ้นจากทรัพย์สินที่เป็นตัวทดสอบ(ฟิตนะฮฺ)แก่ข้าฯ ให้พ้นจากบุตรที่เป็นศัตรูของข้าฯ ให้พ้นจากบุตรที่เป็นศัตรูของข้าฯ”

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริง พระองค์ทรงเห็นฐานะความเป็นอยู่ของข้าฯ ทรงได้ยินดุอาอ์และคำพูดของข้าฯ ทรงรู้ในความจำเป็นของข้าฯ ข้าฯขอต่อพระนามทั้งมวลของพระองค์ ได้โปรดทำให้ความ ต้องการทั้งหลายในชีวิตทางโลกนี้และปรโลกของข้าฯได้บรรลุผล”

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงข้าฯขอดุอาอ์ต่อพระองค์อันเป็นดุอาอ์ของบ่าวผู้ซึ่งด้อยในความสามารถเดือดร้อนเป็นยิ่งนัก มีความทุกข์อย่างสาหัส มีความสามารถน้อยนิด และมีการงานที่ตกต่ำเป็นดุอาอ์ของผู้ที่ไม่มีใครช่วยเหลือได้นอกจากพระองค์ เป็นความอ่อนแอที่ไม่มีใครช่วยได้นอกจากพระองค์

๑๐๓

ข้าฯขอความดีต่าง ๆ ทั้งมวล ขอเกียรติคุณ ขอความดีความเมตตาทั้งมวลของพระองค์ ได้โปรดเมตตาต่อข้าฯ และให้ข้าฯพ้นจากไฟนรก”

“โอ้พระองค์ ผู้ทรงบันดาลให้แผ่นดินอยู่เหนือน้ำ ทรงบันดาลให้ฟากฟ้าอยู่ในห้วงอากาศ

โอ้ผู้ทรงเอกะ ก่อนทุกสิ่งที่เป็นหนึ่งเดียว โอ้ ผู้ทรงเป็นหนึ่งหลังจากทุก ๆ สิ่ง โอ้ผู้ซึ่งไม่มีใครรู้ว่า พระองค์ทรงเป็นอย่างไร นอกจากพระองค์ และไม่มีใครรู้ซึ้งถึงอำนาจของพระองค์ นอกจากพระองค์ โอ้พระองค์ผู้ทรงดำรงอยู่กับกิจการงาน โอ้พระองค์ผู้ทรงให้ความช่วยเหลือ โอ้พระผู้ช่วยบรรดาผู้เดือดร้อน โอ้พระผู้ทรงตอบรับคำขอของคนเดือดร้อน โอ้พระผู้ทรงมีความเมตตาในโลกนี้และปรโลก เป็นพระผู้ทรงกรุณาปรานี โอ้พระผู้อภิบาลของข้าฯ โปรดเมตตาข้าฯ อย่าให้ข้าฯหลงผิด และอย่าชิงชังข้าฯตลอดกาล แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งการสรรเสริญยิ่ง

 โปรดประทานพรแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของท่านเทอญ”(1)

(1) อัล-บะละดุล-อะมีน หน้า 101.

๑๐๔

ดุอาอ์

บทที่ 2

เป็นดุอาอ์ของอิมามมูซา กาซิม(อฺ)หลังนมาซซุฮฺริ

ท่านมุฮัมมัด บินซุลัยมานเล่าว่า : บิดาของท่านกล่าวว่า ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าได้ออกเดินทางไปกับท่านอิมามอะบุลฮะซัน(อฺ) หรือมูซา บินญะอฺฟัร เมื่อท่าน(อฺ)นมาซซุฮฺริเสร็จแล้ว ท่าน(อฺ)ได้อ่านดุอฺาอ์ในขณะที่ทรุดตัวลงกราบอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ด้วยอาการเศร้าสร้อย น้ำตาหลั่งไหล ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

 “โอ้พระผู้อภิบาลของข้าฯ ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยลิ้น ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงให้ข้าฯเป็นใบ้ก็ได้ ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยตา ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯตาบอดเสียก็ได้

ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยหู หากพระองค์ทรงประสงค์อาจทางทำให้ข้าฯหูหนวกเสียก็ได้

ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยมือ ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯมือด้วนเสียก็ได้ ข้าพระองค์ทรยศพระองค์ด้วยเท้า ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯขาด้วนเสียก็ได้

ข้าพระองค์ทรยศพระองค์ด้วยอวัยวะสืบพันธุ์ ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯเป็นหมันเสียก็ได้ ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยอวัยวะทั้งเรือนร่างที่ทรงประทานให้แก่ข้าฯ และสิ่งนี้ข้าฯไม่มีสิ่งใดๆ ตอบแทนแก่พระองค์ได้”

๑๐๕

บิดาของท่านมุฮัมมัด เล่าอีกว่า หลังจากนั้นข้าพเจ้าได้นับจำนวนครั้ง ในคำที่ท่านกล่าวว่า

“อัล-อัฟว์ อัล-อัฟว์”(ขออภัย ขออภัย) ได้ 1,000 ครั้ง จากนั้นท่าน (อฺ) แนบแก้มขวาลงบนดิน แล้วข้าพเจ้าได้ยินท่าน (อฺ) กล่าวว่า

“ข้าฯล่วงเกินต่อพระองค์ด้วยความผิดของข้าฯ ข้าฯได้กระทำความชั่วและอธรรมต่อตัวของข้าฯเอง ดังนั้นได้โปรดให้อภัยแก่ข้าฯ เพราะไม่มีใครอภัยความผิดพลาดได้ นอกจากพระองค์ โอ้นายของข้าฯ โอ้นายของข้าฯ นายของข้าฯ นายของข้าฯ”

ท่าน(อฺ)ก็แนบแก้มซ้ายลงบนดิน แล้วกล่าวว่า

“โปรดให้ความเมตตาต่อผู้ทำบาป”

อ่านดังนี้สามครั้ง หลังจากนั้นท่าน(อฺ)จึงยกศีรษะขึ้น(2)

(2) อัล-บะละดุล-อะมีน หน้า 101.

๑๐๖

ดุอฺาอ์

บทที่ 3

เป็นดุอฺาอ์อีกบทหนึ่งของอิมามมูซา(อฺ)

“โอ้ ผู้ทรงดำรงอยู่ก่อนสิ่งทั้งหลาย โอ้ผู้ทรงได้ยินทุกเสียงสำเนียง ทั้งดังและค่อย โอ้ผู้ทรงประทานชีวิตให้หลังจากตาย ความมืดมิดอันใดย่อมไม่ครอบคลุมพระองค์เลย ภาษาอันหลากหลายย่อมไม่ทำให้พระองค์ทรงสับสน ไม่มีสิ่งใดทำให้พระองค์วุ่นวาย”

“โอ้พระผู้ซึ่งไม่ทรงวุ่นวายด้วยดุอฺาอ์ของผู้ใดที่อ้อนวอนขอต่อพระองค์จากฟากฟ้า โอ้พระผู้ทรงบันดาลให้ทุกสิ่งที่ได้ยิน ทรงได้ยินได้ฟังและมองเห็น โอ้พระผู้ซึ่งไม่เคยผิดพลาด แม้จะมีการร้องขออย่างมากมาย”

“โอ้พระผู้ทรงดำรงชีวิตในยามที่ไม่มีสิ่งใดดำรงชีวิต โดยทรงดำรงอยู่ตลอดกาล และมั่นคงถาวร โอ้พระผู้ทรงดำรงอยู่สูงสุด แต่ซ่อนเร้นจากสรรพสิ่งทั้งหลายด้วยรัศมีของพระองค์ โอ้พระองค์ ผู้ทรงบันดาลให้แสงสว่างปรากฏออกมาท่ามกลางความมืด ข้าฯขอวิงวอนต่อพระองค์ด้วย

พระนามของพระองค์ผู้ทรงเอกะ ทรงเป็นหนึ่งเดียวแห่งการพึ่งพิง โปรดประทานความเจริญแด่ท่านศาสดามุฮัมมัดและอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน”

จากนั้นท่าน(อฺ)ได้วิงวอนขอในสิ่งที่ท่าน(อฺ)ต้องการ(3)

(3) บิฮารุ้ล-อันวารฺ เล่ม 11 หน้า 239.

๑๐๗

ดุอฺาอ์

บทที่ 4

เป็นดุอฺาอ์อีกบทหนึ่งของท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

“ข้าฯขอมอบหมายตนเองยังพระองค์ ผู้ซึ่งไม่ตาย และข้าฯขอพึ่งการพิทักษ์คุ้มครอง โดยผู้ทรงเกียรติและอำนาจ ข้าฯขอความช่วยเหลือต่อผู้ทรงเกรียงไกรและมีอำนาจครอบครองข้าฯ โอ้นายของข้าฯขอยอมจำนนต่อพระองค์ ข้าฯขอมอบหมายตนต่อพระองค์ ดังนั้นขออย่าทำลายข้าฯ

ข้าฯขอพึ่งร่มเงาของพระองค์ ดังนั้นจงอย่าผลักไสข้าฯ พระองค์เป็นที่พึ่งอาศัย ทรงรู้สิ่งที่ข้าฯซ่อนเร้นและเปิดเผย ทรงรู้สิ่งที่อยู่ในสายตาและที่ซ่อนไว้ในจิตใจ ดังนั้นได้โปรดยับยั้งข้าฯให้พ้นจากผู้อธรรมทั้งในหมู่ญิน และหมู่มนุษย์ทั้งมวลด้วยเถิด โอ้พระผู้ทรงกรุณาปราณี ได้โปรดปกปักรักษา

ข้าฯด้วยเถิด”(4)

 (4) มะฮัจญุด-ดะอฺวาต หน้า 300.

๑๐๘

การตอบสนองต่อบทดุอฺาอ์ของท่านอิมามที่ 7

บรรดาอิมาม(อฺ)ทั้งหลายนั้นต่างใช้ชีวิตทั้งหมดในฐานะผู้ถูกกดขี่ข่มเหง ตลอดระยะเวลาการปกครองของวงศ์อุมัยยะฮฺ คนทั้งหลายคาดคิดว่าในการปกครองของสมัยวงศ์อับบาซียะฮฺสิ่งนั้นคงจะบรรเทาเบาบางลงบ้างและภัยอันตรายคงจะยกเลิกจากพวกท่าน(อฺ)ไปบ้าง ซึ่งการคาดคิดของคนทั้งหลายไม่น่าจะผิดพลาด เพราะเชื้อสายของกลุ่มทั้งสองใกล้เคียงกัน ประกอบกับว่า ราชวงศ์อับบาซียะฮฺนั้นแอบอ้างดำเนินการปกครองในนามของเชื้อสายท่านอิมามอฺะลี(อฺ) ธงของท่านอะบูมุสลิมอัล-คุรอซานีที่ได้เข้าไปในเมือง

คุรอซานนั้น ดำเนินการปกครองในนามของเชื้อสายท่านอฺะลี(อฺ)

การเข้าไปในเมืองคุรอซานนั้นก็ไม่ใช่เพราะเหตุอื่นนอกจากเพื่อสนับสนุนลูกหลานของท่านอฺะลี(อฺ)

แต่สถานการณ์กลับเปลี่ยนไปเป็นตรงกันข้าม ในเมื่อพวกอับบาซียะฮฺได้เริ่มติดตามอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ด้วยการลอบสังหาร คุมขัง ฯลฯ จนช่วงหนึ่งในการปกครองของพวกวงศ์นี้ ยังความรุนแรงแก่บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)ยิ่งกว่าพวกวงศ์อุมัยยะฮฺเสียอีก

บรรดาอิมาม(อฺ)จะไม่อ่านดุอฺาอ์เพื่อขอสาปแช่งบรรดาผู้อธรรม นอกจากในกรณีที่ความอธรรมถึงขีดสุดของความรุนแรงเท่านั้น เมื่อเราได้รู้ถึงเรื่องนี้จากท่าน(อฺ) เราก็สามารถประเมินสถานการณ์ที่รุนแรงอันเกิดขึ้นแก่ท่านอิมาม(อฺ)ได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านต้องขอดุอฺาอ์สาปแช่งบุคคลที่อธรรมต่อท่าน(อฺ)

๑๐๙

ในลำดับต่อไปนี้ เราจะเสนอเรื่องดุอฺาอ์ของท่านอิมามมูซา บินญะอฺฟัร(อฺ)ที่ได้รับการตอบสนองจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

-1-

เจ้าของหนังสือ “นะษะรุต-ตุรรุล” ได้กล่าวไว้ว่า :

 ท่านอิมามมูซา บินญะอฺฟัร อัล-กาซิม(อฺ)นั้น มีคนแจ้งให้ท่าน(อฺ)ทราบว่า อัล-ฮาดี วางแผนการร้ายต่อท่าน(อฺ) ท่าน(อฺ)ได้พูดกับครอบครัวและผู้ติดตามว่า

“พวกท่านมีความคิดเห็นอะไรเสนอแนะแก่ฉันบ้าง?”

คนเหล่านั้นกล่าวว่า

“เราเห็นว่า ท่านควรออกห่างจากเขา และหลบซ่อนให้พ้นไปจากเขา เพราะความชั่วร้ายของเขานั้นจะไม่ให้ความปลอดภัยแก่ท่าน”

ท่าน(อฺ)ยิ้ม แล้วกล่าวว่า

“คนโฉดคิดว่าตัวเองจะสามารถเอาชนะพระผู้อภิบาลได้ แน่นอน

ผู้ชนะที่แท้จริงย่อมชนะอยู่แล้ว”

หลังจากนั้นท่าน(อฺ)ยกมือขึ้นขอดุอฺาอ์ แล้วกล่าวว่า

“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า มากมายเหลือเกินแล้ว สำหรับพวกศัตรูที่มุ่งหมายทำลายข้าฯ ข่มเหงรังแกข้าฯ โดยแผนการเข่นฆ่าด้วยพิษร้ายของมันจนดวงตาของข้าฯไม่เคยหลับไหล เนื่องจากคอยระแวดระไวต่อพวกมัน ครั้นเมื่อพระองค์ทรงเห็นถึงความอ่อนแอของข้าฯ ในการปกป้องโพยภัยและความเกินกำลังที่ข้าฯจะทานทนกับความเจ็บปวดได้ ขออำนาจและอานุภาพของพระองค์ได้โปรดสลัดสิ่งนั้นออกให้พ้นจากข้าฯโดยมิใช่ด้วยความสามารถและอานุภาพของข้าฯ และจงโยนเขาลงไปสู่หลุมลึกที่พวกเขาขุดล่อข้าฯให้ตกลงไปในโลกแห่งวัตถุของเขา จนห่างไกลจากความหวังในปรโลก

๑๑๐

 มวลการสรรเสริญเป็นของพระองค์ที่ได้ทรงกำหนดความโปรดปรานของพระองค์ที่โปรยปรายแก่ข้าฯ และพระองค์มิได้ทรงปฏิเสธความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลต่อข้าฯ

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ได้โปรดลงโทษเขาด้วยอำนาจของพระองค์ โปรดพลิกแผนการของเขาออกจากข้าฯ ด้วยอานุภาพของพระองค์ โปรดบันดาลภาระอันหนักหน่วงจนเกินกำลังให้แก่เขา

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ได้โปรดบันดาลให้ความเป็นศัตรูนั้นกลายเป็นยาบำบัดรักษาแก่ข้าฯ

และบันดาลให้ความแค้นของข้าฯที่มีต่อเขา เป็นการอภัย โปรดประทานแก่ดุอฺาอ์ของข้าฯ ด้วยการตอบรับ และโปรดรับรองคำอุทธรณ์ของข้าฯ และโปรดให้เขาสำนึกเพียงสักเล็กน้อยกับการตอบรับต่อบ่าวของพระองค์

ผู้ถูกกดขี่ แท้จริงพระองค์ทรงมีเกียรติอันยิ่งใหญ่”

ต่อจากนั้นสมาชิกครอบครัวก็ลาจากไป ครั้นต่อมาไม่นาน คนเหล่านั้นมาชุมนุมกันเพื่ออ่านจดหมายที่มีมาถึงท่านอิมามมูซา(อฺ)แจ้งให้ท่าน(อฺ)ทราบว่ามูซา อัล-ฮาดีนั้นได้ตายเสียแล้ว(1)

(1) อัล-ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า 222. มุฮัจญุด-ดะอฺวาต หน้า 29.

๑๑๑

-2-

ท่านอับดุลลอฮฺ บินศอลิฮฺ ได้กล่าวว่า : ท่านศอฮิบุ้ล ฟัฎลฺ บินร่อบีอฺเล่าให้เราทราบว่า : ในคืนหนึ่งขณะที่ข้าพเจ้าอยู่บนที่นอนพร้อมกับภรรยาของข้าพเจ้า พอตกกลางคืนข้าพเจ้าได้ยินเสียงดังที่ประตูเมือง ข้าพเจ้าจึงลุกขึ้นยืนดู

ภรรยาของข้าพเจ้ากล่าวว่า

“อาจเป็นเสียงของลมพัดก็ได้”

แต่แล้วไม่ทันไร ประตูบ้านที่ข้าพเจ้าอยู่ขณะนั้นก็เปิดออก แล้วคนชื่อ ‘มัซรูร’ก็พรวดพลาดเข้ามา พลางกล่าวว่า

“จงยอมรับคอลีฟะฮฺฮารูน รอชีด”

โดยมิได้ให้สลามแก่ข้าพเจ้าแต่ประการใด ข้าพเจ้ารู้สึกผิดหวังมาก นึกในใจว่า ‘มัซรูร’ ผู้นี้เข้ามาโดยไม่ขออนุญาตและไม่ให้สลาม ฉะนั้นย่อมไม่มีจุดประสงค์อื่นนอกจากมาฆ่า ขณะนั้น

ข้าพเจ้ามีญุนุบอยู่จึงไม่ได้ถามอะไรเขา โดยให้เขาคอยข้าพเจ้าซึ่งต้องอาบน้ำชำระร่างกายเสียก่อน

ภรรยาของข้าพเจ้ากล่าวว่า

“จงยึดมั่นต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)อย่างหนักแน่น แล้วลุกออกไปเถิด”

ข้าพเจ้าจึงลุกออกไปสวมเสื้อผ้า แล้วออกมาพร้อมกับเขาจนถึงอาคาร ข้าพเจ้าได้กล่าว

สลามท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน(คอลีฟะฮฺฮารูน รอชีด) ที่กำลังเอนเอกเขนกอยู่ เขารับสลาม แล้วข้าพเจ้าก็นั่งลง

เขากล่าวว่า

“ท่านกลัวมากใช่ไหม ?”

๑๑๒

ข้าพเจ้าตอบว่า

“ใช่แล้ว โอ้ ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน”

เขาปล่อยให้ข้าพเจ้าพักสงบจิตใจอยู่ครู่หนึ่ง แล้วกล่าวว่า

“จงออกไปยังคุกของเรา แล้วปล่อยมูซา บินญะอฺฟัร บินมุฮัมมัด ออกมา พร้อมกับจ่ายเงินให้กับเขาสามหมื่นดิรฮัม และให้พาหนะอีกสามชุด และให้ออกเดินทางไปจากเรา ไปที่ไหนก็ได้ตามที่เขาปรารถนา”

ข้าพเจ้าพูดกับเขาว่า

“โอ้ ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน ท่านจะปล่อยตัวมูซา บินญะอฺฟัร กระนั้นหรือ ?”

เขาตอบว่า

“ใช่แล้ว”

ข้าพเจ้าทวนคำถามถึงสามครั้ง เขาก็ตอบว่า

“ใช่แล้ว ท่านต้องการจะให้ฉันผิดคำสัญญากระนั้นหรือ ?”

ข้าพเจ้าถามว่า

“โอ้ ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน คำสัญญาที่ว่านั้นหมายถึงอะไร ?”

ฮารูน รอชีดกล่าวว่า

“ขณะที่ข้านอนอยู่บนเตียงแห่งนี้ มีสิงโตตัวหนึ่งขึ้นมาคร่อมบนหน้าอก และขย้ำตรงคอหอยของข้า มันเป็นสิงโตตัวใหญ่ชนิดที่ข้าไม่เคยเห็นมาก่อน และมันพูดกับข้าว่า

“ท่านกักขังมูซา กาซิมด้วยกับความอธรรม”

๑๑๓

ข้าจึงพูดกับมันว่า

“ข้าจะปล่อยตัวเขาและจะมอบสิ่งของให้เขา ข้าขอทำสัญญากับ

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)

มันจึงออกไปจากหน้าอกของข้า ซึ่งแทบว่าชีวิตของข้าจะปลิดออกจากร่าง”

ท่านอับดุลลอฮฺ บินศอลิฮฺได้เล่าต่อไปว่า : แล้วข้าพเจ้าก็ออกจากที่นั่น และไปพบท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ซึ่งกำลังอยู่ในคุก ข้าพเจ้าเห็นท่าน(อฺ)นมาซ ข้าพเจ้าจึงนั่งรอจนท่าน(อฺ)ให้สลาม

หลังจากนั้นข้าพเจ้าได้เข้าไป แล้วกล่าวว่า

“ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน(ฮารูน รอชีด) ฝากสลามมายังท่าน และแจ้งให้ท่านทราบถึงเรื่องที่ข้าพเจ้าได้รับคำสั่งมา และข้าพเจ้าก็ได้นำคำสั่งนั้นมายังท่านแล้ว”

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ถึงแม้ท่านจะถูกสั่งมาให้ทำอย่างอื่น ท่านก็จงกระทำเถิด”

ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า

“หามิได้ ขอสาบานต่อสิทธิของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ว่าข้าพเจ้ามิได้ถูกสั่งมาให้กระทำอย่างอื่นนอกจากสิ่งนี้”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ไม่มีความจำเป็นอันใดสำหรับข้าพเจ้าในเรื่องการมอบเสื้อผ้า ทรัพย์สิน ยานพาหนะต่างๆในเมื่อสิ่งนั้นๆ เป็นสิทธิของประชาชาติอิสลาม”

ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า

“ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ท่านอย่าได้ปฏิเสธเลย”

๑๑๔

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ท่านจงกระทำในสิ่งที่ท่านต้องการเถิด”

ข้าพเจ้าได้จับมือท่านอิมาม(อฺ) แล้วนำท่าน(อฺ)ออกจากคุก จากนั้นจึงได้กล่าวกับท่าน(อฺ)ว่า

“โอ้ท่านผู้เป็นบุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)โปรดบอกข้าพเจ้าซิว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ท่านได้รับความเอื้อเฟื้อจากชายคนนี้เป็นสิทธิของข้าพเจ้าเหนือท่านที่จะต้องแสดงความยินดีกับท่าน และได้รับรางวัลจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) จากผลงานอันนี้”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ฉันได้ฝันเห็นศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ในคืนวันพุธที่ผ่านมา ท่าน(ศ)บอกฉันว่า

“มูซา เอ๋ย เจ้าถูกกักขังด้วยกับความอธรรม”

ฉันตอบว่า

“ใช่แล้ว ยารอซูลุลลอฮฺ”

ท่าน(ศ)กล่าวอย่างนี้สามครั้ง แล้วท่าน(ศ)พูดอีกว่า

“หวังว่าสิ่งนี้ จะเป็นการทดสอบสำหรับพวกเจ้า และเป็นความสุขชั่วระยะหนึ่ง เจ้าจงถือศีลอดในพรุ่งนี้เช้า และจงถือติดต่อทั้งวันพฤหัสและวันศุกร์ ครั้นถึงเวลาละศีลอด เจ้าจงนมาซ 12ร็อกอะฮฺ ในทุกร็อกอะฮฺนั้น

 จงอ่านอัล-ฮัมดุ 1 ครั้ง และอ่านกุลฮุวัลลอฮุ อะฮัด 12 ครั้ง ครั้นทำ

นมาซครบ 4 ร็อกอะฮฺ

๑๑๕

แล้วจงซุญูด แล้วให้อ่านดุอฺาอ์บทหนึ่ง ดังนี้ :

“โอ้ผู้ทรงชัยชนะ ผู้ทรงได้ยินเสียงต่างๆ ทั้งหมด ผู้ทรงให้ชีวิตแก่กระดูกที่มันผุกร่อน หลังจากความตาย ข้าฯขอต่อพระนามของพระองค์

พระผู้ทรงยิ่งใหญ่ ขอพระองค์ทรงประทานพรแด่มุฮัมมัด บ่าวของพระองค์และศาสนทูตของพระองค์ และแด่บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺผู้บริสุทธิ์ของพระองค์ และโปรดได้บันดาลให้ข้าฯ ได้รับความรอดพ้นโดยเร็วพลัน”

ฉันได้กระทำอย่างนั้น แล้วเหตุการณ์ก็เป็นไปเหมือนที่ท่านได้เห็น(2)

(2) มะดีนะตุล-มะอาญิช หน้า 394.

คำสดุดี จากบรรดานักปราชญ์ต่ออิมามมูซา บินญะอฺฟัร(อฺ)

บรรดามุสลิมทั้งหลายถึงแม้จะมีมัซฮับแตกต่างกัน แต่ก็ลงความเห็นตรงกันในเรื่องของเกียรติยศของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ตลอดทั้งยอมรับในเรื่องวิชาการ ตำแหน่งอันสูงส่ง

และความมีสถานภาพที่ใกล้ชิดต่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) นักปราชญ์ทั้งหลายต่างได้บันทึกเรื่องดังกล่าวไว้ในตำราของพวกเขาเกี่ยวกับฮะดีษต่าง ๆ ที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)กล่าวถึงท่าน(อฺ)เหล่านั้น มีการอธิบายกันถึงเกียรติประวัติ จริยธรรม ความเฉลียวฉลาดและความรอบรู้ของท่าน(อฺ)เหล่านั้น

๑๑๖

ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ผนวกบุคคลเหล่านั้นให้อยู่ควบคู่กับอัล-กุรอาน เช่น ในฮะดีษที่ว่าด้วย

 ‘อัษ-ษะก่อลัยนฺ’ (สิ่งสำคัญสองประการ) และที่อุปมาว่า

บุคคลเหล่านั้นเหมือนเรือของท่านนบีนูฮฺ(อฺ) ถ้าผู้ใดขึ้นเรือก็จะปลอดภัย ผู้ใดผลักไสก็จะพินาศล่มจม และเปรียบว่าคนเหล่านั้นเหมือนประตูอัล-ฮิฏเฏาะฮฺ ที่ถ้าหากใครเข้าไปก็จะปลอดภัย

อีกทั้งมีฮะดีษมากมายที่รายงานว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวถึงเกียรติคุณของท่าน(อฺ)เหล่านั้นไว้

ในบทนี้เราจะเสนอคำสดุดีของบุคคลต่างๆ ที่มีต่อท่านอิมามมูซา

 กาซิม(อฺ) ดังต่อไปนี้

1. ท่านอิมามศอดิก (อฺ) ได้กล่าวว่า:

ท่านมูซา กาซิมเป็นคนรอบรู้ในกฎเกณฑ์ มีความเข้าใจจริงและรู้จักอย่างถ่องแท้ในเรื่องที่มนุษย์ทั้งหลายจำเป็น ซึ่งเรื่องนั้นๆ คนทั้งหลายขัดแย้งกันในกิจการศาสนา เขาเป็นคนมีจริยธรรมที่ดีงาม เป็นเพื่อนบ้านที่ดี และเป็นประตูบานหนึ่งในหลายๆ ประตูที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเปิดให้(1)

(1) บิฮารุ้ล-อันวารฺ เล่ม 11 หน้า 234.

๑๑๗

2. ฮารูน รอชีดได้กล่าวว่า:

สำหรับมูซา กาซิมนั้น เขาคือประมุขทางศาสนาของพวกตระกูลฮาซิม(2)

(2) อันวารุล-บะฮียะฮฺ 92.

เขายังได้พูดกับมะอ์มูน ผู้เป็นบุตรชายของเขาอีกว่า

“มูซา ผู้นี้คืออิมามของมนุษยชาติ เป็นข้อพิสูจน์หนึ่งของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่มีต่อมวลมนุษย์ และเป็นค่อลีฟะฮฺของพระองค์ในหมู่ปวงบ่าวทั้งหลายของพระองค์”(3)

(3) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ 4 กอฟ เล่ม 3 หน้า 51.

เขาได้กล่าวต่อไปอีกว่า

“โอ้ลูกเอ๋ย มูซา กาซิมผู้นี้เป็นทายาททางความรู้วิชาการของบรรดานบี ถ้าเจ้าต้องการความรู้ที่ถูกต้อง ก็จงไปเอาจากเขาผู้นี้แหละ”(4)

(4) อัล-มะนากิบ เล่ม 2 หน้า 383. อะมาลี ของเชค ศ็อดดูก 307.

๑๑๘

3. มะอ์มูน กษัตริย์ในราชวงศ์อับบาซียะฮฺได้กล่าวถึงอิมามมูซา กาซิม (อฺ) ว่า:

ท่านเป็นคนเคร่งครัดในการทำอิบาดะฮฺอย่างยิ่ง ใบหน้าและจมูกของท่านมีแต่การกราบพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น(5)

(5) อันวารุล-บะฮียะฮฺ 93.

4. ท่านอีซา บินญะอฺฟัรได้เขียนจดหมายไปหาฮารูน รอชีดว่า:

ตลอดเวลาที่ท่านมูซา กาซิมอยู่ในคุกอย่างยาวนานนั้น ฉันไม่เคยเห็นเขาว่างเว้นจากการอิบาดะฮฺเลย ฉันได้จัดคนให้คอยฟังการขอดุอฺาอ์ของเขา ปรากฏว่าเขาไม่เคยขอดุอฺาอ์สาปแช่งท่านและฉันเลย และไม่เคยกล่าวถึงเราในทางที่ไม่ดี และไม่เคยขออะไรให้กับตัวเอง นอกจากการอภัยและความเมตตา(6)

(6) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ 4 ก็อฟ 3/71.

5. ท่านอะบูอฺะลี อัล-คิลาล (นักปราชญ์มัซฮับฮันบะลี) ได้กล่าวว่า:

เมื่อฉันกลุ้มใจในเรื่องใด ฉันจะไปยังสุสานของท่านอิมามมูซา กาซิมเสมอเพื่อขอการตะวัซซุล แล้วอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็ทรงให้ความสะดวกในกิจการที่ฉันอยากได้เสมอ(7)

(7) ตารีค บัฆดาด เล่ม 1 หน้า 120.

๑๑๙

6. อิมามชาฟิอีได้กล่าวว่า:

สุสานของอิมามมูซา กาซิมคือสถานที่ที่มีความประเสริฐสูงส่งยิ่ง”(8)

(8) ตุฮฺฟะตุล-อาลิม เล่ม 2 หน้า 22.

7. ท่านอะบูฮาติมได้กล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิม คือผู้ที่น่าเชื่อถือในด้านรายงานฮะดีษ(ษิกเกาะฮฺ) และสัจจริง และเป็นผู้นำ(อิมาม)ของประชาชาติมุสลิมทั้งหลาย(9)

 (9) ตะฮุชีบุต-ตะฮฺชีบ เล่ม 10 หน้า 240.

8. ท่านอับดุรเราะฮฺมาน บินอัล-เญาซีกล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิมได้ชื่อว่าเป็นบ่าวที่มีคุณธรรม เพราะการอิบาดะฮฺ การอิจญ์ติฮาด และดำรงนมาซในยามกลางคืน และท่านเป็นคนที่มีเกียรติที่สุภาพ เมื่อท่านได้รับข่าวคราวว่า ใครกล่าวร้ายท่าน ท่านจะตอบแทนคนนั้นด้วยทรัพย์สินเสมอ(10)

(10) ศิฟะตุศ-ศ็อฟวะฮฺ เล่ม 2 หน้า 103.

๑๒๐

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156

157

158

159

160

161

162

163

164

165

166