ชีวประวัติอิมามอะลี

ชีวประวัติอิมามอะลี 0%

ชีวประวัติอิมามอะลี ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: อิมามอลี
หน้าต่างๆ: 166

ชีวประวัติอิมามอะลี

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 166
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 30301
ดาวน์โหลด: 3227

รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามอะลี
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 166 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 30301 / ดาวน์โหลด: 3227
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามอะลี

ชีวประวัติอิมามอะลี

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

17. ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า “ฉันคือประมุขแห่งบรรดานบี ส่วนอะลี บินอะบีฏอลิบคือประมุขแห่งบรรดาทายาท แท้จริงทายาทของฉันมีทั้งหมด 12 คน คนแรกได้แก่อะลี คนสุดท้ายได้แก่ “อัล-มะฮ์ดี” (46)

18. ท่านศาสนทูต(ศ) กล่าวอีกว่า “บรรดาอิมามภายหลังจากฉันจะมี 12 คน คนแรกได้แก่ อะลี บินอะบีฏอลิบ คนสุดท้าย ได้แก่ อัล-กออิม

(ผู้ดำรงอยู่)ของพวกเขา คนเหล่านั้นคือผู้สืบตำแหน่งการปกครองของฉัน (คอลีฟะฮ์) และเป็นทายาทของฉัน เป็นผู้รับมอบอำนาจของฉัน และเป็นข้อพิสูจน์ของอัลลอฮ์(ซ.บ.)ที่ให้ไว้แก่ประชาชาติของฉัน หลังจากฉัน อันว่าผู้ใดที่ยึดมั่นต่อพวกเขาแล้วไซร้ นั่นแหละคือ ผู้ศรัทธา และอันว่าผู้ใดปฏิเสธพวกเขาแล้วไซร้นั่นแหละคือผู้ปฏิเสธ(กาเฟร)” (47)

19. รายงานจากท่านฮากิม บินญุบัยร์ ซึ่งเป็นคำบอกเล่าจากท่านอะบีฏอฟิล อามิร บินวาษิละฮ์ที่ได้รายงานถึงคำบอกเล่าจากท่านซัยด์ บินษาบิตว่า “ฉันเคยได้รับฟังท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) กล่าวว่า “อะลี บิน

อะบีฏอลิบ คือผู้บังคับบัญชาของผู้ทรงธรรม และเป็นผู้พิฆาตคนบาป เป็นพลังแห่งชัยชนะสำหรับคนที่ช่วยเหลือเขา เป็นพลังแห่งความพ่ายแพ้สำหรับคนที่บั่นทอนเขา จงรู้ไว้ว่า การเคลือบแคลงสงสัยในอะลีเท่ากับเคลือบแคลงสงสัยในอิสลาม คนที่ดีที่สุดภายหลังจากฉันและบรรดาสาวกของฉันได้แก่ อะลี เลือดเนื้อของเขาคือเลือดเนื้อของฉัน และเขาคือบิดาแห่งผู้สืบสายตระกูลสองคนของฉัน และจากสายเลือดของฮุเซน จะมีอีกเก้าคนที่เป็น

อิมาม หนึ่งในจำนวนนั้น คืออัล-มะฮ์ดีของประชาชาตินี้”(48)

-------------------------------------------------

(46) อิล-ซามุน-นาศิบ เล่ม 1 หน้า 187

(47) อิกมาลุดดีน เล่ม 1 หน้า 372

(48) มุนตะคอบ อัลอะษัร หน้า 203

๔๑

20. รายงานจากท่านอัล-ฮัจญาจ บิน อิรฏออะฮ์ เป็นคำบอกเล่าจากท่านอะฏียะฮ์ อัล-เอาฟิ ซึ่งได้รับรายงานจากท่านอะบี ซะอีด อัลคุดรีว่า “ข้าพเจ้าได้ยินท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) กล่าวแก่ท่านฮุเซนว่า

 “เจ้าคืออิมามบุตรของอิมาม น้องชายของอิมาม อีกเก้าคนที่มาจากสายเลือดของเจ้า คืออิมามของผู้ทรงธรรม และคนที่เก้าคือกออิมของพวกเขา” (49)

21. รายงานจากท่านอะบี ซะอีด อัล-คุดรีกล่าวอีกว่า

 “ข้าพเจ้าเคยได้ยินท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) กล่าวว่า “อิมามภายหลังจากฉัน มี 12 คน เก้าคนจะมาจากสายเลือดของฮุเซน คนที่เก้าคือกออิมของพวกเขา ดังนั้นความผาสุกจะเป็นของคนที่รักพวกเขา” (50)

22. รายงานจากท่านอะบีซัร อัล-ฆ็อฟฟารีกล่าวว่า

 “ข้าพเจ้าเคยได้ยินท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) กล่าวว่า “คนใดรักฉันและอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน เราจะอยู่ด้วยกันเหมือนของสองอย่างนี้ (พลางยกนิ้วชี้กับนิ้วกลางขึ้นมาแสดง)” แล้วท่านก็กล่าวต่อไปว่า “ลูกพี่ลูกน้องฉันคือทายาทที่ดีที่สุด ผู้สืบตระกูลสองคนของฉัน คือผู้สืบตระกูลที่ดีที่สุด อัลลอฮ์ (ซ.บ.) จะทรงนำออกมาจากสายเลือดของฮุเซนซึ่งบรรดาอิมามของผู้ทรงธรรม และมะฮ์ดีสำหรับประชาชาตินี้จะมาจากพวกเรา” ข้าพเจ้าถามท่านศาสดาว่า “แล้วอิมามภายหลังจากท่านมีจำนวนเท่าใด?”

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า “มีเท่ากับจำนวนของหัวหน้าในหมู่บะนีอิสรออีล” (51)

------------------------------------------

 (49) มุนตะคอบ อัลอะษัร หน้า 82

(50) มุนตะคอบ อัลอะษัร หน้า 83

(51) มุนตะคอบ อัลอะษัร หน้า 46

๔๒

23. รายงานจากท่านอะบีซะอีด อัล-คุดรีกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเคยได้ยินท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) กล่าวว่า “บรรดาอิมามภายหลังจากฉันมี 12 คน เก้าคนจะมาจากสายเลือดของฮุเซนคนที่เก้าคือกออิมของพวกเขา” (52)

24. รายงานจากท่านอะบีซะอีด อัล-คุดรี กล่าวอีกว่า “ข้าพเจ้าได้ยินท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) กล่าวว่า “คอลีฟะฮ์ภายหลังจากฉันจะมี 12 คน เก้าคนจะมาจากสายเลือดของฮุเซน คนที่เก้าคือ กออิมของพวกเขาและเป็นมะฮ์ดีของพวกเขา ดังนั้น ความสุขจะได้แก่คนที่รักพวกเขาความวิบัติจะได้แก่ ผู้ที่โกรธเกลียดพวกเขา” (53)

25. รายงานจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) ในอัลฮะดีษเกี่ยวกับการเสด็จขึ้นสู่ฟากฟ้า(มิอ์รอจญ์)ว่าพระองค์ตรัสกับฉันว่า

“จงมองดูด้านขวาของบัลลังก์อัล-อะรัชเถิด แล้วฉันก็มอง ทันใดนั้นปรากฏว่ามีอะลี, ฟาฏิมะฮ์, ฮะซัน, ฮุเซน, มุฮัมมัด บินอะลี, ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด, มูซา บินญะอ์ฟัร, อะลี บินมูซา, มุฮัมมัด บินอะลี, อะลี บินมุฮัมมัด, ฮะซัน บินอะลี และมุฮัมมัด อัล-มะฮ์ดี บินอัล-ฮะซัน เขามีลักษณะคล้ายดาวสุกใสดวงหนึ่งท่ามกลางคนเหล่านั้น พระองค์ตรัสว่า “มุฮัมมัดเอ๋ยคนเหล่านี้คือข้อพิสูจน์ที่ข้ามีไว้สำหรับปวงบ่าวของข้า คนเหล่านี้คือทายาทของเจ้า และอัล-มะฮ์ดีจากพวกเขานั้นเป็นผู้สืบสายเลือดของเจ้าที่จะมาปฏิวัติ

 ขอสาบานด้วยเกียรติยศและความยิ่งใหญ่ของข้าว่า เขาจะเป็นผู้ชำระแค้นแก่ศัตรูของข้า และเป็นผู้เกื้อหนุนสำหรับบรรดาบ่าวที่รักของข้า”(54)

----------------------------------------------------------------------

(52) มุนตะคอบ อัลอะษัร หน้า 83

(53) มุนตะคอบ อัลอะษัร หน้า 83

(54) ยะนาบีอุลมะวัดดะฮ หน้า 487 รายงานโดยอะบูมุอัยยัด เมาฟิก บินอะหมัด อัลคอรอซมี

๔๓

26. ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า “ข้าคือผู้รินน้ำให้แก่พวกเจ้าที่สระน้ำ (อัล-เฮาฎ์)

โอ้อะลีเจ้าคือผู้ให้น้ำดื่ม ฮะซันคือผู้ช่วย ฮุเซนคือผู้สั่งการ อะลี บินฮุเซน คือผู้สำรวจ มุฮัมมัด บินอะลี คือผู้ชี้แนะ ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด คือผู้ชักนำ มูซา บินญะอ์ฟัร คือผู้นับจำนวนคนรักและคนชังและเป็นผู้คอยปราบพวกกลับกลอก อะลี บินมูซา คือผู้ตกแต่งเรือนร่างของผู้ศรัทธา มุฮัมมัด บินอะลี

เป็นผู้จัดระดับชั้นต่าง ๆ แก่ชาวสวรรค์ อะลี บินมุฮัมมัด เป็นผู้กล่าวคำเทศนาแก่พรรคพวกชีอะฮ์ของตน และทำหน้าที่แต่งงานคนเหล่านั้นกับบรรดานางสวรรค์ ฮะซัน บินอะลี จะเป็นดวงประทีปแก่ชาวสวรรค์และชาวสวรรค์ก็ได้รับความสว่างไสวจากดวงประทีปนั้น ส่วนอัล-มะฮ์ดีจะเป็นผู้

คอยสงเคราะห์ให้แก่เขาเหล่านั้น(ชีอะฮ์) ในวันคืนชีพ(กิยามะฮ์) จนกระทั่งว่า อัลลอฮ์(ซ.บ.)จะไม่ยินยอมให้เลย นอกจากเขาประสงค์และพอใจด้วย”(55)

27. รายงานจากท่านอะบีฮารูน อัล-อับดี เป็นคำบอกเล่าจากท่านอะบีซะอีด อัล-คุดรีกล่าวว่า “ข้าพเจ้าได้ยินท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) กล่าวว่า “อะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน คือหลักประกันความปลอดภัยให้แก่บรรดาชาวโลกเช่นเดียวกับที่มวลดาราเป็นหลักประกันความปลอดภัยให้แก่บรรดาผู้ที่อยู่ในชั้นฟ้า”

---------------------------------------

(55) มักตัล-อัลฮุเซนของคอรอซมี เล่ม 1 หน้า 95

๔๔

มีคนถามว่า “ข้าแต่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) บรรดาอิมามภายหลังจากท่าน ก็เป็นคนจากอะฮ์ลุลบัยต์ของท่านกระนั้นหรือ?”

ท่านศาสนทูต(ศ)กล่าวว่า “ใช่แล้ว ภายหลังจากฉัน จะมีอิมาม 12 คน เก้าคนจะมาจากสายเลือดของฮุเซน พวกเขาล้วนเป็นผู้ได้รับความคุ้มครองให้พ้นจากความบาปและมลทิน ในหมู่พวกเรายังมีมะฮ์ดีสำหรับประชาชาตินี้ แน่นอนอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน และลูกหลานของฉันเหล่านี้คือ

เลือดเนื้อของฉันคนใดที่ระรานต่อฉันในเรื่องของพวกเขาแล้วไซร้

การอนุเคราะห์ของฉัน ที่อยู่ ณอัลลอฮ์(ซ.บ.)จะไม่ได้แก่พวกเขาเลย”(56)

28. ท่านอะบีซะอีด อัล-คุดรี กล่าวว่า “ข้าพเจ้าได้ยินท่านศาสนทูต (ศ) กล่าวกับฮุเซน (อ) ว่า

“ฮุเซนเอ๋ยเจ้าคืออิมาม บุตรของอิมาม น้องชายของอิมาม เก้าคนจากสายเลือดของเจ้าเป็นอิมามของผู้ทรงธรรม คนที่เก้า คือ กออิม(ผู้ดำรงอยู่)ของพวกเขา”

มีคนถามว่า “ข้าแต่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) อิมามภายหลังจากท่านมีจำนวนเท่าใด?”

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)ตอบว่า “12 คน เก้าคนจะมาจากสายเลือดของฮุเซน” (57)

--------------------------------------------------

(56) มุนตะคอบ อัลอะษัร หน้า 65

(57) มุนตะคอบ อัลอะษัร หน้า 82

๔๕

อิมามอะมีรุลมุมินีน (ความสันติสุขพึงมีแด่ท่าน)

ท่านอบุลฮะซัน อะลี บินอะบีฏอลิบ บินอับดุลมุฏฏอลิบ บินฮาชิม บิน

อับดุลมะนาฟ คือ บุตรชายของผู้เป็นลุงของท่านศาสนทูต(ศ) ผู้ยิ่งใหญ่

(อัลลอฮ์ทรงประทานพรและความสันติสุขแด่ท่านและวงศ์วานของท่าน) เป็นบุคคลแรกที่ตอบรับการเชิญชวน และยอมรับในศาสนาของท่านศาสดาและที่ได้นมาซร่วมกับท่านนบีเป็นครั้งแรกในประชาชาตินี้ ท่านคือผู้มีเกียรติยศสูงที่สุด และอยู่ในฐานะที่ล้ำหน้าสำหรับทุกประชาชาติ ท่านเป็นคนที่มีความรู้ในคัมภีร์และจริยวัตรศาสดามากที่สุด เป็นผู้มีความบริสุทธิ์ใจ

และมีการเคารพภักดี การต่อสู้เสียสละเพื่ออัลลอฮ์(ซ.บ.)และในวิถีทางแห่งศาสนาของพระองค์มากที่สุด กล่าวคือ หากมิใช่เพราะดาบของท่านแล้วไซร้ ศาสนามิอาจดำรงอยู่ได้และการรุกรานของพวกปฏิเสธ(กาเฟร)จะไม่มีวันถูกยกเลิกให้พ้นไปได้จริงๆ แล้วประวัติศาสตร์ของมวลมนุษย์อันยาวนานยังไม่เคยปรากฏเป็นที่ยอมรับกันว่า

หลังจากท่านศาสนทูตผู้ยิ่งใหญ่(ศ) แล้วจะมีบุคคลใดประเสริฐกว่าท่าน อะลี บินอะบีฏอลิบ

หลังจากท่านศาสนทูต(ส)แล้วไม่เคยมีมนุษย์คนใดได้รับการบันทึกถึงเกียรติยศ ความประเสริฐความดีต่างๆให้เหมือนกับที่ได้มีการบันทึกในเรื่องของท่าน อะลี บินอะบีฏอลิบ กล่าวคือ จะประเมินคุณค่าต่างๆ ของบุรษผู้หนึ่งที่การต่อสู้ของเขากับ อัมร์ บินอับด์วูด อัล-อามีรีย์ ในสงคราม “ค็อนดัก” มีค่าเท่ากับ “การเคารพภักดี (อิบาดะฮ์) ของมวลมนุษย์และญิน” ให้ทั่วถ้วนได้อย่างไร จะคำนวณถึงความประเสริฐต่างๆ ของบุรุษผู้หนึ่งที่มิตรของเขาถึงกับต้องปกปิดความดีงามต่างๆของเขาไว้เพราะความกลัวอันตราย

๔๖

 ในขณะที่ศัตรูของเขากลบเกลื่อนความดีงามต่าง ๆ นั้นไว้เพราะความชิงชัง ถึงกระนั้นความดีงามต่าง ๆ ก็ยังแผ่ขจรขจายไปทั่วทุกสารทิศให้ครบถ้วนได้อย่างไร(1)

และเขาคือ “บุคคลที่ถ้าหากมนุษย์ร่วมกันให้ความรักแล้วไซร้

แน่นอนอัลลอฮ์ (ซ.บ.)จะไม่ต้องสร้างนรกมา” เหมือนดังที่ท่านศาสนทูตผู้ยิ่งใหญ่(ศ)ได้เคยกล่าวว่าไว้เช่นนั้น

เรื่องราวเกี่ยวกับท่าน อะลี บินอะบีฏอลิบนั้น ยืดยาวมากจนไม่อาจบันทึกให้จบสิ้นลงในตำราเล่มต่างๆ ได้และไม่อาจนับจำนวนตำราเหล่านั้นให้ครบถ้วน จนกระทั่งท่านอิบนุอับบาส ถึงกล่าวว่า

 “หากต้นไม้ทั้งหมดเป็นปากกา ทะเลทั้งหลายเป็นน้ำหมึก มนุษย์และญินทั้งหมดเป็นตำราและบัญชีบันทึก ก็ไม่อาจพรรณนาถึงเกียรติยศต่างๆ ของท่านอะมีรุลมุมีนิน(อ) ได้หมด”(2)

ฉะนั้นเราจึงจำเป็นต้องสรุปเรื่องราวที่เกี่ยวกับท่าน อะลี(อ) ลงในหนังสือเล่มนี้ ก็เพียงแค่ชี้แนะถึงคุณสมบัติพิเศษและความดีงามในด้านต่างๆ ของท่านบางประการเท่านั้น ส่วนหน้าที่ในการเสนอรายละเอียดนั้นเป็นเรื่องของตำราอื่นๆ นอกเหนือไปจากเล่มนี้

------------------------------------------------------

(1)เป็นคำพูดของท่าน มุฮัมมัด อัช-ชาฟิอีย์ (อิมาม มัซฮับ)

 โปรดดูในอะฮาดีษุล-มุสลิมีนฟีฟะฏออิลอะมีริลมุมินีน หน้า 17

(2)ตัซกิเราะตุลเคาะวาศ หน้า 7

๔๗

ชีวประวัติของท่านอิมามอะลี(อ)

นามจริง ............................

อะลี(อ)

ชื่อบิดา ............................

อะบูฏอลิบ (อับดุล-มะนาฟ)

ชื่อมารดา .........................

ฟาฏิมะฮ์ บินติอะซัด บินฮาชิม

ชื่อปู่ ................................

อับดุล-มุฏฏอลิบ บินฮาชิม

พี่น้องฝ่ายชาย .................

ฏอลิบ ญะอ์ฟัร

พี่น้องฝ่ายหญิง ..............

อุมมุฮานี ญิมานะฮ์

เกิด ................................

วันศุกร์ที่ 13 เดือนเราะญับ ที่สถานอัลกะอ์บะฮ์อันทรงเกียรติ เมื่อท่านศาสนทูตผู้ยิ่งใหญ่(ศ) มีอายุได้ 30 ปี

๔๘

บุคลิกลักษณะส่วนตัว.................

ท่านอะลี(อ)มีเรือนร่างสมส่วนคิ้วโก่ง ดวงตากลมโต ใบหน้างดงามดุจดวงเดือนในคืนวันเพ็ญอันสวยงาม ผิวสีน้ำตาล มีเรือนผมบางเป็นลอน ผมที่ท้ายทอยดังมงกุฏ ลำคอเชิดระหงโดดเด่นราวคณโฑเงิน หน้าท้องอวบเรือนกายกำยำ หน้าอกผึ่งผาย ฝ่ามือนูนหนา กล้ามเนื้อแน่นจนแยกแทบไม่ออก ระหว่างแขนกับข้อศอก ลำข้อศอกอวบอูม ไหล่ผาย เครางามปล่อยมาถึงทรวงอก แข้งสองข้างกำยำยิ่งนัก(3)

การเข้ารับอิสลาม ...........

ท่านคือคนแรกที่เข้ารับอิสลาม

ภรรยาที่ปรากฏชื่อเสียง .....................

ฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮรออ์(ซ) , เคาละฮ์ บินติญะอ์ฟัร บินกัยซ์

อัลค็อษอะมียะฮ์, อุมมุฮะบีบ บินติ-เราะบีอะฮ์, อุมมุล-บะนีน บินติฮิชาม บินคอลิด บินดาริม, ลัยลา บินมัสอูด อัดดาริมียะฮ์, อัซมาอ์ บินติอุมัยซ์ อัล-ค็อษ อะมียะฮ์, อุมมุ-ซะอีด บินติอุรวะฮ์ บินมัซอูด อัซ-ซะกะฟีย์

บุตรชาย ...............

ฮะซัน(อ), ฮุเซน (อ), มุฮัมมัด (มีนามแฝงว่า กอซิม), อุมัร, ญะอ์ฟัร,

 อุษมาน, อับดุลลอฮ์, มุฮัมมัด, อัล-อัศฆ็อร (มีนามแฝงว่า อะบูบักร์)

 อุบัยดิลลาฮ์, ยะฮ์ยา (4)

----------------------------------------------------------------

(3) ฮะยาตุ-อะมีริลมุมินีน หน้า 37 และซะคออิรุล-อุกบา หน้า 57

(4) นี่คือรายงานตามที่ท่านเชคมุฟีดบันทึก และท่านกล่าวว่า ตามหลักฐานในสายชีอะฮยังมีอีกคนหนึ่งชื่อว่า มุฮ์ซิน (คลอดก่อนกำหนด)

๔๙

บุตรสาว ...........

ซัยหนับ อัล-กุบรอ, ซัยหนับ อัล-ศุฆรอ (มีนามแฝงว่า อุมมุกุลซูม),

รุก็อยยะฮ์, อุมมุล-ฮะซัน, ร็อมละฮ์, นะฟีซะฮ์, ซัยหนับ อัศ-ศุฆรอ, รุก็อยยะฮ์ อัศ-ศุฆรอ, อุมมุฮานี, อุมมุล-กิรอญิมานะฮ์ (มีนามแฝงว่า อุมมุญะอ์ฟัร)

 อุมมุซะละมะฮ์, มัยมูนะฮ์, คอดีญะฮ์, ฟาฏิมะฮ์

นามแฝงต่างๆ ของท่านมีดังนี้ ............

อะบุล-ฮะซัน, อะบุลซิบฏัยน์, อะบุลรัยฮานะตัยน์, อะบูตุร็อบ (เป็นนามแฝงที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) ตั้งให้)

ฉายานาม .............

อะมีรุลมุมีนีน, (ผู้นำของศรัทธาชน) อัล-มุรตะฏอ, อัลวะศีย์, ฮัยดัร

 ยะอ์ซูบุล-มุมีนีน, ยะอ์ซูบุดดีน

คุณสมบัติเฉพาะตัวในด้านต่าง ๆ

ก. ท่านเกิดที่สถานอัล-กะอ์บะอ์ซึ่งที่แห่งนี้ไม่เคยมีใครถือกำเนิดเลยแม้สักคนเดียว ทั้งก่อนและหลังจากท่าน

ข. ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)ประกาศความเป็นพี่น้องกับท่านในขณะที่มวลมุสลิมทั้งหลายประกาศความเป็นพี่น้องระหว่างกันและกัน

ค. เป็นผู้ถือธงชัยของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)

๕๐

ง. ในบางสมรภูมิท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) เคยเป็นผู้บังคับบัญชาของท่านแต่ท่านศาสนทูต(ศ)ไม่เคยแต่งตั้งใครให้เป็นผู้บังคับบัญชาแก่ท่านอะลี(อ)เลย

จ. เป็นผู้นำโองการในซูเราะฮ์ อัต-เตาบะฮ์(บะรออะฮ์)ไปประกาศที่

มักกะฮ์

พิธีรับสัตยาบัน .............

ท่านได้รับสัตยาบันสู่ตำแหน่งคอลีฟะฮ์ ในวันที่ 18 เดือนซุลฮิจญะฮ์

ฮ.ศ.10 ที่ตำบลเฆาะดีรคุม โดยคำสั่งของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ(ศ)และท่านได้เข้ารับตำแหน่งทางการปกครองในเดือน ซุล-ฮิจญะฮ์ ฮ.ศ.35

เมืองหลวงในสมัยของท่าน ...........

กูฟะฮ์

กวีประจำสมัย .........

อัน-นะญาชี อัลอะอ์วัร อัช-ชันนี

ลายสลักบนแหวน .........

อัลลอฮุล-มาลิก วะอะลียุน อับดุฮู(อัลลอฮ์ ผู้ทรงเกียรติ และอะลี(อ) คือบ่าวของพระองค์)

๕๑

สงครามในสมัยของท่าน .............

ญะมัล, ศิฟฟีน, นะฮ์รอวาน

ธงประจำการรบของท่าน ............

ธงผืนเดียวกับของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)

ผลงานที่ปรากฏ ..............

นะฮ์ญุล-บะลาเฆาะฮ์

องครักษ์พิเศษ ...............

ซัลมาน อัล-ฟาริซีย์

อาลักขณ์ประจำตัว ............

อับดุลลอฮ์ บินอะบีรอฟิอ์

วาระแห่งการพลีชีพ ................

อับดุลเราะฮ์มาน บินมุลญิม อัล-มุรอดี อัล-คอริจญี ฟาดดาบลงบนศีรษะของท่าน ในคืนวันที่ 19 เดือน รอมฏอน ฮ.ศ. 50 ขณะที่ท่านกำลังทำนมาซศุบห์ ที่มัสยิด อัล-กูฟะฮ์ ท่านเสียชีวิตในคืนวันที่ 21 ของเดือนดังกล่าวนั่นเอง (ท่านเป็นชะฮีด)

๕๒

สุสาน ..........

ท่านฮะซัน(อ)ฝังท่านในสภาพที่ปกปิดข่าวเกี่ยวกับตำแหน่งของสุสาน เพราะกลัวพวกเคาะวาริจญ์และมุอาวิยะฮ์จะล่วงรู้ วันนั้นท้องฟ้าสาดสีทองประกายสูงเด่นเป็นพิเศษ มวลมุสลิมทั่วทุกสารทิศจากโลกอิสลามทั้งมวลต่างก็ยังหมั่นเพียรในการเยือนสุสานของท่าน ณ นะญัฟ อัลอัชรอฟ อยู่ตลอดเวลาจนบัดนี้

ประมวลแห่งคุณงามความดี

หลังจากท่านศาสนทูตผู้ยิ่งใหญ่(ขออัลลอฮ์(ซ.บ.)ประทานความจำเริญแก่ท่านและแก่บรรดาวงศ์วานของท่าน)แล้ว โลกยังไม่เคยรู้จักเลยว่าจะมีบุรุษคนใดที่มีคุณงามความดี และมีจริยธรรมอันทรงเกียรติในด้านต่าง ๆ อย่างครบครัน เสมอเหมือนกับท่านอิมามอะมีรุลมุมีนิน(อ)

ท่านอยู่ในฐานะดีเด่นล้ำหน้าสำหรับชนรุ่นก่อนและเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจสำหรับชนรุ่นหลังคุณงามความดีของท่านอะลี(อ)มากมายสุดที่จะประมาณได้ ความประเสริฐของท่านยิ่งใหญ่อย่างไม่มีที่สิ้นสุด กับคุณค่าของบุรุษผู้ที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ(ศ) กล่าวถึง ไว้ในวันที่เข้าทำการสู้รบกับ

อัมร์ บินอับด์ วุดด์ อัล-อามิรีย์ ว่า “พลังศรัทธาทั้งมวล ได้พิชิตพลังแห่งการตั้งภาคีทั้งมวลแล้ว”

และทันทีที่ท่านได้สังหารอัมร์ท่านศาสนทูต(ศ) ก็กล่าวสดุดีว่า

 “การลงดาบครั้งเดียวที่อะลี (อ) กระทำต่ออัมร์ในสงครามค็อนดักมีค่าเท่ากับการเคารพภักดีของมนุษย์และญินรวมกัน”

 แล้วเราคิดคำนวณให้ครบถ้วนได้อย่างไร?

๕๓

ท่านมุญาฮิดกล่าวว่า “มีชายคนหนึ่งตั้งคำถามท่านอิบนุอับบาสว่าเกียรติคุณของอะลี บินอะบีฏอลิบ มีมากมายปานใด แต่ฉันคิดว่าจะต้องมีถึงสามพันประการ”

ท่านอิบนุอับบาสกล่าวตอบเขาว่า “มันจะต้องมีถึงสามหมื่นประการมากกว่าสามพันประการ”

จากนั้นท่านอิบนุอับบาสกล่าวอีกว่า “หากแม้ต้นไม้เป็นปากกา ท้องทะเลเป็นน้ำหมึก มนุษย์และญินเป็นสมุดและบัญชีก็ไม่อาจพรรณนาถึงเกียรติคุณของท่านอิมามอะลี บินอะบีฏอลิบ ให้ครบถ้วนได้” (1)

เราจะพรรณนาถึงคุณงามความดีของบุรุษผู้หนึ่งให้ครบถ้วนได้อย่างไรในเมื่อท่านเป็นคนแรกที่เข้ารับอิสลาม และมีการเคารพ อิบาดะฮ์มากกว่าใครทั้งหมด เป็นคนสมถะที่สุดในโลก เป็นคนมือสะอาดที่สุด เป็นผู้เสียสละมากที่สุด เป็นคนที่รู้ในเรื่องของคัมภีร์อัลกุรอาน และจริยวัตรของท่านศาสดา(ซุนนะฮ์)มากที่สุด เป็นคนที่สันทัดในการเจรจาและมีความสามารถสูงสุดในการพูดเรื่องราวของท่านเกี่ยวกับอิสลาม หมายถึงเรื่องราวที่เป็นเนื้อหาของอิสลามทั้งหมด

กล่าวคือ หากไม่มีท่าน อิสลามจะไม่มีวันดำรงอยู่ได้และบ่าวของอัลลอฮ์(ซ.บ.)ก็คงจะไม่มี

------------------------------------------

(1)ตัชกิเราะตุล เคาะวาศ หน้า 8

๕๔

แน่นอนที่สุด ระบอบอิสลามดำรงอยู่โดยรากฐานหลายประการ เช่น

การเผยแผ่ การต่อสู้เสียสละของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) ในวิถีทางเพื่อเผยแผ่ศาสนานี้ การสนับสนุนส่งเสริมที่ท่านอะบีฏอลิบ ผู้เป็นลุงมีต่อท่าน การต่อสู้เสียสละของท่านอะลี(อ) และทรัพย์สินของท่านหญิงคอดีญะฮ์(ร.ฎ) นอกจากนี้ ท่านอะลี(อ)คือ บุคคลแรกที่ขานรับการเชิญชวนสู่อิสลามของท่านศาสนทูต(ศ)ท่านคือบุคคลที่ถือได้ว่าเป็นเอกฉันท์ของบรรดานักประวัติศาสตร์ที่ลงมติว่า ท่านเป็นคนแรกที่นับถือศาสนาอิสลาม

ท่านอะลี(อ)เคยกล่าวว่า “ฉันคือคนแรกที่เชื่อมั่นกับท่านศาสนทูต (ศ)” (2)

นักประวัติศาสตร์ได้กล่าวอีกว่า “ท่านนบี (ศ) ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันจันทร์ และอะลี (อ) เข้ารับอิสลามในวันอังคาร” (3)

รายงานจากท่านอะพีฟ กันดี ได้กล่าวว่า อัชอัช บินกัยซ์ ผู้เป็นพี่ชายของข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ว่า “ฉันเคยเห็นชายหนุ่มคนหนึ่งยืนนมาซ แล้วได้มีเด็กผู้ชายคนหนึ่งเข้ามา แล้วไปยืนตรงด้านขวาชายหนุ่มผู้นั้น จากนั้น ก็มีสุภาพสตรีคนหนึ่งเข้ามา แล้วเธอก็ยืนอยู่ด้านหลังของคนทั้งสอง ฉันจึงพูดกับอับบาสว่า นี่คือเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่มาก”

ท่านกล่าวต่อไปว่า “ที่แท้ นี่คือ มุฮัมมัด (ศ) อะลี (อ) และคอดีญะฮ์ (ร.ฎ.) พี่น้องของฉันผู้นี้บอกฉันว่า พระผู้อภิบาลของเขาคือ พระผู้อภิบาลแห่งชั้นฟ้าและแผ่นดิน เขาถูกส่งมาในเรื่องเกี่ยวกับศาสนานี้

-------------------------------------------------------------------

(2) นะฮ์ญุล-บะลาเฆาะฮ์ 1 / 115

(3) อะอ์ยานุช-ชีอะฮ์ 3 กอฟ 1 / 61

๕๕

ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์ว่า ศาสนานี้จะไม่มีวันปรากฏอยู่บนหน้าพิภพได้เลย หากไม่เป็นเพราะบุคคลทั้งสามนี้”

ท่านอะพีฟได้กล่าวภายหลังจากที่ตนได้เข้ารับอิสลามอีกว่า “ถ้าหากฉันเข้ารับอิสลามในวันนั้น แน่นอนฉันจะต้องเป็นอันดับที่สองรองจากอะลี บินอะบีฏอลิบ” (4)

เมื่อท่านได้บอกเล่าเกี่ยวกับเรื่องการเคารพภักดีของท่านอะลี(อ) ท่านได้กล่าวว่า “ท่านเองเคยทราบเกี่ยวกับคำพูดของท่านศาสนทูตแห่งอัลลออ์ (ศ) มาแล้วที่ว่า “การสังหารที่อะลี (อ) กระทำต่ออัมร์ บิน อับดะวุดด์ที่สงครามค็อนดักนั้นมีค่าเท่ากับการเคารพภักดีของมนุษย์และญินรวมกัน”

แล้วจะมีการเคารพภักดีของใครอีกหรือ ที่ยิ่งใหญ่ไปกว่าการเคารพภักดีของเขา ? ชีวิตทั้งหมดของท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ(อ)เป็นอิบาดะฮ์การเคารพภักดีและการเคลื่อนไหวทุกประการของเขาเป็นการฏออะฮ์(เชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮ์(ซ.บ.)และรอซูล(ศ))

มีฮะดีษที่บอกเล่าถึง การนมาซและการประกอบศาสนพิธีของท่านว่าชายคนหนึ่งสนทนากับท่านว่า ขอได้โปรดเล่าถึงเรื่องของบุคคลที่นมาซร่วมกับท่านนบี(ศ)เป็นบุคคลแรก

ท่านอะลี(อ)กล่าวว่า “ฉันได้นมาซร่วมกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) ก่อนใครทั้งหมดเป็นเวลาเจ็ดปีและฉันคือคนแรกที่นมาซร่วมกับท่าน”(5)

----------------------------------------

(4). อัล-มะนากิบ เล่ม 1 หน้า 250

(5.) ตัซกิเราะตุล-เคาะวาศ หน้า 63

๕๖

ท่านอะลี(อ)ได้กล่าวอีกว่า “ฉันเข้ารับอิสลามก่อนการเข้ารับอิสลามของคนทั้งหลายและฉันนมาซก่อนการนมาซของคนทั้งหลาย” (6)

มีรายงานเล่าว่า “ท่านอะลี (อ) นมาซวันกับคืนหนึ่งจำนวนหนึ่งพันร็อกอะฮ์” (7)

อิบนุอะบีล ฮะดีดกล่าวว่า “ท่านอิมามอะลี(อ)คือบุรุษผู้หนึ่งที่บำเพ็ญเพียรในพิธีกรรมทางศาสนาตลอดทั้งคืนระหว่างสงครามศิฟฟินท่านนมาซเป็นอาจิณ โดยมีดอกธนูอยู่ข้างตัว และผ่านเฉียดเนื้อตัวของท่านทั้งทางซ้ายและทางขวาซึ่งท่านมิได้หวั่นกับเรื่องนี้เลย และท่านไม่เคยลุกขึ้นตราบใดที่งานในหน้าที่ยังไม่เสร็จ ท่านคือคนหนึ่งที่หน้าผากเป็นริ้วรอยเนื่องจากการสูญูดมาก หากท่านต้องการจะพิจารณาความหมายของบทดุอาอ์และการวิงวอนของท่าน และการศึกษาถึงการให้เกียรติต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.)ที่มีอยู่ในสิ่งนี้ รวมถึงความหมายที่นบนอบต่อความสง่างามของพระองค์และถ่อมตนต่อเกียรติคุณของพระองค์ ท่านผู้อ่านย่อมจะทราบดีถึงขีดระดับความบริสุทธิ์ใจของท่าน และท่านผู้อ่านจะเข้าใจว่า อะไรบ้างที่กลั่นกรองออกมาจากหัวใจและลิ้นที่เคลื่อนไหวนั้น มีคนถามท่านอะลี บินฮุเซน(อ) ในฐานะที่ท่านเป็นคนที่มีการประกอบการเคารพภักดีสูงมากว่า “การเคารพภักดีของท่านอันเป็นส่วนหนึ่งของการเคารพภักดีแห่งผู้เป็นปู่ของท่านมาจากไหน ?”

---------------------------------------------------

(6.) ชัรฮ์ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เล่ม 1 หน้า 10

(7.) อัล-เฆาะดีร เล่ม 5 หน้า 5 โดยรายงานหลายกระแส

๕๗

ท่านตอบว่า “การเคารพภักดีของฉันได้มาจากการเคารพภักดีของปู่ของฉัน เช่นเดียวกับที่การเคารพภักดีของปู่ของฉันได้มาจากการเคารพภักดีของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ)” (8)

ในส่วนของความสมถะของท่านอิมามอะลี(อ) ในโลกนี้ยังไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อนเลยว่า

จะมีนักปกครองคนหนึ่งที่คนทั้งประเทศนบนอบให้แก่เขา อำนาจรัฐทั้งหมดอยู่ในกำมือของเขา ในขณะเดียวกันเขาสวมใส่เสื้อผ้าที่มีราคาเพียงสามดิรฮัม และถ้าเขาเห็นว่าผ้าผืนยาว เขาก็ยังตัดให้สั้นลงอีก

ท่านอะบู เนาวาร์ พ่อค้าผ้าคนหนึ่งได้กล่าวว่า “อะลี อิบนิอะบีฏอลิบ พร้อมกับคนรับใช้คนหนึ่งมาหาฉันแล้วก็ซื้อชุดคลุมจากแนไปตัวหนึ่ง จากนั้นเขาได้พูดกับคนรับใช้ของเขาว่า “จงเลือกดูของที่เธอต้องการซิ” แล้วคนรับใช้ก็เลือกเอาตัวหนึ่ง ท่านอะลี (อ) จึงเอาอีกตัวหนึ่งมาสวม แล้วยืด

มือออกไปพลางกล่าวว่า “จงตัดส่วนเกินออกไปแค่มือของฉัน” ดังนั้น ฉันก็ตัดมันออก ท่านรับไว้แล้วเอามาสวมเดินออกไป” (9)

และท่านอิมามอะลี(อ) ก็ได้พูดขึ้นว่า “เสื้อคลุมของฉันก็ได้ถูกปะชุนจนกระทั่งฉันเกิดความเขินอายคนปะชุนเสื้อผ้า”

----------------------------------------

(8.) ชัรฮ์ นะฮ์ญุล-บะลาเฆาะฮ์ เล่ม 1 เล่ม 9

(9). อะซะดุล-ฆอบะฮ์ เล่ม 4 หน้า 24

๕๘

 หลังจากนั้นวันหนึ่งมีคนกล่าวแก่ฉันว่า “ทำไมท่านไม่ทิ้งมันไปเสียเลย” ดังนั้น ฉันจึงตอบเขาไปว่า “การทำเช่นนั้นไม่ใช่วิสัยของฉัน เมื่อฟ้าสางผู้เดินทางในค่ำคืนกลางทะเลทรายก็ร้องปิติยินดีที่ผ่านพ้นความลำบาตรากตรำในค่ำคืนนั้นมาได้” นอกจากเรื่องเสื้อผ้าแล้ว อาหารของท่านมิได้ดีไปกว่าเสื้อผ้าที่ท่านสวมใส่ เพราะไม่มีอะไรมากไปกว่าก้อนข้าวบาร์เลย์

ท่านอับดุลลอฮ์ บินอะบีรอฟิอ์ ได้กล่าวว่า “เมื่อวันอีดข้าพเจ้าได้เข้าไปหาท่าน แล้วท่านได้นำเอากล่องเก็บอาหารออกมา ในนั้น ฉันได้พบว่ามีขนมปังแห้งแข็งที่ทำจากข้าวบาร์เลย์ แล้วท่านก็ได้เอามารับประทาน”

ฉันจึงกล่าวแก่ท่านอะมีรุลมุมีนีน(อ)ว่า “ท่านเก็บไว้อย่างมิดชิดทำไม?”

ท่านตอบว่า “ฉันกลัวว่า ลูกชายของฉันทั้งสองคนจะเอาไปทาเนยหรืออบน้ำมัน”(10)

ท่านอะห์นัฟ บินกัยซ์ ได้พูดกับมุอาวิยะฮ์ว่า “ฉันได้เข้าไปหาเขาในค่ำคืนวันหนึ่งที่เขากำลังจะละศีลอด แล้วเขาได้กล่าวแก่ฉันว่า “ท่านจงลุกไปรับประทานอาหารร่วมกับฮะซันและฮุเซนก่อนเถิด” จากนั้น ท่านอิมามอะลี (อ)ก็ได้ทำนมาซ ครั้นเมื่อนมาซเสร็จแล้ว ท่านก็เรียกหากล่องขนมปังที่เก็บไว้ แล้วท่านก็นำออกมามันคือข้าวบาร์เลย์แห้งแข็งที่เก็บเอาไว้”

ฉันจึงพูดกับท่านว่า “ท่านอะมีรุลมุมีนิน ฉันมิได้ถือว่าท่านเป็นคนตระหนี่หรอก แต่ทำไมท่านถึงเก็บมันไว้อย่างมิดชิด สำหรับข้าวบาร์เลย์อย่างนี้?”

-------------------------------------------

(10). อะอ์ยานุช-ชีอะฮ์ 3 กอฟ 1 / 112

๕๙

ท่านตอบว่า “ฉันมิได้เก็บมันไว้เนื่องจากความตระหนี่ แต่ฉันกลัวว่าฮะซัน กับฮุเซนจะนำมันไปชุบน้ำมันให้อ่อนนุ่มต่างหาก”

ฉันถามว่า “แล้วมันเป็นสิ่งที่ต้องห้ามหรือ?”

ท่านตอบว่า “มิได้ แต่บรรดาอิมามที่แท้จริงนั้น เขาจะต้องสัมผัสกับสภาพของความอับจนแร้นแค้นของผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครองในเรื่องของการกินอยู่และการนุ่งห่ม โดยมิได้มีการแยกตัวออกไปหาสิ่งใดๆ ที่คนส่วนใหญ่ไม่มีความสามารถจะหาได้ เพื่อว่าเมื่อคนจนเป็นอิมามของพวกเขาแล้วก็จะมีความรู้สึกขอบคุณต่อแนวทางของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และเมื่อคนรวย เห็นแล้วก็จะรู้สึกมีความขอบคุณและนอบน้อมต่อพระองค์มากขึ้น” (11)

ความมีน้ำใจโอบอ้อมอารีของท่านอะลี(อ)นั้น “ใครเล่าจะมีน้ำใจโอบอ้อมอารียิ่งไปกว่าคนๆ หนึ่งที่มอบอาหารที่ตนเตรียมไว้เพื่อละศีลอดให้แก่คนยากจนที่ร่อนเร่มาขอในยามค่ำคืน และมอบให้แก่เด็กกำพร้า อีกครั้งหนึ่งในคืนที่สอง และมอบให้แก่เชลยสงครามอีกครั้งในคืนที่สาม จนกระทั่งอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้ประทานโองการมายกย่องเรื่องของท่านว่า

 “และพวกเขามอบอาหารจากความรักที่มีต่อพระองค์แก่คนยากจน เด็กกำพร้า และเชลยสงคราม พวกเขากล่าวว่า ความจริงแล้วเราเพียงแต่มุ่งหวังยังอัลลอฮ์(ซ.บ.)เท่านั้น สำหรับการให้อาหารแก่พวกท่านโดยเรามิได้ต้องการรางวัลและการขอบคุณใด ๆ จากพวกท่านเลย แท้จริง เรายำเกรงพระผู้อภิบาลของเราในวันหนึ่งซึ่งมีความเข้มงวดอย่างเดือดร้อนยิ่งนัก”(12)

-----------------------------------------------

(11.) ตัซกิเราะตุลเคาะวาศ หน้า 64

(12.) อิจญ์มาอุล-มุฟัซซิรีน

๖๐