ชีวประวัติอิมามอะลี

ชีวประวัติอิมามอะลี 0%

ชีวประวัติอิมามอะลี ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: อิมามอลี
หน้าต่างๆ: 166

ชีวประวัติอิมามอะลี

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 166
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 30342
ดาวน์โหลด: 3241

รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามอะลี
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 166 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 30342 / ดาวน์โหลด: 3241
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามอะลี

ชีวประวัติอิมามอะลี

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ท่านวาฮิดีได้อ้างไว้ในหนังสือของท่านชื่อ “อัซบาบุล-นุซูล” ว่า

“ท่านฮะซัน ท่านชุอบีย์และท่านกุรฏบีได้กล่าวว่า “อะลี อับบาส และ ฏอลฮะฮ์ บินชัยบะฮ์ได้คุยอวดความดีต่อกันและกัน

โดยที่ฏ็อลฮะฮ์กล่าวว่า

“ฉันคือผู้ดูแลอาคารบัยต์ซึ่งกุญแจของมันอยู่ในมือของฉัน ถ้าฉันต้องการจะอยู่ในนั้นก็ย่อมได้”

ส่วนอับบาสพูดว่า “ฉันคือผู้จัดน้ำดื่มและประจำอยู่ที่นั่น”

ส่วนอะลีพูดว่า “ไม่รู้หละ แต่ฉันได้นมาซก่อนใครๆ เป็นเวลาถึงหกเดือน และฉันคือผู้ออกต่อสู้”

แล้วโองการของอัลลอฮ์(ซ.บ.) ก็ถูกประทานลงมาความว่า

“สูเจ้าถือหรือว่า ผู้ทำหน้าที่จัดน้ำดื่มแก่ผู้บำเพ็ญฮัจญ์กับผู้ที่ทำนุบำรุงมัสยิดอัล-ฮะรอมมีความเสมอเหมือนกับผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และวันปรโลกและได้ต่อสู้เสียสละในวิถีทางของอัลลอฮ์ ไม่เสมอเหมือนกันดอก ในทัศนะของอัลลอฮ์ และอัลลอฮ์ไม่ทรงชี้นำกลุ่มชนผู้อธรรม”

จนถึงโองการที่ว่า

“พวกที่ศรัทธาและอพยพและต่อสู้เสียสละในวิถีทางของอัลลอฮ์ด้วยทรัพย์สินและชีวิตของพวกตนนั้น มีเกียรติอันยิ่งใหญ่หลายระดับ ในทัศนะของอัลลอฮ์ และพวกเขาคือบรรดาผู้มีชัยชนะ”

๘๑

4. โองการที่ว่า

“แท้ที่จริงพวกที่ศรัทธาและประกอบคุณความดี พระผู้ทรงกรุณาจะบันดาลความรักให้แก่พวกเขา” (ซูเราะฮ์มัรยัม โองการที่ 96)

โองการนี้ถูกประทานลงมาในเรื่องของท่านอะลี(อ) กล่าวคือจะไม่ถือว่าผู้ใดเป็นผู้ศรัทธา นอกเสียจากว่าในจิตใจของเขานั้น จะมีความรักต่ออะลี(อ) นี่คือรายงานจากท่านอิบนุอับบาส ในการอธิบายความหมายโดย

ท่านฮัมซะฮ์ ษุมาลี กล่าวว่า “ท่านอะบูญะอ์ฟัร อัลบากิร (อ) ได้กล่าวว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) ได้กล่าวแก่ท่านอะลี (อ) ว่า

“เจ้าจงกล่าวเถิดว่า “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดบันดาลให้มีความผูกพันประการหนึ่งจากพระองค์แก่ข้า และโปรดบันดาลให้หัวใจของผู้ศรัทธามีความรักต่อฉัน” เมื่อท่านอะลี (อ) ได้กล่าวสองประโยคนี้แล้ว โองการดังกล่าวก็ถูกประทานลงมา

ทำนองเดียวกันนี้ก็ยังมีรายงานจากท่านญาบิร บินอับดุลลอฮ์ อัล-อันศอรีอีกด้วย

๘๒

ท่านได้กล่าวไว้อีกว่า “สิ่งที่ยืนยันในเรื่องนี้อีกประการหนึ่งว่าถูกต้องก็คือคำกล่าวของท่านอะมีรุลมุมีนีน (อ) ที่ว่า

 “ถ้าหากปลายจมูกของผู้ศรัทธาถูกฟาดลงไปด้วยดาบของฉัน เพื่อที่จะให้เขาโกรธฉันแล้วไซร้ แน่นอนเขาย่อมจะไม่โกรธฉันเลย และถึงแม้จะมอบทรัพย์สินทั้งโลกให้แก่พวกกลับกลอกเพื่อที่ว่าจะให้เขารักฉัน แน่นอน เขาก็หาได้รักฉันไม่ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะความเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ท่านนบี (ศ) ผู้ประเสริฐได้เคยกล่าวไว้ว่าผู้ศรัทธาจะไม่มีวันโกรธเจ้า และพวกกลับกลอกจะไม่มีวันรักเจ้า” (33)

5. โองการที่ว่า

“และผู้ที่นำมาซึ่งสัจจะและมีความเชื่อมั่นในสิ่งนั้น เหล่านี้ คือบรรดาผู้สำรวมตน” (ซูเราะฮ์ซุมัร โองการ 33)

ท่านซุญูฏีได้รับคำบอกเล่าจากรายงานของท่านอิบนุอับบาสว่าโองการนี้หมายถึงความเป็นอะมีรุลมุมีนีน(ผู้นำของบรรดาผู้ศรัทธา) ของท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ(อ) ท่านอุบัยดะฮ์ บินฮะมีด ได้รับรายงานจากท่านมันษูร จากคำบอกเล่าของท่านมุญาฮิดก็เป็นอย่างนี้เหมือนกันทั้งหมด

มีรายงานจากท่านอะบีญะอ์ฟัร(อ)อธิบายว่า “ผู้ที่นำมาซึ่งสัจจะ หมายถึงท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) คำว่า “และมีความเชื่อมั่นในสิ่งนั้น” หมายถึงท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ (อ)

มีรายงานจากท่านอะลี บินอะบีฮัมซะฮ์ ถึงคำอธิบายของท่านอะบี อับดุลลอฮ์ ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด(อ)ก็เป็นไปเช่นเดียวกันนี้ (34)

----------------------------------------------------------------

(33) มัจญ์มะอุล บะยาน เล่ม 3 หน้า 532

(34) อัล-อีฎอห์ หน้า 103

๘๓

ประมวลฮะดีษของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)

นับตั้งแต่ช่วงเวลาที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)ได้รับการแต่งตั้งจวบจนถึงวาระแห่งการวายชนม์ของท่านนั้น ท่านไม่เคยว่างเว้นจากการยกย่องให้เกียรติแก่ท่านอะมีรุลมุมีนีน(อ) ในทุกสถานที่และทุกโอกาสที่มีการประชุม จนไม่อาจคำนวณนับฮะดีษต่างๆ ที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) กล่าวถึงท่านอะมีรุลมุมีนีน (อ) ให้ครบถ้วนได้ ตำราฮะดีษก็ดี ตำราประวัติศาสตร์อิสลามก็ดี ไม่มีเล่มใดที่เสนอออกมาโดยที่ไม่มีการประมวลเรื่องราวอันว่าด้วย เกียรติยศของท่านอะมีรุลมุมีนีน (อ)

เจ้าของตำราศอฮี้ฮ์ต่าง ๆ ก็ดี นักปราชญ์ฮะดีษทั้งหลายก็ดี ล้วนให้รายละเอียดในเรื่องที่เกี่ยวกับความดีงามของท่านอะมีรุลมุมีนีน(อ)ไว้ ในตำราต่าง ๆ ของพวกตนด้วยกันทั้งสิ้น นอกจากนี้นักปราชญ์ของอิสลามอีกเป็นจำนวนมากที่ได้รวบรวมเรื่องราวของท่านอะมีรุลมุมีนีน(อ)ไว้เป็นเล่มหนึ่ง อีกต่างหากอีกทั้งได้รวบรวมวจนะต่างๆ ของท่านประมุขของท่านศาสนทูต(ศ) ในบทสรุปเล็กๆ น้อยๆ นี้เราจะเสนอเพียงห้าฮะดีษมาบันทึกลงในหน้ากระดาษ อันเป็นฮะดีษที่เกี่ยวกับคุณงามความดีของท่านอะมีรุลมุมีนีน(อ)

1. ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)ได้กล่าวว่า “อะลีอยู่กับสัจธรรมและสัจธรรมอยู่กับอะลีเสมอ”(1)

--------------------------------------------------

(1) ตารีค อัล-บัฆดาด เล่ม 14 หน้า 321

๘๔

2. ท่านอุมัร บินค็อฎฎ็อบ กล่าวว่า “ข้าพเจ้าขอยืนยันต่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ)ว่า

แน่นอนที่สุด ข้าฯเคยได้ยินท่านกล่าวว่า

 “แท้จริงชั้นฟ้าทั้งเจ็ด แผ่นดินทั้งเจ็ด ถ้าหากวางลงบนตราชั่งข้างหนึ่ง แล้ววางความศรัทธาของอะลี (อ) ลงบนตราชั่งอีกข้างหนึ่ง แน่นอนมันจะต้องเบากว่าความศรัทธาของอะลี บินอะบีฏอลิบ” (2)

---------------------------------------------------------------------------

(2). อัล-เฆาะดีร เล่ม 2 หน้า 299 รายงานจาก อัด-ดารุกุฎนี และอิบนุอะซากิร

3. ในศอฮี้ฮ์บุคอรีและมุสลิมมีรายงานบทหนึ่งจากสะอัด บินอะบีวักกอซ ท่านกล่าวว่า

“แท้จริงท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) ได้แต่งตั้ง อะลี (ร.ฎ.)ให้เป็นผู้ปกครองแทนท่านในสงครามตาบูก แล้วท่าน อะลี (อ) ได้กล่าวว่า

 “ข้าแต่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) ท่านจะทิ้งฉันไว้ให้อยู่กับบรรดาสตรีและเด็กๆ กระนั้นหรือ?”

ท่านนบี(ศ) ได้กล่าวว่า “เธอไม่พอใจดอกหรือที่เธอกับฉันมีตำแหน่ง เช่น ฮารูนกับมูซา เพียงแต่ว่าจะไม่มีนบีภายหลังจากฉันแล้วเท่านั้นเอง”(3)

-------------------------------------------------------

(3.) ตัชกิเราะตุลเคาะวาศ หน้า 11

๘๕

4.รายงานบทหนึ่งจากท่านอะนัสความว่า “ฉันเคยอยู่กับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) ซึ่งฉันก็ได้เห็นอะลีอยู่เบื้องหน้า ท่านกล่าวว่า “ฉันและคน ๆ นี้ คือข้อพิสูจน์สำหรับประชาชาติของฉันในวันฟื้นคืนชีพ” (4)

5. เมื่อครั้งที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)ได้กล่าวคำเทศนาเกี่ยวกับเรื่องความดีงามของเดือนรอมฎอน อันเป็นที่รู้กันมาตลอดนั้น

ท่านอะมีรุลมุมีนีน(อ)ได้กล่าวว่า

“โอ้ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) ในเดือนนี้อะไรที่เป็นงานซึ่งมีความประเสริฐที่สุด?”

ท่านตอบว่า “พ่อของฮะซันเอ๋ย งานที่ประเสริฐที่สุดสำหรับเดือนนี้คือ การระมัดระวังตัวให้พ้นจากสิ่งต้องห้ามของอัลลอฮ์ (ซ.บ.)”

จากนั้นท่านก็ร้องไห้

ท่านอะลี(อ) ได้กล่าวว่า “โอ้ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) เหตุใดท่านจึงร้องไห้?”

ท่านตอบว่า “อะลีเอ๋ย ที่ฉันร้องไห้ก็เพราะว่า ในเดือนนี้จะมีเหตุการณ์ที่ทำให้เธอต้องเสียชีวิตในขณะที่เธอนมาซเพื่อพระผู้อภิบาลของเธออยู่นั้น คนที่ชั่วร้ายที่สุดนับตั้งแต่มนุษย์ยุคแรกถึงมนุษย์สุดท้ายที่ชั่วร้ายถึงขนาดฆ่าอูฐตัวหนึ่งของชาวษะมูด มันได้ฟาดฟันลงบนต้นคอของเธอจนเลือดได้หลั่งไหลชโลมเคราของเธอ”

ท่านอะมีรุลมุมีนีน(อ)ได้กล่าวว่า “ข้าแต่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพื่อความอยู่รอดแห่งศาสนาของฉันใช่ไหม?

---------------------------------------------

(4). มะนากิบ อะมีรุลมุมีนีน(อ)โดยอิบนุ อัล-มะฆอซะลี หน้า 45

๘๖

ท่านศาสนทูต(ศ)ได้กล่าวว่า “เพื่อความอยู่รอดแห่งศาสนาของเธอ”

จากนั้นท่านได้กล่าวว่า “อะลีเอ๋ย ผู้ใดที่สังหารเธอก็เท่ากับเขาได้สังหารฉัน และผู้ใดทำให้เธอโกรธก็เท่ากับทำให้ฉันโกรธ ผู้ใดประณามเธอก็เท่ากับประณามฉัน เพราะว่าเธอมีฐานะเท่ากับตัวของฉัน วิญญาณของเธอเหมือนกับวิญญาณของฉัน เนื้อหนังของเธอก็คือเนื้อหนังของฉัน

 แท้จริงอัลลอฮ์(ซ.บ.)สร้างฉันและเธอมาด้วยกัน ทรงคัดเลือกฉันและเธอมาด้วยกัน โดยทรงคัดเลือกฉันให้เป็นนบี และคัดเลือกเธอให้เป็นอิมาม

ฉะนั้นผู้ใดที่ปฏิเสธตำแหน่งอิมามของเธอ ก็เท่ากับปฏิเสธตำแหน่งนบีของฉัน เธอคือบิดาแห่งบุตรชายของฉัน เธอคือสามีแห่งบุตรสาวของฉัน และ

เป็นผู้ปกครองแทนฉันในหมู่ประชาชาติ ทั้งในขณะที่ฉันยังมีชีวิตอยู่ และหลังจากที่ฉันได้ตายไปแล้ว คำสั่งของเธอเท่ากับเป็นคำสั่งของฉัน ข้อห้ามของเธอเท่ากับเป็นข้อห้ามของฉัน ขอสาบานต่อพระองค์ ผู้ซึ่งแต่งตั้งฉันมาให้เป็นนบีและมอบตำแหน่ง ค็อยรุล-บะรียะฮ์(ความดีงามที่ประเสริฐยิ่ง)

ให้แก่ฉัน แท้จริงเธอคือข้อพิสูจน์ประการหนึ่งที่อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงประทานให้แก่มวลมนุษย์และเป็นผู้ทำหน้าที่ปกครองที่พระองค์ทรงประทานมายังปวงบ่าวของพระองค์”(5)

----------------------------------------------------

(5.) จากหนังสืออุยูน อัคบาร์ ริฏอ เล่ม 1 หน้า 232

๘๗

วิถีชีวิตของท่านอะลี(อ)

สำหรับวิถีชีวิตของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) และจริยธรรมของท่านนั้น ให้ความสำคัญอย่างใหญ่หลวง ในด้านการเผยแพร่อิสลาม ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับอิสลามได้สอนให้เราได้เรียนรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงของโลกอาหรับ อันสืบเนื่องโดยจริยธรรมของท่านศาสนทูต

แห่งอัลลอฮ์(ศ) ทั้งนี้อัลลอฮ์(ซ.บ.)ได้ทรงยกย่องคุณลักษณะของท่านไว้ว่า

“แท้จริง เจ้ามีจริยธรรมอันยิ่งใหญ่” ( อัล-กอลัม/4)

และพระองค์ทรงมีโองการอีกว่า

“และถ้าหากเจ้ามีจิตใจที่แข็งกระด้างแล้วไซร้ แน่นอนพวกเขาเหล่านั้นจะพากันวิ่งหนีออกจากเจ้า”( อาลิอิมรอน/159)

ขณะเดียวกัน วิถีชีวิตของท่านนบี(ศ) ในด้านอื่น ๆ ก็ยังมีอีกมากมาย เช่น ความซื่อสัตย์ สุจริต ความอ่อนโยน ความนอบน้อม การมีจิตใจเผื่อแผ่และความกล้าหาญ เป็นต้น ซึ่งนับได้ว่าเป็นตัวอย่างที่สูงส่งในแง่ของความดีงามทั้งสิ้น

ท่านอะมีรุลมุมีนีน(อ) ผู้เป็นบุตรชายของลุงของท่าน ได้พยายามดำเนินไปตามวิถีชีวิตของท่านมาโดยตลอด ฉะนั้นการดำเนินชีวิตของท่านจึงขึ้นตรงตามแบบฉบับแห่งวิถีชีวิตของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) ทั้งในด้านแบบแผนแห่งจริยธรรมในด้านต่าง ๆ ซึ่งประชาชาติในยุคปัจจุบันนี้

๘๘

จำเป็นต้องดัดแปลง แต่งเติมวิถีชีวิตของตนเองและจริยธรรมของตนให้ได้มาตรฐานตามแบบแผนเหล่านี้ให้ได้

สิ่งสำคัญที่เราจะกล่าวถึงในที่นี้ก็คือว่า วิถีชีวิตของท่านอิมาม(อ)นั้นคือสิ่งที่ถูกหล่อหลอมขึ้นมาโดยจริยธรรมต่าง ๆ เหล่านี้นั่นเอง และเราพึงได้ให้ความสำคัญกับการชี้นำเหล่านี้ เพื่อเราจะได้เข้าถึงความสุขและความผาสุกอย่างแท้จริง

คุณลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเพียงประเด็นเล็กๆ น้อยๆ จากวิถีชีวิตของท่านอิมาม(อ)นั่นคือ

1. ท่านสุวัยด์ บิน ฆ็อฟละฮ์ ได้กล่าวว่า ฉันเคยเข้าพบท่านอะลี(อ)ในวันหนึ่งซึ่งในบ้านของท่านไม่มีอะไรรับรองเลย นอกจากเสื่อเพียงผืนเดียวเท่านั้น แล้วท่านก็ใช้เป็นสถานที่นั่ง ฉันได้กล่าวแก่ท่านว่า

“ข้าแต่ ท่านอะมีรุลมุมีนีน(อ) ท่านเป็นถึงประมุขของบรรดามุสลิม ท่านเป็นผู้ปกครองของคนเหล่านั้น และทั้งบัยตุลมาล(กองคลัง) มีแขกเหรื่อมากมายมาเยี่ยมเยือนท่านเสมอ แต่ในบ้านของท่านไม่มีสิ่งอื่นที่จะต้อนรับแขกนอกจากเสื่อผืนนี้”

ท่านกล่าวว่า “สุวัยด์เอ๋ย ปวงปราชญ์นั้นย่อมไม่สะสมเครื่องเรือนไว้ในบ้านชั่วคราว เบื้องหน้าของเรายังมีบ้านที่ถาวรรออยู่ ซึ่งเราจะต้องย้ายไปพบกับความสุขของเราที่นั่น และเราคือผู้ที่มุ่งหมายไปยังที่นั่นในเวลาอันใกล้”

สุวัยด์ได้กล่าวว่า “ฉันถึงกับร้องไห้ เพราะคำพูดของท่าน ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์ (ซ.บ.)” (1)

๘๙

2. ท่านอะลี(อ)ได้ออกไปพบประชาชน ในขณะที่ท่านสวมเสื้อผ้าที่มีคุณภาพต่ำชุดหนึ่ง

ท่านกล่าวว่า “หัวใจย่อมมีความรู้สึกถ่อมตัวไปตามสภาพของอาภรณ์ที่สวมใส่ และมันจะช่วยทำให้ผู้ศรัทธามีความรู้สึกอย่างนี้ได้ในยามที่เขามองเห็นมันอยู่กับฉัน” (2)

3. ฮารูน บินอินตะเราะฮ์ ได้กล่าวว่า พ่อของฉันได้บอกฉันว่า

 “ข้าเคยเข้าพบท่านอะมีรุลมุมีนีน พร้อมกับนำผ้าขนกระต่ายป่าไปให้ แต่ท่านกลับมองดุไปที่ของที่อยู่ข้างล่าง ซึ่งเป็นผ้าฝ้ายกำมะหยี่ ข้าจึงกล่าวแก่ท่านว่า ข้าแต่ท่านอะมีรุลมุมีนีน (อ) แท้จริงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้กำหนดให้ท่านและคนในครอบครัวของท่านมีสิทธิ์ในทรัพย์สินเหล่านี้ทั้งหมด แต่ท่านกลับเลือกเอาในสิ่งซึ่งท่านสามารถทำเองได้”

ท่านกล่าวว่า “ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ฉันมิได้สร้างภาระใดๆ ให้แก่พวกท่าน อันเกี่ยวกับทรัพย์สินของพวกท่านเลย

แท้จริงผ้าฝ้ายกำมะหยี่ของฉันผืนนี้ คือสิ่งที่ฉันนำออกมาจากบ้านของฉันที่มะดีนะฮ์ อันเป็นสิ่งเดียวเท่านั้นที่ฉันมีอยู่” (3)

------------------------------------------------------------

(1) ตัซกีเราะตุล เคาะวาศ หน้า 68

(2) มะฎอลิบ สุอาล เล่ม 1 หน้า 95 และกัชฟุล ฆอมมะฮ์ หน้า 50 และศิฟะตุศ ศอฟวะฮ์ เล่ม 1

หน้า 123 และตัซกีเราะตุล เคาะวาศ หน้า 66

(3) มะฎอลิบ สุอาล เล่ม 1 หน้า 93 และกัซฟุล ฆอมมะฮ์ หน้า 50 และตัซกีเราะตุลเคาะวาศ หน้า66

๙๐

4. สุวัยด์ บินฆ็อฟละฮ์ ได้กล่าวว่า ฉันเคยเข้าพบท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ(อ) ในช่วงเวลาอันสั้น แล้วฉันได้พบว่า ตรงที่ท่านนั่งอยู่นั้น มีเนยแข็งอยู่ชิ้นหนึ่ง ซึ่งฉันพบว่ากลิ่นของมันเปรี้ยวมากแล้ว และในมือของท่านมีขนมปังหยาบ ๆ ที่ทำมาจากข้าวบาร์เลย์แผ่นหนึ่งเท่านั้น ท่านใช้มือของท่านหักมันอยู่เสมอ ๆ เมื่อมันหักแล้วท่านก็ทิ้งมันลงไปในนั้นอีก

ท่านกล่าวว่า “ท่านจะไม่ลองชิมอาหารแบบนี้ของเราดูบ้างเหรอ”

ฉันกล่าวว่า “ฉันถือศีลอด”

ท่านกล่าวอีกว่า “ฉันเคยได้ยินท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) ได้กล่าวว่า ผู้ใดที่ให้การถือศีลอดยับยั้งตนให้พ้นจากอาหารที่ตนชอบแล้วไซร้ เป็นหน้าที่สำหรับอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ในอันที่จะต้องให้อาหารที่ใช้จากสวนสวรรค์ และให้น้ำดื่มจากสวรรค์แก่เขาผู้นั้น”

ท่านได้กล่าวอีกว่า “ฉันได้พูดกับคนรับใช้ของท่านซึ่งมายืนอยู่ใกล้ ๆ ท่านว่า “โอ้เด็กน้อย ทำไมเจ้าไม่ยำเกรงต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ในเรื่องของผู้อาวุโสท่านนี้บ้าง ทำไมเจ้าจึงโม่แป้งที่เป็นอาหารให้แก่เขาในชนิดที่ฉันกำลังมองเห็นอยู่ในขณะนี้?”

๙๑

หญิงรับใช้ได้กล่าวว่า “แน่นอนที่สุด ท่านได้สั่งพวกเราว่า อย่าได้โม่แป้งชนิดที่ละเอียดให้เป็นอาหารแก่ท่าน” (4)

5. เศาะอ์ เศาะอะฮ์ บินซูฮาน และสหายของท่าน พร้อมกับคนติดตามอีกจำนวนหนึ่ง ได้กล่าวว่า “ท่านทำตัวกับพวกเราแบบเดียวกับพวกเราทุกคน คือนิ่มนวลและอ่อนโยนที่สุด อีกทั้งวางตัวอย่างเรียบง่ายที่สุด” (5)

6. ท่านอะลี (อ) ได้ปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระด้วยทรัพย์สินที่ท่านแสวงหามาด้วยมือของท่านเองถึง 1, 000 คน (6)

7. ท่านอะลี(อ)ได้ใช้มือของท่านนวดแป้งให้กับพวกยิวในเมืองมะดีนะฮ์กลุ่มหนึ่ง จนกระทั่งมือของท่านอ่อนล้าและท่านได้บริจาคค่าจ้างเหล่านั้นไป และท่านยังผูกหินให้ติดกับท้องท่านอีกด้วย(7)

-------------------------------------------------------------

(4) กัชฟุล ฆอมมะฮ์ หน้า 47

(5) อะอ์ยานุซซีอะฮ์ เล่ม 3 หน้า 124 และชัรฮ์ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เล่ม 1 หน้า 8

(6) อะอ์ยานุชชีอะฮ์ 3 กอฟ 1 / 42 และยะนาบีอุล มะวัดดะฮ์ หน้า 146

(7) ชัรฮ์ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เล่ม 1 หน้า 7

๙๒

8. ท่านอิมามอะบุลฮะซัน อะลี บินอะหมัด อัล-วาฮิดี(ร.ฎ.)และบรรดานักอธิบายอัล-กุรอานท่านอื่นได้เล่าเรื่องราวที่มีสายสืบติดต่อกันมาว่าท่านอะลี(อ)ได้ทำงานรับจ้างตั้งแต่พลบค่ำจนถึงตอนเช้า ซึ่งท่านได้รับค่าจ้างเป็นข้าวสาลีจำนวนหนึ่ง แล้วท่านก็ได้จัดการโม่จนเป็นแป้งเสีย 1 ใน 3 ส่วน คนในครอบครัวของท่านได้นำมันมาปรุงเป็นอาหารชนิดหนึ่งเพื่อรับประทาน ครั้นเมื่ออาหารสุกแล้วก็ปรากฏว่า มีคนจนมาขอ พวกเขาก็ได้นำอาหาร นั้นออกมามอบให้เขาไป ต่อมาวันหนึ่งท่านก็ได้นำแป้งส่วนที่ 2 มาปรุงอีก เมื่อมันสุกดีแล้ว ก็มีเด็กกำพร้าคนหนึ่งมาขอ พวกเขาก็ได้ให้เด็กกำพร้าคนนั้นไปอีก ต่อจากนั้นท่านก็ได้นำแป้งส่วนที่ 3 มาปรุงอีก เมื่อมันสุกดีแล้วก็ปรากฏว่ามีเชลยคนหนึ่ง ซึ่งเป็นพวกตั้งภาคีได้มาขอ พวกเขาก็ได้ให้เป็นอาหารแก่เชลยผู้นั้นอีก ทั้งท่านอะลี(อ) ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ)

 ท่านฮะซัน(อ) และท่านฮุเซน(อ) ต่างก็อ่อนเพลียเพราะความหิว

อัลลอฮ์(ซ.บ.)จึงได้ทรงบันดาลให้นบีของพระองค์รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับพวกเขา เพราะแท้จริงเจตนาในการกระทำเช่นนี้ ล้วนขึ้นตรงต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.)เท่านั้น เป็นการแสวงหารางวัลจากพระองค์และแสวงหาความปลอดภัยให้พ้นจากการลงโทษของพระองค์ อัลลอฮ์(ซ.บ.)จึงได้ทรงประทานโองการมาในอัล-กุรอานหลายโองการโดยเริ่มต้นตั้งแต่โองการที่ว่า

 “และเขาเหล่านั้นได้ให้อาหาร อันเนื่องมาจากความรักที่มีต่อพระองค์”

๙๓

กล่าวคือ พระองค์ทรงยกย่องคนเหล่านี้ และทรงกล่าวถึงการตอบแทนอันพึงได้สำหรับสภาพการณ์ ด้วยโองการที่ว่า

“ดังนั้น อัลลอฮ์(ซ.บ.)จึงปกป้องพวกเขาให้พ้นจากความเลวร้ายในวันนั้น และให้พวกเขาได้รับความปิติสุขและความชื่นชมยินดี และทรงตอบแทนเขาเหล่านั้นไปตามกรณีที่พวกเขาอดทนนั่นคือสวนสวรรค์และผ้าไหม โดยจะเป็นผู้เอกเขนกอยู่บนที่พักพิงในนั้น”

นี่คือการเคารพภักดีที่สมบูรณ์ เนื่องจากพวกเขาได้บริจาคอาหารไปทั้ง ๆ ที่อาหารนั้นเป็นที่ต้องการของพวกเขาอย่างที่สุดเช่นกัน มิฉะนั้น แล้วชีวประวัติตอนนี้ ก็คงจะไม่เป็นเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่แต่ประการใด และอัลลอฮ์(ซ.บ.) ก็คงจะไม่ให้ความสำคัญจนถึงขนาดที่ประทานโองการเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้แก่ศาสนทูตของพระองค์(ศ)ไว้ในอัล-กุรอาน(8)

9. ท่านศอลิห์ได้กล่าวว่า “ฉันได้พบกับท่านอะลี (อ) โดยที่ท่านถืออินทผลัมอยู่ช่อหนึ่ง

ฉันกล่าวกับท่านว่า “ข้าแต่ท่านอะมีรุลมุมีนีน โปรดมอบอินทผลลัมช่อนี้ให้กับฉันถือแทนท่านเพื่อไปส่งถึงบ้านของท่านเถิด”

ท่านกล่าวว่า “เจ้าของบ้านคือผู้ที่ควรค่าแก่การถือของของตนเอง” ซึ่งท่านมิได้มอบให้ฉันถือให้ แล้วท่านก็ได้นำมันไปในบ้านของท่านเอง

 สักพักหนึ่ง ท่านก็ได้กลับออกมาพร้อมกับถุงผ้าใบหนึ่งซึ่งบรรจุอินทผลัมทั้งเปลือก แล้วท่านได้ไปนมาซวันศุกร์ร่วมกับประชาชน(9)

--------------------------------------------

(8) กัชฟุล ฆอมมะฮ์ หน้า 49

(9) ยะนาบีอุล มะวัดดะฮ์ หน้า 146

๙๔

10. ท่านอะลี(อ)ได้กล่าวกับท่านฮะซัน(อ)หลังจากที่ท่านได้รับบาดเจ็บเพราะอิบนุ มุลญิม(ผู้ที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงสาปแช่ง) ทำร้ายว่า

 “ฮะซันเอ๋ยจงดูแลคนที่ทำร้ายฉัน จงเอาอาหารของฉันให้แก่เขา และจงเอาน้ำดื่มของฉันให้เขาดื่ม ถ้าหากฉันยังมีชีวิตอยู่ต่อไป ฉันจะจัดการกับสิทธิ์ของฉันเอง แต่ถ้าฉันตายลงไซร้ พวกเจ้าก็จงฟันเขา 1 ครั้งและจงอย่างฟันซ้ำ แท้จริงฉันเคยได้ยินท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) ได้กล่าวว่า พวกท่านจงระวังในเรื่องการซ้ำเติมแม้แต่กับสุนัขที่ตะกละ”

จากนั้นท่านอะลี(อ)ได้กล่าวว่า “โอ้ บุตรหลานของอับดุลมุฏฏอลิบ ฉันจะไม่สั่งเสียพวกเจ้า ให้ล้างผลาญเลือดเนื้อของมวลมุสลิม โดยกล่าวว่า

อะมีรุลมุมีนีนถูกสังหารแล้ว แน่นอนไม่มีใครฆ่าฉันเลยนอกจากคนๆ เดียว”(10)

-----------------------------------------

(10) อัลฟุศูลุล มุฮิมมะฮ์ หน้า 118

๙๕

คำปราศรัยอันทรงคุณค่าของท่านอะมีรุลมุมีนีน(อ)

ในบรรดาจำนวนเศาะฮาบะฮ์ และบรรดาคอลีฟะฮ์ทั้งหลายนั้น ไม่มีคำปราศรัย คำตักเตือนสุภาษิต คำสั่งเสีย คำสั่ง และข้อเขียนของใครจะถูกบันทึกไว้ให้เหมือนกับของท่านอะลี(อ) นั่นคือ

หนังสือนะญุล-บะลาเฆาะฮ์ ที่ถูกเรียบเรียงมาด้วยโวหารที่สูงส่ง และสมบูรณ์ด้วยอรรถรสอันลึกล้ำ คือความภาคภูมิใจของมวลมุสลิมทุกคน และเป็นเกียรติยศสำหรับผู้ศรัทธาทุกคน นี่คือสิ่งเดียวที่นอกเหนือจากพจนารถของผู้ทรงสร้าง แต่สูงส่งเกินกว่าถ้อยคำของมวลมนุษย์ทั้งปวง

อิบนุ อะบิลฮะดีดได้กล่าวว่า “ท่านจงพิจารณาข้อมูล ถ้อยคำของท่านอะมีรุลมุมีนีน (อ) เถิด แล้วท่านจะพบว่า มันแยกแยะมาจากถ้อยคำต่างๆ แห่งพระคัมภีร์ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และเป็นข้อมูลที่เก็บถ้อยคำต่างๆ มาจากความหมายและแนวทางต่าง ๆ จากพระคัมภีร์ มีเค้าโครงอย่างเดียวกับเค้าโครงของพระคัมภีร์ มันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ ถึงแม้ว่าพระคัมภีร์จะไม่มีคำพูดของใครเสมอเหมือนเทียบเคียงได้ ควรที่จะกล่าวได้ว่า หลังจากพระคัมภีร์แล้วจะไม่มีถ้อยคำของใคร เป็นโวหารสูงส่งลึกซึ้ง มีอรรถรส มีคุณค่าอีกแล้วหากจะมีได้ก็เพียงถ้อยคำของท่านอะลี(อ)เท่านั้น ความจริงข้อนี้ไม่มีใครรู้ได้ นอกจากผู้ที่มีความรู้สันทัดที่สุดในงานแขนงนี้เท่านั้น และหาใช่ว่าคนทุกคนจะควรค่ากับการเป็นผู้ครอบครองเพชรอัญมณียิ่งไปกว่านั้น ก็หาใช่ว่าจะคู่ควรกับทองคำเสมอไป

๙๖

ในบทนี้เราจะบันทึกประโยคคำพูดของท่านอะมีรุลมุมีนีน(อ)พอเป็นสังเขป

1. จากคำปราศรัยของท่านอะมีรุลมุมีนีน(อ) ที่กำชับในเรื่องการ ต่อสู้และตำหนิพวกที่เฉยเมยในเรื่องนี้ว่า

“แท้จริง การต่อสู้คือประตูบานหนึ่งของประตูสวรรค์ ที่อัลลอฮ์(ซ.บ.) ทรงเปิดไว้สำหรับเหล่าบรรดา ผู้ใกล้ชิดของพระองค์โดยเฉพาะ และมันคืออาภรณ์แห่งการสำรวมตนเป็นเกราะของอัลลอฮ์(ซ.บ.)อันแข็งแกร่ง

ผู้ใดละทิ้งมันไปด้วยความรังเกียจ อัลลอฮ์(ซ.บ.)จะให้เขาผู้นั้นสวมใส่อาภรณ์แห่งความต่ำต้อยและสภาพชีวิตที่ได้รับการลงโทษอันน่าอัปยศอดสูหัวใจจะถูกตรึงไวด้วยสิ่งปิดกั้น สัจธรรมจะถูกยึดไปจากเขาเนื่องจากทอดทิ้งการต่อสู้ เขาจะจำนนกับความพ่ายแพ้

ความเป็นธรรมจะถูกปิดกั้น แน่นอนข้าเคยเรียกร้องท่านหลายครั้งแล้วใช่ไหมว่า ให้ต่อสู้กับพวกเขาทั้งในยามกลางคืนและกลางวัน ทั้งโดยลับและโดยเปิดเผย และข้าเคยพูดกับพวกท่านว่าจงสู้รบกับเขาเหล่านั้น ก่อนที่พวกเขาจะสู้รบกับพวกท่าน ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์(ซ.บ.) หากคนพวกนั้นได้รับการบุกโจมตีถึงใจกลางบ้านเมืองแล้ว พวกเขาจะได้รับความตกต่ำ กล่าวคือ พวกท่านต้องยอมสวามิภักดิ์และยอมอ่อนข้อให้ จนพวกท่านต้องถูกทำลายอย่างย่อยยับเป็นเสี่ยงๆ และบ้านเมืองก็จะถูกยึดครอง และนี่คือ พี่ชายของฆอมิด พลังของเขาสามารถพิชิตเมืองอันบาร์(1)

เขาสามารถสังหารอิซซาน บินฮิซซาน อัล-บักรี และทำลายแสนยานุภาพของพวกท่านได้ ทั้งๆ ที่มีอาวุธมากมาย ฉันได้ทราบมาว่าชายคนหนึ่งในหมู่พวกเขาเข้ามาบุกรุกสตรีมุสลิม

-------------------------------------

(1)เมืองอันบาร์ อยู่ชายฝั่งด้านตะวันออกของแม่น้ำยูเฟรตีส

๙๗

อีกทั้งย่ำยีเกียรติโดยถอดกำไลเท้า และเครื่องประดับของพวกนาง นางไม่มีอะไรยับยั้งมันได้นอกจากกล่าวรำพึงและอ้อนวอนขอความเมตตา ต่อจากนั้นพวกเขาก็พากันแยกย้ายกระจัดกระจาย คนผู้ชายในหมู่พวก

เขาไม่มีใครได้รับบาดแผลเลยและพวกเขาไม่มีใครเสียเลือดเลย นี่ถ้าหากว่า มีชายมุสลิมตายลง

หลังจากเหตุการณ์นี้ด้วยความเสียใจ ก็คงไม่มีอะไรเป็นที่น่าตำหนิ ยิ่งไปกว่านั้นสำหรับข้าถือว่า เป็นสิ่งที่คู่ควรอย่างแท้จริงด้วยซ้ำ ข้าแต่อัลลอฮ์(ซ.บ.)น่าแปลกใจจริงๆ ที่หัวใจเหล่านั้นตายด้านความรู้สึกสำนึกถูกครอบงำ พวกเขาต่างร่วมกันอยู่ในความผิดพลาด ท่านทั้งหลายต่างพากันทำลายสิทธิของพวกท่านเอง สำหรับพวกท่านจึงมีแต่ความน่าเกลียดและชิงชัง ในยามที่พวกท่านยอมตกเป็นเป้าถูกขว้างปา พวกท่านถูกเร่งเร้า แต่ก็หาได้มีปฏิกิริยาโต้ตอบ พวกท่านถูกทิ่มแทงแต่พวกท่านก็ไม่รู้สึกปวดร้าวอะไร ในขณะที่พวกเขาทรยศต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.) พวกท่านกลับพึงพอใจ

 ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อข้าออกคำสั่งให้พวกท่านออกไปรบกับพวกเขาในช่วงฤดูร้อน ท่านทั้งหลายก็กล่าวว่า มันร้อนจัดเหลือเกิน ความร้อนจะต้องเผาผลาญเราแน่ ๆ แต่พอข้าฯสั่งให้ออกไปรบกับพวกเขาในช่วงฤดูหนาว พวกท่านก็บอกว่า นี่มันหนาวเหลือเกิน ความหนาวจัดต้องทำลายเราแน่ ๆ ทุกฤดูกาล ไม่ว่าจะร้อนหรือหนาว พวกท่านก็จะผละหนีทั้งนั้น ก็ในเมื่อเป็นอย่างนี้ ด้วยพระนามของอัลลอฮ์(ซ.บ.) พวกท่านก็สมควรแล้วที่ต้องเผชิญกับคมดาบ โอ้พวกเจ้าผู้มีเรือนร่างเป็นบุรุษแต่ไม่ใช่บุรุษ

แม้แต่เพียงนิดเดียวเป็นพวกทารกแรกเกิด และเป็นพวกที่มันสมองติดอยู่กับกำไลสตรี แน่นอน ฉันไม่ปรารถนาจะแลเห็น และไม่อยากจะรู้จักกับพวกท่านเลย ด้วยพระนามของอัลลอฮ์(ซ.บ.) เพราะมันน่าเสียใจ

๙๘

 มันน่าละอายแก่ใจ ในที่สุดขอให้อัลลอฮ์(ซ.บ. ทำลายพวกท่านเสียเถิด แน่นอนพวกท่านทำให้หัวใจของข้าเต็มไปด้วยความรังเกียจ และพวกท่านสร้างภาระที่ขมขื่นให้แก่หัวอกของข้าอย่างยิ่ง พวกท่านทำให้ขากระอักกระอ่วนมีความทุกข์โศก ทุรนทุราย พวกท่านได้ก่อความเสียหายให้แก่ข้า ด้วยการทรยศและทำลายจนพวกกุเรชถึงกับกล่าวว่า

 “บุตรของอะบีฏอลิบ เป็นชายที่กล้าหาญก็จริง แต่ไม่มีความรู้ในเชิงรบ” ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) อันว่า บิดาของพวกท่านเหล่านั้น คนใดบ้างที่มีประสบการณ์ และมีฐานะที่ล้ำหน้าข้าได้ แน่นอนข้าเก่งกล้าในเรื่องนี้ ตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 20 ปี และข้าก็ยังเป็นอยู่อย่างนี้ ทั้งๆ ที่มีอายุมากถึง 60 ปี แล้วแต่ทว่ามันย่อมไม่ใช่คำสั่งต่อบุคคลที่ไม่ความภักดี”

2. ส่วนหนึ่งจากคำสั่งเสียของท่านอะลี(อ) ที่มีแก่ท่านฮะซัน(อ) และท่านฮุเซน(อ) เมื่อครั้งที่อิบนุ มุลญิม(ผู้ได้รับการสาปแช่งจากอัลลอฮ์(ซ.บ.)) ได้ใช้ดาบฟันนั้น มีใจความว่า

“ข้าขอสั่งเสียเจ้าทั้งสองให้มีการสำรวมตนต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.) และจงอย่าละเมิดกับโลกนี้ ถึงแม้มันจะละเมิดต่อเจ้าทั้งสอง และจงอย่าแสดงความเสียใจกับสิ่งใด ๆ ก็ตามในโลกที่มันสูญเสียไปจากเจ้าทั้งสอง จงพูดความจริง จงทำงานเพื่อผลการตอบแทน จงเป็นศัตรูกับผู้อธรรม จงเป็นผู้ช่วยเหลือคนที่ได้รับความไม่เป็นธรรม ข้าขอสั่งเสียแก่เจ้าทั้งสอง และลูกๆ ของข้าทั้งหมดและภรรยาของข้าทั้งหมด ตลอดจนถึงคนที่ได้รับหนังสือของฉันทั้งหมดว่า ให้มีความยำเกรงต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.) จงทำให้งานของพวกเจ้ามีระเบียบ จงปรับปรุงแก้ไขเรื่องระหว่างพวกเจ้าให้ดี เพราะฉันเคยได้ยินท่านผู้เป็นตาของพวกเจ้า

๙๙

 ผู้เป็นศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) กล่าวว่า

 “การปรับปรุงแก้ไขในเรื่องราวระหว่างพวกเดียวกันนั้นมีคุณค่าสูงกว่าการนมาซและการถือศีลอดโดยทั่ว ๆ ไป”

“วัลลอฮ์ ขอสาบานต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.) เรื่องของลูกกำพร้า พวกเจ้าจงอย่าล้วงของที่อยู่ปากของพวกเขาออกมา และจงอย่าให้เขาเหล่านั้นได้รับความสูญเสียอันเนื่องมาจากเกียรติยศของพวกเจ้า”

“วัลลอฮ์ ขอสาบานต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.)ในเรื่อง เพื่อนบ้านของพวกเจ้า พวกเขาคือคำสั่งเสียของนบีของพวกเจ้า ท่านนบี(ศ)ไม่เคยว่างเว้นจากการสั่งเสียในเรื่องของพวกเขาจนเราถึงกับคิดว่าท่านจะมอบมรดกให้กับพวกเขา”

“วัลลอฮ์ ขอสาบานต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.) ในเรื่องอัล-กุรอานจงอย่าให้คนอื่นนอกจากพวกเจ้าถือปฏิบัติตามคำสั่งสอนของมัน ล้ำหน้าพวกเจ้า”

“วัลลอฮ์ ขอสาบานต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.) เรื่องนมาซมันคือเสาหลักแห่งศาสนาของพวกเจ้า”

“วัลลอฮ์ ขอสาบานต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.) ในเรื่องของบ้านของพระผู้อภิบาลของเจ้า พวกเจ้าจงอย่าเหินห่างจากมันตราบใดที่พวกเจ้ายังมีชีวิตอยู่ เพราะถ้ามันถูกทอดทิ้ง พวกเจ้าก็จะไม่ดูแลต่อกันและกัน”

“วัลลอฮ์ ขอสาบานต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.) ในเรื่องการต่อสู้ (การทำญิฮาด) ด้วยทรัพย์สินด้วยชีวิต และด้วยวาจาของพวกเจ้า ในวิถีทางของอัลลอฮ์(ซ.บ.) พวกเจ้าจงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และจงเสียสละอย่างทุ่มเท และจงระมัดระวังการหลบหนีและตัดขาด อีกทั้งจงอย่าละทิ้งการสอนให้ทำความดีและยับยั้งห้ามปรามจากการทำความชั่ว

๑๐๐