ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ชีวประวัติอิมามฮะซัน0%

ชีวประวัติอิมามฮะซัน ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 134

ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 134
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 57156
ดาวน์โหลด: 3631

รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามฮะซัน
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 134 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 57156 / ดาวน์โหลด: 3631
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

อัตชีวประวัติอิมามมะศูมีน 2

อิมามฮะซัน(อ)

เขียนโดย

ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล

บทนำ

ในเมื่อประชาชาติทั้งหลายต่างให้ความสำคัญต่อวิถีชีวิตของบุคคลสำคัญและบรรพชนที่ยิ่งใหญ่ของตนโดยได้มีการอนุรักษ์ไว้ซึ่งอนุสรณ์ทั้งหลายของคนเหล่านั้นและยกย่องคนเหล่านั้นไว้ให้คงอยู่ในฐานะที่ต้องรำลึกถึง และเป็นบทเรียนสำหรับอนุชนรุ่นต่อๆ มา

ด้วยเหตุนี้เอง เราจะเห็นว่า เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่ส่งเสริมเอกลักษณ์ของประชาชาตินั้นๆ และนับเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ของประชาชาตินั้นๆ ได้เป็นอย่างดี จึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประชาชาติอิสลามที่จะต้องศึกษาชีวประวัติของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)ตลอดจนจำเป็นจะต้องวิเคราะห์และติดตามอย่างใกล้ชิดกับเรื่องราวอันเป็นที่มาของบุคคลเหล่านี้ เพื่อที่ว่าจะได้มีการนำเอาความรู้

ผลงานและแบบอย่างในการดำเนินชีวิตของคนเหล่านั้นมาเป็นบรรทัดฐานแห่งชีวิตของตน เพื่อบรรลุสู่ความสุข ความเจริญ และประสบกับความดีงามอย่างแท้จริง ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการนำธงชัยของประชาชาติอิสลามมาโบกสะบัดอีกครั้งหนึ่งบนพื้นโลกนี้

หนังสือเล่มนี้จะรวบรวมชีวประวัติสั้นๆของอิมามท่านที่สองจากบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) นั่นคือ ท่านอะบีมุฮัมมัด อัล-ฮะซัน บิน

อะมีรุลมุมินีน(อ) โดยเราจะบันทึกบางฮะดีษและบางโองการที่เกี่ยวข้องกับอิมามท่านนี้ และเกร็ดชีวิตบางตอนของท่าน และเราจะกล่าวถึงคำปราศรัยและถ้อยคำบางตอนของท่านพอสังเขป

ซึ่งในตอนท้ายของบท เราจะสรุปลงด้วยคำสดุดีที่บรรดาสาวกชั้นผู้ใหญ่ นักปราชญ์ ตลอดจนบุคคลสำคัญที่มีต่ออิมาม(อ)ท่านนี้ อันเป็นคำยืนยันจาก

บุคคลเหล่านั้นที่มีต่อความดีงามและเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ของท่าน

หนังสือเล่มนี้มีจุดประสงค์ในการชี้นำให้คงไว้ซึ่งระเบียบแบบแผนของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ ( อ) และเรียกร้องให้มีการดำเนินชีวิตตามแบบอย่างของคนเหล่านี้ ให้มีการสร้างจริยธรรมไปตามหลักจริยธรรมของคนเหล่านี้

อัล-กุรอานได้ประกาศว่า

“ จงกล่าวเถิดว่า นี่คือวิถีทางของฉัน ฉันเรียกร้องเชิญชวนยังอัลลอฮฺ โดยหลักฐานอันชัดแจ้ง ทั้งฉันเองและผู้ที่เชื่อถือตามฉัน มหาบริสุทธิ์ยิ่งเป็นของอัลลอฮฺ และฉันมิได้มาจากมวลผู้ที่ตั้งภาคี ” ( 1)

(1) ซูเราะฮ์ ยูซุฟ : 108

ชีวประวัติ

อิมามฮะซัน บินอะลี(อ)

นามจริง

อัล-ฮะซัน (เป็นชื่อที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ตั้งให้)

ชื่อบิดา

ท่านอิมามอะลี อะมีรุลมุมินีน(อ)

ชื่อมารดา

ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ อัซ-ซะฮฺรออ์(อ)

ชื่อตา

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)

ชื่อยาย

ท่านหญิงค่อดีญะฮฺ บินติ คุวัยลิด(ร.ฎ.)

ชื่อปู่

ท่านอะบูฏอลิบ บิน อับดุลมุฎฎอลิบ(ร.ฎ.)

ชื่อย่า

ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ บินติ อะซัด บิน ฮาชิม(ร.ฎ.)

น้องชายร่วมบิดามารดา

ท่านอิมามฮุเซน(อ)

น้องสาวร่วมบิดามารดา

ท่านหญิงซัยหนับ ท่านหญิงอุมมุ กุลศูม(อ)

สถานที่เกิด

ท่านเกิดที่เมืองมะดีนะฮฺ ในตอนกลางคืนของวันที่ 15 เดือน รอมฎอน

ฮิจญเราะฮ์ศักราชที่3

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้มาหาท่าน แล้วกล่าวว่า

“ ข้าฯแต่อัลลอฮฺ ข้าฯขอให้พระองค์ทรงคุ้มครองเขา และบุตรของเขาให้พ้นจากมารร้ายชัยฎอนที่ถูกสาปแช่ง ”

แล้วท่านได้กล่าวคำอะซฺาน(ถ้อยคำเชิญชวนสู่การนมาซ) ที่หูข้างขวาและกล่าวคำอิกฺอมะฮฺ ( ถ้อยคำเชิญชวนให้เตรียมยืนนมาซ) ที่หูข้างซ้ายและตั้งชื่อให้ท่านว่า ฮะซัน แล้วทำการเชือดแกะเพื่อทำพิธีรับขวัญการกำเนิดของท่าน

บุคลิกลักษณะ

ท่านอิมามฮะซัน(อ) เป็นคนผิวขาว มีหนวดสีน้ำตาลอมแดง ดวงตากลมโต แก้มสองข้างเรียบ หนวดดก เคราดก คอเชิงระหง แข็งแกร่งบึกบึน ไหล่กว้าง สมส่วน รูปทรงปานกลาง เป็นคนที่มีใบหน้างดงาม ผมเป็นลอนดกดำ เรือนร่างสวยงาม

การใช้ชีวิตอยู่กับบิดา

เป็นคนที่อยู่ใกล้ชิดผู้เป็นบิดาตลอดระยะเวลาทั้งชีวิต เคยออกทำสงครามด้วยกันสามครั้ง

คือ สงครามอัล-ญะมัล สงครามศิฟฟิน และสงครามอัน-นะฮฺรอวาน

สมญานาม

อะบูมุฮัมมัด (ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ให้สมญานามนี้)

ฉายานาม

อัต-ตะกี (ผู้สำรวมตน) อัซ-ซะกี (ผู้ชาญฉลาด) อัซ-ซิบฏ (ผู้สืบตระกูล)

ลายสลักบนแหวน

อัล-อิซซะตุ ลิล ลาฮิ วะฮฺดะฮฺ

(เกียรติยศเป็นของอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว)

ภรรยาของท่านที่ปรากฏชื่อ

เคาละฮฺ บินติ มันศูร อัลฟะซารียะฮฺ, อุมมุ อิซฮาก บินติฎอลฮะฮฺ บินอับดุลลอฮฺ อัตตัยมีย์, อุมมุบิชร์ บินติ อะบีมัซอูด อัล-อันศอรี ,ญุอ์ดะฮฺ บินติ

อับดุลลอฮฺ อัตตัยมีย์, อุมมุบิชร์ บินติ อะบีมัซอูด อัล-อันศอรี ,ญุอ์ดะฮฺ

บินติ อัล-อัชอัษ และฮินด์ บินติอับดุลเราะฮฺมาน บินอะบีบักร์

บุตรชาย

ซัยดฺ ,อัล-ฮะซัน ,อัมร์, อัลกอซิม, อับดุลลอฮฺ, อับดุลเราะฮฺมาน, อัล-ฮะซัน และฏอลฮะฮฺ

บุตรสาว

อุมมุลฮะซัน ,อุมมุลฮุเซน ,ฟาฏิมะฮฺ, อุมมุอับดิลลาฮฺ,ฟาฏิมะฮฺ ,

อุมมุซะละมะฮฺ และรุกฺอยยะฮฺ

การให้สัตยาบันต่อท่าน(อ)

ในวันที่ 21 เดือนรอมฎอน ปี ฮ.ศ. 40

คนรับใช้ของท่าน(อ)

ซะฟินะฮฺ (คนรับใช้ของท่านศาสดา)

อาลักษณ์ประจำตัวของท่าน(อ)

อับดุลลอฮฺ บินอะบีรอฟิอฺ

การทำสัญญาสงบศึก

ท่าน(อ)ทำสัญญาสงบศึกกับมุอฺาวิยะฮฺ ในวันที่ 15 เดือนญะมาดิล-อูลา ปี ฮ.ศ. 41 หลังจากพบกับความโลเลของสหายของท่าน

การวะฟาตของท่าน(อ).....

ท่านเป็นชะฮีดในวันที่ 7 เดือนเศาะฟัร ปี ฮ.ศ. 50

หลุมฝังศพของท่าน(อ)

ท่านอิมามฮุเซน(อ) ฝังท่าน(อ) ในสุสานอัลบะเกียะอฺ ข้างท่านย่าของท่านคือ ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ บินติอะซัด(ร.ฎ.)ตามคำสั่งเสียของตัวท่านเอง

ช่วงเวลาแห่งการเป็นอิมามของท่าน

ประมาณ 10 ปี

การทำลายหลุมฝังศพของท่าน(อ)

หลุมฝังศพของท่านถูกทำลายโดยฝีมือของพวกวะฮาบีในวันที่8 เดือนเชาวาล ปี ฮ.ศ.1344 พวกมันยังได้ทำลายหลุมฝังศพของบรรดาอิมาม(อ)ในสุสาน “ อัลบะเกียะอฺ ” ด้วย

ในทัศนะของอัล-กุรอาน

มีโองการต่างๆ ในอัล-กุรอานเป็นจำนวนมากกล่าวถึงเรื่องราวของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของอัศฮาบุลกิซาอ์(ผู้ที่อยู่ในผ้าคลุม) ห้าท่าน ทำไมจะไม่เป็นเช่นนี้ ก็ในเมื่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้นำเอาความสำคัญของพวกเขามาเชื่อมโยงกับอัล-กุรอาน และได้กำหนดให้พวกเขามีฐานะเทียบเท่ากับอัล-กุรอาน ? ซึ่งท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวว่า

“ แท้จริงฉันได้ละทิ้งสิ่งสำคัญที่หนักยิ่งสองประการไว้ นั่นคือ คัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และแบบแผนของฉันแห่งอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน ตราบใดที่ท่านทั้งหลายยึดมั่นในสิ่งทั้งสองนี้ พวกท่านจะไม่หลงผิดอย่าเด็ดขาดภายหลังจากสมัยของฉัน ”

ในบทนี้เราจะกล่าวถึง 4 โองการจากอัล-กุรอานที่เกี่ยวกับท่านอิมามฮะซัน(อ)

1. จากซูเราะฮ์ อาลิอิมรอน : 61

“ ดังนั้น ผู้ใดก็ตามที่ขัดแย้งกับเจ้าในเรื่องนี้ หลังจากที่ความรู้ได้มายังเจ้าแล้ว ก็จงกล่าวเถิดว่า พวกท่านจงมาซิ เราจะเรียกบรรดาลูกๆ ของเราและพวกท่านก็เรียกบรรดาลูกๆ ของพวกท่านมา และเราเรียกบรรดาสตรีของเรามา และพวกท่านก็เรียกบรรดาสตรีของพวกท่านมา และเราเรียกตัวตนของเรามา และพวกท่านก็เรียกตัวตนของพวกท่านมา ต่อจากนั้นเราจะกระทำการสาบานพิสูจน์ความจริงต่อกัน ดังนั้นเราจะขอให้การสาปแช่งของ

อัลลอฮฺพึงมีแด่บรรดาผู้ที่บิดเบือนความจริง ”

ท่านมุสลิมและท่านติรมีซีย์ ได้รายงานคำบอกเล่าไว้ว่า :

ครั้งหนึ่ง มุอฺาวิยะฮฺได้พูดกับซะอัด บินอะบีวักก๊อศว่า

“ อะไรที่ยับยั้งมิให้ท่านประณามอะบูตูร๊อบ(ฉายานามของท่าน

อิมามอะลี) ?”

ซะอัดตอบว่า “ ฉันยังจดจำเรื่องราวสามประการที่ท่านศาสนทูต (ศ) ได้กล่าวไว้ได้ ฉันจึงไม่อาจด่าประณามเขาได้ และถ้าหากว่าเรื่องเหล่านั้นจะได้แก่ฉันเพียงประการเดียว ฉันก็จะพอใจยิ่งกว่าได้อูฐสีแดง ”

ว่าแล้วเขาก็นับสองประการแรกให้ฟัง ต่อจากนั้นก็กล่าวว่า :

เมื่อโองการนี้ถูกประทานลงมาว่า :

“ จงกล่าวเถิดว่า พวกท่านจงมาซิ เราจะเรียกบรรดาลูกๆ ของเรามา และพวกท่านก็เรียกบรรดาลูกๆ ของพวกท่านมา และเราเรียกบรรดาสตรีของเรามา และพวกท่านเรียก บรรดาสตรีของพวกท่านมา และเราเรียกตัวตนของเรามา และพวกท่านเรียกตัวตนของพวกท่านมา ต่อจากนั้นเราจะ

กระทำการสาบานเพื่อพิสูจน์ความจริงต่อกัน ดังนั้นเราจะขอให้การสาปแช่งของอัลลอฮฺพึงมีแก่บรรดาผู้บิดเบือนความจริง ”

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้เรียกอะลี(อ) ฟาฏิมะฮฺ(ร.ฎ.) ฮะซัน(อ)

ฮุเซน(อ) มา แล้วกล่าวว่า

“ ข้าฯแต่อัลลอฮฺ เขาเหล่านี้คือบริวารของข้าฯ ” ( 1)

ท่านชัยคฺซุลัยมานได้กล่าวไว้หลังจากยกโองการนี้มาอธิบายแล้วว่า :

ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) ได้นำท่านอะลี(อ) ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ(อ) ท่านฮะซัน(อ) และท่านฮุเซน(อ) มาพิสูจน์ความจริงเพื่อให้ได้ความหมายตามโองการที่ว่า “ ตัวของเรา ” อันหมายถึงท่านอะลี ( อ)

๑๐

โดยที่คำพูดของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) ได้ให้หลักฐานในข้อนี้ว่า :

“ เพื่อให้บรรดาลูกหลานของวะลีอะฮฺได้สิ้นสุดยุติลง หรือมิฉะนั้นฉันก็จะส่งบุคคลหนึ่งซึ่งเปรียบเสมือนเป็นตัวตนของฉันไปยังพวกเขา (หมายถึงท่านอะลี(อ)) ”

ดังนั้นโองการนี้จึงบ่งชี้ถึงบุคคลเหล่านี้โดยเฉพาะ ซึ่งไม่มีมนุษย์คนใดเทียบเทียมกับพวกเขาในข้อนี้ได้เลย(2)

----------------------------------------------------------------

(1 ) อัล - ฟุศูลุล - มุฮิมมะฮฺ หน้า 109 อัล - อิศอบะฮฺ เล่ม 2 หน้า 509

(2 ) ยะนาบีอุล - มะวัดดะฮฺ หน้า 44

๑๑

2. จาก ซูเราะฮฺ อัล-อะฮฺซาบ : 33

“ อันที่จริงแล้ว อัลลอฮฺเพียงทรงประสงค์เพื่อการขจัดความมีมลทินออกไปจากสูเจ้า โอ้อะฮฺลุลบัยตฺ และเพื่อทรงชำระขัดเกลา สูเจ้าให้บริสุทธิ์อย่างแท้จริง ”

ท่านวาษิละฮฺ บิน อัล-อัซกออฺได้กล่าวว่า :

วันหนึ่งฉันเข้าไปพบท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ที่บ้านของท่านหญิงอุมมุซะละมะฮฺ(ร.ฎ.) แล้วปรากฏว่า ท่านฮะซัน(อ) ได้เข้ามา ท่านศาสดา(ศ)ให้เขานั่งลงบนตักข้างขวา แล้วก้มลงจุมพิตเขา

จากนั้นท่านฮุเซน(อ)ก็เข้ามาอีก ท่านก็ให้เขานั่งบนตักข้างซ้าย แล้วก้มลงจุมพิตเขา ต่อจากนั้นท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ(ร.ฎ.)ก็เข้ามา ดังนั้นท่านจึงให้นางนั่งข้างหน้าท่าน แล้วท่านก็เรียกท่าน อะลี(อ)ให้เข้ามา แล้วอ่านโองการนี้ว่า :

“ อันที่จริงแล้ว อัลลอฮฺเพียงแต่ประสงค์เพื่อการขจัดมลทินออกไปจากสูเจ้า โอ้อะลฺลุลบัยตฺและเพื่อทรงชำระขัดเกลาสูเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์อย่างแท้จริง ” ( 3)

---------------------------------------------------------

(3)อะซะดุล- ฆอบะฮฺ เล่ม 2 หน้า 20

๑๒

ท่านอะฮฺมัดและท่านฏ็อบรอนีได้รายงานเรื่องนี้ไว้จากการบอกเล่าของท่านอะบี ซะอีดว่า

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวว่า

“ โองการนี้ถูกประทานในเรื่องของบุคคล 5 คนคือ ฉัน อะลี ฮะซัน

ฮุเซน และฟาฏิมะฮฺ ”

ท่านอิบนุ อะบีชัยบะฮฺ ท่านอะฮฺมัด และท่านติรมีซีย์ ก็ได้รายงานไว้และระบุว่า : มีสายสืบในการรายงานที่ดี ท่านอิบนุญะรีรฺ ท่านอิบนุล มันศูร ท่านฏ็อบรอนี และท่านฮากิม ระบุว่า :เป็นเรื่องที่ถูกต้องจากคำบอกเล่าของ ท่านอะนัสที่ว่า :

แท้จริง ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) เดินผ่านมาบ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ(ร.ฎ.) ขณะออกไปนมาซในยามเช้าแล้วกล่าวว่า

“ นมาซเถิด อะฮฺลุลบัยตฺ ”

“ อันที่จริงแล้วอัลลอฮฺเพียงแต่ประสงค์ ที่จะขจัดความมีมลทินออกไปจากสูเจ้าและทรงชำระขัดเกลาสูเจ้าให้สะอาด บริสุทธิ์อย่างแท้จริง ”

ในรายงานจากท่านอิบนุ มัรดุวียะฮฺ ซึ่งได้รับการบอกเล่ามาจาก

อะบีซะอีด อัล-คุดรีย์ ได้กล่าวว่า :

แท้จริงท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ออกไปที่ประตูบ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ(อ)ในยามเช้าตรู่เป็นเวลาถึง 40 วัน แล้วกล่าวว่า

“ ขอให้ความสันติสุข ความเมตตา และความจำเริญของอัลลอฮฺได้พึงมีแก่พวกเจ้าเถิด โอ้อะฮฺลุลบัยตฺ นมาซเถิด เพื่ออัลลอฮฺจะทรงเมตตาพวกเจ้า อันที่จริงแล้ว อัลลอฮฺเพียงแต่ทรงประสงค์เพื่อการขจัดความมีมลทินออกไปจากสูเจ้า โอ้ อะฮฺลุลบัยตฺ และทรงชำระขัดเกลาสูเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ ”

๑๓

และอีกรายงานหนึ่งมาจากคำบอกเล่าของท่านอิบนุอับบาซว่า “ เจ็ดเดือน ”

ส่วนในรายงานที่บันทึกโดยท่านอิบนุญะรีรฺ ท่านอิบนุลมันศูรฺ และท่านฏ็อบรอนีระบุว่า “ แปดเดือน ” ( 4)

ท่านอิบนุอับบาสได้บอกเล่าไว้อย่างยืดยาวว่า : ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้นำเอาผ้าของท่านมาวางลงบนตัวของท่านอะลี(อ) ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ(ร.ฎ.) ท่านฮะซัน(อ) ท่านฮุเซน(อ) แล้วกล่าวว่า :

อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ผู้ทรงมีความจำเริญอย่างสูงสุดทรงมีโองการว่า :

“ อันที่จริงแล้วอัลลอฮฺเพียงแต่ทรงประสงค์เพื่อขจัดความมีมลทินออกไปจากสูเจ้าและทรงขัดเกลาสูเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์อย่างแท้จริง ” ( 5)

----------------------------------------------------

(4 ) อัซอาฟุร - รอฆิบีน ภาคผนวกของหนังสือนูรุล - อับศ็อร หน้า 111

อัช- ชะรอฟุล มุอับบัด ลิอาลิมุฮัมมัด หน้า 68

ตัซกิเราะตุล- ค่อวาศ หน้า 224

อัล- อิศอบะฮฺ หน้า เล่ม 2 หน้า 509

อิกมาลุดดีนหน้า เล่ม 1 หน้า 394

ซีรุอะอฺลามิล- นุบะลาอ์ เล่ม 2 หน้า 97

อะฮฺลุลบัยตฺหน้า 33

(5 ) ยะนาบีอุล - มะวัดดะฮฺ หน้า 35

๑๔

แน่นอนที่สุดบรรดานักปราชญ์เจ้าของตำราซุนนะฮฺ และบรรณานุกรม ประวัติศาสตร์อิสลามทั้งหลายต่างก็กล่าวถึงโองการนี้และยืนยันว่าเป็นโองการที่ถูกประทานมาในเรื่องของอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) เช่น ท่านมุสลิม

ท่านติรมีซีย์ ท่านอะฮฺมัด บินฮัมบัล ท่านคูลาบีย์ ท่านฆ็อซซานีย์ ท่านฮากิม ท่านอะบูฮาติม ท่านฏ็อบรอนี ท่านอับดุลฮะมีด ทำนองเดียวกับตำราต่าง ๆ ของบรรดานักปราชญ์ต่อไปนี้

3. จากซูเราะฮฺ อัช-ชูรอ : 23

“ จงกล่าวเถิดว่า ฉันมิได้ขอจากพวกท่านซึ่งรางวัลใดๆ เพื่อการนั้นนอกจากความจงรักภักดีในญาติสนิท ”

ท่านอิบนุอับบาสได้กล่าวว่า : ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้รับการซักถามว่า

“ ใครบ้างที่จำเป็นแก่พวกเราในการให้ความรักแก่พวกเขา ?”

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)กล่าวตอบว่า “ อะลี ฟาฏิมะฮฺ และบุตรชายสองคนของเขาทั้งสอง ” ท่านกล่าวอย่างนี้ถึง 3 ครั้ง (6)

ท่านซะอีด บินญุบัยรฺ ได้รายงานจากคำบอกเล่าของท่านอิบนุ อับบาส (ขอให้อัลลอฮฺทรงมีความปิติชื่นชมต่อท่านทั้งสอง) ว่า :

เมื่อโองการนี้ถูกประทานลงมาว่า :

“ จงกล่าวเถิดว่า ฉันมิได้ขอจากพวกท่านซึ่งรางวัลใดๆ เพื่อการนั้น นอกจากความจงรักภักดีในญาติสนิท ”

๑๕

พวกเขากล่าวว่า “ ข้าแต่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ใครบ้างที่จำเป็นแก่พวกเราในการให้ความจงรักภักดีแก่พวกเขา ?”

ท่านตอบว่า “ อะลี ฟาฏิมะฮฺ ฮะซัน และฮุเซน ” ( 7)

มีรายงานจากท่านอะบี อัล-ฮะซัน กล่าวว่า :

บิดาของข้าได้เล่าเรื่องให้ข้าฟัง อันเป็นคำบอกเล่ามาจากปู่ของข้า ซึ่งเล่ามาจากท่านอะมีรุลมุมินีน อะลี(อ) ว่า :

ครั้งหนึ่งพวกมุฮาญีรีน และพวกอันศ็อรได้มาร่วมชุมนุมกัน ณ

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ( ศ) แล้วกล่าวว่า

“ แท้จริงสำหรับท่าน โอ้ ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ท่านมีสิทธิที่จะใช้จ่ายทุกประการในงานใช้สอยของท่าน และในบรรดาบุคคลที่เข้าพบท่านและนี่คือทรัพย์สินของเรา พร้อมทั้งเลือดของเรา

ขอให้ท่านโปรดพิจารณาตัดสินให้มันเป็นการชดใช้รางวัลโดยชอบเถิด โปรดมอบมาให้ตามที่ท่านต้องการและจงเอาไปตามที่ท่านต้องการ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น ”

--------------------------------------------------

(6 ) กัชฟุล - ฆุมมะฮฺ หน้า 95

(7 ) ยะนาบีอุล - มุวัดดะฮฺ หน้า 106

๑๖

ดังนั้น อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จึงประทานให้มะลาอิกะฮฺ ผู้เป็นจิตอันบริสุทธิ์ลงมากล่าวว่า :

“ โอ้มุฮัมมัด จงกล่าวเถิดว่า ฉันมิได้ขอจากพวกท่านซึ่งรางวัลใด ๆ เพื่อการนั้น นอกจากความจงรักภักดีในญาติสนิท ”

แล้วพวกเขาก็ลุกออกไป บรรดาพวกหลอกลวง(มุนาฟิก) กล่าวว่า

“ อะไรที่เป็นเหตุให้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ(ศ) ถึงกับละทิ้งสิ่งของที่เราเสนอให้ท่านนอกจากเน้นให้เรามีความจงรักภักดีในญาติสนิทถัดจากท่าน แน่นอนเรื่องนี้หาใช่อื่นใดไม่นอกจากจะเป็นเรื่องโกหกที่กุขึ้นมาในที่ประชุม ”

นี่คือการใส่ร้ายป้ายสีที่ร้ายแรงที่สุด ดังนั้นอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จึงมีโองการประทานลงมาอีกว่า

“ พวกเขากล่าวหาอัลลอฮฺในเรื่องที่เป็นความเท็จกระนั้นหรือ ดังนั้น

ถ้าหากอัลลอฮฺทรงประสงค์ พระองค์จะผนึกหัวใจของเจ้าก็ได้ แล้วอัลลอฮฺทรงลบล้างความผิดพลาด และสำแดงความจริงให้เป็นที่ปรากฏด้วยพจนารถของพระองค์ แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงรอบรู้เกี่ยวกับสิ่งที่มีอยู่ในหัวอกทั้งหลาย ” ( อัช-ชูรอ : 24)

แล้วท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ถามพวกเขาว่า

“ ยังมีคำพูดกันอีกหรือ ?”

พวกเขาตอบว่า “ แน่นอนที่สุด ในหมู่พวกเราบางคนพูดในสิ่งที่เรารังเกียจอย่างที่สุด ”

๑๗

แล้วท่านก็อ่านโองการนี้ให้พวกเขาฟัง พวกเขาถึงกับร้องไห้อย่างรุนแรงจนอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการประทานมาว่า :

“ และพระองค์คือผู้ยอมรับการกลับตัวจากปวงบ่าวของพระองค์และทรงอภัยความผิดพลาดต่างๆ และทรงรอบรู้ในสิ่งที่พวกเขากระทำ ”

( อัช-ชูรอ: 25)( 8)

4. จากซูเราะฮฺอัร-เราะฮฺมาน : 22

“ พระองค์ทรงนำออกมาซึ่งไข่มุกและปะการังอันแวววาว ”

ท่านอิมามศอดิก(อ) กล่าวว่า “ ไข่มุกและปะการังอันแวววาวในโองการนี้ คือท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน ” ( 9)

--------------------------------------------------------

(8 ) ยะนาบีอุล - มะวัดดะฮฺ หน้า 45

(9 ) อัล - คิศอล หน้า 65

๑๘

ในฮะดีษของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)

ในกระบวนตำราที่บันทึกฮะดีษศอฮี้ฮฺ(ฮะดีษที่ถูกต้อง)และตำราที่รวบรวมฮะดีษจากสายสืบที่ดีเด่นทั้งหลายจะเต็มไปด้วย ฮะดีษต่างๆ ที่ท่านศาสดา(ศ)ได้กล่าวถึงอะฮฺลุลบัยต์(อ)ทั้งนั้น

และจะมีนักปราชญ์เป็นจำนวนมากอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รวบรวมฮะดีษต่าง ๆ เหล่านี้ออกมาทำเป็นเล่มเฉพาะ ขณะเดียวกันก็ยังมีกลุ่มอื่นๆ อีกที่รวบรวมฮะดีษเหล่านี้ไว้ในหนังสือเป็นส่วนหนึ่งที่แยกออกไปต่างหาก ในจำนวน

ฮะดีษเหล่านี้มีส่วนหนึ่งที่กล่าวถึงท่านอิมามฮะซัน(อ) โดยเฉพาะในฐานะที่เป็นหนึ่งในห้าท่านที่ได้ชื่อว่า “ อะฮฺลุลกิซาอ์ ” ( บุคคลแห่งผ้าคลุม) และเป็นหัวหน้าของผองบุรุษหนุ่มแห่งสวรรค์ ดังที่เราจะกล่าวถึงทั้งข้อนี้และข้ออื่นๆ

1. ท่านอะฮฺมัด บินฮัมบัล อิมามในมัซฮับ(นิกาย) หนึ่งของอิสลามได้รายงานไว้โดยอ้างถึงสายสืบที่รับคำบอกเล่ามาจากอะบูฮูรอยเราะฮฺว่า : ครั้ง

หนึ่งท่านศาสดา(ศ)ได้เข้ามานั่งในบ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ(อ)

ถึงตอนนี้ในคำบันทึกก็ได้กล่าวถึงเรื่องอีกเรื่องหนึ่งจนมาถึงประโยคที่ว่า : แล้วท่านฮะซัน ( อ) ได้เข้ามา ท่านได้กอดแนบอกของท่านไว้แน่นแล้วก้มลงจูบ พลางกล่าวว่า

“ ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้ารักเขาและรักคนที่รักเขา ” ( 1)

------------------------------------------------------------

(1 ) อะอฺยานุช - ชีอะฮฺ 3 กอฟ 1 / 24

๑๙

2. ในหนังสือของท่านบุคอรี มีรายงานบอกเล่าจากท่านอะบูบักรว่า :

ฉันได้เห็นท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ยืนอยู่บนมิมบัรโดยมีท่านฮะซันอยู่กับท่านด้วย ท่านหันหน้ามาทางประชาชนครั้งหนึ่งและหันหน้าไปทางท่านฮะซันครั้งหนึ่งแล้วกล่าวว่า

“ แท้จริงลูกของข้าคนนี้คือประมุขคนหนึ่งหวังว่าอัลลอฮฺจะทรงปรับปรุงแก้ไขระหว่างมุสลิมสองกลุ่มโดยผ่านเขาผู้นี้ ” ( 2)

3. ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวว่า

“ ฮะซันคือผู้สืบตระกูลทั้งหลาย(ของศาสดา) ” ( 3)

4. ท่านบุคอรีและท่านมุสลิมซึ่งเป็นนักปราชญ์อาวุโสสองท่านได้บันทึกรายงานที่บอกเล่ามาจากท่านบัรรออ์ว่า :

ฉันได้เห็นท่านศาสดา(ศ)ในขณะที่มีท่านฮะซัน(อ)อยู่บนต้นคอของท่าน แล้วท่านกล่าวว่า

“ ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้ารักเขา ข้าขอให้พระองค์ทรงรักเขาด้วย ” ( 4)

-------------------------------------------------------------

(2 ) อัล - อิศอบะฮฺ เล่ม 1 หน้า 33

(3 ) อะซะดุล - ฆอบะฮฺ เล่ม 2 หน้า 13

(4 ) ตารีคุล - คุละฟาอ์ หน้า 188

๒๐