ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ชีวประวัติอิมามฮะซัน14%

ชีวประวัติอิมามฮะซัน ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 134

ชีวประวัติอิมามฮะซัน
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 134 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 64772 / ดาวน์โหลด: 5720
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

พวกบะนีฮาชิมประสงค์จะเข้าไปสู้ แต่ท่านอิมามฮุเซน(อ)ได้ร้องตะโกนห้ามพวกเขาว่า

“ อัลลอฮฺ อัลลอฮฺ โอ้บะนีฮาชิมอย่าได้ทำลายคำสั่งเสียของฮะซันพี่ชายของข้าเลย ”

แล้วท่านก็หามมัยยิตไปที่อัล-บะเกียะอฺ ฝังท่านไว้ใกล้กับหลุมฝังศพของท่านย่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ บินติอะซัด(ขออัลลอฮฺทรงโปรดประทานความปิติชื่นชมแก่ท่าน)

พวกวะฮาบีรู้สึกเสียใจมากที่ไม่ทันได้มีส่วนร่วมในการทำร้ายมัยยิตของท่านอิมามฮะซัน ( อ) พร้อมกับบรรพชนของพวกเขาในอดีต ฉะนั้น พวกเขาจึงติดตามท่านอีกในภายหลัง กล่าวคือ

พวกเขาได้ทำลายสุสานของผู้ทรงเกียรติ ด้วยความแค้นเคืองที่ติดพันอยู่ อันเป็นการกระทำ เช่นศัตรูของอัลลอฮฺ และศาสนทูตของพระองค์ เป็นการละเมิดต่อบรรดามุสลิมทั้งมวล ใครเล่าที่ถือว่าโลกนี้มีความสำคัญสำหรับพวกเขามากกว่าอัลลอฮฺ จนถึงกับมอบศีรษะของนบียะฮฺยา บินซ์ะกะรียา(อ)

ให้กับหัวโจกอันธพาลผู้ยิ่งใหญ่ในหมู่บะนีอิซรออีล ทำลายสุสานของอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)ท่ามกลางสายตาและการได้ยินได้ฟังของมุสลิมโลก

บรรดานักประวัติศาสตร์อิสลามส่วนหนึ่งบันทึกเรื่องที่ท่านหญิงอาอิชะฮฺ

ขี่ล่อเข้าขัดขวางมัยยิตของท่าน อิมามฮะซัน(อ)ใกล้กับสุสานของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ผู้เป็นตาของท่านอิมามเอง ท่านอิบนุอะบิล-ฮะดีด บันทึกไว้ในชัรฮฺ นะฮญุล-บะลาเฆาะฮฺ เล่ม ๔ หน้า๑๘ , บิฮารุล-อันวาร เล่ม ๑๐ หน้า ๑๓๓ , อัดดัมอะตุซ-ซากิบะฮฺ เล่ม ๒ หน้า ๒๕๒ และมะกอติลุฏฏอลิยีน หน้า ๕๒

๑๒๑

บันทึกของนักปราชญ์

และบุคคลสำคัญ

บันทึกต่อไปนี้เป็นของบรรดาสาวกชั้นผู้ใหญ่ และคนในยุคถัดมาตลอดถึงบรรดานักปราชญ์และบุคคลสำคัญบางท่านที่กล่าวสดุดียกย่องในเกียรติคุณของท่านอิมามฮะซัน(อ)

ถึงแม้ว่าจะมีคำสรรเสริญ ยกย่องโดยบุคคลระดับอาวุโสของปวงปราชญ์ในเกียรติคุณของท่านอิมาม(อ)อย่างมากมายเพียงใด ก็ใช่ว่าจะทดแทนคำสดุดีที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)มอบให้แก่ท่านได้ไม่นั้นคือ

กรณีที่พระองค์ทรงขจัดมลทินทั้งปวง และบันดาลให้ท่านมีฐานะเป็นผู้บริสุทธิ์ และทดแทนไม่ได้เช่นกันที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้ยกย่องท่านไว้ว่า ท่านคือประมุขของชายหนุ่มชาวสวรรค์

เราจะกล่าวถึงคำสดุดีของบุคคลเหล่านั้นดังนี้

๑. ท่านอิมามฮุเซน(อ)ยืนที่เชิงสุสานของพี่ชายท่านด้วยความโศกเศร้าแล้วกล่าวว่า

“ โอ้อะบามุฮัมมัด อัลลอฮฺทรงประทานความเมตตาต่อท่าน ถ้าหากท่านยังอยู่ แน่นอนท่านจะสามารถนำสัจธรรมต่อสู้กับความหลงผิดได้ ท่านสามารถอุทธรณ์ต่ออัลลอฮฺเกี่ยวกับความบกพร่องในดินแดนบริสุทธิ์ด้วยความคิดที่ดีงาม ท่านสามารถรักษาโลกอันยิ่งใหญ่ได้เพียงด้วย

ความช่วยเหลือแต่น้อยนิด ท่านสามารถมอบให้มันได้ เพียงด้วยมือสองข้างอันบริสุทธิ์ ท่านสามารถปกป้องมันให้พ้นจากศัตรูของท่านได้โดยง่าย แน่นอนยิ่งท่านคือบุตรผู้สืบเชื้อสายของท่าน

๑๒๒

ศาสดา(ศ) ได้ดูดน้ำนมแห่งวิทยปัญญาโดยวิญญาณบริสุทธิ์แห่งทิพยสถานทั้งสวนสวรรค์และความสถานพร อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงยกย่องทั้งเราและพวกท่านให้ได้รับรางวัล ณ พระองค์ และทรงประทานให้แก่เรา และพวกท่านโดยพระองค์ ” ( ๑)

๒. เมื่อท่านอิมาม(อ)ถูกฝังแล้ว ท่านมุฮัมมัด บินอะลีอัล-ฮะนะฟียะฮฺน้องชายคนหนึ่งของท่านได้ยืนขึ้นใกล้สุสานแล้วกล่าวว่า

“ แน่นอนที่สุด ฉันมีความภูมิใจอย่างยิ่งในตอนที่ท่านมีชีวิต และรู้สึกว่าถูกเชือดเฉือนเมื่อท่านจากไป แน่นอนวิญญาณที่ประเสริฐได้แก่วิญญาณที่ได้รับการหุ้มห่อโดยผ้ากะฝั่นของท่าน

แน่นอนผ้ากะฝั่นที่ประเสริฐยิ่งคือผ้าที่ได้หุ้มห่อเรือนร่างของท่าน ทำไมจะไม่ใช่ก็ในเมื่อท่านคือเสาหลักของทางนำ เป็นทายาทของบรรดาผู้สำรวม เป็นหนึ่งในห้าของบุคคลแห่งผ้าคลุม ฉันได้รับรู้สัจธรรมและการสำรวมตนจากท่าน ฉันได้ดูดดื่มน้ำนมแห่งศรัทธามาจากท่าน ท่านได้รับการเลี้ยงดูมา

ในอุ้งตักของอิสลาม ท่านมีความดีเลิศทั้งในยามมีชีวิตอยู่และยามที่วายชนม์ไปแล้ว ถึงแม้ว่าจิตใจของเราจะไม่มีความสุขเพราะการจากไปของท่าน ก็ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ประทานความเมตตาแก่ท่านเถิด...โอ้อะบามุฮัมมัด ” ( ๒)

( ๑) ฮะยาตุล-อิมามฮะซัน บินอะลี เล่ม ๒ หน้า ๔๔๐

๓. ครั้นหนึ่งมุอฺาวิยะฮฺกล่าวกับท่านอับดุลลอฮฺ บินญะอฺฟัร(ร.ฎ.)ว่า “ ท่านคือประมุขแห่งบะนีฮาชิม ”

ท่านอับดุลลอฮฺ กล่าวตอบว่า “ ประมุขแห่งบะนีฮาชิมคือฮะซันและฮุเซน ” ( ๓)

๑๒๓

๔. ท่านอุษมาน บินอัฟฟาน(ร.ฎ.)เคยกล่าวกับท่านอิมามฮะซัน(อ) ท่านอิมามฮุเซน(อ) และท่านอับดุลลอฮฺ บินญะอฺฟัร(ร.ฎ.)ว่า

“ ท่านจงดูดดื่มวิชาความรู้กันให้อิ่มเอม และจงแนบแน่นอยู่กับความดีงามและวิทยปัญญาเถิด ” ( ๔)

( ๒) มุเราวิญุซ-ซฺะฮับ เล่ม ๓ หน้า ๗

( ๓) อัล-ฮะซัน บินอะลีของกามิล ซุลัยมาน หน้า ๑๗๓

( ๔) อัล-คิศอล หน้า ๑๓๖

๕. ท่านอะนัส บินมาลิก(ร.ฎ.)กล่าวว่า “ ในหมู่พวกเขาไม่มีใครละม้ายคล้ายคลึงท่านศาสดา ( ศ) ยิ่งไปกว่าท่านอิมามฮะซัน (อ) ” ( ๕)

๖. ท่านอะบูฮุร็อยเราะฮฺ(ร.ฎ.)กล่าวว่า “ ฉันรักคนนี้ (อิมามฮะซัน) อย่างไม่เสื่อมคลายหลังจากที่ฉันเห็นท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) กระทำเหมือนกับที่ท่านกระทำ ” ( ๖)

ท่านได้กล่าวอีกว่า “ ฉันไม่เคยรักใครมากกว่าท่านฮะซัน บินอะลี ” ( ๗)

๗. ท่านอะบูบักเราะฮฺ บินอุบัยดฺ(ร.ฎ.) เมื่อได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของท่านอิมาม(อ) เขากล่าวว่า

“ ให้ประชาชนทั้งหลายหมดไปเพราะการตายของท่าน จะเป็นความดีงามอย่างมากมายกว่าขอให้อัลลอฮฺทรงเมตตาต่อท่าน ” ( ๘)

๘. ท่านอะบีญะฮีฟะฮฺกล่าวว่า “ ฉันเคยเห็นท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) แล้ว ปรากฏว่าท่านอิมามฮะซันเหมือนกับท่านมากที่สุด ” ( ๙)

๑๒๔

๙. มุอฺาวิยะฮฺปรึกษากับอะบุล-อัซวัด อัด-ดะอูลี ถึงการโต้ตอบท่านอิมามฮะซัน(อ) แต่อะบุล-อัซวัดได้ห้ามไว้ และกล่าวว่า

“ เขาคือคนที่เพียบพร้อม เชี่ยวชาญในชั้นเชิงต่าง ๆ ของคนอาหรับมากที่สุด มีความเป็นอยู่ที่มีเกียรติ มีตระกูลที่ประเสริฐ ดังนั้นจงอย่าได้กระทำเลย โอ้ท่านอะมีรุลมุมินีน ” ( ๑๐)

( ๕) อัล-อิชตีอฺาบ ภาคผนวกของหนังสืออัล-อิศอบะฮฺ เล่ม ๑ หน้า ๓๗๖

( ๖) นูรุล-อับศ็อร หน้า ๑๗๑

( ๗) มะฏอลิบุซ-ซุอุล หน้า ๖๔

( ๘) ฮะยาตุล-อิมามฮะซัน เล่ม ๒ หน้า ๔๓๒

( ๙) อัล-อิศอบะฮฺ เล่ม ๑ หน้า ๓๒๙

๑๐. ท่านอัมรฺ บินอิซฮาก(ร.ฎ.)กล่าวว่า “ คนที่ฉันชอบฟังให้เขาพูดจนไม่อยากให้หยุดเลยนั้นคือ ท่านฮะซัน บินอะลี และฉันไม่เคยได้ยินถ้อยคำอันน่ารังเกียจจากเขา แม้แต่ครั้งเดียว ” ( ๑๑)

๑๑. อับดุลลอฮฺ บินซุบัยรฺ ได้กล่าวถึงคนที่มีลักษณะคล้ายท่านศาสดา(ศ)มากที่สุดว่า

“ ฉันจะบอกพวกท่านว่าใครคือคนที่เหมือนท่านศาสดา(ศ)มากที่สุดและเป็นที่รักของท่านมากที่สุด เขาคือฮะซัน บุตรของอะลี ฉันเคยเห็นเขาเข้ามาในขณะที่ท่านกำลังสุญูดอยู่ แล้วขึ้นขี่คอท่าน ท่านมิได้เอาเขาลงเลยจนกระทั่งเขาลงมาเอง ” ( ๑๒)

๑๒๕

๑๒. ท่านฮะซัน บัศรี(ร.ฎ.)ได้เขียนจดหมายถึงท่านว่า “ พวกท่านคือคนในตระกูลบะนีฮาชิม เป็นลำนาวาแห่งประชาชาติ เป็นขุมวิชาการอันไพโรจน์ เหมือนเรือนบีนุฮฺ (อ) ที่ผู้ศรัทธาขึ้นขี่และมวลมุสลิมปลอดภัย ” ( ๑๓)

( ๑๐) อะอฺยานุชชีอะฮฺ ๔ กอฟ ๑/๑๐๑

( ๑๑) บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม ๑๐ หน้า ๙๙

( ๑๒) อัล-อิศอบะฮฺ เล่ม ๑ หน้า ๓๒๙

( ๑๓) ตะฮัฟฟุล-อุกูล หน้า ๑๖๖

๑๓. ท่านมันศูร บินร็อยยานกล่าวว่า “ ท่านคือคนมีตระกูลที่ประเสริฐที่สุด ” ( ๑๔)

๑๔. มุอฺาวิยะฮฺ บินอะบีซุฟยาน กล่าวกับคนที่เอนเอียงจาก ท่านอิมามฮะซัน(อ)ว่า

“ ฉันเคยเห็นท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ป้อนอาหารให้เขา ด้วยลิ้นของท่าน อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะไม่ลงโทษลิ้นและริมฝีปากใดที่ท่านศาสนทูต(ศ)ได้ใช้ลิ้นของท่านป้อนอาหารให้ ” ( ๑๕)

๑๕. ท่านมุฮัมมัด บินซีรีนกล่าวว่า “ บางครั้งท่านฮะซัน บินอฺะลีเคยให้รางวัลกับชายคนหนึ่งมากถึง ๑๐๐ , ๐๐๐ ดิรฮัม ” ( ๑๖)

๑๖. ท่านวาศิล บินอฺะฏออฺกล่าวว่า “ ท่านฮะซัน บินอะลี (อ) มีเครื่องหมายของอัมบิยาอ์ และมีราศีของกษัตริย์อยู่ในตัว ” ( ๑๗)

๑๒๖

๑๗. เมื่อมุอาวิยะฮฺทราบข่าวเกี่ยวกับการวายชนม์ของอิมามฮะซัน(อ)นั้น เขาได้กล่าว ตักบีร ( ถวายความเกรียงไกรแก่อัลลอฮฺ) ขึ้นในคฤหาสน์อันรโหฐานของเขา ครั้นแล้วบรรดาผู้คนที่อยู่ในคฤหาสน์ก็พากันตักบีรตามเขาเป็นการใหญ่ ต่อจากนั้นประชาชนที่อยู่ในมัสญิดใกล้ ๆ ก็พากัน

ตักบีรตามพวกเขาที่อยู่ในคฤหาสน์ไปด้วย

( ๑๔) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๑๗๐

( ๑๕) อัล-ฮะซัน บินอฺะลี ของกามิล ชุลัยมาน หน้า ๑๗๕

( ๑๖) อัล-ฮะซัน บินอฺะลี ของอับดุล-กอดิร อะฮฺมัต ยูซุฟ หน้า ๕

( ๑๗) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๑๗๐

นางฟาคิตะฮฺ บินติกอรีเซาะฮฺ บินอัมรฺ บินเนาฟัล บินอับดุลมะนาฟ ได้ออกมาดูที่กรอบหน้าต่างของนาง แล้วถามมุอาวิยะฮฺว่า

“ ข้าแต่ท่านอะมีรุลมุมีนีน ขอให้อัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่านเถิด มีข่าวอะไรที่ทำให้ท่านปลื้มใจกันหรือ ”

มุอาวิยะฮฺตอบว่า “ ข่าวการตายของฮะซัน … .”

นางกล่าวว่า “ อินนา ลิลลา วะอินนา อิลัยฮิ รอญิอูน(แท้จริงเราเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ และแท้จริงต้องกลับคืนสู่พระองค์) ”

แล้วนางก็ร้องไห้พลางกล่าวว่า “ นายของมวลมุสลิมและบุตรของธิดาของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) วายชนม์เสียแล้ว ”

มุอาวิยะฮฺกล่าวว่า “ ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺที่เจ้าทำไปน่ะดีแล้ว เพราะเขานั้นเหมาะสมที่เจ้าจะต้องร้องไห้ให้แก่การจากไปของเขา ” ( ๑๘)

๑๒๗

๑๘. ท่านมุฮัมมัด บินอิซฮาก เคยกล่าวไว้ว่า “ หลังจากที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ได้สิ้นไปแล้ว ไม่เคยมีใครสักคนที่มีบารมีถึงระดับที่ท่านฮะซัน (อ)มี ปรากฏว่าท่านอิมามอะลี(อ)ยังเปิดทาง ที่ประตูบ้านของท่านให้แก่เขา ถ้าเขาออกไปในตอนที่ท่านนั่ง ท่านจะต้องหลีกทางให้แก่

เขา ยามใดที่เขาเดินผ่านผู้คนที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)สร้างมา คนทั้งหลายต้องยกย่องให้การต้อนรับเขา กล่าวคือ เมื่อใครรู้ก็จะลุกขึ้นยืน เมื่อเขาเดินผ่านประชาชนเพื่อเข้าบ้านของเขา แน่นอนที่สุดฉันเคยเห็นเขากำลังเดินอยู่ในเส้นทางที่จะไปมักกะฮฺ ไม่เคยมีใครเลยที่เห็นเขาแล้วจะไม่ลงมาจากพาหนะ

แล้วเดินตาม ฉันเคยเห็นแม้กระทั่งซะอัด บินอะบีวักก็อศยังต้องเดินตาม ” ( ๑๙)

( ๑๘) มุเราวิญุซ-ซฺะฮับ เล่ม ๓ หน้า ๘

( ๑๙) อัน-มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๑๔๘

๑๙. ท่านมุฮัมมัด บินฏ็อลฮะฮฺ อัช-ชาฟิอีย์ ได้กล่าวว่า “ อัลลอฮฺคือผู้ทรงประทานให้แก่เขาซึ่งธรรมชาติแห่งความรู้แจ้ง ที่สามารถชี้แนะแนวทางอันเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระองค์ทรงประทานให้แก่เขาซึ่งทัศนคติที่ถูกต้องแม่นยำอย่างสอดคล้องกับหลักการของศาสนา ทรงประทาน

บุคลิกภาพอันเพียบพร้อมไปด้วยจริยธรรมตามลักษณะแห่งความรู้ของพระองค์ให้แก่เขา ” ( ๒๐)

๒๐. ท่านชัมซุดดีน ยูซุฟ บิน กอซาฆอลี อัล-ฮะนะฟีย์ (หลานของอิบนุ อัล-เญาซี)ได้กล่าวว่า “ ท่านอิมามฮะซัน (อ)คือหนึ่งในบรรดาผู้ทรงคุณธรรมระดับสูง ท่านมีปัญญาอันเจิดจ้า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ทรงรักท่านอย่างยิ่งเลยทีเดียว ” ( ๒๑)

๑๒๘

๒๑. ท่านชัยคุลอิสลาม ชะฮาบุดดีน บินอัลฮะญัร ได้กล่าวว่า “ ท่านฮะซัน บินอะลี บินอะบีฏอลิบ บินอับดุลมุฏฏอลิบ บินฮาชิม บินอับดุล-มะนาฟอัล-ฮาชีมี เป็นผู้สืบตระกูลของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) เป็นมิ่งขวัญของท่านอะมีรุลมุมินีน ท่านมีนามว่า “ อะยูมุฮัมมัด ” ถือกำเนิดใน

วันที่ ๑๕ ของเดือนรอมฎอน …… .”( ๒๒)

๒๒. ท่านอัล-ฮาฟิซ อัล-มุฮัดดิษ ยูซุฟ บินอับดุลลอฮฺ บินมุฮัมมัด บินอับดุลบัร อัล-กุรฏบีย์ อัล-มาลิกีย์ ได้กล่าวว่า “ ท่านอิมามฮะซัน (ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่าน) คือ คนมีความโอบอ้อมอารี มีความถ่อมตน และมีเกียรติคุณยิ่ง ความถ่อมตัวของท่านก็ดี เกียรติคุณของท่านก็ดีนำท่านให้ละทิ้ง

การแสวงหาความสุขทางโลก เพราะพลังแห่งการแสวงหาสิ่งที่มีอยู่ ณ อัลลอฮฺ ” ( ๒๓)

( ๒๐) มะฏอลิบุซ-ซุอูล หน้า ๖๕

( ๒๑) ตัซกิเราะตุล-ค่อวาศ หน้า ๑๑๑

( ๒๒) อัล-อิศอบะฮฺ เล่ม ๑ หน้า ๓๒๘

๒๓. ท่านอัล-ฮาฟิซ อิมาดุดดีน อะบุลฟิดาอฺ อิศมาอีล บินอุมัร อิบนุกะษีร ได้กล่าวถึงเรื่องราวเมื่อตอนที่ชาวกูฟะฮฺให้สัตยาบันต่อท่านอิมามฮะซัน(อ)ว่า

๑๒๙

“ ถ้าหากพวกเขารู้ แน่นอนที่สุด เท่ากับพวกเขาได้ให้เกียรติกับสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ประทานให้แก่พวกเขา อันเนื่องมาแต่การที่พวกเขาได้ให้สัตยาบันแก่บุตรของธิดาแห่งท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ(ศ) ผู้เป็นหัวหน้าของมวลมุสลิม เป็นหนึ่งในบรรดานักปราชญ์ระดับศอฮาบะฮฺ นี่คือ

หลักฐานประการหนึ่งที่แสดงว่า ท่านคือหนึ่งในจำนวนคอลีฟะฮฺ อัร-รอชิตีน ” ( ๒๔)

๒๔. ท่านอิซซุดดีน อะบุลฮะซัน อะลี (อิบนุ อัล-อะษีร) ได้กล่าวว่า “ ท่านฮะซัน บินอะลี บินอะบีฏอลิบ บินอับดุลมุฏฏอลิบ บินฮาชิม บินอับดุลมะนาฟ อัลกุรอยช์ อัล-ฮาชีมี คือ ท่านอะบูมุฮัมมัด ผู้สืบตระกูลของท่านศาสดา (ศ) มารดาของท่านคือ ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ บุตรีองค์ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ประมุขของเหล่าสตรีแห่งสากลโลก ท่านคือ ประมุขของบุรุษหนุ่มชาวสวรรค์ เป็นมิ่งขวัญของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) เป็นคนที่คล้ายคลึงกับท่านมากที่สุด ท่านทำการเชือดสัตว์เป็นพลีเนื่องในวาระครบรอบ ๗ วัน ในการเกิดของท่าน ท่านได้โกนผมให้และบริจาคทาน เงินในอัตราน้ำหนักเท่าเส้นผมของท่าน และเป็นหนึ่งในห้าของบุคคลแห่งผ้าคลุม ” ( ๒๕)

( ๒๓) อัล-อิซตีอาบ ภาคผนวกหนังสืออัล-อิศอบะฮฺ เล่ม ๑ หน้า ๓๗๐

( ๒๔) อัล-บิดายะฮฺ วันนิฮายะฮฺ เล่ม ๘ หน้า ๑๖

๑๓๐

๒๕. ท่านอัล-ฮาฟิซ ญะมาลุดดีน อัซ-ซะยูฏี ได้กล่าวว่า “ ท่านฮะซัน บินอะลี บิน อะบีฏอลิบ (ขอให้อัลลอฮฺทรงมีความปิติชื่นชมต่อท่าน) คือท่านอะบูมุฮัมมัด ผู้สืบตระกูลของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) และเป็นมิ่งขวัญของท่าน เป็นค่อลีฟะฮฺคนสุดท้ายของท่านตามที่บัญญัติไว้ ”

( ๒๖)

๒๖. ท่านชัมซุดดีน มุฮัมมัด บินฏูลูน ได้กล่าวว่า “ อันดับสองในหมู่พวกเขาคือ ท่านฮะซันบินอะลี บินอะลีฏอลิบ อัล-กุร็อยชี อัล-ฮาชีมี อัล-มะดะนี คือ อะบูมุฮัมมัด ผู้สืบตระกูลของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) และเป็นมิ่งขวัญของท่าน เป็นบุตรของท่านฟาฏิมะฮฺ บุตรีของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) นางผู้เป็นประมุขของเหล่าสตรีในสากลโลก (ขอให้อัลลอฮฺทรงประทานความปิติชื่นชมแก่ท่าน) ”

และได้กล่าวอีกว่า “ ปรากฏว่าท่านอิมามฮะซัน (ร.ฎ.) นั้นมีความละม้ายคล้ายคลึงท่านศาสดา (ศ)มากที่สุด ท่านศาสดา(ศ)จึงเอานามของท่านมาตั้งเป็นชื่อของท่านฮะซัน(ร.ฎ.) ท่านศาสดา ( ศ) ได้ตั้งชื่อนี้ให้แก่ท่านอิมามฮะซัน (ร.ฎ.) และได้ทำการเชือดสัตว์เป็นพลีในวาระวันเกิดครบรอบ

๗ วัน ท่านโกนศีรษะให้ และสั่งให้นำเงินเท่ากับอัตราน้ำหนักเส้นผมของท่านฮะซัน(ร.ฎ.)บริจาค ท่านคือหนึ่งในจำนวนห้าคนแห่งบุคคลในผ้าคลุม ” ( ๒๗)

( ๒๕) อะซะดุล-ฆอบะฮฺ เล่ม ๒ หน้า ๙

( ๒๖) ตารีคุล-คุละฟาอ์ หน้า ๑๘๘

( ๒๗) อัล-อะอิมมะตุล-อิษนาอะซัร หน้า ๖๓

๑๓๑

๒๗. ท่านค็อยรุลดีน ซัรกะลี ได้กล่าวว่า “ ท่านฮะซัน (อ) เป็นคนมีสติปัญญาดี เป็นคนโอบอ้อมอารี มีความรักใคร่แต่สิ่งที่ดีงาม เป็นคนที่ดีที่สุด ทางด้านการเจรจาอย่างมีเหตุผล ปรากฏว่ามุอาวิยะฮฺเคยสั่งเสียให้คนของตนหลีกเลี่ยงจากการพูดคุยกับคนทั้งสอง ได้แก่ ท่านฮะซัน บินอะลี

และท่านอับดุลลอฮฺ บินอับบาซ เนื่องจากเขาทั้งสองเป็นคนมีเหตุผลสูง ชาวอิรักให้สัตยาบันแก่ท่านในตำแหน่งผู้ปกครอง หลังจากที่บิดาของท่านเสียชีวิตในปี ฮ.ศ. ๔๐ ” ( ๒๘)

๒๘. ท่านมุฮัมมัด ริฎอ อัล-มิศรี ได้กล่าวว่า “ เขาคือประมุขของชายหนุ่มชาวสวรรค์และเป็นมิ่งขวัญท่านศาสดา (ศ) และคล้ายคลึงท่านมากที่สุด ” ( ๒๙)

๒๙. ท่านอับดุลกอดีร อะฮฺมัด ยูซุฟ ได้กล่าวว่า “ ท่านทั้งหลายจะต้องเป็นนักอ่านที่มีความคิดเกี่ยวกับพื้นฐานที่ว่าท่านฮะซัน บินอะลี ผู้เป็นบุตรของธิดาของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ( ศ) ได้เป็นที่เชื่อถือว่า เป็นอิมามมะอฺศูมคนหนึ่ง พวกเขาถือว่าคนเหล่านี้มีสิทธิมากกว่าคนอื่น ใช่แต่เท่านั้น พวกเขาคือผู้รับช่วงในการเผยแผ่อิสลาม และรักษาซุนนะฮฺ และบทบัญญัติของมุฮัมมัด

ภายหลังท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)สิ้นชีวิตแล้ว เนื่องจากพวกเขาเป็นเครือญาติที่ใกล้ชิดที่สุด มีจิตวิญญาณที่สะอาดที่สุด และมีความเข้าใจในพระคัมภีร์ที่ถูกประทานมา ” ( ๓๐)

( ๒๘) อัล-อะอฺลาม เล่ม ๑ หน้า ๒๓๐

( ๒๙) อัล-ฮะซันวัลฮุเซน ของมุฮัมมัด ริฎอ อัล-มิศรี หน้า ๘

( ๓๐) อัล-ฮะซัน บินอะลี โดย อับดุลกอดิร อะฮฺมัด ยูซุฟ หน้า ๔๒

๑๓๒

หมายเหตุท้ายเล่ม

หนังสือเล่มนี้ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับชีวประวัติของท่านอิมามอะบีมุฮัมมัด อัล-ฮะซัน(อ โดยสรุป ได้มีการกล่าวถึงโองการต่างๆ

จากอัล-กุรอานที่ถูกประทานมาในเรื่องที่เกี่ยวกับท่าน และอ้างถึงรายงานฮะดีษของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ที่กล่าวถึงท่าน ต่อจากนั้นก็ได้เปิดเผยถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตและจริยธรรมของท่านโดยสังเขป อีกทั้งยังได้รวบรวมไว้ซึ่งถ้อยคำและสุภาษิตของท่านมาบันทึกบางส่วน และให้ข้อวิเคราะห์เกี่ยวกับเหตุผลการทำสนธิสัญญาสันติภาพของท่าน และสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปที่ประสบแก่ท่านในช่วงเวลานั้น

ในตอนสรุป เราได้เสนอถ้อยคำของเหล่าบรรดานักปราชญ์และบุคคลสำคัญที่กล่าวถึงท่านไว้เป็นกรณีพิเศษ

จากการเสนอสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มา หวังว่าคงจะเป็นการเชิญชวนท่านผู้อ่านทั้งหลายให้ศึกษาในพื้นฐานของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) และปฏิบัติตามการชี้นำของท่านเหล่านั้นและแสวงหาแสงสว่างจากการดำเนินชีวิตของท่าน ดังโองการที่ว่า

“ จงกล่าวเถิดว่า ถ้าหากสูเจ้ารักอัลลอฮฺ ดังนั้นจงปฏิบัติตามฉัน แล้วอัลลอฮฺจะทรงรักสูเจ้าและทรงอภัยโทษให้แก่สูเจ้าสำหรับความบาปของสูเจ้าและอัลลอฮฺทรงให้อภัย ทรงเมตตาปรานี

เสมอ ” ( ๓๒)

( ๓๒) ซูเราะฮฺ อาลิ อิมรอน: ๓๑

๑๓๓

สารบัญ

บทนำ

ในทัศนะของอัล-กุรอาน

ในฮะดีษของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ๑๙

บัญญัติเกี่ยวกับตำแหน่งค่อลีฟะฮฺของท่านอิมามฮะซัน(อ) ๒๒

อิมามฮะซัน(อ) กับการเคารพภักดี(อิบาดะฮฺ) ๒๕

แบบแผนชีวิตอิมามฮะซัน(อ) รากฐานเดียวกับท่านศาสดา(ศ) ๒๘

คุณธรรมและความเผื่อแผ่ของอิมามฮะซัน(อ) ๓๒

คำปราศรัยอันทรงเกียรติของอิมามฮะซัน(อ) ๓๗

คำปราศรัยเรื่องที่ ๑ ๓๗

คำปราศรัยเรื่องที่ ๒ ๔๐

คำปราศรัยเรื่องที่ ๓ ๔๑

คำปราศรัยเรื่องที่ ๔ ๔๓

คำปราศรัยเรื่องที่ ๕ ๔๔

คำปราศรัยเรื่องที่ ๖ ๔๔

คำปราศรัยเรื่องที่ ๗ ๔๕

คำปราศรัยเรื่องที่ ๘ ๔๖

พินัยกรรม : ๔๙

บันทึกแห่งประวัติศาสตร์ ๔๙

จดหมายจากท่านอิมามฮะซัน(อ) ๕๓

จดหมายฉบับที่ ๑ ๕๓

จดหมายฉบับที่ ๒ ๕๘

จดหมายฉบับที่ ๓ ๕๙

สุภาษิต : ๖๑

โอสถบำบัดโรค ๖๑

คำตอบอันชาญฉลาดของท่านอิมามฮะซัน(อ) ๖๕

ถาม-ตอบ เรื่องที่ ๑ ๖๖

ถาม-ตอบ เรื่องที่ ๒ ๖๘

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๓ ๖๘

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๔ ๖๙

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๕ ๖๙

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๖ ๗๐

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๗ ๗๐

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๘ ๗๑

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๙ ๗๒

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๑๐ ๗๓

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๑๑ ๗๔

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๑๒ ๗๕

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๑๑ ๗๕

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๑๔ ๗๖

คำวิงวอน ๗๙

บทที่ ๑ ๗๙

บทที่ ๒ ๘๐

บทที่ ๓ ๘๐

บทที่ ๔ ๘๑

บทที่ ๕ ๘๒

บทที่ ๖ ๘๓

การตอบสนองต่อคำวิงวอน ๘๔

สนธิสัญญาสันติภาพ ๘๖

วายชนม์ ๑๑๗

บันทึกของนักปราชญ์ ๑๒๒

และบุคคลสำคัญ ๑๒๒

หมายเหตุท้ายเล่ม ๑๓๓

๑๓๔