ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ชีวประวัติอิมามฮะซัน28%

ชีวประวัติอิมามฮะซัน ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 134

ชีวประวัติอิมามฮะซัน
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 134 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 64745 / ดาวน์โหลด: 5718
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

อัตชีวประวัติอิมามมะศูมีน ๒

อิมามฮะซัน(อ)

เขียนโดย

ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล

บทนำ

ในเมื่อประชาชาติทั้งหลายต่างให้ความสำคัญต่อวิถีชีวิตของบุคคลสำคัญและบรรพชนที่ยิ่งใหญ่ของตนโดยได้มีการอนุรักษ์ไว้ซึ่งอนุสรณ์ทั้งหลายของคนเหล่านั้นและยกย่องคนเหล่านั้นไว้ให้คงอยู่ในฐานะที่ต้องรำลึกถึง และเป็นบทเรียนสำหรับอนุชนรุ่นต่อๆ มา

ด้วยเหตุนี้เอง เราจะเห็นว่า เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่ส่งเสริมเอกลักษณ์ของประชาชาตินั้นๆ และนับเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ของประชาชาตินั้นๆ ได้เป็นอย่างดี จึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประชาชาติอิสลามที่จะต้องศึกษาชีวประวัติของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)ตลอดจนจำเป็นจะต้องวิเคราะห์และติดตามอย่างใกล้ชิดกับเรื่องราวอันเป็นที่มาของบุคคลเหล่านี้ เพื่อที่ว่าจะได้มีการนำเอาความรู้

ผลงานและแบบอย่างในการดำเนินชีวิตของคนเหล่านั้นมาเป็นบรรทัดฐานแห่งชีวิตของตน เพื่อบรรลุสู่ความสุข ความเจริญ และประสบกับความดีงามอย่างแท้จริง ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการนำธงชัยของประชาชาติอิสลามมาโบกสะบัดอีกครั้งหนึ่งบนพื้นโลกนี้

หนังสือเล่มนี้จะรวบรวมชีวประวัติสั้นๆของอิมามท่านที่สองจากบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) นั่นคือ ท่านอะบีมุฮัมมัด อัล-ฮะซัน บิน

อะมีรุลมุมินีน(อ) โดยเราจะบันทึกบางฮะดีษและบางโองการที่เกี่ยวข้องกับอิมามท่านนี้ และเกร็ดชีวิตบางตอนของท่าน และเราจะกล่าวถึงคำปราศรัยและถ้อยคำบางตอนของท่านพอสังเขป

ซึ่งในตอนท้ายของบท เราจะสรุปลงด้วยคำสดุดีที่บรรดาสาวกชั้นผู้ใหญ่ นักปราชญ์ ตลอดจนบุคคลสำคัญที่มีต่ออิมาม(อ)ท่านนี้ อันเป็นคำยืนยันจาก

บุคคลเหล่านั้นที่มีต่อความดีงามและเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ของท่าน

หนังสือเล่มนี้มีจุดประสงค์ในการชี้นำให้คงไว้ซึ่งระเบียบแบบแผนของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ ( อ) และเรียกร้องให้มีการดำเนินชีวิตตามแบบอย่างของคนเหล่านี้ ให้มีการสร้างจริยธรรมไปตามหลักจริยธรรมของคนเหล่านี้

อัล-กุรอานได้ประกาศว่า

“ จงกล่าวเถิดว่า นี่คือวิถีทางของฉัน ฉันเรียกร้องเชิญชวนยังอัลลอฮฺ โดยหลักฐานอันชัดแจ้ง ทั้งฉันเองและผู้ที่เชื่อถือตามฉัน มหาบริสุทธิ์ยิ่งเป็นของอัลลอฮฺ และฉันมิได้มาจากมวลผู้ที่ตั้งภาคี ” ( ๑)

(๑) ซูเราะฮ์ ยูซุฟ : ๑๐๘

ชีวประวัติ

อิมามฮะซัน บินอะลี(อ)

นามจริง

อัล-ฮะซัน (เป็นชื่อที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ตั้งให้)

ชื่อบิดา

ท่านอิมามอะลี อะมีรุลมุมินีน(อ)

ชื่อมารดา

ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ อัซ-ซะฮฺรออ์(อ)

ชื่อตา

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)

ชื่อยาย

ท่านหญิงค่อดีญะฮฺ บินติ คุวัยลิด(ร.ฎ.)

ชื่อปู่

ท่านอะบูฏอลิบ บิน อับดุลมุฎฎอลิบ(ร.ฎ.)

ชื่อย่า

ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ บินติ อะซัด บิน ฮาชิม(ร.ฎ.)

น้องชายร่วมบิดามารดา

ท่านอิมามฮุเซน(อ)

น้องสาวร่วมบิดามารดา

ท่านหญิงซัยหนับ ท่านหญิงอุมมุ กุลศูม(อ)

สถานที่เกิด

ท่านเกิดที่เมืองมะดีนะฮฺ ในตอนกลางคืนของวันที่ ๑๕ เดือน รอมฎอน

ฮิจญเราะฮ์ศักราชที่๓

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้มาหาท่าน แล้วกล่าวว่า

“ ข้าฯแต่อัลลอฮฺ ข้าฯขอให้พระองค์ทรงคุ้มครองเขา และบุตรของเขาให้พ้นจากมารร้ายชัยฎอนที่ถูกสาปแช่ง ”

แล้วท่านได้กล่าวคำอะซฺาน(ถ้อยคำเชิญชวนสู่การนมาซ) ที่หูข้างขวาและกล่าวคำอิกฺอมะฮฺ ( ถ้อยคำเชิญชวนให้เตรียมยืนนมาซ) ที่หูข้างซ้ายและตั้งชื่อให้ท่านว่า ฮะซัน แล้วทำการเชือดแกะเพื่อทำพิธีรับขวัญการกำเนิดของท่าน

บุคลิกลักษณะ

ท่านอิมามฮะซัน(อ) เป็นคนผิวขาว มีหนวดสีน้ำตาลอมแดง ดวงตากลมโต แก้มสองข้างเรียบ หนวดดก เคราดก คอเชิงระหง แข็งแกร่งบึกบึน ไหล่กว้าง สมส่วน รูปทรงปานกลาง เป็นคนที่มีใบหน้างดงาม ผมเป็นลอนดกดำ เรือนร่างสวยงาม

การใช้ชีวิตอยู่กับบิดา

เป็นคนที่อยู่ใกล้ชิดผู้เป็นบิดาตลอดระยะเวลาทั้งชีวิต เคยออกทำสงครามด้วยกันสามครั้ง

คือ สงครามอัล-ญะมัล สงครามศิฟฟิน และสงครามอัน-นะฮฺรอวาน

สมญานาม

อะบูมุฮัมมัด (ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ให้สมญานามนี้)

ฉายานาม

อัต-ตะกี (ผู้สำรวมตน) อัซ-ซะกี (ผู้ชาญฉลาด) อัซ-ซิบฏ (ผู้สืบตระกูล)

ลายสลักบนแหวน

อัล-อิซซะตุ ลิล ลาฮิ วะฮฺดะฮฺ

(เกียรติยศเป็นของอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว)

ภรรยาของท่านที่ปรากฏชื่อ

เคาละฮฺ บินติ มันศูร อัลฟะซารียะฮฺ, อุมมุ อิซฮาก บินติฎอลฮะฮฺ บินอับดุลลอฮฺ อัตตัยมีย์, อุมมุบิชร์ บินติ อะบีมัซอูด อัล-อันศอรี ,ญุอ์ดะฮฺ บินติ

อับดุลลอฮฺ อัตตัยมีย์, อุมมุบิชร์ บินติ อะบีมัซอูด อัล-อันศอรี ,ญุอ์ดะฮฺ

บินติ อัล-อัชอัษ และฮินด์ บินติอับดุลเราะฮฺมาน บินอะบีบักร์

บุตรชาย

ซัยดฺ ,อัล-ฮะซัน ,อัมร์, อัลกอซิม, อับดุลลอฮฺ, อับดุลเราะฮฺมาน, อัล-ฮะซัน และฏอลฮะฮฺ

บุตรสาว

อุมมุลฮะซัน ,อุมมุลฮุเซน ,ฟาฏิมะฮฺ, อุมมุอับดิลลาฮฺ,ฟาฏิมะฮฺ ,

อุมมุซะละมะฮฺ และรุกฺอยยะฮฺ

การให้สัตยาบันต่อท่าน(อ)

ในวันที่ ๒๑ เดือนรอมฎอน ปี ฮ.ศ. ๔๐

คนรับใช้ของท่าน(อ)

ซะฟินะฮฺ (คนรับใช้ของท่านศาสดา)

อาลักษณ์ประจำตัวของท่าน(อ)

อับดุลลอฮฺ บินอะบีรอฟิอฺ

การทำสัญญาสงบศึก

ท่าน(อ)ทำสัญญาสงบศึกกับมุอฺาวิยะฮฺ ในวันที่ ๑๕ เดือนญะมาดิล-อูลา ปี ฮ.ศ. ๔๑ หลังจากพบกับความโลเลของสหายของท่าน

การวะฟาตของท่าน(อ).....

ท่านเป็นชะฮีดในวันที่ ๗ เดือนเศาะฟัร ปี ฮ.ศ. ๕๐

หลุมฝังศพของท่าน(อ)

ท่านอิมามฮุเซน(อ) ฝังท่าน(อ) ในสุสานอัลบะเกียะอฺ ข้างท่านย่าของท่านคือ ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ บินติอะซัด(ร.ฎ.)ตามคำสั่งเสียของตัวท่านเอง

ช่วงเวลาแห่งการเป็นอิมามของท่าน

ประมาณ ๑๐ ปี

การทำลายหลุมฝังศพของท่าน(อ)

หลุมฝังศพของท่านถูกทำลายโดยฝีมือของพวกวะฮาบีในวันที่๘ เดือนเชาวาล ปี ฮ.ศ.๑๓๔๔ พวกมันยังได้ทำลายหลุมฝังศพของบรรดาอิมาม(อ)ในสุสาน “ อัลบะเกียะอฺ ” ด้วย

ในทัศนะของอัล-กุรอาน

มีโองการต่างๆ ในอัล-กุรอานเป็นจำนวนมากกล่าวถึงเรื่องราวของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของอัศฮาบุลกิซาอ์(ผู้ที่อยู่ในผ้าคลุม) ห้าท่าน ทำไมจะไม่เป็นเช่นนี้ ก็ในเมื่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้นำเอาความสำคัญของพวกเขามาเชื่อมโยงกับอัล-กุรอาน และได้กำหนดให้พวกเขามีฐานะเทียบเท่ากับอัล-กุรอาน ? ซึ่งท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวว่า

“ แท้จริงฉันได้ละทิ้งสิ่งสำคัญที่หนักยิ่งสองประการไว้ นั่นคือ คัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และแบบแผนของฉันแห่งอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน ตราบใดที่ท่านทั้งหลายยึดมั่นในสิ่งทั้งสองนี้ พวกท่านจะไม่หลงผิดอย่าเด็ดขาดภายหลังจากสมัยของฉัน ”

ในบทนี้เราจะกล่าวถึง ๔ โองการจากอัล-กุรอานที่เกี่ยวกับท่านอิมามฮะซัน(อ)

๑. จากซูเราะฮ์ อาลิอิมรอน : ๖๑

“ ดังนั้น ผู้ใดก็ตามที่ขัดแย้งกับเจ้าในเรื่องนี้ หลังจากที่ความรู้ได้มายังเจ้าแล้ว ก็จงกล่าวเถิดว่า พวกท่านจงมาซิ เราจะเรียกบรรดาลูกๆ ของเราและพวกท่านก็เรียกบรรดาลูกๆ ของพวกท่านมา และเราเรียกบรรดาสตรีของเรามา และพวกท่านก็เรียกบรรดาสตรีของพวกท่านมา และเราเรียกตัวตนของเรามา และพวกท่านก็เรียกตัวตนของพวกท่านมา ต่อจากนั้นเราจะกระทำการสาบานพิสูจน์ความจริงต่อกัน ดังนั้นเราจะขอให้การสาปแช่งของ

อัลลอฮฺพึงมีแด่บรรดาผู้ที่บิดเบือนความจริง ”

ท่านมุสลิมและท่านติรมีซีย์ ได้รายงานคำบอกเล่าไว้ว่า :

ครั้งหนึ่ง มุอฺาวิยะฮฺได้พูดกับซะอัด บินอะบีวักก๊อศว่า

“ อะไรที่ยับยั้งมิให้ท่านประณามอะบูตูร๊อบ(ฉายานามของท่าน

อิมามอะลี) ?”

ซะอัดตอบว่า “ ฉันยังจดจำเรื่องราวสามประการที่ท่านศาสนทูต (ศ) ได้กล่าวไว้ได้ ฉันจึงไม่อาจด่าประณามเขาได้ และถ้าหากว่าเรื่องเหล่านั้นจะได้แก่ฉันเพียงประการเดียว ฉันก็จะพอใจยิ่งกว่าได้อูฐสีแดง ”

ว่าแล้วเขาก็นับสองประการแรกให้ฟัง ต่อจากนั้นก็กล่าวว่า :

เมื่อโองการนี้ถูกประทานลงมาว่า :

“ จงกล่าวเถิดว่า พวกท่านจงมาซิ เราจะเรียกบรรดาลูกๆ ของเรามา และพวกท่านก็เรียกบรรดาลูกๆ ของพวกท่านมา และเราเรียกบรรดาสตรีของเรามา และพวกท่านเรียก บรรดาสตรีของพวกท่านมา และเราเรียกตัวตนของเรามา และพวกท่านเรียกตัวตนของพวกท่านมา ต่อจากนั้นเราจะ

กระทำการสาบานเพื่อพิสูจน์ความจริงต่อกัน ดังนั้นเราจะขอให้การสาปแช่งของอัลลอฮฺพึงมีแก่บรรดาผู้บิดเบือนความจริง ”

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้เรียกอะลี(อ) ฟาฏิมะฮฺ(ร.ฎ.) ฮะซัน(อ)

ฮุเซน(อ) มา แล้วกล่าวว่า

“ ข้าฯแต่อัลลอฮฺ เขาเหล่านี้คือบริวารของข้าฯ ” ( ๑)

ท่านชัยคฺซุลัยมานได้กล่าวไว้หลังจากยกโองการนี้มาอธิบายแล้วว่า :

ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) ได้นำท่านอะลี(อ) ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ(อ) ท่านฮะซัน(อ) และท่านฮุเซน(อ) มาพิสูจน์ความจริงเพื่อให้ได้ความหมายตามโองการที่ว่า “ ตัวของเรา ” อันหมายถึงท่านอะลี ( อ)

๑๐

โดยที่คำพูดของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) ได้ให้หลักฐานในข้อนี้ว่า :

“ เพื่อให้บรรดาลูกหลานของวะลีอะฮฺได้สิ้นสุดยุติลง หรือมิฉะนั้นฉันก็จะส่งบุคคลหนึ่งซึ่งเปรียบเสมือนเป็นตัวตนของฉันไปยังพวกเขา (หมายถึงท่านอะลี(อ)) ”

ดังนั้นโองการนี้จึงบ่งชี้ถึงบุคคลเหล่านี้โดยเฉพาะ ซึ่งไม่มีมนุษย์คนใดเทียบเทียมกับพวกเขาในข้อนี้ได้เลย(๒)

----------------------------------------------------------------

(๑ ) อัล - ฟุศูลุล - มุฮิมมะฮฺ หน้า ๑๐๙ อัล - อิศอบะฮฺ เล่ม ๒ หน้า ๕๐๙

(๒ ) ยะนาบีอุล - มะวัดดะฮฺ หน้า ๔๔

๑๑

๒. จาก ซูเราะฮฺ อัล-อะฮฺซาบ : ๓๓

“ อันที่จริงแล้ว อัลลอฮฺเพียงทรงประสงค์เพื่อการขจัดความมีมลทินออกไปจากสูเจ้า โอ้อะฮฺลุลบัยตฺ และเพื่อทรงชำระขัดเกลา สูเจ้าให้บริสุทธิ์อย่างแท้จริง ”

ท่านวาษิละฮฺ บิน อัล-อัซกออฺได้กล่าวว่า :

วันหนึ่งฉันเข้าไปพบท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ที่บ้านของท่านหญิงอุมมุซะละมะฮฺ(ร.ฎ.) แล้วปรากฏว่า ท่านฮะซัน(อ) ได้เข้ามา ท่านศาสดา(ศ)ให้เขานั่งลงบนตักข้างขวา แล้วก้มลงจุมพิตเขา

จากนั้นท่านฮุเซน(อ)ก็เข้ามาอีก ท่านก็ให้เขานั่งบนตักข้างซ้าย แล้วก้มลงจุมพิตเขา ต่อจากนั้นท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ(ร.ฎ.)ก็เข้ามา ดังนั้นท่านจึงให้นางนั่งข้างหน้าท่าน แล้วท่านก็เรียกท่าน อะลี(อ)ให้เข้ามา แล้วอ่านโองการนี้ว่า :

“ อันที่จริงแล้ว อัลลอฮฺเพียงแต่ประสงค์เพื่อการขจัดมลทินออกไปจากสูเจ้า โอ้อะลฺลุลบัยตฺและเพื่อทรงชำระขัดเกลาสูเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์อย่างแท้จริง ” ( ๓)

---------------------------------------------------------

(๓)อะซะดุล- ฆอบะฮฺ เล่ม ๒ หน้า ๒๐

๑๒

ท่านอะฮฺมัดและท่านฏ็อบรอนีได้รายงานเรื่องนี้ไว้จากการบอกเล่าของท่านอะบี ซะอีดว่า

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวว่า

“ โองการนี้ถูกประทานในเรื่องของบุคคล ๕ คนคือ ฉัน อะลี ฮะซัน

ฮุเซน และฟาฏิมะฮฺ ”

ท่านอิบนุ อะบีชัยบะฮฺ ท่านอะฮฺมัด และท่านติรมีซีย์ ก็ได้รายงานไว้และระบุว่า : มีสายสืบในการรายงานที่ดี ท่านอิบนุญะรีรฺ ท่านอิบนุล มันศูร ท่านฏ็อบรอนี และท่านฮากิม ระบุว่า :เป็นเรื่องที่ถูกต้องจากคำบอกเล่าของ ท่านอะนัสที่ว่า :

แท้จริง ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) เดินผ่านมาบ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ(ร.ฎ.) ขณะออกไปนมาซในยามเช้าแล้วกล่าวว่า

“ นมาซเถิด อะฮฺลุลบัยตฺ ”

“ อันที่จริงแล้วอัลลอฮฺเพียงแต่ประสงค์ ที่จะขจัดความมีมลทินออกไปจากสูเจ้าและทรงชำระขัดเกลาสูเจ้าให้สะอาด บริสุทธิ์อย่างแท้จริง ”

ในรายงานจากท่านอิบนุ มัรดุวียะฮฺ ซึ่งได้รับการบอกเล่ามาจาก

อะบีซะอีด อัล-คุดรีย์ ได้กล่าวว่า :

แท้จริงท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ออกไปที่ประตูบ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ(อ)ในยามเช้าตรู่เป็นเวลาถึง ๔๐ วัน แล้วกล่าวว่า

“ ขอให้ความสันติสุข ความเมตตา และความจำเริญของอัลลอฮฺได้พึงมีแก่พวกเจ้าเถิด โอ้อะฮฺลุลบัยตฺ นมาซเถิด เพื่ออัลลอฮฺจะทรงเมตตาพวกเจ้า อันที่จริงแล้ว อัลลอฮฺเพียงแต่ทรงประสงค์เพื่อการขจัดความมีมลทินออกไปจากสูเจ้า โอ้ อะฮฺลุลบัยตฺ และทรงชำระขัดเกลาสูเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ ”

๑๓

และอีกรายงานหนึ่งมาจากคำบอกเล่าของท่านอิบนุอับบาซว่า “ เจ็ดเดือน ”

ส่วนในรายงานที่บันทึกโดยท่านอิบนุญะรีรฺ ท่านอิบนุลมันศูรฺ และท่านฏ็อบรอนีระบุว่า “ แปดเดือน ” ( ๔)

ท่านอิบนุอับบาสได้บอกเล่าไว้อย่างยืดยาวว่า : ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้นำเอาผ้าของท่านมาวางลงบนตัวของท่านอะลี(อ) ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ(ร.ฎ.) ท่านฮะซัน(อ) ท่านฮุเซน(อ) แล้วกล่าวว่า :

อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ผู้ทรงมีความจำเริญอย่างสูงสุดทรงมีโองการว่า :

“ อันที่จริงแล้วอัลลอฮฺเพียงแต่ทรงประสงค์เพื่อขจัดความมีมลทินออกไปจากสูเจ้าและทรงขัดเกลาสูเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์อย่างแท้จริง ” ( ๕)

----------------------------------------------------

(๔ ) อัซอาฟุร - รอฆิบีน ภาคผนวกของหนังสือนูรุล - อับศ็อร หน้า ๑๑๑

อัช- ชะรอฟุล มุอับบัด ลิอาลิมุฮัมมัด หน้า ๖๘

ตัซกิเราะตุล- ค่อวาศ หน้า ๒๒๔

อัล- อิศอบะฮฺ หน้า เล่ม ๒ หน้า ๕๐๙

อิกมาลุดดีนหน้า เล่ม ๑ หน้า ๓๙๔

ซีรุอะอฺลามิล- นุบะลาอ์ เล่ม ๒ หน้า ๙๗

อะฮฺลุลบัยตฺหน้า ๓๓

(๕ ) ยะนาบีอุล - มะวัดดะฮฺ หน้า ๓๕

๑๔

แน่นอนที่สุดบรรดานักปราชญ์เจ้าของตำราซุนนะฮฺ และบรรณานุกรม ประวัติศาสตร์อิสลามทั้งหลายต่างก็กล่าวถึงโองการนี้และยืนยันว่าเป็นโองการที่ถูกประทานมาในเรื่องของอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) เช่น ท่านมุสลิม

ท่านติรมีซีย์ ท่านอะฮฺมัด บินฮัมบัล ท่านคูลาบีย์ ท่านฆ็อซซานีย์ ท่านฮากิม ท่านอะบูฮาติม ท่านฏ็อบรอนี ท่านอับดุลฮะมีด ทำนองเดียวกับตำราต่าง ๆ ของบรรดานักปราชญ์ต่อไปนี้

๓. จากซูเราะฮฺ อัช-ชูรอ : ๒๓

“ จงกล่าวเถิดว่า ฉันมิได้ขอจากพวกท่านซึ่งรางวัลใดๆ เพื่อการนั้นนอกจากความจงรักภักดีในญาติสนิท ”

ท่านอิบนุอับบาสได้กล่าวว่า : ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้รับการซักถามว่า

“ ใครบ้างที่จำเป็นแก่พวกเราในการให้ความรักแก่พวกเขา ?”

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)กล่าวตอบว่า “ อะลี ฟาฏิมะฮฺ และบุตรชายสองคนของเขาทั้งสอง ” ท่านกล่าวอย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง (๖)

ท่านซะอีด บินญุบัยรฺ ได้รายงานจากคำบอกเล่าของท่านอิบนุ อับบาส (ขอให้อัลลอฮฺทรงมีความปิติชื่นชมต่อท่านทั้งสอง) ว่า :

เมื่อโองการนี้ถูกประทานลงมาว่า :

“ จงกล่าวเถิดว่า ฉันมิได้ขอจากพวกท่านซึ่งรางวัลใดๆ เพื่อการนั้น นอกจากความจงรักภักดีในญาติสนิท ”

๑๕

พวกเขากล่าวว่า “ ข้าแต่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ใครบ้างที่จำเป็นแก่พวกเราในการให้ความจงรักภักดีแก่พวกเขา ?”

ท่านตอบว่า “ อะลี ฟาฏิมะฮฺ ฮะซัน และฮุเซน ” ( ๗)

มีรายงานจากท่านอะบี อัล-ฮะซัน กล่าวว่า :

บิดาของข้าได้เล่าเรื่องให้ข้าฟัง อันเป็นคำบอกเล่ามาจากปู่ของข้า ซึ่งเล่ามาจากท่านอะมีรุลมุมินีน อะลี(อ) ว่า :

ครั้งหนึ่งพวกมุฮาญีรีน และพวกอันศ็อรได้มาร่วมชุมนุมกัน ณ

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ( ศ) แล้วกล่าวว่า

“ แท้จริงสำหรับท่าน โอ้ ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ท่านมีสิทธิที่จะใช้จ่ายทุกประการในงานใช้สอยของท่าน และในบรรดาบุคคลที่เข้าพบท่านและนี่คือทรัพย์สินของเรา พร้อมทั้งเลือดของเรา

ขอให้ท่านโปรดพิจารณาตัดสินให้มันเป็นการชดใช้รางวัลโดยชอบเถิด โปรดมอบมาให้ตามที่ท่านต้องการและจงเอาไปตามที่ท่านต้องการ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น ”

--------------------------------------------------

(๖ ) กัชฟุล - ฆุมมะฮฺ หน้า ๙๕

(๗ ) ยะนาบีอุล - มุวัดดะฮฺ หน้า ๑๐๖

๑๖

ดังนั้น อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จึงประทานให้มะลาอิกะฮฺ ผู้เป็นจิตอันบริสุทธิ์ลงมากล่าวว่า :

“ โอ้มุฮัมมัด จงกล่าวเถิดว่า ฉันมิได้ขอจากพวกท่านซึ่งรางวัลใด ๆ เพื่อการนั้น นอกจากความจงรักภักดีในญาติสนิท ”

แล้วพวกเขาก็ลุกออกไป บรรดาพวกหลอกลวง(มุนาฟิก) กล่าวว่า

“ อะไรที่เป็นเหตุให้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ(ศ) ถึงกับละทิ้งสิ่งของที่เราเสนอให้ท่านนอกจากเน้นให้เรามีความจงรักภักดีในญาติสนิทถัดจากท่าน แน่นอนเรื่องนี้หาใช่อื่นใดไม่นอกจากจะเป็นเรื่องโกหกที่กุขึ้นมาในที่ประชุม ”

นี่คือการใส่ร้ายป้ายสีที่ร้ายแรงที่สุด ดังนั้นอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จึงมีโองการประทานลงมาอีกว่า

“ พวกเขากล่าวหาอัลลอฮฺในเรื่องที่เป็นความเท็จกระนั้นหรือ ดังนั้น

ถ้าหากอัลลอฮฺทรงประสงค์ พระองค์จะผนึกหัวใจของเจ้าก็ได้ แล้วอัลลอฮฺทรงลบล้างความผิดพลาด และสำแดงความจริงให้เป็นที่ปรากฏด้วยพจนารถของพระองค์ แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงรอบรู้เกี่ยวกับสิ่งที่มีอยู่ในหัวอกทั้งหลาย ” ( อัช-ชูรอ : ๒๔)

แล้วท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ถามพวกเขาว่า

“ ยังมีคำพูดกันอีกหรือ ?”

พวกเขาตอบว่า “ แน่นอนที่สุด ในหมู่พวกเราบางคนพูดในสิ่งที่เรารังเกียจอย่างที่สุด ”

๑๗

แล้วท่านก็อ่านโองการนี้ให้พวกเขาฟัง พวกเขาถึงกับร้องไห้อย่างรุนแรงจนอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการประทานมาว่า :

“ และพระองค์คือผู้ยอมรับการกลับตัวจากปวงบ่าวของพระองค์และทรงอภัยความผิดพลาดต่างๆ และทรงรอบรู้ในสิ่งที่พวกเขากระทำ ”

( อัช-ชูรอ: ๒๕)( ๘)

๔. จากซูเราะฮฺอัร-เราะฮฺมาน : ๒๒

“ พระองค์ทรงนำออกมาซึ่งไข่มุกและปะการังอันแวววาว ”

ท่านอิมามศอดิก(อ) กล่าวว่า “ ไข่มุกและปะการังอันแวววาวในโองการนี้ คือท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน ” ( ๙)

--------------------------------------------------------

(๘ ) ยะนาบีอุล - มะวัดดะฮฺ หน้า ๔๕

(๙ ) อัล - คิศอล หน้า ๖๕

๑๘

ในฮะดีษของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)

ในกระบวนตำราที่บันทึกฮะดีษศอฮี้ฮฺ(ฮะดีษที่ถูกต้อง)และตำราที่รวบรวมฮะดีษจากสายสืบที่ดีเด่นทั้งหลายจะเต็มไปด้วย ฮะดีษต่างๆ ที่ท่านศาสดา(ศ)ได้กล่าวถึงอะฮฺลุลบัยต์(อ)ทั้งนั้น

และจะมีนักปราชญ์เป็นจำนวนมากอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รวบรวมฮะดีษต่าง ๆ เหล่านี้ออกมาทำเป็นเล่มเฉพาะ ขณะเดียวกันก็ยังมีกลุ่มอื่นๆ อีกที่รวบรวมฮะดีษเหล่านี้ไว้ในหนังสือเป็นส่วนหนึ่งที่แยกออกไปต่างหาก ในจำนวน

ฮะดีษเหล่านี้มีส่วนหนึ่งที่กล่าวถึงท่านอิมามฮะซัน(อ) โดยเฉพาะในฐานะที่เป็นหนึ่งในห้าท่านที่ได้ชื่อว่า “ อะฮฺลุลกิซาอ์ ” ( บุคคลแห่งผ้าคลุม) และเป็นหัวหน้าของผองบุรุษหนุ่มแห่งสวรรค์ ดังที่เราจะกล่าวถึงทั้งข้อนี้และข้ออื่นๆ

๑. ท่านอะฮฺมัด บินฮัมบัล อิมามในมัซฮับ(นิกาย) หนึ่งของอิสลามได้รายงานไว้โดยอ้างถึงสายสืบที่รับคำบอกเล่ามาจากอะบูฮูรอยเราะฮฺว่า : ครั้ง

หนึ่งท่านศาสดา(ศ)ได้เข้ามานั่งในบ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ(อ)

ถึงตอนนี้ในคำบันทึกก็ได้กล่าวถึงเรื่องอีกเรื่องหนึ่งจนมาถึงประโยคที่ว่า : แล้วท่านฮะซัน ( อ) ได้เข้ามา ท่านได้กอดแนบอกของท่านไว้แน่นแล้วก้มลงจูบ พลางกล่าวว่า

“ ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้ารักเขาและรักคนที่รักเขา ” ( ๑)

------------------------------------------------------------

(๑ ) อะอฺยานุช - ชีอะฮฺ ๓ กอฟ ๑ / ๒๔

๑๙

๒. ในหนังสือของท่านบุคอรี มีรายงานบอกเล่าจากท่านอะบูบักรว่า :

ฉันได้เห็นท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ยืนอยู่บนมิมบัรโดยมีท่านฮะซันอยู่กับท่านด้วย ท่านหันหน้ามาทางประชาชนครั้งหนึ่งและหันหน้าไปทางท่านฮะซันครั้งหนึ่งแล้วกล่าวว่า

“ แท้จริงลูกของข้าคนนี้คือประมุขคนหนึ่งหวังว่าอัลลอฮฺจะทรงปรับปรุงแก้ไขระหว่างมุสลิมสองกลุ่มโดยผ่านเขาผู้นี้ ” ( ๒)

๓. ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวว่า

“ ฮะซันคือผู้สืบตระกูลทั้งหลาย(ของศาสดา) ” ( ๓)

๔. ท่านบุคอรีและท่านมุสลิมซึ่งเป็นนักปราชญ์อาวุโสสองท่านได้บันทึกรายงานที่บอกเล่ามาจากท่านบัรรออ์ว่า :

ฉันได้เห็นท่านศาสดา(ศ)ในขณะที่มีท่านฮะซัน(อ)อยู่บนต้นคอของท่าน แล้วท่านกล่าวว่า

“ ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้ารักเขา ข้าขอให้พระองค์ทรงรักเขาด้วย ” ( ๔)

-------------------------------------------------------------

(๒ ) อัล - อิศอบะฮฺ เล่ม ๑ หน้า ๓๓

(๓ ) อะซะดุล - ฆอบะฮฺ เล่ม ๒ หน้า ๑๓

(๔ ) ตารีคุล - คุละฟาอ์ หน้า ๑๘๘

๒๐

5. ท่านอะสามะฮฺ บินซัยดฺ กล่าวว่า : คืนวันหนึ่งฉันมีความจำเป็นต้องเข้าพบท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ปรากฏว่าท่านกำลังมีกิจธุระสำคัญอยู่อย่างหนึ่ง แต่ฉันไม่ทราบว่ามันคืออะไร ครั้นเมื่อฉันเสร็จจากกิจธุระที่จำเป็นของฉันแล้ว ฉันก็กล่าวว่า

“ ท่านกำลังยุ่งอยู่กับกิจการที่สำคัญอันใดหรือ ?”

ซึ่งขณะนั้นทั้งท่านฮะซันและท่านฮุเซนก็ติดอยู่ที่สะเอวของท่านทั้งสองข้าง ท่านกล่าวว่า

“ ก็ลูกชายทั้งสองคนของฉัน และของลูกสาวของฉันนี่ไงล่ะ ข้าแต่อัลลอฮฺ แท้จริงพระองค์ทรงรู้ว่า ข้ารักเขาทั้งสอง ”

( ท่านกล่าวอย่างนี้ถึงสามครั้ง)(5)

6. ท่านฮะมูวัยนี ได้รายงานตามคำบอกเล่าจากสายสืบของเขาที่ได้รับคำบอกเล่ามาจากท่านอะมีรุลมุมินีน(อ)ว่า : แท้จริงท่านศาสดา(ศ)ได้จับมือของท่านฮะซันและท่านฮุเซน(ขอให้อัลลอฮฺทรงมีความปิติชื่นชมต่อท่านทั้งสอง) แล้วกล่าวว่า

“ ผู้ใดรักฉัน และรักคนทั้งสองนี้ และรักบิดาของคนทั้งสองนี้ และรักมารดาของคนทั้งสองนี้ เขาจะอยู่ร่วมกับฉันในวันฟื้นคืนชีพในระดับที่เป็นฐานะของฉัน ” ( 6)

------------------------------------------------------

(5 ) มะนากิบ อะมีรุลมุมินีน ( อ ) โดยอิบนุ อัล - มะฆอซะลี หน้า 374

(6 ) ฟะรออิดุซ - ซัมฏีน เล่ม 2 หน้า 36

๒๑

บัญญัติเกี่ยวกับตำแหน่งค่อลีฟะฮฺของท่านอิมามฮะซัน(อ)

ในบทนำก่อนเริ่มต้นชีวประวัติของท่านอะมีรุลมุมินีน(อ) นั้น เราได้เสนอประมวลบัญญัติของท่านศาสนทูตผู้ยิ่งใหญ่(ศ)(1) ที่ให้ไว้กับบรรดา

อิมามทั้ง 12 ท่าน(อ) ซึ่งในตอนนั้นเราได้กล่าวถึงฮะดีษไปทั้งสิ้น 44

ฮะดีษ

(1)ควรจะกล่าวไว้ด้วยว่า ประชาชาติอิสลามทั้งหลายไม่อาจอ้างได้เลยว่า

มีบัญญัติมาในเรื่องตำแหน่งของค่อลีฟะฮฺของบุคคลต่างๆ ภายหลังจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) จวบจนถึงบรรดาค่อลีฟะฮฺในราชวงศ์

อับบาซียะฮฺ แต่ในขณะเดียวกันนั้น ท่านก็สามารถพบเห็นประมวลบัญญัติว่าด้วยตำแหน่งอิมามแก่บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)ได้ และนี่คือส่วนหนึ่งจากข้อแม้อีกมากมายของพวกเขา

ในขณะเดียวกันบรรดาฮะดีษดังกล่าวเหล่านั้นก็มีบัญญัติเกี่ยวกับท่าน

อิมามฮะซัน(อ)และอิมามฮุเซน(อ) โดยเฉพาะอีกด้วย เช่น ฮะดีษของท่าน

ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ที่กล่าวว่า

“ บุตรชายสองคนของฉันนี้เป็นอิมามอยู่เสมอไม่ว่าในยามยืน หรือยามนั่ง ” ( 2)

นอกจากว่าจะมีบัญญัติจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)อย่างชัดเจนเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งเป็นอิมามของบรรดาอิมามเหล่านี้(อ) แล้ว

ท่านอิมามแต่ละท่านก็ได้บัญญัติแต่งตั้งอิมามท่านต่อๆ มาอีกด้วย

-----------------------------------------------------------

(2 ) อัล - อิรชาด หน้า 204

๒๒

ในบทนี้ จะกล่าวถึงประมวลบัญญัติจากท่านอะมีรุลมุมินีน(อ)ที่มีต่อตำแหน่งของท่านอิมามฮะซัน(อ) บางตอนคือ

1. รายงานจากท่านซะลีม บินก็อยซ์ว่า :

ข้าขอยืนยันว่า ท่านอะมีรุลมุมินีน(อ)ได้สั่งเสียแก่ท่านฮะซัน(อ)ผู้เป็นบุตร และข้าขอยืนยันต่อคำสั่งเสียของท่านที่มีแก่ท่านฮุเซน(อ) และท่าน

มุฮัมมัด ฮะนีฟียะฮฺ และลูก ๆ ของท่านทั้งหมด และบรรดาผู้นำของบรรดา

ผู้ปฏิบัติตามและอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน ต่อจากนั้นท่านได้มอบคัมภีร์และดาบแก่ท่านฮะซัน(อ) แล้วกล่าวว่า

“ โอ้ลูกรัก ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้มีบัญชาให้ข้าสั่งเสียไว้กับเจ้า และให้ข้ามอบคัมภีร์ของข้าและดาบของข้าให้แก่เจ้า เหมือนเมื่อตอนที่ท่านได้สั่งเสียแก่ข้า และมอบคัมภีร์และดาบของท่านให้แก่ข้าและได้สั่งข้าว่าให้สั่งเจ้าไว้ว่า ในยามที่ความตายจะมาถึงเจ้า เจ้าก็ต้องมอบมันให้แก่น้องชายของเจ้า นั่นคือฮุเซน ”

ต่อจากนั้นท่านก็ได้หันไปยังอิมามฮุเซน(อ) ผู้เป็นบุตรของท่านแล้วกล่าวว่า

“ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้บัญชาให้เจ้ามอบมันต่อไปยังบุตรของเจ้าคนนี้ ”

ต่อจากนั้นท่านก็ได้จับมือของท่านอะลี บินฮุเซน(อ) แล้วกล่าวว่า

“ และท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้สั่งเจ้าว่า ให้มอบมันต่อไปยังมุฮัมมัด บินอะลี บุตรของเจ้า แล้วจงนำสลามจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)และจากฉันฝากไปถึงเขาด้วย ” ( 3)

---------------------------------------------------------

(3 ) บินฮารุล - อันวารฺ เล่ม 10 หน้า 89

๒๓

2. ท่านอัศบัฆฮฺ บินนะบาตะฮฺ ได้กล่าวว่า :

แท้จริงเมื่อครั้งที่ท่านอิมามอะลี(อ)ถูกอิบนุมุลญิม(ชายถูกสาปแช่ง)ฟันจนได้รับบาดเจ็บสาหัสนั้น ท่านได้เรียกหาท่านอิมามฮะซัน(อ) และท่าน

อิมามฮุเซน(อ) ให้เข้าไปหา แล้วกล่าวว่า

“ แท้จริงพ่อจะต้องเสียชีวิตในคืนนี้จึงขอให้เจ้าทั้งสองฟังพ่อไว้ให้ดี เจ้านั้น ฮะซันเอ๋ย ต้องเป็นทายาทของพ่อ (4) และเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง ภายหลังจากพ่อ ส่วนเจ้านั้น โอ้ ฮุเซน เจ้าต้องเป็นผู้ร่วมงานกับเขาในหน้าที่ทายาท จงเงียบเสียงและจงทำตามคำสั่งของเขาตราบเท่าที่เขายังอยู่ ครั้นเมื่อเขาอำลาจากโลกนี้ไปแล้ว เจ้าคือผู้พูดถัดจากเขาและเป็นผู้ดำรงตำแหน่งต่อจากเขา ”

( 4) ข้อบัญญัติเกี่ยวกับตำแหน่งตามที่บรรดานักปราชญ์ระบุไว้ อย่างเป็นเอกฉันท์นั้น มีอยู่ว่า

ท่านอิบนุอับบาสได้ยืน ณ เบื้องหน้า ของท่านฮะซัน(อ)แล้วกล่าวว่า “ ท่านทั้งหลาย นี่คือบุตรแห่งศาสดาของพวกท่าน และเป็นทายาทแห่งอิมามของพวกท่าน ขอให้เชื่อถือ ตามเขา พวกเขากล่าวว่า

เขาเป็นที่รักของเรา และเขาทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จำเป็น แก่เราที่จะต้องรักเขา แล้วคนทั้งหลายก็เข้าทำการให้สัตยาบันต่อท่าน ดู อัล-อิรชาด หน้า 192

แล้วท่านก็เขียนพินัยกรรมเป็นลายลักษณ์อักษรส่งเวียนไปยังสมาคมทั้งหลายของนักปราชญ์(5)

ท่านอิบนุ อะบิลฮะดีด ได้กล่าวว่า : ท่านอิมามอะลี(อ)ได้มอบหมายตำแหน่งคอลีฟะฮฺให้แก่ท่านอิมามฮะซัน(อ) ในตอนที่ท่านจวนจะถึงแก่ชีวิต(6)

-----------------------------------------------------

(5 ) อิษบาตุล - ฮุดาฮ์ เล่ม 5 หน้า 140

(6 ) ชัรฮฺ นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ เล่ม 1 หน้า 57

๒๔

อิมามฮะซัน(อ) กับการเคารพภักดี(อิบาดะฮฺ)

ถ้าจะกล่าวถึงบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)ที่ได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจสู่การเคารพภักดีอยู่เป็นเนืองนิตย์ และการท่องบ่นคำวิงวอนภาวนาอันมากมาย ความมีเกียรติคุณและความดีงามเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

มีจริยธรรมอันประเสริฐสูงสุดแล้ว คนเหล่านี้(อ)คือศูนย์แห่งความดีงามเป็นจุดสุดยอดสำหรับเกียรติคุณ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้มอบมรดกทางด้านจริยธรรมอันสูงส่งให้แก่เขาเหล่านั้น และท่านได้ปลูกฝังคนเหล่านั้นให้อยู่กับแบบแผนชีวิตและครรลองชีวิตของท่าน พวกเขาจึงมีโอกาสรับเอามาซึ่งจริยธรรมอันสุดประเสริฐ และความมีบุคลิกภาพอันทรง

เกียรติ

เรื่องราวในภาคนี้จะว่าด้วย การเคารพภักดีของท่านอิมามฮะซัน(อ) ซึ่งไม่สามารถที่จะบรรยายให้ถึงที่สุดของความเหมาะสมได้ ทั้งในแง่ของความเหน็ดเหนื่อย ความบากบั่น พากเพียรความนบนอบและความอ่อนน้อมดังที่เราจะกล่าวถึงเพียงบางส่วนจากเรื่องนี้

1. ท่านอิมามศอดิก(อ) ได้กล่าวว่า : บิดาของฉันได้รับคำบอกเล่ามาจากบิดาของท่าน(อ)ว่า :

แท้จริง ท่านฮะซัน บุตรของอะลี บินอะบีฏอลิบ(อ) นั้น เป็นคนที่ทำการเคารพภักดีมากที่สุดสำหรับคนในสมัยของท่าน อีกทั้งเป็นคนที่สมถะที่สุด และมีความดีเด่นที่สุดในหมู่พวกเขา

๒๕

เมื่อถึงเวลาไปบำเพ็ญฮัจญ์ ท่านจะเดินทางไปทำพิธีฮัจญ์ด้วยการเดินเท้า ถึงแม้ว่าบางทีท่านจะต้องเดินแบกของด้วยก็ตาม เมื่อท่านรำลึกถึงความตาย ท่านก็ร้องไห้ และเมื่อนึกถึงสุสานก็ร้องไห้ เมื่อนึกถึงการบังเกิดใหม่และการฟื้นคืนชีพก็ร้องไห้ เมื่อนึกถึงตอนเดินผ่านสะพานศิรอฎก็ร้องไห้

เมื่อนึกถึงการปรากฏตัวต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ท่านก็นึกถึงมันด้วยอาการหวาดกลัวตัวสั่นเสมอในเรื่องนั้นและในยามที่ท่านดำรงการนมาซ

ท่านจะทุ่มเทชีวิตจิตใจอย่างสุดซึ้งต่อพระผู้อภิบาลของท่าน เมื่อท่านรำลึกถึงสวนสวรรค์และนรก ท่านก็รบเร้าที่จะขอให้ปลอดภัย และวิงวอนขอสวนสวรรค์จากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากไฟนรกทุกครั้งที่ท่านอิมามฮะซัน(อ)อ่านพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานถึงโองการที่เริ่มต้นว่า :

“ ยา อัยยุฮัลละซีนะอามะนู ”

ท่านจะตอบรับคำเรียกนี้เสมอ ไม่เคยขาดว่า

“ ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าขานรับแล้ว ”

ไม่ว่าท่านจะมองเห็นสิ่งใดรอบๆ ตัวท่าน ท่านก็จะต้องรำลึกอัลลอฮฺ(ซ.บ.)เสมอ เป็นคนที่มีวาจาซื่อสัตย์ที่สุด และเป็นคนที่พูดจาฉะฉานที่สุดในบรรดาคนสมัยนั้น(1)

2. ท่านอิมามฮะซัน(อ)เดินเท้าไปประกอบพิธีฮัจญ์ถึง 25 ครั้ง โดยมีคนในตระกูลติดตามไปพร้อมกับท่านด้วย(2)

-----------------------------------------------------

(1 ) อามาลีย์ ของชัยค์ อัศ - ศ็อดดูก หน้า 151

(2 ) กัชฟุล - ฆุมมะฮฺ หน้า 164 อัชอาฟุร - รอฆิบีน ภาคผนวกของหนังสือ นูรุลอับศ็อร หน้า 176

๒๖

3. เมื่อท่านอาบน้ำวูฎุอ์ ท่านจะทุ่มเทชีวิตจิตใจอย่างสุดซึ้ง ใบหน้าจะซีดเผือด เคยมีคนพูดกับท่านในเรื่องนี้ ท่านตอบว่า

“ เป็นหน้าที่อย่างแท้จริงสำหรับทุกคนที่จะยืนต่อเบื้องพระพักตร์ของพระผู้อภิบาลแห่งบัลลังค์อัรชฺ จะต้องมีสีหน้าซีดเผือด และทุ่มเทชีวิตจิตใจของตนลงไปอย่างสุดซึ้ง ”

เมื่อท่านมาถึงบริเวณประตูของมัสยิด ท่านจะเงยศีรษะขึ้น แล้วกล่าวว่า

“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของข้า แขกของพระองค์มาหยุดอยู่ที่ประตูของพระองค์แล้ว ข้าแต่พระผู้ทรงไว้ซึ่งคุณธรรม บัดนี้ผู้กระทำผิดมาหาพระองค์แล้ว ดังนั้นขอได้โปรดขจัดความน่าชังที่อยู่ในตัวของข้าออกไปด้วยความดีงามที่มีอยู่ ณ พระองค์เถิด โอ้ พระผู้ทรงเกีรยติยิ่ง ” ( 3)

---------------------------------------

(3 ) อะอฺยานุช - ชีอะฮฺ 4 กอฟ 1 / 13

๒๗

แบบแผนชีวิตอิมามฮะซัน(อ) รากฐานเดียวกับท่านศาสดา(ศ)

แบบแผนชีวิตของท่านอิมามฮะซัน(อ)เป็นแบบแผนชีวิตอย่างเดียวกับท่านตา(ศ) และบิดาของท่าน(อ) เช่น การผ่อนปรนให้แก่คนทำความผิด การให้โอกาสแก่คนที่ประสบความเดือดร้อนถ่อมตัวอยู่เสมอ

อีกทั้งในด้านอื่นๆ อันเป็นแง่มุมของการดำเนินชีวิตที่ประเสริฐ พรั่งพร้อม

คุณลักษณะต่างๆที่มีเกียรติประชาชาติอิสลามในยุคปัจจุบันนี้จะใช้ความพยายามฝ่าอุปสรรคอย่างมากมายสักปานใด เพื่อจะมีโอกาสวางอยู่บนรากฐานของแบบแผนเหล่านี้ และเพื่อให้ได้มีโอกาสดำเนินชีวิตอยู่กับ

วิถีทางเส้นนี้ เพื่อนำเอาอดีตอันรุ่งโรจน์ ของตนกลับคืนมาสักครั้งหนึ่ง

ในบทนี้ เราจะขอกล่าวถึงแง่มุมบางประการจากแบบแผนชีวิตของท่าน

อิมามฮะซัน(อ)

1. ท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้กล่าวว่า

“ ประชาชาติอาหรับที่ฉันควบคุมอยู่จะให้สันติภาพแก่ผู้ที่ให้สันติภาพจะต่อสู้กับคนที่ต่อสู้ถึงกระนั้นฉันก็ละได้เพื่อแสวงหาความปิติชื่นชมยังอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และสงวนไว้ซึ่งเลือดเนื้อของมวลมุสลิม ” ( 1)

--------------------------------------------------------------

( 1) อัซอาฟุร-รอฆิบีน ภาคผนวกของหนังสือ นูรุล-อับศ็อร หน้า 173

๒๘

2. ท่านมุบัรริด และท่านอิบนุ อาอิชะฮฺ กล่าวว่า : มีชาวซีเรียคนหนึ่งแลเห็นท่านอิมามฮะซัน(อ)ขี่พาหนะมา เขาก็เริ่มด่าว่าทันที ส่วนท่านฮะซัน(อ)มิได้โต้ตอบแต่ประการใด ครั้นพอเขาด่าเสร็จแล้ว ท่านฮะซัน(อ)ก็หันไปยิ้มกับเขาแล้วกล่าวว่า

“ โอ้ ท่านผู้อาวุโส ข้าพเจ้าคิดว่า ท่านคงเป็นคนแปลกหน้าอาจเข้าใจผิดได้ ถ้าท่านขอความเมตตาจากเรา เราจะมอบมันให้แก่ท่าน ถ้าท่านเอ่ยปากขอสิ่งใดเราก็จะตอบสนองแก่ท่าน ถ้าท่านขอคำแนะนำทาง เราก็จะนำทางให้แก่ท่าน ถ้าท่านต้องการขอให้เราช่วยแบกสัมภาระเราก็จะช่วยแบก

มันให้แก่ท่าน ถ้าท่านขัดสนเรายินดีให้ทุกอย่างแก่ท่าน ถ้าท่านถูกติดตามเราก็จะให้การอุปการะแก่ท่าน ถ้าท่านประสงค์ที่จะทำอะไรเรายินดีกระทำให้แก่ท่าน ถ้าท่านมุ่งตรงมายังเรา ท่านก็เป็นแขกของเราจนกว่า ท่านจะเดินทางจากไป เพราะว่าสถานที่ที่ต้อนรับอย่างอบอุ่นมีอยู่ที่เรา ความเอื้อเฟื้ออันกว้างขวาง และทรัพย์สินอันมหาศาลก็มีอยู่ที่เรา ”

เมื่อชายคนนั้นฟังท่านพูดจบ ก็ถึงกับร้องไห้แล้วกล่าวว่า

“ ฉันขอยืนยันว่า ท่านคือผู้ที่เป็นตัวแทนของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ในหน้าแผ่นดินของพระองค์อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงรู้ยิ่งว่า ที่ใดใครควรแก่การประทานคำสอนของพระองค์มา ตัวของท่านและบิดาของท่าน แต่ก่อนเป็นที่โกรธเกลียดของฉันมากที่สุดในบรรดาสรรพสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)สร้างมา แต่

บัดนี้ท่านเป็นที่รักของฉันมากที่สุดในบรรดาสรรพสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)สร้างมา ”

แล้วเขาก็เปลี่ยนมาขอเดินทางร่วมกับท่าน และเป็นแขกของท่านไปจนกระทั่งอำลาจากกันและเป็นคนที่มีความมั่นคงในความรักต่อบรรดา

อิมามทั้งหลายตั้งแต่บัดนั้น(2)

๒๙

3. ท่านอิมามฮะซัน(อ)เดินผ่านคนจนจำนวนหนึ่ง โดยที่คนเหล่านั้นก้มตัวลงที่พื้นดินซึ่งมีขนมปังหักตกอยู่ คนเหล่านั้นต่างก็เก็บขนมปังดังกล่าวมาเพื่อรับประทานกัน แล้วพวกเขาก็เรียกท่านให้เข้าไปร่วมรับประทานกับพวกเขาด้วย ท่านก็ตอบรับพวกเขาในเรื่องนี้พลางกล่าวว่า

“ แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ไม่ทรงรักบรรดาผู้โอหังบังอาจ ”

ครั้นเมื่อรับประทานเสร็จแล้ว ท่านก็เชิญคนเหล่านั้นไปเป็นแขกของท่าน โดยที่ท่านจัดอาหารและเครื่องนุ่งห่มให้แก่คนเหล่านั้นด้วย(3)

4. เคยมีคนถามท่านอิมามฮะซัน(ขอให้อัลลอฮฺทรงประทานความปิติชื่นชมต่อท่าน)ว่าเพราะเหตุใดที่เราเห็นอยู่เสมอว่า ท่านไม่เคยขัดใจผู้ขอรับบริจาคเลย ทั้ง ๆ ที่ท่านเองก็ขาดแคลน ?

ท่านตอบว่า “ แท้จริงข้าพเจ้าคือผู้ขอต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) ซึ่งข้าพเจ้าเป็นผู้ตั้งความหวังต่อพระองค์เหลือเกิน ข้าพเจ้าละอายใจมาก ถ้าหากข้าจะเป็นคนขอที่ขัดใจคนขอด้วยกัน แท้จริงอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงประทานความโปรดปรานของพระองค์ให้แก่ข้าอยู่เสมอ ๆ และทรงสัญญากับข้าว่า ให้ข้ามอบความโปรดปรานของพระองค์แก่ประชาชนต่อไป ดังนั้นข้าจึงหวั่นเกรงว่า ถ้าหากข้าผิดสัญญา พระองค์ก็จะตัดขาดข้อสัญญากับข้าด้วย ” ( 4)

5. ท่านอิมามมูซา บินญะอฺฟัร(อ) กล่าวว่า “ ทั้งท่านอิมามฮะซัน (อ) และอิมามฮุเซน (อ) ไม่เคยยอมรับของขวัญชิ้นใด ๆ จากมุอาวิยะฮฺ บินอะบีซุฟยานเลย ” ( 5)

-------------------------------------------------------------

๓๐

(2 ) อัล - มะนากิบ เล่ม 2 หน้า 157 กัชฟุล - ฆ็อมมะฮฺ หน้า 167 มะฏอลิบุซ - ซุอุล เล่ม 2 หน้า 12 บางประโยคแตกต่างกันเล็กน้อย

(3 ) ฮะยาดุล - อิมามฮะซัน บินอะลี ของอัล - กุรซีย์ เล่ม 1 หน้า 119

(4 ) นูรุล - อับศ็อร หน้า 177

(5 ) มุสนัด อิมามมูซา บินญะอฺฟัร ( อ ) หน้า 44

๓๑

คุณธรรมและความเผื่อแผ่ของอิมามฮะซัน(อ)

ทุกคนที่อธิบายประวัติของท่านอิมามฮะซัน(อ) จะต้องกล่าวถึงคุณธรรมและความมีไมตรีจิตของท่านเสมอ ในฐานะที่ท่านเป็นขวัญและกำลังใจของประชาชาติอิสลาม ถ้าหากเราจะรวบรวมข้อความที่บรรดานักประวัติศาสตร์ และนักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวถึงเกียรติคุณของท่านอิมามฮะซัน ( อ) แล้ว แน่นอนเราจะได้หนังสืออีกเล่มหนึ่งต่างหากที่มีความหนามากกว่าหนังสือเล่มนี้ เราจะขอกล่าวสรุปเพียงบางประการที่คนเหล่านั้นกล่าวถึงดังนี้

1. อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงจัดแบ่งทรัพย์สินของท่านไว้สามวาระ จนกระทั่งว่า ท่านต้องมอบรองเท้าไปข้างหนึ่งและมีไว้ที่ตัวเองอีกข้างหนึ่ง(1) และจ่ายทรัพย์ของท่านเพื่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)อีกสองวาระ(2)

2. มีชายคนหนึ่งมาหาท่านและขอของที่จำเป็นประการหนึ่งจากท่าน ท่านกล่าวแก่เขาว่า

“ นี่แน่ะท่าน สิทธิในการขอของท่านมีต่อข้าโดยตรง มันยิ่งใหญ่สำหรับข้า และความรู้ในตัวข้ามาก เพราะมันเป็นสิ่งจำเป็นที่ยิ่งใหญ่เกินกว่าข้า มือของข้า หมดความสามารถที่จะต้านทานส่วนที่เป็นสิทธิของท่านได้ทรัพย์สมบัติอันมากมายนั้น ในทัศนะของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)มันเป็นเพียง

ของเล็กๆ น้อยๆ อะไรก็ตามที่อยู่ในการครอบครองของข้าถือว่าเป็นความโปรดปรานที่ดีที่สุดของท่าน ถ้าหากท่านรับเอาไปจากข้าและยกออกไปให้พ้นจากข้าซึ่งความเกรงอกเกรงใจแล้ว ข้าก็ไม่หน่วงเหนี่ยวส่วนที่เป็นหน้าที่ของท่านเลย ท่านกระทำไปเถิด ”

---------------------------------------------

(1 ) อัล - อิซติบศ็อร เล่ม 2 หน้า 142

(2 ) อะอฺยานุช - ชีอะฮฺ 4 กอฟ 1 / 26 อะซะตุล - ฆอบะฮฺ เล่ม 2 หน้า 12

๓๒

เขากล่าวทันทีว่า “ ข้าแต่บุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ข้าขอรับเพียงส่วนน้อย และขอขอบคุณในความเอื้อเฟื้อให้ และขออภัยในความขัดข้อง ”

แล้วท่านอิมามฮะซัน(อ)ก็เรียกเจ้าหน้าที่คนหนึ่งมาช่วยคิดคำนวณทรัพย์สินที่ต้องจ่ายให้จนมีจำนวนมากมายหลายรายการ

แล้วท่านกล่าวว่า “ จงนำออกมาสักสามแสนดิรฮัม ”

แล้วเขาก็นำมาให้ห้าหมื่นดิรฮัม

ท่านกล่าวว่า “ แล้วไหน อีกห้าร้อยดีนารฺ ”

เขากล่าวว่า “ อยู่ที่ฉัน ”

ท่านกล่าวว่า “ จงนำออกมา ”

แล้วเขาก็นำออกมา จากนั้นท่านก็มอบทั้งเงินดิรฮัมและดีนารฺให้แก่ชายคนนั้นไป พลางกล่าวว่า “ เชิญผู้ที่จะขนมันเข้ามาซิ ”

ชายคนนั้นได้นำคนมาสองคน แล้วท่าน(อ)ก็ได้มอบเสื้อคลุมของท่านเพื่อเป็นค่าจ้างในการขนเงิน

เจ้าหน้าที่กล่าวแก่ท่านว่า “ ขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ (ซ.บ.) เราไม่มีดิรฮัมอยู่อีกเลย ”

ท่านกล่าวว่า “ ข้าหวังว่ารางวัลของข้าที่มีอยู่ ณ อัลลอฮฺ จะต้องยิ่งใหญ่เสมอ ” ( 3)

3. ท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้ซื้อฝากระดานแผ่นหนึ่งจากคนกลุ่มหนึ่งในหมู่ชาวอันศ็อร ในราคาสี่แสนดิรฮัม ต่อมาท่านได้รับฟังข่าวมาว่า คนเหล่านั้นเที่ยวร้องขอ(ฝากระดาน)จากประชาชนท่านจึงได้คืนของกลับไปให้พวกเขา(4)

---------------------------------------------------------------

(3 ) มะฏอลิบุช - ซุอุล เล่ม 2 หน้า 10 อัล - ฟุศูลุล - มุฮิมมะฮฺ หน้า 139

(4 ) อัซอาฟุร - รอฆิบีน ภาคผนวกของหนังสือ นูรุล - อับศ็อร หน้า 176

๓๓

4. ชาวอาหรับชนบทคนหนึ่งมาหาท่านอิมามฮะซัน(อ) แล้วท่านได้กล่าวกับเจ้าหน้าที่ของท่านว่า “ จงนำเงินในตู้มอบให้เขาไปเถิด ”

ปรากฏว่าในนั้นมีเงินอยู่สองหมื่นดิรฮัม แล้วท่านก็มอบให้เขาไป

ชายคนนั้นกล่าวว่า

“ โอ้ นายข้า ทำไมท่านไม่วางเฉยต่อฉัน ท่านล่วงรู้ในความจำเป็นของฉันกระนั้นหรือ ?”

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้กล่าวตอบเป็นกลอนว่า(5)

“ เราคือชนชั้นตระกูลหนึ่งอันอุดมสมบูรณ์ยิ่ง ความหวังและความปรารถนาได้ก่อเกิดมาในที่แห่งนั้น จนรู้ดีที่สุดก่อนที่คำถามจะมีต่อตัวของเรา เป็นที่เกรงขามสำหรับกระแสน้ำที่หลั่งไหล ถึงแม้นว่าทะเลได้ล่วงรู้ในความดีงามแห่งตระกูลของเราแล้วไซร้ มันจะเหือดแห้งลงทันที แม้จะท่วมท้นอยู่ก็ตามเพราะความละอาย ”

----------------------------------------

(5 ) อะอฺยานุช - ชีอะฮฺ 4 กอฟ 1 / 109

5. ครั้งหนึ่งท่านอิมามฮะซัน(อ) ท่านอิมามฮุเซน(อ) และท่านอัลดุลลอฮฺ บินญะอฺฟัร ออกเดินทางกลับจากทำพิธีฮัจญ์ ปรากฏว่าเสบียงที่นำติดตัวมาได้หมดลงไม่มีอะไรเหลือ คนทั้งสามหิวโหยและกระหายน้ำเป็นกำลัง แล้วพวกเขาก็เหลือบไปเห็นหญิงชราคนหนึ่งนั่งอยู่ในกระโจมกลางทะเลทราย ดังนั้นพวกเขาก็เข้าไปเพื่อขอน้ำดื่ม

๓๔

นางได้กล่าวว่า

“ มีแม่แพะตัวนี้แหละ พวกท่านรีดนมมันออกมาดื่มกันเถอะ ”

แล้วทั้งสามคนก็รีดนมแพะออกมาดื่มแก้กระหาย ต่อมาทั้งสามก็ขออาหารจากนาง นางก็กล่าวว่า

“ ไม่มีอะไรเลย นอกจากแพะตัวนี้แหละ ท่านทั้งสามเชือดกันเองเถิด ”

แล้วคนหนึ่งในจำนวนนั้นก็ทำการเชือดแพะ เสร็จแล้วก็ชำแหละเนื้อออกมา ต่อจากนั้น นางก็จัดการช่วยเอาไปย่างให้คนทั้งสามรับประทาน

เมื่อพวกเขารับประทานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็กล่าวแก่นางว่า

“ พวกเราเป็นคนในตระกูลกุเรช เราต้องเดินทางมาที่นี่อีก เมื่อเรากลับมาทางนี้ ขอให้ท่านเรียกเราเถิด พวกเราจะตอบแทนความดีแก่ท่าน ”

ต่อจากนั้นทั้งสามก็อำลาจากไป ครั้นในเวลาต่อมาสามีของนางก็เดินทางกลับมา แล้วนางก็เล่าเรื่องราวให้สามีของนางฟัง สามีกล่าวตำหนิว่า

“ เจ้าเชือดแพะให้เขาทำไม ในเมื่อเราไม่เคยรู้จักมาก่อนว่า พวกเขาเป็นใคร ”

แล้วนางก็ตอบว่า “ เขาเป็นชาวกุเรช ”

ต่อจากนั้นไม่กี่วันนางมีความจำเป็นต้องเดินทางเข้าเมืองมะดีนะฮฺ

เมื่อเดินทางไปถึง ท่านอิมามฮะซัน(อ)ก็เห็นนางซึ่งท่านยังจำได้ดี ท่านเข้ามาพูดกับนางว่า “ ท่านยังจำข้าพเจ้าได้หรือไม่ ”

นางตอบว่า “ จำไม่ได้ ”

ท่านกล่าวว่า “ ข้าพเจ้าคือแขกของท่านในวันนั้นไงล่ะ ”

แล้วท่านก็สั่งเจ้าหน้าที่จัดแพะมาหนึ่งพันตัว แล้วส่งมอบให้แก่นางและมอบเงินให้อีกหนึ่งพันดีนารฺ

๓๕

จากนั้นท่านให้คนนำนางไปพบท่านอิมามฮุเซน(อ) ซึ่งท่านก็มอบให้นางอย่างนี้อีกเหมือนกัน แล้วส่งนางต่อไปหา

ท่านอับดุลลอฮฺ บินญะอฺฟัร(ร.ฎ.) ซึ่งท่านก็ปฏิบัติต่อนาง

เช่นเดียวกับท่านอิมามทั้งสอง(6)

6. ครั้งหนึ่งท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้ยินเสียงชายคนหนึ่งวิงวอนขอจากพระผู้อภิบาลว่า

“ ให้ประทานเครื่องยังชีพแก่เขาสักหนึ่งหมื่นดิรฮัม ”

ทันใดนั้นท่านอิมามฮะซัน(อ)ก็รีบวิ่งไปที่บ้าน แล้วนำเงินจำนวนดังกล่าวมามอบให้ชายคนนั้น(7)

-----------------------------------------------------------

(6 ) อัซอฺาฟุร - รอฆิบีน ภาคผนวกหนังสือนูรุล - อับศ็อร หน้า 177 และอัล - ฟุศูลุล - มุฮิมมะฮฺ หน้า140

(7 ) นูรุล - อับศ็อร หน้า 176

๓๖

คำปราศรัยอันทรงเกียรติของอิมามฮะซัน(อ)

คำปราศรัยของท่านอิมามฮะซัน(อ)ทั้งในช่วงสมัยที่บิดาของท่าน(อ)มีชีวิตอยู่และเสียชีวิตแล้ว มีอยู่มากมายรวมทั้งก่อนหน้าทำสัญญาสันติภาพและภายหลังจากนั้นด้วย ซึ่งถ้าหากเราจะรวบรวมคำปราศรัยของท่านทั้งหมดมาบันทึกก็จะเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งต่างหาก

ส่วนคำปราศรัยในที่นี้จะรวบรวมในเรื่องการสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) การขอพรให้แก่ท่านศาสนทูตของพระองค์(ศ)และกล่าวถึงคุณงามความดีของอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) และเรียกร้องเชิญชวนสู่สัจธรรม ดังที่จะนำเสนอ

ณ บัดนี้

คำปราศรัยเรื่องที่ 1.

คำปราศรัยของอิมามฮะซัน(อ)ที่เมืองกูฟะฮฺ

เรื่อง....การต่อสู้

“ มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ผู้ทรงเกริกเกียรติเกรียงไกร ผู้ทรงเอกะแห่งอำนาจ ผู้ทรงเป็นใหญ่สูงสุดยิ่ง ไม่ว่าพวกท่านจะใช้คำพูดค่อย ๆ หรือดังก็ตาม ไม่ว่าทำเสียงแผ่วเบาในยามกลางคืน หรือเสียงที่ชัดเจนในตอนกลางวันก็เสมอกันทั้งนั้นสำหรับพระองค์ ข้าขอสรรเสริญต่อพระองค์ เนื่องในการทดสอบอันดีงาม และความโปรดปรานทั้งหลายต่างพากันเป็นที่ประจักษ์ และเนื่องในกรณีที่มีทั้งของที่เรารักและที่เราชัง อันได้แก่ความเดือดร้อนและความสะดวกสบาย และข้าขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ ทรงเป็นเอกะ ไม่มีภาคีใดๆสำหรับพระองค์

๓๗

และแน่นอนมุฮัมมัด(ศ) คือ บ่าวและศาสนทูตของพระองค์ พระองค์ทรงบัญญัติเรื่องตำแหน่งศาสดาของท่าน(ศ)ไว้แก่เรา และทรงเจาะจงให้ท่าน(ศ)เป็นที่ถูกประทานมา ซึ่งสาส์นของพระองค์ และทรงบันดาลมายังท่าน(ศ)สภาวะแห่งการดลบันดาลจากพระองค์ และทรงคัดเลือกให้ท่าน(ศ)อยู่เหนือสรรพสิ่งของพระองค์ทั้งหมด และทรงส่งท่าน(ศ)มายังมวลมนุษย์และญินในขณะที่ยังเคารพ บูชาเจว็ด เชื่อฟังปฏิบัติตามชัยฏอน และทรยศต่อ

พระผู้ทรงเมตตาอยู่ ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.) โปรดประทานพรแก่ท่านและลูกหลานของท่าน และโปรดตอบแทนรางวัล แก่ท่าน(ศ)ให้ดีเลิศกว่ารางวัลที่ทรงตอบแทนแก่ศาสนทูตทั้งปวง ถัดไปจากนี้ ข้าจะขอกล่าวต่อพวกท่านทั้งหลายในสิ่งที่พวกท่านต่างก็รู้ดีกันอยู่แล้ว ท่านอะมีรุลมุมินีน(อ)อะลี บินอะบีฏอลิบนั้น

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงชี้นำภารกิจของท่าน(อ)และทรงให้การสนับสนุนช่วยเหลือท่าน(อ) ท่าน(อ)ได้ส่งข้ามายังพวกท่านทั้งหลายเพื่อเชื้อเชิญท่านไปสู่สิ่งที่ถูกต้อง และพฤติกรรมที่เป็นไปตามคัมภีร์ และการต่อสู้ในวิถีทางของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ถึงแม้ว่าความรีบเร่งในเรื่องนี้จะเป็นสิ่งที่พวกท่านรังเกียจ

ส่วนความล่าช้าในเรื่องนี้เป็นสิ่งที่พวกท่านพึงพอใจก็ตาม ถ้าหากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประสงค์

แน่นอนที่สุดท่านทั้งหลายต่างทราบดีว่า ท่านอิมามอะลี(อ)ได้นมาซร่วมกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)แต่เพียงผู้เดียวมาก่อน และในวันที่ท่าน(อ)ให้ความเชื่อมั่นต่อท่านศาสดา(ศ)นั้น ท่าน ( อ) มีอายุเพียง 10 ปี ต่อจากนั้น ท่าน (อ) ก็ได้ร่วมออกรบ พร้อมกับท่านศาสดา (ศ) ในทุกๆ สมรภูมิและปรากฏว่าการวินิจฉัยความของท่าน (อ) ล้วนเป็นที่ชื่นชอบของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) และเป็นการเชื่อฟังปฏิบัติตามต่อท่านศาสนทูตของพระองค์ (ศ) ผลงานอันดีงามของท่าน (อ) ที่มีในอิสลามนั้น

๓๘

เป็นไปตามที่ท่านทั้งหลายทราบอยู่แล้ว และท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) มีแต่ความปิติชื่นชมต่อท่าน(อ)ตลอดมา จนกระทั่งท่านโอบกอดท่านศาสดา(ศ) ด้วยอ้อมแขนของท่านอาบน้ำให้แก่มัยยิตของท่านศาสดา(ศ)ด้วยตัวของท่านเองแต่ผู้เดียว โดยมีมะลาอิกะฮฺทำหน้าที่อารักขาท่าน และฟัฎลฺบุตรชายของลุงของท่านได้ตักน้ำยื่นให้ท่าน ต่อจากนั้นท่านก็นำร่างของท่านศาสดา(ศ) ลงสู่หลุมฝังศพ ท่านศาสดา(ศ)เคยสั่งเสียท่าน(อ)ให้ชำระหนี้สินให้ และกิจการอื่นนอกเหนือจากนี้อีกมากมาย

ทุกสิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงถึงความโปรดปรานที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีต่อท่าน(อ) ”

ต่อจากนั้นท่านก็กล่าวต่อว่า

“ ขอสาบานด้วยนามของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ท่าน(อ)ไม่เคยเรียกร้องอันใดเพื่อตัวของท่าน(อ)เอง

แน่นอนที่สุดประชาชนสวามิภักดิ์ ต่อท่านเหมือนอย่างการสวามิภักดิ์ของลูกอูฐในยามที่ถูกต้อนยังแหล่งน้ำ กล่าวคือคนทั้งหลายต่างพากันให้สัตยาบันต่อท่าน(อ)ว่า จะเป็นผู้ปฏิบัติตามต่อมาบรรดาผู้ตระบัดสัตยาบันในหมู่พวกเขาก็ตัดขาดไปโดยที่มิได้เกิดมาจากสาเหตุอันใดจากตัวของท่าน และไม่มีความขัดแย้งอันใดที่นำมาโดยท่าน มันเป็นเรื่องของความริษยาและความละเมิดที่มีต่อท่าน

ท่านทั้งหลายที่เป็นบ่าวของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จงมีความสำรวมตนต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) และเชื่อฟังปฏิบัติตามพระองค์ จงอุตสาหะอย่างจริงจังและอดทน จงขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และจงหวนกลับมาหาขอเรียกร้องของท่านอะมีรุลมุมินีน(อ)ที่มีต่อพวกท่าน อัลลอฮฺ(ซ.บ.) จะผูกมัดเรากับพวก

ท่านอย่างที่ทรงผูกมัดบรรดาที่รักของพระองค์กับบรรดาผู้ปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ให้แนบแน่นด้วยกัน

๓๙

และทรงบันดาลให้เรากับท่าน ทั้งหลายมีความยำเกรงต่อพระองค์ และทรงสนับสนุนเรา และท่านทั้งหลาย ในการต่อสู้กับศัตรูของพระองค์ ข้าขอการอภัยโทษจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ผู้ทรงยิ่งใหญ่เพื่อตัวข้าและเพื่อท่านทั้งหลาย ” ( 1)

------------------------------------------------------------

(1 ) อะอฺยานุช - ชีอะฮฺ 4 กอฟ 1 / 31

คำปราศรัยเรื่องที่ 2.

ท่านอะมีรุลมุมินีน(อ) เคยกล่าวกับท่านอิมามฮะซัน(อ)ว่า

“ จงลุกขึ้นซิ แล้วจงกล่าวคำปราศรัย เพราะฉันจะฟังคำปราศรัยของเจ้า ”

แล้วท่านอิมามฮะซัน(อ)ก็ลุกขึ้นยืนกล่าวว่า

“ มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ซึ่งถ้าหากใครพูดพระองค์จะทรงได้ยินเสมอ และถ้าหากใครนิ่งเงียบ พระองค์จะทรงรู้ถึงสิ่งที่อยู่ในจิตใจของเขาเสมอ ใครดำรงชีพอยู่

พระองค์ก็ทรงบันดาลปัจจัยยังชีพให้เสมอ ใครที่ตายลงก็จะไปสู่พระองค์ในฐานะเป็นสถานที่คืนกลับเสมอ ต่อจากนั้น สุสานคือแหล่งพำนักของเรา วันฟื้นคืนชีพคือ สถานที่นัดหมายของเรา

และอัลลอฮฺ(ซ.บ.)คือผู้ทรงเปิด เผยเรื่องราวของเรา แท้จริงอะลีคือบานประตู ผู้ใดได้เข้าทางนี้ เขาคือผู้ศรัทธา และผู้ใดออกจากทางนี้ เขาคือผู้ปฏิเสธ

(กาเฟร) ”

๔๐

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134