ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ชีวประวัติอิมามฮะซัน42%

ชีวประวัติอิมามฮะซัน ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 134

ชีวประวัติอิมามฮะซัน
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 134 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 64753 / ดาวน์โหลด: 5720
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

ข้อควรพิจารณา มีผู้ถามท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่าบุคคลใดอ่านอัล-กุรอานเสียงเพราะที่สุด ท่านกล่าวว่า บุคคลที่ได้ยินเสียงอ่านของตนเองแล้วคิดว่าตนอยู่ ณ พระพักตร์ของพระองค์

จากริวายะฮฺดังกล่าวทำให้รู้ว่าการอ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงไพเราะนั้นมี 2 ลักษณะ

- เสียงไพเราะทั้งภายนอกและคำ

- เสียงไพเราะทั้งคำและความหมาย ซึ่งเป็นผลแก่จิตใจของผู้อ่านและทำให้มีความนอบน้อมเมื่ออยู่ต่อหน้าอัล-กุรอาน

การอ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงไพเราะนอกเหนือไปจากการอ่านควบคู่ด้วยเสียงดนตรี ซึ่งมีความเหมาะสมกับงานสนุกสนานร่าเริง ถือว่าฮะรอม

9. การอ่านอัล-กุรอานด้วยสำเนียงอาหรับ

ประเด็นดังกล่าวสามารถพิจารณาได้หลายขั้นตอนด้วยกัน กล่าวคือ

ขั้นตอนที 1 เป็นการอ่านอัล-กุรอานที่ถูกต้อง หมายถึงผู้ที่ต้องการอ่านอัล-กุรอานจำเป็นต้องเรียนรู้การอ่านจากครูบาอาจารย์

หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเพีอเรียนรู้การอ่านที่ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺ หรือซูเราะฮฺอื่นเพื่อนะมาซ การเรียนรู้เป็นวาญิบเสียด้วยซํ้า ส่วนการอ่านอย่างอื่นที่นอกเหนือจากนะมาซถือว่าจำเป็นแต่ไม่ถึงขั้นของวาญิบ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากว่าการออกเสียงอักษรภาษาอาหรับบางตัวไม่เหมือนกับภาษาอื่น เช่น อักษร ظ- ض- ز- ذ

ซึ่งบางครั้งเป็นสาเหตุทำให้ผิดพลาดในการออกเสียงและทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไปเช่น คำว่า ( عظِيْم ) แปลว่า ใหญ่ ถ้าออกเสียงเป็น ( عِزِیم ) ความหมายจะเปลี่ยนไปทันที่เนื่องจากคำนี้หมายถึง ศัตรู

๒๑

ข้อควรพิจารณา จะสังเกตเห็นว่าบุคคลที่กำลังเรียนรู้การอ่านอัล-กุรอานมักจะอ่านผิดพลาด แม้ว่าพยายามแก้ไขแล้วก็ยังผิดพลาดอยู่ ซึ่งไม่สามารถอ่านให้ถูกต้องได้ ฉะนั้นบุคคลเหล่านี้ถือว่ามีอุปสรรค แต่เป็นอุปสรรคที่ได้รับการอภัย ณ พระผู้เป็นเจ้า แต่อย่างไรก็ตามในนะมาซหน้าที่ของเขาจะแตกต่างออกไป ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า ผู้ที่อ่านอัล-กุรอานถ้าระหว่างที่อ่านได้อ่านผิด หรือ่านวรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง หรือออกเสียงภาษาอาหรับไม่ถูกต้อง มะลาอิกะฮฺผู้ที่มีหน้าที่บันทึกความดีงามจะบันทึกการอ่านที่ถูกต้องให้เขา ( 1)

( 1) อุซูล อัลกาฟียฺ เล่มที่ 2 หน้าที่ 619 ฮะดีษที่ 1

ขั้นตอนที่ 2 การเอาใจใส่ต่อกฎเกณฑ์ของการอ่าน (ตัจวีด) เช่น ใส่ใจต่อการหยุดวรรคตอน การอ่านอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงจุดต่างๆ ของตัจวีดที่เป็นสาเหตุของความถูกต้องสมบูรณ์ในการอ่านอัล-กุรอาน

ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ นอกจากต้องมีการเรียนรู้จากครูบาอาจารย์และ

ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องหลักการอ่าน

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า จงอ่านอัล-กุรอานด้วยสำเนียงภาษาอาหรับ เพราะอัล-กุรอานถูกประทานลงมาเป็นภาษาอาหรับ ( 1)

(1)อุซูล อัลกาฟียฺ เล่มที่ 2 หน้าที่ 450

๒๒

ขั้นตอนที่ 3 การเอาใจใส่ต่อท้วงทำนองของการอ่าน หมายถึง ถ้าผู้อ่านได้อ่านด้วยสำเนียงภาษาอาหรับ โดยเป็นการส่งความหมายของโองการด้วยสำเนียงและท้วงทำนองอันเฉพาะเจาะจง ที่ไม่ต้องอิงอาศัยเสียงดนตรีประกอบเท่ากับเป็นการเรียกร้องความสนใจได้ดีอย่างยิ่ง

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า จงอ่านอัล-กุรอานด้วยสำเนียงภาษา อาหรับ ( 2)

(2)อุซูล อัลกาฟียฺ เล่มที่ 2 หน้าที่ 450

มีนักอักษรศาสตร์ภาษาอาหรับจำนวนมาก ประกอบกับผู้วิจัยและค้นคว้าเกี่ยวกับอัล-กุรอานได้ยืนยันว่า อัล-กุรอานมีท้วงทำนองที่เฉพาะพิเศษ ซึ่งภาษาอาหรับอื่นที่ไม่ใช่อัล-กุรอานไม่มี

ชะฮีดมุรตะฎอ มุเฏาะฮะรียฺ กล่าวว่า สิ่งหนึ่งที่เรียกร้องให้คนอื่นสนใจอัล-กุรอานคือท้วงทำนอง และลีลาที่ไพเราะจับใจนั่นเอง

๒๓

10. สถานที่อ่านอัล-กุรอาน

อัล-กุรอานสามารถอ่านได้ทุกที่ถือว่าอนุญาตและเป็นสิ่งที่ดี

แต่มีอยู่ 2 สถานที่ ๆ ได้รับการแนะนำพิเศษ ให้อ่านอัล-กุรอาน กล่าวคือ

- มัสญิด

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า

انما نصب المساجد للقرآن

มัสญิดทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการอ่านอัล-กุรอาน( 1)

(1)วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่มที่ 3 หน้าที่ 493

- บ้าน ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า

قال النبی(ص):

نوروا بیوتکم بتلاوة القرآن ولاتتخذوها قبوراً کما فعلت الیهود

والنصاری،طوفی الکنائس و البیع و عطّلوا بیوتهم فانّ البیت اذا کثر فیه تلاوت القرآن کثّر خیره و التسع اهله و اضاء لاهل السماء

จงประดับรัศมีบ้านของท่านด้วยการอ่านอัล-กุรอาน จงอย่าทำบ้านของท่านให้เป็นสุสาน ดั่งที่ยะฮูดียฺ และนัซรอนียฺได้กระทำซึ่งพวกเขานมัสการเฉพาะในโบสถ์เท่านั้น พวกเขาไม่ให้ทำการนมัสการในบ้าน และบ้านหลังใดก็ตามมีการอ่านอัล-กุรอานมาก ความดีและความจำเริญก็จะมากตามไปด้วยและผู้ที่อยู่ในบ้านก็จะได้รับความจำเริญมากมาย และบ้านหลังนั้นจะกลายเป็นรัศมีที่เจิดจรัสสำหรับชาวฟ้า ดุจดังเช่นดวงดาวแห่งฟากฟ้าได้เจิดจรัสสำหรับชาวดิน( 2)

(2) อุซูลกาฟียฺ เล่มที่ 2 หน้าที่ 446

๒๔

สรุปประโยชน์ของการอ่านอัล-กุรอานที่บ้าน

1. เป็นรัศมีประดับประดาบ้านตามกล่าวของฮะดีษที่กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งการอ่านอัล-กุรอานที่บ้านจะเพิ่มชีวิตชีวา ความดี และความจำเริญมากมายแก่เจ้าของบ้านและคนในบ้าน

2. เป็นการอบรมจิตวิญญาณที่ดีอย่างหนึ่งสำหรับบุตรหลาน และทำให้ชีวิตของพวกเขามีความผูกพันอยู่กับอัล-กุรอาน

3. เสียงอ่านอัล-กุรอานภายในบ้านส่งผลจูงใจเพื่อนบ้านให้สนใจการอ่านอัล-กุรอาน อันเป็นผลดีกับสังคม และเป็นการเชิดชูวัฒนธรรมของ

อัล-กุรอาน

4. หลีกเลี่ยงการโอ้อวดในการอ่านอัล-กุรอานย่อมทำให้ได้รับผลสรุปอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามกล่าวมาข้างต้น

- การอ่านอัล-กุรอานให้จบที่มักกะฮฺมีผลบุญพิเศษที่เฉพาะเจาะจงมากมาย ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั้งซุนียฺและชีอะฮฺ

ข้อควรพิจารณา ไม่อนุญาตให้อ่านอัล-กุรอานในสถานที่ ๆ เป็นการ

ดูถูกอัล-กุรอาน

๒๕

ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่า บางริวายะฮฺห้ามไม่ให้มีการอ่านอัล-กุรอานในห้องอาบนํ้า หรือห้องส้วม แต่บางริวายะฮฺก็อนุญาต เช่น

ริวายะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่กล่าวว่า

سبعة لا يقرؤون القرآن: الراكع والساجد، وفي الكنيف، وفي الحمام، والجنب، والنفساء، والحائض

มี 7 สถานที่ไม่สมควรอ่านอัล-กุรอาน ในห้องอาบนํ้า ห้องส้วม ขณะมีญุนุบ โลหิตหลังการคลอดบุตร และรอบเดือน

หมายถึงการอ่านอัล-กุรอานตามสถานที่หรือด้วยสภาพตามกล่าวมาโดยมีเจตนาเพื่อดูถูกอัล-กุรอาน หรือไม่ได้มีเจตนาเพื่อการดูถูก แต่ในทัศนะ

คนอื่นถือว่าเป็นการดูถูกอัล-กุรอาน

ดังนั้นการอ่านอัล-กุรอานเช่นนี้ ถือว่าไม่อนุญาต แต่ถ้าเป็นการรำลึกพระผู้เป็นเจ้า โดยไม่ได้มีเจตนาดูถูกไม่เป็นไร

11. ช่วงเวลาอ่านอัล-กุรอาน

การกล่าวพรรณนาถึงพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้าทุกเวลาถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากการสนทนากับผู้ที่เป็นที่รักไม่มีเวลาเฉพาะสามารถสนทนาได้ตลอดเวลา คนรักย่อมคอยโอกาสอย่างใจจดใจจ่อว่าเมื่อไหร่คนรักของตนจะมีเวลาว่าง เพื่อจะได้อยู่ใกล้ชิด และพูดคุยด้วย

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวกับท่านอิมามอะลี (อ.) ว่า

จงอ่านอัล-กุรอานไม่ว่าเจ้าจะอยู่ในสถานการณ์หรือเงื่อนไขใดก็ตาม ( 1)

(1 )วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 4 บาบ 47 ฮะดีษที่ 1

๒๖

อัล-กุรอานบางโองการและริวายะฮฺของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) กล่าวว่า

การอ่านอัล-กุรอานบางช่วงเวลาก็เหมาะสมและบางช่วงก็ไม่เหมาะสม ซึ่งจะอธิบายทั้งสองกรณีดังนี้

ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการอ่านอัล-กุรอาน

ช่วงเดือนรอมฎอน อันจำเริญซึ่งถือว่าเป็นฤดูกาลของอัล-กุรอาน

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า บุคคลใดอ่านอัล-กุรอาน 1 โองการในเดือนรอมฎอนเสมือนได้อ่านอัล-กุรอานจบ 1 ครั้งในเดือนอื่น ( 2)

(2 )อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้าที่ 617-618

เช้าตรู่ของทุกวันที่บรรดาสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายต่างนอนหลับไหล แต่บุคคลที่มีความรักในพระผู้เป็นเจ้าได้ตื่นขึ้นเหมือนแสงเทียนที่กำลังลุกโชติช่วงรินหลั่งนํ้าตาและระลึกถึงคนรักของตนอย่างใจจดใจจ่อ

ริวายะฮฺบางบทจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวสนับสนุนการอ่าน

อัล-กุรอานในช่วงเวลากลางคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงก่อนเข้านอนได้รับการแนะนำไว้อย่างมาก ( 1)

(1) เล่มเดิม

การอ่านอัล-กุรอานขณะนมาซที่นอกเหนือไปจากซูเราะฮฺวาญิบที่ต้องอ่าน ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าว่า บุคคลใดอ่านโองการต่าง ๆ จาก

อัล-กุรอานขณะยืนปฏิบัตินมาซ อัลลอฮฺจะบันทึกแต่ละคำเท่ากับ 100

ความดี ( 2)

(2 )อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้าที่ 611 / 612

๒๗

บางโองการได้กล่าวยํ้าเน้นว่าให้อ่านอัล-กุรอานทุกเช้าและขณะดวงอาทิตย์ตกดิน โดยกล่าวว่า

และเจ้า (มุฮัมมัด) จงรำลึกถึงพระผู้อภิบาลของเจ้าในใจของเจ้าด้วยความนอบน้อมและยำเกรงและโดยไม่ออกเสียงดัง ทั้งในเวลาเช้าและเย็นและ

จงอย่าอยู่ในหมู่ผู้ที่เผลอเรอ ( 3)

(3 ) อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อะอฺรอฟ 205

ซึ่งอัล-กุรอานเป็นตัวอย่างที่ยิ่งใหญ่สำหรับการรำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้า

หมายเหตุ ช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงกลางคืนให้เป็นกลางวัน ช่วงเวลหนึ่งได้เข้ามาแทนที่อีกเวลาหนึ่ง เป็นการเตือนสำทับให้มนุษย์ได้คิดถึงตัวเองและอายุขัยของตนที่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเหมือนเวลากลางวันและกลางคืน

ช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมสำหรับอ่านอัล-กุรอาน

บางริวายะฮฺกล่าวว่า ช่วงเวลาที่เปลือยเปล่า (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขณะอยู่ในห้องนํ้า) หรือช่วงเวลาที่ทำการชำระล้าง และช่วงเวลาที่มีเพศสัมพันธ์ 4

(4 ) วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 1 บาบที่ 7 อะฮฺกามการขับถ่าย

๒๘

บางริวายะฮฺกล่าวว่า อ่านอัล-กุรอานทุกช่วงแม้แต่ช่วงเวลาที่อยู่ในห้องนํ้าถือว่าดี ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ไม่เป็นไรหากเจ้าจะทำการรำลึกถึงอัลลอฮฺ แม้ว่าท่านกำลังปัสสาวะอยู่ก็ตาม เนื่องจากว่าการรำลึกถึงอัลลอฮฺดีตลอดเสมอ ฉะนั้นจงอย่างเผลอเรอการรำลึกถึงพระองค์ ( 1)

(1 ) เล่มเดิม

ข้อควรพิจารณา จะเห็นว่าริวายะฮฺทั้งสองขัดแย้งกัน แต่สามารถรวม

ริวายะฮฺทั้งเข้าด้วยกันบนความหมายที่ว่า ทุกครั้งที่อ่านอัล-กุรอานถ้าเป็น

การดูถูกอัล-กุรอานถือว่าไม่อนุญาต แต่ถ้าไม่ถือว่าเป็นการดูถูกอัล-กุรอานและเป็นการรำลึกถึงพระองค์ ถือว่าอนุญาต

ข้อควรพิจารณา การอ่านอัล-กุรอานที่มีโองการซัจดะฮฺวาญิบสำหรับสตรีที่มีรอบเดือน หรืออยู่ในช่วงของนิฟาซ (มีโลหิตหลังการคลอดบุตร) หรือบุคคลที่มีอยู่ญูนุบ เป็นฮะรอม (ไม่อนุญาต) แต่ถ้าเป็นบทที่ไม่มีซัจดะฮฺ

วาญิบอนุญาตให้อ่านได้ไม่เกิน 7 โองการ

12. จำนวนการอ่านอัล-กุรอาน

ไม่ว่าจะมากหรือน้อยเท่าใดก็ตามสำหรับการรำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ถือว่าน้อยทั้งสิ้น อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า ดังนั้นพวกเจ้าจงอ่านอัล-กุรอานตามแต่สะดวกเถิด ( 2)

(2 ) มุซัมมิล 20

๒๙

ริวายะฮฺจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) กำหนดว่า อย่างน้อยที่สุดควรอ่าน

อัล-กุรอานคืนละ 10 โองการ

ท่านอิมามบากิร (อ.) รายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า บุคคลใดอ่านอัล-กุรอานทุกคืน ๆ ละ 10 โองการเขาจะไม่ถูกบันทึกว่าเป็นหนึ่งในหมู่หลงลืม ( 1)

(1)อุซูลกาฟียฺเล่ม 1 หน้าที่ 612 ฮะดีษที่ 5

แต่ริวายะฮฺส่วนมากได้ระบุว่าควรอ่านอัล-กุรอานอย่างน้อยวันละ 50 โองการ

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า อัล-กุรอานคือพันธสัญญาระหว่างมนุษย์กับพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้นเป็นการดีที่มนุษย์ควรใส่ใจต่อสัญญาของตนที่ได้ตกลงไว้ และควรอ่านข้อสัญญาอย่างน้อยวันละ 50 โองการ ( 2)

(2 ) เล่มเดิม หน้าที่ 609

ริวายะฮฺจำนวนมากได้กล่าวแนะนำว่าให้อ่าน อัล-กุรอานให้จบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนรอมฎอน แต่ห้ามที่จะให้อ่านอัล-กุรอานด้วยความรวดเร็ว ขณะเดียวกันได้แนะนำว่าให้อ่านอัล-กุรอานด้วยความปราณีตตั้งใจและอ่านอย่างมีท่วงทำนอง( 3)

(3 ) เล่มเดิม หน้าที่ 617 ฮะดีษที่ 2

๓๐

คำเตือน สำหรับสตรีที่มีรอบเดือน นิฟาซ และบุคคลที่มีญินาบัตเป็น

มักรูฮฺ ถ้าจะอ่านอัล-กุรอานที่นอกเหนือจากบทที่มีโองการซัจดะฮฺวาญิบเกิน

7 โองการ แต่ถ้าเป็นบทที่มีโองการซัจดะฮฺวาญิบเป็นฮะรอม

13. การฟังและนิ่งเงียบ

มารยาทของผู้ฟังขณะอัญเชิญอัล-กุรอานคือการนิ่งเงียบ

อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า และเมื่ออัล-กุรอานถูกอ่านขึ้น จงสดับฟัง

อัล-กุรอานและจงนิ่งเงียบ เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับการเอ็นดู( 1)

(1 ) อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล อะอฺรอฟ 204

จากโองการข้างต้นสามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้

1. หน้าที่ประการแรกของผู้ฟังอัล-กุรอานคือนิ่งเงียบ

2. หน้าที่ประการที่สองของผู้ฟังอัล-กุรอานคือการฟังดัวยความตั้งใจในความหมายของโองการ ซึ่งแตกต่างไปจากการฟังโดยทั่วไปที่เพียงแค่ได้ยินผ่านหูไปมาเท่านั้น และการที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสถึงการฟังก่อนการนิ่งเงียบตามโองการข้างต้น อาจเป็นเพราะการให้ความสำคัญต่อสิ่งนั้น เพราะโดยธรรมชาติแล้วการนิ่งเงียบต้องมาก่อนการฟัง

3. บุคคลใดก็ตามฟังอัล-กุรอานด้วยความตั้งใจทั้งจิตวิญญาณ พร้อมทั้งนิ่งเงียบเท่ากับเป็นการเตรียมจิตด้านในเพื่อรอรับความเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้า บางโองการได้กล่าวยํ้าเน้นถึงการตั้งใจฟังโองการต่าง ๆ สำหรับผู้ศรัทธาว่าเป็นการเพิ่มพูนความศรัทธาและเป็นการมอบหมายความไว้วางใจต่อพระองค์

๓๑

อัล-กุรอานกล่าวว่า แท้จริงบรรดาผู้ที่ศรัทธานั้นคือ ผู้ที่เมื่อกล่าวถึงอัลลอฮฺหัวใจของพวกเขาก็หวั่นเกรง และเมื่อบรรดาโองการของพระองค์ถูกอ่านแก่พวกเขา ความศรัทธาของพวกเขาก็จะเพิ่มพูน และแด่พระเจ้าของพวกเขาเท่านั้นที่พวกเขามอบไว้วางใจ( 2)

(2 )อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อันฟาล 2

ท่านอิมามซัจญาด (อ.) กล่าวว่า บุคคลใดฟังการอ่านอัล-กุรอาน โดยที่เขาไม่ได้อ่าน อัลลอฮฺจะลบล้างหนึ่งในบาปพร้อมทั้งบันทึกความดีให้แก่เขา และยกฐานันดรของเขาให้สูงส่ง

(อุซูลอัลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้าที่ 612 ฮะดีษที่ 6)

ข้อควรพิจารณา

1. การนิ่งเงียบและฟังขณะได้ยินเสียงอ่านอัล-กุรอานเป็นมุสตะฮับ

2. ถ้าไม่ฟังและส่ออาการของการไม่ใส่ใจต่ออัล-กุรอาน ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าเป็นการดูถูกอัล-กุรอานเป็นฮะรอม แต่สำหรับงานมัจลิซ (ชุมนุมเกี่ยวกับศาสนา) หรืองานอ่านฟาติฮะฮฺให้กับผู้ตาย ซึ่งบางครั้งอาจจะมีการพูดคุยกับบ้างแต่ไม่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นการดูถูกอัล-กุรอานไม่เป็นไร ( 1)

(1 ) อิซติฟตาอาตกุรอาน หน้า 147 ข้อที่ 12

3. การกล่าวคำพูดบางอย่างระหว่างที่อ่านอัล-กุรอานในมัจลิซ หรือที่มีการประกวดแข่งขันอ่านอัล-กุรอาน เช่นคำว่า อะฮฺซันตะ หรือ ฏอยยิบัลลอฮฺ หรืออัลลอฮฺ อัลลอฮฺ ไม่เป็นไร แต่คำพูดเหล่านั้นต้องสอดคล้องกับมารยาทของการฟังอัล-กุรอานด้วย

๓๒

14. ระวังเรื่องการให้เกียรติอัล-กุรอาน

ดังที่กล่าวไปแล้วว่าการดูถูกอัล-กุรอานเป็นฮะรอม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นมุสลิมนอกจากจะไม่มีสิทธิ์ดูถูกอัล-กุรอานแล้ว ต่อหน้าอัล-กุรอานยังต้องเอาใจใส่เรื่องมารยาทอย่างเป็นพิเศษชนิดที่กล่าวได้ว่าท่านกำลังยืนอยู่ต่อหน้าอาจารย์ แน่นอนการให้เกียรติต่ออัล-กุรอ่านในแต่ละพื้นที่มีประเพณีปฏิบัติไม่เหมือนกัน ซึ่งจะขอหยิบยกบางประเด็นที่เหมือนกันดังนี้

1. เก็บรักษาอัล-กุรอานในสถานที่ ๆ มีความเหมาะสมมองเห็นได้ชัดเจน ปลอดภัย และมีความสะอาด

2. นั่งอย่างมีมารยาทเมื่ออยู่ต่อหน้าอัล-กุรอาน

3. ควรมีที่วางอัล-กุรอาน เช่น หมอนหรือระฮาเป็นต้น

4. ควรนั่งหันหน้าตรงกับกิบละฮฺขณะอ่านอัล-กุรอาน และควรอ่านด้วยความตั้งใจ

5. ไม่ควรละเว้นการอ่านอัล-กุรอานในบ้าน เพราะวันกิยามะฮฺสิ่งหนึ่งที่จะฟ้องต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) คือ อัล-กุรอานที่ไม่ได้ถูกอ่านปล่อยทิ้งไว้จนฝุ่นละอองเกาะ ( 1)

(1 )อุซูลกาฟียฺ เล่ม 1 หน้าที่ 613 ฮะดีษที่ 3

6. ไม่ควรอ่านอัล-กุรอานในช่วงเวลาและสถานที่ ๆ ไม่เหมาะสม เนื่องจากเป็นการดูถูก

7. ไม่ควรวางสิ่งของบนอัล-กุรอาน

8. ถ้าหากอัล-กุรอานตกลงบนพื้นควรเก็บขึ้นมาอย่างรวดเร็วด้วยความเคารพ

๓๓

9. ไม่ควรวางอัล-กุรอานลงบนสิ่งที่เป็นนะยิส เช่น รอยเลือด หรือเลือด เป็นฮะรอม และเป็นวาญิบให้หยิบขึ้นโดยเร็ว

10. กรณีที่ปก หรือกระดาษ หรือลายเส้นของอัล-กุรอานเปื้อนนะยิส ต้องรีบล้างโดยเร็ว

ท่านเฟฎ กาชานียฺ นักตัฟซีรอัล-กุรอานผู้ทรงคุณวุฒิได้เขียนว่า

นักอ่านอัล-กุรอานทั้งหลายควรรักษามารยาทหน้าตาของตนให้เหมาะสม และเวลาอ่านเป็นการดีให้หันหน้าตรงกับกิบละฮฺ และก้มศีรษะขณะอ่าน

ขณะอ่านอัล-กุรอานให้นั่งขัดสมาธิ และไม่สมควรนั่งพิงกับสิ่งใด

เมื่อมองดูแล้วต้องมิใช่การนั่งที่มีใบหน้าบ่งบอกถึงความเหย่อหยิ่งจองหอง

ถ้านั่งคนเดียวไม่สมควรนั่งเสมอกับครู หรือมองดูแล้วเท่าเทียมกับครู ( 1)

(1 ) อัล มะฮัจตุลบัยฎออฺ เล่ม 2 หน้าที่ 219

แม้ว่าการระวังรักษาและการให้เกียรติอัล-กุรอาน จะเป็นเรื่องที่สติปัญญารับได้ทุกคนก็ตาม กระนั้นริวายะฮฺจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ยังได้สำทับให้เห็นถึงความสำคัญของเรื่องนี้ไว้อีก มีรายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ.)

ในวันกิยามะฮฺ อัลลอฮฺ (ซบ.) จะตรัสถึงอัล-กุรอานว่า ฉันขอสาบานด้วยเกียรติยศ ความสูงส่ง และอำนาจของฉันว่า วันนี้ฉันจะให้เกียรติแก่บุคคลที่เคยให้เกียรติเจ้า และฉันจะทำให้ตํ่าต้อยบุคคลที่เคยทำให้เจ้าตํ่าต้อย ( 2)

(2 ) วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 4 หน้า 827

๓๔

15.ซัจดะฮฺขณะอ่านบทที่มีโองการซัจดะฮฺ

มีอัล-กุรอานอยู่ 15 โองการขณะที่อ่านหรือได้ยินคนอื่นอ่านต้องซัจดะฮฺ 1 ครั้งได้แก่

ก. อัล-กุรอาน 4 โองการต่อไปนี้เมื่ออ่านหรือได้ยินคนอื่นอ่าน เป็นวาญิบต้องซัจดะฮฺ ซึ่งเรียกว่า ซูเราะฮฺซัจดะฮฺ หรือ ซูเราะฮฺอะซาอิม ประกอบด้วย

- ซูเราะฮฺอัซ ซัจดะฮฺ โองการที่ 15

- ซูเราะฮฺอัล-ฟุซซิลัต โองการที่ 27

- ซูเราะฮฺอัน นัจมุ โองการที่สุดท้าย

- และซูเราะฮฺอัล อะลัก โองการสุดท้าย

ข. อัล-กุรอาน 11 โองการต่อไปนี้เมื่ออ่านหรือได้ยินคนอื่นอ่าน เป็น

มุสตะฮับให้ซัจดะฮฺ ประกอบด้วย

- ซูเราะฮฺอัล อะอฺรอฟ โองการสุดท้าย

- ซูเราะฮฺอัร เราะอฺดุ โองการที่ 15

- ซูเราะฮฺอัล นะฮฺลิ โองการที่ 50

- ซูเราะฮฺอัล อิซรอ โองการที่ 109

- ซูเราะฮฺมัรยัม โองการที่ 58

- ซูเราะฮฺอัล ฮัจญฺ โองการที่ 18 และ 77

- ซูเราะฮฺอัล ฟุรกอน โองการที่ 60

- ซูเราะฮฺอัล นัมลิ โองการที่ 26

- ซูเราะฮฺอัซ ซ็อด โองการที่ 24

- ซูเราะฮฺอัน อินชิกอก โองการที่ 21

๓๕

อะฮฺกามเฉพาะสาหรับโองการซัจดะฮฺ

1. บุคคลที่อ่านหรือได้ยินคนอื่นอ่านโองการซัจดะฮฺวาญิบโองการใดโองการหนึ่ง หลังจากจบแล้วต้องลงซัจดะฮฺทันที แต่ถ้าลืมเมื่อนึกขึ้นได้ให้ซัจดะฮฺ

2. การซัจดะฮฺวาญิบกุรอาน ไม่จำเป็นต้องหันหน้าตรงกิบละฮฺ หรือต้องมีวุฎูอฺ และเสื้อผ้าไม่จำเป็นต้องสะอาด และอนุญาตให้ซัจดะฮฺลงบนทุกสิ่งได้ยกเว้น สิ่งของที่เป็นอาหารหรือเครื่องดื่ม

3. กรณีที่ได้ยินโองการซัจดะฮฺจากวิทยุ โทรทัศน์ หรือเทป ซึ่งไม่ได้เป็นการได้ยินโดยตรงจากผู้อ่านไม่จำเป็นต้องซัจดะฮฺ

แต่ถ้าได้ยินจากเครื่องขยายเสียงที่เป็นเสียงของคนอ่านโดยตรง เป็น

วาญิบต้องซัจดะฮฺ

หมายเหตุ เกี่ยวกับเรื่องนี้บรรดามัรญิอฺในยุคปัจจุบันวินิจฉัยตรงกัน เช่น

ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ริซาละฮฺเตาฎีฮุลมะซาอิล ข้อที่ 1096

ท่านอายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี อิซติฟตาอาต เล่ม 1 หน้าที่ 105

ท่านอายะตุลลอฮฺ ฟาฎิล ลันกะรอนียฺ ทั้งสองกรณีเป็นวาญิบต้อง ซัจดะฮฺ ( 1)

(1 ) เตาฎีฮุลมะซาอิล ข้อที่ 1117, อิซติฟตาอาตกุรอาน หน้าที่ 30

๓๖

4. กล่าวว่า การกล่าวซิกรฺในซัจดะฮฺวาญิบกุรอาน ไม่เป็นวาญิบ เพียงแค่เอาหน้าผากไปจรดพื้นถือว่าเพียงพอ แต่ดีกว่าให้กล่าวซิกรฺต่อไปนี้ รายงานโดยท่านอิมามอะลี (อ.)

لا إلهَ إلاّ اللّه حقّاً حقّاً لا إله إلاّ اللّه إيماناً و تصديقاً، لا إله إلاّ اللّه عُبُوديَّةً و رقّاً، سَجَدْتُ لكَ يا ربِّ تَعَبُّداً و رقّاً، لا مُسْتَنْكِفاً و لا مُسْتَكْبراً، بَلْ انا عبدٌ ذَليلٌ ضَعيفٌ خائفٌ مُسْتجير.َ

หมายถึง แน่นอนไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ ฉันขอศรัทธา และขอยืนยันว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจาก อัลลอฮฺ ฉันขอแสดงควมเคารพภักดีและขอมอบตนเป็นข้าทาส

โอ้พระผู้อภิบาล ฉันได้กราบ (ซัจดะฮฺ) ต่อพระองค์โดยการยอมจำนนเป็นข้าทาส ไม่ขอแสดงตนเป็นผู้ทรนงหรือผู้ดื้อดึง หากแต่ว่าฉันคือบ่าวที่ตํ่าต้อย มีความเกรงกลัวจึงขอความคุ้มครองพระองค์( 2)

(2 )อุรวะตุลวุซกอ เล่ม 1 ฟัซลฺ ฟี ซาอิริ อักซามิซซุญูด

๓๗

16. อ่านด้วยความใจเย็น

ความใจเย็นในการปฏิบัติทุกภารกิจการงาน ถือว่าเป็นสาเหตุนำไปสู่ความสำเร็จ และความถูกต้อง ส่วนการรีบเร่งเป็นสาเหตุนำไปสู่ความเสียหายและความบกพร่อง ซึ่งสิ่งนี้สามารถพิสูจน์ได้จากการอ่านอัล-กุรอาน

ริวายะฮฺจำนวนมากมายได้กล่าวเตือนนักอ่านอัล-กุรอานทั้งหลายว่า

จงหลีกเลี่ยงการรีบร้อนการอ่านอัล-กุรอาน ทว่าจงอ่านด้วยท่วงทำนองที่มีความไพเราะ เมื่ออ่านถึงโองการที่กล่าวถึงเรื่องสวรรค์ ให้หยุดเล็กน้อยเพื่อขอรางวัลสรวงสวรรค์จากพระองค์ และเมื่ออ่านถึงโองการที่กล่าวถึงนรก ให้หยุดเล็กน้อยเพื่อขอความคุ้มครองและพึ่งพาพระองค์ ( 1)

(1 ) อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้า 617, 618 ฮะดีษที่ 2, 5

แน่นอนเมื่อผู้อ่านอัล-กุรอาน อ่านอย่างใจเย็นยอ่มทำให้มีเวลาตรึกตรองในความหมายเหล่านั้นมากขึ้น ส่วนการอ่านอย่างรีบเร่งเขาจะไม่ได้รับการชี้นำใด ๆ จากอัล-กุรอานนอกจากผลบุญ และการออกเสียงถูกต้องตามหลักการอ่าน

17. อ่านอัล-กุรอานอย่างคนมีความรัก

บรรดาผู้ศรัทธาเมื่ออ่านอัล-กุรอานจะเห็นว่าอัล-กุรอานเกิดผลสะท้อนกับในทางบวก เขาจะอยู่ในสภาพของคนอยากรู้อยากเห็นอย่างใจจดใจจ่อ

มีความหวาดกลัวซึ่งในบางครั้งจะเห็นว่ามีนํ้าตาไหลพรากอาบแก้มทั้งสอง

ซึ่งการร้องไห้บางเกิดจากความตื่นตันใจ และบางครั้งก็เกิดจากความรัก

๓๘

จะเห็นว่ามีริวายะฮฺจำนวนมากได้เน้นให้อ่านอัล-กุรอานด้วยความรัก เช่น

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า ไม่มีดวงตาคู่ใดที่ร้องไห้ขณะอ่าน

อัล- กุรอาน นอกเสียจากว่าเขาจะมีความสุขในวันกิยามะฮฺ ( 1)

(1 ) มีซาน อัลฮิกมะฮฺ เล่ม 8 หน้า 89

อัล-กุรอานุลกะรีมได้อธิบายมนุษย์ไว้ 2 ลักษณะ ซึ่งหนึ่งในนั้นเมื่อได้ยินอัล-กุรอานพวกเขาจะร้องไห้ อัล-กุรอานกล่าวว่า

إِذَا تُتْلَى عَلَیْهِمْ آیَاتُ الرَّحْمَنِ خَرُّوا سُجَّدًا وَبُکِیًّا

เมื่อบรรดาโองการของพระผู้ทรงกรุณาปรานีถูกอ่านแก่พวกเขา พวกเขาจะก้มลงสุญูดและร้องไห้ ( 2)

(2 )อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ มัรยัม / 58

ประเด็นที่น่าสนใจ มีริวายะฮฺจำนวนมากแนะนำว่าให้อ่านอัล-กุรอานด้วยสำเนียงที่ไพเราะ บางริวายะฮฺกล่าวว่าให้ร้องไห้อ่านอัล-กุรอาน หมายถึงอ่านพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้าด้วยความรักและอ่านอย่างมีศิลปะในการอ่าน

๓๙

18. การอ่านให้จบ

ขั้นตอนการอ่านให้จบ ริวายะฮฺจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และจากท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่าควรจบการอ่านอัล-กุรอานทุกครั้งด้วยประโยคที่ว่า เซาะดะกอลลอฮุล อะลียุล อะซีม หมายถึง สัจจะยิ่งอัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่งและยิ่งใหญ่ ( 3)

(3 ) บิฮารุลอันวาร เล่มที่ 95 หน้าที่ 400, เล่มที่ 57 หน้าที่ 243

ดุอาอฺหลังจากการอ่าน ผู้ที่อ่านอัล-กุรอานทุกท่านถือว่าอยู่ท่ามกลางบรรยากาศของอุ่นไอแห่งพระดำรัส ฉะนั้นหลังจากอ่านอัล-กุรอานแล้วสมควรอย่างยิ่งที่ต้องดุอาอฺเป็นการส่งท้ายเพื่อการตอบรับในสิ่งที่ตนได้ปฏิบัติลงไป

๔๐

ถึงตอนนี้ ท่านอิมามอะลี(อ)ได้ลุกขึ้นไปหาท่าน พลางจับตัวของท่านแล้วกล่าวว่า

“ ขอสาบานต่อบิดาและมารดาของข้า เชื้อสายเหล่านั้นส่วนหนึ่งย่อมเป็นของอีกส่วนหนึ่งและอัลลอฮฺ(ซ.บ.)คือผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรับรู้เสมอ ” ( ๒)

(๒ ) อะอฺยานุช - ชีอะฮฺ ๔ กอฟ ๑ / ๓๑

คำปราศรัยเรื่องที่ ๓

หลังจากที่ท่านอะมีรุลมุมินีน(อ)วายชนม์แล้ว ท่านอิมามฮะซัน(อ) ได้กล่าวคำปราศรัยมีใจความตอนหนึ่งว่า

“ แน่นอนยิ่ง เมื่อคืนนี้บุรุษผู้หนึ่งที่ผู้มีคุณธรรมในรุ่นก่อนไม่เคยมีผลงานที่ดีเด่นล้ำหน้าเกินเขา และคนมีคุณธรรมรุ่นหลังไม่เคยมีผลงานที่ทัดเทียมกับเขา เขาได้วายชนม์ไปแล้ว แน่นอนที่สุด

เขาเคยต่อสู้ร่วมกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)โดยเอาตัวเขาเองเข้าไปปกป้องท่าน และแน่นอนที่สุดเขาคือคนที่ถือธงของท่านศาสดานำหน้าท่านเสมอ โดยญิบรีลขนาบไหล่ของเขาทางด้านขวา

และมีกาอีลอยู่ทางด้านซ้าย เขาไม่เคยกลับมาจากการทำศึกโดยมิได้รับชัยชนะจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

แน่นอนที่สุดเมื่อคืนนี้เอง เขาได้วายชนม์ไปแล้ว ซึ่งตรงกับคืนที่

นบีอีซา(อ)บุตรของมัรยัมเสด็จขึ้นสู่ฟากฟ้าและตรงกับคืนที่ ยูชะฮฺ บิน นูน ทายาทของนบีมูซา(อ) วายชนม์เช่นกัน เขาไม่มีทรัพย์สินเงินทองส่วนตัวทิ้งไว้ข้างหลัง นอกจากเจ็ดร้อยดิรฮัม อันเป็นส่วนที่เหลือจากการบริจาคของท่าน

๔๑

ท่านต้องการเอาไปจับจ่ายเพื่อบริการคนในครอบครัวของท่าน ”

ต่อจากนั้นเสียงของอิมามฮะซัน(อ)ก็ขาดหายไป ท่านร้องไห้ ประชาชนก็ร้องไห้ตาม

ต่อจากนั้นท่านได้กล่าวอีกว่า

“ ประชาชนทั้งหลาย คนที่รู้จักข้าฯก็รู้จักเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ส่วนคนที่ยังไม่รู้จักข้าฯก็ขอบอกว่า ข้าฯคือฮะซัน บุตรของมุฮัมมัด(ศ) ข้าฯคือบุตรของผู้แจ้งข่าวดี ข้าฯคือบุตรของผู้ตักเตือนให้ระวังภัย ข้าฯคือบุตรของผู้เชิญชวนสู่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) โดยการอนุมัติของพระองค์ ข้าฯคือบุตรของแสงสว่างเรืองรอง ข้ามาจากอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)ที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงขจัดมลทินออกไปจากพวกเขา และทรงชำระขัดเกลาพวกเขา ให้สะอาดบริสุทธิ์อย่างยิ่ง และเป็นพวกที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีบัญญัติไว้

ในคัมภีร์ของพระองค์ว่า ให้จงรักภักดีต่อพวกเขาที่พระองค์ทรงตรัสว่า “ และผู้ใดประกอบความดีงามอันหนึ่ง เราจะสนองตอบแก่เขาซึ่ง ความดีงามในนั้น ”

การประกอบความดีตามความหมายในโองการนี้คือ การให้ความรักต่อพวกเรา อะฮฺลุลบัยตฺ(อ) ” ( ๓)

-------------------------------------------------------

(๓ ) มะกอติลุฏ - ฏอลิบียีน หน้า ๓๕

๔๒

คำปราศรัยเรื่องที่ ๔.

ท่านอับดุรเราะฮฺมาน บินญุนดุบ รายงานคำบอกเล่าจากบิดาของเขาและคนอื่นๆ ว่าหลังจากที่ท่านอิมามอะลี(อ)วายชนม์แล้ว ประชาชนทั้งหลายได้มาทำการให้สัตยาบันต่อท่านอิมามฮะซัน บินอะลี(อ)

แล้วท่านอิมามได้กล่าวว่า

“ มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) เนื่องในกรณีที่พระองค์ทรงดำเนินภารกิจหนึ่ง ลุล่วงไป และทรงกำหนดความดีงามไว้เฉพาะส่วนและทรงครอบคลุมภารกิจหนึ่งๆ ไว้ ทรงเป็นผู้ประทานการอภัยอย่างเหลือล้น มวลการสรรเสริญแด่พระองค์ที่ทรงบันดาลความโปรดปรานของพระองค์ให้แก่เราอย่างสมบูรณ์ และเราจำต้องสนองตอบต่อพระองค์เพื่อความปิติชื่นชมของพระองค์ แท้จริงโลกนี้เป็นสถานที่แห่งการทดสอบ และมีพิษภัย

ทุกสิ่งที่อยู่ในโลกล้วนสูญสลาย

แน่นอนที่สุด อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงบอกเล่าถึงเรื่องราวของมันให้แก่พวกเราเพื่อให้เราใคร่ครวญ ดังนั้นพระองค์จึงทรงมอบพันธะสัญญาในเรื่องคำเตือนมาเพื่อเราจะได้ไม่มีข้ออ้างอีก ในเมื่อคำตักเตือนมาแล้ว ดังนั้นท่านทั้งหลายจงยึดหลักสมถะในสิ่งที่มีการสูญสลาย และจงแสวงหาในสิ่งที่มั่นคงถาวร และจงยำเกรงต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทั้งในที่ลับและที่เปิดเผย

แท้จริงอิมามอะลี(อ)นั้น ไม่ว่าในสมัยที่มีชีวิตอยู่หรือ เสียชีวิตไปแล้ว ชีวิตของท่านดำเนินไปตามขอบเขตจำกัด ท่านตายไปตามกำหนดวาระ และแท้จริงข้าขอให้สัตยาบันต่อท่านทั้งหลายว่า พวกท่านจะต้องให้ความสันติสุขกับผู้ที่ข้าให้ความสันติสุข และจงต่อสู้กับผู้ที่ข้าต่อสู้ ”

แล้วคนทั้งหลายก็ให้สัตยาบันต่อท่านตามนี้(๔)

----------------------------------------------------------

(๔ ) อัต - เตาฮีด หน้า ๓๗๘

๔๓

คำปราศรัยเรื่องที่ ๕.

ท่านอะบี ญะมีละฮฺ รายงานว่า : แท้จริงท่านอิมามฮะซัน บินอะลี(อ)นั้น เมื่อตอนที่ท่านอิมามอะลี(อ)ถูกลอบสังหาร ท่านอยู่ทางด้านหลังในขณะที่พวกเรากำลังนมาซร่วมกัน ก็มีชายคนหนึ่งกระโดดเข้ามาทำร้ายท่าน จนเกิดอาการชํ้าตรงบริเวณสะเอวของท่าน ท่านเจ็บอยู่เป็นเวลาหนึ่งเดือน หลังจากนั้น ท่านได้ขึ้นไปยืนที่มิมบัร แล้วกล่าวว่า

“ ชาวอิรักทั้งหลาย จงยำเกรงต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ในเรื่องของพวกเรา เพราะเราคือผู้ปกครองและแขกของพวกท่าน แท้จริงพวกเราคือ อะฮฺลุลบัยตฺที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตรัสถึงพวกเขาไว้ว่า :

“ อันที่จริงอัลลอฮฺทรงประสงค์ที่จะขจัดมลทินออกไปจากสูเจ้า โอ้อะฮฺลุลบัยตฺและทรงชำระขัดเกลาสูเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์อย่างแท้จริง ”

ตลอดเวลาที่กล่าวคำปราศรัย เราเห็นว่ามีชายคนหนึ่งที่มัสญิดร้องไห้อยู่อย่างไม่หยุดหย่อน ( ๕)

---------------------------------------------------------------

(๕ ) มะนากิบอะลี อะมีรุลมุมินีน ( อ ) ของอิบนุอัล - มะฆอชะลี หน้า ๓๘๓

คำปราศรัยเรื่องที่ ๖

เมื่อครั้งที่ท่านอิมามฮะซัน(อ)ยอมรับข้อเสนอสันติภาพได้กล่าวคำปราศรัย ใจความว่า

“ พวกเราขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ว่า :

เรายังไม่หายสงสัยและยังเสียใจต่อชาวชาม(ซีเรียในปัจจุบัน)อยู่

๔๔

อันที่จริงแล้วที่เราต่อสู้กับชาวชาม เราดำเนินการด้วยวิธีที่สันติและอดทน

แต่แล้วความสันติกลับก่อให้เกิดศัตรู ความอดทนกลับก่อให้เกิดความเจ็บปวด เมื่อครั้งที่พวกท่านออกเดินทางทำสงครามศิฟฟีนนั้น พวกท่านให้ศาสนานำหน้าโลก แต่บัดนี้พวกท่านเปลี่ยนไปโดยให้โลกนำหน้าศาสนา แน่นอนระหว่างสงครามทั้งสองครั้ง พวกเท่านเปลี่ยนไป เมื่อสงครามศิฟฟีนพวกท่านร้องไห้ เมื่อสงครามนะฮฺรอวาน พวกท่านแสวงหาประโยชน์ อันว่าผู้ยังเหลืออยู่กลับพ่ายแพ้ ส่วนผู้ที่ร้องไห้กลับได้ประโยชน์ แน่นอนกรณีที่

มุอาวิยะฮฺเสนอแก่เรามานั้น

เป็นเรื่องที่ไม่มีเกียรติยศ และไม่มีความยุติธรรมเลย ดังนั้นถ้าหากพวกท่านต้องการพบกับความตาย

เราก็จะปฏิเสธเขาไป แล้วเราจะให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)พิพากษาเขาด้วยคมดาบ แต่ถ้าหากพวกท่านต้องการชีวิตอยู่ เราก็จะตอบรับเขา และเราจะถือเอาหลักการอันเป็นที่พอใจสำหรับพวกท่าน ”

ปรากฏว่าประชาชนร้องตะโกนจากทุกสารทิศว่า

“ การคงอยู่ การคงอยู่ ” ( ๖)

---------------------------------------------------------

(๖ ) อัล - กามิล ฟิตดารีค เล่ม ๕ หน้า ๔๐๖

คำปราศรัยเรื่องที่ ๗.

เมื่อครั้งที่มุอาวิยะฮฺเข้ามาในเมืองกูฟะฮฺนั้น อัมรฺ บินอัล-อาศ ได้แนะนำเขาว่าให้เขาสั่งท่านอิมามฮะซัน(อ)ขึ้นกล่าวคำปราศรัย เขารู้สึกมีอาการหวาดหวั่น พลางกล่าวกับท่านอิมามว่า

“ โปรดลุกขึ้น แล้วกล่าวคำปราศรัย ”

๔๕

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้ลุกขึ้น และกล่าวคำปราศรัยว่า

“ ประชาชนทั้งหลาย แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงนำทางพวกท่านโดยคนแรกในหมู่พวกเราและปกป้องเลือดเนื้อของพวกท่านโดยคนสุดท้านในหมู่พวกเรา พวกเราคืออะฮฺลุลบัยตฺ(อ)แห่งศาสดาของพวกท่าน ที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงขจัดมลทินออกไปจากพวกเรา และทรงชำระขัดเกลาพวกเราให้สะอาดบริสุทธิ์อย่างยิ่ง แท้จริงสำหรับภารกิจอันนี้มีเวลา กำหนดชั่วระยะเวลาหนึ่ง โลกนี้ก็มีเพียงชั่วคราว เพราะอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตรัสกับศาสดา(ศ)ของพระองค์ว่า “ แท้จริงโลกนี้บางทีอาจเป็นพิษภัยแก่พวกเจ้า และเป็นที่ให้ความสุขเพียงชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น ”

ปรากฏว่าประชาชนพากันร้องไห้ จนมุอาวิยะฮฺหันไปทางอัมรฺ แล้วกล่าวว่า “ นี่เป็นความคิดของท่าน ” ( ๗)

------------------------------------------------------------

(๗ ) ตัซกิเราะตุล - ค่อวาศ หน้า ๑๑๔

คำปราศรัยเรื่องที่ ๘.

มีคนพูดกับมุอาวิยะฮฺในวันหนึ่งว่า

“ หากท่านสั่งให้ฮะซัน บุตรของ อะลี บินอะบีฏอลิบขึ้นบนมิมบัรแล้วกล่าวคำปราศรัยเพื่ออธิบายแก่ประชาชนแล้ว จะเป็นการบั่นทอนตัวของเขาเอง ”

แล้วเขาก็เรียกท่านฮะซัน(อ)โดยกล่าวว่า

“ โปรดขึ้นบนมิมบัร แล้วพูด ถ้อยคำอันเป็นคำสอนแก่เรา ”

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้ขึ้นไปยืนบนมิมบัร แล้วกล่าวคำสรรเสริญสดุดีอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

๔๖

ต่อจากนั้นท่านกล่าวว่า

“ ประชาชนทั้งหลาย ใครที่รู้จักฉันอยู่แล้วก็ย่อมรู้จักฉันเป็นอย่างดี ส่วนคนที่ยังไม่รู้จักก็ขอบอกว่า ฉันคือฮะซัน บุตรของอะลี บินอะบีฏอลิบ และบุตรของหัวหน้าสตรีทั้งหลายในจักรภพนี้ ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ บุตรีของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ฉันคือบุตรผู้ประเสริฐสุดจากสรรพสิ่งทั้งมวลของพระองค์อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ฉันเป็นบุตรของศาสดา(ศ) ฉันคือบุตรของผู้ทรงสิทธิในเกียรติยศทั้งปวง ฉันคือบุตรของผู้มีสิทธิในสัญญาณอภินิหาร และหลักฐานอันชัดแจ้ง ฉันคือบุตรของอะมีรุลมุมินีน ฉันคือผู้ที่ถูกผลักไสจากสิทธิ์โดยชอบธรรมของฉัน ฉันและฮุเซนผู้เป็นน้องชายคือหัวหน้าของชายหนุ่มชาวสวรรค์ ฉันคือบุตรของที่สถิตย์หินดำ อันจำเริญ(อัร-รุกน)และสถานที่ยืนของนบีอิบรอฮีม(อ)ตรงบริเวณบัยตุลลอฮฺ(มะกอม) ฉันคือบุตรแห่งมักกะฮฺและมีนา ฉันคือบุตรแห่งมัช อัร และอะรอฟาต ”

มุอาวิยะฮฺ กล่าวแก่ท่านว่า “ โอ้อะบามุฮัมมัด จงเอาเรื่องที่เป็นเนื้อหาหยุดการกล่าวอย่างนี้ได้แล้ว ”

ท่านอิมามฮะซัน(อ)กล่าวต่อไปว่า

“ กระแสลมจะถูกเป่าออกไป ความร้อนจะทำให้สุกงอม ความเย็นจะทำให้ชุ่มชื้น ”

ต่อจากนั้นท่านอิมามฮะซัน(อ)ก็หันกลับมากล่าวอีกว่า

“ ฉันคืออิมามสำหรับสรรพสิ่งของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และเป็นบุตรของมุฮัมมัด ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)”

๔๗

ปรากฏว่ามุอาวิยะฮฺ กลัวว่าท่านอิมามจะพูดประโยคต่อจากนั้น ในเรื่องที่ทำให้ประชาชนติเตียนตัวเขา ก็เลยกล่าวว่า

“ โอ้อะบามุฮัมมัด โปรดลงมาเถิด เท่าที่ผ่านมาก็พอแล้ว ”

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ก็ลงมาทันที(๘)

-------------------------------------------------

(๘ ) อะมาลีย์ ของท่านชัยค์ศ็อดดูก หน้า ๑๕๑

๔๘

พินัยกรรม :

บันทึกแห่งประวัติศาสตร์

กระบวนตำราเกี่ยวกับชีวประวัติทั้งหลายนั้นเต็มไปด้วยบันทึกเกี่ยวกับพินัยกรรมของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)ที่มีไว้สำหรับผู้ที่เจริญรอยตามและให้ความรักต่อพวกเขา ในพินัยกรรมเหล่านี้ครอบคลุมถึงเรื่องคำสอนในด้านต่าง ๆ จริยธรรมมารยาท และการเชิญชวนสู่สัจธรรม ถ้าหากพวกเราจะรวบรวมบันทึกพินัยกรรม คำสั่งเสียของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)ที่มีมาถึงเราทั้งหมดแล้วไซร้ แน่นอนที่สุดมันจะเป็นตำราที่มีขนาดใหญ่โตที่ประชาชาติอิสลามมีความจำเป็นต่อการที่จะนำมันมาศึกษาเพื่อความเจริญก้าวหน้าทางศาสนาของตน ในบทนี้เราจะบันทึกเกี่ยวกับ

ข้อมูลบางประการจากพินัยกรรมของอิมามท่านฮะซัน(อ)ดังต่อไปนี้

๑. พินัยกรรมของอิมามฮะซัน(อ)แก่บุตรของท่าน และบุตรของน้องชาย มีดังนี้

“ โอ้บุตรของข้า และบุตรแห่งน้องชายข้า วันนี้เจ้ายังเป็นผู้น้อยสำหรับคนในกลุ่มหนึ่ง แต่เจ้าต้องมั่นใจว่า ในวันข้างหน้าเจ้าจะต้องเป็นผู้อาวุโสของคนอีกกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นเจ้าจงเล่าเรียนศึกษาหาความรู้ คนไหนที่ไม่มีความสามารถรายงานหรือจดจำก็ให้เขาบันทึกไว้ และเอาไปเก็บไว้ที่บ้านของตน ” ( ๑)

--------------------------------------------------------------

(๑ ) อัล - ฮะซัน บินอะลี ของท่านอับดุลกอดิร อะหมัด อัล - ยูซุฟ หน้า ๖๖

๔๙

๒. พินัยกรรมหนึ่งของท่านฮะซัน(อ)มีใจความว่า

“ โอ้ บุตรหลานของอาดัม จงยับยั้งตนให้พ้นจากข้อห้ามของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) แล้วเจ้าจะเป็นผู้เคารพภักดี จงพอใจในสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)แบ่งสรรให้ แล้วเจ้าจะเป็นคนที่มั่งมี จงทำความดีกับเครือญาติรอบ ๆ ตัวเจ้าแล้วเจ้าจะเป็นคนมีความสันติสุข จงเป็นมิตรกับประชาชนให้ได้ตามที่เจ้าชอบให้

เขาเป็นมิตรกับเจ้า แล้วเจ้าจะเป็นคนที่ยุติธรรม เพราะเหตุว่าในหมู่พวกเจ้าทั้งหลาย จะมีชนกลุ่มหนึ่งที่สะสมทรัพย์สินไว้ เป็นอันมาก ก่อสร้างบ้านเรือนโดดเด่น มีการตั้งความหวังอันยาวไกล แต่แล้วการเก็บสะสมของคนเหล่านั้นล้มเหลว ผลงานของคนเหล่านั้น เป็นของล่อลวงและสถานที่

อาศัยของคนเหล่านั้นคือ สุสาน ”

“ โอ้ บุตรหลายของอาดัม แท้จริงแล้วนับตั้งแต่เจ้าออกมาจากครรภ์มารดา ไม่วายที่เจ้าอยู่ในภาวะที่ทำลายอายุขัยของเจ้าเองตลอดมา ดังนั้นจงฉวยโอกาสที่เจ้ามีอยู่เพื่อรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นแก่เจ้า เพราะว่าผู้ศรัทธานั้นย่อมแสวงหาเสบียงเอาไว้ ส่วนผู้ปฏิเสธ(กาเฟร)นั้นย่อมแสวงหาแต่

ความสุข ” ( ๒)

---------------------------------------------------

(๒ ) อะอฺยานุช - ชีอะฮฺ ๔ กอฟ ๑๐๑ / ๑

๕๐

๓. เมื่อครั้งที่ท่านอิมามฮะซัน(อ)นอนป่วยก่อนถึงแก่การวายชนม์นั้น

ญุนาดะฮฺ บินอะบีอุมัยยะฮฺได้เข้ามาหาแล้วกล่าวว่า

“ ข้าแต่ผู้เป็นบุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้โปรดให้คำชี้แนะแก่ข้าด้วย ”

ท่านกล่าวว่า “ ได้ซิ จงเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อการเดินทางของเจ้า

จงหาเสบียงไว้ก่อนวาระสุดท้ายของเจ้าจะมาถึง จงรู้ไว้ว่าเจ้าแสวงหาชีวิตทางโลก ส่วนความตาย มันแสวงหาชีวิตของเจ้า

จงอย่ากังวลใจกับวันที่มาไม่ถึงเจ้า จงรู้ไว้ด้วยว่า ทรัพย์สินอันใดก็ตามที่เจ้าเสาะหามา ถ้ามันมากเกินกว่ากำลังของเจ้าแล้วไซร้ มันย่อมเป็นกองคลังสำหรับคนอื่นทั้งสิ้น จงรู้ไว้เถิดว่า อันใดที่เป็นของซึ่งได้รับการหวงห้าม ย่อมมีบทลงโทษ อันใดที่เป็นของซึ่งได้รับการคลางแคลงสงสัย ย่อมมีข้อตำหนิ ดังนั้นจงพักพิงในโลกนี้เยี่ยงเรือนพักของผู้ตาย จงเสาะหาเอามาจากมัน เพียงที่มันพอแก่เจ้า

ดังนั้นอันใดที่เป็นของซึ่งได้รับการอนุญาต เจ้าก็จงมีสมถะในสิ่งนั้นๆ ส่วนอันใดที่เป็นของซึ่งได้รับการหวงห้าม มันย่อมหาได้เป็นเสบียงไม่

เจ้าจงถือปฏิบัติต่อสิ่งนั้นเหมือนอย่างที่เจ้าปฏิบัติต่อของคนตาย ถ้าหากมันเป็นของที่ได้รับการตำหนิ มันก็มีแต่ข้อน่าตำหนิทั้งสิ้น จงทำงานเพื่อชีวิต

ทางโลก ดุจดังว่าเจ้าต้องใช้ชีวิตอยู่ตลอดกาล แต่จงทำงานเพื่อปรโลกดุจดังว่า เจ้าจะต้องตายในวันพรุ่งนี้ และในเมื่อเจ้าต้องการเกียรติยศ แต่ไม่มีบริวาร และต้องการบารมีแต่ไม่มีอำนาจ เจ้าก็จงออกมาจากความต่ำต้อยแห่งการทรยศต่อ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)เพื่อไปสู่เกียรติยศแห่งการเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ในเมื่อเจ้าจำเป็นต้องเป็นมิตรกับบุคคลใดก็จงเป็นมิตรกับคนที่จะเสริมคุณค่าให้แก่เจ้าได้ในยามที่เจ้าเป็นมิตรกับเขา

๕๑

ในเมื่อเจ้าได้รับใช้เขา เขาก็จะทำหน้าที่ปกป้องเจ้าได้ ในเมื่อเจ้าต้องการความช่วยเหลือ เขาจะให้ความช่วยเหลือเจ้าได้ ถ้าหากเจ้าพูด เขาจะเชื่อคำพูดของเจ้า หากเจ้าแสดงไมตรีจิต เขาจะยิ่งมีไมตรีจิตต่อเจ้า ถ้าหากเจ้าให้การสนับสนุน เขาจะรับการสนับสนุนอย่างดี ถ้าหากความบกพร่องปรากฏมาจากเจ้า เขาจะปรับให้มันสมบูรณ์ ถ้าหากเขาเห็นความดีในตัวเจ้า เขาจะจดจำ ถ้าหากเจ้าขออะไรจากเขา เขาก็จะให้เจ้า ถ้าเจ้าเงียบเฉยต่อเขา เขาจะเป็นฝ่ายเริ่มต้นต่อเจ้า ถ้าหากมีการประณามในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกิดขึ้นต่อตัวเจ้า และมีการดูหมิ่นเจ้า

การมองเจ้าในแง่ร้ายจะต้องไม่มีมาจากเขา ไมตรีจิตจากเขาที่เคยมีต่อเจ้าจะไม่เปลี่ยนแปลงไป เขาจะไม่ทำลายเจ้าจากข้อเท็จจริงทั้งหลาย ” ( ๓)

--------------------------------------------------

(๒) อะอฺยานุช - ชีอะฮฺ ๔ กอฟ ๑๐๕ / ๑

๕๒

จดหมายจากท่านอิมามฮะซัน(อ)

ในบทนี้เราจะนำจดหมายฉบับต่าง ๆ ที่ท่านอิมามฮะซัน(อ)ส่งให้

มุอาวิยะฮฺและบุคคลอื่นๆมาเสนอ โดยที่เนื้อหาที่มีอยู่ในจดหมายเหล่านี้คือภาพทางประวัติศาสตร์ตอนหนึ่ง ในช่วงที่มีอุปสรรคพร้อมๆ กับเป็นการเรียกร้องยังอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และเชิดชูพจนารถของพระองค์ อีกทั้งปกป้องศาสนาของพระองค์ ดังที่เราจะกล่าวถึง ณ บัดนี้

จดหมายฉบับที่ ๑.

เป็นจดหมายที่ท่านอิมามฮะซัน(อ)ส่งถึงมุอาวิยะฮฺ ไปพร้อมกับท่าน

ญุนดุบ บินอับดุลลอฮฺ อัล-อะซ์ะดี

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาอยู่เป็นนิรันดร์

จากบ่าวของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) อัล-ฮะซัน(อ) บุตรของอะมีรุลมุมินีน

ถึง มุอาวิยะฮฺ บินอะบีซุฟยาน

อัสลามุอะลัยกุม

อัมมาบะอฺดุ........ ข้าขอสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ซึ่งไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากพระองค์

แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ผู้ทรงสูงสุดได้ส่งศาสดามุฮัมมัด(ศ)มาเพื่อเป็นความเมตตาแก่สากล และเป็นความโปรดปรานแก่บรรดาผู้ศรัทธาตลอดจนถึงมนุษยชาติทั้งมวล

๕๓

ดังโองการที่ว่า

“ เพื่อเขาจะได้ตักเตือนบุคคลที่มีชีวิตจิตใจ และเขาจะได้สำแดงความจริงแห่งพจนารถให้เป็นที่ปรากฏแก่บรรดาพวกปฏิเสธ(กาฟิรีน) ”

( ยาซีน: ๗๐)

ดังนั้นเขาจึงประกาศสาส์นต่าง ๆ ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และดำรงไว้ซึ่งคำสั่งของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) จนกระทั่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงรับเอาชีวิตเขาไป

โดยปราศจากการบกพร่องในหน้าที่ จนกระทั่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.)สำแดงความเป็นสัจธรรมให้เป็นที่ปรากฏเพราะเขา และเอาชนะการตั้งภาคีจนเป็นผลสำเร็จ เพราะเขา และทรงช่วยเหลือบรรดาผู้ศรัทธาเพราะเขา และทรงให้พวกอาหรับมีเกียรติเพราะเขาโดยเฉพาะชาวกุเรชสูงศักดิ์ได้ก็เพราะเขา ดังที่ทรงมีโองการว่า

“ และแท้จริง อัลกุรอานคือเกียรติยศสำหรับเจ้า และพรรคพวกของเจ้า ”

ครั้นเมื่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺได้วายชนม์แล้ว ชาวอาหรับต่างก็พากันยื้อแย่งอำนาจของเขา จนพวกกุเรชกล่าวว่า

“ เราคือเผ่าพันธุ์ของเขาเป็นคนในครอบครัวของเขา และเป็นผู้ทรงสิทธิ์ในตัวของเขา ท่านทั้งหลายไม่มีสิทธิ์ที่จะมายื้อแย่งอำนาจการปกครองและสิทธิของเขาต่อประชาชนไปจากพวกเรา ”

ดังนั้นชาวอาหรับทั้งหลายจึงลงความเห็นว่า ความเป็นจริงควรจะต้องเป็นไปตามที่พวกกุเรชพูด และถือว่านี่คือข้อพิสูจน์ของพวกเขาในเรื่องนี้ที่มีต่อคนที่จะมายื้อแย่งภารกิจของมุฮัมมัด(ศ)ไปจากพวกเขา พวกอาหรับจึงยินยอมมอบให้พวกเขาไป และยอมรับในข้อนี้โดยดุษฎี

๕๔

ต่อจากนั้น พวกเราก็อุทธรณ์ต่อพวกกุเรช เหมือนอย่างที่พวกเขาอุทธรณ์ต่อชาวอาหรับ แต่แล้วพวกกุเรชก็มิได้ให้ความยุติธรรมต่อเรา เหมือนอย่างที่ชาวอาหรับให้ความยุติธรรมต่อพวกเขา แท้จริงกรณีที่พวกเขามีสิทธิในภารกิจอันนี้เหนือกว่าชาวอาหรับทั้งหลายนั้น เป็นเรื่องที่ยุติธรรมและชอบด้วยเหตุผลแล้ว แต่ในเมื่อพวกเราเป็นอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)และทายาทของมุฮัมมัด(ศ) ทำการอุทธรณ์ต่อพวกเขา และขอความเป็นธรรมจากพวกเขาซึ่งมีแต่ความเป็นศัตรูต่อเรา พวกเขาปฏิเสธและจัดประชุมลงมติเพื่อสร้างความอธรรมและฉ้อฉลเรา ความเลวร้ายจากพวกเขา ได้ประสบกับพวกเรา ดังนั้นอัลลอฮฺ ( ซ.บ.) คือผู้ทรงให้สัญญา พระองค์คือผู้คุ้มครอง พระองค์คือผู้ทรงให้ความช่วยเหลือ แน่นอนที่สุด

เราแปลกใจเป็นอย่างยิ่งกับการฉกฉวยของผู้ฉวยโอกาสต่อสิทธิอันชอบธรรมของเรา ในเรื่องที่เป็นสิทธิของเราและในเรื่องอำนาจการปกครองแห่งนบี(ศ)ของเรา ในขณะที่ถ้าหากพวกเขาเป็นผู้ที่มีเกียรติ และอยู่ในระดับแนวหน้าของอิสลาม เราจึงหยุดยั้งในอันที่จะยื้อแย่งกับพวกเขา เพราะหวั่น

เกรงต่อศาสนาว่า พวกหลอกลวง(มุนาฟิก)กับพลพรรคต่างๆ ของศัตรูจะเห็นว่าในเรื่องนี้มีการฉ้อฉล แล้วพวกเขาจะถือโอกาสแทรกแซง หรือไม่ก็จะทำให้เรื่องนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่พวกเขาสามารถสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่ศาสนาได้

บัดนี้มุอาวิยะฮฺ เอ๋ย มันเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจจริงๆ สำหรับการฉกฉวยของเจ้าที่มีต่อกิจการที่เจ้าไม่มีสิทธิ ไม่มีแม้แต่เกียรติทางศาสนา ไม่มีอะไรที่จะเป็นผลงานอันน่ายกย่องในอิสลาม

เจ้าเป็นเพียงบุตรของพรรคๆ หนึ่งในบรรดาพรรคทั้งหลาย เป็นบุตรของชาวกุเรชคนหนึ่งที่เป็นศัตรูของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)แต่ทว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะประทานความพ่ายแพ้แก่เจ้าแล้วเจ้าจะตกต่ำ เจ้าจะรู้ว่าสถานะในบั้นปลายที่ดีจะเป็นของใคร

๕๕

ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) เจ้าจะได้รับโชคผลจากพระผู้อภิบาลของเจ้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ต่อจากนั้นเจ้าจะต้องเสียใจในสิ่งที่เจ้าได้กระทำลงไป ด้วยมือของเจ้าเอง และอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะไม่ทรงอธรรมแต่ประการใดกับปวงบ่าวของพระองค์

แท้จริงท่านอิมามอะลี(ขอให้อัลลอฮฺทรงประทานความปิติชื่นชมแก่ท่าน) ไม่เคยล่วงเกินวิธีทางของพระองค์ ความเมตตาของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)มีต่อเขาในวันที่เขาจบชีวิต และในวันที่อัลลอฮฺ ( ซ.บ.) ให้ความโปรดปรานแก่เขาด้วยอิสลาม และในวันที่เขาจะฟื้นคืนชีพ บรรดามุสลิมมอบหมายภารกิจภายหลังจากเขาให้แก่ข้า

ดังนั้นข้าขอวิงวอนต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ว่าโปรดอย่าเพิ่มสิ่งที่ไม่คงทนในโลกนี้ให้แก่เราด้วยประการใดๆ อันเป็นการบั่นทอนต่อเราซึ่งเกียรติคุณอันดีงามของพระองค์ในปรโลก

อันที่จริงแล้ว ที่ข้าเขียนจดหมายถึงเจ้าก็เนื่องจากความรับผิดชอบในสิ่งที่มีอยู่ระหว่างข้ากับอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ในกรณีของเจ้าและสำหรับข้าในข้อนี้

ถ้าหากเจ้ากระทำก็จะมีโชคดีสำหรับชีวิต และจะเป็นผลดีแก่มวลมุสลิม ดังนั้นจงหยุดยั้งการล่วงละเมิดในสิ่งผิด และจงเข้ามาสู่หนทางที่ประชาชนทั้งหลายเข้ามา

อันได้แก่การให้สัตยาบันต่อข้า เพราะเจ้าเองก็ทราบดีว่า ข้าเป็นผู้มีสิทธิ์ในกิจการอันนี้มากกว่าเจ้าตามทัศนะของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และของทุกคนที่มีความคิดอ่าน และที่มีหัวใจยินยอมต่อพระองค์ จงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) และจงละเว้นการละเมิด จงสงวนไว้ซึ่งเลือดเนื้อของมวลมุสลิม

๕๖

ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ความดีที่เจ้าจะได้รับในยามที่เจ้าเข้าพบกับอัลลอฮฺ(ซ.บ.) โดยสงวนเลือดเนื้อพวกเขานั้น ย่อมมีมากกว่าในยามที่เจ้าเข้าพบพระองค์เพราะเหตุของมัน

ดังนั้นจงเข้ามาสู่ความสันติและการเชื่อฟังปฏิบัติตาม และจงอย่ายื้อแย่งหน้าที่ที่มีคนเป็นเจ้าของซึ่งเขาเป็นคนแรกที่มีสิทธิในหน้าที่นั้นมากกว่าเจ้า เพื่อที่ว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงดับกองเพลิงไปเพราะเรื่องนี้ และเพื่อให้สังคมส่วนรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความสมานฉันท์ระหว่างกัน แต่หากเจ้า

ปฏิเสธ เจ้าก็มีแต่หลงใหลไปในความมัวเมาของเจ้าเอง ข้าก็จะล้อมกรอบเจ้าด้วยบรรดามุสลิม แล้วจะพิพากษาเจ้าจนกว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงตัดสินระหว่างเราทั้งสอง พระองค์คือผู้ทรงพิพากษาที่ประเสริฐยิ่ง(๑)

------------------------------------------------------------

( ๑) มะกอติลุฎ-ฎอลิบีนยีน หน้า ๓๗

๕๗

จดหมายฉบับที่ ๒.

เมื่อครั้งที่มุอาวิยะฮฺทราบข่าวเกี่ยวกับการวายชนม์ของอะมีรุลมุมีนีน(อ) และข่าวการให้สัตยาบันต่อท่านอิมามฮะซัน(อ)บุตรชายของท่านอิมาม

อะลี(อ) โดยประชากรทั้งหลาย เขาได้ส่งชายคนหนึ่งในตระกูลอัล-ฮุมัยร์ไปสอดแนมยังเมืองกูฟะฮฺ และส่งอีกคนหนึ่งจากตระกูลบนี อัล-กีนไปสอดแนมยังเมืองบัศเราะฮฺเพื่อบันทึกเรื่องราวส่งไปให้เขา และให้ใส่ร้ายท่าน

อิมามฮะซัน(อ)

แล้วเขาก็ออกคำสั่งให้คนในตระกูลอัล-ฮุมัยร์ออกมาจากเมืองกูฟะฮฺ เมื่อออกมาแล้วเขาก็สั่งให้ประหารชีวิตเสีย และเขียนจดหมายไปยังเมือง

บัศเราะฮฺเพื่อเอาคนในตระกูลบนี อัล-กีนออกมา เมื่อออกมาแล้วเขาก็สั่งให้ประหารชีวิตเสียอีก ท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้เขียนจดหมายถึงมุอาวิยะฮฺว่า …

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ

ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาอยู่เป็นนิรันดร์

จากบ่าวของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) อัล-ฮะซัน(อ) บุตรของอะมีรุลมุมีนีน

ถึง มุอาวิยะฮฺ บินอะบีซุฟยาน

อัสลามุอะลัยกุม ……

อัมมาบะอฺดุ …… เจ้ายังส่งคนไปเพื่อสอดแนมและลอบสังหารผู้คนอีก และเจ้ายังจับตาสอดส่องราวกับว่า เจ้าชอบการเผชิญหน้าเหลือเกิน มีข่าวว่าเจ้าไม่สมหวัง เพราะเขามิได้เคืองแค้นกับผู้ที่มีข้อพิสูจน์

๕๘

อุปมาเรื่องของเจ้าในคราวนี้เหมือนอย่างกับคำของคนหนึ่งที่กล่าวว่า :

“ จงบอกคนที่ชอบขัดแย้งกับคนที่ล่วงลับไปแล้วว่าให้เตรียมตัวเพื่อพบกับสภาพที่เหมือนเดิมกับอีกคนหนึ่ง ” ( ๒)

------------------------------------------------------------

(๒ ) อัล - อิรชาด หน้า ๑๙๓

จดหมายฉบับที่ ๓.

ชาวบัศเราะฮฺส่งจดหมายถึงท่านฉบับหนึ่ง เพื่อขอความเห็นของท่าน

อิมามฮะซัน(อ) ในปัญหาทางวิชาการเรื่อง “ อัล-ญับร์ ”

( ความเชื่อที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปตามที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงลิขิตกำหนด)

ท่านอิมาม(อ)ได้ตอบเป็นจดหมายว่า

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ

ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาอยู่เป็นนิรันดร์

จากบ่าวของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) อัล-ฮะซัน(อ) บุตรของอะมีรุลมุมีนีน

ถึง ชาวบัศเราะฮฺ

อัสลามุอะลัยกุม ……

อัมมาบะอฺดุ …… ผู้ใดที่ไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)และต่อกฎการควบคุมของพระองค์ และการกำหนดของพระองค์เท่ากับเป็นผู้ปฏิเสธ แต่ใครโยนความบาปของตนให้แก่พระผู้อภิบาลก็เท่ากับเป็นคนทรยศ

๕๙

แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ไม่ทรงกระทำในสิ่งที่น่ารังเกียจ และไม่ล่วงละเมิดตามอารมณ์ เพราะพระองค์คือผู้ทรงครอบครองอาณาจักรของพวกเขาทั้งมวล เป็นผู้ทรงเดชานุภาพควบคุมความสามารถของพวกเขา กล่าวคือถ้าหากพวกเขากระทำในสิ่งที่ถูกต้อง พระองค์ก็จะไม่ละเลยเรื่องที่อยู่ระหว่างพวกเขากับสิ่งที่พวกเขากระทำ ดังนั้นถ้าหากพวกเขาไม่กระทำ พระองค์ก็มิได้บีบบังคับพวกเขาในเรื่องนั้นเลย กล่าวคือ ถ้าหากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงบีบบังคับปวงบ่าวให้กระทำในสิ่งที่ถูกต้อง แน่นอนรางวัลก็เป็นอันตกไปจากพวกเขา และถ้าหากทรงบีบบังคับพวกเขาให้กระทำความชั่ว แน่นอนการลงโทษก็ย่อมจะเป็นอันตกไปจากพวกเขาเช่นกัน แต่ถ้าหากทรงละเลยพวกเขาแล้วไซร้ แน่นอนก็เท่ากับพระองค์ทรงขาดสมรรถภาพในการควบคุมกำหนด แต่ในหมู่พวกเขาก็มีเจตนารมณ์ของพระองค์ซึ่งมันแฝงเร้นต่อพวกเขา กล่าวคือถ้าพวกเขากระทำในสิ่งที่ถูกต้อง มันก็จะเป็นความโปรดปรานแก่พวกเขาเอง แต่ถ้าหากพวกเขากระทำในสิ่งที่เป็นความชั่ว

มันก็จะเป็นข้อพิสูจน์สำหรับพวกเขา(๓)

--------------------------------------------------------------------

(๓) ญัมฮะเราะฮฺ รอซาอิล อัล - อะร็อบ เล่ม ๒ หน้า ๒๕

๖๐

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134